รองปก - rajamangala university of technology...

50

Upload: others

Post on 21-Jan-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น
Page 2: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

รองปก

Page 3: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น
Page 4: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

กระดาษไขด้านหลัง

Page 5: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิศวกรรมโยธา)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

Page 6: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

เอกองค์จอมจักรเจ้า ภูบดินทร์กำลังแห่งภพธรณินทร์ แน่แท้“พระภูมิพลฯ”พสกถวิล ฑีฆายุ-โกเฮยตลอดชีพมั่นมุ่งแก้ ปลาดพ้นผองภัย พระทัยใฝ่คิดค้น โครงการมากมายหลายสายงาน หลากล้วนเกษตรชลประทาน กอปรกิจวิศวกรรมครบถ้วน ประโยชน์ล้ำเหล่าชน จรดลทั่วภาคพื้น ไผทไทยลำบากกลางพงไพร รกเรื้อมนัสแน่วนิรภัย ทวยราษฎร์ดุจบิดรอุ้มโอบเอื้อ เลื่องล้ำเลอคุณ เป็นบุญร่มฉัตรป้อง เกศีแต่ปฐมวงศ์จักรี ก่อตั้งปรัตยุบันบารมี ปกปักยืนยั่งยาวอยู่ยั้ง หย่อมเหย้ายงเย็น สิริบูรณ์เพ็ญเพียบพร้อม ศุภสมัยคณาจารย์“ศรีวิชัย” ประกาศก้อง“วิศวกรรมโยธา”ทรงใฝ่ ชาญเชี่ยวสมรรถนะชนแซ่ซ้อง ประจักษ์แจ้งผลงาน ขอกรานกราบเทพไท้ ทั่วสกลโปรดพิทักษ์พระภูวดล มุ่งเน้นไตรรัตน์สรรพมงคล สยบเภท-ภัพเทอญเคียงคู่ฉัตรมิว่างเว้น จากนี้นิรัติศัย

อาเศียรวาทราชสดุดี

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยนางประภาภรณ์วัฒนเจริญร้อยกรอง

Page 7: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น
Page 8: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น
Page 9: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

คำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

Page 10: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น
Page 11: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

คำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย

ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิศวกรรมโยธา)

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันที่๙มิถุนายน

พ.ศ.๒๔๘๙ตลอดระยะเวลากว่า๖๐ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์

ที่ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรมทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้วยพระราชหฤทัยมุ่งมั่นในฐานะพระประมุขของประเทศ

ทรงเสียสละและทรงทุ่มเทพระวรกายเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรทุกหนแห่งทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

ไม่ว่าสถานที่นั้นจะทุรกันดารยากลำบากและห่างไกลเส้นทางคมนาคมเพียงใดเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในโลก

ที่ทรงอุทิศเวลาและทรงตรากตรำพระวรกายด้วยการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใหญ่หลวง

ต่อประเทศชาติและประชาชนเป็นอเนกอนันต์น้ำพระราชหฤทัยได้โปรยปรายสู่ประชาชนทุกหย่อมหญ้าเป็นที่ประจักษ์

แก่สายตาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาโดยตลอด

ในการแก้ไขปัญหาและขจัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรให้กลับกลายเป็นความอยู่ดีมีสุขนั้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นไม่ว่าราษฎรเหล่านั้นจะมีเชื้อชาติศาสนาหรืออาชีพใดได้พระราชทาน

พระราชดำริเป็นแนวทางในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรของพระองค์ให้เกิด

ความพออยู่พอกินและสามารถพึ่งตนเองได้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้กำเนิดขึ้นตามแนวพระราชดำริ

มากกว่า๓,๐๐๐โครงการทั้งในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำการพัฒนาการเกษตรและส่งเสริมอาชีพการพัฒนาทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตรวมทั้งมีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริขึ้นในภูมิภาคต่างๆของประเทศจำนวน๖แห่งเพื่อเป็นสถานที่ศึกษาทดลองเพื่อหาตัวต้นแบบแห่งความ

สำเร็จของการพัฒนาด้านต่างๆและนำไปสาธิตขยายผลเพื่อให้เกษตรกรและประชาชนนำไปเป็นแบบอย่างในการ

ประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอันเป็นการยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาพสกนิกรทั้งหลายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาโดยตลอดว่าในการแก้ไขปัญหา

และขจัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรให้กลับกลายเป็นความอยู่ดีมีสุขนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมี

ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่งในงานด้านวิศวกรรมโยธาได้ทรงใช้ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมโยธาในการแก้ปัญหาให้กับ

ประเทศและประชาชนให้พ้นจากความทุกข์ยากแร้นแค้นพระองค์ทรงพระปรีชาชาญทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่น

ด้านการสำรวจด้านการชลประทานด้านการปรับปรุงคุณภาพดินด้านสิ่งแวดล้อมด้านการคมนาคมและการขนส่ง

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุรีพระบาท

Page 12: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักสำรวจและทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้แผนที่ในการเสด็จ

พระราชดำเนินไปในภูมิภาคต่างๆในประเทศพระองค์จะทรงนำแผนที่ไปด้วยทุกครั้งดังปรากฏเป็นภาพที่คุ้นแก่สายตา

ของผู้ประสบพบเห็นจากหน้าหนังสือพิมพ์โทรทัศน์หรือในโอกาสที่ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทได้ทรงจัดเตรียม

และตัดต่อแผนที่ดังกล่าวด้วยพระองค์เองและทรงศึกษาภูมิประเทศจากแผนที่อย่างละเอียดเพื่อประกอบการวางแผน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านต่างๆเช่นการพัฒนาแหล่งน้ำการชลประทานการพัฒนาการเกษตร

การป้องกันน้ำท่วมเป็นต้นนอกจากจะทรงใช้แผนที่แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังสนพระราชหฤทัยและใช้

ประโยชน์จากภาพถ่ายทางอากาศแผนที่พยากรณ์อากาศภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและดาวเทียมอุตุนิยม

วิทยาทรงเชี่ยวชาญในการแปลความหมายของภาพถ่ายทางอากาศได้ทรงใช้ข้อมูลเหล่านี้ประกอบการใช้แผนที่อยู่เนืองๆ

นอกจากนี้ยังทรงสามารถใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาในการคาดคะเนแนวเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่นและพายุโซนร้อน

ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทานนับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่ง

สำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปีในปัจจุบันพื้นที่

การเพาะปลูกส่วนใหญ่ทุกภาคของประเทศเป็นพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทานซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจาก

แหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลักทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการอีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตก

ไม่พอเหมาะกับความต้องการเป็นผลให้ได้รับผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญ

เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำอันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอื่นๆด้วยทรงให้ความสำคัญ

ในลักษณะที่ว่า“น้ำคือชีวิต”

ในช่วงระยะเวลาเกือบ๓๐ปีที่ผ่านมาการเพิ่มผลผลิตและรายได้ของประเทศมาจากการขยายพื้นที่การเพาะปลูก

มากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่จนถึงขณะนี้ประมาณได้ว่าพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมได้ใช้ไป

จนเกือบหมดและพยายามหาพื้นที่ชดเชยด้วยการอพยพโยกย้ายเข้าไปอยู่กระจัดกระจายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายเพิ่มจำนวนมากขึ้นเพราะการใช้ที่ดินกันอย่างขาดความระมัดระวังและไม่มีการบำรุงรักษาจึงทำให้

ดินเกิดความเสื่อมโทรมปัญหาเหล่านี้หากไม่รีบแก้ไขย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมากสำหรับ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นได้ทรงคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดปรับปรุง

ทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังเช่นโครงการ“แกล้งดิน”เพื่อการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว

และการศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างและพังทลายของดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นไว้ในดิน

เพราะขั้นตอนการดำเนินงานเป็นวิธีการแบบง่ายๆประหยัดและที่สำคัญคือเกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้

โดยไม่ต้องให้การดูแลภายหลังการปลูกมากนัก

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญมักจะเกิดควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญก้าวหน้า

ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศกล่าวคือการพัฒนายิ่งรุดหน้าปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและภาวะมลพิษก็ยิ่งก่อตัว

และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในขณะนี้ทั้งนี้เพราะการ

พัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๙๘

Page 13: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

มาใช้ประโยชน์แต่ไม่ได้มีการวางแผนการจัดการที่เหมาะสมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ

ที่เหลืออยู่มีสภาพเสื่อมโทรมลงและปัญหาต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมก็เพิ่มขึ้นปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่

ของประชาชนและระบบนิเวศจึงทรงให้มีการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวิธีการ

ที่จะทำนุบำรุงและปรับปรุงสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นโดยการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น

ทรงเน้นงานการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายโครงการจะเกี่ยวกับการก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางคมนาคม

ถนนหนทางเป็นหลักทั้งถนนในเมืองเช่นกรุงเทพมหานครถนนเชื่อมต่อจากเมืองไปสู่ชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ

เพื่อสัญจรไปมาและนำสินค้าออกมาจำหน่ายภายนอกได้โดยสะดวกด้วยพระอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์ของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ๆ

ในหลายพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายโครงการทำให้การจราจรลดการแออัดคับคั่งและคล่องตัวขึ้น

อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันภายในประเทศและลดปัญหามลภาวะในอากาศได้ระดับหนึ่งซึ่งนับเป็น

พระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย

ด้วยพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญปฏิบัติดังกล่าวมาเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงพระปรีชาสามารถในด้านวิศวกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิศวกรรมโยธาสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลศรีวิชัยในวาระการประชุมครั้งที่๖/๒๕๕๒เมื่อวันที่๒๖มิถุนายนพ.ศ.๒๕๕๒จึงมีมติเป็นเอกฉันท์

ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์(วิศวกรรมโยธา)

แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณให้ปรากฏในวงการวิชาการและเป็นสิริมงคลแก่

คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสืบไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๙๘

Page 14: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น
Page 15: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

พระราชกรณียกิจ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านวิศวกรรมโยธาเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาพสกนิกรทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาโดยตลอดว่าในการแก้ไขปัญหาและขจัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรให้กลับกลายเป็นความอยู่ดีมีสุขนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่งในทางด้านวิศวกรรมโยธาทรงใช้ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมโยธาในการแก้ปัญหาของประเทศและทำให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดีพระองค์ทรงพระปรีชาชาญทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นด้านการสำรวจด้านการชลประทานด้านการปรับปรุงคุณภาพดินด้านสิ่งแวดล้อม

และด้านการคมนาคมและการขนส่ง

ด้วยตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณและพระราชกรณียกิจทางด้านวิศวกรรมโยธาสถาบันวิศวกรโยธาแห่งสหราชอาณาจักร(InstitutionofCivilEngineers:ICE)ซึ่งเป็นสถาบันทางวิศวกรรมศาสตร์แห่งแรกของโลกก่อตั้งเมื่อค.ศ.๑๘๒๓(พ.ศ.๒๔๗๑)ได้มีการประชุมเมื่อวันอังคารที่๑๒กันยายนพ.ศ.๒๕๔๓มีมติเป็นเอกฉันท์ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย“สมาชิกภาพวุฒิวิศวกรกิตติมศักดิ์” (HonoraryFellowship)ของสถาบันวิศวกรโยธาแห่งสหราชอาณาจักรอันเป็นสมาชิกลำดับสูงสุดของสถาบันแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณให้ปรากฏไม่เพียงเฉพาะต่อปวงชนชาวไทยในประเทศเท่านั้นแต่ยังประจักษ์ชัดต่อชาวโลกอีกด้วย

พระอัจฉริยภาพด้านการช่างหรือด้านวิศวกรรมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ปรากฏให้บุคคลรอบข้างได้ประจักษ์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดงานช่างวิศวกรรมตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ซึ่งได้ออกอากาศทางสถานีวิทยุจุฬาฯ

เมื่อเดือนธันวาคมพ.ศ.๒๕๒๙ความตอนหนึ่งว่า

“...ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนเด็กๆ นั้น ท่านมีความสนพระทัยในงานช่างมาก สมัยที่ท่านอยู่ประถมต้นที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น เขามีวิธีการสอนเด็ก ยกตัวอย่างเช่น การวาดรูปภาพให้เข้าใจเรื่องเส้นเรื่องฟอร์มของรูปนั้นมีแบบฝึกหัดอยู่อันหนึ่ง ครูจะวาดรูปทรงกลม ทรงรี หรือรูปต่างๆ บนกระดาษแล้วลบทิ้ง แล้วให้เด็กจำแล้ววาดตามเริ่มจากง่ายแล้วยากขึ้นๆ ทุกที เวลายากๆ ท่านบอกว่าบางทีเพื่อนทั้งชั้นทำไม่ได้ แต่ท่านทำได้ เพราะมีนิสัยทางด้านนี้...”

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารียังทรงเล่าด้วยว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเยาว์มีพระราชประสงค์จะได้วิทยุต้องทรงร่วมทุนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเพื่อซื้อชิ้นส่วนวิทยุมาทรงประกอบวิทยุขึ้นใช้เองและขณะที่มีพระชนมพรรษาเพียง๑๐พรรษาบางครั้งทรงมีเงินที่เก็บสะสมไว้ไม่พอที่จะซื้อของที่มีพระราชประสงค์ก็ทรงใช้พระปรีชาสามารถทางการช่างซ่อมจักรเย็บผ้าให้พระพี่เลี้ยงและทรงได้รับเงินค่าซ่อมจักรมาใช้ตามพระราชประสงค์

บทพระราชทานสัมภาษณ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเกี่ยวกับพระกรณียกิจทางด้านวิศวกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวออกอากาศทางสถาวิทยุจุฬาฯเมื่อเดือนธันวาคมพ.ศ.2529

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๑๑

Page 16: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้ทรงพระนิพนธ์เล่าว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเยาว์โปรดการเล่นด้านช่างเช่นปั้นดินทำเป็นเขื่อนกักน้ำ

“...ทางด้านการช่างต่างๆ จะเป็นด้านช่างกล ช่างไฟฟ้าหรือช่างวิทยุ ก็มีความเข้าใจตั้งแต่เล็ก ๆ...”

จากหนังสือเจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์โดยสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ความสนพระราชหฤทัยใน“การช่าง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีมาอย่างต่อเนื่องนับแต่ทรงพระเยาว์ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชทรงเลือกศึกษาระดับอุดมศึกษาในแขนงวิชาที่โปรดคือวิทยาศาสตร์สาขาวิศวกรรมศาสตร์ครั้นถึงพ.ศ.๒๔๘๙สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เสด็จสวรรคตโดยกะทันหันรัฐสภาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชขึ้นทรงครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่๙แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ขณะมีพระชนมพรรษา๑๙พรรษาเมื่อเสด็จดำรงสิริราชสมบัติแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปลี่ยนแปลงแขนงวิชาที่กำลังทรงศึกษาจากวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงโปรดไปทรงศึกษาวิชากฎหมายและรัฐศาสตร์เพื่อให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่การปกครองประเทศในอนาคตแต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็มิได้ทรงละทิ้งความสนพระราชหฤทัยในด้านการช่างวิศวกรรมศาสตร์

เมื่อยังทรงพระเยาว์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในงานช่างมากเช่นการวาดรูปที่เกี่ยวกับเรื่องเส้นเรื่องฟอร์มของรูปแบบต่างๆทรงกลมทรงรีและรูปอื่นๆซึ่งเป็นพื้นฐานของงานวิศวกรรมแผนที่ที่ใช้ถ่ายทอดหรือ

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๑๓๑๒

Page 17: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

นำเสนองานวิศวกรรมทั่วๆไปสนพระทัยช่างโลหะช่างกลและช่างวิทยุซึ่งเป็นพื้นฐานทางทักษะวิสัยในงานวิศวกรรม

อาทิวิศวกรรมทางเรือวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมไฟฟ้าตามลำดับส่วนความสนพระทัยในงานภูมิประเทศ

งานขุดดินงานชลศาสตร์และงานไม้ก็เป็นพื้นฐานของงานวิศวกรรมโยธาและงานวิศวกรรมการเกษตร

ทรงมีห้องปฏิบัติการช่างส่วนพระองค์ณพระตำหนักวิลลาวัฒนาเมืองโลซานน์ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ทรงมีความสามารถเป็นเยี่ยมทั้งด้านช่างไม้ช่างโลหะและช่างกลซึ่งเป็นพื้นฐานงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ได้เคย

ทรงจำลองเรือรบ“เรือหลวงศรีอยุธยา”ไว้ในระหว่างเสด็จนิวัตพระนครก่อนสงครามโลกครั้งที่๒ซึ่งต่อมาเจ้า

พระยารามราฆพได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนำไปประมูลหาทุนบำรุงโรงพยาบาลปราบวัณโรคได้เงินถึง๒๐,๐๐๐บาท

ต่อมาเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วในระยะแรกๆทรงโปรดกีฬาเรือใบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง

แสดงพระปรีชาสามารถเป็นที่ประจักษ์โดยทรงใช้วิชาช่างไม้ต่อเรือใบขึ้นเองและทรงนำเรือที่ทรงต่อด้วยพระองค์เองนี้

เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาเรือใบและทรงได้รับรางวัลเหรียญทองในกีฬาแหลมทองครั้งที่๔เมื่อพ.ศ.๒๕๑๐

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้วิชาทางด้านวิศวกรรมขยายออกไปสู่การแก้ไขปัญหาของประเท

ศเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขของอาณาประชาราษฎร์ทั่วทั้งแผ่นดินเมื่อทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไป

ทรงเยี่ยมราษฎรในชนบททั่วทุกภูมิภาคได้ทอดพระเนตรเห็นความยากจนข้นแค้นของราษฎรเพราะขาดความรู้

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๑๓๑๒

Page 18: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

ด้อยโอกาสในการรับบริการจากรัฐสภาพภูมิประเทศแห้งแล้งขาดแคลนที่ดินที่อุดมและแหล่งน้ำสภาวะแวดล้อม

เสื่อมโทรมเพราะการใช้และทำลายทรัพยากรธรรมชาติโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เกิดอุทกภัยในฤดูฝนและแห้งแล้ง

ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งรวมทั้งปัญหาของชุมชนเมืองซึ่งแม้จะมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแต่ต้องประสบ

ปัญหาอันเนื่องมาจากความแออัดคุณภาพชีวิตเสื่อมโทรมประชาชนสร้างปัญหาด้านมลพิษทางอากาศทางน้ำ

