transformative learning and humanized educare development...

14
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 13 ปีท่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559 Transformative Learning and Humanized Educare Development of Teachers in the 21 st Century Sansanee Puranan Ed.D. (Educational Administration), Doctoral Degree Student Department of Educational Administration Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus Ekkarin Sungtong Ph.D. (Educational Administration), Assistant Professor Department of Educational Administration Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus Chawalit Kerdtip Ed.D. (Educational Administration), Lecturer Department of Educational Administration Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus Pongsri Vanitsupawong Ph.D. (Educational Administration), Associate Professor Department of Educational Administration Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus Abstract A critical goal of educational management in schools in the 21 st Century is to develop learners to be moral, knowledgeable and humanized person. One tool that promotes humanized educare needs transformative learning of teachers who understand contexts and social changes and be able to design learning that fits individual learners. Transformative learning refers to the process of learning to adjust the attitude that leads to a change in understanding themselves and others. This process will be done through learning from experience in lifestyle and practice from a variety of activities, process of critical reflection, along with interconnecting and communicative learning that broaden one’s mind as well as helping his/her understand value and its connectivity within real life. This process will help transform one’s perceptions, ideas, attitudes including rational that results to self-transformation. Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods including 1) the critical reflection, 2) learning from experiences, and 3) interconnecting and communicative learning. This article will help teachers, educators and interested persons understand transformative learning concepts which will be beneficial for daily application. Keywords: Transformative Learning, Humanized Educare, Teachers in the 21 st Centuy

Upload: others

Post on 15-Jul-2020

13 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 13ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

Transformative Learning and Humanized EducareDevelopment of Teachers in the 21st Century

Sansanee PurananEd.D.(EducationalAdministration),DoctoralDegreeStudent

DepartmentofEducationalAdministrationFacultyofEducation,PrinceofSongklaUniversity,PattaniCampus

Ekkarin SungtongPh.D.(EducationalAdministration),AssistantProfessor

DepartmentofEducationalAdministrationFacultyofEducation,PrinceofSongklaUniversity,PattaniCampus

Chawalit KerdtipEd.D.(EducationalAdministration),LecturerDepartmentofEducationalAdministration

FacultyofEducation,PrinceofSongklaUniversity,PattaniCampusPongsri Vanitsupawong

Ph.D.(EducationalAdministration),AssociateProfessorDepartmentofEducationalAdministration

FacultyofEducation,PrinceofSongklaUniversity,PattaniCampus

Abstract Acriticalgoalofeducationalmanagementinschoolsinthe21stCenturyistodeveloplearnerstobemoral,knowledgeableandhumanizedperson.Onetoolthatpromoteshumanizededucareneedstransformativelearningofteacherswhounderstandcontextsandsocialchangesandbeabletodesignlearningthatfitsindividuallearners.Transformativelearningreferstotheprocessoflearningtoadjusttheattitudethatleadstoachangeinunderstandingthemselvesandothers.Thisprocesswillbedonethroughlearningfromexperienceinlifestyleandpracticefromavarietyofactivities,processofcriticalreflection,alongwithinterconnectingandcommunicativelearningthatbroadenone’smindaswellashelpinghis/herunderstandvalueanditsconnectivitywithinreallife.Thisprocesswillhelptransformone’sperceptions,ideas,attitudesincludingrationalthatresultstoself-transformation.Transformativelearningcanbesummedinto3elementsand3methodsincluding1)thecriticalreflection,2)learningfromexperiences,and3)interconnectingandcommunicativelearning.Thisarticlewillhelpteachers,educatorsandinterestedpersonsunderstandtransformativelearningconceptswhichwillbebeneficialfordailyapplication.

Keywords:TransformativeLearning,HumanizedEducare,Teachersinthe21stCentuy

Page 2: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี14 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของครูในศตวรรษที่ 21

ศันสนีย์ ปูรณันศษ.ด.(การบริหารการศึกษา),นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

เอกรินทร์ สังข์ทองPh.D.(EducationalAdministration),ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

ชวลิต เกิดทิพย์ศษ.ด.(การบริหารการศึกษา),อาจารย์

ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์Ph.D.(EducationalAdministration),รองศาสตราจารย์

ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

บทคัดย่อ เป้าหมายของการจัดการศึกษาในโรงเรียนในศตวรรษที่21นั้นคือพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณธรรมมีความรู้และเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์เคร่ืองมือหน่ึงท่ีจะช่วยให้มนุษย์มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้นจ�าเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง(Transformativelearning)โดยอาศัยครูมืออาชีพที่เข้าใจสภาพบริบทและการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับผู้เรียนเป็นรายบุคคลการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการเรียนรู้เพ่ือการปรับเปล่ียนแนวคิดทัศนคติที่น�าไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมในการท�าความเข้าใจตนเองและผู้อื่นผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ในวิถีชีวิตและวิถีปฏิบัติงานจากกิจกรรมที่หลากหลายจากกระบวนการสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญที่มีการสื่อสารร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ท�าให้จิตใจเปิดกว้างสามารถท�าความเข้าใจคุณค่าและความเชื่อมโยงกับสิ่งที่ได้เรียนรู้กับการปฏิบัติจริงในชีวิตประจ�าวันกระบวนการนี้จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ความคิดทัศนคติรวมทั้งเหตุผลเป็นการปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นภายในบุคคลการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสามารถสรุปเป็นองค์ประกอบและแนวทาง3ประการดังนี้คือ1)การสะท้อนความคิดอย่างใคร่ครวญ2)การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และ3)การเรียนรู้ผ่านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์บทความดังกล่าวนี้จะช่วยให้ครูผู้สอนนักการศึกษาและบุคคลที่สนใจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวมากยิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�าวัน

คำาสำาคัญ:การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ครูในศตวรรษที่21

Page 3: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 15ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

บทนำา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2545มาตรา6ระบุว่า“การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจสติปัญญามีความรู้คู่คุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการด�ารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์คือการด�ารงชีวิตอยู่ให้รอดการท่ีจะอยู่รอดได้ดีนั้นต้องปฏิบัติต่อชีวิตและสิ่งรอบตัวที่ชีวิตเข้าไปเกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องถ้าปฏิบัติได้ถูกชีวิตจะปลอดโปร่งแต่ถ ้าปฏิบัติไม ่ถูกก็จะเกิดความทุกข์(พระพรหมคุณาภรณ์,2551)ท้ังน้ีในมิติของการจัดการศึกษาอาจกล่าวได้ว่าการศึกษานั้นควรน�าไปสู่การเรียนรู้ที่ท�าให้เกิดการพัฒนาความเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ของผู้เรียนซึ่งก็คือการปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อตนเองและผู้อื่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก(ม.ป.ป.)กล่าวไว้ว่าคุณค่าของความเป็นคนหรือเป็นมนุษย์คือความไม่เป็นสัตว์การรักษาคุณค่าของความเป็นมนุษย์ไว้ให้สมบูรณ์จึงไม่ใช่การรักษาชีวิตให้ยืนยาวเท่าน้ันแต่ต้องรักษาความเป็นมนุษย์ไว้ไม่ให้สูญเสียไปด้วยซ่ึงความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์คือมนุษย์มีความสามารถด้านเหตุผลมนุษย์จึงไม่เพียงแต่ด�ารงชีวิตตามสัญชาตญาณเท่านั้นแต่สามารถเรียนรู้ให้เกิดสติและปัญญาผ่านการขัดเกลาต่างๆอย่างมีเหตุผลจนแยกแยะผิดชอบชั่วดีได้ส่วนสัตว์น้ันเพียงแต่ด�ารงชีวิตตามสัญชาตญาณขาดการควบคุมด้วยเหตุผลอันน�าไปสู่การกระท�าชั่วร้ายต่างๆฉะนั้นความเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์จึงหมายถึงการที่มนุษย์รู ้จักใช้สติป ัญญาในการด�าเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จ�าเป็นต้องอาศัยการศึกษาท่ีมีคุณภาพซ่ึงไม่เพียงแต่เป็นการศึกษาท่ีน�าพาผู้เรียนไปสู่ความรู้เท่าน้ันแต่ยังต้องน�าพาผู้เรียนให้ไปถึงปัญญาด้วยการท�าให้ผู ้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้นควรจะไปให้ถึงการเรียนรู้3ระดับคือ(1)เกิดความรู้ท่ีรู ้ความจริง(2)เกิดปัญญาที่เชื่อมโยงความรู้ต่างๆได้และ(3)เกิดจิตส�านึกเพราะความเข้าใจตัวเองที่สัมพันธ์กับสรรพสิ่งทั้งหลาย(ประเวศวะสี,2538) ในโลกของการเรียนรู ้ ในศตวรรษท่ี21นั้นเคร่ืองมือหนึ่งที่จะช่วยให้มนุษย์มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ ์นั้นจ�าเป ็นต ้องอาศัยการเรียนรู ้ เพื่อการ

