เรือ ฟ ริเกต อเนกประสงค์ ......นาว...

7
นาวิกศาสตร์ ปีท่ ๙๕ เล่มที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ บทความโดย ริเกต อเนกประสงค์ น.อ.คำรณ พิสณฑ์ยุทธการ าพสงครามในอนาคตกำลังเริ่มทีจะมองเห็นได้ไม่ยากนัก เมื่อมองดู การพัฒนากำลังรบของชาติมหาอำนาจอันดับ หนึ่งของโลกคือ สหรัฐ ฯ ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มพัฒนา เรือบรรทุกเครื่องบินครั้งแรกในปี ค.ศ.๑๙๑๐ ท่นำ ไปสู่ชัยชนะในสงครามทางเรือในทะเลคอรัล ในเดือน พ.ค.ปี ค.ศ.๑๙๔๒ และในสมรภูมิมิดเวย์ ในอีกหนึ่งเดือนต่อมา และได้กลายเป็นยานรบหลัก ของกองทัพเรือสหรัฐ ฯ มานับแต่นั้น ในช่วงเวลา ๙๐ ปีแห่งการพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินหลักของ สหรัฐ ฯ ตั้งแต่เรือ USS Langley (CV-1) ในปี ค.ศ.๑๙๒๒ มาจนถึงเรือชั้น Essex ในสงครามโลก เรือ สมรรถนะสูงยุคใหม่ (Next Generation Multi-purposed Frigates) 16

Upload: others

Post on 30-Mar-2021

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: เรือ ฟ ริเกต อเนกประสงค์ ......นาว กศาสตร ป ท ๙๕ เล มท ๑๒ ธ นวาคม ๒๕๕๕ บทความโดย

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕

บทความโดย

ริเกตอเนกประสงค์

น.อ.คำรณ พิสณฑ์ยุทธการ

าพสงครามในอนาคตกำลังเริ่มที่จะมองเห็นได้ไม่ยากนัก เมื่อมองดูการพัฒนากำลังรบของชาติมหาอำนาจอันดับ

หนึ่งของโลกคือ สหรัฐ ฯ ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มพัฒนา เรือบรรทุกเครื่องบินครั้งแรกในปี ค.ศ.๑๙๑๐ ที่นำไปสู่ ชัยชนะในสงครามทางเรือในทะเลคอรัล

ในเดือน พ.ค.ปี ค.ศ.๑๙๔๒ และในสมรภูมิมิดเวย์ในอีกหนึ่งเดือนต่อมา และได้กลายเป็นยานรบหลักของกองทัพเรือสหรัฐ ฯ มานับแต่นั้น ในช่วงเวลา ๙๐ ปีแห่งการพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินหลักของสหรัฐ ฯ ตั้งแต่เรือ USS Langley (CV-1) ในปี ค.ศ.๑๙๒๒ มาจนถึงเรือชั้น Essex ในสงครามโลก

ภ 

เรือฟสมรรถนะสูงยุคใหม่(Next Generation Multi-purposed Frigates)

16

Page 2: เรือ ฟ ริเกต อเนกประสงค์ ......นาว กศาสตร ป ท ๙๕ เล มท ๑๒ ธ นวาคม ๒๕๕๕ บทความโดย

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕

คล้ายเรือชั้น Nimitz ที่เปลี่ยนระบบอุปกรณ์ภายใน รวมทั้งระบบดีดส่งเครื่องบินแบบ Electromagnetic Catapult รุ่นใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันเรือชั้นนี้ได้ต่อเสร็จแล้ว ๒ ลำคือ USS Gerald R. Ford และ USS John F. Kennedy และกำลังต่ออีก ๑ ลำแต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ โดยเรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นใหม่นี้จะมีอาวุธ

ครั้งที่ ๒ และสงครามเกาหลี จนถึงเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรือรุ่นล่าสุดที่สหรัฐ ฯ นำเข้าประจำการมาได้ ๑๕ ปีแล้ว และเป็นเรือที่ ได้รับการออกแบบพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.๑๙๖๐ จนถึงเวลาที่สหรัฐ ฯ จะนำเรือบรรทุกเครื่องบินยุคใหม่ชั้น Gerald R. Ford เข้ามาแทนที่ ซึ่งมีรูปร่าง

