a comparative study of the concepts of insight …

113
การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องวิปสสนาญาณในพุทธปรัชญาเถรวาท กับอัชฌัตติกญาณของโอโช A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT KNOWLEDGE IN THERAVDA BUDDHIST PHILOSOPHY AND INTUITION OF OSHO พระมหาอิสรเชษฐ ปฺญาวชิโร (ใจมาสุข) วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๓

Upload: others

Post on 05-Oct-2021

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเร่ืองวิปสสนาญาณในพุทธปรัชญาเถรวาท กับอัชฌัตติกญาณของโอโช

A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT KNOWLEDGE IN THERAVᾹDA BUDDHIST PHILOSOPHY

AND INTUITION OF OSHO

พระมหาอิสรเชษฐ ปฺญาวชิโร (ใจมาสุข)

วิทยานิพนธน้ีเปนสวนหน่ึงของการศึกษา ตามหลักสตูรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลยัมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๓

Page 2: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องวิปสสนาญาณในพุทธปรชัญาเถรวาท กับ อัชฌัตติกญาณ ของ โอโช

พระมหาอิสรเชษฐ ปฺญาวชิโร (ใจมาสุข)

วิทยานิพนธน้ีเปนสวนหน่ึงของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๓

(ลิขสิทธิ์เปนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

Page 3: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF

INSIGHT KNOWLEDGE IN THERAVᾹDA BUDDHIST PHILOSOPHY AND INTUITION OF OSHO

PHRAMAHA ISSARACHET PAÑÑÃVAJIRO (JAIMASUK)

A Thesis Submitted In Partial Fulfillment of The Requirement for the Degree of

Master of Arts (Philosophy)

Graduate School

Mahachulalongkornrajavidayalaya University Bangkok Thailand

C.E. 2010

Page 4: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

(Copyright by Mahachulalongkornrajavidyalaya University)

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อนุมัติใหนับวิทยานิพนธฉบับนี้ เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ปรัชญา .......................................... (พระสุธีธรรมานุวัตร) คณบดบัีณฑิตวิทยาลัย คณะกรรมการตรวจสอบวทิยานิพนธ ................................................ ประธานกรรมการ ( ) .................................................... กรรมการ ( พระมหาณรงค กนฺตสีโล ) ..................................................... กรรมการ ( พระใบฎีกา เสนห ญาณเมธี ) .................................................... กรรมการ ( ดร.พิสิฐ ) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ พระมหา ดร. ณรงค กนฺตสีโล ประธานกรรมการ พระใบฎีกา ดร. เสนห ญาณเมธี กรรมการ

Page 5: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

ช่ือวิทยานิพนธ : ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด เรื่องวิปสสนาญาณในพุทธปรัชญาเถรวาท กับแนวคิด อัชฌัตติกญาณ ของ โอโช ผูวิจัย : พระมหา อิสรเชษฐ ปญญาวชิโร (ใจมาสุข) ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (ปรัชญา) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ

: พระมหาณรงค กนฺตสีโล, ผศ.ดร.,ป.ธ. ๔,พธ.บ.(ปรัชญา),M.A; (Phil) Ph.D. (Phil)

: พระใบฎีกาเสนห ญาณเมธี, ดร.,พธ.บ.(ศาสนา), M.A., (Phil), Ph.D.(Phil) วันสําเร็จการศึกษา : ๑ เมษายน ๒๕๔๕

บทคัดยอ วิทยานิพนธน้ี มีวัตถุประสงค คือ (๑) เพ่ือศึกษาแนวคิดเรื่องวิปสสนาญาณ ในพุทธปรัชญาเถรวาท (๒) เพ่ือศึกษาแนวคิดเรื่อง อัชฌัตติกญาณ ของโอโช (๓) เพ่ือศึกษาเปรียบเทียบใหเห็นถึงความคลายและความตาง พอสรุปไดดังน้ี ตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท วิปสสนาญาณ หมายถึง ปญญาท่ีเห็นแจงในรูปนาม (ขันธ ๕) เปนสภาวะท่ีเห็นการเกิด – ดับ ของรูปนาม เห็นรูปนามตกอยูในกฎแหงไตรลักษณ คือ มีความเกิดขึ้น ต้ังอยู และดับไป และแนวทางการเกิดวิปสสนาญาณ ใชสติปฏฐาน,อินทรียพละ,หลักไตรสิกขาเปนบาทฐานการปฏิบัติ เพ่ือนําไปสูความหลุดพน จาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน

ตามทัศนะของโอโช อัชฌัตติกญาณ หมายถึง ความรูท่ีเกิดจากประสบการณตรงท่ีเกิดขึ้นภายใน อัชฌัตติกญาณ เปนสภาวะท่ีเหนือเหตุผล อยูเหนือจิตสํานึก การเขาถึง อัชฌัตติกญาณตองใชความรูสึก ใชสติระลึกรูตัว อยูกับปจจุบันขณะ ละท้ิงความคิดการปรุงแตงท้ังหลายลง ก็สามารถเขาถึงอัชฌัตติกญาณได ความคลายกันของท้ังสองทัศนะ คือ (๑) ในแงความหมาย ทัศนะท้ัง ๒ กลาวถึงความรูเกิดมาจากสิ่งภายใน เปนความรูท่ีเกิดจากประสบการณตรงไมผานการคิดหาเหตุผล

Page 6: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

ใดๆ (๒) ในแงบอเกิด คลายกันตรงท่ี ความรูท่ีแท เกิดจากการใชความรูสึกลวนๆ ไมไดเกิดจากการปรุงแตงใดๆ หรืออาศัยเหตุผล เขาไปรับรูอารมณตางๆ (๓) สภาวะลักษณะมีความคลายกันเพราะเปนสภาวะอยูเหนือจิตสํานึก อยูเหนือสิ่งสมมุติบัญญัติ (๔) กระบวนการความรู คลายกันตรงท่ีใหความสําคัญตอการใชสติ ความระลึกรูตัว เปนบาทฐาน (๕) ในแงจุดมุงหมาย คลายกันตรงท่ีทําใหจิตหลุดพนจากความคิดปรุงแตง เปนจิตท่ีวางเปลาไมยึดติดกับสิ่งสมมติตางๆ ความตางกันของท้ัง ๒ ทัศนะ คือ (๑) ความตางกันในเชิงความหมาย อัชฌัตติกญาณของโอโช อีกความหมายหน่ึง คือ ความรูท่ีเกิดโดยลางสังหรณ รูเองเกิดขึ้นเอง แลวกลายเปนพลังสรางสรรค แตวิปสสนาญาณคือการรูแจงเห็นจริง ในกายและใจ เห็นสภาวะความไมเท่ียง เปนทุกขและเปนอนัตตา เทาน้ัน (๒) ในเรื่องบอเกิด ทางพุทธปรัชญา เห็นวา บอเกิดของวิปสสนาเกิดจากใชความรูสึกมองสิ่งตางๆตามความเปนจริงในรูปนาม จนเกิดการรูแจงวิปสสนาญาณตามลําดับ โอโชไดใหความสําคัญกับ ความรูทางสัญชาตญาณท่ีไมควรเขาไปกดทับ เปนแหลงท่ีสามารถนําไปสูอัชฌัตติกญาณได (๓) เรื่องสภาวะลักษณะ วิปสสนาญาณเห็นสิ่งตางๆ มีแตการแตกดับ ทนอยูไมไดและไรตัวตน แตอัชฌัตติกญาณมีลักษณะท่ีสมบูรณในตัวเอง มีพลังในตัวเอง เปนหน่ึงเดียวไมมีการแบงแยก (๔) เรื่องของกระบวนการความรู อัชฌัตติกญาณเกิดจากการมีสติเพ่ือตามรูอารมณท่ีปรากฏทางกายและใจ ท่ีแสดงออกมาตามแรงสัญชาตญาณจนเกิดการต่ืนตัวทางอารมณ สามารถละความคิดการปรุงแตงท้ังหลาย เมื่อน้ันอัชฌัตติกญาณจะปรากฏ สวนทางพุทธปรัชญา การมีสติตามรูตามดูทางกายและจิต โดยใชสัมมาสติ เพ่ือใหเกิดวิปสสนาญาณเห็นตามความเปนจริง จนพัฒนา ในระดับท่ีเปนโลกิยะไปสูโลกุตตระ (๕) เรื่องจุดมุงหมาย วิปสสนาญาณทําใหจิตหลุดพนจากกองทุกข เขาไปสูนิพพาน หรือกาวเขาไปสูความเปนอริยบุคคลชั้นสูง สวนอัชฌัตติกญาณของโอโช คือ การกาวไปสูความวางแหงจิตท่ีไรพันธนาการทางความคิด นําไปสูจิตเดิมแท ท่ีเปนสภาวะของอัชฌัตติกญาณ

Page 7: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

Thesis Title : A Comparative Study of The Concepts of Insight Knowledge in theravada Buddhist Philosophy and Intuition of Osho Researcher : Phramaha Issarachet Paññavajiro (Jaimasuk) Degree : Master of Arts (Philosophy) Thesis Supervisory Committee

: Phramaha Dr. Narong Kantasilo Pali IV; B.A., (Phil) M.A. (Phil), Ph.D. (Phil)

: P.B. Dr. Saneh Ñãnamedhi. B.A.(Religions), M.A. (Phil), Ph.D. (Phil) Graduated Date : April 1, 2011

ABSTRACT

This thesis aims at a study of Visspassanãñana or insight knowledge in Theravada Buddhist Philosophy and the concept of Osho’s intuition and makes a comparative study on the similarity and dissimilarity. The study can be summarized as follows. According to the Theravada Buddhist Philosophy, the word “Visspassanãñana” means the wisdom enlighten in the Five Aggregates or seeing the stage of the rising and extinguishing of corporeality and immateriality. It is recognized that they were governed by the law of the Three Characteristics; rising, remaining and extinguishing. The path to develop Visspassanãñana or insight knowledge is to practice the Four Foundations of mindfulness or Satipatthãna Sutta,the Five Strengths or pañca bala and the Threefold Training or sikkhā for attending to the liberation or free from defilements, craving and attachment. According to Osho’s philosophical ideal, the word “intuition” means the knowledge and understanding that occurs from the direct inner experience, the state of super conscious and being the élan vital. The path to attain intuition is to concentrate of one’s mind, living in the present moment and non craving for various emotions.

Page 8: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

The similarities of the two philosophical view-points are that 1) the both mentioned that the knowledge came from the direct inner experience without reasoning. 2) In term of the source of knowledge, the knowledge came from the pure feeling. 3) In term of the characteristic, intuition is the state of super conscious or it is beyond conventional truth. 4) In term of the cognitive processes, the both views focused on consciousness. 5) In term of aim, the both views focused on the freedom of mind. The study found the dissimilarities of both philosophical views as follows. 1) In term of meanings, Osho has mentioned that intuition came from the innermost core but the Visspassanãñana or insight knowledge was the enlightenment in mind and body or the seeing and understanding of the impermanence, suffering and non self. 2) In term of source of the intuition knowledge, the Theravada Buddhist Philosophy described that the insight knowledge or Visspassanãñana is arisen by seeing and understanding all aggregates as they really are. 3) In term of the characteristic of intuition, the intuition was the absolute in itself but the insight knowledge or Visspassanãñana was the knowledge of contemplation on rising and falling. 4) In term of cognitive processes, intuition came from consciousness or knowing with oneself and displayed by instinct until the emotional awareness and the non craving for anything developed into oneself then the intuition will be appeared. According to Theravada Buddhist philosophy, the contemplation on mind and body by means of right understanding and the wholesome emotion in order to attend the Visspassanãñana or insight knowledge is to see things as they really are until develop to the liberation. 5) In term of aims, Osho’s liberation represented the empty mind without the bondage of thought and leaded to the essence of mind called the intuition. According to Theravada Buddhist philosophy, the liberation focused on the cessation of defilements and attended to Nibbana or become the noble individual.

Page 9: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธฉบับน้ี สําเร็จลงไดดวยความเมตตาอนุเคราะหจาก พระมหา ณรงค กนฺตสีโล, ผศ.ดร. พระใบฎีกา เสนห ญาณเมธี, ดร. ท่ีกรุณาใหความรู คําแนะนํา คําปรึกษา และตรวจทานแกไข ขัดเกลาสํานวนภาษาดวยความเมตตาจนเสร็จสมบูรณ ผูวิจัยจึงขอขอบพระคุณเปนอยางสูงไว ณ ท่ีน้ี

ขอขอบพระคุณพระมหาวิโรจน ปภสฺสาโร เจาอาวาสวัดเวฬุวัน ท่ีไดให คําแนะนํากรอบคิดทางวิชาการ และชวยตรวจรูปแบบ และพระพุทธิชัย พุทธิบัณฑิต ท่ีไดชวยอนุเคราะหดานเอกสาร ขอมูลตางๆ

ขอขอบพระคุณทานพระครูนิมิตธรรมวัชร วัดตําหนักธรรมนิมิตร เจาคณะตําบลหวยทราย ท่ีใหการอุปการะดานปจจัยเสมอมา ขอบพระคุณ พระมหาสุรชัย สุรทัสสี (พระพ่ีชาย) ท่ีสนับสนุนและเปนกําลังใจมาตลอด ขอบคุณ พระเสถียร ปยธมฺโม และ ผศ.(พิเศษ) เย้ือง ปนเหนงเพชร ท่ีชวยแปลและขัดเกลาบทคัดยอ และขอบคุณผูมีพระคุณทุกๆ ทานท่ีไมอาจกลาวใหท่ัวถึงได

คุณความดีท่ีจะพึงเกิดขึ้นจากวิทยานิพนธฉบับน้ี ผูวิจัยขอบูชาคุณ พระรัตนตรัย และคุณมารดา บิดาอันเปนสรณะของผูวิจัย และพระอุปชฌาย ครูบาอาจารยทุกทานท่ีเคยใหการอบรมสั่งสอนมา ทําใหผูวิจัยมีชีวิตท่ีดี มีโอกาสไดรับการศึกษามาจนถึงทุกวันน้ี

พระมหาอสิรเชษฐ ปญญาวชิโร (ใจมาสุข) ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔

Page 10: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

สารบัญ

เร่ือง หนา บทคัดยอภาษาไทย ก บทคัดยอภาษาอังกฤษ ค กิตติกรรมประกาศ จ สารบัญ ฉ คําอธิบายสัญญาลักษณและคํายอ ญ

บทท่ี ๑. บทนํา ๑ ๑.๑ ความเปนมาและความสําคัญของปญหา ๑ ๑.๒ วัตถุประสงคของการวิจัย ๕ ๑.๓ ขอบเขตการวิจยั ๕

๑.๔ ปญหาท่ีตองการทราบ ๖ ๑.๕ นิยามศัพทเฉพาะท่ีใชในการวิจัย ๖ ๑.๖ ทบทวนเอกสารและงานวิจยัท่ีเกีย่วของ ๗ ๑.๗ กรอบแนวคิดในการวจิัย ๑๑ ๑.๘ วิธีดําเนนิการวจิัย ๑๒ ๑.๙ ประโยชนท่ีคาดวาจะไดรับ ๑๒

บทที่ ๒. แนวคิด เรื่อง วิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท ๑๓ ๒.๑ ความหมายของวิปสสนาญาณและองคความรูแหงวิปสสนาญาณ ๑๓ ๒.๑.๑ ความหมายตามรูปศัพท ๑๓ ๒.๑.๒ ความหมายตามคํานิยาม ๑๔

๒.๑.๓ องคความรูแหงวิปสสนาญาณ ๑๗ ๒.๒ บอเกิดของวิปสสนาญาณ ๑๙ ๒.๒.๑ บาทฐานแหงวิปสสนาญาณ ๑๙ ๒.๒.๑.๑ ความเขาใจในรูปนาม ๑๙ ๒.๒.๑.๒ กระบวนการรับรูทางอายตนะ ๒๑

Page 11: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๒.๒.๑.๓ การเจริญสติปฏฐาน ๒๓ ๒.๒.๒ องคมรรคอันเปนบอเกิดของวิปสสนาญาณ ๒๔ ๒.๒.๓ องคธรรมเก้ือหนุนใหเกิดวิปสสนาญาณ ๒๕

๒.๓ สภาวะลักษณะของวิปสสนาญาณ ๒๗ ๒.๓.๑ สภาวะความรูท่ีอยูเหนือผัสสะและเหนือจิตสํานึก ๒๗ ๒.๓.๒ สภาวะเห็นการเกิดดับของรูปนาม ๒๗

๒.๓.๓ สภาวะการเห็นแจงแหงไตรลักษณ ๒๘ ๒.๓.๔ ทัศนะตอโลกและชีวิต ๒๙ ๒.๓.๕ ทัศนะตอสังสารวัฏ ๓๐ ๒.๔ กระบวนการความรูแบบวิปสสนาญาณ ๓๑

๒.๔.๑ กระบวนการการเกิดวิปสสนาญาณ ๓๑ ๒.๔.๑.๑ เกิดตามเหตุปจจัย ๓๑

๒.๔.๑.๒ เกิดแบบตอเน่ือง ๓๒ ๒.๔.๑.๓ เกิดแบบไมตอเน่ือง ๓๓ ๒.๔.๒ กระบวนการตรวจสอบองคความรูวิปสสนาญาณ ๓๔

๒.๔.๒.๑ ตรวจสอบตามนัยแหงวิสุทธิ ๗ ๓๔ ๒.๔.๒.๒ ตรวจสอบตามนัยวิปสสนาภูมิ ๖ ๓๕

๒.๕ จุดมุงหมายของการบรรลุวิปสสนาญาณ ๔๒ ๒.๕.๑ เพ่ือพัฒนาจิตสูอริยภาวะ ๔๒ ๒.๕.๒ เพ่ือความหลุดพนจากทุกข ๔๔ ๒.๕.๓ เพ่ือการบรรลุพระนิพพาน ๔๔

บทที่ ๓. แนวคิด เรื่อง อัชฌัตติกญาณของ โอโช ๔๘ ๓.๑ ความหมายของอัชฌัตติกญาณ ๔๘ ๓.๑.๑ ความหมายตามรูปศัพท ๔๘ ๓.๑.๒ ความหมายตามคํานิยาม ๔๙

๓.๑.๓ ความหมายอัชฌัตติกญาณของโอโช ๕๐

Page 12: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๓.๒ บอเกิดของอัชฌัตติกญาณ ๕๑ ๓.๒.๑ บอเกิดอัชฌัตติกญาณของโอโช ๕๑ ๑. สัญชาตญาณ ๕๒

๒. ปรีชาญาณ ๕๓ ๓. อัชฌัตติกญาณ ๕๕ ๔. ความรู กับ การรู ๕๗ ๓.๓. สภาวลักษณะของอัชฌัตติกญาณ ๕๘

๓.๓.๑ เปนสภาวะท่ีเกิดโดยฉับพลัน ๕๘ ๓.๓.๒ เปนสภาวะท่ีอยูเหนือจิตสํานึก ๕๘ ๓.๓.๓ เปนแหลงพลังงาน ๕๙ ๓.๓.๔ ภาวะแหงความมีอยู ๖๑

๓.๔. กระบวนการความรูแบบอัชฌัตติกญาณ ๖๑ ๓.๔.๑ กระบวนการกลั่นกรองความรู ๖๑ ๓.๔.๒ ความรูสึกตัว ๖๕

๓.๔.๓ วิธีขจัดความคิด ๖๖ ๓.๔.๔ วิธีปฏิบัตินําไปสูอัชฌัตติกญาณ ๖๘ ๓.๕ จุดมุงหมายของการบรรลุอัชฌัตติกญาณ ๗๑ ๓.๕.๑ เพ่ือนําไปสูการหลุดพนจากความคิด ๗๑ ๓.๕.๒ เพ่ือความเปนมนุษยท่ีสมบูรณแบบ ๗๓

บทที่ ๔ เปรยีบเทียบอัชฌัตติกญาณของโอโชกับวิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท ๗๕ ๔.๑. ความหมายของวิปสสนาญาณ และอัชฌัตติกญาณ ๗๕ ๔.๒ บอเกิดของวิปสสนาญาณ และอัชฌัตติกญาณ ๗๖ ๔.๓ สภาวะลักษณะของวิปสสนาญาณ และอัชฌัตติกญาณ ๗๘ ๔.๔ กระบวนการแหงความรูของวิปสสนาญาณ และอัชฌัตติกญาณ ๘๐ ๔.๕ จุดมุงหมายของวิปสสนาญาณ และอัชฌัตติกญาณ ๘๒

