gas law 1 กฏของก าซ - rangsit university · gas law ผศ.ปรียา...

21
Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 1 1 กฏของกาซ Gas Law เนื้อหาในบทเรียน 1. กฎของกาซ 1.1 กฎของบอยล 1.2 กฎของชารลส 1.3 กฎของเกย ลุสแซก 2. สมมติฐานของอาโวกาโดร 3. แบบจําลองและทฤษฎีจลนของกาซอุดมคติ 3.1 แบบจําลองของกาซอุดมคติ 3.2 ทฤษฎีจลนของกาซ 4. อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลกาซ 5. พลังงานจลนเฉลี่ยและพลังงานภายในระบบของ โมเลกุลกาซอุดมคติ 6. การแจกแจงพลังงานและความเร็วในโมเลกุลกาซ 7. สมการของแวนเดอรวาลส

Upload: others

Post on 17-May-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

1

1

กฏของกาซ

Gas Law

เนื้อหาในบทเรียน

1. กฎของกาซ

1.1 กฎของบอยล

1.2 กฎของชารลส

1.3 กฎของเกย ลุสแซก

2. สมมติฐานของอาโวกาโดร

3. แบบจําลองและทฤษฎีจลนของกาซอุดมคต ิ

3.1 แบบจําลองของกาซอุดมคติ

3.2 ทฤษฎีจลนของกาซ

4. อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลกาซ 5. พลังงานจลนเฉลี่ยและพลังงานภายในระบบของ โมเลกุลกาซอุดมคติ 6. การแจกแจงพลังงานและความเร็วในโมเลกุลกาซ 7. สมการของแวนเดอรวาลส

Page 2: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

2

2

กาซประกอบดวยอนุภาคเล็กมากจํานวนมากมาย โดยแตละอนุภาคเรียกวาโมเลกุล โดยโมเลกุลของกาซจะอยูหางกันมากกวาโมเลกุลของของแข็งและของเหลว เน่ืองจากแรงยึดเหน่ียวระหวางโมเลกุลของกาซมีคานอยมาก ทําใหโมเลกุลของกาซเคล่ือนที่ตลอดเวลา โดยมีทิศทางไมแนนอน กาซสามารถฟุงกระจายไดงาย ความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิมีผลทําใหสมบัติตาง ๆ ของกาซเปล่ียนไป

1. กฎของกาซ

ในการศึกษาเกี่ยวกับสมบัติของกาซ เราสามารถจัดแบงกาซออกเปน 2 ชนิด คือ

• กาซอุดมคติ (Ideal Gas) หมายถึง กาซที่ถูกสมมติขึ้นเพ่ือใชอธิบายคุณสมบัติตาง ๆ ของกาซโดยไมวาที่สภาวะใดก็ตามกาซนี้จะเปนไปตามกฎตางๆ ของกาซ ซ่ึงกาซนี้ไมมีอยูจริงในธรรมชาติ

• กาซจริง (Real Gas) หมายถึง กาซที่มีอยูทั่วไปในธรรมชาติ เชน O2 , CO2 เปนตน โดยกาซน้ีไมเปนไปตามกฎของกาซ ยกเวนเมื่ออุณหภูมิสูงและความดันตํ่า กาซจริงจะมีสมบัติใกลเคียงกับกาซอุดมคติ

ซ่ึงในการอธิบายกฎตาง ๆ ของกาซ นักวิทยาศาสตรหลายทานไดทําการทดลองและใช

กาซอุดมคติในการอธิบาย ดังน้ี

1.1 กฎของบอยล (Boyle’s Law) เปนกฎที่ใชอธิบายความสัมพันธระหวางความดันและ

ปริมาตรของกาซ โดยผูที่คนพบกฎน้ีคือ โรเบริต บอยล (Robert Boyle) พบวา “เมื่ออุณหภูมิและมวลของกาซคงที่ ความดันสัมบูรณของกาซจะแปรผกผันกับปริมาตรของกาซ” หมายความวา เมื่อความดันสัมบูรณมีคาเพ่ิมขึ้น จะมีผลทําใหปริมาตรของกาซลดลง ดังรูปที่ 13.1

Page 3: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

3

3

P

V1

รูปท่ี 1 แสดงการทดลองของบอยล

ถาให P แทนความดันสัมบูรณของกาซ , V แทนปริมาตรของกาซ และ T แทนอุณหภูมิของกาซจะได

ท่ี T คงที่ P α V1

หรืออาจเขียนไดวา PV = k เมื่อ k แทนคาคงที่ โดยจะพบวาท่ีอุณหภูมิคงท่ี ผลคูณระหวางความดันสัมบูรณกับปริมาตรของกาซใด ๆ มีคาคงที่ ซ่ึงถาความดันของกาซเปลี่ยนแปลงจาก P1 เปน P2 ปริมาตรของกาซจะเปลี่ยนจาก V1 เปน V2 จะได P1V1 = P2V2 (1)

