คือ - thaihealthresource.thaihealth.or.th/system/files/documents/... · 2020-02-14 ·...

488

Upload: others

Post on 05-Mar-2020

35 views

Category:

Documents


3 download

TRANSCRIPT

  • คือ...แพทย์ผู้ให้ด้วยหัวใจ

    ธาดา ยิบอินซอย

    โดย

    สันติสุข โสภณสิริ

  • (2)

    คือ... แพทย์ผู้ให้ด้วยหัวใจ ธาดา ยิบอินซอย

    โดย สันติสุข โสภณสิริ

    พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม พ.ศ. 2559

    สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558

    บรรณาธิการบริหารสำานักพิมพ์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

    บรรณาธิการเล่ม นิตยา พิริยะพงษ์พันธ์

    กัณปภัส รุ่งพัฒนพานิชย์

    ภาพปก นายแพทย์วีร์ ฉายากุล

    ออกแบบรูปเล่ม บริษัท สร้างสื่อ จำากัด

    จัดพิมพ์และเผยแพร่ สำานักพิมพ์หมอชาวบ้าน

    36/6 ซอยประดิพัทธ์ 10 ถนนประดิพัทธ์

    แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

    โทรศัพท์ 0-2618-4710, 0-2278-5533

    โทรสาร 0-2271-1806, 0-2271-0170

    www.thaihealthbook.com

    e-mail : [email protected]

    Line ID : thaihealthbook.com

    พิมพ์ที่ พิมพ์ดี สมุทรสาคร

    ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำานักหอสมุดแห่งชาติ

    National Library of Thailand Cataloging in Publication Data

    สันติสุข โสภณสิริ.

    คือ แพทย์ผู้ให้ด้วยหัวใจ ธาดา ยิบอินซอย.-- กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2559.

    488 หน้า.

    1. ธาดา ยิบอินซอย. 2. แพทย์--ไทย--ชีวประวัติ. I. ชื่อเรื่อง.

    926.1

    ISBN 978-616-507-106-2

  • (3)

    ศาสตราจารย์นายแพทย์ธาดา ยิบอินซอย เป็นครูแพทย์อาวุโส ที่มากประสบการณ์

    และความสามารถแต่กลับอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างที่สุด เปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา

    และอุดมการณ์อันแรงกล้าที่จะช่วยเหลือผู้อื่น นับเป็นความภูมิใจของสำานักพิมพ์หมอชาวบ้าน

    ที่ได้ตีพิมพ์อัตชีวประวัติของปูชนียบุคคลแห่งวงการสาธารณสุขท่านนี้ ในชื่อหนังสือ

    “คือ... แพทย์ผู้ให้ด้วยหัวใจ ธาดา ยิบอินซอย” เขียนโดยคุณสันติสุข โสภณสิริ เพื่อให้เห็น

    แบบอย่างของบุคคลผู้เสียสละ ละทิ้งชื่อเสียง ความสะดวกสบาย เงินทอง ไปบุกเบิกวาง

    รากฐานงานสาธารณสุขภูมิภาค สวนกระแสกับคนทุกวันนี้ที่มักมุ่งหาชื่อเสียง เงินทอง

    คำานึงถึงตนเองมากกว่าการคิดถึงผู้อื่น

    หนังสือเล่มนี้เผยให้เห็นชีวิตของคุณหมอธาดาในแง่มุมต่างๆ ตั้งแต่เยาว์วัย

    เป็นหมอรักษาคนไข้ ครูแพทย์สอนศิษย์ ผู้บริหารองค์กร ผู้บุกเบิกวางรากฐานด้านสาธารณสุข

    มุมชีวิตส่วนตัวที่เป็นผู้เสพงานศิลป์ และความอ่อนโยนงดงามอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ในใบหน้า

    เงียบขรึม เมื่อได้อ่านอัตชีวประวัติของคุณหมอท่านนี้แล้ว หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้รับ

    แรงบันดาลใจที่จะกระทำาความดียิ่งๆ ขึ้นไปให้กับทั้งตนเอง ผู้อื่น และสังคม โดยไม่ต้อง

    เลียนแบบคุณหมอธาดาหรือที่เรียกว่า “ธาดอยด์” หากแต่เป็นการทำาจากบทบาทของ

    ตนเองที่มีอยู่ หนังสือเล่มนี้จึงไม่เฉพาะแต่หมอ หรือบุคลากรทางสาธารณสุขเท่านั้น

    ที่ควรอ่าน เพราะการทำาความดีสามารถทำาได้ในทุกสาขาอาชีพ

    สำานักพิมพ์ฯ ขอขอบคุณผู้มีส่วนให้หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้น ทั้งผู้เขียน ผู้สนับสนุน

    ข้อมูลต่างๆ และผู้เห็นคุณค่าหนังสือเล่มนี้ ด้วยการสนับสนุนให้เกิดการจัดพิมพ์ขึ้นมา

    และขอขอบคุณ “สำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)” ที่ให้ทุน

    สนับสนุนผู้เขียนในการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ และอนุญาตให้

    สำานักพิมพ์หมอชาวบ้านจัดพิมพ์เผยแพร่

    สำานักพิมพ์หมอชาวบ้าน

    คำ นำ สำ นักพิมพ์

  • (4)

    คำ นิยม‘ธาดา ยิบอินซอย’

    ผู้เข้าถึงความจริง ความดี และความงาม

    ถ้าประเทศไทยมีคนอย่าง ธาดา ยิบอินซอย มากๆ ประเทศจะพ้นวิกฤต

    ประเทศไทยติดอยู่ในวิกฤตแห่งความซับซ้อน ไม่สามารถหลุดออกไปได้ เพราะ

    ขาดคนที่มีคุณภาพที่มีจำานวนมากพอ สังคมปัจจุบันต่างไปจากสังคมโบราณโดยสิ้นเชิง

    สังคมไทยโบราณมีอาหารบริบูรณ์ มีภัยธรรมชาติน้อย แล้วทำาให้คนตั้งอยู่ในความ

    ประมาท ไม่กระตือรือร้น ไม่แสวงหาความรู้ ไม่รับผิดชอบต่อส่วนรวม ก็อยู่กันไปได้

    แต่สังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยปัญหาที่ซับซ้อนและยาก ประเทศขาดสมรรถนะและคุณภาพ

    ไม่สามารถฝ่าความยากไปได้ จึงติดอยู่ในสภาวะวิกฤตเรื้อรัง เกิดความขัดแย้งและรุนแรง

    ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความขาดแคลนคุณภาพ คนผู้หนึ่งปรากฏขึ้นอย่าง

    แปลกประหลาด เขาขยันและรับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างยิ่ง ดูแลคนไข้ทั้งกลางวันและ

    กลางคืน ประโยชน์ของคนไข้ต้องมาก่อน แม้ยามเหนื่อย หิว หรือป่วย ขยันสอนลูกศิษย์

    เป็นอย่างยิ่ง ทุ่มเทให้ลูกศิษย์ เรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งโดยติดตามความรู้ และโดยการเป็น

    นักวิจัยสร้างความรู้

    ครูแพทย์ในอุดมคติ ที่เมื่อครึ่งศตวรรษก่อนพูดถึงกันมาก คือต้องมีหน้าที่และ

    ความเป็นเลิศ 3 ประการ คือ สอน วิจัย และบริการ แต่ไม่ค่อยมีใครทำาได้สมบูรณ์ทั้ง

    3 ประการ แต่ครูแพทย์ที่ชื่อ ธาดา ยิบอินซอย ทำาหมด ทำาอย่างมาก และทำาอย่างดี

    และทำาแถมที่สนใจเรื่องชุมชนเป็นอย่างยิ่ง

    ที่แปลกประหลาดอีกอย่างคือ ธาดาเป็นคนตรงอย่างยิ่ง คิดอย่างไรพูดอย่างนั้น

    ไม่มีการเสแสร้ง ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ต้องการให้ใครมายกย่องสรรเสริญด้วยประการใดๆ

