บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร...

19
บทที4 ไทเขินชุมชนนันทารามในบริบททางประวัติศาสตร ชาวไทเขินบานนันทาราม อพยพมาจากเชียงตุงดวยความจําเปนทางการเมืองมาตั้งถิ่น ฐานอยูที่เชียงใหมเมื่อ .. 2350 ในสมัยพระเจากาวิละ ขณะนั้นเชียงใหมมีฐานะเปนประเทศราช ของไทย ตอมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ไดมีการผนวกลานนาเขาเปนสวน หนึ่งของรัฐชาติสยาม ชาวไทเขินจึงมีสถานะเปนพลเมืองของรัฐชาติสยาม ผลกระทบใดอันเกิดแก รัฐชาติสยาม ยอมสงผลกระทบตอชุมชนนันทารามดวย ทั้งทางตรงและทางออม ความเปลี่ยนแปลง ใหญที ่มีผลตอโครงสรางเศรษฐกิจ การเมือง ในระดับชาติ คือ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง .. 2475 ระบบทุนนิยมโดยรัฐของจอมพล . พิบูลสงคราม ระบบทุนนิยมภายใตแผนพัฒนา เศรษฐกิจสังคมแหงชาติที่เริ่มในสมัยจอมพลสฤษดิธนะรัชต เปนการวางโครงสรางเศรษฐกิจ พื้นฐานไวให และรัฐบาลไดดําเนินตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีสืบมาจนถึงปจจุบัน ชาวไท เขินจึงตองปรับตัวภายใตกรอบของเชียงใหมและรัฐบาลกลางไปพรอม กัน 4.1 ประวัติความเปนมาของชาวไทเขินที่ชุมชนนันทาราม ชาวไทเขินเปนกลุมชาติพันธุของชาวไทกลุมหนึ่ง ที่ตั้งถิ่นฐานอยูเหนือเขตแดนลานนา ในบริเวณที่เรียกวา เมืองเชียงตุง ปจจุบันอยูในสหภาพเมียนมารหรือสหภาพพมา เมืองเชียงตุงตั้งอยู หางจากชายแดนไทยดานเหนือที่ดานทาขี้เหล็ก อําเภอแมสาย จังหวัดเชียงราย มีถนนเลียบแมน้ํา เลนขึ้นไปเปนระยะทาง 168 กิโลเมตร อาณาเขตของเมืองเชียงตุง มีพื้นที่มากกวารัฐใด ในรัฐ ฉาน คือประมาณครึ่งหนึ่งของแผนดินไตเงี้ยว ทางดานตะวันตกของแมน้ําสาละวินรวมกัน ถายก แควนละวา (wa state) ซึ่งอยูทางเหนือออกเสีย ทางฟากตะวันออกของแมน้ําสาละวินเหยียดลง มาทางใตถึงเมืองสาด เมืองหาง ก็เปนดินแดนของเชียงตุงทั้งหมด แบงการปกครองออกเปนเมือง (อําเภอ) ที่สําคัญนอกเหนือจากเมืองเชียงตุง ก็มี เมืองยอง เมืองเลน เมืองโก เมืองขาก เมืองเปง เมืองสาด เมืองเชียงตุง เปนรัฐฉานที่ใหญที่สุดทางฝงตะวันออกของแมน้ําคง หรือแมน้ําสาละวิน ตั้งอยูที่ละติจูดที21 องศา 17 ลิปดา 48 ฟลิปดาเหนือ และลองติจูด 99 องศา 40 ลิปดา ตะวันออก ความสูง 2,700 ฟุตเหนือระดับน้ําทะเล

Upload: others

Post on 30-Oct-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

บทท่ี 4 ไทเขินชุมชนนันทารามในบริบททางประวัติศาสตร

ชาวไทเขินบานนันทาราม อพยพมาจากเชียงตุงดวยความจําเปนทางการเมืองมาต้ังถ่ิน ฐานอยูท่ีเชียงใหมเม่ือ พ.ศ. 2350 ในสมัยพระเจากาวิละ ขณะนั้นเชียงใหมมีฐานะเปนประเทศราชของไทย ตอมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหวั ไดมีการผนวกลานนาเขาเปนสวนหนึ่งของรัฐชาติสยาม ชาวไทเขินจึงมีสถานะเปนพลเมืองของรัฐชาติสยาม ผลกระทบใดอันเกิดแกรัฐชาติสยาม ยอมสงผลกระทบตอชุมชนนันทารามดวย ท้ังทางตรงและทางออม ความเปล่ียนแปลงใหญท่ีมีผลตอโครงสรางเศรษฐกิจ การเมือง ในระดับชาติ คือ การปฏิวัติเปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ระบบทุนนยิมโดยรัฐของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระบบทุนนิยมภายใตแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแหงชาติท่ีเร่ิมในสมัยจอมพลสฤษด์ิ ธนะรัชต เปนการวางโครงสรางเศรษฐกิจพื้นฐานไวให และรัฐบาลไดดําเนนิตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนยิมเสรีสืบมาจนถึงปจจุบัน ชาวไทเขินจึงตองปรับตัวภายใตกรอบของเชียงใหมและรัฐบาลกลางไปพรอม ๆ กัน 4.1 ประวัติความเปนมาของชาวไทเขินท่ีชมุชนนนัทาราม ชาวไทเขินเปนกลุมชาติพันธุของชาวไทกลุมหนึ่ง ท่ีต้ังถ่ินฐานอยูเหนือเขตแดนลานนา ในบริเวณท่ีเรียกวา เมืองเชียงตุง ปจจุบันอยูในสหภาพเมียนมารหรือสหภาพพมา เมืองเชียงตุงต้ังอยูหางจากชายแดนไทยดานเหนือท่ีดานทาข้ีเหล็ก อําเภอแมสาย จังหวัดเชียงราย มีถนนเลียบแมน้ําเลนข้ึนไปเปนระยะทาง 168 กิโลเมตร อาณาเขตของเมืองเชียงตุง มีพื้นท่ีมากกวารัฐใด ๆ ในรัฐฉาน คือประมาณคร่ึงหนึ่งของแผนดินไตเง้ียว ทางดานตะวันตกของแมน้ําสาละวินรวมกัน ถายกแควนละวา (wa state) ซ่ึงอยูทางเหนือออกเสีย ทางฟากตะวันออกของแมน้ําสาละวินเหยียดลงมาทางใตถึงเมืองสาด เมืองหาง ก็เปนดินแดนของเชียงตุงท้ังหมด แบงการปกครองออกเปนเมือง (อําเภอ) ท่ีสําคัญนอกเหนือจากเมืองเชียงตุง ก็มี เมืองยอง เมืองเลน เมืองโก เมืองขาก เมืองเปง เมืองสาด เมืองเชียงตุง เปนรัฐฉานท่ีใหญท่ีสุดทางฝงตะวนัออกของแมน้ําคง หรือแมน้ําสาละวิน

ต้ังอยูท่ีละติจดูท่ี 21 องศา 17 ลิปดา 48 ฟลิปดาเหนือ และลองติจูด 99 องศา 40 ลิปดาตะวนัออก ความสูง 2,700 ฟุตเหนือระดับน้ําทะเล

Page 2: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

34

ภาพท่ี 4.1 แผนท่ีแสดงท่ีตั้งเมืองเชยีงตุง ประเทศพมา (ท่ีมา : เร่ืองเมืองเชียงตงุ, 2537:5)

