ฉบับที่ 81 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 newsmonitor...

4
DSJ&PSU citizen report ฉบับที่ 81 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 NewsMonitor สรุปข่าวในรอบสัปดาห์ของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) News Monitor เป็นสื่อรายสัปดาห์ออกทุกวันจันทร์ โดยโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ที่ส่งไปยังเครือข่ายวิทยุ ชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และเครือข่ายบุคคลที่แจ้งขอรับสื่อนี้ โดยส่งทางอีเมล์เท่านั้น หากท่านใดต้องการรับจดหมายข่าวนี้ กรุณาแจ้งความประสงค์โดยส่งที่อยู่อีเมล์มาที[email protected] เพื่อจะได้จัดส่งให้ทุกสัปดาห์ Editor’s Talk งานวิจัยสันติภาพวัดความต่างทางการเมือง: ประเทศไทยและชายแดนใต้/ปาตานี เอริก เมลันเดอร์ นักวิจัยสันติภาพจากสวีเดน เปิดบรรยายสาธารณะทีโรงเรียนวิชาการเมือง ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เปิดเผยผลงานวิจัยความขัด แย้งเหลืองแดงพร้อมแนะแนวทางการวิจัยเพื่อสันติภาพในพื้นที่ปาตานี ชี้กลุ่มสุดโต่ง พร้อมที่จะสื่อสาร คนในพื้นที่ต้องลงมือทำาวิจัยด้านทัศนคติด้วยตัวเองเพราะมีความ เชื่อใจและรู้บริบทที่แท้จริง เอริค เมลันเดอร์ เคยศึกษาวิจัยปัญหาความขัดแย้งในหลาย พื้นที่ เช่น บอสเนีย เยอรมัน อาเซอร์ไบจัน เป็นต้น ครั้งนี้ได้มีโอกาสศึกษาและนำาเสนอ ประเด็นความขัดแย้งในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ในช่วงที่เกิดความขัดแย้ง ระหว่างสีเสื้อที่ผ่านมา เพื่อต้องการที่จะวิเคราะห์ความขัดแย้ง และเพื่อทำาความเข้าใจ สาเหตุของความขัดแย้ง เพื่อสร้างการตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคม งานวัจัยนี้เป็นการ ศึกษาเชิงสำารวจความคิดเห็นของคนเกี ่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นใน ช่วงเวลานั้น www.deepsouthwatch.org/dsj/6786 กลุ่มด้วยใจเรียกร้องฝ่ายความมั่นคงร่วมปกป้องประชาชนจากเหตุระเบิด กลุ่มด้วยใจพร้อมกับมูลนิธิเอเชีย(The Asia Foundation) จัดโครงการ ตระหนักถึงผลกระทบจากระเบิดในพื้นที่ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ประเทศไทย เพื่อกำาหนดแนวทางการป้องกันความรุนแรงต่อประชาชนใน ด้านโมษ กกอ.รมน.ภาค 4 สน. ย้ำาองค์กรภาคประชาสังคมมีความสำาคัญต่อการแก้ปัญหาความ รุนแรงในพื้นที่ มีความใกล้ชิดกับประชาชนและสามารถเชื่อมโยงกับรัฐได้ - www.deepsouthwatch.org/dsj/6774 การเดินทางมาเยือนปาตานีของ ดร.เอ ริก เมลันเดอร์ เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีนัยสำาคัญเมื่ออาจารย์เอริกได้เปิดการบรรยาย สาธารณะให้กับเครือข่าวประชาสังคมปาตานีทีเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการวิจัย สันติภาพทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ อาจารย์เอริกได้บอกว่าการวิจัยสันติภาพ จะเป็นเครื่องมือสำาคัญในกระบวนการแก้ไขความ ขัดแย้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเชิงปริมาณที่มี คุณภาพและสามารถเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้นั้นจะ เป็นเครื่องมอในการอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ได้ เป็นอย่างดี ทั้งผู้ที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการวิจัย สันติภาพคือคนในพื้นที่ความขัดแย้งนั่นเอง ในอีกด้านหนึ่งความเคลื่อนไหวของภาค ประชาสังคมเองโดยเฉพาะการเปิดเวทีที่เกี่ยวเนื่อง กับสิทธิมนุษยชน การเปิดพื้นที่ทางการเมืองทีแม้ว่าบรรยากาศทางการเมืองที่เหมือนฟ้าปิด แตยังคงมีการขับเคลื่อนกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอันนี้เอง ที่เป็นพันธกิจของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ที่จะ ต้องเกาะติดและนำาเสนออย่างต่อเนื่องต่อไป สะรอนี ดือเระ บรรณาธิการ