บทที่ ๕ สรปุผลการวิจัยและขอเสนอแนะ ๘๘

Page 13: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๕.๑ สรุปผลการวิจัย ๘๘ ๕.๒ ขอเสนอแนะ ๙๐

บรรณานุกรม ๙๔ ประวัติผูวิจัย ๙๙

Page 14: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

คํายอชื่อคัมภีรพระไตรปฎก

๑. การใชอักษรยอ อักษรยอช่ือคัมภีรในวิทยานิพนธเลมนี้ ใชอางอิงจากพระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหา

จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๙ เรียงตามลําดับคัมภีร

พระวินัยปฎก วิ. มหา. (ไทย) = วินัยปฎก มหาวิภังค (ภาษาไทย) วิ.จ.ู (ไทย) = วินยัปฎก จฬูวรรค (ภาษาไทย)

พระสุตตันตปฎก ที. ม. (ไทย) = สุตตันตปฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค (ภาษาไทย) ที. ปา. (ไทย) = สุตตันตปฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (ภาษาไทย) ม. ม. (ไทย) = สุตตันตปฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปณณาสก (ภาษาไทย) ม.มู. (ไทย) = สุตตันตปฎก มัชฌิมนิกาย มูลปณณาสก (ภาษาไทย) ม.อุ. (ไทย) = สุตตันตปฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปณณาสก (ภาษาไทย) สํ. ส. (ไทย) = สุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (ภาษาไทย) สํ. นิ. (ไทย) = สุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค (ภาษาไทย) สํ.มหา. (ไทย) = สุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค (ภาษาไทย) องฺ. ติก. (ไทย) = สุตตันตปฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาตร (ภาษาไทย) องฺ. จตุกฺก. (ไทย) = สุตตันตปฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ. ฉกฺก. (ไทย) = สุตตันตปฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต (ภาษาไทย) ขุ.ป. (ไทย) = สุตตันตปฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ภาษาไทย) ขุ. อุ. (ไทย) = สุตตันตปฎก ขุททกนิกาย อุทาน (ภาษาไทย)

พระอภิธรรมปฎก

อภิ.สงฺ. (ไทย) = อภิธรรม ธรรมสังคณี (ภาษาไทย) อภิ. ปุ. (ไทย) = อภิธรรมปฎก ปุคคลบัญญัติ (ภาษาไทย)

อรรถกถาฎีกาและปกรณวิเสส วิสุทฺธิ. (บาลี) = วิสุทฺธิมคฺคปกรณ (ภาษาบาลี)

Page 15: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

ปฏิสํ.อ (บาลี) = ปฏิสมฺภิทามคฺค อฏฐกถา (สทฺธมฺมปกาสินี) สงฺคห (บาลี) = อภธิมฺมตฺถสงฺคห (ภาษาบาลี) องฺ. จตุกฺก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี จตุกฺกนิบาตอฏฐกถา (ภาษาบาลี)

๒. การระบุเลขหมาย ในงานวิจัยคร้ังนี้ อาง เลม/ขอ/หนา ตามลําดับตัวอยาง ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๑๑๙/๘๘ – ๘๙ หมายถึงคัมภีรสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค (ภาษาไทย) เลมท่ี ๑๑ ขอท่ี ๑๑๙ หนาท่ี ๘๘ – ๘๙. การอางอิงอรรถกถาภาษาบาลี จะแจงเลม / ขอ / หนา เชน องฺ.จตุกฺก.อ. (บาลี) ๒ / ๘๐ / ๑๐๐. หมายถึง องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี จตุกฺกนิบาตอฏฐกถา ฉบับภาษาบาลี เลมท่ี ๒ ขอท่ี ๘๐ หนา ๑๐๐. สวนการอางอิงปกรณวิเสส จะใชระบุช่ือคัมภีร /เ ลม / หนา / เชน วิสุทฺธิ. ๓ / ๗. หมายถึง คัมภีรวิสุทธิมรรค เลม (ภาค) ท่ี ๓ หนา ๗.

Page 16: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

บทที่ ๑

บทนํา ๑.๑ ความเปนมาและความสําคัญของปญหา ในประเด็นท่ีผูศึกษาใหความสนใจน้ี เปนประเด็นปญหาเก่ียวกับทางดานญาณวิทยา หรือทฤษฎีความรู กลาวคือ ตนกําเนิดของความรู (source of knowledge) หรือความรูท่ีไดมาน้ันมีบอเกิดมาจากอะไร มีความนาเชื่อถือมากนอยเพียงใด เก่ียวกับท่ีมาของความรู และ การรับรูความรูดังกลาว นักปรัชญาตะวันตกและตะวันออกก็มีทัศนะแตกตางกันไปตามกลุมของตน โดยท่ัวไปแลวมนุษยเราสวนใหญเชื่อในความรูท่ีไดมาจากประสาทสัมผัสและการใชเหตุผลวาใหความจริงท่ีนาเชื่อถือ ปญหาท่ีตามมาก็คือ เมื่อมีความรูอื่นๆท่ีไมอยูในขอบขายน้ีจะถือวาเปนความรูหรือไม และจะมีความรูอื่นอีกหรือไมท่ีจะใหความแทจริงกวาน้ี มีนักปรัชญาบางกลุมมีความเชื่ออยางสนิทใจวา ความรูท่ีแนนอนน้ันตองเกิดมาจากการหย่ังรูภายในจิตใจเทาน้ัน ถึงจะเรียกวาเปนความรูท่ีแทจริงได โดยเรียกความรูน้ันวา อัชฌัตติกญาณ (Intuition) ความรูชนิดน้ีเปนความรูท่ีนักปรัชญาท้ังทางตะวันตกและตะวันออกใหความสนใจและใหความสําคัญในการแสวงหาคําตอบเก่ียวกับความรูประเภทน้ี

มีนักคิดคนสําคัญของตะวันตกอยาง เฮนร่ี แบร็กซ็อง (Henri Bergson ๑๘๕๙-๑๙๔๑) นักปรัชญาชาวฝร่ังเศส ผูท่ีเชื่อมั่นในอัชฌัตติกญาณ (Intuition) มีความเห็นวา “ความรูแทของมนุษย คือความรูท่ีไดมาจากการท่ีจิตไดฝกฝนจนมีสมรรถภาพพิเศษถึงท่ีสุดยอดแลว เปนความรูท่ีเกิดจากญาณวิเศษบังเกิดจากญาณวิเศษท่ีเปนคุณสมบัติของจิต” แบร็กซ็องใหคํานิยามวา อัชฌัตติกญาณ เปนความรูท่ีสอดคลองทางวุฒิปญญา โดยอาศัยอัชฌัตติกญาณน้ี บุคคลเพงจิตในอารมณเดียว เพ่ือท่ีจะใหเขาถึงอารมณน้ันแนบสนิทและผลแหงการเกิดการตระหนักรูท่ีตามมาภายหลัง เปนสิ่งท่ีไมสามารถอธิบายเปนคําพูดได ๑ แบร็กซ็อง พยายามอธิบายใหเห็นวา อัชฌัตติกญาณเปนความรูท่ีสามารถเขาถึงได โดยไมตองอาศัยเหตุผลและประสบการณจากภายนอก ทําใหเราเขาใจพลังชีวิตท่ีอยูภายในตัวเราไดแจมแจง เขาเชื่อวา มี

๑พิสิฏฐ โคตรสุโพธิ์, ทฤษฎีความรู , (โครงการสนับสนุนงานวิจัยคณะมนุษยศาสตร, ภาควิชา

ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม, ๒๕๔๓), หนา ๖๑.

Page 17: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

พลังชีวิต (Life-force) อยูใจกลางความแทจริง ซึ่งเปนพลังสรางสรรคและวิวัฒนอยูเสมอ การท่ีจะเขาถึงใจกลางไดน้ันตองอาศัยอัชฌัตติกญาณเทาน้ัน๒ มีนักปรัชญาคนสําคัญชาวอินเดียคนหน่ึง คือ ดร.ราธกฤษนัน ไดอธิบายถึงความหมายของความรูระดับอัชฌัตติกญาณไววา เปนความรูท่ีเกิดจากการเพงพินิจภายใน อัชฌัตติกญาณไมใชเปนเพียงความรูท่ีเก่ียวกับคุณภาพตางๆและไมใชความรูท่ีเก่ียวกับความแทจริงภายในเทาน้ัน แตเปนความรูท่ีสมบูรณแบบเก่ียวกับความแทจริงและคุณภาพตางๆ ของความแทจริง ดังน้ัน อัชฌัตติกญาณ จึงเปนความรูท่ีสมบูรณแบบ เกิดขึ้นจากดวงจิตท่ีเขาใจความจริงอยางแจมแจง๓ ทานไดอธิบายธรรมชาติและลักษณะของอัชฌัตติกญาณไวอีกวา อัชฌัตติกญาณเปดเผยความรูวาดวยสิ่งท่ีดํารงอยูดวยตนเอง (thing in itself) พรอมดวยคุณลักษณะและคุณภาพของสิ่งท่ีดํารงอยูดวยตนเองแกเรา ในประสบการณท่ีเกิดจากอัชฌัตติกญาณ จิตเปนตัวทําหนา ท่ีรู รูปแบบของวัตถุ พรอมกันน้ันก็ใหความรูโดยตรง สมเหตุสมผลและใหความรูแบบฉับพลันแกเรา ดังน้ัน อัชฌัตติกญาณจึงเปนอันเดียวกันกับจิตท่ีทําหนาท่ี ตัวรูและสิ่งท่ีถูกรู สามารถเปดเผยธรรมชาติของความจริงและความแทจริงของสิ่งตางๆ แกเราตามความเปนจริงท่ีปจเจกชนเขาใจได๔ โอโช (๑๙๓๑-๑๙๙๐) เปนนักคิดชาวอินเดียคนสําคัญคนหนึ่งในยุคปจจุบัน ทานมีชื่อเดิมวา ราชนีช จันทรา โมหัน (Rajneeh Cnandra Mohan) เกิดท่ีกุชะวารา (Kuchwara) ใจกลางประเทศอินเดีย แนวคิดของทานมีอิทธิพลตอผูคนจํานวนมากท่ีเสาะแสวงหาความจริงของชีวิต และแนวคิดทางปรัชญาชีวิตท่ีแหวกแนวหรือคิดนอกกรอบเดิมทําใหเปนท่ีนาสนใจย่ิง โอโชเปนผูเชี่ยวชาญรวมสมัยดานศาสนวิทยา การดําเนินชีวิตและคําสอนของทานมีอิทธิพลตอผูคนทุกวัย และทุกรูปแบบการดําเนินชีวิตของผูคนนับลาน ทานไดรับยกยองจาก Sunday Times แหงลอนดอนวาเปนหน่ึงใน ๑,๐๐๐ นักสรางสรรคแหงศตวรรษท่ี ๒๐

๒อางใน ชัยวัฒน อัตพัฒน, ปรัชญาตะวันตกรวมสมัย, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ

มหาวิทยาลัยรามคําแหง, ๒๕๔๔), หนา ๑๓๙. ๓อางใน ชัยวัฒน อัตพัฒน, ญาณวิทยา, พิมพครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพมหาวิทยาลัยรามคําแหง, ๒๕๔๒), หนา ๑๕๙.

๔ อางใน เร่ืองเดียวกัน, หนา ๑๕๘.

Page 18: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

และ Sunday mid-day แหงประเทศอินเดียไดยกยองใหทานเปนหน่ึงในสิบบุคคลผูซึ่งเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของประเทศอินเดียเฉกเชน ทานคานธี ทานเนหรู และพระพุทธองค๕

โอโชไดอธิบายงานของทานวา เปนการสรางเง่ือนไขเพ่ือการเกิดใหมของมนุษยชาติทานมักอธิบายแนวคิดแนวปฏิบัติแบบมนุษยพันธใหมน้ีวา เปนการผสมผสานระหวางแนวคิดของตัวละครในนวนิยายกรีก เรื่อง “ซอรบา เดอะ กรีก” (Zorba the Greek) กับ “พระพุทธเจา” เขาดวยกัน คือ เปนมนุษยท่ีมีความสุขสําราญในทางโลกแบบ ซอรบา อันเปนตัวละครเอกในนวนิยาย ผูซึ่งอยูอยางกลมกลืนกับธรรมชาติ ราเริง รองรําทําเพลง ไมมีหลักการใดๆใหยึดปฏิบัติ และในอีกดานหน่ึงน้ันก็ใหมีความสุขุม สงบเงียบตามแบบพระพุทธเจา สิ่งท่ีถักทออยูในงานของทานจะสะทอนการบูรณาการพลังทางภูมิปญญาของตะวันออกกับพลังทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีของตะวันตกเขาดวยกัน๖ โอโช ไดใหแนวคิดเ ก่ียวกับอัชฌัตติกญาณไววา อัชฌัตติกญาณ ไมใชปรากฏการณทางวิทยาศาสตร ไมใชศาสตร ไมใชสิ่งท่ีเปนเหตุเปนผล เพราะอยูเหนือพุทธิปญญา (Intellect) คืออยูเหนือความเปนเหตุเปนผลน่ันเอง๗ ทานไดใหความสําคัญตอความรูระดับอัชฌัตติกญาณมาก แตก็พึงพอใจตอความรูระดับสัญชาตญาณ โดยใหเหตุผลวา ท้ังสองระดับมีธรรมชาติท่ีคลายกันสามารถเดินไปดวยกันได ทําหนาท่ีใกลเคียงกัน การยอมรับชีวิตระดับสัญชาตญาณโดยไมไปบังคับหรือบิดเบือนดวยใจท่ีเบิกบานอยางแทจริงแลว เทากับเปนการเปดประตูไปสูอัชฌัตติกญาณระดับท่ีสูงกวาไดโดยปริยาย ในระดับพุทธิปญญาแลวเขามองวาเปนระดับท่ีมนุษยนําเขามากอกวน บิดเบือนความจริงใหเปนความเท็จ นํามาซึ่งปญหาตางๆมากมาย ดังน้ัน โอโชจึงไมชื่นชมความรูระดับน้ีมากนัก โอโชไดอธิบายลักษณะอัชฌัตติกญาณ วา “เปนปรากฏการณในลักษณะท่ีกาวกระโดด....อัชฌัตติกญาณไมตองการเสนทางเดิน ไมไดพัฒนาหรือเกิดขึ้นมาอยางเปนระบบ ไมมีแหลงกําเนิดท่ีชัดเจน เปนเพียงสิ่งท่ีอุบัติขึ้นมาเอง” ๘

๕โอโช, คิดนอกรีต (creativity), (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ แปลนพรินทต้ิง จํากัด ,

๒๕๔๖),หนา ๙.

๖โอโช , ปญญาญาณ ( intuition), แปลโดย ดร .ประพนธ ผ าสุ ก ยื ด , พิ มพ ค รั้ ง ที่ ๓ ,

(กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป , ๒๕๔๘), หนา ๒๖๒.

๗ เร่ืองเดียวกัน, หนา ๒๑.

๘ เร่ืองเดียวกัน, หนา ๒๓.

Page 19: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

ดังน้ัน อัชฌัตติกญาณ ตามความคิดของโอโช เปนความรูระดับสูงสุด เปนสภาวะท่ีไรขอบเขต ดํารงอยูภายในจิตใจ สามารถเขาถึงไดดวยการทําจิตใหเปนสมาธิท่ีต่ืนตัว (Active Maditations) ไดรับการปลดปลอยจากความคิด ทําจิตใหวางและปลอยวาง

ตามทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท ความรูระดับวิปสสนาญาณน้ัน (Intuitive Insight) เปนความรูความจริงในระดับปรมัตถสัจจะ (Ultimate Truth) เปนความจริงสูงสุด โดยไมตองอาศัยบัญญัติทางโลก อันเปนความรูท่ีเกิดจากการเห็นแจงหย่ังรูภายใน จนเกิดสภาวะแหงการหมดความสงสัย หมดอวิชชา หมดความแปลกใจ ในระดับความรูทางพุทธปรัชญาเถรวาทน้ันมีหลักการใหญๆ ๒ ระดับ คอื

๑) ความรูระดับโลกิยะหรือความรูขั้นสมมติ (Worldly Knowledge) เปนความรูท่ีชาวโลกท้ังหลายสมมติกันขึ้นมา เปนความรูท่ีถายทอดจากผูอื่นสืบตอกันมา

๒) ความรูระดับโลกุตตระ (Ultimate Knowledge) เปนความรูขั้นจริงแท เปนความรูอันสูงสุด ท่ีอยูพนจากประสาทสัมผัสธรรมดา

พุทธปรัชญาเถรวาท ถือวา แหลงท่ีมาของความรู หรือปญญา มี ๓ ประการ ไดแก ความรูท่ีเกิดจากการศึกษาเลาเรียนหรือไดรับสืบทอดกันมา เรียกวา สุตมยปญญา ความรูท่ีเกิดจากคิดพิจารณาใครครวญอยางมีเหตุมีผล เรียกวา จินตามยปญญา และ ความรูท่ีไดจากการฝกฝน ลงมือปฏิบัติจนเกิดการรูแจงความจริงภายในตนเอง เรียกวา ภาวนามยปญญา๙ ท้ังสุตมยปญญา และจินตามยปญญา ถือวายังเปนความรูท่ีไมสมบูรณ เพราะเปนความรูท่ีพ่ึงอิงอาศัยสิ่งภายนอก หรือการใชความรูเดิมของตนเองมาวิเคราะห ยังเปนในขั้นท่ีเพียงพิจารณาในระดับการใชเหตุผลท่ัวไป ยังไมใชปญญาท่ีเกิดจากการลงมือปฏิบัติพิสูจนทดสอบใหรูเห็นและเขาใจจนประจักษแจงในความจริงของสิ่งน้ันดวยตนเอง อาจกลาวไดวา แหลงความรูท้ังสองน้ี เปนเพียงปญญาทําใหมีความรูท่ีเปนจริงไดในระดับสมมติสัจจะ (Conventional Truth) แตถึงกระน้ัน ในพุทธปรัชญาถือวา ปญญาท้ัง ๒ เปนปญญาท่ีมีความสําคัญในระดับตนๆ ท่ีสามารถเปนเหตุปจจัยไปสูปญญาในระดับสูงได ๑๐

๙ ดูรายละเอียดใน ขุ.อุ.(ไทย) ๒๕/๑๐/๑๑๔.

๑๐พระมหาวิรัตน อภิธมฺโม, “การศึกษาวิเคราะหพรมแดนความรูในพุทธปรัชญาเถรวาทและเดวิด

ฮิวม”, วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗), หนา ๑๕.

