คำเรียกสีในภาษาม...

12
ปีท่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 77 ณรงค กรรณ รอดทรัพย * คำเรียกสีในภาษามงขาว Color Terms in White Hmong Language * อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำเรียกสีในภาษาม้งขาว โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้บอกภาษาซึ่งเป็นคนม้งขาว จำนวน 6 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านน้ำจวงใต้ หมู่ที่ 13 และบ้านน้ำจวง หมู่ที่ 16 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อศึกษาคำเรียกสีพื้นฐาน คำเรียกสี ไม่พื้นฐาน และวิธีการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษาม้งขาว ผลการศึกษาพบว่า คำเรียกสีพื้นฐาน ในภาษาม้งขาวมีจำนวน 10 สี คือ สีขาว/dəɨ 5 / ดำ/du 5 / แดง/liə 5 / เขียว/ɲ̩dʒuə 5 / เหลือง/da 5 / น้ำเงิน/ siə 6 / น้ำตาล/ʔa 6 / ชมพู/pa 3 ɲeŋˀ 5 / ส้ม/tsi6 tsuə 6 / และเทา/tʃhɔ tʃhɔ/ ส่วนคำเรียกสีไม่พื้นฐาน มีจำนวน 6 สี คือ สีฟ้า/siə6dəɨ5/ ม่วง/siə 6 tɕau/ เนื้อ/N̩qai 3 / ทอง/ku 5 / เงิน/dəɨ 5 tɕi/ และเลือด หมู/n̩ tʃha 6 buə/ โดยคำเรียกสีไม่พื้นฐาน มีวิธีการสร้างคำ 3 วิธี ได้แก่ คำเรียกสีพื้นฐานประสมกับ คำบอกความเข้มสว่างของสี คำเรียกสีพื้นฐานประสมกับคำเรียกสีพื้นฐาน และคำเรียกวัตถุสิ่งของมาใช้ เป็นคำเรียกสี คำสำคัญ : คำเรียกสี และภาษาม้งขาว Abstract The purpose of this article is a presentation of color terms in white Hmong language. The data was collected from the interview 6 Hmong informants who live in Baan-NaamJuangTai and Baan-NaamJuang, BorPaak sub-district, Chattrakan district Phitsanuloke province, in order to study the basic color terms, non-basic color terms and

Upload: others

Post on 03-Aug-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 77

ณรงคกรรณ รอดทรัพย*

คำเรียกสีในภาษามงขาวColor Terms in White Hmong Language

* อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรพิษณุโลก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำเรียกสีในภาษาม้งขาว โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์

ผู้บอกภาษาซึ่งเป็นคนม้งขาว จำนวน 6 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านน้ำจวงใต้ หมู่ที่ 13 และบ้านน้ำจวง

หมู่ที่ 16 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อศึกษาคำเรียกสีพื้นฐาน คำเรียกสี

ไม่พื้นฐาน และวิธีการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษาม้งขาว ผลการศึกษาพบว่า คำเรียกสีพื้นฐาน

ในภาษาม้งขาวมีจำนวน10สีคือสีขาว/dəɨ5/ดำ/du5/แดง/liə5/เขียว/ɲ̩dʒuə5/เหลือง/da5/น้ำเงิน/

siə6/ น้ำตาล/ʔa6/ ชมพู/pa3 ɲeŋˀ5/ ส้ม/tsi6 tsuə6/ และเทา/tʃhɔ tʃhɔ/ ส่วนคำเรียกสีไม่พื้นฐาน

มีจำนวน6สีคือสีฟ้า/siə6dəɨ5/ม่วง/siə6 tɕau/ เนื้อ/N̩qai3/ทอง/ku5/ เงิน/dəɨ5 tɕi/และเลือด

หมู/n ̩tʃha6 buə/ โดยคำเรียกสีไม่พื้นฐาน มีวิธีการสร้างคำ 3 วิธี ได้แก่ คำเรียกสีพื้นฐานประสมกับ

คำบอกความเข้มสว่างของสี คำเรียกสีพื้นฐานประสมกับคำเรียกสีพื้นฐาน และคำเรียกวัตถุสิ่งของมาใช้

เป็นคำเรียกสี

คำสำคัญ :คำเรียกสีและภาษาม้งขาว

Abstract

The purpose of this article is a presentation of color terms in white Hmong

language. The data was collected from the interview 6 Hmong informants who live in

Baan-NaamJuangTai and Baan-NaamJuang, BorPaak sub-district, Chattrakan district

Phitsanulokeprovince,inordertostudythebasiccolorterms,non-basiccolortermsand

Page 2: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 78

wordstructureofnon-basiccolor terms inwhiteHmong.Thestudy findingsshow that

thereare10basiccolortermsinwhiteHmongwhicharewhite/dəɨ5/,black/du5/,red/liə5/,

green/ɲ̩dʒuə5/,yellow/da5/,blue/siə6/,brown/ʔa6/,pink/pa3 ɲeŋˀ5/,orange/tsi6 tsuə6/,and

grey/tʃhɔ tʃhɔ/and6non-basiccolortermsinwhiteHmongincludingskyblue/siə6 dəɨ5/,

purple/siə6 tɕau/,nude/N̩qai3/,golden/ku5/,silver/dəɨ5 tɕi/anddarkred/n ̩tʃha6buə/.The3

meansofnon-basiccolorterms’swordstructureinwhiteHmong:basiccolortermsplus

worddefinedcolor’sdarknessandlightness,basiccolortermsplusbasiccolortermsand

worddefinedthingsforcallingmixedcolor.

