พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ...

8
3๘ เกียรติยศจักรดาว ๒๕๕๗ พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ พงศ์สรร ถวิลประวัติ รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจ�าปี ๒๕๕๗ สำขำวิจัยและพัฒนำ นักเรียนเตรียมทหาร รุ่น ๑๒ เลขประจ�าตัว ๓๗๔๙

Upload: others

Post on 27-Feb-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ ...aaf.rtarf.mi.th/doc/jakdow_57/2-57.pdf · 2015-04-03 · พลเรือเอก พระ

3๘ เกียรติยศจักรดาว ๒๕๕๗

พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ พงศ์สรร  ถวิลประวัติ

รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจ�าปี ๒๕๕๗สำขำวิจัยและพัฒนำ

นักเรียนเตรียมทหาร รุ่น ๑๒ เลขประจ�าตัว ๓๗๔๙

Page 2: พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ ...aaf.rtarf.mi.th/doc/jakdow_57/2-57.pdf · 2015-04-03 · พลเรือเอก พระ

ประวัติ พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษพงศ์สรร

ถวิลประวัติ

เกิดเมื่อวันที่๔สิงหาคมพ.ศ.๒๔๙๕

เป็นบุตรของ นายฤกษ์ ถวิลประวัติ และ

นางสมศรี ถวิลประวัติ และสมรสกับนางเมธนี

ถวิลประวัติ ( ถึงแก ่กรรม) มีบุตร๑คน คือ

นายธิติสรรถวิลประวัติ

เมื่อส�าเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอ�านวยศิลป์ พระนคร ได้สอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

เมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๒และเลือกเหล่าเป็นนักเรียนนายเรือรุ่นที่๖๙เตรียมทหารรุ่นที่๑๒

ต�าแหน่งส�าคัญ

เมื่อส�าเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือในปีพ.ศ.๒๕๑๙ได้เข้ารับราชการกองทัพเรือในต�าแหน่ง

นายช่างกลเรือหลวงวิทยาคมกองเรือยุทธการ(ก�าลังพลรับเรือณประเทศอิตาลี)และได้เลื่อนต�าแหน่ง

เป็นต้นกลเรอืหลวงวทิยาคมจากนัน้ได้เดินทางไปศกึษาต่อในระดบัปรญิญาโทและเอกสาขาวิศวกรรมต่อเรอื

และเครื่องกลเรือ (Naval Architecture and Marine Engineering) ภายหลังจากส�าเร็จการศึกษา

ได้รับต�าแหน่งเป็นรองผู้อ�านวยการกองออกแบบต่อเรือ และผู้อ�านวยการออกแบบต่อเรือ กรมอู่ทหารเรือ

ตามล�าดับในปี๒๕๔3ได้ไปช่วยราชการในการก่อตั้งสาขาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือมหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์และด�ารงต�าแหน่งหวัหน้าสาขาวศิวกรรมต่อเรอืและเครือ่งกลเรอืมหาวทิยาลยัเกษตรศาสตร์

วทิยาเขตศรรีาชา(กองทพัเรอืส่งช่วยราชการ)เป็นเวลา3ปีจงึกลบัเข้ารบัราชการในกองทพัเรอืในต�าแหน่ง

รองเจ้ากรมแผนการช่าง เจ้ากรมพัฒนาการช่าง ผู้อ�านวยการอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ

และต�าแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ ภายหลังเกษียณอายุ

ราชการได้ไปช่วยงานบริหารด้านการศึกษาและเป็นอาจารย์พิเศษให้แก่วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

ในต�าแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิจนถึงปัจจุบัน

ความประทับใจในช่วงการศึกษาและการท�างาน ช่วงการศึกษา “ทางไปสู่เกียรติศักดิ์ จักประดับดอกไม้

หอมยวลชวนจิตไซร้ บ่มี’’ จากเด็กชายที่เติบโต

อยู ่ในจังหวัดชุมพร ในครอบครัวที่ไม่เคยมีใคร

รับราชการทหารมาก่อน แต่ด้วยพระนามของ

พลเรอืเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากร

เกยีรติวงศ์กรมหลวงชมุพรเขตอดุมศกัดิ์ซึง่เป็นองค์บดิาของทหารเรอืไทยประกอบกบัเมือ่ได้ยนิเรือ่งราวต่างๆ

