งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย...

14
งำน วิจัย/โครงกำร

Upload: others

Post on 30-Jun-2020

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

งำน วิจัย/โครงกำร

Page 2: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

ธัญญ์นิธิ จันทร์เหลือง และ ดาราวรรณ เวียงยศ

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น เป็นหน่วยงานสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การ

แพทย์กระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทในการพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์และให้บริการตรวจ

วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สมุนไพร และการชันสูตรโรคเพื่อเฝ้าระวัง

และแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบศูนย์ฯ ได้พัฒนาคุณภาพการตรวจทางห้องปฏิบัติ

การตามาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 และ มาตรฐาน ISO 15189:2012 ในปี ๒๕๕๙

ได้ด�าเนินงานกิจกรรมที่สอดคล้องตามข้อก�าหนดตามระบบคุณภาพเช่น ตรวจสอบความถูก

ต้องส�าเนารายงานผลทดสอบ (Review Report) จ�านวน๒๖๙ ฉบับ ๙๔๓ ตัวอย่าง ประชุม

ด�าเนินงานพัฒนาระบบคุณภาพ (QAMeeting) จ�านวน ๘ ครั้ง ตรวจติดตามคุณภาพภายใน

(Internal Audit) ด�าเนินการในเดือน มกราคม ๒๕๕๙ จ�านวน ๓๓ รายการทดสอบ

พบข้อบกพร่องจ�านวน๑๘ข้อข้อสังเกต๑๑ข้อด�าเนินการแก้ไขตามระบบระยะเวลาก�าหนด

ประชุมทบทวนการของฝ่ายบริหาร (Management review) ในวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๙

ติดตามการรายงานผลตรวจวเิคราะห์ตามรอบระยะเวลาก�าหนดโดยตัวอย่างทีรั่บจ�านวน๑๓,๕๘๓

ตัวอย่าง สามารถรายงานผลทันตามก�าหนดเวลา ร้อยละ ๘๙.๖๖ ผลส�ารวจความพึงพอใจ

ร้อยละ ๘๗.๗๘ และรับการตรวจประเมินเพื่อต่ออายุใบรับรองความสามารถห้องปฏิบัติ

การ ตามมาตรฐาน ISO 15189:2012 เมื่อวันที่ ๑-๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ และมาตรฐาน

ISO/IEC 17025:2005 เมื่อวันที่ ๒๓-๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ทุกห้องปฏิบัติการด�าเนินการ

แก้ไขข้อบกพร่องแล้วเสร็จและได้รับการต่ออายุการรับรองในปีพ.ศ.๒๕๕๙

โครงกำรพัฒนำระบบคุณภำพกำรทดสอบห้องปฏิบัติกำร

ศูนย์วิทยำศำสตร์กำรแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น ปีงบประมำณ ๒๕๕๙

รายง

านปร

ะจําปีปีป

๒๕๕๙

ศูนย์ว

ิทยาศ

าสตร

์การแ

พทย

์ทีี่ ่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี

26

Page 3: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, ไพรวัลย์ อินทร์อุดม,

ธัญญาภัทร์ วัชรชัยพัฒน์, มณีรัตน์ นาทันคิด, ศิริปรางค์ กิระนาและ อมรรัตน์ แดนศิริ

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น ได้ด�าเนินการตามแผนปฏิบัติการตรวจเฝ้าระวงัความปลอดภยัของอาหารและผลติภณัฑ์ภายใต้โครงการบรูณาการอาหารปลอดภยัปี๒๕๕๙โดยมีการด�าเนินงานทั้งด้านActiveSurveillanceและPassiveSurveillance

การด�าเนนิงานActiveSurveillanceมกีารด�าเนนิงานใน๓โครงการย่อยในผลติภณัฑ์อาหารที่มีความเสี่ยง ๑. โครงการศึกษาปริมาณสารเคมีป้องกันและก�าจัดศัตรูพืชตกค้างในผักสด ผลไม้สด ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผักสด และผลไม้สดจ�านวน๑๗ ชนิด รวม ๑๘ ตัวอย่าง (เป้าหมายตามแผน ๑๘ ตัวอย่าง) จากตลาดกลางค้าส่งผักสด ผลไม้สด ในจังหวัดขอนแก่น ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ๒๕๕๙ ส่งตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีป้องกันและก�าจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยวิธีมาตรฐานที่ส�านักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ๒. โครงการส�ารวจปริมาณสารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างเนื้อหมูเนื้อวัวและเนื้อไก่ รวม ๑๐ ตัวอย่าง (เป้าหมายตามแผน ๖ ตัวอย่าง) จากตลาดสดในจังหวัดขอนแก่นในเดือนกุมภาพันธ์๒๕๕๙ส่งตรวจวิเคราะห์สารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์โดยวิธีมาตรฐานที่ส�านักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ๓. โครงการเฝ้าระวังสารฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนในอาหาร ได้สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารทะเล(ปลาหมึกสดและปลาหมึกกรอบ) จ�านวน ๔๗ ตัวอย่าง แมงกะพรุน ๒ ตัวอย่าง เครื่องในวัว(สะไบนาง) ๑๙ ตัวอย่าง พืชผักที่มีความเสี่ยง (ถั่วฝักยาว และเห็ด) จ�านวน ๑๓ ตัวอย่าง รวมทัง้สิน้๘๑ตวัอย่างจากตลาดสดในเขตสขุภาพท่ี๗(เป้าหมายตามแผนจังหวดัละ๒๐ตัวอย่าง)เพื่อตรวจหาฟอร์มาลินด้วยชุดทดสอบฟอร์มาลินผลการตรวจพบฟอร์มาลินในตัวอย่างสะไบนาง๒ตัวอย่างโดยพบปริมาณฟอร์มาลินในช่วง๑-๓มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมการด�าเนินงานPassiveSurveillance ตามแผนปฏบัิตกิารร่วมของโครงการบรูณาการอาหารปลอดภยัได้ก�าหนดให้รวบรวมข้อมลูผลการตรวจวิเคราะห์จ�านวน๖ผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ปีงบประมาณ๒๕๕๕ -๒๕๕๘ส่งให้เจ้าภาพหลักของแต่ละผลิตภัณฑ์เพื่อจัดท�าข้อมูลทางวิชาการในภาพรวมของประเทศเผยแพร่สื่อสารให้ความรู้แก่ประชาชนศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่๗ขอนแก่นได้รวบรวมและส่งข้อมูลรวมทั้งสิ้น๓,๖๙๖ตัวอย่างดังนี้น�้าบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและน�้าแข็งจ�านวน๒,๙๘๙ตัวอย่างนมพร้อมดื่มจ�านวน๒๕๖ตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนและเครื่องดื่มจ�านวน๓๗๐ตัวอย่างน�้าพริกจ�านวน๕๐ตัวอย่างและน�้าปลาจ�านวน๓๑ตัวอย่าง

