เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่ 1

10
บ่ ายแก่ๆ วันหนึ่ง ผมเดินทางเข้าไปในหมู่บ้าน ปะกาเกอญอวัดจันทร์ อำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ณ ต้นไทรใหญ่ใบดกแผ่กิ่งก้านสาขา บนคาคบมีกระรอก ตัวน้อยๆ วิ่งไปมา หยอกล้อกันตามประสาผัวเมีย นอกจากกระรอกแล้ว ยังมีนกเขา ๔-๕ ตัว บ้างไซร้ขน บ้างโก่งคอขัน กุ๊กกรูๆ ชวนฟัง สายลมพัดเอื่อยๆ รากไทรย้อยแกว่งไกวตามกระแสลม ห่างออกไปเล็กน้อยเป็นทุ่งบัวตอง เหล่าผีเสื้อเริงระบำ เหนือพุ่มทานตะวันป่า เข้าจังหวะเสียงกรีดปีกของเหล่าแมลงภูภายใต้ต้นไทรใหญ่... พ่อเฒ่า..พะตี่ดึลา ชายชราอายุ ๗๘ ปี ผิวหน้ากร้านแดด ผอมเพรียวในชุดปะกาเกอญอ สีน้ำหมากมอๆ ที่ผ่านกาลเวลามายาวนานซึ่งครั้งหนึ่งคงเป็นสีแดงสดใส แวดล้อมด้วย เพาะสะโค เพาะสะควา (เด็กหนุ่มสาว) ราว ๗-๘ คน มือซ้ายพ่อเฒ่ายก ม่อทู (กล้องยา) ขนาดเขื่อง รูปร่างโค้งงอ ขึ้นมาจุดสูบ หลังพ่นควันโขมงไล่แมลงหวี่ที่มาตอมขอบตา พ่อเฒ่าได้สาธยายจารีตประเพณีของบรรพชนให้เด็กหนุ่มสาวฟัง ผมได้รับโอกาสเข้าร่วมฟังเรื่องราวที่พรั่งพรูจากปากผู้เฒ่า โพลีก๊อกาแดะ เก่อนา เจก่อ ตาเลอะ คลีเลอะเบลอเลอะ เหน่โส่เหน่ซอ แก๊ะต่าเลอะ อ่าเก ก๊อกาแดะ เต๊อะเห่เลอะ พะคี่บ่ะ... “ลูกหลานทั้งหลายจงฟังไว้ สิ่งเหล่านี้บรรพชนของสูเจ้า ได้สั่งสมอบรมสั่งสอนมาช้านานแล้ว มันเป็นสิ่งที่ดี สูทั้งหลายพึงสืบทอด” ภูมิปัญญาจากผู้เฒ่าเล่าสู่ลูกหลาน สืบสานภูมิปัญญาบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่น วิถีชุมชนที่เป็นแบบแผนวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ที่ถูกท้าทายจากกระแสโลกาภิวัตน์... เรืองเล่าจากชุมชน ชุดท๑ ภูมิปัญญาปะกาเกอญอวดจนทร์ โพลีก๊อกาแดะ เก่อนา เจก่อ ตาเลอะ คลีเลอะเบลอเลอะ เหน่โส่เหน่ซอ แก๊ะต่าเลอะ อ่าเก ก๊อกาแดะ เต๊อะเห่เลอะ พะคี่บ่ะ... “ลูกหลานทั้งหลายจงฟังไว้ สิ่งเหล่านี้บรรพชนของสูเจ้า ได้สั่งสมอบรมสั่งสอนมาช้านานแล้ว มันเป็นสิ่งที่ดี สูทั้งหลายพึงสืบทอด” ภูมิปัญญาจากผู้เฒ่าเล่าสู่ลูกหลาน สืบสานภูมิปัญญาบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่น วิถีชุมชนที่เป็นแบบแผนวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ที่ถูกท้าทายจากกระแสโลกาภิวัตน์...