Page 20: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

พุทธปรัชญาถือวา ความรูระดับท่ี ๓ คือ ภาวนามยปญญา เปนบอเกิดของความรูแทจากประสบการณตรง เปนความรูความเขาใจเห็นอะไรอยางชัดแจงตรงตามสภาวะของมัน ท่ีเรียกวา เขาใจตามความเปนจริง เปนการรูชัดแจงสามารถถอนอวิชชาหรืออุปาทานในสิ่งท้ังหลายได ถึงขั้นเปลี่ยนทาทีตอโลกและชีวิตใหม ดังน้ัน ภาวนามยปญญาเปนการหยั่งรูภายในจิตใจ จนเกิดการรูแจงความจริง หรือเกิดวิปสสนาญาณขึ้น อันจะนําไปสูความหลุดพนจากอวิชชา ตัณหา อุปาทานได

ผูวิจัยเห็นวาควรจะศึกษาวิเคราะหประเด็นตางๆท่ีเก่ียวกับแนวคิดของโอโชในเรื่อง อัชฌัตติกญาณ และแนวคิดเก่ียวกับวิปสสนาญาณ ในพุทธปรัชญาเถรวาท โดยเริ่มจาก ความหมาย บอเกิด สภาวะลักษณะ กระบวนการ และจุดมุงหมาย จากน้ันนําเอาแนวคิดท้ัง ๒ ทัศนะ มาศึกษาเปรียบเทียบกันวามีความคลายกันหรือแตกตางกันอยางไรบาง ประเด็นเหลาน้ีผูวิจัยจะทําการศึกษาคนควาตอไป

๑.๒ วัตถุประสงคของการวจิัย ๑.๒.๑ เพ่ือศึกษาแนวคิดเรื่องวิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท ๑.๒.๒ เพ่ือศึกษาแนวคิดเรื่องอัชฌัตติกญาณของโอโช ๑.๒.๓ เพ่ือศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องวิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาทและอัชฌัตติกญาณของโอโช

๑.๓ ขอบเขตของการวิจัย ๑.๓.๑ ขอบเขตดานเน้ือหา ในการศึกษาวิจัยครั้งน้ี ผูวิจัยมุงท่ีจะศึกษาแนวคิดเรื่องวิปสสนาญาณในพุทธปรัชญาเถรวาท ท่ีทานไดอธิบายไว โดยศึกษาเปรียบเทียบกับ แนวคิดเรื่อง อัชฌัตติกญาณ (Intuition) ของโอโช ในแงของ ความหมาย บอเกิด สภาวลักษณะ กระบวนการ และจุดมุงหมาย ของท้ัง ๒ แนวคิด

๑.๓.๒ ขอบเขตดานเอกสาร ในการศึกษาวิจัยครั้งน้ี ผูวิจัยจะมุงศึกษาขอมูลทางเอกสารและงานวิจัยชั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิโดยเก็บรวบรวมขอมูลท่ีเก่ียวของกับเน้ือหาจากพระไตรปฎกภาษาไทยฉบับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมถึงตําราและเอกสาร ท่ีเก่ียวของกับแนวคิด

Page 21: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

เรื่องวิปสสนาญาณ ในสวนเอกสารท่ีศึกษาแนวคิดอัชฌัตติกญาณของโอโช ใชหนังสือเรื่อง ปญญาญาณ (Intuition) แปลโดย ประพนธ ผาสุกยึด และตนฉบับภาษาอังกฤษ เรื่อง intuition (knowing beyond logic) ของทานโอโชมาเปนเอกสารหลักในการวิจัยรวมถึงตําราเอกสารท่ีเปนแนวคิดของโอโช ซึ่งมีเน้ือหาเก่ียวของกันได

๑.๔ ปญหาที่ตองการทราบ ๑.๔.๑ วิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท

๑.๔.๒ แนวคิดอัชฌัตติกญาณของโอโช ๑.๔.๓ ในแงของความหมาย บอเกิด สภาวะลักษณะ กระบวนการ และจุดมุงหมาย ท้ังในสวนของอัชฌัตติกญาณและวิปสสนาญาณ มีความหมายคลายกันหรือตางกันอยางไรบาง

๑.๕ นิยามศัพทเฉพาะที่ใชในการวิจัย อัชฌัตติกญาณ หรือ Intuition ตามความหมายของโอโช หมายถึง ความรูท่ีเกิดขึ้นจากการหย่ังรูภายในตนเอง เปนความรูท่ีเกิดจากประสบการณท่ีเหนือประสาทสัมผัส

สัญชาตญาณ หรือ Instinct ในงานวิจัยน้ีหมายถึง ความรูท่ีมีมาแตกําเนิดของคนและสัตว ทําใหมีความรูสึกและการกระทําไดเองโดยไมตองมีใครสั่ง

พุทธิปญญา หรอื Intellect ในท่ีน้ีใชคําวา ปรีชาญาณ คือ ความรูท่ีเกิดจากการศึกษาเลาเรียน ประสบการณ การคิดหาเหตุผล การฟง ตลอดจนการวิเคราะห วิจัย

วิปสสนาญาณ (Insight Knowledge) ในพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น มาจากคําสองคํา คือ วิปสสนา + ญาณ เมื่อรวมท้ังสองเขาดวยกัน หมายถึง ความรูท่ีทําใหเกิดความเห็นแจงในรูปนาม เขาใจสภาวะของสิ่งท้ังหลายตามความเปนจริง

คําวา พุทธปรัชญา ในท่ีน้ี หมายเอาเฉพาะพุทธปรัชญาเถรวาท หรือมุมมองในทัศนะของพุทธศาสนาด้ังเดิม

๑.๖ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวของ

ก. เอกสาร ๑. เรื่อง ปญญาญาณหรืออัชฌัตติกญาณ (Intuition) ของโอโช ทานไดกลาวถึง

ความหมายและลักษณะของปญญาญาณหรืออัชฌัตติกญาณไว วา ปญญาญาณเปน

Page 22: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

ปรากฏการณผานชองทางหรือสภาวะท่ีเรียกกันวาสมาธิ จิตท่ีมีสมาธิเปรียบไดกับการเคาะประตูเพ่ือเขาสูปญญาญาณ ปญญาญาณเปนสิ่งท่ีมีอยูแลว เราไมไดพัฒนาขึ้นมาใหมแตอยางใด ขอเพียงแตเรารูตัวท่ัวพรอมเทาน้ัน มันคือการดํารงอยูท่ีแทจริง๑๑

๒. ในหนังสือ คุรุวิพากษคุรุ ของโอโช ท่ีอธิบายถึงการเฝาดูตามรูความเคลื่อนไหวของกายและเฝาดูอารมณความรูสึกทางจิตใจ โดยใชสติความต่ืนรูเฝามองอาการทางกายและใจ โดยปราศจากการตัดสิน ดวยใจเปนกลาง เมื่อเฝามองมั่นคงขึ้น ความคิดจะมีนอยลงและนอยลงเรื่อยๆ หากต้ังมั่นอยูในการเฝาสังเกตรอยละ ๕๐ ความคิดรอยละ ๕๐ จะหายไป หากต้ังมั่นเฝาสังเกตรอยละ ๖๐ ความคิดก็เหลือเพียงรอยละ ๔๐ หากต้ังมั่นสังเกตไดอยางบริสุทธิ์ถึงรอยละ ๙๙ ก็จะมีความคิดโดดๆ ผุดขึ้นเพียงนานๆครั้ง ถือวาเปนรอยละ ๑ ท่ีผานเขามาบนถนน ก็จะไมมีจราจรอีกตอไป๑๒ ๓. ในหนังสือ สปาอารมณ (Emotional Wellness) โอโช ไดบรรยายถึงการฝกการเฝาดูความคิดและอารมณ วา จงหาเวลาสําหรับฝกภาวนา หาไดอยางนอยหนึ่งชั่วโมงทุกๆวันเพ่ือท่ีจะไดน่ังอยูเงียบๆ น่ังโดยไมไดทําอะไร ปลอยใหวางอยางสุดๆ เพียงเพ่ือเฝาดูสิ่งตางๆที่ผานเขามาขางในเทาน้ัน ในตอนเริ่มตนจะรูสึกเศรามาก แลวสิ่งตางๆท่ีนาเกลียด หลุมดําทุกชนิดจะปรากฏขึ้น ทานอาจรูสึกทุกขทรมาน ไมเบิกบานใจ แตหากมุงมั่น พากเพียร แลววันน้ันความเจ็บปวดทรมานจะหายไปและเบ้ืองหลังความเจ็บปวดทรมานน้ัน ทานจะพบความปติยินดีท่ีย่ิงใหญ๑๓ ๔. ไดศึกษาแนวคิดเรื่อง อิสรภาพ (Freedom) โอโช ไดกลาวไวตอนหน่ึงในหนังสือเรื่อง Freedom วา อิสรภาพที่แทจริงจะตองออกมาจากความต่ืนตัวท่ีไมมีการกะเกณฑใด เพราะวาเมื่อใดก็ตามท่ีเกิดความต่ืนตัวแบบไมกะเกณฑ มันก็จะเปนอิสรภาพที่ไมมีการพ่ึงพิงบางสิ่งบางอยาง และ ไมติดอยูกับการทําอะไรบางอยาง อิสรภาพที่มาจากความต่ืนตัวแบบไมกะเกณฑน้ี เปนอิสรภาพท่ีมาจากความเปนตัวของตัวเอง การเปนตัวของตัวเองน้ีเปนคุณสมบัติท่ีเรามีมาแตกําเนิด เราไมจําเปนตองพ่ึงพาตอสิ่งใด ไมมีใครใหสิ่งน้ีกับเราได แลว

๑๑โอโช, ปญญาญาณ (intuition), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๔๒.

๑๒ โอโช, คุรุวิพากยคุรุ, โตมร ศุขปรีชา แปล, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ gm books), หนา

๕๒.

๑๓ โอโช, สปาอารมณ (Emotional Wellness), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, พิมพครั้งที่ ๒,

( กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป , ๒๕๕๒), หนา ๒๙๘.

Page 23: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

ไมมีใครแยงมันไปจากเราไดเชนกัน แมคมดาบอาจจะตัดหัวของเราขาด แตก็ไมสามารถจะตัดอิสรภาพของเราและความเปนเราได สิ่งเหลาน้ีชี้ใหเห็นวาตัวเราเปนศูนยกลางของสรรพสิ่ง ทุกอยางลวนหย่ังรากลึกอยูในความเปนตัวเรา ไมเก่ียวกับสิ่งอยูภายนอกแตอยางใด๑๔

๕. ไดศึกษากระบวนการความรู ผานแนวคิดเรื่องเชาวปญญา (Intelligence) ของโอโช มีลักษณะเปนสิ่งท่ีอยูภายใน เปนคุณสมบัติท่ีเปนธรรมชาติของชีวิต เหมือนกับไฟท่ีรอน อากาศนั้นมองไมเห็น นํ้าไหลลงสูท่ีตํ่า เชาวนปญญาของชีวิตก็เชนกัน โอโชไดอธิบายใหเห็นวา เชาวนปญญาของมนุษยสามารถควบคุมไดโดยการมีสติปญญามาควบคุม มีชีวิตอยูอยางรูตัวท่ัวพรอม อยูอยางสอดผสานอยางต่ืนตัว และสิ่งอื่นๆก็จะตามมาอยางสวยงาม น่ันคือ ชีวิตท่ีชวดชวงดวยเชาวปญญาน่ันเอง๑๕

๖. ทานมหาสี สะยาดอ ในหนังสือ เรื่อง วิสุทธิญาณกถา วาดวย วิสุทธิ ๗ และญาณ ๑๖ ท่ีทานไดมุงเนนกลาวถึงประสบการณโดยยอสําหรับนักปฏิบัติท่ีเขาถึงสภาวะในทางธรรม เพ่ือใหสํารวจทดสอบตามขั้น แหงลําดับญาณ พรอมท้ังสภาวะท่ีปรากฏแกโยคีผูปฏิบัติใหไดรูถึงความสําคัญของญาณในแตละขั้น๑๖

๗. นวองคุลี ในหนังสือเรื่อง วิปสสนาญาณ ท่ีทานไดเรียบเรียงอางอิงเน้ือหา ตามคัมภีรวิสุทธิมรรค และ คัมภีรปฏิสัมภิทายมรรค อันเปนเน้ือหาสําคัญของการเจริญวิปสสนา และการเกิดสภาวธรรมตางๆ ตามกระบวนการขั้นตอนวิปสสนาญาณ ๑๖ ไปเปนลําดับต้ังแต ญาณแรก คือ นามรูปปริจเฉทญาณ (การรูลักษณะของรูปและนามวา อะไรคือรูป อะไรคือนาม) จนถึง ปจจเวกขณญาณ ท่ีสามารถนําพาตนหลุดพนจากสังสารวัฏได๑๗

๘. อาจารยเชมเย สะยาดอ พระชนกาภิวงศ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ จากหนังสือ วิปสสนาญาณกาวหนาอยางไร (Development of Insight) ของทานทําใหเห็นแนว

๑๔ โอโช, หลุด (freedom), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, พิมพครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร :

สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป , ๒๕๔๙), หนา ๒๗.

๑๕โอโช , เ ป น ไป ได ด ว ยปญญา (intelligence), แปลโดย ดร .ประพนธ ผาสุ ก ยื ด ,

( กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป, ๒๕๕๐), หนา ๒๑.

๑๖

มหาสี สะยาดอ (อู โสภณมหาเถระ), วิสุทธิญาณกถา วาดวยวิสุทธิ ๗ และญาณ ๑๖ แปลโดย

ธนิต อยูโพธิ์, (ไมปรากฏโรงพิมพ), ๒๕๑๗.

๑๗

นวองคุลี, วิปสสนาญาณ, พิมพครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ ธรรมสภา,๒๕๔๘).

Page 24: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

ทางการพัฒนากายและใจผานกระบวนการใชสติต้ังแตขั้นตนและการปฏิบัติอยางเขมงวด จนไปสูการเห็นสภาวะของความจริงในรูปนาม ท่ีปรากฏใหเห็นในขั้นแหงวิปสสนาญาณ เปนการแสดงใหเห็นถึงอุปสรรคท่ีอาจประสบเจอในระหวางการปฏิบัติ และสามารถปฏิบัติตนพัฒนาจิตใหกาวผานสภาวะน้ันอยางรูทัน๑๘

ข. งานวิจัย ๑. พระมหากฤช ญาณาวุโธ ทําวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะหความสัมพันธระหวางฌาณกับปญญา ในพระพุทธศาสนาเถรวาท” ผลการวิจัยน้ีกลาวถึง ความสัมพันธระหวางฌานกับปญญา โดยท้ังสองอยางมีจุดมุงหมายอยางเดียวกัน คือความหลุดพนจากกิเลส แตการหลุดพนจากกิเลสตามแนวสมถะ (ฌาน) เปนเพียงการขมกิเลสไวเหมือนหินทับหญา สวนวิปสสนา (ปญญา) เปนการหลุดพนจากกิเลสอยางสิ้นเชิง แตท้ังสองแบบ ถือวาเปนแบบอยางท่ีอนุชนพึงปฏิบัติตาม ผลท่ีไดรับคือมีชีวิตท่ีผาสุขและบรรลุจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ๒. พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะหญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท:ศึกษาเฉพาะในปกรณวิเสสวิสุทธิมรรค” ผลการวิจัยน้ีกลาวถึงการศึกษาวิเคราะหญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทโดยอาศัยคัมภีรปกรณวิเสสวิสุทธิมรรค เพ่ือวิเคราะหความรูใน ๓ สวน คือสวนของพุทธปรัชญาเถรวาท สวนของปกรณวิเสสวิสุทธิมรรค และการเทียบเคียงความรูในปกรณวิเสสวิสุทธิมรรคกับปรัชญาตางสํานัก จนทําใหเกิดความเขาใจในความรูระดับตางๆ ต้ังแตระดับโลกิยะจนถึงระดับโลกุตตระ อันเปนระดับสูงสุดในพุทธปรัชญาเถรวาท๑๙ ๓. พระมหาระวี ติกฺขปฺโญ ทําวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีความรูของพุทธปรัชญาเถรวาทกับเบอรทรันด รัสเซลล” ผลการวิจัยน้ีกลาวถึงแนวคิดท่ีสําคัญทาง

๑๘ เชมเย สยาดอ พระชนกาภิวงศ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ, วิปสสนาญาณกาวหนาอยางไร

(development of insight), มณฑาทิพย คุณวัฒนา แปล, (กรุงเทพมหานคร : บุญศิริการพิมพ, ๒๕๔๙).

๑๙ พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, “การศึกษาวิเคราะหญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท:ศึกษาเฉพาะ

ในปกรณวิเสสวิสุทธิมรรค”,วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗).

Page 25: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๑๐

ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู โดยเฉพาะญาณวิทยาทางตะวันตกกับพุทธปรัชญาเถรวาท เพ่ือนําเอาทฤษฎีความรูท้ังสองมาเปรียบเทียบใหเห็นความเหมือนและความตางกัน๒๐

๔. พระมหาวิรัตน อภิธมฺโม ไดศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะหพรมแดนความรูในพุทธปรัชญาเถรวาทและเดวิด ฮิวม” ผลการวิจัยน้ีกลาวถึงพรมแดนของความรูของปรัชญาท้ังสองฝาย และชี้ใหเห็นความตาง จุดออน จุดแข็ง ในปรัชญาท้ังสองฝายโดยเปาหมายความรูของพุทธปรัชญาเถรวาทมุงสูพระนิพพาน สามารถหลุดพนจากความทุกขได สวนปรัชญาของฮิวมมุงใหความรูเพียงขั้นประสบการณทางประสาทสัมผัส เปนการสนองความใครรูของตนเองเทาน้ัน๒๑ ๕. ชอุม ทศสิน ทําวิจัยเรื่อง “การศึกษาเชิงวิเคราะหบทบาทของปญญาในพุทธปรัชญา” ผลการวิจัยกลาวถึงบทบาทของปญญาวามีสาระสําคัญหลายประการ ปญญาในพุทธปรัชญามีเปาหมายสําคัญเพ่ือประหารอวิชชาและกิเลสอันเปนเหตุแหงทุกข เปนภาเวตัพพธรรมคือเปนสิ่งท่ีควรฝกอบรมหรือทําใหเจริญขึ้น เปนสิ่งท่ีมีบทบาทตอศรัทธา เปนตัวนําเขาถึงอุดมการณขั้นสูง คือ ความหลุดพน๒๒ เมื่อศึกษาทบทวนงานเอกสารวิจัย ท้ังหมดแลว ก็สามารถเขาใจเน้ือหาท่ีสามารถนํามาอธิบายเชื่อมโยงเขากับ กรอบแนวคิด ท้ังในสวนของแนวคิดวิปสสนาญาณ ในพุทธปรัชญาเถรวาท และกรอบแนวคิดเก่ียวกับอัชฌัตติกญาณ ของโอโช พอนํามาอธิบายใหเขาใจ เพ่ือนําเน้ือหาเหลาน้ันมาเปรียบเทียบความคลายกัน และความแตกตางกัน ในทัศนะท้ัง ๒ ได

๒๐ พระมหาระวี ติกฺขปฺโญ, “การศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีความรูของพุทธปรัชญาเถรวาทกับเบอรทรันด รัสเซลล”, วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๔).

๒๑ พระมหาวิรัตน อภิธมฺโม, “การศึกษาวิเคราะหพรมแดนความรูในพุทธปรัชญาเถรวาทและ

เดวิด ฮิวม”, วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗).

๒๒ ชอุม ทศสิน, “การศึกษาเชิงวิเคราะหบทบาทของปญญาในพุทธปรัชญา”, วิทยานิพนธ

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๒๘).