โครงกำรบูรณำกำรอำหำรปลอดภัย ปี ๒๕๕๙

Annual Report 2016REGIO

NAL MEDICAL SCIENCES CENTER 7

thKHO

N KAEN | DEPARTMENT O

F MEDICAL SCIENCES | M

INISTRY OF PUBLIC HEALTH

27

Page 4: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

จากข่าวอุบัติการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์ในพ้ืนท่ีภาคใต้ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๘และมีข้อมูลการสอบสวนโรคว่าอาจมีสาเหตุจากการบริโภคอาหารทะเลที่ปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์กระทรวงสาธารณสุขจึงมอบหมายให้พื้นท่ีเขตสุขภาพอื่นๆ ร่วมกันเฝ้าระวังโรคอหิวาต์ที่อาจปนเปื้อนมากับอาหารทะเล หน่วยงานเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อของเขตสุขภาพที่ ๗ ได้ร่วมด�าเนินงานเชิงรุกโดยส�านักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร)ที่ ๗ขอนแก่นและหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารทะเลจากแหล่งส�ารองพักขนถ่ายอาหารทะเลที่ขนส่งมาจากแหล่งค้าส่งภาคตะวันออกและร้านค้าส่งของตลาดเทศบาลในอ�าเภอเมืองจังหวัดขอนแก่นระหว่างช่วงเดือนธันวาคม๒๕๕๘–มกราคม๒๕๕๙จ�านวน๑๒๒ตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์หาเชื้ออหิวาต์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น ผลการตรวจพบเชื้อVibrio cholerae NonO1,NonO139 จ�านวน๔๗ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ๓๘.๕ โดยส่วนใหญ่พบการปนเปื้อนของเชื้อในกุ้ง ปลาหมึก ปูและหอย อีกทั้งในช่วงเดือนสิงหาคม ๒๕๕๙ มีอุบัติการณ์ระบาดของโรคอหิวาต์จากเชื้อVibrio cholerae serotypeOgawa ในจังหวัดขอนแก่น สคร.ที่ ๗ ขอนแก่นได้สุ่มเก็บอาหารทะเล จ�านวน ๒๔ ตัวอย่าง น�้าแข็งท่ีใช้แช่อาหาร ๕ ตัวอย่างและสวอปส่ิงแวดล้อมในบริเวณที่จ�าหน่ายอาหารทะเล(พื้นที่ใต้แผงจ�าหน่ายถาดใส่อาหารทะเลรางระบายน�้าถังแช่อาหารฯ)จ�านวน๒๒ตัวอย่างตรวจหาการปนเปื้อนของเชื้ออหิวาต์ ผลการตรวจพบเชื้อVibrio choleraeNonO1,NonO139ในอาหารทะเลจ�านวน๑๐ตัวอย่าง(ร้อยละ๔๑.๗)น�้าแข็ง๓ตัวอย่าง(ร้อยละ๖๐.๐)และสวอปสิ่งแวดล้อม๘ตัวอย่าง(ร้อยละ๓๖.๔)โดยผลการปนเปื้อนเชื้อในอาหารทะเลในครั้งที่สองจะสอดคล้องกับการตรวจเฝ้าระวังฯในครั้งแรก โดยสรุปในภาพรวมพบเชื้อนี้ในกุ้ง ปลาหมึก หอย ปู และกุ้งปูหอยท่ีแกะต้มแล้ว ร้อยละ๑๕.๘, ๑๑.๐,๖.๒,๒.๗ และ ๓.๔ ตามล�าดับ แสดงให้เห็นว่าเชื้อมีการปนเปื้อนข้ามจากอาหารสดมายังอาหารที่ผ่านความร้อนรวมทั้งมีการแพร่กระจายในสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงโดยเชื้อVibrio choleraeNonO1,NonO139 เป็นเชื้อที่มักพบในอาหารทะเล เป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดอาการกระเพาะและล�าไส้อักเสบบาง serotype ของเชื้อนี้อาจผลิต cholera toxin ก่อให้เกิดอาการคล้ายโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงได้เชือ้Vibrio choleraeเป็นเชือ้ทีต่ดิต่อทางอาหารและน�า้ดังนั้นการป้องกันคือการระมัดระวังสุขลักษณะอนามัยในการบริโภครับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และล้างมือก่อนรับประทานอาหาร

กำรปนเปื้อนของเชื้ออหิวำต์ในอำหำรทะเล

น้อย ทองสกุลพานิชย์, นวรัตน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, อมรรัตน์ แดนศิริ และ ศิริปรางค์ ปะกิระนา