Upload: pak-bung

Post on 23-Mar-2016

239 views

Category:

Documents


3 download

DESCRIPTION

เรื่องผู้เฒ่าเล่าขาน ลูกหลานสืบต่อ

TRANSCRIPT

Page 1: เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่ 1

บ่ายแก่ๆ วันหนึ่ง ผมเดินทางเข้าไปในหมู่บ้านปะกาเกอญอวัดจันทร์ อำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ณ ต้นไทรใหญ่ใบดกแผ่กิ่งก้านสาขา บนคาคบมีกระรอกตัวน้อยๆ วิ่งไปมา หยอกล้อกันตามประสาผัวเมีย นอกจากกระรอกแล้วยังมีนกเขา ๔-๕ ตัว บ้างไซร้ขน บ้างโก่งคอขัน กุ๊กกรูๆ ชวนฟังสายลมพัดเอื่อยๆ รากไทรย้อยแกว่งไกวตามกระแสลมห่างออกไปเล็กน้อยเป็นทุ่งบัวตอง เหล่าผีเสื้อเริงระบำเหนือพุ่มทานตะวันป่า เข้าจังหวะเสียงกรีดปีกของเหล่าแมลงภู่ ภายใต้ต้นไทรใหญ่... พ่อเฒ่า..พะตี่ดึลาชายชราอายุ ๗๘ ปี ผิวหน้ากร้านแดด ผอมเพรียวในชุดปะกาเกอญอสีน้ำหมากมอๆ ที่ผ่านกาลเวลามายาวนานซึ่งครั้งหนึ่งคงเป็นสีแดงสดใสแวดล้อมด้วยเพาะสะโค เพาะสะควา (เด็กหนุ่มสาว) ราว ๗-๘ คนมือซ้ายพ่อเฒ่ายกม่อทู (กล้องยา) ขนาดเขื่อง รูปร่างโค้งงอขึ้นมาจุดสูบ หลังพ่นควันโขมงไล่แมลงหวี่ที่มาตอมขอบตาพ่อเฒ่าได้สาธยายจารีตประเพณีของบรรพชนให้เด็กหนุ่มสาวฟังผมได้รับโอกาสเข้าร่วมฟังเรื่องราวที่พรั่งพรูจากปากผู้เฒ่า

โพลีก๊อกาแดะ เก่อนา เจก่อ ตาเลอะคลีเลอะเบลอเลอะ เหน่โส่เหน่ซอ แก๊ะต่าเลอะ

อ่าเก ก๊อกาแดะ เต๊อะเห่เลอะ พะคี่บ่ะ...

“ลูกหลานทั้งหลายจงฟังไว้ สิ่งเหล่านี้บรรพชนของสูเจ้าได้สั่งสมอบรมสั่งสอนมาช้านานแล้วมันเป็นสิ่งที่ดี สูทั้งหลายพึงสืบทอด”

ภูมิปัญญาจากผู้เฒ่าเล่าสู่ลูกหลานสืบสานภูมิปัญญาบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่นวิถีชุมชนที่เป็นแบบแผนวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่ถูกท้าทายจากกระแสโลกาภิวัตน์...

เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่๑ ภูมิปัญญาปะกาเกอญอวัดจันทร์

โพลีก๊อกาแดะ เก่อนา เจก่อ ตาเลอะคลีเลอะเบลอเลอะ เหน่โส่เหน่ซอ แก๊ะต่าเลอะ

อ่าเก ก๊อกาแดะ เต๊อะเห่เลอะ พะคี่บ่ะ...

“ลูกหลานทั้งหลายจงฟังไว้ สิ่งเหล่านี้บรรพชนของสูเจ้าได้สั่งสมอบรมสั่งสอนมาช้านานแล้วมันเป็นสิ่งที่ดี สูทั้งหลายพึงสืบทอด”

ภูมิปัญญาจากผู้เฒ่าเล่าสู่ลูกหลานสืบสานภูมิปัญญาบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่นวิถีชุมชนที่เป็นแบบแผนวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่ถูกท้าทายจากกระแสโลกาภิวัตน์...

