ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(ag-bio newsletter)...

20
ปที่ 2 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน พ.ศ. 2553 Vol. 2 No. 2 April - June 2010 ผลงานเด่น พืชปลอดโรค และอาหารปลอดภัย คุยกับ ผอ. ศัตรูพืช และความมั่นคงด้านอาหาร เรื่องน่ารู้ AgBiotech เทคนิคอณูชีววิทยากับมาตรฐาน มาตรการสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สัมภาษณ์พิเศษ การอารักขาพืชระหว่างประเทศ ตามมาตรการสุขอนามัยพืช AG-Bio Vol 002.indd 1 7/20/10 11:31:14 PM

Upload: ekachai-srathongploy

Post on 25-Mar-2016

249 views

Category:

Documents


6 download

DESCRIPTION

ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน พ.ศ. 2553)

TRANSCRIPT

Page 1: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

ปที่ 2 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน พ.ศ. 2553Vol. 2 No. 2 April - June 2010

ผลงานเด่นพืชปลอดโรค

และอาหารปลอดภัย

คุยกับ ผอ.ศัตรูพืช และความมั่นคงด้านอาหาร

เรื่องน่ารู้ AgBiotechเทคนิคอณูชีววิทยากับมาตรฐาน

มาตรการสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจ ัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

สัมภาษณ์พิเศษการอารักขาพืชระหว่างประเทศ

ตามมาตรการสุขอนามัยพืช

AG-Bio Vol 002.indd 1 7/20/10 11:31:14 PM

Page 2: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

0�

04 คุยกับ ผอ. :ศัตรูพืช และความมั่นคงด้านอาหาร

06 ผลงานเด่น :พืชปลอดโรคและอาหารปลอดภัย

บทความและข้อความที่ตีพิมพ์ในข่าวสารเทคโนโลยชีวีภาพเกษตร เปน็ความคดิเหน็ส่วนตัวและลิขสิทธิ์ของผู้เขียน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือผูกพันอย่างใด ข้อมูลบางส่วนอาจตีพิมพ์ผิดพลาด ศูนย์ฯ ยินดีแก้ไขให้ในฉบับต่อไป

ติดต่อขอรับข่าวสารฯ ได้ที่ หน่วยประสานงาน : ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ตู้ ปณฝ. 1028 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10903 สำนักงาน : บางเขน อาคารพิพิธภัณฑ์แมลง 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2942 8361, 0 2942 7133 โทรสาร 0 2942 8258 สำนักงาน : กำแพงแสน ชั้น 1 อาคารปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 โทรศัพท์ 0 3428 2494 ถึง 7 โทรสาร 0 3428 2498www.cab.kps.ku.ac.th

04 10

1408 แนะนำสถาบัน : สถาบันภาคีของศูนย์ความเป็นเลิศ เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร ์

10 สัมภาษณ์พิเศษ : “การอารักขาพืชระหว่างประเทศตามมาตรการสุขอนามัยพืช”

13 PERDO TODAY : ความเป็นเอตทัคคะทางวิชาการ ของศูนย์ความเป็นเลิศ

14 เรื่องน่ารู้ AgBiotech : เทคนิคอณูชีววิทยากับมาตรฐาน มาตรการสุขอนามัยพืชระหว่าง ประเทศ

18 AgBiotech Hot News : ชีวิต (ใกล้จะ) สังเคราะห์ได้?

�0 ข่าวกิจกรรม

08

19

สารบัญ

AG-Bio Vol 002.indd 2 7/20/10 11:31:31 PM

Page 3: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

03

คณะที่ปรึกษาพงศ์เทพ อัครธนกุลวิชัย โฆสิตรัตนจุลภาค คุ้นวงศ์พิศาล ศิริธรพิทยา สรวมศิริวัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ดสุมิตรา ภู่วโรดมเสริมศิริ จันทร์เปรมพีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์จรัสศรี นวลศรีประวิตร พุทธานนท์ปิยะดา ตันตสวัสดิ์พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์บรรณาธิการสุจินต์ ภัทรภูวดลผู้ช่วยบรรณาธิการจุฑาเทพ วัชระไชยคุปต์อรอุบล ชมเดชกองบรรณาธิการจริยา หมื่นแก้วชิตพันธุ์ คติวัฒน์นุช ศตคุณเนตรนภา ปัญญามูลพรทิพย์ ทองคำพรรณทิพย์ กาญจนอุดมการพัชรินทร์ จูมีศรัณย์พร ทิวจิรกุลศรุชา เสนกันหาสุคณา ศรีทับอมรรัตน์ จันทนาอรพินท์อรอุษา ลาวินิจอัญชนา อินทรกำแหงอัญชลี วงษา

ออกแบบและจดัทำโดย บรษิทั โกลด ์ฟกเกอร ์จำกดั โทรศพัท ์0 2883 5163-4 โทรสาร 0 2883 0419

นย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ได้จัดทำข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร เป็นฉบับที่ 6 แล้ว ขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามขา่วสารของเรามาโดยตลอด และตอ้งขออภยัทา่นผูอ้า่นทีเ่ราไมไ่ดจ้ดัสง่ขา่วสาร ไปให ้ เนือ่งจากเราจดัพมิพไ์วจ้ำนวนจำกดั อยา่งไรกต็าม ศนูยฯ์ ไดร้วบรวมขา่วสารทกุฉบบัใหท้า่นอา่นยอ้นหลงัไดท้ีเ่วบ็ไซต ์http://www.cab.kps.ku.ac.th ข่าวสารฉบับนี้พาท่านส่องกล้องลงไปตามหาเชื้อโรคร้ายที่แย่งกินแย่งใช้ผลผลิตทางการเกษตรกับมนุษย์ เมื่อเราก้าวสู่กระแสโลกาภิวัตน์และการค้าเสรีทำให้โลกไม่มีพรมแดน ทั้งมนุษย์และเชื้อโรคต่างย้ายถิ่นฐานกันชั่วข้ามคืน กลายเป็น Global Citizen ทั้งคนทั้งเชื้อโรค ทำให้การระบาดของโรคพืชในประเทศใดประเทศหนึ่งกลับกลายเป็นปัญหาของคนทั้งโลกไปเสียแล้ว ประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหนในการรับมือกับผู้อพยพที่ไม่ได้รับเชิญเหล่านี้ เราจะได้ติดตามกันในส่วนของคอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษจากผู้รับผิดชอบโดยตรงของกรมวิชาการเกษตร ผลงานเด่นฉบับนี้นำเสนองานผลวิจัยของ ผศ.ดร.รัชนี ฮงประยูร และนิสิตของศูนย์ฯ ที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานบริการวิชาการให้กับสังคมเกษตรโดยที่มุ่งมั่นในการตรวจสอบพืชปลอดโรคและอาหารปลอดภัย คอลัมน์ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เล่าถึงโครงการวิจัยเชื้อโรคราสนิมข้าวสาลีระดับนานาชาติ ซึ่งจะช่วยป้องกันให้ไม่เกิดกลียุคไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีบทความที่ เกี่ยวข้องกับเทคนิคด้านอณูชีววิทยากับมาตรฐานมาตรการ สุขอนามัยพืชระหว่างประเทศ โดย ผศ.ดร.พิสสวรรณ เจียมสมบัติ และรศ.ดร.วิชัย โฆสิตรัตน นำเสนอข่าว AgBiotech-Hot News งานทดลองที่อาจนำไปสู่ปรากฏการณ์พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินเรื่อง ชีวิต(ใกล้จะ)สังเคราะห์ได้? หากท่านผู้อ่านมีความประสงค์จะให้เรานำเสนอข่าวสารฯ ในหัวข้อใด ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการเกษตรของไทย ขอเรียนเชิญส่ง E-mail ติดต่อมาได้เลยค่ะ เรารอรับคำแนะนำด้วยความยินดียิ่ง พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ

สุจินต์ ภัทรภูวดล [email protected]

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

คุยกับบรรณาธิการ

AG-Bio Vol 002.indd 3 7/20/10 11:31:32 PM

Page 4: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

04

วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งเกิดขึ้น ที่รู้สึกว่าจะรอดหูรอดตาแวดวงเกษตรของเรา ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะระยะหลังๆ เราตกข่าว ตกขบวนรถกนับอ่ยๆ เรือ่งทีเ่กดิขึน้ทีว่า่ คอื การระบาดของโรค ราสนมิสายพนัธุใ์หม ่ในข้าวสาลี ราสนิมสายพันธุ ์ Ug99 พบระบาดออกจากประเทศอูกานดาทวีปแอฟริกา ผ่านอียิปต์ เข้าสู่ตะวันออกกลาง กำลังกลัวกันอยู่ว่าจะเลี้ยวขึ้นยุโรป และอาจเลี้ยวไปจีน และอินเดีย เพราะกระแสลมเป็นตัวช่วยพัดพาเชื้อนี้ให้ระบาดได้อย่างเร็วและคลุมพื้นที่กว้างขวาง ความรุนแรงของโรคนี้เขย่าสภาวะความมั่นคงทางอาหารของหลายประเทศ และอาจถึงระดับโลก ศาสตราจารยร์อนนี ่ คอฟแมน นักวิชาการเกษตรอาวุโส แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ผู้เคยได้รางวัล World Food Prize ท่านเป็นที่ปรึกษาของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตรของเรา เล่าให้ผมฟัง ความว่า ดร.นอรแ์มน โบลอ็ก นักเกษตรรางวัลโนเบล ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตได้แสดงความเป็นห่วง และฝากฝังเรื่องนี้ให้ประชาคมนักวิชาการเกษตรของโลกตระหนัก สุดท้าย ดร.โบล็อก กับ ดร.คอฟแมน เสนอโครงการวิจัยแก้ปัญหาโรคราสนิมข้าวสาลีให้ มูลนิธิบิล-เมลินดา เกทส ์ สนับสนุน เพื่อเอาชนะโรคสายพันธุ์มหากาฬนี้ ผมได้ข่าวมาว่ามูลนิธิฯ อนุมัติเงินวิจัยเฉพาะกิจในโครงการนี้ ร่วมร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เป็นโครงการวิจัยเกษตรขนาดยักษ์ ครอบคลุมพื้นที่หลายทวีป มี ดร.คอฟแมน เป็นหัวหน้าโครงการ ประสานงานวิจัย เดินสายทั่วโลก โดยมีศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวสาลีนานาชาติ (CYMMIT) และสถาบนัวจิยัเกษตรแหง่ชาต ิ จากประเทศตา่งๆ จากทกุทวปี รว่มทมีในการวจิยั

และความมั่นคงด้านอาหาร

Èัµรپת

คุยกับ ผอ.