ปัญหาสุขภาพอนามัยความเป็นอยู่และการเติบโตของเมืองอย่างไร้ระเบียบขาดแคลนระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน

ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอนามัยปัญหาน้ำท่วมน้ำขังน้ำเสียและปัญหาจราจรเป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ทั้ง“หลักวิชา” ด้านวิศวกรรมศาสตร์และ “ตัวบุคคล”เป็นเครื่องมือ

ในการดำเนินการโครงการพัฒนาต่างๆให้สำเร็จลุล่วง“หลักวิชา” คือเทคโนโลยีอันทันสมัยในการปรับปรุงดัดแปลง

สิ่งที่มีอยู่แล้วคือทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดผลเป็นประโยชน์แก่ประเทศและประชาชนส่วนรวมให้มากที่สุดรวมทั้ง

หลักวิชาด้านศีลธรรมจรรยาที่จะกล่อมเกลาให้“บุคคล” มีปัญญามีความแน่วแน่ในการทำการงานได้สำเร็จโดย

ประพฤติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพและเป็นผู้มีความชำนาญตามมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพซึ่งได้แก่หลักวิชาด้าน

“วิศวกรรมศาสตร์”นั่นเอง

“...ช่างคือผู้ทำงานใช้ฝีมือ หมายความถึงผู้ใช้ฝีมือเป็นบริการแก่ผู้อื่น

เช่นช่างซ่อมวิทยุ ช่างเครื่องยนต์ ประเภทหนึ่ง กับผู้ใช้ฝีมือผลิตสิ่งต่าง ๆ เป็นสินค้า

เช่นช่างทอผ้า ช่างทำรองเท้า อีกประเภทหนึ่ง

ช่างทุกประเภทเป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมือง และของทุกคน

เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัย และใช้บริการหรือสิ่งต่าง ๆ

ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน...”

พระราชดำรัสในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือช่างของสโมสรโรตารี่กรุงเทพฯใต้ณลุมพินีสถาน

เมื่อวันที่๒มีนาคมพ.ศ.๒๕๑๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำความสนพระราชหฤทัยด้านวิศวกรรมศาสตร์แขนงต่างๆอาทิวิศวกรรม

สำรวจและแผนที่วิศวกรรมแหล่งน้ำวิศวกรรมโยธาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมวิศวกรรมทางเรือวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร

รวมไปถึงวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องจวบจนถึงปัจจุบันเพื่อความอยู่ดีมีสุข

ของเหล่าพสกนิกรทุกหย่อมหญ้า

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๑๔

Page 19: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเจิมและทรงพระสุหร่ายเข็มพืดเอกใต้ฐานเขื่อนดิน

ของอ่างเก็บน้ำเขาเต่าอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อวันที่๙เมษายนพ.ศ.๒๕๐๖

Page 20: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการสำรวจและแผนที่

Page 21: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

พระราชกรณียกิจด้านการสำรวจและแผนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักสำรวจและผู้เชี่ยวชาญ

การใช้แผนที่ในการเสด็จพระราชดำเนินไปในภูมิภาคต่างๆในประเทศจะทรงนำแผนที่ไปด้วยทุกครั้งดังปรากฏเป็นภาพ

ที่คุ้นแก่สายตาของผู้ประสบพบเห็นจากหน้าหนังสือพิมพ์จากโทรทัศน์หรือในโอกาสที่ได้เฝ้าฯฝ่าละอองธุลีพระบาท

จะทรงจัดเตรียมและตัดต่อแผนที่ดังกล่าวด้วยพระองค์เองและทรงศึกษาภูมิประเทศจากแผนที่อย่างละเอียดเพื่อ

ประกอบการวางแผนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านต่างๆเช่นการพัฒนาแหล่งน้ำการชลประทานการพัฒนา

การเกษตรการป้องกันน้ำท่วมในขณะที่ทรงใช้งานแผนที่จะทรงเติมข้อมูลต่างๆลงไปและทรงแก้ไขความผิดพลาด

คลาดเคลื่อนของแผนที่ให้ถูกต้องด้วยเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เสด็จพระราชดำเนินนั้นมักเป็นที่ทุรกันดารหรือชนบท

ห่างไกลซึ่งกรมแผนที่ทหารไม่สามารถจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริงได้ทั้งหมด

เพราะมีเจ้าหน้าที่และงบประมาณจำกัดข้อมูลที่พระราชทานแก่นายทหารแผนที่ที่ตามเสด็จจึงมีประโยชน์ต่อกรมแผนที่

ทหารอย่างมากข้อมูลดังกล่าวนี้มีหลายรูปแบบเช่นชื่อหมู่บ้านที่ถูกต้องเส้นทางคมนาคมที่เกิดใหม่ความผิดพลาด

ของระดับความสูงทางน้ำแนวเขตการปกครองและหมู่บ้านที่เกิดใหม่

นอกจากจะทรงใช้แผนที่แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังสนพระราชหฤทัยและใช้ประโยชน์จากภาพถ่าย

ทางอากาศทั้งภาพปกติและภาพพิเศษภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาแผนที่พยากรณ์

อากาศตลอดจนอุปกรณ์ง่ายๆที่ติดประจำในเครื่องบินพระที่นั่งในรถพระที่นั่งหรือที่ทรงถือติดพระองค์ไปด้วย

เช่นบารอมิเตอร์มาตรวัดระยะทางและเข็มทิศทรงเชี่ยวชาญในการแปลความหมายของภาพถ่ายทางอากาศ

ได้ทรงใช้ข้อมูลนี้ประกอบการใช้แผนที่อยู่เนืองๆ

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๑๗

Page 22: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

นอกจากนี้ยังทรงสามารถใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาในการคาดคะเนแนวเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่นได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

Page 23: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

พระองค์จะทรงศึกษาหลักการทำงานจนเข้าพระราชหฤทัยผู้ตามเสด็จใกล้ชิดจะทราบดีว่าพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักสังเกตที่หาใครเทียบได้ยากทรงมีวิญญาณนักสำรวจอย่างเต็มเปี่ยมเวลาเสด็จพระราชดำเนิน

ไปไหนจะทรงตรวจสอบแผนที่กับภูมิประเทศทรงตรวจสอบกับอุปกรณ์ที่มีทั้งด้านความสูงระยะทางตำแหน่ง

ทรงสอบถามจากชาวบ้านหลายๆคนเพื่อตรวจสอบกันไปมาทรงตรวจสอบจากชื่อหมู่บ้านที่ติดไว้ข้างถนนบ้าง

หลักกิโลเมตรบ้างเมื่อมีโอกาสก็ทรงฝึกผู้ใกล้ชิดให้ดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทด้วยทรงฝึกจนเขาสามารถ

กะประมาณช่วงคืบของพระองค์เรียกกันในบรรดาผู้ใกล้ชิดว่า “คืบหลวง” เพื่อวัดระยะต่างๆรวมทั้งบนแผนที่

และภาพถ่ายได้เป็นค่าโดยประมาณในภูมิประเทศอย่างคร่าวๆ

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๑๙

Page 24: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

ทรงมีความเชี่ยวชาญในการแปลภาพถ่ายทางอากาศและทรงใช้ประกอบกับแผนที่อยู่เนืองๆแต่ในพื้นที่ที่สภาพความเป็นจริงได้เปลี่ยนไปจากที่ปรากฏในแผนที่ก็จะทรงใช้ภาพถ่ายเป็นหลักทรงนำเทคนิคของภาพถ่ายด้วยกล้อง๔ช่วงคลื่น(FourBandPhotography)มาใช้ในโครงการหลวงในภาคเหนือและในการศึกษาลุ่มน้ำในตอนเหนือของประเทศเนื่องจากทรงมีประสบการณ์มานานจนแม้รายละเอียดปลีกย่อยก็ทรงตรวจหาได้จากภาพถ่ายแม้ในการทำนายสภาพอากาศก็ยังทรงคาดคะเนแนวเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่นและพายุโซนร้อนได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในวิทยาการการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยภาพถ่ายทางอากาศและดาวเทียมทรงนำข้อมูลทางภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาวางแผนแก้ไขปัญหาการใช้ที่ดินในแหล่งต้นน้ำลำธารบนภูเขาสูงบนพื้นที่สูงโดยเฉพาะการวางแผนการใช้ลุ่มน้ำทางภาคเหนือของประเทศไทย

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๒๐

Page 25: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

ในคราวที่ภาคใต้ของประเทศไทยประสบ

ปัญหาอุทกภัยอย่างรุนแรงในเดือนพฤศจิกายน

พ.ศ.๒๕๓๑พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไข

ปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกรโดยทรงวินิจฉัย

ภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรLAND-TM

บันทึกภาพเมื่อวันที่๒๕พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๓๑

บริ เวณที่ เกิดอุทกภัยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

และจังหวัดนครศรีธรรมราชทั้งนี้พระองค์ได้

พระราชทานแนวพระราชดำริในการวางแผนช่วยเหลือ

ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยแก่เจ้าหน้าที่ที่

รับผิดชอบเรื่องนี้ด้วยพระองค์เองทำให้ความ

ทุกข์ร้อนที่เกิดขึ้นกับพสกนิกรในขณะนั้นผ่านพ้น

มาด้วยดี

ทรงสนพระราชหฤทัยและทรงเข้าร่วมในการสัมมนาการประยุกต์เทคโนโลยีการถ่ายภาพทางอากาศและดาวเทียมในการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อวันที่๗มกราคมพ.ศ.๒๕๒๓ณโรงแรมรินคำอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๒๑

Page 26: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ข้อมูลที่ได้รับจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร

เป็นแนวทางในการพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ราษฎรหลายโครงการ

เช่นโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริการแก้ไขปัญหาไฟป่าบริเวณพรุโต๊ะแดง

จังหวัดนราธิวาสการสำรวจพื้นที่ความเสียหายจากไฟป่าห้วยขาแข้งซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาการสำรวจข้อมูล

ระยะไกลในระดับต่างๆของประเทศไทยในระยะเวลาต่อมา

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๒๒

Page 27: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านชลประทาน

Page 28: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

พระราชกรณียกิจและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านชลประทานการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทานนับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปีในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกส่วนใหญ่ทุกภาคของประเทศเป็นพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทานซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลักทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการอีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการเป็นผลให้ได้รับผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่นทรงให้ความสำคัญในลักษณะ“น้ำคือชีวิต”พระราชดำรัสพระราชทานแก่ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและคณะฯณสวนจิตรลดาพระราชวังดุสิตเมื่อวันที่๑๗มีนาคมพ.ศ.๒๕๒๙ความตอนหนึ่งว่า

“...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภคน้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้...”