USS Lake Champlain (CG-57) ๑ ใน ๒๒ ลำ ในชั้น Ticonderoga ที่ยังประจำการอยู่ (ปลดระวางไปแล้ว ๕ ลำ CG-47 – CG-51

และกำลังต่อใหม่อีก ๔ ลำ)

17

Page 3: เรือ ฟ ริเกต อเนกประสงค์ ......นาว กศาสตร ป ท ๙๕ เล มท ๑๒ ธ นวาคม ๒๕๕๕ บทความโดย

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕

สำคัญมาประจำการบนเรือนอกเหนือจากอากาศยานแบบเดิม คือ เครื่องบินรบรุ่นใหม่ล่าสุดแบบ Joint Strike Fighter (F-35C Lightening II) ของบริษัท Lockheed Martin ซึ่งเป็นอากาศยานวิ่งขึ้นสั้น-ลงทางดิ่ง (Short Take-off Vertical Landing: STOVL) ยุคใหม่ และยานรบไร้นักบิน (Unmanned Combat Air Vehicle: UCAV) แบบ X-47B ของ Northrop Grumman ที่สามารถใช้อาวุธได้ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกองทัพเรือสหรัฐ ฯ ได้พัฒนาเรือฟริเกตเป็นเรือรบหลักหลายแบบด้วยกัน เช่น เรือฟริเกตชั้น Bronstein (FF) ๒ ลำ ในปี ค.ศ.๑๙๖๓ เรือฟริเกตชั้น Garcia (FF) ๑๐ ลำ ในปี ค.ศ.๑๙๖๔ เรือฟริเกตชั้น Knox (FF) ๔๖ ลำ ในปี ค.ศ.๑๙๖๙ - ๑๙๗๔ เรือฟริเกตชั้น Brooke FFG ๖ ลำ ในปี ค.ศ.๑๙๖๖ - ๑๙๘๘ และเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry (FFG) ๕๑ ลำ ในปี ค.ศ.๑๙๗๗ - ๑๙๘๙ จากนั้นก็เริ่มหยุดพัฒนาเรือฟริเกต แต่หันมาพัฒนาเรือ Littoral Combat Ship สำหรับใช้ในเขตน้ำตื้นแทน นอกจากเรือฟริเกตแล้ว ปัจจุบันกองทัพเรือสหรัฐ ฯ ได้ให้ความสำคัญกับเรือรบขนาดใหญ่กว่าเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อจำกัดด้านยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ฯ และสภาวะแวดล้อมของโลกที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการมีฐานทัพในประเทศต่าง ๆ สหรัฐ ฯ ได้มีการต่อเรือลาดตระเวนแบบต่าง ๆ มากมายเช่น

USS Gerald R. Ford (CVN - 78)UCAV แบบ X-47B ของ Northrop Grumman

เดียวกับเรือฟริเกต ซึ่งปัจจุบันมีเรือลาดตระเวนชั้น Ticonderoga (CG-47) ที่มีจำนวน ๒๒ ลำ และยังเน้นการต่อเรือพิฆาตจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันเป็นยุคของเรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke ซึ่งสหรัฐ ฯ สั่งต่อมาใช้งานถึง ๖๒ ลำ เป็นเรือม้าใช้แทนเรือฟริเกตที่หยุดพัฒนาไป เรือรบรุ่นใหม่ ๆ ของสหรัฐ ฯ เน้นระบบบริหารการรบแบบ AEGIS ที่ใช้ระบบเรดาร์แบบ X-Band AN/SPY-3 multi-function phased-array radar และเรดาร์แบบ S-band volume search ตัวเรือเน้นคุณลักษณะล่องหน หรือ Stealth มีความคล่องตัวและความอยู่รอดสูง ใช้ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีที่ยิงจากแท่นยิงทางตั้งแบบ ๙๐-๙๖ ท่อยิง Mk ๔๑Vertical Launching System (VLS) ที่สามารถยิงขีปนาวุธแบบ BGM-๑๐๙ Tomahawk อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้นแบบ RGM-๘๔ Harpoon SSM อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ RIM-66M Standard medium range SAM ที่สามารถยิง ต่อต้านเรือผิวน้ำได้ (ASuW mode) อาวุธปล่อย นำวิถีแบบ RIM-๑๖๑ Standard Ballistic missile defense missile สำหรับเรือที่ออกแบบให้ต่อต้านขีปนาวุธได้ (Aegis BMD จำนวน ๑๕ ลำ ซึ่งได้มีการต่อมาใช้ตั้งแต่ ปี.ค.ศ.๒๐๐๙) อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น- สู่-อากาศแบบ RIM-๑๖๒ ESSM SAM อาวุธปล่อย