Upload: others

Post on 04-Feb-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ฉบับที่ 81 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 NewsMonitor DSJ&PSU ... · DSJ&PSU citizen report ฉบับที่ 81 วันที่ 2 กุมภาพันธ์

DSJ&PSU citizen report

ฉบับที่ 81 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558

NewsMonitorสรุปข่าวในรอบสัปดาห์ของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)

News Monitor เป็นสื่อรายสัปดาห์ออกทุกวันจันทร์ โดยโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ที่ส่งไปยังเครือข่ายวิทยุ

ชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และเครือข่ายบุคคลที่แจ้งขอรับสื่อนี้ โดยส่งทางอีเมล์เท่านั้น

หากท่านใดต้องการรับจดหมายข่าวนี้ กรุณาแจ้งความประสงค์โดยส่งที่อยู่อีเมล์มาที่ [email protected] เพื่อจะได้จัดส่งให้ทุกสัปดาห์

Editor’s Talk

งานวิจัยสันติภาพวัดความต่างทางการเมือง: ประเทศไทยและชายแดนใต้/ปาตานี เอริก เมลันเดอร์ นักวิจัยสันติภาพจากสวีเดน เปิดบรรยายสาธารณะที่

โรงเรียนวิชาการเมือง ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เปิดเผยผลงานวิจัยความขัด

แย้งเหลืองแดงพร้อมแนะแนวทางการวิจัยเพื่อสันติภาพในพื้นที่ปาตานี ชี้กลุ่มสุดโต่ง

พร้อมที่จะสื่อสาร คนในพื้นที่ต้องลงมือทำาวิจัยด้านทัศนคติด้วยตัวเองเพราะมีความ

เชื่อใจและรู้บริบทที่แท้จริง เอริค เมลันเดอร์ เคยศึกษาวิจัยปัญหาความขัดแย้งในหลาย

พื้นที่ เช่น บอสเนีย เยอรมัน อาเซอร์ไบจัน เป็นต้น ครั้งนี้ได้มีโอกาสศึกษาและนำาเสนอ

ประเด็นความขัดแย้งในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ในช่วงที่เกิดความขัดแย้ง

ระหว่างสีเสื้อที่ผ่านมา เพื่อต้องการที่จะวิเคราะห์ความขัดแย้ง และเพื่อทำาความเข้าใจ

สาเหตุของความขัดแย้ง เพื่อสร้างการตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคม งานวัจัยนี้เป็นการ

ศึกษาเชิงสำารวจความคิดเห็นของคนเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นใน

ช่วงเวลานั้น www.deepsouthwatch.org/dsj/6786

กลุ่มด้วยใจเรียกร้องฝ่ายความมั่นคงร่วมปกป้องประชาชนจากเหตุระเบิด

กลุ่มด้วยใจพร้อมกับมูลนิธิเอเชีย(The Asia Foundation) จัดโครงการ

ตระหนักถึงผลกระทบจากระเบิดในพื้นที่ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ :

ประเทศไทย เพื่อกำาหนดแนวทางการป้องกันความรุนแรงต่อประชาชนใน ด้านโมษ

กกอ.รมน.ภาค 4 สน. ย้ำาองค์กรภาคประชาสังคมมีความสำาคัญต่อการแก้ปัญหาความ

รุนแรงในพื้นที่ มีความใกล้ชิดกับประชาชนและสามารถเชื่อมโยงกับรัฐได้

- www.deepsouthwatch.org/dsj/6774

การเดินทางมาเยือนปาตานีของ ดร.เอ

ริก เมลันเดอร์ เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา

มีนัยสำาคัญเมื่ออาจารย์เอริกได้เปิดการบรรยาย

สาธารณะให้กับเครือข่าวประชาสังคมปาตานีท่ี

เป็นการแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการวิจัย

สันติภาพทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ

อาจารย์เอริกได้บอกว่าการวิจัยสันติภาพ

จะเป็นเครื่องมือสำาคัญในกระบวนการแก้ไขความ

ขัดแย้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเชิงปริมาณท่ีมี

คุณภาพและสามารถเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้นั้นจะ

เป็นเครื่องมอในการอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ได้

เป็นอย่างดี ทั้งผู้ที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการวิจัย

สันติภาพคือคนในพื้นที่ความขัดแย้งนั่นเอง

ในอีกด้านหนึ่งความเคลื่อนไหวของภาค

ประชาสังคมเองโดยเฉพาะการเปิดเวทีที่เกี่ยวเนื่อง

กับสิทธิมนุษยชน การเปิดพื้นที่ทางการเมืองที่

แม้ว่าบรรยากาศทางการเมืองที่เหมือนฟ้าปิด แต่

ยังคงมีการขับเคลื่อนกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอันนี้เอง

ที่เป็นพันธกิจของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ท่ีจะ

ต้องเกาะติดและนำาเสนออย่างต่อเนื่องต่อไป

สะรอนี ดือเระ

บรรณาธิการ

Page 2: ฉบับที่ 81 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 NewsMonitor DSJ&PSU ... · DSJ&PSU citizen report ฉบับที่ 81 วันที่ 2 กุมภาพันธ์

NewsMonitorBlog Review

ยกฟ้อง 2 อดีตทหารพราน สะเทือนถึงการพูดคุยสันติสุข http://deepsouthwatch.org/node/6784by Nasib PATANI ตูแวดานียา ตูแวแมแง ได้เขียนบทความกรณีศาลได้ยกฟ้องทหารพรานสองนาย จากเหตุการณ์ยิงเด็กสามคนตระกูลมะมันเสียชีวิต ที่บ้านบลูกาแปเราะ อ.บาเจาะจ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 ทั้งนี้จำาเลยได้อ้างว่าตนรับสารภาพเบื้องต้นเพราะถูกซ้อมทรมาน ซึ่งตูแวมองว่าหากแค่กรณีน้ีเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเอาผิดผู้กระทำาคร้ังน้ีได้การพูดคุยสันติสุขของเจ้าหน้าที่ก็ไร้ความหวัง และเขามองว่าการพูดคุยสันติสุขมีเป้าหมายเพื่อให้ขบวนการแตกแยกมากกว่าพูดคุยเพ่ือบรรลุข้อเรียกร้องของกลุ่มต่อสู้ปาตานี ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ความรุนแรงก็คงจะยุติยากา และการโหมการสร้างสันติภาพต้องใช้เวลาอีกนาน จนกว่าฝ่ายขบวนการจะถูกปราบปราม และข้อสรุปของตูแวดานียา มองว่าการที่คดีนี้ถูกยกฟ้อง อาจกระทบกับการพูดคุยสันติภาพในอนาคต

มุมมองของประชาชนชายแดนใต้ในเส้นทางของ กระบวนการสันติภาพ http://deepsouthwatch.org/node/6778by ResearchReview สุวรา แก้วนุ้ย อาจารย์นักวิจัยสถานวิจัยความจัดแย้งและความลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มอ. ปัตตานี สรุปงานวิจัย มุมมองของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในต่อการพูดคุยสันติภาพเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมาซึ่งภาพรวมน้ันประชาชนสองในสามให้ความเชื่อมั่นต่อการพูดคุยสันติภาพ และได้วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการพูดคุยสันติภาพว่า แม้ว่าเบื้องต้นการพูดคุยสันติภาพจะได้รับการยอมรับ แต่ประสบการณ์ที่อื่นหากสถานการณ์หลังพูดคุยล้มเหลว การสนับสนุนก็อาจลงตามไปด้วย ซึ่งต้องอาศัยการผ่อนปรนและการประนีประนอมจากทั้งสองฝ่าย สถานการณ์หลังจากพูดคุย และความคาดหวังของทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกัน รัฐบาลต้องการยุติความรุนแรง เชิงลบ ขณะที่ขบวนการต้องการยุติความรุนแรงเชิงบวก ต้องการความยุติธรรม ซึ่งปัญหาเหล่านี้สุวรามองว่า ต้องเปิดพื้นที่การพูดคุยทุกระดับให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการพูดคุย และสร้างบรรยากาศของกระบวนการสันติภาพอย่างแท้จริง

