มองครอบครัวไทย ในมุมของข ้อ ... -...

3
มองครอบครัวไทย...ในมุมของข้อมูล ครอบครัว เป็นหน่วยเล็กๆ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของสังคม และมีความสําคัญ เป็นอย่างยิ่ง แต่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ด้วยความก้าวลําทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบ ต่อครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ดังจะ เห็นได้จากข้อมูลของสํานักงานสถิติ แห่งชาติ ที่สะท้อนลักษณะของครอบครัว ไทย จากการเกิดที่ลดลง ผู้สูงอายุมีอายุ ยืนยาวขึ้น และวัยแรงงานลดน้อยลง เรื่อยๆ ทําให้เห็นแนวโน้มลักษณะของ ครอบครัวไทยในอนาคตได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวที่ต้องดูแล / เกื้อหนุนผู้สูงอายุจะลดลงเรื่อยๆ จากเดิม ที ่มีประมาณ 9 คน รับผิดชอบดูแล ผู้สูงอายุ 1 คน ในปี 2533 ลดลงเหลือ เพียงประมาณ 5 คน ในปี 2553 และคาดว่าจะเหลือเพียง 2 คน ในปี 2573 นอกจากนีจากเคยมีจํานวน สมาชิกในครอบครัว 4 คน ในปี 2533 กลับ เล็กลงเหลือ 3 คน ในปี 2553 ทําให้ ฉุกคิดว่าในอนาคต เมื่อประเทศไทย ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็ม รูปแบบแล้ว ใครจะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวมีจํานวน น้อยลงทุกที และจากข้อมูลยังพบ ประเด็นความห่วงใยจากการถามความ คิดเห็นของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไปเกี่ยวกับการ ตระหนักและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ โดยพบว่า ประมาณ 1 ใน 10 ของผู้ให้ความคิดเห็นมี ความคิดว่าผู้สูงอายุ (80 ปีขึ้นไป ) เป็นภาระแก่ บุตรหลานหรือครอบครัว และมีความรู้สึกว่า ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่น่าเบื่อ ลักษณะเช่นนีอาจเป็น ส่วนหนึ่งที่ทําให้แนวโน้ม

Upload: others

Post on 29-Sep-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: มองครอบครัวไทย ในมุมของข ้อ ... - nsoservice.nso.go.th/nso/web/article/article_83.pdf · 2015. 6. 30. · มองครอบครัวไทย...ในมุมของข

มองครอบครัวไทย...ในมุมของข้อมูล

ครอบครัว เป็นหน่วยเล็กๆ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของสังคม และมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง แต่จากสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ด้วยความก้าวล้ําทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ดังจะเห็นไ ด้จากข้อมูลของสํานักงานสถิ ติแห่งชาติ ที่สะท้อนลักษณะของครอบครัวไทย จากการเกิดที่ลดลง ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น และวัยแรงงานลดน้อยลงเรื่อยๆ ทําให้เห็นแนวโน้มลักษณะของครอบครัวไทยในอนาคตได้อย่างชัดเจน โดย เฉพาะวั ยหนุ่ ม ส าวที่ ต้ อ งดู แล /เกื้อหนุนผู้สูงอายุจะลดลงเรื่อยๆ จากเดิมที่ มีประมาณ 9 คน รับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุ 1 คน ในปี 2533 ลดลงเหลือเพียงประมาณ 5 คน ในปี 2553 และคาดว่าจะเหลือเพียง 2 คน ในปี 2573

น อ ก จ า ก นี้จ า ก เ ค ย มี จํ า น ว นสมาชิกในครอบครัว 4 คน ในปี 2533 กลับเล็กลงเหลือ 3 คน ในปี 2553 ทําให้ฉุกคิดว่าในอนาคต เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบแล้ว ใครจะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวมีจํานวนน้อยลงทุกที และจากข้อมูลยังพบประเด็นความห่วงใยจากการถามความ

คิดเห็นของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไปเกี่ยวกับการตระหนักและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ โดยพบว่า ประมาณ 1 ใน 10 ของผู้ ให้ความคิดเห็นมี

ความคิดว่าผู้สูงอายุ (80 ปีขึ้นไป ) เ ป็นภาระแก่บุตรหลานหรือครอบครัว แ ล ะ มี ค ว า ม รู้ สึ ก ว่ าผู้สูงอายุเป็นผู้ที่น่าเบื่อ ลักษณะเช่นนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทําให้แนวโน้ม

Page 2: มองครอบครัวไทย ในมุมของข ้อ ... - nsoservice.nso.go.th/nso/web/article/article_83.pdf · 2015. 6. 30. · มองครอบครัวไทย...ในมุมของข

การอยู่คนเดียวของผู้สูงอายุสูงขึ้นกว่าเท่าตัว จากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 8.6 ในปี 2554 เนื่องจากไม่ต้องการเป็นภาระกับลูกหลาน นับเป็นประเด็นที่ควรได้รับความสนใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางแก้ไขหรือวางแผนงานต่างๆ ต่อไป