ตลอดจนพระกรุณาธิคุณของพระองค์ท่านบ่อยครั้ง จนซึมทราบเข้าไปอยู่ในจิตใจ และจากความเคารพ

เทิดทูน ความศรัทธาที่มี ท�าให้พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษพงศ์สรร ถวิลประวัติ ตั้งปณิธานไว้ว่า

จะต้องเป็นลูกหลานของพระองค์ให้จงได้

เกียรติยศจักรดาว ๒๕๕๗ 3๙

Page 3: พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ ...aaf.rtarf.mi.th/doc/jakdow_57/2-57.pdf · 2015-04-03 · พลเรือเอก พระ

หลังจากที่จบการศึกษาจากโรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร จึงได้มาสมัครสอบเข้าโรงเรียน

เตรียมทหารโดยหวังว่าจะเลือกเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรือในล�าดับต่อไปแต่ในการสอบครั้งนั้น

ไม่เป็นดั่งที่ต้ังใจไว้ คือไม่ผ่านการสอบสัมภาษณ์ เนื่องจากไม่คุ ้นเคยกับการสัมภาษณ์ในแบบทหาร

อย่างไรก็ตาม ด้วยความพยายามที่มีอยู่อย่างท่วมท้น จึงได้สมัครสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารอีกครั้ง

ในปีถดัมาและการสอบครัง้น้ีกป็ระสบความส�าเรจ็โดยได้เข้ารับการศกึษาเป็นนกัเรยีนเตรยีมทหารรุน่ที่๑๒

ช่วงของการเปลี่ยนแปลงจากชีวิตพลเรือน

ธรรมดามาสูช่วิีตของการเป็นทหารนบัเป็นช่วงชวิีต

ที่ยากล�าบากช่วงหนึ่ง ซึ่งต้องมีการปรับตัว ฝึกฝน

ร่างกายอย่างต่อเนื่องให้สามารถรองรับการฝึกได้

หลากหลายรูปแบบ ต้องประพฤติปฏิบัติตนให้อยู ่

ในระเบียบวินัย และที่ส�าคัญก็คือ ได้ปลูกฝังให้

ทุกคน เคารพและเทิดทูน สถาบันชาติ ศาสนา

และพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีการปฏิญาณกันทุกวัน

ในช่วงการเข้าแถวตอนเช้า ในส่วนภาควิชาการนั้น

มีการเรียนการสอนทั้งวิชาในระดับมัธยมศึกษา

ตอนปลายและวชิาทหารคณะอาจารย์มปีระสบการณ์

ในการสอนอย่างมากเมื่อเทียบกับโรงเรียนในต่างจังหวัดที่เคยเรียนมา โรงเรียนเตรียมทหารนับว่าเป็น

โรงเรยีนทีม่กีารปพูืน้ฐานทางด้านการศกึษาท่ีดีมากโรงเรยีนหนึง่ท�าให้ค้นพบว่าตนเองชอบเรยีนวิทยาศาสตร์

โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์และกลศาสตร์อันเป็นพื้นฐานที่ส�าคัญในการเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ในอนาคต

จากโรง เรี ยนเตรี ยมทหาร พลเรือ โท

รองศาสตราจารย์พิเศษ พงศ์สรรฯ ได้เลือกเข้า

ศึกษาที่โรงเรียนนายเรือตามที่ได้ต้ังใจไว้ และ

เป็นนักเรียนนายเรือรุ่น๖๙ในช่วงปีที่๑ถึงปีที่3

ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องเรียนในทุกสาขาวิชา ผลการเรียน

อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนในปีที่ ๔ และปีที่ ๕

จงึเลอืกท่ีจะเป็นพรรคกลนิท�าให้ผลการเรยีนเริม่ดขีึน้

เนื่องจากวิชาที่ เรียนส่วนมากหนักไปทางด้าน

วิศวกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่มีความชอบเป็น

ทนุเดมิอยูแ่ล้วท�าให้พลเรอืโทรองศาสตราจารย์พิเศษ

พงศ ์สรรฯ รู ้จักกับวิชาวิศวกรรมต ่อเรือและ

เครื่องกลเรือ (Naval Architecture andMarine

Engineering) ซ่ึงในขณะน้ัน มีการเรียนการสอน

อยู่ที่โรงเรียนนายเรือเป็นแห่งแรกและแห่งเดียว

ในประเทศไทย

ระยะเวลา ๕ ปี ที่ได้ร�่าเรียนอยู่ในโรงเรียน

นายเรือ ท่ีมีทั้งการเรียนในด้านวิชาการ และ

๔๐ เกียรติยศจักรดาว ๒๕๕๗

Page 4: พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ ...aaf.rtarf.mi.th/doc/jakdow_57/2-57.pdf · 2015-04-03 · พลเรือเอก พระ

การฝึกภาคทะเลอันแสนหฤโหด น�ามาซึ่งความประทับใจอย่างมิรู ้ลืม จากแหล่งผลิตนายทหารเรือ

หลักของกองทัพเรือแห่งนี้ ได้สอนให้รู้จักความสามัคคีและการท�างานเป็นทีม ซึ่งท�าให้เชื่อได้ว่าสิ่งเหล่านี ้

ได้รับการสั่งสมอยู ่ในทหารเรือทุกนายมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในอดีต ดังปรากฏอยู ่ในส่วนหนึ่งของ

บทเพลงพระนิพนธ์ในพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักด์ิ ว่า “...วันไหนวันดี

บานคลี่พร้อมอยู่ วันไหนร่วงโรยดอกโปรยตกพรู ทหารเรือเราจงดู ตายเป็นหมู่เพื่อชาติไทย...’’

หลงัจากส�าเรจ็การศกึษาจากโรงเรยีนนายเรอื

และเข ้ารับราชการในกองทัพเรือได้ระยะหนึ่ง

จากนั้นจึงได้สอบชิงทุนของกองทัพเรือไปศึกษาต่อ

ในระดับปริญญาโทและเอกท่ีประเทศสหรัฐอเมริกา

และประเทศแคนาดาตามล�าดับซึ่งการได้ศึกษาต่อ

ในต่างประเทศ ท�าให้ต ้องปรับตัวหลายอย่าง

ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาษา วัฒนธรรม ตลอดจน

ความกดดันในการเรียน อาจารย์ในต่างประเทศ

จะไม่กวดขันนักเรียนเหมือนในบ้านเรา หากสอบ

ไม่ผ่านก็คือ ไม่ผ่าน จึงจ�าเป็นต้องกวดขันตัวเอง

และต้องระลึกอยู ่เสมอว่า มาเรียนด้วยทุนของ

กองทัพเรือ ต้องพยายามท�าให้ส�าเร็จ เพื่อกลับมา

รับใช้กองทัพเรือและประเทศชาติต่อไป

ช่วงการท�างาน เมื่อส�าเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ

ได้มีโอกาสไปเป็นก�าลังพลรับเรือชุด เรือหลวง

ราชฤทธิ์ ณ ประเทศอิตาลี ได้เห็นความก้าวหน้า

ของเทคโนโลยี ในด ้านวิศวกรรมหลายแขนง

โดยเฉพาะด้านการต่อเรือ ท�าให้รู ้สึกว่า ตนเอง

จ�าเป ็นที่จะต ้องขวนขวายหาความรู ้ เ พ่ิมเติม

เพราะเวลาพูดคุยหรือมีการประชุมกับชาวต่างชาติ

ความรู้ท่ีได้รับมาในระดับปริญญาตรียังไม่เพียงพอ

โดยเฉพาะด้านวิศวกรรม ประกอบกับเทคโนโลย ี

ในด้านต่างๆ ทีม่คีวามก้าวหน้าไปอย่างรวดเรว็หาก

ไม่ติดตามหรือหาความรู้เพิ่มเติมก็เสมือนว่าตัวเรา

ได้ถอยหลังให้กับความก้าวหน้าเหล่านั้น แรงจูงใจ

ท่ีท�าให้มีความต้องการที่จะไปศึกษาต่อเพิ่มเติม

จึงเกิดขึ้นมาจากการไปเป็นก�าลังพลรับเรือชุดนี้

เกียรติยศจักรดาว ๒๕๕๗ ๔๑

Page 5: พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ ...aaf.rtarf.mi.th/doc/jakdow_57/2-57.pdf · 2015-04-03 · พลเรือเอก พระ