AG-Bio Vol 002.indd 4 7/20/10 11:32:03 PM

Page 5: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

05

เรื่องนี้กำลังเกิดขึ้นไกลบ้าน แต่ผมเลือกที่จะหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นอุทาหรณ์ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ ไม่ให้นักวิชาการเกษตรไทยตกอยู่ในความประมาท เพราะเรื่องการระบาดของโรคพืช โรคสัตว์ แมลงศัตรูพืช และแมลงพาหะโรค เป็นเรื่องที่ไม่เล็ก ต้องติดตามให้ดี อยู่ๆ นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น ให้โรคระบาดมาถึงโดยไม่เ ตรี ยมตั ว รั บ เกิ ดหายนะทาง เศรษฐกิ จ ไร่ เ ฉ า นาล่ม สวนรา้ง ฟารม์เจง ประชากรในประเทศขาดแคลน อาหาร เกษตรกรถูกผลักจนตกขอบของความยากไร้ ขึ้นมา ก็ต้องถือว่าเป็นความไม่รับผิดชอบของประชาคมวิชาการเกษตร กรณีโรค-แมลงระบาด เคยเขย่าความอยู่รอดของหมู่มวลมนุษย์มาแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่อาณาจักรอียิปต์โบราณจวบจนปัจจุบัน แม้แต่ในคัมภีร์ไบเบิ้ลก็ยังบันทึกไว้ พวกที่อยู่ในวงการเกษตรรู้ดีว่าสายพันธุ์ของโรค-แมลงศตัรพูชื ศตัรสูตัว ์เปลีย่นแปลงอยูต่ลอดเวลา ไมเ่คยคงที่อยู่นิ่ง เฉกเช่นพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งมวลบนโลกใบนี้ ซึ่งอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อม และระบบเกษตรที่ ไม่เคยคงที่ ทุกครั้งที่ระบบเกษตรเปลี่ยนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เปลี่ยนวิธีปฏิบัติดูแล หรือเขตกรรมกันที ก็เท่ากับสร้างเงื่อนไขตัวเร่งไปเปลี่ยนประชากรโรค-แมลงกันที อีกทั้งน้ำท่วม ฝนแล้ง อากาศชื้น ร้อน เย็น หนาว กระทบระบบโครงสร้างพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตกันไปหมด ที่เราเคยจัดการได้ในวันนี้ อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก ที่จะจัดการให้อยู่หมัดในวันข้างหน้า คำถามที่ผมมักถามพรรคพวกในแวดวงนี้อยู่เนืองๆ ว่า “เรามีความพร้อม แค่ไหน?” เราติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงทาง

พันธุศาสตร์ประชากร และการระบาดอย่างใกล้ชิดหรือเปล่า? เราเคยเตรียมความพร้อมด้วยการซักซ้อมรับสถานการณ์ และทบทวนภาวะแห่งการเตรียมรับเหตุการณ์อย่างไร? เรามีข้อมูลไหมว่าเชื้ออะไร สายพันธุ์อะไรที่เรามี ที่ควรระมัดระวัง จากภายใน? ภายนอก? เรามีเชื้อพันธุกรรมพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่ต้านทานโรคเก็บอยู่ในลิ้นชัก ในคลังธนาคารพันธุกรรมคอยให้งัดออกใช้หรือเปล่า? ปัจจุบันเครื่องมือและเทคโนโลยีที่จะติดตาม จำแนก ตรวจสอบ พยากรณ์ มีมากกว่าเมื่อก่อนเยอะ สมัยก่อนกว่าจะรู้สายพันธุ์ของโรค รู้จักไบโอไทปของแมลง ใช้เวลานาน แต่เดี๋ยวนี้เครื่องมือทางเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ วิทยาการนวชีวศาสตร ์ (New Life Science Technology) มใีหเ้ราเลอืกซือ้มาเปดิกลอ่ง เปดิกระปอ๋งใช ้เทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยให้เรารู้ลึกถึงการเรียงตัวของโครงสร้างดีเอ็นเอของเชื้อโรคแต่ละสายพันธุ์ เรียกว่าแม่นยำกว่าเก่าอย่างเทียบไม่ได้ คำถามสุดท้ายที่ผมมี คือ เรามีคนที่มีทักษะที่จะใช้วิทยาการใหม่ๆ ที่แม่นยำกันหรือเปล่า? หน่วยงานที่รับผิดชอบมีที่ไหนบ้าง? มีระดับความพร้อมจริงๆ แค่ไหน? ผมขอวานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องช่วยสำรวจ ประเมิน ตรอง กันดูหน่อย อย่าปล่อยเลยตามเลย ต้องช่วยกันแก้ไขป้องกัน ศูนย์ความเป็นเลิศดา้นเทคโนโลยชีวีภาพเกษตร และ สมาชกิสถาบนัเครอืขา่ยทั้งหลายขอขันอาสาที่จะร่วมมือด้านนี้

พงศ์เทพ อัครธนกุล

AG-Bio Vol 002.indd 5 7/20/10 11:32:29 PM

Page 6: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

06

ผลงานเด่น

ารที่ประเทศไทยเปิดประตูการค้าเสรีกับหลายประเทศในโลก ส่งผลให้เกิดการติดต่อค้าขายผลผลิตเกษตรเป็นจำนวนมากซึ่งมีมูลค่ามหาศาล อย่างไรก็ตามการนำเข้า หรือส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศ มขีอ้ควรระวงัเกีย่วกบัการปนเปือ้นของเชือ้โรคพชื สารพษิจากเชื้อรา หรือสารตกค้างต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่สินค้าที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรจะต้องได้รับการตรวจสอบ เพือ่รบัรองวา่ปลอดเชือ้หรอืไมม่กีารปนเปือ้นของสารพษิหรอืสารตกคา้ง หรอืถา้มกีารปนเปือ้นกไ็มเ่กนิเกณฑ์มาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนด การตรวจสอบที่มีม าตรฐานมี ส่ วนช่ วยอย่ า งมากในการลดโอกาส ของการปนเปื้อนดังกล่าว เช่น การนำเข้าเมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ของพืชผัก และไม้ดอกชนิดต่างๆ จาก ต่างประเทศ หากมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคพืชติดมา ก็จะเป็นแหล่งของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาด ในแปลงปลูกต่อมาได้ หรืออาจเป็นการนำสาเหตุโรค ชนิดใหม่ซึ่งยังไม่ เคยมีรกรากในประเทศไทยเข้ามา ก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลที่ตามมาคือความจำเป็นที่ต้องหาวิธีในการควบคุมโรค ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และเมื่อเกิดโรคแล้วมักทำให้ผลผลิตมีปริมาณและคุณภาพต่ำลง ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด รวมทั้งอาจลดความน่าเชื่อถือของผู้ผลิตลงได้ ส่วน ผลกระทบที่สามารถเห็นได้จากการส่งออก คือ ถ้าพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อโรคในรายการที่มีข้อห้าม รวมทั้งการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราที่ เป็นอันตราย เช่น อะฟลาทอกซิน โอคราทอกซิน ฟูโมนิซิน ซีราลีโนน เป็นต้น สินค้าเหล่านี้จะไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ และสินค้าเหล่านั้นอาจถูกปฏิเสธจากประเทศปลายทาง ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้อย่างคาดไม่ถึง

พืชปลอดโรคและอาหารปลอดภัย

ด้วยเหตุนี้การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการตรวจสอบผลผลิตเกษตรให้มีมาตรฐาน จึงมีความจำเป็นเร่งด่วน ทั้งนี้เพราะการแข่งขันในเวทีการค้าโลก มีสูงมาก ทุกประเทศที่ไม่มีความพร้อมในการตรวจสอบจะมีโอกาสเสียเปรียบ และเสียโอกาสได้ตลอดเวลา การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาวิธีการตรวจสอบ นับเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในการพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันมีการนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง สำหรับการตรวจสอบเชื้อสาเหตุโรคพืช เทคนิคที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ เทคนิคทางซีรัมวิทยา โดยการนำแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อเชื้อโรคพืชนั้นๆ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย หรือสารพิษต่างๆ มาพัฒนาวิธีการตรวจสอบ รูปแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบันได้แก่ Enzyme-linked Immunosorbent Assay (ELISA) และ Immunochromatographic Strip (ICS) เป็นต้น

AG-Bio Vol 002.indd 6 7/20/10 11:32:30 PM

Page 7: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

0�

ห้องปฏิบั ติ การซี รั มวิ ทยาและตรวจวินิ จฉั ย ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร อาคารปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยี ชี วภาพทางการ เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยบุคลากรจากภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาในหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ภายใต้การนำของ ผศ.ดร. รัชนี ฮงประยูร ได้ศึกษาและพัฒนาวิธีการตรวจสอบเชื้อสาเหตุโรคพืช และสารพิษจากเชื้อรามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลงานการผลิตแอนติบอดีหลายรูปแบบ ไดแ้ก ่ โพลโีคลนอลแอนตบิอด ีโมโนโคลนอลแอนติบอดี เช่น แอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช ได้แก่ Tobacco mosaic virus (TMV), Cucumber mosaic virus (CMV), Potato virus Y (PVY), Cymbidium mosaic virus (CymMV), Odontoglossum ringspot virus (ORSV), Cucumber green mottle mosaic virus (CGMMV), Sugarcane mosaic virus (SCMV), Maize chlorotic mottle virus (MCMV), Papaya ringspot virus (PRSV) และ Tospoviruses หลายชนิด แอนตบิอดทีีจ่ำเพาะตอ่เชือ้แบคทีเรีย เช่น Erwinia spp., Xanthomonas spp., Ralstonia solanacearum, Acidovorax avenae และแอนติบอดีที่จำเพาะต่อสารพิษจากเชื้อรา ได้แก่ Aflatoxin, Zearalenone และ Ochratoxin A รวมทั้งการสร้างห้องสมุดรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีโดยการแสดงออกของยีนแอนติบอดีบนอนุภาคของฝาจ (phage display) เพื่อเป็นแหล่งของยีนแอนติบอดีสำหรับการใช้งานต่อไป