PNYS แจง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้หายไปไหน จัดงานระดมพลช่วยเหลือเด็กกำาพร้าปีที่ 2

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2558 คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อเด็ก

กำาพร้า PNYS จัดงานระดมทุน สานฝันปันรอยยิ้มสู่เด็กกำาพร้า PNYS ครั้งที่ 2 ณ

สนามกีฬากลางจังหวัดปัตตานี โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีเป็น

ผู้กล่าวเปิดงาน และมีสมาชิกกลุ่ม PNYS ตั้งแต่รุ่นก่อตั้งและบุคคลทั่วไปเข้าร่วม

งานมากกว่า 1,200 คน ภายในงานมีการเลี้ยงอาหารผู้เข้าร่วม และเปิดโอกาสให้

ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนรวมไปถึงซักถามสารทุกข์สุขดิบกันไปมา นอกจากนั้นยัง

มีคาราวานรถบิ๊กไบต์เข้าร่วมบริจาคในงานครั้งนี้ด้วย และไฮต์ไลท์ของงานอยู่ที่การ

แข่งขันฟุตบอลซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ทีม คือ PNYS ปัตตานี ยะลา นราฯ A และ นราฯ

B แบ่งการแข่งขันออกเป็นสองรอบ คือรองรอบชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศ

www.deepsouthwatch.org/dsj/6771

“Jaris”เครือข่ายสภานักเรียนปาตานีกับบทบาทสร้างพื้นที่กลางเพื่อสร้างสรรค์สันติภาพ

เครือข่ายสภานักเรียนปาตานี เป็นหนึ่งองค์กรภาคประชาสังคมที่ก่อตั้ง

ขึ้นมาทำาหน้าที่เป็นพื้นที่กลางแก่คณะกรรมการสภานักเรียนของโรงเรียนต่างๆ ใน

พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ร่วม

ถึงเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาต่างในปาตานี เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาสังคม

เป็นต้น โดยคณะทำางานเป็นการร่วมตัวของนักศึกษาใน จ.ยะลา

www.deepsouthwatch.org/dsj/6770

ธนภาษ เดชภาวุฒิกุล : ชี้จุดพลิกผันการเขียน “ประวัติศาสตร์นิพนธ์สยาม-ปาตานี”

เก็บตกบทความวิชาการในงาน40 ปีคณะมนุษยฯ ม.อ.ปัตตานี “ธนภาษ

เดชภาวุฒิกุล” อาจารย์หลักสูตรอาเซียนศึกษา ม.วลัยลักษณ์ ชี้เหตุการณ์กรือเซะ

เป็นจุดพลิกผันของการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับชายแดนใต้ ในการนำา

เสนอบทความทางวิชาการเรื่อง “หนึ่งทศวรรษของการเขียนประวัติศาสตร์ความ

สัมพันธ์สยาม-ปาตานี” เหตุการณ์โจมตีที่ทำาการของรัฐ ซึ่งลงเอยด้วยการปะทะ

ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายผู้ต่อต้านชาวมลายูที่มัสยิดกรือเซะ เป็นจุดเปลี่ยน

สำาคัญของการพลิกประวัติศาสตร์นิพนธ์ปาตานี 2 ประการ ประการแรก คือการ

จัดพิมพ์ประวัติศาสตร์ปาตานีในเวอร์ชั่นแบบชาตินิยมปาตานี หรือกล่าวอย่างง่าย

ว่า มีความพยายามศึกษาประวัติศาสตร์ปาตานีในแบบฉบับของประวัติศาสตร์

ท้องถิ่นเสียมาก ประการถัดมา คือ เหตุการณ์กรือเซะได้กระตุ้นให้นักวิชาการ

ประวัติศาสตร์ชาวไทยหันกลับมาสำารวจและแสวงหาแนวทางใหม่ในการทำาความ

เข้าใจประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสยาม-ปาตานีอีกครั้ง

www.deepsouthwatch.org/dsj/6765

ชาวบ้านเครือข่ายที่ดินเทือกเขาบูโดตัดโค่นต้นยางพารานำาร่องเพื่อปลูกทดแทน

ชาวบ้านเครือข่ายแก้ปัญหาท่ีดินทำากินและท่ีอยู่อาศัยเทือกเขาบูโดรวม

พลโค่นต้นยางนำาร่องตามความเห็นชอบมติครม.แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินใน

พื้นที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี โดยภาครัฐยืนยันชาวบ้านมีสิทธิในพื้นที่ทำากิน

ของตนตามที่มีเอกสารสิทธ์ทุกประการ

www.deepsouthwatch.org/dsj/6763

Page 3: ฉบับที่ 81 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 NewsMonitor DSJ&PSU ... · DSJ&PSU citizen report ฉบับที่ 81 วันที่ 2 กุมภาพันธ์

http://www.prachatai.comสรุปข่าวประจำาสัปดาห์ สำานักข่าวประชาไท

สรุปข่าวประจำาสัปดาห์ ศูนย์ข่าวภาคใต้ สำานักข่าวอิศราhttp://www.isranews.org/south-news.html

NewsMonitor NewsMonitorครอบครัวยินดี หลังอียิปต์ยอมปล่อยหนึ่งในนักข่าว ‘อัลจาซีรา’ กลับประเทศ

ปีเตอร์ เกรสต์ 1 ใน 3 นักข่าวอัลจาซีราที่ถูกศาลอียิปต์ตัดสินจำาคุกข้อหารายงานข่าวเท็จ-ให้การช่วยเหลือกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ได้รับ

การปล่อยตัวกลับประเทศบ้านเกิดออสเตรเลียท่ามกลางความยินดีของครอบครัว แต่ปีเตอร์ก็ประกาศเจตนารมณ์ว่าจะสู้ต่อไปเพื่อให้เพื่อนร่วมงาน

ที่เหลือได้รับการปล่อยตัว 2 ก.พ. 2558 ปีเตอร์ เกรสต์ ผู้สื่อข่าวชาวออสเตรเลียที่เคยถูกศาลอียิปต์ตัดสินลงโทษจำาคุก 7 ปี ได้รับการปล่อยตัวแล้ว

หลังจากอยู่ในคุกมานาน 13 เดือน โดยมีการส่งตัวกลับประเทศออสเตรเลียตามกฤษฎีกาที่ออกโดยประธานาธิบดีอียิปต์เมื่อไม่นานมานี้

http://www.prachatai.com/journal/2015/02/57718

ของขวัญจาก คสช. : 7 เดือน น้ำามันโลกลด 56% น้ำามันไทยลด 33%

“การปรับลดราคาน้ำามันครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน รวมยอดตั้งแต่ คสช.เข้ามาทำาหน้าที่แล้ว เราลดราคาน้ำามันไปเกือบ

10 บาท” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, 15 ธ.ค. 57 นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็น

ประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) คำากล่าวของนายกฯ ข้างต้นทำาให้ดูเหมือนว่าการที่ราคาน้ำามันลดเป็นผลงาน

และของขวัญจาก คสช. แต่หากย้อนกลับไปดูตลอด 7 เดือนที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน ราคาน้ำามันดิบโลกลดลงประมาณ 56.47% ขณะที่ราคา

น้ำามันในไทยลดลงประมาณ 33-34% เท่านั้น http://www.prachatai.com/journal/2015/02/57717

‘พลเมืองโต้กลับ’ ปล่อยคลิปหีบบัตร ‘วัตถุอันตราย เก็บให้ห่างไกลประชาชน’ 1ปีเลือกตั้ง 2 ก.พ.