Page 2: เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่ 1

ผู้เฒ่าเล่าขาน ลูกหลานสืบต่อ ๒

Page 3: เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่ 1

เดปอทู กี่จึเดปอทู “ลูกหลานทั้งหลายจงตั้งใจฟัง...ชีวิตของขนเผ่าของเราตลอดจนถึงบรรพชน

มีความเกี่ยวพันกับผืนป่าและธรรมชาติ ชีวิตของเรา อาศัยน้ำ อาศัยป่าป่าไม้ก่อเกิดลำธารพืชพันธุ์ธัญญาหาร ป่าไม้คือชีวิตเป็นที่สถิตของเทพเทวาและภูตผี

แรกสูเกิด...ผู้เป็นพ่อจะเตรียม คิเตอะ (กระบอกไม้ไผ่)ภายในบรรจุเศษผ้าของพ่อแม่พี่น้อง พ่อเจ้าจะถากผิวไม้ไผ่จากเสาข่าไฟกลางบ้านต้นที่บาก

ใส่ช้อนและทัพพี ผิวไม้ไผ่จากข่าไฟจะมีความคม ถูกรมควันไฟทุกคืนวันทำให้ปลอดจากเชื้อโรคทั้งหลาย ผิวไม้ไผ่ใช้สำหรับตัด เด (รกหรือสายสะดือ)

ใส่ไว้ในคิเตอะ ปิดปากด้วยผ้าขาว มัดด้วยตอกอย่างแน่นหนาก่อนหน้านั้น พ่อเจ้าจะเข้าป่าเลือกต้นไม้ใหญ่สำหรับแขวนคิเตอะ

ไม้ต้นนั้นจึงได้ชื่อว่า เดปอทู พฤกษาชีวิต (เดปอ=รก, ทู=ต้นไม้)หรือต้นไม้สะดือ ป่าแห่งนี้จะถูกเรียกว่า ป่าเดปอ

หลังจากแขวนคิเตอะแล้ว ก็จะมีการเสี่ยงทายโดยการเดินถอยหลัง หยิบก้อนหินขว้าง

ถ้าปาครั้งเดียวถูกคิเตอะ เด็กที่เกิดมาจะไม่ดื้อแต่ถ้าปา ๒-๓ ครั้ง ถึงจะถูก แสดงว่า

เด็กที่เกิดนั้นจะเป็นเด็กดื้อเด็กซน ว่ายากสอนยากแต่อย่างไรก็ตาม ไม้ต้นนี้ถือเป็นต้นไม้ประจำตัวผู้ใดจะตัดโค่นทำลายมิได้ หากถูกตัดโค่นโดยไม่รู้

ผู้นั้นจะถูกปรับเป็นค่าทำขวัญ เหล้า ๑ ขวดไก่ ๑ คู่ แล้วให้มาทำการผูกข้อมือขมาเด็ก

ที่ทำให้ขวัญเจ้าโบยบินไป แต่ความเป็นจริงแล้วคนทั้งหมู่บ้านจะรู้กัน ไม่มีใครกล้ามาหักโค่น

หรือทำลายต้นเดปอทูนี้ สูเจ้าทั้งหลาย

พึงรักษาต้นไม้ประจำตัวของสูเจ้าไว้ให้ดีและให้สืบถึงลูกหลานต่อๆ กันไป ป่าไม้จะได้สมบูรณ์...”

ผมถึงบ้างอ้อ อ๋อ...ที่แท้เป็นกลอุบายรักษาผืนป่านั่นเอง บรรพชนของปะกาเกอญอช่างเฉียบแหลมนัก พ่อเฒ่าหยุดสูบม่อทู พ่นควันอีกครั้งแล้วเล่าต่อ...

เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่๑ ภูมิปัญญาปะกาเกอญอวัดจันทร์๓

