นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... ·...

80
จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ 143-144 กรกฎาคม 2557 นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนในทะเลจีนใต้ China’s Security Policy in the South China Sea ร้อยเอก กมล มหาภิรมย์ เขียน สุรชาติ บำารุงสุข บรรณาธิการ สนับสนุนการพิมพโดย สถาบันการขาวกรอง สำานักขาวกรองแหงชาติ

Upload: others

Post on 25-Feb-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ A

จุลสารความมั่นคงศึกษา

ฉบับที่ 143-144 กรกฎาคม 2557

นโยบายด้านความมั่นคง

ของจีนในทะเลจีนใต้

China’s Security Policy

in the South China Sea

ร้อยเอก กมล มหาภิรมย์เขียน

สุรชาติ บำารุงสุขบรรณาธิการ

สนับสนุนการพิมพโดยสถาบันการขาวกรอง

สำานักขาวกรองแหงชาติ

Page 2: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ 143-144

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้

พิมพ ครั้ง ที่หนึ่ง กรกฎาคม 2557

จำานวน พิมพ 1,000 เล่ม

การพิมพได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการข่าวกรอง สำานักข่าวกรองแห่งชาติ

เจ้าของ โครงการความมั่นคงศึกษา

ตู้ ปณ. 2030 ปณฝ. จุฬาลงกรณ

กรุงเทพฯ 10332

E-mail : [email protected]

Website : http://www.newsecurity.in.th

โทรศัพทและโทรสาร 0-2218-7275

บรรณาธิการ ศ. ดร. สุรชาติ บำารุงสุข

ผู้ช่วย บรรณาธิการ นางสาว กุลนันทน คันธิก

ประจำากอง บรรณาธิการ นาย ศิบดี นพประเสริฐ

นาย กิตติพศ พุทธิวนิช

ที่ปรึกษา พลเอก วุฒินันท ลีลายุทธ

พลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง

พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร

พิมพ ที่ บริษัท สแควร ปริ๊นซ 93 จำากัด

59, 59/1, 59/2 ซ.ปุณณวิถี 30 ถ.สุขุมวิท 101

แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260

โทร. 0-2743-8045 แฟกซ. 0-2332-5058

Page 3: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้

สารบัญ

คำานำา กนโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 1 ร้อยเอก กมล มหาภิรมย 1) บทนำา 1 2) การพัฒนาอำานาจของจีนกับปัญหาในทะเลจีนใต้ 18 3) ผลประโยชนแห่งชาติของจีน 33 4) ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ 45 5) ผลกระทบต่อความสัมพันธจีน-อาเซียน 55 6) สรุป 60

Page 4: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

คำานำา

หลายปีที่ผ่านมา ภาพลักษณของกองทัพเรือจีนก็คือ “พิพิธภัณฑเรือรบลอยน้ำา” ที่บ่งบอกถึงความเก่าของเรือรบ และสมรรถนะของระบบอาวุธทางทะเลของกองทัพเรือจีน จนมีคำากล่าวในอดีตเสมอว่า กองทัพเรือจีนเป็นได้แค่เพียง “Brown Water Fleet” ที่ไม่สามารถจะแสดง แสนยานุภาพในทะเลหลวงได้อย่างจริงจังเท่าใดนัก แต่ปัจจุบัน จากภาพข่าวและข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏในสาธารณะ กองทัพเรือจีนเป็น “กองเรือสมรรถนะสูง” ที่มีความทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นการนำาเอาเรือรุ่นใหม่ๆ เข้าประจำาการ พร้อมกับการมีระบบอาวุธสมัยใหม่แบบต่างๆ จนคำากล่าวเช่นในอดีตกลายเป็นเพียงเร่ืองเก่า เพราะวันนี้ กองเรือจีนได้แสดงความเป็นนาวิกานุภาพของความเป็น “Blue Water Fleet” อย่างชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะอย่างย่ิงหลังจากการนำาเอาเรือบรรทุกเครื่องบินลำาแรกเข้าประจำาการ คำาถามจึงไม่ใช่จีนจะนำาเรือบรรทุกเครื่องบินลำาที่สองเข้าประจำา- การหรือไม่... แต่เป็นเมื่อใดต่างหาก สภาพเช่นนี้ก็คือคำาตอบที่ชัดเจนว่า วันนี้จีนสร้างกองเรือรบสมัยใหม่เพื่อปกป้องผลประโยชนทางทะเล และนโยบายความมั่นคงชุดนี้เป็นส่ิงที่จะต้องจับตามองต่อไปในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ท้ายนี้ โครงการฯ ขอขอบคุณ ร้อยเอก กมล มหาภิรมย ที่กรุณาจัดทำาต้นฉบับให้แก่โครงการฯ ได้เผยแพร่ความรู้ในปัญหานี้ โครงการความมั่นคงศึกษา

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ก

Page 5: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 1

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้1

ร้อยเอก กมล มหาภิรมย์

~1~บทนำา

ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 2000 จีนได้ดำาเนินนโยบายต่างประเทศด้านความมั่นคงที่มีความแข็งกร้าวมากขึ้น จึงทำาให้ประเทศที่มีอาณาบริเวณติดต่อกับจีนได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว โดยเฉพาะประเทศที่ม ีข้อพิพาทกับจีน ซึ่งสำาหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รวมตัวกันเป็นองคกรระดับภูมิภาค (Regional Organization) และมีความพยายามที่จะสร้างความสัมพันธกับจีนในลักษณะพหุภาคี (Multi-lateral Relation) มาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้จีนซึ่งเป็นประเทศมหาอำานาจในภูมิภาคเอเชียยอมรับกรอบข้อตกลงของอาเซียน แต่หลังจากจีนได้ใช้นโยบายด้านความมั่นคงที่แข็งกร้าวโดยเฉพาะข้อพิพาทการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ทะเลจีนใต้ (South China Sea Territorial Dispute) ซึ่งมีประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศเป็นคู่พิพาท จึงทำาให้เกิดผล- กระทบต่อความสัมพันธระหว่างจีน-อาเซียน

1 ปรับปรุงจาก กมล มหาภิรมย, นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้: นัยยะต่อความสัมพันธ์จีน-อาเซียน. สารนิพนธปริญญารัฐศาสตร- มหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556.

Page 6: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้2

ทั้งนี้สาเหตุที่ทำาให้จีนได้ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความมั่นคง ดังกล่าว เกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในที่เกิดจาก การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่ทำาให้ประชาชนเริ่มขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสตจีน และการใช้นโยบายชาตินิยม (Nationalism) เพื่อรักษาฐานสนับสนุนทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต ที่ส่งผลทำาให้รัฐบาลปักกิ่งไม่สามารถแสดงความอ่อนข้อ ตอ่ประเทศทีม่อีำานาจนอ้ยกวา่เพือ่ไมใ่หป้ระชาชนลกุขึน้ตอ่ตา้น ซึง่ทัง้ปจัจยัภายในดังกล่าวเป็นปัจจัยสำาคัญที่ผลักดันให้ผู้นำาจีนจำาเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปใช้นโยบายที่แข็งกร้าวเพื่อขยายผลประโยชนด้านความมั่นคงออกกว้าง ไปขึ้น พร้อมทั้งรักษาสถานภาพและความมั่นคงของพรรคคอมมิวนิสต อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สำาคัญและมีอิทธิพลมากที่สุด คือปัจจัยภายนอกที่เกิดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและทางทหารที่รวดเร็วของจีน ทำาให้จีนมีความมั่นใจในการใช้นโยบายด้านความมั่นคงที่แข็งกร้าวมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีสัจนิยมใหม่ (Neorealism) โครงสร้างทางอำานาจ เป็นสิ่งกำาหนดพฤติกรรมของรัฐ โดยในปัจจุบันจีนได้มีอัตราการเจริญ- เติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 ของโลก และมีการเพิ่มงบประมาณทางทหารอย่างต่อเนื่อง จึงทำาให้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำานาจที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้สหรัฐฯ หวาดระแวงว่าจีนอาจมีความต้องการผงาดขึ้นเป็นมหาอำานาจระดับโลก และได้วางยุทธศาสตรปิดล้อมจีนทางทะเล ทำาให้สร้างความไม่พอใจแก่จีนจึงได้วางยุทธศาสตรตอบโต้ หนึ่งในยุทธศาสตรที่สำาคัญคือ การครอบครองทะเลจีนใต้ ที่เป็นพื้นที่สำาคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ เช่น เส้นทางเดินทะเล ทรัพยากรธรรมชาต ิทรัพยากรพลังงาน รวมไปถึงทางด้านความมั่นคงเนื่องจากเป็นเส้นทางเดิน-

Page 7: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 3

ทะเลที่สำาคัญของกองเรือรบจากมหาสมุทรแปซิฟิกไปสู่มหาสมุทรอินเดีย ทั้งนี้การเผชิญหน้าระหว่างการขึ้นสู่มหาอำานาจของจีน (Rise of China) และ การเป็นมหาอำานาจขั้วเดียวในโลกของสหรัฐฯ (Unipolarity) อาจจะเป็นหนทางไปสู่ความไม่แน่นอนของความมั่นคง (Security Dilem-ma) และทำาให้ส่งผลกระทบต่ออาเซียนและประเทศสมาชิกที่ปัจจุบันเริ่มมีความแตกแยกกันภายในระหว่างประเทศที่เอนเอียงไปทางจีน กับประเทศที่ต้องการถ่วงดุลอำานาจ (Balancing) กับจีนโดยดึงสหรัฐฯ ประเทศมหาอำานาจนอกภูมิภาค เข้ามาช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายและวิธีการของจีนในภูมิภาคทะเลจีนใต้ทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงท่าทีความสัมพันธระหว่างจีน-อาเซียนในอนาคต จีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสตซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหนึ่งในประเทศ คู่เจรจาของอาเซียน ทั้งนี้จีนมีเป้าหมายและผลประโยชนแห่งชาติที่สำาคัญที่สุด คือการปกป้องอธิปไตยและการป้องกันไม่ให้มีการแทรกแซงกิจการภายในจากภายนอก ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำาประเทศมาหลายครั้ง แต่เป้าหมายดังกล่าวไม่เคยเปลี่ยนแปลงจะมีเพียงวิธีการ และเครื่องมือที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ซึ่งหลังสิ้นสุดสงครามเย็นจีนได้พยายามสร้างความสัมพันธที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ความสัมพันธระหว่างจีน-อาเซียน ได้พัฒนาใกล้ชิดมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1990-ต้นทศวรรษที่ 2000 การชูนโยบาย Charm Offensive ประสบความสำาเร็จอย่างมาก (Welch, 2012) ทั้งความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจำานวนมาก เช่น การให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกอาเซียนในวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี ค.ศ.

Page 8: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้4

1997 เป็นต้น และการสร้างข้อตกลงในกรอบพหุภาคีทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านความมั่นคงมากขึ้น เช่น การสร้างกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อาเซียน+32 การเข้าร่วมเป็นสมาชิก ARF3 การลงนามใน TAC4 และความตกลงและการร่วมกันแก้ไขปัญหาข้อพิพาทการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ ที่ได้มีความก้าวหน้าในการร่วมกันจัดทำา DOC5 เป็นต้น อย่างไรก็ตามในอีกด้านหนึ่งหลังจากกลางทศวรรษที่ 2000 นโยบายต่างประเทศของจีนได้ให้ความสำาคัญและมีความแข็งกร้าวมากขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่ทะเลจีนใต้ เช่น รัฐบาลปักกิ่งได้กำาหนดให้พื้นที่ทะเลจีนใต้เป็นผลประโยชนแห่งชาติ เมื่อปี ค.ศ. 2010 (Core National Interest) (Marc L., 2013) ซึ่งจากการวิเคราะหมีสาเหตุเกิดจากทั้งแรงผลักดัน

2 กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศกับประเทศนอกภูมิภาค 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (ASE-AN Plus Three: APT) 3 การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความม่ันคงในภูมิ- ภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF) 4 สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation-TAC) ซึ่งจีนได้ลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2003 5 ปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea-DOC) เป็นเอกสารที่กำาหนดแนวปฏิบัติและการส่งเสริมความร่วมมือทางทะเล เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล การวิจัยทางทะเล หรือการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อมุ่งรักษาเสถียรภาพและสันติภาพในทะเลจีนใต้ และแก้ไขข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี บนพื้นฐานของกฎหมาย ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea-UNCLOS) ค.ศ. 1982

Page 9: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 5

ทั้งภายนอกเป็นปัจจัยหลัก และภายในเป็นปัจจัยรองประกอบกัน แรงผลักดันจากภายนอกที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำาให้จีนเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศให้แข็งกร้าวมากขึ้นคือ ความมั่นใจในขีดความ- สามารถในการเผชิญหน้ากับมหาอำานาจตะวันตก อันเกิดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและทางทหารที่รวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ ทั้งนี้ปัญหาข้อพิพาทดินแดนที่เป็นผลประโยชนหลักแห่งชาติของจีน ซึ่งในปัจจุบันมี 4 พื้นที่ ได้แก่ ไต้หวัน ทิเบต ซินเจียง และทะเลจีนใต้ (Zhao, 2013: 106) ส่วนปัจจัยภายในที่เป็นปัจจัยรองหรือปัจจัยส่งเสริม เกิดจากพรรคคอมมิวนิสตจีนต้องการรักษาเสถียรภาพและเอกภาพในการปกครองด้วยการหลีกเลี่ยงมิให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจและขาดความเชื่อมั่นต่อพรรคคอมมิวนิสต ซึ่งจะเกิดจากการชะลอตัวของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พรรคคอมมิวนิสตจึงได้ชูนโยบายชาตินิยม และตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1990 ทำาให้เกิดผลกระทบจากประชาชนที่ไม่พอใจหากรัฐบาลปักกิ่งมีท่าทีโอนอ่อนตามต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศที่ประชาชนมีความ- รู้สึกว่าอ่อนแอกว่าจีนอย่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ถึงแม้การปลูกฝังประชาชนด้วยการ “การรณรงคเรียนรู้การรักชาติ” จะมีเนื้อหามุ่งเน้นว่าจีนเป็นประเทศที่รักสงบเนื่องจากเคยถูกข่มเหงจากจักรวรรดิตะวันตกในช่วงล่าอาณานิคม แต่จากการพัฒนาตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา ได้ทำาให้ประชาชนมีแนวความคิดว่าจีนเป็นประเทศที่รุ่งเรืองและมีพลังอำานาจพร้อมที่จะก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำานาจ จึงกลายเป็นแรงผลักดันรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสตดำาเนินนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้น (Patriotic Education Campaign) (Welch, 2012) ความสัมพันธระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

Page 10: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้6

เฉียงใต้ในช่วงทศวรรษที่ 1990-กลางทศวรรษที่ 2000 เป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจากการที่จีนใช้การทูตประเทศรอบ- ดา้น (Peripheral diplomacy: 周边外交) ซึง่เปน็นโยบายตา่งประเทศที่จีนเริ่มใช้ในสมัยประธานาธิบดี เจียงเจ๋อหมินหลังจากเหตุการณเทียน- อันเหมิน (Tiananmen incident) เมื่อปี ค.ศ. 1989 (Lanteigne, 2013: 123) เพื่อลดความหวาดระแวงต่อแนวความคิดในช่วงสงครามเย็นว่าจีนคอมมิวนิสตเป็นภัยคุกคามต่อประเทศเพื่อนบ้านและสร้างความสัมพันธที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ ซึ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วหลังจากจีนได้เข้ามาช่วยเหลือวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำาในช่วงปี ค.ศ. 1997 จึงทำาให้จีนมีอิทธิพลและเป็นที่ไว้วางใจมากขึ้น อย่างไรก็ตามความขัดแย้งที่ยังคงมีระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะปัญหาข้อพิพาทการอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นคู่พิพาทกับจีนถึง 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งจีนได้พยายามดำาเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะทวิภาคีต่อประเทศสมาชิกอาเซียนมากกว่าพหุภาคีกับอาเซียน เนื่องจากมีความได้เปรียบด้วยการกดดันด้วยอิทธิพลทางเศรษฐกิจและความมั่นคง จึงทำาให้เกิดความแตกแยกภายในอาเซียน เช่น การไม่สามารถออกแถลงการณร่วมในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 45 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกที่เป็น คู่พิพาทกับประเทศสมาชิกที่มีความสัมพันธใกล้ชิดกับจีน ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากปี ค.ศ. 2008 จีนยังใช้นโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวมากขึ้น ทำาให้ประเทศสมาชิกอาเซียนโดยเฉพาะประเทศคู่พิพาท

Page 11: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 7

หวาดระแวงจีนมากขึ้น จึงส่งผลให้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางประเทศจึงตอบโต้ด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือกับมหาอำานาจนอกภูมิภาค โดยเฉพาะฟิลิปปินสที่พยายามฟื้นฟูความสัมพันธกับสหรัฐฯ เพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของจีนพื้นที่ทะเลจนีใตจ้งึกลายเปน็เวทกีารแขง่ขนัอำานาจระหวา่งจนีประเทศมหาอำานาจในภูมิภาคกับสหรัฐฯ ประเทศมหาอำานาจระดับโลก ซึ่งนอกจากจะสร้างผล กระทบต่อความสัมพันธระหว่างจีน-อาเซียนแล้วยังส่งผลเสียต่อความ ร่วมมือกันในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง เนื่องมาจากการดำาเนินนโยบายต่างประเทศต่ออาเซียนของจีนที่แตกต่างกันอีกด้วย ศาสตราจารย Suisheng Zhao ผู้อำานวยการ Center China-U.S. Cooperation แห่งมหาวิทยาลัย Denver ได้เขียนบทความ “Chinese Foreign Policy as a Rising Power to Find Its Rightful Place” (Zhao, 2013) ระบุว่า หลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น จีนได้ใช้นโยบายสร้างชาติและไม่ขยายความขัดแย้งกับประเทศอื่น ที่เรียกว่า taoguangyanghui (韬光养晦) ซึ่งต่อมาหลังจากเหตุการณ เทียนอันเหมินในปี ค.ศ. 1989 จีนต้องการให้ประเทศเพื่อนบ้านลดความหวาดระแวงต่อจีน จึงได้ใช้นโยบายเพื่อนบ้านที่ดี ซึ่งสำาหรับภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ จีนประสบความสำาเร็จเป็นอย่างมากหลังจากได้เข้ามา ใหค้วามช่วยเหลอืในวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อป ีค.ศ. 1997 จึงทำาใหค้วามสัมพันธระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับจีนแนบแน่นมากขึ้น แต่หลังจากปี ค.ศ. 2008 จีนได้พัฒนาเศรษฐกิจจนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก แซงหน้าญี่ปุ่น และเปลี่ยนแปลงแนวทางในการดำาเนินนโยบายต่างประเทศไปในทางที่แข็งกร้าวมากขึ้น ทั้งนี้ Suisheng