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๒๔

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและคณะฯณสวนจิตรดาพระราชวังดุสิตเมื่อวันที่17มีนาคม2529

Page 29: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

การพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นมีหลักและวิธีการที่สำคัญๆคือ

๑.การพัฒนาแหล่งน้ำจะเป็นรูปแบบใดต้องเหมาะสมกับรายละเอียดสภาพภูมิประเทศเสมอ

๒.การพิจารณาวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต้องเหมาะสมกับสภาพแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีในแต่ละท้องถิ่นเสมอ

๓.พิจารณาถึงความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นหลีกเลี่ยงการเข้าไปสร้างปัญหา

ความเดือดร้อนให้กับคนกลุ่มหนึ่งโดยสร้างประโยชน์ให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ว่าประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับ

การลงทุนนั้นจะมีความเหมาะสมเพียงใดก็ตามด้วยเหตุนี้ในการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทุกแห่งพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริไว้ว่าราษฎรในหมู่บ้านซึ่งได้รับประโยชน์จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหา

เรื่องที่ดินโดยจัดการช่วยเหลือผู้ที่เสียประโยชน์ตามความเหมาะสมที่จะตกลงกันเองเพื่อให้ทางราชการสามารถเข้าไป

ใช้ที่ดินทำการก่อสร้างได้โดยไม่ต้องจัดซื้อที่ดินซึ่งเป็นพระบรมราโชบายที่ทรงมุ่งหวังให้ราษฎรมีส่วนร่วมกับรัฐบาล

และช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในสังคมของตนเองและมีความหวงแหนที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างนั้นต่อไป

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริสามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม

ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวพอสรุปได้ดังนี้

๑. ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้งช่วยให้ได้

ผลิตผลมากขึ้นและสามารถทำการเพาะปลูกครั้งที่สองได้เป็นการช่วยให้ราษฎรมีรายได้มากขึ้น

๒. ในบางท้องที่เคยมีน้ำท่วมขังจนไม่สามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้หรือไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรโครงการระบายน้ำ

ออกจากพื้นที่ลุ่มอันเนื่องมาจากพระราชดำริเช่นบริเวณขอบพรุทำให้พื้นที่แห้งลงจนสามารถจัดสรรให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดิน

เป็นของตนเองเข้าทำกินได้ช่วยให้ไม่ไปบุกรุกทำลายป่าหาที่ทำกินแห่งอื่นๆต่อไปซึ่งเป็นการช่วยรักษาป่าไม้อันเป็น

ทรัพยากรของชาติไว้ได้

๓.เมื่อมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่างๆไว้ก็มีการปล่อยพันธุ์ปลาทำให้ราษฎรตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง

สามารถมีปลาบริโภคภายในครอบครัวหรือเสริมรายได้ขึ้น

๔. ช่วยให้ราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่สะอาดอย่างพอเพียงตลอดปีทำให้ราษฎรมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น

และยังช่วยให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์ด้วย

๕. บางโครงการเป็นโครงการเพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตชุมชนเมืองใหญ่ๆเช่นกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ช่วยลดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลเป็นอันมาก

๖. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจะช่วยให้ราษฎรที่อยู่ในป่าเขาในท้องที่ทุรกันดารได้มี

ไฟฟ้าใช้สำหรับแสงสว่างในครัวเรือนได้บ้าง

๗. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธารอันเนื่องมาจากพระราชดำริโดยการสร้างฝายเก็บกักน้ำ

บริเวณต้นน้ำลำธารเป็นชั้นๆพร้อมระบบกระจายน้ำจากฝายต่างๆไปสู่พื้นที่สองฝั่งของลำธารทำให้พื้นดินชุ่มชื้น

ป่าไม้ตามแนวสองฝั่งลำธารเขียวชอุ่มตลอดปีเป็นป่าเปียกสำหรับป้องกันไฟป่าเป็นแนวกระจายไปทั่วบริเวณต้นน้ำลำธาร

ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติรักษาความอุดมสมบูรณ์ไว้ต่อไป

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๒๕

Page 30: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการป้องกันอุทกภัยและการพัฒนาแหล่งน้ำเช่น

โครงการแก้มลิง

เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่คณะเจ้าหน้าที่ที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเมื่อวันที่๑๔พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๓๘อันเป็นปีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศในครั้งนั้นพระองค์ทรงพระราชทานพระราชดำริไว้ความตอนหนึ่งว่า

“...ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยวๆแล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้ม จะกินกล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี แล้วนำออกมาเคี้ยวและกลืนกินเข้าไปภายหลัง

การนำเอากล้วยหรืออาหารมาสะสมไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนการกลืนนี้ เป็นพฤติกรรมตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง บริเวณทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของ

แม่น้ำเจ้าพระยา...”

มีการวางแผนพื้นที่แก้มลิงอย่างเป็นระบบโดยหน่วยงานต่างๆเช่นกรุงเทพมหานครกรมชลประทานเป็นต้นแก้มลิงมี๓ขนาดคือใหญ่กลางเล็กมีวัตถุประสงค์เพื่อการชะลอน้ำก่อนที่จะจัดการระบายออกในเวลาต่อมาสามารถเป็นได้ทั้งพื้นที่ของรัฐและเอกชน

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๒๖

Page 31: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

ปัจจุบันมีพื้นที่แก้มลิงขนาดใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครเหนือท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

โดยกำหนดในผังการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่เขียวลายไม่เหมาะกับการพัฒนานอกจากนี้ยังมีแก้มลิงเล็กใหญ่กระจายอยู่ทั่ว

กรุงเทพมหานครกว่า๒๐จุด

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๒๗

Page 32: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา

เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อวันที่๒๔ธันวาคม

พ.ศ.๒๕๓๑เหตุเนื่องจากเกิดฝนตกหนักติดต่อกันอย่างต่อเนื่องในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๓๑ทำให้เกิดอุทกภัย

บริเวณอำเภอหาดใหญ่และบริเวณใกล้เคียงกรมชลประทานจึงได้สนองพระราชดำริโดยดำเนินการขุดคลองธรรมชาติ

จำนวน๕สายทำให้การระบายน้ำจากคลองอู่ตะเภามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมต่อมาเดือนพฤศจิกายน

พ.ศ.๒๕๔๓ได้เกิดฝนตกหนักมากผิดปกติทำให้คลองระบายน้ำที่ขุดไว้ไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำจำนวนมากได้

จึงเกิดอุทกภัยบริเวณเทศบาลนครหาดใหญ่และบริเวณใกล้เคียงอีกครั้งเนื่องจากอำเภอหาดใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแอ่ง

กะทะและเป็นจุดบรรจบของลำน้ำหลายสายมารวมกันมีการพัฒนาพื้นที่และมีเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่าง

รวดเร็วและไร้ระเบียบแบบแผนการพัฒนานี้ส่งผลให้เกิดสิ่งก่อสร้างที่กีดขวางทางระบายน้ำตามธรรมชาติและมีการ

รุกล้ำทางน้ำธรรมชาติต่างๆหลายแห่งจนไม่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลาได้สะดวกและปลอดภัยจึงเป็นเหตุ

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๒๘

Page 33: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

ให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีพ.ศ.๒๕๓๑และปีพ.ศ.๒๕๔๓สร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยโดยการก่อสร้างโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่๑๙ธันวาคมพ.ศ.๒๕๔๓เห็นชอบในหลักการตามแผนการปฏิบัติการโครงการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ภาคใต้ที่ประสบอุทกภัยในส่วนของโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๒๙

Page 34: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่

ในปีพ.ศ.๒๕๓๑ได้เกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาก่อให้เกิดความเสียหายประมาณ๔,๐๐๐ล้านบาท

และในปีพ.ศ.๒๕๔๓ได้เกิดความเสียหายรุนแรงอีกครั้งทำให้ประชาชนเสียชีวิต๓๐คนและเกิดความเสียหาย

ประมาณ๑๘,๐๐๐ล้านบาทส่งผลกระทบต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของภาคใต้ตอนล่างเป็นอย่างมาก

