บทที่ 1 บทนำ - kasetsart universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/pdf_crime in...

23
1 พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม สถานีตารวจนครบาลบางเขน Risk areas of crime in Bangkhen Police Station ฐิติวรดา ชัยมานะพร 5710854735 นราธิป กุลชาติชัย 5710854948 ปิยมน คาหวาน 5710855049 สิริวสันต์ ลังกาวงศ์ 5710855294 บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม ในเขต พื้นที่รับผิดชอบสถานีตารวจนครบาลบางเขน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างงานวิจัยเชิง คุณภาพและเชิงปริมาณ การรวบรวมข้อมูลจะใช้วิธีการขอความอนุเคราะห์ข้อมูล และการสารวจ ภาคสนามโดยตรง การวิเคราะห์ข้อมูลจากการซ้อนทับข้อมูล การวิเคราะห์แบบรูปการกระจายตัว ของจุดคดีด้วยค่าดัชนีของจุดข้างเคียงที่ใกล้ที่สุด และเทคนิคการคาดประมาณความหนาแน่นแบบ เคอร์เนล การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมพิจารณาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ การใช้ ประโยชน์อาคาร ความกว้างของถนน และกาลังไฟฟ้าของดวงโคมไฟฟ้า คดีอาชญากรรมที่นามา วิเคราะห์ คือ คดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และประเภทความผิด เกี่ยวกับทรัพย์ โดยใช้สถิติการเกิดคดีระหว่างปี 2555 – 2559 โดยจะแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 8 ช่วง ช่วงเวลาละ 3 ชั่วโมง โดยเริ่มจาก 00:00 – 02:59 น. จนถึง 21:00 – 23:59 น. ผลการวิจัยแบ่ง ออกเป็น 2 ส่วน แยกตามประเภทของคดีอาชญากรรม ดังนีผลการวิเคราะห์ความถี่ในคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย พบว่ามี ความถี่ของการเกิดคดีสูงที่สุด คือ ช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของจานวนคดี ทั้งหมด มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีเป็นแบบสุ่มและเกิดอย่างหนาแน่นบริเวณที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม สาธารณูปโภคสาธารณูปการ และอุตสาหกรรม ตามลาดับ รองลงมา คือ ช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. คิดเป็นร้อยละ 16.4 ของจานวนคดีทั้งหมด มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีเป็น แบบสุ่มและเกิดอย่างหนาแน่นบริเวณที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม สาธารณูปโภคสาธารณูปการ และ อุตสาหกรรม ตามลาดับ และลาดับที่สามคือช่วงเวลา 00:00 – 02:59 น. คิดเป็นร้อยละ 15.9 ของ จานวนคดีทั้งหมด มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีเป็นแบบสุ่มและเกิดอย่างหนาแน่นบริเวณ ที่อยูอาศัย พาณิชยกรรม สาธารณูปโภคสาธารณูปการ และอุตสาหกรรม ตามลาดับ จากผลการประเมิน พื้นที่เสี่ยงในระดับสูง ปานกลาง และต่า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.0 ร้อยละ 34.0 และร้อยละ 54.0 ตามลาดับ ของพื้นที่ในความดูแลของสถานีตารวจบางเขน โดยพื้นที่เสี่ยงในระดับสูงจะเกิดอย่าง หนาแน่นบริเวณที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรม ตามลาดับ พื้นที่เสี่ยงในระดับสูงและความถี่ในการเกิด คดีอาชญากรรมสูงมีความสอดคล้องกันในเรื่องของสภาพแวดล้อมบริเวณที่เกิดคดีอาชญากรรม เหมือนกัน

Upload: others

Post on 03-Jan-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

1

พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม สถานีต ารวจนครบาลบางเขน Risk areas of crime in Bangkhen Police Station

ฐิติวรดา ชัยมานะพร 5710854735

นราธิป กุลชาติชัย 5710854948 ปิยมน ค าหวาน 5710855049

สิริวสันต์ ลังกาวงศ์ 5710855294

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพ่ือประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม ในเขต

พ้ืนที่รับผิดชอบสถานีต ารวจนครบาลบางเขน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การรวบรวมข้อมูลจะใช้วิธีการขอความอนุเคราะห์ข้อมูล และการส ารวจภาคสนามโดยตรง การวิเคราะห์ข้อมูลจากการซ้อนทับข้อมูล การวิเคราะห์แบบรูปการกระจายตัวของจุดคดีด้วยค่าดัชนีของจุดข้างเคียงที่ใกล้ที่สุด และเทคนิคการคาดประมาณความหนาแน่นแบบเคอร์เนล การประเมินพ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมพิจารณาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ การใช้ประโยชน์อาคาร ความกว้างของถนน และก าลังไฟฟ้าของดวงโคมไฟฟ้า คดีอาชญากรรมที่น ามาวิเคราะห์ คือ คดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ โดยใช้สถิติการเกิดคดีระหว่างปี 2555 – 2559 โดยจะแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 8 ช่วง ช่วงเวลาละ 3 ชั่วโมง โดยเริ่มจาก 00:00 – 02:59 น. จนถึง 21:00 – 23:59 น. ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แยกตามประเภทของคดีอาชญากรรม ดังนี้

ผลการวิเคราะห์ความถ่ีในคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย พบว่ามีความถี่ของการเกิดคดีสูงที่สุด คือ ช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของจ านวนคดีทั้งหมด มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีเป็นแบบสุ่มและเกิดอย่างหนาแน่นบริเวณที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม สาธารณูปโภคสาธารณูปการ และอุตสาหกรรม ตามล าดับ รองลงมา คือ ช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. คิดเป็นร้อยละ 16.4 ของจ านวนคดีทั้งหมด มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีเป็นแบบสุ่มและเกิดอย่างหนาแน่นบริเวณที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม สาธารณูปโภคสาธารณูปการ และอุตสาหกรรม ตามล าดับ และล าดับที่สามคือช่วงเวลา 00:00 – 02:59 น. คิดเป็นร้อยละ 15.9 ของจ านวนคดีทั้งหมด มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีเป็นแบบสุ่มและเกิดอย่างหนาแน่นบริเวณ ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม สาธารณูปโภคสาธารณูปการ และอุตสาหกรรม ตามล าดับ จากผลการประเมินพ้ืนที่เสี่ยงในระดับสูง ปานกลาง และต่ า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.0 ร้อยละ 34.0 และร้อยละ 54.0 ตามล าดับ ของพ้ืนที่ในความดูแลของสถานีต ารวจบางเขน โดยพ้ืนที่เสี่ยงในระดับสูงจะเกิดอย่างหนาแน่นบริเวณที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรม ตามล าดับ พ้ืนที่เสี่ยงในระดับสูงและความถ่ีในการเกิดคดีอาชญากรรมสูงมีความสอดคล้องกันในเรื่องของสภาพแวดล้อมบริเวณที่เกิดคดีอาชญากรรมเหมือนกัน

Page 2: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

2

ผลการวิเคราะห์คดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ พบว่ามีความถี่ของการเกิดคดีสูงที่สุด คือ ในช่วงเวลา 18:00 – 20:59 น. คิดเป็นร้อยละ 18.6 ของจ านวนคดีทั้งหมด มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีเป็นแบบกลุ่มและเกิดอย่างหนาแน่นบริเวณที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม สาธารณูปโภคสาธารณูปการ และอุตสาหกรรม ตามล าดับ รองลงมา คือ ช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. คิดเป็นร้อยละ 16.8 ของจ านวนคดีทั้งหมด มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีเป็นแบบสุ่มและเกิดอย่างหนาแน่นบริเวณพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคสาธารณูปการ และอุตสาหกรรม ตามล าดับ และล าดับที่สามคือช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. คิดเป็นร้อยละ 13.7 ของจ านวนคดีทั้งหมด มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีเป็นแบบสุ่มและเกิดอย่างหนาแน่นบริเวณที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม สาธารณูปโภคสาธารณูปการ และอุตสาหกรรม ตามล าดับ จากผลการประเมินพ้ืนที่เสี่ยงในระดับสูง ปานกลาง และต่ า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.0 ร้อยละ 34.0 และร้อยละ 54.0 ตามล าดับ ของพ้ืนที่ในความดูแลของสถานีต ารวจบางเขน โดยพ้ืนที่เสี่ยงในระดับสูงจะเกิดอย่างหนาแน่นบริเวณที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรม ตามล าดับ พื้นที่เสี่ยงในระดับสูงและความถี่ในการเกิดคดีอาชญากรรมสูงมีความสอดคล้องกันในเรื่องของสภาพแวดล้อมบริเวณท่ีเกิดคดีอาชญากรรมเหมือนกัน