Page 4: เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่ 1

กี่จึ “เมื่อสูทั้งหลายพ้นจากบ่วงซิ่นแม่แล้วมีชีวิตอยู่รอดจนเติบใหญ่ อยู่สุขสบาย แสดงว่าสูทุกคนมีบุญมาก ขวัญได้อยู่กับเนื้อกับตัว บางโอกาสขวัญอาจเล่นตลกโบยบินไปท่องเที่ยวบ้าง ทำให้ไม่สบายเจ็บไข้ได้ป่วย ดังนั้นบรรพชนของเราจึงมีวิธีรั้งขวัญไว้ เป็นกลยุทธ์ไม่ให้ขวัญหนีเที่ยวหรือหนีหายจึงเป็นที่มาของพิธี กี่จึ คือ พิธีผูกข้อมือเรียกขวัญ กี่จึ มี ๒ อย่าง สูทั้งหลายจงจำไว้๑ กี่จึที่ทำเป็นประจำปี ๒ กี่จึที่ทำเป็นการเฉพาะเวลาเจ็บป่วย กี่จึที่ทำเป็นประจำทุกปี ทำปีละ ๒ ครั้งก่อนเพาะปลูกและหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว จะทำกันทุกหลังคาเรือน ญาติพี่น้องไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกล จะมาพร้อมหน้าพร้อมตากันหมด เพื่อทำพิธีกี่จึ สิ่งของเครื่องใช้กี่จึ ประกอบด้วย เหล้า ไก่ต้ม ข้าวปุก ข้ามต้มมัดด้วยใบก๋งขันโตก ด้ายดิบและข้าวตอกดอกไม้ ญี่โข่ (ผู้นำด้านพิธีกรรม)จะเป็นผู้นำในการทำพิธีก่อน จากนั้นลูกบ้านจะทำต่อๆ กันไปจนครบทุกหลังคาเรือน ขั้นตอนประกอบพิธีพิสดารยิ่ง สูพึงจดจำ...ก่อนฆ่าไก่ให้นำไก่พร้อมก้อนข้าวปุกข้าวต้มมัดนำไปวางที่หัวบันได เอาหัวไก่พิงขอบบันไดใช้ไม้กระบวยเคาะที่หัวไก่เบาๆแล้วเรียกลูกหลานมารวมกัน ผู้เป็นพ่อจะใช้ไม้เคาะเป็นจังหวะเรียกขวัญ แล้วจะเอิ้นถามทุกคนว่า “ขวัญมารึยัง” ทุกคนจะตอบ“ขวัญมาแล้ว” จากนั้นจะนำไก่ไปฆ่าต้มทั้งตัว นำมารวมไว้ในขันโตก เชิญผู้อาวุโสในหมู่บ้านมาผูกข้อมือก่อน เริ่มจากเด็กไปหาผู้ใหญ่ ให้ศีลพร หยิบเศษเนื้อไก่ ข้าวสุก และดึงเศษด้ายข้อมือแปะไว้ที่ไหล่ทั้งสองข้าง จากนั้นจะรินเหล้าแจกจ่ายดื่มโดยทั่วกัน งานนี้เด็กสนุก ได้กินไก่และใส่เสื้อผ้าใหม่ผู้ใหญ่ก็จะดื่มเหล้าสนุกสนาน เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่บรรพกาล”

กี่จึ

ผู้เฒ่าเล่าขาน ลูกหลานสืบต่อ ๔

Page 5: เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่ 1

มาเกต่าผมได้ฟังแล้วรู้สึกมึกะเตอะ (ชื่นใจมีความสุข)นี่คือการสร้างขวัญกำลังใจ เสริมสร้างสถาบันครอบครัว

ให้อบอุ่นโดยแท้ กี่จึ คือวันรวมญาตินี่เอง...

มาเกต่า เด็กหนุ่มรินน้ำชาให้ผู้เฒ่าแก้คอแห้ง ดูสีหน้าทุกคนเปี่ยมสุขและตั้งใจฟัง

พ่อเฒ่าซดน้ำชาเฮือกใหญ่ ดูดม่อทูพ่นควันอีก ๒-๓ ครั้งไล่แมลงหวี่แล้วเล่าต่อ...

“เรื่องนี้สำคัญ สูทั้งหลายจงจำใส่ใจมันเป็นเรื่องราวหนุ่มโสดหญิงสาวเยี่ยงพวกเจ้าโดยตรง

ถ้ามีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในหมู่บ้านมันเป็นเรื่องที่น่าอับอายขายหน้า และร้ายแรงยิ่งนัก

มาเกต่า ภาคีทัณฑ์ คือกฎเหล็กควบคุมความประพฤติผู้ล่วงละเมิดประเวณี ผิดศีลข้อกาเมไม่ว่าหนุ่มสาวชิงสุกก่อนห่ามหรือผู้ใดก็ตามที่ลักลอบเล่นชู้

หากมีการจับได้ หลังสอบความและผู้กระทำความผิดรับสารภาพสิ่งที่ตัวเองกระทำขึ้น จะต้องถูกลงทัณฑ์ทำพิธี มาเกต่า เพื่อล้างมลทินและขมาผีบ้านผีเรือนเพราะว่าเขาผู้นี้นำสิ่งอุบาทว์ สิ่งชั่วร้ายมาสู่ชุมชน