    ทั้งสิ้น เขาดูเหมือนเป็นคนไม่มีศาสนา ไม่อ้างอิงศาสนา แต่มีจริยธรรมสูงยิ่ง

    ถ้าจะเลียนแบบไอน์สไตน์ที่พูดถึงมหาตมะ คานธี ก็คงต้องกล่าวว่า “เคยมีคน

    เช่นนี้มีชีวิตอยู่จริงๆ ในประเทศไทย”

  • (5)

    ในวัฒนธรรมจีนบุคคลธรรมดาสามัญที่มีความเด่นในด้านต่างๆ เขาจะยกขึ้น

    เป็นเทพ เช่น กวนอูเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ สร้างศาลเจ้า และถ่ายทอดคุณค่า

    ในรูปต่างๆ เช่น เรื่องเล่า เทพนิยาย วรรณกรรม งิ้ว เพื่อหล่อหลอมคุณงามความดีให้

    คนในชาติ

    หนังสือบันทึกประวัติศาสตร์นายแพทย์ธาดา ยิบอินซอย เล่มนี้ เกิดจาก

    นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ซึ่งไม่เคยรู้จักอาจารย์ธาดา เพราะเมื่อนายแพทย์ธาดาเข้ามา

    เป็นอาจารย์ที่ศิริราช คุณหมอวิชัยก็จบแพทย์ออกไปแล้ว แต่คุณหมอวิชัยได้ยินกิตติศัพท์ว่า

    อาจารย์ธาดาเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อตรง ก็มีความสนใจ และไปติดต่อให้คุณสันติสุข

    โสภณสิริ นักเขียนสารคดีประวัติศาสตร์ที่มีฝีมือ ให้ทำาการค้นคว้าและเรียบเรียงประวัติ

    อาจารย์ธาดา ยิบอินซอย คุณสันติสุขผู้ซึ่งไม่เคยพบอาจารย์ธาดาเลย ได้ไปสืบค้นข้อมูล

    และสัมภาษณ์ผู้ที่เคยทำางานใกล้ชิดกับอาจารย์ธาดา และเรียบเรียงประวัติขึ้นมาประดุจ

    มีชีวิต อันตรงกับบุคลิกของธาดา ยิบอินซอย ที่ผมรู้จักเป็นส่วนตัวมากที่สุด คุณหมอวิชัย

    ผู้ชื่นชมในประวัติศาสตร์และวรรณกรรม ยังช่วยบรรณกรรมต้นฉบับให้ด้วย และสำานักพิมพ์

    หมอชาวบ้านจัดการพิมพ์ขึ้นให้เป็นมรดกทางปัญญาของสังคมไทย

    อาจารย์ธาดา ยิบอินซอย ไม่ต้องการให้ใครมายกย่องชื่นชมท่านด้วยประการ

    ใดๆ แต่ผมคิดว่าบันทึกประวัติชีวิตของสามัญชนคนดีและยิ่งใหญ่ ที่ผมอยากจะใช้คำาว่า

    “The Good and Great Tada” ท่านนี้ น่าจะก่อให้เกิดความบันดาลใจแก่อนุชนคน

    รุ่นหลัง ว่ามนุษย์มีศักยภาพที่จะเข้าถึงสิ่งสูงสุด คือ ความจริง ความดี และความงาม

    10 สิงหาคม 2559

  • (6)

    คำ นิยมครูแพทย์ ศ.นพ.ธาดา ยิบอินซอย

    ผู้ปิดทองหลังพระ

    หนังสือ “คือ... แพทย์ผู้ให้ด้วยหัวใจ ธาดา ยิบอินซอย” เป็นหนังสือที่รวบรวม

    ความทรงจำาคนที่ได้สัมผัสกับธาดาในฐานะและสภาพต่างๆ กัน และในเวลาช่วงชีวิต

    ของธาดา ครอบคลุมถึง 3 ทวีป เอเชีย ยุโรป และอเมริกา จากญาติมิตร เพื่อนแพทย์

    ผู้ร่วมงาน และลูกศิษย์

    คุณสันติสุข โสภณสิริ แนะนำาธาดาให้ผู้อ่านโดยจากธาดาเอง จากการนำา

    พินัยกรรมของธาดาที่เขาเขียนเอง ตอนที่ธาดาป่วยหนัก และเขารู้ตัวว่าจะเสียชีวิตในไม่

    ช้า ผู้อ่านพินัยกรรมของธาดาจะตกใจและประทับใจว่า ธาดาเป็นคนที่มีสติดีมาก คิด

    ละเอียดว่าจะสั่งเสียอะไรเมื่อตัวเองจากไป ธาดาต้องการจะทำาอะไรกับตัวเองและสมบัติ

    ของเขา มีความเรียบง่าย ชัดเจน ละเอียด ตรงไปตรงมา รัดกุม สิ่งที่ธาดารักและเป็นห่วง

    ที่สุด คือ คณะแพทย์ ม.อ. และคนไข้ ธาดาไม่กลัวตาย ตอนที่ผมไปเยี่ยมเขาไม่กี่เดือน

    ก่อนจะเสียชีวิต เขามีมรณานุสสติครับ

    ธาดาเป็นคนเดิมไม่แปรเปลี่ยนตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ซื่อตรง ซื่อสัตย์

    ต่อตัวเองและผู้อื่น เขาเป็นคนเสนอให้โดยไม่มีเงื่อนไข ธาดาให้ด้วยความหวังดี

    ให้ด้วยความจริงใจ ให้เงียบๆ ทั้งกำาลังกาย เวลา ทรัพย์ ความคิด และความรัก โดย

    ไม่หวังตอบแทน และไม่อยากให้ผู้รับต้องเป็นหนี้สินบุญคุณ ในภาษาฮิบรู (Hebrew)

    เรียกการให้แบบนี้ว่า Tzedakah*

    * Tzedakah หมายถึง การให้ด้วยบริสุทธิ์ใจ และจริงใจ เป็นการให้ที่ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีกติกา ไม่หวังการตอบแทนใดๆ

    ไม่หวังผล เป็นการให้ที่ทั้งผู้ให้และผู้รับจะไม่รู้จักกัน ผู้ให้จะไม่เปิดตัว ไม่บอกใครว่าให้อะไร ให้ใคร ให้แบบเงียบๆ ผู้รับ

    จะไม่ทราบว่าใครคือผู้ให้ ผู้ให้จะไม่ให้ผู้ได้รับรู้สึกอึดอัดใจหรืออับอาย

  • (7)

    คนส่วนใหญ่ที่ไม่รู้จักธาดา เมื่อพบธาดาครั้งแรกจะนึกว่าเขาเป็นคนแบบฝรั่ง

    แต่สิ่งที่คนอื่นรู้น้อยมากคือธาดามีความเป็นคนไทยที่เข้าใจ เห็นใจ มีเมตตา อยากช่วย

    คนด้อยโอกาส โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมกลุ่มน้อยทางภาคใต้ 3 จังหวัดชายแดน ธาดา

    ริเริ่มโครงการการช่วยเหลือให้การรักษาสุขภาพ การเรียนการศึกษาของเด็ก ให้กำาลังกาย

    กำาลังใจ และกำาลังทรัพย์ ธาดาได้ทำาต่อเนื่อง ทำาติดต่อกัน ทำาเงียบๆ เป็นการเสียสละ

    ตัวเองมาก โดยไม่คำานึงถึงภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเอง เมื่อธาดาไปเยี่ยมเยียน

    โครงการต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ธาดาทำาทุกอย่างเพื่อให้คนไทยทุกภูมิภาค