2 ก.พ.2558 ในโอกาสครบ 1 ปี การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'พลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen' ได้เผยแพร่คลิป

วัตถุอันตราย !!! เก็บให้ห่างไกลประชาชน ซึ่งประกอบด้วย นักศึกษา อาจารย์ นักกิจกรรมทางสังคม ญาติผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามทางการ

เมือง ตลอดจนผู้ที่รักในเสรีภาพ และประชาธิปไตย ที่ได้รวมกันด้วยวัตถุประสงค์เพื่อ ทำาลายบรรยากาศแห่งความกลัว ที่คณะรัฐประหารได้สร้าง

ขึ้น http://www.prachatai.com/journal/2015/02/57707

"อักษรา"แย้มเริ่มเช็คชื่อกลุ่มผู้เห็นต่างฯ

พล.อ.อักษรา เกิดผล ในฐานะหัวหน้าคณะขับเคลื่อนพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ากระบวนการ

พูดคุยที่ตั้งความหวังกันว่าจะช่วยยุติความขัดแย้งและความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.อ.อักษรา กล่าวว่า การพูดคุยไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่

ผ่านมาก็มีคนไปพูดคุยกันอยู่แล้ว ทั้่งภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคเอกชน การทำางานของตนจำาเป็นต้องทบทวนวรรณกรรม รวบรวมข้อมูลจากคน

ทำางานนี้มาก่อนทั้งหมด เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงมากที่สุด แล้วจึงกำาหนดแนวทางในการดำาเนินการต่อไป

ดึงทุกองค์กรร่วมทีมกุนซือพูดคุยไฟใต้ ปิดช่อง "ถกลับ" ไม่ผ่าน "โต๊ะใหญ่"

แง้มผลประชุมคณะกรรมการระดับชาติพูดคุยดับไฟใต้ วางตัวบุคคลเป็นคณะพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่าง "ชาญเชาวน์-กิตติ-นักรบ" นั่งแท่น

นายกฯสั่งดึงนักวิชาการ-ภาคประชาสังคม-องค์กรเสียงดังร่วมทีมที่ปรึกษา ปิดช่องดอดถกลับโดยพลการ หวั่นกระทบโต๊ะใหญ่ แหล่งข่าวจาก

ทำาเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการอำานวยการฯดังกล่าว ที่ประชุมได้อนุมัติแผนใหญ่สำาหรับเดินหน้ากระบวนการพูดคุยสันติสุข

ซึ่งเป็นแผนระยะยาว สามารถส่งต่อไปยังรัฐบาลชุดต่อไปได้ด้วย

ใต้ระอุ"ยิงตร."ระดับรองสวป. ปิดล้อมวิสามัญฯผู้ต้องหาบอมบ์เบตง

ตำารวจระดับ รองสวป.พลีชีพหลังถูกคนร้ายซุ่มยิงขณะออกลาดตระเวนจรยุทธ์ที่หนองจิก ปัตตานี ลูกน้องบาดเจ็บอีก 3 นาย บึ้มชุดรปภ.

ครูซ้ำาที่เจาะไอร้อง ปิดล้อมตรวจค้นที่กาบัง วิสามัญฯผู้ต้องหาคาร์บอมบ์เบตง คนส่งขนมเหยื่อกระสุนรือเสาะดับเพิ่มอีก 2

3 ปัจจัยถ่วงพูดคุยดับไฟใต้...จับตาถกลับ - มาเลย์เดินสาร

หลายคนสงสัยว่าเหตุใดกระบวนการพูดคุยดับไฟใต้ หรือที่รัฐบาลชุดนี้ให้เรียกชื่อว่า "พูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้" นั้น จึงไม่ค่อย

ปรากฏความคืบหน้าเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่รัฐบาลชุดที่แล้ว (พรรคเพื่อไทย) ก็ได้กรุยทางเอาไว้พอสมควร

Page 4: ฉบับที่ 81 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 NewsMonitor DSJ&PSU ... · DSJ&PSU citizen report ฉบับที่ 81 วันที่ 2 กุมภาพันธ์

กำาหนดการ กิจกรรมความเคลื่อนไหวในรอบสัปดาห์

NewsMonitor

ท่านสามารถติดตามข่าวสารที่เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพได้ทาง Facebook ที่Patani Peace Process Monitoring news https://www.facebook.com/PatTaniPeaceProcessMonitoring

South reports https://www.facebook.com/southreport?fref=ts