aec ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ สถาบัน ... · 2017....

7
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 66 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) AEC ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ สถาบันการเงินในภาพรวม ณัฐยา อัชฌากรลักษณ์ ผู้อำานวยการส่วนความร่วมมืออาเซียนและอนุภูมิภาค สำานักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง จากการที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู ่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2558 น้ ท�าให้หลายภาคส่วนรวมทั้งประชาชนจ�านวนไม่น้อยมีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเรื่อง ที่มีความอ่อนไหวและส�าคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่ง

Upload: others

Post on 27-Aug-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: AEC ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ สถาบัน ... · 2017. 12. 15. · 66 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 66

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

AEC ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสถาบันการเงินในภาพรวม

ณัฐยา อัชฌากรลักษณ์ผู้อำานวยการส่วนความร่วมมืออาเซียนและอนุภูมิภาค

สำานักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

จากการที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างเป็นทางการ

ในปี พ.ศ. 2558 นี้ ท�าให้หลายภาคส่วนรวมทั้งประชาชนจ�านวนไม่น้อยมีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง

ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน ซ่ึงเป็นเร่ือง

ที่มีความอ่อนไหวและส�าคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่ง

Page 2: AEC ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ สถาบัน ... · 2017. 12. 15. · 66 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Government Housing Bank 67

แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสถาบันการเงินในภาพรวมนั้น

จะขอกล่าวถึงภาพรวมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเสียก่อนเพื่อให้ท่านผู้อ่าน

ได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตลอดจน

รับทราบถึงพันธกิจต่างๆที่ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้อง

ดำาเนินการในการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และผลที่จะตามมาจาก

การดำาเนินการตามพันธกิจนั้นๆซึ่งก็คือผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน

ในภาพรวมนั่นเอง

ความเป็นมา

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(AssociationofSoutheast

AsianNations:ASEAN)หรือที่รู้จักกันดีในนามว่า“อาเซียน”หรือ“ASEAN”

นั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อปี1967(พ.ศ.2510) โดยมีอินโดนีเซียมาเลเซียฟิลิปปินส์

สิงค์โปร์และไทยเป็นสมาชิกเริ่มแรกหรือที่เรียกกันว่าASEAN5และต่อมาได้

มีการขยายสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก5ประเทศ คือบรูไน เวียดนามลาว เมียนมา

และกัมพูชา

ในปี2003 ผู้นำาอาเซียนได้เห็นชอบให้มีการรวมตัวกันไปสู ่ “ประชาคม

อาเซียน” หรือ “ASEANCommunity” ภายในปี2020(ต่อมาได้ปรับเป็น

ปี2015) ซ่ึงเป็นการส่งเสริมการรวมตัวรอบด้านของอาเซียน โดยแบ่งออกเป็น

3เสาหลักประกอบด้วย

1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEANEconomicCommunity:AEC)ซึ่งมี

เป้าหมายในการส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน

เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนลดช่องว่างระดับการ

พัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียนและส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัว

เข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่เสียเปรียบ

2. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน(ASEANPolitical-SecurityCommunity:

APSC)มีเป้าหมายในการสร้างสังคมอาเซียนให้มีค่านิยมพัฒนาการทาง

การเมืองไปในทิศทางเดียวกัน

ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบ

ในการรักษาความมั่นคงสำาหรับ

ประชาชนและส่งเสริมให้อาเซียนมี

ปฏิสัมพันธ์กับประชาคมโลก โดย

เสริมสร้างบทบาทอาเซียนเป็นผู้นำา

ในภูมิภาค

3. ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน

(ASEAN Socio - Cul tura l

Community:ASCC)มีบทบาทใน

การพัฒนามนุษย์ คุ ้มครองและ

ให้สวัสดิการสังคม ให้สิทธิและ

ความยุติธรรมทางสังคม สร ้าง

ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สร้าง

อัตลักษณ์อาเซียนและลดช่องว่าง

ในการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก

อาเซียน

ภาพรวมประชาคมเศรษฐกิจ

อาเซียน (AEC)

ผู้นำาอาเซียนได้จัดทำาแผนการจัดตั้ง

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN

EconomicCommunityBlueprint)