Page 3: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

35

ภูมิศาสตรของเมืองเชียงตุง ต้ังอยูดานทิศตะวนัออกของท่ีราบสูงฉาน มีลักษณะเปน แองกนกระทะ ลอมรอบดวยเทือกเขา และอยูระหวางแมน้ําสําคัญ 2 สาย คือ แมน้ําสาละวินทางตะวนัตก และแมน้ําโขงทางตะวันออก นบัวาเปนรัฐฉานท่ีใหญท่ีสุดท่ีเปนเมืองข้ึนของประเทศพมา ลักษณะทางภมิูศาสตรนั้นปรากฏในปริศนาท่ีชาวเมืองเชียงตุงกลาวถึงเมืองของเขาวา “สามจอม เจ็ดเชียง เกาหนอง สิบสองประตู” โดยอธิบายถึง 3 จอม วาคือ ท่ีสูงหรือยอด ไดแก จอมคํา จอมสก จอมบน (จอมมน) เชียง 7 เชียง คือหมูบานดัง้เดิมของเมืองเชียงตุง ไดแก เชียงยืน เชียงจันทร เชียงลาน เชียงงาม เชียงขุม เชียงจีน และเชียงจาม ภายหลังมีหมูบานเพิม่ข้ึนอีกแตแมจะเปนเพยีงหมูบานก็เรียกวาเชียง เชน เชียงของ เชียงพราว เชียงแกว เชียงอินและเชียงคํา คําวาเชียง จึงไมไดหมายถึงเมืองท่ีมีกําแพงลอมรอบอยางเชียงใหม หรือเชียงรายเทานั้น สวนเกาหนอง ไดแก หนองตุง หนองเย หนองยาง หนองทาชาง หนองแกว หนอง ไค หนองปอง หนองผา และหนองเข ปจจุบันเหลืออยูเพียงหนองตุงและหนองยางเทานั้น หนองตุงเปนหนองใหญท่ีสุดอยูเกือบใจกลางเมือง สวนหนองอ่ืน ๆ ถูกถม หรือต้ืนเขินกลายเปนท่ีต้ังบานเรือนของประชาชน ในอดีตหนองเหลานี้ เปนแหลงน้ํากินน้ําใช เปนแหลงสัตวน้ํา และใชสําหรับระบายน้ําในฤดูฝน เนื่องจากเชียงตุงเปนแอง อยูทามกลางภูเขาสลับซับซอน ภูมิประเทศของเชียงตุงมีท่ีราบนอย มักเปนเนินสูง ๆ ตํ่า ๆ ทําใหเกิดเปนท่ีลุม หนอง บึง มีน้ําขังในและนอกตัวเมือง ประตูท้ัง 12 ประตูของเชียงตุง ไดแก ประตูเชียงลาน เปนเสนทางไปทาข้ีเหล็ก ประตู ปาแดงไปดอยเหมย ประตูมานหรือประตูมังคละ ประตูน้ําบอออยไปเมืองลา ประตูวัดยางกวง ประตูหนองผาไปเมืองยาง ประตูไกไหไปบานนอยหนอ ประตูหนองเหล็กไปบานเฟยลง ประตูยางคําไปบานเชียงฟองและเมืองตองยี ประตูแจงเมืองไปบานกอ ประตูผายังและประตูยางฟา การท่ีเมืองเชียงตุงมีประตูมากกวาเมืองโบราณอ่ืน ๆ นั้น เปนเพราะเชียงตุงถูกลอมรอบดวยภูเขา มีเนินเขาท่ีใชเปนกําแพงธรรมชาติบางตอน บริเวณท่ีเปนท่ีราบมีการสรางกําแพงเมืองเสริม จึงตองสรางประตูไวดวย ปจจุบันประตูเมืองหลายแหง ไมปรากฏรองรอยใหเห็นแลว (รัตนาพร เศรษฐกุล, 2537 : 27-28) เมืองเชียงตุงมีหลายช่ือไดแก “เมืองขืน” “เมืองเขิน” หรือ “เมืองเขมรัฐ” มีคําอธิบายท่ีมาของช่ือไวในตํานานหลายเลม คําวาเมืองขืน ใน ตุงครสีพื้นเมืองเชียงใหม ฉบับของอาจารยไกรศรี นิมมานเหมินทร ท่ีคัดลอกจากเมืองเชียงรุง โดย หลี ฟู อ้ี ซ่ึงอพยพไปต้ังถ่ินฐานท่ีเมืองไทเป ไตหวัน เขียนลงกระดาษสมุดดวยอักษรไทยวน อธิบายวา

Page 4: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

36

“...ในสมัยพญามังราย ไดรบชนะเมืองเชียงตุงจากพวกลัวะ พระองคไดมอบหมายใหน้ํา ถุมน้ํานานเปนหัวหนา พาไพรพลจากเมืองเชียงแสนและเมืองเชียงราย อพยพมาต้ังถ่ินฐานท่ีเมืองเชียงตุง ชาวเมืองท้ังสองอพยพไปแลวไมชอบเมืองเชียงตุง ไดอพยพหลบหนีกลับมาเชียงแสน เชียงราย พญามังรายทรงใหกลับไปอีก ไพรพลเหลานี้จึงหนีลงมาอีก เมืองนี้จึงไดช่ือวา เมืองขืน (ขืน = กลับคืน)...” เมืองขืน ยังอาจหมายถึงเมืองท่ีมีแมน้ําไหลข้ึนไปทางทิศเหนือ ซ่ึงผิดธรรมชาติโดยท่ัว

ไป ท่ีแมน้ํามักจะไหลจากทิศเหนือไปทิศใต แตแมน้ําไหลข้ึนเหนือจึงเรียกวา แมน้ําขืน คนท่ีอาศัยอยูบนฝงแมน้ํานี้ เรียกวา ไทขืน สวนตํานานเมืองเขินเกีย่วกบัประวัติพญาเจือง (พระยาลวจังคราช) มีราชบุตรช่ือเจา ลาวคําคอบ ปกครองเมืองมา เมืองเชียงของ เจาลาวคําคอบใหราชบุตรช่ือเขมราช นําบาวจํานวน 70 คนไปสรางเมืองเชียงตุง บาวท่ีไปสรางเมืองตายหนึ่งคน ยังเขินอยู (เหลืออยู) 69 คน เมืองนี้จึงไดช่ือวา “เมืองเขิน” สวนคําวา “เขมรัฐ” นั้น สันนิษฐานกนัหลายประเด็น บางทานบอกวามาจากช่ือ เจาบุญนําวา “รัตนภูมินทรนรินทรา เขมาธิบดีราชา” หมายความวาเปนเจาผูครองนครเขมรัฐพระองคแรก หรืออาจมาจากช่ือท่ีเนื่องมาจากเดิมนั้น เมืองเชียงตุงมีโรคภัยไขเจ็บชุกชุมมาก ใครไปครองเมืองก็อยูไดไมนาน จึงตองเอาเมืองถวายสงฆ พระสงฆไดเปล่ียนช่ือใหมเปน “เขมรัฐ” (อรุณรัตน วิเชียรเขียว, 2537 : 2-3) จากความเปนมาของช่ือ จะเห็นวาเชียงตุงมีความใกลชิดกับราชวงศเชียงแสน ในฐานะ

ท่ีเปนผูสรางเมืองเชียงตุง จากประวัติพญาเจือง หรือการเขาไปปกครองเมืองของพญามังราย “...ในอดีตนัน้ เมืองเชียงตุงเปนถ่ินท่ีต้ังอยูของลัวะ พญามังรายเสด็จประพาสปาลาสัตว ทรงเห็นภูมิประเทศอุดมสมบูรณเหมาะแกการสรางบานแปงเมือง จึงสงกําลังพลไปปราบลัวะไดสําเร็จในป พ.ศ.1786 จึงไดสรางเวียงข้ึนบริเวณหนองตุง เรียกช่ือวา “เมืองตุงคบุรี” ตามช่ือหนองและช่ือของตุงคฤาษี ท่ีมาทดน้ําในหนองน้ํา เชียงตุงจึงเปนเมือง “ลูกชางหางเมือง” ข้ึนกับอาณาจักรลานนาต้ังแตนั้นมา...” (สงวน โชติสุขรัตน, 2515 : 38-42 ) ต้ังเปนเมืองอยูท่ีบริเวณหนองตุง ใหผูนําชาวลัวะปกครองเมืองเปนสวนหนึ่งของแควน โยน ความเปนมาของเชียงตุงเปนเร่ืองราวปรัมปราคติ ท่ีผสมผสานนิทานพ้ืนบานและพุทธศาสนา ตํานานกลาวอธิบายช่ือเมืองเชียงตุงวา มาจากช่ือของตุงคฤๅษี ผูใชไมเทาเหล็กขีดลงบนพ้ืนดินใหเปนรองเพ่ือระบายใหน้ําท่ีทวมอยูไหลออกไปจนสรางบานเมืองข้ึนมาได (ทวี สวางปญญากูร, 2529 : 21 – 25)