Page 26: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๑๑

๑.๗ กรอบแนวคิดในการวิจัย ในการศึกษาวิจัยในครั้งน้ี ผู วิจัยจะทําการคนควาวิเคราะหแนวคิดเก่ียวกับ อัชฌัตติกญาณของโอโช นํามาเปรียบเทียบกับแนวคิดเรื่องวิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท โดยศึกษาตามกรอบ ความหมาย บอเกิด สภาวะลักษณะ กระบวนการ และเปาหมาย ใหเห็นถึงความคลายกันและความแตกตางกัน ระหวางแนวคิดท้ังสองน้ี

๑.๘ วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งน้ีเปนการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยมีวิธีการและ

ขั้นตอนในการดําเนินการวิจัยดังตอไปนี้ ๑.๘.๑ ในสวนของแนวคิดของโอโชน้ัน จะใชหนังสือการบรรยายของโอโช ท่ีไดแปลเปนภาษาไทย และหนังสือบรรยายภาษาอังกฤษ เปนเอกสารหลักใชในการศึกษาวิจัย

ความหมายของอัชฌัตติกญาณ บอเกิดของอัชฌัตติกญาณ สภาวะลักษณะของอัชฌัตติกญาณ กระบวนการความรูอัชฌัตติกญาณ จุดมุงหมายของอัชฌัตติกญาณ

ความหมายของวิปสสนาญาณ บอเกิดของวิปสสนาญาณ สภาวะลักษณะของวิปสสนาญาณ กระบวนการความรูวิปสสนาญาณ จุดมุงหมายของวิปสสนาญาณ

กรอบแนวคิดในการวิจัยเปรียบเทียบ วิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาและอัชฌัตติกญาณของโอโช

เปรียบเทียบความคลายกันและตางกัน ของวิปสสนาญาณและอัชฌัตติกญาณ

Page 27: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๑๒

๑.๘.๒ ในสวนของแนวคิดพุทธปรัชญาเถรวาท จะใชหนังสือพระไตรปฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และหนังสือวิชาการสําคัญของพุทธปรัชญาเถรวาท ท้ังภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

๑.๘.๓ นําขอมูลท่ีไดมาศึกษาวิเคราะห และเปรียบเทียบใหเห็นถึงความคลายกันและความตางกัน พรอมเสนอแนวคิดผูวิจัยเพ่ิมเติม โดยมุงตอบวัตถุประสงค เพ่ือความสมบูรณของงานวิจัยทางวิชาการตอไป

๑.๙ ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ ๑.๙.๑ ทําใหทราบและเขาใจแนวคิดเรื่องอัชฌัตติกญาณของโอโช ๑.๙.๒ ทําใหทราบและเขาใจวิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท ๑.๙.๓ ทําใหทราบถึงความคลายกันและความแตกตางกันของท้ังสองทัศนะตาม

กรอบแนวคิดเก่ียวกับความหมาย บอเกิด สภาวะลักษณะ กระบวนการ และเปาหมาย

Page 28: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

บทที่ ๒

แนวคิดเรื่องวิปสสนาญาณ ของพุทธปรัชญาเถรวาท

การศึกษาวิเคราะหเปรียบเทียบวิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท กับ อัชฌัตติกญาณของโอโช ในบทท่ี ๒ น้ี ผูวิจัยไดศึกษาใหตรงกับเน้ือหาใน ๕ ประเด็นหลัก ใหครอบคลุมกับสิ่งท่ีนําไปเปรียบเทียบ ดังตอไปนี้

๒.๑ ความหมายและองคความรูแหงวิปสสนาญาณ ๒.๒ บอเกิดของวิปสสนาญาณ ๒.๓ สภาวะลักษณะ ของ วิปสสนาญาณ ๒.๔ กระบวนการความรูแบบวิปสสนาญาณ ๒.๕ จุดมุงหมายการบรรลุวิปสสนาญาณ

๒.๑ ความหมายและองคความรูแหงวิปสสนาญาณ ในการวิจัยในครั้งน้ี จะศึกษาความหมายของวิปสสนาญาณและองคความรูของ

วิปสสนาญาณ สามารถแบงออกเปน ๒ ลักษณะ คือ

๒.๑.๑ ความหมายตามรูปศัพท คําวา วิปสสนา ตามคัมภีรไวยากรณบาลีมูลกัจจายนสูตร มาจาก วิ+ทิส+ยุ แปลง ทิส เปน ปสฺส แปลง ยุ เปน อน ลง อา อิตถิโชตกปจจัย วิเคราะหความหมายของคําไดวา “อนิจฺจาทิวเสน วิวิธากาเรน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา อนิจฺจานุปสฺสนาทิกา ภาวนาปฺญา”๑ แปลวา “ธรรมชาติ ท่ีชื่อวา วิปสฺสนา เพราะอรรถวา เห็นสังขารธรรม โดยอาการตางๆ ดวยอํานาจอนิจจลักษณะ เปนตน ไดแก ภาวนาปญญา มีอนิจจานุปสสนาเปนตน.”๒ หรือวิเคราะหวา

๑ พระมหาชัยศิลป พุทฺธวิริโย, ศึกษาวิเคราะหปฏิจจสมุปบาทอันเปนภูมิวิปสสนา เฉพาะกรณีการ

ปฏิบัติวิปสสนาภาวนา ๗ เดือน, วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒), หนา ๑๑.

๒พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ.๙), อภิธัมมัตถวิภาวินีแปล, (กาญจนบุรี:ม.ป.ท.

,๒๕๕๐),หนา ๑๘๐.

Page 29: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๑๔

“วิวิธํ อนิจฺจาทิกํ สงฺขาเรสุ ปสฺสตีติ วิปสฺสนา” แปลวา ปญญาท่ีเห็นสภาวะตางๆ มีอนิจจลักษณะเปนตนในสังขาร”๓

อีกแบบหน่ึง คําวา วิปสสนา แยกเปน ๒ บท คือ วิ+ปสฺสนา วิ แปลวา พิเศษ หรือวิเศษ ปสฺสนา แปลวา การเห็นแจง เมื่อรวมท้ังสองบทเขาดวยกัน แปลวา ความเห็นแจงแบบพิเศษ ดังมีวิเคราะหศัพทวา วิเสเสน ปสฺสตีติ =วิปสฺสนา ธรรมชาติใดยอมเห็นแจงเปนพิเศษ เพราะเหตุน้ัน ธรรมชาติน้ัน ชื่อวา วิปสสนา๔

๒.๑.๒ ความหมายตามคํานิยาม ในคัมภีรพระสุตตันตปฎก ปฏิสัมภิทามรรค ใหความหมายไววา “ชื่อวา วิปสสนา

เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเขายาว โดยความไมเท่ียง...เปนทุกข...เปนอนัตตา...เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความไมเท่ียง...เปนทุกข...เปนอนัตตา..”๕

วิปสสนา ในหนังสือนักธรรมเอก : ธรรมสมบัติหมวด 10 สมถกัมมัฏฐานและวิปสสนา ไดใหความหมายวา หมายถึง ปญญาท่ีรูแจงเห็นจริง ในสภาวะความเปนเองของสังขาร คือ เปนของไมเท่ียง เปนทุกข เปนอนัตตา ไดแก รูเห็นแจงชัดวาสิ่งใดไมเท่ียง เกิดแลวดับไป ... สิ่งน้ันเปนทุกขทนยากจริง สิ่งใดเปนทุกข ทนยาก ... สิ่งน้ันเปนอนัตตา มิใชตัวมิใชตนจริง สิ่งใดเปนอนัตตา มิใชตัวมิใชตน ... สิ่งน้ัน ไมควรจะถือวาของเราดวยตัณหา ไมควรจะถือวาเราดวยมานะ ไมควรจะถือวาตัวตนดวยทิฏฐิจริง เพราะวาเราตัวตนไมมี๖

ในพระอภิธรรมปฎก ไดอธิบายความหมายของ วิปสสนา ตามในกามาวจรกุศลจิต และโลกุตตรกุศลจิต วิปสสนาในกามาวจรกุศลคือ ปญญาในธรรมอันเปนกุศล มีใจความวา

ปญญากิริยาท่ีรูชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเขาไปกําหนด ความเขาไปกําหนดเฉพาะ ภาวะท่ีรู ภาวะท่ีฉลาด ภาวะท่ีรู

๓ พระธรรมกิตติวงศ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต), ศัพทวิเคราะห, (กรุงเทพมหานคร : เล่ียง

เชียง,๒๕๕๐), หนา ๖๑๗.

๔ กองทุนพิมพหนังสือทานมหาสี สยาดอ(โสภณมหาเถร), วิปสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนา,

(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๐), หนา ๗๖.

๕ ขุ.ป.(ไทย) ๓๑/๑๘๓/๒๘๗.

๖สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, คูมือนักธรรมชั้นเอก, (กรุงเทพมหานคร : มหา

มกุฏราชวิทยาลัย), หนา ๕๓.

Page 30: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๑๕

ละเอียด ความรูแจมแจง ความคนคิด ความใครครวญ ปญญาเหมือนแผนดิน ปญญาเครื่องทําลายกิเลส ปญญาเครื่องนําทาง ปญญาความเห็นแจง ความรูชัด ปญญาเหมือนปฏัก ปญญา ปญญิณทรีย ปญญาพละ ปญญาเหมือนศัสตรา ปญญาเหมือนปราสาท ความสวางคือปญญา แสงสวางคือปญญา ปญญาเหมือนประทีป ปญญาเหมือนดวงแกว ความไมหลง ความวิจัย สัมมาทิฐิ ในสมัยน้ันอันใด น้ีชื่อวา วิปสสนา ในสมัยน้ัน๗ พุทธทาสภิกขุ ไดใหความหมายวา “ลักษณะแหงตัววิปสสนาหรือความเห็นแจงน้ัน

คือ ความไมเท่ียง เปนทุกข เปนอนัตตา จะเห็นเต็มไปในภพทั้งสาม เปนความเกิดขึ้น ต้ังอยู ดับไปๆ จนเห็นวาเต็มไปดวยความนากลัว นาเบ่ือหนาย ไมมีอะไรนาเอา นาเปน ลักษณะเหลาน้ีคือลักษณะท่ีปรากฏในวิปสสนา”๘

พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ไดใหความหมายของวิปสสนาไววา วิปสสนา คือ การเห็นแจง หรือวิธีทําใหเกิดการเห็นแจง หมายความวา ขอปฏิบัติตางๆในการฝกฝนอบรมปญญาใหเกิดความเห็นแจงรูชัดสิ่งท้ังหลายตรงตอสภาวะของมัน คือ ใหเขาใจตามความเปนจริง หรือตามสิ่งเหลาน้ันมันเปนของมันเอง รูแจงชัดเขาใจจริง จนถอนความหลงผิด รูผิดและยึดติดในสิ่งท้ังหลายได๙ วิปสสนา ยังหมายถึงวิธีหรือกระบวนการท่ีทําใหเกิดความเห็นแจง หมายความวา เปนตัวการของการปฏิบัติตางๆ ในการฝกอบรมปญญาใหเกิดความเห็นแจง รูชัดในสิ่งท้ังหลายตรงตอสภาวะท่ีแทของมัน ความรูความเขาใจถูกตองจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ในระหวางท่ีปฏิบัติวิปสสนา ความรูท่ีเกิดในขณะน้ันเรียกวา ญาณ โดยเฉพาะวิปสสนาญาณท้ัง ๙ ท่ีเปนญาณอันนับเน่ืองในวิปสสนา คือ เปนความรูท่ีเกิดจากการเห็นในสภาวะตามความเปนจริงของสิ่งท้ังหลาย๑๐

๗ อภิ.สํ.(ไทย) ๓๔/๕๕/๓๖.

๘พุทธทาสภิกขุ, วิธีฝกสมาธิวิปสสนา, พิมพครั้งที่ ๖, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ สุนทรสาสน

,๒๕๓๖), หนา ๒๒๙.

๙พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม, พิมพครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หนา ๓๐๖.

๑๐ชอุม ทศสิน, “การศึกษาเชิงวิเคราะหบทบาทของปญญาในพุทธปรัชญา”, วิทยานิพนธอักษร

ศาสตร มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๒๘), หนา ๒๑-๒๒.

Page 31: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๑๖

แนบ มหานีรานนท กลาววา “วิปสสนาเปนชื่อของปญญา มีปญญาชนิดหน่ึงท่ีชื่อวา ปญญา ปญญาท่ีรูวา นามรูปไมเท่ียง เปนทุกข เปนอนัตตา ไมมีสาระ ไมมีแกนสาร ไมมีตัวตน รูอยางน้ีอนัใดอันหน่ึงก็แลวแตปญญาท่ีรู อยางน้ีเรียกวา วิปสสนา๑๑ ในคัมภีรวิสุทธิมรรค ไดอธิบายความหมายไววา “คําวา ญาณ หมายถึง วิปสสนาญาณ ทราบวา เมื่อโยคีน้ันกําลังเทียบเคียงไตรตรองรูปธรรมและอรูปธรรม (รูปและนาม) ท้ังหลายอยู ญาณซึ่งมีกระแสปราดเปรียวแหลมคม แกกลา ชัดแจง ก็เกิดขึ้น ประดุจดังวชิระของพระอินทรท่ีทรงซัดออกไป”๑๒

พระธรรมปฏก(ป.อ.ปยุตฺโต) ไดอธิบายไวในหนังสือ พุทธธรรม เก่ียวกับ ญาณ วา ญาณ คือ ความรู ความหยั่งรู เปนปญญาท่ีออกผลมาเปนเรื่องๆ เชน กัมมัสสกตาญาณ ความหยั่งรูภาวะท่ีสัตวมีกรรมเปนของของตน อตีตังสญาณ ปรีชาหย่ังรูสวนอดีต สัจจานุโลมิกญาณ ความหยั่งรูสอดคลองกับสัจจะ ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรูการณท่ีเปนไปไดและเปนไปไมได นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหย่ังรูอัธยาศัยแนวโนมความเชื่อความสนใจของสัตวท่ีแตกตางกันเปนตน ญาณ คือ ความรูบริสุทธิ์ท่ีลุกโพลงสวางแจงขึ้น มองเห็นตามสภาวะของสิ่งน้ันๆ หรือเรื่องน้ันๆ แมวาญาณจะมีหลายระดับ บางทีเปนความรูผิด บางทีเปนความรูบางสวน ไมสมบูรณ แตก็เรียกไดวา เปนความรูท่ีบริสุทธิ์ หรือ ความรูลวนๆ เพราะยังไมมีความรูสึกตัวตน หรือความยึดถือเปนของตนเขาไปจับ บางครั้งญาณเกิดขึ้นโดยอาศัยความคิดเหตุผล แตญาณน้ันเปนอิสระจากความคิดเหตุผล คือไมตองตอความคิดเหตุผล แตออกไปสัมพันธกับตัวสภาวะท่ีเปนอยูจริง ๑๓ ญาณ เปนความรูระดับสุดยอดของปญญามนุษย และเปนผลสําเร็จสําคัญของมนุษย ญาณไมวาจะเปนโลกียญาณหรือ โลกุตตรญาณ เปนสวนผลักดันสําคัญใหเกิดความเจริญกาวหนาในอารยธรรมของมนุษยชาติ ญาณท่ีย่ิงใหญสุดเรียกชื่อเฉพาะวา โพธิ หรือ

๑๑แนบ มหานีรานนนท , การแนะแนวทางการปฏิบั ติวิปสสนาวิสุทธิ ๗ , พิมพครั้ งที่ ๕ ,

(กรุงเทพมหานคร : หจก.ทิพยวิสุทธิ์), ๒๕๕๓, หนา ๑๒.

๑๒

พระพุทธโฆสะ, คัมภีรวิสุทธิมรรค, (กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

๒๕๔๙), หนา ๓๒๖.

๑๓พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม, พิมพครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพมหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หนา ๔๙-๕๐ .

Page 32: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๑๗

โพธิญาณ แปลกันวา ความตรัสรู พระพุทธเจาทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ จึงทําใหเกิดพระพุทธศาสนา เปนดวงตาใหญของโลก๑๔

๒.๑.๓ องคความรูแหงวิปสสนาญาณ เมื่อสรุปตามความหมายของศัพทและคํานิยามแลว วิปสสนาญาณน้ัน หมายถึง ญาณในวิปสสนา หรือ ญาณที่นับเขาในวิปสสนาหรือท่ีจัดเปนวิปสสนา คือ เปนความรูท่ีทําใหเกิดความเห็นแจง เขาใจสภาวะของสิ่งท้ังหลายตามเปนจริง (insight knowledge) ในการศึกษาวิจัยในประเด็น ท่ีเก่ียวกับองคความรูของวิปสสนาญาณ เพ่ือตองการศึกษาถึงขอบขายของความหมายของวิปสสนาญาณวา ตัววิปสสนาญาณไดเขาไปรูเห็นอะไร และสภาวะท่ีเรียกวาเปนวิปสสนาญาณจริงๆ ท่ีปรากฏใหเห็นในเชิงประจักษความจริง (ปรมัตถธรรม) คือสภาวะใด ในการศึกษาวิจัยจึงใครจะศึกษาองคความรูแทท่ีเกิดจากภาวนามยปญญาโดยตรง จึงเลือกองคความรู คือ วิปสสนาญาณ ๙๑๕ มาเปนบาทฐานวิจัย วิปสสนาญาณทั้ง ๙ มีดังตอไปนี้

๑๔ เร่ืองเดียวกัน, หนา ๕๔.

๑๕

ในคัมภีรปฏิสัมภิทามรรค และคัมภีรวิสุทธิมรรค มีการบรรยายขั้นตางของการวิปสสนา เปน ๑๖

ขั้น หรือเรียกวา ญาณ ๑๖ (โสฬสญาณ) เปนญาณที่เกิดแกผูบําเพ็ญวิปสสนา โดยลําดับต้ังแตตน จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน คือ นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกําหนดแยกนามรูป นามรูปปจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณจับปจจัยแหงนามรูป สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ อุทยัพพยานุปสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแหงนามรูป ภังคานุปสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจําเพาะความดับเดนขึ้นมา ภยตูปฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเปนของนากลัว ทีนวานุปสสนาญาณ หมายถึง ญาณคํานึงเห็นโทษ นิพพิทานุปสสนาญาณ หมายถึง ญาณคํานึงเห็นดวยความหนาย มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรูอันใครจะพนไปเสีย ปฏิสังขานุปสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพ่ือจะหาทาง สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเปนไปโดยความเปนกลางตอสังขาร สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง ญาณเปนไปโดยควรแกการหยั่งรูอริยสัจจ โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวตอที่ขามพนภาวะปุถุชน มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล ปจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน แตเมื่อกลาวถึงวิปสสนาญาณโดยเฉพาะ อันหมายถึงญาณที่นับเขาในวิปสสนา หรือญาณที่จัดเปนวิปสสนา จะมีเพียง ๙ ขั้น คือ ต้ังแต อุทยัพพยานุปสสนาญาณ ถึง สัจจานุโลมิกญาณ (ตามปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ขั้นหน่ึงใน วิสุทธิ๗) ที่บรรยายในคัมภีรวิสุทธิมรรค แตในคัมภีรอภิธัมมัตถสังคหะ นับรวม สัมมสนญาณ ดวยเปน ๑๐ ขั้น) , อางใน วิสุทธิ.(บาลี) ๓/๒๖๒-๓๑๙, สงฺคห.(บาลี) ๕๕.