หรือท่ีรู้จักกันดีในช่ือของAECBlue-

print เพ่ือกำาหนดทิศทางและแผนงาน

ท่ีจะดำาเนินงานในการรวมกลุ ่มทาง

เศรษฐกิจท่ีชัดเจน โดยมีเป้าหมาย

4ประการดังนี้

Page 3: AEC ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ สถาบัน ... · 2017. 12. 15. · 66 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 68

1. การเป ็นตลาดและฐานการผลิต

ร ่วมกัน (Single Market and

ProductionBase) ภาษีนำาเข้า

สินค้าจะเป็น0 อุปสรรคนำาเข้า

ทางด ้านภาษีระหว ่างประเทศ

สมาชิกอาเซียนจะลดลง การค้า

ระหว่างอาเซียนจะคล่องตัวเพราะมี

การอำานวยความสะดวกทางการค้า

คนสัญชาติอาเซียนสามารถถือหุ้น

ได้ถึง70%ในธุรกิจบริการในอาเซียน

มีการลดและเลิกข้อจำากัดตลอดจน

อุปสรรคในการให้บริการตามกรอบ

ความตกลงการค้าบริการของอาเซียน

(ASEANFrameworkAgreement

onServices:AFAS)

2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถ

ในการแข ่งขัน (Compet i t ive

EconomicRegion) จะให้ความ

สำาคัญกับนโยบายที่จะช่วยส่งเสริม

การรวมกลุ ่มทางเศรษฐกิจ เช่น

นโยบายการแข่งขันการคุ ้มครอง

ผู้บริโภคสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบาย

ภาษีและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

(การขนส่ง โครงสร ้างพ้ืนฐาน

สารสนเทศ พลังงาน เหมืองแร่

และการสนับสนุนด้านการเงินแก่

โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ต่างๆของอาเซียน)

3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

(EquitableEconomicDevelopment)

เป็นการลดช่องว่างการพัฒนาระหว่าง

ประเทศสมาชิกอาเซียน และ

เสริมสร้างขีดความสามารถผ่าน

การกระจายการพัฒนาโครงสร้าง

พื้นฐานสาธารณสุขสาธารณูปโภค

และโครงการต่างๆเช่นมาตรการริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน(Initiative

forASEANIntegration)และASEAN-help-ASEANPrograms เป็นต้น

รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)

อย่างเข้มแข็ง

4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก(IntegrationintotheGlobalEconomy)

เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอก

ภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน เช่นการจัดทำาเขตการค้า

เสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา(DialoguePartners)ต่างๆรวมทั้งส่ง

เสริมการสร้างเครือข่ายในการผลิต/จัดจำาหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับ

เศรษฐกิจโลก

นอกเหนือจากกรอบความตกลงและความร่วมมือต่างๆภายในภูมิภาคอาเซียน

ทั้ง10 ประเทศแล้ว ปัจจุบันกลุ่มประเทศอาเซียนยังมีความร่วมมือกับกลุ่ม

ประเทศอื่นๆภายนอกภูมิภาค เพื่อเป็นการยกระดับบทบาทของกลุ่มอาเซียน

ในการขับเคล่ือนระบบเศรษฐกิจโลก โดยได้ดำาเนินการจัดทำาความตกลงเขต

การค้าเสรีกับประเทศหรือกลุ่มประเทศอื่นๆอาทิกรอบอาเซียน+1อาเซียน+3

(จีนญี่ปุ่นเกาหลีใต้)อาเซียน+6(จีนญี่ปุ่นเกาหลีใต้ออสเตรเลียนิวซีแลนด์

และอินเดีย) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(Regional

ComprehensiveEconomicPartnership:RCEP)

ปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ

สร�างเครือข�ายการผลิต จำหน�าย

จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค

4 เปาหมายภายใต AEC Blueprint

1. การเปนตลาดและฐานการผลิตรวมกัน

เคลื่อนย�ายสินค�าอย�างเสรี

เคลื่อนย�ายบริการอย�างเสรี

เคลื่อนย�ายการลงทุนอย�างเสรี

เคลื่อนย�ายแรงงานมีฝ�มืออย�างเสรี

เคลื่อนย�ายเงินทุนอย�างเสรีมากขึ้น

2. การเปนภูมิภาคที่มีข�ดความสามารถในการแขงขัน

นโยบายการแข�งขัน

การคุ�มครองผู�บริโภค

สิทธิในทรัพย�สินทางป�ญญา

โครงสร�างพื้นฐาน

นโยบายภาษี

e-ASEAN

3. การพัฒนาเศรษฐกิจอยางเสมอภาค 4. การบูรณาการเขากับเศรษฐกิจโลก

สนับสนุนการพัฒนา SMEs

ลดช�องว�างการพัฒนา IAI

การมีส�วนร�วมภาครัฐ-เอกชน PPE

ป 2015

Page 4: AEC ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ สถาบัน ... · 2017. 12. 15. · 66 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Government Housing Bank 69

