อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย...

17
บทท5 อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้า 5.1 บทนา ในบทนจะศกษาถงการกาหนดราคาสนคาเปรยบเทยบดุลยภาพเม ่อมการคาเกดขน โดยจะ ศกษาโดยใชการวเคราะหดุลยภาพบางสวนเป็นลาดับแรก (โดยใชเสนอุปสงคและอุปทาน) หลังจากนัน จะไปวเคราะห ถงการว เคราะห ดุลยภาพโดยทั่วไปอันจะนาไปสูการสร างเสนเสนอขาย (Offer Curves) ในหัวขอท่ 5.2 แสดงใหเห็นวาราคาสนคาเปรยบเทยบดุลยภาพ (Equilibrium Relative Commodity Price with Trade) ถูกกาหนดมาจากอุปสงคและอุปทาน (การวเคราะหดุลยภาพบางสวน ) หลังจากนันจะนาไปสูการวเคราะหดุลยภาพทั่วไป และการหาเสนเสนอขายของประเทศ A และ B ใน หัวขอ 5.3 สวน 5.4 เป็นการพจารณาปฏกรยาของเสนเสนอขายของทังสองประเทศซ่งนามาซ่งราคา สนคาเปรยบเทยบดุลยภาพการคา ในหัวขอ5.5 อธบายความสัมพันธระหวางดุลยภาพทั่วไปกับดุลย ภาพบางสวน และหัวขอสุดทาย 5.6 อธบายความหมาย วธการวัด และความสัมพันธของอัตราสวน การคา(Terms of Trade) 5.2 ราคาสนค้าเปรยบเทยบดุลยภาพเม่อมการค้า - การ วเคราะห์ดุลยภาพบางส่วน (The Equilibrium Relative Commodity Price with Trade Partial Equilibrium Analysis) ในรูปท่ 5.1 แสดงใหเห็นวาราคาสนคาระหวางประเทศท่ถูกกาหนดจากการวเคราะหดุลยภาพ บางสวน เสน D X และ S X ในรูปท่ 5.1 (a) และ 5.1 (c) แสดงถงอุปสงคและอุปทานของสนคา X ของ ประเทศ A และ B ตามลาดับ แกนตังของทัง 3 รูป แทนราคาเปรยบเทยบของสนคา X สวนแกนนอน แทนปรมาณสนคา X

Upload: others

Post on 04-Mar-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

บทท่ี 5 อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้า

5.1 บทน า

ในบทนี้จะศึกษาถึงการก าหนดราคาสินค้าเปรียบเทียบดุลยภาพเมื่อมีการค้าเกิดขึ้น โดยจะ

ศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์ดุลยภาพบางส่วนเป็นล าดับแรก (โดยใช้เส้นอุปสงค์และอุปทาน) หลังจากนั้น

จะไปวิเคราะหถ์ึงการวเิคราะหด์ุลยภาพโดยทั่วไปอันจะน าไปสู่การสรา้งเส้นเสนอขาย (Offer Curves)

ในหัวข้อที่ 5.2 แสดงให้ เห็นว่าราคาสินค้าเปรียบเทียบดุลยภาพ (Equilibrium Relative

Commodity Price with Trade) ถูกก าหนดมาจากอุปสงค์และอุปทาน (การวิเคราะห์ดุลยภาพบางส่วน)

หลังจากนั้นจะน าไปสู่การวิเคราะห์ดุลยภาพทั่วไป และการหาเส้นเสนอขายของประเทศ A และ B ใน

หัวข้อ 5.3 ส่วน 5.4 เป็นการพิจารณาปฏิกิริยาของเส้นเสนอขายของทั้งสองประเทศซึ่งน ามาซึ่งราคา

สินค้าเปรียบเทียบดุลยภาพการค้า ในหัวข้อ5.5 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างดุลยภาพทั่วไปกับดุลย

ภาพบางส่วน และหัวข้อสุดท้าย 5.6 อธิบายความหมาย วิธีการวัด และความสัมพันธ์ของอัตราส่วน

การค้า(Terms of Trade)

5.2 ราคาสินค้าเปรียบเทียบดุลยภาพเม่ือมีการค้า - การ

วิเคราะห์ดุลยภาพบางส่วน (The Equilibrium Relative Commodity

Price with Trade – Partial Equilibrium Analysis)

ในรูปที่ 5.1 แสดงให้เห็นว่าราคาสินค้าระหว่างประเทศที่ถูกก าหนดจากการวิเคราะห์ดุลยภาพ

บางส่วน เส้น DX และ SX ในรูปที่ 5.1 (a) และ 5.1 (c) แสดงถึงอุปสงค์และอุปทานของสินค้า X ของ

ประเทศ A และ B ตามล าดับ แกนตั้งของทั้ง 3 รูป แทนราคาเปรียบเทียบของสินค้า X ส่วนแกนนอน

แทนปริมาณสินค้า X

Page 2: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

Px/Py Px/Py Px/Py(a)

X A X B X

0 0 0

P1

P2

P3

X X X

A

B E

A'

B'

A*

Exports

Dx

SxE*

S

D

B'

A'P3

E'

Sx

DxImports

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

. .