ด้วยขนาดครอบครัวที่เล็กลง พฤติกรรมการแสดงออกถึงความอบอุ่น ความรักและเอาใจใส่ของคนในครอบครัวมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดี โดยเด็กอายุตํ่ากว่า 6 เดือนได้กินนมแม่อย่างเดียวสูงขึ้นกว่า 2 เท่า จากร้อยละ 5.4 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 12.3 ในปี 2554 และประมาณ 1 ใน 3 ของเด็กอายุ 1 ปียังคงกินนมแม่อยู่ (ร้อยละ 32.4) แสดงให้เห็นว่า ครอบครัวยังให้ความสําคัญกับสุขอนามัยของทารก และสะท้อนให้เห็นว่าครอบครัว มีความรู้ความ

เข้าใจในการเลี้ยงดูเด็กอย่างดี นอกจากนี้การละทิ้งเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีไว้โดยไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ ก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน จากร้อยละ 13.2 ในปี 2548 เหลือเพียงร้อยละ 4.6 ในปี 2554

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลยังพบประเด็นน่าห่วงใยที่ควรให้ความสําคัญ ก็คือ กว่าทศวรรษที่ผ่านมามีเด็กอายุ 0-17 ปี ไม่ได้อยู่กับพ่อและแม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากร้อยละ 19.3 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 22 .8 ในปี 2554 การได้รับการอบรมสั่งสอนจาก พ่อแม่ ผู้ ปกครองนั บ ว่ ามีความสําคัญ เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต แต่จากข้อมูลกลับพบว่า พ่อให้เวลาในการทํากิจกรรมกับลูกลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 57.5) ในปี 2548 เหลือเพียง 1 ใน 3 (ร้อยละ 36.4) ในปี 2554 แม้แนวโน้มของสมาชิกในครอบครัวจะทํากิจกรรมร่วมกับเด็กเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78.6 เป็นร้อยละ 92.7 ก็ตาม การให้เวลากับครอบครัว โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน นับว่ามีความสําคัญ

อย่างมากและส่งผลกระทบไปในอนาคตด้วย หากครอบครัวให้เวลาในการอบรม สั่งสอน ก็จะทําให้เด็กเติบโตไปในทางที่ดี แต่ในทางตรงข้าม หากพ่อแม่ทอดทิ้งไม่ให้เวลาแก่ครอบครัว อาจส่งผลเสียต่อทั้งตัวเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติในที่สุด ผลกระทบจากการที่ไม่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ดีพอ หรือการเรียนรู้อย่างผิดๆ จากสื่อต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายในปัจจุบัน อาจทําให้เด็กมีโอกาสก้าวพลาดไปในทางที่ผิดได้ สะท้อนให้เห็นได้จากที่มีหญิงอายุ 15-19 ปีที่เป็นวัยเรียน แต่กลับสมรสหรืออยู่กินกับชายก่อนวัยอันควรสูงขึ้นจากร้อยละ 14.6 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 16.3 ในปี 2554

Page 3: มองครอบครัวไทย ในมุมของข ้อ ... - nsoservice.nso.go.th/nso/web/article/article_83.pdf · 2015. 6. 30. · มองครอบครัวไทย...ในมุมของข

เป็นที่ยอมรับกันว่าสังคมยุคดิจิตอลในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการได้รับสื่อหรือการติดต่อสื่อสารในสังคมออนไลน์ ของเด็กและเยาวชน ที่เป็นวัยอยากรู้อยากเห็น และอยากลอง ทําให้อาจถูกชักนําไปในทางที่ผิดได้ โดยเฉพาะการมีมุมมองหรือทัศนคติที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมด้ังเดิมของไทยค่อนข้างมาก ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสังคม จากข้อมูลการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 13 ปีขึ้นไป พบว่า ยอมรับได้กับพฤติกรรมการใส่เสื้อสายเด่ียว เกาะอก นุ่งสั้น เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จากร้อยละ 19.1 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 26.6 ในปี 2554 และรับได้กับการแสดงออกทางเพศอย่างเปิดเผยเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากร้อยละ 6.5 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 8.8 ในปี 2554 นอกจากนี้ข้อมูลยังแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมเชิงลบที่สะท้อนให้เห็นถึงการเลี้ยงดู การอบรมของครอบครัวได้จากพฤติกรรมที่วัยรุ่นอายุ 13-14 ปี เช่น การนอนดึกต่ืนสาย การเที่ยวเตร่ และการเล่นการพนัน ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อปัญหาสังคมในอนาคตได้ และข้อกังวลเกี่ยวกับการเริ่มสูบบุหรี่และดื่มสุราของประชากรที่มีอายุเฉลี่ยน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างยิ่งกับสุขภาพ และนําไปสู่ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในอนาคต ดังนั้น ถึงเวลาแล้วรึยังที่ผู้ใหญ่ทั้งหลาย จะตระหนักและเอาใจใส่ในประเด็นเล็กๆ แบบนี้ และหันมาให้ความสําคัญให้มากขึ้นกว่าที่เคย เพื่อให้สมกับ คําขวัญที่ว่า “เด็ก (ดี) วันนี้ คือผู้ใหญ่ (ที่ดี) ในวันหน้า” ซึ่งก็คือ อนาคตของประเทศไทย นั่นเอง......