Page 12: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้8

Zhao แยกแยะสาเหตุที่ทำาให้จีนเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศออกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) จนีมัน่ใจยิง่ขึน้ทีจ่ะเผชญิหนา้กบัประเทศตะวนัตก และประเทศที่เป็นคู่พิพาทดินแดนทับซ้อน 2) การต่อต้านหรือกีดขวางการพัฒนาของชาติตะวันตกสร้างความไม่พอใจแก่จีน และ 3) ความไม่แน่นอนในเสถียรภาพของพรรคคอมมิวนิสต หลังจาก การเติบโตของเศรษฐกิจจีนเกิดภาวะชะลอตัว ความมั่นใจในการเผชิญหน้ากับโลกตะวันตกของจีนเกิดจากอำานาจที่เพิ่มพูนขึ้นของจีน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจจีนประสบความสำาเร็จในการเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก และขยายแนวความคิด “ฉันทามติปักกิ่ง” (Beijing Consensus) ให้ได้รับความนิยมทัดเทียมกับฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) ผลสำาเร็จดังกล่าวทำาให้ผู้นำาจีนมีความมั่นใจที่จะเผชิญหน้ากับโลกตะวันตกมากยิ่งขึ้น นอกจากความมั่นใจแล้ว จีนไม่พอใจที่โลกตะวันตกพยายามขัด- ขวางการพัฒนาของจีนใน 3 ประการ ได้แก่ 1) ความขัดแย้งระหว่างจีน ซึ่งเป็นประเทศที่กำาลังพัฒนาตนเองขึ้นมาเป็นมหาอำานาจระดับโลก กับสหรัฐฯ ประเทศมหาอำานาจที่กำาลังเสื่อม- ถอย ซึ่งพยายามใช้นโยบายสกัดกั้นไม่ให้จีนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำานาจในระดับที่ทัดเทียมกับสหรัฐฯ ได้ 2) ความไม่พอใจต่อโลกตะวันตกที่พยายามขัดขวางการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ และผลประโยชนจากต่างชาติ ซึ่งมีส่วนสำาคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน

Page 13: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 9

3) ความพยายามในการเข้าแทรกแซงปัญหากิจการภายในของจีน เช่น ปัญหาแบ่งแยกดินแดน ปัญหาสิทธิมนุษยชน และปัญหาเสรีภาพของ สื่อ เป็นต้น ปัจจัยสุดท้ายที่ทำาให้จีนเปลี่ยนแปลงท่าทีในการดำาเนินนโยบาย ต่างประเทศคือ รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสตจีนหวาดหวั่นต่อเสถียรภาพที่อาจสั่นคลอนจากความไม่พอใจของประชาชน หากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นความภาคภูมิใจของชาติมาตั้งแต่การเปิดประเทศเกิดชะลอตัว จึงทำาให้พรรคคอมมิวนิสตพยายามเสริมสร้างความนิยมและหาเสียงสนับสนุน ด้วยการเพิ่มความแข็งกร้าวในการรักษาผลประโยชนหลักของชาติ โดยเฉพาะ บูรณภาพแห่งดินแดนเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่กลุ่มชาตินิยม Marc Lanteigne ผู้อำานวยการการวิจัยแห่งศูนยการวิจัยร่วม- สมัย แห่งมหาวิทยาลัย Victoria ประเทศนิวซีแลนด ได้เขียนหนังสือ Chinese Foreign Policy (Lanteigne: 2013) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การศึกษานโยบายต่างประเทศของจีนร่วมสมัย โดยมุ่งศึกษาแบบแผนที่เกิดจากแรงผลักดันจากทั้งตัวแสดงภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทีส่ง่ผลตอ่การกำาหนดนโยบายตา่งประเทศ รวมทัง้การอธบิายบทบาทของจนีในเวทีระดับโลก และการก้าวขึ้นสู่มหาอำานาจของจีน ซึ่งเนื้อหาในหนังสือดังกล่าวแบ่งออกเป็น 7 ส่วน ได้แก่ 1) กระบวนการตัดสินใจในการกำาหนดนโยบายต่างประเทศของจีน 2) จีนกับระบบเศรษฐกิจโลก 3) พหุภาคีนิยมและองคกรระหว่างประเทศ 4) ยุทธศาสตรและบทบาทของกองทัพ 5) มุมมองของสหรัฐฯ ต่อจีน 6) การทูตประเทศรอบด้าน และ 7) นโยบาย ต่างประเทศกับแต่ละภูมิภาค เนื้อหาในหนังสือที่เกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงของจีนในทะเล

Page 14: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้10

จีนใต้ระบุว่า จีนต้องการที่จะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ทะเลจีนใต้ทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามแผนที่ที่มีชื่อว่า แผนที่เส้นประ 9 เส้น (Nine-dash line: 九段线) ทำาให้เกิดความขัดแย้งกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่อ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้บางส่วน ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส บรูไน และมาเลเซีย มาโดยตลอด เช่น ข้อพิพาทแนวปะการังมิสชีฟ (Mischief Reef) เมื่อปี ค.ศ. 1995 เป็นต้น อย่างไรก็ตามหลังจากปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ความ ขัดแย้งได้ลดน้อยลง หลังจากจีนได้ใช้นโยบายประสานประโยชนและความร่วมมือที่เรียกว่า Charm Offensive ซึ่งจีนได้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นจำานวนมาก รวมทั้งยังได้ร่วม ลงนามใน TAC และเจรจาลงนามใน DOC แต่หลังจากปี ค.ศ. 2009 ความตึงเครียดจากความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกอาเซียนได้ทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากจีนได้ประกาศให้พื้นที่ทะเลจีนใต้เป็นผลประโยชนแห่งชาติหลักของจีน (core interest) และได้พยายาม ผลักดันการอ้างกรรมสิทธิ์ของตนเองในเวทีโลก ศาสตราจารย Stein Tønnesson แห่งสถาบัน Peace Re-search Institute Oslo (PRIO) ได้เขียนเอกสารประกอบการเสวนา “Recent Development of the South China Sea Dispute and Prospects of Joint Development Regime” ที่จัดขึ้นที่เมือง ไห่หนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เรื่อง “China’s National Interests in the South China Sea” (Tønnesson, 2012: 2) มีเนื้อหาระบุว่า จีนจะแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ด้วยการสร้างความร่วมมือกับ ประเทศที่เป็นคู่พิพาทในการอ้างกรรมสิทธิ์ โดยสร้างความเข้าใจต่อสิทธิอธปิไตยของประเทศคูพ่พิาท ซึง่การวเิคราะหของ Tønnesson ไดแ้ยกแยะ

Page 15: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 11

ข้อขัดแย้งในพื้นที่ทะเลจีนใต้ได้ 3 ประการ ได้แก่ 1) สิทธิในเส้นทาง การจราจรทางทะเล (over navigational rights) 2) สิทธิการครอบ- ครองหมู่เกาะ (sovereignty to islands) และ 3) การจำากัดพื้นที่ทางทะเล (maritime delimitation) ซึ่งข้อพิพาทที่สำาคัญที่สุดไม่ใช่สิทธิการครอบครองหมู่เกาะ แต่เป็นการจำากัดพื้นที่ทางทะเล ทั้งนี้ยังได้แยกแยะบรบิทของผลประโยชนแหง่ชาตจินีในทะเลจนีใตอ้อกเปน็ 6 ประการ ไดแ้ก ่

ผลประโยชน์ด้านบูรณภาพแห่งดินแดน แต่เดิมจีนมุ่งให้ความสำาคัญกับ 3 พื้นที่ คือ ไต้หวัน ซินเจียง และทิเบต ซึ่งเผชิญภัยคุกคามจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนมาอย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา จีนได้ส่งสัญญาณผ่านบทสนทนาของ นักการทูตจีนในการติดต่อกับสหรัฐอเมริกาว่า จีนกำาลังพิจารณาให้พื้นที่ ทะเลจีนใต้ เป็นผลประโยชนแห่งชาติของจีนเช่นเดียวกัน

ด้านความมั่นคงทางทหาร ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาจีนให้ความสำาคัญในการเพิ่ม แสนยานุภาพทางทหารและปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย สำาหรับพื้นที่ ทะเลจีนใต้ จีนได้เพิ่มจำานวนเรือดำาน้ำาและสร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน เพื่อหวังจะถ่วงดุลอำานาจของประเทศอื่น รวมทั้งพยายามอย่างหนักที่จะเพิ่มพูนขีดความสามารถของยุทโธปกรณที่ใช้ยับยั้งไม่ให้กองทัพของต่างชาติ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ย่ำากรายเข้ามาในพื้นที่ทางทะเลของจีนได้ นอกจากนี้จีนยังได้ดำาเนินการทูตพัฒนาความมั่นคงในภูมิภาคด้วยการชู “นโยบายการพัฒนาด้วยสันติ” เพื่อเน้นย้ำา “นโยบายเพื่อนบ้านที่ดี” ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่

Page 16: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้12

ทศวรรษที่ 1990 ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทพื้นที่ทะเลจีนใต้ จนนำาไปสู่ การที่จีนได้ร่วมลงนามใน DOC เมื่อปี ค.ศ. 2002 อย่างไรก็ตาม หลังจากปี ค.ศ. 2009 จีนกลับใช้ท่าทีแข็งกร้าวยิ่งขึ้นนำาไปสู่ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธระหว่างจีนกับอาเซียน เช่น เหตุการณข้อพิพาทแนวหินโสโครกสการโบ- โรห (Scarborough Shoal) ระหว่างจีนกับฟิลิปปินสในปี ค.ศ. 2012 เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มั่นคงในภูมิภาค

จีนต้องการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำานวยต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความมั่นคง ในช่วงทศวรรษที่ 1990 จีนจึงใช้นโยบายเพื่อนบ้านที่ดี เพื่อสร้างความสัมพันธกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทั้งยังได้สร้างความสัมพันธแบบพหุภาคีกับอาเซียนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ เช่น อาเซียนบวกสาม และทางด้านความ- มั่นคง เช่น การลงนามใน DOC เพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ แต่หลังจากปี ค.ศ. 2009 จีนกลับหันไปเน้นการเจรจาทวิภาคี เนื่องจากเล็งเห็นผลประโยชนที่มากขึ้นจากอิทธิพลที่เหนือกว่าในการเจรจารูปแบบทวิภาคี ซึ่งผลเสียที่ตามมาคือความสัมพันธอันดีและความเชื่อมั่นของอาเซียนที่มีต่อจีนลดน้อยลง ดังสะท้อนให้เห็นผ่านภาพของปัญหาข้อพิพาท ทะเลจีนใต้ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

การเติบโตทางเศรษฐกิจ

หลังจากที่จีนพัฒนาประเทศจนมีอัตราการเจริญเติบโตทาง

Page 17: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 13

เศรษฐกิจสูงขึ้นจนติดอันดับโลก จีนได้แสดงบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น อันจะเห็นได้จากการเข้าร่วมกับองคกรระหว่างประเทศและการแสดงออกถงึการใหค้วามสำาคญักบัองคกรระดบัโลกมากขึน้ เชน่ การเขา้รว่มกบัองคการการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เมื่อปี ค.ศ. 2001 เป็นต้น ทั้งนี้ถึงแม้ภูมิภาคที่สำาคัญสำาหรับด้านเศรษฐกิจในเอเชียจะเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีความสำาคัญในฐานะที่เป็นพื้นที่ฐานการผลิตของจีน เนื่องจากมีค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่าภายในประเทศ ดังนั้นหลังจากความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ทวีความรุนแรงขึ้น บรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างก็เกิดความหวาดระแวงว่า การพึ่งพาเศรษฐกิจจีนมากเกินไปนั้นอาจทำาให้ตกเป็น เป้าหมายในการแทรกแซงทางเศรษฐกิจจากจีนได้ง่าย เช่น กรณีจีนใช้มาตรการระงับการนำาเข้ากล้วยจากฟิลิปปินสในปี ค.ศ. 2012 หลังเกิด ข้อพิพาทที่แนวหินโสโครกสการโบโรห เป็นต้น ซึ่งสำาหรับจีนแล้วมาตรการแทรกแซงดังกล่าวมีผลกระทบต่อจีนเพียงเล็กน้อย โดยกระทบต่อกลุ่มนักลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนเพียงเท่านั้น ทำาให้จีนพร้อมที่จะใช้มาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจ เพื่อกดดันประเทศ เพื่อนบ้านได้ตลอดเวลา

ความมั่นคงทางพลังงาน พื้นที่ทะเลจีนใต้มีความสำาคัญต่อความมั่นคงพลังงานจีน เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ใช้ขนส่งน้ำามันจากทางมหาสมุทรอินเดียผ่านช่องแคบมะละกา อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ซึ่งคาดว่าจะยังคงมีน้ำามันดิบอยู่ใต้พื้นดินอีกเป็นจำานวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่ทางเหนือของเกาะบอรเนียว ซึ่งจีนและประเทศอื่นๆ

Page 18: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้14

ที่อ้างกรรมสิทธิ์ได้พยายามสร้างข้อตกลง “พื้นที่พัฒนาร่วม” (Joint De-velopment Areas: JDAs) แต่ยังไม่ประสบผลสำาเร็จ ทั้งนี้เนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การร่วมกันกำาหนดว่าพื้นที่ใดคือพื้นที่ความขัดแย้ง และพื้นที่ใดเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศนั้นๆ โดยจีนคาดหวังว่าหากการตกลงมีความคืบหน้า จีนจะมอบสัมปทานให้กับบริษัทน้ำามันนอกชายฝั่งแห่งชาต ิจีนหรือซีนุก (China National Offshore Oil Corporation: CNOOC) เป็นผู้ดำาเนินการขุดเจาะน้ำามันในพื้นที่ดังกล่าว

อิทธิพลต่อนานาชาต ิ หลังสิ้นสุดสงครามเย็น จีนได้พยายามสร้างความสัมพันธกับนานาประเทศ ทั้งระดับพหุภาคีและทวิภาคีอย่างกว้างขวาง เช่น การเข้าร่วมองคกรระหว่างประเทศจำานวนมาก นอกจากนั้นยังได้พัฒนาบทบาททางด้านเศรษฐกิจ จนกระทั่งปัจจุบันจีนได้เป็นหนึ่งในสามประเทศซึ่งมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจในประเด็นทางด้านเศรษฐกิจระดับโลกเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ทั้งนี้จีนเล็งเห็นประโยชนจากการสนับสนุนกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ LOSC6 ที่ส่งผลให้จีนได้รับผล-

6 กฎหมายทะเล ปี ค.ศ. 1982 (Law of the Sea Convention 1982: LOSC) เป็นกฎหมายที่ระบุอยู่ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (United Nations Convention on the Law of the Sea: UNCOLS, 1982) เป็นกฎหมายที่กำาหนดขึ้นในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ครั้งที่ 3 ที่นครนิวยอรก ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1973 การประชุมเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1982 ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวได้คำานึงถึงอำานาจอธิปไตยของรัฐทั้งปวง ตามควร อำานวยความสะดวกต่อการสื่อสารระหว่างประเทศและจะส่งเสริมการใช้ประ- โยชนทางทะเลและมหาสมุทรโดยสันติ ทั้งยังได้บัญญัติถึงการอนุรักษทรัพยากรในเขต

Page 19: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 15

ประโยชนจากการกำาหนดเขตเศรษฐกิจจำาเพาะ (EEZ) เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวที่สุดประเทศหนึ่งในโลก รวมทั้งยังเป็นชัยชนะต่อประเทศมหาอำานาจต่อบรรดาประเทศชายฝั่งหรือประเทศกำาลังพัฒนาที่ ทำาให้มีอธิปไตยเหนือพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำาเพาะ Liselotte Odgaard ผู้ช่วยศาสตราจารยด้านความมั่นคงศึกษาแห่งสถาบันยุทธศาสตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเดนมารก ได้กล่าวไว้บทความ “The South China Sea: ASEAN’s Security Concerns about China” (Odgaard: 2003, 11-24) ระบุว่า พื้นที่ทะเลจีนใต้นั้น นอกจากจะเป็นยุทธศาสตรที่มีข้อพิพาทอธิปไตยเหนือดินแดนระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับจีนแล้ว ยังคงเป็นเวทีทางการทูตที่แสดงความเป็นหนึ่งเดียวหรือความแตกแยกของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งข้อสังเกตของ Odgaard คือ ความสัมพันธระหว่างอาเซียน-จีนในทะเลจีนใต้อาจสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน หรืออาจจะสร้างให้เกิดความขัดแย้งภายในระหว่างกันมากขึ้น เนื่องจากผลประโยชนและความหวาดระแวงที่เพิ่มขึ้นจากการสร้างความสัมพันธกับจีน โดยได้แบ่งสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดจากจุดยืนที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) มาเลเซยี : หนึง่ในประเทศทีอ่า้งอธปิไตยเหนอืพืน้ทีท่ะเลจนีใต้บางสว่น แตก่เ็ปน็ประเทศทีม่คีวามสมัพนัธทีด่กีบัจนี ทำาใหป้ระสบผลสำาเรจ็ในการสร้างข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างมาเลเซีย-จีนอย่างต่อเนื่อง และอาจทำาให้มาเลเซียบรรลุข้อตกลงชั่วคราว (modus vivendi) กับจีน