นอกจากนี้ยังได้พัฒนาวิธีการตรวจสอบเชื้อสาเหตุโรคชนิดต่างๆ จากแอนติบอดีที่มีคุณภาพเหล่านี้ รวมทั้งการพัฒนาชุดตรวจสอบแบบรวดเร็วอีกหลายชนิด เช่น KU-ZEA-1 ซึ่งเป็นชุดตรวจสอบสารพิษซีราลีโนน โดยใช้หลักการของปฏิกิริยา ELISA การพัฒนาชุดตรวจสอบ ICS ที่จำเพาะต่อเชื้อ CMV, CGMMV, TMV และ CymMV เป็นต้น ก้าวต่อไปของห้องปฏิบัติการ คือการทดสอบชุดตรวจสอบที่ ผลิตขึ้ น เพื่ อ ให้มีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้งานภายในประเทศ เป็นการลดการนำเข้าชุดตรวจสอบที่มีราคาแพงจาก ต่างประเทศ ช่วยลดต้นทุนของการตรวจสอบและต้นทุนการผลิต นอกจากนั้นการผลิตชุดตรวจสอบสารพิษจากเชื้อราเพื่อใช้เองภายในประเทศ ยังสนับสนุนการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร ซึ่งส่งผลดีในภาพรวมทั้งด้านเศรษฐกิจและสุขภาพของผู้บริโภคอีกด้วย

AG-Bio Vol 002.indd 7 7/20/10 11:32:34 PM

Page 8: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เข้าร่วมเป็นสถาบันภาคีของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 ดำเนินการโดยคณะทรัพยากรธรรมชาติ และได้ขยายความร่วมมือไปยังคณะอุตสาหกรรมเกษตร ใน พ.ศ. 2552 โดยได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ตลอดจนครุภัณฑ์บางส่วน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับงานวิจัยในโครงการที่มีอยู่ รวมทั้งเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางด้านการเกษตร และการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ

สถาบันภาคีของ ศูนย์ความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สำหรับกลุ่มงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนมีดังต่อไปนี้ 1. งานวิจัยด้านพืช การใช้เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ และขยายพันธุ์พืช เช่นการขยายพันธ์ุปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี และยางพาราพันธุ์ที่เหมาะสมในการใช้เป็นต้นตอโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ศึกษาเทคนิคพันธุวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน การใช้เครื่องหมายโมเลกุลในด้านต่างๆ เช่นศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ผล พื้นเมืองในภาคใต้ ใช้ในการคัดเลือกยางพาราพันธุ์ต้นตอที่ทนทานโรคราก ศึกษาการแสดงออกของยีนและโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำยางเพื่อใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ ยางพารา เป็นต้น

08

แนะนำสถาบัน

AG-Bio Vol 002.indd 8 7/20/10 11:32:43 PM

Page 9: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

2. งานวิจัยด้านจุลินทรีย์ การคัดเลือกและการพัฒนาจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต จุลินทรีย์ย่อยสลายเซลลูโลส จุลินทรีย์ผลิตอินโดลอะซิติก แอซิด (IAA) เป็นต้น การศึกษาและคัดเลือกจุลินทรีย์เพื่อควบคมุโรคพชืโดยชวีวธิ ีเชน่ การใช ้Bacillus megaterium ควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว การใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมโรครากเน่าใบจุดของผักสลัด ตลอดจนการพัฒนาสูตรสำเร็จของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สะดวกและปลอดภัยเพื่อใช้ในการค้า 3. งานวิจัยด้านสัตว์บก การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในภาคใต้ที่มีศักยภาพเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น การใช้เยื่อในลำต้นสาคูเป็นแหล่งพลังงานในอาหารโคและแพะ การใช้กากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันทดแทนข้าวโพดบดในอาหารโคและแพะ การใช้ทางใบปาล์มน้ำมันหมักเป็นอาหารโคและแพะ การใช้เอ็นไซม์ในอาหารผสมสำเร็จที่ใช้ทางใบปาล์มน้ำมันหมักเป็นแหล่งอาหารหยาบ โดยเน้นผลที่มีต่อการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะของสัตว์ รูปแบบของขบวนการหมักในกระเพาะรู เมน ชนิดและจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน การสังเคราะห์โปรตีนของจุลินทรีย์ ตลอดจนสมรรถภาพการผลิต ของสัตว์ 4. งานวิจัยด้านสัตว์น้ำ การวิจัยด้านสัตว์น้ำมีหัวข้อหลักที่ศึกษา 2 หัวข้อคือ 1) การวิจัยโรคสัตว์น้ำ โดยจะเน้นปรสิตที่ก่อให้เกิดโรคระบาดที่รุนแรงเช่น การศึกษาสายวิวัฒนาการและการจัดจำแนกปรสิตกลุ่ม Myxosporidia ในปลาทะเล และกลุ่ม Actinosporea ในปลาเศรษฐกิจของไทย และโรค สไปโรนิวคลีโอซีสที่สร้างความเสียหายให้กับธุรกิจปลาสวยงาม 2) การวิจัยด้านอาหารสัตว์น้ำ ดำเนินการวิจัย

ในหลายด้านเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เช่น การศึกษาแหล่งโปรตีนทดแทนจากสาหร่ายทะเลได้แก่ สาหร่ายผมนางและสาหร่ายไส้ไก่เพื่อลดปริมาณการใช้ปลาป่นในอาหารปลานิลแดงแปลงเพศ การศึกษาประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนในกุ้งขาววานาไมที่มีผลจากคุณภาพโปรตีนและไขมัน ผลของชนิดและระดับของคาร์โบไฮเดรตต่อการใชป้ระโยชนแ์ละการแสดงออกของยนีในปลากะพงขาว การศึกษาผลของสารพิษที่มีการปลอมปนในอาหาร สัตว์น้ำ เช่น เมลามีนและสารพิษเทโทรโดทอกซินใน ปลาปกัเปา้ทีใ่ชท้ำปลาปน่ การศกึษาผลของชนดิและระดบัของคาร์โบไฮเดรตต่อการใช้ประโยชน์และการทำงานของเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารในปลากะพงขาว รวมไปถึงการพัฒนาอาหารสำหรับใช้อนุบาลปลากะพงขาว วัยอ่อน งานบริการวิชาการ จากงานวิจัยสู่บริการวิชาการมีหลายรูปแบบ เช่น การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในงานวันเกษตรภาคใต้เป็นประจำเกือบทุกปี การจัดฝึกอบรมเบื้องต้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและการสกัด ดีเอ็นเอจากใบพืช สำหรับนักเรียนระดับมัธยมต้นและปลายจากโรงเรยีนในพืน้ที ่การฝกึอบรมหลกัสตูรภมูคิุม้กนัวิทยากับการวิจัยด้านอาหารสัตว์น้ำ ให้แก่นักวิชาการและผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทเอกชน อบรมความรู้ในการผลิตอาหารปลาให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง เป็นต้น

AG-Bio Vol 002.indd 9 7/20/10 11:32:55 PM

Page 10: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

10

คุณ อุดร อุณหวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านกักกันพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ ์ คำถาม : อนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ ( In ternat ional Plant Protect ion Convention, IPPC) มีความสำคัญอย่างไรกับการค้าผลิตผลเกษตรในตลาดโลก อนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านอารักขาพืชซึ่งมีข้อ ผูกพันทางกฎหมาย บริหารจัดการโดย “องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ” แต่ดำเนินการโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลของประเทศสมาชิกและองค์การอารักขาพืชส่วนภูมิภาค เป้าหมายของอนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ คือ การร่วมมือกันดำเนินงานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายและการเข้ามาของศัตรูของพืชและผลิตผลพืช และส่งเสริมให้มีการใช้มาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมในการควบคุมศัตรูเหล่านั้น โดยขัดขวางต่อการค้าให้น้อยที่สุด อนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชเป็นหนึ่งในสามองค์การที่ได้รับการยอมรับภายใต้ความตกลงขององค์การการค้าโลก คือ “ความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและ สุขอนามัยพืช” (Agreement for the Application on Sanitary and Phytosanitary Measures, SPS Agreement) ซึ่งความตกลงดังกล่าวกำหนดให้สมาชิกองค์การการค้าโลกมีสิทธิที่จะใช้มาตรการสุขอนามัยและ

สุขอนามัยพืชเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองชีวิต หรือสุขภาพ ของมนุษย์ สัตว์ หรือพืช บนพื้นฐานของหลักการวิทยาศาสตร์ และการทำให้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอยู่บนพื้นฐานที่กลมกลืนกันอย่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น สมาชิกจะกำหนดมาตรการสุขอนามัยหรือสุขอนามัยพืชตามมาตรฐานระหว่างประเทศ อนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศได้พัฒนา “มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอน ามั ย พื ช ” ( I n t e r n a t i o n a l S t a n d a r d f o r Phytosanitary Measures, ISPMs) จนถึงปัจจุบันได้ ตีพิมพ ์ มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชแล้ว 32 มาตรฐาน เพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติในการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชที่ไม่เข้มงวดเกินความจำเป็นจนกลายเป็นการกีดกันทางการค้า ตั วอย่ างของมาตรฐานที่ มี ความสำคัญต่อการค้ า ระหว่างประเทศ เช่น มาตรฐานฉบับที่ 1 เรื่อง หลักการสุขอนามัยพืชเพื่อปกป้องพืชและการบังคับใช้ มาตรการสุขอนามัยพืชในทางการค้าระหว่างประเทศ (Phytosanitary principles for the protection of plants and the application of phytosanitary measures in international trade) ได้กำหนดหลักการที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องพืชซึ่งรวมถึงพืชปลูก พืชป่า และพืชน้ำ โดยการใช้มาตรการสุขอนามัยพืชเกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศของคน สินค้า และยานพาหนะ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น อนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญ อย่างยิ่งต่อการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ ในขณะที่ยังคงสามารถปกป้องพืชจากการทำลายของศัตรูพืชร้ายแรงชนิดใหม่ซึ่งเกิดขึ้นจากการค้าระหว่างประเทศ คำถาม: มาตรการสุขอนามัยพืชของประเทศไทยมีผล อย่างไรกับการเปิดเขตการค้าเสร ี ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการทำความตกลงเขตการค้า เสรีกับหลายประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่ น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมถึงประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา ในส่วนของการดำเนินการด้าน