เปลี่ยนแปลง(TransformativeLearning)ทั้งนี้การเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลงเป็นเครื่องมือท่ีส�าคัญยิ่งในการน�าพาผู ้เรียนไปสู ่การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยอาศัยครูมืออาชีพที่เข้าสภาพบริบทและการเปลี่ยนแปลงของสังคมดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าผู้เรียนจะมีการเรียนรู้มากน้อยเพียงใดนั้นบทบาทส�าคัญขึ้นอยู่กับความเข้าใจของครูผู้สอนรวมถึงการเป็นต้นแบบท่ีดีทางจิตวิญญาณที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ความดีงามแก่ศิษย์ตลอดจนการอบรมสั่งสอนฟูมฟักและขัดเกลาผู้เรียนให้เป็นคนดีคนเก่งและสามารถน�าความรู ้ไปสรรสร้างสังคมได้อย่างมีคุณค่าทั้งนี้ในบริบทของการจัดการศึกษาของประเทศไทยนั้นกระแสการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เพ่ือการเปล่ียนแปลงในตัวครูนั้นได ้รับความนิยมและมีการกล ่าวถึงอย ่างต ่อเ น่ืองสถานศึกษาหลายๆแหล่งได้มีการประยุกต์แนวคิดดังกล่าวไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนมีความโดดเด่นในแง่ของการเรียนรู้และเป็นผลผลิตที่ดีงามทางสังคมอย่างไรก็ตามกระแสแนวความคิดดังกล่าวอาจมีความคลุมเครือในแง่หลักการแนวคิดและแนวปฏิบัติอยู่บ้างซ่ึงอาจท�าให้ผู้น�าแนวคิดไปประยุกต์ใช้อาจประสบกับความคลุมเครือและความไม่ชัดเจนในการน�าแนวคิดไปสู่การปฏิบัติผู ้เขียนในฐานะนักการศึกษาตระหนักในประเด็นปัญหาความส�าคัญดังกล่าวข้างต้นจึงได้น�าเสนอบทความดังกล่าวขึ้นเพ่ือให้ครูผู้สอนนักการศึกษาและบุคคลที่สนใจมีความรู ้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวมากยิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการประยุกต์แนวคิดเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาบทความน้ีมุ่งน�าเสนอความหมายของการเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลงองค์ประกอบการเรียนรู ้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา

ความหมายของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เมื่อกล่าวถึงการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นนักการศึกษามีมุมมองที่แตกต่างกันในหลายๆลักษณะมิติของการมองเก่ียวกับการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงน้ันมีหลายระดับขึ้นอยู่กับประสบการณ์และจุดมุ่งหมายปลายทางของการเรียนรู้อย่างไรก็ตามหากมองในภาพกว้างของนิยามของการเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลงน้ันหมายถึงกระบวนการเรียนรู้เพื่อการปรับเปล่ียนแนวคิดทัศนคติที่น�าไปสู ่การเปล่ียนพฤติกรรมในการท�า

Page 4: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี16 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

ความเข ้าใจตนเองและผู ้อื่นผ ่านการเรียนรู ้จากประสบการณ์ในวิถีชีวิตและวิถีปฏิบัติงานจากกิจกรรมท่ีหลากหลายจากกระบวนการสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญซึ่งมีการสื่อสารร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ท�าให้จิตใจเปิดกว้างสามารถท�าความเข้าใจคุณค่าและความเชื่อมโยงกับสิ่งที่ได้เรียนรู ้กับการปฏิบัติจริงในชีวิตประจ�าวันเกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู ้ความคิดทัศนคติหรือเหตุผลเป็นการปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นภายในบุคคลซึ่งเป็นสิ่งซึ่งก�าหนดการกระท�าหรือพฤติกรรมของบุคคลน้ันแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกโดยMezirow(1997)ซ่ึงนิยามเอาไว้ว่าเป ็นกระบวนการการเปลี่ ยนแปลงกรอบอ ้างอิ ง(Framesofreferences)ได้แก่มุมมองในการให้ความหมายแบบแผนความคิดและชุดความคิดความเชื่อที่เราใช้อยู ่เป็นประจ�าโดยไม่รู ้ตัวเพื่อให้ความคิดน้ันครอบคลุมมากข้ึนจ�าแนกแยกแยะได้ดีขึ้นเปิดกว้างขึ้นมีความพร้อมทางอารมณ์ท่ีจะเปลี่ยนแปลงได้และสามารถใคร่ครวญได้ดีขึ้นท�าให้เรามีความเชื่อและทัศนะที่เป็นจริงและชี้น�าการกระท�าได้เหมาะสมขึ้นต่อมาTaylor,Marienau,Fiddler(2000)และBeger(2004)อ้างถึงMezirow(1978)ในการอธิบายถึงการเรียนรู้ท่ีเปลี่ยนแปลงว่าเป็นวิธีการคิดแบบหน่ึงซ่ึงมีการเพิ่มขึ้นรวมตัวแบ่งแยกหรือบูรณาการประสบการณ์สู่มุมมองทัศนะใหม่เป็นการเปลี่ยนในระดับท่ีลึกไปถึงค่านิยมเจตคติและความเข้าใจไม่ใช่การเรียนรู้ทุกอย่างจะมีศักยภาพของพัฒนาการเช่นน้ีเพราะการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นเสมือนรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมโดยเปลี่ยนในระดับลึกคือเปลี่ยนตัวตนมนุษย์ในระดับที่มากกว่าการเรียนรู้ท่ีเป็นการได้มาซ่ึงความรู้Kegan(1994)ได ้ขยายความแนวคิดดังกล ่าวว ่าเป็นการเปลี่ยนในเชิงการให้ความหมายใหม่ต่อสิ่งนั้นๆของบุคคลซึ่งมีความซับซ้อนมากข้ึนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อบุคคลเปลี่ยนแปลงซ่ึงไม่ใช่การเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความรู้สึกแต่เป็นการเปลี่ยนการรู้ไม่ใช่เพียงว่ารู้อะไรแต่เป็นวิธีการที่บุคคลนั้นให้ความหมายเก่ียวกับสิ่งนั้นๆApt(2003)มองการเรียนรู ้เพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยมุ่งเน้นท่ีระดับบุคคลว่าการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นทฤษฎีการเรียนรู ้ที่เป็นพลวัตรเกิดขึ้นเมื่อปัจเจกบุคคลสะท้อนความคิดต่อสมมุติฐานหรือความคาดหวังแล้วมีการค้นหาสาเหตุทบทวนหรือ

เปลี่ยนแปลงความคิดจึงเป็นการอธิบายว่าผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการบูรณาการความรู ้ใหม่กับความรู ้เดิมรวมทั้งความเชื่อและประสบการณ์ในขณะที่Krathwohl,BloomและMasia(1964)อธิบายถึงการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในไว้2มุมมองคือ(1)การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเป็นการเจริญเติบโตภายในของบุคคลที่เกิดจากการยอมรับทัศนคติหลักเกณฑ์หลักการหรือเหตุผลจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลนั้นในการตัดสินคุณค่าหรือก�าหนดการกระท�า(2)การเรียนรู้ท่ีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเกิดจากการเรียนรู ้ที่อาศัยธรรมชาตินอกตัวมาพัฒนาธรรมชาติภายในตัวขณะที่Zajonc(2006)ได้ให้ข้อสังเกตว่ากระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในน้ันเป็นกระบวนการที่คุณภาพของธรรมชาติภายนอกมีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนภายใน ทั้ งนี้ แนวคิด เกี่ ยวกับการ เรี ยนรู ้ เพื่ อการเปล่ียนแปลงในสังคมไทยดูเหมือนว่ามีการเคล่ือนตัวและนักวิชาการหลายท่านต่างให้ความสนใจเก่ียวกับแนวคิดดังกล่าวเช่นกันแต่กระแสความสนใจอาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆทั้งนี้นักวิชาการท่านหนึ่งที่มีความสนใจเป็นพิเศษคือนายแพทย์ประเวศวะสี(2547)โดยมองว่าการเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลงเป็นการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน(Internalization)เป็นการเรียนรู ้ที่ธรรมชาติภายนอกและธรรมชาติภายในหรือจิตใจเชื่อมต ่อกันอย ่างที่ เ มื่อเรียนรู ้อะไรก็พัฒนาธรรมชาติภายในให้สูงขึ้นตลอดเวลาเป็นรูปแบบการเรียนรู้ท่ีการเรียนรู้ธรรมชาตินอกตัวทุกชนิดมาพัฒนาธรรมชาติในตัว(จิต)ตลอดเวลาเป็นกระบวนการของบุคคลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้(Transform)จากการรับรู ้ คุณลักษณะด้วยการมีปฏิสัมพันธ ์กับสิ่งแวดล้อมไปสู่คุณลักษณะที่เกิดขึ้นภายในตนเองในขณะท่ีธนานิลชัยโกวิทย์,อดิศรจันทรสุขและอัญชลีสถิรเศรษฐ์(2552)ได้นิยามว่าการเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลงเป็นการศึกษาเพื่อการเปล่ียนแปลงอย่างลึกซึ้ง(TransformativeEducation)เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู ้ต ่อโลกภายในของตนเองที่ประกอบด้วยความคิดความรู ้สึกความเชื่อทัศนคติการมองโลกและชีวิตรวมไปถึงพฤติกรรมในชีวิตประจ�าวันในแต่ละช่วงขณะความตระหนักรู้ดังกล่าวนี้จะท�าให้ผู ้เรียนก้าวล่วงสู ่การพัฒนาตนให้เป็นคนที่

Page 5: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 17ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