เศรษฐกิจจำาเพาะ การอนุรักษทรัพยากรในเขตทะเลหลวง และการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลอีกด้วย

Page 20: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้16

อันจะนำาไปสู่การลดบทบาทและความสัมพันธแบบพหุภาคีผ่านอาเซียน 2) อินโดนีเซีย : แม้ว่าจะไม่ได้อ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ แต่ก็เป็นประเทศสมาชิกที่ผลักดันให้เกิดการร่างระเบียบปฏิบัติ (Code of Conduct: COC)7 ระหว่างอาเซียน-จีน ทั้งนี้ถึงแม้ในอดีต อินโดนีเซียจะเคยมีข้อพิพาทดินแดนกับจีนในพื้นที่เกาะ Natuna แต่ในปัจจุบันอินโดนีเซียอาจมองว่าการรักษาผลประโยชนหลักของอินโดนีเซีย จะพัฒนา ไปหากเกิดสันติภาพและความมั่นคงจีนในพื้นที่ทะเลจีนใต้ 3) เวียดนามและฟิลิปปินส์ : ทั้งสองประเทศต่างก็อ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ และเป็นประเทศที่มีความขัดแย้งกับจีนรุนแรงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นประเทศที่ต้องการผลักดันให้มีการลงนามร่วมกันใน COC ระหว่างอาเซียน-จีนเพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในการเจรจาแบบพหภุาค ีโดยหวงัวา่ความสมัพนัธพหภุาคนีีจ้ะยงัผลใหท้ัง้สอง ประเทศมีความได้เปรียบเพิ่มมากขึ้นในการเจรจา 4) สิงคโปร์และไทย : เป็นประเทศที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ ข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ทั้งสองประเทศต่างเป็นประเทศที่มีความ สมัพนัธทีด่กีบัจนี และแสวงประโยชนจากขอ้พพิาทนีใ้นการเพิม่ระดบัความสัมพันธกับสหรัฐอเมริกา โดยทั้งสองประเทศสนับสนุนการสร้างความ สัมพันธกับจีนในลักษณะพหุภาคีและการผลักดันการลงนาม COC เพื่อ

7 แนวทางปฏิบัติเพื่อจัดการข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct of Parties in the South China Sea: COC) เป็นแนวทางที่เป็นขั้นตอนพัฒนาจาก DOC เพื่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายในการจัดการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นการพัฒนาไปสู่การทูตเชิงป้องกันที่เป็นเป้าหมายขั้นที่ 2 ของ การประชุม ARF

Page 21: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 17

หลีกเลี่ยงการตกอยู่ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันอิทธิพลระหว่างมหาอำานาจ จีน-สหรัฐอเมริกา 5) พม่า ลาว กัมพูชา และบรูไน : เป็นกลุ่มประเทศที่ไม่ได้ให้ความสำาคัญกับข้อพิพาทในทะเลจีนใต้มากนัก นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มประเทศที่จีนได้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป็นจำานวนมาก จึงมีความสัมพันธที่แนบแน่นกับจีน แม้ว่าบรูไนจะเป็นหนึ่งในประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ แต่ก็พยายามรักษาระดับความสัมพันธกับจีน โดยมิได้แสดงออกอย่างแข็งกร้าวต่อจีนแต่อย่างใด จากจุดยืนของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งภายในเมื่อต้องการผลักดันสร้างข้อตกลงการปัญหาทะเลจีนใต้แบบพหุภาคีระหว่างอาเซียน-จีน อย่างไรก็ตาม Odgaard ยังได้เห็นถึงจุดร่วมที่จะทำาให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นหนึ่งเดียวกันในการสร้างความสัมพันธกับจีนคือ อาเซียนจะต้องรักษาความสัมพันธระหว่างกัน โดยเฉพาะการระงับไม่ให้เกิดการเผชิญหน้าด้วยกำาลังทหารระหว่างกัน ซึ่งที่ผ่านมาอาเซียนก็ทำาได้ดีมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังควรรักษาระดับความสัมพันธกับจีนให้เป็นเพียงสิ่งสำาคัญรองลงมา โดยสิ่งสำาคัญที่สุดคือการร่วมมือกันภายในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อป้องกันอิทธิพลของจีนที่อาจสร้างความเสียหายต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Page 22: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้18

~2~การเป็นมหาอำานาจของจีนกับปัญหาในทะเลจีนใต้

หลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น จีนได้ใช้นโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศ มีนโยบายต่างประเทศที่ต้องการลดความหวาดระแวงในสายตาของต่างชาติ และการสร้างความสัมพันธที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้ง มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจนกระทั่งได้เป็นประเทศที่มีพลังอำานาจทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 ของโลกในช่วงทศวรรษ 2000 นอกจากนี้จีนยังพัฒนากองทัพอย่างต่อเนื่องตามนโยบายการพัฒนากองทัพไปสู่ความทันสมัย ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยเจียงเจ๋อหมิน ขณะดำารงตำาแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต (The Economist: 2012) สิ่งเหล่านี้ล้วน ส่งผลให้นโยบายต่างประเทศจีนมีอิทธิพลต่อการเมืองระหว่างประเทศมากขึ้น จากการพัฒนาดังกล่าวได้กลายเป็นแรงผลักดันหลักที่ทำาให้จีนได้เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศเป็นลักษณะมีความมั่นใจและเป็นเชิงรุก มากขึ้น (more assertive) โดยเฉพาะนโยบายที่มีความเกี่ยวข้องกับผล- ประโยชนแห่งชาติที่สำาคัญที่สุดของจีนคือ อธิปไตยและบูรณภาพแห่ง ดนิแดน ซึง่ในปจัจบุนัม ี4 พืน้ที ่ไดแ้ก ่ไตห้วนั ทเิบต ซนิเจยีง และทะเลจนีใต ้(Zhao, 2013: 106) ในช่วงทศวรรษที่ 1980-ปัจจุบัน จีนยังคงยึดมั่นในเป้าหมายที่จะครอบครองพื้นที่ทะเลจีนใต้มาโดยตลอด แต่จากนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวมากขึ้นของจีนสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า จีนได้เปลี่ยนแปลงยุทธศาสตรหรือวิธีการ รวมทั้งแนวทางการใช้เครื่องมือในการดำาเนินนโยบายต่างประเทศ โดยเครื่องมือในการดำาเนินนโยบายต่างประเทศนั้น

Page 23: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 19

สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) การทูต 2) เศรษฐกิจ และ 3) การทหาร (Close Up Foundation, 11 May 2014) จากเครื่องมือ ทั้งสามประเภทจะเห็นได้ว่า ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990-กลางทศวรรษที่ 2000 จีนได้ใช้เครื่องมือทางการทูตและเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างความสัมพันธกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ได้สร้างความร่วมมือและข้อตกลงทางเศรษฐกิจกับจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้รับความ ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจำานวนมากจากจีนอีกด้วย โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณวิกฤตเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1997 ทั้งนี้จีนยังได้พยายามสร้างความสัมพันธในลักษณะพหุภาคีเพิ่มมากขึ้น โดยได้สร้างข้อตกลงหรือการเจรจา ร่วมกันกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านอาเซียน อย่างไรก็ตาม หลังจากปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา จีนได้เปลี่ยนแปลง นโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายความมั่นคงในทะเลจีนใต้ที่มีความแข็งกร้าวมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการใช้เครื่องมือดำาเนินนโยบายที่เปลี่ยนแปลงไป จากการส่งเสริมสร้างความสัมพันธในลักษณะพหุภาคีได้เปลี่ยนเป็นทวิภาคีเป็นหลัก และได้ให้ความสำาคัญกับการใช้กำาลังทางทหารเพิ่มขึ้น โดยการพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กองทัพเรือใน ทะเลจีนใต้อีกด้วย หลังจากนโยบายเปิดประเทศส่งผลให้จีนได้พัฒนาประเทศไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งอำานาจแห่งชาติที่สำาคัญที่สุดคือเศรษฐกิจและการทหาร จีนจึงมีอิทธิพลต่อระบอบระหว่างประเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาจแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 1) ค.ศ. 1980-2000 ซึ่งเป็นช่วงเวลาการสร้างชาติและการพัฒนาภายในให้เข้มแข็ง 2) ค.ศ. 2001-2009 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลัง

Page 24: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้20

จากมีสภาพเศรษฐกิจที่พัฒนามากขึ้น จีนจึงมีความมั่นใจในการสร้างความสัมพันธกับต่างประเทศ และพยายามเข้าร่วมกับองคกรระหว่างประเทศ ทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก และ 3) ค.ศ. 2010-ปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จีนได้เกิดความมั่นใจและเปลี่ยนแปลงไปใช้นโยบายที่แข็งกร้าว มากขึ้น (Rabobank, 2013)

ค.ศ. 1980-2000

อำานาจทางเศรษฐกิจ

หลังจากใช้นโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศ จีนก็ประสบความสำาเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วโดยเปิดการลงทุนจากต่างชาติ ทั้งทางด้านเงินทุนและเทคโนโลยีจำานวนมาก นอกจากนี้จีนยังส่งเสริมการส่งออก ควบคู่ไปกับการกำาหนดใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (fixed exchange rate) โดยผูกค่ากับเงินสกุลอื่น (pegged exchange rate) เช่น ในช่วงทศวรรษที่ 1990 จีนได้ผูกค่าสกุลเงินหยวนกับสกุลเงินดอลลารสหรัฐ ที่ 8.28 หยวน/ดอลลารสหรัฐ (Lanteigne, 2013: 41) อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าวจีนกังวลกับอันตรายที่อาจเกิดจากการพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศมากเกินไป จึงเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยลดการลงทุนจากต่างชาติและส่งเสริมการส่งออกมากขึ้น จนทำาให้สัดส่วนการลงทุนจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment: FDI) ในจีนลดลงจากร้อยละ 8 ของ FDI ทั่วโลกในปี ค.ศ. 1994 เป็นร้อยละ 3 ในปี ค.ศ. 2000 และตัวเลขการส่งออกของจีนในห้วงดังกล่าวสูงขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 ของทั่วโลกในปี ค.ศ. 1985 มาเป็นร้อยละ 5 ในปี ค.ศ.

Page 25: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 21

2000 (Rabobank, 2013) ความเปลี่ยนแปลงข้างต้นทำาให้ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี ค.ศ. 1997 จีนได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย และจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำา จีนจึงเริ่ม ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสร้างความสัมพันธที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามแนวทางนโยบายประสานประโยชนและความร่วมมือที่เรียกว่า Charm Offensive ด้วยการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันส่งผลต่อความสัมพันธระหว่างทั้งสองฝ่ายที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากในช่วงปี ค.ศ. 1991-2000 การเติบโตด้านการค้าระดับทวิภาคีระหว่างจีน-ประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 17 ต่อปี (Astarita, 2008: 81) การค้าขายในระดับทวิภาคีเช่น- นี้ ในอีกด้านหนึ่งทำาให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจกับจีนมากขึ้นด้วย เช่น จีนได้กลายเป็นประเทศที่มี FDI ในประเทศสมาชิก อาเซียนมากที่สุด อำานาจทางทหาร

หลังสิ้นสุดสงครามเย็น จีนลดความสำาคัญในการพัฒนากองทัพลง เพื่อนำางบประมาณมาใช้ในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งปรากฏได้อย่างชัดเจนจากคำากล่าวในการประชุมใหญ่คณะกรรมาธิการทหาร ณ มหา- ศาลาประชาคม กรุงปักกิ่ง ของเติ้งเสี่ยวผิง ขณะดำารงตำาแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลางทางทหารว่า “กองทัพจำาเป็นต้องรอคอยและอดทน” (Global Security,10 March 2014) ซึ่งจากถ้อยแถลงดังกล่าวได้นำาไปสู่นโยบายการลดกำาลังทหารประจำาการจำานวน 1 ล้านนาย ในช่วงปี ค.ศ.1985-1987 จนกลายเป็นที่มาการขนานนาม “นิ้วเดียวที่ลดกำาลังทหารหนึ่ง

Page 26: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้22

ล้าน” ให้แก่เติ้งเสี่ยวผิง (สุรัตน ปรีชาธรรม, 10 ธันวาคม 2555) ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 1987 กองทัพปลดแอกประชาชนจีน (People’s Liberation Army: PLA) มีกำาลังพลประมาณ 3 ล้านนาย (กำาลังภาคพื้นดิน 2.1 ล้านนาย กองทัพเรือ 350,000 นาย กองทัพอากาศ 390,000 นาย และหน่วยขีปนาวุธ 100,000 นาย) (Global Security, 11 March 2014) ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เจียงเจ๋อหมิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสตจีนในขณะนั้น ตระหนักว่ากองทัพจีนกลายเป็นกองทัพที่ล้าหลังเมื่อเปรียบเทียบกับกองทัพของต่างชาติ เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณพัฒนากองทัพลดน้อยลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1970-ปลายทศวรรษที่ 1990 โดยเมื่อปี ค.ศ. 1997 กองทัพได้งบประมาณจำานวน 9.8 พันล้านดอลลารสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 3.67 ของงบประมาณกองทัพสหรัฐอเมริกา (Liang, 2012: 8) จนกระทั่งจีนตระหนักถึงความ ทันสมัยของสงครามสมัยใหม่จากยุทโธปกรณและยุทธวิธีของกองทัพ สหรัฐอเมริกาในสงครามอ่าวเปอรเซียครั้งที่ 1 เมื่อปี ค.ศ. 1991 จีนจึงเริ่มศึกษาทฤษฎีการพัฒนากองทัพของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า “วิวัฒนาการกิจการทหาร” (Revolution in Military Affairs: RMA) และนำามากำาหนดเป็นยุทธศาสตรในการพัฒนากองทัพจีน (The Economist, 7 April 2012) โดยเมื่อปี ค.ศ. 1993 เจียงเจ๋อหมิน กำาหนดให้นโยบายพัฒนากองทัพมีเป้าหมายทางยุทธศาสตรคือ “การทำาสงครามจำากัดภายใต้ความทันสมัย” อีกทั้งในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสตจีนครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 ยังได้กล่าวเน้นย้ำาว่า “เราจะต้องสนับสนุนหลักการการพัฒนาร่วมกันระหว่างการป้องกันประเทศและเศรษฐกิจ และจะต้องผลักดันให้การ

Page 27: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 23

พัฒนากองทัพไปสู่ความทันสมัยบนพื้นฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจ” คำาประกาศดังกล่าวเป็นการแสดงอย่างชัดเจนถึงความต้องการในการพัฒนาทางทหารอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสตจีน ซึ่งส่งผลให้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา จีนจึงเริ่มจัดสรรงบประมาณการพัฒนากองทัพ โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 2.1 ของผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศ (GDP) (Cordesman and Yarosh, 2012: 24)

ค.ศ. 2001-2009

อำานาจทางเศรษฐกิจ

ช่วงเวลานี้จีนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 10 ต่อปี และอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15 ต่อปี ส่งผลให้จีนมีอัตราส่วนของขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 10 ของเศรษฐกิจโลกในปี ค.ศ. 2010 ทั้งนี้จีนเริ่มเปิดเส้นทางเข้าสู่เวทีการค้าโลกอย่างเป็นทางการโดยการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองคการการค้าโลกเมื่อปี ค.ศ. 2001 สำาหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนได้สร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายในกรอบอาเซียนบวกสาม อีกทั้งยังได้ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้วยการร่วมลงนามในเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน (CAFTA)8 ในปี ค.ศ. 2002 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก

8 ข้อตกลงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน (China-ASEAN Free Trade Area: CAFTA) เป็นแนวความคิดของจูหรงจี (Zhu Rongji) นายกรัฐมนตรีจีน และได้เสนอแนวความคิดในการประชุมสุดยอดผู้นำาอาเซียนเมื่อปี ค.ศ. 2000 จากนั้น

Page 28: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้24

(EAS)9 ในปี ค.ศ. 2005 อีกด้วย จีนจึงกลายเป็นผู้นำาทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคและเป็นศูนยกลางของโครงสร้างเศรษฐกิจของเอเชีย นอก- เหนือจากการเจรจาในกรอบพหุภาคีแล้ว จีนยังได้เดินหน้าทางเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มการเจรจาในกรอบทวิภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียนมากขึ้น โดยในปี ค.ศ. 2002 จีนร่วมลงนาม FTA กับสิงคโปร จากนั้นในปี ค.ศ. 2003 ร่วมลงนาม FTA กับไทย ฟิลิปปินส และมาเลเซีย (Astarita, 2008: 83) แม้จีนจะได้รับแรงกดดันทางด้านการเงินให้เปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบ “ตะกร้า” ในปี ค.ศ. 2005 อันเป็นผลให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้น และ GDP ลดลงจากร้อยละ 14.2 ในปี ค.ศ. 2006 เป็นร้อยละ 9.6 ในปี ค.ศ. 2007 (Lanteigne, 2013: 41) แต่ในช่วงวิกฤตทางการเงินในปี ค.ศ. 2008 จีนประสบความสำาเร็จในการใช้มาตรการทางด้านเศรษฐกิจและการเงินเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าว และยังคงรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องโดยมี GDP อยู่ในระดับร้อยละ 9.2 ในปี ค.ศ. 2009 (Rabobank, 2013)