1.2 กฎของชารลส (Charles’s Law) เปนกฎที่ใชอธิบายความสัมพันธระหวางปริมาตร

และอุณหภูมิของกาซ โดยผูที่คนพบกฎนี้คือ Jacques Charles พบวา “ถาใหความดันและมวลของกาซคงที่ ปริมาตรจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิองศาสัมบูรณของกาซ” สามารถเขียนความสัมพันธไดดังน้ี ท่ี P คงที่ V α T

โดยที่ kTV

= ซ่ึง k เปนคาคงที่ เมื่อความดันและมวลของกาซคงที่ ถาปริมาตรของกาซ

เปลี่ยนจาก V1 เปน V2 และอุณหภูมิของกาซเปล่ียนจาก T1 เปน T2 จะได

Page 4: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

4

4

1

1

TV =

2

2

TV (2)

V T(K)

รูปท่ี 13.2 แสดงการทดลองของชารลส

1.3 กฎของเกย ลุสแซก (Gay Lussac’s Law) เปนกฎที่ใชอธิบายความสัมพันธระหวาง

ความดันและอุณหภูมิของกาซ โดยผูที่คนพบกฎนี้คือ Gay Lussac พบวา “ถาใหปริมาตรและมวลของกาซคงที่ ความดันจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิองศาสัมบูรณของกาซ” สามารถเขียนความสัมพันธไดดังน้ี

V คงท่ี P α T

โดยที่ kTP= ซ่ึง k เปนคาคงที่ เมื่อปริมาตรและมวลของกาซคงที่ ถาความดันของกาซ

เปลี่ยนจาก P1 เปน P2 และอุณหภูมิของกาซเปลี่ยนจาก T1 เปน T2 จะได

1

1

TP =

2

2

TP (3)

เมื่อรวมกฎของบอยล ชารลส และเกย ลุสแซก เขาดวยกัน จะไดความสัมพันธระหวางความดัน ปริมาตรและอุณหภูมิของกาซเมื่อมวลของกาซมีคาคงที่ ดังน้ี

PV α T

Page 5: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

5

5

หรืออาจเขียนไดวา

T

PV = k (4)

โดยที่ k เปนคาคงที่ จากการทดลองพบวา กาซทุกชนิดที่ S.T.P. ( T = 273 K , P = 1.013 x 105 N/m2 ) กาซ 1 โมล จะมีปริมาตร(V) 22.4 x 10-3 m3 ถาคิดที่กาซ n โมล จะมีปริมาตร 22.4x10-3 n m3 เมื่อแทนคาในสมการที่ (13.4) จะได

k = )273(

)104.22)(/10013.1( 3325

KmnxmNx −

ดังน้ัน k = 8.314 n J/mol.K ถาให R = 8.314 J/mol.K แทน คาคงที่สากลของกาซ (Universal gas constant) สมการที่ (4) สามารถเขียนไดใหมเปน

PV = nRT (5) เมื่อ P เปนความดัน มีหนวยเปนนิวตันตอตารางเมตร (N/m2) V เปนปริมาตร มีหนวยเปนลูกบาศกเมตร (m3)

T เปนอุณหภูมิ มีหนวยเปนเคลวิน (K) n เปนจํานวนโมล มีหนวยเปนโมล (mol)

R เปนคาคงที่สากลของกาซ มีคา 8.314 J/mol.K

( คําแนะนํา: จํานวนโมล ( n ) = Mm โดยท่ี m แทนมวลของกาซในหนวยกรัม และ M แทน

มวลโมเลกุลของกาซในหนวยกรัมตอโมล ) เรียกสมการที่ (5) วา กฎของกาซอุดมคติ (Ideal gas law) หรือ สมการสถานะของกาซอุดมคติ

(Equation of state for an ideal gas) ซ่ึงสมการน้ีแสดงความสัมพันธของปริมาณทั้งสามคือความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิ โดยพิจารณาที่จํานวนโมลของกาซ

Page 6: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

6

6

ถาใหกาซจํานวน 1n โมล เปลี่ยนเปน 2n โมล ความดันของกาซเปลี่ยนจาก P1 เปน P2 ปริมาตรของกาซเปลี่ยนจาก V1 เปน V2 และอุณหภูมิของกาซเปลี่ยนจาก T1 เปน T2 จะได

11

11

TnVP =

22

22

TnVP (6)

ถา Mmn 1

1 = และ Mmn 2

2 = โดย 1m และ 2m แทนมวลของกาซในหนวยกรัม และ M

แทนมวลโมเลกุลของกาซในหนวยกรัมตอโมล สมการที่ (6) เขียนใหมไดเปน

11

11

TmVP =

22

22

TmVP (7)

