ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน :...

14
ปีท่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 103 กนกพร นทธนสมบัต * ทฤษฎีการเปลี่ยนผาน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภปกติ Transition Theory : A Case Study of a Normal Pregnant Woman * อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ บทคัดย่อ ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านเป็นทฤษฎีระดับกลางที่ผู้วิจัยและนักปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก สามารถเข้าถึงและนำไปประยุกต์ใช้แก่ผู้รับบริการ สตรีตั้งครรภ์เป็นผู้รับบริการกลุ่มหนึ่งที่จะต้องได้รับ การดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นอย่างมากมายในขณะตั้งครรภ์ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ยิ่งไปกว่านั้น การตั้งครรภ์ก็เป็นการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการ หรือในช่วงชีวิตหนึ่งของสตรี ซึ่งส่งผลทั้งทางบวกและทางลบต่อสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และ ครอบครัวได้ จากกรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ์ปกติ พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ตลอดจนการรับรู้ถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเองขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์ให้ความสนใจในการดูแลตนเอง ขณะที่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้ การได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากสามีและครอบครัวทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ และสังคมเศรษฐกิจ อีกทั้งความห่วงใยที่ได้รับจากญาติและเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงเป็น เงื่อนไขหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้สตรีตั้งครรภ์ปกติมีกำลังกายและ กำลังใจที่จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านดำเนิน ไปได้ด้วยดี สำหรับการบำบัดทางการพยาบาล พยาบาลเป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทหน้าที่ในการประเมิน ความพร้อม การเตรียมการ ตลอดจนการใช้บทบาทเสริม ซึ่งบทบาทในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ จะอยู่ใน รูปแบบของการประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การตรวจร่างกาย การตรวจครรภ์ การให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว รวมถึงการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาอาการไม่สุขสบาย ที่อาจเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านของสตรีตั้งครรภ์ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น คำสำคัญ: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน สตรีตั้งครรภ์ปกติ

Upload: others

Post on 17-Jul-2020

9 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 103

กนกพร นทีธนสมบัติ*

ทฤษฎีการเปลี่ยนผาน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภปกติ

Transition Theory :

A Case Study of a Normal Pregnant Woman

* อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

บทคัดย่อ

ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านเป็นทฤษฎีระดับกลางที่ผู้วิจัยและนักปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก

สามารถเข้าถึงและนำไปประยุกต์ใช้แก่ผู้รับบริการ สตรีตั้งครรภ์เป็นผู้รับบริการกลุ่มหนึ่งที่จะต้องได้รับ

การดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นอย่างมากมายในขณะตั้งครรภ์

ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ยิ่งไปกว่านั้น การตั้งครรภ์ก็เป็นการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการ

หรือในช่วงชีวิตหนึ่งของสตรี ซึ่งส่งผลทั้งทางบวกและทางลบต่อสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และ

ครอบครัวได้ จากกรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ์ปกติพบว่าการรับรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ตลอดจนการรับรู้ถึง

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเองขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์ให้ความสนใจในการดูแลตนเอง

ขณะที่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้ การได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากสามีและครอบครัวทั้งทางด้าน

ร่างกาย จิตใจ และสังคมเศรษฐกิจ อีกทั้งความห่วงใยที่ได้รับจากญาติและเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงเป็น

เงื่อนไขหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้สตรีตั้งครรภ์ปกติมีกำลังกายและ กำลังใจที่จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านดำเนิน

ไปได้ด้วยดีสำหรับการบำบัดทางการพยาบาลพยาบาลเป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทหน้าที่ในการประเมิน

ความพร้อม การเตรียมการ ตลอดจนการใช้บทบาทเสริม ซึ่งบทบาทในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ จะอยู่ใน

รปูแบบของการประเมนิภาวะสขุภาพของสตรตีัง้ครรภแ์ละทารกในครรภ์การตรวจรา่งกายการตรวจครรภ์

การให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว รวมถึงการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาอาการไม่สุขสบาย

ที่อาจเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ทั้งนี้เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านของสตรีตั้งครรภ์ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

คำสำคัญ:ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านสตรีตั้งครรภ์ปกติ

Page 2: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 104

Abstract

Transitiontheory isamiddle-rangetheory,whichmakesresearchersandclinical

nursesable to accessandapply to serve their clients.Pregnantwomen is agroupof

clients,whichneedto receiveagoodhealthcarebecausemanychangesoccurduring

pregnancy,bothphysiologicalandpsychological.Moreover,pregnancyisalsoatransition,

which followsadevelopmental processoronemomentof awoman’s life.All of these

havebothpositiveandnegativeeffectsonpregnantwomen,fetus,andfamily.According

toacasestudyofanormalpregnantwoman,itwasfoundthatawarenessofpregnancy

and of any changes occurring during pregnancy have effects, which made pregnant

womenpayattentiontotakingcareofthemselves.Inaddition,receivinggoodcarefrom

husband and family both physical, psychological, socioeconomic, along with receiving

caring from cousins and neighbors were the facilitating conditions. These facilitating

conditionscouldgivepregnantwomenbothphysiological andpsychological support in

order to help them to get through their transition healthily. For nursing therapeutics,

nursesaretheimportantpersons,whohaverolesanddutiesintermsofassessmentof

readiness,preparation,androlesupplementation.Theseroles includehealthassessment

of both pregnant women and fetus, physical examination, abdominal examination and

advisingpregnantwomenhowtobehaveortorelieveunpleasantsymptoms.Allofthese

roleswouldhelppregnantwomentogothroughthistransitionsmoothly.

Keywords:Transitiontheory,normalpregnantwoman

บทนำ

การตั้งครรภ์เป็นการเปลี่ยนผ่านชนิดหนึ่ง

ที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการหรือในช่วงชีวิตหนึ่งของ

สตรี (Meleis. 2000) การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

มากมายในขณะตั้งครรภ์ทั้งทางด้านร่างกายและ

จิตใจซึ่งสามารถส่งผลทั้งทางบวกและทางลบ

ต่อสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และครอบครัว

(Ricci.2009)อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนผ่านของ

สตรีในการตั้งครรภ์นั้นสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี

ถ้าพยาบาลมีความรู้ความเข้าใจและนำทฤษฎี

การเปลี่ยนผ่านมาใช้เป็นแนวทางในการดูแลสตรี

ตัง้ครรภ์ เพือ่ทีจ่ะสง่เสรมิใหส้ตรตีัง้ครรภต์อบสนอง

ต่อการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นได้อย่างมีคุณภาพและ

ประสิทธิภาพ ดังนั้น บทความเรื่องนี้จะนำเสนอ

เนื้อหาของทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน และการใช้

Page 3: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 105

ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านในการวิเคราะห์กรณีศึกษา

ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี

การเปลีย่นผา่นและสามารถนำทฤษฎกีารเปลีย่นผา่น

ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ได้อย่างดี

ยิ่งขึ้น

ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน

(Transitions Theory)

ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านเป็นทฤษฎีระดับ

กลาง (middle-range theory) ซึ่งมีความเป็น

นามธรรมน้อยกว่าทฤษฎีระดับกว้าง (grand

theory) และเป็นทฤษฎีที่ผู้วิจัยและนักปฏิบัติการ

พยาบาลทางคลินิกสามารถเข้าถึงได้ (Meleis.