การประชุมในปี ค.ศ. 2002 ผู้นำาอาเซียนและจีนได้ร่วมกันลงนามในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีในปี ค.ศ. 2010 โดยให้เริ่มจัดการลดอัตราภาษีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 และเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2015 9 การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) เป็นการประชุมสุดยอดของผู้นำาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกจำานวน 16 ประเทศ โดยมีกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นศูนยกลาง ซึ่งเป็นแนวความคิดที่เสนอโดย ดร. มหาเธร โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อปี ค.ศ. 1991 และในการประชุม อาเซียนบวกสาม ในปี ค.ศ. 2004 ได้มีการลงมติจัดตั้ง EAS และจัดการประชุมครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2005

Page 29: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 25

อำานาจทางทหาร

หลังจากการประกาศเริ่มต้นพัฒนากองทัพตามแนวความคิดของ เจียงเจ๋อหมิน จีนกลับได้รับการสกัดกั้นจากประเทศตะวันตกจนไม่สามารถนำาเข้าเทคโนโลยีทางทหารจากประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และพันธมิตรโลกตะวันตก เช่น เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นได้ จีนจึงหันไปนำาเข้า และศึกษาเทคโนโลยีทางทหารจากรัสเซียจนมีขีดความสามารถในการพัฒนาและสร้างอาวุธได้ด้วยตนเอง จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพของกองทัพไปสู่ความทันสมัยในอาวุธด้านต่างๆ ตามนโยบายและแนวทางการพัฒนา PLA ที่ หูจิ่นเทา เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสตจีนในขณะนั้น ได้แถลงเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 ภายใต้ชื่อ “ภารกิจในประวัติศาสตรใหม่” (New Historic Missions) ซึ่งประกอบไปด้วยการรับรอง 3 ประการกับ 1 บทบาทหน้าที่ ได้แก่ 1) การรับรองอำานาจของพรรคคอมมิวนิสต 2) การรับรองด้านความมั่นคงในการปกป้องโอกาสทางยุทธศาสตรในการพัฒนาประเทศ 3) การสนับสนุนทางยุทธศาสตรที่เข้มแข็ง เพื่อการป้องกันผลประโยชนของชาติ และ 4) บทบาทหน้าที่ในการปกป้องความสงบสุขของโลกและส่งเสริมการพัฒนา (U.S. Department of Defense, Office of the Secretary of Defense, 2013: 17) จากการประกาศดังกล่าวจะสังเกตได้ว่า นอกจากจีนจะให้ความสำาคัญในการปกป้องอธิปไตยของประเทศและให้ความสำาคัญต่ออำานาจของพรรคคอมมิวนิสตตามแนวทางของผู้นำาพรรคคอมมิวนิสตรุ่นก่อนแล้ว ยังคงให้ความสำาคัญในการรักษาผลประโยชนของชาติ และการเพิ่มบทบาทของกองทัพจีนในเวทีโลกอีกด้วย เช่น การส่งกำาลังทหารเข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพ (Peacekeeping Operation: PKO) ขององคการ

Page 30: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้26

สหประชาชาติ ซึ่งนับว่าเป็นบทบาทใหม่ของกองทัพจีนในเวทีโลก นอกจากนี้ยังเห็นได้ว่า วัตถุประสงคในพัฒนาทางทหารของตนเองไม่ใช่เพียงการแข่งขันพลังอำานาจแข็ง (hard power) กับมหาอำานาจอย่างสหรัฐอเมริกา แต่ยังหมายรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีที่ทัน- สมัย ควบคู่ไปกับการเพิ่มขีดความสามารถทางด้านไซเบอรด้วย

ค.ศ. 2010-ปัจจุบัน

อำานาจทางเศรษฐกิจ

ในปี ค.ศ. 2010 จีนก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีการลงทุนทางตรงขาออก (Outward Direct Investment: ODI) เทียบกับปี ค.ศ. 2009 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 (59,000 ล้านดอลลารสหรัฐ) และมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 (105,700 ล้านดอลลารสหรัฐ) (ASTVผู้จัดการออนไลน, 18 มกราคม 2554) นอกจากนี้จีนยังได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศส่งออกใหญ่ที่สุดในโลกในปี ค.ศ. 2009 โดยมีสัดส่วนร้อยละ 9 ของปริมาณการส่งออกของโลก (Rabobank, 2013) และในปี ค.ศ. 2012 ยังเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำารองประมาณ 3.3 ล้านล้านดอลลารสหรัฐ (Lanteigne, 2013: 40) ซึ่งนับว่ามากที่สุดในโลก อีกด้วย

Page 31: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 27

ภาพที่ 1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐอเมริกา จีน

และญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ. 1980-2019

ที่มา: International Monetery Fund (IMF), “World Economic Outlook 2014,” [Online]. Available from: http://www.imf.org/external/datamapper/index.php

สหรัฐอเมริกา

จีน

ญี่ปุ่น

ภาพที่ 1

[Type a quote from the document or the summary of an interesting point. You can position the text box anywhere in the document. Use the Text Box Tools tab to change the formatting of the pull quote text box.]

Page 32: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้28

ภาพที่ 2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (กำาลังซื้อ) ของ

สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ. 1980-2019

ที่มา: International Monetery Fund (IMF), “World Economic Outlook 2014,” [Online]. Available from: http://www.imf.org/external/datamapper/index.php

สหรัฐอเมริกา

จีน

ญี่ปุ่น

ภาพที่ 2

Page 33: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 29

ภาพที่ 3 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของ

สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ. 1980-2019

ที่มา: International Monetery Fund (IMF), “World Economic Outlook 2014,” [Online]. Available from: http://www.imf.org/external/datamapper/index.php

สหรัฐอเมริกา

จีน

ญี่ปุ่น

ภาพที่ 3

Page 34: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้30

จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จีนได้พัฒนาเศรษฐกิจ จน สามารถแซงหน้าญี่ปุ่นและเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมสีหรฐัอเมรกิาเปน็ประเทศทีม่ขีนาดเศรษฐกจิใหญท่ีส่ดุในโลก ซึง่ในป ีค.ศ. 2013 สหรฐัอเมรกิาม ีGDP เปน็ 16.8 ลา้นลา้นดอลลารสหรฐั และ จนีม ีGDP เปน็ 9.2 ลา้นลา้นดอลลารสหรฐั แตห่าก GDP ทีใ่ชห้ลกัความ- เท่าเทียมกันของอำานาจซื้อ (Purchasing Power Parity: PPP) พิจารณาร่วมตามภาพที่ 2 และอัตราการเติบโตของ GDP ตามภาพที่ 3 มาวิเคราะหแนวโน้ม จะสังเกตได้ว่าจีนมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที ่มากกว่า ซึ่งในปี ค.ศ. 2013 GDP ของสหรัฐอเมริกาเติบโตร้อยละ 1.5 แต่จนีมอีตัราเตบิโตถงึรอ้ยละ 7.7 แมว้า่อตัราการเตบิโตของจนีจะลดลงแตก่ารลดลงดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต ที่ต้องการควบคุมไม่ให้เศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาเศรษฐกิจภายในที่จะเกิดขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งต้องการปรับให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะห้าปี ฉบับที่ 12 ในช่วงปี ค.ศ. 2011-2015 ที่ตั้งเป้าการเติบโตของ GDP ไว้ที่ร้อยละ 7 ต่อปี (ASTVผู้จัดการออนไลน, 5 มีนาคม 2555) การพัฒนาของจีนยังส่งผลให้จีนมีความต้องการทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำาให้จีนพยายามสร้างความสัมพันธและเจรจากับกลุ่มประเทศกำาลังพัฒนา ซึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในแหล่งทรัพยากรที่สำาคัญของจีน ทำาให้การค้าระหว่างจีนกับกลุ่มสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้นมากกว่า 30 เท่าตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990

Page 35: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 31

ภาพที่ 4 ปริมาณการค้าระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

ระหว่าง ค.ศ. 1990-2012

ที่มา: Eric Bellman and Nopparat Chaichalearmmongkol (15 Jul 2013)

ภาพที่ 4

Page 36: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้32

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจและการค้าของจีนมีอิทธิพลต่อกลุ่มสมาชิกอาเซียนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันจีนได้เป็นประเทศที่มีปริมาณ การค้ากับกลุ่มอาเซียนที่มากที่สุดในโลก

อำานาจทางทหาร

หลังจากสีจิ้นผิง (Xi Jinping) ก้าวขึ้นดำารงตำาแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสตและประธานกรรมาธิการกลางการทหาร ในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2013 เขาได้กล่าวสุนทรพจนที่มีเนื้อหาสำาคัญเกี่ยวกับการฟื้นฟูประเทศครั้งใหญ่และความฝันของจีน (Chinese Dream) (Voice TV, 17 พฤษภาคม 2556) โดยได้แสดงถึงแนวความคิดของผู้นำาจีนชุดปัจจุบันที่ต้องการพัฒนากองทัพให้แข็งแกร่งมากขึ้น โดยสอดคล้องกับนโยบายของเจียงเจ๋อหมินและหูจิ่นเทา อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสตที่สร้างแนวทางการพัฒนากองทัพควบคู่กับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงทศวรรษที่ 1990-2000 จีนมีเป้าหมายสำาคัญในการพัฒนาและขยายกองทัพคือ การอ้างอำานาจอธิปไตยเหนือไต้หวัน และป้องกันการแทรกแซงปัญหาช่องแคบไต้หวันจากภายนอก แต่หลังจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่รวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รัฐบาลปักกิ่งสามารถเพิ่มงบประมาณทางทหารขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 10 ต่อปี โดยในปี ค.ศ. 2014 รัฐบาลปักกิ่งได้ประกาศเพิ่มงบประมาณทางทหารร้อยละ 12.2 คิดเป็น 131.57 พันล้านดอลลารสหรัฐ (808.23 พันล้านหยวน) แนวทางการพัฒนากองทัพของจีน ที่ถูกมองว่าเป็นการแผ่อิทธิพลเหนือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุดคือ การพัฒนากำาลังทหารและเสริมสร้างศักยภาพทางทะเลให้มีรัศมีการปฏิบัติการที่ไกลมากขึ้น

Page 37: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 33

เนื่องจากจีนมีเป้าหมายที่ต้องการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมดตามแผนที่เส้นประ 9 เส้น (Nine-dashed Line Map) โดยความสำาเร็จที่สำาคัญในการพัฒนากองทัพเรือของจีนคือ การประจำาการเรือบรรทุกเครื่องบิน “เหลียวหนิง” (Liaoning) ในปี ค.ศ. 2012 ซึ่งนับว่าเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำาแรกของจีน และการประสบความสำาเร็จในการทดสอบการบินขึ้น-ลงจากเรือบรรทุกเครื่องบินของเครื่องบินขับไล่รุ่น J-15 ซึ่งทำาให้ระยะปฏิบัติการทางทะเลของจีนกว้างไกลมากขึ้น

~3~ผลประโยชน์แห่งชาติของจีน

ทะเลจีนใต้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตรสำาคัญ และเป็นดินแดนที่เกิดข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน รวมทั้งเป็นเวทีแข่งขันอำานาจระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา พื้นที่ทะเลจีนใต้จึงเปรียบ เสมือนกับเป็นหลังบ้านของจีน สำาหรับการวิเคราะหผลประโยชนแห่งชาติของจีนนั้น แบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่ บูรณภาพแห่งดินแดน ความมั่นคงทางทหาร สภาพแวดล้อมที่มั่นคงในภูมิภาค การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางพลังงาน และอิทธิพลจากนานาชาติ (Tønnesson, 2012: 2)

บูรณภาพแห่งดินแดน (territorial integrity)

ผลประโยชนแห่งชาติเดิมของจีนมุ่งให้ความสำาคัญกับ 3 พื้นที่คือ ไต้หวัน ซินเจียง และทิเบต ซึ่งมีภัยคุกคามจากการแบ่งแยกดินแดนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 2010 จีนได้เริ่มพิจารณาและให้ความสนใจพื้นที่

Page 38: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้34

ทะเลจีนใต้ และเพิ่มเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ผลประโยชนหลักแห่งชาติของจีน เนื่องจากความมั่นใจที่จีนมีเพิ่มมากขึ้นจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการทหารอย่างรวดเร็ว และได้กลายเป็นมหาอำานาจในภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ทะเลจีนใต้มีภูมิรัฐศาสตรที่สำาคัญต่อจีนเป็นอย่างมาก โดยเปรียบเสมือนเป็น “หลังบ้าน” ของจีน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายขั้นที่ 1 ของยุทธศาสตรทางทะเลของจีน ที่จะครอบครองพื้นที่ทางทะเลและใช้เป็นรั้วป้องกันการรุกรานจากภายนอก เรียกว่ายุทธศาสตร “ห่วงโซ่” หรือระยะห่วงโซ่ที่ 1 (First Island Chain) ซึ่งครอบคลุมบริเวณพื้นที่ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ (ภาณุพันธุ รักษแก้ว, 2555: 8) นอกจากนี้ พื้นที่ทะเลจีนใต้ยังมีความสำาคัญต่อยุทธศาสตรหลักของจีนในการรวมไต้หวันกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของจีนอีกด้วย ซึ่งหากจีนครอบ- ครองทะเลจีนใต้ได้สำาเร็จ ก็เท่ากับเป็นการโดดเดี่ยวไต้หวันและบีบบังคับให้ไต้หวันกลับมารวมกับจีน ทั้งยังเป็นการถ่วงดุลอำานาจกับสหรัฐอเมริกาที่ได้ประกาศนโยบายหวนคืนสู่เอเชีย (Pivot to Asia) ด้วยการเสริมกำาลังให้แก่ฐานทัพในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเพิ่มความสัมพันธทางทหารกับประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดรวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางด้านอาวุธยุทโธปกรณแก่ไต้หวัน ผ่านการบรรลุข้อตกลงขายยุทโธปกรณให้แก่ไต้หวัน เช่น ระบบเรดารเตือนภัยล่วงหน้า ที่มีมูลค่า 1,380 ล้านดอลลารสหรัฐ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ ค.ศ. 2013 (ASTVผู้จัดการออนไลน, 5 กุมภาพันธ 2555) และการอนุมัติขายเรือรบชั้นฟริเกตที่กองทัพสหรัฐอเมริกาปลดประจำาการแล้วให้แก่ไต้หวันอีกจำานวน 4 ลำา10 (Defense Industry

10 เรือรบชั้นฟริเกตจำานวน 4 ลำา ได้แก่ USS Taylor [FFG-50] USS Gary [FFG-51] USS Carr [FFG-52] และ USS Elrod [FFG-55]

Page 39: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 35

Daily, 14 April 2014) เป็นต้น

ความมั่นคงทางทหาร (military security) หลังจากเจียงเจ๋อหมินได้ประกาศใช้นโยบายพัฒนากองทัพไปสู่ความทันสมัย จีนได้พยายามเพิ่มงบประมาณทางทหารโดยเน้นการพัฒนายุทโธปกรณและปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย โดยในพื้นที่ทะเลจีนใต้ จีนได้เพิ่มจำานวนเรือดำาน้ำาชั้น YUAN [Type 039A] จาก 8 ลำาเป็น 20 ลำา (U.S. Department of Defense, Office of the Secretary of Defense, 2013: 7) และสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ประสบความสำาเร็จในการประจำาการเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง เป็นลำาแรกของกองทัพ รวมทั้งพัฒนาขีปนาวุธที่สามารถติดตั้งบนเรือรบ โดยเฉพาะการเพิ่มจำานวนขีปนาวุธนำาวิถีระยะใกล้และระยะกลาง (SRBM and MRBM) เพื่อถ่วงดุลอำานาจกองทัพของประเทศอื่นและยับยั้งกองทัพของต่างชาติ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นไปตามการปฏิบัติการต่อต้านการแทรกแซง (counter-intervention operations) หรือที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเรียกว่า A2/AD11 (O’Reilly, 10 May 2013 อ้างใน ASTV ผู้จัดการออนไลน, 17 พฤษภาคม 2556) เป็นยุทธศาสตรที่ PLA ใช้กำาหนดแนวทางการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างกำาลังทางบก ทางเรือ ทางอากาศ และระบบขีปนาวุธที่มีความทันสมัย เพื่อป้องกันการเข้าโจมตีโดยกำาลังทหาร และระบบขีปนาวุธของฝ่ายตรงข้ามจากภายนอกประเทศในพื้นที่ทางทะเลของจีนได้

11 การต่อต้านการเข้าถึง/การปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่ (anti-access/area-denial: A2/AD)

Page 40: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้36

หลังจากปี ค.ศ. 2009 จีนมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการทหาร เมื่อผนวกกับปัญหาความไม่พอใจสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาแทรกแซงปัญหาภายในของจีน โดยเฉพาะปัญหาไต้หวัน จีนจึงได้แสดงท่าทีแข็งกร้าวมากขึ้น ทำาให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งยังมีการใช้กำาลังทางทหารมากขึ้น โดยเฉพาะกับฟิลิปปินสและเวียดนาม เช่น เหตุการณข้อพิพาทแนวหินปะการังและหินโสโครกในทะเลจีนใต้ระหว่างจีน-ฟิลิปปินส และเหตุการณทางการทูตที่ส่งผล กระทบกับความสัมพันธระหว่างจีน-อาเซียน เช่น เหตุการณที่อาเซียนไม่สามารถออกแถลงการณร่วมในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 45 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เป็นต้น นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวทางทหารดังกล่าวทำาให้จีนมีโอกาสสะสมประสบการณด้านยุทธวิธีทางทะเลในพื้นที่ทะเลจีนใต้ โดยกองทัพเรือจีนได้ใช้พื้นที่ในการฝึกทางทหาร เพื่อเพิ่มความชำานาญในพื้นที่ดังกล่าวและได้เปรียบประเทศที่เป็นคู่พิพาทหากเกิดเหตุการณเผชิญหน้าระหว่างกัน ทั้งนี้ยังมีผลพลอยได้จากการเรียกคะแนนนิยมจากประชาชนให้แก่กองทัพเรือ หากกองทพัสามารถชว่ยเหลอืประชาชนทีไ่ดผ้ลกระทบไดใ้นกรณทีีเ่กดิความรุนแรงจากพื้นที่ข้อพิพาทขึ้น (Tønnesson, 2012: 5) และยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าจะได้รับการคุ้มครองด้านความปลอดภัยจากกองทัพเรืออย่างทันท่วงที (Sutter and Huang, 2013) ภูมิภาคที่มีเสถียรภาพ (stable region) จีนต้องการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำานวยต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความมั่นคง จึงได้ดำาเนินการทูตพัฒนา