(b) (c)

รูปที่ 5.1 ราคาสินค้าเปรียบเทียบดุลยภาพเมื่อมีการค้า -การวิเคราะห์ ดุลย

ภาพบางส่วน

จากรูปที่ 5.1 (a) แสดงให้เห็นถึงกรณีที่ไม่มกีารค้าเกิดขึ้น โดยประเทศ A ผลติและบริโภคสินค้า

ณ จุด A โดยราคาเปรียบเทียบของสินค้า X เท่ากับ 1P ในขณะที่ประเทศ B ท าการผลิตและบริโภค ณ

จุด A ณ ราคา 3P เมื่อมีการค้าเกิดขึ้น ราคาเปรียบเทียบของสินค้า X จะอยู่ระหว่าง 1P และ 3P ถ้า

ทั้งสองประเทศเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เมื่อราคาเปรียบเทียบมากกว่า 1P ประเทศ A

จ ะผลิตสินค้ามากกว่าที่ต้องการบริโภค และจะส่งส่วนเกินของสินค้า X ออกขายเท่ากับส่วนต่าง

ดังกล่าวหรืออุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) ดังแสดงในรูปที่ 5.1(a) หรือระยะห่าง BE ในทางตรงกัน

ข้าม ณ ราคาที่ต่ ากว่า 3P ประเทศ B จะมีความต้องการที่จะบริโภคสินค้ามากกว่าที่ตนเองผลิตได้

ดังนั้นประเทศ Bจะน าเข้าสินค้า X เท่ากับความแตกต่าง EB หรือเท่ากับอุปสงค์ส่วนเกินนั่นเอง [ดูรูป

5.1(c)]

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปที่ 5.1(a) แสดงให้เห็นว่า ณ ระดับราคา 1P ปริมาณอุปทานของสินค้า

X จะเท่ากับปริมาณอุปสงค์ของสินค้า X ในประเทศ A ท าให้ประเทศ A ไม่สามารถส่งออกสินค้า X ได้

จึงท าให้เกิดจุด A บนเส้น S (เส้นอุปทานการส่งออกของประเทศ A) ในรูปที่ 5.1(b) ส่วนรูปที่ 5.1(b)

ยังแสดงให้เห็นว่า ณ ราคา 2P อุปทานส่วนเกิน(BE) คือ ปริมาณสินค้า X ที่ประเทศ A ต้องการส่งออก

ณ ราคา 2P เท่ากับ EB ในรูปที่ 5.1 (b) โดยก าหนดให้จุด E คือเส้นการส่งออกสินค้า X ของ

ประเทศ A

ในทางตรงกันข้าม รูปที่ 5.1(c) แสดงใหเ้ห็นว่าราคา ณ ราคา 3P อุปสงค์เท่ากับอุปทาน (จุด A

) ดังนั้นประเทศ B ไม่มีอุปสงค์น าเข้าของสินค้า X แต่อย่างใด ดังนั้นจึงสามารถที่จะเขียนได้ว่าจุด A

คือ เส้นอุปสงค์ในการน าเข้าของสินค้า X ในรูปที่ 5.1(b) นอกจากนี้แล้วในรูปที่ 5.1(b) ยังแสดงให้เห็น

Page 3: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

อีกว่า ณ ราคา 2P อุปสงค์สว่นเกินของประเทศ B เท่ากับ EB อันเป็นปริมาณสินค้า X ของประเทศ A

ซึ่งประเทศ B ต้องการน าเข้า ณ ราคา 2P ซึ่งเท่ากับระยะหา่ง EB ในรูปที ่5.1(b) และก าหนดจุด E

คือเส้นอุปสงค์การน าเข้าสินค้า X ของประเทศ B ณ 2P ปริมาณการน าเข้าของสินค้า X โดยประเทศ B

( EB ในรูปที่ 5.1(c)) เท่ากับปริมาณการส่งออกสินค้า X ของประเทศ A (BE) ในรูปที่ 5.1(a) สิ่งนี้แสดง

ให้เห็นว่าปฏิกิริยาของเส้นอุปสงค์ (D) และเส้นอุปทาน (S) ซึ่งได้แก่จุดตัดกันของเส้นอุปสงค์และ

อุปทานของสินค้า X ในรูป 5.1(b) ดังนั้น 2P คือ ราคาสินค้าเปรียบเทียบดุลยภาพของสินค้า X เมื่อมี

การค้านั่นเอง นอกจากนี้แล้ว ณ จุด B ยังสามารถแสดงให้เห็นได้อีกว่า ถ้า 2/ PPP YX ปริมาณ

ส่งออกของสินค้า X จะมากกว่าปริมาณอุปสงค์น าเข้า ดังนัน้ราคาเปรียบเทียบของสินค้า X จะลดลงมา

เป็น 2P ในทางตรงกันข้ามถ้า 2/ PPP YX อุปสงค์การน าเข้าสินค้า X มากกว่าอุปทานส่งออก ดังนั้น

ราคาเปรียบเทียบ )/( YX PP จะเพิ่มขึน้ไปเป็น 2P

ผลดังกล่าวแสดงได้เช่นเดียวกับสินค้า Y อีกด้วย โดยถ้ามีการส่งออกสินค้า Y โดยประเทศ B

(น าเข้าโดยประเทศ A) ณ ราคาเปรียบเทียบของสินค้า Y ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพ ปริมาณอุปทาน