Page 5: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

37

กําเนิดของเมืองเชียงตุงในตํานานนั้น เปนนิยายปรัมปราท่ีผูกโยงกับเร่ืองราวของพุทธ ศาสนา กับการประดิษฐานพระธาตุเพื่อตอกย้ําความสําคัญของเมืองในฐานะเปนสวนหนึ่งของอาณาจักรลานนา แมสมัยแรกเจาเมืองลัวะตองมาเฝาพญามังราย ท่ีเมืองเชียงรายหรือเชียงใหม เพือ่รับใช หรือ “เอาเวียกเอาการ” ในฐานะเปนสวนหนึ่ง ตอมาความสําคัญทางยุทธศาสตรของเมืองเชียงตุงทําใหกษัตริยเชียงใหมสงพระโอรสไปปกครองเมืองเชียงตุง โดยมีอํานาจในการปกครองตนเอง ภายหลังเชียงตุงและเชียงใหมมีฐานะเปนบานพี่เมืองนอง มีบางสมัยท่ีกษัตริยลานนาเขมแข็งจะขยายอํานาจไปเหนือเมืองเชียงตุง สวนความสัมพันธดานศาสนานั้น ในยุคทองของพุทธศาสนาในลานนา เชียงตุงรับเอาพุทธศาสนานิกายสวนดอกและปาแดงจากเชียงใหม มีการสงพระสงฆมาเรียนท่ีเชียงใหม สํานักสงฆสําคัญของเชียงตุงสืบทอดจากเชียงใหม (รัตนาพร เศรษฐกุล, 2552 : 11) ในยุคท่ีเชียงใหมตกเปนประเทศราชพมากวาสองรอยป (พ.ศ. 2101 – 2317) เชียงใหมมี ฐานะเทียบเทากับเชียงตุง (รัตนาพร เศรษฐกุล, 2552 : 12) การที่เชียงตุงเปนรัฐไทใหญท่ีอยูชายขอบ พมาจึงใหความสําคัญมาก เพราะถือเปนกําแพงปองกันชายแดนของพมาจากการรุกรานของจีนและสยาม ท้ังยังเปนฐานท่ีม่ันของพมาสําหรับขยายอํานาจไปยังรัฐไทอ่ืน ๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งสิบสองปนนา เม่ือพมาครอบครองเชียงตุงไดใน พ.ศ. 2307 พมาไดเสริมการปองกันเมืองเชียงตุงดวยการสรางกําแพงสูงกวา 15 ฟุต กําแพงช้ันในทําดวยอิฐลอมรอบดวยคูน้ํา กําแพงช้ันนอกเปนเนนิดินเหมือนกับกําแพงเมืองเชียงใหม (รัตนาพร เศรษฐกุล, 2552 : 6) ความขัดแยงระหวางโปมะยงุวน (โปหัวขาว) ขุนนางพมาท่ีไดรับการแตงต้ังจากพมาให มาเปนเจาเมืองเชียงใหมเม่ือ พ.ศ. 2312 มีนโยบายกดข่ีขมเหงชาวลานนามาก สวนขุนนางชาวพื้นเมืองก็ถูกโปมะยุงวนลิดรอนอํานาจ สรางความไมพอใจแกพระยาจาบาน (บุญมา) และพระยากาวิละ จนตอสูกนักลางเมืองใน พ.ศ. 2314 การตอสูในคร้ังนั้นถือเปนจดุแตกหัก เพราะโปมะยุงวนส่ังจับครอบครัวของพระยาจาบานและพระยากาวิละเพื่อไปใหกษัตริยอังวะ ความบีบค้ันจากโปมะยุงวน ผลักดนัใหพระยาจาบานและพระยากาวิละตัดสินใจมาเขากับฝายไทยในสมัยกรุงธนบุรี ดวยการผนึกกําลังระหวางกองทัพลานนากับกองทัพของพระเจากรุงธนบุรี พระยาจาบานและพระยากาวิละก็สามารถเอาชนะพมาไดในการสงครามป พ.ศ. 2317 (สรัสวดี อองสกุล, 2544 : 261-262) ปูนบําเหนจ็ท่ีพระเจากรุงธนบุรี ทรงตอบแทนความดคีวามชอบแกพระยาจาบาน คือ โปรดเกลาฯใหพระยาจาบานเปนพระยาวเิชียรปราการปกครองเมืองเชียงใหม พระยากาวิละครองเมืองลําปาง สวนนองพระยากาวิละอีก 6 คนใหชวยราชการเมืองลําปาง เจาเจ็ดตนพ่ีนองไดรวมกันปองกันเมืองลําปางใหพนจากการรุกรานของพมาอยางเขมแข็ง ขณะท่ีทางเชียงใหมเม่ือพมาไปตั้งหลักท่ีเชียงแสนไดแลว กลับนําทัพใหญมาตีเชียงใหมอีกคร้ังเม่ือ พ.ศ. 2319 พระยาวิเชียรปราการตานทานไมไดตองหนีออกจากเชียงใหมไปพึ่งลําปาง ปลายสมัยกรุงธนบุรี เชียงใหมจึงเปนเมืองราง มีทัพพมาคุมเชิงท่ีเชียงแสนและฝาง (สรัสวดี อองสกุล, 2544 : 262-263)

Page 6: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

38

เม่ือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจฬุาโลกเสด็จข้ึนครองราชยเม่ือ พ.ศ. 2325 ทรง โปรดเกลาฯ ใหพระยากาวลิะรับตําแหนงเจาเมืองเชียงใหม แลวแบงไพรพลจากเมืองลําปางไปต้ังม่ันท่ีเวยีงปาซางกอน เพราะขณะนั้นเชียงใหมเปนเมืองรางและยงัตกอยูภายใตอิทธิพลของพมา พระยากาวิละต้ังม่ันอยูท่ีเวียงปาซางถึง 14 ป จึงสามารถตั้งเมืองเชียงใหมไดใน พ.ศ. 2339 ในตํานานสิบหาราชวงศ เลมท่ี 3 ผูกท่ี 6 – 7 ใหภาพบานเมืองลานนาวาอยูในสภาพ “...บานหางนาหาง บานอุกเมืองรก ไปทางใตก็กลัวเสือ ไปทางเหนือก็กลัวชาง บานเมืองบม่ันบเท่ียง...” เจาเจ็ดตนและเจานายเมืองนานเมืองแพร ไดฟนฟูบานเมืองข้ึนมาดวยการ “ฟนมาน” แตการปลดแอกจากอํานาจพมาไมไดทําใหบานเมืองคืนสภาพความเปนปกแผน เพราะผูคนจากลานนาสูญหายตายจากจนบานเมืองราง ความเขมแข็งของผูนําลานนาทําใหสามารถรวบรวมกําลังคนไดจํานวนหนึ่ง และเร่ิมท่ีจะ “สืบเสาะซองสุมแสวงหากําลังไพรพลมาต้ังบานเมือง” โดยทําสงครามกวาดตอนผูคนจากเมืองตาง ๆ ทางเหนือมาต้ังถ่ินฐานในบานเมืองของตนเอง เชียงใหม ลําพูน และลําปาง กวาดตอนผูคนทางตะวันตกของแมน้ําสาละวินและแมน้ําโขง ในขณะท่ีแพรและนานขยายอํานาจไปสูบานเล็กเมืองนอยทางแมน้ําโขง (รัตนาพร เศรษฐกุล, 2552 : 15) ดวยความดีความชอบ ท่ีเจากาวิละตีหัวเมืองเล็กเมืองนอยชายแดนที่เคยอยูภายใตอํานาจ ของเชียงตุงและรัฐไทใหญตาง ๆ ท่ีเปนเมืองข้ึนของพมาใน พ.ศ. 2345 ทําใหพระยากาวิละไดรับการโปรดเกลาฯ ใหเปนเจาประเทศราช มีสมญาวา พระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศองคอินทรสุรศักดิ์สมญามหาขัตติยราชชาติราชาไชยสวรรยเจาขัณฑสีมาพระนครเชียงใหมราชธานี (รัตนาพร เศรษฐกุล, 2552 : 16) กรณีของเมืองเชียงตุง เม่ือ พ.ศ. 2345 พระยาอุปราชธรรมลังกาเมืองเชียงใหม ยกทัพไป ปราบราชาจอมหงท่ีเมืองสาดไดสําเร็จ จงึยกกําลังตอไปเมืองเชียงตุง ยึดเมืองเชียงตุงได แตเจาฟาเชียงตุง (ศิริชัยโชติสารัมภยะ) อพยพไพรพลไปอยูเมืองหลวง เมืองยาง และเมืองแลม รอจนกองทัพเชียงใหมยกกลับไปจึงกลับไปเชียงตุงเชนเดิม หลังจากผูนําเชียงใหมขับไลพมาออกจากเชียงแสนซ่ึงเปนท่ีม่ันสุดทายไดสําเร็จใน พ.ศ. 2350 สรางความเช่ือม่ันใหกับเจาเมืองตามชายแดน เชียงใหมจึงสามารถใชยุทธวิธีเกล้ียกลอมใหเจาฟาเชียงตุง นาํไพรพลหลายรอยครอบครัวเขามาอยูท่ีเมืองเชียงใหม ซ่ึงคือพวกไทเขินวัดนนัทาราม (รัตนาพร เศรษฐกุล, 2552 : 17) เหตุการณท่ีไทเขินอพยพครอบครัวมานั้น ปรากฏในตํานานพืน้เมืองเชียงใหมวา “...สมเด็จเสฎฐปรมบพิตรภมิูนทรัฎฐาธิบดี พระเจาเชียงใหมองคเปนพระวรราชเชฎฐา มีพระราชอาชญาเกณฑหื้อทาวคําแกนคุมโยธาตาหาน 300 คนข้ึนไพฟูจาเกล้ียกลอมเจาหอคําเชียงตุง ทาวแกนคําก็รับอาชญาสมเด็จพระเปนเจาข้ึนไพฟูจาปราสรัย เกล้ียกลอมเจาหอคําเชียงตุงสวามิภักดสมัคคยินดีดวยบอรมพุทธิสมพาร ก็พาเจานายนองนุงลูกหลานทาวพระญาเสนาอามาตยไพรไท ลงมาเปนขาราชการในพระนครเชียงใหม...