Page 41: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 37

ความสัมพันธกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการชู “นโยบายการพัฒนาด้วยสันติ” เพื่อเน้นย้ำา “นโยบายเพื่อนบ้านที่ดี” ซึ่งได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 โดยมีวัตถุประสงคให้ประเทศในภูมิภาคลดความหวาดระแวงภัยคุกคามจากจีน ดังที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็น พร้อมทั้งยังได้สร้างความสัมพันธแบบพหุภาคีกับอาเซียน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ เช่น อาเซียนบวกสาม และทางด้านความมั่นคง เช่น การลงนามใน DOC เพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ ซึ่งทำาให้จีนได้ผลประโยชนจากการสร้างเสถียรภาพในภูมิภาคและความร่วมมือด้านต่างๆ จากประเทศในภูมิภาค ได้แก่ การติดต่อด้านการค้า การร่วมมือด้านความปลอดภัยและความมั่นคงเส้นทางเดินเรือในทะเลจีนใต้ การเจรจาจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ทั้งในส่วนของการประมงและทรัพยากรพลังงาน เป็นต้น แต่หลังจากปี ค.ศ. 2009 จีนเล็งเห็นผลประโยชนที่มากขึ้นและอิทธิพลเหนือกว่าของตนเอง จึงใช้การเพิ่มเชิงรุกด้วยการเจรจาในลักษณะทวิภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบกับจีนต้องการใช้การทูต ที่แข็งกร้าวตอบโต้ต่อการหวนคืนสู่เอเชียของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะฟิลิปปินสที่มีความสัมพันธเป็นพันธมิตรแน่นแฟ้นของสหรัฐอเมริกา จึงทำาให้ความสัมพันธและความเชื่อมั่นระหว่างจีน-อาเซียนลดน้อยลง ทั้งยัง ทำาให้ปัญหาข้อพิพาททะเลจีนใต้มีความรุนแรงมากขึ้นด้วย

การเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic growth)

หลังจากจีนใช้นโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศ การรับการลงทุนจากต่างชาติ รวมทั้งได้เข้าร่วมกับองคกรระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น การ

Page 42: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้38

เข้าเป็นสมาชิกองคการการค้าโลกเมื่อปี ค.ศ. 2001 ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยในช่วงทศวรรษที่ 1990-2000 มีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 10 ต่อปี ทั้งนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจได้เป็นปัจจัยหลักที่ทำาให้จีนได้ขึ้นเป็นมหาอำานาจในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งแท้จริงแล้ว ภูมิภาคที่สำาคัญต่อผลประโยชนด้านเศรษฐกิจของจีนนั้นคือ เอเชียตะวัน- ออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตามในเอเชียตะวัน- ออกเฉียงใต้ยังคงมีความสำาคัญสำาหรับการลงทุนในการสร้างฐานการผลิตของจีนเนื่องจากปัจจุบันมีค่าแรงถูกกว่าการผลิตภายในประเทศ จึงทำาให้จีนพยายามใช้อำานาจอ่อน (soft power) ด้วยการใช้นโยบาย Charm Offensive ซึ่งเป็นการช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นประเทศกำาลังพัฒนา (Kurlantzick, 2006: 272) โดยเฉพาะหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี ค.ศ. 1997 ซึ่งประเทศต่างๆ ในเอเชียต่างก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการถูกโจมตีค่าเงิน จีนซึ่งได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยได้เข้ามาร่วมจัดตั้งกรอบ- ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอาเซียนบวกสามในปี ค.ศ. 1997 พร้อมทั้งได้ให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน นับว่าเป็นการนำาร่องให้แก่การเจรจาทางเศรษฐกิจภายหลัง ซึ่งจีนได้มีการเจรจาทางการ- ทตูทัง้ในลกัษณะพหภุาคแีละทวภิาคจีำานวนมาก ทำาใหจ้นีไดร้บัผลประโยชนเป็นจำานวนมาก และยังได้มีอิทธิพลต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นอีกด้วย หลังจากความขัดแย้งในทะเลจีนใต้รุนแรงขึ้น ประเทศในภูมิภาคเกิดความหวาดระแวงว่า การพึ่งพาเศรษฐกิจจีนมากเกินไปอาจจะทำาให้ตกเป็นเป้าหมายในการแทรกแซงทางเศรษฐกิจได้ง่าย เช่น กรณีจีนระงับ

Page 43: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 39

นำาเข้ากล้วยจากฟิลิปปินส หลังเกิดเหตุการณแนวหินโสโครกสการโบโรห เป็นต้น ทำาให้ประเทศจำานวนมากได้ถ่วงดุลอำานาจด้วยการลดการเจรจาหรือระงับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับจีน เช่น ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ประกาศระงับโครงการสร้างเขื่อนมิตโซน ที่เป็นความร่วมมือระหว่างจีน- เมียนมารเมื่อปี ค.ศ. 2011 เป็นต้น เพื่อป้องกันการถูกอิทธิพลจีนครอบงำาทางเศรษฐกิจ แต่การเคลื่อนไหวในลักษณะดังกล่าวยังคงมีน้อย เนื่องจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาทางด้านเศรษฐกิจกับจีน

ความมั่นคงด้านพลังงาน (energy security) พื้นที่ทะเลจีนใต้เป็นพื้นที่ที่มีความสำาคัญต่อความมั่นคงด้านพลังงานของจีน เนื่องจากเป็นเส้นทางเดินเรือที่มีการจราจรคับคั่งเป็นอันดับ 2 ของโลก (สำานักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ, 2544) และยังเป็นเส้นทางหลักในการขนส่งน้ำามันจากตะวันออกกลางและแอฟริกา โดยแต่ละวันจะมีน้ำามันถูกลำาเลียงผ่านเส้นทางดังกล่าวประมาณ 14 ล้านบารเรล และผ่านมหาสมุทรอินเดียและช่องแคบมะละกา เพื่อเข้าสู่ทะเลจีนใต้ก่อนถึงจีน (U.S. Energy Information Administra-tion, 7 February 2013)

Page 44: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้40

ภาพที่ 5 แผนที่แสดงปริมาณการขนส่งน้ำามันดิบผ่านทะเลจีนใต้

ในปี ค.ศ. 2011

ที่มา: U.S. Energy Information Administration (7 Feb 2013)

ภาพที่ 5

Page 45: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 41

ภาพที่ 6 พื้นที่เขตเศรษฐกิจจำาเพาะที่ซ้อนทับกันของประเทศ

ที่อ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้

ที่มา: Cire Sarr (19 August 2011)

ภาพที่ 6

Page 46: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้42

นอกจากนี ้พืน้ทีท่ะเลจนีใตย้งัมทีรพัยากรน้ำามนัปโิตรเลยีมและกา๊ซธรรมชาติปริมาณมหาศาล โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่เกาะสแปรตลียและบริเวณใกล้เคียง ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 410,000 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณก๊าซประมาณ 3.5 หมื่นล้านตัน รวมทั้งอยู่ในบริเวณที่เงื่อนไขในการขุดเจาะ ดีเยี่ยม (ไสว วิศวานันท, 2554) ทำาให้จีนและประเทศอื่นๆ ที่อ้างกรรมสิทธิ์ได้พยายามสร้างข้อตกลงพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Areas: JDAs) อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ทำาให้ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควรก็คือ การร่วมกันกำาหนดว่าพื้นที่ใดคือพื้นที่ที่ยังคงมีความขัดแย้ง และพื้นที่ใดเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศนั้นๆ แต่จากภาพที่ 6 จะเห็นได้ว่าแต่ละประเทศต้องการผลประโยชนจากทรัพยากรพลังงานให้ได้มากที่สุด ทำาให้เกิดความขัดแย้งและอ้างกรรมสิทธิ์ โดยเฉพาะเวียดนามและฟิลิปปินสก็ละเมิดข้อตกลงว่าด้วยการละเว้นข้อขัดแย้งในการพัฒนาร่วมกัน โดยให้บริษัทน้ำามันต่างชาติ เข้ามาดำาเนินการขุดเจาะน้ำามันและก๊าซธรรมชาติในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะ พื้นที่ซึ่งไม่ได้อยู่ใน EEZ12 ของเวียดนามและฟิลิปปินส เช่น กรณีเวียดนามได้ให้สัมปทานแก่บริษัทน้ำามันและก๊าซแห่งชาติของอินเดีย (Oil

12 เขตเศรษฐกิจจำาเพาะ (Exclusive Economic Zones: EEZ) เป็นพื้นที่ทะเลที่รัฐมีสิทธิพิเศษเหนือเขตดังกล่าวในการสำารวจและใช้ทรัพยากรทางทะเล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถัดจากอาณาเขตบนฝั่งไป 200 ไมลทะเล (370 กิโลเมตร) นับจากเส้นฐานชายฝั่ง ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea: UNCLOS) ข้อยกเว้นต่อกฎดังกล่าวคือ เมื่อเขตเศรษฐกิจจำาเพาะทับซ้อนกัน โดยเส้นฐานชายฝั่งของประเทศสองประเทศที่อยู่ห่างจากกันไม่เกิน 400 ไมลทะเล (740 กิโลเมตร) เมื่อเกิดการทับซ้อนกันขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับการกำาหนดพรมแดนทางทะเลที่แท้จริงของทั้งสองประเทศเอง โดยทั่วไปแล้ว ทุกจุดภายในพื้นที่ทับซ้อนมักจะเป็นสิทธิ์ของรัฐที่อยู่ใกล้ที่สุด

Page 47: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 43

and Natural Gas Corporation: ONGC) บริษัทน้ำามันข้ามชาติของอินเดียเข้ามาทำาการสำารวจน้ำามันและก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทะเลจีนใต ้(ASTVผู้จัดการออนไลน, 20 กรกฎาคม 2555) จึงทำาให้ความขัดแย้งในกรณีดังกล่าวยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สำาหรับจีนได้ให้สัมปทานแก่บริษัทน้ำามันนอกชายฝั่งแห่งชาติจีนหรือซีนุก (China National Offshore Oil Corporation: CNOOC) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของจีน เป็นผู้ดำาเนินการขุดเจาะน้ำามันในพื้นที่ดังกล่าว

อิทธิพลต่อนานาชาติ (global influence)

ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา จีนได้พยายามสร้างความสัมพันธทั้งระดับพหุภาคีด้วยการเข้าร่วมในองคการระหว่างประเทศ และการสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่น การเข้าร่วมใน ARF อาเซียนบวกสาม และ EAS เป็นต้น รวมทั้งยังได้สร้างความร่วมมือลักษณะทวิภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านการค้า นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเศรษฐกิจกลายเป็นหนึ่งในสามประเทศของกระบวนการตัดสินใจเศรษฐกิจระดับโลกเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาและ สหภาพยุโรป ทั้งนี้จีนยังต้องการสร้างภาพลักษณให้กองทัพของตนเองก้าวไปสู่ระดับโลกเช่นเดียวกับทางด้านเศรษฐกิจ ในสภาพเชน่นี ้จนีจงึไดก้ำาหนดยทุธศาสตรใหมเ่รยีกวา่ การปฏบิตั-ิ การทางทหารนอกเหนือจากสงคราม (Military Operations Other Than War: MOOTW) ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่จีนได้ให้ความสำาคัญในปัจจุบัน และเป็นไปตามแนวทาง “ภารกิจในประวัติศาสตรใหม่” ของ หูจิ่นเทา ซึ่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008-2012 จีนได้ใช้กำาลังพลประจำาการมากกว่า

Page 48: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้44

2.4 ล้านนาย และทหารบ้านกับกำาลังกองหนุนประมาณ 7.8 ล้านคน เข้าปฏิบัติการในลักษณะดังกล่าว (U.S. Department of Defense, Of-fice of the Secretary of Defense, 2013: 41) เพื่อให้ความช่วยเหลือ ประชาชนทั้งทางด้านความปลอดภัย การปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief: HA/DR) ทั้งภายในและภายนอกประเทศ และการให้ความช่วยเหลือประชาชนจีนในต่างแดน นอกจากนั้นส่วนสำาคัญที่จีนต้องการสร้างภาพลักษณใหม่ให้แก่กองทัพจีนคือ ภารกิจการส่งกำาลัง เข้าร่วมการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peacekeeping Operation) ขององคการสหประชาชาติ เช่น การลาดตระเวนต่อต้านกลุ่มโจรสลัดใน อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) เป็นต้น ในอนาคตจีนจะมุ่งเน้นในการพัฒนากองทัพเพื่อให้มีศักยภาพในการปฏิบัติการ MOOTW มากขึ้น โดยสังเกตได้จากการแถลงนโยบายด้านความมั่นคงปี ค.ศ. 2013 เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2013 ที่เน้นถึงความสำาคัญของภารกิจด้านสันติภาพ และการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยมุ่งให้ความสำาคัญต่อการปฏิบัติการ MOOTW (Information Of-fice of the State Council of the People’s Republic of China, 16 April 2013) โดยเฉพาะการเข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพขององคการสหประชาชาติ เพื่อสร้างภาพลักษณที่สอดคล้องกับการผงาดขึ้นมาอย่างสันต ิ(Peaceful Rise) และเป็นการพัฒนาความสัมพันธกับนานาประเทศ และลดความหวาดระแวงการขยายอิทธิพลของจีน อย่างไรก็ตามจากภารกิจที่จีนเข้าร่วมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่าจีนยังคงยึดมั่นในหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นอย่างเหนียวแน่น ซึ่ง

Page 49: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 45

สามารถสังเกตได้จากการไม่เข้าร่วมภารกิจที่เป็นการใช้กำาลังเข้าแทรกแซงประเทศอื่น เช่น การไม่เข้าร่วมภารกิจเข้าแทรกแซงประเทศลิเบียขององคการสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นต้น ทั้งนี้การปฏิบัติการดังกล่าวยังไม่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ทะเลจีนใต้ จะมีเพียงการเข้าร่วมประชุมและฝึกเกี่ยวกับภารกิจ HA/DR ภายใต้กรอบอาเซียนและ ARF เพียงเท่านั้น แต่ในอนาคตหากเกิดเหตุภัยธรรมชาติ ร้ายแรงต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนน่าจะเสนอให้การช่วยเหลือในลักษณะดังกล่าวทันที และน่าจะมีวัตถุประสงคที่มุ่ง- หวังไปสู่การปูทางเพื่อเจรจาในประเด็นอื่นที่จะทำาให้จีนได้รับผลประโยชนมากขึ้น

~4~

ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้

ทะเลจีนใต้เป็นน่านน้ำาที่มีอาณาเขตติดต่อทั้งหมด 7 ประเทศ คือ บรูไน จีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส อินโดนีเซีย สิงคโปร ไต้หวัน และเวียดนาม มีพื้นที่ประมาณ 3.5 ล้านตารางกิโลเมตรและยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งทางน้ำาในการทำาประมง ซึ่งมีอัตราส่วนผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 10 ของสินค้าประมงทั่วโลก และทรัพยากรพลังงาน รวมทั้งยังเป็นพื้นที่ทางทะเลที่มีการจราจรคับคั่งมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีหมู่เกาะกระจายอยู่ในพื้นที่จำานวน 5 หมู่เกาะ คือ 1) พาราเซล (Paracel หรือ Xisha (西沙群岛)) 2) สแปรตลีย (Spratlys หรือ Nansha (南沙群岛)) 3) ปราตัส (Pratas หรือ Dongsha (东沙群岛)) 4)

Page 50: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้46

แมคเคิลฟิลดแบงค (Macclesfield Bank หรือ Zhongsha (中沙群

岛)) และ 5) สการโบโรห (Scarborough Shoal หรือ Huangyan (黄岩岛)) (Hernandez, 2014: 58) ทั้งนี้ ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1970 พื้นที่ดังกล่าวได้เกิดความขัด- แย้งและข้อพิพาทจากการแย่งชิงกรรมสิทธิ์ในการครอบครองดินแดนที่รุนแรงมากขึ้น โดยมีประเทศเป็นคู่พิพาททั้งหมด 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน จีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส เวียดนาม และไต้หวัน โดยแต่ละประเทศมีเหตุผลและขนาดพื้นที่ในการอ้างกรรมสิทธิ์แตกต่างกันไป ซึ่งพื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุดคือ หมู่เกาะพาราเซล หมู่เกาะสแปรตลีย และแนวหินโสโครกสการ- โบโรห

การอ้างกรรมสิทธิ์ของรัฐต่างๆ ในทะเลจีนใต้

จีน

จีนเป็นประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ทะเลจีนใต้ รวมทั้งกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนของหมู่เกาะทั้งหมดในทะเลจีนใต้ด้วย โดยอ้างหลักฐานทางประวัติศาสตรจากแผนที่เส้นประ 9 เส้น หรือแผนที่เส้นตัว U (U-Shape line) รวมทั้งอ้างว่าเป็น “อำานาจอธิปไตยที่ไม่อาจโต้แย้งได้” (indisputable sovereignty) โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตรตั้งแต่สมัยราชวงศฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 23-220) ว่าชาวจีนได้รู้จักหมู่เกาะดังกล่าวแล้ว รวมทั้งจีนเป็นประเทศแรกที่เข้าไปปกครองหมู่เกาะสแปรตลียอย่างเป็นกิจจะลักษณะในสมัยราชวงศหยวน (ค.ศ. 1279-1368) นอกจากนี้แผนที่ของทางการจีนสมัยราชวงศชิงที่เขียนขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1724, 1755, 1767, 1810 และ 1817 ล้วนแต่ระบุว่า