2007) อีกทั้งทฤษฎีระดับกลางนี้ยังสามารถใช้ใน

ปรากฏการณ์ที่เฉพาะเจาะจงได้ (Meleis. 2007)

การพัฒนาทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านนั้นเกิดขึ้นมาจาก

หลายเหตุผล อาทิเช่น 1) การใช้เวลาในการ

ปฏิบัติการพยาบาลค่อนข้างมากในการดูแลบุคคล

ที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน 2) ความสนใจของ

พยาบาลในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านมีมากขึ้น

3) การใช้เทคโนโลยีในการรักษาในโรงพยาบาล

เพิ่มขึ้น การจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้น

ผู้ป่วยต้องกลับไปดูแลต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการ

เปลี่ยนผ่านที่มีความซับซ้อนและมีความต้องการ

การเข้าถึงที่แตกต่างกัน 4) สถานการณ์ต่างๆ ใน

โลกมีความหลากหลายที่อาจจะมีผลที่ทำให้บุคคล

บอบช้ำจากผลของสถานการณ์นั้นต่อการเปลี่ยน

แปลงในชวีติ5)การมปีระชากรผูส้งูอายเุพิม่มากขึน้

ก่อให้เกิดความแตกต่างที่ท้าทายในการจัดการการ

ดู แลสุ ขภาพที่ มี ค วามต้ อ งการการดู แล ใน

รูปแบบที่แตกต่างจากพยาบาล 6) สถานการณ์

ทางธรรมชาติของโลกมีมากมายหลากหลาย เช่น

น้ำท่วม สึนามิ แผ่นดินไหว เฮอริเคน ฯลฯ หรือ

สถานการณ์ที่ เกิดจากฝีมือมนุษย์ อาทิ เช่น

สงคราม การระเบิดนิวเคลียร์ ฯลฯ ที่ต้องการ

การเกีย่วขอ้งอยา่งทนัทว่งทขีองพยาบาล (Meleis.

2007)

ความหมายของการ เปลี่ ย นผ่ าน

การเปลี่ยนผ่าน คือ การเคลื่อนผ่านจากช่วง

ชีวิตหนึ่งช่วงเงื่อนไขหนึ่งหรือช่วงภาวะหนึ่งไปสู่

อีกช่วงชีวิตหนึ่ง อีกช่วงเงื่อนไขหนึ่ง หรืออีกช่วง

ภาวะหนึ่ง(ChickandMeleis.1986)

เมลิสและคณะ (Meleis, et al. 2000)

อธิบายทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านว่าประกอบด้วย

ชนิดและรูปแบบของการเปลี่ยนผ่าน(typesand

patterns of transit ions) คุณสมบัติของ

ประสบการณ์การเปลี่ยนผ่าน (properties of

transition experiences) เงื่อนไขที่เอื้ออำนวย

และเงื่อนไขที่ยับยั้ง (facilitatingand inhibiting

conditions) ตัวบ่งชี้ในการดำเนินการ (process

indicators) ตัวบ่งชี้ของผลลัพธ์ (outcome

indicators) และการบำบัดทางการพยาบาล

(nursingtherapeutics)(Meleis,etal.2000)

ชนิดของการเปลี่ยนผ่าน ชิคและเมลิส(ChickandMeleis.1986)ในระยะเริ่มแรกแบ่ง

การเปลี่ยนผ่านออกเป็น3ชนิดคือ

1. ก าร เปลี่ ย นผ่ านตามพัฒนาการ

(DevelopmentalTransitions)ชูแมชเชอร์และ

เมลิส (Schumacher and Meleis. 1994) ได้

อธิบายว่า เป็นการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นในช่วง

Page 4: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 106

เวลาของชีวิตบุคคล ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านในวัย

หนุ่มสาว การเปลี่ยนผ่านในวัยหมดประจำเดือน

การเปลี่ยนผ่านในการตั้งครรภ์ และการเปลี่ยน

ผ่านในการเป็นบิดามารดาเป็นต้น

2. การเปลี่ ยนผ่ านตามสถานการณ์

(Situational Transitions) เป็นการเปลี่ยนผ่าน

ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ ซึ่ง ชูแมชเชอร์และ

เมลิส (Schumacher and Meleis. 1994) ได้

อธิบายว่า ความหลากหลายของบทบาททางการ

ศึกษาและทางหน้าที่การงานเป็นการเปลี่ยนผ่าน

ตามสถานการณ์ที่ได้รับความสนใจ ซึ่งตัวอย่าง

ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านจากบทบาทของนักปฏิบัติ

ทางคลินิกเป็นผู้บริหาร และการเกษียณอายุงาน

นอกจากนี้ การเปลี่ยนผ่านจากสถานภาพสมรส

เป็นสถานภาพหม้ายการเปลี่ยนผ่านในการอพยพ

ย้ายถิ่นเป็นต้น

3. การเปลี่ยนผ่านตามภาวะสุขภาพและ

การเจ็บป่วย (Health-Illness Transitions)

ชแูมชเชอรแ์ละเมลสิ(SchumacherandMeleis.

1994) ได้ยกตัวอย่างการเปลี่ยนผ่าน อาทิเช่น

การเปลี่ยนผ่านจากบุคคลธรรมดาเป็นบุคคลที่มี

ภาวะเจ็บป่วยจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย การติดเชื้อ

เอชไอวีหรือการบาดเจ็บไขสันหลังเป็นต้น

ในปี ค.ศ. 1994 ชูแมชเชอร์และเมลิส

(SchumacherandMeleis.1994)ได้เสนอชนิด

ของการเปลี่ยนผ่านอีกหนึ่งชนิด คือ การเปลี่ยน

ผ่านที่เกิดขึ้นกับองค์กร (organizational tran-

sitions) การเปลี่ยนผ่านชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้

ในระดับบุคคลระดับทวิภาคีและระดับครอบครัว

สำหรับองค์กรการเปลี่ยนผ่านนี้จะมีผลกระทบต่อ

ชีวิตของบุคคลที่ทำงานภายในองค์กร รวมทั้งผู้รับ

บริการการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นกับองค์กรเป็นการ

เปลี่ยนผ่านในสภาพแวดล้อม องค์กรอาจผลักดัน

ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางทั้งสภาวะ

แวดล้อมทางด้านสังคม การปกครอง เศรษฐกิจ

หรือโดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในองค์กร

หรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เช่น การเปลี่ยน

ตำแหน่งผู้นำ การนำนโยบายใหม่ๆ หรือ การนำ

กระบวนการหรือการปฏิบัติใหม่ๆมาใช้ ซึ่งเป็น

ตัวอย่างการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นกับองค์กรทั้งสิ้น

รูปแบบของการเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนผ่านมีหลายรูปแบบ กล่าวคือ การเปลี่ยนผ่านที่

เกิดขึ้นเพียงการเปลี่ยนผ่านเดียว (single tran-

sition) ที่เกิดขึ้นหลายการเปลี่ยนผ่านในเวลา

เดียวกัน (multiple transitions) ที่เกิดขึ้นเรื่อง

หนึ่งแล้วมีการเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นต่อมาอีกเรื่อง

หนึ่งตามลำดับ (sequential transitions) ที่มาก

กว่าหนึ่งการเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นพร้อมกัน (simul-

taneous transitions) การเปลี่ยนผ่านที่มีความ

เกี่ยวข้องกัน (related transitions) หรือที่ไม่มี

ความเกี่ยวข้องกัน (unrelated transitions)

