หม่อนไหม - ridroyal.rid.go.th/phuphan/kmnewn/19 menu (new)/19-17.pdf๒๕๓๘...

23

Upload: others

Post on 09-Oct-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ
Page 2: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ
Page 3: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ
Page 4: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

คำนำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการหนึ่ง ซึ่งทำการศึกษาทดลองและค้นคว้างานพัฒนาด้านต่างๆตามความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนำผล การศึกษาที่พิสูจน์ได้ว่า มีความเหมาะสมกับพื้นที่ไปใช้เป็นแบบอย่างของความสำเร็จในการส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร โดยนำผลการศึกษาที่เหมาะสมไปขยายผลสู่ราษฎรด้วยวิธีการสาธิต และสนับสนุนแก่เกษตรกรที่สนใจให้สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองได้ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้นตลอดจนสมารถพึ่งพาตนเองได้ กิจกรรมหม่อนไหม เป็นงานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม ซึ่งดำเนินการศึกษาค้นคว้า การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยอาศัยเทคนิควิธีการง่าย ๆ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้ในพื้นที่ของตนเอง โดยสามารถรวบรวมและนำผลการศึกษาดังกล่าวไปขยายผลสู่ราษฎรหมู่บ้านรอบศูนย์ ๆ เพื่อเสริมรายได้ของเกษตรกรอันจะนำไปสู่การยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

Page 5: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

สารบัญ

หน้าหม่อนพันธุ์สกลนคร ๕ ลักษณะเด่น ๖ ลักษณะทางการเกษตร ๖ ลักษณะประจำพันธุ์ ๗ ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านพันธุ์นางตุ่ย ๑๓ ลักษณะประจำพันธุ์ ๑๔ ลักษณะทางการเกษตร ๑๔ ลักษณะเด่น ๑๕ การเลี้ยงไหม ๑๖ การเลี้ยงไหมที่จะให้ผลดี ๑๖ การวางแผนการเลี้ยงไหม ๑๗ วิธีการเลี้ยงไหม ๑๗ ผลผลิตที่ได้รับ ๑๙

Page 6: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ
Page 7: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

คู่มือหม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ย ๕

หม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ย

หม่อนพันธุ์สกลนคร ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างหม่อนพันธุ์คุณไพ tetraploid(2n = 56) กับหม่อนพันธุ์ลุน ๔๐ (2n = 28) ได้หม่อนลูกผสมtriploid ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๑ คัดเลือกได้พันธุ์ SKN-M95-3-82 ในปีพ.ศ.๒๕๔๒-๒๕๔๕ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นต่างๆที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๓ ส่วนแยกหม่อนไหมศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชัยภูมิ เลยสุรินทร์และสกลนครและศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ ฯ ศรีสะเกษ ได้นำข้อมูลเสนอเป็นพันธุ์แนะนำต่อคณะอนุกรรมการการปรับปรุงพันธุ์๒๕๔๗ และจะได้รวบรวมข้อมูล เพื่อเสนอเป็นพันธุ์รับรองต่อไปเมื่อสิ้นสุดการเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นในปี๒๕๕๐