“การอารักขาพืชระหว่างประเทศ ตามมาตรการสุขอนามัยพืช”

สัมภาษณ์พิเศษ

AG-Bio Vol 002.indd 10 7/20/10 11:33:04 PM

Page 11: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

11

สุขอนามัยพืชได้มีการจัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ (Expert working group) ด้านสุขอนามัยพืช เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจาสำหรับการเปิดตลาดสินค้าเกษตรและการแก้ไขปัญหาด้านสุขอนามัยพืช สำหรับในกลุ่มประเทศอาเซียนได้มีการตั้งคณะทำงาน ASEAN Expert Working Group on Harmonization of Phytosanitary Measures (ASEAN EWG-PS) เพื่อวางมาตรการและกฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชในการนำเข้าและส่งออกสินค้าพืชให้เป็นแนวทางเดียวกันในภูมิภาคอาเซียน โดยได้ดำเนินการกับพืชหลายชนิดที่มีปริมาณการค้าเป็นจำนวนมากในระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ข้าว มะม่วง มันฝรั่งสำหรับการบริโภค ดอกกล้วยไม้เดนโดรเบียม ส้ม ทุเรียน กล้วย เมล็ดปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด และข้าวเปลือก เป็นต้น หลังจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของสินค้าเหล่านี้แล้วจะมีการจัดทำคำแนะนำสำหรับการนำเข้าเพื่อให้ประเทศสมาชิกพิจารณานำไปใช้สำหรับการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชของแต่ละประเทศต่อไป ประเทศไทยยังมีความร่วมมือกับกลุ่มประเทศอาเซียนในความพยายามจัดตั้ง ASEAN Regional Diagnostic Networking (ARDN) เพื่อเป็นเครือข่ายสำหรับให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านของประเทศสมาชิกให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการตรวจจำแนกศัตรูพืช จัดทำฐานข้อมูลศัตรูพืชซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปในการขอเปิดตลาดหรือการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชเพื่อกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชต่อไป นอกจากนีก้รมวชิาการเกษตรยงัไดด้ำเนนิการเพือ่ทำความตกลงความรว่มมอืทางดา้นวชิาการด้านอารักขาพืชและกักกันพืชกับหน่วยงาน Animal and Plant Heal th Inspec t ion Serv ice (APHIS) กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจาประเด็นปัญหาด้านสุขอนามัยพืช ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาการค้าที่เกี่ยวกับสุขอนามัยพืชระหว่างสองประเทศเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว คำถาม : นโยบายหรือทิศทางเพื่อเตรียมความพร้อมด้านมาตรการสุขอนามัยพืชของไทยเป็นอย่างไร กรมวิชาการเกษตรในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบงานอารักขาพืชของประเทศไทย และทำหน้าที่ เป็น NPPO (National Plant Protection Organization) ได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินการด้านสุขอนามัยพืชของไทย ดังนี ้

////////////////

AG-Bio Vol 002.indd 11 7/20/10 11:33:25 PM

Page 12: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

1�

การเตรยีมความพรอ้มดา้นกฎหมาย : ประเทศไทยได้ประกาศบังคับใช้กฎหมายฉบับแรกเพื่อควบคุมการเคลือ่นยา้ยพชืเขา้มาในราชอาณาจกัร ปอ้งกนัมใิหศ้ตัรพูชืร้ายแรงจากต่างประเทศเข้ามาแพร่ระบาดภายในประเทศ คือ “พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507” หลังจากนั้นได้มีการแก้ไขบทบัญญัติ ในบางมาตรา เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์สมดังเจตนารมณ์ของการออกกฎหมาย โดยในป ีพ.ศ. 2542 และ 2551 ไดอ้อก “พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542” และ “พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551” ตามลำดับ นอกจากจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในกฎหมายกักพืชแล้ว ยังมีการปรับเปลี่ยนแนวทางในการออกประกาศกระทรวงเพื่อควบคุมการนำเข้าพืชให้สอดคล้องกับอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศ ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ (International Plant Protection Convention, IPPC) และ ความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application on Sanitary and Phytosanitary Measures, SPS Agreement) การแก้ไขปรับปรุงทั้งในส่วนของประกาศกระทรวงและพระราชบัญญัติ เพื่อให้สามารถควบคุมการเข้ามาของศัตรูพืชร้ายแรงจากต่างประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยพืชกับสินค้านำเข้าได้อย่างเท่าเทียมกับประเทศคู่ค้า ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาประเทศไทยได้มีการออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หลายฉบับเพื่อปรั บปรุ ง แก้ ไ ขบัญชี ร ายชื่ อพื ช และศั ตรู พื ชที่ เ ป็ น สิ่งต้องห้ามรวมถึงแก้ไขบัญชีรายชื่อพืชที่เป็นสิ่งกำกัด เพื่อป้องกันศัตรูพืชร้ายแรงที่อาจจะติดมากับพืชที่เป็น

สินค้านำเข้าโดยอาศัยผลจากการวิเคราะห์ความเสี่ยง ศตัรพูชื ปจัจบุนัมพีชืเปน็จำนวนมากทีอ่ยูภ่ายใตก้ารควบคมุเป็นสิ่งต้องห้าม ประกอบด้วย ส่วนผลของพืช 27 ชนิด 25 สกุล และ 2 วงศ์ ส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช 8 ชนิด 11 สกุล 1 วงศ์ ดิน ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ทางการเกษตร สัตว์ศัตรูพืช ไส้เดือน แมลง ไร ไส้เดือนฝอย หอย หอยทาก วชัพชื ตวัหำ้ และตวัเบยีน ตวัไหม รงัไหม ไข่ไหม ศัตรูพืชกักกันจำนวน 472 ชนิด และพืชที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรม 33 ชนิด 51 สกุล และ 1 วงศ์ การ เตรี ยมความพร้ อมด้ านบุ คลากรและ หอ้งปฏบิตักิาร : กรมวชิาการเกษตรไดเ้ตรยีมความพรอ้มด้านบุคลากรเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านสุขอนามัยพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มศักยภาพด้านการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช โดยประสานงานจัดทำโครงการความร่วมมือทางวิชาการ ด้านอารักขาพืชและกักกันพืชกับหน่วยงานวิจัยของ ต่างประเทศ เช่น หน่วยงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ได้แก่ หน่วยงาน Agricultural Research Service (ARS) และ หน่วยงาน Animal and Plant Health Inspection Service (APHIS) ทัง้นีเ้พือ่สรา้งเสรมิความสามารถของนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร โดยส่งไปฝึกอบรมหรือทำงานวิจัยในสาขาต่างๆ ที่ หน่วยงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรยังร่วมกับหน่วยงานของออสเตรเลีย ได้แก่ Aus t ra l ian Center for In ternat ional Agricultural Research (ACIAR) เพื่อเสริมสร้างความรู้ความสามารถของนักวิ ชาการในส่ วนที่ เ กี่ ย วข้ อง กับการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชโดยใช้เทคนิคอณูชีววิทยา ที่ทันสมัยให้ได้ผลอย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยส่ง นักวิชาการไปฝึกอบรมการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชที่ ประเทศออสเตรเลีย และการจัดการฝึกอบรมการตรวจวนิจิฉยัศตัรพูชืในประเทศไทย โดยมผีูเ้ชีย่วชาญเฉพาะดา้นจากออสเตรเลยีมาเปน็วทิยากร นอกจากนีย้งัมกีารปรบัปรงุ ห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชให้ได้มาตรฐานเพื่อวินิจฉัยศัตรูพืชที่ติดมากับสินค้านำเข้าและส่งออกให้ได้ผลที่ถูกต้องและรวดเร็ว รวมทั้งการทดลองวางระบบการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชระยะไกลผ่านระบบอินเตอร์เนท (Remote microscope diagnosis) เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานที่มีจำนวนค่อนข้างจำกัด ให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่ห่างไกล ในการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานด้านสุขอนามัยพืชมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

////////////////

สัมภาษณ์พิเศษ

AG-Bio Vol 002.indd 12 7/20/10 11:33:30 PM

Page 13: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

สำนวนที่คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดีจากวรรณกรรมเรื่องพระอภัยมณี ของปราชญ์สุนทรภู่ คือหลักคิดพื้นฐานของการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศ หรือในภาษาตะวันตกเรียกว่า “Centre of Excellence” หรือที่มีความหมายเดียวกับภาษาทางพระว่า “เอตทัคคะ” ศูนย์ความเป็นเลิศในอุดมคติ คือศูนย์ที่สามารถคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่า และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ระหว่างวันที่ 10-11 มิถุนายน 2553 คณะผู้บริหารของสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว) และศูนย์ความเป็นเลิศทั้ง 9 ศูนย์ ได้ร่วมกันปรึกษาหารือในการประชุม PERDO Executive Retreat ณ The Rose Garden Riverside สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม การประชุมในครั้งนี้ ได้รับความ ร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงของศูนย์ความเป็นเลิศ เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง โดยมีเจตนารมณ์หลักในการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบและกลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านวิชาการของศูนย์ฯ รวมทั้งรูปแบบและกลยุทธ์การดำเนินงานเชิงนโยบายของ สบว. ให้เหมาะสม สามารถบรรลุภารกิจตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดในอันที่จะสร้างศูนย์ความเป็นเลิศ ทางวิชาการให้เป็นหน่วยอ้างอิง และที่พึ่งพิงทางวิชาการให้กับสังคม

จากแนวคิดพื้นฐานของศูนย์ความเป็นเลิศข้างต้น คณะผู้บริหารทั้งหมด จึงได้มีความคิดเห็นร่วมกันว่าให้ทุกศูนย์ฯ กระชับพันธกิจ วิชาการให้แคบลง โดยการกำหนดทิศทางการวิจัย (Research Direction) และกลุ่มการวิจัย (Research Focus) ให้มีความกระชับ ไม่เกินศูนย์ฯ ละ 3 ทิศทาง และ 7 กลุ่มการวิจัย ขณะเดียวกันให้แสวงหามาตรการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของงานให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ฯ มุ่งสู่ความเป็นเอตทัคคะทางวิชาการอย่างแท้จริง

13

ความเป็น เอตทัคคะทางวิชาการ ของศูนย์ความเป็นเลิศ

“... อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล...”