รายง

านปร

ะจําปีปีป

๒๕๕๙

ศูนย์ว

ิทยาศ

าสตร

์การแ

พทย

์ทีี่ ่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี

28

Page 5: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

เพียงใจ วงศ์สุวรรณ

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น ร่วมกับส�านักยาและวัตถุเสพติดด�าเนินการโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพยาที่ใช้ในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศจ�านวน๓รายการคือยาเม็ดอะทีโนลอล(atenolol tablets), ยาเม็ดอีนาลาพริล มาลีเอท (enalaprilmaleate tablets) และยาเม็ดซิมวาสแตติน(simvastatintablets)ใช้ต�ารายาUSP38เป็นมาตรฐานในการทดสอบคุณภาพโดยเลือกสุ่มผลิตภัณฑ์ยาที่มีใช้ในโรงพยาบาลรัฐที่ให้ข้อมูลซึ่งโรงพยาบาลไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจวเิคราะห์เป็นการประเมนิคณุภาพยาทีใ่ช้อยูจ่รงิในโรงพยาบาลของรฐัและเผยแพร่ข้อมลูรายชื่อผลิตภัณฑ์ยาและผู้ผลิตยาที่มีคุณภาพเพื่อน�าไปสู่การบริหารจัดการเวชภัณฑ์ยา ผลการด�าเนินการ การทดสอบคุณภาพยาเม็ดอะทีโนลอล จ�านวน๓๕ ตัวอย่าง ขนาดการใช้ ๒๕, ๕๐ และ ๑๐๐ มิลลิกรัม สุ่มจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ๒๓ ตัวอย่าง และจากบริษัทผู้ผลิตจ�านวน ๑๒ ตัวอย่าง แยกเป็น ๑๒ ทะเบียนต�ารับ ทดสอบด้วยมาตรฐานต�ารายาUSP38ใน๓ข้อก�าหนดคือปริมาณตัวยาส�าคัญ(activeingredient)ความสม�่าเสมอของตัวยา(weightvariation)และการละลายของตัวยา(dissolution)ผลการทดสอบพบเข้ามาตรฐานทุกตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ๑๐๐ การทดสอบคุณภาพยาเม็ดซิมวาสแตติน จ�านวน๖๓ ตัวอย่าง ขนาดการใช้ ๑๐, ๒๐,๔๐และ๘๐มิลลิกรัมสุ่มจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ๔๕ตัวอย่างและจากบริษัทผู้ผลิตจ�านวน๑๘ตัวอย่างแยกเป็น๑๙ทะเบียนต�ารับทดสอบโดยมาตรฐานต�ารายาUSP38ใน๓ข้อก�าหนดคือปริมาณตัวยาส�าคัญ (active ingredient)ความสม�่าเสมอของตัวยา (weightvariationorcontentuniformity)และการละลายของตัวยา(dissolution)ผลการทดสอบพบเข้ามาตรฐานทุกตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ๑๐๐ ส�าหรับยาเม็ดอีนาลาพริล มาลีเอท ได้รับตัวอย่างจ�านวน๓๒ ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์คุณภาพ๕ รายการ ตามUSP 38 ได้แก่ การตรวจเอกลักษณ์ (identification) ปริมาณตัวยาส�าคัญ(activeingredient)ความสม�่าเสมอของตัวยา(contentuniformity)การละลายของตัวยา(dissolution)และorganicImpuritiesโดยขนาดยาที่ได้รับมีขนาด๕,๑๐และ๒๐มิลลิกรัมขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบ ผลการด�าเนินการในภาพรวมพบว่าคุณภาพยาเม็ดอะทีโนลอลและยาเม็ดซิมวาสแตตินที่ใช้ในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศมีมาตรฐานในระดับสากลปลอดภัยต่อผู้บริโภค

โครงกำรสร้ำงหลักประกันคุณภำพและมำตรฐำนบริกำรด้ำนยำ

ศูนย์วิทยำศำสตร์กำรแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น ปีงบประมำณ ๒๕๕๙

Annual Report 2016REGIO

NAL MEDICAL SCIENCES CENTER 7

thKHO

N KAEN | DEPARTMENT O

F MEDICAL SCIENCES | M

INISTRY OF PUBLIC HEALTH

29

Page 6: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

โครงกำรพัฒนำเครือข่ำยวิทยำศำสตร์กำรแพทย์ชุมชน

ภาวดี น้อยอาษา

โครงการพฒันาเครอืข่ายวทิยาศาสตร์การแพทย์ชมุชน(โรงพยาบาลส่งเสรมิสขุภาพต�าบล(รพ.สต.)สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ๖๐พรรษานวมินทราชินี(สอน.)และสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ) ประจ�าปีงบประมาณ๒๕๕๙ เป็นโครงการบูรณาการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่๗ขอนแก่นเป็นส่วนหนึ่งในการด�าเนินงานและขยายผลในเขตรับผิดชอบครอบคลุม๔จังหวัดคือร้อยเอ็ดขอนแก่นมหาสารคามและกาฬสินธุ์มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพสู่ชุมชน และชุมชนสามารถน�าเอาองค์ความรู้ไปเฝ้าระวังความปลอดภยัของผลติภัณฑ์สขุภาพได้ด้วยตนเองเกดิระบบเฝ้าระวงัและศนูย์แจ้งเตอืนภยัสขุภาพเสรมิสร้างสนบัสนนุงานคุม้ครองผูบ้รโิภคและวทิยาศาสตร์การแพทย์ให้เข้มแขง็และยัง่ยนืในชมุชนโดยมีกระบวนการท�างานคือ ๑. จัดอบรมหลักสูตรอสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนให้กับอสม.ในพื้นที่สถานีอนามัยเฉลมิพระเกยีรติ๖๐พรรษานวมนิทราชนิีพร้อมทัง้จดัให้มกีารประเมนิเพือ่เข้ารบัการแต่งตั้งเป็นอสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนโดยในเขตสุขภาพที่๗ได้เกิดชุมชนต้นแบบงานคุ้มครองฯจ�านวน๔แห่งครอบคลุม๕๐หมู่บ้านได้แก่สอน.สีแก้ว(จังหวัดร้อยเอ็ด)สอน.กระบาก(จังหวัดมหาสารคาม)สอน.โพนงาม(จังหวัดกาฬสินธุ์)และสอน.ต�าบลในเมือง(จังหวัดขอนแก่น)มีอสม.ที่ผ่านการประเมินนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนและได้รับปลอกแขนจ�านวน๑๐๐คน ๒. จัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ และเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนให้กับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ จัดส่งชุดความรู้ อสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนทางไปรษณีย์ให้กับรพ.สต. และสอน.จ�านวน ๘๒๗ แห่ง คิดเป็นร้อยละ๙๗.๘๑ของรพ.สต.ทั้งหมด นอกจากนั้นศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น ยังจัดอบรมเชิงปฏิบัติการKM&R2Rให้กับอสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนและเครือข่ายประกอบด้วยส�านักงาน