หากไม่ลบล้างจะทำให้ชุมชนต้องคำสาป เกิดโรคห่าผู้คนเจ็บไข้ได้ป่วย สัตว์เลี้ยงล้มตาย

ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าเสียหายพิธีมาเกต่า หรือ ราคีทัณฑ์

“ญี่โข่” (ผู้นำด้านพิธีกรรม) จะเป็นผู้กำหนดวันทำพิธีจะมีการปิดหมู่บ้าน คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้าผู้กระทำผิด(ประเวณี) จะต้องเตรียมควายดำ ๑ ตัว

หมูดำ ๑ ตัว เซ่นผีบ้านผีเรือน ญี่โข่จะให้ผู้กระทำผิดทั้งหญิงชายจูงควายรอบหมู่บ้าน ๑ รอบ

เป็นการประจานความผิด

ผู้เฒ่าเล่าขาน ลูกหลานสืบต่อ๕

Page 6: เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่ 1

ท่ามกลางสายตาของชาวบ้านที่มุงดู เป็นที่น่าอับอายเหลือคณาจากนั้นจะนำควายผูกไว้กลางลานบ้าน ญี่โข่จะทำพิธีผูกข้อมือเรียกขวัญให้คนทั้งสองขมาผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งหมู่บ้าน ฆ่าไก่ ฆ่าหมูและควายดำเซ่นผีบ้านผีเรือนควายและหมูที่ฆ่าแล้วจะนำไปประกอบอาหารเลี้ยงสู่กันและต้องกินให้หมดภายในวันนั้น หากเหลือจะต้องนำไปฝังงานนี้เด็กๆ หญิงสาวพรหมจารี ห้ามกินโดยเด็ดขาด ถือเป็นเสนียดจัญไร

สูเอ๋ย... มาเกต่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก ชั่วชีวิตนี้จะมีสักครั้งหรือไม่มีเลย เพราะชาวปะกาเกอญอเราถือพรหมจรรย์เคร่งครัดนัก

ผู้ที่ทำผิดจะได้รับความอับอายแทบแทรกแผ่นดินหนี บางรายถึงกับฆ่าตัวตาย อยู่ไปก็ไร้ค่า ผู้คนไม่คบหา

เห็นหน้าก็เบือนหนี เหมือนตายทั้งเป็นพวกสูเป็นคนสมัยใหม่ อย่างไรเสียก็จงสำเหนียกข้อนี้ให้ดี

อย่าทำผิดโดยเด็ดขาด...”

เด็กหนุ่มหญิงสาวนั่งฟังอย่างอึดอัด ผมสังเกตเห็นทุกคนถอนหายใจหลังพ่อเฒ่างัดม่อทูขึ้นมาจุดสูบอีกครั้ง สีหน้าทุกคนดูโล่งอก มองหน้ากันเนียมอาย ผมเองก็ใจแป้วทันที เมื่อนึกถึงตอนเช้าก่อนเข้ามาร่วมวงฟังเรื่องราวจากพ่อเฒ่าผมได้รับรอยยิ้มและสายตาอบอุ่นจาก มือกะนอ (สาวรุ่น) นางหนึ่งกะว่าจะสานไมตรีตอนค่ำคืน กลัวจะเจอราคีทัณฑ์มาเกต่าเข้าอีกคน...

เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่๑ ภูมิปัญญาปะกาเกอญอวัดจันทร์ ๖

Page 7: เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่ 1

โก๊ะหมี่ “ไหนๆ ก็เล่าเรื่องมาเกต่ามาต่อด้วยเรื่องราว มือกะนอ (หญิงสาว) อีกที

เรื่องนี้มือกะนอมีความสำคัญต่อพิธีกรรมและวิถีชีวิตชุมชนอย่างใหญ่หลวงขาดมือกะนอ วิถีปะกาเกอญอแทบไร้ค่า” พ่อเฒ่าพูดทำลายความเงียบ

ซดน้ำชาอีกเฮือกใหญ่ เด็กหนุ่มสาวดูสีหน้าสดใสอีกครั้ง

“โก๊ะหมี่ ข้าวแป้งไพร เมรัยวิถี”