แตถากาซมีมวลคงที่ ( 1m = 2m ) จะได

1

11

TVP =

2

22

TVP (8)

สมการขางตนจะใชคํานวณหาคาความดัน ปริมาตรและอุณหภูมิ เม่ือเปล่ียนจากสภาวะ

หน่ึงไปสูอีกสภาวะหนึ่ง

ตัวอยางที่ 1 ออกซิเจน 1 m3 ที่ 00C ภายใตความดัน 76 N/m2 มีมวล 1.429 กรัม จงหามวลของออกซิเจน 1 m3 ที่ 150 0C ความดัน 57 N/m2 วิธีทํา จากสมการที่ (13.7)

11

11

TmVP =

22

22

TmVP

( ) )273(10429.1)1)(/76(

3

32

KkgxmmN

− = )273150()1)(/57( 32

KmmmN

+

m = 0.691x10-3 kg = 0.691 กรัม ตอบ

Page 7: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

7

7

ตัวอยางที่ 2 ยางรถยนตถูกเติมลมจนมีความดัน 200 kPa ที่ 100C หลังจากขับไปได 100 km อุณหภูมิภายในยางเพิ่มเปน 400C จงหาความดันภายในยางที่อุณหภูมิ 400C

วิธีทํา จากสมการที่ (13.8) 1

11

TVP =

2

22

TVP

เน่ืองจากปริมาตรกาซคงที่ )( 21 VV = ดังน้ันจะได

1

1

TP =

2

2

TP

K

kPa

)27310(200+

= K

P)27340(

2

+

2P = )283(

)313)(200(K

KkPa = akP2.221

ความดันภายในยางที่อุณหภูมิ 400C มีคา 221.2 kPa ตอบ ตัวอยางที่ 3 ถังบรรจุจะตองมีปริมาตรก่ีลูกบาศกเมตร จึงจะสามารถบรรจุกาซ 1 โมล ที่ S.T.P. วิธีทํา กาซ 1 โมลที่ S.T.P. คือ ที่ความดัน (P) 1.013 x 105 N/m2 และอุณหภูมิ 273 K จาก PV = nRT (1.013x105N/m2) V = (1 mol)(8.314 J/mol.K)(273 K)

V = 0.0244 m3 ตอบ

2. สมมติฐานของอาโวกาโดร (Avogadro’s hypothesis)

ในป ค.ศ. 1811 อาเมเดโอ อาโวกาโดร ไดศึกษาปริมาตรของกาซมีความสัมพันธกับจํานวนอนุภาคของกาซ จึงไดตั้งสมมติฐานขึ้นดังน้ี “กาซท่ีมีปริมาตรเทากัน ท่ีอุณหภูมิและความดันเดียวกัน จะมีจํานวนโมเลกุลเทากัน” จํานวนโมเลกุลในหน่ึงโมล เรียกวา เลขอาโวกาโดร (Avogadro’s number) แทนดวย NA โดยที่

Page 8: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

8

8

NA = 6.02 x 1023 โมเลกุล / โมล ถาให N เปนจํานวนโมเลกุลทั้งหมดของกาซในปริมาตรที่พิจารณา จะไดวา N =

AnN

ดังน้ัน จํานวนโมล ( n ) จะสัมพันธกับจํานวนโมเลกุล( N ) และเลขอาโวกาโดร(NA) ดังน้ี

n = AN

N (9)

จากกฎของกาซอุดมคติ ในสมการที่ (5) แทนคา n ในสมการที่ (9) ลงไป เขียนใหมไดเปน

PV = RTNN

A

หรือ PV = TNkB (10)

โดยที่ N แทน จํานวนโมเลกุลของกาซ หนวยเปนโมเลกุล

Bk แทน คาคงตัวของโบลตมานต (Boltzmann’s constant) โดยที่

Bk = AN

R = 123 )(1002.6)./(314.8−molx

KmolJ = 1.38 x10-23 J/K

ตัวอยางที่ 4 จงหาจํานวนโมเลกุลและจํานวนโมลของกาซท่ีอยูในภาชนะที่มีปริมาตร 1 m3 ที่ความดันบรรยากาศ 1 บรรยากาศ อุณหภูมิ 00 C วิธีทํา โจทยกําหนดให V = 1 m3 , P = 1 atm = 1.013 x105 N/m2 , T = 273 K คํานวณหาจํานวนโมเลกุลได จากสมการที่ (13.10) PV = TNkB (1.013 x105 N/m2)( 1 m3) = N (1.38 x 10-23J/K)(273 K)