และหลังปีพ.ศ.๒๕๓๑รัฐบาลได้น้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากำหนดแนวทางการแก้ไข

และบรรเทาอุทกภัยแบบบูรณาการและยั่งยืนประกอบด้วยมาตรการหลัก2มาตรการคือ

มาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง

๑. การปรับปรุงทางระบายน้ำตามธรรมชาติ

๒. การจัดทำพื้นที่ปิดล้อม

๓. การจัดทำพื้นที่สีเขียว(ทางระบายน้ำหลาก)

๔. การจัดสร้างอ่างเก็บน้ำและคลองผันน้ำ

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๓๐

Page 35: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

ลักษณะและสาเหตุน้ำท่วม

ลักษณะและสาเหตุน้ำท่วมที่มีผลกระทบกับเทศบาลนครหาดใหญ่แบ่งได้๓กรณีดังนี้

๑. น้ำท่วมเฉพาะถิ่นน้ำท่วมขังที่เกิดจากฝนตกหนักในพื้นที่ชุมชนเป็นบริเวณเล็กๆเช่นพื้นที่บางส่วน

ของชุมชนและหมู่บ้านจันทรวิโรจน์ชุมชนรัตนอุทิศชุมชนคอหงส์ฯลฯทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นหย่อมๆเนื่องจากน้ำ

ท่าที่ไหลจากชุมชนมีปริมาณเกินกว่าที่ท่อระบายน้ำของชุมชนสามารถรับได้น้ำก็จะไหลล้นท่อระบายน้ำบ่าเข้าไปในถนน

และไหลลงสู่ที่ลุ่มต่ำในชุมชน

ความรุนแรงของน้ำท่วมขังเฉพาะถิ่นตามปกติจะมีขนาดจำกัดถ้าพื้นที่ลุ่มต่ำสามารถระบายน้ำลงสู่ทางน้ำธรรมชาติ

ได้ตามปกติแต่ถ้าทางน้ำธรรมชาติตื้นเขินหรือถูกทำลายไปน้ำจะคงค้างอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นเวลานานดังนั้นการรักษา

ทางน้ำธรรมชาติให้คงสภาพรวมทั้งการฟื้นฟูบูรณะตามช่วงเวลาที่กำหนดจึงเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากทางน้ำธรรมชาติ

จะเป็นกิ่งก้านสาขาของพื้นที่ธรรมชาติของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยถ้าไม่มีBackwatereffectจากทางน้ำธรรมชาติของพื้นที่

ลุ่มน้ำย่อยการท่วมขังแบบเฉพาะถิ่นจะขยายมากขึ้นตามผลกระทบของBackwatereffect

๒. น้ำท่วมเนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยรอบๆเทศบาลนครหาดใหญ่น้ำท่วมที่เกิดจากฝนตกเป็นบริเวณกว้าง

ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยทำให้เกิดน้ำหลากไหลบ่าตามทางน้ำธรรมชาติหากขนาดน้ำหลากเกินความสามารถรับ

ได้ของทางน้ำธรรมชาติน้ำจะไหลบ่าเข้าไปในพื้นที่ทุ่งน้ำท่วมของทางน้ำธรรมชาติทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง

ทั้งนี้ความรุนแรงของน้ำท่วมจะขึ้นอยู่กับขนาดของน้ำหลากที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยรวมทั้งสิ่งกีดขวางทางน้ำ

ธรรมชาติและพื้นที่ทุ่งน้ำท่วมเช่นการถมดินและการสร้างถนนตัดผ่านทางน้ำธรรมชาติและพื้นที่ทุ่งน้ำท่วม

มาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง

๑. สร้างระบบคาดการณ์และเตือนภัยและการจัดการลุ่มน้ำ

๒. บริหารการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่น้ำท่วมถึง

๓. สร้างระบบให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุทกภัย

๔. เสริมสร้างองค์กรและกฎหมาย

ลักษณะของน้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่จะกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างขนานไปกับคลองอู่ตะเภาทั้งสองฝั่งและ

เกิดน้ำท่วมในบริเวณชุมชนเทศบาลหลักเช่นเทศบาลตำบลพะตง,เทศบาลตำบลบ้านพรุและเทศบาลนครหาดใหญ่

เป็นต้นรายละเอียดพื้นที่น้ำท่วมเนื่องจากอุทกภัยปีพ.ศ.๒๕๓๑และพ.ศ.๒๕๔๓ดังตารางที่๑

ตารางที่๑พื้นที่น้ำท่วมจากอุทกภัยปีพ.ศ.๒๕๓๑และปีพ.ศ๒๕๔๓

เหตุการณ์

อุทกภัย

พ.ศ.๒๕๓๑

พ.ศ.๒๕๓๓

๒๕๓

๓๒๙

๒.๐๐

๓.๕๐

๔.๕๐

๖.๕๐

๑๓.๒%

๑๖.๔%

๘๕.๑%

๘๑.๖%

๑.๗%

๒.๑%

พื้นที่น้ำท่วม

(ตารางกิโลเมตร)

ความลึก

น้ำท่วมเฉลี่ย

(เมตร)

ความลึก

น้ำท่วมสูงสุด

(เมตร)

ชุมชน เกษตรกรรม

สภาพการใช้ที่ดินในพื้นที่น้ำท่วม

อื่นๆ

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๓๑

Page 36: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

๓.น้ำท่วมเนื่องจากน้ำล้นตลิ่งคลองอู่ตะเภาน้ำท่วมที่เกิดจากฝนตกเป็นบริเวณกว้างครอบคลุมทุกพื้นที่

ลุ่มน้ำย่อยของพื้นที่ลุ่มน้ำ(เช่นลุ่มน้ำย่อยต่างๆของคลองอู่ตะเภาตั้งแต่อำเภอสะเดาจนถึงทะเลสาบสงขลา)ทำให้น้ำ

หลากขนาดใหญ่ไหลบ่ามาตามคลองแม่น้ำหากปริมาณน้ำหลากที่เกิดขึ้นเกินความสามารถรับได้ของคลองและแม่น้ำ

น้ำก็จะไหลบ่าเข้าไปในพื้นที่ทุ่งน้ำท่วมทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างทั้งนี้ความรุนแรงของน้ำท่วมจะขึ้นอยู่กับขนาด

ของน้ำหลากที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำรวมทั้งสิ่งกีดขวางคลองแม่น้ำและพื้นที่ทุ่งน้ำท่วม

แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง

๑. ขุดลอกคลองธรรมชาติ๔สายความยาว๔๖.๙๐๐กิโลเมตรเพื่อขุดลอกและขุดขยายคลองธรรมชาติ

ให้สามารถช่วยระบายน้ำได้เร็วขึ้นประกอบด้วยคลองอู่ตะเภาคลองอู่ตะเภาแยก๑คลองอู่ตะเภาแยก๒และ

คลองท่าช้าง-บางกล่ำ

๒. ขุดคลองระบายน้ำร.๑พร้อมอาคารประกอบเป็นคลองระบายน้ำสายหลักในการผันน้ำจากคลองอู่ตะเภา

อ้อมเมืองหาดใหญ่ลงสู่ทะเลสาบสงขลาโดยตรงความยาว๒๑.๓๔๓กิโลเมตรสามารถระบายน้ำได้๔๖๕ลูกบาศก์เมตร

ต่อวินาทีโดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำประกอบด้วยประตูระบายน้ำคลองอู่ตะเภาประตูระบายน้ำบ้านหน้าควน

และประตูระบายน้ำบางหยี

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๓๒

Page 37: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

๓. ขุดคลองระบายน้ำร.๓พร้อมอาคารประกอบเป็นคลองแบ่งน้ำเพื่อช่วยระบายน้ำจากคลองอู่ตะเภาตอนนอกเมืองหาดใหญ่ซึ่งจะช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่ริมฝั่งคลองอู่ตะเภาตอนล่างความยาว๘.๒๐๐กิโลเมตรสามารถระบายน้ำได้๑๙๕ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีโดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำประกอบด้วยประตูระบายน้ำปลายคลอง ๔. ขุดคลองระบายน้ำร.๔พร้อมอาคารประกอบเป็นคลองแบ่งน้ำจากคลองเตยตามเขตทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลาและรับน้ำจากคลองระบายน้ำร.๕ลงสู่ทะเลสาบสงขลาผ่านทางคลองระบายน้ำร.๓ความยาว๖.๙๒๐กิโลเมตรสามารถระบายน้ำได้๕๕ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีโดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำประกอบด้วยประตูระบายน้ำกลางคลอง ๕. ขุดคลองระบายน้ำร.๕พร้อมอาคารประกอบเป็นคลองระบายน้ำจากบริเวณสามแยกคอหงส์ออกทะเลสาบสงขลาผ่านคลองระบายน้ำร.๔และร.๓ตามลำดับความยาว๒.๖๖๐กิโลเมตรสามารถระบายน้ำได้๓๐ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ๖. ขุดคลองระบายน้ำร.๖พร้อมอาคารประกอบเป็นคลองผันน้ำจากคลองเรียนและแก้มลิงของเทศบาลนครหาดใหญ่ไปลงคลองหวะเพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลาผ่านคลองระบายน้ำร.๑ช่วยบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ตอนล่างของคลองเรียนความยาว๓.๑๖๐กิโลเมตรสามารถระบายน้ำได้๕๐ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีโดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำประกอบด้วยประตูระบายน้ำและท่อระบายน้ำคลองเรียน ๗. ขุดคลองระบายน้ำ๑ซ.ร.๑พร้อมอาคารประกอบความยาว๔.๖๒๐กิโลเมตรประกอบด้วยประตูระบายน้ำ๑ซ.ร.๑ ๘. ขุดคลองระบายน้ำ๑ข.๑ซ.ร.๑ความยาว๐.๕๖๗กิโลเมตรประกอบด้วยประตูระบายน้ำคลองต่ำและประตูระบายน้ำคลองวาด