หม่อนพันธุ์คุณไพ หม่อนพันธุ์ลุน

หม่อนพันธุ์สกลนคร

Page 8: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

ลักษณะเด่น ๑. ผลผลิตใบสด๓,๕๐๗กก./ไร่ ๒. มีความทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดี ๓. ออกรากดีเมื่อมีการปักชำ ขยายพันธุ์ง่าย สามารถใช้ท่อนพันธุ์ปลูกในแปลงได้โดยตรงหรือปักชำก่อนปลูก ๔. มีการเจริญเติบโตรวดเร็วหลังการตัดแต่ง ๕. มีความต้านทานโรครากเน่า ลักษณะทางการเกษตร ๑. ความสูงของต้น(๗๕วัน)หลังการตัดต่ำมากกว่า๑.๘๐เมตร ๒. ระยะระหว่างข้อถี่(น้อยกว่า๕เซนติเมตร) ๓. ขนาดของใบใหญ่(๒๔x๒๖เซนติเมตร) ๔. น้ำหนักใบ/ต้น ๑ ปี/การเก็บเกี่ยว ๔ ครั้ง (จากแปลงทดลอง) มากกว่า๓กิโลกรัม ๕. ผลผลิตใบ/ต้น/ปี/การเก็บเกี่ยว๔ครั้ง (จากแปลงทดลอง)มากกว่า๓,๐๐๐กิโลกรัม ๖. ผลผลิตใบ/ต้น/ปี/การเก็บเกี่ยว ๔ ครั้ง (จากแปลงเกษตรกร) ๒,๕๑๒กิโลกรัม ๗.การขยายพันธุ์สามารถขยายพันธุ์ด้วยท่อนพันธุ ์

๑๙ ผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

แปลงหม่อนพันธุ์สกลนคร

หม่อนพันธุ์สกลนคร เป็นหม่อนทริพพลอยด์ มีลักษณะดีเด่นหลายด้าน ผ่านการรับรองพันธุ์โดย กรมวิชาการเกษตร ให้เป็นหม่อนพันธุ์แนะนำชื่อ สกลนคร

Page 9: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

คู่มือหม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ย

ลักษณะประจำพันธุ์ ๑. เป็นหม่อนเพศผู้มีช่อดอกค่อนข้างใหญ่ ๒. ใบใหญ่ แผ่นใบเรียบ รูปไข่ ค่อนข้างกว้าง ส่วนใบรูปหัวใจ ผิวใบหยาบ ขอบใบเป็นหยักปลายใบแหลมสั้นการเรียงตัวแบบสลับ ๓. ลำต้นตั้งตรงกิ่งมีสีเขียวหม่อนปนเทาปลายกิ่งออกสีน้ำตาล ๔. ระยะข้อปล้องสั้น ๕. ความสูงของต้นประมาณ๑.๘๐เมตร(๗๕วันหลังตัดต่ำ) ๖. ใบร่วงช้า ๗.มีความทนทานเพลี้ยไฟได้ดี ๘. มีความต้านทานโรครากเน่า ๙. ให้ผลผลิตในสภาพท้องถิ่นประมาณ๒,๕๐๐กก./ไร่/ปี การปลูกหม่อนพันธุ์สกลนคร การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมส่วนใหญ่จะมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกันมาก เพราะการเลี้ยงไหมสามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกร ฉะนั้น การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกคือ พันธุ์สกลนคร

แปลงหม่อนพันธุ์สกลนคร

หม่อนพันธุ์สกลนครเป็นหม่อน พลอยด์ทริพพลอยด์ มีลักษณะดีเด่นหลายด้าน ผ่านการรับรองพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร ให้เป็นหม่อนพันธุ์แนะนำชื่อ สกลนคร

Page 10: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

๑๙ ผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สภาพพื้นที่ปลูกหม่อน ๑. สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน๗๐๐เมตร ๒.พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ๓. ความลาดเอียงไม่ควรเกิน๓๐เปอร์เซ็นต์ ๔. ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ ลักษณะดิน ๑. ดินร่วนปนทรายอุดมสมบูรณ์ปานกลาง-สูงระบายน้ำได้ดี ๒. หน้าดินลึกมากกว่า๓๐เซนติเมตร ๓. ความเป็นกรดเป็นด่างของดินระหว่าง๕.๕-๖.๕ สภาพภูมิอากาศ ๑. อุณหภูมิเหมาะสมประมาณ๒๐-๔๐อาศาเซลเซียส ๒.ปริมาณน้ำฝนมากกว่า๑,๐๐๐มิลลิเมตร/ปีการกระจายตัวของฝนดี แหล่งน้ำ มีน้ำเพียงพอสำหรับช่วงฤดูแล้ง การปลูก ๑. การวางแผนการปลูกเพื่อให้สอดคล้องกับการเลี้ยงไหม ๑.๑ หม่อน ๑ ไร่ เลี้ยงไหมได้ ๓ - ๔ กล่อง/ปี (รุ่นละ ๑ กล่อง ๆ ละ๒๐,๐๐๐ตัวปีละ๔รุ่น) ๑.๒ ขนาดความกว้างความยาวของพื้นที่แปลงย่อย ไม่ควรเกิน ๔๐ x ๖๐เมตรมีทางเข้าออกเพื่อสะดวกต่อการจัดการ 2. การเตรียมพื้นที่ ๒.๑ ไถลึก๓๐ -๔๐ เซนติเมตรทิ้งไว้ ๕ -๗วันแล้วไถพรวนและปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ ๒.๒ ไถเปิดร่องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก๒,๐๐๐กิโลกรัม/ไร่