จากการวิเคราะห์ความสอดคล้องของสภาพแวดล้อมบริเวณที่เกิดคดีอาชญากรรม พบว่า การประเมินพ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมและความถี่ในการเกิดคดีอาชญากรรมมีความสอดคล้องกัน โดยช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. และช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. เป็นช่วงเวลาที่มีความถี่ของการเกิดคดีอาชญากรรมมากที่สุดและอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยกับพาณิชยกรรม จึงมีข้อเสนอแนะให้ส านักงานต ารวจแห่งชาติ กองแผนงานอาชญากรรม ส านักงานยุทธศาสตร์ต ารวจ น าผลการศึกษาไปใช้ในการวางแผนป้องกันและปราบปรามการเกิดอาชญากรรม อีกทั้งควรมีการส ารวจและปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม เพ่ือลดแนวโน้มในการเกิดคดีอาชญากรรม

ค าส าคัญ: พ้ืนที่เสี่ยง, คดีอาชญากรรม, สถานีต ารวจนครบาลบางเขน

บทน า ที่มาและความส าคัญของปัญหา

ในปัจจุบันประเทศทั่วโลกได้ประสบกับปัญหาต่างๆ หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่ก าลังพัฒนา หรือประเทศที่ด้อยพัฒนา ล้วนแล้วแต่เกิดอาชญากรรม ที่เป็นปัญหาซับซ้อนมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและมีแนวโน้มเพ่ิมมากขึ้น และการกระท านั้นๆมีกฎหมายบัญญัติเป็นข้อห้ามหรือเป็นความผิด ซึ่งผู้กระท าผิดต้องได้รับการลงโทษ ในประเทศไทยเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การว่างงาน สภาพครอบครัว ติดสิ่งเสพติด รวมถึงความบกพร่องทางจิตที่มีมากในสังคม ซึ่งปัญหาดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาชญากรรม

ปัญหาการเกิดคดีอาชญากรรมมีแนวโน้มเกิดมากขึ้นในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นจุดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เกิดการอพยพเข้ามาของแรงงานจากชนบท

Page 3: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

3

เพ่ือต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เป็นการเพ่ิมขึ้นของประชากรจากเดิมที่มีจ านวนมากอยู่แล้วเพ่ิมขึ้นเป็นเท่าตัว ส่งผลให้เกิดการแย่งงาน การแย่งที่อยู่อาศัย ท าให้มีความเหลื่อมล้ าทางสังคม สภาพแวดล้อมต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยที่บีบบังคับให้คนก่อเหตุอาชญากรรม (มณฑล เยี่ยมไพศาล และ มานัส ศรีวณิช, 2553) อาชญากรรมก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความสูญเสียจากอาชญากรรมมีมูลค่าต่อทรัพย์สินและจิตใจ จะเห็นได้ว่าอาชญากรรมมีแต่ความสูญเสียและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด และมีแนวโน้มเพ่ิมขึ้นตามการขยายตัวของประชากรและการขยายตัวของเมือง อีกทั้งรูปแบบอาชญากรรมยังเปลี่ยนไปตามความเจริญของเทคโนโลยี ส่งผลให้การปราบปรามเป็นไปด้วยความยากล าบาก อาชญากร รมที่มีความสัมพันธ์เชิงพ้ืนที่และเวลา รวมถึงการน าปัจจัยทางสภาพแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องมี 2 ประเภท คือ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงวิเคราะห์พ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมในเขตพ้ืนที่สถานีต ารวจนครบาลบางเขน ซึ่งเป็นพ้ืนที่ที่มีจ านวนคดีอาชญากรรมทั้งหมดประมาณ 43,000 คดี เป็นอันดับที่ 2 รองจากเขตพ้ืนที่สถานีต ารวจนครบาลมักกะสันที่มีจ านวนคดีอาชญากรรมทั้งหมดประมาณ 112,000 คดี ซึ่งอ้างอิงจากสถิติการเกิดคดีอาชญากรรมในพ้ืนที่กรุงเทพมหานครย้อนหลังตั้งแต่ปี 2549 - 2559 โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ในการก าหนดพ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม คือการวัดการกระจายตัวเชิงพ้ืนที่เพ่ือระบุถึงพ้ืนที่หรือบริเวณที่มีการกระจุกตัวและมีความหนาแน่นของการเกิดอาชญากรรมสูง ตลอดจนการหาความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมประเภทต่างๆ ทั้งในด้ านกายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ เพ่ือให้สามารถเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดคดีอาชญากรรมซ้ าซากในบริเวณเหล่านั้น แล้วน ามาเปรียบเทียบกันในแต่ละช่วงเวลา คือ น ามาเปรียบเทียบกันในแต่ปี (เปรียบเทียบย้อนหลังตั้งแต่ปี 2555 2556 2557 2558 และ 2559) และ อาภาศิริ สุวรรณานนท์ และคณะ (2556) ได้กล่าวว่า เวลาจะแบ่งออกเป็น 8 ช่วง ช่วงเวลาละ 3 ชั่วโมง โดยเริ่มจาก 00:00 – 02:59 น. จนถึง 21:00 – 23:59 น. ซึ่งจะน าไปสู่ผลสรุปของการจัดระดับความเสี่ยงในแต่ละพ้ืนที่ของการเกิดคดีอาชญากรรม สามารถให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน าไปใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจวางแผนจัดหาแนวทางป้องกัน แก้ไขและลดระดับความรุนแรงของการเกิดคดีอาชญากรรมที่เกิดข้ึนได้

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

เพ่ือประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม ในเขตพ้ืนที่รับผิดชอบสถานีต ารวจนครบาลบางเขน

ค าถามการวิจัย

พ้ืนที่สถานีต ารวจนครบาลบางเขน มีความเสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมในระดับใด ประโยชน์ของการวิจัย

ส านักงานต ารวจแห่งชาติ กองแผนงานอาชญากรรม ส านักงานยุทธศาสตร์ต ารวจ สามารถน าผลการจัดระดับพ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมไปวางแผนป้องกันและปราบปรามการเกิดอาชญากรรม และเพ่ือให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางหรือบริเวณที่ มีความเสี่ยงต่อการเกิด คดอีาชญากรรม

Page 4: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

4

ขอบเขตของโครงการวิจัย ในการด าเนินการวิจัย ได้ก าหนดขอบเขตการวิจัยใน 4 ลักษณะ คือ ขอบเขตเชิงพ้ืนที่

ขอบเขตเชิงเนื้อหา ขอบเขตเชิงระยะเวลา และขอบเขตด้านประชากร โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ขอบเขตเชิงพื้นที่ พ้ืนที่ศึกษาครอบคลุมเขตพ้ืนที่รับผิดชอบสถานีต ารวจนครบาลบางเขน ครอบคลุมพ้ืนที่เขตบางเขน เขตสายไหม และเขตจตุจักร ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ขอบเขตพ้ืนที่ศึกษา

2. ขอบเขตเชิงเนื้อหา ครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ คดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 2.1 ลักษณะเชิงพ้ืนที่ ได้แก่ การใช้ประโยชน์อาคาร ก าลังวัตต์ของดวงโคมไฟฟ้า และความกว้างของถนน จะใช้เทคนิคการสร้างระยะกันชน กระบวนการวิเคราะห์ตามล าดับชั้น และการวิเคราะห์แบบซ้อนทับในการประเมิน 2.2 ลักษณะการเกิดของคดีอาชญากรรม ได้แก่ จุดเกิดคดีอาชญากรรม ช่วงเวลาในการเกิดคดีอาชญากรรม ประเภทของคดีอาชญากรรม และระดับความรุนแรง (อัตราโทษสูงสุด) จะใช้เทคนิค Average Nearest Neighbor และ Kernal Density ในการประเมิน

Page 5: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

5

3. ขอบเขตเชิงระยะเวลา ระยะเวลาของการวิจัย คือ ศึกษาข้อมูลคดีอาชญากรรมที่จับกุมได้ในเขตพ้ืนที่สถานีต ารวจนครบาลบางเขน ในปี 2555 2556 2557 2558 และ 2559 4. ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่เป็นเป้าหมายในการวิจัย มี 2 กลุ่ม ได้แก่ คดีอาชญากรรม ประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