PERDO TODAY/

AG-Bio Vol 002.indd 13 7/20/10 11:33:52 PM

Page 14: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

ระเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO) ดังนั้นการดำเนินการค้าขายระหว่างประเทศจึงต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและ ข้อตกลงที่กำหนดโดย WTO ในปี พ.ศ. 2538 มีการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย ทำให้เกิดความตกลงทั่วไป ว่าด้วยภาษีศุลกากรและสินค้า (General Agreement on Tariffs and trade : GATT) ภายใต้ความตกลงนี้มีความตกลงที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกสามารถดำเนินการในเรื่องการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัย และสขุอนามยัพชื (Sanitary and Phytosanitary Measures หรือ SPS) แทนการสร้างมาตรการด้านภาษี ความตกลง SPS ดังกล่าวให้การยอมรับอนุสัญญาว่าด้วยอารักขาพืชระหว่างประเทศ หรือ International Plant Protection Convention ชื่อย่อ IPPC ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ประเทศภาคีลงนามให้สัตยาบันร่วมกันโดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) อนุสัญญา IPPC มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหามาตรการที่เหมาะสม กำหนดให้ประเทศสมาชิกนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของศัตรูพืชจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่ง อันเป็นสาเหตุให้เกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้น และกำหนดมาตรฐาน มาตรการสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศ (International Standards for Phytosanitary Measures หรือ ISPM) เพื่อให้ความมั่นใจแก่ประเทศภาคีสมาชิกว่า มาตรการที่ใช้ปกป้องคุ้มครองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary measures) จากศัตรูพืชร้ายแรงจะมีความกลมกลืน และไม่นำไปใช้โดยปราศจากเหตุผลทางวิทยาศาสตร์จนเป็นอุปสรรคทางการค้า

ปัจจุบัน ISPMs ที่ประกาศให้ประเทศสมาชิกนำไปใช้มี 32 เรื่อง แต่ละเรื่องเป็นหลักการหรือแนวทางสำหรับประเทศต่างๆ ในการสร้างมาตรการให้สอดคล้องกัน เป็นการ อำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อปกป้อง มิให้ศัตรูพืชที่อาจติดไปกับสินค้าพืชและผลิตภัณฑ์จาก ประเทศหนึง่ไปสูอ่กีประเทศหนึง่ ประเทศทีเ่ปน็ภาคอีนสุญัญา IPPC สามารถใช้สิทธิแสดงความเห็นต่อ ISPM แต่ละเรื่องที่ที่ประชุมใหญ่เสนอได้ และเสนอขอปรับปรุงแก้ไขได้หากมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนโดยความเห็นชอบจาก ที่ประชุมใหญ่ หน่วยงานที่รับผิดชอบงานอารักขาพืชของประเทศไทย คือกรมวิชาการเกษตร ทำหน้าที่เป็น NPPO (National Plant Protection Organization) ซึ่งมีกฏหมายที่ใช้เป็นหลักปฏิบัติและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับสินค้าพืชและผลผลิตจากพืชที่ส่งออกและนำเข้า อีกหน่วยงานหนึ่งคือสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. ทำหน้าที่เป็น contact point สื่อสารกับประเทศสมาชิก WTO ในด้านมาตรฐาน สุขอนามัยพืชภายใต้ข้อตกลง SPS และอนุสัญญา IPPC การรับมาตรฐาน ISPMs มาใช้ตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช ประเทศไทยรับเอามาตรฐานของระเบียบวิธีการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชกักกัน ซึ่งตรงกับ ISPM No.27 Diagnostic protocols for regulated pests มาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานตรวจหาศัตรูพืชกักกัน ณ ด่านตรวจพืช เพื่อให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติที่ใช้กันในระหว่างกลุ่มประเทศภาคีสมาชิก ในมาตรฐานนี้มีเนื้อหาระบุขอบข่ายและขั้นตอนของ14

เทคนิคอณูชีววิทยากับมาตรฐานมาตรการสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศ

ผศ.ดร พิสสวรรณ เจียมสมบัติ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เรื่องน่ารู้ AgBiotech

AG-Bio Vol 002.indd 14 7/20/10 11:34:04 PM

Page 15: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

แนวปฏิบัติ ซึ่งประเทศภาคีสมาชิกจะใช้เป็นต้นแบบ เพื่อพัฒนาระเบียบวิธีการที่จำเพาะกับศัตรูพืชแต่ละชนิดให้ เจา้หนา้ทีป่ฏบิตังิานไดอ้ยา่งถกูตอ้ง และในกรณทีีต่อ้งสง่ตรวจที่ห้องปฏิบัติการ จะต้องตรวจตาม protocol ที่ระบุไว้ใน ส่วนของ annex ของมาตรฐานเบอร์ 27 นี้ ระเบียบวิธีการวินิจฉัยศัตรูพืชโดยทั่วไปเริ่มจากการตรวจดูร่องรอยศัตรูพืชและ/หรืออาการที่เกี่ยวข้อง ชึ่งเกิดจาก ศัตรูพืช ระยะต่างๆ ของศัตรูพืช และวิธีการตรวจหาศัตรูพืชในสินค้า เช่นวิธีการแยก-การสกัด วิธีกลับคืนสภาพ และวิธีการรวบรวมศัตรูพืชจากพืช ต้องมีข้อมูลและคำแนะนำสำหรับการจำแนกศัตรูพืช ประกอบด้วยข้อมูลรายละเอียดของวิธีการด้านสัณฐานวิทยา วิธีการวัดทางสัณฐานวิทยา วิธีการบน พื้นฐานของคุณสมบัติทางชีววิทยา ชีวเคมีและโมเลกุลของ ศัตรูพืช เป็นต้น ปัจจุบันสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร แห่งชาติ หรือ มกอช. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรและสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แปลมาตรฐาน ISPM No.27 เป็นภาษาไทย ชื่อ มาตรการสุขอนามัยพืช : ระเบียบวิธีการวินิจฉัยศัตรูพืชควบคุม ซึ่งอธิบายถึงขั้นตอนและวิธีการสำหรับตรวจหาและจำแนกชนิดศัตรูพืชควบคุมที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ระเบียบวิธีการวินิจฉัยศัตรูพืชนี้ จะนำไปใช้ในสภาวการณ์ที่แตกต่างกันซึ่งอาจต้องการวิธีการที่แตกต่างกันไป มีการจัดกลุ่มของสภาวการณ์ตามระดับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเรื่องความไวในการตรวจ ความจำเพาะ และความน่าเชื่อถือของวิธีการที่สูงขึ้น ศัตรูพืชที่เคลื่อนที่ช้าจะใช้วิธีการวินิจฉัยที่ต่างจากเชื้อโรคพืชที่เจริญและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว หรือศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงต่อพืชและระบบนิเวศของท้องถิ่นในระดับสูงก็จะต้องใช้วิธีการทีม่คีวามไวและความแมน่ยำสงู สิ่งที่ควรคำนึงถึงในทุกกรณีคือความจำเป็นที่จะต้องตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องแม่นยำและทันเวลาเพื่อให้สามารถแยกแยะศัตรูพืชต่างถิ่นได้ ดังนั้นประเทศไทยก็จะต้องพัฒนาระเบียบวิธีการวินิจฉัยเชื้อโรคพืชขึ้นให้เหมาะสม ให้มีความไว ความจำเพาะและความน่าเชื่อถือสำหรับรองรับมาตรการตรวจกักกันและเฝ้าระวังศัตรูพืชที่มาพร้อมกับสินค้าระหว่างประเทศก่อนจะหลุดรอดเข้ามาแพร่ระบาดทำความเสียหายแก่ประเทศไทย วิธีตรวจวินิจฉัยและระบุชนิดเชื้อสาเหตุโรคพืช การตรวจวินิจฉัยชนิดศัตรูพืชโดยเฉพาะที่ เป็นเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชอาจใช้หลายวิธีร่วมกันในกรณีที่วิธีการ

อันน่าเชื่อถือได้มีมากกว่า 1 วิธี และเป็นที่ยอมรับ วิธีการอื่นๆ ที่มีความเหมาะสมก็อาจนำมาให้ใช้เป็นทางเลือกหรือเป็นวิธีการเสริม เช่น ขณะที่มีการใช้วิธีทางสัณฐานวิทยา (Morphological characterization) ซึ่งมีความน่าเชื่อถือก็ยังมีวิธีการทางชีวเคมีหรือทางโมเลกุลหรืออณูวิทยาที่เหมาะสำหรับนำมาใช้ด้วยเช่นกัน เช่นในกรณีที่ต้องการแยกศัตรูพืชจากพืชที่ไม่แสดงอาการหรือผลิตภัณฑ์ของพืช (กรณีการเข้าทำลายแบบแฝงตัวโดยพืชยังไม่แสดงอาการ , la tent infection) อาจจะใช้วิธีการที่จำแนกศัตรูพืชบนตัวอย่างที่ ไม่แสดงอาการได้โดยตรงหรือใช้วิธีการทางชีวเคมีหรือทางโมเลกุล ซึ่งได้แก่ วิธีการทางซีรัมวิทยา (Serological techniques) อเิลก็โตรฟอเรซสิ (Electrophoresis) ปฏิกิริยาห่วงโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase Chain Reaction, PCR) ตัวตรวจดี เอ็นเอที่ติดฉลาก (Labeled DNA Probe) รหัสแท่งของดีเอ็นเอ (DNA Barcoding) ลายพิมพ์ดีเอ็นเอและรูปแบบดีเอ็นเอหลังจากถูกย่อยด้วยเอนไซม์ (DNA Fingerprinting & RFLPs) การหาลำดับเบสบนดีเอ็นเอ (DNA sequencing) เป็นต้น เทคนิคทางอณูชีววิทยาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมาตรฐาน ISPM เทคนิคทางอณูชีววิทยาทั้งแบบที่ใช้ดีเอ็นเอและโปรตีน (แอนติบอดี) ตอบสนองความต้องการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชที่รวดเร็วและแม่นยำ และสอดคล้องกับแนวโน้มของมาตรฐานระหว่างประเทศที่ต้องการความจำเพาะแม่นยำ ในการระบุชนิดศัตรูพืช เป็นวิธีการที่สามารถนำมาใช้ตรวจวินิจฉัย ศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อโรคพืช และได้ถึงขั้นที่ทราบ