พยาบาลควรให้ความสนใจในรูปแบบของการ

เปลี่ยนผ่านของบุคคลมากกว่าชนิดของการเปลี่ยน

ผ่าน (Meleis et al. 2000) ทั้งนี้ เนื่องจาก

การเปลี่ยนผ่านของบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ใน

หลากหลายรปูแบบดว้ยกนับคุคลแตล่ะบคุคลจะมี

การเผชญิรปูแบบของการเปลีย่นผา่นทีแ่ตกตา่งกนั

ดังนั้น การประเมินทางการพยาบาลจึงมีความ

จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการให้การพยาบาล

บุคคลที่ประสบกับการเปลี่ยนผ่านในชีวิต ไม่ว่าจะ

เกิดขึ้นเพียงการเปลี่ยนผ่านเดียวหรือมากกว่าหนึ่ง

Page 5: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 107

การเปลี่ยนผ่านในระยะเวลาเดียวกัน พยาบาล

ควรประเมินทางการพยาบาลบุคคลนั้นๆ และ

ให้การพยาบาลที่เหมาะสมกับความต้องการต่อ

การเปลี่ยนผ่าน

คุณสมบัติของประสบการณ์การเปลี่ยนผ่าน เมลิสและคณะ (Meleis, et al. 2000)

อธิบาย คุณสมบัติของประสบการณ์การเปลี่ยน

ผ่านประกอบด้วย5คุณสมบัติดังนี้คือ

1. การตระหนักรู้ (Awareness)มีความ

เกี่ยวข้องกับการรับรู้ ความรู้ และการสำนึกรู้ของ

ประสบการณก์ารเปลีย่นผา่นชคิและเมลสิ(Chick

andMeleis. 1986) อธิบายว่า การเปลี่ยนผ่าน

เป็นปรากฏการณ์ส่วนบุคคล โดยกระบวนการ

และผลลัพธ์ของการเปลี่ยนผ่านมีความเกี่ยวข้อง

กับการให้ความหมายและการให้ความหมายซ้ำ

ของการเปลี่ยนผ่าน ดังนั้น การที่บุคคลกำลัง

เผชิญอยู่ในภาวะของการเปลี่ยนผ่าน บุคคล

จะตอ้งมคีวามตระหนกัรูว้า่กำลงัมกีารเปลีย่นแปลง

เกิดขึ้น(Meleis,etal.2000)

2. การเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่าน

(Engagement) เป็นระดับที่บุคคลแสดงความ

เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเปลี่ยนผ่าน ระดับ

ของการตระหนักรู้มีอิทธิพลต่อระดับของการ

เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่าน การเข้าไป

เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มี

การตระหนักรู้ ตัวอย่างเช่นสตรีตั้งครรภ์ไตรมาส

แรก ถ้าไม่ตระหนักหรือขาดความสนใจต่อการ

เปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้ระวัง

ตนเองในเรื่องการรับประทานอาหารหรือยา ซึ่ง

อาจก่อให้เกิดอันตรายได้(Meleisetal.2000)

3. การเปลี่ยนแปลงและความแตกต่าง

(Change and Difference) การเปลี่ยนแปลง

และความแตกต่างเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นของ

การเปลี่ยนผ่าน ถึงแม้จะมีความหมายเหมือนกัน

แต่คุณลักษณะไม่สามารถที่จะสับเปลี่ยน หรือใช้

ในความหมายเดียวกันได้ การเปลี่ยนผ่านทุกชนิด

เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ใช่ทุกการ

เปลี่ยนแปลงจะเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่าน เช่น

อารมณท์ีเ่ปลีย่นแปลงไมใ่ชก่ารเปลีย่นผา่นเปน็ตน้

ความแตกต่างสามารถแสดงตัวอย่างได้

จากการที่ไม่เคยพบเคยประสบมาก่อน จากความ

หลากหลายของความคาดหวัง อารมณ์ หรือการ

มองเห็นโลกในหนทางที่แตกต่างกัน (Meleis, et

al.2000)

4. ร ะยะ เ วลาของการ เปลี่ ย นผ่ าน

(Transition Time Span) การเปลี่ยนผ่านทุก

ชนิดมีคุณลักษณะที่มีการเคลื่อนไหวและไม่อยู่นิ่ง

ตลอดเวลา คุณลักษณะของการเปลี่ยนผ่าน คือ

ระยะเวลากับจุดจบที่ปรากฏ ซึ่งขยายจากอาการ

แสดงแรกของการคาดการณ์ล่วงหน้า การรับรู้

หรือการแสดงออกของการเปลี่ยนแปลงไปยัง

ระยะเวลาที่ไม่มั่นคงสับสนและทุกข์ และดำเนิน

ต่อไปยังจุดจบของสถานการณ์นั้น จากนั้น บุคคล

จะเกิดความพร้อมกับการเริ่มสิ่งใหม่หรือเข้าสู่

ระยะเวลาที่มั่นคงของชีวิต(Meleisetal.2000)

5. จุดวิกฤตและเหตุการณ์ (Critical

Points and Events)บางการเปลี่ยนผ่านอาจมี

ความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ โดดเด่น เช่น

การเกิด การตาย การผ่าตัด และความเจ็บป่วย

เป็นต้นมีหลายการศึกษาที่พบว่าการเปลี่ยนผ่าน

Page 6: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 108

เกิดขึ้นหลายชนิดในเวลาเดียวกันซึ่งประสบการณ์

การเปลี่ยนผ่านเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องกับจุดวิกฤต

และเหตุการณ์ ทุกจุดวิกฤตและเหตุการณ์นั้นมี

ความต้องการความสนใจของพยาบาล ความรู้

และประสบการณใ์นหนทางทีแ่ตกตา่งกนั (Meleis

etal.2000)

เ งื่ อ น ไ ข ข อ ง ก า ร เ ป ลี่ ย น ผ่ า น (Transition Conditions) เงื่อนไขของการเปลี่ยนผ่าน ประกอบด้วย เงื่อนไขที่เอื้ออำนวย

และเงื่อนไขที่ยับยั้งแต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขของ

การเปลี่ยนผ่านทั้ง2เงื่อนไขไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไข

ที่ เอื้ออำนวยซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทำให้การ

เปลี่ยนผ่านดำเนินไปได้ด้วยดี หรือเงื่อนไขที่ยับยั้ง

ซึ่งอาจมีผลทำให้การเปลี่ยนผ่านดำเนินไปได้ด้วย

ความไม่ราบรื่นนั้น เมลิสและคณะ (Meleis et

al. 2000) อธิบายว่า เงื่อนไขของการเปลี่ยน

ผ่าน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนของบุคคล

(personal) ส่วนของชุมชน (community) และ

ส่วนของสังคม(society)

สว่นของบคุคลประกอบดว้ย1)การให้

ความหมาย (meanings) ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

โดยเร็วในการเปลี่ยนผ่าน อาจมีส่วนเอื้อหรือ

เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่าน 2) วัฒนธรรม

ความเชื่อ และทัศนคติ (cultural beliefs and

attitudes)ที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านนั้นสามารถเป็น

ปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางให้การเปลี่ยนผ่าน

ดำเนินไปได้ เช่น ประสบการณ์การเปลี่ยนผ่าน

เกี่ยวกับวัยหมดประจำเดือนของสตรีเกาหลี

วัฒนธรรมของเกาหลีที่จะแสดงออกในเรื่องนี้

จะถูกเก็บไว้ ไม่ให้สตรีเกาหลีแสดงออกในอาการ

และอาการแสดงต่างๆที่เกี่ยวกับภาวะหมดประจำ

เดือน ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านในเรื่องนี้ จึงอาจ

ทำให้สตรีเกาหลีละเลยการตระหนักรู้เมื่อตนย่าง

เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน 3) สถานภาพทาง

สังคมเศรษฐกิจ (socioeconomic status) เป็น

อีกเงื่อนไขหนึ่งที่จะส่งเสริมหรือขัดขวางให้การ

เปลี่ยนผ่านของบุคคลดำเนินไปได้ เช่น สตรีวัย

หมดประจำเดอืนทีม่สีถานภาพทางสงัคมเศรษฐกจิ

ต่ำ ประสบการณ์ของอาการแสดงทางจิตใจและ

อารมณ์ที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือนจะได้รับ

ความสนใจน้อยกว่าการทำงานเพื่อหาเลี้ยงตน

และครอบครัว 4) การเตรียมความพร้อมและ

ความรู้ (preparation and knowledge) ตามที่

ได้คาดไว้สามารถเอื้อต่อประสบการณ์การเปลี่ยน

ผ่านนั้นได้ ในการเตรียมความพร้อมนั้น ความรู้

ที่คาดว่าจะต้องมีเมื่อมีการเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้น

รวมทั้งความรู้ที่จะต้องมีต่อเนื่อง คือ กลวิธีที่

สามารถจะจัดการกับการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นให้

ดำเนินไปได้ด้วยดี แต่ในทางตรงข้าม การขาด

การเตรียมความพร้อมและความรู้ สามารถเป็น

อปุสรรคตอ่ประสบการณก์ารเปลีย่นผา่นไดเ้ชน่กนั

(Meleisetal.2000)

ส่วนของชุมชน การเอื้อต่อประสบการณ์

การเปลี่ยนผ่าน ประกอบด้วยการได้รับการ

สนับสนุนจากคู่ครองและครอบครัว การได้รับ

ข้อมูลที่ เกี่ยวข้องจากแหล่งที่ เชื่อถือได้ เช่น

บคุลากรสาธารณสขุและบคุคลอืน่ๆ และการไดร้บั

คำแนะนำจากแหล่งที่ไว้วางใจและมีรูปแบบที่ดี

อุปสรรคต่อประสบการณ์การเปลี่ยนผ่าน

ประกอบด้วยการได้รับการสนับสนุนที่ไม่เพียงพอ

การได้รับคำแนะนำในทางลบหรือการเผชิญกับ

สิ่งลบจากบุคคลอื่น(Meleisetal.2000)

Page 7: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 109

ส่วนของสังคม สังคมเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่

สามารถเอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่าน

อาทิเช่น การมองการเปลี่ยนผ่านว่าเป็นการตีตรา

จากสังคม การเกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ

(Meleis et al. 2000) ซึ่งเป็นการกดขี่ในระดับ

สังคมที่ส่งผลกระทบต่อสตรีหรือกลุ่มชนชายขอบ

ซึ่งเมื่อกลุ่มบุคคลกลุ่มนี้ประสบต่อการเปลี่ยนผ่าน

สังคมจะมีผลทำให้การเปลี่ยนผ่านของพวกเขา

ดำเนินไปได้อย่างไม่ราบรื่น

รูปแบบของการตอบสนอง (Patterns of Response) รูปแบบของการตอบสนองประกอบดว้ยตวับง่ชีใ้นการดำเนนิการและตวับง่ชี้

ของผลลัพธ์(Meleisetal.2000)

ตัวบ่งชี้ในการดำเนินการประกอบด้วย

1. การมีความรู้สึกเกี่ยวข้องสัมพันธ์

(Feeling Connected)ความต้องการความรู้สึก

เกี่ยวข้องสัมพันธ์เป็นประเด็นสำคัญในหลายๆ

การเปลี่ยนผ่าน เช่น การมีความรู้สึกเกี่ยวข้อง

สัมพันธ์กับวิชาชีพทางการดูแลสุขภาพ เป็นผู้ที่ให้

คำตอบที่ทำให้บุคคลนั้นสบายใจ และมีความรู้สึก

ว่าเขาสามารถดูแลตนเองได้ จะเป็นดัชนีหนึ่ง

ที่ทำให้ประสบกับการเปลี่ยนผ่านในทางบวก

(Meleisetal.2000)

2. การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (Interacting)

ตลอดการมีปฏิสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนผ่าน การให้

ความหมายของการเปลี่ยนผ่านและพฤติกรรม

จะพัฒนาการตอบสนองต่อการเปลี่ยนผ่านให้เป็น

ที่ประจักษ์ ชัดเจน และเป็นที่รับทราบ ตัวอย่าง

เช่น ผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัวผู้ให้การดูแล

การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นมิติหนึ่งที่เป็น

วิกฤตของประสบการณ์การเปลี่ยนผ่าน การให้

ความหมายของการดแูลตนเองและการใหก้ารดแูล

จะมีความหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับผู้ดูแล คือ

ด้านหนึ่งความรู้สึกต้านต่อการที่จะต้องดูแลผู้ป่วย

และอีกด้านหนึ่ง คือ ความรู้สึกยินดีที่จะต้องดูแล

ผู้ป่วย สิ่งเหล่านี้จะถูกทำให้ชัดเจนและจะสะท้อน

ความสัมพันธ์ใหม่และความสัมพันธ์ที่ เกิดขึ้น

ตลอดการเปลีย่นผา่นทัง้ผูป้ว่ยมะเรง็และครอบครวั

ผู้ให้การดูแลจะสร้างบริบทในการดูแลตนเองของ

ผู้ป่วยและการให้การดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

และลงตัว(Meleisetal.2000)

3. สถานที่และการอยู่ในสถานการณ์นั้น

(Location and Being Situated)สถานที่เป็น

สิ่งที่สำคัญต่อประสบการณ์การเปลี่ยนผ่าน และ

อาจจะชัดเจนในบางคนมากกว่าในอีกหลายๆ คน

เช่น ผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน พวกเขาจะเข้าใจชีวิต

ใหม่โดยเปรียบเทียบกับชีวิตสมัยเดิมของเขา

เป็นต้น การเปรียบเทียบเป็นอีกวิธีทางหนึ่งของ

การอยู่ในสถานการณ์นั้นในเงื่อนไขของกาลเวลา

สถานที่ และความสัมพันธ์ อีกทั้งยังใช้เป็นวิธีการ

อธิบายและให้เหตุผลว่าทำไมถึงเดินทางมาที่นี่

หรือเขาเดินทางมาได้อย่างไร ปัจจุบันอยู่ที่ไหน

และเคยอยู่ที่ไหนมาก่อน เขาเป็นใคร และมาทำ

อะไร(Meleisetal.2000)

4. การพัฒนาความเชื่ อมั่นและการ

จัดการ (Developing Confidence and

Coping) เป็นอีกมิติหนึ่งที่สะท้อนถึงธรรมชาติ

ของกระบวนการเปลี่ยนผ่าน คือ การที่บ่งชี้ได้ว่า

บุคคลที่กำลังประสบการเปลี่ยนผ่านอยู่มีระดับ

ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น การพัฒนาความเชื่อมั่น

ถูกแสดงออกมาในระดับของความเข้าใจใน

Page 8: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 110

กระบวนการที่แตกต่างกัน เช่น กระบวนการ

ในเรื่องการวินิจฉัย การรักษา การพักฟื้น และ

การอยู่ด้วยความจำกัดของการใช้ทรัพยากรใน

การพัฒนากลวิธีที่จะจัดการกับการเปลี่ยนผ่าน

(Meleisetal.2000)

