หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2...

39

Upload: others

Post on 01-Jun-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น
Page 2: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

หน่วยท่ี 4 การใช้งานอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

(Internet)

แนวคิด อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายที่ใช้รวมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบต่างๆ โดยเชื่อมโยงกัน

เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี ( TCP/IP :Transmission Control Protocol/Internet Protocol ) โดยลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่ก าหนดตายตัว และไม่จ าเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอ่ืนๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอ่ืนได้หลายๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace เป็นต้น วัตถุประสงค์การเรียนรู ้1. เพ่ือให้นักศึกษาทราบและเข้าใจความรู้ทั่วไปและประโยชน์ของการใช้อินเทอร์เน็ต 2. เพ่ือให้นักศึกษาทราบการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 3. เพ่ือให้นักศึกษารู้จักการใช้งาน Social network (Facebook) 4. เพ่ือให้นักศึกษาทราบการประยุกต์ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) 5. เพ่ือให้นักศึกษาทราบและเข้าใจผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ต

วิธีการเรียน 1. ชี้แจงผลลัพธ์การเรียนและความส าคัญของผลลัพธ์การเรียน 2. ผู้สอนสรุป หลักการ แนวคิด ขั้นตอน เทคนิค การใช้งานอินเทอร์เน็ต 3. ท าแบบทดสอบกระตุ้น 4. การแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมบนระบบเครือข่ายสังคม/บรรยาย สไลด์ คู่มือ ต ารา เว็บไซต์

การสาธิต

Page 3: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น
Page 4: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น
Page 5: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น
Page 6: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

หน่วยท่ี 4 การใช้งานอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

(Internet)

ความรู้ทั่วไปและประโยชน์ของการใช้อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า “ไซเบอร์สเปซ” (Cyber space) ค าเต็มของอินเทอร์เน็ตคือ “อินเทอร์เน็ตเวิร์คก้ิง” (Internet working) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต

การที่มีระบบอินเทอร์เน็ต ท าให้สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จ ากัดระยะทาง และสามารถส่งข้อมูลได้หลาย

1. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วทุกมุมโลก จึงมีบริการต่างๆ เกิดข้ึนใหม่ตลอดเวลา ซึ่งบริการเหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ มากมาย ซึ่งบริการต่างๆ มีดังนี้

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail / E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ซึ่งเป็นที่อยู่ในรูปแบบของอีเมล เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมายขึ้นมา 1 ฉบับ แล้วส่งไปยังที่อยู่นั้น ผู้รับจะได้รับจดหมายนั้นภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมลได้ด้วย

- การขอเข้าระบบจากระยะไกล หรือ เทลเน็ต (Telnet) เป็นบริการอินเทอร์เน็ตรูปแบบหนึ่ง โดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง

ที่อยู่ไกลๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น กรณีที่เราท างานอยู่ที่บริษัท มีใช้อินเทอร์เน็ตของที่บริษัท เมื่อกลับไปที่บ้าน และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไว้ เราสามารถเชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์ที่บริษัทเพ่ือเรียกใช้ข้อมูลหรือท างานต่างๆ ที่บ้านได้ เสมือนกับเราท างานที่บริษัทนั่นเอง

- การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเทอร์เน็ต ที่ช่วยให้เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูล

จากแหล่งต่างๆ มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพ และเสียง - การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet)

เป็นการให้บริการที่มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็น โดยมีการจัดการผู้ ใช้ เป็นกลุ่มข่าว หรือ นิวส์กรุ๊ป (Newsgroup) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์ และการเมืองเป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า 15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ ให้ทุกคนจากท่ัวทุกมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง

Page 7: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

90 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

- การสืบค้นข้อมูล (Gopher, Archie, World Wide Web) การสืบค้นข้อมูล หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย

แล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารตามหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ท าให้เราหาข้อมูลได้ง่ายหรือสะดวกขึ้น - การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat, IRC-Internet Relay Chat) เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่

ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนผู้สนทนาก าลังนั่ง อยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเภทหรือคนละซีกโลกก็ตาม

- การซื้อขายสินค้าและบริการ (Electronic Commerce/ E-Commerce) เป็นการซื้อ-ขายสินค้า และบริการเช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว ฯลฯ ปัจจุบัน

มีบริษัทนับหมื่นบริษัทใช้อินเทอร์เน็ตในการท าธุรกิจ และให้บริการลูกค้าตลอด 24 ช.ม. ซึ่งถือเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและก าลังได้รับความนิยมมาก อีกทั้งยังเปิดให้ทุกคนสามารถเข้ามาท าธุรกิจได้โดยใช้ทุนไม่มากนัก

- การให้ความบันเทิง (Entertainment) ในอินเทอร์เน็ต มีบริการด้านความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์

รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ช.ม. และจากแหล่งต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกทั้งจากประเทศไทย อเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย เป็นต้น

ค าศัพท์ท่ีควรรู้ก่อนการใช้งานอินเทอร์เน็ต - ไอพี แอดเดรส (IP Address) เป็นหมายเลขที่มีลักษณะเป็นเลขชุดที่ไม่ซ้ ากันและจะมีอยู่เพียง

ชุดเดียวในโลกเท่านั้น โดยไอพีแอดเดรสจะอยู่ในรูปของตัวเลขสี่ชุดและคั่นแต่ละชุดไว้ด้วยจุด (.) เช่น 128.121.4.5 ใช้ส าหรับการอ้างอิงที่อยู่ของอุปกรณ์เครือข่ายและคอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ต

- โดเมนเนม (Domain Name) ถึงแม้ว่าไอพี แอดเดรสจะสามารถอ้างอิงไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ก็ได้ในโลกอินเทอร์เน็ต แต่ก็จ าได้ยากเนื่องจากเป็นตัวเลขล้วนๆ จึงได้มีการออกแบบให้ใช้ชื่อแทนไอพี แอดเดรส เพ่ือความสะดวกในการจดจ า ซึ่งเราเรียกชื่อเหล่านี้ว่า โดเมนเนม (Domain Name) เช่น www.ssru.ac.th คือโดเมนเนมมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ www.moe.go.th คือโดเมนเนมของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

โดยการตั้งชื่อโดเมนจะมีการก าหนดเป็นหมวดหมู่ตามประเภทการให้บริการ ดังนี้ .com, .co.th เป็นโดเมนเนมขององค์กรเอกชน .edu, .ac.th เป็นโดเมนเนมของสถานศึกษา .gov, .go.th เป็นโดเมนเนมของรัฐบาล .org, .or.th เป็นโดเมนเนมขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลก าไร

.mil, .mi.th เป็นโดเมนเนมขององค์กรทางทหาร

.net, .net.th เป็นโดเมนเนมขององค์กรที่ให้บริการด้านเครือข่าย

Page 8: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 91

2. ต าแหน่งอ้างอิงเว็บเพจ (URL: Uniform Resource Locator) URL ย่อมาจากค าว่า Uniform Resource Locator หมายถึง ตัวบ่งบอกข้อมูล หรือที่อยู่

(Address)ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตเช่น http://www.ssru.ac.th/support/urlfaq.htm ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