18

Page 4: เรือ ฟ ริเกต อเนกประสงค์ ......นาว กศาสตร ป ท ๙๕ เล มท ๑๒ ธ นวาคม ๒๕๕๕ บทความโดย

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕

ทางตั้งต่อต้านเรือดำน้ำแบบ RUM-๑๓๙ Vertical Launch ASROC และกำลังพัฒนาอาวุธปล่อยแบบ RIM-๑๗๔A Standard ERAM เพื่อติดตั้งเพิ่มเติมในเรือรบชั้นต่าง ๆ อีก ในปี ค.ศ.๒๐๑๑ เป็นต้นไป และในอนาคตอันใกล้อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศแบบ Standard Missile ๖ (SM ๖) ที่ยิงพ้นระยะขอบฟ้า ก็กำลังจะเข้ามาสู่การปฏิบัติการบนเรือต่าง ๆ ต่อไป (ติดตามบทความเกี่ยวกับอาวุธปล่อยฯ SM-๖ Missile ในตอนหน้า)

CIWS ลำละ ๑ - ๒ระบบ ปืนกลขนาด ๒๕ มม. M๒๔๒ Bushmaster cannons ลำละ ๒ ระบบ ระบบ Torpedoes แบบท่อยิง Mark ๓๒ triple torpedo tubes จำนวน ๒ ระบบ (ใช้ลูกตอร์ปิโดแบบ Mk-๔๖ หรือ Mk-๕๐ และกำลังจะเปลี่ยนเป็น Mk-๕๔ ในอนาคตอันใกล้) เรือรบสหรัฐ ฯ เกือบทุกลำจะต้องมี ฮ.แบบ MH-๖๐R Seahawk LAMPS III ประจำเรือลำละ ๒ เครื่อง นอกจากกำลังรบเรือผิวน้ำตามที่กล่าวมาแล้ว สหรัฐ ฯ ยังมีการพัฒนากำลังรบทางยุทธศาสตร์

คือ เรือดำน้ำนิวเคลียร์รุ่นใหม่ ๆ ได้แก่ เรือดำน้ำชั้น Oh ioc lass (ประจำการ ๑๘ ลำ) ประกอบด้วย

เรือรบสหรัฐ ฯ จะติดตั้งปืนเรือแบบ ๕ นิ้ว (๑๒๗ มม.)/๖๒ Mk-๔๕ Mod ๑/๒ และ Mod ๔ (l ightweight gun) เป็นหลักลำละ ๑ ระบบ มีระบบป้องกันระยะประชิดแบบ Phalanx

๑๔ Ballistic missile submarines (SSBN), ๔ guided missile submarines (SSGN) เรือดำน้ำโจมตีเร็วชั้น Virginia (ประจำการ ๗ ลำ, กำลังต่อใหม่ ๓ ลำ, กำลังทำสัญญา ๔ ลำ) เรือดำน้ำโจมตีชั้น Seawolf (ประจำการ ๓ ลำ) และเรือดำน้ำโจมตีชั้น Los Angeles (ประจำการ ๔๓ ลำ, ปลดเป็นกำลังสำรอง ๒ ลำ) โดยกองทัพเรือสหรัฐ ฯ ต้องการเปลี่ยนแปลง เครื่องมือในการทำการรบทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศให้สามารถทำการ

รบร่วมกันได้ในยุคสงครามสมัย ใหม่ (Digital Age) ในขณะท่ี่มหา อำนาจทางเรืออย่างสหรัฐ ฯ กำลังหันห ลั ง ใ ห้ กั บ เ รื อ ฟริเกต ไปเน้นเรือขนาดเรือพิฆาตเป็นหลัก ในทางกลับกัน