Page 9: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

9

9

N = 2.69 x 1025 โมเลกุล ตอบ

จํานวนโมล n = AN

N = molmoleculesx

moleculesx/1002.6

1069.223

25

= 44.7 mol ตอบ

3. แบบจําลองและทฤษฎีจลนของกาซอุดมคติ

3.1 แบบจําลองของกาซอุดมคติ ในการศึกษาเกี่ยวกับกาซ นักวิทยาศาสตรไดสรางแบบจําลองของกาซอุดมคติ โดยมี

นิยามของแบบจําลองกาซดังน้ี 1. โมเลกุลหน่ึง ๆ ของกาซอุดมคติเปนมวลทรงกลมขนาดเล็ก ๆ ซ่ึงมีคาพลังงานภายใน

เปนพลังงานจลนเชิงเสนอยางเดียวเทาน้ัน และระหวางโมเลกุลเปนที่วางมากทําใหแรงดึงดูดระหวางโมเลกุลมีคานอยมากจนตัดท้ิงได

2. ปริมาตรของโมเลกุลของกาซอุดมคติมีคานอยมาก เมื่อเทียบกับปริมาตรของกาซใน ภาชนะ

3. โมเลกุลท้ังหลายของกาซอุดมคติน้ันมีการเคล่ือนที่อยางอิสระไมเปนระเบียบ เรียกการเคลื่อนที่แบบนี้วา การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน (Brownian Motion) โดยการเคลื่อนท่ีเปนไปตามกฎขอที่ 2 ของนิวตัน โดยเมื่อโมเลกุลของกาซเกิดการชนกันแลว อัตราเร็วของโมเลกุลอาจเพ่ิมข้ึนหรือลดลงก็ได และในขณะเดียวกันทิศทางการเคลื่อนที่จะเปล่ียนไปอยางไมเปนระเบียบ การเปล่ียนแปลงทั้งขนาดและทิศทางของความเร็วทําใหการเคลื่อนที่เปนไปในทุกทิศทางถือวาเทากัน ดังน้ันการชนของโมเลกุลกาซจึงจัดเปนการชนแบบยืดหยุนสมบูรณ โดยไมมีการสูญเสียพลังงานในการชนกัน

4. โมเลกุลทั้งหลายของกาซอุดมคติ จะเคลื่อนที่ดวยความเร็วสูง ซ่ึงความเร็วของแตละโมเลกุลไมจําเปนตองเทากัน แตเมื่อเวลาผานไป ถือวาโมเลกุลทั้งหลายมีความเร็วเฉลี่ยเปนคาคงตัวเดียวกัน

3.2 ทฤษฎีจลนของกาซ

พิจารณาภาชนะรูปลูกบาศกยาวดานละ L มีกาซอยูทั้งหมด N โมเลกุล แตละโมเลกุลมีมวล 0m เมื่อโมเลกุลเขาไปชนผนังจะสะทอนออกมา ทําใหเกิดแรงกระทําตอผนังน้ัน เน่ืองจากมี

Page 10: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

10

10

โมเลกุลจํานวนมาก แรงเชนน้ีก็จะมีติดตอกันไปทําใหเกิดความดันกระทํากับผนังดานขางซึ่งมีพ้ืนที่ A ดังรูป

y y L L xvm0 A - xvm0 x x z z

(ก) ลูกบาศกดานยาว 4 บรรจุกาซอุดมคติโดย (ข) โมเลกุลของกาซชนแบบยืดหยุนกับผนัง แตละโมเลกุลมีอัตราเรว็ v ของภาชนะ

รูปท่ี 3 แสดงการเคลื่อนที่ของโมเลกุลกาซ พิจารณาโมเลกุลของกาซหนึ่งมีความเร็ว v ซ่ึงแยกยอยตามแกนได xv , yv , และ zv เมื่อไปชนผนังทางแกน x จะเห็นวามีโมเมนตัมไปทางแกน x 1xP = - m0vx เมื่อสะทอนกลับก็จะเกิดโมเมนตัมในทิศทางตามแกน x ดังน้ี 2xP = m0vx ดังน้ัน การเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม xPΔ = 2xP - 1xP = xvm02

การเปลี่ยนโมเมนตัมน้ีเกิดในเวลา tΔ = xvL2 เมื่อ xv คือ ขนาดของความเร็วยอยใน

แนวแกน x ถาให xF คือ ขนาดของแรงเฉลี่ยในแนวแกน x ที่โมเลกุลหน่ึง ๆ กระทําตอผนังใน

เวลา tΔ จากคําจํากัดความของการดลจะได

tFxΔ = xPΔ = xvm02

Page 11: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

11

11

ดังน้ันจะไดแรงท่ีกระทํากับผนังภาชนะ

xF = tvm x

Δ02 =

x

x

vLvm

/22 0 =

Lvm x

20 (11)