Page 7: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

39

...ทาวแกนคําครอบคลุมเอาเจาหอคําลงมาเถิงในเมืองเชียงใหม กใ็นสกราช 1166 ตัว ปลีกาบใจสมเด็จ เพราะเปนเจาก็ประทานสิรินามศักดิต้ั์งทาวคําแกน ข้ึนเปนพระญาคอนเมืองราชเสนาหั้นแล...” (คณะอนุกรรมการตรวจสอบและชําระตํานานพื้นเมืองเชียงใหม, 2538 : 137-138) จํานวนคนท่ีมาในคร้ังนั้น มีงานวิชาการกลาววา เจาหอคําเชียงตุงชักชวน เจานาย ขุนนาง ขาราชบริพาร พระภกิษุ และไพรพลเมือง อพยพผูคนมาจากเมืองเชียงตุงมาอยูในเมืองเชียงใหมในลักษณะ “เทครัว” มาท้ังเมือง สงผลใหเมืองเชียงตุงมีสภาพเปนเมืองราง (สรัสวดี อองสกุล, 2544 : 313-314) ในเร่ืองการอพยพโยกยายผูคนมาในลักษณะเทครัวหมดท้ังเมืองนั้น ไมนาจะเปนไปได คงมีเพียงการนํากําลังไพรพลของเจามหาสิริชัยสารัมพยะ (ศิริชัยโชติสารัมภยะ) (พ.ศ. 2331-2346) อพยพมาเทานัน้ ดังปรากฏหลักฐานวา แมจะถูกโจมตีและกวาดตอนผูคนมาเปนจํานวนมาก แตเมืองเชียงตุงไมไดเปนเมืองราง เพราะเจามหาขนานเช้ือสายเจาฟาเชียงตุง ยังกบดานอยูท่ีเมืองยาง ไมไดเขามาสวามิภักดิก์ับสยาม ในตํานานปาแดงกลาววา เจามหาขนานตองการฟนฟบูานเมืองของตน ไมตองการไปอยูกับเชียงใหม เพราะเกรงจะส้ินชาติเผาพันธุไปเสีย ซ่ึงตอมาพมายนิยอมใหเจามหาขนานปกครองเมืองเชียงตุง โดยต้ังใหเปนเจาฟาเขมรัฐมหาสิงหะบวรสุธรรมราชา เจามหาขนานจึงยอมสวามิภักดิ์ตอพมา เหตุการณคร้ังนั้นทําใหอํานาจของพมาในรัฐไทใหญเขมแข็งข้ึนอีก เชียงใหมเร่ิมระแวงวาหากเชียงตุงต้ังม่ันข้ึนได จะทําใหผูคนท่ีกวาดตอนมาจากเมืองตาง ๆ ใตอํานาจของเชียงตุงอพยพกลับไปบานเมืองของตน ทําใหสูญเสียกําลังคนของลานนา (รัตนาพร เศรษฐกุล, 2552 : 18-19 ) ชาวไทเขินอพยพมาในยุคท่ีพระเจากาวิละกวาดตอนผูคนชาติพันธุตาง ๆ เขามาอยูใน เชียงใหม ท่ีรูจักกันวาเปนยุค “เก็บผักใสซา เก็บขาใสเมือง” และ “สรางบานแปงเมือง เก็บเอาไพรฟาขาแผนดินเขามาสอมบาน ใสเมือง” และจากการที่เชียงใหมเกรงวาไพรฟาจะหนีกลับเชียงตุง จึงนาจะมีนโยบายท่ีดูแลกลุมเจานายและไพรไทเขิน ท่ีอพยพมาอยูชุมชนวัดนันทารามอยางดี โดยพระยากาวิละ ไดจัดใหเจานายเชียงตุงและไพรพลเมืองท้ังหลายท่ีอพยพมาจากเชียงตุงต้ังถ่ินฐานอยูในพื้นท่ีระหวางกําแพงเมืองช้ันในกับกําแพงเมืองช้ันนอกทางดานทิศใตบริเวณรอบ ๆ วัดนันทาราม

Page 8: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

40

กําแพงเมือง

กําแพงเมืองรอบนอก

แมน้ําปง

ภาพท่ี 4.2 แผนท่ีแสดงการตั้งถ่ินฐานของชาวไทเขินบานนันทาราม

โดยใหเจานายเชียงตุงต้ังคุมอยูบริเวณหนาวัดนนัทารามพรอมดวยขาราชบริพาร และ ไพรพลท้ังหลาย ศิลป เทพรัตน ทายาทเจานายจากเชียงตุงเลาวากลุมเจานายไทเขินท่ีอพยพมาจากเชียงตุงคร้ังนัน้มีหลายองคไดแก เจากระหมอม เจาแสนเมือง เจามหาสิริชัยสารัมพยะ เจาเมืองเหล็ก เจามหาพรม เจาแมแกว และเจาแมคําแดง โดยคุมเจาเชียงตุงมี 2 คุม บริเวณฝงตรงกันขามกับวัดนันทารามเรียกวาคุมใต เปนท่ีอยูอาศัยของเจาแสนเมือง และเจามหาสิริชัยสารัมพยะ ถัดออกไปทางทิศเหนือเรียกวาคุมเหนือเปนท่ีอยูอาศัยของเจาแมคําแดง ซ่ึงเปนเจาพีเ่จานองกัน โดยในปจจุบันผูสืบเช้ือสายเจานายเชียงตุงเม่ือคร้ังอพยพมาบานนันทาราม ไดแก คนในสกุลเทพสุวรรณ เทพสิรินทร และเทพรัตน สวนไพรพลท้ังหลายก็ใหต้ังบานเรือนอยูบริเวณรอบๆ วัดนันทารามเพ่ือทําหนาท่ีรับใชเจานาย (ศิลป เทพรัตน, สัมภาษณ, 2551)

ทิศเหนือ

ไทเขิน

Page 9: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

41

ภาพท่ี 4.3 แผนท่ีแสดงท่ีตัง้คุมเหนือและคุมใตของเจาเชียงตุง ในการอพยพเขามาในคร้ังนี้ กลุมชาวไทเขินจากเชียงตุงไมไดมีฐานะเปนเชลยศึก สงครามอยางท่ีหนังสือหลายเลมกลาวไว จากคําบอกเลาของศิลปบงบอกวาเจานายเชียงใหมใหเกียรติเจานายเชียงตุง และใหปกครองดูแลบาวไพรของตนตอไป เนื่องจากถือเปนเช้ือสายเดยีวกัน คือเปนเช้ือสายพอขุนมังรายเชนเดยีวกัน โดยใหเกียรติยกยองวาเปน “เจานอกเมือง” สวนกลุมเจานายเชียงใหม เรียกวา “เจาในเมือง” เวลามีงานหรือพิธีการตางๆ ก็จะเชิญไปรวมงานเปนประจําอยางสมํ่าเสมอ (ศิลป เทพรัตน, สัมภาษณ, 2551) ดังปรากฏหลักฐานวา ในการปกครองกอนท่ีจะออกกฎหมายตางๆ ไดมีการปรึกษาหารือระหวางเจาเมืองเชียงใหม เจาเมืองลําพูน เจาเมืองยอง และเจาเมืองเชียงตุง นอกจากนี้ยังพบคําส่ังเม่ือป พ.ศ. 2354 ใหเจานายบุตรหลานสายเจาเจ็ดตน สายเจาเมืองยอง สายเจาเมืองเชียงตุง ตลอดจนสายเจาเมืองกาย เมืองวะ ใหสามัคคีกันใหถือเปนบานเมืองเดยีวกัน อยางไรกต็ามกลุมเจาอพยพคอยๆ ลดบทบาทลงตามลําดับ คาดวาในราวตนพุทธศตวรรษท่ี 25 (กอนการปฏิรูปการปกครอง) นาจะหมดบทบาทลงแลวดวยการผสมกลมกลืนกับคนในทองถ่ิน (สรัสวดี อองสกุล, 2544 : 272 - 273)

