จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค...

84
สถานที่ต้นแบบ จัดการขยะ นครชัยบุรินทร์ 6 1

Upload: others

Post on 24-May-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

1นครชัยบุรินทร์

ส ถ า น ที่ ต้ น แ บ บ จั ด ก า ร ขย ะ

นครชัยบุรินทร์ 6 1

Page 2: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

2 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

เปิดเล่ม......

ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีบ่อขยะทั้งหมด2,490บ่อ

ในจำนวนนี้มีมากถึง 2,024 บ่อที่ไม่ได้มาตรฐาน และมีขยะ

สะสมกว่า20ล้านตัน(กรมควบคุมมลพิษ2557)สาเหตุสำคัญ

ประการหนึ่งที่ทำให้มีบ่อขยะท่วมเมืองหลายแห่งเนื่องจากไม่ได้

คัดแยกที่ต้นทางก่อนทิ้งรวมถึงปัญหาการจัดการที่ปลายทาง

หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปในอนาคต จะทำให้เกิดปัญหา

“ขยะล้นเมือง”ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและยัง

ทำให้เสียโอกาสจากการใช้ประโยชน์จากขยะ

ข้อมูลจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 ขอนแก่น

และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 นครราชสีมา ปี 2557

พบว่าเขตนครชัยบุรินทร์มีมูลฝอยทั่วไปเกิดขึ้นประมาณ6,307

ตัน/วัน โดยแบ่งเป็นจังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณมากที่สุด

ประมาณ 2,692 ตัน/วัน รองลงมาคือจังหวัดบุรีรัมย์ 1,575

ตัน/วัน จังหวัดสุรินทร์ 1,303 ตัน/วัน และจังหวัดชัยภูมิ 737

ตัน/วัน เมื่อพิจารณาข้อมูลปริมาณมูลฝอยที่กำจัดได้ถูกต้อง

พบว่ามีเพียง731.6ตัน/วันหรือร้อยละ11.6ของปริมาณขยะ

ที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยมีขยะตกค้างสะสมรวม687,292ตันจาก

ทั้งหมด194บ่อศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา เป็นหน่วยงาน

Page 3: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

3นครชัยบุรินทร์

หลักด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมมีความ

ตระหนักต่อปัญหาดังกล่าว จึงได้รวบรวมเรื่องราวดีๆ จากภาคี

เครือข่ายพื้นที่นครชัยบุรินทร์นำมาบอกเล่าเพื่อให้เกิดการแลก

เปลี่ยนเรียนรู้ด้านจัดการขยะ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา

ขอขอบพระคุณผู้บริหารเทศบาลอบต.โรงเรียนห้างสรรพสินค้า

ที่ได้มีนโยบายดีๆ ด้านการจัดการขยะ ขอขอบพระคุณผู้บันทึก

เรื่องเล่าความสำเร็จทุกท่านที่ได้ถอดบทเรียนการทำงาน จนเป็น

หนังสือ “16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ” ด้วยคาดหวังให้

หน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น เอกชนและชุมชน ร่วมมือกันจัดการ

ขยะ ตอบสนองนโยบายรัฐบาล ร่วมสร้างความดีเพื่อสังคม

ภายใต้แนวคิดหลักที่ว่า การจัดการขยะที่ดีต้องเริ่มต้นที่ต้นทาง

คือครัวเรือนเป็นศูนย์กลางสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเกิด

ประโยชน์สูงสุด อันจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

และคุณภาพชีวิตของประชาชน

บรรณาธิการ

ตุลาคม 2557

Page 4: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

4 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

05 เทศบาลนครนครราชสีมา

11 เทศบาลเมืองบุรีรัมย์

18 เทศบาลตำบลโนนแดง

27 เทศบาลตำบลสำโรงทาบ

30 เทศบาลตำบลศีขรภูมิ

35 เทศบาลตำบลสีมามงคล

38 เทศบาลตำบลประทาย

42 เทศบาลตำบลกุดจิก

45 เทศบาลตำบลพิมาย

50 เทศบาลตำบลท่าตูม

53 เทศบาลตำบลหมูสี

56 เทศบาลตำบลพุทไธสง

59 องค์การบริหารส่วนตำบล นอกเมือง

62 โรงเรียนวัดสระจระเข้

69 ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขานครราชสีมา

72 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา

สารบัญ

Page 5: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

5นครชัยบุรินทร์

การจัดการขยะแบบครบวงจร เทศบาลนครนครราชสีมา

เริ่มต้นที่ต้นทาง ปัญหาขยะในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา เพิ่มขึ้นตามจำนวน

ประชากรและกิจกรรมเช่นเมืองใหญ่ทั่วๆ ไป เนื่องจากมีผู้คนย้ายถิ่นฐาน

เข้ามาทำกินอย่างหนาแน่น ซึ่งเทศบาลได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการ

ลดและจัดการขยะหลากหลายรูปแบบมาต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่จะ

เกิดขึ้นต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการลดค่าใช้

จ่ายของเทศบาลในการจัดการขยะที่ปลายทาง เทศบาลจึงได้มุ่งไปที่การ

สร้างความร่วมมือของประชาชนและภาคีเครือข่ายการสำรวจคุณลักษณะ

และองค์ประกอบของขยะการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึก

เพื่อให้เกิดการลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิด โดยการคัดแยกขยะและนำ

ขยะกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดทั้งในรูปแบบการแปรรูปใช้ใหม่และใช้

ซ้ำ เพื่อให้ขยะที่ต้องนำไปกำจัดลดให้เหลือน้อยที่สุดตลอดจนส่งเสริมให้

เกิดชุมชนปลอดขยะ(ZeroWaste)เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแบบอย่าง

ที่ดี

Page 6: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

6 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ปฎิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ภายหลังการสำรวจปัญหาขยะที่เทศบาลเก็บรวบรวมมาพบว่ามี

สัดส่วนขยะอินทรีย์คิดเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณ

ขยะทั้งหมด ซึ่งถือว่ามากที่สุด รองลงมาเป็นขยะรีไซเคิลได้ ขยะอันตราย

และขยะทั่วไปต่อจากนั้นก็เริ่มปฏิบัติการโดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชน

และภาคีเครือข่าย

■ แต่งตั้งคณะทำงานชุมชนขึ้น เพื่อส่งเสริมและคัดแยกขยะแต่ละ

ประเภทคือขยะอินทรีย์ ขยะพิษขยะรีไซเคิลและขยะทั่วไปพร้อมติดตาม

และประเมินผล

■ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านสื่อและช่องทางต่างๆ เช่น ประชุม

ประชาคมเสียงตามสายแผ่นพับจดหมายรวมถึงการเคาะประตูบ้าน

■ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถานศึกษา

ผู้ประกอบการ ศูนย์แพทย์ องค์กรชุมชนในเขตเทศบาล เพื่อดำเนินการ

จัดการขยะให้ลดลงและเหลือน้อยที่สุด

เส้นทางขยะ จากรณรงค์คัดแยกขยะประเภทต่างๆออกเป็น4ประเภททำให้ขยะ

ต่างๆได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม

ขยะรีไซเคิล แต่ละครัวเรือนแยกเก็บไว้เพื่อขายให้กับร้านรับซื้อของ

เก่า โดยคณะทำงานจะประสานให้เข้ามาซื้อเดือนละ 1 ครั้ง หรือบางครัว

เรือนที่มีปริมาณขยะจำนวนมากก็ขายให้กับร้านรับซื้อโดยตรงนอกจากนี้

ยังมีการจัดกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิลและบริจาคสิ่งของทีไม่ได้ใช้แล้ว

แก่มูลนิธิวัดสวนแก้ว

Page 7: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

7นครชัยบุรินทร์

ขยะอินทรีย์รณรงค์ให้มีการแยกเศษอาหารเศษใบไม้และหญ้าทิ้ง

ในถังรองรับขยะอินทรีย์ ซึ่งเทศบาลจะเข้ามาเก็บรวบรวมทุกวัน จากนั้น

เทศบาลจะนำไปเข้าโรงงานผลิตปุ๋ยและไฟฟ้าของเทศบาลนอกจากนั้นยัง

มีการส่งเสริมการทำน้ำหมักจุลินทรีย์EMร่วมด้วย

ขยะพิษ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงชนิดและผลกระทบ

จากขยะพิษที่ใกล้ตัวอาทิหลอดไฟแบตมือถือถ่านไฟฉายกระป๋องสเปรย์

ยาฆ่าแมลง เป็นต้น โดยคัดแยกและทิ้งในจุดรวบรวมของเสียอันตรายที่ตั้ง

กระจายอยู่ในบริเวณต่างๆเพื่อให้กับเทศบาลนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป

Page 8: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

8 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ขยะทั่วไป สนับสนุนให้ชุมชนเป็นตัวกลางรวบรวมสิ่งที่ไม่ได้ใช้

ประโยชน์ เพื่อส่งมอบให้กับมูลนิธิสวนแก้ว รวมทั้งส่งเสริมลดการใช้ถุง

พลาสติกและโฟม และวัสดุต่างๆ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ

พัฒนาทำความสะอาดเมืองตามโครงการเมืองสะอาด

ปลายทางของขยะ เทศบาลนครนครราชสีมา ได้เปิดศูนย์การจัดการขยะ

มูลฝอยแบบครบวงจรที่มีความทันสมัยเพื่อรองรับปริมาณขยะ

มูลฝอยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งภายในเขตเทศบาลนครและ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงประกอบด้วยระบบการคัด

แยกขยะโดยเครื่องจักร ระบบหมักขยะอินทรีย์แบบไม่ใช้

ออกซิเจน ระบบผลิตเชื้อเพลิงขยะแบบอัดแท่งและระบบกำจัด

ขยะที่ เหลือจากการคัดแยกด้วยวิธีฝังกลบทำให้ได้ทั้งก๊าซ

ชีวภาพใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในการผลิตไฟฟ้าปุ๋ยหมักอินทรีย์

และเชื้อเพลิงขยะจากวัสดุที่เผาไหม้ได้ สำหรับขยะประเภทอื่นๆ

จะถูกนำเข้าสู่โรงคัดแยกเพื่อคัดแยกขยะรีไซเคิลส่วนขยะที่ไม่

สามารถนำไปรีไซเคิลได้และสามารถเผาไหม้ได้จะถูกนำไปอัด

เป็นแท่งเชื้อเพลิงRDF(Refuse-derivedfuel)ซึ่งกระบวนการมี

ส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งที่ต้นทางนับ

เป็นเรื่องที่สำคัญในการใช้เทคโนโลยีผลิตพลังงานจากขยะ

Page 9: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

9นครชัยบุรินทร์

ก้าวสู่ความสำเร็จสู่ความยั่งยืน การจัดการขยะของเทศบาลนครนครราชสีมาถือเป็นการทำงานแบบ

บูรณาการ ทั้งด้านความร่วมมือและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เน้นถึง

กระบวนการคัดแยกขยะจากต้นทางและออกแบบให้ระบบสามารถยืดหยุ่น

ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณและองค์ประกอบของขยะมูลฝอยในอนาคต

การจัดการทั้งหมดนี้จะทำให้เหลือขยะที่จะต้องนำไปฝังกลบจำนวนน้อย

และเป็นขยะที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่สิ้นเปลืองต้นทุนและทำให้

เทศบาลนครนครราชสีมาสามารถประหยัดงบประมาณและนำไปใช้ดำเนิน

การในเรื่องเร่งด่วนอื่นๆได้อีกด้วย

ในภาพรวมปัจจุบั นปริมาณขยะมูลฝอยของ เทศบาลนคร

นครราชสีมาส่งกำจัด 230ตัน/วัน (ไม่เพิ่มขึ้นตามการประมาณการที่ 372

ตันต่อวัน) มีการจัดการขยะมูลฝอยแต่ละประเภทที่ถูกสุขลักษณะครบทุก

ประเภทมีการขยายพื้นที่การดำเนินการตามโครงการให้ครอบคลุมทั่วเขต

เทศบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆใกล้เคียง

จากการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น รณรงค์คัดแยกขยะ ทอด

ผ้าป่าขยะรีไซเคิล รับบริจาคสิ่งของเหลือใช้ รวบรวมขยะพิษและกำจัดขยะ

ติดเชื้ออย่างถูกวิธี ประกวดชุมชนปลอดขยะ ได้ช่วยกระตุ้นให้ประชาชน

และชุมชนกว่าร้อยละ60 เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมากขึ้นเรื่อยๆ

ในขณะที่การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย

ของเทศบาลนครนครราชสีมาก็พบว่ามีความพึงพอใจร้อยละ86

ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดลดลง มีขยะอินทรีย์ที่คัดแยกจาก

แหล่งกำเนิด ส่งไปยังศูนย์กำจัดขยะของเทศบาลนครนครราชสีมา 13ตัน

ต่อวันนอกจากนั้นระบบกำจัดขยะปลายทางยังมีการคัดแยกขยะอินทรีย์มา

ใช้ประโยชน์ได้17ตัน/วันรวมขยะอินทรีย์เข้าระบบทำปุ๋ยวันละ30ตันต่อ

วันทำให้การผลิตปุ๋ยหมักมีประสิทธิภาพและสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้

Page 10: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

10 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ส่วนการคัดแยกขยะพิษในพื้นที่เป้าหมายก็ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรค

และการเกิดมลพิษช่วยสร้างความสะอาดและเป็นระเบียบของเมือง

ปัจจุบันการจัดการขยะของเทศบาลนครนครราชสีมา ได้เป็นที่รู้จัก

แพร่หลาย สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้สนใจและองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นอื่นๆผลงานซึ่งเป็นที่ประจักษ์และแสดงให้เห็นถึงความพยายามใน

การจัดการขยะได้รับการยอมรับและยกย่องจากหน่วยงานต่างๆเช่น

■ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้มอบรางวัลชุมชนปลอดขยะ

(ZeroWaste) ให้แก่เทศบาลนครนครราชสีมาที่มีผลงานดีเด่นในรอบแรก

ติดต่อกัน3ปีในช่วงปี2553-2555และในปี2556ชุมชนเดชอุดมสามัคคี

ได้รับรางวัลชมเชยในระดับประเทศ โดยเทศบาลนครนครราชสีมาเป็น

หน่วยงานสนับสนุน

■ จังหวัดนครราชสีมา ได้มอบรางวัลรางวัลโคราชเมืองสะอาด

ระดับดีเยี่ยมให้แก่เทศบาลนครนครราชสีมาในปี2555-2556

■ กรมอนามัย ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่เทศบาลนครนครราชสีมา

ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่ง

แวดล้อม (EHA) ในปี 2557 ด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การจัดการ

มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนการจัดการมูลฝอยทั่วไปและการ

จัดการสิ่งปฏิกูล

Page 11: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

11นครชัยบุรินทร์

ชุมชนจัดการขยะ สู่ท้องถิ่นปลอดขยะ เทศบาลเมืองบุรีรัมย์

จุดเริ่มต้น เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ มีพื้นที่ไม่มากนัก 6

ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นกว่า 60,000 คน มี

ความเจริญแบบก้าวกระโดดประชากรเพิ่มขึ้นจำนวนมากจึงมีปริมาณขยะ

มูลฝอยเพิ่มขึ้นตามอัตราการเกิดขยะ 1คนก่อให้เกิดขยะประมาณ0.8 –

1.0กิโลกรัมคาดว่าจะมีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นวันละ60ตันต่อวันจึงจำเป็น

อย่างยิ่งที่จะต้องจัดการขยะให้มีปริมาณลดลง เพื่อให้สถานที่กำจัดขยะ

มูลฝอยซึ่งมีพื้นที่อย่างจำกัดสามารถใช้กำจัดขยะมูลฝอยได้นานที่สุด

คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ให้ความสำคัญต่อปัญหาขยะ

มูลฝอยเป็นอย่างมาก จึงได้กำหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ 1 ใน 7

ยุทธศาสตร์ในการบริหารงานและเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องรีบดำเนินการ

โดยการบริหารจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทางและปลายทาง

โดยขบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและประชาชนในท้องถิ่น ให้เหลือ

ปริมาณขยะมูลฝอยไปกำจัดยังสถานที่กำจัดให้น้อยที่สุด

Page 12: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

12 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

กลวิธีดำเนินงาน 1. สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน โดยการสร้างชุมชน

ต้นแบบในการรณรงค์คัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง คือ บ้าน วัด

โรงเรียน ผ่านขบวนการ 3R สู่ชุมชน คือ Reduce ลดการก่อให้เกิดขยะ

Reuse การใช้ซ้ำ และRecycle การนำกลับมาใช้ใหม่สู่ชุมชนปลอดขยะ

(ZeroWaste) อย่างเป็นรูปธรรม เริ่มจากชุมชนวัดอิสาณเป็นชุมชนแรก

โดยการจัดตั้งธนาคารขยะRecycle ในชุมชน จากการระดมทุนของคนใน

ชุมชนและเครือข่ายเมืองน่าอยู่จาก4ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันเป็นการริเริ่ม

การคัดแยกขยะมูลฝอยจากครัวเรือน วัดและโรงเรียนซึ่งเป็นต้นทางที่สร้าง

ขยะและนำขยะ Recycle ที่คัดแยกไว้ไปขายหรือฝากธนาคารขยะ

Recycle เกิดการสร้างรายได้ให้ครอบครัวและคนในชุมชน จากธนาคาร

ขยะRecycleสู่ศูนย์การรับซื้อขยะRecycle ในชุมชนจากการดำเนินการ

ในชุมชนวัดอิสาณแห่งแรก ซึ่งประสบความสำเร็จในการรณรงค์คัดแยก

ขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางสู่ความเป็นชุมชน

ปลอดภัย จึงได้ขยายการจัดกิจกรรมสู่

ชุมชนอื่นๆ อีก 2 ชุมชน คือ ชุมชนบุ

ลำดวนใต้ ซึ่งมีขบวนการรณรงค์การคัด

แยกขยะมูลฝอยที่เน้นไปยังการสร้าง

ความร่วมมือกับผู้ประกอบการหอพัก ซึ่ง

เป็นสถานที่มีผู้คนโดยเฉพาะนักเรียน

นักศึกษามาพักเป็นจำนวนมากและ

เป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ค่อยเห็นความ

สำคัญในการคัดแยกขยะมูลฝอย จึง

เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีความท้าทายใน

การจัดกิจกรรมรณรงค์การคัดแยก

Page 13: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

13นครชัยบุรินทร์

ขยะมูลฝอยสู่การเป็นชุมชนปลอดขยะ

โดยการสร้างความร่วมมือกับประชาชน

โดยเฉพาะผู้ประกอบการหอพัก จัดทำที่

รองรับขยะRecycleประจำหอพักจาก

ป้ายไวนิลที่ไม่ใช้แล้วและตาข่ายโปร่ง

ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่คิดขึ้นโดยชุมชน ชุม

ชนต่อมาคือ ชุมชนบุลำดวนเหนือ เป็น

อีกหนึ่งชุมชนที่เข้าร่วมชุมชนปลอดขยะ โดยรณรงค์คัดแยกขยะมูลฝอยตั้ง

แต่ครัวเรือน วัด โรงเรียนแต่มีลักษณะเด่นในเรื่องขยะอินทรีย์ ที่มีการนำ

ขยะอินทรีย์มาหมักเป็นน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ และได้นำไปใช้ในการรด