สาธารณสุขจังหวัดส�านักงานสาธารณสุขอ�าเภอโรงพยาบาลสอน.และรพ.สต.ในเขตสุขภาพที่ ๗ จ�านวน๓ ระยะ เกิดผลงานวิจัย R2R ท่ีอยู่ระหว่างด�าเนินการจากเครือข่าย จ�านวน๑๐เรื่องและผลงานที่มีความโดดเด่นและเป็นการสกัดองค์ความรู้หน้างานของอสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนต้นแบบจ�านวน๔เรื่องดังนี้ ๑. สอน.สีแก้ว เรื่อง ผลของกิจกรรม “สีแก้วแคล้วภัย” ต่อการใช้ สเตียรอยด์ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(เบาหวานและความดันโลหิตสูง)หมู่บ้านหัวหนองหมู่๑๐ ๒. ผลของกิจกรรม “อสม.นักวิทย์พิชิต สเตียรอยด์”ต่อการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานรา

ยงาน

ประจ

ําปีปีป ๒

๕๕๙

ศูนย์ว

ิทยาศ

าสตร

์การแ

พทย

์ทีี่ ่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี

30

Page 7: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

และเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ๓. ผลของกิจกรรม“ดูแลใส่ใจผู้สูงวัยปลอดภัยจากสเตียรอยด์”ต่อการใช้ยาสมุนไพรในผู้สูงอายุต.เหล่าดอกไม้ ๔. ผลของกิจกรรม“ชุมชนในเมืองปลอดภัยห่างไกลสเตียรอยด์”ต่อการใช้สเตียรอยด์ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงบ้านหนองเตาปูน ปัจจยัแห่งความส�าเรจ็เกดิจากการให้โอกาสของผูบ้รหิารทีใ่ห้ด�าเนนิงานตามบรบิทปัญหาในพื้นที่และต้นทุนของบุคลากรอีกทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม�่าเสมอของคณะท�างานและเจ้าภาพมีส่วนช่วยให้การด�าเนินงานบรรลุเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้นและที่ส�าคัญคือการได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามหากตัวชี้วัดโครงการมีความชัดเจนและ รวดเร็วก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การวางแผนการด�าเนินงานท�าได้คลอบคลุมและรวดเร็วยิ่งขึ้นไป ข้อเสนอแนะในการด�าเนินโครงการปีต่อไป ควรเปิดเวทีแลกเปล่ียนเรียนรู้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญร่วมถอดบทเรียนประสบการณ์การท�างาน คุณค่า และประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อตนต่อองค์กรต่อสังคมออกมาเป็นชุดความรู้พร้อมเผยแพร่สู่สาธารณะ

กมลทิพย์ จุตาทิศ และเตือนใจ บุตรโคตร

โครงกำรพัฒนำคุณภำพสมุนไพร ด้วยวิทยำศำสตร์กำรแพทย์

เพื่อสร้ำงเศรษฐกิจชุมชน

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ด�าเนินงานภายใต้แผนบูรณาการโครงการพัฒนาคุณภาพสมุนไพรด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อีก๑๔แห่งทั่วประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในสปาและโอทอปให้มีคุณภาพได้มาตรฐานพัฒนาองค์ความรู้ของผูป้ระกอบการหรอืชมุชนในการผลติวตัถดิุบและผลติภณัฑ์จากสมนุไพรโดยมุง่หวงัให้ผูป้ระกอบการหรอืชุมชนทีเ่ป็นแหล่งผลติสามารถผลติผลติภณัฑ์ทีม่คีณุภาพมคีวามสามารถในการแข่งขนัได้อย่างยั่งยืนส่งผลให้เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น

ในปีงบประมาณ๒๕๕๙ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิต การควบคุมคุณภาพเครื่องส�าอางผสมสมุนไพร รวมถึงการยื่นจดแจ้งต�ารับกับส�านักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้กับผู้ประกอบการและชุมชนที่ผลิตเครื่องส�าอางผสมสมุนไพรรวมทั้งสิ้น๒๕ชุมชนเป็นผู้ประกอบการ๒๒แห่งและชุมชน๓แห่งนอกจากนี้ยังสมุนไพร ชุมชน เป็นผู้ประกอบการ และชุมชน

Annual Report 2016REGIO

NAL MEDICAL SCIENCES CENTER 7

thKHO

N KAEN | DEPARTMENT O

F MEDICAL SCIENCES | M

INISTRY OF PUBLIC HEALTH

31

Page 8: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

ได้ตรวจเย่ียมสถานท่ีผลิตเพื่อให้ค�าแนะน�าและสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องส�าอางผสมสมุนไพรจาก๔จังหวัด ในเขตสุขภาพที่๗ ได้แก่จังหวัดขอนแก่นมหาสารคามร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ตรวจวิเคราะห์คุณภาพรวมทั้งหมด๒๗ ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐาน๑๙ตัวอย่าง (ร้อยละ๗๐.๔) ผิดมาตรฐาน๘ตัวอย่าง(ร้อยละ๒๙.๖)จ�าแนกตามผลิตภัณฑ์ดังแสดงในตาราง

ผลิตภัณฑ์ผสมสมุนไพร จ�านวนตัวอย่าง ผิดมาตรฐาน สาเหตุที่ผิดมาตรฐาน

สบู่ก้อน ๑๒ ๐ -

สบู่เหลว ๒ ๑ pHต�่ากว่ามาตรฐาน

แชมพู ๓ ๑ ปริมาณแบคทีเรียและราเกินมาตรฐาน

ครีมนวดผม ๒ ๐ -

โลชั่นทาผิว ๑ ๐ -

ครีมบ�ารุงผิวหน้า ๑ ๑ pHต�่ากว่ามาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์สครับผิว ๑ ๑ ปริมาณแบคทีเรียและราเกินมาตรฐาน

น�้ามันสมุนไพรสกัด ๑ ๑ pHสูงกว่ามาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์ปิดผมขาว ๑ ๑ pHสูงกว่ามาตรฐาน

ลูกประคบ ๑ ๐ -

ผลิตภัณฑ์ทาผิวไล่แมลง ๑ ๑ ปริมาณแบคทีเรียเกินมาตรฐาน

ครีมพอกหน้า ๑ ๑ pHต�่ากว่ามาตรฐาน

รวม ๒๗ ๘(๒๙.๖%)