สมบูรณ์และสร้างสรรค์ปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสรรพชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบตัวในลักษณะที่ เกื้อกูลกันได้ต ่อไป จากนิยามดังกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าโลกตะวันตกต่างมุ่งให้ความส�าคัญกับกรอบแนวคิดของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเน่ืองเน่ืองจากการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจะเป็นตัวจักรที่ส�าคัญของป ัจเฉกบุคคลต ่อการเรียนรู ้ ในกระแสของสังคมท่ีเปลี่ยนแปลงไปความรู้มีการหล่ังไหลสังคมมีความซับซ้อนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงต้องการอาศัยมิติการมองที่ซับซ้อนและลึกซึ้งซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจถ่องแท้สรุปได้ว่าการเรียนรู ้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงมิติการมองโลกของบุคคลท่ีมีต่อสิ่งเร้าสิ่งแวดล้อมและสังคมภายนอกโดยอาศัยสติปัญญาและการทบทวนเพื่อใคร่ครวญตนเองและการมองโลกของความจริงอย่างระมัดระวังเพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าทางสังคมรวมถึงการยกระดับจิตวิญญาณของตนเองในการเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างลึกซึ้งและเข้าใจโดยมีกรอบแนวคิดเชิงเหตุเชิงผลที่สามารถอธิบายได้วัดได้และสามารถตัดสินคุณค่าได้อย่างชัดเจนบนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลอันจะน�าไปสู่การสร้างความรู้อย่างมั่นคง

การเรียนรู้เพ่ือการเปลี่ยนแปลงต่อการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยMezirow(1997)เพื่อก้าวข้ามเหนือการแสวงหาความรู้แบบพื้นๆที่ให้ความส�าคัญแต่เฉพาะตัวเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู ้แบบเดิมๆโดยเน้นให้เห็นถึงเป้าหมายและคุณค่าของการพัฒนาการเรียนรู้ที่แตกต่างครอบคลุมบริบททางสังคมและวัฒนธรรมโดยรวมดังนั้นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากบุคคลปราศจากมิติหรือการมองท่ีขาดทิศทางความชัดเจนรวมเป็นกระบวนการที่เป็นระบบทั้งนี้ปัจจัยที่ส�าคัญในการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องอาศัยองค ์ประกอบท่ี เชื่ อมโยงกันซึ่ งมีอยู ่หลายองค์ประกอบอย่างไรก็ตามผู ้เขียนจะมุ่งเน้นอธิบายองค์ประกอบส�าคัญ3ประการท่ีผู ้เขียนมองว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่จะสร้างและช่วยส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการเรียนรู้เพ่ือการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงอันได้แก่1)การสะท้อนความคิดอย่างใคร่ครวญ2)การเรียนรู้ผ่าน

ประสบการณ์และ3)การเรียนรู้ผ่านการส่ือสารอย่างสร้างสรรค์ดังที่ผู้เขียนจะน�าเสนอในแต่ละประเด็นต่อไปนี้

1. การสะท้อนความคิดอย่างใคร่ครวญ การสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญนั้นเป็นการเน้น“การศึกษาตนเองอย่างลึกซ้ึง”ซ่ึงมีลักษณะส�าคัญคือ(1)เป็นการศึกษาตนเองด้าน“ระบบความคิด”จนปรับ เปลี่ ยนมุ มมองกรอบอ ้ า งอิ ง ( F rames o freferences)หรือข้อสรุปในใจที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และให้ความหมายประสบการณ์ต่างๆแบบแผนความคิดน้ีจะแสดงออกเป็นมุมมองต่างๆเป็นชุดความหมายท่ีมาจากความเชื่อความคาดหวังทัศนคติการตัดสินใจและความรู้สึกต่อเรื่องต่างๆซึ่งจะมีระบบวิธีคิดนี้อยู่ในการเรียนรู ้ของแต่ละบุคคลที่รอการเรียนรู ้เพื่อการปรับเปลี่ยนมุมมองนั้นๆ(Mezirow,2000)(2)เป็นการศึกษาตนเองด้าน“อารมณ์”ในฐานะที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกดิการใคร่ครวญอย่างมวิีจารณญาณเช่นการใคร่ครวญถึงเหตุที่ท�าให้เกิดความรู้สึกอารมณ์ความรู้สึกและช่วยให้เรามองเห็นและสามารถเรียนรู ้ใคร่ครวญการกระทบของอารมณ์ที่ส่งผลต่อความคิดพฤติกรรมและการรับรู้ของตนเอง(Neuman,1996)(3)เป็นการศึกษาตนเองในระดับ“จิต”เพื่อพัฒนาจิตตนเองให้สูงขึ้นสามารถสังเกตรับรู้ปัจจุบันขณะเกิดความสงบเข้าถึงความจริงไร้อคติเกิดความเป็นอิสระเมตตาพร้อมทั้งเข้าใจเพื่อนมนุษย์(วิจักขณ์พานิช,2548)(4)เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง“วิธีการเรียนรู้”หรือเป็นการกระตุ้นสมองส่วนหน้าให้เห็นคุณค่าแท้ที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า“โยนิโสมนสิการ”จนเกิดการเปล่ียนแปลงตนเองและเป็นเคร่ืองมือภายในตนให้เกิดการเรียนรู ้ตลอดชีวิต(วิศิษฐ์วังวิญญู,2548)(5)เป็นการ“ประเมินตนเองใหม่”ที่ก้าวข้ามแง่ลบและเกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานโดยครูท�าหน้าที่คอยเฝ้าสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงการสะท้อนความคิดนั้นในฐานะครูถือว่าเป็นการท�างานกับตนเองโดยการคิดพิจารณากระบวนการสอนและการเรียนรู้อย่างรอบคอบจะช่วยให้ครูสามารถปรับเปลี่ยนความรู ้และทักษะของตนการสะท้อนความคิดอาจท�าเป็นการส่วนตัวหรือท�าร่วมกันเป็นกลุ่มก็ได้(Cohen,1997)(6)เป็นการ“สะท้อนความคิด”เพื่อให้เกิดความสามารถในการใช้ทักษะของตนเองในงานอย่างมีความหมายและน�าไปสู่ความเข้าใจที่แท้จริงเป็นการช่วย

Page 6: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี18 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

พัฒนาประสบการณ์โดยการสร้างและปรับความรู้ของตนเองอยู่ตลอดเวลาจากประสบการณ์ทั้งหลายการสะท้อนคิดจึงควบคู ่กับการเรียนรู ้ผ่านประสบการณ์(Loughran,1996,Bailey,Curtis,และNunan,2001)ซึ่ งประกอบด ้วยการตระหนักรู ้ ในตนเอง(Self-awareness)อันหมายถึงความสามารถในการส�านึกและตักเตือนตนเองในเรื่องท่ีตั้งใจไว้และการสังเกตตนเอง(Self-observation)ซึ่งได้แก่การสังเกตประเมินและจัดการกับพฤติกรรมของตนเองโดยมีเป้าหมายที่จะเข้าใจและควบคุมพฤติกรรมของตนได้ดีขึ้นและ(7)เป็นการศึกษาตนเองด้าน“ทักษะการรับรู้”ผ่านการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง(DeepLearning)เป็นการฝึกทักษะการรับรู้การให้ความหมายเชิงคุณค่าและเป้าหมายด้วยวิธีคิดที่เป็นระบบและเชื่อมโยงการตั้งค�าถามที่ก่อให้เกิดการคิดวิเคราะห์ใคร่ครวญแสวงหาความรู้การรู้จักตนเองมองชีวิตตัวเองการรับรู ้ในอัตลักษณ์ของตนเองและการตระหนักรู ้ต่อการมองโลกจนสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุดความคิดท่ีสอดคล้องกับสถานการณ์และน�าไปสู่การสร้างสรรค์(ประภาภัทรนิยม,2554,Driks,MezirowและCraton,2006และCrantonและCarusetta,2004) จากลักษณะของการสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญข้างต้น7ประการนั้นเป็นกระบวนการที่ช่วยท�าให้เกิดการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่เห็นอย่างเด่นชัดเช่นการศึกษาตัวเองด้านอารมณ์ที่ช่วยให้บุคคลใคร่ครวญถึงเหตุแห่งความรู้สึกการศึกษาในระดับจิตที่ช่วยให้เราสงบเข้าถึงความจริงเกิดความเมตตาโดยเฉพาะตัวครูผู้สอนซึ่งจะต้องสร้างลักษณะดังกล่าวให้มีความหนักแน่นและมั่นคง

แนวทางการสะท้อนความคิดอย่างใคร่ครวญ การสะท้อนความคิดอย่างใคร ่ครวญน้ันจะประสบความมากน้อยเพียงใดน้ันต้องอาศัยทักษะหรือแนวทางที่ส�าคัญเพื่อให้การสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญเป็นไปอย่างมีระบบทั้งนี้แนวทางการสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญนั้นมีหลายวิธีการหนึ่งในแนวทางที่ส�าคัญได้แก่ระบบวิธีคิดอย่างแยบคาย(โยนิโสมนสิการ),การคิดอย่างเชื่อมโยงเป็นองค์รวม,การเรียนรู้จากธรรมชาติการฝึกปฏิบัติเจริญสติและการเจริญสมาธิผ่านการงานศิลปะตลอดจนการฝึกทักษะการน้อมใจย้อนมองตนเอง