ส่งออกของสินค้า Y จากประเทศ B จะมากกว่าปริมาณอุปสงค์น าเข้าจากประเทศ A และราคา

เปรียบเทียบของสนิค้า Y จะตกลงไประดับดุลยภาพ ในทางตรงกันข้าม ณ อัตราส่วน YX PP / ที่ต่ ากว่า

ดุลยภาพอุปสงค์การน าเข้าสินค้า Y จะมากกว่าอุปสงค์การส่งออกของ Y ท าให้ YX PP / ตกลงไปสู่

ระดับดุลยภาพ

5.3 เส้นเสนอขาย (Offer Curve)

ท่ีมาและนิยามของเส้นเสนอขาย

เส้นเสนอขาย (Offer Curves) หมายถึง ปริมาณสินค้าน าเข้าที่ประเทศต้องการแลกเปลี่ยน

(น าเข้า) กับปริมาณอุปทานของสินค้าส่งออกจากประเทศอื่นๆของโลก ตามค านิยามของเส้นเสนอขาย

นั้นแสดงให้เห็นว่าเส้นเสนอขายเกี่ยวข้องกันทั้งดา้นอุปสงค์และอุปทาน หรอือีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้

ว่าเส้นเสนอขายของประเทศ หมายถึง ความเต็มใจของประเทศที่จะน าเข้าหรือส่งออก ณ ราคาสินค้า

เปรียบเทียบต่าง ๆ

เส้นเสนอขายของประเทศสามารถหาได้อย่างง่ายดายจากเส้นขอบเขตการผลิตของประเทศ

(PPF) ของประเทศ แผนภาพของเส้นความพอใจเท่ากัน และสมมติฐานต่างๆ ของราคาสินค้า

เปรียบเทียบเมื่อมีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น ดังตอ่ไปนี้

Page 4: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

การเขียนเส้นและขนาดของเส้นเสนอขายของประเทศ A

รูปทางด้านซ้ายมือของรูปที่ 5.2 ประเทศ A เริ่มต้นจากการที่ไม่มีการค้าเกิดขึ้น (autarky) ณ

จุด A เมื่อการค้าเกิดขึ้น 1/ YXF PPP ท าให้ประเทศ A เคลื่อนไปสู่การผลิต ณ จุด B โดยเกิดการ

แลกเปลี่ยนสินค้า 60X กับ 60Y ของประเทศ B และท าให้บรรลุถึงจุด E บนเส้น IC ระดับ III ซึ่ง

สามารถที่จะเขียนได้เชน่เดียวกับจุด E ในภาพทางด้านขวามือของรูปที่ 5.2

ถ้า 2/1/ YXF PPP (ดูภาพทางด้านซ้ายมือของรูปที่ 5.2) ประเทศ A จะมีการเคลื่อนที่

จากจุด A ไปสู่ระดับการผลิต ณ จุด F โดยท าการแลกเปลี่ยน 40X กับ 20Y กับประเทศ B และเข้าสู่

จุด H บนเส้น IC ระดับ II ซึ่งก็คือจุด H อันเดียวกับทางด้านขวามือ เขียนเส้นเชื่อมจุดเริ่มต้นกับ H E

และจุดอื่นๆ ในท านองเดียวกันสามารถจะเขียนเส้นเสนอขายของประเทศ A ดังภาพขวามือ และเส้น

เสนอขายประเทศ A แสดงให้เห็นถึงปริมาณการน าเข้าของสินค้า Y ที่ประเทศ A ต้องการและความ

เต็มใจที่จะส่งออกสินค้า X ในปริมาณต่างๆ เพื่อท าให้การอธิบายภาพทางด้านซ้ายมอืเป็นไปด้วยความ

สะดวก จะท าการละทิ้งเส้นราคาก่อนการค้า (autarky price) 4/1AP และเส้นความพอใจเท่ากันเส้น

ที่ I ที่สัมผัสกับเส้น PPF และ AP ณ จุด A ทั้งนี้ ,, FA PP และ BP ในภาพทางด้านขวามือจะหมายถึง

อัตราราคา YX PP / อันได้แก่ FA PP , และ BP ของรูปทางด้านซ้ายมือเพราะเป็นค่าสัมบูรณ์ของความ

ชัน (Absolute Slope) อันเดียวกัน

เส้นเสนอขายของประเทศ A ในภาพขวามือของรูปที่ 5.2 จะอยู่เหนือระดับเส้นราคาที่ไม่มี

การค้า (Autarky Price Line) 4/1AP และจะโค้งออกจากแกน X ซึ่งใช้วัดจ านวนสินค้าที่มีความ

ได้เปรียบโดยเปรียบเทียบและการส่งออก เพื่อดึงดูดให้ประเทศ A ส่งออกสินค้า X มากขึ้น อัตรา

YX PP / จึงต้องเพิ่มขึ้น ดังนั้น ณ 2/1FP ประเทศ A จะส่งออก 40X และ ณ 1BP ประเทศ A จะ

ส่งออกสินคา้ 60X ทั้งนีเ้นื่องมาจาก (1) ประเทศ A มีต้นทุนค่าเสียโอกาสเพิ่มขึน้เมื่อมีการผลติสินคา้ X

มากขึ้น (เพื่อการส่งออก) และ (2) เมื่อประเทศ A บริโภคสินค้า Y มากขึ้นและสินค้า X ลดลงเมื่อมี