Page 11: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

คู่มือหม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ย

๓.ระยะการปลูก ๓.๑ ระยะปลูกที่เหมาะสม พิจารณาจากความสะดวกในการใช้เครื่องทุ่นแรงมาปฏิบัติงาน

ชนิด/ขนาด ระยะแถว ระยะต้น จำนวน เครื่องทุ่นแรง (เมตร) (เมตร) (ต้น/ไร่)

เครื่องมือขนาดใหญ่ ๓.๐ ๐.๗๕ ๗๖๒เครื่องมือขนาดกลาง ๒.๕ ๐.๗๕ ๘๕๓เครื่องมือขนาดเล็ก ๒.๐ ๐.๗๕ ๑,๐๖๖ใช้แรงงานคนและสัตว์ ๑.๕ ๐.๗๕ ๑,๔๒๒

๔.วิธีการปลูก ๔.๑ การเตรียมท่อนพันธุ์ นำกิ่งพันธุ์อายุ ๖ - ๑๒ เดือนที่ปราศจากโรคและแมลงตัดเป็นท่อนแต่ละท่อนมีตา๔-๕ตาหรือความยาวประมาณ๑๕-๒๐เซนติเมตรส่วนปลายของท่อนพันธุ์ที่ปักลงในดินตัดเฉียงเป็นปากฉลาม ๔.๒ การปลูก ๑) ปลูกด้วยท่อนพันธุ์ปักตรงลึกลงไปในดิน๓/๔ของท่อนพันธุ์หลุมละ ๒ท่อน

การเตรียมท่อนพันธุ์หม่อน การปกชำท่อนพันธุ์หม่อน

Page 12: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

๑๙ ผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

๒) ปลูกด้วยกิ่งชำซึ่งทำได้๒ลักษณะคือชำไว้ในแปลงเพาะชำและชำไว้ในถุงชำเมื่อกิ่งชำมีอายุ๓-๔เดือนย้ายลงปลูกในแปลงหลุมละ๑ต้นและควรมีการตัดแต่งรากและกิ่งในส่วนที่เป็นใบออก ๓) ปลูกในช่วงต้นฝน การดูแลรักษา ๑. การใส่ปุ๋ย ๑.๑ ปุ๋ยคอกอัตรา๒,๐๐๐กิโลกรัม/ไร่/ปีหลังการตัดต่ำโดยการหว่านหรือใส่ในร่องระหว่างแถวแล้วไถกลบ ๑.๒ ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ในอัตรา ๑๐๐ กิโลกรัม/ไร่/ปี ร่วมกับปุ๋ยยูเรียในอัตรา๓๓กิโลกรัม/ไร่/ปีหรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตในอัตรา๗๐กิโลกรัม/ไร่/ปีโดยแบ่งใส่๓ครั้งเท่าๆกันหลังการตัดต่ำหลังตัดกลางและหลังตัดแขนงวิธีการใส่โดยโรยเป็นแถวบริเวณทรงพุ่มแล้วพรวนกลบ