โก๊ะหมี่ คือ การทำแป้งหัวเชื้อส่าเหล้า เพื่อใช้หมักเหล้า หรือ กลั่นสุราปะกาเกอญอเราอยู่กับป่า เหล้าป่ามีความสำคัญยิ่งต่อวิถีชุมชน

พิธีกรรมทุกอย่างจะประกอบไปด้วยเหล้ากับไก่ ขาดไก่ยังมีหมู ขาดหมูยังมีเนื้อสัตว์อื่นๆทดแทนกันได้ แต่ขาดไม่ได้คือเหล้า เซ่นผีบรรพบุรุษ มัดมือสู่ขวัญ แต่งงาน

ผูกขวัญควาย ประเพณีกินข้าวใหม่ และอื่นๆ ขาดไม่ได้คือเหล้า

ปัจจุบันการทำโก๊ะหมี่จะค่อยๆ เลือนไปเพราะเหล้าโรงเข้ามาแทนที่ หาได้ง่าย ใช้แทนเหล้าป่าได้เหมือนกัน

แต่ของเดิม โก๊ะหมี่ มีกรรมวิธีที่พิสดารยิ่งนัก ไม่ได้ทำกันง่ายๆและผู้ที่จะทำได้คือ มือกะนอ (หญิงสาวพรหมจารี) เท่านั้น

สูพึงรู้ไว้และสืบสานต่อๆ กันไปกรรมวิธีนั้นผู้ที่จะทำ คือ มือกะนอ หญิงสาวแรกรุ่นพรหมจารี

บริสุทธิ์ ไร้มลทินดุจน้ำค้างรัตติกาลที่หนาวเหน็บ

โก๊ะหมี่

เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่๑ ภูมิปัญญาปะกาเกอญอวัดจันทร์๗

Page 8: เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่ 1

โก๊ะหมี่ ต้องเตรียมการดังนี้ก่อนอื่นให้เตรียมข้าวเปลือกข้าวใหม่หลังเก็บเกี่ยวมือกะนอต้องถือศีลกินเจห้ามกินเนื้อสัตว์แต่งกายด้วยชุดขาวประจำเผ่า ต้องเลือกคืนเดือนหงายข้างขึ้น ยิ่งได้คืนพระจันทร์เพ็ญยิ่งดีนักแลและต้องตอนดึกสงัด มือกะนอจะนำข้าวเปลือกไปตำที่ครกกระเดื่อง นำข้าวที่ตำแล้วมานึ่งทำแป้งหัวเชื้อปั้นเป็นลูกกอนขนาดหัวไก่เขื่อง ยัดด้วยเศษถ่านในเตาไฟ แล้วนำเรียงในกระด้ง เสร็จแล้วนำไปย่างที่ข่าไฟกลางบ้านจนแห้งได้ที่ก็จะนำไปหมักเหล้าหรือต้มเหล้าต่อไป หญิงสาวพรหมจรรย์จึงมีคุณค่าต่อชุมชนขาดพวกหล่อนชุมชนก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะพิธีกรรมคือวิถีชีวิตปะกาเกอญอ ดังนั้นพึงหวงแหนและรักษาพรหมจรรย์ของเจ้ายิ่งชีวิต และจงภูมิใจในพรหมจรรย์ของตนเอง...” มาถึงตอนนี้เด็กหนุ่มหญิงสาวยิ้มอย่างชื่นบานเห็นทีเย็นนี้จะต้องไปสำรวจข่าไฟซะแล้วพอจะมีโก๊ะหมี่ ข้าวแป้งไพร เมรัยวิถี รึเปล่าหนอ...

หลังเล่าเรื่องโก๊ะหมี่จบ พ่อเฒ่าหันมาทางผมพลางถามอย่างเอ็นดูว่า “พ่อหนุ่มมาจากไหน มาทำอะไรที่นี่”“ผมมาจากในเมืองครับ เป็นขะโยมมากับพระธรรมจาริกมาศึกษาวิถีชีวิตของชาวบ้านครับ” “เออ...การเดินทางนี่ก็สำคัญนะ ปะกาเกอญอจะออกบ้านเดินทางก็มีพิธีการเพื่อให้เกิดสิริมงคล ทั้งผู้ไปและผู้อยู่ข้างหลังเอาละจะเล่าให้ฟังอีกเรื่อง” ผมค้อมศีรษะน้อมรับฟังพร้อมกับเด็กหนุ่มหญิงสาวด้วยความเต็มใจยิ่ง