Keywords : ColortermandwhiteHmonglanguage

ความนำ

ทั้งๆ ที่มนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกภาษา อาศัย

อยู่ภายใต้แสงของดวงอาทิตย์ดวงเดียวกัน มีส่วน

ประกอบของลูกตาอย่างเดียวกัน แต่ก็น่าแปลก

ไม่น้อยที่มนุษย์ซึ่งพูดภาษาต่างๆ กันมีการจำแนก

ประเภทสี (Color categorization) ออกเป็น

จำนวนไมเ่ทา่กนันัน่คอื ในแตล่ะภาษามกีารสรา้ง

คำเรียกสี(Colorterminology)จำนวนไม่เท่ากัน

และมีวิธีการเรียกสีในแบบต่างๆกันด้วย

คำเรียกสีพื้นฐานในภาษาไทยมีอยู่12คำ

ส่วนภาษาฮานุนูของกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งอาศัยอยู่บน

เกาะมนิโดโรในประเทศฟลิปิปนิสม์อียู่4คำอนัทีจ่รงิ

ในภาษาไทยนอกจากจะมีคำเรียกสีพื้นฐานแล้ว

ยงัมคีำเรยีกสไีมพ่ืน้ฐาน ซึง่เปน็คำทีใ่ชเ้รยีกสเีฉพาะ

เจาะจงลงไปอีกเช่นสีแดงเข้มสีแดงอ่อนสีแดง

ส้ม สีเลือดหมู เป็นต้น ส่วนในภาษาฮานุนูก็มีคำ

เรียกสีไม่พื้นฐานที่ใช้เรียกเฉพาะเจาะจงลงไปอีก

เชน่กนัเชน่madapuq“สขีีเ้ถา้”bula;wan“สทีอง”

madilaw“สีขมิ้น”และmabirubiru“สีดำๆ”ซึง่

คอนคลนิ (Conklin.1964 :191) เรยีกวา่ เปน็สี

ในระดับ2(levelII)คำเรียกสีที่ใช้เฉพาะเจาะจง

เหล่านี้จะเรียกว่าคำเรียกสีไม่พื้นฐาน(เรียกตาม

อมราประสทิธิร์ฐัสนิธุ,์2538)เพราะสามารถทีจ่ะ

จัดให้เป็นส่วนหนึ่งของสีพื้นฐานสีใดสีหนึ่งได้ เช่น

สีเลือดหมู จัดอยู่ในสีแดง สีเปลือกมังคุดจัดอยู่ใน

สมีว่งสเีขยีวออ่นสตีองออ่นจดัอยูใ่นสเีขยีวเปน็ตน้

การที่จะจัดคำเรียกสีใดๆ เป็นคำเรียกสี

พื้นฐานหรือไม่พื้นฐานนั้น มีผู้ เสนอเกณฑ์ใน

การศึกษาไว้เป็นพวกแรกๆ คือ เบอร์ลินและเคย์

(Berl in and Kay. 1969 อ้างถึงใน อมรา

ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2538 : 4 - 6) ได้ให้เกณฑ์ใน

การพิจารณาว่าคำใดเป็นคำเรียกสีพื้นฐานหรือไม่

ดังนี้

1.1 จะตอ้งเปน็ศพัทเ์ดีย่ว (monolexemic)

หมายความว่า เป็นคำซึ่งความหมายของคำนั้น

Page 3: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 79

ไม่สามารถทำนายได้จากส่วนหนึ่งส่วนใดของคำ

เช่น คำว่า red “แดง”และ green “เขียว” ใน

ภาษาอังกฤษ เป็นคำเรียกสีพื้นฐานแต่ redish

“ออกแดง” กับ greenish “ออกเขียว” ไม่ใช่คำ

เรียกสีพื้นฐาน

1.2 ความหมายของคำเรียกสีนั้นจะต้อง

ไม่ซ้อนหรือร่วมความหมายของอีกคำหนึ่ง เช่น

dark green “เขียวเข้ม” ไม่ใช่คำเรียกสีพื้นฐาน

เพราะความหมายซ้อนกับ green “เขียว” และ

crimson “สีเลือดหมู” ก็ไม่ใช่คำเรียกสีพื้นฐาน

เพราะเป็นเฉดสีชนิดหนึ่งของred“แดง”

1.3 จะต้องไม่ใช่คำที่ใช้แคบๆ เพื่อเรียก

วัตถุบางประเภทเท่านั้น เช่น คำว่า blonde

“บลอนด์” ในภาษาอังกฤษไม่ใช่คำเรียกสีพื้นฐาน

เพราะใช้กับผมและเฟอร์นิเจอร์เท่านั้น

1.4 จะต้องเป็นคำที่ฝังใจ (phychologi-

callysalient)กล่าวคือมักจะเป็นคำที่ผู้พูดพูดถึง

ก่อน ปรากฏอย่างสม่ำเสมอในผู้บอกภาษาแต่ละ

คนและปรากฏในภาษาบคุคล (ideolect) เจา้ของ

ภาษานั้นๆ ทุกคน คำว่า mauve “ม่วงสด” ใน

ภาษาอังกฤษไม่ถือว่าเป็นคำเรียกสีพื้นฐานเพราะ

เกณฑ์นี้

1.5 คำใดที่น่าสงสัยว่าจะเป็นคำพื้นฐาน

หรือไม่ ให้ดูการปรากฏทางไวยากรณ์ ถ้าเหมือน

กับคำเรียกสีพื้นฐานอื่นๆ ให้ถือว่าเป็นคำพื้นฐาน

ด้วย เช่น คำเรียกสีพื้นฐานในภาษาอังกฤษมัก

ปรากฏกับ –ish ได้ ดังนั้น เมื่อเราพบคำเรียกสี

เช่น redish เราถือว่า red เป็นคำเรียกสีพื้นฐาน

แต่ crimson ไม่ใช่คำเรียกสีพื้นฐาน เพราะไม่มี

crimsonish

1.6 คำเรียกสีที่หมายถึงสีเดียวกับวัตถุ

ไม่ใช่คำเรียกสีพื้นฐาน (เช่น สีปีกแมลงทับ สีปูน

แห้งในภาษาไทยผู้เขียน)