การค้าจะท าให้เกิดผลดีตอ่ประเทศมากขึ้นก็คือ การเปลี่ยนแปลงของจ านวนหนว่ยสินคา้ X จะมากกว่า

การเปลี่ยนแปลงในจ านวนหนว่ยของสินค้า Y

Page 5: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

Y Y

X X0 0

20

45

60

80

100

10 30 5055

70 95 130

C

G

A

HE

II

III

F

B PF =1/2

PE =1 . .20 40 60

20

40

60

H

G C

E

A

PE =1

PF =1/2

PA =1/4

รูปที่ 5.2 เส้นเสนอขายของประเทศ B

การเขียนเส้นและขนาดของเส้นเสนอขายของประเทศ B

ในรูปทางด้านซ้ายมือของรูปที่ 5.2 ประเทศ B เริ่มท าการผลิต ณ จุดดุลยภาพที่ไม่มีการค้า ณ

จุด A ถ้าการค้าเกิดขึ้น ณ 1/

PyPxPBประเทศ B จะเคลื่อนที่ไปยังจุดการผลิต B ท าการ

แลกเปลี่ยน 60Y กับ 60X กับประเทศ A และเข้าสู่จุดดุลยภาพ ณ E บนเส้น IC - III พื้นที่

สามเหลี่ยมการค้า (Trade Triangle) B’C’E’ ทางด้านซ้ายมือของรูปที่ 5.3 จะสอดคล้องกับสามเหลี่ยม

การค้าO’C’E’ ในรูปด้านขวามือจุด E เป็นเส้นเสนอขายของประเทศ B

Y

Y

X X0

4045

60

85

120

140

20 40 65 80 100

B'

C'

G'A'

H'

F'

E'

II'

III'Pe = 1

PF = 2

.

.

.

. .

.

.

.

.

20

40

60

20 40 60

C'

G'H'

E'

Offer curve B

PA' = 4PF' = 2

PE' = 1

รูปที่ 5.3 การหาเส้นเสนอขายของประเทศ B

ณ 2/ PyPxPF ในรูปทางด้านซ้ายมือ ประเทศ B จะเคลื่อนที่เข้าไปสู่การผลิตที่จุด

F ท าการแลกเปลี่ยน 40Y กับ 20X กับประเทศ A และเข้าสู่จุด H บนเส้น IC - II สามเหลี่ยม

Page 6: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

การค้า F’G’H’ ในรูปทางด้านซ้ายมือจะสอดคล้องกับสามเหลี่ยมการค้า O’G’H’ ในรูปทางด้านขวามือ

บนเส้น IC ระดับ II สามเหลี่ยมการค้า ''' HGF ในรูปทางด้านซ้ายมือจะสอดคล้องกับสามเหลี่ยม

การค้า ''HGO ในรูปทางด้านขวามือ ซึ่งจะได้จุด H เป็นจุดของเส้นเสนอขายของประเทศ B

ลากเส้นเชื่อมจุดก าเนิด H และE และจุดอื่นๆ เข้าด้วยกันจะได้เส้นเสนอขายของประเทศ B ทางด้าน

ขวามือ เส้นเสนขายในประเทศ B แสดงให้เห็นถึงปริมาณน าเข้าสินค้า X ที่ประเทศ B ต้องการและเต็ม

ใจที่จะส่งออกสินคา้ Y ในจ านวนตา่งๆ

เส้นเสนอขายของประเทศ B ในรูปด้านขวามือของรูปที่ 5.3 จะอยู่ข้างล่างเส้นราคาที่ไม่มี

การค้า AP = 4 และจะโค้งออกจากแกน Y อันหมายถึงสินค้า Y มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบและ

เป็นสินค้าที่ใช้ส่งออก ทั้งนี้เพื่อเป็นการดึงดูดใจให้ประเทศ B ส่งออกสินค้า Y มากขึ้นราคาเปรียบเทียบ

สินค้า Y ต้องเพิ่มขึ้น หรืออัตรา PX/PY ต้องลดลง ดังนั้น FP = 2 ประเทศ B จะส่งออก 40Y และ ณ

BP = 1 จะส่งออกสินค้าเท่ากับ 60Y ประเทศ B ต้องการราคาเปรียบเทียบที่สูงขึ้นของสินค้า Y เพื่อ

ดึงดูดในการส่งออกสินค้า Y มากขึ้นเพราะ (1) ประเทศ B มีต้นทุนค่าเสียโอกาสในการผลิตสินค้า Y

มากขึ้น (เพื่อส่งออก) และ (2) ยิ่งสินค้า X มากขึ้นและสินค้า Y ลดลง ผลที่เกิดขึ้นกับประเทศ B เมื่อมี

การค้า สิ่งที่มีค่าเพิ่มขึ้นส าหรับประเทศก็คือจะท าให้อัตราการเปลี่ยนแปลงของ Y มากกว่าการ

เปลี่ยนแปลงของ X โดยเปรียบเทียบ

5.4 อัตราการค้า (Terms of Trade)

จุดตัดกันของเส้นเสนอขายของทั้งสองประเทศ หมายถึง ราคาเปรียบเทียบดุลยภาพเมื่อมี

การค้าเกิดขึ้นของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะมีเพียงราคาดุลยภาพเท่านั้นที่ท าให้การค้าของทั้ง 2 ประเทศจะ