กองทัพเรือชาติต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพเรือในกลุ่มประเทศยุโรป กลับเน้นให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเรือรบแบบเรือฟริเกตเป็นหลัก เนื่องจากเป็นกองทัพขนาดเล็กและคุ้มค่าด้านการลงทุนมากกว่าการใช้เรือขนาดใหญ่กว่า นับตั้งแต่เริ่มสงครามเย็นเป็นต้นมา เรือฟริเกตได้ถูกต่อขึ้นประจำการและมีบทบาทในภารกิจต่าง ๆ ที่หลากหลาย จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาออกแบบเรือฟริเกต อเนกประสงค์ยุคใหม่ (Next Generation Multi-purposed Frigates) ขึ้น โดยเน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตามที่ผู้เขียนได้เคยนำเสนอในบทความเรื่องการบูรณาการระบบในเรือรบ (นาวิกศาสตร์ เดือน ต.ค.๕๔ หน้า ๒๑ - ๓๒ และ เดือน พ.ย.๕๔ หน้า ๑๗ - ๓๒) ในเรื่องระบบการป้องกันตนเองและความอยู่รอดที่สูงขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนภารกิจให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางยุทธการได้อย่างรวดเร็วและหลายแบบ เรือฟริเกต อเนกประสงค์รุ่นใหม่ ๆ คาดว่าจะเริ่มทยอยเข้า

19

Page 5: เรือ ฟ ริเกต อเนกประสงค์ ......นาว กศาสตร ป ท ๙๕ เล มท ๑๒ ธ นวาคม ๒๕๕๕ บทความโดย

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕

ประจำการตั้งแต่ปี ค.ศ.๒๐๒๐ หรือ พ.ศ.๒๕๖๓ เป็นต้นไป ทร.ชาติต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาเรือฟริเกต อเนกประสงค์ยุคใหม่และกำลังดำเนินโครงการกันอย่างเข้มข้น มีดังนี้ ทร.ฝรั่ ง เศส และ ทร.อิตาลี มอ ง เห็ นว่ า เ รื อ ฟริเกต รุ่นใหม่ในโครงการ FREMM ก ำ ลั ง ไ ป ไ ด้ ดี เรือสองลำแรกต่อเสร็ จพร้อมที่ จ ะเข้าประจำการแล้ว ทร. อังกฤษ เองก็ไม่น้อยหน้ากำลังพิ จา รณาอนุ มั ติแบบเรือและเริ่ม ต่อเรือ Type ๒๖ จำนวน ๑๓ ลำ ทร.เยอรมนี ได้เริ่มต่อเรือฟริเกต ชั้น ๑๒๕ และกำลังออกแบบเรือฟริเกต รุ่นใหม่ที่จะตามมาอีกด้วย ทร.สเปนและ ทร.เนเธอร์แลนด์ ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของเรือฟริเกตรุ่นใหม่สำหรับใช้ในช่วงปี ค.ศ.๒๐๒๐ เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้กำหนดจำนวนที่จะสั่งต่อซึ่งต้องสอดคล้องกับงบประมาณที่จะได้รับ ทร.กรีซได้มีโครงการจัดหาเรือฟริเกตรุ่นใหม่มานานแล้วแต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้น้อย ในอนาคตอันใกล้ ทร.ตุรกี กำลังเดินหน้าต่อเรือฟริเกต รุ่นใหม่หลายลำ อีกทั้งยังมีแผนปรับปรุงเรือฟริเกตเก่าให้มีความทันสมัยมากขึ้นด้วย ในขณะที่ ทร.รัสเซียกำลังจัดหาเรือฟริเกต รุ่นใหม่ในโครงการ ๒๒๓๕๐ แต่ความก้าวหน้าของโครงการยังช้ากว่าแผนที่ทำไว้ และแผนการต่อเรือยังต้องขยายให้ครอบคลุมการออกแบบเพื่อขายให้ต่างประเทศด้วยนอกเหนือจากขายให้กับ ทร.รัสเซียเอง ทางด้านอัฟริกาเหนือ และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น ทร.อัลจีเรียมีความต้องการเรือฟริเกตรุ่นใหม่มานานแล้ว ขณะนี้เพิ่งกำหนด