1.7 คำยืมใหม่ๆ จากภาษาอื่นไม่น่าจะนับ

ว่าเป็นคำเรียกสีพื้นฐาน

เบอร์ลินและเคย์(BerlinandKay.1969

อ้างถึงใน อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2538 : 6-7)

ได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลคำเรียกสีพื้นฐานตาม

เกณฑ์ที่ให้นี้ จากภาษาจำนวนเกือบร้อยภาษา

ทั่วโลก และพบว่าภาษาบางภาษาอาจมีคำเรียกสี

พื้นฐานตั้งแต่ 2 คำ จนถึงภาษาที่มีคำเรียกสี

พื้นฐาน 11 คำ ข้อค้นพบนี้ทำให้พวกเขาสรุปว่า

คำเรียกสีพื้นฐานที่เป็นสากลทั่วโลกน่าจะมีจำนวน

อยู่อย่างมาก 11 คำ ใช้เรียกประเภทสี ซึ่งเทียบ

กับภาษาอังกฤษได้คือwhite“ขาว”black“ดำ”

red “แดง” green “เขียว” yellow “เหลือง”

blue “น้ำเงิน” pink “ชมพู” brown “น้ำตาล”

purple“ม่วง”orange“แสด”และgrey“เทา”

วิวัฒนาการของคำเรียกสีพื้นฐาน

เบอร์ลินและเคย์(BerlinandKay.1969

อา้งถงึในอมราประสทิธิร์ฐัสนิธุ.์2538:7-8)ไดต้ัง้

สมมติฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการของคำเรียกสี

พื้นฐานเป็นครั้งแรกว่า คำเรียกสีพื้นฐาน มีระยะ

เวลาในการเกดิลำดบัตอ่เนือ่งกนัและลำดบัการเกดิ

ของคำเรียกสีพื้นฐานมีลักษณะเป็นสากล

Page 4: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 80

ต่อมาเมื่อได้ศึกษาข้อมูลจากภาษาต่างๆ

มากขึน้ เบอรล์นิและเคยไ์ดเ้ปลีย่นแปลงสมมตฐิาน

เดิมไปเล็กน้อย ในที่นี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงเฉพาะ

สมมติฐานของลำดับการเกิดคำเรียกสีพื้นฐานที่

เขาเสนอล่าสุดโดยสรุปดังแผนภูมิที่1

จากแผนภูมิ อธิบายได้ว่า (อักษรย่อ

W = White, Bk = Black, R = Red, Y =

Yellow,G=Green,Bu=Blueและคำที่อยู่ใน

เครื่องหมายอัญประกาศ“.....”เป็นคำสมมติ)

ลำดับที่3 เป็นไปได้ว่าลำดับlllaเกิดคำ

ว่า “YELLOW” ซึ่งหมายถึง สี Y โดยแยกออก

จากสี“RED”เดิมหรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็นลำดับ

lllbเกิดคำว่า“GURE”ซึ่งหมายถึงสีเย็น(cool)

ลำดับที่ 1ทุกๆ ภาษาเกิดคำเรี ยกสี

“WHITE”ซึ่งหมายถึงสีอ่อน-ร้อน(light-warm)

ได้แก่ สี W R และ Y และคำ “BLACK”

หมายถึงสีเข้ม-เย็น(dark-cool)ได้แก่สีBk,G,

Buและสีเข้มอื่นๆ

ลำดับที่2 เกิดคำเรียกสี“RED”หมายถึง

สีร้อน(warm)ได้แก่สีRและสีYซึ่งแยกออก

จากสี“WHITE”เดิม

แผนภมูทิี ่1 แสดงสมมตฐิานของลำดบัการเกดิคำเรยีกสพีืน้ฐานทีเ่สนอโดยเคย์(Kay,1975;Kayand

McDaniel,1978อ้างถึงในอมราประสิทธิ์รัฐสินธุ์.2538:8,18)

ไดแ้ก่สีGและBuโดยแยกออกจากสี“BLACK”

เดิมอย่างใดอย่างหนึ่ง

ลำดับที่4 เกิดคำเรียกสีทั้ง “YELLOW”

และ“GRUE”

Page 5: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 81

ลำดับที่5 เกิดคำเรียกสี “GREEN”

หมายถงึสีGและ“BLUE”หมายถงึสีBuคำใด

คำหนึ่ง แยกออกจาก “GRUE” หมายความว่า

หาก“GREEN”แยกออกไปคำว่า“GRUE”เดิม

ก็จะหมายถึง สี Bu หาก “BLUE” แยกออกไป

คำว่า“GRUR”ก็จะหมายถึงสีG

ลำดับที่6 เกิดคำเรียกสี “BROWN”

หมายถึงสีY+Bk

ตารางที่ 1 แสดงตัวอย่างภาษาที่มีจำนวนคำเรียกสีพื้นฐานต่างกัน(ดัดแปลงจากLeech.1981:234)

จำนวนคำ คำเรียกสีพื้นฐานที่มี ตัวอย่างภาษา

2(ลำดับI)

“white”,“black” Jale’(ภาษาของชนเผ่าบนที่สูงในเกาะนิวกินี)

3(ลำดับII)

“white”,“black”,“red” Tiv(ชนเผ่าในไนจีเรีย)