สมดุลกัน ส่วนที่ระดับราคาสินค้าเปรียบเทียบอื่นๆ ปริมาณความต้องการของสินค้าน าเข้าและส่งออก

ของทั้ง 2 ประเทศจะแตกต่างกัน ซึ่งจะท าให้เกิดความกดดันทางด้านราคาสินค้าเปรียบเทียบเคลื่อนที่

เข้าไปสู่ระดับดุลยภาพ ดังแสดงในรูปที่ 5.4

เส้นเสนอขายของประเทศ A และประเทศ B ในรูปที่ 5.2 และ 5.3 คือเส้นที่สามารถหาได้จาก

รูปที่ 5.1 นั่นเอง เส้นเสนอขายของทั้ง 2 ประเทศจะตัดกัน ณ จุด E ซึ่งเป็นจุดดุลยภาพที่ =

1PPP/P 'BBYX ณ BP ประเทศ A เสนอสินค้า 60X กับ 60Y (จุด E บนเส้นเสนอขายของ

ประเทศ A) และประเทศ B เสนอปริมาณที่เท่ากัน คือ 60Y กับ 60X (จุด E บนเส้น OF ของประเทศ B)

ดังนัน้ การค้าจะอยู่ ณ จุดดุลยภาพ ณ ราคา BP

ณ ระดับอัตราราคา YX PP / อื่นๆ การค้าจะไม่อยู่ในดุลยภาพ ตัวอย่างเช่น FP = 2/1

ประเทศ A จะส่งออกสินค้า 40X (ดูจุด H ในรูปที่ 5.2) ท าให้ราคาสินค้า X ลดลง (ซึ่งถูกก าหนดโดยจุด

ที่ไม่ได้แสดงในรูปที่ 5.2) เมื่อเส้น FP จะตัดกับเส้นเสนอขายของประเทศ B อุปสงค์ส่วนเกินของการ

Page 7: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

น าเข้าของสินค้า X ณ FP = 2/1 ของประเทศ B จะท าให้อัตรา YX PP / เพิ่มขึ้น ท าให้ประเทศ A ผลิต

สินค้า X ออกมามากขึ้นเพื่อส่งออก (ประเทศ A จะเคลื่อนย้ายไปสู่บนเส้นเสนอขายที่สูงขึ้นกว่าเดิม)

ในขณะที่ประเทศ B จะลดปริมาณอุปสงค์การน าเข้าของสินค้า X (หรืออีกอย่างหนึ่งประเทศ B จะ

เคลื่อนที่ไปสู่เส้นเสนอขายที่ต่ ากว่าเดิม)

กระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นจนกระทั่งอุปสงค์และอุปทานเท่ากับ ณ BP ความกดดันของ FPจะมุ่งสู่ BP สามารถที่จะอธิบายในรูปของสินค้า Y และเกิดขึ้น ณ อัตรา YX PP / อื่นๆโดยที่ BF PP

ทั้งนีร้าคาเปรียบเทียบดุลยภาพที่ BP = 1 เมื่อมีการค้า เมื่อเส้นเสนอขายของทั้ง 2 ประเทศตัดกันแสดง

ถึงความเท่ากัน (Identical) โดยในรูปที่ 5.4 ณ BP = 1 ทั้ง 2 ประเทศจะได้รับผลได้จากการค้าอย่าง

เท่ากัน

รูปที่ 5.4 ราคาสินค้าเปรียบเทยีบดุลยภาพเมื่อมีการค้า

การเคลื่อนท่ีของเส้นเสนอขาย

จากที่ได้อธิบายถึงการเกิดขึ้นของอัตราราคาระหว่างประเทศในรูปที่ 5.4 ไปแล้ว ต่อมาสมมติ

ว่าผูบ้ริโภคในประเทศ A เปลี่ยนแปลงรสนิยมการบริโภค คือตอ้งการซือ้สินค้า Y เพิ่มขึน้ ท าให้อุปสงค์

ของการน าเข้าเพิ่มขึ้น ประเทศ A จะมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนดีขึ้นและเส้นเสนอขายจะ

เคลื่อนที่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในรูปที่ 5.5 เส้นเสนอขายเคลื่อนที่ไปทางขวาจากเส้น

OC1 ไปเป็นเส้น OC’1 การเคลื่อนที่ของเส้นเสนอขายนอกจากการเปลี่ยนรสนิยมแล้ว อาจเกิดได้

0

10

10

20

20

30

30

40

40 50

50

60

60

Y

X

. .G'

C'H'

PA' = 4 PF' = 2

H

C G

PF =1/ 2

PA = 1/4

EE'

APB = PB’ = 1

B

Page 8: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ซึ่งน าไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ของการน าเข้า หรือการเพิ่มขึ้นของ

ผลผลิตในอุตสาหกรรมการส่งออกของประเทศ A ซึ่งท าให้อุปทานการส่งออกเพิ่มขึ้น ในท านอง

เดียวกันความสามารถทางการค้าที่ลดลงหรือการลดลงของอุปสงค์ในส่วนกลับจะแสดงโดยเส้น OC’’1

ที่เคลื่อนไปทางซ้าย การลดลงนี้อาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนรสนิยมจากการน าเข้าหรือรายได้