จากผลการตรวจวิเคราะห์พบว่าในตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผิดมาตรฐาน พบผิดมาตรฐานด้านความเป็นกรด-ด่างมากทีส่ดุคดิเป็นร้อยละ๖๒.๕และปรมิาณแบคทเีรยีและราเกนิมาตรฐานคิดเป็นร้อย ๓๗.๕ ซึ่งในเบ้ืองต้นทางศูนย์ฯ ได้ให้ค�าแนะน�าผู้ประกอบการในการปรับปรุงสถานที่ผลิตเพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และการคัดเลือกวัตถุดิบมาใช้ในสูตรต�ารับ ส่วนการปรับปรุงสูตรต�ารับเพื่อให้ได้ pH ตรงตามมาตรฐานที่ก�าหนดจะต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและประสานงานกับเครือข่ายในพื้นที่เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่อไป

รายง

านปร

ะจําปีปีป

๒๕๕๙

ศูนย์ว

ิทยาศ

าสตร

์การแ

พทย

์ทีี่ ่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี

32

Page 9: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

อธิชา มหาโยธา, สุทัศนีย์ วิมลเศรษฐ, วัจนา ช่างทอง, รัศมี ออมสิน, อุดมเกียรติ พรรธนประเทศ

กำรประเมินกำรตรวจกำรติดเชื้อ HIV-1 ด้วยวิธี Real time PCR

จำกตัวอย่ำงเลือดและกระดำษซับเลือด

การประเมินการตรวจการติดเชื้อHIV-1ด้วยวิธีReal timePCRในตัวอย่างเลือดและกระดาษซับเลือด ระหว่างปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพร้อมใช้ของวิธี ซึ่งสอดคล้องตามข้อก�าหนดของคุณภาพการทดสอบตามมาตรฐาน ISO 15189ประกอบด้วยการเปรียบเทียบผลการตรวจการติดเชื้อHIV-1ระหว่างวิธีRealtimePCRและวิธีMultiplexNestedPCRจากตัวอย่างเลือดเด็กที่ส่งตรวจในงานประจ�าการเปรียบเทียบผลตรวจการติดเชื้อHIV-1ด้วยวิธีRealtimePCRจากตัวอย่างกระดาษซับเลือดที่มีผลการทดสอบด้วยวิธีMultiplexNestedPCRแล้วและปรับปรุงการสกัดDNAโดยการละลายเลือดด้วย๕%Chelex-100 และสกัด DNA จากสารละลายด้วยชุดสกัด MagNa Pure Compact และเปรียบเทียบผลทดสอบกับการสกัด DNA ด้วยชุดสกัด QIAamp DNAMini Kit และทดสอบหาปริมาณ HIV-1 DNA ต�่าสุดใน DBS จากการสกัดด้วยวิธีที่ปรับปรุงขึ้นที่ให้ผลบวกด้วยวิธีRealtimePCRผลการตรวจการติดเชื้อHIV-1จากเลือด๔๕๘ตัวอย่างด้วยวิธีRealtimePCR โดยมีเกณฑ์ตัดสินผลบวกที่ Ct. น้อยกว่าหรือเท่ากับ๓๗พบผลบวก๒๒ตัวอย่าง ผลลบ๔๓๖ ตัวอย่าง และสอดคล้องกับผลการตรวจด้วยวิธีMultiplex Nested PCR ร้อยละ๑๐๐จากการตรวจ DNA ของกระดาษซับเลือด ๑๔๐ ตัวอย่าง ซึ่งสกัดด้วยวิธีที่ปรับปรุงขึ้นโดยมีเกณฑ์ตัดสินผลบวกที่Ct.น้อยกว่าหรือเท่ากับ๓๗พบผลบวกเพียง๒๖จากทั้งหมด๔๐ตัวอย่าง (ร้อยละ๗๕) ส่วนกลุ่มตัวอย่างลบพบผลลบท้ัง ๑๐๐ ตัวอย่าง (ร้อยละ๑๐๐) และเมื่อปรับเกณฑ์ตัดสินผลบวกท่ี Ct. น้อยกว่าหรือเท่ากับ ๔๐ พบผลบวกทั้ง ๔๐ ตัวอย่าง(ร้อยละ ๑๐๐) ผลลบทั้ง ๑๐๐ ตัวอย่าง (ร้อยละ ๑๐๐) เมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจ DBSทั้ ง ๑๔๐ ตัวอย ่าง ที่สกัดด ้วยวิธีปรับปรุงขึ้นกับชุดสกัด QIAamp DNA Mini Kitมีความสอดคล้องร้อยละ ๑๐๐ และค่า Limit of detection ของวิธีสกัดท่ีปรับปรุงข้ึนคือHIV-1DNA มากกว่าหรือเท่ากับ 25 copies/100µl (250 copies/ml) จากผลการประเมินข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการตรวจการติดเชื้อHIV-1จากเลือดวิธีRealtimePCRให้ผลการตรวจไม่แตกต่างจากวิธีMultiplexNestedPCRส�าหรับการตรวจในDBSเกณฑ์ตัดสินผลบวกของวิธีRealtimePCRมีผลต่อความไวและความจ�าเพาะของการตรวจเนื่องจากปริมาณตัวอย่างเริ่มต้นที่แตกต่างกันดังนั้นควรพิจารณาการใช้เกณฑ์ตัดสินผลบวกที่แตกต่างกัน