Page 51: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 47

หมู่เกาะแห่งนี้เป็นของจีน (สิทธิพล เครือรัฐติกาล, 2554)

ไต้หวัน

เหตผุลทีไ่ตห้วนัใชก้ลา่วอา้งกรรมสทิธิเ์ปน็ขอ้มลูชดุเดยีวกบัจนี แต่ทั้งนี้หลังจากพรรคก๊กมินตั๋งได้แพ้สงครามต่อพรรคคอมมิวนิสต และลี้ภัยมาตั้งที่มั่นในเกาะไต้หวัน ระหว่างที่จีนยังคงประสบปัญหาการเมืองภายใน ไต้หวันได้อ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองหมู่เกาะสแปรตลีย โดยยึดครองเกาะที่ใหญ่ที่สุดชื่อว่าเกาะไท่ผิง (Taiping (太平岛)) ซึ่งมีแหล่งน้ำาจืดและ ก่อสร้างสนามบิน

ฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินสได้อ้างกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยความใกล้ชิด (proximity) ตามหลักการได้ดินแดนตามไหล่ทวีป โดยสามารถอ้างพื้นที่ออกจากไหล่ทวีปได้ 200 ไมลทะเล ซึ่งฟิลิปปินสได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือ แนวหินโสโครกสการโบโร ที่มีระยะห่างจากฟิลิปปินสประมาณ 100 ไมลทะเล

เวียดนาม

เวียดนามได้แย้งเหตุผลการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนว่า ก่อนทศวรรษ 1940 จนีไมเ่คยไดค้รอบครองหรอือา้งกรรมสทิธิเ์หนอืหมูเ่กาะสแปรตลยีและหมู่เกาะพาราเซลมาก่อน โดยมีเอกสารทางประวัติศาสตรอ้างว่า อาณาเขตของหมู่เกาะทั้งสองแห่งอยู่ภายใต้การปกครองของเวียดนามตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 17 (BBC, 15 May 2013)

Page 52: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้48

มาเลเซียและบรูไน

ทั้งสองประเทศได้อ้าง UNCLOS 1984 ซึ่งระบุให้ประเทศที่เกิดใหม่สามารถอ้างอาณาเขตจากชายฝั่งได้ 200 ไมลทะเลเป็นเขตเศรษฐกิจจำาเพาะ (EEZ) ของประเทศนั้น ทำาให้ทั้งมาเลเซียและบรูไนต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนบางส่วนของหมู่เกาะสแปรตลีย แต่มาเลเซียได้อ้าง กรรมสิทธิ์แนวหินโสโครกบางส่วนแต่ บรูไนอ้างแต่เพียงกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ทางทะเลเท่านั้น (BBC, 15 May 2013) สถานการณ์ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา จีนได้เพิ่มแข็งกร้าวในการดำาเนินนโยบายด้านความมั่นคงในพื้นที่ทะเลจีนใต้ โดยได้เกิดเหตุการณกอง- กำาลังด้านความมั่นคงทางทะเลของจีนได้ใช้ความรุนแรงและก้าวร้าวต่อเรือประมงของประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้นในลักษณะต่างๆ เช่น การใช้อาวุธขู่ทำาร้าย การบุกจับกุมเรือประมง นอกจากนั้นในปี ค.ศ. 2012 จีนยังได้แสดงความแข็งกร้าวด้วยการใช้รูปแผนที่ประเทศจีนที่มีอาณาบริเวณทะเลจีนใต้เป็นพื้นหลังของหนังสือเดินทาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจีนยังมุ่งที่จะครอบครองพื้นที่เกือบทั้งหมดของทะเลจีนใต้ ทั้งนี้ในปีเดียวกันมณฑลไห่หนาน (Hainan) ของจีนได้บังคับใช้กฎหมายที่อนุญาตให้ตำารวจและหน่วยยามฝั่งสกัด ขึ้นบน และตรวจสอบเรือต่างชาติที่เข้าสู่น่านน้ำาจีนอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งบังคับให้เรือเหล่านั้นเปลี่ยนเส้นทาง ทำาให้เกิดความวิตกกังวลต่อนานาประเทศ เนื่องจากพื้นที่ทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางผ่านสินค้าปริมาณหนึ่งในสามของโลก แต่ภายหลัง วูชิกัง (Wu Shicun) ผู้อำานวย- การใหญ่ฝ่ายวิเทศสัมพันธของมณฑลไห่หหนานได้ออกมาแถลงว่า กฎหมาย

Page 53: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 49

ดังกล่าวบังคับใช้เพียงภายในเขตทางทะเลระยะ 12 ไมลทะเลจากชายฝั่งจีนเท่านั้น (Bonkowski, 18 December 2013)

ภาพที่ 7 แผนที่แสดงตำาแหน่งโดยสังเขปของเหตุการณ์

กระทบกระทั่งระหว่างจีนกับประเทศอื่นในพื้นที่

ทะเลจีนใต้ระหว่าง ค.ศ. 2009-2013

ที่มา: Tran Truong Thuy (2013: 8)

ภาพที่ 7

Page 54: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้50

จากภาพที่ 7 สังเกตได้ว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา จีนได้แสดงความก้าวร้าวต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น เพื่อแสดงอิทธิพลที่เหนือกว่าของกองกำาลังทางเรือในพื้นที่ทะเลจีนใต้ ซึ่งเหตุการณที่รุนแรงที่สุดคือ การเผชิญหน้าระหว่างจีน-ฟิลิปปินสในเขตหินโสโครกสกาโบโรห เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 อันเป็นจุดที่ทำาให้เกิดความตึงเครียดระหว่างจีน-ฟิลิปปินสมากขึ้น ทั้งยังส่งผลกระทบต่อความสัมพันธจีน-อาเซียนด้วย นอกจากนี้ จีนยังได้เคลื่อนไหวทางการเมืองและทางทหาร ที่แสดงถึงความต้องการใช้อิทธิพลครอบงำาพื้นที่ทะเลจีนใต้ เช่น การประกาศ เขตพิสูจนฝ่ายการป้องกันทางอากาศ (ADIZ)13 ครอบคลุมเกาะไห่หนานและพื้นที่โดยรอบของเกาะซึ่งครอบคลุมพื้นที่การประมงประมาณ 2 ล้าน ตารางกิโลเมตร และการเตรียมพร้อมให้ท่าจอดเรือของกองทัพเรือในเมือง ซานย่า ซึ่งเป็นท่าเรือหลักสำาหรับเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง (Bon- kowski, 18 December 2013 )

สาเหตุการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ

การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของจีนในทะเลจีนใต้ ทำาให้จีนได้แสดงพฤติกรรมต่อประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ที่แข็งกร้าวมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ ที่

13 เขตพิสูจนฝ่ายการป้องกันทางอากาศ (Air Defense Identification Zone: ADIZ) เป็นส่วนหนึ่งของระบบเตือนภัยทางอากาศ ที่ให้เครื่องบินต่างชาติ ทุกลำาที่บินตรงเข้าเขตอธิปไตยต้องแสดงตน เพื่อให้เครื่องบินฝ่ายตนมีเวลาเข้าสกัดกั้นในกรณีที่เป็นเครื่องบินข้าศึก

Page 55: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 51

จีนเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาลักษณะพหุภาคีกับประเทศสมาชิก อาเซียนในเวทีด้านความมั่นคงต่างๆ เช่น ARF เพื่อนำาไปสู่การลงนาม COC ซึ่งเป็นความหวังในการจัดระเบียบและจัดสรรผลประโยชนพื้นที่ทะเลจีนใต้ให้แก่ประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์ทั้ง 6 ประเทศ แต่หลังจากปี ค.ศ. 2009 จีนได้เปลี่ยนแปลงนโยบายด้านความมั่นคง โดยเพิ่มลักษณะเชิงรุกและความแข็งกร้าวมากขึ้น ซึ่งจากการวิเคราะหจากปัจจัยภายนอกคือ ความสัมพันธระหว่างประเทศของจีนกับนานาประเทศ และอำานาจทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารที่เพิ่มขึ้น กับปัจจัยภายในคือ แรงผลักดันของประชาชนที่มีแนวความคิดชาตินิยม ทำาให้สามารถแบ่งสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เป็น 3 ประการ ได้แก่ 1) ความมั่นใจ 2) ความไม่พอใจ และ 3) ความไม่แน่นอน (Zhao, 2013: 107)

ความมั่นใจเมื่อมีอำานาจเพิ่มขึ้น จีนซึ่งมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา อันเป็นผลจากความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการเงิน ทำาให้เศรษฐกิจของจีนได้กลายเป็นศูนยกลางขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก และนำาไปสู่การพัฒนาในการสร้างโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจคือ ฉันทามติปักกิ่ง (Beijing Consensus) ซึ่งได้รับความนิยมกว่าฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) โดยมีประเทศในภูมิภาคละตินอเมริกา แอฟริกา และเอเชียนำามาปรับใช้กับระบบเศรษฐกิจของตนเอง นับได้ว่าเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของเศรษฐกิจจีนที่สามารถพัฒนา เศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วและมีความมั่นคง

Page 56: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้52

ทั้งนี้จากการที่เศรษฐกิจได้พัฒนาขึ้น ทำาให้จีนมีความมั่งคั่งมากขึ้น และนำาไปสู่การให้งบประมาณสนับสนุนทางทหารที่มากขึ้น จึงทำาให้ในช่วงทศวรรษที่ 2000 จีนได้พัฒนากองทัพและอาวุธยุทโธปกรณที่ทันสมัยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะกองกำาลังทางทะเลที่ได้ประจำาการเรือบรรทุกเครื่องบิน เหลียวหนิง ที่เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำาแรกของจีน และการเพิ่มจำานวนของเรือดำาน้ำาที่สั่งซื้อจากรัสเซียและประกอบเองภายในประเทศ ทั้งนี้การพัฒนาดังกล่าวได้นำาไปสู่ความสำาเร็จจากการพัฒนายุทธศาสตร ทางทะเลจากยุทธศาสตรน่านน้ำาใกล้ชายฝั่ง (Brown Water Navy) ไปสู่ยุทธศาสตรน่านน้ำาทะเลลึก (Blue Water Navy) (U.S. Depart-ment of Defense, Office of the Secretary of Defense, 2013: 38) รวมทั้งการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัจจุบันกำาลังของกองทัพจีนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และมีการจัดสรรงบประมาณกองทัพ มากเป็นอันดับ 2 ของโลก ถึงแม้ปัจจุบันกองทัพจีนจะยังคงไม่สามารถเปรียบเทียบกับกองทัพของสหรัฐอเมริกาที่เป็นกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ แต่ด้วยขีดความ- สามารถที่สามารถป้องกันการรุกรานจากภายนอกได้ ประกอบกับพลังอำานาจทางด้านเศรษฐกิจได้ทำาให้จีนมีความมั่นใจในการเผชิญหน้ากับโลกตะวัน- ตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ที่ปัจจุบันได้มีนโยบายหวนคืนสู่เอเชียเพื่อต้องการถ่วงดุลอำานาจจีน

การต่อต้านโลกตะวันตกสร้างความไม่พอใจแก่จีน ตั้งแต่ในศตวรรษที่ 19 โลกตะวันตกหวาดระแวงถึงความยิ่งใหญ่ของจีน จากขนาดของประเทศที่ใหญ่และจำานวนประชากรที่มีมากที่สุดใน

Page 57: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 53

โลก จึงได้พยายามกีดกันและไม่ต้องการให้จีนพัฒนาและมีอำานาจ แต่ปัจจุบันจีนได้ฟื้นฟูและพัฒนาขึ้นเป็นมหาอำานาจในภูมิภาค แต่การกีดกัน ดังกล่าวยังคงมีอยู่เพื่อสกัดกั้นไม่ให้จีนเป็นมหาอำานาจระดับโลก ซึ่งทำาให้จีนไม่พอใจและต้องการตอบโต้การกระทำาดังกล่าว โดยแบ่งได้เป็น 3 ประการ (Zhao, 2013: 109) ดังนี้ 1) ความขัดแย้งทางด้านโครงสร้างอำานาจระหว่างจีนที่เป็นประเทศที่กำาลังขึ้นไปเป็นมหาอำานาจใหม่ กับสหรัฐอเมริกา ประเทศที่เป็นรัฐอภิมหาอำานาจและเป็นผู้นำาโลกขั้วเดียว (Unipolar) ในปัจจุบัน ทั้งนี้หลังจากวิกฤตทางการเงินในปี ค.ศ. 2008 จีนได้ให้ความช่วยเหลือเศรษฐกิจ แก่สหรัฐอเมริกา ด้วยการลงทุนในพันธบัตร แต่สหรัฐอเมริกากลับสร้างภาวะถ่วงดุลอำานาจกับจีน โดยการชักนำาให้เกิดความขัดแย้งภายใน เช่น การเสนอขายอาวุธยุทโธปกรณให้แก่ไต้หวัน และการเรียกร้องด้านสิทธิ- มนุษยชนในธิเบต เป็นต้น 2) ความขัดแย้งจากการถูกขัดขวางไม่ให้เข้าถึงทรัพยากรธรรมชาต ิและสินทรัพยจากต่างชาติ นอกจากการสร้างให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ยังมีการถ่วงดุลอำานาจด้วยการกีดกันไม่ให้จีนได้ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสิ่งจำาเป็นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ รวมทั้งการไม่ให้บริษัท/บรรษัทสัญชาติจีนเข้าถึงสินทรัพยของต่างชาติได้ เช่น เมื่อปี ค.ศ. 2005 สภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกากีดกันไม่ให้บริษัท CNOOC รัฐวิสาหกิจน้ำามันของจีนซื้อกิจการบริษัท Unocal Corp โดยอ้างเหตุผลว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเมื่อปี ค.ศ. 2009 ออสเตรเลียได้ยกเลิกสัญญาการให้สัมปทานเหมืองแร่มูลค่า 19,500 ล้านดอลลารสหรัฐ โดยอ้างว่ามีนักการเมืองออสเตรเลียจำานวนมากไม่พอใจที่จะต้องขายที่ดิน

Page 58: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้54

และทรัพยากรให้แก่จีน (Zhao, 2013: 110) เป็นต้น 3) การเข้าแทรกแซงปัญหาภายในที่จีนมีความอ่อนไหว ได้แก่ ปัญหากลุ่มแบ่งแยกดินแดน ปัญหามลภาวะ ปัญหาสิทธิมนุษยชน และปัญหาเสรีภาพของสื่อ ทั้งนี้ในวัฒนธรรมจีนสิ่งที่สำาคัญคือ “หน้าตา” และ “ศักดิ์ศรี” (Baviera, 2014: 139) แต่จากการถูกแทรกแซงและตั้งคำาถามในประเด็นที่อ่อนไหวเช่นนี้ ทำาให้รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสตและประชาชนจีนเกิดความไม่พอใจต่อการแทรกแซงเหล่านั้น เช่น การปราบปรามกลุ่มต่อต้านชาวธิเบตเมื่อปี ค.ศ. 2008 ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพ และทำาให้จีนถูกตั้งคำาถามเกี่ยวกับปัญหา สิทธิมนุษยชน (Zhao, 2013: 111) เป็นต้น ความไม่แน่นอนในเสถียรภาพของพรรคคอมมิวนิสต์ การเติบโตทางเศรษฐกิจได้สร้างความเจริญให้แก่จีน และเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ประชาชน แต่ในทางกลับกันจากความเจริญทางวัตถุที่รวดเร็ว จึงได้ส่งผลให้เกิดความปัญหาทางสังคมจำานวนมาก เช่น ปัญหาความไม่เท่าเทียมในสังคม ปัญหาคุณภาพชีวิต ปัญหาระบบสุขภาพ/ประกันสังคม (Zhao, 2013: 114) เป็นต้น จึงทำาให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจมากขึน้อยา่งตอ่เนือ่ง แตป่จัจบุนัเศรษฐกจิของจนียงัคงเตบิโตอยา่งตอ่เนือ่งทำาให้เป็นปัจจัยที่ช่วยชะลอปัญหาต่างๆ ยังไม่ปะทุขึ้น เนื่องจากประชาชน ยังไม่ได้รับความเดือดร้อนมากเกินไป จึงทำาให้พรรคคอมมิวนิสตยังคงมี เสถียรภาพและไม่ถูกต่อต้านจากประชาชน อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตเกิดปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวหรือเศรษฐกิจถดถอย จะส่งผลให้ปัญหาต่างๆ กระทบต่อประชาชนและ

Page 59: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 55

ประชาชนจะออกมาต่อต้านรัฐบาลมากขึ้น ซึ่งจะทำาให้พรรคคอมมิวนิสตขาดเสถียรภาพในการปกครองประเทศ ดังนั้นพรรคคอมมิวนิสตได้หาทางป้องกันด้วยการสร้างภาพลักษณใหม่ให้แก่รัฐบาล ด้วยการชูนโยบายชาตินิยม เพื่อสร้างคะแนนนิยมให้แก่พรรคคอมมิวนิสตเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันพรรคคอมมิวนิสตจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำาที่ทำาให้กลุ่มชาตินิยมเกิดความไม่พอใจและต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต จึงทำาให้จีนต้องมีเปลี่ยนแปลงนโยบายไปเป็นเชิงรุกและก้าวร้าวมากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถแสดงภาพลักษณอ่อนแอ หรือการเสียผลประโยชนแห่งชาติในเวทีระหว่างประเทศได้