แรงทั้งหมดที่กระทําตอผนังที่ชนในแนวแกน x เกิดจากการวมแรงของทุกอนุภาค โดยท่ี พ้ืนที่ของผนังที่ถูกชนมีคา A = L2 ดังน้ัน ความดันที่ผนังดานขางภาชนะ

P = AFx∑

= 30

Lm ( 22

322

21 ... xNxxx vvvv ++++ ) (12)

เมื่อ ,........, 21 xx vv หมายถึง อัตราเร็วของโมเลกุลกาซของอนุภาคที่ 1,2, …, N ในแนวแกน x ดังน้ัน ถา 2

xv แทนคาเฉลี่ยของโมเลกุล N โมเลกุลคือ

2xv =

Nvvvv xnxxx

222

21

21 ....+++ (13)

แทนสมการที่ (13) ในสมการที่ (12) โดยถา V แทนปริมาตรของภาชนะซึ่ง V = L3 จะได PV = 2

0 xvNm (14) แตเน่ืองจากอนุภาคมีโอกาสวิ่งชนผนังทั้ง 3 ทิศทาง ( x , y , z ) เทา ๆ กัน โดยมี 2

xv = 2yv = 2

zv แต 2v = 2

xv + 2yv + 2

zv = 23 xv

ดังน้ัน 2xv = 2

yv = 2zv = 2

31 v แทนในสมการที่ (13.14) จะได

Page 12: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

12

12

PV = 203

1 vNm (15)

ถาให rmsv แทน คาอัตราเร็วกําลังสองเฉลี่ย (root mean square speed) โดยที่ rmsv = 2v สมการที่ (15) เขียนใหมไดดังน้ี

PV = 203

1rmsvNm (16)

โดยที่ N แทน จํานวนโมเลกุลของกาซ 0m แทน มวลของกาซ 1 โมเลกุล มีหนวยเปนกิโลกรัม

เน่ืองจากมีโมเลกุลอยูเปนจํานวนมากในกาซปริมาตรหนึ่ง ๆ จึงทําใหคา rmsv และ

ความเร็วเฉลี่ย 2v ไมแตกตางกันมากนัก ดังน้ันในการคํานวณโดยทั่ว ๆ ไปที่เกี่ยวของกับโมเลกุลจํานวนมากอยูในปริมาตรใดที่ความดันไมสูงนัก คาของ rmsv จะถือวาเปนคาเดียวกับคา

2v ได โดยไมทําใหเกิดความผิดพลาดในผลลัพธมากนัก

4. อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลกาซ

อัตราเร็วโมเลกุลของกาซที่เคลื่อนที่แตละโมเลกุลมีคาไมเทากัน ดังน้ันจึงคิดเปนอัตราเร็วเฉลี่ย ซ่ึงสามารถคํานวณไดดังน้ี

จากสมการกฎของกาซ PV = nRT = TNkB เมื่อเปรียบเทียบกับสมการที่ (16) จะได

203

1rmsvNm = nRT = TNkB

rmsv = 0

3NmnRT =

MRT3 =

0

3m

TkB (17)

คําแนะนํา : n แทน จํานวนโมล โดย n = M

NmMm 0=

M แทน มวลโมเลกุล ในหนวยกรัมตอโมล m แทน มวลกาซ ในหนวยกรัม

Page 13: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

13

13

0m แทน มวลกาซ 1 โมเลกุล ในหนวยกรัม จากสมการที่ (17) พบวา อัตราเร็วเฉลี่ยของกาซมีคาขึ้นกับอุณหภูมิ โดยถาอุณหภูมิของกาซสูงขึ้น จะมีผลทําใหอัตราเร็วเฉล่ียของกาซมีคามากขึ้นดวย ตัวอยางที่ 5 จงหาอัตราเร็ว rmsv ของโมเลกุลออกซิเจน และโมเลกุลอีเลียม ที่อุณหภูมิ 27 0C วิธีทํา คํานวณหา rmsv ของโมเลกุลออกซิเจน ไดจาก

rmsv = MRT3

โดยที่มวลโมเลกุลของออกซิเจน M = 32 กรัม = 32x10-3 kg , R = 8.31 J/mol.K , T = (27+273) = 300 K แทนคา

rmsv = kgx

KKmolJ31032

)300)(./31.8(3− = 483.44 m/s ตอบ

สําหรับฮีเลียมเปนกาซอะตอมเดี่ยว 1 โมเลกุลของกาซฮีเลียมประกอบดวย 1 อะตอมเทาน้ัน มวลอะตอมของฮีเลียม M = 4 กรัม = 4x10-3 kg ดังน้ัน

rmsv = kgx

KKmolJ3104

)300)(./31.8(3− = 1367.39 m/s ตอบ

ตัวอยางที่ 6 จงหาอุณหภูมิที่มีผลทําให rmsv ของกาซไนโตรเจน มีคาเทากับ rmsv ของกาซออกซิเจน ที่ 300 C