Annual Report 2016REGIO

NAL MEDICAL SCIENCES CENTER 7

thKHO

N KAEN | DEPARTMENT O

F MEDICAL SCIENCES | M

INISTRY OF PUBLIC HEALTH

33

Page 10: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

สุทัศนีย์ วิมลเศรษฐ, วัจนา ช่างทอง

กำรทดสอบควำมช�ำนำญทำงห้องปฏิบัติกำรชันสูตรสำธำรณสุข

ประจ�ำปี ๒๕๕๙

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ท่ี ๗ ขอนแก่น ได้ด�าเนินการทดสอบความช�านาญทางห้องปฏิบัติการชันสูตรสาธารณสุข จ�านวน๓ รายการทดสอบ คือ การตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกโดยวิธี Immunochromatography, การทดสอบความช�านาญการตรวจวินิจฉัยโรคสครับไทฟัสโดยวิธี Immunochromatography และการทดสอบความช�านาญการตรวจวินิจฉัยเชือ้Vibriocholeraeด�าเนนิงานโดยประชาสมัพนัธ์โครงการทดสอบความช�านาญทางห้องปฏบิติัการชันสูตรสาธารณสุข การรับสมัครสมาชิกจัดซื้อชุดทดสอบและวัสดุวิทยาศาสตร์เพ่ือการตรวจวิเคราะห์และตอบรับการสมัครสมาชิกพร้อมทั้งให้รหัสสมาชิก สมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการมีทั่วทุกภาคของประเทศจ�านวนสมาชิกของการตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกจ�านวน ๑๑๖ แห่งการตรวจวินิจฉัยโรคสครับไทฟัสจ�านวน๕๓แห่งและการตรวจวินิจฉัยเชื้อVibriocholeraeจ�านวน๔๕แห่งผลการด�าเนินงานในปีงบประมาณ๒๕๕๙ดังนี้ การตรวจวินิจฉัยเชื้อ Vibrio cholerae ตัวอย่างครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ จัดส่งตัวอย่างแก่สมาชิก จ�านวน ๔๕ แห่ง สมาชิกรายงานผลกลับจ�านวน๔๐ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๙รายงานผลการทดสอบถูกต้อง ร้อยละ๘๒.๕ตัวอย่างครั้งที่ ๒/๒๕๕๙จัดส่งตัวอย่างแก่สมาชิกจ�านวน๔๔แห่งสมาชิกรายงานผลกลับจ�านวน๔๑แห่งคิดเป็นร้อยละ๙๑.๑รายงานผลการทดสอบถูกต้องร้อยละ๘๖.๒ตัวอย่างครั้งที่๓/๒๕๕๙จัดส่งตัวอย่างแก่สมาชิกจ�านวน๙๒.๔สรุปและส่งผลการประเมินแก่สมาชิก การตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกโดยวิธี Immunochromatography ตัวอย่างครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ จัดส่งตัวอย่างแก่สมาชิก จ�านวน ๑๓๑ แห่ง เป็นการทดสอบแอนติเจน และแอนติบอดี จ�านวน ๑๑๖ แห่ง ทดสอบแอนติเจน จ�านวน ๖ แห่ง และแอนติบอดี จ�านวน ๙ แห่ง ตัวอย่างครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ จัดส่งตัวอย่างแก่สมาชิกทั้งหมด๑๓๒ แห่ง รายงานผลกลับ ๑๐๗ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๑ เป็นการทดสอบแอนติบอดีจ�านวน๑๒๖แห่งรายงานผลกลับจ�านวน๑๑๒แห่งคิดเป็นร้อยละ๘๘.๙ทดสอบแอนติเจนจ�านวน๑๒๒แห่งคิดเป็นร้อยละ๘๒.๐ประเมินผลการทดสอบสรุปและส่งผลการประเมินแก่สมาชิก การตรวจวินิจฉัยโรคสครับไทฟัส โดยวิธี Immunochromatography ตัวอย่างครั้งที่๑/๒๕๕๙จัดส่งตัวอย่างแก่สมาชิกจ�านวน๕๕แห่งสมาชิกรายงานผลกลับจ�านวน๕๐ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๙ รายงานผลการทดสอบถูกต้อง ร้อยละ ๙๖.๐ ตัวอย่างครั้งที่

รายง

านปร

ะจําปีปีป

๒๕๕๙

ศูนย์ว

ิทยาศ

าสตร

์การแ

พทย

์ทีี่ ่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี

34

Page 11: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

๒/๒๕๕๙จัดส่งตัวอย่างแก่สมาชิกจ�านวน๕๕แห่งสมาชิกรายงานผลกลับจ�านวน๔๗แห่งคิดเป็นร้อยละ๘๕.๕รายงานผลการทดสอบถูกต้องร้อยละ๙๗.๙สรุปและส่งผลการประเมินแก่สมาชิก

การทดสอบความช�านาญ (Proficiency testing : PT)หรือการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์โดยองค์กรภายนอก (External Quality Assessment : EQA) เป็นเครื่องมือส�าหรับประเมินคุณภาพการด�าเนินการของห้องปฏิบัติการต่างๆซ่ึงการทดสอบความช�านาญผลการเปรียบเทียบจะเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาระบบคุณภาพตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบตักิารนอกจากนีย้งัเป็นตวัชีว้ดัการพฒันาคณุภาพอย่างต่อเนือ่งและยัง่ยนืของห้องปฏบิตักิาร

วัจนา ช่างทอง ,อธิชา มหาโยธา

กำรพัฒนำระบบจัดกำรควำมเสี่ยงห้องปฏิบัติกำรชีวภำพ

(Biorisk Management) ประจ�ำปี ๒๕๕๙

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีหน้าท่ีพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลในพื้นที่เขตสุขภาพท่ี ๗ การจัดการความเสี่ยงห้องปฏิบัติการชีวภาพ (Bioriskmanagement)เป็นกระบวนการจัดการความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการให้มีมาตรฐาน อบรมสร้างวิทยากรที่มีความรู้และมาตรฐานการสอนในแนวทางเดียวกัน มีการด�าเนินการจัดการความเสี่ยงห้องปฏิบัติการชีวภาพภายในศนูย์วทิยาศาสตร์การแพทย์และให้การอบรมแก่โรงพยาบาลในเครือข่ายเพือ่ให้มีความพร้อมด�าเนินการพฒันาระบบจดัการความเสีย่งห้องปฏบิติัการชวีภาพในภาพรวมและสามารถประเมินความเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการท�างานกับตัวอย่างผู้ป่วยที่อาจมีเชื้อโรคร้ายแรงปะปนอยู่และสามารถจัดการลดความเสี่ยงนั้นลงได้ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและลดโอกาสที่เชื้อโรคร้ายแรงต่างๆแพร่กระจายออกจากห้องปฏิบัติการสู่บุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น ได้ด�าเนินงานตามโครงการจัดการความเสี่ยงห้องปฏิบัติการชีวภาพ (Biorisk management)โดย จัดท�าโครงการและแผนปฏิบัติการเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการทบทวนและพัฒนาความรู้หลักสูตรวิทยากรการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านชีวภาพ และความปลอดภัยในการใช้ตู้ชีวนิรภัย จ�านวน๒คนในวันที่๑๔-๑๗ธันวาคม๒๕๕๘ณโรงแรมแคนทารีจ.อยุธยาจัดโดยสถาบันวิจัย