    มีความเท่าเทียม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มีการแบ่งแยกแตกต่างกัน ธาดาเป็น

    คนไทยแท้

    อีกด้านหนึ่งของธาดาที่เรารู้จักจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ คือ ธาดานอกจากเป็น

    คนฉลาด เป็นแพทย์ที่เก่ง เป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นหมอเก่ง และเป็นหมอดี เรายังรู้ว่าธาดา

    เป็น Renaissance man คือมีความรอบรู้ทุกด้าน ทั้งทางประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์

    และศิลปะศาสตร์ กับภาษาศาสตร์อย่างดี ธาดารักและชอบดนตรี จาก opera ถึง Rock

    music และ Jazz เขารู้จักภาพวัดและศิลปหัตถกรรมอย่างดีเยี่ยม

    ธาดาเป็นคนที่ไม่หนีปัญหาหรือหันหลังให้กับความยากลำาบาก เขาจะศึกษา

    ปัญหาด้วยวิธีที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ คือ การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด

    ไม่ลำาเอียง แล้วสรุปหาความจริง หาทางแก้ไข นั่นก็คือ “实事求是” หรือแสวงหา

    ความจริงจากข้อเท็จจริง นั่นเอง ไม่มีความงมงาย หรือความเชื่อถือผิดๆ ในการมอง

    ปัญหาและแก้ปัญหา

    หนังสือเล่มนี้ ยังสามารถใช้เป็นหนังสือประกอบการอ้างอิงประวัติศาสตร์

    การพัฒนาการแพทย์ในหาดใหญ่ ม.อ. และภาคใต้

    หมอธาดาเป็นผู้เคารพความคิดผู้อื่น เป็นผู้ฟังที่ดี มีความเข้าใจคนทุกชั้นวรรณะ

    กับคนระดับการศึกษาที่ต่างกัน เขาไม่เคยแสดงว่าตัวเองฉลาดกว่า ดีกว่าคนอื่น ธาดา

    เป็นคนเรียบง่าย ประหยัด แต่ใจใหญ่ ใจถึง และใจบุญ เพราะว่าธาดาเป็นคนช่างสังเกต

    และละเอียด กับมีธาตุแท้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมาก กับการมีจิตใจที่เข้าใจคนที่มีปัญหา

    ความรู้ และฐานะที่ไม่เท่าเขา ธาดาเข้าได้กับทุกคน

  • (8)

    เขาจะทนไม่ได้กับคนที่คิดว่าตัวเองมีความสามารถ มีความรู้ แต่ไม่ตรงเวลา

    หรือไม่ทำางานเต็มที่ ธาดามีท่าทางดุ แต่ใจดี อ่อนโยนและน่ารัก ทั้งหมดนี้ทำาให้ธาดาเป็น

    นักบริหารที่ดีเยี่ยม ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้จะพบตัวอย่างมากมาย ธาดาเป็นผู้สร้างสรรค์และ

    เป็นผู้นำาที่ดี เลือกคนเหมาะกับงาน เขาไม่เคยดูถูกคนที่ด้อยกว่าไม่ว่าด้านไหน ธาดายัง

    ลาออกจากราชการและตำาแหน่งก่อนกำาหนดเกษียณอายุราชการ

    ถึงแม้ธาดาจะจากเราไปนานเกิน 5 ปีแล้ว คนที่รู้จักธาดายังคิดว่าเขาไม่ได้

    จากเราไป ทุกคนยังนึกภาพเขาได้ จำาคำาพูดที่มีลักษณะเฉพาะตัว หนังสือเล่มนี้บรรยาย

    ถึงธาดาดีที่สุด ธาดาจะไม่ชอบที่เรายกย่องเขาอย่างนี้ แต่เขามาบังคับหรือสั่งเราไม่ให้

    รำาลึกถึงเขาด้วยความชื่นชม ไม่ได้ ขอชมผู้รวบรวมหนังสือนี้ครับ

    เหตุใดคนรุ่นหลังหรือหมอรุ่นหลังน่าจะหรือควรจะอ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะว่าใน

    สังคมของเรามีหมอเก่งแต่ไม่ได้ป็นคนดีก็มี หมอที่เป็นคนดีแต่ไม่เก่งก็มี เป็นอาจารย์

    แพทย์ที่สอนดี แต่ไม่ได้เป็นหมอที่ดีก็มี เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งแต่ไม่เป็นหมอก็มีมาก

    นักวิชาการน้อยคนจะมีฐานะการเงินที่ดีมากๆ แล้วใจบุญด้วย.

    ความดีที่น่านับถือมีอยู่ในตัวธาดาพร้อม เขาเกิดมามีเพียงสมองที่ฉลาด และใน

    ตระกูลที่มั่งคั่งเท่านั้น ทำาให้ธาดามีโอกาส ความสำาเร็จอย่างอื่นของธาดาได้มาด้วยความ

    ตั้งใจที่ขยันฝึกฝน เล่าเรียน ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ มีระเบียบวินัย มีความคิดและการ

    กระทำาที่ดี จากความเพียร มีจิตใจมั่นคง ซื่อสัตย์สุจริต กับตัวเองและกับคนอื่น รวมถึง

    หน้าที่การงาน

    ธาดาบอกผมเสมอว่า ความสำาเร็จส่วนใหญ่ในชีวิตของเขามาจากความขยัน

    ของเขา ไม่ใช่พรสวรรค์ ธาดาเชื่อว่ามีคนอีกมากที่เก่งกว่าเขา ทุกอย่างเรียนรู้ได้ครับ

    หมอรุ่นหลังไม่ต้องทำาตัวลอกแบบธาดา แต่หมออีกมากสามารถฝึกเป็นนักวิทยาศาสตร์

    หมอดี ช่วยสร้างสังคมไทยที่ดีขึ้นได้ หมอทุกคนทำาได้ครับ

  • (9)

    อีกลักษณะหนึ่งของธาดา คือเป็นคนไทยแท้ ที่มีเมตตาจิต มีความเอื้ออาทร

    เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ธาดาทำาอะไร เริ่มต้นด้วยโครงการเล็กๆ ค่อยทำา ค่อยไป ด้วยความ

    พอเหมาะ พอเพียง และธาดาทำาแบบปิดทองหลังพระ

    สักวันหนึ่ง จะมีคนเขียนถึงความสำาเร็จของธาดาในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์

    กับความสำาคัญของผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของธาดาที่มีต่อสังคม ธาดาเป็นคนที่ดี

    หาได้ยากยิ่งในโลกนี้

    ผมขอแนะนำาให้คนรุ่นหลังอ่านหนังสือเล่มนี้ครับ

  • (10)

    อาจารย์ธาดาผู้เป็นที่รักและเคารพ

    และเป็นดวงประทีปส่องทางให้พวกเราตลอดไป

    ดิฉันมีโอกาสได้ใกล้ชิดอาจารย์ธาดานับ 10 กว่าปี จากเดิมที่ได้พบครั้งแรก

    เมื่ออาจารย์ธาดาและอาจารย์สมทรง ยิบอินซอย มาเป็นอาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์

    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ในปี พ.ศ. 2523 ได้ทำางานร่วมกับอาจารย์

    เรียนปรึกษาเรื่องโรคหัวใจ เรื่องผู้ป่วย และเรื่องวิจัย ซึ่งรวมถึงการขอให้อาจารย์อ่านและ

    แก้ไขงานวิจัย ตอนนั้นยังไม่สนิทกับอาจารย์ธาดา แต่สนิทกับอาจารย์สมทรงมาก

    จนกระทั่งเมื่อลูกชายคนโต (ปัจจุบันคือ นพ.วีร์ ฉายากุล คนที่วาดรูปอาจารย์ที่เป็น

    หน้าปกหนังสือ “คือ...แพทย์ผู้ให้ด้วยหัวใจ ธาดา ยิบอินซอย”) จบ high school ที่อังกฤษ