AEC ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสถาบันการเงินในภาพรวม

ความพยายามของประเทศในภูมิภาคอาเซียนในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำาคัญต่อเศรษฐกิจโลกประเทศสมาชิกอาเซียนมี

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยมีอัตราการเจริญเติบโตเป็น

2เท่าของเศรษฐกิจโลกในช่วง3ทศวรรษที่ผ่านมาส่งผลให้ภูมิภาคอาเซียนมี

ระดับความยากจนลดลง(PovertyReduction)

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของGDPรวมของอาเซียนแสดงถึงความสำาเร็จของ

การพัฒนาเศรษฐกิจที่ใช้การส่งออกเป็นแกนนำา(Export-ledGrowthEconomic)

นอกจากนี้ โครงสร้างการผลิตของประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเชื่อมโยงกันใน

รูปแบบห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค(RegionalSupplyChain) ดังนั้น การค้า

ระหว่างประเทศมีความสำาคัญอย่างย่ิงต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคและเม่ือพิจารณา

การส่งออกสินค้าของภูมิภาคอาเซียนพบว่าแนวโน้มการส่งออกสินค้าเพ่ิมข้ึน

อย่างต่อเนื่อง ซ่ึงทำาให้ภาคการผลิตและการค้าของประเทศสมาชิกอาเซียน

มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น

การอำานวยความสะดวกทางการค้าเป็นปัจจัยสำาคัญในการรวมกลุ่มทางการค้า

เพื่อลดต้นทุนธุรกรรมทางการค้าระหว่างประเทศ(TransactionCost)และปัจจัย

ที่มีความสำาคัญอย่างมากต่อการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ก็คือ

ภาคการเงิน โดยในช่วง2ทศวรรษที่ผ่านมาประเทศสมาชิกอาเซียนได้พัฒนา

ประสิทธิภาพและความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินภายในภูมิภาคไปพร้อมๆ

กับการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนอย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการเงิน

ในโลกแล้วธนาคารพาณิชย์สถาบันการเงินตลาดเงินและตลาดทุนในภูมิภาค

อาเซียนมีขนาดของสินทรัพย์(Assets) ไม่เพียงพอที่จะแข่งขันในตลาดเงิน

ให้ไทยได้รับประโยชน์จากการรวม

กลุ่มทางการเงินในอาเซียนอย่างเป็น

รูปธรรมมากยิ่งขึ้น

แต่เนื่องจากภาคการเงินมีความ

อ ่อนไหวต ่อการเปลี่ยนแปลงเป ็น

อย่างมาก เป็นสาขาท่ีสามารถส่ง

ผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน

และเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก

อาเซียน ในขณะท่ีเศรษฐกิจของ

ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความแตกต่าง

ทางด้านโครงสร้างขนาดและระดับ

การพัฒนาดังนั้น ความร่วมมือด้าน

การเงินของอาเซียนจึงจำาเป ็นต้อง

ดำาเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป มี

ความยืดหยุ่นให้แต่ละประเทศสมาชิก

ตามสมควร ขึ้นกับความพร้อมของ

แต่ละประเทศ ในการน้ี การรวมกลุ่ม

ทางการเงินของอาเซียนจึงมีเป้าหมาย

ในปี2020หรือปีพ.ศ.2563ไม่ใช่ใน

ปี2015หรือปีพ.ศ.2558ดังเช่น

การรวมตัวอื่นๆของอาเซียน

ระดับโลกได้การจำากัดขอบเขตธุรกรรม

ทางการเงิน(FinancialTransaction)