(ประภาภัทรนิยม,2554)นอกจากนี้การสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญมีความเกี่ยวข้องกับการสืบสอบ(Inquiry)และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ(Criticalthinking)โดยเป็นการสืบสอบระหว่างความคิดและการกระท�าซึ่งท�าให้ผู้สะท้อนความคิดเรียนรู้จากการกระท�าของตนเองเรื่องที่กระตุ้นให้เกิดการสะท้อนความคิดอาจเป็นเรื่องที่ท�าให้ประหลาดใจเรื่องที่ท�าให้สนใจเรื่องที่การคิดและปฏิบัติมาส่งผลที่มีประสิทธิภาพความแตกต่างระหว่างความเป็นจริงกับอุดมคติหรือความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่คาดหวัง(Senge,1991)ทั้งนี้อาจอาศัย4ขั้นตอนที่ส�าคัญ(McKay,2002)ได้แก่(1)การระบุปัญหางานหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งมีแง่มุมให ้คิดและต้องการน�าสู ่การเปล่ียนแปลง(2)การวิเคราะห์ธรรมชาติหรือปัญหางานหรือเหตุการณ์ที่ระบุเพื่อพิจารณาหาสาเหตุที่ท�าให้เกิดปัญหารวมถึงการพิจารณาสาเหตุที่เป็นไปได้(3)การรวบรวมข้อมูลที่ช่วยให้คิดหาวิธีการท่ีแตกต่างและหลากหลายในการจัดการกับปัญหางานหรือเหตุการณ์นั้นและ(4)การแก้ปัญหาตามสมมุติฐานที่วิเคราะห์ได้จากข้อมูลที่รวบรวมมา นอกเหนือจากแนวทางดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีแนวทางที่น�าเสนออย่างเป็นรูปธรรมในรูปแบบกิจกรรมที่ช ่วยท�าให้เกิดการเรียนรู ้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในลักษณะการสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญในงานของตนเองโดยน�าเสนอเป็น2ลักษณะ(HoskissonและTomkins,1987)คือ(1)การสะท้อนคิดแบบใคร่ครวญตามล�าพังเช่นการเขียนบันทึกความคิดเห็นที่มีต่อเหตุการณ์ของครูการกระท�าต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจ�าวันอย่างต่อเนื่องการเขียนบันทึกท�าให้ผู ้บันทึกตระหนักถึงการกระท�าต่างๆที่ผ่านมาของตนมีความระลึกอยู่เสมอว่าตนเป็นใครมีความสัมพันธ ์กับบุคคลที่อยู ่แวดล้อมตนอย่างไรขณะเดียวกันก็ได้มีโอกาสหยุดคิดทบทวนวิเคราะห์เหตุการณ์การกระท�าต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตและพยายามท�าตามความเข้าใจและเรียนรู้ประสบการณ์ที่ผ่านมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการกระท�าของตนในอนาคตต่อไป(Henniger,2004)(2)การสะท้อนคิดแบบใคร่ครวญร่วมกันผ่านวิธีการต่างๆเช่นการเขียนบันทึกโต้ตอบกันแบบเขียนจดหมาย(DialogueJournal)(HoskissonandTomkins,1987 ) การสนทนาเพื่ อการแลกเป ล่ียนวิชาชีพ(Professionalconversation)โดยอ้างอิงตัวอย่าง

Page 7: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 19ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในครูทั้งนี้Clark(2001)กล่าวถึงการสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนทางวิชาชีพว่าต้องมีองค์ประกอบคือ(1)เริ่มจากเนื้อหาที่มีคุณค่าเพียงพอที่จะพูดถึงสามารถกระตุ้นให้คนต้องการร่วมสนทนาโดยอาจเร่ิมต้นด้วยการอ่านหนังสือหรืองานที่เขียนดีที่กระตุ้นให้คิดการเล่าเรื่องราวของบุคคลเล่าปัญหาที่หาทางแก้ไขไม่ได้(2)ต้องมีลักษณะเชิญชวนไม่ใช่ค�าสั่ง(3)เกิดจากความสมัครใจของผู ้ร ่วมสนทนา(4)มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแง่ของคุณค่าความคิดความกลัวโดยใช้ภาษาท่ีเป็นท่ีเข้าใจของกลุ่มสนทนานั้น(5)เกิดขึ้นในบรรยากาศที่ท�าให้รู้สึกปลอดภัยไว้วางใจและมีการเอาใจใส่สถานที่และเวลาที่เหมาะสมและมีความสะดวก(6)เม่ือเวลาผ่านไปการสนทนาจะพัฒนาขึ้นในแง่ของความซับซ้อนความลึกซ้ึงและเปิดใจยอมรับต่อความไม่แน่นอนผู้ร่วมสนทนาจะกล้าที่จะไม่เห็นด้วยมากขึ้นในขณะท่ีความสัมพันธ์ของกลุ่มยังคงด�าเนินต่อไปและ(7)การสนทนาท่ีดีน�าไปสู่การสะท้อนความคิดเพื่อการจัดการตนเองในเรื่องของการปฏิบัติในอนาคตต้องไม่ใช่เวทีของการสนทนาในการบ่นเกี่ยวกับความยุติธรรมต่างๆหรือใช้เพื่อการหลีกเลี่ยงจากการท�างาน จากประเด็นข ้างต ้นสามารถสรุปได ้ว ่าการสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญนั้นเป็นการมองและวินิจฉัยตนเองโดยผ่านระบบการคิดท่ีเป็นระบบเพื่อให้รู ้ทันอารมณ์เข้าใจจิตโดยอาศัยวิธีการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ต้องเชื่อมโยงกับบริบทและปัจจัยภายในและภายนอกผ่านการเรียนรู้ท่ีลึกซ้ึงโดยการทบทวนอย่างถ่องแท้ในเหตุและผลน้ันๆเพื่อให้เห็นคุณค่าที่แท้จริงทั้งนี้การสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญจ�าเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะต่างๆอย่างเป็นระบบและหลากหลายวิธีการเช่นการอาศัยชุมชนวิชาชีพการจดบันทึกต่างๆหรือการร่วมสนทนากลุ่มเป็นต้น 2. การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์นั้นเป็นองค์ประกอบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งเน้น“การศึกษาตนเองอย่างลึกซึ้ง”โดยมีลักษณะส�าคัญคือ(1)เป็นการ“พิจารณาไตร่ตรองประสบการณ์การเรียนรู้”เกิดจากการที่บุคคลสร้างความหมายโดยการคิดไตร่ตรองตนเองและการสนทนากับกลุ่มอาจเป็นการคิดและถ่ายทอดออกมาเป็นการพิจารณาไตร่ตรองเชิงวิพากษ์หรือการ

ตั้งค�าถามเกี่ยวกับการบูรณาการข้อสันนิษฐานและความเชื่อบนฐานของประสบการณ์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความรู้สึกขัดแย้งทางความคิดอารมณ์และการแสดงออกซึ่งความขัดแย้งนี้เป็นผลจากความรู้ที่ผิดไปจากความจริง(ธรรมชาติและการใช้ความรู้)จิตศาสตร์(การแสดงออกที่ไม่ตรงกับมโนทัศน์ของตนเอง)และภาษาทางสังคม(กลไกที่สังคมและภาษาจ�ากัดการรับรู ้)(2)เป็น“จุดเริ่มต้นของการเรียนรู ้กรอบอ้างอิงของตนเอง”เพราะประสบการณ์จะต้องถูกตีความและรับรู้ผ่านกรอบอ้างอิงหากกรอบอ้างอิงที่มีอยู่สามารถอธิบายประสบการณ์ได้ดีประสบการณ์นั้นจะกลับไปเสริมกรอบอ้างอิงเดิมแต่ถ้าประสบการณ์น้ันไม่สอดคล้องกับกรอบอ้างอิงเราก็จะต้องขยับขยายกรอบอ้างอิงหรือปรับเปล่ียนกรอบอ้างอิงใหม่ประสบการณ์จึงเป ็นจุดขับเคล่ือนให้เกิดการเปล่ียนแปลงเป็นส่ิงท่ีสามารถน�ามาใคร ่ครวญและกระตุ ้นให ้ เกิดการใคร ่ครวญจนเกิดการ เปลี่ ยนแปลงตนเอง ดั งที่Mezirow(2000)และBraudandAnderson(1998)กล่าวอย่างสอดคล้องกันว่าการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เป็นการเริ่มการเปล่ียนแปลงตัวตน(Transformationofself)การน�าพาการรู้ด้วยหัวใจเคลื่อนไปสู่ความคิดและการกระท�าเป็นการหลอมรวมส่ิงที่ได้เรียนรู้หรือมีประสบการณ์เข้าในตัวตนทันทีท�าให้ความคิดนั้นเคลื่อนผ่านความรู้สึกลงสู่ประสบการณ์ที่มีชีวิตหรือการกระท�านั่นคือการเปล่ียนแปลงตัวตนที่เป็นการเปล่ียนแปลงทางป ัญญาและความรู ้ สึกของผู ้ค ้นหา (3) เป ็น“กระบวนการการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว”ผ่านกระบวนการใคร่ครวญที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวอย่างจริงจังเป็นผลของประสบการณ์สะสมที่ค่อยๆก่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงหรือเกิดขึ้นอย่างฉับพลันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนและอาจเกิดได้ทั้งจากการปรับกรอบอ้างอิงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเชิงภววิสัยคือการใคร่ครวญเก่ียวกับข้อสรุปหรือสมมุติฐานของบุคคลอื่นจากการอ่านการวิเคราะห์ปัญหาหรือการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเช่นการเรียนรู้ในชุมชนและการปรับกรอบอ้างอิงภายในของตนเองเช่นเกิดการตีความเรื่องราวชีวิตของตนเองใหม่เกิดจิตส�านึกทางการเมืองสังคมและวัฒนธรรมใหม่มองบทบาทของตนทั้งในการท�างานและความสัมพันธ์ส่วนตัวใหม่ทบทวนกระบวนการเรียนรู้และกรอบอ้างอิงของตนเองใหม่