4(ลำดับIII)

“white”,“black”,“red”,“grue” Hanunoo(ชาวเผ่าบนเกาะมินโดโรในฟิลิปปินส์)

4(ลำดับIII)

“white”,“black”,“red”,“yellow” Ibo(ชนเผ่าในไนจีเรีย)

5(ลำดับIV)

“white”,“black”,“red”,“grue”,“yellow”

Tzeltel(ชนเผ่าในเม็กซิโก)

6(ลำดับV)

“white”,“black”,“red”,“green”,“yellow”,“blue”

PlainsTamil(ชาวทมิฬในอินเดีย)

7 (ลำดับVI)

“white”,“black”,“red”,“green”,“yellow”,“blue”,“brown”

NezPerce(อินเดียนแดงในตอนเหนือของอเมริกา)

8,9,10หรือ11(ลำดับVII)

“white”,“black”,“red”,“green”,“yellow”,“blue”,“brown”and/or“pink”and/or“orange”and/or“gray”

English(อังกฤษ)

ลำดับที่7 เกิดคำเรียกสี “PURPLE”

หมายถึง สี R+Bu “PINK” หมายถึง สี R+W

“ORANGE” หมายถึง สี R+Y และ “GRAY”

หมายถึง สี Bk+W ทั้งนี้คำเรียกสีกลุ่มนี้อาจเกิด

สลับตำแหน่งกันได้

เบอร์ลินและเคย์(BerlinandKay.1969

cited inLeech.1981 :234)ได้แสดงตัวอย่าง

ภาษาที่มีวิวัฒนาการของจำนวนคำเรียกสีพื้นฐาน

แตกต่างกันไว้ดังตารางที่1

Page 6: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 82

นอกจากนี้เบอร์ลินและเคย์ยังให้ข้อสังเกต

ด้วยว่าภาษาที่มีวิวัฒนาการของคำเรียกสีพื้นฐาน

ในลำดับต้นๆ เช่น I, II,และ IIIมักจะเป็นภาษา

ของกลุ่มชนที่มีเทคโนโลยีที่เรียบง่าย เช่น สังคม

ของเผ่าฮานุนู ขณะที่ภาษาที่มีวิวัฒนาการของคำ

เรียกสีพื้นฐานจนถึงลำดับที่ VII มักจะเป็นภาษา

ของกลุ่มชนที่เป็นสังคมที่มีเทคโนโลยีซับซ้อนเช่น

สังคมอังกฤษ(BerlinandKay.1969cited in

Hickerson.1980:124)

ชนเผ่าที่มีเทคโนโลยีแบบเรียบง่าย และมี

คำเรียกสีพื้นฐานน้อยเช่นชาวฮานุนูในประเทศ

ฟิลิปปินส์นี้ จะตั้งบ้านเรือนกึ่งถาวรอยู่ตามไหล่

เขาใกล้กับลำน้ำบ้านทำจากไม้และไม้ไผ่หลังคา

มุงจาก แต่เดิมดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์เพียงอย่าง

เดียว โดยมีเครื่องมือคือ ลูกดอกอาบยาพิษ หอก

กับดัก การสุมไฟ หรือใช้สุนัขช่วยล่า แต่ปัจจุบัน

รูจ้กัการปลกูพชืกนิและขายใหค้นพืน้ราบได้ ผูช้าย

รู้จักสานตะกร้า ตีมีด ผู้หญิงรู้จักปลูกฝ้าย ปั่น

และทอผ้าได้แล้ว (Encyclopedia of World

Cultures.VolIII.90-91)

ส่วนชาวม้งในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน

2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่งม้งจั๊วหรือม้งดำ บางทีก็

เรียกว่าม้งลาย (Hmoong Njua) มักแต่งกายชุด

สีดำมากกว่าสีอื่น ผู้ชายสวมเสื้อเปิดให้เห็นท้อง

ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามพรมแดนไทย และอาศัยอยู่

ประปรายในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน

ขณะที่กลุ่มที่สองม้งเด๊อหรือม้งขาว (Hmoong

Deaw) ชุดของทั้งชายและหญิงมีแถบผ้าสีขาว

เย็บอยู่ปลายแขนเสื้อ ผู้หญิงสวมกระโปรงสีขาว

ไม่มีลวดลาย มีประชากรมากกว่าม้งดำ (พระ

วิชชุพงศ์ แซ่หยาง. 2552 : 11) อย่างไรก็ตาม

ชาวมง้ทัง้สองเผา่พดูภาษาคลา้ยๆกนัคอืมรีากศพัท์

และไวยากรณ์ที่เหมือนกัน ทว่าการออกเสียงหรือ

สำเนียงแตกต่างกันเล็กน้อย ชาวม้งสามารถใช้

ภาษาของเผา่ตนเองพดูคยุกบัชาวมง้เผา่อืน่ใหเ้ขา้ใจ

กันได้อย่างดี แต่ไม่มีภาษาเขียนหรือตัวหนังสือ

เป็นของตนเอง ดังนั้นในปัจจุบันชาวม้งจึงต้อง

เขียนและอ่านหนังสือภาษาม้งซึ่งถ่ายถอดเป็นตัว

อักษรหนังสือละติน (Hmong RPA) ซึ่งคิดค้น

โดยมิชชันนารี เรื่องราวความเป็นมาต่างๆ ของ

ชาวม้งจึงอาศัยวิธีการจดจำและเล่าสือต่อกันมา

เพียงเท่านั้น(ทิพวรรณเอี่ยมจันทร์.2549:14)