    อยากเรียนหมอ แต่สอบไม่ผ่าน interview วีร์ต้องกลับมาอยู่บ้าน 1 ปี เพื่อรอสอบใหม่

    ดิฉันได้เรียนปรึกษาอาจารย์ธาดาเรื่อง interview ของวีร์ อาจารย์ยินดีจะช่วยโดยให้วีร์มา

    คุยกับอาจารย์ที่บ้านของอาจารย์สัปดาห์ละครั้ง ดิฉันได้ติดตามลูกไปนั่งฟังการสอนของ

    อาจารย์ทุกครั้ง ซึ่งก็เป็นโอกาสที่ดิฉันได้เรียนรู้จากอาจารย์และรู้จักอาจารย์มากขึ้น

    หลังๆ ก็พาลูกชายอีก 2 คนไปนั่งฟังอาจารย์คุยด้วย ลูกๆ สนุกและดีใจที่จะได้ไปพบ

    คุณลุงธาดา ต่อมา อาจารย์ชวนให้ดิฉันและวีร์ไปช่วยกันทำางานของ “ชมรมคนรักเมือง

    หาดใหญ่” แรกๆ ดิฉันก็ยังไม่อยากทำา เพราะไม่เคยทำางานแบบนี้ แต่พอได้ทำาไปแล้ว

    ก็สนุกมาก ได้เรียนรู้วิธีการทำางานของอาจารย์ และได้รู้จักเพื่อนร่วมงานที่มีจิตอาสา

    มาช่วยเหลือสังคมหลายท่าน หลังจากนั้น ได้ไปช่วยอาจารย์ธาดาทำาสวนในบริเวณบ้าน

    ของอาจารย์ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่ 07.00-09.00 น. ดิฉันเคยเรียนถามอาจารย์ว่า “อาจารย์ชอบ

    ทำาสวนหรือคะ” อาจารย์ตอบว่า “เปล่า ผมชอบทำางาน แต่ทำาสวนเพราะได้ออกกำาลังกาย”

    อาจารย์ขุดดินด้วยจอบ ท่าทางทะมัดทะแมงมาก เราช่วยกันพรวนดิน ทำาแปลงดอกไม้

    และคุยกันไป อาจารย์อารมณ์ดีมากเวลาทำาสวน และจะเล่าให้ดิฉันฟังว่าได้ไปทำาอะไร

    มาบ้างในสัปดาห์ที่ผ่านมา

    คำ นิยม

  • (11)

    อาจารย์ขึ้นไปประชุมที่กรุงเทพฯ แทบทุกวันศุกร์แล้วกลับมากลางคืนวันเสาร์

    บางสัปดาห์ก็ลงไป 3 จังหวัดชายแดนใต้เพื่อเยี่ยมเยียนแพทย์และเจ้าหน้าที่ทาง

    สาธารณสุข ดิฉันคิดว่าระยะหลังอาจารย์ก็คงชอบทำาสวนมากขึ้น พอพบกันตอนเช้า

    อาจารย์จะบอกว่า “มาดูอะไรกัน” แล้วก็พาไปดูรังนกที่ซ่อนอยู่ในพุ่มไม้ บางวันก็ไปดู

    ต้นแก้วมังกรออกดอกเป็นครั้งแรก กล้วยไม้ที่ปลูกไว้นานแล้วเพิ่งออกดอก ฯลฯ (แต้ม

    แม่บ้านของอาจารย์ธาดา ผู้ดูแลอาจารย์มาตลอดหลังจากอาจารย์สมทรงเสียชีวิต เป็น

    ผู้แจ้งให้อาจารย์ทราบก่อนว่ามีอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ในสวน) ต่อมา อาจารย์จัดการเรียน

    การสอน continuous medical education ชื่อ “อายุรศาสตร์ ม.อ. สัญจร” สำาหรับ

    แพทย์ในจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ โดยวิทยากรหลักคือ อาจารย์แพทย์ในภาควิชาอายุรศาสตร์

    ม.อ. อาจารย์ธาดาขอให้ดิฉันเป็นผู้จัดการอายุรศาสตร์ ม.อ. สัญจร เราจัดไปจังหวัดต่างๆ

    ปีละ 2-3 ครั้ง อาจารย์มีความสุขมากเวลาที่พวกเราไปทำาอายุรศาสตร์ ม.อ. สัญจร

    อาจารย์ตั้งกติกาสำาหรับวิทยากรไว้ว่า “ไม่สอนแบบบรรยาย ให้เปิดโอกาสแก่ผู้เข้า

    ประชุมร่วมอภิปรายให้มากที่สุด เพื่อการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน” ทำาให้บรรยากาศการ

    ประชุมสนุกมาก และไม่มีใครหลับเลย

    อาจารย์ชอบทำางานวิจัยมาก ตั้งแต่อาจารย์เริ่มมาทำางานที่โรงพยาบาล

    หาดใหญ่ อาจารย์จะจดบันทึกคนไข้แต่ละรายลงในกระดาษแข็งสีเขียว ตอนที่อาจารย์

    ต้องนอนโรงพยาบาลเพราะมีข้ออักเสบจากโรคเก๊าต์ อาจารย์ก็นั่ง review แฟ้มผู้ป่วย

    มะเร็งต่อมไทรอยด์ที่อยู่ในลังกระดาษ 2 ลังใหญ่ ดิฉันได้มีโอกาสติดตามอาจารย์ธาดา

    ไปโรงพยาบาลเทพาเพื่อติดตามอาสาสมัครในโครงการวิจัยระยะยาวเทพา อาจารย์

    ไปเทพาทุก 2 เดือนอยู่หลายปี โดยขับรถไปเองและดิฉันนั่งไปด้วย อาจารย์ขับรถไม่

    เร็ว ดิฉันก็เรียนถามอาจารย์เรื่องต่างๆ ไปตลอดทาง ก่อนที่จะเข้าประชุมกับแพทย์และ

    บุคลากรทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลเทพาเรื่องงานวิจัย อาจารย์จะตรวจคนไข้ที่คุณหมอ

    โรงพยาบาลเทพานัดมาพบอาจารย์ ดิฉันและน้องๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้จากอาจารย์ทั้งด้าน

    วิชาการและการปฏิบัติต่อผู้ป่วย ดิฉันประทับใจมากที่อาจารย์ไม่ถือตัวเลย อาจารย์

    ยกมือไหว้คนไข้ก่อนเสมอและดูแลคนไข้ดีมาก พอประชุมเสร็จ เราก็ไปดูคนไข้ในหอ

    ผู้ป่วยต่อ

  • (12)

    แม้อาจารย์ไม่มีลูก แต่อาจารย์มีลูกศิษย์หลายคนที่อาจารย์รักเหมือนลูกของ

    อาจารย์เอง และลูกศิษย์ก็รักอาจารย์เหมือนอาจารย์เป็นพ่อ อาจารย์จะเล่าถึงลูกๆ ของ

    อาจารย์ (ที่พูดถึงบ่อยๆ คือ คุณหมออรินทยา พรหมินธิกุล และ คุณหมอก้องเกียรติ

    เกษเพชร) อย่างมีความสุขและภูมิใจ มีหลายคน (ซึ่งรวมทั้งตัวดิฉันเอง) มาปรึกษา

    อาจารย์ทุกเรื่องรวมถึงปัญหาของลูก อาจารย์ตั้งใจรับฟังและช่วยแก้ปัญหาได้ดีมาก

    อาจารย์จะดูเป็นคนดุ ใครๆ ก็กลัวอาจารย์ แต่กับเด็กๆ อาจารย์จะใจดีมาก ลูกๆ ของดิฉัน