วิธีทํา จาก rmsv = MRT3

คิดที่กาซไนโตรเจน 1rmsv =

1

13MRT (1)

คิดที่กาซออกซิเจน 2rmsv =

2

23MRT (2)

(1) = (2) ดังน้ัน

Page 14: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

14

14

1

13MRT =

2

23MRT

มวลโมเลกุลของกาซไนโตรเจน M1 = 28x10-3 kg และ มวลโมเลกุลของกาซออกซิเจน M2 = 32x10-3 kg แทนคา

kgxT

)1028( 31− =

kgxK

)1032()27330(

3−

+

1T = 265.13 K = -7.870 C ตอบ

5. พลังงานจลนเฉล่ียและพลังงานภายในระบบของโมเลกุลกาซอุดมคต ิ

ถาให kE แทนคาพลังงานจลนเฉลี่ย ซ่ึงหมายถึงคาเฉลี่ยของพลังงานจลนของแตละโมเลกุลของกาซ โดยที่แตละโมเลกุลเคลื่อนที่ดวยอัตราเร็วเฉล่ีย ( rmsv )

kE = 202

1rmsvm

จากสมการที่ (17) แทนคาจะได

kE = 2

00 )

3(

21

mTk

m B = TkB23 (18)

จากสมการที่ (18) พบวา พลังงานจลนเฉลี่ยของโมเลกุลกาซแปรผันตรงกับอุณหภูมิ ซ่ึงถาอุณหภูมิของระบบมีคามากขึ้นจะทําใหพลังงานจลนเฉล่ียมีคามากขึ้นดวย ถาให U แทนพลังงานภายในระบบ เกิดข้ึนเนื่องจากโมเลกุลของกาซเคลื่อนที่ดวยอัตราเร็วเฉลี่ยตลอดเวลาและแรงยึดเหน่ียวระหวางโมเลกุลมีคานอยมาก พลังงานรวมของโมเลกุลกาซจึงอยูในรูปพลังงานจลนเพียงอยางเดียว ซ่ึงพลังงานจลนรวมของแตละโมเลกุลแทนดวย kE

โดยที่ kk ENE = โดย N แทนจํานวนโมเลกุลทั้งหมดของกาซ และ kE แทนพลังงานจลนเฉลี่ยของกาซแตละโมเลกุล ดังน้ันพลังงานภายในระบบที่เกิดขึ้นก็คือพลังงานจลนรวมของระบบน่ันเอง จะไดวา

Page 15: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

15

15

U = kE = kEN

โดยที่ kE = TkB23 แทนคาจะได

U = TNkB23

เพราะวา nRTTNkPV B == ดังน้ัน

U = TNkB23 = PV

23 = nRT

23 (19)

จากสมการที่ (19) จะพบวา พลังงานภายในระบบมีความสัมพันธกับ ความดัน , ปริมาตร และอุณหภูมิ ซ่ึงถาปริมาณใดปริมาณหนึ่งเปลี่ยนแปลงจะทาํใหพลังงานภายในเปลี่ยนไปถา UΔ แทนพลังงานภายในระบบที่เปลี่ยนไป จะได

UΔ = TNkBΔ23 = VPΔ

23 = TnRΔ

23 (20)

สมการที่ (19) และ (20) ใชกับกาซเปนอะตอมเดี่ยว เชน กาซเฉื่อย ซ่ึงไดแก ฮีเลียม (He) , นีออน (Ne) เปนตน แตถาเปนกาซอะตอมคูหรือกาซที่โมเลกุลซับซอนมากขึ้น ดังน้ันพลังงานภายในของกาซตองเปนผลรวมของพลังงานจลนเน่ืองจากการเคลื่อนที่เชิงเสน พลังงานจลนเน่ืองจากการหมุน และพลังงานจลนเน่ืองจากการสั่น ซ่ึงพลังงานภายในระบบของกาซอะตอมคูน้ี จะไดวา

Page 16: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

16

16

UΔ = TNkBΔ25 = VPΔ

25 = TnRΔ

25 (21)

ตัวอยางที่ 7 จงหาพลังงานจลนเฉล่ียและพลังงานภายในระบบของโมเลกุลของกาซนีออน (Ne) มวล 1 กรัม ที่ 30 0C (มวลโมเลกุล 20.2 u) วิธีทํา คํานวณหาคาพลังงานจลนเฉล่ีย

kE = TkB23

= KKJx )27330)(/1038.1(23 23 +−

= 6.27 x 10-21 J ตอบ คํานวณหาคาพลังงานภายในระบบ U = kEN โดยที่ N แทนจํานวนโมเลกุล โดยที่