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๓๓

Page 38: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

การเปรียบเทียบปัญหาน้ำท่วมก่อนและหลังก่อสร้างโครงการบรรเทา

อุทกภัยหาดใหญ่

ก่อนการก่อสร้างโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่

พื้นที่น้ำท่วมที่สำคัญในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาแบ่งได้เป็น๓โซนคือ ๑. พื้นที่เหนือทางหลวงแผ่นดินสาย๔๓(พัทลุงปัตตานี)พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตรกรรมและชุมชนชนบทเช่นเทศบาลตำบลบ้านพรุเทศบาลตำบลพะตงเทศบาลตำบลพังลาและพื้นที่ในอำเภอสะเดาเนื่องจากเขตเมืองตั้งอยู่เรียงรายตามแนวคลองอู่ตะเภาและขีดความสามารถของการระบายน้ำไม่เพียงพอจึงประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี ๒. พื้นที่ระหว่างทางหลวงแผ่นดินสาย๔๓(พัทลุงปัตตานี)และทางหลวงแผ่นดินสาย๔๑๔(ลพบุรีราเมศวร์)เป็นพื้นที่ชุมชนหนาแน่นเป็นจุดบรรจบของคลองหวะคลองต่ำคลองวาดกับคลองอู่ตะเภาจึงทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมฉับพลันได้เนื่องจากการเปลี่ยนระดับน้ำอย่างรวดเร็วในคลองอู่ตะเภาและปริมาณน้ำที่ไหลเอ่อล้นตลิ่งคลองธรรมชาติ ๓. พื้นที่ที่อยู่ใต้ทางหลวงแผ่นดินสาย๔๑๔(ลพบุรีราเมศวร์)จนถึงทะเลสาบสงขลาการใช้ประโยชน์ของที่ดินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนชนบทยกเว้นเทศบาลเมืองคลองแหที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลามีการใช้พื้นที่เพื่อทำนากุ้งทำให้มีการสร้างคันปิดล้อมพื้นที่เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำจึงทำให้พื้นที่เกิดปริมาณน้ำท่วมขัง

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๓๔

Page 39: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

หลังการก่อสร้างโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่

๑. พื้นที่เหนือทางหลวงแผ่นดินสาย๔๓(พัทลุงปัตตานี)พื้นที่อยู่ทางด้านเหนือน้ำของอำเภอหาดใหญ่

ไม่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการก่อสร้างโครงการแต่ก็จะส่งผลดีต่อการระบายน้ำในพื้นที่กรณีที่ด้านท้ายน้ำ

มีการจัดการน้ำที่ดีสามารถระบายน้ำออกสู่ทะเลได้อย่างต่อเนื่องโดยการก่อสร้างคลองระบายน้ำร.๑ช่วยผันน้ำ

ออกจากคลองอู่ตะเภาระยะเวลาการเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่จะสั้นลงกว่าเดิม

๒. พื้นที่ระหว่างทางหลวงแผ่นดินสาย๔๓(พัทลุงปัตตานี)และทางหลวงแผ่นดินสาย๔๑๔(ลพบุรีราเมศวร์)

การก่อสร้างคลองร.๑มีผลโดยตรงในการลดผลกระทบจากน้ำหลากในคลองอู่ตะเภาคลองวาดคลองต่ำและ

คลองหวะซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาอุทกภัยการก่อสร้างคลองระบายน้ำร.๓จะช่วยผันน้ำบางส่วน

จากคลองอู่ตะเภาลงสู่ทะเลส่งผลให้การระบายน้ำท้ายน้ำของคลองอู่ตะเภาสะดวกขึ้นและคลองระบายน้ำร.๓ยังเป็น

คลองระบายน้ำที่สำคัญในการระบายน้ำจากคลองระบายน้ำร.๔และคลองระบายน้ำร.๕และการก่อสร้างคลอง

ระบายน้ำร.๔เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่เนื่องจากคลองระบายน้ำร.๔

รับน้ำจากคลองเตยและคลองระบายน้ำร.๕ลงสู่คลองระบายน้ำร.๓ในส่วนของการก่อสร้างคลองระบายน้ำร.๖

จะช่วยผันน้ำจากแก้มลิงคลองเรียนและคลองเรียนลงสู่คลองหวะเพื่อระบายน้ำลงสู่คลองระบายน้ำร.๑แล้วระบายน้ำ

ออกสู่ทะเลสาบสงขลาต่อไปตามลำดับ

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๓๕

Page 40: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

๓. พื้นที่ที่อยู่ใต้ทางหลวงแผ่นดินสาย๔๑๔(ลพบุรีราเมศวร์)จนถึงทะเลสาบสงขลาเป็นพื้นที่ด้านท้ายน้ำ

ของคลองระบายน้ำร.๑คลองระบายน้ำร.๓และคลองระบายน้ำร.๔ซึ่งจะสามารถระบายน้ำท่วมขังที่เกิดขึ้นในพื้นที่

ได้เร็วขึ้นปริมาณน้ำไม่ท่วมขังพื้นที่เป็นระยะเวลานานๆเหมือนที่ผ่านมา

สรุปโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่

โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลต่อชุมชนเมืองในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศแต่พื้นที่ชุมชนที่อยู่รายรอบเทศบาลนครหาดใหญ่อาจ

จะได้รับผลกระทบบ้างเช่นเทศบาลเมืองคอหงส์เทศบาลเมืองคลองแหและอำเภอบางกล่ำเป็นต้นผลกระทบ

ที่เกิดขึ้นจะไม่ร้ายแรงถ้ามีการบริหารจัดการน้ำที่ดีทั้งในด้านของการใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้างโครงการบรรเทา

อุทกภัยอำเภอหาดใหญ่จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริก็ต้องมีการก่อสร้างระบบป้องกันภัยจากน้ำ

อีกหลายอย่างเนื่องจากการวางโครงการทั้งระบบไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมดอาจจะติดขัดในเรื่องของงบประมาณ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหามวลชนเช่นการก่อสร้างคันกั้นน้ำท้ายลำคลองระบายน้ำร.๑การก่อสร้างสถานีสูบน้ำ

ปลายลำคลองระบายน้ำร.๑เพื่อช่วยระบายน้ำกรณีน้ำทะเลหนุนสูงการก่อสร้างระบบระบายน้ำริมคลองระบายน้ำ

ตลอดจนการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและฝายชะลอน้ำบริเวณต้นน้ำสำคัญๆเป็นต้น

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๓๖

Page 41: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สภาพทั่วไปลุ่มน้ำปากพนังตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราชครอบคลุมพื้นที่รวม๑๓อำเภอ

คือพื้นที่ทั้งหมดของอำเภอปากพนังอำเภอเชียรใหญ่อำเภอหัวไทรอำเภอเฉลิมพระเกียรติอำเภอชะอวดอำเภอ

ร่อนพิบูลย์อำเภอจุฬาภรณ์พื้นที่บางส่วนของอำเภอลานสกาอำเภอพระพรหมและอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช

จังหวัดนครศรีธรรมราชรวมทั้งพื้นที่บางส่วนของอำเภอควนขนุนอำเภอป่าพะยอมจังหวัดพัทลุงและอำเภอระโนด

จังหวัดสงขลารวมพื้นที่ประมาณ๑.๙ล้านไร่เป็นพื้นที่นากว่า๕๐๐,๐๐๐ไร่มีประชากรประมาณ๖๐๐,๐๐๐คน

อดีตของลุ่มน้ำแห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเพาะปลูกมีการทำนา

มากที่สุดโดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำปากพนังซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของลุ่มน้ำปากพนังจึงเป็นแหล่งปลูกข้าวของภาคใต้

รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญรุ่งเรืองทุกๆด้านจนเป็นที่รู้จักของผู้คนกันอย่างกว้างขวางในนาม

“เมืองแห่งอู่ข้าวอู่น้ำ”

เมื่อเวลาผ่านไป“ลุ่มน้ำปากพนัง”ที่เคยอุดมสมบูรณ์กลับมีปัญหาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจำนวน

ประชากรที่เพิ่มมากขึ้นความต้องการใช้น้ำย่อมมีปริมาณมากขึ้นด้วยแต่ป่าไม้ต้นน้ำลำธารกลับลดลงอย่างรวดเร็ว

ทำให้ปริมาณน้ำจืดที่เคยดูดซับไว้แล้วทยอยปล่อยลงในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขาในช่วงฤดูแล้งลดลงด้วยน้ำจืด

ที่เคยมีใช้ปีละ๘-๙เดือนลดลงเหลือปีละ๓เดือนเท่านั้นและเนื่องจากลักษณะของแม่น้ำปากพนังมีระดับท้องน้ำ

อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลและมีความลาดชันน้อยเมื่อน้ำจืดทางด้านต้นน้ำมีปริมาณน้อยทำให้น้ำเค็มสามารถรุกล้ำเข้าไป

ในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขาเป็นระยะทางเกือบ๑๐๐กิโลเมตรนอกจากนี้ตอนใต้ของลุ่มน้ำปากพนังยังมี

“พรุควนเคร็ง” ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มขนาดใหญ่ประมาณ๒๐๐,๐๐๐ไร่มีน้ำท่วมขังตลอดปีมีสารไพไรท์อยู่ในชั้นดิน

ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดและมีปัญหาน้ำเปรี้ยวราษฎรไม่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรได้รวมทั้งน้ำเน่าเสีย

จากการทำนากุ้งได้ไหลลงในลำน้ำต่างๆจนไม่สามารถนำไปใช้เพื่อการเพาะปลูกได้กลายเป็นปัญหาข้อขัดแย้งระหว่าง

ชาวนาข้าวและชาวนากุ้งอีกด้วยปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝนเนื่องจากมีปริมาณฝนตกมากแต่พื้นที่ลุ่มน้ำเป็นพื้นที่ลุ่ม

ราบแบนมีความลาดชันน้อยอุทกภัยมักจะเกิดในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ยากจึงทำความเสียหาย

ให้แก่พื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่ชุมชนเมืองเป็นบริเวณกว้าง

น้ำจืดขาดแคลนน้ำเค็มน้ำเปรี้ยวและน้ำเสียจึงเป็นปัญหาที่ชาวลุ่มน้ำปากพนังต้องเผชิญการทำนาไม่ได้ผล

ผลผลิตต่ำราษฎรมีฐานะยากจนการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังตามแนวพระราชดำริจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยพลิกฟื้น

ความอุดมสมบูรณ์ให้กลับคืนสู่ลุ่มน้ำปากพนังดังเช่นในอดีต

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำ

ปากพนังเพื่อช่วยเหลือราษฎรหลายครั้ง

ครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคมพ.ศ.๒๕๓๑หลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนพฤศจิกายน

ครั้งต่อมาเมื่อวันที่๙และ๑๑ตุลาคมพ.ศ.๒๕๓๕ณสถานีสูบน้ำโคกกูแวตำบลพร่อนอำเภอตากใบ

จังหวัดนราธิวาสและสถานีสูบน้ำบ้านตอหลังอำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาสตามลำดับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ได้พระราชทานพระราชดำริแก่กรมชลประทานให้พิจารณาก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนังที่อำเภอปากพนัง

จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำและเก็บกักน้ำจืดพร้อมกับการก่อสร้างระบบคลองระบายน้ำเพื่อ

บรรเทาปัญหาน้ำท่วมและระบบกระจายน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๓๗

Page 42: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

ครั้งสำคัญที่สุดเมื่อวันที่๒ตุลาคมพ.ศ.๒๕๓๖ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะกรรมการบริหาร

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริเข้าเฝ้าฯณพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์จังหวัดนราธิวาส

ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมความตอนหนึ่งว่า

“...ทำประตูน้ำที่ปากแม่น้ำห่างจากตัวอำเภอปากพนังประมาณ ๓ กิโลเมตร ก็พิจารณาว่าจะแก้ปัญหาทั้งหมด

ซึ่งหมายความว่า เป็นกุญแจสำคัญของโครงการฯ จะแก้ไขปัญหาตั้งแต่ น้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเค็ม

และสามารถที่จะให้ประชาชนมีน้ำบริโภคและน้ำทำการเกษตร แม้ว่าประตูน้ำอันเดียวนี้จะไม่แก้ไขปัญหาทั้งหมด

ซึ่งจะต้องสร้างหรือทำโครงการต่อเนื่อง หากแต่ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาทั้งหมด จากอันนี้จะทำอะไรๆ

ได้ทุกอย่างและแยกออกมาเป็นโครงการฯ...”

แนวทางการแก้ไขปัญหาตามแนวพระราชดำริสรุปได้ดังนี้

๑. เร่งดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนังให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพราะเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นงานหลัก

ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค

๒. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ทำกินของราษฎรควรดำเนินการดังนี้

๒.๑ ขุดคลองระบายน้ำฉุกเฉินพร้อมก่อสร้างอาคารควบคุมปากคลองเพื่อระบายน้ำจากแม่น้ำปากพนัง

ออกทะเลกรณีที่เกิดอุทกภัย

๒.๒ ขุดขยายคลองท่าพญาพร้อมก่อสร้างประตูระบายน้ำริมทะเลเพื่อระบายน้ำออกอีกทางหนึ่ง

๒.๓ขุดลอกคลองบ้านกลางคลองปากพนังคลองหน้าโกฏิพร้อมก่อสร้างประตูระบายน้ำเสือร้อง

(ก่อสร้างบริเวณบ้านเสือหึง)และประตูระบายน้ำหน้าโกฏิเพื่อระบายน้ำลงทะเลให้เร็วขึ้น

๒.๔ ขุดคลองระบายน้ำชะอวด-แพรกเมืองพร้อมก่อสร้างประตูระบายน้ำเพื่อช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่

โครงการฯลงสู่ทะเลกรณีเกิดอุทกภัย

๓. กำหนดแนวเขตให้ชัดเจนและเหมาะสมเพื่อแยกพื้นที่น้ำจืดและพื้นที่น้ำเค็มออกจากกันให้แน่นอนโดย

กำหนดให้ทิศตะวันออกของคลองปากพนัง(คลองหัวไทร)เป็นพื้นที่น้ำเค็มโดยมอบให้กรมประมงก่อสร้างอาคาร

บังคับน้ำจัดระบบชลประทานน้ำเค็มทั้งนี้ให้กรมชลประทานกรมประมงตลอดจนผู้เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาหาแนวเขต

ให้เหมาะสมที่สุด

๔. พื้นที่ทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำปากพนังเป็นเทือกเขาสูงให้พิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ

หรือฝายทดน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรเพื่อการอุปโภคบริโภคและช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่าง

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๓๘

Page 43: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

การบริหารงานโครงการการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นรูปแบบใหม่ตามแนวพระราชดำริ

โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรและสอดคล้องกัน

ในรูปแบบคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังประกอบด้วยอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการ

ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการโดยมีฯพณฯนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการบริหารโครงการ

และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารโครงการ๖คณะและตั้งกองอำนวยการเพื่อดูแลและดำเนินการให้สอดคล้องกัน

การดำเนินงานโครงการกรมชลประทานได้สนองพระราชดำริดำเนินการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังด้วยการ

ศึกษาความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)เสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๓๗โดย

บริษัทพอลคอนซัลแตนท์จำกัดบริษัทเซาท์อีสท์เอเชียเทคโนโลยีจำกัดและบริษัทครีเอทีฟเทคโนโลยีจำกัด

(ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมพร้อมกัน)ซึ่งได้ออกแบบแล้วเสร็จเมื่อเดือน

พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๓๗

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๓๙

Page 44: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมผ่านความเห็นชอบของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมเมื่อวันที่๓พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๓๘และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้เปิดโครงการ

เมื่อวันที่๗พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๓๘

สถานที่ดำเนินการหมู่๕ตำบลหูล่องอำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช

ลักษณะโครงการมีรายละเอียดสรุปดังนี้

๑. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ(ปากพนัง)และอาคารประกอบ

๑.๑ ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิสร้างที่บ้านบางปี้ตำบลหูล่องอำเภอปากพนังจังหวัด

นครศรีธรรมราชเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดบานระบายกว้าง๒๐.๐เมตรจำนวน๑๐ช่อง(บานระบายเดี่ยว

๖ช่องและบานระบายคู่๔ช่อง)สามารถระบายน้ำได้๑,๔๒๖ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเพื่อป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำพื้นที่

เกษตรกรรมและเก็บน้ำจืดไว้ในแม่น้ำปากพนังและคลองสาขาเพื่อการเกษตรและรักษาระดับน้ำในแม่น้ำปากพนัง

ให้เหนือชั้นสารไพไรท์เพื่อป้องกันน้ำเปรี้ยว

๑.๒ บันไดปลาและทางปลาลอดตั้งอยู่ทั้งสองข้างของอาคารประตูระบายน้ำสำหรับให้วงจรชีวิตของสัตว์น้ำ

เป็นไปอย่างธรรมชาติ

๑.๓ ประตูเรือสัญจรกว้าง๖.๐๐เมตรสำหรับให้เรือและพาหนะทางน้ำต่างๆผ่านไปมาได้

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๔๐

Page 45: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

๑.๔ ทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิมยาว๒๒๒เมตร

๑.๕ ระบบโทรมาตรอัตโนมัติจำนวน๓๑แห่งสำหรับตรวจวัดสถานการณ์ของน้ำในแม่น้ำปากพนัง

และลำน้ำสาขาซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลในการจัดสรรการใช้น้ำและบรรเทาอุทกภัย

๒. งานก่อสร้างระบบระบายน้ำ

ทำหน้าที่ระบายน้ำและป้องกันน้ำเค็มโดยก่อสร้างคลองระบายน้ำเพิ่มเติมพร้อมประตูระบายน้ำ๓แห่ง