Page 10: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

42

สําหรับวัดนนัทารามท่ีกลายเปนศูนยกลางของชุมชนไทเขินนั้น จากประวัติของวดันัน ทาราม สันนิษฐานไดวา วัดนนัทารามคงสรางข้ึนหลังจากนครเชียงใหมสรางข้ึนมาแลว พระยามังรายทรงสรางนครเชียงใหมเม่ือปดับเม็ด พ.ศ. 1838 และวัดนนัทารามสรางข้ึนกอนสรางกําแพงเวยีงช้ันนอก (กําแพงดิน) และยงัพบวา กอนท่ีชาวไทเขินจะเขามาอาศัยอยู แตเดิมนั้นบริเวณรอบ ๆ วัดนนัทารามเปนท่ีอยูอาศัยของชาวลัวะ เชนเดยีวกบัตํานานวดัท่ัวไปในเชียงใหมท่ีมีลักษณะเดนเช่ือมโยงกับพทุธประวัติ ดังปรากฏในตํานานวดันันทารามวา “วัดนันทารามแตเดิมเปนปาไมไผ วันหนึ่งพระพทุธเจาไดเสด็จมาโปรดสัตว และประทับยั้งคืน ณ ท่ีแหงนี้ และไดมอบพระเกศาธาตุแกนายธะมิระ พรอมทํานายวา ณ ท่ีแหงนี้ตอไปภายหนาจักเปนอารามอันหนึ่งช่ือวานันทาราม ชะแล” (ตํานานวัดนนัทาราม, 2543 : 7-11) คําวานายธะมิระ นาจะหมายถึง ลัวะเผาหนึ่งซ่ึงตามตํานานลานนามักกลาวถึงลัวะวาเปนชนพืน้เมืองท่ีอาศัยอยูในเชียงใหมมากอน อยูบริเวณท่ีราบลุมแมน้ําปงตอนบน และสันนษิฐานกนัวาชุมชนลัวะคงจะมีศูนยกลางอยูบริเวณเชิงดอยสุเทพ (สรัสวด ี อองสกุล, 2544 : 52 ) เม่ือชาวเขินเขามาบูรณะวัดนนัทาราม วัดนี้เปนนิกายท่ีเรียกวา “นิกายเขิน” สภาพโดยท่ัวไปของชุมชนนนัทารามเม่ือแรกเร่ิมเดิมทีนัน้ มีสภาพเปนปาเสียสวนมาก โดยมากเปนปาไผ ปาข้ีเหล็ก บานเรือนของผูคนสวนใหญกระจุกตัวอยูรอบๆ บริเวณวัด บานนันทารามเปนชุมชนเกษตรกรรม ประกอบอาชีพทําไร ทํานา มีวิถีชีวิตท่ีสอดคลองกับการผลิตเชนเดยีวกับชาวไทยวนซ่ึงเปนชาวพืน้เมืองของเชียงใหมโดยท่ัวไป นอกจากการทาํการเกษตรแลวยังมีการทําเคร่ืองเขิน ซ่ึงถือวาเปนงานหัตถกรรมท่ีเปนลักษณะเดนทางชาติพันธุของชาวไทเขินบานนันทาราม โดยสืบทอดกันมาต้ังแตเม่ือคร้ังอาศัยอยูเชียงตุง นอกจากนัน้ยังสืบทอดการทําน้ําหนัง ซ่ึงถือเปนอาหารพื้นบานของชาวไทเขินอีกดวย พื้นท่ีไรนาของชาวไทเขินบานนันทารามสวนมากจะอยูบริเวณแถวประตูกอม วัดศรีปง เมือง ตอเนื่องไปยังศูนยวัฒนธรรมเชียงใหม และเลยไปทางดานทิศใตถึงแนวบริเวณท่ีต้ังหมูบานอมรนิเวศน ท่ีต้ังหางสรรพสินคาเทสโกโลตัสในปจจุบัน บางบานมีท่ีนาอยูบริเวณปากลวย ซ่ึงก็คือบริเวณสนานบินในปจจุบัน (ศิลป เทพรัตน, อดิเรก พัฒนวรรณ, สัมภาษณ, 2551) นอกจากการทําไรทํานาแลว ภายในบริเวณบานยงัมีการปลูกผัก ทําสวนครัว ปลูกไมยืนตนตาง ๆ ไวรับประทานในครัวเรือน นับวามีการอยูดีกินดีตลอดปไมเดือดรอน เม่ือวางเวนจากการทํานา ในฤดูฝน ชาวไทเขินบานนันทารามก็จะทําเคร่ืองเขิน หรือท่ี ชาวบานเรียกกันวา “คัวฮัก คัวหาง” คัวฮัก หมายถึง ส่ิงของเคร่ืองใชตาง ๆ ท่ีเคลือบดวยยางรักซ่ึงมีสีดํา สวนคัวหาง หมายถึง ส่ิงของเคร่ืองใชท่ีทาดวยผงสีชาด หรือสีแดง โดยมีวัตถุประสงคในการผลิตเพื่อใชสอยในครัวเรือน เปนการถวายพระสําหรับเปนเคร่ืองใชของสงฆและใชในพิธีกรรมทางศาสนา และทําถวายเจานายท้ังฝายเชียงใหม และเชียงตุง นอกจากนี้ ยังเปน

Page 11: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

43

สินคาหัตถกรรมท่ีใชแลกเปล่ียนกับชุมชนอื่น ๆ อีกดวย ซ่ึงเคร่ืองเขินท่ีผลิตข้ึนมานั้น มีหลายชนิด เชนขันน้ํา โอ พาน ขันหมาก ขันโตก ถาด กลอง ตลับ หีบ แอบ เปนตน เคร่ืองเขินท่ีใชในชีวิตประจําวันของชาวไทเขินบานนันทารามจะไมมีลวดลายพเิศษอะไร คงทาแตเพยีงยางรักเคลือบไวเทานั้น แตถาทําถวายวดั หรือถวายเจานายจึงจะทําอยางวจิิตรบรรจง เชนลงรักปดทอง หรือแกะลวดลายอยางงดงามเปนพิเศษ (ประเทือง สมศักดิ์, สัมภาษณ, 2551) นอกจากนี้ในชวงฤดูหนาว ชาวไทเขินบานนันทารามยงันิยมทําน้ําหนังไวรับประทาน กันเองในครัวเรือน ซ่ึงน้ําหนังถือเปนอาหารชนิดหนึ่งของชาวไทเขินท่ีติดมาจากเชียงตุง และไดรับความนิยมสืบทอดกันมา โดยมีกรรมวิธีการทําตางจากน้าํหนังท่ีอ่ืนๆ (บุญศรี สุทธิมา, สัมภาษณ, 2551) จะเห็นไดวา ระบบการผลิตของชาวไทเขินบานนันทารามมีความสัมพันธกับฤดูกาล ตามธรรมชาติ กลาวคือ เม่ือเสร็จจากการทําไรทํานา ก็จะไปทําเคร่ืองเขินจนถึงฤดูฝน พอเขาฤดูหนาวก็จะเลิกทําเคร่ืองเขินไปทําน้ําหนังแทน ซ่ึงสาเหตุท่ีไมสามารถทําเคร่ืองเขินและน้ําหนังไดตลอดป ก็เนื่องมาจากวา การทําเคร่ืองเขินและน้ําหนังตองอาศัยลมฟาอากาศ และอุณหภูมิท่ีเหมาะสม กรณีของเคร่ืองเขิน วัตถุดิบในการผลิตเครื่องเขิน คือ ยางรักจะสามารถแหงไดสนทิดีในชวงฤดูฝน สวนในฤดรูอนและฤดูหนาวรักจะแหงยาก และท่ีน้าํหนังตองทําในชวงฤดูหนาวก็เนื่องมาจากวา อากาศท่ีเย็นจะทําใหน้ําหนังกระดาง (แข็งตัว) (ดวงกมล ใจคําปน,บุญศรี สุทธิมา, สัมภาษณ, 2551) วัฒนธรรมของไทเขินและไทยวนมีความคลายคลึงกันมากท้ังดานชาติพันธุ และศาสนา ซ่ึงเปนพุทธดวยกัน ท้ังนีเ้นื่องมาจากความสัมพันธใกลชิดหลายดานท่ีสืบทอดกันมาต้ังแตสมัยของพญามังรายท่ีปกครองเมืองเชียงตุง หลังจากนั้นเจานายทางเชียงใหม เชียงตุง ตลอดจนเมืองสําคัญของกลุมไท ท้ังในอาณาจักรลานนา และบริเวณสิบสองปนนา รัฐฉาน (ท่ีรูจักกันในปจจุบัน) ไดมีความสัมพันธทางเครือญาติผานการสมรส นอกจากนีก้็มีความสัมพนัธดานการติดตอคาขาย สวนดานวัฒนธรรม มีหลักฐานแสดงวา เม่ือเชียงใหมรับพทุธศาสนานิกายลังกาวงศจากสุโขทัยในสมัยพญากือนา และทรงสรางวัดบุปผารามในอุทยานปาไมพยอม เม่ือพ.ศ. 1914 วัดบุปผารามไดเปนศูนยกลางของพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ หรือเรียกอีกสองช่ือวา นิกายวัดสวนดอก กับนิกายรามัญ พญากือนาทรงสนับสนุนใหพระภกิษุจากเมืองตาง ๆ เชน เชียงแสน เชียงตุง ใหเดินทางมาศึกษาพุทธศาสนาท่ีวัดบุปผาราม (สรัสวดี อองสกุล, 2544 : 135 - 138) พุทธศาสนาท่ีเชียงตุงจึงไดรับอิทธิพลจากเชียงใหม ซ่ึงถือเปนศูนยกลางพุทธศาสนาแทนหริภุญไชย ท้ังยังไดรับอิทธิพลจากนิกายวัดปาแดงท่ีเชียงใหมอีกดวย