Page 8: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี20 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

(Mezirow,2000)เป็นต้น(4)เป็น“การเรียนรู้กับการปฏิบัติจริง”(Learningbydoinginreal-l i feexperiences)(ประภาภัทรนิยม,2554)สอดคล้องกับLewisและWilliams(1994)ท่ีกล่าวว่าเป็นการ“น�าตนเองเข้าสัมผัสกับประสบการณ์ตรง”เพื่อให้เกิดการคิดใคร ่ครวญต ่อประสบการณ ์นั้นๆโดยหวั งว ่ าประสบการณ์การเรียนรู้ดังกล่าวจะน�าไปสู่การพัฒนาทักษะทัศนคติหรือวิธีคิดใหม่ๆ(5)เป็น“การเรียนรู้ตลอดชีวิตของบุคคล”ที่จ�าเป ็นต ้องฝ ึกใคร ่ครวญระหว่างฝึกปฏิบัติงานหรือสถานการณ์ต่างๆอย่างมีวิจารณญาณต่อการปฏิบัติงานจึงจะเกิดการเรียนรู้ท่ีแท้จริงน�าไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการท�างานของตนเอง(CrantonและCarusetthva,2004,GenerettและHicks2004และHalen-Faber,1997)และ(6)เป็น“การเปลี่ยนแปลงตัวตน”(Transformationofself)น�าพาการรู้ด้วยหัวใจเคลื่อนไปสู่ความคิดและการกระท�าหลอมรวมสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์เข้าในตัวตนทันทีท�าให ้ความคิดน้ันเคลื่อนผ่านความรู ้สึกลงสู ่ประสบการณ์ที่มีชีวิตหรือลงมือกระท�านั่นคือการเปลี่ยนแปลงตัวตนที่เปลี่ยนแปลงทางปัญญาและความรู ้สึกผ ่านประสบการณ์จริงของชีวิต(BraudและAnderson,1998)ลักษณะของการเรียนรู ้ผ ่านประสบการณ์ข้างต้น6ประการเป็นการเรียนรู ้ผ่านประสบการณ์ส่งผลในแง่ของการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เช่นการพิจารณาไตร่ตรองประสบการณ์การเรียนรู้ย่อมมีผลต่อการปรับเปล่ียนตัวเองให้ดีขึ้นผ่านการตั้งค�าถามเชิงวิพากษ์การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ซึ่งมีการน�าพาตัวเองเข้าสู่ประสบการณ์โดยตรงท�าให้เกิดการลองผิดลองถูกสามารถรับรู้ผลของการกระท�าว่ากระทบตนเองอย่างไรท�าให้เกิดปรับเปลี่ยนพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของชีวิตท่ีไม่มีวันหยุดการพัฒนาจึงเกิดขึ้นเรื่อยๆเป็นต้น

แนวทางการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยการเรียนรู้ผ ่านประสบการณ์น้ันจ�าเป็นต้องอาศัยทักษะต่างๆรวมถึงแนวทางที่ส�าคัญที่จะช่วยท�าให้บุคคลสามารถเรียนรู ้ได้อย่างลึกซึ้งทั้งนี้ครูหรือบุคคลสามารถที่จะเรียนรู้ได้ผ่านแนวทางต่างๆที่แตกต่างกันเช่นKolb

(1984)และSmith(2001)ได้น�าเสนอให้มองการเรียนรู้ในฐานะกระบวนการที่ความรู ้ถูกสร ้างข้ึนจากการเปล่ียนผ่านของประสบการณ์(Transformationofexperience)และการเรียนรู้ที่แท้จริงนั้นสามารถอธิบายได้โดยแบ่งเป็น4ขั้นตอนคือ(1)การมีประสบการณ์ในเชิงรูปธรรม(Concreteexperiences)(2)การสังเกตอย่างใคร่ครวญ(Reflectiveobservation)(3)การสร้างมโนทัศน์ในเชิงนามธรรม(Abstractconceptualization)(4)การทดลองด้วยตนเอง(Activeexperimentation)หรือน�าความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงในที่น้ีอาจน�าการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไปทดสอบส่ิงที่ได้เรียนรู้มากับสถานการณ์อื่นๆที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในแง่นี้จะเกิดประสบการณ์ในเชิงรูปธรรมที่วนกลับเป็นวงจรเช่นเดิมแต่มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ(Grabove,1997)ส่วนธนานิลชัยโกวิทย์และคณะ(2550)น�าเสนอแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์โดยการสร้างชุมชนเรียนรู้ผ่านการสร้างหลักการปฏิบัติร่วมกัน(CommunityofPractice:COP)โดยคุณลักษณะครูผู้อ�านวยให้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์น้ันจ�าเป็นต้องมีลักษณะดังนี้(1)ครูจะคอยเฝ้าสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของศิษย์(Cohen,1997)(2)ครูอาศัยความสามารถในการสัมผัสอารมณ์และความรู้สึกที่แท้จริงของศิษย์(Dirkx,1997)(3)ครูเรียนรู ้และร่วมท�างานไปกับผู้เรียนด้วยสัมพันธภาพที่ดี(CrantonและWright,2008)(4)ครูให้ก�าลังใจสนับสนุนศิษย์ให้เผชิญกับจุดเปล่ียนท�าให้ศิษย์ค้นพบความกล้าหาญในความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง(Berger,2004)(5)ครู เรียนรู ้ที่จะใช ้ประสบการณ์ของศิษย ์มาพัฒนาจิตวิญญาณตนเองให้เติบโต(Dirkx,1997)และ(6)ครูฝึกการใคร่ครวญระหว่างการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนบันทึกประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียนมาสะท้อนเป็นการเรียนรู้ของครู(Halen-Faber,1997) จากแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบการเรียนรู ้ผ่านประสบการณ์สามารถสรุปได้ว่าเป็นกระบวนการที่บุคคลนั้นให้ความส�าคัญกับการไตร่ตรองประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเองเนื่องจากประสบการณ์ของบุคคลจะถูกเปล่ียนแปลงไปสู่กรอบแนวคิดในการอ้างอิงที่ใช้ก�ากับความเช่ือวิธีคิดและการตัดสินคุณค่าของบุคคลการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจะกระตุ้นให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เข้าใจการรับรู้ของตัวตนซึ่งจะน�าไปสู่การ

Page 9: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 21ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

เปล่ียนแปลงทางปัญญาท้ังน้ีการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจะเกิดขึ้นได้ดีนั้นต้องอาศัยแนวทางในเชิงบูรณาการเช่นการเรียนรู้โดยผ่านการปฏิบัติจริงเป็นต้น

3. การเรียนรู้ผ่านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ การเรียนรู้ของครูท่ีมีผลต่อผู้เรียนสูงสุดทั้งในด้านความรู้และความเข้าใจและความจ�านั้นเกิดจากการถ่ายทอดความรู้สู ่ผู ้อื่นนับว่าเป็นการเรียนรู ้ขั้นที่ยากที่สุดเพราะไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดในลักษณะการสอนกิจกรรมหรือการน�าเสนอในรูปแบบใดใช้ส่ือหรือเครื่องมือสื่อสารทางเทคโนโลยีใดๆเข้าช่วยก็ตามล้วนเป็นภาวะโอกาสที่ผู้ถ่ายทอดจ�าต้องประมวลความรู้ของตนเองอย่างเป็นระบบชัดเจนได้ใจความท่ีส�าคัญ(Criticalthinking)มีล�าดับข้ันตอนท่ีดีเห็นภาพรวมและองค์ประกอบย่อยๆที่จะท�าให้การถ่ายทอดนั้นๆบรรลุเป้าหมายท�าให้ผู ้รับเกิดความเข้าใจหรือเห็นความส� าคัญ เกิดความสนใจในเรื่ องดั งกล ่ าวได ้(ประภาภัทรนิยม,2554)การเรียนรู้ผ่านการสื่อสารอย ่ า ง ส ร ้ า ง ส ร ร ค ์ ( I n t e r c onne c t i n g a ndCommunicativeLearning)เพื่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงอย่างต่อเนื่องจ�าเป็นต้องใช้เครื่องมือหรือกระบวนการที่ท�าให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ลักษณะส�าคัญของการเรียนรู ้ผ่านสื่อสารอย่างสร้างสรรค์คือ(1)เป็นการเรียนรู ้ที่ “เชื่อมโยงสื่อสารร ่วมกัน”และเป็นการเปลี่ยนแปลงท้ังตนเองและผู้อื่นท้ังน้ีเม่ือเกิดการแบ่งปันสิ่งท่ีได้จากการเรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลงกับผู้อื่นผู้นั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นกันการที่ครูได้แบ่งปันเปิดใจกว้างเอ้ือเฟื้อเมตตาและช่วยเหลือผู้อื่นสิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างให้เกิดความเมตตาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับทุกคนไม่เฉพาะกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้นแต่เป็นการเปลี่ยนทั้งระบบกล่าวได้ว่าการสื่อสารและการแบ่งปันเรื่องราวสามารถขยายวงของการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนร่วมทุกคน(BraudและAnderson,1998)(2)เป ็นการเรียนรู ้ “ผ ่านการสนทนาเชิงเหตุผล”(Rationaldiscourse)เป็นการสนทนาโต้ตอบเพื่อประเมินเหตุผลที่สนับสนุนการแปลความหมายโดยการตรวจสอบหลักฐานอย่างไตร่ตรองการโต้เถียงและมุมมองทางเลือกที่หลากหลายเป็นความจ�าเป็นระดับกลางของการเปลี่ยนแปลงท่ีได้รับการสนับสนุนและพัฒนาขึ้นเมื่อเราใช้เหตุผลในการตั้งค�าถามเก่ียวกับ