พืชผักสวนครัวและมีกิจกรรมการคัดแยกขยะ Recycle ตั้งแต่ครัวเรือน

ชุมชน

สำหรับชุมชนอื่นๆ เทศบาล

เมืองบุรีรัมย์ก็ได้จัดกิจกรรมรณรงค์

การคัดแยกขยะมาอย่างต่อเนื่องเช่น

ทอดผ้าป่าขยะ Recycle การออก

หน่วยเทศบาลเคลื่อนที่ ซึ่งการคัด

แยกขยะ Recycle ในเขตเทศบาล

เมืองบุรีรัมย์กว่าร้อยละ 70มีการคัด

แยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งเป็นการ

สร้างรายได้ให้กับครอบครัวและลด

ปริมาณขยะมูลฝอยอย่างเป็นรูปธรรม

ช่วยยืดระยะเวลาในการใช้พื้นที่กลบฝัง

ขยะได้นานขึ้น

Page 14: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

14 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

การคัดแยกขยะมูลฝอยระหว่างทาง โดยมีกลุ่มซาเล้งและกลุ่มคน

งานประจำรถเก็บขนมูลฝอยที่ทำหน้าที่คุ้ยหาขยะRecycle จากถังขยะที่

เหลือมาจากการคัดแยกที่ต้นทาง ซึ่งเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ถือว่ามีความสำคัญ

ในการช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยให้เหลือน้อยที่สุดก่อนจะนำไปกลบฝังซึ่ง

ขยะมูลฝอยที่คัดแยกได้สร้างรายได้ ให้กับกลุ่มซาเล้งและคนงานสามารถ

เลี้ยงดูครอบครัวได้ โดยเทศบาลฯ ได้จัดอบรมให้ความรู้และจัดทำทะเบียน

กลุ่มซาเล้ง เพื่อการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ช่วยดูแลถังขยะและบริเวณโดย

รอบให้สะอาดหลังการคัดแยกและเทศบาลฯ ได้ดูแลสุขภาพอนามัยของ

กลุ่มซาเล้ง โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักและตรวจสุขภาพให้ปีละ

1ครั้ง ซึ่งเป็นการสร้างขบวนการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยอีกรูป

แบบหนึ่ง

การคัดแยกปลายทางบริเวณสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย เทศบาลฯ

ไม่อนุญาตให้ผู้มีอาชีพคัดแยกขยะเข้าไปดำเนินการในบริเวณไซด์งาน

เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เกิดความเสียหายของระบบการกลบฝัง แต่จะมี

ครอบครัวของคนงานที่พักอาศัยอยู่ในไซด์งานบางส่วนที่จะดำเนินการคัด

แยกขยะรอบสุดท้าย ก่อนที่ขยะจะถูกกลบฝัง ซึ่งก็จะมีขยะที่สามารถ

Recycle ไม่มากนักเนื่องจากถูกคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง กลางทางแล้ว ที่

เหลือส่วนใหญ่จะเป็นถุงพลาสติก ซึ่งจะเห็นว่าขบวนการสร้างการมีส่วน

ร่วมของการคัดแยกขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองบุรีรัมย์เกิดขึ้นทุกขั้นตอน

โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและเกิดจากจิตสำนึกของคนในเขตเทศบาลเมือง

บุรีรัมย์

2. การจัดกิจกรรมรณรงค์

การคัดแยกและลดปริมาณขยะ

มูลฝอยอย่างต่อเนื่อง

การจัดกิจกรรมรณรงค์ เป็นรูป

แบบหรือกิจกรรมที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์

Page 15: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

15นครชัยบุรินทร์

ถือเป็นกลวิธีการหนึ่งที่ต้องดำเนินการอย่าง

ต่อเนื่องหรือให้ประชาชนในท้องถิ่นได้

ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา

ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น โดยจัดกิจกรรม

รณรงค์ในรูปแบบต่างๆและที่ประสบความ

สำเร็จ และสร้างสำนึกให้คนในท้องถิ่นหัน

มาคัดแยกขยะ เพื่อลดปริมาณขยะและนำ

ขยะกลับมาใช้ใหม่ และเห็นความสำคัญของ

ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาขยะที่

อาจจะล้นเมืองได้ คือ การจัดกิจกรรมทัวร์

ขยะรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบเคาะประตูบ้าน

โดยทำปีละประมาณ2ครั้ง ทำให้ประชาชนได้รู้และเห็นความสำคัญ เกิด

ความตระหนัก ซึ่งในปัจจุบันครัวเรือนกว่าร้อยละ 70 มีการคัดแยกขยะ

Recycleและเกิดรายได้แก่ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

การจัดกิจกรรมคัดแยกขยะมูลฝอย

ร่วมกับการออกหน่วยเทศบาลเคลื่อนที่ก็

เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ดำเนินการมาอย่าง

ต่อเนื่องซึ่งทั้ง 18ชุมชน ในเขตเทศบาลฯ

ก็ดำเนินการคัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อ

มุ่งสู่ชุมชนZeroWaste

Page 16: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

16 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

การทอดผ้าป่าขยะRecycleก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดการมีส่วนร่วม

ระหว่างวัดและชุมชนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและเชื่อมโยงการดูแล

สุขภาพของคนในชุมชน โดยชุมชนนำขยะRecycleมาบริจาคจัดกิจกรรม

ทอดผ้าป่าขยะ Recycle และรายได้สมทบทุนเข้ากองทุนหลักประกัน

สุขภาพเทศบาลเมืองบุรีรัมย์สำหรับไว้ดูแลสุขภาพของคนในท้องถิ่นอีกด้วย

3. การจัดให้มีระบบการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องตาม

หลักสุขาภิบาล

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เป็นท้องถิ่นที่มีการบริหารด้านการกำจัดขยะ

มูลฝอยอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล โดยดำเนินการมากว่า 15ปี ไม่

เคยได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่อาศัยอยู่รอบข้างซึ่งนับว่ามีกลวิธีการ

บริหารจัดการที่ดี ทั้งการสร้างความร่วมมือ ให้ความสำคัญ ให้งานแก่

ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ เปรียบเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ซึ่ง

นอกจากจะกำจัดขยะของเทศบาลแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นใกล้เคียง

นำขยะมากำจัดร่วมด้วย เปรียบเสมือน

ศูนย์กำจัดขยะแห่งหนึ่ งของจังหวัด

บุรีรัมย์ ซึ่งทำให้มีปริมาณขยะที่ต้องกลบ

ฝังวันละประมาณกว่า 70 ตัน โดยเป็น

ขยะภายในเขตเทศบาลเมืองบุรี รัมย์

ประมาณ 35 ตัน และท้องถิ่นอื่นๆ อีก

ประมาณ35ตันซึ่งท้องถิ่นอื่นต้องจ่าย

ค่ากำจัดให้เทศบาลฯตันละ 500 บาท

ขณะนี้ระบบกำจัดขยะมูลฝอยได้เปิดใช้

งานเป็นระยะที่ 3 แล้ว โดยบ่อกำจัด

ขยะระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ได้ปิดบ่อ

แล้ว และได้ปรับเป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่ง

ระยะที่3คาดว่าอีกประมาณ5ปีการ

Page 17: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

17นครชัยบุรินทร์

กลบฝังขยะก็จะเต็มพื้นที่ ซึ่งเทศบาล

เมืองบุรีรัมย์จะต้องวางแผนในการ

บริหารจัดการทั้งการใช้เทคโนโลยีอื่นๆ

เช่น การนำขยะมาแปลงเป็นพลังงาน

ไฟฟ้าและการเตรียมฟื้นฟูพื้นที่กลบฝัง

เดิมให้สามารถใช้ในการกำจัดขยะได้ใหม่ในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นท้องถิ่น

หนึ่งที่มีการบริหารจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. นโยบายของคณะผู้บริหารให้ความสำคัญกำหนดเป็นนโยบาย

และแถลงต่อสภาเทศบาลเพื่อยืนยันการบริหารบ้านเมืองด้านนี้

2. การสร้างภาคีที่มีความเข้มแข็ง การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับ

คนในพื้นที่ ร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผนและร่วมกันทำ ภายใต้ขบวนการมี

ส่วนร่วมของคนในท้องถิ่นที่มองเห็นว่า การสร้างสุขภาพและอนามัยสิ่ง

แวดล้อมเป็นเรื่องของคนทุกคนใครทำใครได้และต้องมีการแบ่งปัน

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ 1. รับโล่โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 80

พรรษา 80 ชุมชน ธนาคารขยะRecycle ซึ่งชุมชนวัดอิสาณได้รับการคัด

เลือกให้เป็น1ใน80ชุมชนทั่วประเทศ

2. รางวัลโล่ท้องถิ่นที่มีสมรรถนะในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย

ครบ6สมรรถนะปี 2555-2556 โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง

แวดล้อม

3. รางวัลโล่ประกวดชุมชนและขยะเฉลิมพระเกียรติพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 86 พรรษา 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนวัดอิสาณ ชุมชน

บุลำดวนใต้และชุมชนบุลำดวนเหนือ

Page 18: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

18 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ร่วมกับเทศบาลในโครงการเพิ่มมูลค่าขยะ

เทศบาลตำบลโนนแดง

อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา

แรงจูงใจในการพัฒนา/ที่มาของปัญหา ในอดีตเทศบาลตำบลโนนแดงมีรถขยะแบบเทท้ายจำนวน 1 คัน

และมีที่ทิ้งขยะจำนวน3 ไร่ ซึ่งอยู่ในบริเวณชุมชนมีบ้านเรือนอาศัยอยู่ใกล้

กับที่ทิ้งขยะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม กลิ่น

แมลงวันและควันจากที่บ่อขยะเกิดการลุกไหม้ จึงได้ทำการกลบบ่อขยะ

และปรับสภาพพื้นที่เป็นสวนสาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์ในการออกกำลัง

กายและเล่นกีฬาของชุมชนใกล้เคียงต่อไปในปัจจุบันเทศบาลฯมีรถบรรทุก

ขยะแบบอัดท้ายจำนวน1คันสามารถบรรจุขยะได้ประมาณ12ลบ.หลา

โดยมีปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ประมาณวันละ11.20ตัน/วันที่ชุมชนหน

องโจดวันละ1,365กก. (สำรวจข้อมูลจากการชั่งน้ำหนักปริมาณขยะจาก

การเก็บขยะในหนึ่งวันของชุมชน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2554) และหลัง

Page 19: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

19นครชัยบุรินทร์

จากทำโครงการที่ชุมชนมีขยะประมาณวันละ 835กกซึ่งมีปริมาณขยะลด

ลงจากเดิม เทศบาลฯมีดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีเทกองบนพื้น

(opendump)ในพื้นที่35ไร่2งาน10ตร.วาซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่8ตำบลดอน

ยาวใหญ่อำเภอโนนแดงจังหวัดนครราชสีมาซึ่งห่างจากเทศบาลประมาณ

4กิโลเมตร โดยมีปริมาณขยะมูลฝอยจากตำบลดอนยาวใหญ่เข้ามากำจัด

อีกจำนวนหนึ่งคิดเป็นภาระการกำจัดขยะประมาณวันละ13ตัน/วันแต่ใน

ปัจจุบันมีปริมาณขยะวันละประมาณ7ตัน/วัน

กลวิธีดำเนินงาน 1. เทศบาลฯ ได้เข้าร่วมโครงการขยะเหลือศูนย์ขององค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดนครราชสีมา

2. คณะทำงานได้ศึกษาดูงานการจัดการขยะณศูนย์สาธิตการคัด

แยกขยะเพื่อรีไซเคิล องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 23

ธันวาคม2553 โดยคณะทำงานของเทศบาลตำบลโนนแดงมาจากทุกกอง

ของสำนักงานเทศบาลตำบลโนนแดงและโรงเรียนในสังกัดเทศบาลร่วมเป็น

คณะทำงาน โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมไม่ได้ดำเนินการเพียงฝ่าย

เดียว

3. จัดโครงการขยะรีไซเคิล ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 โดยสร้าง

การเรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยให้กับ ผู้นำชุมชน อสม. คณะครูและ

นักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล ในเรื่องการคัดแยกขยะการทำน้ำหมัก

ชีวภาพ โดยมีวิทยากรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาและ

บริษัทวงษ์พาณิชย์โคราชจำกัด

4. จัดโครงการขยะรีไซเคิลร่วมกับโครงการเทศบาลพบประชาชน

ระหว่างวันที่21กุมภาพันธ์-3มีนาคม2554มีการส่งเสริมการทำน้ำหมัก

ชีวภาพหรือถังหอมทั้ง 8 ชุมชน โดยเทศบาลสนับสนุนกากน้ำตาลและถัง

Page 20: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

20 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

หมักและสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่11นครราชสีมาสนับสนุนน้ำหัวเชื้อ

เพื่อร่วมทำ “ถังหอม” โดยใช้งบประมาณจากเทศบาลตำบลโนนแดง เป็น

จำนวนเงิน90,000บาท

■ มีครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 600 ครัวเรือน แบ่งเป็น

108กลุ่ม โดยแบ่งเป็นม.1กลุ่มนก102ครัวเรือน,ม. 3กลุ่มผัก 92ครัว

เรือน,ม.4กลุ่มปลา88ครัวเรือน,ม.10กลุ่มแมง46ครัวเรือน,ม.11กลุ่ม

ผลไม้74ครัวเรือน,ม.12กลุ่มข้าว50ครัวเรือน,ม.13กลุ่มดอกไม้97ครัว

เรือน,ม.15กลุ่มต้นไม้35ครัวเรือน

■ มีการติดตามและประเมินผล มีการติดตามประเมินผลใน

ช่วง 4 เดือนแรก คือ การแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มร่วมเป็นคณะทำงานร่วม

ติดตามและประเมินผลสมาชิกในกลุ่มของตนเองมีการแลกเปลี่ยนติดตาม

ผลสมาชิกกลุ่มอื่นๆ ในชุมชนและมีการติดตามผลแลกเปลี่ยนหัวหน้ากลุ่ม

ระหว่างชุมชนการติดตามผลแลกเปลี่ยนสมาชิกระหว่างชุมชนต่างๆ เพื่อ

เป็นการกระตุ้นและให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการทำน้ำหมักชีวภาพและการ

รณรงค์การคัดแยกขยะ

5. วันที่ 9 มีนาคม 2554 เริ่มเปิดตัวโครงการขยะรักษ์โลกร่วมกับ

การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการและในปัจจุบันได้ดำเนินการรับ

ซื้อขยะรีไซเคิลในวันที่ 9 ของทุกเดือน โดยมียอดรับซื้อขยะรีไซเคิลตั้งแต่

เดือนมีนาคม2554-กรกฎาคม2556เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น508,402บาท

6. มีการรวบรวมกากถังหอมจากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการทุกวัน

ที่ 20 ของทุกเดือนแต่ในปัจจุบันทุกชุมชนได้เห็นถึงประโยชน์ของน้ำหมัก

ชีวภาพและกากถังหอมจึงได้ให้แต่ละครัวเรือนที่ทำถังหอมนำกากและน้ำ

หมักที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและในพื้นที่การเกษตรของตนเอง

Page 21: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

21นครชัยบุรินทร์

7. หัวหน้ากลุ่ม 108กลุ่มได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหา

อุปสรรคที่พบและร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยคณะทำงาน

เทศบาลตำบลโนนแดงเป็นวิทยากรประจำฐานต่างๆ

8. มีการนำคณะทำงานของเทศบาลตำบลโนนแดงและหัวหน้า

กลุ่ม 108 กลุ่ม ได้ไปทัศนศึกษาดูงานเพิ่มเติมณศูนย์การเรียนรู้พ่อจันที

ประทุมภาอำเภอชุมพวงจังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 22กันยายน2554

โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโนนแดง

เป็นจำนวนเงิน25,746บาท

9. มีการแต่งตั้งคณะทำงานซึ่งเป็นพนักงานเทศบาลตำบลโนนแดง

ร่วมเป็นคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล ตรวจเยี่ยม ให้คำแนะนำและ

เป็นพี่เลี้ยงให้กับสมาชิกกลุ่มถังหอมทั้ง18กลุ่มดอกไม้

10.มีการแต่งตั้งคณะทำงานซึ่งได้แก่คณะครูโรงเรียนเทศบาลตำบล

โนนแดงและคณะครูโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดงร่วมเป็นคณะ

กรรมการติดตามประเมินผลตรวจเยี่ยมและให้คำแนะนำแก่สมาชิกกลุ่ม

ถังหอมทั้ง 18 กลุ่มดอกไม้ โดยมีกิจกรรมตรวจประเมินการจัดการขยะใน

ชุมชนหนองโจดตามโครงการขยะรีไซเคิลตามเกณฑ์การประเมิน5ข้อคือ

การคัดแยกขยะการคัดแยกขยะอินทรีย์โดยการทำปุ๋ยหมักการทำถังหอม

หรือน้ำหมักชีวภาพ การคืนถังขยะให้กับเทศบาล การใช้ประโยชน์ของน้ำ

หมักชีวภาพหรือกากถังหอมในด้านเศรษฐกิจพอเพียง

11.มีคณะที่สนใจด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนหนอง

โจดมาศึกษาดูงานที่ชุมชนหลายคณะด้วยกัน เช่น เทศบาลเมืองสระแก้ว,

เทศบาลตำบลหนองบัวลาย, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 3 จังหวัด

พิษณุโลก, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 จังหวัดนครราชสีมา, กำนัน

ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทั้ง 65 หมู่บ้านในเขตอำเภอโนนแดง,

คณะผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาหัวหน้าส่วนราชการและอำเภอนำร่อง

Page 22: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

22 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ทั้ง 10 อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา, คณะอบรมหลักสูตร “พัฒนานัก

บริหารด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” รุ่นที่ ของกระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

12.ได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรร่วมสัมมนาศรีสะเกษเมืองสังคม

คาร์บอนต่ำ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา

จังหวัดศรีสะเกษพ.ศ.2555

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น 1. ก่อนดำเนินโครงการเทศบาลตำบลโนนแดงมีปริมาณขยะ

มูลฝอยในพื้นที่ประมาณวันละ 11.20 ตัน/วัน และชุมชนหนองโจด มี

ปริมาณขยะวันละ1,365กก.หลังจากเนินโครงการแล้วเทศบาลตำบลโนน

แดงมีปริมาณขยะวันละ7ตัน

2. ในปัจจุบันเทศบาลได้ดำเนินการรับซื้อขยะรีไซเคิลในวันที่9ของ

ทุกเดือน โดยมียอดรับซื้อขยะรีไซเคิลตั้งแต่เดือนมีนาคม2554-กรกฎาคม

2556ระยะเวลา2ปี4เดือนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น508,402บาท

3. มีคณะที่สนใจด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนหนอง

โจดมาศึกษาดูงานที่ชุมชนหลายคณะด้วยกัน เช่น เทศบาลเมืองสระแก้ว,

เทศบาลตำบลหนองบัวลาย, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 3 จังหวัด

พิษณุโลก, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 จังหวัดนครราชสีมา, กำนัน

ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทั้ง 65 หมู่บ้านในเขตอำเภอโนนแดง,

คณะผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาหัวหน้าส่วนราชการและอำเภอนำร่อง