Page 33: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๑๘

๑) อุทยัพพยญาณ หมายถึง ญาณเห็นแจงความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแหงรูปนามขันธ ๕ จนเห็นชัดวา สิ่งท้ังหลายเกิดขึ้น ครั้นแลวก็ตองดับไป ลวนเกิดขึ้นแลวก็ดับไปท้ังหมด ๒) ภังคญาณ หมายถึง ญาณเห็นแจงความสลาย คือ เห็นวาสังขารท้ังปวงลวนจะตองสลายไปทั้งหมด ๓) ภยตูปฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเปนของนากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารท้ังปวงไมวาจะเปนไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเปนของนากลัว เพราะลวนแตจะตองสลายไป ไมปลอดภัยท้ังสิ้น ๔) อาทีนวญาณ หมายถึง ญาณอันคํานึงเห็นโทษ คือ เห็นสังขารท้ังปวงซึ่งลวนตองแตกสลายไป เปนของนากลัวไมปลอดภัย เปนโทษ เปนสิ่งท่ีมีความบกพรอง จะตองระคนอยูดวยทุกข ๕) นิพพิทาญาณ หมายถึง ญาณอันคํานึงเห็นความหนาย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารวาเปนโทษเชนน้ันแลว ยอมเกิดความหนาย ไมเพลิดเพลินติด ๖) มุญจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณอันคํานึงดวยใครจะพนไปเสีย คือ เมื่อหนายสังขารท้ังหลายแลว ยอมปรารถนาท่ีจะพนไปเสียจากสังขารเหลาน้ัน ๗) ปฏิสังขาญาณ หมายถึง ญาณอันคํานึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อตองการจะพนไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารท้ังหลายขึ้นมาพิจารณากําหนดดวยไตรลักษณ เพ่ือมองหาอุบายท่ีจะปลดเปลื้อง ๘) สังขารุเปกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเปนไปโดยความเปนกลางตอสังขาร คือ เห็นสภาวะของสังขารตามความเปนจริง วา มีความเปนอยูเปนไปของมันอยางน้ันเปนธรรมดา จึงวางใจเปนกลางได ไมยินดียินรายในสังขารท้ังหลาย แตน้ันมองเห็นนิพพานเปนสันติบท ญาณจึงแลนมุงไปยังนิพพาน เลิกละความเก่ียวเกาะกับสังขารเสียได ๙) สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ หมายถึง ญาณอันเปนไปโดยอนุโลมแกการหย่ังรูอริยสัจ คือ เมื่อวางใจเปนกลางตอสังขารท้ังหลาย ไมพะวง และญาณแลนมุงตรงไปสูนิพพานแลว ญาณอันคลอยตอการตรัสรูอริยสัจ ยอมเกิดขึ้นในลําดับถัดไป เปนขั้น

Page 34: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๑๙

สุดทายของวิปสสนาญาณ ตอจากน้ันก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แลวเกิดมรรคญาณใหสําเร็จความเปนอริยบุคคลตอไป๑๖ เมื่อศึกษาจากหลักวิปสสนาญาณท้ัง ๙ แลว สามารถรูไดวา วิปสสนาญาณแทๆ เกิดจากการท่ีเขาไปรูเห็นเปนพยานวา ญาณท่ีเปนวิปสสนาญาณจริงๆ คือ การท่ีวิปสสนาไดเขาไปเห็นสภาวะแหงการเกิดดับของรูปนาม เห็นปรากฏการณทางธรรมชาติ ท่ีมีสภาพการเกิดขึ้น ต้ังอยู และดับไปอยางชัดแจง อันเปนกระบวนการแหงกฎไตรลักษณ ท้ังน้ีกระบวนดังกลาว ไมไดเกิดจากการจํา การอาน และการคิดหาเหตุผลใดๆ แตเกิดจากการไดลงมือปฏิบัติตามหลักแหงไตรสิกขา จนเกิดญาณท่ีมองเห็นความจริงได เรียกวา ภาวนามยปญญา ๒.๒ บอเกิดของวิปสสนาญาณ ๒.๒.๑ บาทฐานแหงวิปสสนาญาณ  ๒.๒.๑.๑ ความเขาใจในรูปนาม ในการท่ีจะศึกษาแหลงท่ีมาของการเกิดวิปสสนาญาณน้ัน จะตองศึกษาแหลงท่ีมาเบ้ืองตนท่ีถือวา เปนฐานความรู เปนแหลงกําเนิดท่ีควรจะใสใจ ในฐานะท่ีเปนศูนยรวมของทุกสิ่ง ในพุทธปรัชญาเรียกสิ่งน้ันวา ขันธ ๕ คําวา ขันธน้ัน แปลวา กอง พวก หมวด หมู ลําตัว หมวดหนึ่งๆ ของรูปธรรมและนามธรรมท้ังหมดแบงออกเปน ๕ กอง๑๗ เรียกอีกอยางวา รูปกับนาม หรือกายและจิต มี ๕ หมวดดังน้ี (๑) รูป ไดแก สวนประกอบฝายรูปธรรมท้ังหมด ในสวนของรางกายและพฤติกรรมท้ังหมดของรางกาย พรอมท้ังคุณสมบัติและพฤติกรรมตางๆ ของสสารพลังงานเหลาน้ัน๑๘ ทําหนาท่ีรับรูและเสพเสวยโลก หรือทําหนาท่ีเปนทางเชื่อมตอโลกภายนอก โดยอาศัยทวาร ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เปนชองเพื่อรับรูอารมณ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ

๑๖ดูรายละเอียดใน อง.จตุกฺก. อ. (บาลี) ๒/๑๖๒/๓๘๗, พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรม

พุทธศาสน ฉบับประมวลธรรม, พิมพครั้งที่ ๑๓, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ เอส อาร พริ้นต้ิง แมส โปรดักส จํากัด, ๒๕๔๘), หนา. ๒๕๑.

๑๗พระธรรมปฎก (ป.อ. ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลศัพท, พิมพครั้งที่ ๑๐,

(กรุงเทพมหานคร : เอส อาร พริ้นต้ิง แมส โปรดักส จํากัด,๒๕๔๖), หนา ๒๒.

๑๘

พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม, หนา ๑๖.

Page 35: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๒๐

(๒) เวทนา ไดแก ความรูสึกมี ๓ ประการ คือ สุขเวทนา (ท้ังทางกายและทางจิต) ทุกขเวทนา (ท้ังทางกายและจิต) หรืออุเบกขาเวทนา (ไมสุข ไมทุกข เฉยๆ) มีหนาท่ีสําคัญตอกระบวนการแสวงหาเสพอารมณท่ีเปนตัวตอเชื่อมในการท่ีจะเลือกเฟนอารมณท่ีนาปรารถนาและหลีกเลี่ยงสิ่งไมนาปรารถนา ตางๆได๑๙

(๓) สัญญา ไดแก ความจําได หมายรู กําหนดรู บันทึกสิ่งผานเขามาทางการรับรู เปนเหตุใหจําอารมณตางๆได ลักษณะท่ีสําคัญของสัญญา คือ การทํางานกับอารมณท่ีปรากฏตัวอยูตอหนา จํากําหนดได หมายรูหรือจําไดซึ่งอารมณน้ัน๒๐

(๔) สังขาร ไดแก สภาวธรรมท่ีปรุงแตงใจ มี ๒ ฝายไดแก ฝายดี (โสภณเจตสิก) ฝายเลว (อกุศลเจตสิก) และฝายท่ีเปนกลาง (อัญญสมานาเจตสิก) กลาวโดยท่ัวไป สังขารเปนสภาวะท่ีเปนความคิดปรุงแตงเก่ียวกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณเปนกระบวนการแหงเจตนจํานงท่ีชักจูง เลือกเฟนรวบรวมแลวนํามาปรุงแตงความคิด การพูด การกระทํา ใหเกิดกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ๒๑ (๕) วิญญาณ ความรูแจงทางทวาร หรืออายตนะท้ัง ๖ แปลตามแบบวา ความรูแจงทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทายกาย ทางใจ๒๒ วิญญาณในขันธ ๕ น้ี เปนความรูท่ีเปนตัวยืนหรือเปนฐานใหกับนามขันธอื่นท่ีเหลือ คือ เวทนา สัญญา สังขาร๒๓ แตเปนความรูท่ีมีกระบวนการเกิดดับอยางตอเน่ืองอยูตลอดเวลาควบคูไปกับนามขันธอื่น หรือปรากฏการณทุกอยางภายในจิตใจ กลาวไดวา ขันธ ๕ (รูปนาม) น้ัน มีท้ังฝายท่ีเปนรูปธรรม และ ฝายท่ีเปนนามธรรม ท่ีมาประกอบกันจนกลายเปนภาวะกลุมกอน กลายเปนตัวตนข้ึนมา ขันธ ๕ น้ัน เปนองคประกอบท่ีตองอาศัยกันและกัน ในสวนรูปขันธน้ัน เปนสวนของกาย นามขันธท้ัง ๔ อยาง เปนสวนของจิตใจ

๑๙พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม, หนา ๑๙.

๒๐เร่ืองเดียวกัน, หนา ๒๑.

๒๑

เร่ืองเดียวกัน, หนา ๒๐

๒๒

เร่ืองเดียวกัน, หนา ๓๐-๓๑.

๒๓เร่ืองเดียวกัน, หนา ๑๘.

Page 36: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๒๑

๒.๒.๑.๒ กระบวนการรับรูทางอายตนะ พุทธปรัชญา ถือวา สิ่งท่ีประกอบรวมกันเปนชีวิตขึ้นมานั้น ตองดํารงชีวิตอยูบน

โลกโดยการรับรูตอสิ่งท่ีเขามากระทบ ตองอาศัยประสาทสัมผัสในการรับรูสิ่งภายนอก ซึ่งเปนสิ่งท่ีถูกรู อายตนะภายใน ๖ ไดแก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายนอก ๖ ไดแก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ ในกระบวนการแหงการรับรูตองมีองคประกอบครบ ๓ ประการ น่ันคือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอกหรืออารมณ ๖ และวิญญาณ ๖ เมื่ออายตนะ คือตัวรับรู กระทบกับอารมณคือสิ่งท่ีถูกรู ก็เกิดความรูจําเพาะดาน คือตัววิญญาณ ของอายตนะ แตละอยาง๒๔ ดังน้ี

(๑) ตา กระทบอารมณคือรูป เกิดความรู คือ จักขุวิญญาณ (การมองเห็น) (๒) หู กระทบอารมณคือเสียง เกิดความรู คือ โสตวิญญาณ (การไดยิน) (๓) จมูก กระทบอารมณคือกลิ่น เกิดความรู คือ ฆานวิญญาณ (การไดกลิ่น) (๔) ลิ้น กระทบอารมณคือรส เกิดความรู คือ ชิวหาวิญญาณ (การรูรส)

(๕) กาย กระทบอารมณคือสิ่งท่ีตองกาย เกิดความรู คือ กายวิญญาณ (การรูสิ่งตองกาย)

(๖) ใจ กระทบอารมณคือธรรมารมณ (เรื่องในใจ) เกิดความรู คือ มโนวิญญาณ (การรูในใจ)

เมื่อองคประกอบท้ัง ๓ มาเชื่อมตอพรอมกันแลว จึงเรียกวา ผัสสะ ตัวผัสสะนั้น เปนจุดเริ่มตนท่ีสําคัญแหงการรับรู ท่ีกระทบกับสิ่งท่ีถูกรู แมแตการเจริญวิปสสนาภาวนาก็ยังใหความสําคัญย่ิงตอผัสสะท่ีเขากระทบอารมณภายนอก ถาไมมีผัสสะการรับรูตางๆจะเกิดขึ้นไมไดเลย เพราะเปนกระบวนการแหงการเสพอารมณ จนเกิดการจําไดหมายรู มีการคิดปรุงแตง และมีการกระทําตางๆ ท้ังท่ีเปนกุศลและอกุศลมากมาย ในกระบวนการรับรูน้ัน สามารถแบงเปน ๒ ชวง คือ

(๑) กระบวนการรับรูบริสุทธิ์ อันประกอบไปดวย อายตนะภายใน+อารมณ+วิญญาณ=ผัสสะ เปนองคท่ีเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ยังไมมีความคิด การวิเคราะหหรือการตัดสินใดๆ ทางอารมณท่ีเกิดขึ้น เปนกระบวนการรับรูท่ีไมกอใหเกิดยึดถือเปนตัวเปนตนขึ้น

(๒) กระบวนการรับรูเสวยโลก หรือกระบวนการสังสารวัฏ อันประกอบไปดวย เวทนา+สัญญา+สังขาร น่ันคือ การรูสึกตอสิ่งท่ีตนรับรู เปนความรูสึกชอบ ไมชอบ (เวทนา)

๒๔ เร่ืองเดียวกัน, หนา ๓๕.

Page 37: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๒๒

แลวก็มีการจําไดหมายรูวา เปนสิ่งน้ัน สิ่งน้ี คืออะไร (สัญญา) เมื่อเกิดการจําไดหมายรูก็มีการคิดปรุงแตงสรางสรรคใหเปนไปตามท่ีตนตองการปรารถนา (สังขาร) ๒๕

กระบวนการรับรูบริสุทธิ์ กระบวนการรับรูแบบเสวยโลก๒๖

กระบวนการรับรู คือ เวทนา สัญญา สังขาร น้ี เปนกระบวนการท่ีมีการใหคุณคาเขามาเก่ียวของจนเกิดการยึดถืออารมณปรุงแตงไปตามสภาวะท่ีปรากฏ เปนการรับรูท่ีมีกิเลสตัณหาเขามาจัดการ ถาเกิดความพอใจ ตองการ ก็พยายามเกาะกุมยึดไว ถารูสึกไมพอใจก็พยายามหลีกหนีไปใหพน ดังน้ัน ต้ังแต เวทนาน้ีไปถือวาเปนสวนสําคัญท่ีจะทําใหกระบวนการรับรู น้ันไปตามทางของธรรมชาติหรือ อาจนําไปสู เ บ่ียงเบนธรรมชาติ หมายความวา เวทนาเปนตัวผลักดันองคธรรมอื่นๆ ใหเปนไปในทางกุศล ทางอกุศล หรือทางท่ีเปนอัพยากตะ(เปนกลางๆ)๒๗ ในแงของเวทนาน้ัน มีกระบวนรับรูท่ีแยกออกเปน ๒ สาย คือ กระบวนการรับรูสายวิวัฏ เปนการรับรูท่ีเปนธรรมชาติตามความเปนจริงไมมีการปรุงแตงใดๆ และกระบวนการรับรูสายสังสารวัฏ เปนการรับรูท่ีเกิดการปรุงแตงผิดธรรมชาติแหงความเปนจริงเน่ืองดวยกิเลสตัณหาอุปาทาน ท้ังน้ีกระบวนการรับรูท้ัง ๒ แบบจะมุงสูไปทางใดน้ัน จะขึ้นอยูท่ีสัญญา คือการจําไดหมายรูอารมณท่ีทําใหสิ่งท่ีถูกรับรูเปนไปในทางวิวัฏหรือสังสารวัฏ กลาวอีกนัยคือ ตัวสัญญา เปนเครื่องชี้ทางชี้วัดใหสามารถเดินไปสูทางแหงปญญาหรืออวิชชาน่ันเอง

ปปญจะสัญญา(สังสารวัฏ)

สัญญาบริสุทธิ์(สายวิวัฏ)

๒๕ พระมหา ระวี ติกฺขปฺโญ, การศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีความรูของพุทธปรัชญาเถรวาทกับ

เบอรทรันต รัสเซลล, วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๔), หนา ๕๘.

๒๖

พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม, หนา ๔๐.

๒๗

ลักษณวัต ปาละรัตน, “ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทเปนประสบการนิยมหรือไม”,

วิทยานิพนธอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕), หนา ๑๒๕.

อายตนะภายใน+อารมณ+วิญญาณ=ผัสสะ เวทนา+สัญญา+สังขาร(วิตักก+ปปญจะ)

อายตนะภายใน+อารมณ+วิญญาณ เวทนา

ผัสสะ

Page 38: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๒๓

ในแผนผังน้ี เห็นไดวา สัญญา น้ัน มี ๒ อยาง ไดแก ปปญจสัญญา หมายเอา สัญญาท่ีเกิดจากความคิดปรุงแตงท่ีเปนอกุศล๒๘ ดวยแรงผลักดันของตัณหา มานะ และทิฏฐิ เปนสัญญาท่ีผิดแผกคลาดเคลื่อนไปจากความเปนจริง เปนสัญญาท่ีเกิดจากกิเลส แทนท่ีจะชวยใหเกิดความรู กลับกลายมาเปนการเกิด โลภะ โทสะ โมหะ แทน ในสวน สัญญาบริสุทธิ์ ไดแก การรับรูท่ีบริสุทธิ์ ไมมีการเขาไปตีคาหรือปรุงแตงสิ่งท้ังหลาย ไมมีการเขาไปต้ังความพอใจหรือไมพอใจ หรือความปรารถนาใดๆ แตเปนการรับรูตรงตามท่ีมันเปน ดวยสติท่ีต้ังมั่น มองเห็นสิ่งตางๆ ตามท่ีมันเปนจริง ซึ่งการรับรูดวยจิตใจท่ีบริสุทธิ์ ยอมเกิดปญญามองเห็นความจริงได น่ันคือเปนทางท่ีกอใหเกิดวิปสสนาญาณขึ้นมาได สามารถท่ีจะตัดวงจรแหงสังสารวัฏคือการดับทุกขได

๒.๒.๑.๓ การเจริญสติปฏฐาน เมื่อกลาวถึงองคธรรมท่ีเปนหลักแหงการปฏิบัติ เพ่ือเขาไปรูหรือพิสูจนความจริงขั้นปรมัตถธรรมในรูปนามขันธ ๕ น้ันได จะตองใชหลักธรรม ท่ีเรียกวา สติปฏฐาน (Foundation of Mindfulness) มาเปนบาทฐาน ในการเขาสูความรูระดับวิปสสนาญาณได สติปฏฐาน หมายถึง การต้ังสติกําหนดพิจารณาสิ่งท้ังหลายใหรูเห็นตามความเปนจริง วาสิ่งน้ัน ๆ วามันเปนของมันเอง โดยธรรมชาติ โดยธรรมดา โดยมีสาระสําคัญอยู ๔ ประการดังน้ี

(๑) กายานุปสสนาสติปฏฐาน (ฐานกาย) ไดแก การต้ังสติพิจารณากาย เปนการกําหนดสติระลึกรูกายและการเคลื่อนไหวของรางกาย เชน การยืน การเดิน การน่ัง การนอน เปนตน

(๒) เวทนานุปสสนาสติปฏฐาน (ฐานเวทนา) ไดแก การต้ังสติกําหนดพิจารณาเวทนา เปนการกําหนดสติระลึกรู ความรูสึกของรางกายและจิตใจ เชน สุข ทุก เฉยๆ เรียกวา การพิจารณาเวทนา

(๓) จิตตานุปสสนาสติปฏฐาน (ฐานจิต) ไดแก การต้ังสติกําหนดพิจารณาจิต เปนการกําหนดสติระลึกรู อาการของจิต เชน จิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง ฟุงซาน สงสัย หดหูเซื่องซึม เปนตน เพ่ือปองกันรักษาจิตใหเปนปกติธรรมชาติ จนเกิดปญญาญานเห็นอารมณของจิตและจิตท่ีกําหนดรูเปนคนละสวนกัน เกิดความรูแจงการเกิดดับของสภาวะเหลาน้ัน

๒๘พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม, หนา ๔๒.

Page 39: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๒๔

(๔) ธัมมานุปสสนาสติปฏฐาน (ฐานธรรม) ไดแก การต้ังสติกําหนดพิจารณาธรรม เปนการกําหนดสติตรึกตรองไมใหกิเลสตัณหาเขามาครอบงําท้ังทางกายและจิตใจ ดวยการมีสติตามรูอาการทางกายและทางจิตทุกอยาง๒๙

เมื่อกลาวตามความเขาใจ สติปฏฐาน เปนฐานท่ียึด เปนท่ีเกาะเก่ียวของสติ มี ๔ ฐาน คือ กาย, เวทนา, จิต, ธรรม ดังน้ัน สติ หรือความระลึกตัว ในสติปฏฐานมีความสําคัญสติเปนตัวรูเพ่ือท่ีจะละ หรือเฝาสังเกตพิจารณา อารมณท่ีปรากฏทางอายตนะตางๆ ไมใหเขามาทําใหจิตเศราหมองขุนมัวได ดังพุทธวจนะที่วา “ภิกษุน้ันมีสติปรากฏอยูเฉพาะหนาวา กาย(เวทนา จิต ธรรม) มีอยู ก็เพียงอาศัยเจริญญาณ เจริญสติเทาน้ัน ไมอาศัย (ตัณหาและทิฐิ) อยูและไมยึดมั่นถือมั่นอะไรในโลก”๓๐ หมายความวา การมีสติระลึกรูพิจารณากายในกาย คือพิจารณากายเพียงสักวากายเปนท่ีรู แตเพียงสักวากายเปนท่ีอาศัย ท่ีจิตอันประกอบดวยสติจะไมเขาไปยึดมั่นถือมั่นดวยความอยากและความเห็นผิด ในรูปนามขันธ ๕ น้ี ถือวาเปนการปรากฏของวิปสสนาญาณท่ีปรากฏใหเห็นภายในฐานท้ัง ๔ น้ี เพราะทั้งหมดนับเน่ืองเขาใน รูป และนาม น่ันเอง

๒.๒.๒ องคมรรคอันเปนบอเกิดของวิปสสนาญาณ  หลักแหงไตรสิกขา บอเกิดท่ีสําคัญอีกประการ ท่ีเปนหลักสําคัญของการเกิดกระบวนการหยั่งรูหรือญาณรูแจงขึ้น น่ันคือ การปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค ๘ หรือ ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) สามารถสรุปยอเขากับหลักไตรสิกขา คือ ศีล, สมาธิ, ปญญา ไตรสิกขา หมายถึง การฝกฝนอบรมตนในเรื่องท่ีพึงใสใจศึกษา ๓ อยาง ไดแก ๑) อธิสีลสิกขา คือศึกษาเรื่องการสํารวมระวังในศีล(จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล) ๒) อธิจิตตสิกขา คือศึกษาพิจารณาเรื่องจิต และบําเพ็ญทางจิตใหสงบมั่นคง ไมหว่ันไหวไปตามอารมณ ๓) อธิปญญาสิกขา คือศึกษาเรื่องของการใชปญญาพิจารณาใหเกิดความรูแจง ไตรสิกขา ถือไดวา เปนฐานสําคัญอีกประการของการเจริญภาวนา ใหบังเกิดผล ดังน้ัน การพัฒนาทางดาน กาย วาจาและใจ ตามหลักไตรสิกขา สามารถนําไปสูวิปสสนาญาณได เมื่อพิจารณาตามหลักไตรสิกขา ท้ัง ศีล สมาธิและปญญา เปนสิ่งท่ีตองปฏิบัติควบคูกัน

๒๙ดูรายละเอียดใน ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๓/๓๐๑ - ๓๔๐.