AN

N = Mm

โดยที่ N = ( ) 22233

3

1098.21002.6102.20

101 xxx

xM

mN A == −

โมเลกุล

U = )1027.6)(1098.2( 2122 −xx

= 1.87 x 102 J ตอบ

ตัวอยางที่ 8 ถังกาซปริมาตร 0.3 m3 บรรจุกาซฮีเลียม 3 โมล ที่อุณหภูมิ 370C โดยสมมติวาฮีเลียมมีพฤติกรรมเหมือนกาซอุดมคติ จงหา

ก. พลังงานภายในระบบ ข. พลังงานจลนเฉล่ียของกาซนี้ ค. อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของกาซนี้ ง. ถาอุณหภูมิเทากับ -300C จงหาอัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของกาซน้ี จ. ถากาซที่บรรจคุือออกซิเจน จงหา rmsv ของโมเลกุลของออกซิเจนที่อุณหภูมิ 27 0C

Page 17: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

17

17

วิธีทํา

ก. พลังงานภายในระบบ U = nRT23

= 23 (3 mol) (8.31 J/mol.K)(37+273)K

= 11.59x103 J ตอบ

ข. พลังงานจลนเฉลี่ยของกาซน้ี kE = TkB23

kE = 23 (1.38 x 10-23 J/K) (37+273 )K

= 6.42 x 10-21 J ตอบ ค. อัตราเร็วเฉล่ียของโมเลกุลของกาซนี้

rmsv = MRT3

แตนํ้าหนักโมเลกุลของฮีเลียม M = 4 g / mol = 4 x 10-3 kg/mol แทนคา

rmsv = ( )( )molkgx

KKmolJ/104

27337./31.833−

+

= 1.39 x 103 m/s ตอบ ง. ถาอุณหภูมิเทากับ -300C อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของกาซนี้

rmsv = MRT3

= ( )( )molkgx

KKmolJ/104

30273./31.833−

= 1.23 x 103 m/s ตอบ จ. rmsv ของโมเลกุลของออกซิเจนที่อุณหภูมิ 27 0C

Page 18: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

18

18

rmsv = MRT3

นํ้าหนักโมเลกุลของออกซิเจน M = 32 g / mol = 32 x 10-3 kg /mol

rmsv = ( )( )moLkgx

KKmolJ/1032

27273./31.833−

+

= 483.44 m/s

6. การแจกแจงอัตราเร็วของโมเลกุลกาซ

โมเลกุลของกาซนั้นมีการเคลื่อนที่ทุกทิศทุกทางดวยอัตราเร็วตาง ๆ กันซ่ึงเรียกการเคล่ือนที่แบบน้ีวา การเคล่ือนที่ของบราวเนียน (Brownian Motion) มีโมเลกุลจํานวนมากที่มีอัตราเร็วมากกวาอัตราเร็วเฉลี่ย และก็ยังมีอีกจํานวนมากที่มีอัตราเร็วนอยกวาอัตราเร็วเฉลี่ย ในป 1859 แมกซเวลส (James Cleark Maxwell) ใชทฤษฎีจลนของกาซหาสมการแจกแจงอัตราเร็วของโมเลกุลในกาซ N โมเลกุล ไดดังน้ี

)(vN = Tkmv

B

BevTk

mN2

21

22/3)2

(4−

ππ (22)

โดยที่ )(vN แทนจํานวนโมเลกุลในชวงอัตราเร็ว v กับ dvv +

m แทนมวลของกาซ 1 โมเลกุล T แทนอุณหภูมิสัมบูรณ

Bk แทนคาคงที่ของโบลตมานน สําหรับกาซชนิดใดชนิดหน่ึง การแจกแจงอัตราเร็วขึ้นอยูกับอุณหภูมิ โดยถาให

dvvN )( แทนจาํนวนโมเลกุลที่มีอัตราเรว็อยูระหวาง v กับ dvv + ซ่ึงถาตองการหาจาํนวนโมเลกุลทั้งหมด N ไดโดยการรวมจาํนวนโมเลกุลทั้งหมดในชวงอัตราเร็วเล็ก ๆ ต้ังแตศูนยถึงอนันต ดังน้ัน

N = ∫∞

0

)( dvvN (23)

Page 19: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

19

19

รูปท่ี 4 แสดงกราฟการแจกแจงอัตราเร็วของโมเลกุลกาซ จากกราฟ แสดงการแจกแจงอัตราเร็วของโมเลกุลของกาซที่อุณหภูมิตางๆ กัน จะพบวา