ทั้ง 10 อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา, คณะอบรมหลักสูตร “พัฒนานัก

บริหารด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” รุ่นที่ ของกระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 23: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

23นครชัยบุรินทร์

4. เทศบาลได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรร่วมสัมมนาศรีสะเกษเมือง

สังคมคาร์บอนต่ำ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี

นาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80พรรษา

จังหวัดศรีสะเกษพ.ศ.2555

5. มีการต่อยอดกิจกรรมโดยเริ่มต้นจากการลดปริมาณขยะไปสู่การ

ทำกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนหลังจากที่เทศบาลมีการส่งเสริมการ

ลดปริมาณขยะโดยการทำถังหอมในชุมชน ชุมชนได้มีการนำผลผลิตที่ได้

จากการทำถังหอม คือ น้ำหมักชีวภาพและกากถังหอมไปใช้ในครัวเรือน

และส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เช่น การทำซุ้มปลูกผักที่หน้าบ้าน

การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การเลี้ยงกบในเรืออีโปง การเลี้ยงปลาดุกในท่อซีเมนต์

ทำให้ชุมชนหนองโจดเป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตที่ เกื้อกูลกัน มีการแบ่งปัน

ผลิตภัณฑ์ และแลกเปลี่ยนกัน เช่น การนำขยะทั่วไปที่ไม่สามารถขายได้

และขยะพิษมาแลกเมล็ดพันธุ์ผักไปปลูกที่บ้าน หรือแลกเมล็ดพันธุ์ผักกัน

ปลูก การแลกผักกันกิน ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนโดย

การต่อยอดการลดปริมาณขยะไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงทุกครัวเรือนในชุมชน

มีการทดลองนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ในนาข้าว โดยในอดีตทำนา 4

ไร่ ใช้ปุ๋ยเคมี 2 กระสอบๆ ละ 830 บาท ได้ผลผลิตคือข้าว 1 อุ้ม (27

กระสอบโดย1กระสอบได้ข้าว80กิโลกรัมข้าวมะลิกิโลกรัมละ17บาท)

แต่ในปัจจุบันทำนา4ไร่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีเลยได้ข้าวถึง2อุ้ม(54กระสอบ)

มีการทำนา10ไร่ใช้ปุ๋ยเคมี5กระสอบโดยไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพเลย

ได้ข้าว 2อุ้ม (54กระสอบ)และในปีต่อมาทำนา10 ไร่ ใช้ปุ๋ยเคมีเพียง2

กระสอบรวมกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ โดยลดการใช้ปุ๋ยเคมี

และใช้ปุ๋ยชีวภาพมากกว่า และในปีต่อมาทำนา 10 ไร่โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพ

และน้ำหมักชีวภาพอย่างเดียวได้ข้าวถึง3อุ้มครึ่ง(67กระสอบ)จากการใช้

ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพทำให้สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีและประหยัด

ค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก

Page 24: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

24 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

6. การเพิ่มมูลค่าขยะประเภทต่างๆให้มีราคาเพิ่มขึ้น

ขยะอินทรีย์เทศบาลมีการส่งเสริมการทำถังหอมในทุกครัวเรือนที่มี

ความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 600 ครัวเรือน จากการทำ

กิจกรรมทำให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพและกากถังหอมและประชาชนที่

ร่วมกิจกรรมได้เห็นถึงประโยชน์ของการนำน้ำหมักชีวภาพและกากถังหอม

ไปใช้ในครัวเรือนเพื่อส่งเสริมด้านเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มรายได้และลดราย

จ่ายให้กับครัวเรือน และเทศบาลมีความสนใจที่จะทำโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์

เพื่อเสริมสร้างมูลค่าของการทำปุ๋ยหมักในชุมชน และพัฒนาคุณภาพของ

ปุ๋ยหมักให้มีประสิทธิภาพจนสามารถจัดจำหน่ายและให้ชุมชนใช้ใน

การเกษตรแทนการใช้ปุ๋ยเคมีต่อไป

ขยะทั่วไปที่เก็บรวบรวมได้ในชุมชนหนองโจดได้มีการแลกเมล็ดพันธุ์

ผักเพื่อให้ประชาชนในชุมชนนำไปปลูกในครัวเรือน และจากขยะทั่วไปที่

รวบรวมได้เทศบาลฯต้องการที่จะต่อยอดไปสู่เครื่องใช้ในการทำอิฐมวลเบา

ไว้ใช้ในชุมชนต่อไปหรือผลิตเพื่อขายเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน

ปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยสู่ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หากแต่เกิดจาก

การร่วมแรงร่วมใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความรักความสามัคคี

ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ มีความเป็นหนึ่งเดียวกันมีน้ำใจต่อกันตั้งแต่คณะผู้

บริหารปลัดเทศบาลและพนักงานเจ้าหน้าที่จากทุกภาคส่วนทำงานร่วมกัน

โดยไม่คิดว่าเป็นงานของกองไหนกองเดียวเท่านั้นและเกิดจากพลังร่วมแรง

ร่วมใจของชุมชนซึ่งมีผู้นำ แกนนำและคณะทำงานที่มีความสามัคคี เข้ม

แข็งมุ่งมั่นตั้งใจทำงานมีความเสียสละมีการพัฒนาด้วยการพึ่งพาตนเอง

ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

Page 25: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

25นครชัยบุรินทร์

1. ชุมชนหนองโจดเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีความสามัคคีกัน

ในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำและแกนนำในชุมชนซึ่งได้แก่ ประธานชุมชน

คณะกรรมการชุมชนอสม.หัวหน้ากลุ่มถังหอมมีความเสียสละและมีความ

ตั้งใจทำงานและมีการพัฒนาและให้การสนับสนุนในด้านต่างๆให้กับพี่น้อง

ประชาชนในชุมชน

2. การพึ่งพาตนเองของชุมชนหนองโจด โดยที่ชุมชนไม่ต้องขอรับ

การสนับสนุนจากเทศบาลมีการต่อยอดโดยการคิดเองทำเอง เช่น การซื้อ

กากน้ำตาลเอง การขุดหลุมทำปุ๋ยหมัก การคัดแยกขยะเป็นประเภทต่างๆ

ก็ได้มีการจัดหาถุงคัดแยกขยะจากวัสดุเหลือใช้ เช่นถุงปุ๋ยถุงกระเทียมถุง

หอม การจัดหาวัสดุและช่างฝีมือในชุมชนมาทำซุ้มหน้าบ้านด้วยตนเอง

และมีการพัฒนาสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพจากการใช้กากน้ำตาลบางคน

ได้ลงทุนซื้อน้ำตาลมาเป็นวัตถุดิบแทนเพื่อพัฒนาคุณภาพของน้ำหมัก

ชีวภาพพอทำใช้แล้วเห็นผลก็มีการบอกเพื่อนต่อๆกันไปเป็นต้น

3. เทศบาลตำบลโนนแดงเป็นเทศบาลที่มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่ง

อันเดียวกันมีการทำงานร่วมกันโดยไม่คิดว่าเป็นงานของกองไหนกองเดียว

เท่านั้น เช่น งานของกองสาธารณสุขก็มีท่านปลัดเทศบาลนักพัฒนาชุมชน

นิติกรพนักงานพัสดุ นายช่างโยธาและคณะคุณครูมาร่วมเป็นคณะทำงาน

มีการแต่งตั้งคณะทำงานซึ่งได้คณะครูโรงเรียนเทศบาลตำบลโนนแดงคณะ

ครูโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดงพนักงานเทศบาลพนักงานจ้าง

ตามภารกิจพนักงานจ้างร่วมเป็นคณะกรรมการติดตาม ประเมินผลตรวจ

เยี่ยม ให้คำแนะนำและเป็นพี่เลี้ยงให้การดูแลแก่สมาชิกกลุ่มถังหอมทั้ง18

กลุ่มดอกไม้

Page 26: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

26 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานนี ้

หลังจากที่เทศบาลมีการส่งเสริมการลดปริมาณ

ขยะโดยการทำถังหอมในชุมชน ชุมชนได้มีการนำ

ผลผลิตที่ได้จากการทำถังหอมคือ น้ำหมักชีวภาพและ

กากถังหอมไปใช้ในครัวเรือนและส่งเสริมเศรษฐกิจพอ

เพียงในชุมชน เช่น การทำซุ้มปลูกผักที่หน้าบ้าน การ

เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การเลี้ยงกบในเรืออีโปง การเลี้ยงปลาดุก

ในท่อซีเมนต์ทำให้ชุมชนเป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตที่เกื้อกูลกัน

มีการแบ่งปันผลิตภัณฑ์ และแลกเปลี่ยนกัน เช่นการนำ

ขยะทั่วไปที่ไม่สามารถขายได้และขยะพิษมาแลกเมล็ด

พันธุ์ผักไปปลูกที่บ้านหรือแลกเมล็ดพันธุ์ผักกันปลูกการ

แลกผักกันกินทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่าง

ยั่งยืนโดยการต่อยอดการลดปริมาณขยะไปสู่เศรษฐกิจ

พอเพียงทุกครัวเรือนในชุมชน

สิ่งที่ภาคภูมิใจ เทศบาลตำบลโนนแดงได้รับรางวัลท้องถิ่น

ต้นแบบด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เมื่อวันที่ 17

กันยายน2555ณโรงแรมดุสิตปริ๊นเซสโคราช

Page 27: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

27นครชัยบุรินทร์

การบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร สู่ขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste)

เทศบาลตำบลสำโรงทาบ

อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์

จุดเริ่มต้น ในอดีตที่ผ่านมาเทศบาลตำบลสำโรงทาบ กำจัดขยะโดยวิธีการฝัง

กลบตามธรรมชาติ โดยนำไปทิ้งที่บ่อขยะเก่า ซึ่งอยู่ในเขตตำบลเกาะแก้ว

อำเภอสำโรงทาบ อยู่ห่างจากเทศบาลตำบลสำโรงทาบ เป็นระยะทาง 10

กิโลเมตร ขยะดังกล่าวได้ส่งกลิ่นรบกวนและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะ

นำโรค ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในละแวกใกล้

เคียง ประชาชนไม่สามารถใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค เทศบาลตำบล

สำโรงทาบต้องแก้ปัญหา โดยการนำน้ำอุปโภค – บริโภค ไปบริการแก่

ประชาชนทันทีที่ถูกร้องขอแต่ปัญหาดังกล่าวได้ลุกลามไปเรื่อยๆจนกระทั่ง

ชาวบ้านได้ร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ให้เทศบาลดำเนินการแก้

ปัญหา

Page 28: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

28 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

กลวิธีในการดำเนินงาน เทศบาลตำบลสำโรงทาบ ใน

ฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัด

ทำโครงการบริหารจัดการขยะแบบครบ

วงจร ซึ่งได้แก่ กิจกรรมการคัดแยกขยะ

การเผาด้วยเตาเผา การผลิตน้ำหมัก

ชีวภาพธนาคารขยะและการผลิตปุ๋ย

อินทรีย์อัดเม็ด ทั้งนี้โครงการดังกล่าว

ยังจะส่งผลให้ประชาชนในเขตเทศบาล

ตำบลสำโรงทาบ มีคุณภาพชีวิตที่ดี

และเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนลดลงหลังดำเนินโครงการดังกล่าว ใน

ช่วง4ปีแรกปริมาณขยะมูลฝอยจาก5ชุมชนลดลงจากวันละ4ตันเป็น

2ตันหรือปริมาณขยะลดลงร้อยละ50ในแต่ละวันไม่มีขยะมูลฝอยตกค้าง

ในชุมชนและตามถนนหนทาง เนื่องจากประชาชนหน่วยงานราชการ ร้าน

ค้าตลาดมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ส่งผลให้สภาพแวดล้อมในชุมชนน่าอยู่

ไม่มีมลพิษจากขยะมูลฝอยรบกวนอีกทั้งการนำขยะมูลฝอยเป็นวัตถุดิบใน

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สามารถสร้างรายได้ให้แก่กลุ่ม และ เกษตรกรหันมา

ทำการเกษตรโดยปราศจากสารเคมี เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้

ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสำโรงทาบมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผล

สำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นมาจาก ความสามัคคีความร่วมมือ และการมีส่วนร่วม

จากทุกภาคส่วนในชุมชนประกอบกับการบริหารจัดการที่ดีในการเก็บและ

ขนขยะมูลฝอย

Page 29: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

29นครชัยบุรินทร์

ปัญหา/อุปสรรคและการแก้ไข ปัญหาที่พบคือ การร่วมมือจากประชาชน

ในการคัดแยกขยะ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่

ทดลองทำแบบลองผิดลองถูกการเผาขยะที่ก่อให้

เกิดความรบกวนชาวบ้าน การดัดแปลงรถขยะ

เป็นแบบสองช่อง แต่ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรค

ต่างๆมาได้ โดยใช้ความอดทนต่อการแก้ปัญหา

ไม่จำนนต่อปัญหา และทำความเข้าใจกับ

ประชาชนให้ทราบถึงประโยชน์ของการคัดแยก

ขยะ จนกระทั่งการดำเนินการบังเกิดผลสำเร็จตั้ง

แต่ปีพ.ศ.2549ตามที่เทศบาลตั้งเป้าหมายไว้

Page 30: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

30 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ชุมชนต้นแบบ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

เทศบาลตำบลศีขรภูมิ

อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

แรงจูงใจในการทำงาน เทศบาลตำบลศีขรภูมิมีพื้นที่ภายในเขตเทศบาล4ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีประชากรทั้งหมดณ เดือน

เมษายน 2557 จำนวน 4,921 คน โดยกระจายอยู่ในพื้นที่ 1 ตำบล 5

หมู่บ้าน 8 ชุมชน ผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยายตัวของภาค

ธุรกิจและชุมชนในเขตเทศบาล ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ

มูลฝอยน้ำเสียมลพิษทางอากาศมลพิษจากการใช้สารเคมีในการเกษตร

ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้

เทศบาลต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากในการจัดการปัญหาด้านสิ่ง

แวดล้อมที่เกิดขึ้นดังกล่าว จากสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะทวี

ความรุนแรงขึ้น คณะผู้บริหารเทศบาล นำโดยนายบรรจง พิชญาสาธิต

Page 31: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

31นครชัยบุรินทร์

นายกเทศมนตรีตำบลศีขรภูมิ จึงมีนโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อมใน

ชุมชน โดยส่งเสริมการสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชน สนับสนุนให้

ประชาชนมีจิตสำนึก การนำทรัพยากรที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยใน ปี

2555 ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมพหุภาคีในการพัฒนาชุมชนน่าอยู่อย่างยั่ง

ยืน (LA 21) ปี 2556 ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการพัฒนาชุมชน

ต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยยกระดับชุมชนตะเคียน

เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการ

จัดการขยะภายในชุมชนครบทั้ง 4ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์

ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย นอกจากนั้นยังนำกระบวนการจากการ

จัดการขยะไปต่อยอดในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เช่นการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

การทำเกษตรอินทรีย์ จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานและในวันที่ 10

กันยายน 2557 มีพิธีเปิดแหล่งเรียนรู้ชุมชนต้นแบบด้านการจัดการ

สิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กลวิธี แนวทางที่ทำ 1. แต่งตั้งคณะทำงานจากเทศบาลและชุมชน

2. จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน

3. พัฒนาศักยภาพชุมชน ส่งเสริมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษา

ดูงาน

4. ขับเคลื่อนการดำเนินงานติดตามประเมินผลสรุปบทเรียน

5. ปรับปรุงพัฒนายกระดับการทำงานอย่างต่อเนื่อง

Page 32: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

32 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น 1. แหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการธนาคารขยะรีไซเคิล

ธนาคารขยะหรือศูนย์วัสดุรีไซเคิลชุมชนหมู่ 1 เปิดดำเนินงานเมื่อวัน

ที่1สิงหาคม2552จนถึงปัจจุบัน โดยดำเนินการชี้แจงประชาสัมพันธ์เชิญ

สมาชิกเข้าร่วม เปิดทำการรับซื้อขยะทุกวัน

เสาร์แรกของทุกเดือน จัดสวัสดิการให้แก่

สมาชิกที่ เข้าร่วม ได้แก่ เงินฌาปนกิจ

สงเคราะห์กรณีเสียชีวิต เงินปันผลร้อยละ

10ต่อปีประกันชีวิตกลุ่ม เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ

งานเลี้ยงประจำปี การดำเนินงานที่ผ่านมา

ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วม รู้จักคัดแยก

และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ มีการ

ช่วยเหลือกันในรูปแบบสวัสดิการต่างๆ

นอกจากนั้นยั งดำเนินการส่ ง เสริม

สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามามี

ส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อเป็นการ

ปลูกจิตสำนึกในการรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่เด็กและเยาวชน

2. แหล่งเรียนรู้ด้านการทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพ

ผลจากการอบรมให้ความรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะ

อินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์ แก่ประชาชนในชุมชนตะเคียนทำให้เกิด

ครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการ

จัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนด้วย

ตนเอง เทศบาลจึงจัดหาและมอบวัสดุ

อุปกรณ์ให้แก่ครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วม

โครงการ โดยมีนายอุทัย สมัครสมาน

Page 33: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

33นครชัยบุรินทร์

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลศีขรภูมิ หนึ่งใน

แกนนำตัวอย่างการปฏิบัติงานที่ดี คอย

ติดตาม ให้คำแนะนำและเป็นพี่เลี้ยงแก่

กลุ่มสมาชิกในการดำเนินการทำปุ๋ยหมัก

และน้ำหมักชีวภาพอย่างต่อเนื่อง

3. แหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจ

พอเพียงและผักปลอดสารพิษ

การดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจ

พอเพียงถือเป็นแนวนโยบายสำคัญใน

การพัฒนาชุมชนให้สามารถเพิ่มรายได้

ลดรายจ่ายพึ่งพาตนเอง โดยดำเนินการ

ส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวทุกครัว

เรือน นำน้ำหมักและปุ๋ยหมักชีวภาพที่

ได้จากการหมักขยะอินทรีย์ไปใช้ใน

การเกษตร เช่น ใส่นาข้าว รดต้นไม้ รถ

ผักเป็นต้น

4. แหล่ ง เ รี ยนรู้ ด้ านการ

จัดการถนนปลอดถังขยะ

ผลจากการสร้างกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการคัดแยก

ขยะในครัวเรือนเพื่อจัดการขยะต้นทาง เทศบาลตำบลศีขรภูมิ จึงได้คัด

เลือกให้ชุมชนตะเคียนเป็นชุมชนนำร่อง

ถนนปลอดถังขยะ โดยประชาสัมพันธ์ให้

ความรู้ความเข้าใจในการจัดการถังขยะ

ของตนเอง ขอความร่วมมือทุกครัวเรือน

เก็บถังขยะของเทศบาลออกจากชุมชน

ตะเคียน กำหนดวันเวลาในการเก็บขน

Page 34: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

34 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ขยะทั่วไปทุกวันจันทร์ พุธ และวันเสาร์

เวลา08.00-09.00น.ผลการดำเนินงาน

ทำให้เทศบาลสามารถลดความถี่ในการจัด

เก็บน้อยลง สภาพภูมิทัศน์ชุมชนมีความ

สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามและ

ไม่มีขยะสัญจรจากพื้นที่อื่นเข้ามาในชุมชน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานนี้ การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน เป็นกระบวนการที่สำคัญที่