2.1 ชื่อโพรโทคอลที่ใช้ (http ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocol) 2.2 ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และชื่อเครือข่ายย่อย (www) 2.3 ชื่อเน็ตเวิร์คย่อย (ssru) 2.4 ประเภทของเว็บไซต์ (.ac) ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ

2.4.1 ประเภทสากลเช่น .com (Commercial), .edu (Educational), .org (Organizations), .net (Network) ฯลฯ 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น .th ส าหรับประเทศไทย เช่น co.th, or.th, go.th ฯลฯ .cn ส าหรับประเทศจีน .in ส าหรับประเทศอินเดีย .jp ส าหรับประเทศญี่ปุ่น ฯลฯ

2.5 ไดเร็กทอรี่ (/support/) 2.6 ชื่อไฟล์และนามสกุล (urlfaq.htm)

3. เว็บไซต์ (Web Site) เว็บไซต์ คือ ค าที่ใช้เรียกกลุ่มของเว็บเพจ ดังนั้นภายในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยโฮมเพจ และ

เว็บเพจ เรามักใช้เรียกเว็บที่มีขนาดใหญ่และมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์นั้นๆ ไว้แล้ว (Domain Name) เช่น www.ssru.ac.th, http://www.google.com ,http://www.yahoo.com เป็นต้น เว็บเพจ (Web Page) เป็นเอกสารที่ใช้น าเสนอข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เอกสารนี้จะประกอบไปด้วยรูปภาพ ข้อความต่างๆ แสดงอยู่บนหน้าจอผ่านทางเบราว์เซอร์ ซึ่งในเว็บเพจหน้าหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบดังนี้

- ข้อความ (Text) คือ ข้อความที่ใช้อธิบาย อาจจะเป็นภาษาไทย, ภาษาอังกฤษหรือภาษาอ่ืนๆ ก็ได้

- รูปภาพ (Image) คือ รูปที่ใช้ตกแต่งหรือประกอบการอธิบายข้อความ - ลิงค์ (Link) คือ ข้อความหรือรูปภาพที่มีลักษณะพิเศษ ที่จะสามารถเชื่อมโยงไปสู่เว็บเพจหน้าอ่ืนๆได้ ทั้งที่เป็นภายในเว็บเพจ เว็บไซต์ หรือต่างเว็บไซต์กันก็ได้ คุณสามารถตรวจสอบได้ว่าส่วนใดในเว็บเพจที่เป็นลิงค์ โดยการเลื่อนเมาส์ไปชี้ ถ้าตัวชี้เมาส์เปลี่ยนจาก เป็น แสดงว่าส่วนนั้นเป็นลิงค์หรือจุดเชื่อมโยง โฮมเพจ (Home Page) โฮมเพจ คือค าที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งประกอบไปด้วยเมนูต่างๆและเรื่องราวต่างๆมากมายคล้ายกับหน้าปกนิตยสารบ้านเรา ดังนั้นหากเราออกแบบหน้าโฮมเพจให้สวยงามและน่าสนใจ โอกาสที่ผู้ชมจะแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนโฮมเพจของเราก็จะยิ่งมากตามไปด้วย

การใช้งานโปรมแกรม Internet Explorer การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต จ าเป็นต้องมีเบราว์เซอร์ (Browser) เพ่ือท าหน้าที่เชื่อมโยงไปยัง

เว็บเพจที่ต้องการ ในที่นี้จะใช้โปรแกรม Internet Explorer ซึ่งเป็นบราวเซอร์ที่ติดตั้งมาพร้อมกับการติดตั้งวินโดว์อยู่แล้ว

Page 9: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

92 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

ภาพที่ 4.1 หน้าเว็บเบราว์เซอร์ ที่มา : http://ge.ssru.ac.th/

ส่วนประกอบของโปรแกรม Internet Explorer • แถบเครื่องมือมาตรฐาน (Standard Toolbar Bar) เป็นแถบเครื่องมือที่มีการน าปุ่มค าสั่งที่ใช้

งานบ่อยๆ มาเก็บไว้ ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยคลิกไปที่ปุ่มค าสั่งที่ต้องการ • แถบเครื่องมือแอดเดรส (Address Toolbar) เป็นแถบเครื่องมือที่ใช้ในการกรอกแอดเดรสเพ่ือ

ท่องอินเทอร์เน็ต • แถบเครื่องมือลิงค์ (Link Toolbar) เป็นแถบเครื่องมือแนะน าโฮมเพจที่น่าสนใจ ซึ่งเรา

สามารถไปยังโฮมเพจนั้นได้ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว • เว็บเพจ (Webpage) เป็นเอกสารที่ใช้น าเสนอข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถน าเสนอได้

ด้วยเบราว์เซอร์ Internet Explorer เป็นต้น โดยที่บราวเซอร์จะแสดงสัญลักษณ์ (มุมบนด้านขวา) แสดงการท างานของหน้าต่าง ถ้าหน้าต่างก าลังน าหน้าเอกสาร (ดาวน์โหลด) มายังเครื่องคอมพิวเตอร์สัญลักษณ์จะมีการเคลื่อนไหว

• แถบสถานะ (Status Bar) เป็นแถบที่แสดงข้อมูลต่างๆ ของบริเวณท่ีเลื่อนเมาส์ไป • ปุ่มควบคุม (Windows Control) ใช้ลด / ขยายขนาด และจบการท างานของหน้าต่าง • แถบเลื่อน (Scroll Bar) จะปรากฏขึ้นมาในกรณีที่เนื้อหาของเว็บเพจยาวกว่าจะบรรจุใน

หน้าเดียวได้ เมื่อกดเมาส์ที่แถบเลื่อน และเลื่อนเมาส์ขึ้น – ลง จะสามารถดูเอกสารที่เหลืออยู่ด้านล่างได้

4. เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) หรือโฮสต์ (Host) เว็บเซิร์ฟเวอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ท าหน้าที่เป็นเครื่องบริการเว็บเพจแก่ผู้ร้องขอด้วย

โปรแกรมประเภทเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ที่ร้องขอข้อมูลผ่านโพรโทคอลเฮชทีทีพี (HTTP = Hyper Text Transfer Protocol) เครื่องบริการจะส่งข้อมูลให้ผู้ร้องขอในรูปของข้อความ ภาพ เสียง หรือสื่อผสม เครื่องบริการเว็บเพจมักเปิดบริการพอร์ท 80 (HTTP Port) ให้ผู้ร้องขอได้เชื่อมต่อและน าข้อมูลไป

Address Toolbar

Scroll Bar

Webpage

Standard Toolbar Bar

Windows Control

Page 10: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 93

ใช้ เช่น โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กโพเลอร์ (Internet Explorer) หรือฟายฟร็อก (FireFox Web Browser) การเชื่อมต่อเริ่มด้วยการระบุที่อยู่เว็บเพจที่ร้องขอ(Web Address หรือ URL = Uniform Resource Locator) เช่น http://www.google.com หรือ http://www.ssru.ac.th เป็นต้น โปรแกรมที่นิยมใช้เป็นเครื่องบริการเว็บ คือ อาปาเช่ (Apache Web Server) หรือไมโครซอฟท์ไอไอเอส (Microsoft IIS = Internet Information Server) ส่วนบริการที่นิยมติดตั้งเพ่ิม เพื่อเสริมความสามารถของเครื่องบริการ เช่น ตัวแปลภาษาสคริปต์ ระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการผู้ใช้ และระบบจัดการเนื้อหา เป็นต้น

5. วิธีการเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ หากเราสังเกตโฆษณาและใบปลิวของบริษัทชั้นน าจะพบว่ามีข้อความสั้นๆ แสดงที่อยู่ใน

อินเทอร์เน็ตประกอบอยู่ด้วย เช่น เมื่อกล่าวถึงโฮมเพจของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยจะบอก ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตด้วย คือ www.ssru.ac.th เราจะเรียกที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตนี้ว่า แอดเดรส (Address) เราสามารถน าแอดเดรสที่ได้มานี้ มาใช้ในการเข้าถึงเว็บไซต์ได้โดยคลิกที่แถบเครื่องมือแอดเดรส (Address bar) ใส่ Address ลงในช่อง โดยไม่ต้องกรอก http:// น าหน้า เนื่องจากโปรแกรม Internet Explorer จะเติมให้เอง ในตัวอย่างเป็นการกรอก www.ssru.ac.th เพ่ือไปยังโฮมเพจของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กดปุ่ม Enter หรือคลกิปุ่ม Go เพ่ือยืนยันว่าจะไปยัง Address นั้นๆ รอการดาวน์โหลดสักครู่ เว็บเพจจะถูกดาวน์โหลดขึ้นมา

ภาพที่ 4.2 แถบเครื่องมือแอดเดรส

แนะน าเว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ชื่อ เว็บไซต์ รายละเอียด ไทยรัฐ www.thairath.com หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์รายวัน รายงานข่าว

เหตุการณ์บ้านเมืองของไทยทุกแง่มุม รวดเร็ว ผู้จัดการ ออนไลน์

www.manager.co.th หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เสนอข่าวสารด้านต่างๆ วิเคราะห์ข่าว ข่าวจากหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการ

เดลินิวส ์ www.dailynews.co.th หนังสือพิมพ์รายวัน เสนอข่าวสาร การเมือง เศรษฐกิจ กีฬา บันเทิง การศึกษา ไอที สิ่งแวดล้อม เกษตร

แถบเครื่องมือแอดเดรส(Address bar)

Page 11: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

94 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

ชื่อ เว็บไซต์ รายละเอียด คม ชัด ลึก www.komchadluek.co

m หนังสือพิมพ์รายวัน ในเครือเดอะเนชั่นฯ เสนอข่าวสารประจ าวัน บทความ บทวิเคราะห์ เหตุการณ์บ้านเมือง

โพสต์ทูเดย์ www.posttoday.com หนังสือพิมพ์ธุรกิจ ในเครือบางกอกโพสต์ เสนอข่าวสารทางด้านธุรกิจ การวิเคราะห์เศรษฐกิจในประเทศ และต่ างประเทศ การ เงิน การเมือง การศึกษา กีฬา และสถานการณ์ข่าวสารในปัจจุบัน

พันทิปดอทคอม

www.pantip.com สุดยอดเว็บบอร์ดไทย เพ่ือสังคมออนไลน์คุณภาพ

สนุกดอทคอม www.sanook.com เกมส์ ดูดวง ฟังเพลง หาเพ่ือน แชท ข่าว หางาน ดารา ผู้หญิง

ThaiSecondhand

www.thaisecondhand.com

เว็บไซต์ศูนย์กลางการซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยนสินค้า"ทุกชนิด" แห่งแรกและใหญ่ที่สุดของประเทศไทย

ตลาดดอทคอม

www.tarad.com ตลาด ศูนย์กลาง ร้านค้า สินค้า ราคาถูก มากที่สุดในประเทศไทย

6. การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต (Search Engine)

ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้มีการแพร่หลายในโลกของอินเทอร์เน็ตเพ่ิมมากขึ้น ทุกวัน ท าให้บางครั้งการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ อาจค้นหาไม่พบได้ จึงเกิดตัวช่วยในการค้นหาขึ้นมาหรือที่เรียกว่า Search Engine ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ท าให้เราสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการบนอินเทอร์เน็ตซึ่ง Search Engine ที่มีชื่อเสียงและมีการเรียกใช้งานบ่อยๆ คือ Google เนื่องจากใช้งานง่ายและมีคุณสมบัติเพ่ือช่วยในการค้นหามากมาย เช่น ค้นหาเฉพาะภาพ แปลภาษา ค้นหาเส้นทาง อีกทั้งยังสนับสนุนภาษาหลายๆ ภาษา ท าให้ Google มีการแพร่หลายไปได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง เช่น Google ประเทศไทย เป็น Google อยู่ซึ่งภายใต้โดเมนของประเทศไทย ซึ่งในหน้าเว็บเพจจะมีสัญลักษณ์ที่บอกให้รู้ ดังภาพ 4.3

ภาพที่ 4.3 หน้าเว็บไซต์ google

ที่มา : http://www.google.co.th/

Page 12: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 95

6.1 การค้นหาข้อมูลผ่าน Google วิธีการค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine เพ่ือให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับที่เราต้องการมากที่สุด

คือเวลาท าการค้นหา เราควรใช้ค าค้นหาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เราต้องการ หรือที่เรียกว่า “คีย์เวิร์ด” (Keyword) ซึ่งจะช่วยสื่อให้ฐานข้อมูลของ Google เข้าใจในสิ่งที่เราท าการค้นหา และไม่ควรใช้ค าค้นหาเป็นประโยคยาวๆ หรือเป็นประโยคที่มีลักษณะเป็นค าพูดอาทิเช่น ถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ "คอมพิวเตอร์แห่งชาติ" เราสามารถใช้ค านี้ลงไปได้เลย แต่ถ้าเราใส่ค าค้นแค่ค าว่า "คอมพิวเตอร์" ผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหาจะมีจ านวนมากและอาจไม่เกี่ยวข้องใดๆ เลยกับค าว่า "คอมพิวเตอร์แห่งชาติ" แต่ถ้าเรามีการเน้นลงไปว่าเป็น "คอมพิวเตอร์แห่งชาติ" เราก็จะได้ผลลัพธ์ที่มีจ านวนน้อยลง เว็บไซต์ใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับค าว่า "คอมพิวเตอร์แห่งชาติ" จะไม่ถูกแสดงขึ้นมานั่นเอง ในการค้นหาข้อมูลบน Search Engine เราสามารถใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้ และในบางครั้งถือเป็นสิ่งจ าเป็นในการค้นหาอีกด้วย เช่นการค้นหาโปรแกรม ACDSee เราสามารถใช้ค าระบุไปว่า ACDsee +:*.exe ;.rar;.zip ได้ และเรายังสามารถใช้ค าส าคัญและค าเน้นในการค้นหาโดยใช้เครื่องหมายอัญประกาศ (" ") ได้ เช่น "ACDsee v6" +:*.exe ;.rar ;.zip" ซึ่งจะเป็นการเน้นให้ผลการค้นหาต้องมีค าว่า "ACDsee v6" นั่นเอง ส่วนเครื่องหมายที่มีการระบุไป เช่น ดอกจัน(*) จะเป็นการบ่งบอกถึงส่วนขยายของไฟล์โปรแกรมนั่นเอง เช่น *.exe *.rar *.doc *.zip เป็นต้น