~5~ผลกระทบต่อความสัมพันธ์จีน-อาเซียน

จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายและพฤติกรรมด้านความมั่นคงที่แข็งกร้าวมากขึ้นของจีน ได้ทำาให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธทั้งในระดับภูมิภาคคือ จีน-อาเซียน และความสัมพันธระหว่างประเทศของ จีน-ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งทำาให้ภาพลักษณ “การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ” (Peaceful Rising) ของจีนมีความน่าเชื่อถือน้อยลง จึงทำาให้แต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู่พิพาทความขัดแย้งในทะเลจีนใต ้เกิดความหวาดระแวงต่อจีนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะฟิลิปปินสและเวียดนาม ที่เกิดเหตุเผชิญหน้ากับจีนในพื้นที่ทะเลจีนใต้บ่อยครั้ง ความสัมพันธระหว่างจีน-อาเซียน ถึงแม้จะได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากปัญหาความขัดแย้งกับประเทศสมาชิก แต่ในภาพรวมจีน

Page 60: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้56

ยังคงต้องการสร้างความสัมพันธที่ดีกับอาเซียนและประเทศสมาชิก เพื่อ ผลประโยชนทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากคำากล่าวของ หลี่เค่อเฉียง (Li Keqiang) นายกรัฐมนตรีจีน ในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-จีนครั้งที่ 16 ว่า จีนยังคงดำาเนินนโยบายเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างกัน และต้องการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจในลักษณะที่ได้ประโยชนทั้งสองฝ่าย หรือ win-win รวมทั้งกล่าวว่าสันติภาพในทะเลจีนใต้จะส่งผลดีต่อทุกประเทศ (Xinhuanet, 4 September 2013)

กลไกด้านความมั่นคงของอาเซียน: การพัฒนาของระเบียบปฏิบัติ (Code

of Conduct: COC)

หลังจากปี ค.ศ. 2000 จีนดำาเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะเป็นพหุภาคีนิยมมากขึ้นและมีความเป็นมิตรมากขึ้น โดยเฉพาะการยินยอมตอบรับข้อเรียกร้องของประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น การร่วมลงนามใน DOC เมื่อปี ค.ศ. 2002 เพื่อแก้ไขปัญหาในทะเลจีนใต้ และการลงนามใน TAC เมื่อปี ค.ศ. 2003 เป็นต้น เพื่อนำาไปสู่การลงนามใน COC ปัจจุบันการพัฒนา COC ยังคงไม่มีความคืบหน้า โดยในการประชุม SOM on DOC14 ครั้งที่ 6 ที่เมืองซูโจว ประเทศจีน เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 นอกจากนั้นยังได้มีการเริ่มเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่างจีนกับอาเซียนในเรื่องการจัดทำา COC ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 16 ที่บรูไน เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 ได้มีเพียง

14 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (ASEAN-China SOM on the Implemen-tation of the DOC: SOM on DOC)

Page 61: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 57

การแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ COC เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ อาเซียนและจีนต้องให้เจ้าหน้าที่ได้ใช้ความพยายามในการรักษาแรงขับเคลื่อนของกระบวนการ COC ต่อไปควบคู่ไปกับการส่งเสริมความร่วมมือทางทะเล (มติชนออนไลน, 9 ตุลาคม 2556) จากความล่าช้าในการร่วมกันลงนามใน COC เป็นสิ่งที่แสดงถึงความไร้ประสิทธิภาพของกลไกด้านความมั่นคงอาเซียน ที่ไม่สามารถจะ โน้มน้าวหรือบังคับให้ประเทศที่ใหญ่กว่าเช่นจีน มาอยู่ในกรอบที่อาเซียนสร้างขึ้นได้ แต่จะต้องรอให้ฝั่งมหาอำานาจเล็งเห็นประโยชนของกรอบ ความร่วมมือดังกล่าวและเข้ามาร่วมกับอาเซียนเอง ทั้งนี้การแก้ไขปัญหา ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ของอาเซียนมี DOC และ COC เป็นเครื่องมือชิ้นสำาคัญ ที่จะให้จีนที่เป็นมหาอำานาจและคู่พิพาทของประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ภายใต้กรอบเดียวกับประเทศสมาชิกอาเซียน

ความสัมพันธ์จีน-อาเซียน

ความสัมพันธระหว่างจีน-อาเซียนยังอยู่ในระดับที่ดี ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ที่ทำาให้เป็นเหตุการณเผชิญ- หน้า และการกระทบกระทั่งกันจำานวนมากในช่วงปี ค.ศ. 2009-2013 แต่เนื่องจากจีนยังคงต้องการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ทำาให้จีนไม่ได้แสดงพฤติกรรมแข็งกร้าวต่ออาเซียน รวมทั้งได้แสดงท่าทีต้องการการแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้ร่วมกัน โดยท่าทีที่แข็งกร้าวเป็นเพียงการตอบโต้กรณีที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาแทรกแซงด้านความมั่นคงในภูมิภาค ตั้งแต่การประกาศนโยบายหวนคืนสู่เอเชีย และการสร้างความสัมพันธกับประเทศพันธมิตรเดิมคือ ฟิลิปปินส ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมทั้งการให้

Page 62: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้58

ความช่วยเหลือไต้หวัน ด้วยการขายอาวุธยุทโธปกรณให้ไต้หวันอย่าง ต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังประกาศให้พื้นที่ทะเลจีนใต้เป็นผลประโยชนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา รวมถึงกรณีที่ฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกทะเลจีนใต้ว่าทะเลฟิลิปปินส ตะวันตก (West Philippine Sea) ในการเยือนฟิลิปปินส เมื่อปี ค.ศ.2011 อีกด้วย ถึงแม้ความสัมพันธจีน-อาเซียนจะเกิดผลกระทบน้อย แต่ผลกระ- ทบที่สำาคัญซึ่งอาจจะเกิดขึ้นต่ออาเซียนคือ ความแตกแยกระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ระหว่างกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ กับกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะส่งผลให้ขาดความเอกภาพ เช่นเดียวกับเหตุการณที่อาเซียนไม่สามารถออกแถลงการณร่วมในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 45 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชานั่นเอง

ความสัมพันธ์จีน-ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นคู่กรณี

ฟิลิปปินส์

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 หลังจากจีนได้เปลี่ยนแปลงไปใช้นโยบายที่แข็งกร้าวในพื้นที่ทะเลจีนใต้ จึงมีเหตุการณกระทบกระทั่งระหว่างจีน-ฟิลิปปินส โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณหินโสโครกสกาโบโรหและแนวหินโสโครกเซ็กคันดโธมัส ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเรือของกองทัพเรือฟิลิปปินสได้เกยตื้นเมื่อปี ค.ศ. 1999 จึงใช้เป็นเครื่องหมายยืนยันอธิปไตยของฟิลิปปินสถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ฟิลิปปินสได้ดำาเนินการยื่นฟ้องศาลระหว่างประเทศว่า

Page 63: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 59

ด้วยกฎหมายทะเลของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014 (ASTVผู้จัดการออนไลน, 30 มีนาคม 2557) โดยอ้างว่าจีนได้ทำาผิดกฎหมายระหว่างประเทศ และละเมิด UNCLOS โดยจีนได้ตอบโต้ว่าจะไม่เข้าร่วมแก้ต่างและไม่ยอมรับคำาตัดสินของศาลระหว่างประเทศ และได้เรียกร้องให้ฟิลิปปินสร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาหารือระหว่างกัน นอกจากนั้น ฟิลิปปินสยังได้พยายามดึงสหรัฐอเมริกาเข้ามาถ่วงดุลอำานาจจีน โดยในการเยือนเอเชียของประธานาธิบดีบารัค โอบามา มีฟิลิปปินสเป็นหนึ่งในสี่ประเทศที่มีกำาหนดการเยือน (เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย) เพื่อกระชับความสัมพันธระหว่างกันและเพิ่มความร่วมมือทางทหาร เช่น การให้สหรัฐอเมริกาเช่าฐานทัพ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันจีนได้รักษาท่าที โดยยังไม่ได้ใช้การเผชิญหน้าด้วยอาวุธในพื้นที่ข้อพิพาทแต่อย่างใด

เวียดนาม

เวยีดนามเปน็อกีประเทศหนึง่ทีไ่ดร้บัผลกระทบจากการเปลีย่นแปลงไปสู่ความแข็งกร้าวของจีน ส่งผลให้เวียดนามหันไปพึ่งพาสหรัฐอเมริกามากขึ้น เช่น กรณีที่ฮิลลารี คลินตันได้ประกาศว่า ทะเลจีนใต้เป็นผลประโยชนแห่งชาติสหรัฐอเมริกาท่ีกรุงฮานอย เมื่อปี ค.ศ. 2010 และการลงนามใน ข้อตกลงความร่วมมือนิวเคลียรทางพลเรือนเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 (Kaisheng, 10 Feb 2014) อย่างไรก็ตาม จีนยังคงเป็นผู้นำาเข้าสินค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม จึงทำาให้ถึงแม้มีการแสดงความไม่เห็นด้วยหรือต่อต้านจากกลุ่มชาตินิยมของเวียดนาม แต่ยังไม่กระทบต่อความสัมพันธระหว่างจีน-เวียดนาม สังเกตได้จากเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 ประธานาธิบด ี

Page 64: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้60

สจีิน้ผงิ ไดป้รกึษาหารอืกบัเหวยีนฝจูอง (Nguyen Phu Trong) เลขาธกิารพรรคคอมมิวนิสตเวียดนามว่า จะสร้างความสัมพันธระหว่างกันให้ใกล้ชิด มากขึ้น

มาเลเซีย

ปี ค.ศ. 2014 ความสัมพันธระหว่างจีน-มาเลเซียเป็นไปอย่างแนบแน่นมากขึ้น โดยเป็นปีที่ครบรอบ 40 ปีความสัมพันธทางการทูต (Einhorn, 26 March 2014) ซึ่งถึงแม้จีนจะได้มีความก้าวร้าวเพิ่มขึ้นในทะเลจีนใต้ที่มาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์ แต่ด้วยความสัมพันธทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมาเลเซียเป็นประเทศคู่ค้ากับจีนที่ปริมาณ การค้ามากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Lockman, 24 April 2013) จึงทำาให้ปัญหาทะเลจีนใต้ไม่กระทบกระเทือนต่อมาเลเซีย อันจะสังเกตได้ว่าจากเหตุการณกระทบกระทั่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009-2013 มีเพียงเหตุการณเดียวที่เรือสำารวจน้ำามันของมาเลเซียถูกเรือกองทัพจีนเข้าข่มขู่เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2012 เท่านั้น

~6~สรุป

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การศึกษานโยบายต่างประเทศ พลังอำานาจของชาติ และผลประโยชนแห่งชาติของจีน โดยมุ่งเน้นไปที่พื้นที่ทะเลจีนใต้ในช่วงทศวรรษที่ 1990-ปัจจุบัน พบว่า จีนได้มีเป้าหมายในการดำาเนินนโยบายต่างประเทศของจีนไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป แต่

Page 65: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 61

ยุทธศาสตร (วิธีการ) และเครื่องมือที่จีนใช้ได้เปลี่ยนแปลงไป จึงทำาให้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา จีนได้ดำาเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะ เชิงรุก และก้าวร้าวมากขึ้น

ตารางที่ 1 เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ วิธีการและเครื่องมือในการ

ดำาเนินนโยบายต่างประเทศของจีนต่อทะเลจีนใต้

ในช่วงปี ค.ศ. 1990-ปัจจุบัน

หัวข้อ ค.ศ. 1990- 2000 ค.ศ. 2001-2009 ค.ศ. 2010-

ปัจจุบันเป้าหมาย อ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่

ทั้งหมดทะเลจีนใต้ตาม

แผนที่เส้นประ 9 เส้น

อ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่

ทั้งหมดทะเลจีนใต้

ตามแผนที่เส้นประ

9 เส้น

อ้างกรรมสิทธิ์

พื้นที่ทั้งหมด

ทะเลจีนใต้ตาม

แผนที่เส้นประ

9 เส้น

Page 66: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้62

ยุทธศาสตร - นโยบายสร้างชาติ

(taoguangyanghui

policy)

- นโยบายเพื่อนบ้าน

ที่ดี (good neigh-

boring policy)

- นโยบายเพื่อน

บ้านที่ดี (good

neighboring

policy)

- ภารกิจใน

ประวัติศาสตรใหม่

(New Historic

Missions)

- การปฏิบัติการ

MOOTW

- ยุทธศาสตร

การต่อต้านการ

เข้าถึง (A2/

AD)

- ยุทธศาสตร

น่านน้ำาทะเลลึก

(Blue Water

Navy)

- ตอบโต้การ

แทรกแซงของ

สหรัฐอเมริกา

วิธีการ - การทูตแบบทวิภาคี

(หลัก)

- การทูตแบบพหุภาคี

(รอง)

- การทูตแบบ

พหุภาคี (หลัก)

- การทูตแบบ

ทวิภาคี (รอง)

- การส่งกำาลัง

ทหารร่วมภารกิจ

กับนานาชาติ

- การทูตแบบ

ทวิภาคี (หลัก)

- การทูตแบบ

พหุภาคี (รอง)

- การใช้กำาลัง

ทางทหาร

เครื่องมือ - การเจรจาร่วมมือ

ทางเศรษฐกิจ

- การให้ความช่วย

เหลือทางเศรษฐกิจ

- การเจรจาร่วม

มือทางเศรษฐกิจ

- PLA

- PLA

- การเจรจาร่วม

มือทางเศรษฐกิจ

Page 67: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 63

จากตารางที่ 1 จะเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของจีนออกเป็น 3 ช่วงเวลา โดยในช่วงแรกคือ ปี ค.ศ. 1990-2000 เป็นช่วงเวลาที่ต่อเนื่องจากทศวรรษที่ 1980 ยังเป็นช่วงเวลาที่จีนต้องการสร้างชาติให้เข็มแข็ง โดยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจภายในชาติด้วยการเปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างชาติ รวมทั้งการสร้างความสัมพันธที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวถึงแม้จีนได้อ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่ทะเลจีนใต้แล้ว แต่เป็นช่วงที่เหตุการณความขัดแย้งกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้อยมาก ซึ่งจะมีเพียงเหตุการณความขัดแย้งตามแนวปะการังมิสชีฟ ในปี ค.ศ. 1995 เนื่องจากจีนได้ใช้กำาลังทหารในการแก้ไขปัญหาน้อยมาก โดยจีนมุ่งการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็น สำาคัญ ในช่วงเวลาดังกล่าวเครื่องมือที่จีนใช้มีเพียงการเจรจาทางด้านเศรษฐกิจ โดยใช้ทั้งการเจรจาแบบทวิภาคีและพหุภาคี แต่มุ่งเน้นทวิภาคีเป็นหลัก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1997 จีนได้มีบทบาทสำาคัญในการให้ช่วย- เหลือประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยการสร้างกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อาเซียนบวกสาม ซึ่งในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 จีนได้เริ่มใช้ Charm Offensive เพื่อสร้างอิทธิพลกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก- เฉียงใต้ ในขณะที่ช่วงที่ 2 คือ ปี ค.ศ. 2000-2009 เป็นช่วงที่จีนมีเศรษฐกิจ ที่เข้มแข็ง และมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน- ออกเฉียงใต้ ซึ่งจีนยังคงมุ่งดำาเนินนโยบายเพื่อนบ้านที่ดี ประกอบกับต้องการสร้างความสัมพันธกับประเทศสมาชิกอาเซียนให้แนบแน่นมากยิ่งขึ้น จึงได้เน้นการดำาเนินทางการทูตในลักษณะพหุภาคี จากการเข้าร่วมกับ

Page 68: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้64

องคการระหว่างประเทศระดับโลกและระดับภูมิภาคจำานวนมาก เพื่อให้ได้ผลประโยชนต่อการเข้าถึง ตลาด ทุน และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ จีนต้องการสำาหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของตนเอง นอกจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ จีนยังต้องการให้กองทัพของตนเองมีบทบาทในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น จึงได้ดำาเนินยุทธศาสตรการปฏิบัติ- การทางทหารนอกเหนอืจากสงคราม ซึง่เนน้การบรรเทาภยัพบิตัแิละการรว่มภารกิจรักษาสันติภาพกับองคการสหประชาชาติ นอกจากนั้นยังเป็นช่วงที่จีนได้เพิ่มงบประมาณทางทหารมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนากองทัพไปสู่ความทันสมัย ตามแนวความคิดภารกิจในประวัติศาสตรใหม่ของหูจิ่นเทา เลขาพรรคคอมมิวนิสตในขณะนั้น ทำาให้กองทัพจีนมีความทันสมัยทาง ด้านยุทโธปกรณมากขึ้น ส่วนช่วงที่ 3 คือปี ค.ศ. 2010-ปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่จีนมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ทั้งยังได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำานาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก และเป็นช่วงเวลาที่กองทัพจีนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกำาลังทางทะเลที่มีการเพิ่มจำานวนของเรือดำาน้ำา การประจำาการเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง ซึ่งเป็นลำาแรกของกองทัพเรือจีน และการพัฒนาขีปนาวุธที่ใช้ป้องกันการรุกรานจากภายนอกประเทศ จึงทำาให้จีนเชื่อมั่นในพลังอำานาจแห่งชาติของตนเองมากขึ้น และนำาไปสู่ความไม่พอใจต่อตำาแหน่งของตนเองในโครงสร้างระบอบระหว่างประเทศ ที่ถูกโลกตะวัน- ตกถ่วงดุลอำานาจ ด้วยการกีดกันการเข้าถึงตลาดและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งจำาเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน รวมทั้งความไม่พอใจจากการถูกแทรกแซงต่อปัญหาภายใน โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยของดินแดน ซึ่งเป็นประเด็นที่จีนไม่สามารถรอมชอมได้ ประกอบกับพรรค