พลเรอืโทรองศาสตราจารย์พเิศษพงศ์สรรฯได้ใช้เวลาศกึษาระดบัปรญิญาโทสาขาวิศวกรรมต่อเรอื

และเครื่องกลเรือณประเทศสหรัฐอเมริกาประมาณ๒ปีจากนั้นจึงย้ายไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

ณประเทศแคนาดาอกีประมาณ๔ปีจงึได้กลบัมารบัราชการในกองทพัเรอืโดยได้รับการบรรจเุข้ารบัราชการ

ทีก่องออกแบบต่อเรอืกรมแผนการช่างกรมอูท่หารเรอืและงานแรกทีไ่ด้รบัมอบหมายคอืเป็นอนกุรรมการ

ด้านตัวเรอืในการจัดหาเรอืหลวงจกัรนีฤเบศร์เรอืล�านีน้อกจากจะเป็นเรอืทีม่ขีนาดใหญ่แล้วความสลบัซบัซ้อน

ทางด้านเทคนิคนั้นจึงยิ่งมีมากขึ้นตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การท�างานในด้านนี้จึงต้องใช้ความ

วิริยะอุตสาหะเป็นอย่างมากและต้องยอมรับว่า ถึงแม้จะเรียนมาสูง แต่ความรู้ที่มีนั้นก็ยังไม่สามารถ

ครอบคลุมเน้ือหาทั้งหมดได้ จ�าเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา โดยศึกษาหาความรู้

ด้วยตนเองบ้างได้รบัความรูจ้ากผูบ้งัคับบญัชาบ้างและจากการทีไ่ด้ท�างานไปขวนขวายหาความรูไ้ปท�าให้

ต้องนึกถึงค�ากล่าวที่เป็นจริงตลอดกาลที่ว่า“ความรู้เรียนกันไม่มีวันจบสิ้น”

งานต่อมาซึง่ได้รับมอบหมายในขณะปฏบัิติงานอยูท่ีก่รมอูท่หารเรอืคอืการสร้างเรอืพระทีน่ัง่นารายณ์

ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙ พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ พงศ์สรรฯ และผู้ร่วมงานในกรมอู่ทหารเรือ

รับผิดชอบในการออกแบบตัวเรือและการสร้างทั้งหมด ส่วนลวดลายประดับต่างๆ กรมศิลปากร

เป็นผู้รับผิดชอบ เรือล�านี้สร้างด้วยไม้แบบโบราณแตกต่างจากที่ร�า่เรียนมาต้องศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือ

และสอบถามจากผู้มีประสบการณ์ด้านการต่อเรือไม้ ซึ่งค่อนข้างหายากในปัจจุบัน ในการประกอบพิธี

วางกระดูกงูเรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชด�าเนินมาทรงประกอบพิธี และท่านได้มี

โอกาสท�าหน้าทีถ่วายค�าบรรยายด้านการต่อเรอืซึง่พระองค์ได้มพีระราชด�ารสัแนะน�าสิง่ทีเ่ป็นประโยชน์ในการ

๔๒ เกียรติยศจักรดาว ๒๕๕๗

Page 6: พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ ...aaf.rtarf.mi.th/doc/jakdow_57/2-57.pdf · 2015-04-03 · พลเรือเอก พระ

ต่อเรอืเช่นการทรงตวัของเรอื(Stability)การลามเินต

(Laminate)ไม้การหาก�าลงัของเรอื(ShipPowering)

อันแสดงถึงพระปรีชาสามารถในด้านการต่อเรือ

ที่สูงยิ่งและเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ตัวพลเรือโท

รองศาสตราจารย์พิเศษพงศ์สรรฯและกองทัพเรือ

อย่างหาที่สุดมิได้

จากนั้นกรมอู ่ทหารเรือมีงานสร ้างเรือ

อีกหลายล�า อาทิ เรือลากจูง เรือตรวจการณ์ปืน

ชุดเรือหลวงหัวหิน ซึ่งออกแบบโดยบุคลากรของ

กรมอู่ทหารเรือเอง โดยใช้เรือตรวจการณ์ปืนชุด

เรือหลวงชลบุรีมาเป็นต้นแบบ(ParentShip)และ

เรือตามโครงการพระราชด�าริ คือ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.๙๙๑ ซึ่งเป็นเรือที่พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชวินิจฉัยแนะน�าเก่ียวกับการออกแบบ การสร้างเรือตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้

พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ พงศ์สรรฯ ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบร่วมกับคณะกรรมการ

ท่ีกรมอู ่ทหารเรือแต่งตั้งขึ้น โดยได ้ใช ้ความรู ้

ทั้งที่ได้ร�า่เรียนมาและทั้งที่ศึกษาเพิ่มเติมออกแบบ

เรือให้เป็นไปตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง อย่างเต็ม

ก�าลังความสามารถ

เรือล�าสุดท้ายที่ได้ควบคุมการสร้าง คือ

เรือหลวงกระบ่ี ซ่ึงเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว เน่ืองในโอกาส

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

๗รอบ๕ธันวาคมพ.ศ.๒๕๕๔โดยทางกองทัพเรือ

ได้มอบหมายให้พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ

พงศ ์สรรฯ ไปด�ารงต�าแหน ่ง ผู ้อ�านวยการอู ่

ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู ่ทหารเรือ เพื่อ

เตรียมความพร ้อมและด�า เนินการสร ้างเรือ

เน่ืองจากเรือล�าน้ีมรีะวางขบัน�า้๑,๙๐๐ตันเป็นเรอื

ขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับเรือล�าอื่นที่กองทัพเรือ

เคยสร้างมา ต้องใช้แรงงานและส่ิงอ�านวยความ

สะดวกจ�านวนมาก การบริหารจัดการต้องเป็นไป

อย่างมีประสิทธิภาพ จ�าเป็นต้องมีความร่วมมือ

ระหว่างกองทพัเรอืและภาคเอกชนท่านควบคุมการ

สร้างเรือล�าน้ีอยู ่ประมาณ ๒ ปี เนื่องจากเป็น

การสร้างเรือขนาดใหญ่ล�าแรก ได้พบกับปัญหา

อุปสรรคมากพอสมควร จนกระทั่ งสามารถ

เกียรติยศจักรดาว ๒๕๕๗ ๔3

Page 7: พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ ...aaf.rtarf.mi.th/doc/jakdow_57/2-57.pdf · 2015-04-03 · พลเรือเอก พระ

ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน�้าได้ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารได้เสด็จพระราชด�าเนินมาทรงประกอบพิธ ี

เมือ่วนัที่๒ธนัวาคมพ.ศ.๒๕๕๔ต่อมาท่านได้รบัพระบรมราชโองการ

โปรดเกล้าฯ เป็นพลเรือโทต�าแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ

แต่ก็ยังมาช่วยราชการอยู ่ที่อู ่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชกรมอู่ทหารเรือ โดยได้ช่วยให้ค�าปรึกษาและ

ติดตามความก้าวหน้าจนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ส่วนการด�าเนินโครงการนั้นได ้

ด�าเนินต่อไปจนเสร็จสิ้น พร้อมกับได้ส่งมอบเรือหลวงกระบี่ให้แก่กองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม

พ.ศ.๒๕๕๖

เม่ือประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ได้ก่อตั้งวิทยาเขตศรีราชาขึ้น เพ่ือ

สนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั ่งทะเลด้าน

ตะวันออกและกิจการพาณิชย์นาวีของประเทศ

พร้อมกับได้ประสานมายังกองทัพเรือเพื่อขอรับ

การสนับสนุนบคุลากรผูม้ปีระสบการณ์ทีเ่กีย่วข้องกบั

กิจการพาณิชย์นาวีซึ่งทางกองทัพเรือได้มอบหมาย

ให้พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ พงศ์สรรฯ

เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการและได้ร่วมในการจัดท�า

หลกัสตูรสาขาวชิาวศิวกรรมต่อเรอืและเครือ่งกลเรอื

เพื่อสนับสนุนกิจการพาณิชย ์นาวี ต่อมาในปี

พ.ศ. ๒๕๔3 ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ขออนุญาต

กองทพัเรอืให้ท่านไปช่วยราชการท่ีมหาวทิยาลยัฯเป็นเวลา3ปีในต�าแหน่งหวัหน้าสาขาวชิาวศิวกรรมต่อเรอื