7. การดาวน์โหลดโปรแกรม และข้อมูล

เราสามารถดาวน์โหลดข้อมูลหรือโปรแกรมฟรีแวร์ (Freeware) ต่างๆ ได้จากอินเทอร์เน็ต เพ่ือน ามาใช้งานหรือติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ได้ ซึ่งมีข้ันตอนดังนี้

- เข้าสู่โปรแกรมอินเทอร์เน็ต (Internet Explorer) - พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ www.google.com เพ่ือท า

การค้นหาข้อมูลหรือโปรแกรม - เมื่อเข้าสู่หน้า Search Engine ใดๆ แล้ว ให้พิมพ์ชื่อโปรแกรมที่ต้องการ เพ่ือท าการ

ค้นหาและดาวน์โหลด - เมื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ที่มีให้ดาวน์โหลดโปรแกรมแล้ว ให้ท าการดาวน์โหลดโปรแกรมตาม

ค าแนะน าของเว็บไซต์นั้นๆ - ท าการจัดเก็บโปรแกรมที่ดาวน์โหลดเพ่ือติดตั้งภายหลัง

Page 13: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

96 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

ภาพที่ 4.4 การดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์

การใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กร ระบบไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรทั่วไปเป็นระบบโปรแกรมจัดการไปรษณีย์

อิเล็กทรอนิกส์ (Email Client Software) การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กระท าผ่านซอฟต์แวร์ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Email Server) จดหมายที่เข้ามา (Incoming Mail) จะถูกเก็บไว้ที่กล่องรับจดหมายบนเครื่องแม่ข่าย เมื่อผู้ใช้เข้าถึงบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ จดหมายที่เข้ามาของผู้ใช้จะถูกส่งไปยังกล่องส าหรับเก็บไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของซอฟต์แวร์ผู้ใช้ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ โปรแกรม Microsoft’s Outlook Express ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า Windows Mail โปรแกรม Apple Inc.’s Mail เป็นต้น ส าหรับหัวข้อนี้จะกล่าวถึงระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ซึ่งเป็นระบบโปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) ที่อยู่คือ http://mail.ssru.ac.th นักศึกษาทุกคนของมหาวิทยาลัยจะได้รับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในชั้นปีที่ 1 (ซึ่งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านนี้เป็นข้อมูลชุดเดียวกับที่ใช้เพ่ือความปลอดภัยก่อนผ่านเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้) เมื่อเข้าสู่ที่อยู่จะปรากฏหน้าจอดงัภาพที่ 4.5

ภาพที่ 4.5 หน้าแรกของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย

2

3

4

5

Page 14: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 97

เมื่อเข้าสู่หน้าแรกของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยแล้ว กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านแล้วจะเข้าสู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นบัญชีของผู้ใช้ดังแสดงในภาพที่ 4.6

ภาพที่ 4.6 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นบัญชีของผู้ใช้

เมื่อเข้าสู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นบัญชีของผู้ใช้แล้ว ลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของระบบอ่ืน เช่น Hotmail ผู้ใช้สามารถเขียนจดหมาย รับส่งจดหมาย หรือมีปฏิทินส่วนตัวได้เช่นเดียวกับระบบอ่ืน ตัวอย่างการเขียนจดหมายแสดงดังรูปที่ 4.6รายละเอียดและลูกเล่นอ่ืนๆ สามารถศึกษาเพ่ิมเติมได้จากระบบการช่วยเหลือ ซึ่งปรากฏอยู่มุมขวาด้านบน

ภาพที่ 4.7 การเขียนจดหมาย

Page 15: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

98 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

ภาพที่ 4.8 ระบบการช่วยเหลือ

2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทีให้บริการฟรี ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ E-mailท าความรู้จักกับ อีเมล (E-mail) และวิธีการใช้งานในเบื้องต้น อีเมล (E-mail) หรือ Electronics Mail หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือส าหรับติดต่อสื่อสารระหว่างกันประเภทหนึ่งคล้ายกับการส่งจดหมายผ่านทางไปรษณีย์ แต่ อีเมลนี้เป็นบริการที่สามารถท าการส่งข้อความ ไฟล์เอกสารของคอมพิวเตอร์ หรือรูปภาพต่างๆ ไปยังผู้รับปลายทาง (ที่ใช้บริการอีเมล) ได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงท าให้เพ่ิมความสะดวกสบายได้มากข้ึน เว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมลที่ให้บริการฟรีมีอยู่มากมาย แต่ถ้าจะแยกประเภทของการใช้งาน สามารถแยกออกได้เป็น 2 แบบดังนี้

1. Web Base Mail เช่น อีเมลของ hotmail.com, yahoo.com, chaiyo.com หรือ email.in.th หากต้องการใช้งานอีเมลเหล่านี้ จะต้องใช้งานโดยผ่านทางหน้าเว็บเพจเท่านั้น ข้อดีคือ สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเปิดอ่านอีเมลนั้นก็ได้ โดยไม่ต้องท าการตั้งค่าต่างๆ ในเครื่องให้ยุ่งยาก และไม่จ าเป็นต้องใช้โปรแกรมในการอ่านหรือรับส่ง อีเมลโดยเฉพาะอีกด้วย เพราะสามารถใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์ที่มีอยู่ได้เลย ท าให้ไม่เปลืองพ้ืนที่ของฮาร์ดดิสก์ในการติดตั้งโปรแกรมเพ่ิมเติม แต่ข้อเสียของ Web Base Mail คืออาจจะช้าและเสียเวลานานในการอ่านหรือรับส่งอีเมลได้ถ้าความเร็วของอินเทอร์เน็ตไม่มากพอ

2. POP Mail เช่น yahoo.com ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอีเมล ที่มีบริการการอ่านอีเมลแบบ POP Mail ด้วย ในกรณีที่เลือกใช้งานอีเมลที่เป็นแบบ POP Mail ผู้ใช้จะต้องท าการติดตั้งโปรแกรมส าหรับรับ-ส่งอีเมล ลงไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook เพ่ือใช้ส าหรับจัดการกับอีเมล แต่ต้องท าการตั้งค่าต่างๆ ของโปรแกรมที่ใช้รับ-ส่งอีเมลก่อนจึงจะใช้งานได้ แต่การใช้ POP Mail จะสะดวกกว่าการใช้งานแบบ Web Base Mail ในกรณีที่ต้องการอ่านอีเมลของเก่า เพราะเมื่อท าการเปิด

Page 16: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 99

โปรแกรมส าหรับการอ่านอีเมลแล้ว โปรแกรมจะท าการดาวน์โหลดอีเมลทั้งหมดมาเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน ท าให้เราสามารถอ่านอีเมลได้แม้ว่าจะไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วก็ตาม