พ้ืนที่ใตกราฟจะแทนจาํนวนโมเลกุลทั้งหมดของกาซ ที่อุณหภูมิใด ๆ โมเลกุลกาซในชวงอัตราเร็วท่ีเพ่ิมขึ้นนอย ๆ จะมีคาเพ่ิมขึ้น และเมื่ออัตราเร็วเพ่ิมขึ้นจนถึงคาหน่ึง จะได )(vN มีคาสูงสุดซ่ึงก็คือ จํานวนโมเลกุลที่มีอัตราเร็ว Pv จะมีมากที่สุด และหลังจากน้ันจํานวนโมเลกุลจะคอย ๆ ลดลงจนเปนศูนยเมื่ออัตราเร็วเพ่ิมขึ้น นอกจากนี้ยังพบวาถาอุณหภูมิสูงขึ้น เสนกราฟจะโคงแบนลงดังน้ันจํานวนโมเลกุลที่มีอัตราเร็วสูงจะเพิ่มขึ้น ซ่ึงผลอันน้ีจะใชอธิบายปรากฏการณหลายอยาง เชน การเพ่ิมข้ึนของการเกิดปฏิกิริยาเคมี การเกิดปฏิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิต การเพิ่มขึ้นของพลังงานจลน ขณะที่อุณหภูมิสูงข้ึน เปนตน

7. สมการของแวนเดอรวาลส

สมการ PV = nRT เปนสมการที่ใชไดเฉพาะกาซอุดมคติ เพราะพลังงานภายในระบบข้ึนกับอุณหภูมิเพียงอยางเดียว เมื่อกาซจริงที่มีความหนาแนนต่ํา กาซนี้จะเปนไปตามกฎของกาซอุดมคติ แตถาความหนาแนนสูงข้ึน พฤติกรรมจะผิดจากกฎของกาซอุดมคติไปมาก เจ.ดี.แวนเดอ วาสล (J.D. van der Waals) ไดพิจารณาแกไขปรับปรุง สมการที่ใชกับกาซอุดมคตินํามาใชกับกาซจริงไดดังน้ี

Page 20: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

20

20

( ) nRTnbVVanP =−⎟⎟

⎞⎜⎜⎝

⎛+ 2

2

(24)

เมื่อ a และ b เปนคาคงท่ี ซ่ึงขึ้นอยูกับชนิดของกาซ โดยที่ a จะสัมพันธกับแรงยึด

เหน่ียวระหวางโมเลกุล b แทนขนาดของโมเลกุลกาซแตละโมเลกุล(ปริมาตรของโมเลกุลกาซ) ใน 1 โมล ดังน้ันปริมาตรของกาซที่เคลื่อนที่จะมีคาเทากับ nb และ nbV − แทนปริมาตรสุทธิของโมเลกุลกาซที่เคลื่อนที่ เรียกสมการที่ (23) วา สมการของแวนเดอวาสล (Van Der Waals Equation)

ถา n = 1 โมล สมการที่ (24) จะเปน

( ) RTbVV

anP=−⎟⎟

⎞⎜⎜⎝

⎛ +2

2

(25)

โดยสมการที่ (25) สามารถนํามาเขียนกราฟระหวางความดันกับปริมาตรไดดังรูป โดยที่สมการของแวนเดอวาสลน้ีจะมีคาถกูตองที่อุณหภูมิสูง เชน T1 , T2 , T3 และ TC โดยที่ TC ซ่ึงเรียกวาอุณหภูมิวิกฤต(Critical Temperature) ซ่ึงเปนอุณหภูมิที่ตํ่าเพียงพอที่จะทาํใหกาซถูกอัดใหเปนของเหลวได

รูปท่ี 5 แสดงกราฟระหวางความดัน(P) กับปริมาตร(V)

T1

T2 T3

Page 21: Gas Law 1 กฏของก าซ - Rangsit University · Gas Law ผศ.ปรียา อนุพงษ องอาจ 5 5 หรืออาจเข ียนได ว า

Gas Law

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ

21

21

ตารางที่ 1 แสดงคาคงที่ตาง ๆ ในสมการของแวนเดอวาสล

สาร a (J.m3/mol2)

b (m3/mol)

CP (MPa)

CT (K)

อากาศ 0.1358 3.64 x 10-5 3.77 133

กาซคารบอนไดออกไซด 0.3643 4.27 x 10-5 7.39 304.2

กาซไนโตรเจน 0.1361 3.85 x 10-5 3.39 126.2

กาซไฮโดรเจน 0.0247 2.65 x 10-5 1.30 33.2

นํ้า 0.5507 3.04 x 10-5 22.09 647.3

กาซแอมโมเนีย 0.4233 3.73 x 10-5 11.28 406

กาซฮีเลียม 0.00341 2.34 x 10-5 0.23 5.2

กาซฟรีออน 1.078 9.98 x 10-5 4.12 385