ตัวบ่งชี้ของผลลัพธ์ประกอบด้วย

1. การจัดการตนเอง (Mastery) การ

เปลี่ยนผ่านที่ดำเนินไปได้ด้วยดี บุคคลจะสามารถ

แสดงการจัดการในลักษณะของพฤติกรรม และ

ทักษะความสามารถของตนเองในการจัดการกับ

สถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมใหม่

2. ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงและไม่อยู่นิ่ง

(Fluid Integrative Identities) ประสบการณ์

การเปลี่ยนผ่านมีคุณลักษณะหนึ่ง คือ เป็นผลมา

จากการได้หลอมรวมลักษณะของตนเองอีกครั้ง

ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่นิ่ง เปลี่ยนแปลงได้ (Meleiset al.

2000)

การบำบัดทางการพยาบาล

(Nursing Therapeutics)

ชูแมชเชอร์และเมลิส(Schumacherand

Meleis.1994)มองการบำบัดทางการพยาบาลว่า

ประกอบดว้ย3เกณฑก์ารพยาบาลใหญด่ว้ยกนัคอื

1. การประเมินความพร้อมของบุคคลใน

การเปลี่ยนผ่าน (Assessment of Readiness)

ในการประเมินความพร้อมของบุคคลนั้น มีความ

จำเป็นอย่างยิ่งที่พยาบาลจะต้องมีความเข้าใจใน

ตัวของผู้รับบริการ (Schumacher andMeleis.

1994) ทั้งนี้เพราะผู้รับบริการแต่ละรายจะมีความ

แตกต่างกัน ได้แก่ความต้องการทางด้านร่างกาย

จิตใจ สังคม อารมณ์ จิตวิญญาณ เศรษฐานะ

การศกึษาภมูหิลงัและบรบิทดงันัน้การประเมนิ

ความพร้อมของบุคคลในการเปลี่ยนผ่าน จึงเป็น

หนา้ทีข่องพยาบาลทีจ่ะชว่ยใหก้ารพยาบาลเหมาะสม

ที่จะทำให้บุคคลนั้นดำเนินการเปลี่ยนผ่านไปได้

ด้วยดี

2. การเตรียมเพื่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่

สภาวะใหม่ (Preparation of Transition)

ชแูมชเชอรแ์ละเมลสิ(SchumacherandMeleis.

1994) อธิบายว่า การเตรียมเพื่อการเปลี่ยนผ่าน

เข้าสู่สภาวะใหม่นั้น จะต้องประกอบด้วย 2 ส่วน

คือ การศึกษา (education) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ

ส่วนหนึ่งสำหรับการสร้างภาวะการที่ดีที่สุดใน

การเตรียมเพื่อการเปลี่ยนผ่าน การเตรียมที่ดี

จำเป็นต้องมีเวลาเตรียมที่มีประสิทธิภาพที่จะ

ทำให้พอมองเห็นความรับผิดชอบใหม่ และมี

ทักษะในการปฏิบัติต่อสภาวการณ์นั้น และสิ่ง

แวดล้อม (environment) เป็นส่วนที่สามารถถูก

สร้างขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้รับบริการ

สำหรับการเปลี่ยนผ่านที่จะเกิดขึ้น

3. การใช้บทบาทเสริม (Role Supple-

mentation) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างจงใจ

เมื่อบุคคลที่ทำหน้าที่และมีความสำคัญในเรื่องนั้น

มองว่าเกิดการแสดงบทบาทนั้นๆ ได้ไม่เต็มที่

หรือไม่เต็มความสามารถ ซึ่งการใช้บทบาทเสริม

ประกอบด้วย ความชัดเจนของบทบาท (role

clarif ication) และการแสดงบทบาท (role

taking) นอกจากนี้ การใช้บทบาทเสริม เป็น

การบำบัดทางการพยาบาลที่ประกอบด้วยทั้งส่วน

ของการป้องกัน (preventive) และการรักษา

(therapeutic) การที่จะสามารถช่วยบุคคลและ

Page 9: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 111

บุคคลสำคัญ (significant others) ให้เข้าใจ

บทบาทและความเป็นตัวตนใหม่ บุคคลเหล่านั้น

ต้องได้รับการพัฒนา โดยพยาบาลจะเป็นผู้ให้

โอกาสและความรู้ที่จะทำให้พวกเขามองบทบาท

ใหม่ได้อย่างชัดเจน

กรณีศึกษา

สตรีตั้งครรภ์แรกวัย 18 ปี ศาสนาพุทธ

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อาศัย

อยู่กับครอบครัวซึ่งประกอบด้วย บิดา มารดา

น้องชาย และสามีในบ้านของฝ่ายสตรีตั้งครรภ์

การอยู่ อาศัยของสตรีตั้ งครรภ์ จะ เป็นแบบ

ครอบครัวขยาย โดยมีบ้านยายและบ้านน้าอยู่

บริ เวณเดียวกัน นอกจากนี้ เพื่อนบ้านที่อยู่

ใกล้เคียงจะมีความสนิมสนมใกล้ชิดกัน ครอบครัว

ของสตรีตั้งครรภ์มีธุรกิจของตนเอง มีรายได้

ประมาณ 5,000 บาท/เดือน และปฏิเสธประวัติ

การเจ็บป่วยใดๆ

จากกรณีศึกษาดังกล่าว สามารถประยุกต์

ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านได้ดังนี้คือ

1. ชนิดของการเปลี่ยนผ่าน การตั้งครรภ์

เป็นการเปลี่ยนผ่านตามพัฒนาการที่เกิดขึ้นใน

ช่วงเวลาของชีวิต กล่าวคือ การตั้งครรภ์เป็น

พัฒนาการของชีวิตสตรีที่ได้ใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกับ

สามี ซึ่งจากเดิมการใช้ชีวิตคู่ที่ให้ความสนใจกัน

เพียงภรรยาและสามี แต่เมื่อตั้งครรภ์ สตรีรายนี้

ได้รับรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชีวิต โดย

รับรู้ว่ามีชีวิตที่อยู่ในครรภ์เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งชีวิต