ค าศัพท์แบบมาตรฐานทั่วๆ ไป ท่ีนิยมใช้ในการใช้งานอีเมล มีดังนี้ - Inbox หมายถึงกล่องหรือท่ีส าหรับเก็บอีเมล ที่มีผู้ส่งเข้ามา - Outbox หมายถึงกล่องหรือท่ีเก็บอีเมล ที่ก าลังจะส่งออกไปหาผู้อ่ืน - Sent Items หมายถึงกล่องหรือท่ีเก็บอีเมล ที่เราได้เคยส่งออกไปหาผู้อ่ืนแล้ว - Delete Items หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล ที่ได้ท าการลบทิ้งจาก Inbox แต่ยังเก็บส ารองไว้

อยู่ - Drafts หมายถึงกล่องหรือท่ีเก็บอีเมล ส าหรับใช้เก็บอีเมลต่างๆ ชั่วคราว ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ - Compose / New Mail เป็นการส่งอีเมลใหม่ไปหาผู้อ่ืน - Forward เป็นการส่งต่ออีเมลที่ได้รับมานั้นไปหาผู้อ่ืน - Reply เป็นการตอบกลับอีเมลที่มีผู้ส่งมาถึงเรา - Reply All เป็นการตอบกลับอีเมลที่มีผู้ส่งมาถึงเราโดยจะตอบกลับไปยังทุกคนที่มีชื่ออยู่ในอีเมล

ฉบับนั้น - Subject หมายถึงหัวข้อของอีเมลที่เราจะเขียนหรือส่งออกไป - To หมายถึง ชื่อหรืออีเมลของผู้ที่เราต้องการส่งอีเมลไปหา - CC หมายถึงการส่ง copy อีเมลนั้นๆ ไปให้ผู้อ่ืนที่ต้องการด้วย - BCC หมายถึงการส่ง copy อีเมลนั้นๆ ไปให้ผู้อ่ืนที่ต้องการ และไม่ให้ผู้รับคนอ่ืนมองเห็นว่ามี

การส่งไปให้ในช่อง BCC ด้วย - Attach หมายถึงการแนบไฟล์เอกสาร หรือโปรแกรมต่าง ๆ ไปกับอีเมลฉบับนั้น

- Address Book หมายถึงสมุดรายชื่อของอีเมล ที่เราสามารถเก็บไว้ เพ่ือให้น ามาใช้งานได้ง่ายข้ึน วิธีการสมัครใช้อีเมลของ Hotmail ก่อนการใช้งานอีเมลไม่ว่าจะเป็นของผู้ให้บริการใดก็ตาม ผู้ใช้จะต้องท าการสมัครสมาชิกเพ่ือขอเข้าใช้บริการก่อน ซึ่งในการสมัครสมาชิกควรมีการอ่านรายละเอียดต่างๆ ของเว็บไซต์ผู้ให้บริการให้ดีก่อนว่าสนับสนุนบริการอะไร และสามารถใช้งานในลักษณะใดได้บ้าง เช่น ใช้บริการได้แต่เฉพาะ Web Base Mail หรือใช้งาน POP3 Mail ได้ เป็นต้น และนอกจากนี้ควรที่จะอ่านเงื่อนไขของการให้บริการให้เข้าใจก่อนด้วยซึ่งข้ันตอนการสมัครใช้อีเมลของ Hotmail มีดังนี ้

Page 17: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

100 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

1. เข้าเว็บไซด์ www.hotmail.com จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “ลงทะเบียน”

2. กรอกชื่อบัญชีที่ต้องการ ลงในช่อง Windows Live ID

3. จากนั้นคลิกปุ่ม “ตรวจสอบการใช้งาน” เพ่ือตรวจสอบดูว่ามีใครใช้ชื่อบัญชีนั้นๆ ไป

หรือยัง

4. ในกรณีที่ ID ที่ระบุมีผู้ใช้อยู่แล้ว จะปรากฏหน้าจอดังภาพด้านล่าง จะต้องท าการระบุ

ID ใหม่ โดยขณะที่กรอก ID ทางเว็บไซต์จะแสดง ID ที่ใช้ได้มาให้อัตโนมัติ สามารถเลือกใช้ได้ทันที

Page 18: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 101

5. กรอกข้อมูลส่วนที่เหลือให้ครบถ้วน จากนั้นคลิกปุ่ม “ฉันยอมรับ”

6. เมื่อสมัครเสร็จแล้ว ระบบจะเข้าสู่กล่องจดหมาย (Mail) 7. ในส่วน “กล่องขาเข้า(1)” เป็นส่วนที่ระบบจะแจ้งว่าคุณมีข้อความที่ยังไม่ได้เปิดอ่าน 1

ฉบับ

การเข้าใช้อีเมลของ Hotmail

1. เข้าเว็บไซต์ www.hotmail.com จากนั้นคลิกที่ ลงทะเบียน “ลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชีอ่ืน”

Page 19: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

102 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

2.กรอก ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ที่สมัครไว้ จากนั้นคลิกปุ่ม “ลงชื่อเข้าใช้”

3. หลังจากนั้นจะสามารถเข้ากล่องจดหมาย (Mail) ได้ทันท ี

1) การส่งอีเมลของ Hotmail 1. เมื่อลงชื่อเข้าใช้เพ่ือเข้าสู่ระบบแล้ว คลิกท่ี “สร้าง”

2. กรอกรายละเอียดของข้อมูลจดหมาย

Page 20: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 103

3. ถ้าต้องการส่งไฟล์ข้อมูลไปกับอีเมล คลิก “สิ่งที่แนบมา”

4. เลือกไฟล์ที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม Open

5. จะได้ไฟล์ข้อมูลที่ต้องการส่งไปพร้อมกับจดหมายแสดงให้เห็น

6. เมื่อต้องการส่ง คลิก “ส่ง”

2) การรับและส่งต่ออีเมลของ Hotmail 1. เมื่อลงชื่อเข้าใช้เพ่ือเข้าสู่ระบบแล้วคลิกท่ี “กล่องขาเข้า”

2. คลิกเลือกจดหมายที่ต้องการอ่านทางด้านขวา

3. จะได้ข้อความจดหมายที่ต้องการอ่าน

1

2

3

Page 21: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

104 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

4. เมื่ออ่านจดหมาย แล้วต้องการตอบกลับไปยังผู้ส่ง ให้คลิก “ตอบกลับ” หรือ “ตอบกลับทั้งหมด”

5. แต่ถ้าต้องการส่งต่อไปให้ผู้รับผู้อ่ืนให้คลิก “ส่งต่อ” การแนบไฟล์ไปกับ E-mail

เมื่อต้องการส่ง

3) ไฟล์งานหรือไฟล์รูปพร้อมไปกับอีเมล ท าได้โดย 1. สร้างจดหมายขึ้น ก าหนดชื่อผู้ส่งในช่อง “ถึง”

2. พิมพ์ชื่อเรื่องใน “ชื่อเรื่อง” 3. คลิกค าสั่ง “สิ่งที่แนบมา” ที่อยู่ด้านบนจะปรากฏหน้าต่างให้เลือกไฟล์งานหรือ

ไฟล์รูป

Page 22: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 105

เลือกไฟล์ที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม Open

4. เลือกที่เก็บของไฟล์ที่จะส่ง รอสักครู่จะท าการประมวลไฟล์แนบจัดเก็บไว้ในส่วนของอีเมล ดังรูป