Page 12: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

44

ส่ิงท่ีไทเขินแตกตางจากไทยวน คือ ภาษา แมวาภาษาไทเขินกับภาษาไทยวนจะมีความคลายคลึงกัน แตมีลักษณะสําเนียงท่ีแปลกออกไปจากภาษาไทยวน และมักจะมีคําลงทายดวย “แด” ดังนั้นชาวไทเขินบานนันทาราม จึงถูกเรียกวา “เขินแด” ตามคําลงทายท่ีชอบพูดติดปากเวลาส่ือสารกัน และแมวาตัวอักษรไทเขินจะใชอักษรธรรมเชนเดียวกับตัวอักษรลานนา แตก็มีความแตกตางกัน โดยตัวอักษรไทเขินจะไดรับอิทธิพลมาจากภาษาพมา สวนตัวอักษรลานนากมี็ภาษาไทยปะปนเขาไปมาก

อักษรไทเขิน อักษรไทยวน

ภาพท่ี 4.4 เปรียบเทียบตัวอักษรไทเขินและไทยวน (ท่ีมา : History of the Shan State from its Origins to 1962, 2009 : 27)

นอกจากนี้แลว การแตงกายของชาวไทเขินก็เปนลักษณะเดนท่ีแตกตางจากชาวไทยวน โดยผูชายจะนิยมนุงกางเกงขากวาง สวมเส้ือแขนส้ันตัวยาวแบบพมา โพกศรีษะดวยผาท้ิงชายต้ังข้ึนบน สวนผูหญิงนิยมแตงกายดวยเส้ือผาสีฉูดฉาดสวยงาม โดยจะสวมเส้ือแขนกระบอกเปนเส้ือเขารูปพอดีตัว คอปายท่ีเรียกวา “เส้ือปด” หรือ “เส้ือปาย” นุงผาถุงยาวกรอมเทา (บ. บุญคํ้า, 2499 : 75) การทําเคร่ืองเขิน ก็ถือเปนความชํานาญเฉพาะดานในการประกอบอาชีพท่ีแตกตางจาก ไทยวน และแมวาอาหารการกินของไทเขินและไทยวนจะคลายคลึงกนั แตชาวไทเขินก็มีน้ําหนัง ซ่ึงถือเปนอาหารพื้นบานท่ีสืบทอดมาจากเชียงตุง และส่ิงท่ีถือเปนลักษณะเดนอีกอยางของชาวไทเขินก็คือ ตํารายาวดันันทาราม ท่ีวากันวามีมาต้ังแตสมัยพระสังฆราชาสารภังค (พ.ศ. 2403 - 2472) หรือ

Page 13: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

45

เจาตุเทพวงศ เช้ือสายเจานายจากเชียงตุง โดยเปนตํารายาจากเชียงตุงจากพับสาโบราณ ตํารายานี้ไดรับการสืบทอดตอกันมาในสมัยเจาอาวาสรุนตอ ๆ มา โดยใชรักษากันในหมูชาวบานวัดนนัทารามท่ีเจ็บปวยโดยโรคตางๆ จนหายกันเปนจํานวนมาก 4.2 สถานะของชาวไทเขินชุมชนนันทาราม ชาวเขินท่ัวไปท่ีอยูท่ีชุมชนนนัทารามมีฐานะเปนไพร ไพร ในสังคมลานนา หมายถึง สามัญชนโดยท่ัวไปที่มิไดเปนมูลนายและมิไดเปนทาส ไพรมีความหมายรวมท้ังหญิงและชาย ไพรตองข้ึนสังกัดมูลนายคนใดคนหน่ึง หนาท่ีของไพร คือ การเขาเวรรับราชการตามระยะเวลาท่ีกฎหมายกําหนดไว เรียกวา “ไพรเอาเมือง” หากไมเขาเวรรับราชการจะตองสงเงินหรือส่ิงของตอบแทนการถูกเกณฑแรงงาน สวนไพรหญิงนั้น ปรากฏวามีการใชแรงงานของไพรหญิงลานนาเชนเดยีวกับสวนกลาง เนื่องจากปรากฏหลักฐานการมีไพรหญิงลานนาติดตามรับใชมูลนาย (หญิง) ช้ันสูงลงมากรุงเทพฯ ดวยมูลนายจะเขาเฝาถวายเคร่ืองราชบรรณาการ สรัสวดี สันนิษฐานวา ไพรหญิงในลานนาอาจถูกใชงานเปนบางกรณี เชน รับใชมูลนายหญิงหรือทํางานอยูในคุมเจานาย ซ่ึงจําเปนตองใชผูหญิงทํา แตโดยท่ัวไปแลว ไพรหญิงนาจะไดรับการยกเวนไมถูกเกณฑแรงงาน (สรัสวดี อองสกุล, 2544 : 432 - 433) ไพรถือเปนกําลังสําคัญของบานเมือง พระเจากาวิละเร่ิมสะสมกําลังคนในยุค “เก็บผัก ใสซา เก็บขาใสเมือง” ซ่ึงชาวเขินเชียงตุงก็เขามาอยูเชียงใหมตามนโยบายน้ี หลังจากการใหต้ังถ่ินฐานตามกลุมเช้ือชาติแลว จะต้ังคนเช้ือชาติเดียวกนัเปนหัวหนาหมูบานและผูท่ีเปนหัวหนาก็ข้ึนกบัเจานายในระดบัสูงตอไปเปนลําดับช้ันจนถึงเจาเมือง เขาใจวาทามกลางคนเมืองและชาติพันธุตาง ๆ ท่ีถูกอพยพกวาดตอนเขามานี้ ทางเมืองเชียงใหมคงพยายามหาวิธีผสมกลมกลืนใหเปน ‘คนเมือง’ แตไมทราบวิธีการชัดเจน (สรัสวดี อองสกุล, 2544 : 433) ชาวเขินก็คงข้ึนสังกัดลักษณะเดียวกับไพรลานนาโดยท่ัวไป และนาจะข้ึนเปนครอบ ครัว กลาวคือ คนในครอบครัวเดียวกนัก็จะข้ึนสังกัดมูลนายคนเดียวกัน การข้ึนสังกัดเชนนี้อาศัยทองท่ีเปนเกณฑ ไพรในสังคมลานนานัน้ “คนท้ังหลายอันอยูในเมืองใด กห็ากเปนขาเปนนอยแกทาวพระยาเมืองอันนั้น” (มณี พยอมยงค อางใน สรัสวดี อองสกุล, 2544 : 435) ไพรลานนามีลักษณะประจาํเมืองหรือรักษาเมือง ความใกลชิดกับมูลนายมีมากจนเปนไปไดวา มูลนายตนสังกัดจะรูจักตัวไพร สรัสวดี สันนิษฐานวา ไพรท่ีอยูในตัวเมืองหรือใกลกบัตัวเมืองจะถูกควบคุมใกลชิดกวาไพรท่ีอยูตามหัวเมืองชายแดน (สรัสวดี อองสกุล, 2544 : 434)