ความต้องการและเลือกอู่เรือที่จะต่อเสร็จ ในขณะที่ ทร.ซาอุดิอาระเบียกำลังมองหาเรือฟริเกตรุ่นใหม่ที่คาดว่าโครงการนี้จะมีจำนวนความต้องการเรือมากที่สุดในปัจจุบัน

ทางด้าน ทร. อินเดียกำลังสั่งต่อเรือฟริเกตรุ่นใหม่จากต่างประเทศ ควบคู่ ไปกับการต่ อ ด้ ว ย อู่ เ รื อภาย ในประ เทศของตนเอง โดยมีแผนการพัฒนากองทัพเรือที่เน้นการขยายขีดความสามารถเรือผิวน้ำออกไปเรื่อย ๆ

ส่วน ทร.ปากีสถาน มีแนวความคิดที่จะจัดหาเรือฟริเกตเก่าใช้แล้วควบคู่ไปกับการต่อเรือฟริเกต รุ่นใหม่ ทร.เกาหลีใต้กำลังจัดทำโครงการจัดหาเรือฟริเกตรุ่นใหม่และจะเดินหน้าเปิดสายการผลิตไปเรื่อย ๆ ตลอดช่วงทศวรรษหน้า ในขณะที่ ทร.ออสเตรเลียและทร.นิวซีแลนด์ ก็มีแผนต่อเรือฟริเกตรุ่นใหม่ เช่นเดียวกัน ทร.แคนาดา ตั้งใจที่จัดหาเรือฟริเกตอเนกประสงค์รุ่นใหม่ถึง ๑๕ ลำ เพื่อทดแทนเรือฟริเกตและเรือพิฆาตรุ่นเก่าที่ล้าสมัย ทร.บราซิลกำลังร่วมมือ กับภาคอุตสาหกรรมต่อเรือในการสร้างโครงการพัฒนากองเรือและทำแผนขยายขีดความสามารถกำลังรบที่คาดว่าจะเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะที่ ทร.โคลัมเบีย ทร.ชิลี ทร.อาร์เจนติน่าและ ทร.เปรู ต่างก็มีแผนในการต่อเรือฟริเกตรุ่นใหม่ให้เข้าประจำการในช่วงปี ค.ศ.๒๐๒๐ เช่นเดียวกัน โครงการที่กล่าวมาแล้วส่วนใหญ่พัฒนามาจากความพยายามในการจัดหาเรือฟริเกตเพื่อทดแทนเรือเก่าที่มีอยู่ ซึ่งเป็นเรือฟริเกตที่ต่อมาใช้งานตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๘๐ ถึง ค.ศ.๒๐๐๐ และใกล้ถึงเวลาที่ต้อง

ภาพเรือฟริเกตรุ่นใหม่ Type 125 ของ ทร.เยอรมนี ชั้น Baden-Wurttemberg ซึ่งมี

ระวางขับน้ำ ๗,๓๐๐ ตัน เรือรุ่นนี้ ๔ ลำ จะเริ่มเข้าประจำการในปี ค.ศ.๒๐๑๖

ถึง ค.ศ.๒๐๑๘

20

Page 6: เรือ ฟ ริเกต อเนกประสงค์ ......นาว กศาสตร ป ท ๙๕ เล มท ๑๒ ธ นวาคม ๒๕๕๕ บทความโดย

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕

ปลดประจำการ แต่ ในกรณีของ ทร.บราซิล ทร.อินเดีย และ ทร.ซาอุดิอาระเบีย เป็นการขยาย ขีดความสามารถของกองเรือด้วยการขยาสมรรถนะเรื อหรื อปรับ โครงส ร้ างกำลั ง เ รือฟ ริ เกตใหม่ ให้สามารถเดินทางในทะเลลึกได้ไกลขึ้น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติการในประเทศอื่น

(Modular design) และอาจต้องมีตู้คอนเทนเนอร์เก็บสิ่งของหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ไปกับเรือด้วย เรือฟริเกตอเนกประสงค์รุ่นใหม่ดังกล่าว ยังจะต้องคงขีดความสามารถในการรบที่ ทันสมัย ไว้ด้วย เช่น เรือฟริ เกตในโครงการ FREMM ของ ทร.ฝรั่งเศส และ ทร.อิตาลี รวมทั้งเรือฟริเกต Type ๒๖ ของ ทร.อังกฤษ คาดว่าจะเป็นเรือฟริเกต