ชนดิของสารพนัธกุรรมและรหสั พันธุกรรมตลอดจนแสดงถึงความสัมพันธ์ของเชื้อดังกล่าวกับเชื้ออื่นได้ในคราวเดียวกันเทคนิคด้านดีเอ็นเอส่วนใหญ่ มีความไวสูงกว่าวิธีการอื่นและช่วยให้แยกแยะพาหะนำโรคได้ชั ด เจนยิ่ งขึ้ น มีประโยชน์หลากหลายทั้งการนำไปใช้ เพื่อตรวจเฝ้าระวัง พยากรณ์โรคระบาดและควบคุมศัตรูพืช

นิยมนำไปใช้เพื่อตรวจสอบเชื้อโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์ เนื้อเยื่อพืชจากการเพาะเลี้ยง และในพันธุกรรมพืช ตรวจหาเชื้อโรคพืชที่ติดไปกับอาหารจากพืช ในสินค้าพืชที่ผ่านกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว รวมไปถึงการตรวจหาเชื้อ โรคพืชที่แฝงตัวในพืช และไม่แสดงอาการให้เห็นในขณะที่มีการส่งออกหรือนำเข้า 15

AG-Bio Vol 002.indd 15 7/20/10 11:34:06 PM

Page 16: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

16

เทคนิคการตรวจวินิจฉัยทางอณูชีววิทยาที่เป็นที่ยอมรับได้แก่ ELISA, DNA & RNA Probes, Bio-PCR, RT-PCR, Realtime PCR เทคนิคเหล่านี้มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปใช้ได้กว้างขวางสำหรับตรวจหาเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายประเภท เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไส้เดือนฝอย ไวรัส ไวรอยด์ เทคนิค Multiplex PCR สามารถตรวจหาเชื้อ โรคพืชได้หลายชนิดในปฏิกิริยาเดียวกัน ในขณะที่เทคนิค realtime PCR อาจใช้หาปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชที่ติดมา กับเมล็ดได้ (quantitative PCR) ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบทวีปยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้พัฒนาระเบียบวิธีวินิจฉัย เชื้อโรคพืช และศัตรูพืชชนิดต่างๆ ที่ใช้เทคนิคด้านดีเอ็นเอ ขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลาย ส่วนประเทศในแถบทวีปเอเซียยังมี ระเบียบวิธีไม่มากนักแม้จะเป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่ของโลก ในที่นี้จะยกตัวอย่างเทคนิคที่นิยมใช้ตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคพืชบางชนิดมาให้ทราบในเบื้องต้นดังต่อไปนี้ เทคนิคทางเซรุ่มวิทยา วิธี ELISA ที่ใช้ตรวจวินิจฉัยเชื้อสาเหตุโรคพืช มีความไวของวิธีการแตกต่างกันตามชนิดของเชื้อ มีการผลิตชุดตรวจ ELISA เป็นการค้าเพื่อใช้ตรวจเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และรา ได้แก่ชุดตรวจสำเร็จรูปที่ผลิตโดยบริษัท Agdia Co.Ltd. ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท Adgen ประเทศสหราชอาณาจักร และบริษัท DSMZ ประเทศเยอรมนี โดยทั่วไป จะมีมาตรฐานความไวในการตรวจเชื้อแบคทีเรียอยู่ที่ระดับ 105 CFU/ml ซึ่งพบได้ในตัวอย่างพืชสดที่มีอาการแผลจุดชัดเจนและมีเชื้อในปริมาณมาก ส่วนชุดตรวจสอบเชื้อไวรัสมีความไวอยู่ที่ระดับนาโนกรัม (ng) เทคนิค PCR และ RT-PCR การตรวจสอบไวรัสสาเหตุโรคพืชเน้นที่ความแม่นยำและรวดเร็ว ไวรัสพืชส่วนใหญ่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอจึงใช้วิ ธี ก ารตรวจสอบจากปฏิ กิ ริ ย าที่ เ รี ยกว่ า Reve r se

Transcription PCR (RT-PCR) ซึ่งปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้ทำปฏิกิริยาได้ในหลอดเดียวตลอดกระบวนการ ที่เรียกว่า one step RT-PCR และ one step realtime PCR มีความไวในระดับที่ทำให้สามารถตรวจสอบไวรัสในแมลงพาหะเพียง 1 ตัวได้ ตัวอย่างเช่น การตรวจเชื้อทอสโพไวรัสในตัวเพลี้ยไฟ กรณี Tomato spotted wilt tospovirus และ Capsicum chlorosis tospovirus เป็นต้น เมื่อต้องการตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัสหลายชนิดในคราวเดียวก็สามารถประยุกต์ใช้วิธีการเหล่านี้ในรูปแบบไมโครอะเรย์ วิธีการ RT-PCR ที่ใช้ตรวจสอบไวรัสใช้ได้ผลดีเช่นกันเมื่อตรวจสอบ เชื้อไวรอยด์ แต่นิยมหาลำดับเบสบนสายดีเอ็นเอผลผลิตที่ได้ เพื่อยืนยันผล เทคนิคที่เป็นทางเลือกอื่นในการตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรอยด์ ได้แก่การใช้ดีเอ็นเอตัวตรวจ ซึ่งพบว่าได้ผลดีในการตรวจ Potato spindle tuber viroid ในหัวพันธุ์มันฝรั่ง ไวรัสที่มีสารพันธุกรรมเป็นดีเอ็นเอใช้เทคนิค PCR ได้ผลดีเนื่องจากขั้นตอนการเตรียมดีเอ็นเอต้นแบบของตัวอย่างพืช ที่นำไปใช้ในปฏิกิริยา PCR ไม่ยุ่งยากเมื่อเทียบกับการสกัด อาร์เอ็นเอจากตัวอย่างพืช วิธีการที่เรียกว่า Bio-PCR เป็นการประยุกต์วิธีการเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียเพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อต้นแบบให้มีมากพอที่จะเริ่มต้นการทำปฏิกิริยา PCR มีการพัฒนาระเบียบวิธีการ (protocol) ที่เหมาะสมสำหรับใช้ตรวจสอบเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด เช่น เชื้อ Ralstonia solanacearum สาเหตุโรคเหีย่วของพชืตระกลูขงิ และตระกลูพรกิ-มะเขอื เชือ้ Acidovorax avenae subsp. citrulii สาเหตโุรค fruit blotch ของแตงโม ซึ่งเพิ่มความไวของวิธีการให้เหนือกว่าวิธีการอื่นมาอยู่ที่ระดับ 102 CFU/ml และวิธี realtime PCR มีความไวสูงที่สุดในขณะนี้อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 102 CFU/ml การตรวจวนิจิฉยัเชือ้ราสาเหตโุรคพชื ทำใหจ้ำแนกเชือ้ราในระดับสปีชีส์ได้ถูกต้องกว่าการใช้ลักษณะสัณฐานของเชื้อซึ่งอาจมีความผันแปรของลักษณะดังกล่าวจากสภาวะของการเลี้ยงเชื้อในอาหารสังเคราะห์ มีการพัฒนาวิธีการที่ใช้สารเรืองแสงติดฉลากตัวตรวจดี เอ็นเอที่นำมาทำปฏิกิริยา