การตรวจเอกสาร ในการประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม ในเขตพ้ืนที่รับผิดชอบสถานี

ต ารวจนครบาลบางเขน คณะผู้วิจัยได้ตรวจเอกสารเกี่ยวกับแนวคิดเก่ียวกับพ้ืนที่เสี่ยง แนวคิดเก่ียวกับอาชญากรรม แนวคิดเกี่ยวกับพ้ืนที่เขตบางเขน แนวคิดเกี่ยวกับช่วงเวลา แนวคิดเกี่ยวกับอัตราโทษและทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม

ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง 1. แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยง

ศูนย์ผู้ เข้ารับการอบรมหลักสูตรการบริหารงานต ารวจชั้นสูง รุ่นที่ 40 (2558) พ้ืนที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นศูนย์รวมความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม และเทคโนโลยีอันทันสมัยของประเทศ ความเจริญดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาอาชญากรรมมากกว่าพ้ืนที่อ่ืนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีท่ีสร้างความเดือดร้อนและความหวาดกลัวภัยแก่ประชาชน

ส านักงานต ารวจแห่งชาติ (2556) การวิเคราะห์จุดเสี่ยงเพ่ือใช้ในการป้องกันอาชญากรรม อาชญากรรมมิได้เกิดแพร่กระจายไปทั่วทุกพ้ืนที่ ในบางพ้ืนที่อาจจะมีอาชญากรรมเกิดขึ้นแต่ในบางพ้ืนที่ก็ไม่ปรากฏอาชญากรรม ดังนั้น ประชาชนจะใช้ความรู้ดังกล่าวในการใช้ชีวิตประจ าวัน พวกเขาจะหลีกเลี่ยงบางสถานที่และใช้พ้ืนที่อ่ืนๆ ตัวเลือกการเลือกที่อยู่อาศัย โรงเรียน ร้านค้า ถนน และแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้รับการควบคุม ส่วนหนึ่งจากความรู้ความเข้าใจในโอกาสของพวกเขาที่จะตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในแต่ละสถานที่ ในบางพ้ืนที่คนทั่วไปจะระมัดระวังภัยทรัพย์สิน แต่ในบางพ้ืนที่พวกเขาอาจจะไม่ระมัดระวัง เจ้าหน้าที่ต ารวจจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในแต่ละสถานที่ และมีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอย่างจ ากัด บนพ้ืนฐานของสถานที่ที่ต้องการเจ้าหน้าที่ต ารวจมากที่สุด และน้อยที่สุด

ส าหรับงานวิจัยนี้ ได้น าแนวคิดเกี่ยวกับ พ้ืนที่ เสี่ยงมาใช้ในการวิ เคราะห์ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิดปัญหาอาชญากรรม โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจจึงท าให้มีผู้คนจ านวนมาก เช่นที่อยู่อาศัย โรงเรียน ร้านค้า ถนน และแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ท าให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ความเจริญนั้นจะส่งผลให้เกิดปัญหาอาชญากรรมมากกว่าพื้นท่ีอ่ืนๆ

Page 6: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

6

2. แนวคิดเกี่ยวกับอาชญากรรม ณรงค์ ทรัพย์เย็น และ ธงชาติ รอดคลองตัน (2551) แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ ด้าน

อาชญากรรมในความหมายของนักกฎหมาย เห็นว่าอาชญากรรมเป็นความประพฤติที่กฎหมายอาญากรรมห้าม และมีบทก าหนดโทษไว้ คือ การกระท าหรือการงดเว้นการกระท าใดๆที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิดและก าหนดโทษไว้ชัดเจน เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย ฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ เป็นต้น ด้านอาชญากรรมในความหมายของนักอาชญาวิทยาจะมองกันในแง่ของความร้ายแรงของการกระท าและความชั่วที่มีอยู่ในตัวของผู้กระท ามากกว่า กล่าวคือ จะมองความหมายของอาชญากรรมตามความหมายอย่างแคบ ซึ่งหมายถึงการกระท าที่มีลักษณะชั่วร้ายและเป็นอันตรายต่อสังคมอย่างมากเท่านั้น ด้านอาชญากรรมในความหมายของนักสังคมวิทยา เห็นว่าความประพฤติผิดขัดแย้งหรือละเมิดต่อระเบียบของสังคมนั้นมิได้หมายความว่าการขัดแย้งจะเป็ นอาชญากรรมเสมอไป แต่มีความหมายเพียงว่าผู้นั้นประพฤติและปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบที่สังคมก าหนดไว้เท่านั้น การขัดแย้งหรือละเมิดต่อสังคมที่ตราไว้เป็นกฎหมายนั้น จึ งเรียกว่าเป็นการกระท าผิดกฎหมายหรือเป็นการก่ออาชญากรรมยกเว้นความผิดลหุโทษไม่ถือว่าเป็นการก่ออาชญากรรม

ประมวลกฎหมายอาญา 2560 ประเภทอาชญากรรมได้แบ่งเป็น 13 ประเภทได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม ความผิดเกี่ยวกับศาสนา ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ความผิดเกี่ยวกับการค้า ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับศพ

พัฒนากร สูงนารถ (2551) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับอาชญากรรมว่า เป็นพฤติกรรมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับสิ่งอ่ืนๆ อีกหลายสิ่งเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากแนวประพฤติของสังคมโดยส่วนรวม ซึ่งแนวประพฤติดังกล่าวเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมก าหนดขึ้น เพ่ือให้คนส่วนใหญ่ในสังคมอยู่ในกรอบที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามหากใครประพฤติเบี่ยงออกไปจากกรอบดังกล่าว สังคมก็จะมองเห็นและแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ออกไป ดังนั้นการพิจารณาว่าอาชญากรรมเป็นการละเมิดกฎหมายเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ถูกต้องนักเพราะนักกฎหมายอาจเปลี่ยนแปลงไปตาม เวลา สถานที่ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้เสมอ

ส าหรับงานวิจัยนี้ได้น าแนวคิดเกี่ยวกับอาชญากรรมมาใช้ในการวิเคราะห์ว่า อาชญากรรมเป็นการกระท าที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นข้อห้ามหรือเป็นความผิดซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนต้องได้รับบทลงโทษ เพ่ือให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในที่นี้จะท าการศึกษาความถ่ีของคดีอาชญากรรมทั้งหมด 2 ประเภททีเ่กิดข้ึนภายในพ้ืนที่ศึกษาคือ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายและความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 3. แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่เขตบางเขน

ประคอง สุคนธจิตต์ และคณะ (2558) ได้อธิบายเขตบางเขน ว่าเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมคลองบางบัวซึ่งครอบคลุมอีกสองเขต คือ เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่ มีชาวบ้านอพยพและ ย้ายถิ่นฐานมาอยู่กันอย่างหนาแน่น รวมทั้งการขยายตัวของเมืองท าให้สองฝั่งคลองเต็มไปด้วยชุมชนแออัด จึงเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา อาทิเช่น ปัญหาขยะ ปัญหาที่อยู่อาศัย ปัญหาน้ าเน่าเสีย เป็นต้น ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอยู่ในระดับต่ า อีกทั้งพ้ืนที่สองริมฝั่งคลองเป็น

Page 7: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

7

ที่ดินของรัฐบาล ชาวบ้านจึงไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของภาครัฐได้จึงท าให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้

ศุภลักษณ์ ใจเรือง (2558) ได้อธิบายสภาพแวดล้อมของชุมชนประเภททาวน์เฮาส์ที่มีต่ออาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์ ซึ่งเป็นอาชญากรรมที่ไม่มีเงื่อนง าและเกิดจากการฉกฉวยโอกาสมากที่สุด จึงมีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพมากที่สุด ซึ่งอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์เกิดขึ้นอย่างหนาแน่นในที่อยู่อาศัยทุกประเภท โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮาส์ ซึ่งผู้อยู่อาศัยในเขตบางเขนประสบกับปัญหาอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์สูงย่านหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เป็นการศึกษาสาเหตุจากข้อบกพร่องของสภาพแวดล้อมทางกายภาพในที่พักอาศัย หรือบริเวณท่ีพักอาศัยของชุมชนประเภททาวน์เฮาส์