การใส่ปุ๋ยแปลงหม่อน การให้น้ำแปลงหม่อน

๒.การให้น้ำ ๒.๑ ปริมาณ ๓๐ ลูกบาศก์เมตร/ไร่/สัปดาห์ โดยระบบฉีดฝอยในช่วง หน้าแล้ง ๓.การตัดแต่งและการเก็บเกี่ยว ๓.๑ การตัดแต่งในปีแรกหม่อนต้องมีอายุอย่างน้อย๖เดือนหม่อนในปีที่๒เป็นต้นไปมีการเก็บเกี่ยวและตัดแต่งปีละ๓-๔ครั้งดังนี้

๑๐

Page 13: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

คู่มือหม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ย

๓.๑.๑ การตัดต่ำ มีการตัดปีละ ๑ ครั้ง โดยตัดให้ต้นตอสูงจากพื้นดิน๒๕-๓๐เซนติเมตรหลังจากตัดต่ำประมาณ๓เดือนเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมโดยวิธีตัดกลาง ๓.๑.๒ การตัดกลางตัดสูงจากพื้นดิน๘๐-๑๐๐เซนติเมตรหลังจากตัดประมาณ๖๐-๗๐วันเก็บในหม่อนเลี้ยงไหมโดยวิธีตัดแขนง ๓.๑.๓ การตัดแขนงครั้งที่๑ตัดสูงเหนือรอยเดิม๕-๑๐เซนติเมตรหลังจากตัดประมาณ๖๐-๗๐วันเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมโดยวิธีการตัดแขนง ๓.๑.๔ การตั ดแขนงครั้งที่ ๒ ตัดสูงเหนือจากรอยเดิม ๕ - ๑๐ เซนติเมตร หลังจากตัดประมาณ๖๐-๗๐วันเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมโดยวิธีการตัดแขนง ๓.๑.๕ เก็บเกี่ยวหม่อนครั้งสุดท้ายในรอบปี โดยวิธีการตัดแขนง ครั้งที่ 3 แล้วเริ่มเตรียมการตัดต่อในรอบปีต่อไป

การเก็บเกี่ยวใบหม่อนไปเลี้ยงไหมทำได้๒วิธีดังนี้ ๑. การเก็บใบ สามารถทำได้หลังการตัดต่ำแล้ว ๒ - ๓ เดือน เก็บใบไปเลี้ยงไหมได้ ให้เหลือใบส่วนยอดไว้ ๔ - ๕ ใบ แล้วทิ้งช่วงให้หม่อนพักตัว ๑ - ๑.๕เดือนจึงเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมรุ่นต่อๆไปวิธีนี้สามารถเก็บใบเลี้ยงไหมได้ปีละ๔-๕รุ่น ๒. การตัดแต่งกิ่ง การตัดกิ่งหม่อนหลังการตัดต่ำ ตัดกลาง ตัดแขนง (ตามรูปข้างต้น) แล้วนำใบไปเลี้ยงไหม วิธีนี้จะตัดหม่อนได้แปลงละ ๓ - ๔ ครั้ง/ปีถ้าเกษตรกรต้องการเพิ่มจำนวนครั้งในการเลี้ยงไหม ควรจะมีแปลงหม่อนมากกว่า ๑แปลงแล้วตัดหม่อนแต่ละรุ่นสลับกัน เช่นต้องการเลี้ยงไหม๖ -๘รุ่นจะต้องแบ่งแปลงหม่อนออกเป็น๒แปลงเป็นต้น ๔.การกำจัดวัชพืช ๔.๑ ใช้เครื่องทุ่นแรงพรวนระหว่างแถวหรือตัดวัชพืช ใช้จอบระหว่างต้นหลังจากการเก็บเกี่ยวและตัดแต่งแต่ละครั้ง ๔.๒ ใช้สารพาราควอท๒๗.๖ เอสแอล๗๕ - ๑๐๐ซีซี/น้ำ๒๐ลิตรพ่นเมื่อวัชพืชมีความหนาแน่นสูงหรือก่อนวัชพืชออกดอก