ข้ามพรมแดนในภูมิภาคอาเซียนอย่าง

เข้มงวดในบางประเทศนับเป็นหนึ่งใน

อุปสรรคสำาคัญของการรวมกลุ่มทาง

การเงินอาเซียน

ดังนั้นอาเซียนรวมถึงประเทศไทย

จึงมีความจำาเป ็นในการเร ่งพัฒนา

โครงสร ้างพื้นฐานทางการเงินและ

ระบบการกำากับดูแลภาคการเงินใน

ภูมิภาคให้ได ้มาตรฐาน พร้อมทั้ง

ส่งเสริมความร ่วมมือในเชิงลึกกับ

สมาชิกอาเซียนอื่นให้มากยิ่งขึ้น เพื่อ

Page 5: AEC ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ สถาบัน ... · 2017. 12. 15. · 66 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 70

เมื่อพิจารณาถึงโอกาสและประโยชน์

ที่สถาบันการเงินไทยจะได้รับจากการ

รวมตัวทางภาคการเงินของอาเซียน

คงจะต ้องแยกออกเป ็น 2 ส ่วน

ตามประเภทของสถาบันการเงิน คือ

(1) ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการ

เงินที่ดำาเนินธุรกิจคล้ายธนาคารและ

(2)ธรุกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน

เช่นธุรกิจประกันภัยธุรกิจหลักทรัพย์

เป็นต้น

ในส่วนของสถาบันการเงินประเภท

ที่1หรือธนาคารพาณิชย์และสถาบัน

การเงินที่ดำาเนินธุรกิจคล้ายธนาคารนั้น

เป็นสถาบันการเงินที่มีความสำาคัญ

อย่างมากกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน

โดยธนาคารในอาเซียนมีสัดส่วนของ

สินทรัพย์มากกว่าร ้อยละ 85 ของ

สินทรัพย์ทางการเงินทั้งหมดในอาเซียน

ป ัจจุบัน ธนาคารของประเทศ

สมาชิกอาเซียนเข้าไปประกอบธุรกิจใน

กลุ่มประเทศอาเซียนจำานวนไม่มากนัก

โดยมีธนาคารจากประเทศสมาชิก

อาเซียน3 แห่ง ที่มีสำานักงานหรือ

สาขาในประเทศสมาชิกอาเซียน 7

ประเทศได้แก่ธนาคารMaybankและ

ธนาคารCIMBของประเทศมาเลเซีย

ธนาคารกรุงเทพของประเทศไทยและ

ธนาคารUnitedOverseasBankหรือ

UOBของประเทศสิงคโปร์ ในขณะที่

ธนาคารพาณิชย์ของประเทศที่พัฒนา

แล้วได้แก่ธนาคารซิติแบงค์ธนาคาร

StandardCharteredBankธนาคาร

TheHongKongandShanghai

BankingCorporationหรือHSCBก็มีสาขาในประเทศอาเซียนท้ัง7ประเทศ

ด้วยเช่นกันและมีสาขาที่เปิดบริการมากกว่าสำาหรับธนาคารจากประเทศไทยที่มี

สาขา/บริษัทลูก เปิดดำาเนินการในประเทศสมาชิกอาเซียนเพียงแค่4 ธนาคาร

ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทยและธนาคารกรุง

ศรีอยุธยา สำาหรับธนาคารกสิกรไทยมีสำานักงานผู้แทนและอยู่ระหว่างการเปิด

สาขาเพิ่มในอาเซียน

ด้วยเหตุน้ี ธนาคารในประเทศสมาชิกอาเซียนจึงจำาเป็นต้องพัฒนาทรัพยากร

ด้านการเงิน และความสามารถในการบริหารจัดการ เพ่ือให้มีมาตรฐานสากล

บรรลุเป้าหมายในระดับภูมิภาค จากการคาดการณ์ของธนาคารพัฒนาเอเชีย

หากประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถรวมกลุ่มทางการเงินได้ตามแผนการที่วางไว้

สัดส่วนของธนาคารอาเซียนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน

ประเทศมาเลเซียฟิลิปปินส์และไทยโดยจะมีจำานวนธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น3เท่า

ในอีก10-15ปีข้างหน้า

ดังนั้นประเทศสมาชิกอาเซียนจึงมีความจำาเป็นร่วมกันผลักดันให้การกำากับ

ดูแลภาคการเงิน ในภูมิภาคสอดคล้องกับมาตรฐานสากลพร้อมท้ังแลกเปลี่ยน

ข้อมูลระหว่างกันในอาเซียน และการสร้างระบบการคุ้มครองผู้บริโภคสำาหรับ

บริการด้านการเงินที่เป็นมาตรฐานทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล

ในส่วนของสถาบันการเงินประเภทที่2หรือธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจประกันภัย(Insurance)ในประเทศสมาชิกอาเซียนยังคง

อยู่ในระดับการพัฒนาช่วงเริ่มต้นเท่านั้น

โดยยังคงมีข้อจำากัดในด้านขีดความสามารถและการกำากับดูแลธุรกิจประกันภัย

ของไทยประกอบด้วยการประกันชีวิตและการประกันวินาศภัยเป็นสาขาบริการ

ด้านการเงินที่มีศักยภาพท่ีจะขยายตัวเข้าสู ่ตลาดเพื่อทำาธุรกิจในอาเซียน

ประกอบกับปัจจุบันประชากรอาเซียนซึ่งมีจำานวนประมาณ600ล้านคนหรือ

ประมาณร้อยละ8.8ของประชากรโลกยังมีระดับการใช้บริการประกันภัยที่ตำ่าอยู่มาก

(สัดส่วนสินทรัพย์รวมในภาคประกันภัยต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ยในอาเซียน

อยู่ที่ร้อยละ15.5 ในขณะที่สัดส่วนในกลุ่มประเทศG-7 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ60.5)

ในขณะเดียวกันจำานวนผู้ให้บริการในอาเซียนมีจำานวนตำ่าเช่นกัน(อัตราส่วน

ประชากรต่อ1บริษัทประกันชีวิตในอาเซียนเท่ากับ5.9 ล้านคน/บริษัทและ

อัตราส่วนประชากรต่อ1บริษัทประกันวินาศภัยในอาเซียนเท่ากับ1.27ล้านคน/

บริษัท) ทำาให้ยังมีช่องว่างทางธุรกิจที่เปิดให้ผู ้ประกอบธุรกิจประกันภัยไทย

สามารถขยายขอบเขตธุรกิจออกไปได้อีกมาก

Page 6: AEC ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ สถาบัน ... · 2017. 12. 15. · 66 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Government Housing Bank 71

นอกจากการรวมกลุ่มในภาคการธนาคารของอาเซียน ประเทศสมาชิก

อาเซียนยังมีความพยายามในการรวมกลุ่มตลาดทุนในภูมิภาค โดยมีเป้าหมาย

เพื่อให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนได้อย่างเสรีมากขึ้นสามารถออกตราสารภายใน

อาเซียนได้เสรีมากขึ้นและนักลงทุนสามารถลงทุนในอาเซียนได้อย่างเสรีมากยิ่งขึ้น

ซึ่งการพัฒนาตลาดทุนภายในอาเซียนเป็นส่วนหน่ึงในการลดความเสี่ยงท่ี

อาจเกิดขึ้นหากเกิดวิกฤตในภาคการธนาคารภายในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งใน

ปัจจุบัน อาเซียนได้ดำาเนินการเชื่อมโยงระบบการซื้อขายหลักทรัพย์(ASEAN

Linkage) และเปิดซื้อขายผ่านระบบดังกล่าวแล้ว โดยได้ดำาเนินการเชื่อมโยง

ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยสิงคโปร์และมาเลเซีย

ผลกระทบเชิงบวก

การเปิดเสรีภาคการเงินจะอำานวยความสะดวกในการทำาธุรกรรมทางการเงิน

ทั้งด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการระดมทุนและ

ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆ เข้าสู่ประเทศพร้อมทั้งช่วยกระตุ้นการขยายตัวทาง

เศรษฐกิจ โดยหันมาพึ่งพาประเทศในภูมิภาคเดียวกันแทนการพึ่งพาประเทศใน

ภูมิภาคยุโรปหรือสหรัฐซึ่งเศรษฐกิจประเทศเหล่านั้นยังมีทิศทางผันผวน

ด้วยฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นและการให้บริการทางการเงินในภูมิภาคท่ียังอยู่ใน

ระดับค่อนข้างตำ่าเมื่อเปรียบเทียบกับจำานวนประชากรอาเซียนท้ังหมดทำาให้มี

ช่องว่างทางธุรกิจที่เปิดให้ผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยไทยธนาคารพาณิชย์สามารถ