อีกทั้งยังรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสรีระ ซึ่ง

ส่งผลให้เธอมีวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป

2. รูปแบบของการเปลี่ยนผ่าน การ

เปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้น เป็นการเปลี่ยนผ่านตาม

พฒันาการทีเ่กดิขึน้เพยีงอยา่งเดยีวคอืการตัง้ครรภ์

3. คุณสมบัติ ของประสบการณ์การ

เปลี่ยนผ่าน คุณสมบัติของประสบการณ์การ

เปลี่ยนผ่านประกอบด้วยการตระหนักรู้การเข้า

ไปเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนแปลง

และความแตกต่างระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน

และจุดวิกฤตและเหตุการณ์

จากกรณีศึกษา พบว่าสตรีตั้งครรภ์รายนี้

มีการรับรู้ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ โดยรับรู้ว่ามี

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเธอ กล่าวคือ มีขนาด

หน้าท้องขยายขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การทำ

กิจวัตรประจำวันมีความสะดวกน้อยลง การเดิน

ทางต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น เธอจึงดูแล

ตนเองในระหว่างตั้งครรภ์เป็นอย่างดี และมารับ

บริการตรวจครรภ์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

โดยมีสามีและบิดาขับรถพามาตรวจที่โรงพยาบาล

นอกจากนี้ เธอยังปฏิบัติตามคำแนะนำของ

บุคลากรสาธารณสุขอีกด้วย

ระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน คือ ช่วง

เวลาตั้งแต่เริ่มรับรู้ว่าตั้งครรภ์ จนกระทั่งการตั้ง

ครรภ์ดำเนินไปโดยประมาณ 38 – 42 สัปดาห์

ส่วนจุดวิกฤตและเหตุการณ์ คือ การตั้งครรภ์ซึ่ง

เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านของสตรี

รายนี้

4. เงื่อนไขของการเปลี่ยนผ่าน เงื่อนไข

ของการเปลี่ยนผ่านประกอบด้วย เงื่อนไขที่เอื้อ

อำนวยและเงื่อนไขที่ยับยั้ง ซึ่งในส่วนของบุคคล

Page 10: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 112

ประกอบดว้ย1)การใหค้วามหมาย2)วฒันธรรม

ความเชื่อ และทัศนคติ 3) สถานภาพทางสังคม

เศรษฐกิจ และ 4) การเตรียมความพร้อมและ

ความรู้ นอกจากนี้ ส่วนของชุมชนและสังคม

ยังเป็นเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยและเงื่อนไขที่ยับยั้ง

อีกด้วย

จากกรณีศึกษา พบว่า สตรีตั้งครรภ์รายนี้

มีเงื่อนไขของการเปลี่ยนผ่านที่เอื้อให้การเปลี่ยน

ผ่านในช่วงของการตั้งครรภ์ดำเนินไปได้ด้วยดี

กล่าวคือ เงื่อนไขของการเปลี่ยนผ่านส่วนของ

บุคคลนั้น เธอให้ความหมายของการตั้งครรภ์ว่า

เป็นช่วงเวลาที่เธอมีความรู้สึกดี รู้สึกพิเศษ และ

รู้สึกอบอุ่น เนื่องจากเธอได้รับการดูแลเอาใจใส่

เป็นอย่างดีจากสามีและครอบครัว ส่วนด้าน

วัฒนธรรม ความเชื่อและทัศนคตินั้น ครอบครัว

ของเธอเป็นครอบครัวขยายซึ่งมีบ้านยายและบ้าน

น้าใกล้ชิดติดกัน มีการดูแลเอาใจใส่กัน ในกรณี

ของเธอนั้น มารดาจะทำอาหารและซื้ออาหารที่มี

ประโยชน์มาให้รับประทาน และหลีกเลี่ยงอาหาร

ที่จะก่อให้เกิดอาการไม่สุขสบาย ยิ่งไปกว่านั้น

ทุกครั้งที่เธอมาตรวจครรภ์ ครอบครัวจะสอบถาม

ถึงภาวะสุขภาพและขอดูสมุดบันทึกการตั้งครรภ์

เพื่ อประเมินสุขภาพเธอและทารกในครรภ์

ความห่วงใยที่ได้รับจากครอบครัวอีกอย่างหนึ่ง

คือ การดูแลความปลอดภัยจากการขึ้น-ลงบันได

กล่าวคือ การเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืน เธอจะ

ได้รับการดูแลจากสามีโดยการพาเดินลงมาส่งที่

ห้องน้ำ รวมทั้ง มารดาและบิดาจะคอยเตือนทุก

ครั้งที่เธอกลับห้องว่า “เดินดีๆล่ะ”อีกทั้งหลอดไฟ

ริมทางเดินจะเปิดให้ความสว่างตลอดคืน

นอกจากนี้ การส่งเสริมพัฒนาการของ

ทารกในครรภ์ได้รับการปฏิบัติ กล่าวคือ เธอสามี

และครอบครัว จะพูดคุยกับทารกในครรภ์ทุกวัน

ทารกในครรภ์ได้รับการตั้งชื่อตั้งแต่อยู่ในครรภ์

และทุกครั้งที่พูดคุย ทารกในครรภ์จะกระทุ้งหรือ

โก่งตัวตามมือที่สัมผัสหน้าท้อง เธอ ครอบครัว

และสามี รอคอยที่จะต้อนรับสมาชิกใหม่ เมื่อเธอ

มีอายุครรภ์ใกล้คลอดจะมีคำถามจากครอบครัว

และสามีว่า “เป็นอย่างไร มีอาการอะไรหรือยัง

ใกล้คลอดหรือยัง”อยู่ตลอดเวลา

สำหรับ สถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจนั้น

ครอบครัวมีธุรกิจเป็นของตนเองจึงทำให้มีรายได้

หมุนเวียนในแต่ละเดือน ดังนั้น สถานภาพทาง

สังคมเศรษฐกิจจึงไม่ใช่เงื่อนไขที่จะเป็นปัญหา

และอุปสรรคของการเปลี่ยนผ่าน ในทางตรงกัน

ข้าม กลับเป็นเงื่อนไขที่เอื้อให้การเปลี่ยนผ่านใน

ครั้งนี้ดำเนินไปได้ด้วยดี กล่าวคือ ครอบครัว

ให้การดูแลเรื่องอาหาร ที่พักอาศัย เงินทอง และ

สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนี้ เธอยังมีความ

พร้อมและความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์

เนื่องจากมีครอบครัวที่มีประสบการณ์ จึงได้ปลูก

ฝังการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ให้กับเธอ สำหรับ

ความรู้ ในเรื่องการปฏิบัติตน เธอจะได้รับคำ

แนะนำทุกครั้งที่เธอมารับบริการตรวจครรภ์จาก

บุคลากรสาธารณสุข ดังนั้น เมื่อมีอาการผิดปกติ

เกิดขึ้น เธอและครอบครัวจะไม่รอช้าที่จะมาพบ

แพทย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อเธอตั้งครรภ์ประมาณ

7-8 เดือน เธอปวดท้อง ทารกในครรภ์ดิ้นน้อย

และรู้สึกว่ามีน้ำไหลออกจากช่องคลอด เธอและ

ครอบครัวกลัวว่าจะเกิดการคลอดก่อนกำหนด

Page 11: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 113

ครอบครัวจึงรีบพาเธอมาส่งโรงพยาบาล แพทย์

ทำการตรวจรายงานว่าไม่พบภาวะผิดปกติ ไม่ใช่

นำ้หลอ่เดก็รัว่หรอืแตกใหพ้กัและจำหนา่ยกลบับา้น

สำหรับในส่วนของชุมชนและสังคมเป็น

เงื่อนไขที่เอื้อเช่นกัน กล่าวคือ ครอบครัวของเธอ

เป็นครอบครัวขยายที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน

มีความใกล้ชิดห่วงใย เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ซึ่ง

ก่อให้เกิดความอบอุ่นทั้งทางร่างกายและจิตใจ

และในส่วนของสังคมนั้น เธอได้รับการดูแลเป็น

อย่างดีจากบุคลากรสาธารณสุข

5. รูปแบบของการตอบสนอง ประกอบ

ด้วยตัวบ่งชี้ในการดำเนินการ (การมีความรู้สึก

เกี่ยวข้องสัมพันธ์ การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน สถานที่