และขุดลอกคลองเดิมพร้อมประตูระบายน้ำ๑แห่งรวม๔แห่งประกอบด้วย

๒.๑ คลองชะอวด-แพรกเมืองก้นคลองกว้าง๑๕๐เมตรลึก๕เมตรยาวประมาณ๒๗กิโลเมตร

พร้อมประตูระบายน้ำสามารถระบายน้ำได้๕๔๐ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

๒.๒ คลองปากพนัง(หน้าโกฏิ)ก้นคลองกว้าง๑๐๐เมตรลึก๓.๕๐เมตรยาวประมาณ๗.๕กิโลเมตร

พร้อมประตูระบายน้ำคลองปากพนัง(เสือหึง)สามารถระบายน้ำได้๓๕๐ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

๒.๓คลองบางโด-ท่าพญาก้นคลองกว้าง๒๐เมตรลึก๓เมตรยาวประมาณ๑๖กิโลเมตร

พร้อมประตูระบายน้ำสามารถระบายน้ำได้๑๓๐ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

๒.๔คลองระบายน้ำฉุกเฉินก้นคลองกว้าง๕๖เมตรลึก๓.๕เมตรยาวประมาณ๕กิโลเมตร

พร้อมประตูระบายน้ำสามารถระบายน้ำได้๒๑๐ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

๓. งานก่อสร้างระบบส่งน้ำพื้นที่ชลประทาน๕๒๑,๕๐๐ไร่แบ่งออกเป็น

๓.๑ ระบบส่งน้ำแบบสูบน้ำโดยกรมชลประทานพื้นที่เอ็มซี๑(MC1)และเอ็มซี๒(MC2)พื้นที่

ชลประทาน๔๐,๙๐๐ไร่

๓.๒ ระบบส่งน้ำแบบสูบน้ำโดยเกษตรกรพื้นที่เอ็มดี๑(MD1)ถึงเอ็มดี๘(MD8)พื้นที่ชลประทาน

๔๓๙,๑๐๐ไร่

๓.๓ระบบท่อส่งน้ำและอาคารประกอบในนิคมควนขนุนพื้นที่ชลประทาน๑๗,๐๐๐ไร่

๓.๔ ระบบส่งน้ำโครงการฝายคลองไม้เสียบส่วนขยายพื้นที่ชลประทาน๒๔,๐๐๐ไร่

๔. งานก่อสร้างคันแบ่งเขตน้ำจืดน้ำเค็มเพื่อแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาให้ชัดเจนโดยใช้แนว

ถนนเดิมของรพช.เป็นส่วนใหญ่ห่างจากชายทะเลประมาณ๓-๕กิโลเมตรทางด้านทิศตะวันออกเลียบถนนชายทะเล

และด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าวปากพนังเป็นระยะทางยาวประมาณ๙๑.๕กิโลเมตรและอาคารบังคับน้ำ

ตามแนวคันกั้นน้ำจำนวน๒๒แห่ง

ประโยชน์ของโครงการ

๑. ป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปทำลายพื้นที่การเกษตร

๒. เก็บกักน้ำจืดไว้ในลำน้ำปากพนังและลำน้ำสาขาได้ประมาณ๗๐ล้านลูกบาศก์เมตรเพื่อการอุปโภค-บริโภค

และการเพาะปลูกบริเวณสองฝั่งลำน้ำประมาณ๕๒๑,๕๐๐ไร่ในฤดูฝนและประมาณ๒๔๐,๗๐๐ไร่ในฤดูแล้ง

๓. คลองระบายน้ำช่วยบรรเทาอุทกภัยเนื่องจากสามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

๔. ขจัดปัญหาขัดแย้งระหว่างเกษตรนากุ้งและเกษตรกรนาข้าวเนื่องจากมีการแบ่งเขตของการใช้พื้นที่

อย่างชัดเจน

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๔๑

Page 46: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

๕. ลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานไปทำกินในถิ่นอื่น

๖. แม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขาเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืดได้เป็นอย่างดี

๗. เพิ่มพูนผลผลิตการเกษตรหลากหลายและครบวงจรทั้งทางด้านการเพาะปลูกการประมงปศุสัตว์ฯลฯ

ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรม

๘. ยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของราษฎร

๙. ฟื้นฟูสภาพนิเวศวิทยาให้กลับคืนสู่สมดุล

๑๐.ลดปัญหาการน้ำเปรี้ยวและดินเปรี้ยว

งานติดตามและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนงานติดตามและแก้ไขผลกระทบ

สิ่งแวดล้อมดังนี้

๑. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประกาศกำหนดให้พื้นที่โครงการเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

และเขตควบคุมมลพิษ

๒. กรมประมงปรับปรุงกฎหมายเพื่อกำหนดเขตเลี้ยงกุ้งและมาตรการลงโทษผู้ฝ่าฝืน

๓. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสนับสนุนเงินกู้เป็นกรณีพิเศษแก่เกษตรกรซึ่งทำการเกษตร

ผสมผสานในเขตพื้นที่น้ำจืด

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๔๒

Page 47: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

๔. หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัด

๕. รับข้อสังเกตของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเกี่ยวกับวิธีการประชาสัมพันธ์โดยให้องค์กรเอกชน

และหน่วยงานในพื้นที่มีส่วนร่วมและให้สนับสนุนการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำเค็มโดยจัดระบบชลประทานน้ำเค็มตามแนวทาง

ที่กรมประมงดำเนินการอยู่

งานพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันดำเนินการ

โดยมีนโยบายหลักในการดำเนินงานคือ

๑. ปรับปรุงการผลิตข้าวให้มีผลผลิตสูงทั้งปริมาณและคุณภาพ

๒. ส่งเสริมให้มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานโดยเน้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน

๓. กำหนดการทำนากุ้งให้มีขอบเขตที่ชัดเจนและมีการพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งแบบยั่งยืนพร้อมฟื้นฟูสภาพ

สิ่งแวดล้อมที่เคยได้รับผลเสียจากบ่อกุ้ง

๔. อนุรักษ์ป่าดินและน้ำพร้อมฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้มีสภาพที่ดี

๕. การพัฒนาองค์การการจัดการของเกษตรกรได้แก่การร่วมกันจัดตั้งสหกรณ์เสรีตามแนวพระราชดำริ

ร่วมกันพัฒนาอาชีพการแปรรูปผลผลิตและการจัดการผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งการปรับระบบบริหารจัดการ

เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรองค์กรการเกษตรองค์กรพัฒนาเอกชนหน่วยงานต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ

พัฒนามากขึ้น

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๔๓

Page 48: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดลพบุรี

และจังหวัดสระบุรี

เมื่อวันที่๑๙กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๓๒พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสักเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เพาะปลูกเขตลุ่มน้ำป่าสักและบรรเทาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำป่าสักเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งก่อนหน้านั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสให้กรมอุตุนิยมวิทยาติดตั้งอุปกรณ์การติดตามปริมาณน้ำฝนและรายงานโดยละเอียดอยู่ตลอดมา

เมื่อวันที่๙มกราคมพ.ศ.๒๕๓๓คณะรัฐมนตรีมีมติให้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯโดยให้สำนักงานกปร.เป็นแกนกลางและสนับสนุนงบประมาณและเมื่อวันที่๔กรกฎาคมพ.ศ.๒๕๓๔นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกปร.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาศึกษาโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสักโดยมีเลขาธิการกปร.เป็นประธานกรรมการต่อมาเมื่อวันที่๓พฤษภาคมพ.ศ.๒๕๓๗คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมชลประทานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามโครงการดังกล่าวได้โดยเริ่มต้นก่อสร้างเมื่อวันที่๒ธันวาคมพ.ศ.๒๕๓๗และใช้ชื่อโครงการว่า “โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำร”ิ

ลักษณะการดำเนินงานที่สำคัญประกอบด้วยการก่อสร้างเขื่อนดินความยาว๔,๘๖๐เมตรความสูง๓๑.๕เมตรความจุ๙๖๐ล้านลูกบาศก์เมตร(ที่ระดับเก็บกักสูงสุด+๔๓เมตรรทก.)พร้อมอาคารประกอบ๓แห่งการก่อสร้างระบบชลประทานในพื้นที่๑๓๕,๕๐๐ไร่และการก่อสร้างคันกั้นน้ำ๒แห่งความยาวรวม๖.๐๕๕กิโลเมตร

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๔๔

Page 49: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

ที่ตั้งหน่วยงานอยู่ที่ตำบลหนองบัวอำเภอพัฒนานิคมจังหวัดลพบุรีโดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบรวม๑๐๕,๓๐๐ไร่

ครอบคลุม๒จังหวัด๔อำเภอ๑๕ตำบล๖๕หมู่บ้านแบ่งเป็น

- จังหวัดลพบุรีจำนวน๙๖,๖๕๘ไร่๓อำเภอได้แก่อำเภอพัฒนานิคมอำเภอท่าหลวงและอำเภอชัยบาดาล

รวม๑๓ตำบล๖๐หมู่บ้าน

- จังหวัดสระบุรีจำนวน๘,๖๔๒ไร่๑อำเภอได้แก่อำเภอวังม่วงรวม๒ตำบล๕หมู่บ้าน

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ

๔๕

Page 50: รองปก - Rajamangala University of Technology Srivijayapr.rmutsv.ac.th/sites/pr.rmutsv.ac.th/files/file1-50.pdf · 2017-03-21 · โครงการอัน ... ดังเช่น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านการปรับปรุงคุณภาพดิน