ที่มีสมรรถนะสูงมากในการทำสงครามปราบเรือดำน้ำ ในขณะที่นำขีดความสามารถในการโจมตีระยะไกลมารวมไว้ในเรือรุ่นใหม่ด้วย สำหรับ ทร.อัลจี เรีย ทร.ซาอุดิอาระเบีย ทร.บราซิล จะเน้นเรือ ฟริเกตอเนกประสงค์ที่ปฏิบัติภารกิจได้หลากหลาย เช่นกัน และอาจจะเป็นเรือแบบ Modular design และมีความอ่อนตัวในการปฏิบัติภารกิจสูง เช่นเดียวกับเรือฟริเกตที่ ทร.เยอรมนี ทร.เนเธอร์แลนด์ และทร.สเปนกำลังต่ออยู่ รวมทั้งยังมีความ

พยายามในการลดงบประมาณในการต่อเรือลงด้วย การจัดหาเรือฟริเกตอเนกประสงค์รุ่นใหม่เข้ามาทดแทนเรือเก่านั้นจะไม่เป็นแบบเรือฟริเกตที่เหมือนเดิม ๆ อีกต่อไป เรือฟริเกตอเนกประสงค์ รุ่นใหม่จะเป็นเรือที่สามารถรองรับภารกิจที่ขยายตัวออกไปอย่างหลากหลายได้ (Versatile) โดยเน้นการปฏิบัติการที่ไม่ใช่การรบ (Non-Combat) และอ่อนตัว (Flexible) ในการปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางทะเล เช่น การต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด การต่อต้านการค้ายาเสพติดและสินค้าหนีภาษีี ซึ่งแต่เดิมใช้เฮลิคอปเตอร์อย่างได้ผลในการปฏิบัติการ แต่ ในยุคต่อไปจะมีการใช้ เรือยางความเร็วสูงอเนกประสงค์ร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่สมรรถนะสูงเข้าร่วมในการปฏิบัติการมากขึ้น การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ จำเป็นต้องมีที่พักอาศัยให้กับพลเรือนที่อพยพบนเรือและห้องเก็บพัสดุสิ่งของในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่มากขึ้น การออกแบบเรือในอนาคตจึงต้องมีความสามารถในการปรับแต่งภารกิจ ตัวเรือต้องสามารถเปลี่ยนเครื่องมืออุปกรณ์และอาวุธต่าง ๆ ได้ง่าย

แนวโน้มด้านระบบขับเคลื่อนของเรือยังไม่ค่อยชัดเจนนักว่าจะมีทิศทางไปทางใด ระบบขับเคลื่อนแบบไฮบริดและระบบแบบ Combined เพื่อลดอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเป็นสิ่งที่ต้องได้เห็นอย่างไม่ต้องสงสัย ระบบแก๊สเทอร์ ไบน์ทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า จะช่วยให้เรือสามารถทำงาน

เรือฟริเกตรุ่นใหม่ของ ทร.เดนมาร์กชื่อ Peter Willemoes เป็นเรือลำที่ สองในชั้น LverHuitfeldt กำลังทดสอบการใช้งานในเขตร้อน เมื่อเดือน ต.ค.๒๐๑๑

21

Page 7: เรือ ฟ ริเกต อเนกประสงค์ ......นาว กศาสตร ป ท ๙๕ เล มท ๑๒ ธ นวาคม ๒๕๕๕ บทความโดย

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕

ในระดับความเร็วต่ำ ๆ หรือความเร็วเดินทางได้ ในขณะที่สามารถเร่งความเร็วได้ถึง ๓๐+ นอต เมื่อต้องการ อย่างไรก็ตามหากมีความจำเป็น ต้องลดค่าใช้จ่ายลงมากกว่านี้ ทางเลือกที่สามารถกระทำได้ก็คือการใช้ เครื่องยนต์ดี เซลทั้ งหมด ซึ่งเรือฟริเกตที่ดำเนินการในลักษณะนี้ปัจจุบันมีเพียงเรือฟริเกตรุ่นใหม่ของ ทร.เดนมาร์กเท่านั้น