การตัดแต่งและเก็บเกี่ยวผลผลิต หม่อนในรอบ ๑ ปี

๑๑

Page 14: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ
Page 15: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

คู่มือหม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ย

ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านพันธุ์นางตุ่ย ประวัติความเปนมา ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านพันธุ์นางตุ่ย ได้มาจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านโศกส้มกบตำบลโศกบ้านใหม ่อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น ที่นำมาแข่งขันสาวไหมด้วยมือที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์เมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๗ปรากฏว่าได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ๑ ดังนั้นทางศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯสกลนครจึงขอไหมพันธุ์นางตุ่ย ซึ่งเป็นไหมพันธุ์ไทยแท้ มาเลี้ยงในศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ ฯ สกลนคร เมื่อนำมาขยายพันธุ์และเลี้ยงปรากฏว่าเลี้ยงง่ายและมีการเจริญเติบโตดี มีความแข็งแรงดีให้ผลผลิตสูง จึงได้นำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายให้เกษตรกรในโครงการของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ และเกษตรกรในเขตรับผิดชอบต่อไป

คู่มือหม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ย ๑๓

Page 16: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

๑๙ ผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ไข่ไหมพันธุ์นางตุ่ย รังไหมพันธุ์นางตุ่ย

ลักษณะประจำพันธุ์ ๑. สีของไข่ไหม ขาว ๒. รูปร่างไข่ไหม กลม ๓. สีของหนอนไหมแรกฟัก น้ำตาล ๔. สีของหนอนไหมโตเต็มวัย ตัวผู้ขาว,ตัวเมียขาว ๕. ลักษณะลายบนตัวหนอนไหม ไม่มี ๖. สีของรังไหม เหลือง ๗. รูปร่างรังไหม วารี ๘. รอยย่นบนผิวรัง ละเอียด ๙. ลักษณะดีเด่น เลี้ยงง่าย,ผลผลิตสูง ๑๐.ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง สาวยากในฤดูฝน ๑๑.ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสายพันธุ์แท้(GCA,SCA)(มี/ไม่มี) ลักษณะทางการเกษตร ๑. จำนวนไข่ไหมต่อแม่๔๙๘ฟอง ๒. น้ำหนักหนอนไหมโตเต็มที่๑๐ตัว๒๓.๓๐กรัม ๓. อายุหนอนไหม(วัน:ชั่งโมง)๒๐:๒๒

๑๔

Page 17: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

คู่มือหม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ย

หม่อนไหมพันธุ์นางตุ่ย รังไหมพันธุ์นางตุ่ย

๔. เปอร์เซ็นต์ดักแด้สมบูรณ์๙๕% ๕. น้ำหนักรังสด๑.๔๗กรัม ๖. น้ำหนักเปลือกรัง๐.๒๕ ๗. เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง เปอร์เซ็นต์เปลือกรังเฉลี่ยฤดูฝน๑๑.๕๐% เปอร์เซ็นต์เปลือกรังเฉลี่ยฤดูหนาว๑๑.๒๕% ๘. ความยาวเส้นใยต่อรัง๔๙๘เมตร ๙. น้ำหนักเส้นใยต่อรัง๐.๑๒กรัม ๑๐.ขนาดของรังไหม(กรัมxตัว)๑.๓x๓.๕เซนติเมตร ๑๑.ขนาดเส้นใย๒.๓๑ดีเนียร์ ลักษณะเด่น ๑. มีความแข็งแรงเลี้ยงได้ตลอดปี ๒. เลี้ยงง่ายและผลผลิตสูง ๓. มีเปลือกรังชั้นนอกสีตุ่นและมีเปลือกรังชั้นในสีเหลืองเข้ม ๔. เส้นไหมมีความเลื่อมมันวาว