ประชาชาติที่ลดลงนั่นเอง

รูปที่ 5.5 การเคลื่อนของเส้นเสนอขายของประเทศ A

ถ้าประเทศ A เกิดการเปลี่ยนแปลงรสนยิมจึงท าให้ตอ้งการที่จะท าการค้า (แลกเปลี่ยน) เพิ่มขึน้

เส้นเสนอขายจะเคลื่อนจาก OC1 มาเป็น OC’1 หากความต้องการแลกเปลี่ยน (สินค้า) ลดลง เส้นเสนอ

ขายจะเคลื่อนไปทางซ้ายจาก OC1 มาเป็น OC’1

การวิเคราะห์ในกรณีของประเทศ B ก็เช่นเดียวกันที่แสดงความเต็มใจในการส่งออกและน าเข้า

ณ อัตราการค้าระดับต่างๆ จากจุดเริ่มต้นของเส้นเสนอขายที่ OC2 ในรูปที่ 5.6 เคลื่อนที่ไปด้านบนเป็น

OC’2 บนเส้นอัตราการค้าแต่ละเส้น จุดที่แสดงความเต็มใจในการเสนอขายนั้นจะอยู่ไกลออกจากเส้น

เดิม ความเต็มใจของประเทศ B ในการเสนอขายลดลงแสดงได้โดยเส้น OC”2

Y

X

OC''1 OC1

OC'1

TOT1

TOT3

TOT2

0

F

F'

H'

H

G'

G

Y

X

TOT3

TOT2

TOT1

0

R

R'

T'

T

S'

S

OC2

OC”2

OC’2

Page 9: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

รูปที่ 5.6 การเคลื่อนของเส้นเสนอขายของประเทศ B

จากรูปที่ 5.6 ถ้าประเทศ B ต้องการที่จะเพิ่มการค้าขาย เส้นเสนอขายจะเคลื่อนจาก OC2 มา

เป็น OC’’2 ถ้าตอ้งการลดการแลกเปลี่ยนลง เส้นเสนอขายจะเคลื่อนจาก OC2 มาเป็น OC’

2

การเคลื่อนที่ของเส้นเสนอขายท าให้อัตราการค้าดุลยภาพหรือปริมาณการค้าเปลี่ยนแปลงอัน

จะสะท้อนตามเงื่อนไขของตลาด สมมติว่าจุดดุลยภาพเดิมของประเทศ A และ B อยู่ที่ TOTE (ในรูปที่

5.7) ปริมาณการค้าสินค้า X เท่ากับ OXE และสินค้า Y เท่ากับ OYE ต่อมาสมมติว่าเกิดการเปลี่ยน

รสนิยมในสินค้า Y ของประเทศ A เส้นเสนอขายเคลื่อนจาก OC1 ไปเป็น OC’1 เมื่อเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน

ของสินค้า Y และอุปทานส่วนเกินของสินค้า X ท าให้ประเทศ A ต้องการซื้อสินค้า Y เท่ากับ OY2 และ

ต้องการขายสินค้า X เท่ากับ OX2 แต่เส้นเสนอขายของประเทศ B ไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงต้องการขาย

สินค้า Y เท่ากับ OYE และต้องการซื้อสินค้า X เท่ากับ OXE ส่งผลให้ราคาสินค้า Y เพิ่มขึ้นขณะที่ราคา

สินค้า X ลดลง และราคาขายยังคงเปลี่ยนแปลงไปจนกระทั่งอุปสงค์และอุปทานส่วนเกินหมดไปจนได้

จุดดุลยภาพใหมท่ี่ E’ และมีอัตราการค้าคือ TOT1

การเปลี่ยนแปลงของอัตราการค้าท าให้ราคาของสินค้าที่ประเทศ A ส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับ

ราคาของสินค้าที่ประเทศ A น าเข้า หรือราคาสินค้าน าเข้าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่ส่งออก

ในทางเศรษฐศาสตร์อธิบายราคาที่สูงขึ้นนั้นเนื่องจากอุปสงค์ต่อสินค้าของผู้ซื้อในประเทศ A สูงขึ้นท า

ให้มูลค่าของสินค้า Y เพิ่มขึน้จากความต้องการสินค้าเพิ่มขึน้ท าใหป้ริมาณน าเข้าขยายตัวจาก OYE เป็น

OY1 และ ปริมาณการส่งออกจะเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปริมาณการน าเข้าใหม่ย้ายมาอยู่ที่ OX1

หากประเทศ A ต้องการลดปริมาณการค้าลง เส้นเสนอขายจะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายท าให้ราคา

ของสนิค้า X เทียบกับราคาของสินค้า Y เพิ่มขึน้และปริมาณการค้าเล็กลง หากประเทศ B ต้องการเพิ่ม

Page 10: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

ปริมาณการค้า เส้นเสนอขายจะเคลื่อนที่ไปทางขวา ขณะเดียวกันถ้าประเทศ B ต้องการลดปริมาณ

การค้า เส้นเสนอขายจะเคลื่อนที่ไปทางซ้าย

รูปที่ 5.7 การเพิ่มของอุปสงค์การน าเข้าของประเทศ A

การเคลื่อนย้ายของเส้นเสนอขายจะส่งผลกระทบต่ออัตราการค้ายกเว้นกับประเทศขนาดเล็ก

เนื่องจากประเทศขนาดเล็กไม่มีอ านาจในการเปลี่ยนแปลงอัตราการค้าได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าประเทศจะ