Page 69: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 65

คอมมิวนิสตเกิดความไม่แน่นอนในเสถียรภาพของพรรคคอมมิวนิสต ซึ่งมีสาเหตุจากความกังวลว่า หากภาวะเศรษฐกิจถดถอย จะทำาให้ประชาชนไม่พอใจและต่อต้านการปกครอง พรรคคอมมิวนิสตที่ต้องการเรียกคะแนนนิยมให้เพิ่มขึ้นจึงได้หันมาชูนโยบายชาตินิยม เพื่อสร้างภาพลักษณที่ เข้มแข็งให้แก่ตนเอง ผลจากความเชื่อมั่น ความไม่พอใจ และความไม่แน่นอน ได้นำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของจีน สำาหรับในภูมิภาคทะเลจีนใต้ จีนได้มีนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้น เนื่องจากทะเลจีนใต้ถือเป็นจุดยุทธศาสตรสำาคัญต่อนโยบายจีนเดียว ที่จะรวมไต้หวันกลับสู่แผ่นดิน ใหญ่ และยังเป็นจุดที่สหรัฐอเมริกาพยายามแทรกแซงเพื่อมาถ่วงดุลอำานาจของจีน ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการประกาศนโยบายหวนคืนสู่เอเชียของ บารัค โอบามา ที่ได้ฟื้นฟูความสัมพันธกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน- ออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะพันธมิตรที่แน่นแฟ้นอย่างฟิลิปปินส จึงทำาให้จีนเกิดความไม่พอใจและใช้ท่าทีที่แข็งกร้าว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางทหารต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้นของจีน ทำาให้เกิดผล กระทบต่อความสัมพันธระหว่างจีน-อาเซียน ซึ่งประเด็นที่สะท้อนให้เห็นโดยชัดเจนคือ การเจรจาในด้านความมั่นคงที่เป็นลักษณะพหุภาคี โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ คือ COC ไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ถึงแม้จะมีการลงนามใน DOC ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 และมีการเจรจาปรึกษาหารือกันมาอย่างต่อเนื่อง แต่จีนยังไม่แสดง ท่าทีที่ต้องการพัฒนาดังกล่าว สำาหรับการเจรจาทางด้านเศรษฐกิจและการค้าพบว่า มีผลกระทบ

Page 70: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้66

เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากจีนเห็นว่า ความสัมพันธทางด้านเศรษฐกิจกับอาเซียนและประเทศสมาชิกยังคงต้องดำารงไว้เพื่อผลประโยชนตนเอง แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยจีนได้พยายามใช้การเจรจาในลักษณะทวิภาคีมากขึ้นทั้งการเจรจาร่วมมือ และการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ซึ่งน่าจะมีวัตถุประสงคต้องการที่จะเพิ่มอิทธิพลของตนเองที่มีต่อประเทศ คู่เจรจาให้มากขึ้น เพื่อนำาไปสู่การปูทางในการใช้อิทธิพลของตนเองเข้า ครอบงำาในการเจรจาด้านอื่นๆ ต่อไปในอนาคต จากลักษณะดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า จีนต้องการเพิ่มอิทธิพลในการเป็นศูนยกลางของโครงสร้างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่ง- ผลให้อาเซียนเกิดความแตกแยกภายในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง และไม่มีความเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อนประเด็นที่มีจีนมาเกี่ยวข้อง เนื่องจากแต่ละประเทศสมาชิกพึ่งพาจีนในระดับที่ไม่เท่ากัน โดยสรุปจะเห็นได้ว่า จีนยังคงมีเป้าหมายที่ต้องการมีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ แต่ได้ดำาเนินนโยบายแข็งกร้าวมากขึ้น โดยมีปัจจัยแรงผลักดันหลักเป็น “ความมั่นใจ” ที่เพิ่มขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางทหาร ประกอบกับ “ความไม่พอใจ” ต่อการถูกแทรกแซงปัญหาภายในจากสหรัฐอเมริกา จึงทำาให้มีนโยบายที่แข็งกร้าวและเป็นเชิง- รุกในการเผชิญหน้ากับมหาอำานาจตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา นอกจากนีย้งัมปีจัจยัทีเ่ปน็แรงผลกัดนัรอง ซึง่เกดิจาก “ความไมแ่นน่อน” ในเสถียรภาพของพรรคคอมมิวนิสต จึงได้เพิ่มคะแนนนิยมด้วยการชูนโยบายชาตินิยม ส่งผลให้รัฐบาลไม่อาจทำาลายความเชื่อมั่นต่อพรรคคอมมิวนิสตที่เพิ่มขึ้นด้วยการแสดงท่าทีอ่อนแอหรือโอนอ่อนให้กับประเทศอื่นในเวทีโลก โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน

Page 71: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 67

ซึ่งมีพื้นที่ทะเลจีนใต้เป็นหนึ่งในพื้นที่ต้องการมีอธิปไตยเหนือดินแดน ดังกล่าว ทั้งนี้การใช้นโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้นได้ส่งผลต่อความสัมพันธระหว่างจีน-อาเซียนบางส่วนในประเด็นด้านความมั่นคง แต่ทางด้านเศรษฐกิจยังคงมีความสัมพันธที่ดีต่อกัน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผลกระทบต่อความสัมพันธด้านความมั่นคงระหว่างจีน-อาเซียนจะมีเพียงเล็กน้อย แต่ผลกระทบดังกล่าวอาจจะแสดงถึงนัยที่จีนต้องการเข้ามามีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมด้านความมั่นคงของอาเซียนมากขึ้น เพื่อสามารถแบ่งแยกและควบคุม (Divide and Rule) ซึ่งอาจจะทำาให้ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะฟิลิปปินสและเวียดนาม ประเทศที่เป็นคู่พิพาทในทะเลจีนใต้กับจีนเล็งเห็นว่า อาเซียนเป็นเครื่อง- มือที่ไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้ จากความล่าช้าในการดำาเนินการ COC หรือความแตกแยกในการหาฉันทามติในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจีน จึงได้หันไปหาเครื่องมืออื่น เช่น การดึงมหาอำานาจจากภายนอกภูมิภาคอย่างสหรัฐอเมริกาเข้ามาถ่วงดุลอำานาจของจีน เป็นต้น และสง่ผลใหจ้นียิง่ใหค้วามสำาคญัและใชค้วามแขง็กรา้วมากขึน้ เพือ่ปกปอ้งผลประโยชนแห่งชาติในทะเลจีนใต้ ส่งผลทำาให้ทะเลจีนใต้กลายเป็นเวทีการแข่งขันทางอำานาจระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งอาจทำาให้เกิดสภาวะความไม่แน่นอนของความมั่นคง (Security Dilemma) ในภูมิภาคก็เป็นได้

Page 72: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้68

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

ภาณุพันธุ รักษแก้ว. 2555. “จาก VARYAG ถึง SHILANG มันเรื่อง ของสาธารณรัฐประชาชนจีน.” นาวิกศาสตร . 95, 11.

ภาษาอังกฤษ

Astarita, Claudia. 2008. “China’s Role in the Evolution of Southeast Asian Regional Organizations,” China

Perspective. No. 2008/3.Cordesman, Anthony H., and Yarosh, Nicholas S. 2012. Chinese Military Modernization and Force Devel-

opment: A Western Perspective. Washington, D.C.: CSIS.Baviera, Aileen S. P. 2014. “Domestic Interests and Foreign Policy in China and the Philippines: Implications for the South China Sea Disputes,” Philippine Stud- ies: Historical and Ethnographic Viewpoints. 62, 1.Hernandez, Carolina G. 2013. “The South China Sea Issue and Its Implications for the Security of East Asia,” Power Transition and International Order in Asia.

Page 73: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 69

New York: Routledge.Kurlantzick, Joshua. “China’s Charm Offensive in Southeast Asia,” Current History. 105.Lanteigne, Marc. 2013. Chinese Foreign Policy: An Intro-

duction. 2nd Edition. New York: Routledge. Liang, Jiao. 2012. China’s Rising Military Power & Its

Implications. Singapore: Institute for Security and Development Policy.Cheng-Chwee, Kuik. 2005. “Multilateralism in China’s ASEAN Policy: Its Evolution, Characteristics, and Aspiration,” Contemporary Southeast Asia: A Journ-

al of International and Strategic Affairs. 27, 1.Odgaard, Liselotte. 2003. “The South China Sea: ASEAN’s Security Concerns about China,” Security Dialogue. 34, 1.Sutter, Robert, and Huang, Chin-Hao. 2006. “China-South- east Asia Relations: Chinese Diplomacy and Opti- mism about ASEAN,” Comparative Connections.

8, 3.Sutter, Robert, and Huang, Chin-Hao. 2013. “China-South- east Asia Relations: China’s Growing Resolve in the South China Sea,” Comparative Connections. 15, 1.Thuy, Tran Truong. 2013. The South China Sea: Interests,

Page 74: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้70

Policies, and Dynamics of Recent Developments.

Washington, D.C.: CSIS.Tow, William. 2001. Asia-Pacific Strategic Relations: Seek-

ing Convergent Security. Melbourne: Cambridge University Press.Tønnesson, Stein. 2012. “China’s National Interests in the South China Sea,” Proceeding of Recent Develop- ment of the South China Sea Dispute and Prospects of Joint Development Regime, 6-7 December 2012, National Institute for South China Sea Studies. Haikou, Hainan.Zhao, Suisheng. 2013. “Chinese Foreign Policy as a Rising Power to Find Its Rightful Place,” Perceptions.

18, 1.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

มติชนออนไลน. ““ยิ่งลักษณ” ร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 16 ที่บรูไน,” [ออนไลน]. 9 ตุลาคม 2556. แหล่งที่มา: http:// www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=138131 1987&grpid=02&catid=&subcatid=สิทธิพล เครือรัฐติกาล. “จีนกับปัญหาหมู่เกาะในทะเลจีนใต้,” [ออนไลน]. 2 เมษายน 2554. แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/

Page 75: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 71

China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000041572&Tab ID=2&สุรัตน ปรีชาธรรม. “เติ้ง เสี่ยวผิง “ชูหนึ่งนิ้ว” ที่สร้างความตกตะลึง แกโ่ลก,” [ออนไลน]. 10 ธนัวาคม 2555. แหลง่ทีม่า: http://www. manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=95500 00070487สำานักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ, กระทรวงพลังงาน. “ทะเลจีนใต้ และหมู่เกาะสแปรทลีย ชนวนแห่งความขัดแย้งด้าน สิทธิครอบครอง,” [ออนไลน]. มีนาคม 2544. แหล่งที่มา: http:// www.eppo.go.th/vrs/VRS51-07-Spratly.htmlไสว วิศวานันท. “ทะเลจีนใต้ในมุมมองของนักวิชาการจีน,” [ออนไลน]. 1 กันยายน 2554. แหล่งที่มา: http://www.csc.ias.chula. ac.th/ncscth/modules.php?name=News&file=article& sid=60ASTV ผู้จัดการออนไลน. “‘จีน’ เผยยอด ODI กับ FDI ปี 2010 พุ่ง 36.3% และ 17.4% ตามลำาดับ,” [ออนไลน]. 18 มกราคม 2554. แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?NewsID=9540000007249ASTV ผู้จัดการออนไลน. “‘ฟิลิปปินส’ ยื่นฟ้อง ‘จีน’ ต่อศาล UN แล้ว หนึ่งวันหลังกองกำาลัง 2 ฝ่าย ‘เผชิญหน้า’ ในทะเลจีนใต้,” [ออนไลน]. 30 มีนาคม 2557. แหล่งที่มา: http://www.man ager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9 570000035958&Html=1&CommentReferID=25116813&Co

Page 76: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้72

mmentReferNo=1&TabID=3&ASTV ผู้จัดการออนไลน. “‘ไต้หวันติดตั้งเรดารเตือนภัยรุ่นใหม่ล่าสุดจาก สหรัฐฯ ราคาแพงระยับ $US 1,380 ล้าน,” [ออนไลน]. 5 กุมภาพันธ 2555. แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/ China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000014786ASTV ผู้จัดการออนไลน. “รบ.ปักกิ่งปรับเป้า GDP ปี 55 โต 7.5%,” [ออนไลน]. 5 มีนาคม 2555 แหล่งที่มา: http://www.manager. co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000029052ASTV ผู้จัดการออนไลน. “อินเดียเดินหน้าสำารวจแหล่งน้ำามันเวียดนามใน ทะเลจีนใต้,” [ออนไลน]. 20 กรกฎาคม 2555. แหล่งที่มา: http: //www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?News ID=9550000089238Voice TV. “‘ขยายกองทัพ’ ความฝันอันสูงสุดของสีจิ้นผิง,” [ออนไลน]. 17 พฤษภาคม 2556. แหล่งที่มา: http://news.voicetv.co.th/ global/65386.html BBC. “Q&A: South China Sea Dispute,” [Online]. 15 May 2013. Available from: http://www.bbc.com/news/ world-asia-pacific-13748349.Bellman, Eric and Chaichalearmmongkol, Nopparat. “Southeast Asia Shows Concern on China Slowdown,” [Online]. 15 July 2013. Available from: http://blogs.wsj. com/searealtime/2013/07/15/southeast-asia-shows- concern-on-china-slowdown/

Page 77: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 73

Bonkowski, Jerry. “China Creates Maritime Zone Restrict- ing Foreign Fishermen in Hainan Province,” [On- line]. 18 December 2013. Available from: http:// apdforum.com/en_GB/article/rmiap/articles/online/ features/2013/12/18/china-fishing-zoneClose Up Foundation. “National Interest and the Tools of Foreign Policy: A Lesson Plan for Teachers,” [Online]. 11 May 2014. Available from: https://www. closeup.org/lib/National%20Interest%20Foreign%20 Policy%20Lesson%20Planvfinal.pdfDefense Industry Daily. “Taiwan’s Force Modernization: The American Side,” [Online]. 4 April 2014. Avail- able from : http://www.defenseindustrydaily.com/ taiwans-unstalled-force-modernization-04250/Einhorn, Bruce. “So Much for ‘China-Malaysia Friendship Year’,” [Online]. 26 March 2014. Available from: http://www.businessweek.com/articles/2014-03-26/ so-much-for-china-malaysia-friendship-yearGlobal Security. “PLA History-1980s,” [Online]. 10 March 2014. Available from: http://www.globalsecurity.org/ military/world/china/pla-history8.htmGlobal Security. “The People’s Liberation Army in the Cultural Revolution,” [Online]. 11 March 2014. Avail-

Page 78: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้74

able from: http://www.globalsecurity.org/military/ world/china/pla-history5.htmKaisheng, Li. “Vietnam Dancing between US Alliance and Chinese Brotherhood,” [Online]. 10 February 2014. Available from: http://www.globaltimes.cn/con tent/841608.shtmlLockman, Shahriman. “Why Malaysia Isn’t Afraid of China (for now),” [Online]. 24 April 2013. Available from: http://www.aspistrategist.org.au/why-malaysia-isnt- afraid-of-china-for-now/O’Reilly, Brendan P. “US Criticism Stirs China’s Military Pride,” [Online]. 10 March 2013. Available from: http://www.atimes.com/atimes/China/CHIN-01- 100513.html cited in ASTV ผู้จัดการออนไลน. “เสียงวิจารณ ของ ‘สหรัฐฯ’ ทำาให้ ‘จีน’ ภูมิใจในกองทัพ (ตอนจบ),” [ออนไลน]. 17 พฤษภาคม 2556. แหล่งที่มา: http://www. manager.co.th/around/viewnews.aspx?NewsID=9560 000059482Rabobank. “The Driving Forces behind China’s Foreign Policy-Has China Become More Assertive?” [On- line]. 23 October 2013. Available from: https://eco nomics.rabobank.com/publications/2013/october/the- driving-forces-behind-chinas-foreign-policy-has-

Page 79: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้ 75

china-become-more-assertive/#publicationTitleSarr, Cire. “Overlapping EEZ Claims and Oil Fields,” [On- line]. 19 August 2011. Available from: http://www. southchinasea.org/2011/08/19/overlapping-eez-claims- and-oil-fields/The Economist. “China’s Military Rise the Dragon’s New Teeth,” [Online]. 10 May 2013. Available from: http:// www.economist.com/node/21552193The Information Office of the State Council. “The Diver- sified Employment of China’s Armed Forces,” [On- line]. 10 May 2013. Available from: http://news.xin huanet.com/english/china/2013-04/16/c_132312681.htm U.S. Department of Defense, Office of the Secretary of Defense. “Annual Report to Congress: Military and Security Developments Involving the People’s Re- public of China 2012,” [Online]. May 2012. Available from: http://www.defense.gov/pubs/pdfs/2012_cmpr_ final.pdfU.S. Department of Defense, Office of the Secretary of Defense. “Annual Report to Congress: Military and Security Developments Involving the People’s Re- public of China 2013,” [Online]. May 2013. Available from: http://www.defense.gov/pubs/2013_China_Re-

Page 80: นโยบายด้านความมั่นคง ของจีนใน ... · 2014-09-02 · จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่

นโยบายด้านความมั่นคงของจีนในทะเลจีนใต้76

port_FINAL.pdf U.S. Energy Information Administration. “South China Sea,” [Online]. 7 February 2013. Available from: http:// www.eia.gov/countries/regions-topics.cfm?fips=scsWelch, Jennie. “China’s Domestic Pressures Shape Asser- tive Foreign Policy,” [Online]. 16 November 2012. Available from: http://cogitasia.com/chinas-domes tic-pressures-shape-assertive-foreign-policy/Xinhuanet. “China Vows Closer Cooperation with Viet nam,” [Online]. 23 February 2014. Available from: http://news.xinhuanet.com/english/china/2014- 02/23/c_133137331.htmXinhuanet. “Premier Li Keqiang’s Keynote Speech at 10th China-ASEAN Expo,” [Online]. 4 September 2013. Available from: http://news.xinhuanet.com/english/ china/2013-09/04/c_132688764.htm