5. คลิกปุ่ม Send เพ่ือส่งอีเมลฉบับนี้

การใช้งาน Social network (Facebook) 1. วิธีการสมัครใช้งาน Facebook

1.1 เข้าไปที่ http://www.facebook.com ในหน้าแรกจะมีช่องให้ “ลงทะเบียน” ตามรูป

1.2 หลังจากนั้นกรอกข้อมูล ได้แก่ ชื่อ (แนะน าให้ใช้ชื่อ-นามสกุลจริง เพราะจะมีผลในการ

ค้นหาของเพ่ือน) อีเมลที่ติดต่อได้ และตั้งพาสเวิร์ดที่จะใช้ส าหรับเข้าใช้งาน ระบุวันเดือนปีเกิด 1.3 จากนั้นคลิกปุ่ม “ลงทะเบียน” จะมีช่องให้พิมพ์ค าตามรูปภาพ เป็นค าภาษาอังกฤษสอง

ค าค่ันกลางด้วยเว้นวรรค (space bar)

Page 23: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

106 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

1.4 จากนั้นคลิกปุ่ม “ลงทะเบียน” 1.5 หลังจากนั้นจะเป็นการเริ่มใช้งานโดยมีสามขั้นตอนคือ

- ขั้นที่ 1 คุณสามารถค้นเพ่ือหาผ่านทางอีเมลของคุณดังรูป (คุณสามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้)

- ขั้นที ่2 กรอกข้อมูลส่วนตัวของคุณ ข้อมูลนี้จะช่วยคุณหาเพ่ือนของคุณใน Facebook

- ขั้นที ่3 ตั้งค่ารูปประจ าตัวของคุณ

Page 24: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 107

1.6 หลังจากนั้น ระบบจะส่งอีเมลยืนยันไปทีอี่เมลที่ให้ไว้ตรงนี้สามารถปิดหน้า Facebook ไปก่อนได้ แล้วกลับไปเช็คอีเมลจะพบอีเมลที่มีหัวข้อว่า “Facebook อีกหนึ่งก้าวส าหรับการเริ่มต้นบนเฟชบุ๊ค ” ถ้าไม่เห็นหรือหาไม่เจอให้ลองเข้าไปดูในโฟลเดอร์ Junk (อีเมลขยะ) ซึ่งพอเปิดเข้าไปก็จะพบข้อความพร้อมกับลิงค์ที่ให้มา ให้ท าการคลิกลิงค์ เพ่ือเป็นการยืนยันตัวตน ซึ่งระบบจะเปิดไปยังหน้าของ Facebook โดยอัตโนมัติ เพียงแค่นี้ก็จะมีหน้า Facebook ของตัวเองเอาไว้ใช้งาน

Page 25: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

108 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

2. การใช้งาน Facebook - การจัดการ Profile บน Facebook

Profile คือ ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ของผู้ใช้งาน ซึ่งเราสามารถท าการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว และการ Upload เพ่ือเปลี่ยนรูปภาพใน Profile ได้ และการแก้ไขข้อมูลส่วนตัวนั้นถือได้ว่าเป็นการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเราด้วยเช่นกัน ซึ่งมีข้ันตอนในการจัดการกับ Profile ดังนี้

- การก าหนดรูปภาพ 1. เมื่อ Login เข้าสู่ Facebook แล้ว คลิกที่ “ข้อมูลส่วนตัว” จะเห็นส่วนต่างๆ ที่เป็น

ข้อมูลส่วนตัว ซึ่งจะยังไม่มีรูปภาพปรากฏอยู่

2. เราสามารถน ารูปที่ต้องการใส่เข้าไปได้โดยคลิกที่ “อัพโหลดรูปถ่าย” 3. คลิกปุ่ม “Browse” เพ่ือเลือกภาพที่ต้องการ แต่ต้องมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 4 MB 4. เมื่อเลือกรูปภาพแล้วจะสามารถเห็นรูปที่เลือกได้

1

2

Page 26: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 109

5. ถ้าต้องการเปลี่ยนรูป ให้คลิกท่ี “เปลี่ยนรูปถ่าย” แล้วท าการเลือกรูปภาพใหม่ที่ต้องการ

อีกครั้ง - การก าหนดรูปแบบของ Info

1. คลิกท่ีแท็บ “ข้อมูลส่วนตัว” เพ่ือเปลี่ยนแปลงข้อมูลในส่วนต่างๆ

2. ข้อมูล “การศึกษาและการท างาน” เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับศึกษาและการท างาน

สามารถแก้ไขได้โดยคลิกที่ “แก้ไข” ในแถบการศึกษาและการท างาน 3. ข้อมูล “ศิลปะและความบันเทิง” เป็นข้อมูลที่สนใจในกิจกรรมต่างๆ สามารถแก้ไขได้

โดยคลิกที่ “แก้ไข” ในแถบศิลปะและความบันเทิง

1

2

4

3

5

Page 27: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

110 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

4. ข้อมูล “ข้อมูลเบื้องต้น” เป็นข้อมูลเกี่ยวตัวเอง ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ สามารถแก้ไขได้โดยคลิกที่ “แก้ไข” ในแถบข้อมูลเบื้องต้น

5. ข้อมูล “ข้อมูลการติดต่อ” เป็นการก าหนดความเป็นส่วนตัวว่าจะให้คนในกลุ่มไหนเห็นบ้าง สามารถแก้ไขได้โดยคลิกที่ “แก้ไข” ในแถบข้อมูลการติดต่อ - การเพิ่มช่ือเพื่อนบน Facebook

การเพ่ิมเพ่ือนสามารถท าได้ 3 วิธี ดังต่อไปนี้ 1. การเพ่ิมเพ่ือนจากอีเมล 2. การเพ่ิมเพ่ือนจากการแนะน า (Suggestions) 3. การเพ่ิมเพ่ือนจากการค้นหาด้วยค าค้นต่างๆ แต่ละวิธีมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้

1) การเพิ่มเพื่อนในอีเมลของคุณ เป็นการค้นหาผ่านทางบัญชีรายชื่ออีเมล ซึ่งเป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการหาเพ่ือนใน

Facebook

2) การเพิ่มค้นหาผ่านทางบัญชีรายชื่ออีเมลของ Hotmail ท าได้ดังนี้

1. กรอกอีเมลแอดเดรสของ Hotmail ลงในช่อง “อีเมลของคุณ”

Page 28: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 111

2. คลิกปุ่ม “ค้นหาเพื่อน”

3. กรอกรหัสผ่านลงในช่อง แล้วคลิกปุ่ม “ลงชื่อเข้าใช้” ระบบจะท าการแสดงรายชื่อผู้ติดต่อจากบัญชีรายชื่ออีเมลของ Hotmail 4. เลือกรายชื่อเพ่ือนที่ต้องการเพ่ิมรายชื่อผู้ติดต่อ แล้วคลิกปุ่ม “Send Invites”

3) การเพิ่มเพื่อนจากการแนะน า (Suggestions)

การเพ่ิมเพ่ือนจากการแนะน า เป็นการเพ่ิมรายชื่อเพ่ือนจากเพ่ือนๆ ที่เราได้ Add ไว้อีกที (เป็นเพ่ือนที่อยู่ในลิสต์รายชื่อของเพ่ือน) แล้วจึงน ามาแนะน าให้เราสามารถเพ่ิมเพ่ือนได้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีวิธีการดังนี้