๑๕

Page 18: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

การเลี้ยงไหม การเลี้ยงไหมเป็นงานที่จะต้องเอาใจใส่ และสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของหนอนไหมทุกวัน นับตั้งแต่ไข่ไหมฟักออกเป็นตัวหนอนไหม จนกระทั่งไหมสุกทำรัง นอกจากนั้นเกษตรกรยังต้องทำความสะอาดห้องเลี้ยงไหมและอุปกรณ์ ต่างๆเกี่ยวกับการเลี้ยงไหม การเลี้ยงไหมที่จะให้ผลด ี ๑. มีปริมาณใบหม่อนที่เพียงพอเหมาะสมกับไหมแต่ละวัย ๒. เลี้ยงไหมที่แข็งแรงปราศจากโรค ๓. ให้อาหารแก่หนอนไหมเพียงพอต่อช่วงเวลา ๔. โรงเลี้ยงไหมมีอุณหภูมิความชื้นที่เหมาะสมและอากาศถ่ายเทดี ๕. ควรรักษาความสะอาดในโรงเลี้ยงไหมตลอดเวลาที่เลี้ยงไหม ๖. อุปกรณ์การเลี้ยงไหมต้องมีครบถ้วน เมื่อหนอนไหมนอนตื่นแต่ละวัยจะใช้ยาเปปโซนโรยหนอนไหม ก่อนการให้ ใบหม่อนในคาบแรกเพื่อป้องกันเชื้อโรค

การใช้ยาเปปโซนโรยหนอนไหม

การให้อาหารหนอนไหมวัยอ่อน

๑๙ ผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ๑๖

Page 19: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

คู่มือหม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ย

การให้อาหารหนอนไหมวัยอ่อน

การวางแผนการเลี้ยงไหม การวางแผนการเลี้ยงไหมในแต่ละปีจะต้องให้สอดคล้องกับระยะการเจริญเติบโตของหม่อนเกษตรกรจะต้องการวางแผนการเลี้ยงไหมที่เหมาะสม ๑. วันแรกที่หนอนไหมฟักออกจากไข่ในเขตร้อน จะกำหนดวันที่หนอนไหมฟักออกจากไข่เมื่อไรก็ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงไหมในระยะที่สิ้นสุดฤดูแล้งคือมีนาคมและเมษายนเพราะอุณหภูมิสูงเกินไป ๒. การเตรียมหม่อนก่อนการเลี้ยงไหม ๓. การคาดคะเนผลผลิตหม่อน และจำหน่ายไข่ไหมซึ่งเกษตรกรสามารถคาดคะเนผลผลิตหม่อนในไร่ของตัวเองได้ก่อนที่จะกำหนดจำนวนไข่ไหมที่ฟักออกใหม่ ๔. การคาดคะเนพื้นที่เลี้ยงไหมวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ

วิธีการเลี้ยงไหม ๑. วิธีการเลี้ยงไหมวัยอ่อน ก่อนที่เราจะเลี้ยงไหมเราจะต้องอบฟอร์มาลีน๓เปอร์เซ็นต์(%)ก่อนและหลังการเลี้ยงไหมทุกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อโรคของหนอนไหม หนอนไหมในระยะวัย๑วัย๒และวัย๓ต้องให้ใบอ่อนสดและสะอาดเพื่อให้หนอนไหมแข็งแรงเติบโตสม่ำเสมอ ถ้าต้องการให้ใบหม่อนสดอยู่เสมอควรจะหาวัสดุคลุม หากทราบว่าอุณหภูมิสูงให้ระบายอากาศโดยเปิดหน้าต่างเพื่อปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมที่๒๖-๒๘องศาเซลเซียส(ํC)ความชื้นประมาณ๘๐-๙๐%