มีการเกี่ยวข้องกับหลักการแนวนโยบายกระบวนการมีส่วนร่วม

ของชุมชน ดังนั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจ และการ

สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เบื้องต้นในการขับเคลื่อนการจัดการสิ่ง

แวดล้อมจึงถือเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม

ที่เข้มแข็ง โดยที่ทุกคนในชุมชนสามารถที่จะวางแผนการจัดการ

ได้อย่างมีประสิทธิภาพและที่สำคัญเมื่อดำเนินงานแล้วชุมชน

ต้องได้รับประโยชน์และเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

Page 35: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

35นครชัยบุรินทร์

ขยะมีค่าที่สีมามงคล เทศบาลตำบลสีมามงคล ตำบลกลางดง

อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

แรงจูงใจในการทำงาน ปัญหาในการดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยนับว่าเป็นปัญหาสำคัญ

อย่างหนึ่งของเทศบาลตำบลสีมามงคล ด้วยขนาดพื้นที่รับผิดชอบมากถึง

185ตารางกิโลเมตรและประกอบกับจังหวัดนครราชสีมา เป็นประตูสู่แดน

อีสาน จึงทำให้มีผู้สัญจรผ่านพื้นที่รับผิดชอบจำนวนมาก ส่งผลให้ขยะ

มูลฝอยเพิ่มปริมาณมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ ซึ่ง

ประชาชนยังขาดจิตสำนึกที่ดีในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย จึงมีความ

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนหันมาตระหนักถึงการ

รณรงค์คัดแยกขยะ และเนื่องด้วยในปี 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัด

นครราชสีมาร่วมกับบริษัทวงษ์พาณิชย์ จำกัด ได้จัดโครงการ zerowaste

ลดขยะให้เป็นศูนย์ จึงเป็นแรงจูงใจให้เทศบาลตำบลสีมามงคล วาง

แนวทางในการดำเนินการจัดการปัญหาขยะมูลฝอย โดยความร่วมมือกัน

ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาบริษัท วงษ์พาณิชย์ จำกัด

และเทศบาลตำบลสีมามงคลจึงได้จัดทำโครงการขยะมีค่าที่สีมามงคล

Page 36: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

36 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

กลวิธี แนวทางที่ทำ เทศบาลตำบลสีมามงคล ได้จัด

โครงการขยะมีค่าที่สีมามงคล โดย

กำหนดกิจกรรมตลาดนัด ขยะรีไซเคิล

ขึ้น ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วน

จังหวัดนครราชสีมาและบริษัท วงษ์

พาณิชย์ จำกัด (สาขาโคราช) จัด

อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนโดยคัด

เลือกหมู่บ้านนำร่อง ได้แก่หมู่ที่ 1, 5,

10และ15แสดงวิธีการคัดแยกขยะ

แต่ละชนิดและราคาที่ รั บซื้ อขยะ

รีไซเคิลให้ประชาชนทราบและจัดกิจกรรมตลาดนัดรับซื้อขยะรีไซเคิลขึ้นมี

การประชาสัมพันธ์ทางเสียงไร้สาย หอกระจายข่าวหมู่บ้าน จัดทำป้าย

ประชาสัมพันธ์ และก่อนออกรับซื้อขยะรีไซเคิลตามโครงการฯ1 วัน ในช่วง

เย็นหลังจะมีรถประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบทำให้ประชาชนมีความตื่น

ตัวและนำเอาขยะรีไซเคิลมาขายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเทศบาลฯ ได้จัดจุด

บริการรับซื้อขยะรีไซเคิลและออกรับซื้อขยะรีไซเคิลเดือนละ1ครั้ง

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น จากการดำเนินงานโครงการขยะ

มีค่าที่สีมามงคลกิจกรรมตลาดนัดขยะ

รีไซเคิลในปี 2552 เทศบาลตำบลสีมา

มงคลได้ทำการรับซื้อขยะรีไซเคิลใน

พื้นที่หมู่บ้านนำร่องจำนวน4หมู่บ้าน

ได้แก่ หมู่ที่ 1, 5, 10และ15 โดยมีกิจกรรมรับซื้อขยะรีไซเคิล เดือนละ1

ครั้ง เริ่มจากเดือนสิงหาคม – กันยายน 2552 ซึ่งพบว่าประชาชนมีความ

Page 37: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

37นครชัยบุรินทร์

สนใจในการคัดแยกขยะและนำขยะรีไซเคิลมาจำหน่ายมากขึ้น โดยเดือน

สิงหาคม 2552มีปริมาณขยะรีไซเคิลที่รับซื้อได้ประมาณ1.82ตัน เดือน

กันยายน2552มีปริมาณขยะรีไซเคิลที่รับซื้อได้ประมาณ4.20ตัน และ

ปัจจุบันเทศบาลตำบลสีมามงคล ได้ดำเนินการรับซื้อขยะรีไซเคิล 2 เดือน

ต่อครั้ง ซึ่งประชาชนก็ยังให้ความสนใจนำขยะรีไซเคิลมาขายเป็นจำนวน

มากเช่นเดิม จนกระทั่งเดือนธันวาคมปี 2554 รายการวีไอพี ทางสถานี

โทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีมาถ่ายทำรายการ เรื่องตลาดนัดขยะรีไซเคิล ทำให้

เทศบาลตำบลสีมามงคลเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในเรื่องบริหารจัดการ

ดูแลปัญหาขยะมูลฝอย จึงมีหน่วยงานต่างๆ มาศึกษาดูงานเรื่องนี้เป็น

จำนวนมาก และปัจจุบันเทศบาลฯ ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้

ประชาชน ในพื้นที่ทราบและกำหนดจุดบริการรับ

ซื้อมากขึ้นจากเดิม ทำให้ประชาชนได้รับ

ความสะดวกในการออกมา ขายขยะรีไซเคิล

อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้คำแนะนำแก่

ประชาชนในการคัดแยกขยะรีไซเคิลระหว่าง

การออกบริการในแต่ละครั้ง

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานนี้ การดำเนินโครงการการขยะมีค่าที่สีมามงคล กิจกรรมตลาดนัดขยะ

รีไซเคิล เป็นกิจกรรมที่ช่วย ในการบริหารจัดการปัญหาขยะมูลฝอยอย่างมี

ประสิทธิภาพ โดยสามารถลดปริมาณขยะมูลฝอย จากแหล่งกำเนิดทำให้

ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่ลดน้อยลง ได้รับความร่วมมือสนับสนุนจาก

ชุมชน ในการคัดแยกขยะรีไซเคิลออกจากขยะประเภทอื่น ประชาชนใน

ชุมชนมีรายได้และนำขยะไปใช้ ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นการสร้างทัศนคติที่ดีในการจัดการวัสดุรีไซเคิลของชุมชนโดยเน้นการมี

ส่วนร่วมจากภาคครัวเรือน

Page 38: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

38 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ชุมชนปลอดขยะ เทศบาลตำบลประทาย

อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

จุดเริ่มต้น ปัญหาภาวะโลกร้อนนั้นเป็น

ปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกนั้นให้ความ

สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะผล

กระทบที่เกิดจากปัญหาดังกล่าวกำลัง

สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน

ทั่วโลกในรูปแบบต่างๆ เทศบาลตำบล

ประทายเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบใน

เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน

ส่วนที่สำคัญคือการจัดเก็บขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลประทายเป็นเทศบาล

ขนาดกลางมีประชากรในพื้นที่ประมาณ6,300คนต้องเก็บขยะประมาณ

5.6 ตันต่อวัน มีพื้นที่ฝังกลบขยะ 15 ไร่ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณขยะกับ

พื้นที่จัดเก็บนั้น จะเห็นได้ว่าอีกไม่นานพื้นที่ดังกล่าวก็จะไม่สามารถรองรับ

Page 39: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

39นครชัยบุรินทร์

กับปริมาณขยะที่มีเพิ่มขึ้นในทุกๆวันได้ เทศบาลตำบลประทายจึงได้เล็งเห็น

ว่าการที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนทุกคนร่วมมือกัน ลด

และแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท

และนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เข้าสู่ระบบการรีไซเคิลเพื่อช่วย

ให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

กลวิธีดำเนินงาน เมื่อเทศบาลตำบลประทาย ได้

เห็นความสำคัญในเรื่องการจัดการขยะ

ให้ถูกวิธี จึงได้สมัครเข้าร่วมเป็นเครือ

ข่ายการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัด

นครราชสีมาตามหลักการของขยะเหลือ

ศูนย์ซึ่งจะทำให้เทศบาลตำบลประทายประหยัดงบประมาณในการกำจัด

ขยะมูลฝอยได้อย่างยั่งยืนและเพื่อสร้างแนวคิดหลักการและวิธีการดำเนิน

การคัดแยกขยะ โดยคณะผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน เครือข่ายภาคีทั้งภาครัฐ

ภาคเอกชนจึงได้ร่วมกันค้นหาวิธีแนวทางการจัดการขยะร่วมกัน เทศบาล

ให้ข้อมูลปริมาณและประเภทขยะในแต่ละวัน ลงไปดูบ่อขยะเมื่อทุกภาค

ส่วนเห็นปัญหาร่วมกันจึงเกิดกิจกรรมจัดการขยะมากมาย เช่นการจัดการ

ขยะในระดับครัวเรือน โดยการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์

การผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์การเลี้ยงไส้เดือนบำบัดขยะการจัดทำโคม

ดักขยะ ในระดับชุมชนได้จัดทำโครงการผ้าป่าขยะ โครงการใช้ถุงผ้าลดการ

ใช้ถุงพลาสติก การจัดตั้งธนาคารขยะทั้งส่วนของเทศบาลและโรงเรียนใน

เขตเทศบาลมีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะมีกิจกรรมต่อยอด

โดยจัดตั้งธนาคารขยะประจำหมู่บ้านและการนำขยะอินทรีย์ไปทำปุ๋ย ลด

การใช้ปุ๋ยเคมี และมีการจัดตั้งกองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพสร้างรายได้และส่ง

เสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชน ในการดำเนินการในทุกๆด้าน เราไม่

Page 40: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

40 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

สามารถดำเนินการได้หมดทั้งพื้นที่ได้ในคราวเดียวจึงมีแนวความคิดในการ

สร้างชุมชนต้นแบบขึ้น “ชุมชนบ้านโนนขี้เหล็ก” จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการจัด

กิจกรรมกำจัดขยะ ด้วยศักยภาพของผู้นำชุมชน ความสามัคคี ความเสีย

สละและความรักถิ่นฐานของประชาชนในชุมชนที่ให้ความร่วมมือร่วมใจ

ในการทำกิจกรรมต่างๆจนประสบความสำเร็จ

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ

เทศบาลตำบลประทาย ได้ส่งชุมชนบ้าน

โนนขี้เหล็กเข้าร่วมประกวดโครงการทำดี

เพื่อแผ่นดิน ชุมชนปลอดขยะ (Zero

Waste) เฉลิมพระเกียรติ 84พรรษา84ชุมชนประจำปี 2554และได้รับ

รางวัลชนะเลิศพร้อมรับถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่

หัว ประเภทชุมชนขนาดเล็ก และผลสัมฤทธิ์อีกประการหนึ่งที่เห็นได้อย่าง

ชัดเจน คือปริมาณขยะของชุมชนโนนขี้เหล็ก ก่อนดำเนินกิจกรรมการ

จัดการขยะมีปริมาณขยะเฉลี่ยวันละ300กิโลกรัมเมื่อดำเนินกิจกรรมการ

จัดการขยะ ทำการประเมินผลครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2554 มี

ปริมาณขยะลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ58กิโลกรัมคิดเป็นปริมาณขยะที่ลดลง

ร้อยละ80.68ประเมินครั้งที่2ในวันที่15กุมภาพันธ์2555มีปริมาณขยะ

ลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ1.84กิโลกรัมคิดเป็นปริมาณขยะที่ลดลง99.39ซึ่ง

ขยะที่เก็บขนเป็นประเภทขยะมูลฝอยที่ไม่สามารถไปใช้ประโยชน์ได้เช่นผ้า

อ้อมสำเร็จรูปกล่องโฟมเป็นต้น

Page 41: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

41นครชัยบุรินทร์

เมื่อชุมชนบ้านโนนขี้เหล็กได้รับรางวัลดังกล่าวถือ

ได้ว่าเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จและนำความภาค

ภูมิใจให้แก่ชุมชนเป็นอย่างมาก และเป็นก้าวสำคัญใน

การดำเนินการจัดการขยะในเขตเทศบาลเป็นอย่างมาก

สิ่งที่เราได้เรียนรู้จาการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาทำให้เรา

มีต้นแบบในการพัฒนารูปแบบของการจัดการขยะของ

ชุมชนอื่นๆต่อไปมีแรงจูงใจสร้างค่านิยมในการคัดแยก

ขยะก่อนทิ้ง สร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและ

ช่วยลดภาวะโลกร้อน เรียนรู้ในการใช้พลังงานทดแทน

และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือความร่วมมือความเสียสละของ

ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนประชาชนที่

เกี่ยวข้อง ชุมชนและเครือข่ายภาคีอื่นๆที่ช่วยเสริมพลัง

สร้างเครือข่ายชุมชนหรือองค์กรอื่นๆ ในการดำเนินการ

จัดการขยะตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูป

ธรรม สร้างความตื่นตัวในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนแบบ

ครบวงจร และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการฝังกลบขยะของ

เทศบาลได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป

Page 42: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

42 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

การบริหารจัดการขยะ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

เทศบาลตำบลกุดจิก

อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

จุดเริ่มต้น ด้วยนโยบายของท่านนายกเทศมนตรีตำบลกุดจิก นายภัทรพล

บัญชาจารุรัตน์ มีความมุ่งมั่นตั้งใจแก้ไขปัญหาขยะของชุมชนอย่างจริงจัง

โดยมีแนวนโยบาย “ชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมภาคภูมิใจ”

จึงได้ดำเนินการโครงการบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนปี

2553

โครงการนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืนโดย

อาศัยความร่วมมือจากทุกคน ทุกชุมชน ทุกภาคส่วน เช่น ตลาด วัด

โรงเรียนหน่วยราชการภายใต้แนวคิด “ทุกคนในชุมชนเป็นผู้สร้างขยะทุก

คนต้องช่วยกันคัดแยกขยะ”ณแหล่งกำเนิดหรือที่เกิดขยะแยกแล้วต้องนำ

ไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด สร้างมูลค่าให้ประโยชน์แก่ส่วนรวม ขยะใน

ชุมชนเหลือศูนย์สิ่งแวดล้อมดีประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Page 43: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

43นครชัยบุรินทร์

กลวิธีในการดำเนินงาน การดำเนินโครงการฯเทศบาลตำบลกุดจิกได้สร้างความเข้าใจให้กับ

ชุมชนทุกกลุ่มทุกวัยทุกอาชีพ ในการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท โดยจัดหา

ถังขยะมอบให้ทุกบ้านทุกครัวเรือน โดยคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสมสีและโล

โก้ของถังขยะที่ได้มาตรฐานสากล ประกอบด้วย ถังสีเหลืองใส่ขยะแห้ง

ทั่วไปถังสีเขียวใส่ขยะเปียกเศษอาหารถังสีแดงใส่ขยะอันตราย(ข้อสำคัญ

ขยะขายได้หรือนำกลับมาใช้ใหม่แยกไว้ก่อนทิ้ง) มาตรการที่เทศบาลใช้คือ

บ้านไหนไม่แยกขยะ ไม่เก็บขยะให้ บ้านไหนคัดแยกเทศบาลแจกหลอดไฟ

นอกจากนี้เขตเทศบาลมีประชากรแฝงมากเนื่องจากเป็นเขตอุตสาหกรรมมี

หอพักมากจึงได้ใช้มาตรการเรื่องภาษีกับเจ้าของหอพัก

ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงาน คือประชาชนมีรายได้และประหยัดค่าใช้จ่ายประชาชนมีรายได้จาก

การจำหน่ายขยะรีไซเคิลสามารถประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้จำหน่าย

ผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพใช้ได้เองและจำหน่าย เทศบาลผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ ใช้ใน

การล้างตลาดใส่ในร่องระบายน้ำ เพื่อดับกลิ่น ใส่บ่อปรับสภาพน้ำ เป็นปุ๋ย

บำรุงต้นไม้และแจกให้ทุกบ้านทุกครัวเรือนเพื่อเป็นการตอบแทนในการคัด

แยกขยะ

Page 44: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

44 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ปัจจัยความสำเร็จ 1. ผู้บริหารมีแนวคิดและภาวะผู้นำในการพัฒนา

2. การพัฒนาเริ่มต้นที่เด็กเล็กดังเช่นการปลูกฝังเรื่องคัด

แยกขยะที่ศูนย์เด็กเล็กของเทศบาลเด็กๆสามารถตอบคำถามผู้

มาดูงานได้อย่างดีซึ่งส่งผลต่อผู้ปกครองและชุมชน

สิ่งที่ชื่นชอบ/ประทับใจ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนจากการทิ้ง

ขยะรวมที่กลายเป็นเรื่องปกติและเคยชินมานานเป็นเรื่องที่ยาก

แต่ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง ประทับใจที่ชุมชนมีความ

รับผิดชอบต่อสังคม ไม่ทิ้งปัญหาหรือภาระให้คนอื่น จากคำ

กล่าวที่ว่า “ทุกคนในชุมชนเป็นผู้สร้างขยะทุกคนต้องช่วยกัน

คัดแยกขยะ”และ “ชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วม

ภาคภูมิใจ”

Page 45: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

45นครชัยบุรินทร์

การจัดการมูลฝอยชุมชน เทศบาลตำบลพิมาย

อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

แรงจูงใจในการทำงาน เทศบาลตำบลพิมายอำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีมามีแหล่งท่อง

เที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือปราสาทหินพิมายพิพิธภัณฑสถานแห่ง

ชาติพิมาย มีพื้นที่ปกครองประมาณ 2.156 ตารางกิโลเมตร แต่พื้นที่

ประมาณ ร้อยละ 30 เป็นโบราณสถาน มีประชากรในทะเบียนประมาณ

8,844 คน จำนวนครัวเรือน 2,633 ครัวเรือน (งานทะเบียนราษฎร์อำเภอ

พิมาย,2556) มีประชากรแฝงประมาณ ร้อยละ 10 และประชากรจร

ประมาณร้อยละ 15 โดยคิดเป็นประชากรจรกลุ่มที่เข้ามาประกอบอาชีพ

ร้อยละ 10 และประชากรจรกลุ่มท่องเที่ยวร้อยละ 5 (มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น, 2548) ซึ่งประชากรเหล่านี้ผลิตมูลฝอยให้เทศบาลจัดการ

ประมาณ13ตัน/วัน ซึ่งเทศบาลตำบลพิมายได้ดำเนินการเก็บกวาด เก็บ

รวบรวม ขนส่ง และกำจัดมูลฝอยเอง โดยนำไปกำจัดณ สถานที่กำจัด

มูลฝอยของเทศบาลตั้งอยู่บ้านน้อยหมู่ที่ 15ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย

Page 46: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

46 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่25ไร่2งาน

54ตารางวาซึ่งใช้งานมาตั้งแต่ปี 2542

กำจัดโดยวิธีขุดหลุมฝังกลบ ในปัจจุบัน

ใช้งานแล้วประมาณร้อยละ 95 จะ

สามารถรองรับการฝังกลบมูลฝอยได้ไม่

เกิน 2 ปี เทศบาลจึงต้องหาวิธีการลด

ปริมาณมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด ก่อนนำไปกำจัด โดยการคัดแยกมูลฝอย

จากแหล่งเกิดซึ่งมีชุมชนนำร่อง จำนวน 4 ชุมชนแล้วนำมูลฝอยที่คัดแยก

ไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ เศษอาหารในครัวเรือนและร้านอาหารนำไปหมักน้ำ

หมักชีวภาพจำนวน3ชุมชนและนำเศษอาหารไปหมักแก๊สชีวภาพจำนวน

1ชุมชนส่วนขยะมูลฝอยรีไซเคิลนำไปจำหน่ายให้ร้านรับซื้อของเก่า

กลวิธีดำเนินงาน 1. แต่งตั้งคณะทำงานชุมชนปลอดมูลฝอยและประชุมมอบหมาย

งานคณะทำงาน

2. จัดอบรมให้ความรู้ พร้อมมอบวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน

จัดการมูลฝอยชุมชน

3. ด ำ เนิ น ง านกา รจั ดกา ร

มูลฝอยชุมชนโดยให้ อสม.แต่ละชุมชน

เป็นผู้ขับเคลื่อน ให้คำแนะนำและเป็น

พี่เลี้ยงแก่ครัวเรือนที่ตนเองรับผิดชอบ

4. การติดตามประเมินผล

Page 47: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

47นครชัยบุรินทร์

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น เทศบาลตำบลพิมายได้นำขยะไปใช้

ประโยชน์ดังนี้

1. การทำน้ำหมักชีวภาพจากมูลฝอย

อินทรีย์

เมื่อปี 2555 ได้ดำเนินการในพื้นที่

นำร่อง 3 ชุมชน ได้แก่ชุมชนสามสระ

สามัคคี ชุมชนปราสาทหินพิมาย และ

ชุมชนวังบูรพา โดยจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง

การคัดแยกมูลฝอยและการใช้ประโยชน์

จากมูลฝอย โดยเฉพาะเศษอาหาร นำมา

ทำน้ำหมักชีวภาพจากมูลฝอยอินทรีย์

พร้อมมอบวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำปุ๋ยหมักชีวภาพจำนวน 140 ชุด แก่

ประชาชนในชุมชน ในวันที่ 26กรกฎาคม2555จากนั้นได้มอบอุปกรณ์ใน

การทำน้ำหมักชีวภาพให้กับเครือข่าย ได้แก่ ถังหมักขนาด 50 ลิตร กาก

น้ำตาล 1 ลิตร หัวเชื้อ EM 1 ลิตร เพื่อให้แต่ละครัวเรือนนำไปหมักเศษ

อาหารโดยให้อสม.แต่ละคนดูแลเครือข่าย5ครัวเรือนสามารถลดมูลฝอย

ประเภทเศษอาหารได้ประมาณ 1.2กิโลกรัม/ครัวเรือนหรือประมาณ170

กิโลกรัม/วัน เมื่อน้ำหมักชีวภาพได้ที่ประมาณ 1 เดือน ชุมชนร่วมกันไป

ขอรับบริจาคน้ำหมักจากแต่ละครัวเรือน ทยอยใช้เทลงท่อระบายน้ำรวม

ภายในชุมชนช่วยลดกลิ่นของท่อระบายได้เป็นอย่างดี ส่วนน้ำหมักที่เหลือ

ใช้ราดห้องน้ำของตนเองและใช้เป็นหัวเชื้อในการหมักครั้งต่อไป กิจกรรมนี้

ได้รับรางวัลการจัดการมูลฝอยจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง

แวดล้อมปี2555

Page 48: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

48 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

2. การนำเศษอาหารจากครัวเรือนและร้านอาหารมาหมัก

แก๊สชีวภาพ

ปี 2555 เทศบาลได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริม

พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานในการก่อสร้าง

ระบบผลิตแก๊สธรรมชาติจากมูลฝอยชุมชน งบประมาณ8 ล้านบาท โดย

ก่อสร้างระบบผลิตแก๊สธรรมชาติที่พื้นที่กำจัดมูลฝอยของเทศบาลบ้านน้อย

หมู่ที่ 15 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย ซึ่งอยูห่างจากเทศบาลประมาณ 3

กิโลเมตร แก๊สธรรมชาติที่ได้ ส่งให้ผู้ใช้แก๊สในบ้านน้อยฟรีทั้งหมด โดยมี

การเดินท่อจ่ายแก๊สระยะทาง 1.6กิโลเมตรมีผู้ใช้แก๊สทั้งหมด12 ราย ได้

แก๊สเฉลี่ยประมาณวันละ 6ลูกบาศก์เมตรการหมักแก๊สชีวภาพใช้วัตถุดิบ

ประมาณอย่างน้อยวันละ 250กิโลกรัม โดยได้เก็บรวบรวมวัตถุดิบจาก 3

แหล่งคือ

1) การคัดแยกเศษอาหารจากชุมชนนำร่อง1ชุมชนคือชุมชน

ส่วยนอก มีสมาชิก 130 ครัวเรือน ได้มีการฝึกอบรมและแจกถังคัดแยก

ขนาดเล็กให้แต่ละครัวเรือน (ขนาด2ลิตร) เสร็จแล้วแต่ละหลังก็จะนำเศษ

อาหารที่คัดแยกได้มาเทในถังรวมซึ่งมี14จุดแต่ละจุดจะมีอสม.ดูแลการ

คัดแยก พร้อมให้คำแนะนำ จากนั้นเทศบาลจะนำรถที่จัดไว้ให้เก็บเศษ

อาหารมาเก็บทุกวัน เพื่อนำไปโรงหมักแก๊ส สามารถคัดแยกเศษอาหารได้

วันละประมาณ60กิโลกรัม

2) การคัดแยกเศษอาหารจากร้านอาหาร โดยเทศบาลนำถังมี

ฝาปิดไปตั้งรับเศษอาหารที่ร้านอาหารทุกวัน เมื่อถึงเวลานัด เทศบาลจะนำ

รถที่จัดเตรียมไว้ไปรับถังเศษอาหารพร้อมเปลี่ยนถังใหม่ให้แต่ละร้านมีร้าน

อาหารที่เข้าร่วมโครงการ 23 ร้าน ได้เศษอาหารประมาณวันละ 150

กิโลกรัมแต่มีร้านอาหารขนาดใหญ่หลายร้านไม่เข้าร่วมโครงการเนื่องจากมี

ผู้รับซื้อเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์

Page 49: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

49นครชัยบุรินทร์

3) การคัดแยกเศษผักจากตลาดโดยเทศบาลนำถังคัดแยกเศษ

ผักให้พนักงานทำความสะอาดตลาดช่วยคัดแยกให้ จากนั้นจะนำรถที่

เตรียมไว้ไปเก็บ การคัดแยกจะทำได้เฉพาะช่วงบ่าย เนื่องจากรอบเช้ามีผู้

เก็บเศษผักไปเลี้ยงสัตว์ การคัดแยกดังกล่าวจะได้เศษผักประมาณวันละ

60-100กิโลกรัม

ในการคัดแยกเศษอาหารมาหมักแก๊สชีวภาพนั้น ยังสามารถขยาย

กำลังผลิตได้อีกหากมีผู้ใช้แก๊สเพิ่มมากขึ้น โดยเทศบาลมีแผนส่งเสริมการ

คัดแยกจากแหล่งผลิตมูลฝอยให้ครบทุกชุมชนและการก่อสร้างระบบคัด

แยกมูลฝอยณพื้นที่ฝังกลบมูลฝอย

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานนี้ การคัดแยกมูลฝอย ควรกระทำจากแหล่งกำเนิด

เนื่องจากมีความง่ายกว่ามีประสิทธิภาพดีกว่ามูลฝอยที่

ได้มีคุณภาพดีกว่า หากเป็นมูลฝอยรีไซเคิลจะมีความ

สะอาดกว่า ขายได้ราคาดีกว่าสิ่งสำคัญหากประชาชนมี

ความตระหนักในการจัดการมูลฝอยจะทำให้ประสบ

ความสำเร็จได้ดีและยั่งยืนกว่า หน่วยงานราชการที่

เกี่ยวข้องและท้องถิ่นควรส่งเสริมกระตุ้นให้ประชาชนเกิด

ความตระหนัก ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และต่อยอดการ

พัฒนาไปเรื่อยๆประชาชนจะได้ตื่นตัวอยู่เสมอ

Page 50: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

50 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

การจัดการขยะชุมชน เทศบาลตำบลท่าตูม

อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

แนวคิดและนโยบาย การจัดการขยะชุมชนเทศบาลตำบลท่าตูม เริ่มแรกจะเน้นการกำจัด

ด้วยวิธีฝังกลบด้วยวิธีธรรมชาติซึ่งทำให้เห็นผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย

ของประชาชนในบริเวณใกล้เคียงดังนั้นเพื่อเห็นการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น

เทศบาลตำบลท่าตูมจึงมีแนวนโยบายที่จะดำเนินการจัดการขยะโดยได้จัด

ทำโครงการฝึกอบรมเกษตรอินทรีย์เน้นการจัดการขยะเหลือศูนย์ตามหลัก

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น

กลวิธีการดำเนินงาน

เทศบาลเข้ารับการศึกษาดูงานการจัดการขยะเหลือศูนย์ณเทศบาล

ตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง อีกทั้งเทศบาลตำบลท่าตูม ยังได้รับการ

สนับสนุนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์

ได้ดำเนินการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อ

Page 51: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

51นครชัยบุรินทร์

คนสุรินทร์ร่วมใจลดภัยโลกร้อน ประจำปี

2552 โดยได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้าน

การจัดการขยะมูลฝอยและนำบุคลากรจาก

เทศบาลไปศึกษาดูงานณ เทศบาลตำบล

ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และเทศบาลนคร

พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งได้

สนับสนุนให้ชุมชนในเทศบาลได้จัดตั้ง

ศูนย์วัสดุรี ไซเคิลชุมชนและครัวเรือน

นำร่องในการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ ดังนั้น

เทศบาลตำบลท่าตูมจึงได้ดำเนินการจัด

ทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การจัดตั้งธนาคาร

ขยะการคัดแยกขยะในครัวเรือนการแปรรูป

ผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล การทำปุ๋ยหมัก

อินทรีย์ในครัวเรือนการเลี้ยงไส้เดือนการทำ

น้ำหมักชีวภาพในครัวเรือนเป็นต้น

การดำเนินงานธนาคารขยะรีไซเคิลชุมชนเทศบาลตำบลท่าตูม เป็น

โครงการที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าภูมิใจมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้

ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของชุมชน

และเสริมสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมูลฝอยให้กับประชาชน เน้นการ

ส่งเสริมการออมทรัพย์ให้แก่ประชาชนตลอดจนเห็นคุณค่าและเห็นความ

สำคัญของขยะที่สามารถแปรเปลี่ยนนำกลับมาใช้ใหม่และยังสามารถ

จำหน่ายได้ ได้ดำเนินการนำร่อง 2 ชุมชนได้แก่ ชุมชนสนิทราษฎร์พัฒนา

และชุมชนหูกวางพัฒนา เปิดทำการวันแรกเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม2552

โดยเปิดทำการทุกวันเสาร์ของสัปดาห์ ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น.ณ

บริเวณอาคารพาณิชย์หลังตลาดสดเทศบาลตำบลท่าตูมปัจจุบันมีสมาชิก

ทั้งสิ้น122คนและทางธนาคารขยะรีไซเคิลชุมชนได้มีการสร้างแรงจูงใจให้

Page 52: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

52 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

กับสมาชิกโดยมีการจับรางวัลสมนาคุณลูกค้าโดยจะดำเนินการจับรางวัล

ทุกวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคมของทุกปี เพื่อจูงใจ

ลูกค้าให้มาจำหน่ายขยะให้กับทางธนาคารขยะของเทศบาล

จากการดำเนินงานจัดการขยะที่ผ่านมาทำให้ปริมาณขยะในชุมชน

ลดลงมาก โดยเฉพาะถุงพลาสติก ซึ่งเป็นขยะที่ประชาชนส่วนมากไม่ค่อย

เห็นคุณค่าและเกลื่อนกลาดบนท้องถนนพอทราบว่าถุงพลาสติกสามารถ

ขายได้จึงทำให้ประชาชนรู้สึกตื่นตัวในการเก็บถุงพลาสติกเพื่อนำมา

จำหน่ายให้กับทางธนาคาร

ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินการ สมาชิกบางท่ านไม่มี เ วลาและไม่

สามารถนำขยะมาจำหน่ายให้กับทางธนาคาร

ขยะได้ เทศบาลตำบลท่าตูม จึงสนับสนุนรถเทศบาลเพื่อนำไปรับขยะใน

การอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกอีกทั้งปัญหาด้านการคัดแยกขยะของ

เจ้าหน้าที่ ในช่วงแรกของการดำเนินงานพบว่าเจ้าหน้าที่คัดแยกขยะไม่เป็น

เทศบาลตำบลท่าตูมจึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่เทศบาลที่ชำนาญการในการคัด

แยกได้เข้าไปให้ความรู้และช่วยเหลือในการคัดแยกขยะให้กับทางธนาคาร

วิธีพัฒนาให้ยั่งยืน การดำเนินการจัดการขยะจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้

บริหารเห็นความสำคัญตลอดจนคนในชุมชนให้ความร่วมมือและเห็นความ

สำคัญพร้อมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริหารจัดการขยะและเห็น

ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เทศบาลตำบลท่าตูมเป็นเมืองที่น่าอยู่

อย่างยั่งยืนต่อไป

Page 53: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

53นครชัยบุรินทร์

การจัดการขยะมูลฝอย ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม

เทศบาลตำบลหมูสี

อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

แรงจูงใจในการดำเนินงาน นายสมเกียรติ พยัคฆ์กุล นายกเทศมนตรีตำบลหมูสีได้เล็งเห็น

ปัญหาอันเนื่องมาจากการขยายตัวของครัวเรือนและประชากรที่ได้มีการ

เพิ่มขึ้นตลอดเวลา รวมทั้งเขตตำบลหมูสีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่ง

หนึ่งของประเทศ มีการขยายตัวของเศรษฐกิจ เป็นโอกาสทองที่จะทำให้

ประชาชนมีรายได้และมีงานทำไม่ต้องออกไปหางานทำต่างถิ่นแต่สิ่งที่มา

พร้อมกับการพัฒนาอีกด้านหนึ่งก็คือขยะซึ่งปัจจุบันเราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

สถิติการเกิดขยะของคนในเขตเทศบาลตำบลหมูสี ระหว่างวันที่ 1มกราคม

–31ธันวาคม2555มีจำนวนถึง3,443.73ตัน/ปีหรือ9.43ตัน/วันและ

เทศบาลตำบลหมูสีได้ใช้งบประมาณเป็นค่าบริหารจัดการขยะเช่นค่าน้ำมัน

เชื้อเพลิงของรถเก็บขนขยะจำนวน 3 คัน ที่ออกปฏิบัติงานเก็บขยะให้ทั้ง

Page 54: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

54 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

19หมู่บ้านเป็นเงินถึง549,917.84บาท/ปีเงินเดือนพนักงานค่าการบริหาร

จัดการฝังกลบขยะและอื่นๆเทศบาลตำบลหมูสีได้เล็งเห็นเรื่อง“ขยะ”เป็น

เรื่องใหญ่ที่ต้องได้รับการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้เขตตำบลหมูสี มี

กองขยะล้นเกินอีกต่อไป

กลวิธีดำเนินงาน ปี 2556 ได้ทำข้อตกลงความร่วม

มือ (MOU) กับบริษัท TPIPL (ทีพีไอ

โพรลีน) ในการที่บริษัทขอรับซื้อขยะจาก

เทศบาลตำบลหมูสี โดยมีเงื่อนไขว่า 1)

ต้องเป็นขยะที่เกิดขึ้นไม่เกิน 15 วัน 2) ขยะต้องมีความชื้นไม่เกิน 60%

(ประมาณว่าเปียกได้ แต่อย่าให้ท่วม) และ 3) ต้องไม่ใช่ขยะติดเชื้อ ขยะ

อันตรายจากชุมชนและไม่ใช่เศษวัสดุก่อสร้าง

เทศบาลตำบลหมูสีจึงทุ่มงบประมาณสร้างสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย

พร้อมประชาสัมพันธ์แก่ชุมชนเรื่องการรวมรวมขยะเพื่อให้เทศบาลนำไป

กำจัดโดยต้องไม่มีขยะต้องห้าม 3 ประเภทปะปน (ตามเงื่อนไขบริษัท

TPIPL)จัดบริการเก็บขนขยะในเขตพื้นที่ด้วยรถยนต์3คันทุกวันพร้อมจัด

ซื้อรถเทรลเล่อร์ เพื่อขนขยะวันละ 18 ตัน นำไปส่งที่บริษัทฯณ อำเภอ

แก่งคอยทุกวัน (ระยะทาง66กม.)บริษัทฯรับซื้อในราคาตันละ150บาท

โดยบริษัทฯ เมื่อรับขยะแล้ว จะมีกระบวนการคัดแยกเอาขยะแห้งไปเป็น

เชื้อเพลิงทดแทนในเตาเผาปูนซีเมนต์และ

คัดแยกขยะอินทรีย์ไปทำปุ๋ยหมัก โดยปี

2556ทั้งปี เทศบาลตำบลหมูสีนำขยะไป

ขายให้บริษัทฯ จำนวน2,493.91ตันคิด

เป็นมูลค่า374,097บาท

Page 55: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

55นครชัยบุรินทร์

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น มีการจัดการขยะในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพท้องถิ่น

มีรายได้จากการขายขยะมาใช้บริหารจัดการ ไม่มีบ่อขยะ เกิด

ภาพลักษณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีของพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว

สำคัญของประเทศ (อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่) และสร้างความ

พึงพอใจแก่ประชาชนในการบริการจัดการขยะมูลฝอย

รถขนส่งขยะจะจอดอยู่ด้านล่างเพื่อรองรับการขนถ่ายขยะ

จากรถเก็บขนขยะมูลฝอยทั้ง3คัน

เมื่อทำการขนถ่ายขยะเสร็จจะมีเจ้าหน้าที่มาเก็บกวาดขยะ

ให้เรียบร้อยก่อนที่จะนำขยะไปขายที่บริษัทTPI

Page 56: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

56 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

โครงการเทศบาลหอม ตลาดหอม เทศบาลตำบลพุทไธสง

อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

จุดเริ่มต้น เทศบาลตำบลพุทไธสง เป็นเทศบาลขนาดกลางมีประชากร 4,501

คนจำนวนหลังคาเรือน1,699หลังคาเรือนมีพื้นที่ 4.5ตารางกิโลเมตรมี

ตลาดสดไว้บริการประชาชน 1แห่งและมีประชาชนจากองค์การบริหารส่วน

ตำบลอีก 6 แห่งที่มาใช้บริการตลาดสดเทศบาลตำบลพุทไธสง ซึ่งจากการ

สังเกตพบว่าปริมาณขยะในตลาดสดมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกวันมีขยะอยู่2ประ