ทั้งนี้ภาษาม้งขาว หรือ ภาษาม้งเด๊อว (Hmong

Daw) มีผู้พูดทั้งหมด 514,895 คน พบในจีน

232,700 คน (พ.ศ. 2547) ทางตะวันตกของ

กุ้ยโจวทางใต้ของเสฉวนและยูนนานพบในลาว

169,800คน (พ.ศ. 2538)ทางภาคเหนือพบใน

ไทย32,395คน(พ.ศ.2543)ในจงัหวดัเพชรบรูณ์

ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย น่านพิษณุโลก เลย

สุโขทัย กำแพงเพชร แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์

ลำปาง(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2530)

ข้อสังเกตของเบอร์ลินและเคย์เกี่ยวกับ

ภาษาที่มีวิวัฒนาการของคำเรียกสีพื้นฐานจนถึง

ลำดับที่ VII มักจะเป็นภาษาของกลุ่มชนที่เป็น

สังคมซึ่งมีเทคโนโลยีซับซ้อน เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

ที่ทำให้ผู้เขียนสนใจที่จะศึกษาคำเรียกสีในภาษา

ม้งขาว เนื่องจากชาติพันธุ์ม้งขาวในปัจจุบันมี

แบบแผนการดำรงชีวิต และวัฒนธรรมหลาย

ประการซึ่งแปรเปลี่ยนจากเดิมอย่างมาก เพื่อการ

Page 7: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 83

ปรับตัวให้สอดคล้องต่อแนวโน้มโลกาภิวัตน์แบบ

ชุมชนเมือง การปรับตัวดังกล่าวของชาติพันธุ์

ม้งขาวทำให้ผู้เขียนสนใจใคร่รู้ว่าประเด็นนี้จะมี

ความเกี่ยวพันกับการสร้างคำเรียกสีของพวกเขา

หรือไม่อย่างไร

วิธีการเก็บข้อมูล

ผู้เขียนศึกษาคำเรียกสีของภาษาม้งขาว

โดยมีขั้นตอนและวิธีการดังนี้ (การเก็บข้อมูลโดย

ใช้แผ่นสี ผู้เขียนทำตามแบบของเบอร์ลินและเคย์

(Berlin and Kay. 1969 อ้างถึงใน ธนานันท์

ตรงดี.2541:205)

1. การเตรียมอุปกรณ์มีลำดับดังนี้

1.1 นำแผ่นชาร์ตสีที่พิมพ์จำหน่ายโดย

บริษัทสยามแกรฟฟิกเอเยนซี่ จำกัด ซึ่งรวมสีเอา

ไว้ถึง220สีมีทั้งสีเดี่ยวและสีผสมทั้งสีแก่และสี

อ่อน มาตัดออกเป็นแผ่นๆ ซึ่งแต่ละสีจะมีขนาด

ประมาณ0.8”×1”ได้220แผ่น

1.2 นำแผ่นสีแต่ละแผ่นติดลงบน

กระดาษแข็งสีขาว ขนาดประมาณ 1.5” × 2”

เพื่อความคงทนและสะดวกในการใช้ และเลือก

พื้นสีขาวเพราะจะแสดงความตัดกันของสีแต่ละ

แผ่นกับพื้นสีขาวอย่างชัดเจน

1.3 นำแผ่นสีทั้งหมดมาวางเรียงบน

กระดาษชาร์ตสีขาวแผ่นใหญ่ พยายามวางเรียง

คละสลับกันและมิให้สีที่คล้ายคลึงกันมาอยู่ใกล้ชิด

กันพบว่ามีแผ่นสีที่ซ้ำกันอยู่3แผ่นจึงได้คัดออก

และยังขาดสีขาว จึงได้ทำเพิ่มขึ้น รวมแล้วมีแผ่น

สี218แผ่น

1.4 ลงแผ่นเลขที่ด้านหลังของแผ่นสี

แต่ละแผ่นที่ได้สลับกันแล้วตั้งแต่หมายเลข1-218

จัดลงกล่องเล็กๆเรียงลำดับตามหมายเลข

2. การเก็บข้อมูลมีลำดับดังนี้

2.1 เริ่มเก็บข้อมูลโดยผู้เขียนพยายาม

สนทนากับผู้บอกภาษาเกี่ยวกับเรื่องสีก่อน ด้วย

การชี้ไปยังสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ใกล้ๆ โดยใช้ภาษา

ไทยกลางและคำเมอืงเปน็สือ่ทำใหไ้ดข้อ้มลูเบือ้งตน้

ว่าภาษานี้น่าจะมีคำเรียกสีพื้นฐานและไม่พื้นฐาน

หรือไม่ หลังจากนั้นจึงได้บอกวัตถุประสงค์และวิธี

ปฏิบัติในการเก็บข้อมูลให้ผู้บอกภาษาทราบ

2.2 หยิบแผ่นสีออกมาทีละแผ่น โดย

ขานหมายเลขก่อน แล้วให้ผู้บอกภาษาดูและตอบ

โดยออกเสียง 2 ครั้ง ไปจนครบทุกแผ่น โดยได้

บันทึกเสียงและจดสัทอักษรคำเรียกสีทุกครั้งที่พบ

ว่ามีคำเรียกสีคำใหม่เกิดขึ้น

2.3 ตรวจสอบจำนวนคำเรยีกสทีีบ่นัทกึ

ไว้แล้ว

2.4 นำแผน่สทีัง้หมดมาคละกนับนแผน่

กระดาษชาร์ตสีขาวแผ่นใหญ่อีกครั้งหนึ่งแล้วให้

ผูบ้อกภาษาแยกแผน่สอีอกเปน็กลุม่ๆ วา่ควรจะให้

สีใดอยู่กับสีใด

2.5 ในการเก็บข้อมูลนี้จะต้องกระทำ

ในขณะที่มีแสงแดดพอเหมาะหากท้องฟ้ามืดครึ้ม

ผู้เขียนก็จะหยุดเก็บข้อมูล ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้