ส าหรับงานวิจัยนี้ได้น าแนวคิดเกี่ยวกับพ้ืนที่เขตบางเขนมาใช้ในการวิเคราะห์ว่า เป็นพ้ืนที่ที่รองรับประชากรที่อพยพเข้ามาจากการขยายตัวของเมือง เนื่องจากมีความเป็นอยู่ที่แออัดประกอบกับการไม่ได้รับสวัสดิการของภาครัฐ ส่งผลให้ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอยู่ในระดับต่ า จึงมีแนวโน้มที่จะก่อเหตุอาชญากรรม

4. แนวคิดเกี่ยวกับช่วงเวลา

จุฑารัตน์ เอ้ืออ านวย (2550) กล่าวว่าปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศของผู้หญิงไทยในงานวิจัย ได้น าเอาตัวแปรด้านปัจจัยเกี่ยวกับช่วงเวลา และสถานที่เกิดเหตุอาชญากรรมทางเพศมาใช้ในการอธิบายถึงความถี่ในการเกิดอาชญากรรมทางเพศในช่วงเวลาและสถานที่ต่างๆ เพ่ือแสดงถึงจุดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมทางเพศมากที่สุด จากผลการวิจัยพบว่ามีช่วงเวลาเกิดเหตุส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเวลากลางคืน คือ ระหว่าง 22:00 – 02:00 น. มากที่สุด จากตัวเลขที่แสดงออกมานี้แสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาหลังเที่ยงคืน เป็นช่วงเวลาที่เสี่ยงในการเกิดอาชญากรรมทางเพศมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยที่น่าสนในกว่านั้นคือ การส ารวจรายงานสถิติอาชญากรรมภาคประชาชนในปี 2555 ที่พบว่าช่วงเวลาในการเกิดเหตุอาชญากรรมทางเพศมีการขยายช่วงเวลามาเป็นกลางวันด้วย เพราะผู้ประสบเหตุส่วนใหญ่ระบุว่ามีการเกิดเหตุในช่วงกลางวันแต่ไม่ระบุเวลาแน่ชัด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการศึกษาอาชญากรรมที่วัดจากเหยื่ออาชญากรรม ตั้งแต่ปี 2550 ถึงปี 2555 มีความแตกต่างกัน คือ ในปี 2550 อาชญากรรมทางเพศเกิดขึ้น ในช่วงเวลากลางคืนมากที่สุด คือตั้งแต่เวลา 18:01 – 06:00 น. สะท้อนให้เห็นว่ามีการขยายระยะเวลาการเกิดเหตุของอาชญากรรมทางเพศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงมาตรการป้องกันอาชญากรรมนั้นต้องมีความเข้มงวดมากยิ่งข้ึน

ภาณุวัฒน์ ชาติยาภา (ม.ป.ป.) กล่าวว่ามนุษย์ต้องมีการก าหนดช่วงเวลาเพ่ือให้สามารถกล่าวถึงช่วงเวลากว้างๆได้ การแบ่งช่วงเวลาของมนุษย์มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การน าไปใช้ประโยชน์ เช่น การแบ่งช่วงเวลาเป็น วัน เดือน ปี วินาที นาที ชั่วโมง พุทธศักราช (พ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เป็นต้น

อาภาศิริ สุวรรณนนท์ และคณะ (2556) กล่าวไว้ว่าช่วงเวลาเกิดเหตุจะอยู่ในช่วงเวลากลางคืนและส่วนใหญ่ไม่ทราบช่วงเวลาที่เกิดเหตุแน่นอนหรืออยู่ ในช่วงที่เป็นเวลาหลับสนิทไม่รู้ตัวหรือไม่มีโอกาสป้องกันตนเองจากภัยอาชญากรรม คือ ช่วงเวลา 24.01 - 03.00 น. เมื่อจ าแนกตาม

Page 8: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

8

ประเภทของอาชญากรรมที่ประสบเหตุพบว่าอาชญากรรมต่อทรัพย์สิน และอาชญากรรมต่อชีวิตและร่างกายส่วนใหญ่เกิดข้ึนในเวลากลางคืน

ส าหรับงานวิจัยนี้ได้น าแนวคิดเกี่ยวกับช่วงเวลามาใช้ในการวิเคราะห์ว่า เวลาแต่ละช่วงจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เมื่อจ าแนกตามประเภทของอาชญากรรมที่ประสบเหตุพบว่าอาชญากรรมต่อทรัพย์สิน และอาชญากรรมต่อชีวิตและร่างกายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเวลากลางคืน แบ่งออกเป็น 8 ช่วง ช่วงเวลาละ 3 ชั่วโมง คือ 00:00 – 02:59 น. 03:00 – 05:59 น. 06:00 – 08:59 น. 09:00 – 11:59 น. 12:00 – 14:59 น. 15:00 – 17:59 น. 18:00 – 20:59 น. และ 21:00 – 23:59 น. 5. แนวคิดเกี่ยวกับอัตราโทษ

กนกกาญจน์ ประกอบปราณ และคณะ (ม.ป.ป.) กล่าวไว้ว่าโทษอาญาที่ใช้ลงแก่ผู้กระท าผิดมี 5 ประการเท่านั้น คือ ประหารชีวิต จ าคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน โดยโทษที่จะลงแก่ผู้กระท าความผิดทั้ง 5 ประการข้างต้น ต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งจึงจะลงโทษได้ ผู้กระท าการใดๆที่กฎหมายก าหนดว่าเป็นความผิดจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อได้กระท าโดยเจตนาเท่านั้น เว้นแต่มีกฎหมายก าหนดไว้ว่าแม้ไม่ได้กระท าโดยเจตนาก็เป็นความผิด เช่น การกระท าโดยประมาท การกระท าความผิดลหุโทษ ผู้กระท าการที่กฎหมายก าหนดว่าเป็นความผิดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่ามีเหตุผลสมควร

อัญชลี ราตรี (2555) กล่าวไว้ว่าการลงโทษนั้นเป็นวิธีการตอบโต้ของสังคมต่อผู้ละเมิดกฎระเบียบของสังคมที่วางโทษในการลงโทษทางอาญาจึงเป็นสิ่งที่สังคมส่วนรวมเห็นถึงความจ าเป็นที่จะต้องมี เมื่อมีกฎหมายก าหนดโทษขึ้นมาแล้วสิ่งหนึ่งที่จะต้องควบคู่กับการลงโทษทางอาญาก็คือ การบังคับการใช้โทษนั้นๆ หรือที่เรียกว่าดุลพินิจในการก าหนดโทษนั้นเอง ส าหรับกฎหมายอาญาของประเทศไทยยังไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติหลักเกณฑ์ในเรื่องการใช้ดุลพินิจก าหนดโทษทางอาญาของผู้กระท าความผิดทางอาญาว่าศาลควรมีหลักเกณฑ์หรือมีกรอบการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาว่าในแต่ละฐานความผิดควรลงโทษจ าเลยหรือผู้กระท าความผิดโดยยึดหลักเกณฑ์อย่างไร คงมีเพียงแต่กฎหมายก าหนดไว้เฉพาะแต่อัตราโทษไว้เท่านั้น ว่าให้ลงโทษในอัตราโทษในช่วงอัตราโทษขั้นต่ า ขั้นสูงไว้หรือไม่ได้ก าหนดอัตราโทษขั้นต่ าไว้เลยเป็นต้น เมื่อไม่มีกรอบที่ชัดเจนแน่นอนให้ศาลวินิจฉัยว่าความผิดในแต่ละฐานความผิดนั้นๆ ควรที่จะลงโทษเท่าใดเพ่ือให้การก าหนดอัตราโทษตามความผิดทางอาญาของผู้กระท าความผิด ว่าควรที่จะลงโทษเท่าใดเพ่ือให้เกิดความเหมาะสมกับการกระท าความผิดที่มีความชั่ว และความร้ายแรงของการกระท าความผิดเป็นส าคัญ ทั้งนี้ก็เพ่ือให้ผู้กระท าความผิดได้จะรับโทษที่เหมาะสม และเพ่ือเป็นการปรับปรุงแก้ไขหรือเป็นการลงโทษเพ่ือให้เข็ดหลาบตลอดจนเพ่ือเป็นการปรามสังคมโดยทางอ้อมหากการใช้ดุลพินิจลงโทษมีความเหมาะสมกับการกระท าความผิดนั้น