    ยืนยันได้ว่าคุณลุงธาดาใจดี ไม่ดุเลย ดิฉันเรียนปรึกษาอาจารย์ได้ทุกเรื่อง มีความรู้สึก

    เหมือนอาจารย์เป็นพี่ที่เต็มใจคอยช่วยเหลือน้อง ให้คำาแนะนำา หลายๆ คนที่เคยมา

    ปรึกษาอาจารย์ก็มีความรู้สึกอย่างเดียวกันนี้

    อาจารย์เป็นครูที่ประเสริฐมาก รักและเมตตาลูกศิษย์มาก ตอนแรกที่อาจารย์

    เพิ่งกลับมาจากอเมริกา นักศึกษาแพทย์บอกว่าฟังอาจารย์ไม่รู้เรื่อง แต่อาจารย์ก็พัฒนา

    เรื่องการใช้ภาษาขึ้นเรื่อยๆ จนเก่งขนาดที่อาจารย์สามารถอธิบายเรื่องยากๆ ให้เข้าใจ

    ได้ง่าย อาจารย์ทำา cardio round สำาหรับแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำาบ้าน ภาควิชา

    อายุรศาสตร์ ทุกคืนวันอังคาร เวลา 20.00-21.00 น. มานานแล้ว ดิฉันเพิ่งเข้าไปร่วม

    cardio round ระยะหลังซึ่งก็ราวเกือบ 10 ปีได้ รู้สึกชอบมากเพราะสนุกมากและเป็น

    กิจกรรมที่ขาดไม่ได้ อาจารย์กับแพทย์ใช้ทุนหน่วยโรคหัวใจจะเลือกผู้ป่วยไว้ ก่อนเริ่ม

    round แพทย์ใช้ทุนอื่นๆ ก็จะมาตรวจร่างกายผู้ป่วย แล้วอาจารย์ก็จะถามว่าตรวจพบ

    อะไร คำาถามของอาจารย์ยอดเยี่ยมและลึกซึ้งมาก พวกเราต้องพยายามคิดและพยายาม

    ตอบแบบใช้ความรู้ทาง physiology ทุกวันนี้ดิฉันยังได้นำาสิ่งที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์

    มาสอนนักศึกษาแพทย์ต่อ และระลึกถึงพระคุณของอาจารย์เสมอมา ดิฉันเคยปรึกษา

    อาจารย์เรื่องแพทย์ใช้ทุนอายุรกรรมคนหนึ่งซึ่งเป็นหมอที่รับผิดชอบดูแลคนไข้ดีมาก แต่

    เรียนไม่เก่ง เกรงว่าจะสอบไม่ผ่าน อาจารย์บอกว่า “ผมจะดูแลหมอคนนี้ให้ การที่จะสร้าง

    หมอที่ดีสักคนหนึ่ง จะต้องลงทุนทุ่มเทเท่าไรก็คุ้ม”

    เมื่อครั้งที่ดิฉันเป็นหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์อยู่ 4 ปี อาจารย์บอกดิฉันตั้งแต่

    แรกว่าจะช่วย เวลามีปัญหาก็เรียนปรึกษาอาจารย์ได้ทุกเรื่อง เช้าวันอาทิตย์ เวลาที่

    ทำาสวนกับอาจารย์เป็นช่วงที่ดิฉันได้เรียนปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่พบ อาจารย์จะรับฟังแล้ว

    ให้ความเห็น สิ่งที่ดิฉันประทับใจมากและได้เรียนรู้มากๆ จากอาจารย์คือ เวลาดิฉันกล่าว

    ตำาหนิใคร อาจารย์จะมองการกระทำาของคนๆ นั้นอีกแง่มุมหนึ่งที่แตกต่างไป ทำาให้ดิฉัน

    ได้ฝึกที่จะมองคนในแง่ดีมากขึ้น และรู้สึกได้เลยว่าอาจารย์ไม่ชอบให้ดิฉันพูดถึงคนอื่นใน

    แง่ไม่ดี อาจารย์ธาดาเองก็ไม่เคยกล่าววิจารณ์ใครแบบ destructive เลย

  • (13)

    อาจารย์เป็นคนที่ตรงต่อเวลามาก ครั้งหนึ่งดิฉันมีนัดไปพบอาจารย์ที่ห้องทำางาน

    ของอาจารย์ที่อาคารบริหารเวลาบ่ายโมง ดิฉันไปถึงที่ทำางานอาจารย์เวลา 13.05 น.

    อาจารย์กำาลังให้เลขาฯ โทรไปเตือนดิฉันว่ามีนัดกับอาจารย์ หลังจากนั้นดิฉันต้องไปพบ

    อาจารย์ให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเสมอ

    อาจารย์รักการทำางานมาก อาจารย์เคยบอกว่า แพทย์เราควรทำางานวันละ 16

    ชั่วโมง ซึ่งอาจารย์ทำาได้จริง อาจารย์ถึงที่ทำางานตอนเช้าเวลา 07.00 น. ทำางานจนถึง

    18.00-19.00 น. แล้วกลับมาทำางานที่บ้านต่อ รับประทานอาหารเย็นเวลา 20.30 น. แล้ว

    ทำางานต่อจนถึงเวลานอนคือ 22.00 น. วันเสาร์และอาทิตย์อาจารย์ก็ไปทำางานเหมือนวัน

    ปกติ วันอาทิตย์ที่ทำาสวนกัน พอถึง 09.00 น. อาจารย์ก็จะบอกว่าวันนี้พอแล้ว แล้ว

    อาจารย์ก็ไปทำางาน

    อาจารย์ธาดาไม่ชอบให้ใครชมอาจารย์ อาจารย์บอกว่า “มันทำาให้ผมอึดอัดใจ”

    ดิฉันเคยเรียนอาจารย์ว่า “อาจารย์เป็นคนมีอารมณ์ขัน จริงใจ และมีเมตตา” อาจารย์

    ไม่พูดอะไร มองหน้าดิฉัน แล้วอมยิ้มตามสไตล์ของอาจารย์

    กราบขอบพระคุณอาจารย์ธาดาสำาหรับความรักและความเมตตาที่อาจารย์มีต่อ

    พวกเรา ซึ่งมีพลังมากมายและเป็นความรักที่ลึกซึ้งยิ่งนัก แม้อาจารย์ผู้มอบความรักจะ

    จากไปแล้ว แต่ความรักของอาจารย์ก็จะคอยคุ้มครองปกป้องรักษาพวกเราและทำาให้

    พวกเรามีพลังและกำาลังใจที่จะทำาสิ่งดีๆ มีประโยชน์ตลอดไป ดิฉันขออธิษฐานให้ได้เกิด

    เป็นลูกและศิษย์ของอาจารย์ทุกชาติทุกภพนะคะ

    รศ.พญ.พรรณทิพย์ ฉายากุล

  • (14)

    “นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

    สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา”

    อาจารย์ธาดาและอาจารย์สมทรง ยิบอินซอย กลับมาจากสหรัฐอเมริกามา

    ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2524 ขณะนั้นนักศึกษาแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์

    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำาลังขึ้นเรียนชั้นปีที่ 4 (ชั้นคลินิก) และฝึกปฏิบัติงานที่

    โรงพยาบาลหาดใหญ่ เนื่องจากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

    อาจารย์ธาดาจึงสอนนักศึกษาแพทย์และให้บริการผู้ป่วยโรคหัวใจที่นั่น อาจารย์ได้ใช้

    ห้องเอกซเรย์ของโรงพยาบาลหาดใหญ่ ทำาส่วนโรคหัวใจ รวมทั้งเปิดคลินิกโรคหัวใจ

    งานบริการ และการเรียนการสอน นอกจากนี้ อาจารย์ยังดูแลคนไข้ที่ห้องไอซียู และได้

    ปฏิบัติกับคนไข้ทุกคนเหมือนกัน ทุกวันอาจารย์จะราวนด์วอร์ดทั้งกลางวันและกลางคืน

    ไม่เว้นวันหยุดราชการ

    สำาหรับงานด้านการบริหาร อาจารย์ได้รับเลือกให้เป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์