ความเข้าใจความจริงความเหมาะสม(ในส่วนที่เกี่ยวกับศีลธรรม)และความจริง(ในส่วนที่เกี่ยวกับความรู้สึก)Imel(1998)เช่นเดียวกับMezirow(1997)ที่ได้อธิบายว่าการสนทนาแลกเปล่ียนเรียนรู้เป็นแลกเปล่ียนทางความคิดอย่างมีเหตุผล(Rationaldiscourse)(Taylor,1997)โดยร่วมอภิปรายแง่มุมต่างๆของการศึกษาที่เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปล่ียนแปลงเช่นการพูดคุยและการเขียนบทความแลกเปลี่ยนกันการเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะกลุ่มการฝึกให้ความหมายกับประสบการณ์ในอดีตของตนผ่านการร่วมสนทนาเรียนรู ้ในลักษณะกลุ ่มภายใต้สภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการเรียนรู้(Ziegler,PaulusและWooside,2006)(3)เป็นการเรียนรู้ภายใต้“บรรยากาศที่สร้างสรรค์คือเป็นบรรยากาศการเรียนรู้แบบประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ที่อบอุ่นจริงใจมีความไว้วางใจเห็นอกเห็นใจและใส่ใจกันและกันรวมทั้งมีการแสดงความรู้สึกที่แท้จริงเป็นสิ่งที่มีความส�าคัญต่อการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงมากนอกจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกลุ่มที่มีการแลกเปล่ียนเรียนรู ้จากกันและร ่วมเรียนรู ้ ในสถานการณ์จริงมีการเปิดเผยตัวตนและกล้าเผชิญและจัดการกับความขัดแย้งในกลุ ่มโดยไม่หลีกเลี่ยงก็เป็นปัจจัยส�าคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะท�าให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง(Mezirow,2000)(4)เป็น“การส่ือสารเพื่อสร้างวัฒนธรรมแห ่งการเรียนรู ้” ( Interconnect ingCommunicationforLearningCulture)เป็นการพัฒนาการสื่อสารให้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ที่เกิดจากกระบวนการแลกเปล่ียนเรียนรู้2ทางและฝึกทักษะที่หลากหลายสามารถสร้างองค์ความรู้ของตนเองได้อันเป็นพื้นฐานของ“สังคมฐานความรู้(Knowledge-basedSociety)”ที่เข้มแข็งเป็นการจัดการศึกษาที่ตั้งอยู่บนฐานทางศีลธรรมและจรรยาบรรณซ่ึงเป็นพื้นฐานส�าคัญของการท�างานและการใช้ชีวิตในทุกมิติ(ประภาภัทรนิยม,2554)(5)เป็นการเรียนรู้ที่ใช้การ“ทบทวนประสบการณ์ร่วมกัน”เป็นพื้นที่ของการเชื่อมโยงประสบการณ์ในกระบวนการเข้าสู่ชีวิตโดยบางครั้งอาจจะมีผู้เอื้ออ�านวยให้เกิดการเปล่ียนแปลงหรือกระบวนกรช่วยช้ีน�าหรืออาจปล่อยให้ผู้เข้ารับการอบรมมีอิสระในการเชื่อมโยงด้วยตนเองหลายกระบวนการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เข้ารับการอบรมน�ากระบวนการกลับไปใช้ในชีวิตประจ�าวันเพื่อบูรณาการกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่อาทิการเจริญสติ

Page 10: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี22 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

วิปัสสนาในชีวิตประจ�าวันการสร้างชุมชนเรียนรู้ผ่านกระบวนการสุนทรียสนทนาการมีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่นยามตกทุกข์ได้ยากการคิดกระบวนกรเชิงระบบต่อเหตุการณ์ในชีวิตและการท�างานการสร้างความไว้วางใจในองค์กรการใช้ชีวิตอย่างตระหนักทุกขณะนอกจากนั้นยังต้องสร้างกระบวนการท่ีเอื้อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกันและเกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้(Learningcommunity)ร่วมกัน(6)เป็นการเรียนรู้ด้าน“ทักษะการถ่ายทอดการเรียนรู้ให้ผู้อื่นเรียนรู้ตามได้”ซึ่งจ�าเป็นต้องมีทักษะการเรียนรู้ในขั้น“สร้างองค์ความรู้”ท่ีจับต้องได้ซ่ึงเป็นการเรียกเอาศักยภาพอีกมิติหน่ึงของผู้เรียนออกมาใช้โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตั้งแต่ทักษะของการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง(DeepListening)ทักษะการจับประเด็นจัดล�าดับความส�าคัญทักษะกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยน(Dialogue)ทักษะการออกแบบสื่อประเภทต่างๆใช้เทคโนโลยีการสื่อสารซ่ึงดูผิวเผินอาจเห็นเป็นเรื่องทางเทคนิคแต่แท้จริงแล้วการจะสื่อได้ดีมิใช่อยู่ที่เทคนิคสื่อดีเท่านั้นแต่ขึ้นอยู่กับว่ามี“อะไร”จะสื่อหรือไม่มากกว่า“อะไร”ที่ว่านี้จ�าต้องมีสาระส�าคัญมีน�้าหนักพอหรือมีความเกี่ยวข้องกับผู ้รับในทางใดทางหนึ่งนอกจากน้ีแนวคิด(Concept)ของการน�าเสนอเป็นศิลปะอย่างยิ่งท่ีผู ้สื่อจะสร้างสะพานแห่งความสัมพันธ์ให้กับผู้รับได้เพราะสื่อท่ีกินใจประทับใจจะสร้างความรู้สึกที่เข้าถึงกันและกันระหว่างผู้สื่อและผู้รับยิ่งให้สาระแห่งการสื่อนั้นมาจากความจริงใจและตั้งใจของผู้สื่อด้วยแล้วก็จะยิ่งช่วยเสริมให้เกิดการรับรู้ได้อย่างเต็มใจอย่างยิ่ง(ประภาภัทรนิยม,2554)

แนวทางการเรียนรู ้ผ ่านการสื่อสารอย ่างสร้างสรรค์ เช่นเดียวกันกับองค์ประกอบอื่นๆในการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยผ่านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์นั้นจ�าเป็นต้องบูรณาการแนวทางการเรียนรู้ต่างๆที่หลากหลายได้แก่การระดมความคิดการสนทนาการสื่อสารด้วยใจและความรู้สึกเพื่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์รวมหมู่(CollectiveCreativity)ที่แตกต่างจากพลังสร้างสรรค์ของปัจเจกชนโดยพลังของสุนทรียสนทนาหรือการเรียนรู้การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์(มนชัยพินิจจิตรสมุทร,2543)ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังน้ีคือ(1)