ท าการส่งออกหรือน าเข้ามากเท่าใดก็ไม่มีผลกระทบต่อราคาของตลาดโลก ประเทศขนาดเล็กเป็นเพียง

ประเทศผู้ยอมรับราคา ขณะที่ประเทศขนาดใหญ่จะมีอ านาจในการเปลี่ยนแปลงอ านาจการค้า

ตัวอย่างเชน่ในรูปที่ 5.7 หากประเทศ A เป็นประเทศเล็ก เส้นเสนอขายเคลื่อนจาก OC1 ไปเป็น OC’1 แต่

อัตราการค้าจะยังคงอยู่ที่ TOTE เหมอืนเดิม

ตัวอย่างของเส้นเสนอขายของประเทศสหรัฐอเมรกิาและแคนาดา ในรูปที่ 5.8(a) เส้นเสนอขาย

ของสหรัฐฯ มีอัตราการค้าที่พอดีกับอัตราการค้า ภายในประเทศ ณ อัตราการค้า นี้ สหรัฐจะไม่เกิด

ความแตกต่างในการค้ากับแคนาดา เมื่อราคาเปรียบเทียบของรถยนต์เพิ่มขึน้ สหรัฐฯ จะสามารถได้รับ

สินค้าน าเข้าอัน ได้แก่ ข้าวสาลีเพิ่มขึ้นจากรถยนต์ที่ท าส่งออกแต่ละคัน ท าให้ดึงดูดใจให้มีการส่งออก

มากขึ้น เส้นเสนอขายยังแสดงให้เห็นอีกว่าสหรัฐฯเต็มใจที่จะน าเข้าข้าวสาลีเพิ่มมากขึ้น เมื่อราคา

เปรียบเทียบของข้าวสาลีลดลง การที่ราคาข้าวสาลีลดลง หมายความว่าข้าวสาลีมีต้นทุนที่ลดลงในรูป

ของปริมาณรถยนต์ที่ต้องส่งออกไปในการแลกเปลี่ยน แต่ละจุดบนเส้นแสดงถึง สหรัฐฯ ปรารถนาที่จะ

ส่งออกและน าเข้าส าหรับอัตราการค้าที่แสดงโดยเส้นที่ลากจากจุดก าเนิด ผา่นไปยังจุดนัน้

Y

X

Y2

YE

Y1

XE X1 X2

TOTE

TOT1

E'

E

OC2

OC'1OC1

0

Page 11: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

ในรูปที่ 5.8(b) เราจะเห็นได้ว่าถ้าราคาเปรียบเทียบของข้าวสาลีเพิ่มขึ้น ท าให้แคนาดายินดีที่จะ

ส่งออกข้าวสาลีเพิ่มขึ้นและเมื่อราคาเปรียบเทียบของข้าวสาลีเพิ่มขึ้น หรือเมื่อราคารถยนต์ลดลง

แคนาดาก็จะยินดีที่จะน าเข้ารถยนต์เพิ่มขึน้

ถ้าอัตราการค้าจรงิอยู่ ณ อัตราการค้าดุลยภาพแสดงถึงจ านวนของสนิค้าที่ประเทศ ต้องการที่

จะส่งออกนั้นจะต้องพอดีกับอุปสงค์ในรูปของการน าเข้าโดยประเทศอื่น ในรูปที่ 5.8(a) จุด A แสดง

ดุลยภาพตลาดส าหรับทั้งสองประเทศ TOT = 0tt ปริมาณรถยนต์ที่สหรัฐยินดีที่จะส่งออก (100A)

เท่ากับปริมาณรถยนต์ที่แคนาดาต้องการน าเข้าพอดี และในท านองเดียวกันข้าวสาลีที่แคนดาส่งออกก็

จะเท่ากับที่สหรัฐฯต้องการน าเข้าเชน่กัน

อย่างไรก็ตาม อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าดุลยภาพตลาดไม่เกิดขึ้น กลไกตลาดจะท าให้มีการปรับตัว

เข้าสู่ดุลยภาพของตลาดโดนอัตโนมัตเิอง เชน่ พิจารณาเส้น 1tt ในรูปที ่5.8(a) จ านวนรถยนต์ที่สหรัฐฯ

เต็มใจที่จะขาย (80A) น้อยกว่าความตอ้งการรถยนต์ของแคนาดา (150A)

ในอีกทางหนึ่งข้าวสาลีที่แคนาดาเต็มใจจะขาย(113 หน่วย) มากกว่าอุปสงค์ของสหรัฐฯ (60

หน่วย) ณ tot ( 1tt ) ในตลาดแข่งขัน ราคาเปรียบเทียบของรถยนต์จะเพิ่มขึ้น และราคาเปรียบเทียบ

ของข้าวสาลีจะลดลง จนกระทั่งส่วนเกิน/ส่วนขาดถูกก าจัดไปยังอัตราการค้าเปรียบเทียบ จะเกิดขึ้น

ใหม่ ณ 0tt อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้การขาดแคลนของข้าวสาลี และส่วนเกินของรถยนต์ จะน าไปสู่