ขยายขอบเขตธุรกิจออกไปได้อีกมาก

สถาบันการเงินจะเกิดการเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่ง

เป็นการเพิ่มแหล่งระดมทุนของภาคธุรกิจและเป็นทางเลือกใหม่ของนักลงทุนใน

การออมและการลงทุนอีกทั้งสถาบันการเงินต่างๆยังมีโอกาสขยายธุรกิจบริการ

ด้านการเงินไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านมาตรฐานQualifiedASEANBank

(QAB)ซึ่งเป็นการจัดทำามาตรฐานของสถาบันการเงินร่วมกัน โดยจะเป็นการ

เจรจาระดับทวิภาคีเมื่อทั้งสองประเทศสามารถทำาข้อตกลงและกำาหนดมาตรฐาน

ร่วมกันได้แล้ว สถาบันการเงินของทั้งสองประเทศที่เข้าข่ายมาตรฐานท่ีกำาหนด

จะสามารถเปิดเสรีภายใต้การเจรจาร่วมกันได้ โดยจะเป็นข้อตกลงในลักษณะต่าง

ตอบแทน เช่น อนุญาตให้ดำาเนินการเปิดสาขาธนาคารได้ในทั้งสองประเทศ

ทำาให้สถาบันการเงินได้ประโยชน์ในการขยายสาขาเช่นประเทศกัมพูชาซึ่งไม่มี

ข้อจำากัดด้านการถือหุ้นของชาวต่างชาติในการจัดต้ังธนาคารพาณิชย์รวมท้ังไม่มี

ข้อจำากัดด้านจำานวนใบอนุญาตประกอบธุรกิจซ่ึงการขยายสาขาธนาคารพาณิชย์

ไปยังประเทศเพ่ือนบ้าน จะอำานวย

ความสะดวกด้านแหล่งเงินทุนให้แก่

นักลงทุนไทยท่ีเข้าไปลงทุนในประเทศ

เพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ สถาบันการเงินท้ังหมด

ในประเทศสมาชิกอาเซียนจะอยู่ภาย

ใต้มาตรฐานเดียวกันซึ่งส ่งเสริมให้

อาเซียนเป็นภูมิภาคท่ีมีความสามารถ

ในการแข่งขันทัดเทียมกับภูมิภาคอื่น

ท่ัวโลกรวมท้ังสามารถลดความเสี่ยงท่ี

จะเกิดวิกฤติการเงินของแต่ละประเทศได ้

และเป็นการสร้างระบบการคุ ้มครอง

ผู้บริโภคสำาหรับบริการด้านการเงินที่

เป็นมาตรฐานทั้งในระดับภูมิภาคและ

ระดับสากล

ความท้าทายที่อาจจะเกิดขึ้น

มาตรฐานท่ีมีความแตกต่างกันของ

ระบบการเงินในประเทศสมาชิกอาเซียน

ส่งผลให้สถาบันการเงินไทยต้องเผชิญ

ความเสี่ยงหลายด้านเพ่ิมข้ึน เช่น

ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการ

ทำาธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ

ท้ังจากปัญหาด้านกฎหมายท่ีอาจไม่มี

ความสอดคล้องกันและปัญหาการ

ฟอกเงินโดยเฉพาะธุรกรรมผ่านระบบ

การโอนเงินแบบ Onl ine ดังนั้น

สถาบันการเงินจะต้องมีการวางระบบ

ตรวจสอบและเพิ่มความถี่ ในการ

ตรวจสอบบัญชีท่ีมีความเคลื่อนไหว

ของเงินจำานวนมากรวมถึงความเสี่ยง

ด้านความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

ระหว่างการเคลื่อนย้ายเงินทุน

Page 7: AEC ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ สถาบัน ... · 2017. 12. 15. · 66 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 72

นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก

อาจประสบปัญหาในการดำาเนินการ

เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับธนาคาร

พาณิชย์ขนาดใหญ่ซึ่งมีจุดแข็งอยู ่ที่

การเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางรวมทั้ง

การให้ผลตอบแทนในอัตราที่น่าพึงพอใจ

มากกว่า

การเปิดเสรีภาคการเงินจะทำาให้มี

สถาบันการเงินจากประเทศสมาชิก

อาเซียนอื่นๆ เข้ามาประกอบธุรกิจใน

ประเทศเพิ่มข้ึนทำาให้ผู ้บริโภคมีทาง

เลือกในการรับบริการทางการเงินและ

เกิดความคาดหวังบริการที่ดี ดังน้ัน

สถาบันการเงินจึงจำาเป็นต้องพัฒนา

ผลิตภัณฑ์ทางการเงินและรูปแบบการ

ให้บริการให้มีประสิทธิภาพสามารถ

ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้

บทสรุป

เมื่อพิจาณาถึงการรวมกลุ ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนแล้ว จะเห็นว่า

มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาท่ีดีขึ้น เพ่ืออำานวยความสะดวก เพ่ือสร้างขีดความ

สามารถในการแข่งขันและเพ่ือให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยสามารถ

กล่าวได้ว่าAEC2015 เป็นเพียงเป้าหมายหนึ่งของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

ของอาเซียน(ASEANFinancialIntegration)ซึ่งไม่มีเป้าหมายท่ีจะมีSingle

Currencyเช่นยุโรปและจะเกิดขึ้นในปี2020ในลักษณะแบบsemi-integrated

เพื่อสนับสนุนAECเท่านั้นโดยมีQABเป็นกลไกหลักของBankingIntegration

(ที่จะเป็นโอกาสที่สนับสนุนธนาคารพาณิชย์ไทยไปประกอบธุรกิจในประเทศ

สมาชิกอาเซียนอื่นได้ง่ายขึ้น(แต่จะต้องปรับตัวเพ่ือรับการแข่งขันท่ีเพ่ิมขึ้นด้วย)

นอกจากนี้AECจะไม่มีผลต่อนโยบายการเงิน แต่ละประเทศยังมีอิสระในการ

ดำาเนินนโยบายการเงินเช่นเดิมและนอกจากภาคธนาคารแล้วยังมีการเปิดเสรี

บัญชีทุน การพัฒนาตลาดทุน และการพัฒนาระบบชำาระเงิน ซึ่งจะเปิดหรือ

พัฒนาตามความพร้อมของแต่ละประเทศ

...

หลักการของ Financial Integration

ภายใต้ AEC

ASEAN-Xกระบวนการตัดสินใจภายในอาเซียน

ที่กำาหนดให้สมาชิกที่มีความพร้อมสามารถเริ่มปฎิบัติตามพันธกรณีความตกลงก่อนได้ทันที

โดยไม่จำาเป็นต้องดำาเนินการพร้อมกัน

National Agendaการเปิดเสรีให้สอดคล้องกับวาระแห่งชาติ

และความพร้อมทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิก

Pre-agreed Flexibilitiesความยืดหยุ่นซึ่งตกลงกันไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ประเทศสมาชิกอาเซียน

ได้เห็นว่าอาจต้องขอให้มีการผ่อนปรน

Special and Differential Treatmentให้การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่ประเทศสมาชิก

ที่มีระดับการพัฒนาน้อยกว่า

สถานะการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินของไทย

ธนาคารพาณิชย์

ประกันภัย

หลักทรัพย์

บริการอื่นๆเช่น ที่ปรึกษาทางการเงิน

- จำากัดจำานวนใบอนุญาต

- ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน49%

- อนุญาตให้บุคลากรของประเทศอาเซียนเข้ามาทำางานในประเทศได้

- จำากัดจำานวนใบอนุญาต

- ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน49%

- อนุญาตให้บุคลากรของประเทศอาเซียนเข้ามาทำางานในประเทศได้เพิ่มเติม

- ไม่มีข้อจำากัดจำานวนใบอนุญาต- อนุญาตให้สมาชิกอาเซียนสามารถถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่จัดตั้งอยู่แล้วได้ถึงร้อยละ100 โดยหากถือหุ้นเงินร้อยละ50ขึ้นไปจะต้องดำาเนินการตามเงื่อนไข หรือกฏหมายที่เกี่ยวข้อง- เพิ่มจำานวนผู้บริหารระดับสูงในบริษัทหลักทรัพย์เป็น3คนจากเดิม2คน

- ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน49%- ต้องขออนุญาตหน่วยงานกำากับดูแลเป็นกรณีไป