๓๐ดูรายละเอียดใน ที.ม.(ไทย) ๑๐/๓๗๔/๓๐๔.

Page 40: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๒๕

ไมสามารถจะแยกกันได เพราะท้ังสามน้ัน เปนปจจัยเก้ือหนุนของกันและกัน ยกตัวอยาง เริ่มแรกผูปฏิบัติจะตองมี อินทรียสังวร ไดแก การสํารวมระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไมใหเกิดอารมณท่ีเปนอกุศลตางๆ เขาครอบงํา เพ่ือใหกายและใจ ไมถูกซ้ําเติม พรอมท้ังพอกพูนกุศลใหเกิดในจิตใจอยางตอเน่ือง ดังพุทธวจนะท่ีวา “ผูสํารวมระวังในอินทรีย คือผูท่ีไมประมาท”๓๑ และ “ผูท่ีสํารวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชื่อวา เปนผูคุมครองทวารในอินทรียท้ังหลาย”๓๒ เมื่อสามารถรักษากาย วาจา ใจ ไดแลว กระบวนการท่ีเปนขั้นแหงสมาธิ (อธิจิตตสิกขา) และขั้นแหงปญญา (อธิปญญาสิกขา) ก็เกิดขึ้นเปนลําดับและนําไปสูการพัฒนาข้ึนอยางมีประสิทธิภาพตาม น่ันคือ อินทรียสังวร เปนสิ่งสกัดก้ันไมให กิเลสอยางหยาบ เกิดขึ้นได ในขั้นของสมาธิสามารถขจัดกิเลสอยางกลาง และปญญาสามารถกําจัดกิเลสอยางละเอียด ตอไปอีก ท้ังหมดลวนเปนกระบวนการท่ีทําใหเกิดวิปสสนาญาณท้ังสิ้น

๒.๒.๓ องคธรรมเก้ือหนุนใหเกิดวิปสสนาญาณ อินทรียพละ เมื่อกลาวถึงองคธรรมท่ีเก้ือหนุนหรือเปนปจจัยตอการเกิดวิปสสนาญาณ ทางพุทธปรัชญาถือวา มีองคธรรมท่ีสําคัญอยางหน่ึงท่ีเปนตัวกระตุนเรงเราในการทําใหการรูแจงเห็นจริงในสภาวธรรมตางๆ ปรากฏขึ้นไดอยางรวดเร็ว ตองอาศัยพลังแหงการเจริญอินทรียใหมีความสมบูรณพรอม เรียกสิ่งน้ันวา อินทรียพละ หรืออาจเรียกไดวา เปนการอาศัยกันเปนอันหน่ึงอันเดียวกันของ อินทรีย กับ พละ ดังพุทธวจนะท่ีมาในสาเกตุสูตรวา

ภิกษุท้ังหลาย ทางท่ีอินทรีย ๕ อาศัยแลวกลายเปนพละ ๕ ท่ีพละ ๕ อาศัยแลวกลายเปนอินทรีย มีอยู...ภิกษุท้ังหลาย สิ่งใดเปนสัทธินทรีย สิ่งน้ันเปนสัทธาพละ สิ่งใดเปนวิริยินทรีย สิ่งน้ันเปนวิริยพละ...สิ่งใดเปนสตินทรีย สิ่งน้ันเปนสติพละ...สิ่งใดเปนสมาธินทรีย สิ่งน้ันเปนสมาธิพละ...สิ่งใดเปนปญญินทรีย สิ่งน้ันเปนปญญาพละ ภิกษุท้ังหลาย เปรียบเหมือนแมนํ้า ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก..ท่ีตรงกลางแมนํ้าน้ันมีเกาะ ทางท่ีกระแสแหงแมนํ้าน้ันอาศัยแลว อาจถือไดวาเปนกระแสเดียวมีอยู อน่ึง ทางท่ีกระแสแหงแมนํ้าน้ันอาศัยแลว ถือไดวาเปนสองกระแสก็มีอยู....คือนํ้าท่ีปลายเกาะดานตะวันออกและดานตะวันตกน้ัน คือวาเปนกระแสเดียวกัน นํ้าท่ีริมเกาะดานเหนือ และริมเกาะดานใต น้ีถือไดวาเปนสองกระแส๓๓

๓๑ ดูรายละเอียดใน สฬา.สํ. (ไทย) ๑๘/๙๗/๑๐๗ - ๑๐๘.

๓๒

ดูรายละเอียดใน จตุกก. อํ.(ไทย) ๒๑/๓๗/๖๑.

๓๓

สํ.มหา.(ไทย) ๑๙/๕๑๓/๓๒๕.

Page 41: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๒๖

ในองคธรรมท้ังสอง อินทรีย หมายถึง ความเปนใหญ หรือสภาพความเปนใหญในกิจของตน คือ ธรรมท่ีเปนเจาการในการทําหนาท่ีกําจัดกวาดลางอกุศลธรรม๓๔ ไดแก (๑) สัทธินทรีย มีความเปนใหญในสภาพธรรมของตนคือ นอมใจเชื่อ คือ ความเช่ือท่ีมีเหตุผล มั่นใจในความจริงความดีของสิ่งท่ีนับถือ (๒) วิริยินทรีย มีความเปนใหญในการประคองไว คือ ความเพียรพยายาม มีกําลังไมทอถอย (๓) สตินทรีย มีความเปนใหญในการระลึก ดูแลจิต กําจัดอกุศลคือความประมาท (๔) สมาธินทรีย มีความเปนใหญในการไมฟุงซาน ทําจิตไมใหซานสาย และ (๕) ปญญินทรีย มีความเปนใหญในการเห็นตามความเปนจริง กําจัดอกุศล คือ อวิชชา๓๕

พละ หมายถึง ความไมหว่ันไหว ไดแก (๑) สัทธาพละ มีความไมหว่ันไหวในการไมมีศรัทธา (๒) วิริยะพละมีความไมหว่ันไหวในการเกียจคราน (๓) สติพละ มีความไมหว่ันไหวในความไมประมาท (๔) สมาธิพละมีความไมหว่ันไหวเพราะความฟุงซาน และ (๕) ปญญาพละ มีความไมหว่ันไหวในความไมรู๓๖

กระบวนการท้ังสองอาจตางกันเพียงหนาท่ี แตก็เปนสิ่งเดียวกันในการทําใหเกิดวิปสสนาญาณ ต้ังแตญาณเบ้ืองตน (อุทยัพยญาณ) จนถึง ญาณในระดับสัจจานุโลมิญาณ อินทรียพละเปนสิ่งท่ีสงผลปจจัยตอเน่ืองกัน กลาวคือ ศรัทธาทําใหเกิดความเพียร ความเพียรชวยใหสติมั่นคง เมื่อสติมั่นคงแลว กําหนดอารมณก็จะไดสมาธิ เมื่อสมาธิดีแลว ก็จะเกิดความเขาใจมองเห็นถึงโทษของตัณหาอวิชชาท่ีเปนเหตุแหงสังสารวัฏ ดังพุทธพจนท่ีวา “ดูกอนสารีบุตร อริยสาวกน้ันแล เพียรพยายามอยางน้ี ครั้นเพียรพยายามก็ระลึกอยางน้ี ครั้นระลึกแลวก็ต้ังจิตมั่นอยางน้ี ครั้นต้ังจิตมั่นแลวก็รูชัดอยางน้ี ครั้งรูชัดก็เชื่อย่ิงอยางน้ี”๓๗ ดังน้ัน อินทรียพละ มีสวนสําคัญต้ังแตขั้นแรกของการปฏิบัติเจริญภาวนาใหรูแจง คือ เริ่มต้ังแตการมีสติระลึกรูรูปนาม รับรูผานทางอายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ท่ีเชื่อมอายตนะทางภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมมารมณ) จนเกิดผัสสะ นําไปสูการเสวยอารมณท้ังกุศล อกุศลและอัพยากตะ แตเมื่อสามารถเจริญตามองคธรรม คือ อินทรีย

๓๔ พระพรหมคุณาภรณ(ป.อ.ปยุตโต), สมาธิ ฐานสูสุขภาพจิตและปญญาหย่ังรู, พิมพครั้งที่ ๘,

(กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพศยาม,๒๕๕๑), หนา ๗๒.

๓๕

ดูรายละเอียดใน สํ. มหา.(ไทย) ๑๙/๔๗๑-๔๗๙/๒๘๒-๒๙๑.

๓๖

ดูรายละเอียดใน สํ. มหา.(ไทย) ๑๙/๗๐๕-๗๑๖/๓๖๙-๓๗๓.

๓๗

ดูรายระเอียดใน สํ.มหา.(ไทย) ๑๙/๒๙๗-๓๐๐.๑๐๑๐-๑๐๒๒.

Page 42: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๒๗

พละน้ีได ก็จะทําใหการรับรูสัมผัสตอสิ่งตางๆ เปนไปอยางบริสุทธิ์ ปราศจากการยึดติด เพราะมีความไมหว่ันไหวตออารมณท่ีเขามากระทบ เมื่ออินทรียพละท้ัง ๕ ประการ มีความสมบูรณพรอมแลว สุดทาย ตัวปญญาท่ีเกิดจากญาณทัศนะ คือ การรูแจงเห็นแจง ในรูปนามขันธ ๕ ก็จะปรากฏใหเห็นเองตามความเปนจริงตามเหตุปจจัย

๒.๓ สภาวะลักษณะของวิปสสนาญาณ

๒.๓.๑ สภาวะความรูที่อยูเหนือผัสสะและเหนือจิตสํานึก ในประเด็นน้ี ความรูระดับท่ีอยูเหนือผัสสะ (conception) ไดแก ความรูท่ีไมไดเกิดจากเขาไปสัมผัสโดยตรง ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แตเกิดจากกระบวนการการคิดหาเหตุผล เกิดขึ้นจากการสรุปภายในใจ เปนการเห็นดวยใจ๓๘ เหมือนความรูท่ีผูเจริญวิปสสนา ตองอาศัยปญญาพิจารณารูปนามวา อะไรเปนรูป อะไรเปนนาม สามารถแยกรูป แยกนามไดชัด หรือพิจารณารูชัดวา รูปก็อีกอยาง นามก็อีกอยาง ไมใชสิ่งเดียวกัน (นามรูปปริจเฉทญาณ) หรือการพิจารณาเห็นเหตุปจจัยท่ีทําใหเกิดรูปนาม (ปจจยปริคคหญาณ) และเห็นรูปนาม ตองตกอยูในอํานาจของไตรลักษณ (สัมมสนญาณ) การรูเห็นอยางน้ี ตองอาศัยสุตมยปญญาและ จินตามยปญญา มาเปนเครื่องตัดสินพิจารณาแยกแยะความจริงอยู พุทธปรัชญา ถือวาท้ัง สุตมยปญญา และจินตามยปญญา ตองอิงอาศัยกันเพ่ือใหเกิดกระบวนการความรูท่ีถูกตองได สวนความรูทางพุทธปรัชญาท่ีถือวา เปนความรูท่ีอยูเหนือจิตสํานึก คืออยูเลยขอบเขตของการคิดหาเหตุผล อยูระดับไมตองอาศัยสุตมยปญญาหรือจินตามยปญญา แตเปนความรูท่ีเหนือจิตสํานึกธรรมดา (insight) เกิดจากการลงมือปฏิบัติวิปสสนาจนเห็นญาณท่ีไมอิงอาศัยการนึกคิด เหมือนการเห็นสภาวะแหงการเกิดดับของรูปนาม (อุทยัพยญาณ) จนเกิดองคความรูท่ีเรียกวา ภาวนามยปญญา น่ันเอง

๒.๓.๒ สภาวะเห็นการเกิด - ดับ ของรูปนาม สภาวะลักษณะท่ีสําคัญ ท่ีทําใหรูวา วิปสสนาญาณเกิดขึ้นแลว น่ันคือ การปรากฏของสภาวะแหงการเกิด - ดับ สภาวะนี้เกิดจากผูเจริญภาวนาไดลงมือปฏิบัติจนเขาไปเห็นความจริงของรูปนาม หรือ กายและใจ ความจริงท่ีปรากฏน้ัน คือ การเขาไปเห็นสันตติหรือ

๓๘ จารุณี วงศละคร, ปรัชญาเบื้องตน, พิมพครั้งที่ ๓, (เชียงใหม : บี.เอส.ดี การพิมพ, ๒๕๔๘),

หนา ๑๕๕.

Page 43: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๒๘

การสืบตอของรูปนามเกิดขึ้นและดับลง เชน เมื่อผูเจริญวิปสสนา เดินจงกรม ตามรูตามดูการเคลื่อนไหวของเทาท่ีกาวยางอยางมีสติ ก็ปรากฏเปนสภาวธรรมอยางหน่ึง คือ เห็นการเคลื่อนไหวอาการยก อาการยางแตละคร้ัง ขาดเปนชวงๆ เกิดขึ้นและดับไปตอเน่ืองกันเปนลูกโซ (broken movement) เปนการเห็นสภาวธรรมทางกายเกิดและดับไป เปนตน๓๙ สภาวะเห็นการเกิดและดับไปอยางน้ี เปนญาณขั้นอุทยัพยญาณ โดยท่ัวไปตามหลักแลว สันตติของรูปนามจะมีสภาวะท่ีเกิด – ดับ ตลอดสืบเน่ืองไปเปนธรรมชาติอยูแลว แตเราไมสามารถจะมองเห็นไดดวยตาเปลาหรือการนึกคิดใดๆ เพราะโดยธรรมชาติ ตัวสันตติน้ัน มีสภาวะการเกิดดับอยางรวดเร็วมาก ไมอาจจะเห็นการปรากฏของลักษณะแทๆได ดังน้ัน ตองใชการเจริญภาวนาอยางละเอียดลออ เต็มกําลังแหงอินทรียพละ จนเกิดวิปสสนาญาณขั้นอุทยัพยญาณ เห็นการเกิดดับ และทําลายความเปนกลุมเปนกอนของสิ่งน้ันๆลงได สามารถเห็นสันตติความเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดดับสืบเน่ืองอยางชัดเจน

๒.๓.๓ สภาวะการเห็นแจงไตรลักษณ ในพุทธปรัชญาเถรวาท สภาวะไตรลักษณน้ีจะปรากฏใหเห็นได จากการที่ผูเจริญ

วิปสสนาไดเขาไปเห็น รูป – นาม ตามความเปนจริง จนเกิดวิปสสนาญาณ คือ อุทยัพยญาณขึ้น เห็นความเปลี่ยนแปลง ท่ีเกิดจากการเกิด-ดับของรูปนาม น่ันถือวา เปนอาการปรากฏของสภาวะไตรลักษณ และตัววิปสสนาญาณจะเขาไปเห็นลักษณะท่ีปรากฏน้ัน ดังน้ี

๑) จะปรากฏเปนสภาวะใหเห็นอาการท่ีมีสภาพไมเท่ียง ไมมั่นคง ไมย่ังยืน ไมต้ังอยูได โดยมีความเกิดขึ้นและเส่ือมไปในท่ีสุด จนเห็นวา รูปนามมีการเคล่ือนไหวเปลี่ยนแปลง มีความสืบเน่ืองกันไปตามเหตุปจจัย เกิดขึ้นและดับไปเปนลําดับ ไมไดเปนหน่ึงอันเดียวกัน

๒) จะปรากฏเปนสภาวะใหเห็นอาการท่ีทนอยูไมได จําตองเสื่อมสลายสิ้นไป โดนความบีบคั้นอยูเสมอ มีธรรมชาติทนไดยาก ภาวะท่ีไมสมบูรณมีความบกพรองอยูในตัว โดยเปนท่ีต้ังแหงความทุกข วิปสสนาญาณมองเห็นสรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ทุกสิ่งทุกอยางคงอยูสภาพเดิมไมได มีแตอันเสื่อมสลายไป

๓๙ เชมเย สยาดอ พระชนกาภิวงศ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ, วิปสสนาญาณกาวหนาอยางไร

(development of insight), มณฑาทิพย คุณวัฒนา แปล, (กรุงเทพมหานคร : บุญศิริการพิมพ, ๒๕๔๙), หนา ๖๕.

Page 44: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๒๙

๓) ปรากฏเปนลักษณะหรืออาการท่ีวางเปลาจากตัวตน ท่ีไมใชตัวตน จึงบังคับบัญชาไมได จะเปนไปตามท่ีใจปรารถนาก็ไมได โดยความเปนของสูญ (วางเปลา)๔๐ประจักษเห็นแจงวา รูปนามโดยเน้ือแท ไมมีสิ่งใดเปนกลุมกอน มีแตภาวะความวางเปลา ไรตัวตน

สภาวะแหงไตรลักษณ ท่ีปรากฏใหเห็นการเกิดดับจะปรากฏตอเน่ืองทุกลําดับญาณ อาจกลาวไดวา สภาวะแหงไตรลักษณเปนกระแสแหงวิปสสนาญาณ มีไตรลักษณเปนอารมณต้ังแตผานอุทยัพยญาณมาแลว เห็นไดวา เมื่อมาถึงปฏิสังขาญาณ คือญาณพิจารณาหาทางออกจากวัฏฏสงสาร จนปรากฏเห็นไตรลักษณชัดเจนขึ้นกวาญาณใดๆท่ีผานมา จนนําไปสูญาณท่ีเรียกวา สังขารุเปกขาญาณคือการวางเฉยตอรูปนามสังขาร เพราะมีไตรลักษณเปนอารมณชัดเจน

๒.๓.๔ ทัศนะตอโลกและชีวิต ในประเด็นน้ี วิปสสนาญาณท่ีเกิดขึ้นไดสะทอนอะไรออกมาแสดงตอโลกและชีวิต เมื่อไดศึกษาแลว ก็เห็นถึงสิ่งท่ีเปนปรากฏการณท่ีบังเกิดแกรูปนามวิปสสนาญาณจะเปดเผยทุกอยางท่ีถูกปดบังไวปรากฏออกมาใหเห็นเปนจริงเปนจัง และการบังเกิดญาณแตครั้ง จิตจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปสูญาณขั้นท่ีมองเห็นโลกและชีวิตตามความเปนจริง คือเห็นภาวะท่ีไมนาอยู ไมนาเอา ไมนาเปน ของรูปนามสังขาร เมื่อไดศึกษาแลว จะเห็นประเด็นของวิปสสนาญาณ ท่ีมองเห็นโลกและชีวิต ปรากฏเปนสภาวะไดดังน้ี

(๑) ทําใหมองวา ทุกสิ่งมีสภาวะท่ีเกิดขึ้น ต้ังอยูและดับไป และมองเห็นโลกและชีวิต คือ รูปนามน้ี ปรากฏใหเห็นสภาวะความดับแหงสังขาร หรือเห็นรูปนามคอยเสื่อมสลายไป เหมือน กลุมเมฆ หรือกลุมไอนํ้า ท่ีเกาะกันเปนกอนทึบ และกระจายปลิวหายไปในอากาศ๔๑

(๒) วิปสสนาญาณสามารถมองเห็นโลกและชีวิต คือ รูปนามน้ีมีแตความแตกดับ มีภัย มีแตความนากลัว โดยเปรียบความนากลัวน้ัน เหมือนการเห็น อสรพิษราย ดุจสายฟาฟาด อยูในปาชา ในสนามรบ หรือเห็นดุจหลุมถานเพลิงท่ีลุกโชติชวง เปนตน๔๒ เมื่อเห็น

๔๐พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม, หนา ๘๒.

๔๑

จําลอง ดิษยวณิช, จิตวิทยาของความดับทุกข, (เชียงใหม : กลางเวียงการพิมพ,๒๕๔๔), หนา

๑๔๖.

๔๒

พระพุทธโฆสะเถระ, คัมภีรวิสุทธิมรรค (อาจ อาสภมหาเถระ แปล), หนา ๑๐๘๑.