ผู้บอกภาษามองสีผิดเพี้ยนไป

Page 8: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 84

ผลการศึกษา

จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่บ้านน้ำจวงใต้

หมู่ที่13และบ้านน้ำจวงหมู่ที่16ตำบลบ่อภาค

อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปรากฏคำ

เรียกสีในภาษาม้งขาวดังรายละเอียดต่อไปนี้

3.1 คำเรียกสีพื้นฐานในภาษาม้งขาว

การศึกษาคำเรียกสีพื้นฐานของ เบอร์ลิน

และเคย์ (Berlin and Kay. 1969 อ้างถึงใน

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2538 : 6-7) ปรากฏคำ

เรียกสีพื้นฐานทั้งหมด 12 สี ได้แก่ สีขาว ดำ

แดงเขียวเหลืองฟ้าน้ำเงินน้ำตาลม่วงชมพู

ส้ม และเทา ทว่าจากการวิ เคราะห์โดยใช้

หลักเกณฑ์ดังกล่าวผู้เขียนพบคำเรียกสีพื้นฐานใน

ภาษาม้งขาวมีจำนวน10สีดังนี้

1) /du5/1สีขาวผู้บอกภาษาใช้เรียกสีขาว

และสีครีม(สีไข่ไก่เกือบขาว)

2) /dəɨ5/ สีดำ ผู้บอกภาษาใช้เรียกสีดำ

สีเข้มเกือบดำ อาทิ สีน้ำเงินดำ สีเขียวคล้ำเกือบ

ดำสีน้ำตาลเกือบดำรวมทั้งสีเทาเข้มเกือบดำ

3) /liə5/ สีแดง ผู้บอกภาษาใช้เรียกสีแดง

สีแดงสด สีแดงเลือดนก สีชมพูเข้ม รวมทั้งสีส้ม

เข้ม

4) /ɲ̩dʒuə5/ สีเขียว ผู้บอกภาษาใช้เรียก

สีเขียวสีเขียวเข้มรวมทั้งสีเขียวแก่

5) /da5/ สีเหลือง ผู้บอกภาษาใช้เรียก

สีเหลืองแก่และสีเหลืองปานกลาง

6) สนีำ้เงนิภาษามง้ขาวเรยีกวา่/siə6/ใช้

เรยีกสนีำ้เงนิเขม้เกอืบมว่ง นำ้เงนิ และนำ้เงนิเขม้

7) สนีำ้ตาลสนีีภ้าษามง้ขาวเรยีกวา่ /ʔa6/

ใช้เรียก แดงอ่อน น้ำตาลอ่อน น้ำตาล และ

น้ำตาลเข้ม คำนี้ผู้บอกภาษาใช้เรียกตามสีของดิน

หมายถึงสีเฉดน้ำตาลปนแดงอย่างดิน

8) สีชมพูนั้น ทั้งผู้บอกภาษาหลักและ

ภาษาบอกภาษารอง ต่างเรียกว่า /pa3 ɲeŋˀ5/

เพื่อเรียกเฉดสีชมพูทั้งสีบานเย็น สีปูนแห้ง และ

สีชมพูเข้ม(shockingpink)

9) สีส้ม สีนี้ ผู้บอกภาษาหลักเรียกว่า

/tsi6 tsuə6/ คำนี้ใช้เรียกสีเหลืองเจือแดง สีอิฐ

หรือสีแดงอ่อนก็ได้ นอกจากนี้ในผู้บอกภาษาซึ่ง

เป็นคนรุ่นอายุมากก็อาจเรียกว่า /pa3 vau/ คำนี้

ผู้บอกภาษาใช้เรียกตามสีของดอกไม้ชนิดหนึ่งใน

ภาษาไทยคือดาวเรืองหมายถึงสีเหลืองเข้มออก

แดงอย่างสีดอกดาวเรือง

10) สีเทา สีนี้มีคำที่ใช้เพียงคำเดียวคือ

/tʃhɔ tʃhɔ/ ใช้เรียกสีเทาแบบสีขาวปนดำ สีทึม

หรือสีใดที่ไม่สดใส อนึ่งคำนี้นอกจากหมายถึงคำ

เรียกสีเทาดังกล่าวแล้ว ยังเป็นคำขยายคำเรียกสี

ได้ด้วยมีความหมายว่า“หม่น”“อ่อน”นอกจาก

นี้ในผู้บอกภาษาซึ่งเป็นคนรุ่นอายุมากก็อาจเรียก

ว่า /tʃhɔ təɨ/ คำนี้ผู้บอกภาษาใช้เรียกตามสีของ

ควันไฟหมายถึง“สีเทาเข้มอย่างควันไฟ”

3.2 คำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษาม้งขาว

สีฟ้าม่วงเนื้อทองเงินและเลือดหมูนั้น

ผู้เขียนจัดเป็นคำเรียกสีไม่พื้นฐาน ตามแนวคิด

ของอมราประสิทธิ์รัฐสินธุ์(2538:171)ดังนี้

1)สฟีา้ฟา้ออ่นภาษามง้ขาวเรยีกวา่/siə6

dəɨ5/แปลว่า“น้ำเงินขาว”ใช้เรียกสีฟ้าน้ำทะเล

1 ถ่ายทอดระบบเสียงภาษาม้งขาวจากงานวิจัยของอมรทวีศักดิ์(2531:123-174)s

Page 9: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 85

สีฟ้าครามส่วน/siə6 tʃhɔ/แปลว่า“น้ำเงินอ่อน”