Annual Report 2016REGIO

NAL MEDICAL SCIENCES CENTER 7

thKHO

N KAEN | DEPARTMENT O

F MEDICAL SCIENCES | M

INISTRY OF PUBLIC HEALTH

35

Page 12: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

วิทยาศาสตร์สาธารณสุข ด�าเนินการวางแผนจัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์วัสดุเกี่ยวกับการป้องกันความปลอดภัยส�าหรับการปฏิบัติงาน และการด�าเนินงานพัฒนาระบบจัดการความเสี่ยงด้านชีวภาพ(Bioriskmanagement)ของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่๗ขอนแก่นอบรมการจัดการความเสี่ยงด้านชีวภาพ เรื่อง การจัดการความเสี่ยง และความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการแก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่๗ขอนแก่นครั้งที่๑ในวันที่๒๙มกราคม๒๕๕๙มีผู้เข้าร่วมประชุมจ�านวน๑๘คนเนื้อหาประกอบด้วยการใช้spillkitด้านชีวภาพและด้านเคมีครั้งที่๒ ทบทวนปรับปรุงขั้นตอนการใช้ และสาธิตการใช้ spill kitด้านชีวภาพ ในวันที่ ๒๖กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙มีผู้เข้าร่วมประชุม จ�านวน๑๐คนประเมินความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น จ�านวน ๑ เรื่อง คือการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย และขยะติดเชื้อของห้องปฏิบัติการ จัดท�าสติ๊กเกอร์เกี่ยวกับความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ เช่น เครื่องหมาย Biological Hazard, เครื่องหมายสวมถงุมอื,เครือ่งหมายห้ามสวมถงุมอื,ชดุล้างตาฉกุเฉนิและเคร่ืองหมายระวงัสารเคมอีนัตรายเป็นต้นโดยได้ก�าหนดมาตรฐานการติดสติ๊กเกอร์เกี่ยวกับความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการให้เป็นแนวทางเดียวกัน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบจัดการความเสี่ยงห้องปฏิบัติการชีวภาพ(Biorisk management) และการใช้ความปลอดภัย และมาตรฐานของตู้ชีวนิรภัย ในวันที่๖-๗มิถุนายน๒๕๕๙ณโรงแรมเจริญธานีจังหวัดขอนแก่นผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลเครือข่ายเดิมในปี ๒๕๕๘ จ�านวน๑๖ แห่ง และเครือข่ายใหม่ในปี๒๕๕๙จ�านวน๒๐แห่งรวมเป็น๕๐คนสรุปอบรมโรงพยาบาลเครือข่ายในปี๒๕๕๘และปี๒๕๕๙รวมทั้งสิ้น ๓๖ แห่งจากทั้งหมด ๖๗ แห่ง คิดเป็นร้อยละ๕๓.๗ติดตามผลการด�าเนนิงานประเมนิการบรหิารจดัการความเสีย่งด้านชวีภาพและประเมนิความปลอดภยัทางห้องปฏิบัติการทั่วไปในพื้นที่เฉพาะ(DesignatedRecieivingArea:DRA)ของโรงพยาบาลขอนแก่นเมื่อวันที่ ๑๙สิงหาคม๒๕๕๙สรุปผลการด�าเนินงานประเมินผลและจัดท�ารูปเล่มสรุปผลการด�าเนินการพัฒนาระบบจดัการความเสีย่งห้องปฏบิตักิารชวีภาพ(Bioriskmanagement)ของศนูย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่๗ขอนแก่น

รายง

านปร

ะจําปีปีป

๒๕๕๙

ศูนย์ว

ิทยาศ

าสตร

์การแ

พทย

์ทีี่ ่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี

36

Page 13: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป ็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ส�าคัญโดยกระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทในด้านการรักษาผู้เสพและควบคุมตัวยาซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นหน่วยงานหลักในการตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น ได้ด�าเนินงานการให้บริการตรวจพิสูจน์สารเสพติดในปัสสาวะ ของกลางที่สงสัย และสารระเหย แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน และประชาชนในเขตบริการสุขภาพที่ ๗ คือ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม และพื้นที่ใกล้เคียงรวมถึงการสนับสนุนชุดทดสอบเบื้องต้นและการสนับสนุนทางด้านวิชาการต่างๆให้จังหวัดในพื้นที่การให้บริการตรวจพิสูจน์สารเสพติดในของกลาง มีจ�านวนทั้งหมด๖๕ ตัวอย่าง คือ สารระเหยในตัวอย่างกาว จ�านวน๖๕ ตัวอย่าง ตรวจพบสารระเหย จ�านวน๖๕ ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ๑๐๐ ตรวจพบโทลูอีน จ�านวน๔๖ ตัวอย่าง โทลูอีนและอาซีโทน จ�านวน๘ ตัวอย่าง อาซีโทนจ�านวน๕ตัวอย่างโทลูอีนอาซีโทนและเอทิลอาซีเทตจ�านวน๔ตัวอย่างเมทิลอาซีเทตจ�านวน๑ตัวอย่างและโทลูอีนเอทิลอาซีเทตและเมทิลอาซีเทตจ�านวน๑ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ๗๐.๘,๑๒.๓,๗.๗,๖.๒,๑.๕และ๑.๕ตามล�าดับการตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในปัสสาวะมีจ�านวนทั้งหมด๓,๑๙๖ตัวอย่างตรวจพบสารเสพติดจ�านวน๒,๙๙๖ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ๙๓.๗ตรวจพบเมทแอมเฟตามีน จ�านวน๒,๖๗๙ตัวอย่าง เตตระไฮโดรแคนนาบินอลคาร์บอกซิริค แอซิคจ�านวน๑๒๓ตัวอย่างและเมทแอมเฟตามีนและเตตระไฮโดรแคนนาบินอลคาร์บอกซิริคแอซิคจ�านวน๑๙๖ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ๘๙.๔,๐.๐๔และ๐.๐๗ตามล�าดับส�าหรับการสนับสนุนชุดทดสอบหาสารเสพตดิเบือ้งต้นในปัสสาวะสนบัสนนุทัง้หมดจ�านวน๕๒,๐๐๐ชดุคอืชดุทดสอบเบื้องต้นหาเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะจ�านวน๓๖,๐๐๐ชุดและชุดทดสอบเบื้องต้นหากัญชาในปัสสาวะ จ�านวน๑๖,๐๐๐ ชุด โดยสนับสนุนผ่านศูนย์อ�านวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ชุดทดสอบเบื้องต้นหาเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะจังหวัดละ๘๐๐๐ชุดและชุดทดสอบเบื้องต้นหากัญชาในปัสสาวะจังหวัดละ๕๐๐๐ชุดและศูนย์ฯยังได้ร่วมกิจกรรมกับส�านักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ในการอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ชดุทดสอบเบ้ืองต้นหาเมทแอมเฟตามนีในปัสสาวะเพือ่พฒันาศกัยภาพเจ้าหน้าทีใ่นการตรวจปัสสาวะด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นของจังหวัดกาฬสินธุ์จ�านวน๑๐๐คน