Page 45: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๓๐

ดังน้ันก็พิจารณาไดวา รูปนามน้ีท้ังท่ีเปนอดีตไดดับไปแลวและในปจจุบันก็กําลังดับไป หรือท่ีกําลังจะมาถึงในอนาคตก็จะดับไป เชนกัน

(๓) วิปสสนาญาณน้ัน สามารถมองเห็นโลกและชีวิต คือ รูปนามน้ี มีแตทุกขโทษ (อาทีนวญาณ) ท้ังทุกขโทษท่ีเกิดจากปฏิสนธิ ความเจ็บปวย ความชรา ความตาย ความโศกเศราพิไรรําพัน ทุกขโทษท่ีเกิดจากภพท้ังหลาย ทุกขโทษจากกรรมและผลของกรรม๔๓ เห็นแตความเลวราย ปรากฏเหมือนเปนสิ่งชั่วราย เปนท่ีประชุมของโรคภัย หาความอบอุนไมได๔๔ ท้ังทําใหเกิดญาณท่ีทําใหเกิดความเบ่ือหนาย เอือมระอา ไมอภิรมยยินดี ในรูปนามสังขารน้ี

เมื่อวิปสสนาญาณ มองเห็นโลกและชีวิตตามความเปนจริงดังกลาวมา จนจิตยกระดับใครจะใหพนจากรูปนามน้ีไปเสีย จนมีทาทีตอโลกและชีวิตใหม รูแจงชัดในรูปนามวา เปนไปตามเหตุปจจัย ไมอยูในอํานาจของใคร จนมีจิตท่ีปลอยวาง ท้ังปรากฏใหเห็นวา สังขารท้ังหลายเปนของวางเปลา คือ วางจากตัวตน๔๕ ทาทีท่ีปรากฏตอโลกและชีวิต วิปสสนาญาณทําใหมองเห็นชีวิตอีกดานหนึ่งท่ีไมอาจเห็นไดดวยตาเน้ือ เปนการมองผานปรากฏการณท่ีเลยขอบขายของสสารวัตถุ (รูปธรรม) ผานกระบวนการพิจารณาอยางละเอียดละออจนเห็นปรมัตถสภาวะของสิ่งน้ันๆตามความเปนจริง

๒.๓.๕ ทัศนะตอสังสารวัฏ ในพุทธปรัชญาเถรวาท ประเด็นเก่ียวกับสังสารวัฏ เมื่อไดศึกษาวิจัยพบวา มีญาณท่ีบงบอกถึงความรูสึกท่ีมีตอสังสารวัฏ และเห็นสังสารวัฏเปนสิ่งท่ีไมนายึดถือไว วิปสสนาญาณจะสองผานใหเห็นสิ่งตางๆในรูปนามใหปรากฏตอหนาอยางเปนจริงเปนจังจนเกิดความรูสึกตามสภาวะน้ันๆ ในภยตูปฏฐานญาณ ทานไดอธิบายถึงสภาวะท่ีปรากฏเมื่อญาณน้ันเกิดขึ้น จะเกิดแกผูปฏิบัติวิปสสนา โดยความเปนของนากลัว จะมีความรูสึกวา รูปนาม ไตรลักษณ การเวียนวายตายเกิดในภพทั้งหลาย เปนมหาภัยท่ีย่ิงกวามหาภัยใดๆ เกิดนึกสงสารตัวเองและสรรพสัตว ท่ีตองทองเท่ียววนเวียนอยูในสังสารวัฏ มีความสังเวชใหญ รูสึกถึงความท่ีภพท้ังหลาย ท้ัง ๓๑ ภูมิ ไมมีท่ีพ่ึง ไมมีท่ีซอนเรน ไมสามารถตานทานได ภพท้ัง ๓

๔๓ ปฏิสํ.อ.(บาลี) ๓๑/๑๑๕/๔๕.

๔๔พระพุทธโฆสะเถระ, คัมภีรวิสุทธิมรรค (อาจ อาสภมหาเถระ แปล), หนา ๑๐๘๔.

๔๕

เร่ืองเดียวกัน, หนา ๑๐๙๖.

Page 46: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๓๑

(กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) ปรากฏดุจอสรพิษราย ขันธ ๕ ปรากฏดุจเพชฌฆาตท่ีกําลังเง้ือดาบ อายตนะภายใน ๖ ปรากฏดุจเรือนราง อายตนะภายนอก ๖ ปรากฏดุจโจรปลน สังขารท้ังหลายปรากฏแกผูปฏิบัติ เหมือนเปนฝ เปนโรค เปนลูกศร เปนอาพาธ ปราศจากความแชมชื่น หมดรส เปนกองแหงโทษใหญ๔๖ ในสภาวะท่ีเกิดกับผูไดอาทีนวญาณ ก็มีสภาพบงบอกถึง การเห็นสังสารวัฏน้ีมีแตทุกขโทษ คือ เห็นการเกิดขึ้นของรูปนาม เปนทุกข, เห็นความเปนไปแหงสังสารวัฏเปนทุกข, เห็นสังขารนิมิต (วิเสสลักษณะและสามัญญลักษณะ) เปนทุกข, เห็นกรรมและผลของกรรม เปนทุกข ๔๗ เมื่อผานอาทีนวญาณ ก็จะปรากฏญาณท่ีเห็นความเบ่ือหนาย และความเบ่ือหนายท่ีเห็น เปนความเบ่ือหนาย ในรูปนาม และเบ่ือหนายในภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ไมอยากมาเวียนวายตายเกิดในสังสารวัฏอีกแลว จนนําไปสูญาณถัดไปท่ีใครจะพนไปจากสังขารนิมิต จากกรรมและผลกรรม จากปฏิสนธิ จากคติจากการบังเกิด จากการอุบัติ จากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ความโศก พิไรรําพัน ท่ีเปนกระบวนการแหงสังสารวัฏเสียได๔๘ ซึ่งท้ังหมดแสดงพอท่ีจะใหเห็นถึงความหมายของสังสารวัฏ วาเปนสิ่งท่ีควรตองละ ตองท้ิง ตองปลอยวาง เพ่ือใหจิตไดหลุดพนจากการยึดมั่นถือมั่นในรูปนามน้ีเพ่ือไปสูการหลุดพนไดน่ันเอง

๒.๔ กระบวนการความรูแบบวิปสสนาญาณ

๒.๔.๑ กระบวนการเกิดวิปสสนาญาณ ๒.๔.๑.๑ เกิดตามเหตุปจจัย เมื่อไดศึกษาในกระบวนการเกิดวิปสสนาญาณ เห็นชัดเจนวา การเกิดวิปสสนา

ญาณน้ัน ไมสามารถจะรูไดดวยการคาดเดาวาจะเกิดขึ้นในเวลาไหน เมื่อใด เพราะอยูเหตุปจจัยจะใหเกิด วิปสสนาญาณสามารถเกิดขึ้นอยางฉับพลันในทันทีทันใด สภาวธรรมน้ันๆ จะปรากฏใหเห็นตอหนาตอตาไดทุกขณะ วิปสสนาญาณจะมองเห็นการปรากฏชัดของการเกิด – ดับ ของรูปนามเกิดขึ้นในขณะปจจุบัน อันเกิดจากพลังแหงสติในองคธรรม (สติปฏฐาน) ท่ีแนบแนนไปกับสภาวะอารมณท่ีตามกําหนดรูน้ัน น่ันเอง ในแงหน่ึง วิปสสนาญาณจะเกิดขึ้น

๔๖ นวองคุลี, วิปสสนาญาณ, พิมพครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ ธรรมสภา,๒๕๔๘),

หนา ๑๒๑.

๔๗

ปฏิสํ.อ.(บาลี) ๓๑/๑๑๙/๔๕.

๔๘

ดูรายละเอียดใน ขุ.ปฏิ.(ไทย) ๓๑/๕๔/๘๖.

Page 47: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๓๒

ได อยูท่ีเหตุปจจัยแหงการบําเพ็ญภาวนา หรือการบมเพาะอินทรียพละ ท่ีสามารถทําใหวิปสสนาญาณเกิดขึ้นได เครื่องชี้วัดท่ีสําคัญ คือ อินทรียพละ จะเปนตัวชี้วัด การพัฒนาของการเจริญภาวนาวาจะเกิดชา หรือเกิดไดเร็ว ตามเหตุปจจัย ดังน้ัน เมื่อเหตุปจจัยพรอมบริบูรณแลว ภาวะแหงวิปสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นเองตามเหตุปจจัยเก้ือหนุนใหสําเร็จจนนําไปสูระดับแหงญาณตามลําดับ

๒.๔.๑.๒ เกิดแบบตอเน่ือง ในประเด็นน้ี กลาวถึง สภาวะแหงวิปสสนาญาณท่ีเกิดขึ้นไปตามลําดับอยางตอเน่ือง เมื่อผูเจริญวิปสสนามีสติระลึกรูตามดวยกําลังแหงอินทรียพละอยางตอเน่ืองในอิริยาบถอิริยาบถหน่ึง ก็เกิดญาณในลักษณะเกิดขึ้นตอเน่ือง กระบวนการเกิดญาณอาจเกิดขึ้นในอิริยาบถเดียว เมื่อวิปสสนาญาณเกิดขึ้นในขณะใด ทําใหการเกิดลําดับญาณเปนไปอยางตอเน่ืองไมขาดสาย ไมมีการขาดตอน ในอิริยาบถน้ันๆ หรือ เพียงอิริยาบถเดียวก็อาจเกิดญาณเกิดขึ้นอยางตอเน่ืองไดจนนําไปสูการเห็นแจง 

การเกิดแบบตอเน่ืองของวิปสสนาญาณ

ทบทวนญาณ

ตามรูปเปนสภาวะแหงการเกิดญาณตอเน่ือง นับจาก เกิดอุทยัพยญาณ จนถึงการเกิด

สัจจานุโลมิกญาณ เปนญาณสุดทายท่ีตัดสินจากความเปนปุถุชนไปสูความอริยชนได เมื่อไม

อุทยัพยญาณ

ภังคญาณ

ภยญาณ

อาทีนวญาณ

นิพพิทาญาณ

มุญจิตุกัมยตาญาณ

ปฏิสังขาญาณ

สังขารุเปกขาญาณ

สัจจานุโลมิกญาณ นิพพาน อริยบุคคล ๔ ขั้น

Page 48: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๓๓

สามารถตัดกิเลสไดขาด ตองกลับมาทบทวนญาณใหมอีก หรือเกิดการเวียนรอบแหงญาณจนกวาจะสามารถตัดกระแสแหงกิเลสหรือบรรลุมรรคผล ตอไป

๒.๔.๑.๓ เกิดแบบไมตอเน่ือง ในแงหน่ึง กระบวนการแหงวิปสสนาญาณก็อาจไมเกิดอยางตอเน่ือง ดวยเหตุ

ปจจัยบางอยางท่ีเขามาปดบังหรือก้ันกระแสแหงญาณไว บางกรณี เกิดจากกําลังแหงอินทรียพละไมแกกลาพอ หรือเกิดความไมสมดุลกันของอินทรียพละ ทําใหการเกิดของญาณไมตอเน่ือง ไมเปนไปตามลําดับขั้น จําเปนตองมีการปรับอินทรียใหเกิดความสมดุลและใหมีกําลัง สิ่งท่ีเปนอุปสรรคตอวิปสสนาญาณเสมอ เรียกวา วิปสสนูปกิเลส๔๙ เปนสภาวะท่ีทําใหผูปฏิบัติไมสามารถเกิดญาณตอไปได เพราะหลงไปติดกับอุปกิเลสเหลาน้ัน จําตองปฏิบัติใหกาวพนไปใหได ผูปฏิบัติตองใชกําลังแหงสติ เพ่ิมอินทรียพละใหมากขึ้น จนกวาจะขามวิปสสนูปกิเลสไปได เมื่อน้ันการเกิดญาณจะกลับมาอยูในทางตามลําดับตอไป

ดังรูปน้ี แสดงใหเห็นการเกิดวิปสสนูปกิเลส ในขณะท่ีจิตเกิดญาณและเขาสูอุทยัพยญาณน้ัน ดวยเหตุวิปสสนาญาณไมแกกลาพอจึงทําใหวิปสสนูปกิเลสมีกําลัง ผูปฏิบัติจําตองตามรูตามดูดวยสติสัมปชัญญะ และเรงปรับอินทรียพละใหสมดุล ก็สามารถผานวิปสสนูปกิเลสไปสูอุทยัพยญาณอยางแก ตอเน่ืองไปสูญาณในลําดับตอไป

๔๙หมายถึง อุปกิเลสแหงวิปสสนา,โทษเครื่องเศราหมองของวิปสสนาที่เกิดแกผูไดวิปสสนาออนๆ

ทําใหเขาใจผิด มี ๑๐ คือ (๑) โอภาส แสงสวาง (๒) ปติ ความอ่ิมใจ (๓) ญาณ ความรู (๔) ปสสัทธิ ความสงบกายและจิต (๕) สุข ความสบายกายและจิต (๖) อธิโมกข ความนอมใจเช่ือ (๗) ปคคาหะ ความเพียรที่พอดี (๘) อุปฏฐาน สติชัด (๙) อุเบกขา ความวางจิตเปนกลาง (๑๐) นิกันติ ความพอใจ,พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลศัพท, หนา ๒๓๒.

อุทยัพยญาณอยางออน อุทยัพยญาณอยางแก วิปสสนูปกิเลส

เพิ่ม-ปรับอินทรียพละ

Page 49: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๓๔

๒.๔.๒ กระบวนการตรวจสอบองคความรูวิปสสนาญาณ ๒.๔.๒.๑ การตรวจสอบตามนัยแหงวิสุทธิ ๗๕๐ ๑) ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแหงความเห็น เปนการเห็นนามและรูปตามความ

เปนจริง ขามพนจากความหมายรูวา เปนสัตว (สัตตสัญญา) ต้ังอยูในความไมหลง (อโมหะ) มีชื่อเรียกตามความรูวา นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณท่ี ๑ ของ โสฬสญาณ) ไดแก การรูจักรูปและ นามวา ทุกสรรพสิ่งท่ีมีอยู เปนอยู เปนเพียงรูปและ นามเทาน้ัน และสามารถกําหนดไดวา อะไรเปนรูป อะไรเปนนาม

(๒) กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแหงญาณเปนเหตุขามความสงสัย คือ ความกําหนดรูนามในรูปความเขาใจวา เกิดมาจากเหตุปจจัย หรือเปนปจจัยของกันและกัน เปนความรูท่ีทําใหสิ้นความสงสัยเก่ียวของกับกาลท้ัง ๓ สามคือ อดีต ปจจุบัน และอนาคต ตามแนว ปฏิจจสมุปบาท, กฎแหงกรรม, กระบวนการรับรูหรือวัฏฏะ ๓ ความรูท่ีไดจากการกําหนดรูน้ี เรียกวา นามรูปปจจยปริคคหญาณ (ญาณท่ี ๒ ในโสฬสญาณ) แปลวา ญาณกําหนดปจจัยของนามรูป หรือเรียกวา ธัมมัฏฐิติญาณ,ยถาภูตญาณ, สัมมาทัสสนะ เปนขั้นสมุทัยววัฏฐาน คือกําหนดสมุทัยสัจ เหตุเกิดทุกข

(๓) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแหงญาณท่ีรูเห็นวาทางหรือมิใชทาง คือพิจารณารูปและนามในหมวดธรรมไปทีละลักษณะ ใหเห็นสามัญลักษณะ เชน พิจารณาขันธ ๕ และหมวดธรรมอ่ืน ๆ จนเร่ิมมองเห็นความสิ้นไป และความเสื่อมของสังขารทั้งหลาย เรียกวา เกิดวิปสสนาญาณอยางออนๆ (ตรุณวิปสสนา) ในชวงน้ีจะเกิดวิปสสนูปกิเลส ๑๐ หากหลงไปตามน้ันก็จะผิดทาง การปฏิบัติก็ตามไปดวย แตหากใชสติสัมปชัญญะพิจารณาแยกแยะไดวา น่ันเปนทางไมใชทาง จึงเรียกวา มัคคามัคคญาณทัสนวิสุทธิ เปนญาณขั้นมัคคววัฏฐาน ขั้นกําหนดมัคคสัจ การสรางความรูในขั้นน้ี การเจริญวิปสสนาโดยนัย คือ จับเอาความหมายท่ีปรากฏในบาลี เชน รูปท้ังในอดีต ปจจุบันและอนาคต ฯลฯ ลวนไมเท่ียงเปนตน) หรือกลาปสัมมสนะ (การพิจารณาเปนหมวดๆ) ความรูท่ีเกิดขึ้นจัดเปนญาณ เรียกวา สัมมสนญาณ คือ ญาณท่ีพิจารณา (นามรูปตามหลักไตรลักษณ) เมื่อพิจารณาดวยญาณน้ี จนแกกลาจะเกิดญาณ

๕๐ ดูเพ่ิมเติมใน พระพุทธโฆสะเถระ, คัมภีรวิสุทธิมรรค (อาจ อาสภมหาเถระ แปล), หนา ๙๗๗ –

๑๑๗๓.

Page 50: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๓๕

ใหม เรียกวา อุทยัพพยญาณ (ญาณตามเห็นความเกิดขั้นและความส้ินไป) แตยังจัดเปนญาณออนๆอยู จึงยังคงตองรูใหทันวิปสสนูปกิเลส เพ่ือกําหนดแยกใหไดวาน่ันทางน่ันไมใชทาง (๔) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแหงญาณอันรูเห็นทางท่ีดําเนินโดยใจความ คือ วิปสสนาท่ีบรรลุจุดสูงสุดโดยอาศัยวิปสสนาญาณ ๙ คือ นับต้ังแตอุทยัพพยญาณ,ภังคญาณ,ภยตูปฏฐานญาณ,อาทีนวญาณ,นิพพิทาญาณ,มุญจิตุกัมยตาญาณ,ปฏิสังขาญาณ,สังขารุเปกขาญาณ,อนุโลมญาณ วิสุทธิน้ีเปนการนับจากอุทยัพพยญาณท่ีพนจากวิปสสนูกิเลส เปนตนไป จนสุดทางแหงความเปนปุถุชน๕๑

(๕) ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแหงญาณทัสสนะ คือ ความรูในมรรคญาณซึ่งเกิดตอจากโคตรภูญาณ หลังจากเกิดมรรคญาณ แลวจะเกิดผลญาณ บุคคลจะบรรลุความจริงสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาก็อาศัยวิสุทธิขอน้ี ถัดจากมรรคญาณและผลญาณน้ันไปจะเกิดญาณพิจารณาถึงมรรค ผล กิเลสท่ีละไป กิเลสท่ีเหลืออยู และพระนิพพาน ชื่อวา ปจจเวกขณญาณ อันเปนกระบวนการบรรลุขั้นหน่ึง ๆ ตามลําดับวิปสสนาญาณ ในวิสุทธิน้ีสามารถจัดเขาในปริญญา ๓ ไดดังน้ี (๑) ญาตปริญญา เปนขั้นการกําหนดรูจัก คือ รูจักสภาวะ เชน รูวา น้ีคือเวทนา เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ เปนตน ไดแก ทิฏฐวิิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ (๒) ตีรณปริญญา เปนขั้นกําหนดรูดวยการพิจารณา คือ รูดวยปญญาหย่ังเห็นสามัญลักษณะ เปนการหยั่งรูสิ่งท้ังหลายเปนไปตามกฎธรรมดา คือ ไมเท่ียง เปนทุกข เปนอนัตตา ไดแก มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (๓) ปหานปริญญา เปนการกําหนดรูถึงขั้นละได คือ รูถึงขั้นท่ีทําใหถอนความยึดติดเปนอิสระจากสิ่งเหลาน้ัน ไดแก ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ และ ญาณทัสสนวิสุทธิ

๒.๔.๒.๒ การตรวจสอบตามนัยวิปสสนาภูมิ ๖ ในการปฏิบัติวิปสสนาควรเปนไปตามลําดับขั้น โดยพิจารณาสภาวธรรมตางๆ

จนเกิดความรูแจงเห็นจริงวา สังขตธรรมท้ังปวงตางๆ ก็มีลักษณะรวม ๓ ประการคือ ความไมเท่ียง เปนทุกข (ถูกบีบคั้นจนทนอยูในสภาพเดิมตลอดไปไมได) และไมมีตัวตน จนกระท่ังเกิดความเบ่ือหนายคลายความยึดติด (อุปาทาน) จนบรรลุถึงความดับทุกขไดใน

๕๑

พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม, หนา ๓๖๓.