ส าหรับงานวิจัยนี้ได้น าแนวคิดเกี่ยวกับอัตราโทษมาใช้ในการวิเคราะห์ว่า ผู้ที่กระท าผิดจะต้องได้รับบทลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แล้วแต่ความร้ายแรงนั้นๆเพ่ือให้ผู้กระท าผิดได้รับโทษที่เหมาะสม มี 5 ประการ คือ ประหารชีวิต จ าคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน

Page 9: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

9

6. ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม (Crime Triangle Theory) คู่มือการบริหารงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ส านักงานต ารวจแห่งชาติ (2556) ได้อธิบายถึงสาเหตุหรือองค์ประกอบของการเกิดอาชญากรรม ประกอบด้วยสามเหลี่ยม 3 ด้าน คือ ด้านผู้กระท าผิดหรือคนร้าย หมายถึง ผู้ที่มีความต้องการจะก่อเหตุหรือลงมือกระท าความผิด ด้านเหยื่อหรือเป้าหมาย หมายถึง บุคคล สถานที่ หรือวัตถุสิ่งของ ที่ผู้กระท าผิดหรือคนร้ายมุ่งหมายกระท าต่อหรือเป็นเป้าหมายที่ต้องการ และด้านโอกาส หมายถึง ช่วงเวลา และสถานทีท่ี่เหมาะสมที่ผู้กระท าผิดหรือคนร้าย มีความสามารถจะลงมือกระท าความผิดหรือก่ออาชญากรรม เมื่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ครบองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าวข้างต้น จะท าให้เกิดอาชญากรรมข้ึน ส าหรับงานวิจัยนี้ได้น าเอาทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรมมาปรับใช้ในเรื่องของโอกาส (เวลาและสถานที่) เนื่องจากการเกิดอาชญากรรมจะต้องมีองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านจึงจะเกิดอาชญากรรมขึ้น จึงต้องมีการท าให้องค์ประกอบของสามเหลี่ยมอาชญากรรมด้านใดด้านหนึ่งหายไป โดยการน าทฤษฎีดังกล่าวมาใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาอาชญากรรม กรอบแนวคิดในการวิจัย

งานวิจัยนี้ มีกรอบแนวคิดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นหลักของการวิจัย โดยในปัจจุบันพ้ืนที่กรุงเทพมหานครมีคดีอาชญากรรมเกิดขึ้นเป็นจ านวนมาก คณะผู้วิจัยจึงได้ท าการพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ ที่เก่ียวข้องกับการเกิดคดีอาชญากรรม ดังภาพที ่2

ภาพที่ 2 กรอบแนวคิดในการวิจัย (the research conceptual framework) จากภาพที่ 2 แสดงความเชื่อมโยงของประเด็นการวิจัยซึ่งพิจารณาลักษณะการเกิดของคดีอาชญากรรมจากข้อมูลจุดเกิดคดีอาชญากรรม ช่วงเวลาในการเกิดคดีอาชญากรรม ประเภทของคดีอาชญากรรม และระดับความรุนแรง (อัตราโทษสูงสุด) และน าเอาลักษณะเชิงพ้ืนที่ ได้แก่ การใช้

Page 10: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

10

ประโยชน์อาคาร ก าลังวัตต์ของดวงโคมไฟฟ้า และความกว้างของถนน มาประกอบการพิจารณาด้วย จากนั้นวิเคราะห์ความสอดคล้องของพ้ืนที่เสี่ยงในการเกิดคดีอาชญากรรมและแบบรูปการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรม โดยแบ่งตามระดับความเสี่ยงของคดีอาชญากรรมแยกรายช่วงเวลาที่เกิดเหตุ สรุปเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัยนี้

วิธีการวิจัย

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่ผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้อมูลของคดีอาชญากรรมที่จับกุมได้ในเขตส านักงานต ารวจนครบาลบางเขน แหล่งข้อมูลมาจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง (ศทก.) ส านักงานต ารวจแห่งชาติ วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย 3 วิธีการ ดังนี้ 1.1 การส ารวจภาคสนามโดยตรง เพ่ือสังเกตสภาพแวดล้อมโดยรอบของพ้ืนที่เสี่ยงในเขตพ้ืนที่รับผิดชอบสถานีต ารวจนครบาลบางเขน ได้แก่ การใช้ประโยชน์อาคาร ก าลังวัตต์ของดวงโคมไฟฟ้า ความกว้างของถนน และระดับความเสี่ยง พร้อมใช้กล้องถ่ายรูปลักษณะสถานที่เกิดเหตุ 1.2 การขอความอนุเคราะห์ข้อมูล จากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง (ศทก.) ส านักงานต ารวจแห่งชาติ ในเขตพ้ืนที่ศึกษา คือ เขตพ้ืนที่รับผิดชอบสถานีต ารวจนครบาลบางเขน เป็นระยะเวลาย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2555 2556 2557 2558 และ 2559) ซึ่งมีรายละเอียดของข้อมูลดังนี้ คดีอาชญากรรม ได้แก่ วัน เวลา และสถานที่เกิดคดี ประเภทคดีอาชญากรรม ระดับความรุนแรงของคดีอาชญากรรม และสถิติการเกิดคดีอาชญากรรม 1.3 การดาวน์โหลดข้อมูลจาก Google Earth ในการค้นหาต าแหน่งของจุดเกิดคดีอาชญากรรมในเขตพ้ืนที่รับผิดชอบสถานีต ารวจนครบาลบางเขน 2. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบไปด้วย 5 วิธีการ ดังนี้ 2.1 การวิเคราะห์แนวกันชน (Buffer) เป็นการหาระยะทางให้ห่างจากรูปแบบภูมิศาสตร์ที่ก าหนด ได้แก่ ก าลังวัตต์ของดวงโคมไฟฟ้า และความกว้างของถนน 2.2 กระบวนการวิเคราะห์ตามล าดับชั้น (Analytical Hierarchy Process) เป็นเทคนิคที่น ามาใช้ในกระบวนการตัดสินใจ ในรูปของแผนภูมิตามล าดับชั้นแล้วมีการให้ค่าน้ าหนักของแต่ละองค์ประกอบ เพ่ือน าไปสู่ค่าล าดับความส าคัญของแต่ละองค์ประกอบ ได้แก่ การใช้ประโยชน์อาคาร ก าลังวัตต์ของดวงโคมไฟฟ้า และความกว้างของถนน 2.3 การวิเคราะห์แบบซ้อนทับ (Overlay) เป็นการน าข้อมูลเชิงพ้ืนที่ต่างๆมาท าการซ้อนทับกัน ให้เห็นถึงพ้ืนที่ที่มีการซ้อนทับกันของชั้นข้อมูล โดยพ้ืนที่ที่ซ้อนทับกันนั้นสามารถน าไปวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ต่างๆในพ้ืนที่ ได้แก่ การใช้ประโยชน์อาคาร ก าลังวัตต์ของดวงโคมไฟฟ้า และความกว้างของถนน ที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ตามล าดับชั้นแล้ว

Page 11: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

11

2.4 เทคนิคการคาดประมาณความหนาแน่นแบบเคอร์เนล (Kernal Density) เป็นการพิจารณาจากความหนาแน่นและการกระจายตัวของจุดคดี เพ่ือวิเคราะห์หาพ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีระดับสูง ปานกลางและต่ า โดยการแบ่งการประเมิน ได้แก่ พ้ืนที่เสียงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม โดยมีเกณฑ์ในการเพิ่มน้ าหนักความเสี่ยง คือ อัตราโทษสูงสุดของฐานความผิด ดังภาพที่ 3

(ก) พ้ืนผิวจากการค านวณรัศมีด้วย (ข) พ้ืนผิวจากการค านวณรัศมีด้วย Kernel Density จากข้อมูล 1 จุด Kernel Density จากข้อมูล 2 จุด

(ค) ผลลัพธ์การค านวณความหนาแน่นจากข้อมูลจุด 2 จุดด้วยการก าหนดช่วงความถี่

ภาพที่ 3 พ้ืนผิวจากการค านวณรัศมีด้วย Kernel Density

2.5 วิเคราะห์แบบรูปการกระจายตัวของจุดคดีด้วยค่าดัชนีของจุดข้างเคียงที่ใกล้ที่สุด (Nearest Neighbor Index) ในช่วงเวลา 5 ปี ซึ่งจะแสดงผลออกมาในรูปแบบของแผนที่ที่แสดงการกระจายตัวของจุดคดีและกราฟแสดงร้อยละความถี่ของจุดเกิดคดีของคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ดังภาพที่ 4