    และขออยู่ในตำาแหน่งเพียง 2 ปีเท่านั้น ระหว่างนั้นอาจารย์ได้ไปประชุมร่วมระหว่างทบวง

    มหาวิทยาลัยและกระทรวงสาธารณสุข ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม อาจารย์เสนอว่า

    นักศึกษาแพทย์ควรได้รับการสนับสนุนวงเงินจำานวนสามแสนบาทต่อคนต่อปี หลังจากนั้น

    เมื่อโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เปิดบริการแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น อาจารย์ก็ได้ตั้งหน่วย

    ระบาดวิทยาขึ้น และขอให้ คุณรัตน์ ประธานราษฎร์นิกร ตั้งมูลนิธิรัตน ์ประธานราษฎร์นิกร

    เพื่อให้ความช่วยเหลืออาจารย์แพทย์ด้านงานวิจัย แม้ในขณะนั้นอาจารย์อยู่ในตำาแหน่ง

    คณบดีและมีงานด้านบริหารมากมาย อาจารย์ก็ยังอยู่เวรเหมือนอาจารย์แพทย์ท่านอื่นๆ

    อาจารย์ได้ขอให้ทางสภามหาวิทยาลัย อนุญาตให้คณะแพทยศาสตร์เพิ่มเงิน

    สำาหรับอาจารย์แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ

    บุคลากรสาย ค. ให้ได้รับเงินประกันสังคมเป็นรายหัว ส่วนในการประกันคุณภาพแพทย์นั้น

    ได้ตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย คณบดีเป็นประธาน กรรมการจากสมาชิกสภา

    มหาวิทยาลัย 1 ท่าน และผู้บริหารคณะจำานวนหนึ่ง มารับฟังความเห็นจากหัวหน้าภาค

    เพื่อเพิ่มเงินแก่อาจารย์แพทย์ที่ไม่ไปทำาคลินิกนอกโรงพยาบาล เช่น รองคณบดี หัวหน้า

    คำ นิยม

  • (15)

    ภาควิชา จะได้เงินเพิ่มตั้งแต่ 1-4 ขั้น ต่อมาอาจารย์ได้ขอให้มีการสรรหาคณบดีคณะ

    แพทยศาสตร์ โดยมีอธิการบดีเป็นประธาน และคณะกรรมการประกอบด้วย คณบดีคณะ

    อื่นๆ จำานวนหนึ่ง และคณบดีคณะแพทยศาสตร์จากโรงเรียนแพทย์ในกรุงเทพฯ อีก

    1 ท่าน ดิฉันได้รับการสรรหาให้เป็นคณบดี คณะแพทยศาสตร์เป็นคนแรก และเป็น

    คณะแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากนั้นคณะอื่นๆ ก็มีการสรรหาเช่นเดียวกัน

    อาจารย์ได้เข้าพบ คุณอานันท์ ปันยารชุน พร้อมด้วย คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ ์

    เพื่อขออนุมัติวงเงินจำานวน หนึ่งหมื่นบาทต่อคนต่อเดือน สำาหรับแพทย์สังกัดกระทรวง

    สาธารณสุขที่ไม่ทำาคลินิกนอกโรงพยาบาล และได้ขอให้ดิฉันโทรศัพท์ถึงผู้บริหาร

    กระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้นคือ คุณหมอวิฑูรย์ แสงสิงแก้ว เพื่อรับทราบด้วย

    นอกจากผลงานข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจารย์ยังเป็นกรรมการของกระทรวงสาธารณสุข

    เพื่อเลือกบัญชียาหลักแห่งชาติ และกรรมการในการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ด้วย

    แม้อาจารย์จะอยู่ในตำาแหน่งคณบดีเพียง 2 ปี แต่อาจารย์ก็ได้ทำาคุณประโยชน์แก่

    คณะแพทยศาสตร์มากมายในฐานะผู้บริหาร อีกทั้งการทำางานด้านบริหารของอาจารย์นั้น

    ยังเป็นแบบอย่างสำาหรับคณบดีท่านอื่นๆ ต่อมาอีกด้วย

    ช่วงสุดท้ายของชีวิต อาจารย์ก็ยังดูแลคนไข้และทำางานวิจัยเพื่อพัฒนาตามปกติ

    แม้จะต้องเข้ารักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคมีบำาบัดก็ตาม

    รศ.พญ.พันธ์ทิพย์ สงวนเชื้อ

  • (16)

    ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนเคยเขียนชีวประวัติและผลงานของแพทย์อาวุโสที่สังคม

    ยกย่องเป็นปูชนียบุคคล จำานวน 5 ท่านด้วยกัน ทุกท่านเมตตาตอบคำาสัมภาษณ์เป็นเวลา

    หลายชั่วโมง และหลายครั้ง พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำาหรับการเขียน ที่สำาคัญ

    คือท่านเหล่านั้นกรุณาช่วยตรวจสอบความถูกต้องของต้นฉบับด้วย ทำาให้ผู้เขียนมี

    ความมั่นใจในผลงานว่าไม่มีความผิดพลาด และเป็นที่ยอมรับของท่านผู้เป็นเจ้าของประวัติ

    แต่สำาหรับงานเขียนชีวประวัติของศาสตราจารย์นายแพทย์ธาดา ยิบอินซอย

    เรื่อง “คือ...แพทย์ผู้ให้ด้วยหัวใจ ธาดา ยิบอินซอย” ผู้เขียนประสบความยากลำาบากอย่าง

    น้อย 3 ประการ คือ

    ประการแรก โครงการศึกษาค้นคว้าและเขียนประวัติปูชนียบุคคลเรื่องนี้ ดำาริขึ้น

    หลังจากท่านเจ้าของประวัติถึงแก่กรรมแล้ว เมื่อเดือนมกราคม 2554 ดังนั้นการเขียน

    ชีวประวัติชิ้นนี้จึงขาดแหล่งข้อมูลสำาคัญที่สุดที่ควรได้จากคำาบอกเล่าของเจ้าของประวัติเอง

    นอกจากนี้ การได้สัมผัสกับบุคลิกภาพและความมีชีวิตชีวาของท่านจะช่วยเป็นแรงบันดาลใจ

    และสร้างความมั่นใจให้ผู้เขียนในการรังสรรค์งาน

    อย่างไรก็ตาม จากการพูดคุยกับบรรดาลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดกับ ศ.นพ.ธาดา

    ทุกคนบอกตรงกันว่า ถ้าอาจารย์หมอธาดา ยังมีชีวิตอยู่ ท่านคงไม่อนุญาตให้ใครเขียน

    ชีวประวัติของท่านอย่างแน่นอน

    ประการที่ 2 เมื่อไม่ได้ข้อมูลขั้นปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เจ้าของประวัติ

    โดยตรง ก็ต้องอาศัยข้อมูลขั้นทุติยภูมิทั้งที่เป็นเอกสารงานเขียนหรือเทปบันทึกเสียงของ

    ศ.นพ.ธาดา เท่าที่เสาะหาได้ในรูปบทความภาษาอังกฤษ (ส่วนใหญ่) ภาษาไทย บันทึก

    ต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยบางเรื่องของท่าน ซึ่งกว่าจะรวบรวมได้และศึกษาข้อมูลดังกล่าว