และการอยู่ในสถานการณ์นั้น และการพัฒนา

ความเชื่อมั่นและการจัดการ) และตัวบ่งชี้ของ

ผลลัพธ์ (การจัดการตนเองและลักษณะที่

เปลี่ยนแปลงและไม่อยู่นิ่ง)

จากกรณีศึกษา มีตัวบ่งชี้ในการดำเนินการ

ในเรื่องของการมีความรู้สึกเกี่ยวข้องสัมพันธ์และ

การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน กล่าวคือ เธอจะรู้สึก

เกี่ยวข้องสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์กับทารกใน

ครรภ์ โดยจะคอยสังเกตและนับการดิ้นของทารก

ในครรภ์และพูดคุยกับทารกในครรภ์ทุกวัน

นอกจากนี้ ยังมีความรู้สึกเกี่ยวข้องสัมพันธ์และมี

ปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรสาธารณสุข

สถานที่และการอยู่ ในสถานการณ์นั้น

น่าจะหมายถึงระยะเวลาของการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิด

ขึ้นตั้งแต่เธอรับรู้ว่าตั้งครรภ์จนกระทั่งประมาณ

38-42สปัดาหข์องการตัง้ครรภ์สำหรบัการพฒันา

ความเชื่อมั่นและการจัดการกับการเปลี่ยนผ่านใน

การตั้งครรภ์นั้น เกิดจากการที่ได้รับข้อมูลความรู้

และคำแนะนำจากบุคลากรสาธารณสุขอย่าง

ต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ การได้รับ

การดูแลและสนับสนุนทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ

และสังคมเศรษฐกิจเป็นอย่างดีจากครอบครัว

สำหรับตัวบ่งชี้ของผลลัพธ์ในเรื่องของ

การจัดการตนเองและลักษณะที่เปลี่ยนแปลงและ

ไม่อยู่นิ่งนั้น สตรีตั้งครรภ์รายนี้มีการจัดการ

ตนเองเมื่อตั้งครรภ์ กล่าวคือ เธอจะมารับบริการ

ตรวจครรภ์ตามแพทย์นัดและพบแพทย์ทุกครั้ง

ที่เธอพบอาการผิดปกติเกิดขึ้น ในระหว่างที่เธอ

อยู่บ้านนั้น เธอจะดูแลตนเองในเรื่องของการ

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและ

ทารกในครรภ์ การส่งเสริมพัฒนาการทารกใน

ครรภ์โดยการพูดคุยกับทารกในครรภ์ทุกวัน หมั่น

สังเกตและนับการดิ้นของทารกในครรภ์และ

สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเธอ นำข้อมูล

ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ที่ได้รับ

จากบุคลากรสาธารณสุขไปปฏิบัติ ส่วนลักษณะที่

เปลี่ยนแปลงและไม่อยู่นิ่งนั้น ถึงแม้การตั้งครรภ์

ทำให้เธอพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งทางด้าน

ร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม แต่อย่างไร

ก็ตาม ด้วยวัย 18 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มเข้าสู่วัย

ผู้ใหญ่ตอนต้น(เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์โดยใช้อายุ

18 ปี เป็นจุดเริ่มต้นในช่วง 5 ปีแรก กล่าวคือ

อายุ 18-23 ปี จัดเป็นระยะเริ่มแรกที่คนเริ่มมอง

หาอาชีพการงานในอนาคต แสวงหารูปแบบของ

ตนในแงม่มุตา่งๆ เชน่ หนา้ทีแ่ละภาพพจน์ ดงันัน้

ช่วงอายุนี้ จึงเป็นระยะที่เริ่มแยกจากครอบครัว

Page 12: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 114

อาจโดยการเริ่มต้นทำงาน มีรายได้ พึ่งพาอาศัย

ครอบครัวน้อยลง เริ่มที่จะเลือกรูปแบบของชีวิต

ที่ตนพึงพอใจ เริ่มมีหน้าที่ความรับผิดชอบแบบ

ผู้ใหญ่ (ศรีประภาชัยสินธพ. ม.ป.ป. : ออนไลน์)

จึงทำให้สตรีตั้งครรภ์รายนี้รู้สึกถึงความรับผิดชอบ

ที่พึงมีต่อทั้งตนเองและทารกในครรภ์ อีกทั้ง

การได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากครอบครัว

และบุคลากรสาธารณสุขทำให้เธอสามารถดำเนิน

ชีวิตในสถานภาพของสตรีตั้งครรภ์และที่กำลัง

จะกลายเป็นมารดาได้ด้วยดี

6. การบำบัดทางการพยาบาล ประกอบ

ด้วยการประเมินความพร้อมของบุคคลในการ

เปลี่ยนผ่าน การเตรียมเพื่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่

สภาวะใหม่และการใช้บทบาทเสริม

จากการประเมินความพร้อมของสตรีตั้ง

ครรภ์รายนี้ต่อการเปลี่ยนผ่าน พบว่า มีความ

พร้อมต่อการเปลี่ยนผ่าน กล่าวคือ เธอมี

ครอบครัวที่คอยดูแลช่วยเหลือ และให้การ

สนับสนุน นอกจากนี้ ความพร้อมยังเกิดจากการ

ได้รับข้อมูลความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตน

จากพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุข ริกซี่

(Ricci. 2009) กล่าวสนับสนุนว่า พยาบาลแสดง

บทบาทที่สำคัญในการช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์และ

สามีให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการได้ทารกที่มี

สุขภาพแข็งแรง ซึ่งบทบาทของพยาบาล ได้แก่

การประเมินอย่างต่อเนื่องและการให้ข้อมูลความรู้

แก่สตรีตั้งครรภ์

สำหรับการเตรียมเพื่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่

สภาวะใหม่นั้น เกิดขึ้นโดยการอ่านจากหนังสือ

หรือนิตยสาร เพื่อหาข้อมูลความรู้ในการดูแล

สุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์ ยิ่งไปกว่า

นั้น การเตรียมเพื่อการเปลี่ยนผ่านยังเกิดจาก

สิ่งแวดล้อมรอบตัวของสตรีตั้งครรภ์รายนี้ ได้แก่

ความรักความอบอุ่นจากครอบครัว ซึ่งส่งผลให้

การเปลี่ยนผ่านในการตั้งครรภ์ของเธอดำเนินไป

ด้วยดี

การใช้บทบาทเสริม เธอแสดงบทบาทของ

สตรีตั้งครรภ์และสตรีที่กำลังจะเป็นมารดาได้เป็น

อย่างดี ยิ่งไปกว่านั้น เธอจะคอยดูแลทารกใน

ครรภ์อย่างสม่ำเสมอ สำหรับการใช้บทบาทเสริม

นั้น ขณะที่เธอตั้งครรภ์ สามี มารดา และบิดามี

ส่วนแสดงบทบาทเสริมให้เธอเช่นกัน

สำหรับการบำบัดทางการพยาบาลสามารถ

กล่าวได้ว่า เป็นบทบาทหลักของพยาบาล กล่าว

คือพยาบาลมีบทบาทในการประเมินภาวะสุขภาพ

ของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การตรวจ

ร่างกาย การตรวจครรภ์ การให้คำแนะนำในการ

ปฏิบัติตัว หรือเพื่อบรรเทาอาการไม่สุขสบายที่

อาจเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ และถ้าประเมินพบ

ความผิดปกติหรือภาวะเสี่ยง พยาบาลในหน่วย

ฝากครรภ์มีหน้าที่ที่จะต้องส่งต่อการรักษาให้แก่

แพทย์ต่อไป ซึ่งจากการศึกษาของ ดาร์วิลและ

คณะ (Darvill et al. 2010) พบว่า สตรีมีความ

รู้สึกสูญเสียการควบคุมบางอย่างของชีวิตในช่วง

แรกของการตั้งครรภ์และภายหลังทารกคลอด

การเปลี่ยนแปลงช่วงแรกในภาพลักษณ์ของ

ตนเอง และการมุ่งความสนใจจากตนเองไปยัง

ความต้องการของทารกชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยน

ผ่านอาจจะเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงแรกของไตรมาสแรก

ของการตั้งครรภ์ ความไม่คุ้นเคยในการตั้งครรภ์

Page 13: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 วารสาร มฉก.วิชาการ 115