๑๗

Page 20: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

๑๙ ผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

๒.วิธีการเลี้ยงไหมวัยแก่ ไหมวัยแก่หมายถึงวัยที่๔และวัยที่๕หลังจากการลอกคราบครั้งที่๓หรือนอนครั้งที่๓และตื่นครั้งที่๔แล้วให้เลี้ยงไหมต่อไปอีก๑๐-๑๕วันไหมจะเจริญเติบโตที่อุณหภูมิ๒๔-๒๕องศาเซลเซียส(ํC)ความชื้นสัมพัทธ์๗๐-๘๐%ซึ่งเหมาะสมกับไหมวัยแก่ ๓.การให้อาหารและการทำรัง จำนวนครั้งของการให้อาหารต้องให้อาหารวันละ๓ครั้งคือเวลา๐๖.๐๐น. ๑๑.๐๐น.และ๑๖.๐๐น. การทำรังไหม รังไหมประกอบด้วยเส้นใย ๒ ชนิด คือ รังชั้นนอกและรัง ชั้นใน รังชั้นนอกประกอบด้วยเส้นใย ๑ - ๒ ชั้น ก่อนจะทำรังชั้นนอกไหมจะถ่ายอุจจาระมีสีขาวปนน้ำตาลพร้อมทั้งปัสสาวะออกมาตัวละประมาณ๑ ซีซี จากนั้นจะสร้างรังนอกเสร็จประมาณ๓-๕ชั่วโมงแล้วจึงทำรังภายในซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมด๒วัน ๔.การเก็บผลผลิตรังไหม การเก็บผลผลิตรังไหมมีความสำคัญ เพราะถ้าเก็บเร็วเกินไปตัวดักแด้จะยังอ่อนอยู่ หรือถ้ากระทบกระเทือนจะทำให้รังเปื้อนได้ง่าย และถ้าเก็บช้าเกินไปตัวหนอนไหมก็จะเจาะออกจากรังทำให้รังไหมเสีย ดังนั้น ระยะเวลาที่เหมาะสมคือ เมื่ออุณหภูมิสูงประมาณ ๓๐ องศาเซลเซียส ( ํC) ให้เก็บรังไหมภายหลังจากไหมทำรังแล้ว ๕ วัน นอกจากนี้การเก็บ รังไหม ให้ใช้มือรูดระหว่างช่องของจ่อ ถ้าเป็นจ่อกระด้งใช้มือรูดเอารังไหมออกจากจ่อเช่นกัน

การให้อาหารหนอนไหมวัยแก่

๑๘

Page 21: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

คู่มือหม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ย

๕.การป้องกันกำจัดโรค หนอนไหมวัยแก่จะต้านทานโรคมากกว่าหนอนไหมวัยอ่อน ถ้ารักษาความสะอาดภายในและภายนอกห้องเลี้ยงไหมอย่างดี มีหน้าต่างที่กว้างพอ มีการระบายอากาศดีอากาศไม่ร้อนและใบหม่อนสดเพียงพอและสะอาดจะทำให้ไหมเจริญเติบโตแข็งแรง ผลผลิตที่ได้รับ ไข่ไหมจำนวน๑แผ่นจะได้รังไหมสดประมาณ๑๕-๒๐กิโลกรัม รังไหมสดประมาณ ๑๕ - ๒๐ กิโลกรัม สาวเป็นไหมได้ประมาณ ๑ - ๑.๓กิโลกรัม เส้นไหมจำนวน ๑ กิโลกรัม ขายได้ราคากิโลกรัมละประมาณ ๑,๓๐๐ -๑,๖๐๐บาท

การทำรังไหม

๑๙

Page 22: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

๑๙ ผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

บันทึก

๒๐

Page 23: หม่อนไหม - RIDroyal.rid.go.th/phuphan/KMnewn/19 MENU (new)/19-17.pdf๒๕๓๘ ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ในปีพ.ศ

บรรณานุกรม กรมวิชาการเกษตร. ๒๕๔๗. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมระดับครัวเรือน. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมชนการเกษตรแห่งประเทศไทย. สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. ๒๕๕๒. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมระดับครัวเรือน. กรุงเทพ ฯ : ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. เอกสาร เผยแพร่ เรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน. ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สกลนคร.