เรื่องน่ารู้ AgBiotech

AG-Bio Vol 002.indd 16 7/20/10 11:34:23 PM

Page 17: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

1�

realtime PCR ซึ่งบริษัทผู้ผลิตชุดตรวจเรียกเทคนิคนี้ว่า TaqManTM probes ประเทศต่างๆ ในแถบทวีปยุโรปซึ่ง สร้างมาตรฐานระเบียบวิธีการวินิจฉัยเป็นรายเชื้อ ได้มีการพัฒนาดีเอ็นเอที่เป็นไพรเมอร์จำเพาะ (specific primer pa i r s ) กับ เชื้ อราชนิดต่ างๆ ในหลาย genus เช่น Phytophthora, Colletotrichum, Helminthosporium, Rhizoctonia ทั้งที่พบบนใบพืช (foliage phytopathogen) และในดิน (soil borne phytopathogen) การวินิจฉัยและจำแนกชนิดไส้เดือนฝอยสาเหตุโรคพืชด้วยเทคนิคด้านดีเอ็นเอ นิยมใช้วิธี PCR แต่ข้อมูลรหัส พันธุกรรมของสาเหตุโรคพืชชนิดนี้ยังมีไม่มากนัก ปัจจุบันมีข้อมูลของ Meloidogyne arenaria, M. incognita, M. javanica, และ M. hispanica ซึ่งทำให้สามารถตรวจจำแนกไส้ เดือนฝอยแต่ละสปีชีส์ เหล่านี้ ได้ในคราวเดียว พร้อมกันด้วยวิธี multiplex PCR และ PCR-RFLP แต่เนื่องจากการระบาดของไส้เดือนฝอยมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ขึ้นกับสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ที่ ไส้ เดือนฝอยอาศัยอยู่ การเกิดโรคระบาดจากไส้เดือนฝอยต่างถิ่นแบบฉับพลันจึง ไม่เกิดขึ้นเช่นที่พบกับสาเหตุโรคพืชประเภทอื่น ดีเอ็นเอบาร์โค้ด (DNA Barcode) เป็นสายดีเอ็นเอสายสั้นๆ ประมาณ 650 คู่เบส ที่ใช้เป็นเครื่องหมายแทนรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ ใช้ได้กับทุกระยะของสิ่งมีชีวิต มีความถูกต้องแม่นยำสูง ทำซ้ำได้เหมือนเดิมทุกครั้ง รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก อาจปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพคล้าย DNA chip ที่ใช้ตรวจตัวอย่างได้คราวละหลายๆ ตัวอย่างหรือจำแนกได้แม้มี หลายๆ ชนิดปะปนกันอยู่ แต่ละท้องถิ่นและแต่ละประเทศควรมกีารจดัทำฐานขอ้มลูของดเีอน็เอบารโ์คด้ไวใ้ช ้หรอืมเีครอืขา่ยของข้อมูลในกลุ่มภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในการจำแนกชนิดศัตรูพืชที่มาจากภายนอกได้อย่างรวดเร็ว บาร์โค้ดดังกล่าวประกอบด้วยลำดับเบสบนสายดีเอ็นเอของศัตรูพืชควบคุมที่มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อดึงข้อมูลออกมาเปรียบเทียบกับบาร์โค้ดของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการตรวจสอบ ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ฐานข้อมูลของเชื้อราสาเหตุโรครากเนา่โคนเนา่ของไมย้นืตน้ทีเ่กดิจากเชือ้ Phytophthora ramorum โรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้ม-มะนาวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas citri subsp. citri โรครากปมของต้นสนที่ เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม โรคไวรัสของ อัลสโตรมีเรีย (Alstroemeria) และโรคของไม้ประดับที่เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา เทคนิคอื่นๆ สำหรับอนาคตอันใกล้ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วเทคนิคที่ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการวินิจฉัยเชื้อโรคพืชและจีโนมต่างๆ ได้แก่

ไมโครอะเรย์ (Microarray) ซึ่งใช้หลักการเกาะยึดอย่างจำเพาะของสายดีเอ็นเอคู่สมสายสั้นๆ ของเชื้อโรคพืชกับ ดีเอ็นเอตัวตรวจที่ตรงกัน อ่านผลในคราวเดียวได้หลายตัวอย่าง หลายชนิดและแปลผลด้วยโปรแกรมประมวลผล ของคอมพิวเตอร์ จุดเด่นคือการตรวจตัวอย่างและระบุชนิดเชื้อในคราวเดียวกันได้เป็นจำนวนมาก มีความแม่นยำ ทำซ้ำได้ผลเช่นเดิมทุกครั้งและสามารถประยุกต์ เข้ากับความต้องการตรวจสอบที่หลากหลายทั้งการตรวจสอบผลผลิตพืช อาหารจากพืช เมล็ดพันธุ์ ที่มีปริมาณการตรวจสอบมากในแต่ละวัน ปัจจุบันมีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ได้ง่ายขึ้น เทคนิควิธีการอื่นที่ตอบสนองความตอ้งการแบบเดยีวกนันีไ้ด ้ เชน่ ไบโอเซนเซอร ์(Biosensor) ที่ใช้ตัวตรวจในรูปของดีเอ็นเอ หรือโปรตีน รวมทั้งแอนติบอดีจับสารประกอบจำเพาะของเชื้อโรคพืชที่ ตรงกันและรายงานผลในรูปของภาพ แสง สี หรือตัวเลขที่คำนวณเปรียบเทียบกับมาตรฐาน เทคนิคการใช้จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic noses) อาศัยการวิเคราะห์สารประกอบประเภทโวลาไทล์ (volatile substances) หลายชนิดที่ระเหยจากเชื้อหรือสารประกอบจำเพาะอันเนื่องมาจากเชือ้ พรอ้มๆ กนัหลายสาร แลว้ประมวลผลเปรยีบเทยีบกับข้อมูลมาตรฐานเพื่อระบุชนิดของเชื้อโรคได้ ความต้องการการพัฒนาด้านระเบียบวิธีการตรวจ วินิจฉัยศัตรูพืชสำหรับประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. ได้ริเริ่มจัดทำระเบียบวิธีการวินิจฉัยที่ใช้สำหรับตรวจเชื้อแบคทีเรีย Pantoea stewartii subsp. stewartii สาเหตุโรคเหี่ยวของข้าวโพด จากเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ขึ้นใช้เป็นมาตรฐานด้านสุขอนามัยพืชแห่งชาติ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ที่เป็นส่วน annex ของมาตรฐานระหว่างประเทศ ISPM No.27 วิธีการที่นำมาใช้ในการระบุชนิดของเชื้อนี้มีตั้งแต่วิธีการแบบดั้งเดิมที่ใช้การแยกเชื้อมาเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อกึ่งคัดเลือก การใช้แอนติบอดีตรวจสอบเชื้อด้วยเทคนิคทางเซรุ่มวิทยา เช่น ELISA การตรวจคุณสมบัติเฉพาะของเชื้อ เช่น รูปร่างลักษณะ การติดสี แกรม การเคลื่อนที่ การทดสอบทางชีวเคมี การใช้เทคนิค Biolog ไปจนถึงการตรวจด้วยเทคนิคด้านดีเอ็นเอ เช่น PCR ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอและลำดับเบสบนดีเอ็นเอ อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ เป็นตลาดการค้าสำคัญที่ต้องพึ่งพาเทคนิคด้านอณูชีววิทยา ในการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช จากตัวอย่างความเสียหายอันเกิดจากโรคผลเน่าของแตงโม (Watermelon fruit blotch disease) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulii ที่เชื้อติดมากับเมล็ดพันธุ์ (seed borne)

AG-Bio Vol 002.indd 17 7/20/10 11:34:24 PM

Page 18: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

18

ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่เมล็ดพันธุ์มูลค่ากว่า 75 ล้านเหรยีญสหรฐัฯ ในพืน้ทีป่ลกูแตงโมในประเทศสหรฐัอเมรกิากวา่ 250,000 เอเคอร์ คิดเป็นมูลค่าผลผลิตแตงโมถึง 450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ระดับความเสี่ยงของศัตรูพืชชนิดดังกล่าวจัดเป็นระดับสูงสุดที่ไม่ต้องการให้มีการปนเปื้อนของเชื้ออย่างสิ้นเชิง (Zero-tolerance level) ในประเทศไทยพบโรคนี้ระบาดแพร่หลายในพื้นที่ปลูกแตงโมทั่วทุกภูมิภาคซึ่งจะต้องมีการควบคุมไม่ให้แพร่ระบาดมากไปกว่านี้ ประเทศที่เป็นคู่ค้าต้องการให้ตรวจรับรองเมล็ดพันธุ์ให้ปลอดเชื้อดังกล่าวก่อน ส่งออก เช่นเดียวกับกรณีโรคเหี่ยวของข้าวโพดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pantoea stewartii subsp. stewartii และเชื้อติดไปกับเมล็ดพันธุ์นั้น แม้จะยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการว่าพบโรคนี้ในประเทศไทย แต่ไทยต้องตรวจสอบรับรองเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ส่งออกว่าปลอดเชื้อ เชื้อแบคทีเรียที่ ติดมากับเมล็ดพืชอาจมีอยู่มีในปริมาณน้อย และอาจไม่สามารถเจริญจนเข้า ทำลายต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดเหล่านั้นได้ แต่ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าที่ระดับใดจะปลอดจากการ เป็นโรค ดังนั้นการตรวจสอบเชื้อดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตรวจให้พบไม่ว่าจะมีปริมาณน้อยเพียงใด ซึ่งเทคนิคด้าน ดีเอ็นเอเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แม้ว่าการใช้เทคนิควิธีการวินิจฉัยแบบดั้งเดิมทั่วไป เช่นการแยกเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ การปลูกเชื้อบนพืชอาศัย

การทดสอบการก่อโรคของเชื้อจะเป็นวิธีการที่ได้รับการ ยอมรับมานานว่ามีความถูกต้อง แม่นยำ และไม่จำกัดระยะเวลาของการตรวจ แต่เทคนิคทางอณูชีววิทยามีความสำคัญ ต่อการตรวจสอบเชื้อโรคพืชที่ไม่สามารถใช้สายตาและอุปกรณ์อย่างง่ายๆ หรือมีระยะเวลาจำกัด แต่จำเป็นต้องส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการเฉพาะทางเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละเชื้อตรวจพิเคราะห์และระบุชนิดตลอดจนสายพันธุ์โดยละเอียด เช่นกรณีของอาหารจากพืช เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์ ซึ่งวิธีการตรวจเฉพาะทางที่มีความแม่นยำสูงเหล่านี้ควรได้รับการพัฒนาให้สามารถดำเนินการได้ ณ ด่านตรวจพืช และ

สอดคล้องกับสภาวการณ์ของประเทศไทยเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการค้าสินค้าพืชไปยังต่างประเทศที่เป็นแบบ ไร้พรมแดนและไม่มีมาตรการด้านภาษี แต่ในขณะเดียวกันสามารถระงับยับยั้งการแพร่เข้ามาของศัตรูพืชต่างถิ่นได้ ทันท่วงที เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายต่อผลผลิตพืชภายในประเทศ นอกจากนี้ ก า ร เพิ่ ม ศั ก ยภาพของ

ห้องปฏิบัติการและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูงทัดเทียมกับประเทศคู่ค้า การให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจเรื่อง SPS ให้แก่ เกษตรกรและ ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้การใช้มาตรการด้าน สุขอนามัยพืชเกิดเป็นผลดีต่อระบบการผลิตและการค้าของประเทศไทยโดยรวม

บรรณานุกรม • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2551. มาตรการสุขอนามัยพืช : ระเบียบวิธีการวินิจฉัยศัตรูพืชควบคุม. • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2551. มาตรการสุขอนามัยพืช : ระเบียบวิธีการวินิจฉัยเชื้อ Pantoea stewartii subsp. stewartii สาเหตุโรคเหี่ยวของข้าวโพด. • อรพันธ์ ภาสวรกุล. (ไม่ทราบปีที่พิมพ์เผยแพร่). บัญญัติ 10 ประการภายใต้ข้อตกลงทางสุขอนามัยพืชและสัตว์ขององค์กร การค้าโลก. กลุ่มระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ (แปลและเรียบเรียงจาก Campos H. The Ten Commandments of the Sanitary and Phytosanitary Agreement of the World Trade Organization (http://fao.org/ag/aga/agah/vets-1-2/7eng.htm) • Ball SL, Amstrong KF. 2005. DNA Barcoding: a standardized global tool for the identification of invasive alien species. Aquatic Nuisance Species Task. Force. Asia–Pacific Economic Forum, Beijing China. • Davies H. (ed). 2010. Biosecurity, National Center for Biosecurity and Infectious Disease 105 years of science history. MAF Biosecurity Newzealand. 36pp. • Diagnostic protocols for regulated pests. 2006. ISPM No.27. FAO Rome. • Schaad NW, Frederick RD, Shaw J, Schneider WL, Hickson R, Petrillo MD, and Luster DG. 2003. Advances in molecular-based diagnostics in meeting crop biosecurity and phytosanitary issue. Annu. Rev. Phytopathol. 41: 305-24.