ขั้นตอนการวิจัย งานวิจัยเรื่องนี้ แบ่งขั้นตอนการท างานออกเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย การพัฒนาโครงการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การน าเข้า วิเคราะห์และสรุปผล และการจัดท ารูปเล่ม โดยแต่ละข้ันตอนมีการด าเนินการดังนี้ 1. การพัฒนาโครงการวิจัย ได้แก่ การตรวจเอกสาร การสร้างกรอบแนวคิด การออกแบบแบบเก็บข้อมูล 2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การส ารวจภาคสนามโดยตรง การขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการดาวน์โหลดข้อมูลจาก Google Earth

Page 12: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

12

ภาพที่ 4 ตัวอย่างผลการวิเคราะห์แบบรูปการกระจายตัวของจุดคดีด้วยค่าดัชนี ของจุดข้างเคียงที่ใกล้ที่สุด (Nearest Neighbor Index)

3. การน าเข้า วิเคราะห์ และสรุปผล ซ่ึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1) พ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม โดยใช้การวิเคราะห์แบบซ้อนทับ ให้เห็นถึงพ้ืนที่ที่มีการซ้อนทับกันของชั้นข้อมูลจากกระบวนการวิเคราะห์ตามล าดับชั้นและการสร้างระยะกันชน ได้แก่ การใช้ประโยชน์อาคาร ก าลังวัตต์ของดวงโคมไฟฟ้า และความกว้างของถนน

2) แบบรูปการกระจายเชิงพ้ืนที่ของจุดเกิดคดีอาชญากรรม ก. เทคนิคการคาดประมาณความหนาแน่นแบบเคอร์เนล เพ่ือหาความหนาแน่นและ

การกระจายตัวของจุดเกิดคดี โดยมีความหนาแน่นน้อยไปจนถึงความหนาแน่นมาก ข. การวิเคราะห์แบบรูปการกระจายตัวของจุดคดีด้วยค่าดัชนีของจุดข้างเคียงที่ใกล้

ที่สุด ซึ่งจะแสดงผลออกมาในรูปแบบของแผนที่ที่แสดงการกระจายตัวของจุดคดี จะแบ่งการกระจายออกเป็น 3 แบบ แบบกลุ่ม แบบสุ่ม แบบสม่ าเสมอ

3) การวิเคราะห์ความสอดคล้องของพ้ืนที่เสี่ยงในการเกิดคดีอาชญากรรมและแบบรูปการกระจายของจุดเกิดคดีอาชญากรรม 4. การน าเสนอผลการวิจัยในที่ประชุมทางวิชาการของภาควิชา 5. จัดท ารูปเล่ม ได้แก่ การเขียนรายงานในรูปแบบของบทความวิจัย แก้ไขรายงาน และการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย

Page 13: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

13

ภาพที่ 5 ขั้นตอนการวิจัย

การตรวจเอกสาร

การวางแผนการด าเนินการวิจัย

การออกแบบแบบเก็บข้อมูล

การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจยั

การเก็บรวบรวมและน าเข้าข้อมลู

การส ารวจภาคสนามโดยตรง การขอความอนุเคราะห์ข้อมลู การดาวน์โหลดข้อมลูจาก Google Earth

กรมโยธาธิการและผังเมือง

กรมทางหลวง การไฟฟ้านครหลวง

ส านักงานต ารวจแห่งชาต ิ

การใช้ประ โยชน์อาคาร

ความกว้างของถนน

ก าลังวัตต์ของดวงโคมไฟฟ้า

- ช่วงเวลาเกิดอาชญากรรม - ประเภทของคดีอาชญากรรม - ระดับความรุนแรงของคดีอาชญากรรม

จุดเกิดคดีอาชญากรรม

การสร้างระยะกันชน (Buffer)

กระบวนการวิเคราะห์ตามล าดับชั้น (Analytic Hierarchy Process)

การวิเคราะห์แบบซ้อนทับ (Overlay) Average Nearest Neighbor

และ Kernal Density

พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม แบบรูปการกระจายเชิงพื้นที่ของจุดเกิดคดีอาชญากรรม

การวิเคราะห์ความสอดคล้องของพื้นที่เสี่ยงในการเกิดคดีอาชญากรรมและแบบรปูการกระจายของจุดเกดิคดีอาชญากรรม

ยากรราอาชญากรรม

การสรุปผลการวิจยัด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

เขียนรายงานและตีพมิพ์

ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาโครงการวิจัย

ขั้นตอนที่ 2 การเก็บรวบรวม

ขั้นตอนที่ 3 การวเิคราะห์และสรุปผล

ขั้นตอนที่ 4 จัดท ารูปเล่ม

Page 14: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

14

ผลการวิจัย

ชุดโครงการวิจัยเรื่องพ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม สถานีต ารวจนครบาลบางเขน โดยการน าเสนอผลการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ คดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ โดยผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1. พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย สถานีต ารวจนครบาลบางเขน

คดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายเป็นคดีที่มีลักษณะเชิงพ้ืนที่และเวลา ได้แก่ ฆ่าผู้อื่น ท าร้ายร่างกาย เป็นต้น 1.1 คดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย

จากการวิเคราะห์ พ้ืนที่เสี่ยงในการเกิดคดีอาชญากรรมพบว่ามีพ้ืนที่เสี่ยงในระดับสูง ปานกลาง และต่ า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.0 ร้อยละ 34.0 และร้อยละ 54.0 ตามล าดับ และแบบรูปการกระจายของจุดเกิดคดีอาชญากรรม มีจ านวนคดีอาชญากรรม 359 คดี สามารถแบ่งผลการศึกษาออกเป็น 8 ช่วง ช่วงเวลาละ 3 ชั่วโมง โดยเริ่มจาก 00:00 – 02:59 น. จนถึง 21:00 – 23:59 น. ดังภาพที่ 6

พื้นท่ีเสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม ค าอธิบายสัญลักษณ์ เส่ียงน้อย (0 - 111) เส่ียงปานกลาง (111.1 - 290) เส่ียงมาก (290.1 - 521) ถนน

ช่วงเวลา 00:00 – 02:59 น.

ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 03:00 – 05:59 น.

ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 06:00 – 08:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 09:00 – 11:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 12:00 – 14:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 18:00 – 20:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ภาพที่ 6 พ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย แยกตาม ช่วงเวลา

Page 15: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

15

1.1.1 ช่วงเวลา 00:00 – 02:59 น. ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 00:00 – 02:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 57 คดี มีค่า

NNI เท่ากับ 0.746 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 52.1 รองลงมาคือ พาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 25.0 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 20.8 ของจ านวนคดีท้ังหมด 1.1.2 ช่วงเวลา 03:00 – 05:59 น. ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 03:00 – 05:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 23 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 1.017 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 43.5 รองลงมาคือสาธารณูปโภคสาธารณูปการ และพาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 26.1 และอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 4.3 ของจ านวนคดีทั้งหมด

1.1.3 ช่วงเวลา 06:00 – 08:59 น. ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 06:00 – 08:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 21 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 0.813 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 45.0 รองลงมาคือ พาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 30.0 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 20.0 ของจ านวนคดีท้ังหมด 1.1.4 ช่วงเวลา 09:00 – 11:59 น.

ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 09:00 – 11:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 35 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 0.979 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 60.6 รองลงมาคือ พาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 21.2 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 15.2 ของจ านวนคดีท้ังหมด 1.1.5 ช่วงเวลา 12:00 – 14:59 น.

ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 12:00 – 14:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 50 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 0.702 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 60.0 รองลงมาคือ พาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 22.2 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 17.8 ของจ านวนคดีท้ังหมด 1.1.6 ช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 59 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 0.792 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 50.0 รองลงมาคือสาธารณูปโภคสาธารณูปการ และพาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 24.0 และอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 1.9 ของจ านวนคดีทั้งหมด

Page 16: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

16

1.1.7 ช่วงเวลา 18:00 – 20:59 น. ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 18:00 – 20:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 54 คดี มีค่า

NNI เท่ากับ 0.760 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 64.2 รองลงมาคือ พาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 22.6 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 11.3 ของจ านวนคดีท้ังหมด 1.1.8 ช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น.

ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 60 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 0.801 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 62.5 รองลงมาคือ พาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 25.0 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 7.1 ของจ านวนคดีทั้งหมด 1.2 สรุปพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย จากผลการวิเคราะห์พ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย พบว่ามีสัดส่วนของพ้ืนที่การเกิดคดีซ้ าซากในระดับสูง ปานกลางและต่ า คิดเป็นร้อยละ 0.5 ร้อยละ 8.8 และร้อยละ 90.7 ของจ านวนคดีทั้งหมดตามล าดับ จะปรากฏพ้ืนที่เสี่ยงมากในบริเวณสวนอาหารบางบัว ชุมชนหลังตลาดยิ่งเจริญ และซอยพหลโยธิน 52 (เพ่ิมสิน 20) ดังภาพที่ 7

ชุมชนหลังตลาดยิ่งเจริญ

สวนอาหารบางบัว

ซอยพหลโยธิน 52 (เพิ่มสิน 20) ค าอธิบายสัญลักษณ ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย

ภาพที่ 7 พ้ืนที่การเกิดคดีซ้ าซากประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เขตพ้ืนที่รับผิดชอบสถานีต ารวจนครบาลบางเขน

Page 17: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

17

2. พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ สถานีต ารวจนครบาลบางเขน

คดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เป็นคดีที่มีลักษณะเชิงพ้ืนที่และเวลา ได้แก่ ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ เป็นต้น 2.1 คดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

จากการวิเคราะห์ พ้ืนที่เสี่ยงในการเกิดคดีอาชญากรรมพบว่ามีพ้ืนที่เสี่ยงในระดับสูง ปานกลาง และต่ า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.0 ร้อยละ 34.0 และร้อยละ 54.0 ของจ านวนคดีทั้งหมดตามล าดับ และแบบรูปการกระจายของจุดเกิดคดีอาชญากรรม มีจ านวนคดีอาชญากรรม 1 ,001 คดี สามารถแบ่งผลการศึกษาออกเป็น 8 ช่วง ช่วงเวลาละ 3 ชั่วโมง โดยเริ่มจาก 00:00 – 02:59 น. จนถึง 21:00 – 23:59 น. ดังภาพที่ 8

พื้นท่ีเสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม ค าอธิบายสัญลักษณ์ เส่ียงน้อย (0 - 111) เส่ียงปานกลาง (111.1 - 290) เส่ียงมาก (290.1 - 521) ถนน

ช่วงเวลา 00:00 – 02:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 03:00 – 05:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 06:00 – 08:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 09:00 – 11:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 12:00 – 14:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 18:00 – 20:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. ค าอธิบายสัญลักษณ์ หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย จุดเกิดคดี

ภาพที่ 8 พ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทความผดเกี่ยวกับทรัพย์ แยกตามช่วงเวลา

2.1.1 ช่วงเวลา 00:00 – 02:59 น.

ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 00:00 – 02:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 114 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 0.642 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดถึงคิดเป็นร้อยละ 53.4 รองลงมาคือพาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 28.2 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 15.5 ของจ านวนคดีท้ังหมด

Page 18: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

18

2.1.2 ช่วงเวลา 03:00 – 05:59 น. ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 03:00 – 05:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 72 คดี มีค่า

NNI เท่ากับ 0.572 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 55.2 รองลงมาคือ พาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 34.3 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 10.4 ของจ านวนคดีท้ังหมด 2.1.3 ช่วงเวลา 06:00 – 08:59 น.

ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 06:00 – 08:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 70 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 0.697 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 46.2 รองลงมาคือสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 27.7 และพาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 21.5 ของจ านวนคดีท้ังหมด 2.1.4 ช่วงเวลา 09:00 – 11:59 น.

ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 09:00 – 11:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 134 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 0.628 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 44.8 รองลงมาคือ พาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 32.8 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 19.2 ของจ านวนคดีท้ังหมด 2.1.5 ช่วงเวลา 12:00 – 14:59 น.

ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 12:00 – 14:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 120 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 0.601 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 43.2 รองลงมาคือ พาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 32.6 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 24.2 ของจ านวนคดีท้ังหมด 2.1.6 ช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 168 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 0.558 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่พาณิชยกรรมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 39.5 รองลงมาคือที่อยู่อาศัยคิดเป็นร้อยละ 31.9 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 26.1 ของจ านวนคดีทั้งหมด 2.1.7 ช่วงเวลา 18:00 – 20:59 น.

ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 18:00 – 20:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 54 คดี มีค่า NNI เท่ากับ 0.482 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบกลุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 52.0 รองลงมาคือ พาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 36.0 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 9.3 ของจ านวนคดีทั้งหมด

Page 19: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

19

2.1.8 ช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. ผลการวิเคราะห์พบว่าช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. มีจ านวนคดีอาชญากรรม 60 คดี มีค่า

NNI เท่ากับ 0.568 มีการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่ม โดยมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 57.1 รองลงมาคือ พาณิชยกรรมคิดเป็นร้อยละ 33.0 และสาธารณูปโภคสาธารณูปการคิดเป็นร้อยละ 8.9 ของจ านวนคดีทั้งหมด 2.2 สรุปพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

จากผลการวิเคราะห์พ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ พบว่ามีสัดส่วนของพ้ืนที่การเกิดคดีซ้ าซากในระดับสูง ปานกลางและต่ า คิดเป็นร้อยละ 0.3 ร้อยละ 0.8 และร้อยละ 98.9 ของจ านวนคดีทั้งหมดตามล าดับ ตามล าดับ จะปรากฏพ้ืนที่เสี่ยงมากในบริเวณห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส สาขาหลักสี่ และห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาสะพานใหม่ ดังภาพที่ 9 ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาสะพานใหม่ ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส สาขาหลักสี่ ค าอธิบายสัญลักษณ์

หนาแน่นมาก ถนน

หนาแน่นน้อย

ภาพที่ 9 พ้ืนที่การเกิดคดีซ้ าซากประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เขตพ้ืนที่รับผิดชอบสถานีต ารวจนครบาลบางเขน 3. สรุปภาพรวมพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม สถานีต ารวจนครบาลบางเขน

จากผลการวิเคราะห์พบว่าลักษณะการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย จะเกิดในช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. มากท่ีสุดถึงร้อยละ 16.7 รองลงมาคือช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. คิดเป็นร้อยละ 16.4 และช่วงเวลา 00:00 – 02:59 น. คิดเป็นร้อยละ 15.9 ของช่วงเวลา

Page 20: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

20

ทั้งหมด การกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบสุ่มของทั้งสามช่วงเวลา ล าดับที่หนึ่งและล าดับที่สามจะมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ตามล าดับ ส่วนล าดับที่สองจะมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคสาธารณูปการ พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม ตามล าดับ

จากผลการวิเคราะห์พบว่าลักษณะการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ จะเกิดในช่วงเวลา 18:00 – 20:59 น. มากที่สุดถึงร้อยละ 18.6 รองลงมาคือช่วงเวลา 15:00 – 17:59 น. คิดเป็นร้อยละ 16.8 และช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. คิดเป็นร้อยละ 13.7 ของช่วงเวลาทั้งหมด การกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมในล าดับที่สองและล าดับที่สามเป็นแบบสุ่ม ส่วนล าดับที่หนึ่งการกระจายตัวของจุดเกิดคดีอาชญากรรมเป็นแบบกลุ่ม ล าดับที่หนึ่งและล าดับที่สามจะมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ตามล าดับ ส่วนล าดับที่สองจะมีการกระจุกตัวของคดีอาชญากรรมอย่างหนาแน่นในบริเวณพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย และสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ตามล าดับ ดังภาพที่ 10

ร้อยละของความถี่จดุเกดิคดีอาชญากรรมประเภทความผดิเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ร้อยละของความถี่จดุเกดิคดีอาชญากรรมประเภทความผดิเกี่ยวกับทรัพย์

ภาพที่ 10 ร้อยละความถี่ของจุดเกิดคดีของคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิต

และร่างกาย และคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

Page 21: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

21

บทสรุป วิจารณ์ และข้อเสนอแนะ บทสรุปและวิจารณ์ การประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบสถานีต ารวจนครบาลบางเขน