เภทใหญ่ๆ คือ ขยะจำพวกพลาสติกใช้ห่อหรือหุ้มอาหารมาจำหน่าย และ

ขยะจำพวกเศษผัก ผลไม้ เศษเนื้อ เศษปลา ทำให้พนักงานรักษาความ

สะอาดต้องใช้เวลาในการเก็บขยะและรักษาความสะอาดบริเวณตลาดสด

มากกว่าปกติพร้อมกับการส่งกลิ่นเหม็นหากมีการกำจัดขยะล่าช้า ดังนั้น

เทศบาลตำบลพุทไธสง โดยการนำของนายกเศมนตรีจีระศักดิ์ เฮงสวัสดิ์ ได้

เล็งเห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะและการนำขยะมาใช้ให้ได้ประโยชน์

สูงสุดจึงหาวิธีการการดำเนินงานต่างๆจนเกิดโครงการเทศบาลหอม

Page 57: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

57นครชัยบุรินทร์

กลวิธีดำเนินงาน เมื่อได้แนวคิดจากผู้บริหาร ทางเทศบาลตำบลพุทไธสง จึงได้เริ่ม

โครงการ โดยการขอความร่วมมือจากแม่ค้าที่นำสินค้ามาจำหน่ายใน

ตลาดสดให้แยกขยะจำพวกเศษผักผลไม้ เศษเนื้อ เศษปลาลงถังขยะอีก

ใบที่ทางพนักงานได้เตรียมไว้ หรือหากไม่สะดวกก็เก็บรวมรวบไว้ที่แผง

พนักงานจะไปดำเนินการเก็บเองและได้มีการเตรียมพนักงานผู้รับผิดชอบ

ทำน้ำหมักชีวภาพโดยมีการอบรมและหาประสบการณ์กับผู้ที่เคยทำน้ำหมัก

ชีวภาพที่ได้ผลสำเร็จมาก่อนซึ่งทางเทศบาลตำบลพุทไธสงได้ตั้งความหวัง

เกี่ยวกับการรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักกับปัญหาของ

ขยะ ความรับผิดชอบต่อสังคม การใช้ภูมิปัญญา การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่

ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงการติดตามกระแสภาวะโลกร้อน

ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข จากการดำเนินงานในช่วงแรกเราพบ

ปัญหาและอุปสรรค ในเรื่องการสร้างความ

เข้าใจกับแม่ค้า การขอร้องให้แยกขยะ การ

เสียสละเวลา การทดลองทำน้ำหมักชีวภาพ

ของพนักงานไม่ประสบผลสำเร็จ มีกลิ่นแรง

การหมักไม่ได้ตามเวลาที่เหมาะสมซึ่งเราได้รับกำลังใจการชี้แนะแนวทาง

การแก้ปัญหาจากท่านนายกจีระศักดิ์ เฮงสวัสดิ์ ผู้บริหารข้าราชการพนัก

งานต่างๆได้ระดมแนวคิดการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความ

เข้าใจกับแม่ค้า การเสาะหาเทคนิคการทำน้ำหมักชีวภาพให้มีกลิ่นหอมจน

ในที่สุดเทศบาลตำบลพุทไธสงได้นำน้ำหมักชีวภาพไปฉีดในบริเวณ

ตลาดสดแผงขายเนื้อแผงขายปลาร่องระบายน้ำห้องน้ำห้องส้วมทำให้

ไม่มีกลิ่นเหม็นและลดการเจริญเติบโตของไข่แมลงวัน

Page 58: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

58 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ในปัจจุบัน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาล

ตำบลพุทไธสง ได้จัดให้พนักงานนำน้ำหมักชีวภาพไปฉีดพ่น

ตลาดสดทุกวัน รวมทั้งการฉีดพ่นในถังเก็บขยะของทางเทศบาล

ตำบลพุทไธสงทุกวันราชการซึ่งการทำน้ำหมักชีวภาพนี้ได้ส่งผล

ให้ในปี 2551ตลาดสดเทศบาลตำบลพุทไธสง ได้รับรางวัลการ

ประกวดตลาดดีมีมาตรฐานประเภทตลาดขนาดใหญ่ ได้อันดับ

ที่3ของจังหวัดบุรีรัมย์ได้รับใบประกาศพร้อมเงินรางวัลเพื่อนำ

กลับมาพัฒนาตลาดสดเทศบาลตำบลพุทไธสง จากการดำเนิน

งานทำให้ประชาชนเกิดความสนใจ รวมทั้งองค์การบริหารส่วน

ตำบลในอำเภอพุทไธสง โรงเรียนต่างๆมาขอน้ำหมักชีวภาพไป

ใช้ในครัวเรือนไม่ว่าจะเป็นน้ำราดห้องน้ำ หรือผสมรดน้ำต้นไม้

ซึ่งทำให้เทศบาลตำบลพุทไธสง เกิดความประทับใจและ

ประโยชน์ที่ประชาชนเริ่มมีความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

และปีงบประมาณ2552ท่านนายกจีระศักดิ์ เฮงสวัสดิ์ ได้บรรจุ

โครงการสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพไว้ในเทศบัญญัติ ของ

เทศบาลตำบลพุทไธสงเพื่อเป็นการขยายการเรียนรู้ การมีส่วน

ร่วมของประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล

Page 59: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

59นครชัยบุรินทร์

Nokmaung Recycle Waste Bank (NRB)

องค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง

อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ความเป็นมา “การที่เรายืมจมูกคนอื่นหายใจ สักวันเราก็จะตายเพราะหายใจเอง

ไม่เป็น” เป็นบทพิสูจน์การทำงานด้านการจัดการขยะของ “องค์การบริหาร

ส่วนตำบลนอกเมือง” ได้เป็นอย่างดี นับล่วงเวลาที่ผ่านมา องค์การบริหาร

ส่วนตำบลนอกเมืองได้ให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่บริการแต่

ไม่มีที่กำจัดขยะเป็นของตนเอง เราทำได้เพียงแค่พึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่น

ข้างเคียงในการนำขยะมูลฝอยไปกำจัด นับวันเขตพื้นที่บริการก็ยิ่งเต็มไป

ด้วยหอพัก ร้านอาหารมีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นทำให้เกิดปัญหาขยะ

ล้นเมืองต่อมาวันที่15มิถุนายน2553เราได้ดำเนินการจัดตั้ง“ศูนย์เรียนรู้

การจัดการขยะรีไซเคิลตำบลนอกเมือง”ที่สามารถลดปริมาณขยะรีไซเคิลที่

รวมไปกับขยะประเภทอื่นในการขนไปกำจัด ถึงปีละ 10 -15ตันและมีผล

Page 60: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

60 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

กำไรจากการขายขยะรีไซเคิลดังกล่าว

เพื่อนำไปปันผลให้กับสมาชิก *ร้อยละ

28ต่อปี นับแต่วันนั้น เป็นระยะเวลา 4

ปี ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะรีไซเคิล

ตำบลนอกเมือง ได้จัดสวัสดิการให้

สมาชิกมากมายเช่นเงินกู้สวัสดิการเงิน

สวัสดิการเจ็บป่วย นอกจากนี้ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อประโยชน์

แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงและหมู่บ้านต่างๆ ในการจัดการ

ขยะรีไซเคิล เช่น บ้านบุแกรง ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระในปี 2555

องค์การบริหารส่วนตำบลเฉนียงในปี2556องค์การบริหารส่วนตำบลโคคอ

ปี 2557 เรายังคงเชื่อมั่นว่า การจัดการขยะ เป็นปัญหาเรื้อรัง ที่มีมานาน

ยากเกินกว่าท้องถิ่นอย่างเราจะจัดการให้สำเร็จได้โดยใช้ 1 กระบวนการ

และ 1 สูตรสำเร็จ แต่การจัดการขยะจะต้องทำด้วยกระบวนการที่หลาก

หลายและที่สำคัญท้องถิ่นเราต้องลงมือทำเอง เริ่มจากก้าวเล็กๆ ไปสู่ก้าว

ที่ยิ่งใหญ่

กลวิธีในการดำเนินงาน 1. ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การ

จัดการขยะรีไซเคิลนี้ ผู้บริหารและพนัก

งานของหน่วยงานเราทุกคน เป็นหุ้นส่วน

การดำเนินงานในเรื่องนี้ตามนโยบายหา

ใช่เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง ทุกคนสามารถบอกเล่าถึงกระบวนการ

ดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะรีไซเคิลตำบลนอกเมือง

*กำไรเมื่อเทียบกับยอดซื้อในปีนั้นๆ

Page 61: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

61นครชัยบุรินทร์

2. เราสร้างองค์ความรู้ ด้วยการสร้างอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

ในหมู่บ้านที่มีความรู้ในหลายเรื่อง เป็นต้นว่า การทำปุ๋ยสำหรับขยะเปียก

การทำน้ำหมักสำหรับขยะอินทรีย์ และการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล

สำหรับขยะรีไซเคิลในหมู่บ้านและสถาบันการศึกษา

3. การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในรูปคณะกรรมการทำให้เกิด

การดำเนินงานอย่างยั่งยืน ทุกคนมีหน้าที่ในการบริหารจัดการ สนับสนุน

และคัดค้านเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างสมดุล

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ 1. “การที่เรายืมจมูกคนอื่นหายใจสักวันเราก็จะ

ตายเพราะหายใจเองไม่เป็น”คือ การจัดการขยะจะต้อง

ทำด้วยกระบวนการที่หลากหลาย และที่สำคัญท้องถิ่น

เราต้องลงมือทำเองเริ่มจากก้าวเล็กๆไปสู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่

2. “หุ้นส่วน” คือ การดำเนินงานในเรื่องนี้ตาม

นโยบายหาใช่เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง

3. “องค์ความรู้” คือ ด้วยการสร้างอาสาสมัคร

พิทักษ์สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านที่มีความรู้ที่หลากหลาย

4. “มีส่วนร่วม”คือทุกคนมีหน้าที่ในการบริหาร

จัดการสนับสนุนและคัดค้านเพื่อให้การดำเนินงานเป็น

ไปอย่างสมดุล

Page 62: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

62 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

เส้นทางขยะทองคำ โรงเรียนวัดสระจระเข้

อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

จุดเริ่มต้น... ปลายปี2543ชาวบ้านจากตำบลพันชนะอำเภอด่านขุนทดจังหวัด

นครราชสีมา ชุมนุมหน้าที่ว่าการอำเภอด่านขุนทดพร้อมกับป้ายคัดค้าน

การสร้างที่ทิ้งขยะของเทศบาลตำบลด่านขุนทดทั้งๆที่ได้มีข้อตกลงระหว่าง

ผู้บริหารทั้งของทั้งสองหน่วยงานคือเทศบาลตำบลด่านขุนทดและอบต.พัน

ชนะ โดยหนึ่งในป้ายที่น่าสนใจของการคัดค้านครั้งนี้ คือ “ขยะบ้านคุณ

ทำไมมาทิ้งบ้านฉัน”...และสิ่งที่นำมาเป็นโจทย์ในการทำงานของผู้บริหาร

ท้องถิ่นคือความเห็นที่ไม่ผ่านการเห็นชอบโดยการประชาคมหรือไม่ผ่านการ

ประชาพิจารณ์ ถึงแม้จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม อาจมีอุปสรรคหรือ

การคัดค้านในภายหลัง และกรณีเทศบาลตำบลด่านขุนทดก็เกิดการ

ประท้วงคัดค้านการสร้างที่ทิ้งขยะทั้งๆที่ผ่านความเห็นชอบเรียบร้อยจากทั้ง

สองสภาคืออบต.ด่านขุนทดและเทศบาลตำบลด่านขุนทดและรวมถึงการ

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Page 63: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

63นครชัยบุรินทร์

กว่า 40ล้านบาทสุดท้ายต้องทบทวนและยุติโครงการสร้างพร้อมส่งเงินคืน

แต่นายกเทศมนตรีหญิงเหล็กสมัยนั้นคือนางธาริณีสุทธิปริญญานนท์ผู้ตก

เป็นเป้าของการประท้วง ได้มีความพยายามอย่างยิ่งในการที่จะแก้ปัญหา

อย่างไม่ย่อท้อ เพราะบ่อขยะเดิมซึ่งห่างจากเทศบาลไม่ถึง1กิโลเมตรและ

จะเต็มในอีก 6 เดือนข้างหน้า หากให้ปัญหาการประท้วงมาบั่นทอนความ

มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนของคนในเขตเทศบาล

อย่างยิ่งเพราะทั้งกลิ่นทั้งควันจะรบกวนคนในเขตเทศบาลและนำมาซึ่ง

ปัญหาอื่นตามมาอีกมากมาย

กลวิธีดำเนินงาน การสื่อสารวิสัยทัศน์พันธกิจและเป้าประสงค์ของนักบริหารจึงถูกส่ง

ไปยังชุมชนและหน่วยงานราชการที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลด้วยกลยุทธ์และ

กิจกรรมที่หลากหลาย โดยกลยุทธ์แรกที่นำมาใช้ในครั้งนั้นคือการสร้าง

ความรู้ความเข้าใจและการสร้างความตระหนักร่วมกันของคนในเขต

เทศบาล เกี่ยวกับปัญหาขยะเพื่อรับรู้ร่วมกันว่าในอีก6 เดือนชาวเทศบาล

จะลำบากคือที่ทิ้งขยะจะเต็มสถานที่ที่จะดำเนินการและผ่านความเห็นชอบ

ชาวบ้านพันชนะไม่เห็นด้วยกับการสร้างแต่ความรู้ ความเข้าใจ เพียงอย่าง

เดียวไม่สามารถสร้างความร่วมมือในการจัดการขยะได้เท่าที่ควร เพราะ

ประชาชนในเขตเทศบาลคุ้นเคยกับการที่เทศบาลต้องมีหน้าที่เก็บขยะและ

ต้องหาที่กำจัดประชาชนมีหน้าที่เพียงชำระค่าธรรมเนียม20บาทที่เหลือ

คุณ (เทศบาล)ต้องทำหน้าที่ เราเลือกคุณเข้ามาแก้ปัญหามิใช่โยนปัญหา

กลับมาให้เราต้องหาถังขยะมาตั้งให้เยอะและบริการจัดเก็บให้เรียบร้อย

Page 64: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

64 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

เมื่อเจอคนส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะร่วมมือดังนั้นต้องหาผู้ช่วยหรือหาพี่

เลี้ยง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงานคือพี่เลี้ยงที่สำคัญใน

ขณะนั้น และที่สำคัญอย่างยิ่งคือทีมงานภาคประชาชน การสร้างความรู้

ความเข้าใจการสร้างจิตสำนึกและการฝึกทักษะที่จำเป็นแก่ทีมงานจึงเป็น

กลยุทธ์ถัดมาที่ถูกนำมาใช้ รูปแบบโครงการและกิจกรรมภายใต้กลยุทธ์นี้

คือการพาทีมงานและผู้เกี่ยวข้องไปศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบที่จังหวัด

พิษณุโลกถือเป็นจุดเริ่มในการสร้างทีมอาสา (AdhocTeam) เพื่อกลับมา

ให้ความรู้แก่ชุมชน และผู้เขียนคือหนึ่งในผู้เฝ้ามองทีมอย่างสนใจแต่ไม่มี

โอกาสร่วมเป็น Adhoc Teamทีม ความสนใจในปัญหาบ้านเมือง และ

ชุมชน เป็นทุนเดิม จึงตัดสินใจไปดูงานด้วยตนเองที่จังหวัดพิษณุโลกกับ

ญาติ โดยมุ่งหวังที่จะนำความรู้กลับมาสร้างอาชีพรับซื้อขยะของครอบครัว

และนำความรู้ไปใช้ในการจัดการขยะในโรงเรียน

และเมื่อเริ่มตั้งร้านเล็กๆ เพื่อรับซื้อของเก่ากลับโดนเจ้าถิ่นที่เคยรับ

ซื้อบีบด้วยการขยับราคาสูง จนแทบจะซื้อไม่ได้ การวิเคราะห์สถานการณ์

เพื่อหาทางอยู่รอดณ เวลานั้นต้องนำหลักการที่เรียนรู้มาจาก บ.วงษ์

พาณิชย์ จ.พิษณุโลกและกระบวนการมีส่วนร่วมมาใช้ ดังนั้นการทำงาน

ร่วมกับเทศบาลจึงเป็นทางออกของปัญหา กลยุทธ์การตลาดจึงถูกนำมาใช้

โดยร่วมกับเทศบาลคือออกรณรงให้ความรู้กับชุมชนเกี่ยวกับการจัดการขยะ

และขณะเดียวกันก็รับซื้อขยะจากชุมชนไปด้วย นอกจากนี้ยังร่วมกับ

เทศบาลในการจัดผ้าป่าขยะซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งด้วยกิจกรรมเช่น

นี้จึงเป็นจุดสร้างสมประสบการการทำงานกับชุมชนโดยกอปรกับจริตที่ชอบ

อยู่กับชุมชน จึงทำให้งานสำเร็จและเมื่อบรรดาญาติที่ทำธุรกิจร้านรับซื้อ

ของเก่ามีความจำเป็นต้องย้ายเพื่อขยายกิจการไปแห่งใหม่ เพื่อหารายได้

และมีแหล่งวัตถุดิบ(ขยะ)มากๆภาระที่ญาติๆทิ้งไว้คือสถานที่และอาคาร

Page 65: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

65นครชัยบุรินทร์

ว่างเปล่าให้ช่วยดูแลความคิดการจัดการขยะประเภทถุงพลาสติกจึงเกิดขึ้น

เพราะด่านขุนทดขยะถุงพลาสติกมีมาก จึงลงทุนรับซื้อถุงพลาสติกและนำ

มาล้าง โดยเทศบาลตำบลด่านขุนทดช่วยเหลือด้านการประชาสัมพันธ์และ

ส่งไปอบรมที่ บ.วงษ์พาณิชย์ เพื่อกลับมาช่วยงานเป็น Adhoc Team

สุดท้ายกลับกลายเป็นว่าทั้ง “ความรู้ ทักษะและเจตคติ” เรื่องการจัดการ

ขยะ ซึมซับเข้ามาแบบไม่ได้ตั้งใจและการได้รับรู้ปัญหาและเรียนรู้กลยุทธ์

การจัดการขยะของเทศบาลจึงเป็นขุมทรัพย์ที่ติดตัวแม้การรับซื้อพลาสติก

จะยุติไป เพราะไม่มีเวลาแต่ได้เข้าไปช่วยเทศบาลในฐานะAdhocTeam

โดยการสร้างความตระหนักสร้างการรับรู้ปัญหาร่วมกันและฝึกทักษะการ

จัดการขยะแก่ชุมชนร่วมกับเทศบาลโดยกิจกรรมที่ร่วมดำเนินการเช่นการ

ประชุมกลุ่มย่อยชุมชนและส่วนราชการจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้

ประชาชนช่วยกันคัดแยกขยะเพื่อขายและพบว่าปริมาณขยะลดลงจาก11

ตัน เหลือ 5.6 ตันต่อวัน และต่อมาปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ตันต่อวัน