ใช้เรียกสีฟ้าอ่อนสีฟ้าแกมเขียวอย่างไข่นกพิราบ

2) สมีว่งภาษามง้ขาวเรยีกวา่ /siə6 tɕau/

แปลว่า น้ำเงินเข้ม น้ำเงินทึบ ใช้เรียกสีม่วง

ม่วงเข้มแบบสีเปลือกมังคุด สีกะปิ รวมถึงสี

ม่าเหมี่ยว (ม่วงเข้มเกือบดำ) ส่วนม่วงอ่อนอย่าง

ดอกต้อยติ่งดอกศรีตรังหรือดอกตะแบกเรียกว่า

/siə6 tʃhɔ/ หรือ /pa3 ɲeŋˀ5 tʃhɔ/ อาจจัดเป็น

เฉดสีหนึ่งของน้ำเงินหรือชมพูอย่างใดอย่างหนึ่ง

3) สีเนื้อสีนี้ผู้บอกภาษาเรียกว่า/N ̩qai3/

คำนี้ใช้เรียก “เนื้อ” (ผิวหนัง) ด้วย กล่าวคือเป็น

คำซึ่ งใช้ เรียกสีแบบผิวหนัง จะเป็นสีน้ำผึ้ ง

สีดำแดง หรือสีน้ำตาลแกมเหลืองก็ได้ และ

เนื่องจากคำนี้ไม่มีคำซึ่งเป็นตัวแทนของสีโดย

เฉพาะ เป็นคำที่ใช้เรียกสรรพสิ่งได้ จึงจัดเป็นคำ

เรียกสีไม่พื้นฐาน

4) สีทอง คือ /ku5/ แปลว่า “ทองคำ”

เป็นคำซึ่งใช้เรียกสีเหลืองแวววาวอย่างทองคำ

5) สีเงินนั้น ไม่มีคำเรียกสีโดยเฉพาะใน

ภาษาม้งขาว ทั้งผู้บอกภาษาหลักและภาษาบอก

ภาษารอง ต่างเรียกว่า /dəɨ5 tɕi/ แปลว่า “ขาว

แบบมีแสง”ใช้เพื่อเรียกสีขาวแวววาวอย่างโลหะ

6) สีเลือดหมูผู้บอกภาษาเรียกว่า/n̩tʃha6

buə/ คำนี้ใช้เรียกเลือดหมูด้วย กล่าวคือเป็นคำ

ซึ่งใช้เรียกสีแดงเข้มเกือบดำอย่างสีเลือดของหมู

3.3 วิธีการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานใน

ภาษาม้งขาว

จากการสอบถามคำเรียกสีทั้ง220สี จาก

ผู้บอกภาษาพบว่า มีการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐาน

5วิธีดังนี้

1) การนำคำเรียกสีพื้นฐานประกอบกับคำ

ขยายซึ่งบอกความเข้มสว่างของสี ได้แก่ /tʃhɔ/

แปลว่า “อ่อน” “หม่น” “จืด/จาง” และ /tɕau/

“มืด” “เข้ม” “ทึบ” เติมหน้าหรือหลังคำเรียกสี

พื้นฐานอาทิ

/pa3 ɲeŋˀ5 tɕau/แปลวา่สชีมพเูขม้(ทีจ่รงิ

คือสีม่วงดอกต้อยติ่ง)

/siə6 tʃhɔ/แปลว่าสีน้ำเงินจาง(ที่จริงคือ

สีม่วงดอกผักตบชวา)

/dəɨ5 da5 tɕau/แปลว่าสีขาวเหลืองเข้ม

(ที่จริงคือสีน้ำผึ้ง)

/dəɨ5 tʃhɔ/ แปลว่า สีขาวอ่อน (ที่จริงคือ

สีฟ้าขาวอย่างเปลือกไข่นกกระทา)

/liə5 tʃhɔ/ แปลว่า สีแดงอ่อน (ที่จริงคือ

สีเนื้อ)

/tʃhɔ tɕau/หมายถึงสีเทาทึบ

2) การนำคำเรียกสีพื้นฐานประกอบกัน

อาทิ

/dəɨ5 da5/แปลว่าสีขาวเหลืองหมายถึง

สีขาวเหลืองเข้มอย่างสีน้ำผึ้ง

/siə6 ɲ̩dʒuə5/ แปลว่า สีน้ำเงินเขียว

หมายถึงสีเขียวมืดอย่างสีเขียวหัวเป็ด

3) การนำคำเรียกสรรพสิ่งมาสร้างเป็นคำ

เรียกสีอาทิ

/n̩tʃha6buə/หมายถึงสีเลือดหมู (สีแดง

เข้มเกือบดำ)

/ku5/หมายถงึสทีอง(สเีหลอืงเขม้แวววาว)

/N̩qai3/หมายถึงสีเนื้อ (สีน้ำน้ำตาลอ่อน

เจือเหลือง)

/tʃhɔ təɨ/หมายถึงสีควันไฟ(สีเทาเข้ม)

Page 10: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 86

/pa3 vau/ หมายถึง สีดอกดาวเรือง (สี

เหลืองเข้มออกแดง)

/ʔa6/หมายถึงสีดิน(สีน้ำตาลปนแดง)