Page 29: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

112 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

1. คลิกท่ีแท็บ “คนที่คุณอาจรู้จัก”

2. ในส่วนของ “คนที่คุณอาจรู้จัก” จะแสดงรายชื่อเพ่ือนและรูปที่ถูก

แนะน า เราสามารถคลิกที่ “เพ่ิมเป็นเพ่ือน” ถ้าต้องการเพิ่มใครเข้ามาเป็นเพ่ือนได้

3. สถานะของบุคคลนั้นจะเปลี่ยนเป็น “ขอเป็นเพื่อนแล้ว”

4) การเพิ่มเพื่อนจากการค้นหาด้วยค าค้นต่างๆ เป็นการค้นหาเพื่อนจากค าค้นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล สถาบันที่เรียน บริษัท

หรืออ่ืนๆ ซึ่งมีวิธีการดังนี้ 1. เมื่อเราใส่ค าค้น ระบบจะท าการค้นหาเพื่อนที่มีการใส่รายละเอียดที่ตรงกับ

ค าค้นนั้น ขึ้นมาให้เราเห็นเราสามารถเลือก เพ่ือนได้ตามความต้องการ

Page 30: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 113

2. ระบบจะแสดงข้อมูลของบุคคลนั้นขึ้นมาหากต้องหารเพ่ิมเป็นเพ่ือนให้คลิก

ปุ่ม “เพ่ิมเป็นเพ่ือน”

3. หลังจากนั้นคลิกท่ีปุ่ม “Send Request”

Page 31: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

114 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

5) วิธีการ Upload รูปขึ้น Facebook 1. เราสามารถน ารูปที่ต้องการใส่เข้าไปได้โดยคลิกที่ “ข้อมูลส่วนตัว”

2. แล้วคลิกท่ีแท็บ “รูปภาพ” 3. หลังจากนั้นคลิกท่ี “อัพโหลดรูปภาพ” 4. คลิกปุ่ม “เลือกรูปภาพ” เพ่ือเลือกภาพที่ต้องการ แต่ต้องมีขนาดใหญ่ไม่

เกิน 4 MB

5. เลือกรูป โดยสามารถเลือกรูปได้พร้อมกันหลายรูปโดยการกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วคลิกเลือกชื่อแฟ้มข้อมูล แล้วคลิกปุ่ม “Open”

1

2

3

Page 32: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 115

6. เมื่อเลือกรูปภาพแล้ว ตั้งชื่อของอัลบั้ม สถานที่ ก าหนดการแบ่งปันอัลบั้ม จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้างอัลบั้ม”

7. จะสามารถเห็นรูปที่เลือกได้จากนั้นคลิกปุ่ม“บันทึกการเปลี่ยนแปลง”

8. จากนั้นคลิกปุ่ม “เผยแพร่”

9. หากต้องการเพ่ิมรูป ให้คลิกท่ี “เพ่ิมรูปภาพ” แล้วท าการเลือกรูปภาพใหม่ที่ต้องการอีกครั้ง

Page 33: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

116 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

6) การดูข่าวสารออนไลน์ การดูข่าวสารออนไลน์สามารถดูจาก Facebook เช่นกัน ซึ่งจะสะดวกและ

ง่าย และยังสามารถติดตามอัพเดตข่าวสารได้จากผู้ติดต่อของตนเองได้ขั้นตอนดังนี้ 1. เราสามารถการดูข่าวสารออนไลน์คลิกที่แท็บ “หน้าแรก”

2. จากนั้นคลิกแท็บ “กิจกรรม” 3. จะพบประกาศจากเพ่ือนที่ได้ส่งมา

3. การตั้งค่า Privacy บน Facebook เป็นการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ เช่น ต้องการให้คนอ่ืนๆ ที่ไม่ใช่เพ่ือนของเราเข้ามาดูใน

ส่วนของการแสดงความคิดเห็นได้หรือไม่ ท าได้โดยคลิกที่แท็บ “บัญชีผู้ใช้” คลิกเลือก “ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว” เพ่ือเข้าสู่การตั้งค่าซึ่งเราสามารถก าหนดการควบคุมต่าง ๆ ได้ดังนี้

1

2

Page 34: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 117

- การเชื่อต่อบน Facebook เป็นการควบคุมข้อมูลพ้ืนฐานที่เพ่ือนๆ จะใช้ค้นหาคุณบน Facebook

- การแบ่งปันบน Facebook เป็นการควบคุมว่าใครสามารถมองเห็นสิ่งที่คุณแบ่งปันได้บ้าง - แอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ เป็นการควบคุมส าหรับการใช้งานแอพพลิเคชั่น เกมส์ และเว็บไซต์

ต่าง ๆ - รายชื่อที่ถูกบล็อก เป็นการควบคุมรายชื่อคนและแอพพลิเคชั่นที่ถูกบล็อก

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

1. ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) คือ การค้าขายผ่านทางเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตกล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้ถ้าบริษัทห้างร้านใดไม่มีหน้าเว็บเพจในอินเทอร์เน็ตแล้ว ถือว่าบริษัทห้างร้านนั้นก็ไม่มีตัวตนอยู่ นั่นคือไม่มีใครรู้จักนั่นเอง เมื่อไม่มีใครรู้จักก็ไม่มีใครท ามาค้าขายด้วย แล้วถ้าไม่มีใครท ามาค้าขายดว้ยก็อยู่ไม่ได้ สุดท้ายต้องล้มหายตายจากไป

ว่ากันว่าแหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่งในอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่คือ ข้อมูลเกี่ยวกับราคา และรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า และข้อมูลผู้ขายหรือผู้ผลิต ท าให้ในปัจจุบันผู้บริโภคมีช่องทางในการเลือกซื้อสินค้ากันมากขึ้น เช่น การเลือกซื้อจากในเว็บไซต์ และผู้บริโภคยังมีโอกาสเข้าไปเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนที่จะซ้ือได้อีกด้วย

ในการท าอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นเว็บเพจหรือช่องทางการจ าหน่ายสินค้า แต่อีคอมเมิร์ซยังมีความหมายรวมไปถึงการน าเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพ่ือลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังช่วยเพ่ิมประสิทธิภาพในการด าเนินธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับผู้บริโภค และผู้ค้าส่ง อีกด้วย

2. วิวัฒนาการของอีคอมเมิร์ซ การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอน

เงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอ่ืนเพ่ิมขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้น

หลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอ่ืนๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการส ารองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเทอร์เน็ตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จ านวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้เพ่ิมขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้น เหตุผลที่ท าให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วย พอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่างๆ ในอเมริกาได้ให้ความส าคัญและเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย

Page 35: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

118 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

3. ประเภทอีคอมเมิร์ซสามารถแบ่งได้ ดังนี้ 3.1 ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้ซื้อ

ปลีกใช้อินเทอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเทอร์เน็ต 3.2 ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับ

ธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเทอร์เน็ต 3.3 ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือ ประเภทที่ธุรกิจ