AdhocTeamต้องประชุมกันพบว่ามีชาวบ้านนอกเขตเทศบาลนำขยะมา

ทิ้งโดยเฉพาะแม่ค้าจะนำขยะมาทิ้งในตอนเช้าช่วงที่มาเข้าซื้อสินค้าใน

ตลาดเพื่อไปขายตามหมู่บ้าน ด้วยการวิเคราะห์เห็นสาเหตุ จึงมีการจัด

โครงการอบรมและพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสปอ.ด่านขุนทดเกี่ยวกับการ

จัดตั้งธนาคารขยะ โดยมีวัตถุประสงค์คือ หากโรงเรียนและชุมชนมีความรู้

จากการจัดการขยะจะเป็นการช่วยกันในการลดปริมาณขยะและขยะจะถูก

จัดการและเป็นการสกัดไม่ให้ขยะจากนอกเขตเทศบาลถูกนำมาทิ้งในเขต

เทศบาล

โรงเรียนวัดสระจรเข้ เป็นหนึ่งใน 87 โรงเรียนที่เข้ารับการอบรมและ

ดำเนินการตามที่ได้อบรมมาคือจัดตั้งธนาคารขยะดำเนินการรับฝากและ

กลายเป็นแหล่งชุกชุมหรือที่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ที่เป็นพาหะนำ

โรคหรือสัตว์มีพิษต่างๆทั้งนี้เป็นเพราะการขาดความรู้ด้านการจัดการที่ถูก

Page 66: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

66 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ต้อง โครงการจึงหยุดนิ่ง และเมื่อผู้เขียนย้ายมาดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนวัด

สระจรเข้จึงได้นำประสบการณ์ขณะทำหน้าที่เป็นAdhocTeamมาทำงาน

โดยตั้งเป้าหมายในการทำงานและเขียนเพื่อเตือนตนเองและองค์กรว่า “มุ่ง

มั่น 3 ปี สิ่งแวดล้อมดี ปลอดขยะ 100%” และมีเขียนหลักการทำงานว่า

“ทุกฝ่ายร่วมมือ คือหัวใจความสำเร็จ” โดยสิ่งแรกที่ทำคือการพัฒนา

บุคลากรใน3ประการได้แก่1.การพัฒนาความรู้แก่ครูบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

(นักการภารโรงนักเรียนและผู้ปกครอง) เกี่ยวกับขยะ เช่นประเภทของขยะ

วิธีการจัดการขยะแต่ละชนิด 2. การพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการ

ขยะ เช่น การบริหารธนาคารขยะ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การแปรรูปขยะ

เป็นต้น และ 3. การสร้างความตระหนักในหน้าที่ของการเป็นหน่วยงานที่

มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปลูกฝังเจตคติหรือสำนึกที่ดีของการรับผิด

ชอบตนเอง สังคมและการสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง

แวดล้อมโดยมุ่งมั่นตามปณิธานหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ3ปีสิ่งแวดล้อม

ดี ปลอดขยะ 100% โดยการร่วมกับคณะครูในการแสวงหารูปแบบการ

จัดการขยะและสุดท้ายได้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

คือเอาสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้งให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆแสวงหาวิธีบูรณา

การการเรียนรู้คู่การปฏิบัติจึงได้ภาพการทำงานดังนี้

Page 67: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

67นครชัยบุรินทร์

ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข นอกจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว ยังแก้ปัญหาธนาคารขยะ

โดยวิเคราะห์ปัญหา ทราบว่าครูจัดการขยะทุกชนิด แต่ดำเนินการตั้ง

ธนาคารเพราะผู้บังคับบัญชาให้ดำเนินการและทัศนคติยังมองว่าเป็นการ

ทำงานให้เทศบาลดังนั้น จึงต้องนำปัญหาในโรงเรียนมาเป็นเครื่องมือใน

การทำงานคือ แก้ปัญหาขยะภายในโรงเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ดัง

กล่าว ให้คณะครูและนักเรียนปฏิบัติจริงโดยสานต่อโครงการธนาคารขยะ

เพื่อจัดการขยะรีไซเคิลโดยการเชิญคนซื้อของเก่ามาช่วยสอนการคัดแยก

เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและของบจากอบต.สระจรเข้เพื่อเป็นที่ตั้งธนาคารขยะ

รีไซเคิล จากนั้นตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเพื่อจัดการขยะอินทรีย์และนำ

ปุ๋ยไปใช้ในการเกษตรของโรงเรียน ตั้งธนาคารโรงเรียนเพื่อรับฝากเงินของ

นักเรียนและคณะครูที่ได้จากการขายขยะรีไซเคิลและการขายปุ๋ย และจัด

ทำโครงการขยะพิษแลกแต้ม ผลปรากฏว่าปัญหาขยะในโรงเรียนที่ต้อง

จัดการมีเพียงร้อยละ10เท่านั้นนอกนั้นถูกจัดการด้วยธนาคารขยะรีไซเคิล

ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและโครงการขยะพิษแลกแต้ม จากการดำเนิน

การดังกล่าวยังสามารถสร้างเป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่ประสบผล

สำเร็จและเป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานต่างๆจนกลายเป็นที่ศึกษาดูงานด้าน

Page 68: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

68 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

การจัดการขยะมากกว่า300คณะและตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการตั้งแต่

ปี 2544-2557มีเงินฝากในธนาคารโรงเรียนถึง 754,327.50บาท โดยรูป

แบบการบริหารจัดการขยะถูกเรียกว่าเส้นทางขยะทองคำโรงเรียนวัดสระจร

เข้ ซึ่งจากภาพจะเห็นได้ว่าในการจัดการขยะ ต้องแยกขยะออกเป็น 4

ประเภทคือขยะรีไซเคิลขยะอินทรีย์ขยะทั่วไปและขยะพิษ

บทเรียนจากการดำเนินงาน ที่เห็นเด่นชัดคือ ครูและนักเรียนเกิดการเรียนรู้กระบวนการจัดการ

ขยะมีทัศนคติเชิงบวกในความสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและร่วม

กันขยายผลสู่ชุมชนโดยตั้งธนาคารขยะชุมชนและทำให้ทั้งโรงเรียนและ

ชุมชนประสบผลสำเร็จไปพร้อมกันนอกจากนี้ยังขยายผลสู่ชุมชนและหน่วย

งานอื่นอีกจำนวนมากสมญานาม “ขยะทองคำ” จึงค่อยๆปรากฎและพูด

ถึงกันแพร่หลายเพราะรูปแบบการบริหารจัดการขยะจนประสบผลสำเร็จ

และสร้างมูลค่าให้แก่ตัวเอง โรงเรียน ชุมชน โดยเฉพาะการจัดการแบบ

ทุ่มเท เส้นทางขยะทองคำคือกุญแจที่จะนำไปสู่การจัดการขยะอย่างยั่งยืน

โดยรางวัลชนะเลิศระดับประเทศจากการประกวดโครงธนาคารขยะรีไซเคิล

ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปี2549รางวัลเหรียญทองโครงการ

หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม ของ สพฐ. พ.ศ.2549 รางวัล เหรียญทอง

โครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรมคุรุสภา ปี 2549 และ ปี 2555 การ

รับรองBest practice จากสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ พ.ศ. 2551

การประกาศให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ธนาคารขยะรีไซเคิล ระดับชาติ ประเภท

โรงเรียนประถมศึกษา และรางวัลบุคคลต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพ

อนามัยและสิ่งแวดล้อมจากกรมอนามัยปี2555เป็นเครื่องการันตีว่าการ

เสียสละ การทุ่มเทในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน

ด้วยรูปแบบที่ชัดเจนและมุ่งสู่เป้าหมายอย่างไม่ย่อท้อ สุดท้ายก็ประสบ

ความสำเร็จและสามารถนำไปใช้ได้กับทุกงานในชีวิต

Page 69: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

69นครชัยบุรินทร์

เดอะมอลล์ บริหารจัดการ ขยะอย่างยั่งยืน

ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์

สาขานครราชสีมา

จุดเริ่มต้น

ห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ สาขานครราชสีมา เป็นห้างสรรพสินค้า

ขนาดใหญ่ บนเนื้อที่ 52 ไร่ พื้นที่ใช้สอย 250,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น

อาคารห้างสรรพสินค้า 4ชั้น อาคารสำนักงานเช่า 9ชั้น อาคารที่พักอาศัย

11 ชั้น (อพาร์ตเมนต์) บริหารงานโดย คุณปรีชา ลิ้มอั่ว ผู้จัดการทั่วไป

ปฏิบัติการมีพนักงานห้าง 1,000คนพนักงานผู้แทนขาย1,400คนและ

พนักงานร้านค้าของศูนย์การค้า1,500คนรวม3,900คนลูกค้าที่เข้ามาใช้

บริการกับทางห้างวันธรรมดา50,000คนและวันหยุดราชการ80,000คน

จากจำนวนพนักงานและลูกค้าดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดขยะ สิ่งเหลือใช้ใน

การอุปโภคและบริโภค จำนวนมากปริมาณขยะที่คัดแยกแล้ว คงเหลือ

ประมาณ7-8ตัน/วันประเภทของขยะแบ่งเป็น4ประเภทคือ1.ขยะเปียก

Page 70: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

70 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

2. ขยะแห้ง 3. ขยะพิษ 4. ขยะทั่วไปจากประเภทและปริมาณขยะจำนวน

มาก ทางห้างได้ให้ความสำคัญ เพื่อการลดปริมาณ และนำมาใช้ให้

ประโยชน์สูงสุด จึงได้จัดทำ โครงการ “เดอะมอลล์บริหารจัดการขยะอย่าง

ยั่งยืน”

กลวิธีดำเนินการ ในการบริหารจัดการขยะแต่ละประเภท ขยะเปียก เกิดขึ้นจาก

วัตถุดิบในการประกอบอาหาร และเศษอาหารของศูนย์อาหาร ได้เก็บใช้

ประโยชน์เป็น2ส่วนคือส่วนแรกจัดทำน้ำหมักชีวภาพใช้ในการกำจัดกลิ่น

บริเวณบ่อขยะ,การผสมน้ำรถน้ำต้นไม้ประดับภายในห้างส่วนที่2รวบรวม

เศษอาหารประมาณ1,000ลิตร/วันประมูลขายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา

ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารปลาขยะแห้ง เกิดขึ้นจากวัสดุประเภทกระดาษ

ที่ใช้ในสำนักงาน ประโยชน์สูงสุดคือ ใช้ทั้ง 2 หน้า ไม่ใช้แล้วย่อยรองรับ

สินค้า เช่น ไข่ ผลไม้ใน Supermarket ประเภทกล่องสินค้า ประมาณ

18,000กิโลกรัม/เดือนขวดและแก้วพลาสติกประมาณ600กิโลกรัม/เดือน

รวบรวมและประมูลขายเป็นขยะRecycleขยะพิษได้ร่วมกับทางเทศบาล

ตั้งจุดทิ้งขยะพิษภายในห้าง ซึ่งเป็นขยะประเภท ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่

โทรศัพท์มือถือ ขยะอิเล็คทรอนิคส์อื่นๆ กระป๋องสีสเปรย์ หลอดไฟที่หมด

อายุใช้งานทางเทศบาลเป็นผู้จัดเก็บทำลายและบางส่วนได้ทำการว่าจ้างบ

ริษัทฯรับเหมาเก็บทำลายขยะทั่วไปที่เหลือจากการคัดแยกจะถูกนำไปทิ้ง

ที่จุดพักขยะของห้าง ซึ่งทางเทศบาลจะเข้ามาคัดแยกและนำไปกำจัดตาม

ขั้นตอนต่อไป

Page 71: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

71นครชัยบุรินทร์

ปัญหาและอุปสรรค ในเรื่องการคัดแยกขยะจากต้นทางยังมีอยู่บ้าง

เนื่องจากภายในอาคารห้างสรรพสินค้า มีทั้งในรูปของ

บริษัทฯ ร้านค้าเช่า หน่วยงานอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่ง

มีนโยบายการบริหารจัดการขยะที่ต่างกันต้องพยายาม

ทำความเข้าใจ รวมถึงการสร้างสำนึกในการคัดแยก เพื่อ

ลดปริมาณขยะ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใน

รูปแบบต่างๆ ตามที่ทราบโดยทั่วไป คือ REUSE

REDUCE RECYCLE ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลสำเร็จที่ยั่งยืน จากการทำโครงการ เพื่อบริหารจัดการขยะของ

ทางห้างฯ ทำให้ปริมาณขยะลดลง เพิ่มรายได้จาการ

ประมูลขายของเหลือใช้ อาคารสถานที่สะอาดสวยงาม

พนักงานมีส่วนร่วม และมีสำนึกการใช้วัสดุต่างๆ อย่าง

รู้คุณค่า เป็นแบบอย่างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร และ

สังคมสืบไป

Page 72: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

72 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

การจัดการขยะ พัฒนาคน สร้างรายได้ สร้างสวัสดิการ

สร้างความสุขในองค์กร ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา

จุดเริ่มต้น/แรงจูงใจ ศูนย์อนามัยที่ 5นครราชสีมา ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ

เพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯสู่การปฏิบัติ ตั้งแต่ปี 2548และ

จากแนวคิดการจัดการขยะคือการพัฒนาคนของผู้อำนวยการศูนย์อนามัย

ที่ 5ภายหลังกลับจากดูงานมูลนิธิฉือจี้ ประเทศไต้หวัน ก่อให้เกิดนโยบาย

“ลดขยะลดรายจ่าย เพิ่มรายได้บุคลากรศูนย์อนามัยที่ 5” ในระยะแรกเน้น

การคัดแยกขยะRecycle โดยมีคณะกรรมการกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงที่

ส่วนใหญ่ประกอบด้วยลูกจ้างเป็นผู้บริหารจัดการ จากจุดเริ่มต้นจุดเล็กๆ

นี่เองได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปี2551และปี2552โดยเฉพาะอย่าง

ยิ่งปี2552ได้ก่อเกิดนโยบาย“รถขยะห้ามเข้า”เน้นการจัดการขยะบ้านพัก

ขับเคลื่อนการทำงานโดยคณะกรรมการแกนนำบ้านพัก และปี 2553

Page 73: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

73นครชัยบุรินทร์

ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้พัฒนาต่อยอดสู่นโยบายGREEN and

CLEANHospital ของกรมอนามัย และมีความมุ่งมั่นพัฒนาสู่ศูนย์เรียนรู้

ลดโลกร้อน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ลดโลกร้อนแก่ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ตลอด

จนการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

ปี 2548ก่อตั้งคณะกรรมการกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง มีบทบาทเรื่องการบริหารจัดการขยะ Recycle กองทุนขยะ ฯลฯมีคณะกรรมการที่

เป็นคุณกิจหรือผู้รอบรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ราคาขยะ Recycle การเพิ่ม

มูลค่าขยะโดยการประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกใช้แล้วคณะกรรมการฯชุด

นี้ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานและกลับมาพัฒนาความรู้ในองค์กรตั้งแต่ต้น

จนถึงปัจจุบัน

ปี 2549 ก่อตั้ งชมรมจริยธรรมเพื่อดำเนินงานด้านคุณธรรม

จริยธรรมธรรมาภิบาลภายในองค์กร

ปี 2550เกิดนโยบาย “ลดขยะ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้บุคลากร”คณะกรรมการกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง ได้ศึกษาดูงานโรงพยาบาลวัดสิงห์

กลับมาทดลองการนำขยะเศษอาหารจากโรงครัวผลิตน้ำจุลินทรีย์ชีวภาพ

และต่อมาได้มีการพัฒนาสูตรเป็นปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ชีวภาพที่ไม่ต้องใช้หัวเชื้อ

EMสูตรน้ำยาล้างจานและน้ำยาอเนกประสงค์

ปี 2551 พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ความรู้การคัดแยกขยะโดยวิทยากรจากบริษัทวงษ์พาณิชย์สาขาสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาการจัดตั้ง

ธนาคารขยะและการทำปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ

Page 74: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

74 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ปี 2552เกิดนโยบาย “รถขยะห้ามเข้า” เริ่มต้นที่การจัดการขยะบ้านพักการสร้างการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ และการสร้างสถานที่พักขยะ

ที่เป็นสัดส่วนมีการเก็บข้อมูลโดยเครื่องมือที่สร้างขึ้นปลายปี 2552 เริ่มต้น

การชั่งน้ำหนักขยะแยกประเภทเพื่อประเมินผลการเปลี่ยนแปลง ประชากร

และกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเจ้าหน้าที่บ้านพักสำนักงาน โรงพยาบาล

จุดบริการถังขยะทุกจุดการดำเนินงานแบ่งเป็น

■ ระยะที่ 1 การจัดการขยะบ้านพักได้ใช้แบบสำรวจหาข้อมูล

เบื้องต้นที่เกี่ยวกับบ้านพัก การวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง สำรวจพฤติกรรม

สิ่งที่คาดหวังรูปแบบการจัดการที่ควรเป็นการมีส่วนร่วมและบุคคลที่มีส่วน

ในความสำเร็จ การขับเคลื่อนการทำงานโดยการจัดตั้งแกนนำคณะ

กรรมการจัดการขยะบ้านพักเป็นผู้แทนแต่ละแฟลต

■ ระยะที่ 2ขยายสู่การจัดการขยะโรงครัวสำนักงานโรงพยาบาล

ซึ่งประกอบด้วยจุดต่างๆที่มีการจัดบริการถังขยะ30จุด ได้ใช้รูปแบบการ

ดำเนินงานที่หลากหลาย เช่น การประกวดห้องทำงานประกวดนวัตกรรม

การประเมินตนเองการCoachingถังขยะการจัดกิจกรรมBigGreening

Day ขับเคลื่อนการทำงานโดยการจัดตั้งผู้ประสานงานขยะห้องทำงานใน

ระยะแรกซึ่งปีต่อมาได้มอบหมายให้กลุ่มแม่บ้าน6คนและลูกจ้างจากกลุ่ม

โรงพยาบาลอีก 5คนซึ่งมีหน้าที่เก็บรวบรวมขยะโดยตรงเป็นผู้ดำเนินการ

ชั่งน้ำหนักขยะแยกห้องแยกประเภท และได้ดำเนินการเรื่อยมาจนถึง

ปัจจุบัน โดยมีกลุ่มงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ให้คำแนะนำและ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

Page 75: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

75นครชัยบุรินทร์

ปี 2553ศูนย์อนามัยที่ 5 ขานรับนโยบายGREENandCLEANHospital กรมอนามัย เป็นปีแห่งการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ลดโลกร้อน สร้าง

นวัตกรรมและต่อยอดความรู้สู่ภาคีเครือข่าย

ศูนย์อนามัยที่ 5 ได้พัฒนาสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ลดโลกร้อนอย่างต่อ

เนื่อง จนได้รับรางวัลGREENandCLEANHospital โดยเป็น 1 ใน 14

แห่งโรงพยาบาล/รพ.สต.ทั่วประเทศ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

สาธารณสุขในเดือนพฤศจิกายน 2553นอกจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และรณรงค์ในวันสำคัญแล้วกิจกรรมสำคัญที่เป็นจุดเด่นในปีนี้คือ

■ การสร้างนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์จากเศษอาหาร ได้แก่การ