จากการสร้างคำเรียกสีทั้ง 3 วิธีข้างต้น

อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า คำบอกความเข้มสว่าง

ของสี สามารถใช้ขยายได้เฉพาะคำเรียกสีพื้นฐาน

เท่านั้น อนึ่งแม้คำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษาม้ง

ขาวส่วนใหญ่เป็นคำเรียกสีพื้นฐานประกอบกับคำ

บอกความเข้มสว่างของสีทว่ายังมีคำเรียกสีไม่พื้น

ฐานจำนวนหนึ่งเกิดจากการนำสรรพสิ่งรอบตัวซึ่ง

สามารถมองเห็นได้ ตลอดจนเป็นสิ่งซึ่งอยู่ใกล้ตัว

เจ้าของภาษานั่นเอง

อภิปรายผลการศึกษา

ผลการศึกษาคำเรียกสีในภาษาม้งขาว ที่

บ้านน้ำจวงใต้หมู่ที่13และบ้านน้ำจวงหมู่ที่16

ตำบลบอ่ภาคอำเภอชาตติระการจงัหวดัพษิณโุลก

สามารถสรุปได้ว่าความแตกต่างระหว่างอายุมีผล

ต่อการเรียกชื่อสีแตกต่างกันกล่าวคือ ผู้บอกภาษา

วัยชราที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป รู้จักคำเรียกสีที่

เปน็สธีรรมชาติไดด้กีวา่วยัอืน่ๆโดยเฉพาะอยา่งยิง่

วัยรุ่นลงมาจนถึงวัยเด็กซึ่งส่วนมากพูดภาษาม้ง

ขาวได้ แต่เกือบไม่รู้ภาษาเขียนม้งขาว (Hmong

RPA) แล้ว การใช้คำเรียกสีดังกล่าวอาจเนื่องมา

จากในสมัยก่อนปรากฏสีในธรรมชาติเพียงไม่กี่สี

การรับรู้สีของผู้คนผ่านคำเรียกชื่อสีต่างๆ จึงไม่

หลากหลาย แตกตา่งจากปจัจบุนัซึง่มคีวามกา้วหนา้

ด้านเทคโนโลยีจึงปรากฏสีใหม่ๆ หลากหลาย

ผู้บอกภาษาหลักซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่จึง

เรียกสีใหม่ๆ ตามการรับรู้เดิมแห่งตน โดยอาศัย

การเทยีบเคยีงกบัสใีนธรรมชาตทิีต่นเคยพบเหน็มา

อนึ่งการรับรู้สี ตลอดจนการเรียกชื่อสีของแต่ละ

บคุคลซึง่เรยีกแตกตา่งกนัแมว้า่สนีัน้เปน็สเีดยีวกนั

ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละบุคคลมีประสบการณ์และ

การเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวแตกต่างกัน การใช้คำ

เรียกสีจึงเป็นภาพสะท้อนทัศนคติ โลกทัศน์ของ

บุคคลนั้นๆ

\[

Page 11: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 87

เอกสารอ้างอิง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2530) ศัพทานุกรมไทย-คำเมือง-ม้งขาว-กะเหรี่ยงสะกอ-มูเซอดำสำหรับ

แพทย ์ ทนัตแพทยแ์ละสตัวแพทยเ์พือ่การพฒันณุภาพชวีติของชาวชนบท. กรงุเทพมหานคร :

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระณรงค์กรรณ พุ่มอรัญ. (2550) “คำเรียกสีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542”

มฉก.วิชาการ.10(20)หน้า93-105.

ทิพวรรณ เอี่ยมจันทร์. (2549) ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พืชสมุนไพรของชาวม้ง ใน

ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การจัดการ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)พิษณุโลก:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธนานันท์ ตรงดี. (2541) “คำเรียกสีของเงาะป่า (ซาไก)” สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และ

มนุษยศาสตร์.4(2)หน้า197-211.

พระวิชชุพงศ์ แซ่หยาง. (2552) ศึกษาความเป็นมาและความเชื่อที่ปรากฏในลายปักบนผืนผ้าของ

ชาวเขาเผ่าม้ง บ้านห้วยทรายเหนือ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก การศึกษาค้นคว้าด้วย

ตนเองศศ.ม.(ภาษาไทย)พิษณุโลก:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร

ศุภมาส เอ่งฉ้วน. (2543) คำเรียกสีและมโนทัศน์เรื่องสีของคนไทยสมัยสุโขทัย และสมัยปัจจุบัน.

วิทยานิพนธ์ อ.ด. (ภาควิชาภาษาศาสตร์) กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สาริสาอุ่นทานนท์.(2550)“คำเรียกสีในภาษาลาว”มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์.24(1)หน้า33-46.

อมร ทวีศักดิ์. (2531) บทสนทนาสาธารณสุขมูลฐานไทย-ม้ง. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและ

วัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยมหิดล.

Berlin, Brent and Kay Paul. (1969) Basic Color Terms : Their Universality and

Evolution.Berkeley:UniversityofCaliforniaPressอ้างถึงในอมราประสิทธิ์รัฐสินธุ์.

(2538) คำเรียกสีและการรับรู้ของชาวจ้วงและชาวไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

Page 12: คำเรียกสีในภาษาม งขาวjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่ 6.pdfแห ง ในภาษาไทยผ เข ยน) 1.7 คำย

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 88

Conklin,HaroldC.(1964)“HanunooColorCategories”inHymes,Dell(ed.)Language in

Culture and Society.page189-192NewYork:HarperandRow.

Encyclopedia of World Culture.Volume3.NewYork:G.K.HallCompany.

Hickerson, Nancy Parrott. 1980. Linguistic Anthropology. New York : Rinehart and

WinstonInc.

Kay, Paul. 1975. “Synchronic Variability and Diachronic Change in Basic Color Terms”

Language in Society.4p.257-270.

Kay, Paul and Chad K. McDaniel. 1978. “The Linguistic Significant of the Meaning of

BasicColorTerms”Language.54:3p.610-646.

Leech, Geoffrey. 1981. Semantic, The Study of Meaning. 2 ed. New York : Penguin

Book.

\[