จากการประเมินพ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม ซึ่งวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์การซ้อนทับข้อมูลจากกระบวนการวิเคราะห์ตามล าดับชั้น โดยค านวณจากค่าน้ าหนักของปัจจัยการใช้ประโยชน์อาคาร ก าลังวัตต์ของดวงโคมไฟฟ้า และความกว้างของถนน พบว่ารูปแบบการกระจายตัวของพ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมที่จ าแนกตามประเภทคดีจะมีรูปแบบการก่อเหตุแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของการก่อเหตุ โดยพบว่าคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย จะเกิดคดีซ้ าซากตั้งแต่ปี 2555 – 2559 อยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัย มีแสงสว่างน้อย ความกว้างของถนน 2 ช่องจราจร และเกิดคดีในช่วงเวลา 21:00 – 23:59 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีจุดอับทางสายตา เช่น ชุมชนหลังตลาดยิ่งเจริญ ซอยพหลโยธิน 52 (เพ่ิมสิน 20) เป็นต้น คดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ จะเกิดคดีซ้ าซากตั้งแต่ปี 2555 – 2559 อยู่ในบริเวณห้างสรรพสินค้า อาคารพาณิช มีแสงสว่างน้อย ความกว้างของถนน 2 ช่องจราจร และเกิดในช่วงเวลา 18:00 – 20:59 น. ซึ่งมักจะกระจุกตัวอยู่บริเวณสถานที่ที่มีผู้คนชุกชุมและง่ายต่อการก่อคดี เช่น ห้างสรรพสินค้า เทสโก้โลตัส สาขาหลักสี่ และห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาสะพานใหม่ ดังนั้นบริเวณพ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมที่ได้จากการประเมิน จึงควรได้รับการดูแลและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น เพ่ือช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมในอนาคต ซึ่งแผนที่พ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมนี้สามารถน าไปใช้เพ่ือการวางแผนป้องกัน แก้ไข และลดความรุนแรงของปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในเขตพ้ืนที่รับผิดชอบสถานีต ารวจนครบาลบางเขน

ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้

จากผลการวิจัยการประเมินพ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรมและความถี่ในการเกิดคดีอาชญากรรมมีความสอดคล้องกัน ทั้งของคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และคดีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และมีสภาพแวดล้อมบริเวณที่ เกิดคดีอาชญากรรมเหมือนกัน จึงมีข้อเสนอแนะให้ส านักงานต ารวจแห่งชาติ กองแผนงานอาชญากรรม ส านักงานยุทธศาสตร์ต ารวจ วางแผนป้องกันและปราบปรามการเกิดอาชญากรรมในพ้ืนที่ที่มีความเสี่ยงสูงและความถี่สูง อีกทั้งควรมีการส ารวจและปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดคดีหรือไม่ เพ่ือลดแนวโน้มในการเกิดคดีอาชญากรรม 2. ข้อเสนอแนะส าหรับการวิจัยครั้งต่อไป

ในการศึกษาครั้งต่อไปควรเพ่ิมปัจจัยในการวิเคราะห์พ้ืนที่เสี่ยง เพ่ือเพ่ิมความถูกต้องให้แก่งานในครั้งต่อไป เช่น รัศมีการให้บริการของจุดตรวจ กล้องวงจรปิด รวมไปถึงการท าแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์บุคคลในพื้นที่ เพ่ือให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพ่ิมมากยิ่งข้ึน

Page 22: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

22

ค าขอบคุณ

งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนอุดหนุนวิจัยจากภาควิชาภูมิศาสตร์ โครงการหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ (ภาคพิเศษ) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการส ารวจภาคสนาม จึงขอขอบคุณภาควิชาภูมิศาสตร์เป็นอย่างสูง นอกจากนั้นขอขอบคุณ อาจารย์ ดร. พูนศักดิ์ ไม้โภคทรัพย์ อาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ และ รองศาสตราจารย์ ดร. พันธ์ทิพย์ จงโกรย อาจารย์ประจ าวิชาปัญหาพิเศษ ส าหรับการให้ค าปรึกษาและค าแนะน าที่เป็นประโยชน์ส าหรับการท างานวิจัยประกอบการท าปัญหาพิเศษในครั้งนี้ และขอขอบคุณ ด.ต.วิชิต คุ้มบุญ เจ้าหน้าที่ธุรการป้องกันปราบปราม สถานีต ารวจนครบานบางเขน ผศ. ดร. ลลิตา นิพิฐประศาสน์ สุนทรวิภาต อาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาอาชญาวิทยา ทัณฑวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและการจัดการด้านความปลอดภัย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอาจารย์ ดร. สุภัชรี เทพหัสดิน ณ อยุธยา อาจารย์ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส าหรับให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการให้ค่าน้ าหนักของปัจจัยลักษณะเชิงพ้ืนที่ โดยใช้เทคนิคกระบวนการล าดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพ่ือวิเคราะห์พ้ืนที่เสี่ยงต่อการเกิดคดีอาชญากรรม และขอขอบคุณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง (ศทก.) ส านักงานต ารวจแห่งชาติส าหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลช่วงเวลาเกิดคดีอาชญากรรม ประเภทของคดีอาชญากรรม ระดับความรุนแรงของคดีอาชญากรรม และจุดเกิดคดีอาชญากรรม กรมโยธาธิการและผังเมืองส าหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์อาคาร กรมทางหลวงส าหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลความกว้างของถนน และการไฟฟ้านครหลวงส าหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลก าลังวัตต์ของดวงโคมไฟฟ้า

เอกสารอ้างอิง กนกกาญจน์ ประกอบปราณ และ คณะ. ม.ป.ป. โทษทางอาญา (Online). www.nisaratpalm.

wordpress.com, 16 ตุลาคม 2560. คณะวิชาการ The Justice Group. 2560. ประมวลกฎหมายอาญา. กรุงเทพหมานคร: พิมพ์

อักษร หุ้นส่วนจ ากัด. จุฑารัตน์ เอ้ืออ านวย. 2550. ปัจจัยท่ีมีความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศของผู้

หญิงไทย. กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณรงค์ ทรัพย์เย็น และ ธงชาติ รอดคลองตัน. 2551. คู่มือต ารวจเล่มที่6 หมวดวิชาป้องกัน

ปราบปราม อาชญากรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ต ารวจ.

Page 23: บทที่ 1 บทนำ - Kasetsart Universitygeo.soc.ku.ac.th/box/document/215/PDF_crime in bangkhean3...บทน า ท มาและความส าค ญของป

23

ณิศพล รักษาธรรม และคณะ. 2559. “ความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศของหญิงที่โดยสารรถยนต์รับจ้างสาธารณะ (รถแท็กซี่) ในเขตกรุงเทพมหานคร.” วารสารกระบวนการยุติธรรม 9 (2): 80-81.

ประคอง สุคนธจิตต์ และคณะ. 2558. โครงการแนวทางการบริหารจัดการสวัสดิการเครือข่าย

องค์กรชุมชนเขตบางเขน. รายงานเสนอท้องถิ่น. มิถุนายน 2558. พัฒนากร สูงนารถ. 2551. มาตราการป้องกันอาชญากรรมบนสะพานลอยในกรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัญฑิต สาขาการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ภาณุวัตน์ ชาติยาภา. ม.ป.ป. การแบ่งช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษและสหัสวรรษ (Online).

www.panuwatstory.wordpress.com/category, 20 กุมภาพันธ์ 2561. มณฑล เยี่ยมไพศาล และ มานัส ศรีวณิช. 2553. ความหนาแน่นเชิงพื้นที่ อาชญากรรม

กรณีศึกษาเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ศึกษาตามแบบเคอร์เนล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการผังเมือง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภลักษณ์ ใจเรือง. 2558. “ผลกระทบของลักษณะทางกายภาพที่มีต่อการเกิดคดีประทุษร้ายต่อ

ทรัพย์ในชุมชนประเภททาวน์ เฮาส์กรณีศึกษาที่อยู่อาศัยในเขตบางเขน. ” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 8 (1): 70-83.

ส านักงานต ารวจแห่งชาติ. 2556. แนวคิดในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม. คู่มือการ

บริหารงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม (Online). www.subdiv2touristpolice.go.th, 14 กุมภาพันธ์ 2561.

อัญชลี ราตรี. 2555. การใช้ดุลพินิจก าหนดโทษทางอาญา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต

สาขายุติธรรมทางอาญา, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. อาภาศิริ สุวรรณานนท์ และ คณะ. 2556. “โครงการวิเคราะห์และจัดท ารายงานข้อมูลสถิ ติ

อาชญากรรมภาคประชาชนทั่วประเทศ (ภายใต้โครงการส ารวจข้อมูลสถิติอาชญากรรมภาคประชาชน ปี พ.ศ.2555).” วารสารกระบวนการยุติธรรม 6 (3): 81-95.