    ผู้เขียนต้องใช้เวลาพอสมควรในการทำาความเข้าใจกองข้อมูลเหล่านั้น

    ทั้งนี้ไม่นับเวลาในการศึกษาข้อมูลเอกสารขั้นทุติยภูมิ และการเดินทางไป

    สัมภาษณ์บุคคลจำานวนมากกว่า 50 คน ที่เกี่ยวข้องกับท่าน นับตั้งแต่ญาติฝ่ายท่าน และ

    ฝ่ายภรรยา เพื่อนเก่านักเรียนอังกฤษ ผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา ลูกศิษย์ รวมทั้งคนไข้

    และคนที่รู้จักท่านในแง่มุมต่างๆ แหล่งข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นเครื่องมือสำาคัญในการ

    จากใจผู้เขียน

  • (17)

    วิเคราะห์ และเข้าถึง “ความเป็นตัวตนที่แท้จริง” ของ ศ.นพ.ธาดา ซึ่งผู้เขียนไม่เคยพบ

    และรู้จักท่านมาก่อนเลย ดังนั้นช่วงเวลาทำางานตามโครงการที่รับทุนจากสำานักงาน

    กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คือ ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึง

    มีนาคม 2556 จึงไม่สามารถเป็นไปได้ ประกอบกับช่วงกลางปี 2554 ทั้งกรุงเทพฯ และ

    หลายจังหวัด รวมทั้งบ้านผู้เขียนด้วยได้ประสบกับวิกฤตอุทกภัยใหญ่

    กว่าจะจัดการฟื้นฟูสภาพบ้านเรือนและระบบชีวิตหลังน้ำาท่วมใหญ่ให้เข้าที่

    เข้าทางได้ จนกระทั่งมีสมาธิเริ่มต้นดำาเนินโครงการได้จริงๆ ก็เข้ากลางปี 2555 ไปแล้ว

    ซึ่งเมื่อเริ่มทำางานศึกษาค้นคว้าชีวประวัติ ศ.นพ.ธาดา ผู้เขียนพบว่าถูกแรงดึงดูดบางอย่าง

    ให้กระหายใคร่รู้ลึกเรื่องราวของบุคคลต้นแบบผู้ไม่เหมือนใครท่านนี้ ที่ท่านอานันท์

    ปันยารชุน รุ่นพี่นักเรียนอังกฤษกล่าวถึงรุ่นน้องผู้นี้ว่าเป็น “unconventional person”

    กล่าวคือเป็นบุคคลที่ไม่เป็นไปตามแบบแผนของสังคม

    ประการที่ 3 เป็นข้อที่ผู้เขียนหนักใจที่สุด คือ การเขียนชีวประวัติเรื่องนี้ให้ตรง

    กับ “ความเป็นตัวตน” ของ ศ.นพ.ธาดาให้มากที่สุด ซึ่งก็คือ “ความไม่มีอัตตา” ของท่าน

    นั่นเอง อันเป็นเรื่องราวของปุถุชนที่เขียนยาก ผู้เขียนแอบคิดในใจว่า ถ้า ศ.นพ.ธาดา ยังมี

    ชีวิตอยู่และได้อ่านชีวประวัติของท่านเองฉบับนี้ ท่านจะให้เกรดเท่าไร

    ในที่สุดนี้ ผู้เขียนขอกล่าวกิตติกรรมประกาศขอบคุณสำานักงานกองทุนสนับสนุน

    การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่สนับสนุนในการดำาเนินโครงการศึกษาค้นคว้าและเขียน

    ชีวประวัติปูชนียบุคคล ศาสตราจารย์นายแพทย์ธาดา ยิบอินซอย จนสำาเร็จเป็นต้นฉบับ

    ชื่อ “คือ...แพทย์ผู้ให้ด้วยหัวใจ ธาดา ยิบอินซอย” และขอบคุณสำานักพิมพ์หมอชาวบ้าน

    ที่ช่วยรับช่วงดำาเนินการตีพิมพ์ต้นฉบับดังกล่าวเป็นหนังสือเล่มเพื่อเผยแพร่ในวงกว้าง

    ต่อไป

    ผู้เขียนขอขอบพระคุณศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี และนายแพทย์

    วิชัย โชควิวัฒน ที่แรงกระตุ้นของท่านทั้งสองได้ผลักดันให้ผู้เขียนรับอาสาร้อยเรียง

    ชีวประวัติของครูแพทย์ท่านนี้ แต่งานเขียนขนาดใหญ่ชิ้นนี้คงสำาเร็จไม่ได้ หากไม่ได้รับ

    ความอนุเคราะห์จากผู้หลักผู้ใหญ่และผู้เกี่ยวข้องหลายท่านในการให้สัมภาษณ์อย่างดียิ่ง

    หลายท่านทั้งที่ปรากฏชื่อในหนังสือเล่มนี้หรือเป็นแหล่งข้อมูลสำาคัญที่ไม่ปรากฏชื่อก็ตาม

    ขอได้รับความขอบพระคุณอย่างสูงจากผู้เขียน

  • (18)

    บุคคลที่ผู้เขียนขอเอ่ยนามด้วยความซาบซึ้งน้ำาใจไว้ในที่นี้ คือ อาจารย์แพทย์

    หญิงพรรณทิพย์ ฉายากุล และคุณสุรางค์ พันธ์ผล ที่กรุณาช่วยเป็นธุระประสานติดต่อ

    ผู้ให้สัมภาษณ์ และเอื้อเฟื้อข้อมูลต่างๆ ขอขอบพระคุณครอบครัวเครือเนียมที่บอกเล่า

    ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว และอำานวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในบ้าน

    ยิบอินซอยที่หาดใหญ่ สงขลา

    บุคคลที่ผู้เขียนขอขอบคุณในท้ายที่สุดนี้คือ คุณมรกต ยิบอินซอย ผู้เอื้อเฟื้อ

    ข้อมูลสำาคัญเกี่ยวกับบรรพบุรุษชาวฮากกาของยิบอินซอย และอนุญาตให้ผู้เขียนเข้าไป

    คารวะบรรพชนในห้องพระที่บริษัทยิบอินซอย จำากัด ใกล้วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ ที่

    ซึ่งผู้เขียนบอกกับตัวเองว่า จะตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวของ ศ.นพ.ธาดา ยิบอินซอย ให้ดี

    ที่สุด

    สันติสุข โสภณสิริ

  • (19)

    สารบัญคำานำาสำานักพิมพ์ ...............................................................................................

    คำานิยม

    ¤ ‘ธาดา ยิบอินซอย’ ผู้เข้าถึงความจริง ความดี และความงาม

    ประเวศ วะสี

    ¤ ครูแพทย์ ศ.นพ.ธาดา ยิบอินซอย ผู้ปิดทองหลังพระ

    ทัศนะ นิวัฒน์ภูมินทร์

    ¤ อาจารย์ธาดาผู้เป็นที่รักและเคารพ และเป็นดวงประทีปส่องทางให้พวกเราตลอดไป

    รศ.พญ.พรรณทิพย์ ฉายากุล

    ¤ “นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา”

    รศ.พญ.พันธ์ทิพย์ สงวนเชื้อ

    จากใจผู้เขียน

    1 จิตวิญญาณแห่งแพทย์ที่แท้ .......................................................................... 3 2 สืบสานปณิธานบรรพชน .............................................................................. 11

    - สาแหรกข้างพ่อ ........................................................................................ 11

    - สาแหรกฝ่ายมารดา ................................................................................. 17

    - พ่อกับแม่ : คู่ตำานานยิบอินซอยในสังคมไทย .............................................. 17

    - เรื่องของแม่ : มีเซียม ยิบอินซอย แม่บ้านธรรมดาผู้สร้างตำานาน

    ในวงการศิลปะ ....................................................................................... 27

    3 ยามเยาว์วัยในครอบครัวใหญ่ ...................................................................... 37

    4 ลูกไม้ไกลต้น เมื่อไปเป็นกุลีที่ปีนัง ................................................................ 45

    - ไกลบ้านไปตามฝัน ................................................................................. 46