ประทุมวรรณ์ กิตติอภิบูลย์ อมรพรรณ อุ่นชัย

วิธินา ชาวปทุม และชลธิชา พุทธสอน

สนับสนุนกำรแก้ไขปัญหำผู้เสพยำเสพติดและ

กำรควบคุมตัวยำ/สำรเคมี

Annual Report 2016REGIO

NAL MEDICAL SCIENCES CENTER 7

thKHO

N KAEN | DEPARTMENT O

F MEDICAL SCIENCES | M

INISTRY OF PUBLIC HEALTH

37

Page 14: งำน วิจัย โครงกำร research2559… · น้อย ทองสกุลพานิชย์, พชรมน ทาขุลี, นวรัตน์

โลหะหนักที่มีความเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์มีอยู ่หลายชนิด โลหะที่ถูกก�าหนดไว้ในมาตรฐานส่วนใหญ่จะมี๓ชนิดได้แก่ปรอทแคดเมียมและตะกั่วซึ่งเป็นโลหะหนักที่เป็นภัยต่อสุขภาพมากที่สุดเมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอาการต่างๆของโรคที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อยจนถึงอาการรุนแรง ปริมาณโลหะหนักที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจะแตกต่างกันไปตามชนิดของโลหะหนักแต่ละตัว โลหะหนักที่มีความเป็นพิษสูงเมื่อเข้าสู่ร่างกายแม้ในปริมาณไม่มากก็สามารถส่งผลกระทบกับสุขภาพได้ วิธีการทดสอบหาปริมาณของโลหะหนักจึงต้องเป็นเทคนิคที่มีความถูกต้องแม่นย�าและมีความไวในการตรวจวิเคราะห์สูงที่สามารถตรวจวัดโลหะในปริมาณต�่าๆด้วยความถูกต้องได้ห้องปฏิบัติการพิษวิทยาศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๗ ขอนแก่น ได้พัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในตัวอย่างชีววัตถุด้วยเทคนิคInductively Coupled Plasma-Mass Spectrometry (ICP-MS) เพื่อใช้เป็นวิธีมาตรฐานส�าหรับการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักตะกั่วแคดเมียมปรอทในเลือด(wholeblood)ด้วยเครือ่งICP-MSModelNexION300Xกระบวนการวเิคราะห์ได้ประยกุต์วธิเีป็นconventionalmethodตัวอย่างเลอืดจะถกูเจอืจางในอตัราส่วน๑:๕๐ด้วยสารละลายdiluentควบคมุคณุภาพกระบวนการวิเคราะห์ด้วยตัวอย่างควบคุม (Quality Control Sample) และป้องกันการเกิดcarryoverโดยใช้washingsolutionทีม่ทีองค�าเป็นองค์ประกอบส�าหรับเงือ่นไขการตรวจวเิคราะห์ด้วยเครื่องICP-MSมีค่าดังนี้RFPower๑.๖๐KW,ArNebulizerGasFlow๐.๗๕-๑.๒LPM,DetectorMode:DualMode,MeasurementUnits:Cps.,AutolensOn,BlankSubtraction:AfterInternalCalibrator,SimpleLinearCurveType,๒๐Sweeps/Reading,๑Reading/Replicate,๓Replicates/Measurement,DwellTime๕๐ms,RPQ๐.๒๕วิธีที่ได้สามารถวเิคราะห์หาความเข้มข้นต�า่สดุในเชงิปรมิาณ(LimitofQuantitation:LOQ)ได้ค่าดงันี้ตะกัว่๑.๐ไมโครกรัม/เดซิลิตรแคดเมียม๐.๕ไมโครกรัม/ลิตรและปรอท๑.๐ไมโครกรัม/ลิตรและมีช่วงความเข้มข้นที่สามารถวิเคราะห์ได้และให้ความสัมพันธ์เชิงเส้น(Linearity)คือตะกั่ว๑.๐–๕๐ไมโครกรัม/เดซิลิตรแคดเมียม๐.๕–๒๐ไมโครกรัม/ลิตรและปรอท๑.๐–๔๐ไมโครกรัม/ลิตร จากข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นสามารถน�ามาใช้ตรวจวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่ว แคดเมียม และปรอทในเลือดได้ ซึ่งสามารถใช้เป็นเคร่ืองมือในการตรวจติดตามการได้รับสัมผัสโลหะหนัก เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังภัยสุขภาพต่อการสัมผัสโลหะพษิและเป็นข้อมลูส�าคญัในการวเิคราะห์แนวโน้มสถานการณ์การแพร่กระจายของโลหะหนกัสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะน�ามาสู่การวางแนวทางการป้องกันและนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพต่อไป

นางวาทิณี ดรบุญล้น

กำรพัฒนำวิธีกำรตรวจวิเครำะห์โลหะหนักในตัวอย่ำงชีววัตถุ

ด้วยเทคนิค ICP-MS

รายง

านปร

ะจําปีปีป

๒๕๕๙

ศูนย์ว

ิทยาศ

าสตร

์การแ

พทย

์ทีี่ ่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี่ ๗

ขอน

แก่น

| กร

มวิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ | ก

ระทร

วงสา

ธารณ

สุขศูน

ย์วิทย

าศาส

ตร์กา

รแพทย

์ทีี

38