ก�าหนดแนวทางในรูปแบบที่สร้างสรรค์ความคิดร่วมที่ไปไกลกว่าการระดมความคิด(Brainstorming)กล่าวคือเป็นการขยายขอบเขตไปสู่สิ่งลุ่มลึกภายในตนเป็นการแลกเปล่ียนการรับรู้ที่เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นและองค์ความรู้ภายในบุคคลเป็นกระบวนการที่น�าความรู้ที่อยู่ในตัวคนออกมาปรากฏให้เป็นที่ชัดแจ้งโดยใช้กระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลซ่ึงอาจจะอยู ่ภายในหน่วยงานหรือชุมชนเดียวกัน(2)อาศัยการพูดคุยภายในกลุ่มเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันการสนทนาที่สมมติฐาน(Assumption)ของตนเองและของผู้อื่นและ“วาง”ไว้ภายในบุคคลและเกิดกระแสการไหลของความหมายความคิดความเข้าใจระหว่างบุคคลภายในกลุ่ม(3)สร้าง“วิธีการส่ือสารด้วยจิตใจ”ในวงสนทนาสนทนาหน่ึงมีการแลกเปล่ียนความคิดกันอย่างกว้าง(4)น�ากระบวนการคิดร่วมกันของผู้คนมาใช้ซึ่งส่ิงที่เด่นชัดในบรรยากาศของกระบวนการนี้คือการเปิดใจสนทนากันการรับรู้ได้ว่าเกิดความคิดร่วมที่มีพลังและรับรู้ถึงความเข้าใจระหว่างกันกระบวนการสนทนาแบบนี้จะไม่มีการก�าหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายรวมทั้งไม่เป็นลักษณะของการระดมความคิด(Brainstorming)เพ่ือแก้ไขปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยการร่วมกันสร้างให้เกิดบรรยากาศแห่ง“อิสระ”ให้มากที่สุด(5)การน�าไปสู่การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของบุคคลและสร้างความรู้สึกไว้วางใจระหว่างกันท�าให้บรรยากาศการพูดคุยแตกต่างออกไปทุกคนเกิดความรู้สึก“ร่วมกัน”ความรู้สึกร่วมยินดีดีใจหากใครบางคนประสบผลส�าเร็จในเรื่องใดเรื่องหน่ึงความรู้สึกร่วมเห็นใจในปัญหาและให้ก�าลังใจในการฟันฝ่าอุปสรรคของสมาชิกคนใดคนหนึ่งทุกคนจะรู้สึกร่วมอย่างมีพลังสร้างสรรค์ที่ผสานไปด้วยกัน(6)สร้างการรับรู้เปิดรับเอาความคิดเห็นของทุกคนให้ข้อมูลเหล่านั้นไหลเข้าสู่ตนอย่างเต็มเปี่ยมรวมทั้ง“วาง”สมมติฐานของตนเองไว้พร้อมกับ“วาง”การตัดสินและปฏิกิริยาในใจไว้ด้วยเช่นกันการปล่อยวางสมมติฐานอันเป็นฐานความคิดทัศนะมุมมองที่ใช้ตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง(7)มุ่งสู่กระบวนการคิดทั้งหมดเป็นการเปลี่ยนมุมมองที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางเข้าไปสู ่กระบวนการคิดที่ยึดถือผลได้ของส่วนรวมเป็นศูนย์กลางและเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดร่วมกันของเราจากความคิดที่เราจะมุ ่งที่“เนื้อหา”มากกว่า“กระบวนการ”โดยปราศจากการท�าความ

Page 11: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 23ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

เข้าใจถึงอิทธิพลของสมมติฐานท่ีมีต่อทัศนะของเราและ(8)สร้างภาวะที่เราตั้งใจฟังความคิดเห็นและ“ละวาง”สมมติฐานไว้การไม่ตัดสินว่าผิด-ถูก,ดี-ไม่ดี,และใช้ได้-ใช้ไม่ได้หรืออื่นๆอย่างไรก็ตามขณะที่เราอยู่ในสภาวะ“รู ้”พร้อมอยู่ทุกขณะจิตเราก�าลังสร้างส่ิงที่เรียกว่า“ความรู้ตัวทั่วพร้อม(Consciousness)”ที่รู้ตัวว่าตนก�าลังท�างานรู้สึกหรือนึกคิดสิ่งใดณวินาทีที่เป็นปัจจุบันนั้นเม่ือเริ่มมีทักษะการฟังอย่างละเอียดเกิดขึ้นข้อมูลที่รับเข้ามาจะกระตุ้นความรู้สึกภายในทั้งนี้แนวทางเหล่านี้จะช่วยให้บุคคลโดยเฉพาะครูผู้สอนสามารถที่จะเรียนรู้ผ่านการส่ือสารอย่างสร้างสรรค์ระหว่างกันได้อย่างเกิดคุณภาพ จากแนวคิดข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าการเรียนรู้ผ่านสื่อสารอย่างสร้างสรรค์มีผลต่อการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของครูซ่ึงจะส่งผลต่อผู ้เรียนโดยตรงเนื่องจากต้องใช้การเช่ือมโยงสื่อสารร่วมกันเป็นการแลกเปลี่ยนตนเองและผู ้อื่นเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งตนเองและผู้อื่นการสนทนาเชิงเหตุผลเป็นการตรวจสอบมุมมองและการสร้างทางเลือกท่ีหลากหลายการทบทวนประสบการณ์ร่วมกันเป็นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติสิ่งที่ดีต่างๆร่วมกันเป็นต้นล้วนเป็นตัวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในแก่ผู้ร่วมเรียนในแง่ของการพัฒนาความเป็นมนุษย์ทั้งสิ้นท้ังนี้ต้องอาศัยแนวทางการสื่อสารที่หลากหลายเพื่อเติมให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: หลักการและแนวคิดสู่การปฏิบัติจริง จ ากการน� า เ สนอมุ มมอง เกี่ ย วกั บนิ ย ามองค์ประกอบและแนวทางเพ่ือมุ่งสู่การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของครูน้ันจะเห็นได้ว่าแนวคิดเหล่านั้นมีลักษณะที่เป็นนามธรรมแต่หากครูหรือนักการศึกษาท�าความเข ้าใจในวิธีปฏิบัติแล ้วจะช่วยสร ้างให ้ครูเปลี่ยนแปลงกรอบแนวคิดของตนเองและสามารถที่จะสร้างความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองได้อย่างลึกซึ้งและเกิดประโยชน์ครูเองและผู้เรียนในภาวการณ์เรียนรู้ในศตวรรษที่21ที่ครูจ�าเป็นต้องมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งเป็นระบบเต็มไปด้วยคุณค่าก่อนก่อนที่จะถ่ายทอดไปสู่ไปเรียนท้ังน้ีต้นแบบของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจึงอยู่ที่ตัวครูเป็นส�าคัญหากครูสามารถ

ประยุกต์และตระหนักรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการสร้างความรู้อย่างลึกซึ้งและถ่องแท้แล้วย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการการเรียนการสอนและมวลประสบการณ์ที่ครูจะเป็นผู้จัดให้กับนักเรียนทั้งนี้ครูผู้สอนจะต้องตระหนักในองค์ประกอบรวมถึงแนวปฏิบัติดังกล่าวอย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลงที่จะมุ ่งสู ่การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของครูและศิษย์ในศตวรรษที่21น้ันจ�าเป็นต้องอาศัยแนวปฏิบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้คือ 1. ครูต ้องตระหนักว ่าความรู ้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาการสร้างการเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลงนั้นจึงจ�าเป็นต้องอาศัยช่องทางของการรับรู้ในองค์ความรู้ที่มีความพลวัตรซึ่งครูต้องมีการปรับตัวและกระตือรือร้นต่อกระแสของความรู้ตลอดเวลา 2. การเรียนรู ้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องของกระบวนการที่มีความซับซ้อนครูผู้สอนต้องเปิดใจกว้างในการรับรู้และสร้างความรู้อีกทั้งจ�าเป็นต้องอาศัยเวลาและไม่สามารถที่จะสร้างให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งได้ในช่วงเวลาสั้นๆแต่จ�าเป็นต้องอาศัยทักษะในการฝึกฝนการใคร่ครวญอย่างต่อเนื่อง 3. การเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลงในตัวครูจะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมและผลลัพธ์จากประสบการณ์ในเชิงบวกจะเกิดกับผู้เรียนอย่างแท้จริงจ�าเป็นต้องอาศัยการบูรณาการองค์ประกอบต่างๆในการเรียนรู้ทั้งในมิติของการสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญการเรียนรู ้ผ ่านประสบการณ์ตรงทั้งของตนเองและบุคคลอื่นรวมถึงการเรียนรู้ผ่านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ซึ่งครูต้องเปิดใจกว้างและไม่เป็นน�้าที่เต็มแก้วและใช้สติและปัญหาในการทบทวนไตร่ตรองการสร้างกรอบแนวคิดของตนเองอยู่ตลอดเวลา 4. ความรู ้ในโลกมีอยู ่อย่างหลากหลายแนวปฏิบัติในการเข้าถึงการเรียนรู้ก็มีอยู่อย่างหลากหลายในการประยุกต์ใช้ครูผู้สอนต้องไม่ติดกับดักแนวคิดหรือแนวปฏิบัติใดปฏิบัติหนึ่งจนเกินไปแต่ควรสร้างให้เกิดความยืดหยุ่นในตัวตนไม่ตึงจนเกินไปเพราะการเชื่อหรือยึดรูปแบบวิธีคิดเพื่อสร้างรูปแบบให้กับตนเองจนน�าไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดในการเรียนรู้อาจก่อให้เกิดก� าแพงขวางกั้ นจินตนาการหรือวิ ธี การอื่ นๆที่ดีกว่าได้

Page 12: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี24 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

5. การเรียนรู ้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในมิติของการน�าเสนอนี้มุ ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับจิตใจปัญญาการสร้างความรู้สึกนึกคิดและคุณค่าภายในเป็นส�าคัญซึ่งบุคคลแต่ละบุคคลจะมีวิธีการแนวคิดและแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันดังนั้นในการสร้างการเปลี่ยนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงน้ันอาจจ�าเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างโลกภายใน(จิตใจ)และโลกภายนอก(สภาพแวดล้อมของสังคมและโรงเรียน)กล่าวคือการเรียนรู้ในการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเต็มรูปแบบหากสภาพภายนอกมีความเร้าร้อนสับสนและอลหม่านระบบภายนอกขาดความชัดเจนและปราศจากการมีกฎเกณฑ์ในการท�างานร่วมกันที่ชัดเจน