การเพิ่มขึ้นของราคาเปรียบเทียบของข้าวสาลี และการลดลงในราคาเปรียบเทียบของรถยนต์

จนกระทั่งอัตราการค้าดุลยภาพกลับมาที่ 0tt

Page 12: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

รูปที่ 5.8(a) เส้นเสนอขายของประเทศสหรัฐอเมริกา

รูปที่ 5.8 (b) เส้นเสนอขายประเทศแคนาดา

เส้นเสนอขายยังสามารถแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์การ

ตอบสนอง เริ่มต้นที่ดุลยภาพ ณ จุด A ในรูปที่ 5.9(b) สมมติว่าอุปสงค์ของแคนาดาส าหรับข้าวสาลี

ยังคงที่ การเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์ส่วนกลับจะแสดงได้จากการเคลื่อนทีไปข้างบนในเส้นเสนอขายของ

แคนาดาจากเส้น 0Canada 1Canada การเคลื่อนที่ดังกล่าวท าให้จุดตัดของเส้นเสนอขายของ

แคนาดาและสหรัฐฯจากจุด A เคลื่อนไปสู่จุด B และน าไปสู่อัตราการค้าเส้นใหม่ 1tt อัตราการค้า

(1A=0.67W)

tt0

United States

tt1

Autos(U.S.Exports)90

20

60B

A

Wheat(U.S. Imports)

50

(1A=0.4W)

Autos(U.S.Exports)

Canada

60

A’

90

50

B’

20

tt1(1W=0.4A)tt0

(1W=0.67A)

Page 13: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

ตอนนี้ท าให้ประเทศแคนาดาเกิดสวัสดิการที่ต่ ากว่าก่อนที่จะมีการเคลื่อนที่ (shift) และผลได้จาก

การค้าจะเล็กลงกว่าเดิมอีกทางหนึ่ง สมมตวิ่าอุปสงค์ขา้วสาลขีองสหรัฐฯเพิ่มขึน้ ขณะที่อุปสงค์ของชาว

แคนาดาคงที่ อัตราการค้าของแคนาดาจงึดขีึ้น และผลได้จากการค้ามีขนาดที่ใหญ่กว่าเดิม

รูปที่ 5.9 (a) อัตราการค้าดุลยภาพ

Autos(U.S.Exports)100

tt0

Canada0

120

A

160

100

B

tt1(1W=0.4A)

(1W=0.67A)

Canada1

Page 14: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

รูปที่ 5.9 (b) การเปลี่ยนแปลงของอัตราการค้าดุลยภาพ

ตารางที่ 5.1 Term of Trade index (2000 =100)

Country Year Export value

index

Import value

index

Term of trade

USA 2000 100 100 100

2001 93.25 93.64 99.58

2002 88.64 95.31 93.00

2003 92.69 103.47 89.58

2004 104.68 121.13 86.42

2005 116.02 137.78 84.21

2006 132.79 152.31 87.18

2007 148.73 160.44 92.70

2008 166.40 172.28 96.59

2009 135.15 127.48 106.02

China 2000 100 100 100

2001 106.78 108.20 98.69

2002 130.65 131.13 99.63

Page 15: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

Country Year Export value

index

Import value

index

Term of trade

2003 175.85 183.37 95.90

2004 238.09 249.33 95.49

2005 305.76 293.19 104.29

2006 388.99 351.68 110.61

2007 488.67 424.82 115.03

2008 573.29 502.73 114.04

2009 482.25 446.11 108.10

India 2000 100 100 100

2001 102.32 97.81 104.61

2002 118.86 109.69 108.36

2003 139.13 140.83 98.79

2004 180.86 193.65 93.40

2005 235.07 277.24 84.80

2006 287.42 346.40 82.97

2007 353.83 443.85 79.72

2008 459.02 622.61 73.73

2009 383.73 484.42 79.21

Japan 2000 100 100 100

2001 82.12 89.66 91.59

2002 85.30 87.03 98.01

2003 92.89 99.99 92.90

2004 108.52 119.35 90.93

2005 109.40 136.05 80.41

2006 115.22 153.68 74.97

2007 123.15 157.82 78.03

2008 129.67 194.04 66.83

2009 94.29 136.90 68.88

Thailand 2000 100 100 100

Page 16: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน

Country Year Export value

index

Import value

index

Term of trade

2001 94.14 100.06 94.08

2002 98.76 104.40 94.60

2003 116.47 122.45 95.11

2004 139.57 152.46 91.55

2005 159.77 190.81 83.73

2006 189.67 207.87 91.24

2007 222.04 227.37 97.66

2008 250.66 288.70 86.82

2009 220.51 217.27 101.49

ที่มา: International financial statistics (various issues)

รูปที่ 5.10 แสดงอัตราการค้าของสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และไทยปี 2000 -2009

จากรูปที่ 5.10 จะเห็นได้ว่าประเทศแต่ละประเทศมอีัตราการค้าทั้งที่ลดลงจากเดิมในตอนแรก

ยกเว้นอินเดีย แต่หลังจากปี 2004 อินเดียมอีัตราการค้าแย่ลงจากเดิม ขณะที่จีนมีอัตราการค้าที่ดขีึน้

นับตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมาจนถึงปี 2009

0

20

40

60

80

100

120

140

2000

2001

2002

2003

2004

2005

2006

2007

2008

2009

USA.

China

India

Japan

Thailand

Page 17: อุปสงค์ อุปทาน เส้นเสนอขาย และอัตราการค้าfuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/files/Offer Curve.pdfหลังจากนั้นจะน