เรื่องน่ารู้ AgBiotech

AG-Bio Vol 002.indd 18 7/20/10 11:34:25 PM

Page 19: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

19

20 พฤษภาคม 2553 มีการเสนอข่าวใหญ่ของโลกเกี่ยวกับชีวิต (life) อยู่ 2 เรื่อง เรื่องที่หนึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว คือมีการสูญเสียชีวิต (loss of life) ของคนไทยกว่า 80 ชีวิต ในการเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในการขอพื้นที่คืน จากการชุมนุมของคนเสื้อแดง ย่านราชประสงค์ กรุงเทพฯ ซึ่งมาเป็นข่าวบดบังข่าวใหญ่ของโลก คือ นักวิทยาศาสตร์ของสถาบัน เจ เคร็ค เวนเตอร์ (The J. Craig Venter Institue, USA) ซึ่งนำโดย ดร. เคร็ค เวนเตอร์ ได้ตีพิมพ์รายงานในวารสาร Science ถึง การสังเคราะห์จีโนม (สารพันธุกรรมทั้งหมด) ของเชื้อมายโคพลาสมา มายคอยดิส (Mycoplasma mycoides) ซึ่งมีขนาดยาว 1.08 ล้านคู่เบส และนำไปถ่ายฝาก เ ข้ า สู่ เ ชื้ อ ม าย โคพลาสมา อี ก ชนิ ดหนึ่ ง ที่ ชื่ อ ว่ า มายโคพลาสมา คาปริโคลัม (M. capricolum) และสามารถเลี้ยงพัฒนาเจริญเติบโตกลายเป็นเชื้อ มายโคพลาสมา มายคอยดิส ตามจีโนมสังเคราะห์ที่ได้ถ่ายฝาก หรือนัยหนึ่งเป็นการสร้าง เซลล์สังเคราะห์ (synthetic cell) ซึ่งเป็นก้าวเบือ้งตน้ทีจ่ะนำไปสูช่วีติทีส่งัเคราะหไ์ด ้ และถา้พฒันาใหว้ธิกีารเหล่านี้มีประสิทธิภาพ กระทำได้โดยง่าย นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถที่จะออกแบบสังเคราะห์ยีน นำยีนมาประกอบและถ่ายฝาก เพื่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ได้ เช่นการสร้างสาหร่ายเซลล์เดียว เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ แม้ว่าจะมีผู้ออกมาวิจารณ์งานของ ดร.เคร็ค เวนเตอร์ โดยทันควันว่า เป็นเพียงแต่การนำข้อมูลลำดับดีเอ็นเอที่ทราบแล้วของเชื้อมาสังเคราะห์ชิ้นดีเอ็นเอขนาดสั้นๆ ราว 1,000 คู่เบสหลายร้อยชิ้น แยกเป็นส่วนๆ และมีการทับซ้อนกันประมาณ 80 คู่เบส จากนั้นนำมาเชื่อมต่อกันให้เหมือนเดิม โดยใช้ระบบในเชื้อยีสต์ และดัดแปลงเพียงบางส่วนของจีโนมสัง เคราะห์ โดยใส่ดี เอ็น เอที่ เป็น เครื่ องหมายลายน้ำ

AgBiotech Hot News /

ชีวิต (ใกล้จะ) สังเคราะห์ได้?รศ.ดร.วิชัย โฆสิตรัตน ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ์

(watermarks) เพื่อบ่งบอกว่าเป็นเชื้อนี้ภายหลังมีการแสดงออกของจีโนมสังเคราะห์แล้ว ท้ายสุดเมื่อนำจีโนมสังเคราะห์นี้ใส่กลับเข้าไปในเชื้ออีกตัวหนึ่งที่ใช้เป็นเซลล์ผู้รับ ทำให้จีโนมเดิมของเซลล์ผู้รับโดนทำลายไป และจีโนมสังเคราะห์ช่วยให้เซลล์ผู้รับมีชีวิตและแสดงลักษณะใหม่ตามคำสั่งของจีโนมสังเคราะห์ ขั้นตอนดังที่กล่าวมาแล้วยังถือว่าไม่ใช่การสร้างชีวิตสังเคราะห์ หรือเซลล์สังเคราะห์โดยแท้จริง แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะเห็นถึงประโยชน์ของชีวิตสังเคราะห์ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคตอย่างมหาศาลก็ตาม แต่มีการถกเถียง และวิตกกังวลในเรื่องที่อาจจะเกิดผลกระทบอย่างไม่คาดคิด และยังไม่มีการเตรียมการในกฎระเบียบของการควบคุมงานวิจัยลักษณะเช่นนี้ ซึ่งผู้วิจัยให้ความเห็นว่าการสังเคราะห์จีโนมนั้นยังไม่ง่ายดายเหมือนที่คนทั่วไป คิดนัก ไม่ควรตื่นตระหนก อย่างไรก็ตาม วันนี้ชีวิตที่ (ใกล้จะ) สังเคราะห์ได้ เริ่มอุบัติขึ้นแล้วบนโลกนี้ เอกสารอ้างอิง Gibson, et al. 2010. Creation of a bacterial cell controlled by a chemical synthesized genome. SciencExpress. www.sciencexpress.org 20 May 2010

Craig Venter (ยืน) กับนักวิจัยรางวัลโนเบล Hamiton Smith (นั่ง) ผู้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างชีวิตสังเคราะห ์

โคโลนีของเชื้อมายโคพลาสมา มายคอยดิส ที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อเลี้ยงบนอาหารเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 3 วัน เนื่องจากยีน lac Z (beta-galactosidase) ที่ถ่ายเข้าไป ทำให้โคโลนีมีสีน้ำเงิน เมื่อเติมสับสเตรท X-gal ลงในอาหาร

เชื้อมายโคพลาสมา มายคอยดิส ที่สังเคราะห์ขึ้น ย้อมด้วยแอมโมเนียม โมลิบเดส ดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอน

AG-Bio Vol 002.indd 19 7/20/10 11:34:28 PM

Page 20: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร(AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน

�0

/ข่าวกิจกรรม

29 - 30 เมษายน 2553 ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ์ ศนูยเ์ทคโนโลยชีวีภาพเกษตร รว่มกบั กลุ่มวิจัยด้านพืช ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้สัก” และ “การประยุกต์ใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์” พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย web 2.0 โดยมีผู้ เ ข้ าร่ วมกิจกรรมทั้ งสองวัน จำนวน 60 คน

4-6 พฤษภาคม 2553 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ผู้อำนวยการ และ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร เข้ าร่ วมประชุมงาน B io International Convention ร่วมเปิดซุ้มแสดงนิทรรศการของประเทศไทย และเปิดตัวหนังสือ Transformational Science: Life Sciences in Thailand ณ เ มื อ ง ชิ ค า โ ก มลรั ฐ อิ ลิ น อ ยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

14 พฤษภาคม 2553 ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร และคณาจารย์ให้การต้อนรับคณะผูบ้รหิารบรษิทักรงุเทพอตุสาหกรรมเมล็ดพันธุ์จำกัด หน่วยงานวิจัย และพัฒนาพันธุ์ข้าวโพด จำนวน 3 ท่าน ที่เข้าเยี่ยมชมดูงาน และปรึกษาเรื่อง การจัดตั้งห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพของบริษัท

25 พฤษภาคม - 8 กรกฎาคม 2553 ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ร่วมกับ คณะเกษตร กำแพงแสน ภายใต้การสนับสนุนทางวิชาการ จากรัฐบาลประเทศบังคลาเทศ ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรขั้นสูง ให้แก่นักวิชาการเกษตรจากประเทศบงัคลาเทศ จำนวน 12 คน ในเรือ่ง เทคนคิโมเลกลุเครือ่งหมายเพือ่การปรบัปรงุพนัธุพ์ชื (Marker-assisted selection for plant breeding) ณ ศนูย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยการฝึกอบรม ประกอบด้วยการ ฝกึอบรมพืน้ฐานดา้นชวีโมเลกลุ และการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร

4 มถินุายน 2553 ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศู น ย์ เ ท ค โน โ ลยี ชี ว ภ าพ เ กษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จัดงานปฐมนิเทศนิสิตบัณฑิตในหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรของศูนย์ฯ ที่เข้าศึกษาในภาคต้น ปีการศึกษา 2553 โดยมีนิสิตใหม่ระดับปริญญาเอก จำนวน 14 คน และระดับปริญญาโท 4 คน

10-12 มถินุายน 2553 ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน รว่มจดักจิกรรมโครงการคา่ยวทิยาศาสตร์นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ ให้กับคณะนักเรียนและครูจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 44 คน และครู 4 คน โดยได้เข้าร่วมกิจกรรมในเรื่องต่างๆ เช่น การควบคุมศั ตรู พื ช โดยชี ว วิ ธี การวิ จั ยพื ชผั ก พื้ นบ้ าน การอนุ รั กษ์พั นธุ์ สั ต ว์ ป่ า เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ตลอดจนไปเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงกับปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชนวัดปลัก ไม้ลาย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

AG-Bio Vol 002.indd 20 7/20/10 11:34:46 PM