Page 14: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

46

ไพรทุกคนจะตองมีสังกัดโดยข้ึนสังกัดตอมูลนายคนใดคนหน่ึง และมิไดมีการข้ึนสังกัด ตอกรมกองหรือหนวยงานราชการใด ๆ พบหลักฐานวา มูลนายสวนใหญเปนเจานายญาติวงศ มีขุนนางบางแตนอย ไพรในลานนาจึงมีลักษณะเปนไพรสม คือไพรสวนตัวของมูลนาย รวมท้ังไพรของเจาเมืองกมี็ลักษณะเปนไพรสมเชนกนั กรณีท่ีไพรสมท่ีอยูหางไกลเดินทางมาเขาเวรไมสะดวก สามารถสงผลผลิตหรือเงินมาแทนแรงงานไดโดยเรียกไพรพวกนี้วาไพรสวย

มูลนายตนสังกัด

มูลนายระดับทองถ่ิน

ไพร

แผนภูมิท่ี 4.1 การควบคุมไพรในลานนา

จากแผนภูมิจะเห็นไดวา มูลนายระดับทองถ่ินมีความสําคัญคือเช่ือมอยูระหวางมูลนาย ตนสังกัดกับไพร มูลนายระดับทองถ่ินท่ีสําคัญ ไดแก แกบาน และแควน ซ่ึงจะทําหนาท่ีคุมไพรโดยตรง ทําหนาท่ีเกณฑราชการและเกบ็สวยใหแกทางราชการ มูลนายระดับทองถ่ินจะมีความใกลชิดกับไพรโดยจะทําหนาท่ีเปนผูประสานงานระหวางมูลนายตนสังกัดกับไพร ไมปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงรายช่ือมูลนายท่ีควบคุมไพรไทเขินในชวงเวลาตาง ๆ แตความสัมพันธระหวางมูลนายกับไพรไทเขินคงจะเปนไปดวยดี เพราะเจานายท้ังเชียงตุงท่ีอพยพมากับเจาเมืองเชียงใหมอยูในฐานะ “บานพี่เมืองนอง” อีกท้ังเช้ือสายไทเขินมักกลาวถึงลักษณะการอพยพของตนวา มาดวยความสมัครใจ เพราะถูกชักชวน มิไดเปนเชลยศึกท่ีแพสงคราม ผูนําชุมชนท่ีมีสถานะสูงไดรับการยอมรับสืบทอดกันมานาน คือ เจาอาวาสวัดนันทาราม โดยเฉพาะสมัยเจาอาวาสเปนเจานายไทเขินท่ีอพยพมาจากเชียงตุง ช่ือ พระสังฆราชาสารภังค และเจาอาวาสรูปตอ ๆ มา ก็เปนชาวไทเขินในชุมชนนั่นเอง ชุมชนนันทาราม มีความชํานาญพิเศษในการทําเคร่ืองเขิน ซ่ึงเปนงานหัตถกรรมท่ี ประณีต และตองอาศัยทักษะท่ีสืบทอดกันมารุนตอรุน ไมมีขอมูลชัดเจนวามีการเกณฑงานเคร่ืองเขินใหทําสงในคุมมากนอยเพียงไร สันนษิฐานวา นาจะมีบาง เนื่องจากปรากฏหลักฐานเคร่ืองใชในคุมเปนถาดเคร่ืองเขินท่ีมาจากบานเขินนันทาราม

Page 15: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

47

ภาพท่ี 4.5 – 4.6 ถาดเคร่ืองเขินท่ีใชในคุมหลวงสมัยเจาแกวนวรัฐ (ท่ีมา : พิพิธภณัฑวัดนันทาราม)

Page 16: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

48

ชาวไทเขินซ่ึงอยูในสถานะของไพรเมือง ไดดําเนินชีวติแบบวิถีเกษตรกรรมสืบทอดกัน มาเปนวงจรชีวิตท่ีเกีย่วของกับการทําหัตถกรรมเคร่ืองเขิน การทําน้ําหนัง สวนเจานายท่ีอยูคุม จากคําบอกเลาของชาวนันทารามท่ียังจําอดีตได กลาววา คุมมีความเปนอยูท่ีม่ังค่ังสืบมาจากเชียงตุง มีการเล้ียงชาง มา มีการทํานา เจานายก็ยังอยูในสถานภาพท่ีคนเขินใหความเคารพในฐานะเปนเจานาย เพราะการอพยพมากแ็สดงถึงความจงรักภกัดีท่ีไทเขินกลุมนี้มีตอ “เจานาย” อยูแลว ท้ังกลุมเจานายและไพรเมืองตางมีวัดนนัทารามเปนศูนยกลางของศาสนาพุทธท่ียึดเหนี่ยวจิตใจ และเปนศูนยของประเพณี พิธีกรรมทางศาสนาตาง ๆ 4.3 ไทเขินภายใตรัฐชาติสยาม ความเปล่ียนแปลงท่ีเร่ิมกระทบชาวไทเขินบานนันทาราม นาจะมาจากการปฏิรูปการ ปกครองซ่ึงเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 อันเปนกระบวนการยาวนานต้ังแต พ.ศ. 2427 – 2476 เพื่อรวมหัวเมืองประเทศราชลานนาเขาสูสวนกลาง อันเปนเหตุใหชาวไทเขินวัดนนัทารามไดเผชิญกับความเปล่ียนแปลงท่ีตามมาท้ังการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมอันจะกลาวตอไปในบทขางหนา แตสําหรับในสวนนี้ การปฏิรูปการปกครองสมัยท่ีเรียกวา “การปฏิรูปมณฑลลาวเฉียง (พ.ศ. 2427 – 2435)” นั้น เปนการเขาควบคุมการปกครอง และมีการจัดเก็บภาษเีพิม่จากทองถ่ินเพื่อนํามาใชจายในการปกครองตาม “ระบบกรุงเทพฯ” 1 (สรัสวดี อองสกุล, 2544 : 373-375) และในสมัย “การจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. 2442 – 2476)” นั้น รัฐบาลเขามาควบคุมดานการปกครองและเศรษฐกิจมากข้ึน ผลกระทบท่ีราษฎรไดรับคือการปฏิรูปดานการจัดเก็บภาษีอากร โดยเฉพาะการเก็บเงินแทนเกณฑชายฉกรรจจํานวน 4 บาทตอป สวนดานการปกครองนั้น หลังจากพระเจาอินทวิชยานนท (พ.ศ. 2416 – 2439) ถึงแกพิราลัยแลว รัฐบาลสยามไดผนวกเชียงใหมเปนสวนหนึ่งของไทย เจาเมืององคตอมามีฐานะเปนประมุขของเมืองเชียงใหม (สรัสวดี อองสกุล, 2544: 289) เจาแกวนวรัฐ (พ.ศ. 2454 – 2482) ถือเปนเจาเมืององคสุดทายของเชียงใหม เม่ือทานถึงแกพิราลัยแลว กไ็มมีการตั้งเจาเมืองอีก อันเปนไปตามนโยบายการยกเลิกตําแหนงเจาเมืองของรัชกาลท่ี 7 ท่ีกําหนดวา นับแต พ.ศ. 2469 เปนตนไป หากตําแหนงเจาเมืองใดวางลง จะไมโปรดเกลาฯ แตงต้ังอีก สวนเจาเมืองท่ีมีชีวติอยูจะไดเงินเดือนจนถึงแกพิราลัย

1 การจัดเก็บภาษีระบบกรุงเทพฯ คือ 1. การจัดเก็บระบบผูกขาดใหเจาภาษีนายอากรประมูล ครั้งแรก มภีาษี 5 ชนิด คือ ภาษีสุรา ภาษี

สุกร ภาษีนา ภาษีครั่ง และสมพัตสรตนไม 2. เพ่ิมชนิดของภาษีอากรข้ึนใหมหลายอยางซ่ึงแตเดิมมีแคภาษีขาว และภาษีหลังคาเรอืน 3. รูปแบบการจัดเก็บภาษีเปลี่ยนจากการจายเปนผลผลิตเปนเงิน