และการเป็นมารดาในช่วงแรกทำให้สตรีมีความ

ต้องการที่ปรึกษาที่จะคอยช่วยแนะนำแนวทางให้

ผ่านการเปลี่ยนผ่านนั้นไปได้ และจากการศึกษานี้

ทำให้มองได้ว่า บทบาทของพยาบาลในการให้

คำปรึกษาแก่สตรีตั้งครรภ์เป็นบทบาทที่เด่นชัดที่

สามารถทำให้สตรีสามารถเปลี่ยนผ่านภาวะการณ์

ของการตั้งครรภ์ไปได้โดยดี นอกจากนี้ วิลคินส์

(Wilkins.2006)กล่าวเสริมว่าประสบการณ์การ

ดูแลและการได้รับการสนับสนุนจากสถานบริการ

ผดุงครรภ์เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาทักษะและ

ความเชื่อมั่นของมารดาครรภ์แรกโดยเฉพาะอย่าง

ยิ่งในช่วงวันแรกๆของการเป็นมารดา ดังนั้น

พยาบาลผดุงครรภ์มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน

ให้สตรีตั้งครรภ์มารับบริการที่สถานพยาบาล ทั้งนี้

เพื่อที่จะทำให้สตรีตั้งครรภ์และพยาบาลผดุงครรภ์

มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เตรียมพร้อมการเป็น

มารดาอย่างที่พึงประสงค์

บทสรุป

จากกรณีศึกษาข้างต้น สามารถกล่าว

สรุปได้ว่า การตั้งครรภ์เป็นการเปลี่ยนผ่านตาม

พัฒนาการที่ เกิดขึ้นในช่วงเวลาของชีวิต ซึ่ง

จากเดิมการใช้ชีวิตคู่จะให้ความสนใจกันเพียง

ภรรยาและสามี ต่อมาเมื่อสตรีตั้งครรภ์รับรู้ถึง

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิต อาทิเช่น การ

เปลี่ยนแปลงทางสรีระหรือจิตใจ วิถีการดำเนิน

ชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม

การเปลี่ยนผ่านในการตั้งครรภ์จะดำเนินไปได้โดย

ราบรื่นนั้น คุณสมบัติ เงื่อนไข และรูปแบบของ

การตอบสนองของการเปลี่ยนผ่านในการตั้งครรภ์

นั้นควรที่จะมีแนวโน้มเป็นไปในแนวทางที่เอื้อ

หรือสนับสนุนให้ดำเนินไปได้ด้วยดี ซึ่งจะมีส่วน

ส่งเสริมให้การตั้งครรภ์ของสตรีดำเนินต่อไปด้วย

ความผาสุกทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์

และสังคม อีกทั้งยังส่งผลให้ทารกมีพัฒนาการที่ดี

ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ด้วย

พยาบาลเป็นวิชาชีพหนึ่งที่ ให้การดูแล

สุขภาพของผู้รับบริการอย่างใกล้ชิด ดังนั้น

พยาบาลจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจใน

องค์ความรู้ ทฤษฎีและหลักฐานเชิงประจักษ์

ในการให้การพยาบาลแก่ผู้รับบริการ ทฤษฎีการ

เปลี่ยนผ่านเป็นทฤษฎีการพยาบาลทฤษฎีหนึ่ง

ที่พยาบาลสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้

การพยาบาลผู้รับบริการทั้งนี้เนื่องจากผู้รับบริการ

สามารถเผชิญต่อการเปลี่ยนผ่านในทุกช่วงเวลา

ของชีวิต ไม่ว่าชนิดของการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้น

จะเปน็ตามพฒันาการ ตามสถานการณ์ ตามภาวะ

สุขภาพและการเจ็บป่วย หรือตามที่เกิดขึ้นกับ

องค์กร ซึ่งทุกๆการเปลี่ยนผ่านสามารถก่อให้เกิด

ผลกระทบทางสุขภาพของผู้รับบริการทั้งสิ้น สิ่งที่

สำคัญที่สุดของพยาบาล คือ การทำความเข้าใจ

ต่อสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านที่ เกิดกับผู้รับ

บริการ ต่อจากนั้น พยาบาลจะต้องประเมิน

คุณลักษณะและเงื่อนไขที่เกิดขึ้นในกระบวนการ

เปลี่ยนผ่านของผู้รับบริการ ทั้งนี้เพื่อพยาบาล

จะได้ให้การบำบัดทางการพยาบาลที่เหมาะสมกับ

ผู้รับบริการที่ประสบกับการเปลี่ยนผ่านในแต่ละ

รายและแต่ละครอบครัว ซึ่งจะส่งเสริมให้บุคคล

เหล่านั้นตอบสนองต่อการเปลี่ยนผ่านได้ด้วยดี

\[

Page 14: ทฤษฎีการเปลี่ยนผ าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ ปกติjournal.hcu.ac.th/pdffile/jn1631/บทที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 31 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555 116

เอกสารอ้างอิง

ศรีประภาชัยสินธพ. (ม.ป.ป.)สภาพจิตใจของเด็ก ผู้ใหญ่ และ ผู้สูงอายุ (3). [ออนไลน์]แหล่งที่มา :

http://www.ramamental.com/old3.html(16มีนาคม2554)

Chick,N.andMeleis,A.I.(1986)“Transitions:anursingconcern”InPeggyL.Chinn.(Ed).

Nursing Research Methodology. Issues and Implementation.Maryland: Aspen

Publishers.

Darvill, R. et al. (2010) “Psychological factors that impact on women’s experiences of

first-timemotherhood:aqualitativestudyof the transition”Midwifery.26page

357-366.

Meleis,A.I.(2007)Theoretical Nursing Development & Progress.4thed.Philadelphia:

LippincottWilliams&Wilkins.

Meleis, A. I. et al. (2000) “Experiencing transitions : an emergingmiddle-range Theory”

Advanced Nursing Science.23(1)page12-28.

Ricci,S.S. (2009)Essentials of Maternity, Newborn, & Women’s Health Nursing.2nd

ed.Philadelphia:LippincottWilliams&Wilkins.

Schumacher, K. L. andMeleis, A. I. (1994) “Transitions: a central concept in Nursing”

Image: Journal of Nursing Scholarship.26(2)page119-127.

Wilkins,C.(2006)“AQualitativestudyexploringthesupportneedsoffirst-timemothers

ontheirjourneytowardsintuitiveparenting.Midwifery.22page169-180.

\[