ผู้เฒ่าเล่าขาน ลูกหลานสืบต่อ ๘

Page 9: เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่ 1

เพอพิต่า “เพอพิต่า (จรวัตร)

คือ ข้อพึงปฏิบัติยามออกจากบ้านไปต่างถิ่นหรือเดินทางไกลไปหลายๆ วัน ก่อนออกจากบ้าน

พ่อแม่จะเก็บขี้เถ้าจากเตาไฟ ๓ กำมือ มากองรวมกันแล้วให้ผู้จะไปเหยียบขี้เถ้า ๓ ครั้ง พ่อแม่ก็จะให้พร

แล้วหยิบขี้เถ้าโปรยลงบนกระหม่อม อวยชัยให้ไปดีมีโชคลาภปราศจากภัยทั้งมวล แล้วนำผงขี้เถ้าไปโปรยลงหัวบันไดบ้าน

ฝากผีบ้านผีเรือนให้ปกปักรักษา...

ผงเถ้าจากเตาไฟจะป้องภัยเจ้าไปดีเหยียบ ๓ ครั้งก่อนจรลี จะโชคดีมีลาภลอย...

หลังจากนั้นผู้ที่จะออกจากบ้านถึงจะลงไปได้เมื่อลงพ้นบันไดแล้วห้ามกลับขึ้นไปอีก

หากไปนานหลายเดือนหรือเป็นปี ผู้ที่อยู่บ้านหรือพ่อแม่จะต้องต้มเหล้าเดือนละ ๑ ครั้ง

เชิญผู้อาวุโสในหมู่บ้านมาดื่ม แล้วอวยชัยฝากสายลมถึงผู้เดินทางไกล แต่ให้เหลือเหล้าไว้ ครั้งละ ๑ ขวด

รอจนกว่าจะถึงวันกลับมา เมื่อผู้จากบ้านเรือนกลับมาแล้ว ก็จะมีพิธีเข้าบ้านอีก

โดยมีพิธีการล้างเท้าก่อนขึ้นบ้าน แล้วทำพิธีผูกข้อมือนำเหล้าที่เหลือไว้มาดื่มเลี้ยงฉลองการกลับมา

โดยสวัสดิภาพ จริงๆ แล้ว ก็เพื่อให้ผู้ออกจากบ้านและผู้ที่อยู่ข้างหลังมีขวัญกำลังใจ

คลายความวิตกกังวล การห่วงหาอาลัย”

เพอพิต่า

ผู้เฒ่าเล่าขาน ลูกหลานสืบต่อ๙

Page 10: เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่ 1

พ่อเฒ่ามีท่าทางเหนื่อยหอบหลังจากสาธยายมานาน ท้ายสุดก็เอ่ยว่า

“วันนี้พอแค่นี้ก่อน ลูกหลานทั้งหลายวันหน้าจะพูดถึง ธา (บทเพลงแห่งขุนเขา)แตมีต่า (เจี้ย) ตาเลอะเปอ (ตำนาน)และปอเลอะเปอ (นิทาน) ให้ฟัง

จงจำไว้ให้ดี ลูกหลานเอ๋ย ... อย่าลืมกำพรืดของเรา”

ผมได้รับฟังเรื่องราวอันเป็นเรื่องเล่าจากชุมชนจากปากผู้เฒ่าปะกาเกอญอแล้วมีความสุขใจยิ่งเด็กๆ หนุ่มสาวก็ตั้งใจฟังเรี่องราวเหล่านี้ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น

ตะวันใกล้พลบ เด็กๆ ต่างแยกย้ายกันกลับ ผมเดินตามพ่อเฒ่าซักถามรายละเอียดต่อคิดถึงรอยยิ้มมือกะนอเมื่อตอนเช้า ชักจะสยองพิธีมาเกต่าเห็นทีจะต้องโบกมือลาแม่เอื้องป่าแดนไพร...

เรื่องเล่าจากชุมชน ชุดที่๑ ภูมิปัญญาปะกาเกอญอวัดจันทร์ ๑๐