ผลิตแก๊สชีวภาพจากขยะอินทรีย์ ด้วยถังหมักขนาด200ลิตร เพื่อเป็นการ

ใช้ประโยชน์จากเศษอาหาร โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก

สป.สช. และการสร้างบ่อเลี้ยงไส้เดือนเพื่อกำจัดเศษผัก โดยมีผลพลอยได้

คือมูลและฉี่จากไส้เดือนซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์อย่างดี

■ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ นอกจากการสื่อสาร

ความรู้บริเวณรอบทางเดินโรงพยาบาลที่เต็มไปด้วยบอร์ดความรู้ด้านสิ่ง

แวดล้อมและสุขภาพ ในส่วนรอบนอกอาคารมีการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อ

สุขภาพและจิตใจผู้รับบริการได้แก่การจัดสวนหย่อมปลูกต้นไม้พร้อมป้าย

ความรู้ ต้นไม้ดูดสารพิษ ปั่นจักรยานเติมอากาศในสระน้ำได้ทั้งการออก

กำลังกาย บรรยากาศที่ดีและประหยัดพลังงานที่น่าสนใจคือได้น้อมนำ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฎิบัติ โดยการเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชผัก

สวนครัว พืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพตามกลุ่มผู้รับบริการพร้อม

ป้ายความรู้เช่นเมนูอาหารและผักสมุนไพรที่ช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ซึ่งทำให้

ผู้รับบริการได้เรียนรู้ไปด้วย

Page 76: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

76 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

■ การขยายความรู้สู่ภาคีเครือข่าย ควบคู่กับการพัฒนาเครือข่าย

ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์อนามัยที่ 5 ได้จัดกิจกรรมลดโลกร้อนเพื่อสร้างการ

มีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาภาค

ประชาชนทำบันทึกMOUกับหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่นเอกชนประชาชน

26 เครือข่าย ในวันEarthDay22 เมษายน2553และพบว่ามีหน่วยงาน

MOUอย่างน้อย 15หน่วยงาน ได้ดำเนินงานตามกิจกรรมGREENบาง

พื้นที่ทำหลายกิจกรรมบางพื้นที่ทำกิจกรรมตัวใดตัวหนึ่ง มี 4หน่วยงานที่

ได้แบ่งปันความรู้โดยเขียนเรื่องเล่าการทำกิจกรรมของตนเอง และมี 5

หน่วยงานที่ศูนย์ฯได้ติดตามผลการนำความรู้ไปใช้จนเป็นแบบอย่างที่ดีใน

การลดโลกร้อนโดยเครือข่ายที่MOUและมีการพัฒนาต่อเนื่องจนเป็นศูนย์

เรียนรู้โรงพยาบาลลดโลกร้อน สามารถขยายความรู้ไปทั้งจังหวัดคือ โรง

พยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ที่มีการดำเนินงานจนได้รับรางวัลดีเด่น

GREENandCLEANHospitalและยังได้ผลิตเอกสารความรู้แจกเผยแพร่

แก่หน่วยงานที่มาอบรมและศึกษาดูงานตลอดจนการนำความรู้เผยแพร่บน

เวบไซต์อีกด้วย

ปี 2554จากศูนย์เรียนรู้ลดโลกร้อนGREENandCLEANก้าวสู่Carbon Footprint โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการลดโลกร้อนและประหยัด

พลังงาน เป็นการรวมงานทั้ง 2 เรื่องเป็นเรื่องเดียวกันภายใต้แนวทางการ

ดำเนินงานคือ การใช้ทรัพยากรอย่างอย่างคุ้มค่า ประกอบกับแนวคิดการ

จัดการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน ศูนย์อนามัยที่ 5ตั้งต้นปี 2554ด้วยการต่อย

อดศูนย์เรียนรู้ลดโลกร้อน เพื่อต้อนรับการศึกษาดูงานของผู้ร่วมประชุมวิชา

การท้องถิ่นอีสาน ในเดือนเมษายน ด้วยการสร้างห้องสาธิตพลังงาน

หมุนเวียนจากพลังงานลม และแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ การใช้

ประโยชน์จากปัสสาวะจากห้องน้ำชายรวมกับน้ำล้างมือ(Greywater) เพื่อ

Page 77: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

77นครชัยบุรินทร์

รดพืชสวนครัวและไม้สมุนไพรให้นำกลับไปใช้ดับกลิ่นในห้องส้วมการจัด

มุมต้นไม้ดูดสารพิษการปรับภูมิทัศน์ ตลอดจนการจัดกิจกรรมสร้างความ

ตระหนักและการเรียนรู้การประหยัดพลังงานในวันสิ่งแวดล้อมโลก อาทิ

แบ่งกลุ่มแข่งขันเล่นเกมส์ความรู้พลังงาน เคาะประตูห้องชวนกันประหยัด

พลังงานการวางแผนรณรงค์จัดกิจกรรมทุกเดือน เช่น การประกวดต้นไม้

ต้นแรกของหนู รณรงค์ประหยัดกระดาษลดการใช้ถุงพลาสติกโฟมทิชชู

การบริโภคผักปลอดสารพิษ เป็นต้น และที่สำคัญคือ การใช้เครื่องมือ

CarbonFootprintมาใช้วัดผลการดำเนินงาน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง

ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกแยกรายกิจกรรม ในปีนี้ได้มีการขยายความรู้สู่

ภาคีเครือข่ายโดยเดือนมิถุนายนได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่โรงพยาบาล

และรพ.สต.ระดับเขตจำนวน85คนเครือข่ายที่มาดูงานที่ศูนย์ฯได้นำสิ่งที่

เรียนรู้ไปขยายผลตามกิจกรรมลดโลกร้อนGREENอย่างน้อยแห่งละ 2-3

กิจกรรม ในขณะที่โรงพยาบาลต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ที่มาเรียนรู้เมื่อปีที่

แล้ว หลายโรงพยาบาลมีการพัฒนาต่อเนื่องจนผ่านมาตรฐาน GREEN

ได้แก่รพ.สุรินทร์รพ.สังขะรพ.ท่าตูมรพ.สต.โคกสะอาด

ปี 2555ศึกษาดูงานการใช้ประโยชน์จากสิ่งปฎิกูลณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยการใช้จักรยานปั่นสูบอุจจาระนำไปหมักเป็นปุ๋ย และได้นำ

ความรู้การใช้ประโยชน์จากสิ่งปฎิกูล มาพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมในศูนย์

เรียนรู้ณบริเวณโรงครัวและศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงศูนย์อนามัยที่5

ปี 2556 ศึกษาดูงาน ศูนย์เรียนรู้พลังงานเพื่อชีวิตที่พอเพียงณบ้านสี่เหลี่ยม ตำบลสี่เหลี่ยม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ สิ่งที่ได้นำ

มาใช้พัฒนาต่อยอดคือ การทำจักรยานสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เป็น

จักรยานที่สามารถสูบน้ำโดยสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงาน

Page 78: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

78 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

กลจากการปั่นจักรยาน โดยพลังงานกลและพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกนำ

มาเก็บเป็นพลังงานไฟฟ้าสะสมในแบตเตอรี่ หรือสามารถใช้พลังงานไฟฟ้า

โดยตรงได้ โดยมีสวิตซ์ควบคุมการใช้พลังงานหน้าจอของจักรยานกิจกรรม

ที่สำคัญในปีนี้คือการจัดงานวันคุ้มครองโลกในวันที่22เมษายน56หรือวัน

Earthday:ซึ่งประกอบด้วยการเปิดตัวตลาดนัดผักปลอดสารพิษตลาดนัด

ขยะแลกไข่ การจัดสรรที่ดินทำกินด้วยการมอบโฉนดและทุนทำกินจำนวน

13แปลงปิดท้ายปลายปีงบประมาณด้วยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนรู้จากโรง

พยาบาล 4 จังหวัดในเขตและกิจกรรมทำความดีถวายพ่อหลวงในวันที่ 4

ธันวาคมซึ่งเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทยด้วยการปลูกต้นไม้ การจัดสรรที่ดินทำ

กินเพิ่มขึ้นการประกวดและมอบรางวัล5สในองค์กร

ปี 2557จัดตลาดนัดผักปลอดสารพิษต่อเนื่อง เพิ่มพื้นที่สีเขียวเช่น จัดทำแปลงสวนหม่อน การปลูกพืชผักผลไม้ด้วยการจัดหมวดหมู่เป็น

story telling เช่นผักผลไม้ต้านชรา ไม้ดูดสารพิษผักผลไม้เสริมธาตุเหล็ก

ป้องกันสมองเสื่อม ฯลฯ เพื่อสื่อสารให้ความรู้แก่ประชาชนการทำถังขยะ

สาธิต เช่น ถังขยะอันตราย ขยะขายได้ เป็นต้น ตลอดจนการเพิ่มป้าย

สื่อสารเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ประชาชนและผู้สูงอายุที่มาใช้บริการ

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ 1. ระดับองค์กร ได้แก่การกำหนดนโยบายที่ชัดเจนจากผู้บริหาร

การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาศักยภาพ การจัดกิจกรรม

ประกวด/รณรงค์ในวันสำคัญการสร้างการมีส่วนร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และความภาคภูมิใจของผู้ปฏิบัติงานลูกจ้างที่มีส่วนร่วมในการนำเสนอผล

งานวิชาการและนิทรรศการในเวทีระดับชาติ

Page 79: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

79นครชัยบุรินทร์

2. ระดับเครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสู่

เป้าหมายการมีต้นทุนเดิมดีอยู่แล้วในบางกิจกรรมเช่นรางวัลสุดยอดส้วม

มาตฐาน รางวัลสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงานผู้ปฎิบัติงานจังหวัดเป็นผู้

เชื่อมประสานกับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การติดตามประเมินเพื่อให้คำแนะนำ

จากจังหวัด/ศูนย์ฯและความภาคภูมิใจกับรางวัลความสำเร็จที่ได้รับจาก

กรมอนามัย

สิ่งที่ได้จากการดำเนินงาน 1. ระดับบุคคล

เกิดผู้ปฎิบัติจัดการความรู้ (คุณกิจ) ซึ่งเป็นบุคคลที่มี Tacit

Knowledgeและสามารถถ่ายทอดสู่บุคคลอื่นได้มีหลายคนหลายเรื่องเช่น

■ ผู้รอบรู้เรื่องขยะ Recycle คือคุณจินตนา ยวนยี และคณะ

กรรมการกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงเกือบทุกคน ภายหลังได้มีคุณกิจด้านนี้

เพิ่มขึ้นคือกลุ่มแม่บ้านทำความสะอาด

■ ผู้รอบรู้เรื่องการเพิ่มมูลค่าขยะRecycleโดยเฉพาะการประดิษฐ์

ดอกไม้จากขวดพลาสติกที่ใช้แล้วคือคุณสันติพงษ์พิศตะขบงานประจำคือ

x-ray ได้แสดงฝีมือการถ่ายทอดความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้สนใจ ผู้ที่มาศึกษาดู

งานและสาธิตในงานแสดงนิทรรศการระดับประเทศ

■ ผู้รอบรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักธรรมชาติคือ คุณทศพลภู่คนองศรี

งานประจำคือ พนักงานขับรถ เป็นผู้มีความโดดเด่นในการนำเสนอทั้งใน

และนอกสถานที่ ภายหลังได้มีการถ่ายทอดให้คุณกิจเรื่องนี้เพิ่มขึ้นคือ

คนสวนอีก5คน

Page 80: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

80 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

■ ผู้รอบรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพคือ คุณสันติพงษ์ พิศตะขบ

และคุณชัยพรฮุงสูงเนิน

■ ผู้รอบรู้เรื่องการเลี้ยงไส้เดือนคือคุณทศพล ภู่คนองศรี และ

คุณชัยพรฮุงสูงเนิน

■ ผู้รอบรู้และทดลองเรื่องการผลิตแก๊สชีวภาพจากเศษอาหารคือ

คุณศมกานต์ทองเกลี้ยงกลุ่มงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ถ่ายทอด

ความรู้และบทบาทให้คุณทศพลภู่คนองศรีและคุณชัยพรฮุงสูงเนิน

■ ผู้รอบรู้ เรื่องการคำนวณ Carbon Footprint คือคุณสมรัฐ

นัยรัมย์กลุ่มงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม

จะเห็นได้ว่าผู้มี Tacit Knowledg บางเรื่องจะมี

หลายคน เนื่องจากมีการถ่ายทอดจากบุคคลสู่บุคคล

ภายในองค์กร เพื่อทดแทนกันกรณีที่ผู้ปฎิบัติงานหลักติด

ราชการหรือบางคนจะทำได้หลายเรื่องเนื่องจากเป็นผู้มี

ความสนใจใฝ่รู้ และบุคคลที่กล่าวมาเกือบทั้งหมด

สามารถเป็นวิทยากรทั้งภายในศูนย์เรียนรู้และได้ร่วมจัด

นิทรรศการระดับประเทศมาหลายครั้ง นอกจากนี้ยังมี

Tacit Knowledge ที่อยู่ในบุคคลที่ทำงานจุดบริการใน

โรงพยาบาล เช่น ห้องแม่และเด็ก จะเป็นการสาธิตการ

ผลิตของเล่นจากวัสดุ Recycle นอกจากนี้ยังมีความรู้

และนวัตกรรมเรื่องขยะ/ลดโลกร้อนตามห้องต่างๆ คือ

ห้องยาห้องLabคลินิกส่งเสริมสุขภาพเรือนลำดวน

Page 81: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

81นครชัยบุรินทร์

2. ระดับองค์กร

■ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร

■ เกิดนวัตกรรมจากขยะอินทรีย์แก๊สชีวภาพปุ๋ยน้ำชีวภาพน้ำยา

อเนกประสงค์น้ำยาล้างจานปุ๋ยหมักจากธรรมชาติการเลี้ยงไส้เดือน

■ เกิดนวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากปัสสาวะ อุจจาระ ปี 2554

และ2555ตามลำดับ

■ เกิดนวัตกรรมการใช้พลังงานทดแทนในปี2556

■ การจัดสรรที่ดินทำกินและตลาดนัดผักปลอดสารพิษในปี2556-

2557

3. ระดับชุมชน/จังหวัด/เขต ประชาชนได้เรียนรู้การคัดแยกขยะ

และลดโลกร้อนพร้อมๆ กับเจ้าหน้าที่ เกิดพื้นที่เรียนรู้เพิ่มขึ้น เกิดพื้นที่

ต้นแบบแต่ละSettingแต่ละจังหวัดเช่นรพ.รพ.สต.รร.วัดฯลฯ

4. ระดับประเทศ เป็นที่ศึกษาดูงานของศูนย์อนามัยที่ 1-12และ

กรมอนามัย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 และหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและ

นอกเขต ร่วมจัดนิทรรศการเผยแพร่ในการประชุมระดับชาติ กรมกระทรวง

และประเทศโดยร่วมกับกรมอนามัยจัดนิทรรศการ Thailand Research

Expo2010หัวข้อ ชุมชนสุขภาพดี วิถีหนีโลกร้อนณห้องประชุมบางกอก

คอนเวนชั่น เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ วันที่ 26-30 สิงหาคม 2553 ได้รับ

รางวัลGold Award ประเภทGoodwill และ ได้ร่วมจัดนิทรรศการการ

ประชุมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เรื่องการจัดการขยะคือการพัฒนาคนณ

โรงแรมปริ๊นพาเลซกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8-10กันยายน2553 ได้รับรางวัล

ผลงานดีเด่นระดับกระทรวง

Page 82: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

82 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ

ก้าวต่อไป.......

นับตั้งแต่ปี2548จนถึงปัจจุบันร่วมทศวรรษที่ศูนย์อนามัย

ที่5นครราชสีมาได้ดำเนินการจัดการขยะโดยเริ่มจากแนวคิด

“การจัดการขยะคือ การพัฒนาคน” ของนายแพทย์สุเทพ

เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 นโยบาย “ลดขยะ

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้บุคลากร” ได้ก่อตั้งคณะกรรมการกองทุน

เศรษฐกิจพอเพียงและเกิดนโยบาย “รถขยะห้ามเข้า” ในปลาย

ปี 2552และนโยบายGREENandCLEANกรมอนามัยในปี

2553 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้สนองนโยบายและ

พัฒนาจนเป็นศูนย์เรียนรู้ลดโลกร้อน โดยมีจุดเริ่มต้นที่

การจัดการขยะและได้ขยายผลสู่ภาคีเครือข่าย

ปัจจุบัน เขตนครชัยบุรินทร์มีพื้นที่ต้นแบบจัดการขยะที่

สามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงานหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล

เทศบาลอบต.โรงเรียนห้างสรรพสินค้าตลาดร้านอาหารจาก

บทเรียนความสำเร็จของภาคีเครือข่าย พบว่าทุกท้องถิ่น

ต้นแบบได้ให้ความสำคัญกับแหล่งกำเนิด โดยมีครัวเรือน

เป็นศูนย์กลางการจัดการ เกิดชุมชนต้นแบบไม่ว่าจะเป็น

เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล อบต.ดัง

ตัวอย่างที่กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ นอกจากนี้บทเรียน

ดังกล่าวยังทำให้เกิดแกนความรู้การจัดการขยะคือต้นน้ำ

(Up stream) ได้แก่ มีการกำหนดนโยบายทุกระดับ ท้องถิ่นมี

Page 83: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

83นครชัยบุรินทร์

การออกข้อกำหนด/เทศบัญญัติที่เกี่ยวข้อง มีการจัดกระบวน

งานและขั้นตอนการจัดการมูลฝอยทั่วไป (SOP) มีมาตรฐาน

การคัดแยก การเก็บรวบรวม การเก็บขน และการกำจัดขยะ

กลางน้ำ (Mainstream)ได้แก่สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการมูลฝอยทั่วไป

ลดการเพิ่มของปริมาณมูลฝอยจากวิถีชีวิต ใช้ทรัพยากร (วัสดุ/

สิ่งของ/ของใช้) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรืออย่างรู้คุณค่า มีความ

รู้การใช้ประโยชน์จากขยะ (แก๊สชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ เลี้ยงไส้

เดือนเชื้อเพลิงพลังงานฯลฯ)การสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะการ

สร้างกฎ กติกา และมาตรการทางสังคมปลายน้ำ (Down

stream) ได้แก่ การตรวจติดตาม ประเมินรับรองคุณภาพ

มาตรฐานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม การประกวดยกย่อง

เชิดชูเกียรติ การพัฒนา/ปรับปรุงเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานอย่าง

ต่อเนื่องการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเกิด

ประโยชน์สูงสุด

ก้าวต่อไป...ศูนย์อนามัยที่5นครราชสีมาพร้อมประสาน

ความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน และ

ประชาชน เดินหน้าจัดการขยะ ตามนโยบายรัฐบาลข้อ 9.5

ที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่12กันยายน2557

ซึ่งให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะต้นทาง ด้วยการ

ส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกขยะ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้

มากที่สุด อันเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ของประชาชน

ลดผลกระทบเหตุรำคาญจากขยะต่อชุมชน ตลอดจนลดภาระ

ค่าใช้จ่ายการจัดการของท้องถิ่น

Page 84: จัดการขยะhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/011.pdfองค กรปกครองส วนท องถ นข างเค ยงประกอบด

84 16 สถานที่ต้นแบบจัดการขยะ