อุตสาหกรรมต่อเรือในประเทศต่าง ๆ เหล่านี้กำลังเจริญรุ่งเรืองกันอย่างต่อเนื่อง การต่อเรือแบบฟริเกตนับเป็นสินค้าออกอย่างหนึ่งที่ชาติต่างๆ เหล่านี้กำลังสร้างกำไรอย่างมหาศาล โครงการต่างๆ มีการเสนอถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) เพื่อเอาใจลูกค้า หรือจัดทำเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกัน (Collaborative Shipbuilding Program) การจัดหาหรือซื้อขายมีขอบเขตที่กว้างขวาง รวมไปถึงการจัดตั้งหน่วยบริการทางเทคนิคในประเทศลูกค้า เป็นต้น นอกเหนือจากประเทศในกลุ่มยุโรปแล้วในวงการอุตสาหกรรมต่อเรือปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศเกาหลีใต้ ก็เริ่มเข้ามาสู่สังเวียนการค้าเรือฟริเกต อเนกประสงค์สมรรถนะสูงที่ไม่อาจจะมองข้ามไปได้เช่นกัน แม้ว่าเรือที่ต่อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จะมีเทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการต่อเรือที่ต่ำกว่าชาติอื่นก็ตาม ส่วน ทร.สหรัฐ ฯ แม้ว่าจะให้ความสนใจเรือแบบเรือฟริเกตน้อยลง แต่สหรัฐ ฯ ได้ไปให้ความสนใจเรือสำหรับใช้ปฏิบัติการในน้ำตื้น อย่าง Littoral Combat Ship (LCS) ที่มีระวางขับน้ำประมาณ ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ตันแทน การก้าวเข้าสู่ยุคการรบทางเรือสมัยใหม่ ทั้งในทะเลลึกและเขตน้ำตื้น การพัฒนาเรือรบรุ่นใหม่ของชาติที่ไม่ใช่มหาอำนาจที่เน้นหลักการบูรณาการระบบ ต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตาในการพัฒนาเรือฟริเกตรุ่นใหม่เหล่านี้เป็นอย่างมาก นักการทหารเรือรุ่นใหม่ต้องใส่ ใจและไม่ละเลยที่จะให้ความสนใจเทคโนโลยีทางเรือนี้เป็นอันขาด เพราะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงวิธีการทำสงครามทางเรือแบบใหม่ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง The World Defence Almanac 2011, Military Technology by Mnch Verlagsgesellschaft mbh, Bonn, Germany. Weyers Flotten Taschenbuch (Warships of the World), 2008-2010 by Werner Globke. Naval Forces, International Forum for Maritime Power, Spe-cial Edition Vol.XXXI. SSBN 0722-8880, “Source Book 2010. HIS Jane’s Navy International, Vol 117, Issue 6. Proceeding July, August, September 2012.

โครงการจัดหาเรือฟริเกตอเนกประสงค์ สมรรถนะสูงของชาติต่าง ๆ ในปัจจุบัน

โครงการต่อเรือฟริเกตอเนกประสงค์สมรรถนะสูงของ ทร.ชาติต่าง ๆ ได้เริ่มต้นไปแล้วตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.๒๐๐๕ ถึงปี ค.ศ.๒๐๐๘ เรือฟริเกต อเนกประสงค์รุ่นใหม่เหล่านี้ได้เริ่มมีการส่งมอบกันมาเรื่อย ๆ และจะส่งมอบกันไปจนถึงปี ค.ศ.๒๐๒๐ นอกจากนี้ยังมีโครงการเริ่มใหม่ที่วางแผนจะให้มีการส่งมอบเรือกันในปี ค.ศ.๒๐๒๐ ไปจนถึงปี ค.ศ.๒๐๒๕ ได้แก่ โครงการเรือฟริเกต Type ๒๖ของ ทร.อังกฤษ รวมทั้งโครงการของ ทร.เนเธอร์แลนด์ ทร.เยอรมนี ทร.อิตาลี และ ทร.สเปน ด้วย

22