บทสรุป จากการน�าเสนอความหมายลักษณะขององค์ประกอบแนวทางและกระบวนการของแต่ละองค์ประกอบของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจะเห็นได้ว่าการเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลงของครูน้ันมีความเป็นพลวัตรสูงและส่งผลโดยตรงต่อการเปล่ียนแปลงผู้เรียนในยุคศตวรรษที่21โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงจากภายในตัวตนของครูเช่นการเปลี่ยนแปลงกรอบการนิยามความหมายเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เปลี่ยนแปลงการ

ตัดสินความถูกต้องหรือผิดพลาดของตนเองจากการแลกเปล่ียนเรียนรู้กับผู้ร่วมสนทนาเปล่ียนแปลงตัวตนภายในทั้งโดยรู้ตัวและโดยไม่รู้ตัวจากการรับสื่อสร้างสรรค์เป็นต้นซ่ึงกระบวนการทั้งหมดล้วนประกอบด้วยวิถีทางที่ดึงให้บุคคลกลับมาใคร่ครวญตนเองก่อนเป็นอันดับแรกเพ่ือดูว่าตนเองน้ันมีความคิดและพฤติกรรมอย่างไรจากนั้นเป็นการแลกเปล่ียนเรียนรู้กับผู้คนรอบข้างและสัมผัสสภาพแวดล้อมต่างๆผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์จริงและการสนทนาอย่างลึกซ้ึงกับผู้อื่นเพื่อขยายกรอบการมองของตนเองและตรวจสอบพิจารณาความถูกต้องหรือผิดพลาดของตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นมีกระบวนการที่ครบในแง่ของการพัฒนาตัวตนด้านดีในมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการสะท ้อนคิดอย ่างใคร ่ครวญการเรียนรู ้ผ ่ านประสบการณ์และการเรียนรู ้ผ ่านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์จึงถือว ่ามีความจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้การเรียนรู้เพ่ือการเปลี่ยนแปลงมาใช้ในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของครูผู้ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ส�าคัญและมีบทบาทโดยตรงต่อการถ่ายความรู้สู่ศิษย์เพื่อให้เป็นบุคคลที่เปี่ยมล้นไปด้วยความรู้คุณธรรมเป็นบุคคลผู ้ ซึ่ งมีป ัญญาและทักษะในการคิดวิ เคราะห ์ จนพัฒนาเป็นผู้เรียนอิสระที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิงคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติส�านักงาน.(2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545.กรุงเทพฯ:ส�านักนายกรัฐมนตรี.ธนานิลชัยโกวิทย์,อดิศรจันทรสุข,พงษธรตันติฤทธิศักด์ิและอัญชลีสถิรเศรษฐ์.(2550).รายงานโครงการวิจัยเพื่อ พัฒนาชุดการเรียนรู้การอบรมและกระบวนการด้านจิตตปัญญาศึกษา.กรุงเทพฯ:ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.ประภาภัทรนิยม.(2554).“การศึกษาองค์รวม:การเรียนรู้ในศตวรรษที่21”.เอกสารประกอบการเสวนา “การ ปฏิรูปการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”.กรุงเทพฯ.ประเวศวะสี.(2547).การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน.ในประเวศวะสี(บรรณาธิการ)ธรรมชาติ ของสรรพสิ่ง:การเข้าถึงความจริงทั้งหมด.กรุงเทพฯ:มูลนิธิส�านึกรักบ้านเกิด.พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต).(2551).พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์.(พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ:บริษัทเอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.วิจักขณ์พานิช.(2548).การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ. ในกลุ่มจิตวิวัฒน์(บรรณาธิการ)จิตผลิบาน:อ่อนโยน ต่อชีวิตอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ.กรุงเทพฯ:อมรินทร์.

Page 13: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 25ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

วิศิษฐ์วังวิญญู.(2548).มณฑลแห่งพลัง: ญาณทัศนะแห่งการเข้าถึงตัวตนที่แท้.กรุงเทพฯ:สวนเงินมีมา.สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก.(ม.ป.ป.).คุณค่าของความเป็นมนุษย์. ธรรมศึกษามูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์.สืบค้นเมื่อ20ตุลาคม2557,จาก http://mahamakuta.inet.co.th/study/study64/mk6412.htmlเอกรินทร์สังข์ทอง.(2552).ภาวะผู้น�าเชิงกลยุทธ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม:การทบทวนแนวคิดทฤษฎีและการ ปฏิบัติ.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี.20(1),1-16.Apt,B.(2003).Transformation learning and qualitative evaluation. [online].Availablefrom: http://www.indiana.edu/-1506/transeval.html.Braud,W.&Anderson,R.(1998).Transpersonal Research Methods for the Social Sciences: Honoring Human Experience.CA:SagePublications,Inc.Berger,J.G.(2004).Dancingonthethresholdofmeaning:Recognizingandunderstandingthe growingedge.Journal of Transformative Education,2(4),336-351.Braud,W.&Anderson,R.(1998).Transpersonal Research Methods for the Social Sciences: Honoring Human Experience.CA:SagePublications,Inc.Clark,M.C.(2001).Transformative learning.InMerriam,S.B.(ed),AnUpdatedonAdultLearning Theory.SanFrancisco:Jossey-Bass.Cranton,P.,&Carusetta,E.(2004).Perspectivesonauthenticityinteaching.Adult Education Ouarterly,55(1),5-22.Cranton,P.,&Carusetta,E.(2004).Developingauthenticityasatransformativeprocess.Journal of Transformative Education,2(4),276-293.Cranton,P.,&Wright,B.(2008).Thetransformativeeducatoraslearningcompanion.Journal of Transformative Education.6(1).33-47.Cohen,L.R.(1997).Iain’tsosmartandyouain’tsodumb:Personalreassessmentintransformative learning.New Directions for Adult and Continuing Education.74(Summer).61-68.Dirkx,J.M.(1997).Nurturingsoulinadultlearning.New Directions for Adult and Continuing Education.74(Summer):79-88.Dirkx,J.M.,Mezirow,J.,&Cranton,P.(2006).Musingandreflectionsonthemeaningcontextand processoftransformativelearning:AdialoguebetweenJohnM.DirkxandjackMezirow. Journal of Transformative Education.4(2),123-139.Generett,G.G.,&Hicks,M.A.(2004).Beyondreflectivecompetency:Teachingforaudacious hope-action.JournalofTramsformativeEducation,2(3),187–203.Grabove,V.(1997).Themanyfacetoftransformativelearningtheoryandpractice.New directions for Adult and Continuing Education,74(Summer),89-96.Halen-Faber,C.V.(1997).Encouragingcriticalreflectioninpreserviceteachereducation:Anarrative ofapersonallearningjourney.New Directions for Adult and Continuing Education, 74(Summer),51-60.Hoskisson,K.,&Tompkins,G.E.(1987).Language arts: Content and teaching strategies.Ohio: MerrillPublishing.Imel,S. (1998).Transformative learning in adulthood (Online) Available from: http://www.ericfacility.net/databases/ERICDigests/ed423426.html.2003.September8.

Page 14: Transformative Learning and Humanized Educare Development ...edujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/... · Transformative learning can be summed into 3 elements and 3 methods

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี26 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

Kegan,R.(1994).In Over Our Heads: The Mental Demands of Modern Life.Cambridge: HarvardUniversityPress.Kolb,D.A.(1984).Experiential Learning: Experience as the source of learning and development. NewJersey:PrenticeHall.Krathwohl,D.R.,Bloom,B.S.,&Masia,B.B.(1964).Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals, Handbook 2:Affectivedomain.NewYork:DavidMckay.Lewis,L.&Williams,C.(1994).ExperientialLearning:PastandPresent,inL.Jackson&R.Caffarella (eds.)Experiential Learning: A New Approach, CA: Jossey-Bass,pp.5–16.Mckay,S.I.(2002).The reflective teacher: A guide to classroom research.Singapore:SEAMEO RegionalLanguageCentre.Mezirow,J.(1978).PerspectiveTransformation.Adult Education.28:100–110.Mezirow,J.(1997).TransformativeLearning:TheorytoPractice,inP.Cranton(ed.)Transformative Learning in Action: Insights from Practice,NewDirectionsforAdultandContinuing Educationno.74:5–12.______.(1997).Transformativelearning:Theorytopractice,inP.Cranton(ed.)Transformative learninginaction:InsightsfromPractice,New Directions for Adult and Continuing Education74,CA:Jossey-Bass.Mezirow,J.(2000).LeaningtothinklikeanAdult’InMezirow,J.andAssociates(ed.).Learning as Transformation.SanFrancisco,CA:Jossey-Bass:3-33Smith,M.K.(2001).David A. Kolb on experiential learning. the Encyclopedia of Informal Education.Retrievedfromhttp://www.infed.org/b-explanation.htm.Taylor,K.,Marienau,C.,&Fiddler,M.(2000). Devaloping adult learners.Sanfrancisco,CA: Jossey-Bass.Toylor,EW,(1997).Buildinguponthetheoreticaldebate:Acriticalreviewoftheempirical studiesofMezirow’stransformativelearningtheory.Adult Education Quarterly,48(t), 34-59.Zajonc,A.(2006).Spirituality in Higher Education.RetrievedJune17,2008,fromhttp://www.amherst.edu.