และเครื่องกลเรือ ท่านได้ช่วยมหาวิทยาลัยฯ พัฒนาและบุกเบิกงานในสาขาวิชานี้ โดยใช้ประสบการณ ์

ที่ได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศและณปัจจุบันเป็นเวลา๑3ปีที่สาขาวิชาดังกล่าวได้รับการพัฒนา

จนมีความก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับและมีผู้ที่ส�าเร็จการศึกษาประกอบอาชีพอยู่ในวงการอุตสาหกรรมการต่อ

เรือและซ่อมเรือเป็นจ�านวนมาก

๔๔ เกียรติยศจักรดาว ๒๕๕๗

Page 8: พลเรือโท รองศาสตราจารย์พิเศษ ...aaf.rtarf.mi.th/doc/jakdow_57/2-57.pdf · 2015-04-03 · พลเรือเอก พระ

ด้านงานวิจัย

มีแรงจูงใจในระหว ่างที่ด� ารงต�าแหน ่ง

ผู้อ�านวยการกองออกแบบต่อเรือ กรมแผนการช่าง

กรมอูท่หารเรอืซึง่ในขณะนัน้กองทพัเรอืมนีโยบาย

ทีจ่ะจดัหาเรอืด�าน�า้พลเรอืโทรองศาสตราจารย์พเิศษ

พงศ์สรรฯ ได้ร ่วมเป็นคณะกรรมการ และได้

มี โอกาสดูงานในหลายประเทศ และพบว ่า

ในระบบตัวเรือ (Platform) ของเรือด�าน�้าเป็น

เทคโนโลยีที่ไม่สูงนัก ในส่วนท่ียากก็คือ ระบบ

ท่ีท�าให้เรือมีความเงียบ (Silence) ระบบอาวุธ

และระบบสือ่สารประกอบกบัในต่างประเทศได้มกีารสร้างเรอืด�าน�า้ขนาดเลก็ที่มิใช่เรอืด�าน�า้ทางการทหาร

แต่เป็นเรือด�าน�้าท่ีใช้ในกิจการด้านอื่นๆ กันอย่างแพร่หลาย จากข้อมูลต่างๆ เหล่าน้ี ท�าให้พลเรือโท

รองศาสตราจารย์พิเศษ พงศ์สรรฯ คิดที่จะท�างานวิจัยสร้างยานใต้น�้าขนาดเล็ก โดยท�าร่วมกับบุคลากร

ที่มีความรู้ท้ังภายในและภายนอกกองทัพ และได้จัดตั้งทีมวิจัยข้ึนมาโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

จาก กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) และส�านักงานวิจัยเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ความยากของงานวิจัยคือการสร้างให้ตรงกับแบบที่ออกมาจากพื้นฐานการท�างานของยานใต้น�้า ท�าให ้

ต้องมีการท�างานแบบซ�้าไปซ�้ามา เนื่องจากการออกแบบต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลปัจจุบันได้มีการ

ทดสอบและพร้อมท่ีจะส่งให้หน่วยท่ีจะน�าไปใช้งานต่อไปซึง่จากผลงานชิน้นี้พลเรอืโทรองศาสตราจารย์พเิศษ

พงศ์สรรฯ ได้รับรางวัลสาขาสิ่งประดิษฐ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ จากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

ในพระบรมราชูปถัมภ์

สิง่ทีไ่ด้กล่าวมาทัง้หมดคอืความภมูใิจและเป็นประสบการณ์ประทบัใจทีพ่ลเรอืโทรองศาสตราจารย์พเิศษ

พงศ์สรรฯได้รับ หลังจากที่ได้รับการหล่อหลอมมาจากโรงเรียนเตรียมทหาร จากเด็กชายพลเรือน

มาเป็นนักการทหารและนักวิชาการในคราวเดียวกัน ขอขอบพระคุณครูอาจารย์ ผู ้บังคับบัญชาและ

ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนเพ่ือนร่วมงานทุกท่าน ท่ีสนับสนุนและให้โอกาสผมได้เจริญก้าวหน้าจนถึง

ทุกวันนี้

เกียรติยศจักรดาว ๒๕๕๗ ๔๕