ติดต่อกับหน่วยราชการ 3.4 รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่

หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง 3.5 ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่

ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่น ที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้

4. แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ ประกอบไปดว้ยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ คือ 4.1 Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า

เพราะลูกค้าคือส่วนส าคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพ้ืนฐานในการด าเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม

4.2 Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การน าวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท

4.3 Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการด าเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพ่ือให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกันเพ่ือให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการด าเนินงาน

5. ขั้นตอนการท าอีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

5.1 ผู้ประกอบการจัดตั้งร้านค้าหรือท าหน้าโฆษณาที่เรียกว่าโฮมเพจหรือเว็บเพจบนอินเทอร์เน็ต

5.2 ผู้ซื้อเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในอินเทอร์เน็ต 5.3 ผู้ซื้อติดต่อสอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย เช่น ของดีจริงหรือไม่ ส่งได้รวดเร็วเท่าใดมี

ส่วนลดหรือไม่เป็นต้น 5.4 ผู้ซื้อสั่งสินค้าและระบุวิธีจ่ายเงิน เช่น โดยผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น 5.5 ธนาคารตรวจสอบว่าผู้ซื้อมีเครดิตดีพอหรือไม่และแจ้งให้ผู้ขายทราบ 5.6 ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ 5.7 ผู้ซื้ออาจจะใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อขอบริการหลังการขายจากผู้ขาย

Page 36: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 119

ผลกระทบการใช้อนิเทอร์เน็ต 1. ลักษณะการกระท าความผิดในสังคมดิจิทัล

- การรบกวน/แอบแก้ไขข้อมูล - การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ - การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ - การแอบเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ - การแอบเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ - ผู้กระท าความผิดอยู่ตรงไหนก็ได้ในโลก - มีการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน - ยากต่อการตรวจพบร่องรอย - ยากต่อการจับกุม และน าผู้กระท าผิดมาลงโทษ - ความเสียหายกระทบคนจ านวนมาก และรวดเร็ว

2. ความผิดตามมาตราต่างๆ ที่พบได้บ่อย 2.1 มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการ ป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้ส าหรับตน ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจ าท้ังปรับ 2.2 มาตรา 8 ผู้ใดกระท าด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพ่ือดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพ่ือประโยชน์สาธารณะหรือเพ่ือให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจ าท้ังปรับ 2.3 มาตรา 9 ผู้ใดท าให้เสียหาย ท าลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพ่ิมเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อ่ืนโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับมาตรา 10 ผู้ใดกระท าด้วยประการใดโดยมิชอบ เพ่ือให้การท างานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อ่ืนถูกระงับชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจึงไม่สามารถท างานตามปกติได้ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจ าท้ังปรับ 2.4 มาตรา 26 ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จ าเป็นเพ่ือให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

Page 37: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

120 | G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้

สรุป

อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า Cyber space ซึ่งปัจจุบันการเชื่อต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตนิยมใช้ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงคู่สายโทรศัพท์ที่มีอยู่เดิม ให้กลายเป็นเส้นทางเข้าถึงมัลติมีเดียและการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้

อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่มีการแพร่หลายเพ่ิมมากขึ้นทุกวันจึงเกิดตัวช่วยในการค้นหาขึ้นมาที่เรียกว่า Search Engine ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ท าให้เราสะดวกและประหยัดเวลา ซึ่ง Search Engine ที่มีชื่อเสียงและมีการเรียกใช้งานบ่อยๆ คือ Google

อินเทอร์เน็ตเป็นการเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากันเริ่มจากไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นเครื่องมือส าหรับติดต่อสื่อสารระหว่างกันประเภทหนึ่งคล้ายกับการส่งจดหมายผ่านทางไปรษณีย์ แต่สามารถท าการส่งข้อความ ไฟล์เอกสารของคอมพิวเตอร์ หรือรูปภาพต่างๆ ไปยังผู้รับปลายทางได้

อินเทอร์เน็ตยังก่อให้เกินสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่สามารถช่วยให้เราได้มีปฏิสัมพันธ์กันในด้าน มุมมอง ความคิด การแลกเปลี่ยนทางการเงิน มิตรภาพ ความขัดแย้ง การค้า ปัจจุบันโลก ไซเบอร์น าเราให้มาเจอเพ่ือนได้ง่าย ผ่านทางสังคมออนไลน์บนเว็บไซต์อย่าง Facebook, hi5, Friendster, Multiply, MySpace, Windows Live Spaces ฯลฯ

อินเทอร์เน็ตถือว่ามีบทบาทส าคัญมากไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูลเพ่ือประกอบการศึกษาหรือการรับข่าวสารทั่วไป โดยเฉพาะในตอนนี้วัยรุ่นหันมาใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น จนกลายเป็นว่าอินเตอร์เน็ตมาครอบง าและใช้อินเตอร์เน็ตไปในทางที่ไม่ดี เช่น การเปิดเว็บโป๊ สื่อลามก อนาจาร การแชทก็เป็นอีกปัญหาที่เกิดกับวัยรุ่นอย่างรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการเรียนและเป็นปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย

ค าถามท้ายบท 1. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (Satellites) จุดเด่นในการใช้งานอย่างไร 2. บริการแบบใดท าให้เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกล 3. สิ่งใดที่ใช้ชื่อแทนหมายเลขไอพี แอดเดรส (IP Address) เพ่ือความสะดวกในการจดจ า 4. สิ่งใดเป็นตัวบ่งบอกข้อมูล หรือ ที่อยู่ (Address) ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต 5. การเพ่ิมเพ่ือนสามารถท าได้ 3 วิธี คือวิธีการใดบ้าง

Page 38: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น

G E S 1 1 0 1 เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ เ พ่ื อ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ | 121

เอกสารอ้างอิง

ฉัททวุฒิ พืชผล และ ปิยพงศ์ เผ่าวณิช. (2550). Search อย่างเซียนด้วย Google และอ่ืนๆ. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

ชาติชาย วิเราชรัตน์. (2552). Facebook ทุกมุม. กรุงเทพฯ: จูปิตัส. ธนัญญา สินมหัด. (2552). สนุกกับ facebook. นนทบุรี: ไอดีซี อินโฟ ดิสทริบิวเตอร์ เซ็นเตอร์. มือใหม่หัดใช้ อินเทอร์เน็ต. (2552). กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น. ศรีนลิน พิมพ์ประเสริฐ, ปวีณา มีป้อง, ภวรัญชน์รัตน์ ภู่วิจิตร์ และณรงค์ชัย สวัสดิผล. (2552). Twitter &

facebook. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น. สุธีร์ นวกุล. (2550). ครบเรื่อง อินเทอร์เน็ต & อีเมล เข้าใจง่าย ท าได้จริง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. สุธีร์ นวกุล. (2552). Facebook. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. สุพรรษา ยวงทอง วิโรจน์ ชัยมูล. (2551). ครบเครื่องเรื่อง อินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น. เอม โอภา. (2552). Twitter & facebook. นนทบุรี: ไอดีซี อินโฟ ดิสทริบิวเตอร์ เซ็นเตอร์.

Page 39: หน่วยที่ 4 การใช้งาน ... · 2015-10-20 · 2.4.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น