Page 17: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

49

หลังจากคณะราษฎรเปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ไดยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลใน พ.ศ. 2476 มณฑลพายพัจึงสลายตัว เชียงใหมซ่ึงเปนศูนยกลางของหวัเมืองฝายเหนอืไดมีฐานะเปนจังหวดัหนึ่งของประเทศไทย สวนทางเศรษฐกิจนัน้ จาก พ.ศ. 2475 ถึงการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 คณะรัฐบาลมีความ พยายามท่ีจะนาํระบบเศรษฐกิจทุนนยิมโดยรัฐ (State Capitalism) มาใช โดยเฉพาะในสมยัรัฐบาลจอมพล ป. พบูิลสงคราม ท้ังสองยุค (พ.ศ. 2481 – 2487 และ พ.ศ. 2491 – 2495) เปนการดําเนนินโยบายทางเศรษฐกิจสังคมโดยมีอุดมการณชาตินยิมและทุนนยิมเปนหลักการพื้นฐาน ซ่ึงสงผลกระทบตอภาคเหนือท่ีกลายเปนแหลงวัตถุดิบและตลาดระบายสินคาท่ีสําคัญสําหรับกรุงเทพฯ (ปลายออ ชนะนนท, 2529 : 96 - 97) ชวงเวลาท่ีจอมพล ป. พิบูลสงคราม อยูในอํานาจ ไดเกิดสงครามโลกคร้ังท่ี 2 ข้ึนเม่ือ พ.ศ. 2482 ญ่ีปุนซ่ึงสนใจขยายอํานาจมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต ยกพลข้ึนบกท่ีประเทศไทยเม่ือวันท่ี 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 มีการตอสูกันทาง 6 จังหวัดภาคใต แตจอมพล ป. หรือหลวงพบูิลสงครามส่ังใหหยุดตอตานญ่ีปุน ยอมใหญ่ีปุนผานแดนไทยไปยึดอาณานิคมของอังกฤษในพมาไดโดยสันติ ตอมาไดตกลงทําสัญญารวมรบและลงนามเปนทางการเรียกวาสนธิสัญญาพันธมิตร (Japan – Thailand Alliance) ในวันท่ี 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเม่ือวันท่ี 25 มกราคม พ.ศ. 2484 ไทยจึงตกอยูในภาวะสงครามจนถึง 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 รัฐบาลไดยึดกิจการท่ีเปนของนายทุนตางชาติฝายสัมพันธมิตรมาเปนของรัฐ เชน สัมปทานปาไมของบริษัทยโุรปทางภาคเหนือ ภาวะสงครามไดกอนใหเกดิผลกระทบทางเศรษฐกิจระดับตาง ๆ กับราษฎรโดยทั่วไป ท้ังท่ีเผชิญกับภาวะขาดแคลนสินคาอุปโภคบริโภค และกลุมท่ีสรางตัวจากการคาระหวางสงคราม หลังจากสงครามยุติไมนาน เกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยพลโทผิน ชุณหะวณั พันเอกเผา ศรียานนท และพันเอกสฤษด์ิ ธนะรัชต ซ่ึงตางแขงขันกันสรางฐานอํานาจทางเศรษฐกจิ กลุมทุนท้ังหลายท้ังสวนกลางและทองถ่ิน ตางตองพึ่งพิงการอุปถัมภของนักการเมืองและทหารที่มีอิทธิพล (ปลายออ ชนะนนท, 2529 : 106) ในระดับราษฎรภาคเหนือ การคาระหวางประเทศฟนตัว การขยายตัวของเศรษฐกิจสงผลใหมีสินคาจากตางประเทศท่ีนําเขามาขายหลากหลายข้ึน เชน ปากกา รถ รถจักรยานยนต รถจักรยาน (ปลายออ ชนะนนท, 2529 : 106) เม่ือจอมพลสฤษด์ิ ธนะรัชต ทํารัฐประหารขึ้นเม่ือ พ.ศ. 2500 รัฐบาลใหมไดเปล่ียน แปลงนโยบายเศรษฐกิจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดวยการยกเลิกกฎหมาย ขอบังคับท่ีเคยเปนขอจํากัดการขยายตัวของทุน และเปดโอกาสใหทุนจากตางประเทศเขามาลงทุนอยางเสรี โดยมีธนาคารโลกเขามามีบทบาท ในการกาํหนดแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจสังคมผานผูเช่ียวชาญที่สงมา

Page 18: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

50

สํารวจในป พ.ศ. 2500 – 2501 ผลการสํารวจนีไ้ดนํามาซ่ึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแหงชาติ ฉบับท่ี 1 (2504 – 2509) ท่ีรัฐไมมีบทบาทในการลงทุนทางการผลิตโดยตรง แตมีบทบาทกระตุนใหระบบทุนนยิมเติบโตข้ึนผานการลงทุนสรางโครงสรางพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เชน สรางเข่ือนผลิตไฟฟา ทางหลวง การส่ือสาร เปนตน การกอสรางโครงสรางเศรษฐกิจพืน้ฐาน มีผลตอระบบเศรษฐกิจท้ังดานการคา การผลิต การแลกเปล่ียนสินคาระหวางหมูบานกับเมือง เมืองกับกรุงเทพฯ ซ่ึงทําไดสะดวกและรวดเร็วยิ่งข้ึนโดยอาศัยทางหลวงท่ีเช่ือมศูนยกลางการคาในภูมิภาคกับกรุงเทพฯ สําหรับภาคเหนือ รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต ไดต้ังคณะกรรมการพัฒนาภาคเหนือ เม่ือพ.ศ. 2504 และกําหนดแผนท่ีดําเนินการในป พ.ศ. 2507 – 2509 มีการเนนหนกัดานการสรางทางหลวงแผนดินและจังหวดั แผนพัฒนาฯ ยังระบุวา เม่ือการสรางทางหลวงแผนดนิและเข่ือนภมิูพลแลวเสร็จ จะมีรากฐานสําหรับพัฒนาอุตสาหกรรมท่ีกวางขวางตอไป นอกจากนี้แผนพัฒนาฯ ยังเสนอใหจดัต้ังสถาบันสงเสริมอุตสาหกรรมขนาดยอมข้ึนในจังหวัดเชียงใหม เพื่อทําหนาท่ีสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดกลาง ในทองถ่ิน ตลอดจนเพ่ือรักษาอุตสาหกรรมในครอบครัวมิใหสูญหายไปและสงเสริมใหดียิ่งข้ึน ตอมาจึงมีการจดัต้ังศูนยบริการสงเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ (ปจจุบันคือศูนยสงเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ) (ปลายออ ชนะนนท, 2529 : 132) ในแผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี 3 (พ.ศ. 2515 – 2519) ไดกําหนดใหบริเวณจังหวัดเชียงใหมเชียงใหม ลําปาง ลําพูน เปนศูนยกลางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ไดกําหนดใหเชียงใหมเปนเมืองหลัก ในแผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี 4 (พ.ศ. 2520 – 2524) และไดมีความพยายามแกไขปญหาความเหล่ือมลํ้าทางเศรษฐกิจและสังคมระหวางสวนกลางกับสวนภูมิภาคในแผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี 4 แตความเหล่ือมลํ้ายังคงมีตอมา สวนของชาวไทเขินนั้น จะไดรับผลกระทบจากการท่ีตองปรับตัวอยูในกระแสเศรษฐกิจ แบบทุนนยิม ท่ีตองเขาไปเปนสวนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจและการเติบโตของสังคมเมือง อาชีพของชาวไทเขินท่ีสืบทอดกันมาคือเคร่ืองเขิน ไดกลายเปนหัตถอุตสาหกรรมอันเปนอาชีพท่ีชาวไทเขินพยายามอนุรักษไวและไดรับการสงเสริมจากศูนยสงเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ขณะท่ีหนาท่ีใชสอยของเคร่ืองเขินก็เปล่ียนแปลงไปจากเดิม เพราะสินคาอุตสาหกรรมเขาไปแทนท่ีผลิตผลจากหัตถกรรมพื้นบาน การดํารงอยูของหัตถกรรมจึงตองพึ่งพิงตลาดและกลไกทุนนยิมจากภายนอก นอกจากอาชีพการทําเคร่ืองเขินแลว ดานการเกษตรก็เปล่ียนแปลงไป การสูญเสียท่ีนา และการประกอบอาชีพท่ีหลากหลายข้ึน สงผลใหชาวไทเขินสวนหน่ึงอพยพยายถ่ิน ขณะท่ีมีคนท่ีมิใชไทเขินแตเดิมเขามาต้ังถ่ินฐานและประกอบอาชีพในชุมชนนันทาราม การปรับตัวใหเขากับ

Page 19: บทที่ 4 ไทเขินชุมชนน ันทารามในบร ิบททางประว ัติศาสตรarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/regio0452ip_ch4.pdf ·

51

สภาพแวดลอมตาง ๆ สงผลตอสังคมและวัฒนธรรมไทเขินใหมีลักษณะผสมกลมกลืนกับคนเมืองหรือไทยวนมากข้ึน ในขณะเดียวกัน ก็เปนพลเมืองท่ีรับวัฒนธรรมจากสวนกลางและคานยิมตะวนัตกไปพรอมกัน ดังจะเห็นถึงสภาพของชุมชนนันทารามในปจจุบันท่ีจะกลาวถึงบทท่ี 5