    5 ชีวิตนักเรียนอังกฤษรุ่น Fifty Plus ................................................................ 49

    6 ตำานานไอดอล (idol) ของนักศึกษาแพทย์ศิริราชที่ยังไม่เลือนหาย .................. 55

    7 แพทย์หญิงสมทรง เพ็ญภาคกุล จากศิษย์สู่คู่แท้ ........................................... 65

  • (20)

    8 14 ปี ชีวิตในอเมริกา ................................................................................... 73

    - รู้จักกับโรงเรียนสำาหรับบัณฑิตแพทย์เมโย

    (Mayo Graduate School of Medicine) ................................................... 74

    - หลังจากมีลูกด้วยกันสองคน ถึงเวลาทำาให้ถูกต้องตามกฎหมายเสียที ......... 82

    - Unconditional Love ของคุณหมอสมทรง ................................................ 85

    9 คิดถึงบ้านเกิด ............................................................................................ 91

    10 ชีวิตครอบครัวใหม่ในเมืองไทย .................................................................... 99

    11 คนรักบ้าน ................................................................................................ 103

    12 กินผลไม้ไม่เกินกิโลฯ ละสิบบาท ................................................................ 107

    13 คนไข้ต้องมาก่อน ..................................................................................... 109

    14 ความลำาเอียงของคุณหมอธาดา .................................................................. 111

    15 โฮมสวีทโฮม ............................................................................................. 119

    16 การเผชิญหน้าความเจ็บป่วยด้วยสมาธิบำาบัด ............................................. 129

    17 อนุสาวรีย์ของธาดา ยิบอินซอย .................................................................. 133

    18 จิตวิญญาณแห่งครูแพทย์ .......................................................................... 137

    19 ครูแพทย์กับลูกศิษย์รุ่นหลัง ........................................................................ 151

    20 ลูกศิษย์ลูกหม้อ : แพทย์เพื่อสังคม ............................................................. 159

    - เราก็ศิษย์มีอาจารย์หนึ่งบ้าง ................................................................... 161

    21 เมื่อต้องเป็นนักบริหารจำาเป็น ..................................................................... 171

    22 เมื่อเป็นเบอร์หนึ่งของคณะแพทย์ ม.อ. ....................................................... 179

    - เบื้องหลังการผลักดัน Top up จนสำาเร็จ .................................................. 179

    - งานเข็นครกขึ้นภูเขา : เข็นนโยบายระบบเงินตอบแทน

    เสริมพิเศษ (Top up) ............................................................................... 185

    23 ก่อตั้งสาขาวิชาระบาดวิทยาเพื่อสร้างระบบป้องกันโรคเชิงรุก ....................... 191

    - หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.

    เป็นศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก (WHO) ................................... 193

    - โรงพยาบาลสงขลานครินทร์มีระบบบริหารภาครัฐดีที่สุดของประเทศ ........ 195

  • (21)

    24 นักบริหารที่ลูบหน้าไม่ปะจมูก .................................................................... 197

    - ต้นแบบของนวัตกรรมการบริหารจัดการในคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.

    และระดับประเทศ ............................................................................... 200

    - คนที่อยู่กับผมจะต้องเก่งขึ้น ดีขึ้น .......................................................... 204

    - การบริหารจัดการงานพยาบาลในแผนกโรคหัวใจ โรงพยาบาล ม.อ. ........ 206

    25 ดั่งพระอาทิตย์อันร้อนแรง ......................................................................... 209

    26 เกษียณวัย ใจไม่เกษียณ ........................................................................... 215

    27 ยอดกุนซือคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. (พ.ศ. 2536-2543) ............................... 223

    - ปริศนาธรรมของธาดา “ทำาไมแม่ตายในภาคใต้มากจังวะ!” ...................... 225

    - นำาความรักคืนสู่เหย้า ............................................................................ 229

    28 การบริหารจัดการคุณภาพยาเพื่อคุ้มครองผู้ป่วย ......................................... 235

    - ผู้อยู่เบื้องหลังกรีนบุ๊ค (Green Book) ของเมืองไทย ................................. 241

    - ป๊ะป๋าใจดีของทีมเภสัชฯ ม.อ. ................................................................ 244

    - Keep It Up There ............................................................................... 246

    29 ผู้วางรากฐานหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ใน ม.อ. ยุคที่ 2 .............................. 249

    - เมื่อหมอโรคหัวใจลงมาดูแลหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ............................. 251

    - บทเรียนนอกห้องเรียนเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ............................................. 254

    30 ริเริ่มกลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยและญาติอาคารเย็นศิระ ............................. 261

    - จากอาสาสมัครอาคารเย็นศิระสู่โครงการบัณฑิตอาสา ............................ 269

    31 พรหมวิหารแห่งความทรงจำา ...................................................................... 271

    32 ลมใต้ปีกของนักวิจัยรุ่นใหม่ ...................................................................... 279

    33 ผู้อยู่เบื้องหลัง EGAT Study ระยะที่ 2 ....................................................... 285

    34 เสาเข็มของเครือข่ายวิจัยคลินิกสหสถาบัน (CRCN) และมูลนิธิส่งเสริมวิจัยทางการแพทย์ ........................................................ 295

    - การวิจัยทางคลินิก (Clinical Trials) คืออะไร และสำาคัญไฉน .................. 296

    35 ประติมากรผู้สร้างนายช่างใหญ่แห่งระบบสุขภาพ ...................................... 303

    - ผู้อยู่เบื้องหลังการกำาเนิด IHPP .............................................................. 310

  • 36 ผู้ร่วมให้กำาเนิดองค์กรลูก HITAP ............................................................... 315

    - หมอช้างเผือกจากโรงพยาบาลอำาเภอปง จังหวัดพะเยา ............................ 316

    - สิ่งสร้างสรรค์ในช่องว่างระหว่างวัย ......................................................... 322

    - “รักษาความเป็นกลางทางวิชาการไว้ อย่าให้การเมืองเข้ามามีอิทธิพล” ..... 327

    37 โครงการมิตรภาพต่างวัย จากใจถึงใจของครูแพทย์สู่นักวิจัยรุ่นใหม่ .............. 337

    - คิดบวกแบบธาดา ................................................................................. 344

    38 เปิดใจสู่โลกกิจกรรมนอกวิชาชีพแพทย์ ...................................................... 349

    - ชมรมลดอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองหาดใหญ่ : ก้าวย่างเล็กๆ

    สู่การแก้ปัญหาสุขภาพนอกรั้วโรงพยาบาล ............................................. 350

    - สร้างสำานึกรักในเมืองใหญ่ .................................................................... 356

    39 ครูแพทย์ตัวจริง คือชาวบ้าน ...................................................................... 361

    40 เกี่ยวกับโครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทย .................................................. 365

    41 จากปฏิบัติการในห้องแล็บสู่ผู้นำายุทธศาสตร์ แก้ปัญหาความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนใต้ ............................................................................... 373

    42 วพส. เยียวยาความรุนแรงในภาคใต้บนฐานวิจัยและข้อมูล ......................... 403

    - เมื่อไฟใต้ระอุ แต่ไฟในใจกลับลุกโชน ..................................................... 406

    - วิจัยเพียงหนึ่งได้ถึงสอง สาม สี่... ........................................................... 406

    43 ศวชต. ชูธงเยียวยาเชิงรุกด้วยระบบข้อมูล ................................................. 409

    44 มยส. มูลนิธิเยียวยาหัวใจประชาชนด้วยพลังสมานฉันท์ ............................... 415

    - เยียวยาเหยื่อไฟใต้ทุกฝ่ายเพื่อมนุษยธรรมและ

    การสมานฉันท์อย่างแท้จริง ................................................................... 420

    - เฮาะกีตอ โครงการของเรา : ภารกิจแรกของ มยส. เพื่