Page 51: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๓๖

ท่ีสุด ในคัมภีรวิสุทธิมรรค ทานเรียกขั้นตอนน้ีวา ปญญาภาวนา หรือการเจริญปญญา๕๒ ซึ่งมีภูมิธรรมสําหรับพิจารณาสั่งสมปญญา (วิปสสนาภูมิ) โดยอาศัยประเภทธรรมท้ังหลายท่ีแยกเปนขันธ อายตนะ ธาตุ อินทรีย สัจจะ ปฏิจจสมุปบาท ดังมีคําอธิบายวา “พระโยคาวจรผูมีศรัทธาประสงคจะเจริญวิปสสนาภาวนาพึงต้ังธรรม ๖ เหลาน้ีไวเปนพ้ืน” ฉะน้ัน ธรรมท้ัง ๖ เหลาน้ีจึงเปนหลักการเจริญปญญาตามวิธีวิปสสนาภาวนาโดยจะไดอธิบายถึงตอไป คือ ดังตอไปนี้

๑) พิจารณาขันธ คือ พิจารณาสวนประกอบ ๕ ประการท่ีรวมกันเขาเปนชีวิตซึ่งบัญญัติเรียกกันวา สัตว บุคคล ตัวตน เรา เขา เปนตน พิจารณาจนเขาใจวา แทท่ีจริงแลว สวนประกอบท้ังหลายน้ันตางก็ตกอยูในกฎไตรลักษณเชนกัน เบญจขันธในอภิธรรมลดเหลือเพียง จิต เจตสิก รูป วิญญาณขันธเปนจิต ดัง พระพุทธพจนวา “ธรรมชาติใดท่ีเรียกวา จิตบาง มโนบาง วิญญาณบาง การที่ปุถุชนผูมิไดเรียนรูจะพึงเบ่ือหนาย คลายความยินดีหรือหลุดพนในธรรมชาติ (จิต) น้ัน (ยอมเปนไปไมได)”๕๓ สวนเวทนาขันธ สัญญาขันธ และสังขารขันธเปนเจตสิก และรูปขันธเปนรูปและยอลงเหลือเหลือ ๒ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เปนนามขันธ และรูปเปนรูปขันธ ดังพุทธวจนท่ีวา

ภิกษุท้ังหลาย เมื่อรูปน่ีแหละมีอยู ความเห็น (ผิด) อาศัยรูป ยึดรูป จึงเกิดขึ้น อยางน้ีวา น่ันของเรา น่ันเปน ตัวของเรา เมื่อเวทนา...เมื่อสัญญา...เมื่อสังขาร...เมื่อวิญญาณมีอยู ความเห็น (ผิด) อาศัยเวทนา..สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ยึดเวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ จึงเกิดขึ้นอยางน้ีวาน่ันของเรา เราเปนน่ัน น่ันเปนตัวของเรา ๕๔ ฉะน้ัน ความไมรู (อวิชชา) เริ่มจากขันธ ๕ ท้ังสิ้น กลาวคือ ความยึดมั่น ถือมั่น

จะตองเริ่มจากขันธ ๕ เพราะสิ่งเหลาน้ันเปนเหตุแหงความยึดถือวาเปนตัวตน และความรู (ปญญา) ท่ีถูกตองเริ่มจากการพิจารณาขันธ ๕ โดยพิจารณารูปใหเห็นความไมงาม ยอมละความยึดมั่นในกาม (กามุปาทาน) เห็นเวทนา โดยความเปนทุกขยอมละความเห็นผิดวาเปน

๕๒ ดูรายละเอียดใน วิสุทธิ.(บาลี) ๓/๑-๒๐๕ .

๕๓

ดูรายละเอียดใน สํ.นิ.(ไทย) ๑๖/๖๑/๑๑๕.

๕๔

ดูรายละเอียดใน วิสุทธิ.(บาลี) ๓/๑๑๘.

Page 52: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๓๗

สุขในสิ่งท่ีเปนทุกขเสียได (สีลัพพตุปาทาน ความยึดถือเปนขอปฏิบัติ) เห็นสัญญาและสังขารโดยความไมมีตัวตน (อนัตตา) ยอมพนจากความยึดมั่นถือมั่น (อัตตานุปาทาน ความยึดมั่นวาเปนตัวตน) และเห็นวิญญาณโดยความไมเท่ียง๕๕

๒) พิจารณาอายตนะ คือ พิจารณาแดนเกิด หรือ จุดเชื่อมตอใหเกิดการรับรู เปนแดนตอใหเกิดความรู หรือแหลงของความรู การรับรูทุกอยางจึงอาศัยอายตนะเปนบอเกิดท้ังสิ้น โดยแบงเปน ๒ กลุมใหญ ๆ คือ ๑) อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เปนชองทาง (ทวาร) ในการรับรูอารมณคืออายตนะภายนอก ๒) อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ เปนสิ่งท่ีถูกกระทบ ทางอายตนะภายใน๕๖ ความรูอาศัย รูป เสียง กลิ่น รส และธรรมารมณกับอายตนะท้ังหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเทาน้ัน จิตหรือความคิดเกิดจากปรากฏการณระหวางสองสิ่งน้ี โดยอธิบายวา เมื่อรูปมากระทบอวัยวะรับสัมผัส คือ ตา จึงเกิดความรูสึกขึ้น เรียกวา วิญญาณ ถัดจากวิญญาณไป ก็เกิดจิตขึ้น จิตแสดงอาการสามประการคือ ๑) การทรงจําและระลึกความทรงจําท่ีเรียกวา สัญญา

๒) การปรุงแตงมโนภาพขึ้นในจิตท่ีเรียกวา สังขาร ๓) การรูสึกชัง หรือชอบ ซึ่งเรียกวา เวทนา ผลสุดทายคือการหมกมุนในเวทนาอยางใดอยางหน่ึงท่ีเรียกเจตสิก หรือจิตเสวย

อารมณ

๓) พิจารณาธาตุ ธาตุ คือ สิ่งท่ีทรงสภาวะของตนอยูเอง ตามท่ีเหตุปจจัยท่ีปรุงแตงขึ้น เปนไปตามธรรมชาติ ไมมีผูสรางผูบันดาล มีรูปลักษณ อาการ และหนาท่ีเปนแบบเฉพาะตัว เปนไปตามแหงปจจัยปรุงแตง มีลักษณะกิจอาการเปนแบบจําเพาะตัว มีขอนาสังเกตวา ธาตุไมมีตัวตน (อนัตตา) ธาตุ คือ เปนท่ีทรงไว ต้ังไวซึ่งสภาวะของตน กลาวคือ เปนท่ีทรงไวแหงทุกข (สังสารทุกข หรือทุกขในสังสารวัฏ) มี ๑๘ อยาง คือ ๑) จักขุธาตุ ธาตุคือจักขุปสาท

๕๕ดูรายละเอียดใน วิสุทธิ.(บาลี) ๓/๑๑-๖๐.

๕๖ดูรายละเอียดใน วิสุทธิ. (บาลี) ๓/๖๐-๖๔.

Page 53: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๓๘

๒) รูปธาตุ ธาตุคือรูปารมณ ๓) จักขุวิญญาณธาตุ ธาตุคือจักขุวิญญาณ ๔) โสตธาตุ ธาตุคือโสตปสาท ๕) สัททธาตุ ธาตุคือเสียง ๖) โสตวิญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ ๗) ฆานธาตุ ธาตุคือฆานปสาท ๘) คันธธาตุ ธาตุคือคันธารมณ ๙) ฆานวิญญาณธาตุ ธาตุคือฆานวิญญาณ ๑๐) ชิวหาธาตุ ธาตุคือชิวหาปสาท ๑๑) รสธาตุ ธาตุคือรสารมณ ๑๒) ชิวหาวิญญาณธาตุ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ ๑๓) กายธาตุ ธาตุคือกายปสาท ๑๔) โผฏฐัพพธาตุ ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ ๑๕) กายวิญญาณธาตุ ธาตุคือกายวิญญาณ ๑๖) มโนธาตุ ธาตุคือมโน ๑๗) ธรรมาธาตุ ธาตุคือมโน ๑๘) มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือมโนวิญญาณ ในธาตุเหลาน้ัน ธาตุท่ีถือวาเปนเหตุมากระทบกันเขาจึงทําใหเกิดผลขึ้น ยกเวนมโนธาตุท่ีเปนท้ังตัวนําและตัวตามอารมณขางตนน้ันไปพรอมๆกันดวย สวนธรรมธาตุ อันประกอบดวยเวทนา สัญญา สังขาร เปนตัวชักนําไปใหติดอยูในอารมณ ไมสามารถหลุดพนไปได สวนมโนวิญญาณธาตุ เปนตัวชักนําไปนําอารมณตาง ๆ ดวยอํานาจกิเลส คือ โลภะ (ความอยากได) โทสะ (ความโกรธ) เปนตน ๕๗ ๔) พิจารณาอินทรีย อินทรีย คือ สิ่งท่ีเปนใหญในการทํากิจของตน คือ ทําใหธรรมอื่นๆท่ีเก่ียวของเปนไปคลอยตามตนในกิจน้ันๆ ในขณะท่ีเปนไปอยู อินทรีย มี ๒๒ ประการคือ

๑) จักขุนทรีย อินทรียคือจักษุประสาทหรอืตา ๒) โสตินทรีย อินทรียคือโสตประสาทหรือหู

๕๗ดูรายละเอียดใน วิสุทธิ.(บาลี) ๓/๖๕-๗๒.

Page 54: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๓๙

๓) ฆานินทรีย อินทรียคือฆานะประสาทหรือจมูก ๔) ชิวหินทรีย อินทรียคือชิวหาประสาทหรือลิ้น ๕) กายินทรีย อินทรียคือกายประสาทหรือกาย ๖) มนินทรีย อินทรียคือมโนประสาทหรือใจ ๗) อิตถินทรีย อินทรียคือความเปนหญิง ๘) ปุริสินทรีย อินทรียคือความเปนชาย ๙) ชีวิตินทรีย อินทรียคือชีวิต ๑๐) สุขินทรีย อินทรียคือสุขเวทนา ๑๑) ทุกขินทรีย อินทรียคือทุกขเวทนา ๑๒) โสมนัสสินทรีย อินทรียคือโสมนัสสเวทนา ๑๓) โทมนัสสินทรีย อินทรียคือโทมนัสสเวทนา ๑๔) อุเบกขินทรีย อินทรียคืออุเบกขาเวทนา ๑๕) สิทธินทรีย อินทรียคือศรัทธาหรือความเชื่อ ๑๖) วิริยินทรีย อินทรียคอืวิริยะหรือความเพียร ๑๗) สตินทรีย อินทรียคือสติหรือความระลึกรู ๑๘) สมาธินทรีย อินทรียคือสมาธิหรือความต้ังใจมั่นแหงจิต ๑๙) ปญญินทรีย อินทรียคือปญญา ๒๐) อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย ไดแก โสดาปตติมัคคญาณ เปนอินทรียแหงผู

ปฏิบัติดวยมุงวา เราจักรูสัจธรรมท่ียังมิไดรู ๒๑) อัญญินทรีย อินทรีย คือ ปญญาอันรูท่ัวถึง ไดแก ญาณในทามกลาง คือ (ก) โสดาปตติญาณ (ข) สกทาคามิคามิมัคคญาณ, สกทาคามีผลญาณ (ค) อนาคามิมัคคญาณ, อนาคามิผลญาณ (ง) อรหัตตมัคคญาณ ๒๒) อัญญาตาวินทรีย ไดแก อรหันตตผลญาณ๕๘

๕๘ดูรายละเอียดใน วิสุทธิ.(บาลี) ๓/๗๒-๗๖.

Page 55: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๔๐

ฉะน้ัน การรับรูท่ัวๆ ไปจึงตองอาศัยอินทรียเปนเครื่องวัดความแจมชัดในอารมณท่ีรับรูน้ัน โดยอินทรียท่ีชัดรวมกับการรับรู (วิญญาณ) ท่ีชัดเจน ยอมสรางความรูชัดเจนขึ้นได และอินทรียเหลาน้ีลวนมีอิทธิพลตอการรับรูในระดับชั้นท่ีสูงๆ ขึ้นไปจนถึงความจริงสูงสุด

๕) พิจารณาอริยสัจ อริยสัจ คือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการไดแก๕๙ (๑) ทุกข หรือความทุกข คือ สภาพท่ีทนไดยาก, สภาวะท่ีบีบคั้น ขัดแยง บกพรอง ขาดแกนสารและความเท่ียงแท ไมใหความพึงพอใจท่ีแทจริง ไดแก ชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศราโศก) ปริเทวะ (ความรํ่าไรรําพัน) ทุกข (ความไมสบายกาย) โทมนัส (ความไมสบายใจ) อุปายาส (ความคับแคนใจ) การประจวบกันกับสิ่งอันไมเปนท่ีรัก การพลัดพรากจากสิ่งท่ีรัก การต้ังปรารถนาแลวไมสมหวัง แตเมื่อวาโดยยอแลว อุปาทานขันธ ๕ เปนทุกข เห็นไดวา พุทธปรัชญาเถรวาทมีความเชื่อวา ชีวิตของมนุษยปุถุชน ทุกรูปทุกนามถูกครอบงําดวยความทุกขนานาประการ ตามบีบคั้นอยูทุกขณะ ทุกขท่ีตามบีบคั้นชีวิตมนุษยท้ังหลายมีมากมาย มีท้ังความทุกขทางกาย ความทุกขทางใจ สภาวะแหงความทุกขตางๆ เหลาน้ีเองท่ีเปนสาเหตุใหจิตใจของมนุษยไมเปนอิสระ ไมปลอดโปรง มีความเรารอน มีความกระวนกระวาย มีความคับแคนใจนานาประการ ดังน้ัน ความทุกขจึงเปนความจริงพ้ืนฐานแหงชีวิตปุถุชน ฝายพุทธปรัชญาเถรวาทเรียกวา ทุกขสัจ บัญญัติไวในหลักอริยสัจ ๔ เก่ียวกับชีวิตมนุษยไวท้ังหมดวา เปนทุกข (๒) ทุกขสมุทัย เหตุเกิดแหงทุกข คือ สาเหตุใหทุกขเกิด ไดแก ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม, ความอยากไดกามคุณ หรือสิ่งสนองความตองการทางประสาทสัมผัสท้ังหา), ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ, ความอยากในภาวะของตัวตนท่ีจะได จะเปนอยางใดอยางหน่ึง อยากเปนอยากคงอยูในภาวะเชนน้ันตลอดไป) และ วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ ความอยากในตัวตน พรากพนไปจากภาวะท่ีไมนาปรารถนาอยางใดอยางหน่ึง ความอยากทําลาย อยากใหดับสูญ) (๓) ทุกขนิโรธ ความดับทุกข ไดแก ภาวะท่ีตัณหาดับสิ้นไป ภาวะท่ีเขาถึงเมื่อกําจัดอวิชชา สํารอกตัณหาสิ้นแลว เปนอิสระหลุดพน สงบ ปรอดโปรง ไมติดของ คือนิพพาน

๕๙ดูรายละเอียดใน วิสุทธิ.(บาลี) ๓/๗๖-๑๐๖.

Page 56: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๔๑

(๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ขอปฏิบัติท่ีนําใหเกิดความดับทุกข ไดแก ทางสายกลาง หรือ อริยมรรคมีองค ๘ ประการ ซึ่งสรุปลงในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา (สมาธิ) และอธิปญญาสกิขา

๖) พิจารณาปฎิจจสมุปบาท คือ พิจารณาการท่ีสิ่งท้ังหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ไมไดดํารงอยูโดยตัวมันเอง ดังความในคัมภีรวิสุทธิมรรค วา “กลุมปจจัยอาศัยกันและกัน(เปนเหตุรวม) ยังธรรมท้ังหลาย (ท่ีเปนผลของตน) ใหเกิดขึ้น เสมอกันและดวยกัน”๖๐ การพิจารณาใหเห็นความเก่ียวเน่ืองท่ีสัมพันธกันขององคธรรมท้ัง ๑๒ ขอตอไปนี้

(๑) อวิชชา ความไมรูในอริยสัจสี่ (๒) สังขาร สภาพท่ีปรุงแตงลักษณะ (ปรุงแตงใหดี ปรุงแตงใหเลว และปรุงแตงใหเปนกลางๆ)

(๓) วิญญาณ ความรูแจงอารมณ ๖ ประการ เชน จักษุวิญญาณ เปนตน (๔) นามรูป นาม (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ) และรูป (กาย) (๕) สฬายตนะ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (๖) ผัสสะ ความกระทบไดแกสัมผัส ๖ เชน จักษุสัมผัส เปนตน (๗) เวทนา ความเสวยอารมณ ไดแก เวทนา ๖ เชน เวทนาท่ีเกิดจากจักษุสัมผัส

เปนตน (๘) ตัณหา ความทะยานอยาก ไดแก ตัณหา ๖ เชน ตัณหาในรูป เปนตน (๙) อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น ไดแก อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน (ความยึด

มั่นในกามคุณ) ทิฏุปาทาน (ความยึดมั่นในทฤษฏี หรือลัทธิความเห็นตางๆ) ลีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลพรต) และอัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะวาตัวตน)

(๑๐) ภพ ภาวะแหงชีวิต ไดแก ภพ ๓ คือกามภพ (ภพท่ีเปนกามาวจร) รูปภพ (ภพท่ีเปนรูปาวจร) และอรูปภพ (ภพท่ีเปนอรูปาวจร)

(๑๑) ชาติ ความ เกิด ไดแก การท่ีชีวิตเกิดอุบัติขึ้นมา (๑๒) ชรามรณะ พรอมท้ัง โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส และอุปายาส๖๑

๖๐ พระพุทธโฆสเถระ, คัมภีรวิสุทธิมรรค (อาจ อาสภะ แปล), หนา ๘๔๖.

๖๑

ดูรายละเอียดใน วิสุทธิ.(บาลี) ๓/๑๐๗-๒๐๕.

Page 57: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๔๒

การพิจารณาปฏิจจสมุปบาทใหรูแจงเห็นจริงถึงความเปนเหตุเปนผลแหงองคธรรมตางๆท่ีเปนปจจัยตอเน่ืองกันตามลําดับ จนเห็นการท่ีองคธรรมเหลาน้ันหมุนเวียนเปนวงจร ไมมีตน ไมมีปลาย จนกระท่ังเห็นอยางแจมแจงวา ทุกขเกิดมีไดก็เพราะองคธรรมยังเปนไปอยู และทุกขจะดับไปไดดวยการท่ีองคธรรมตางๆ ดับไปอยางเด็ดขาดน่ันเอง

๒.๕ จุดมุงหมายของการบรรลุวิปสสนาญาณ

๒.๕.๑ เพื่อพัฒนาจิตสูอริยภาวะ การพัฒนาจิตไปสูความเปนอริยภาวะ หมายถึง การพัฒนาจิตตามลําดับขั้นแหง

วิปสสนาญาณท่ีไดบรรลุถึง สามารถยกจิตของตนเกิดความบริสุทธิ์ละอนุสัยกิเลสหรือสังโยชนไดตามลําดับขั้นจากขั้นท่ีละไดบางสวน จนถึง การละไดท้ังหมด ในพุทธปรัชญา เถรวาท อริยบุคคลคือผูท่ีบรรลุธรรมชั้นสูงต้ังแตโสดาปตติมรรคขึ้นไปถึงอรหัตตผล ทานจะกําหนดจากระดับของกิเลสท่ีเหลืออยูในจิตและระดับคุณภาพของจิต ท่ีสามารถเขาถึงกระบวนการในลําดับของวิปสสนาญาณ แตละระดับดังน้ี

๑) จิตของอริยบุคคลระดับโสดาบันภาวะ ผูท่ีจะสามารถขามพนโคตรปุถุชน ไปสูอริยชน ตองรูแจงแทงตลอดในระดับแหงญาณ ต้ังแตอุทยัพยญาณ จนถึง สัจจานุโลมิกญาณ จนผานโคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ถือนิพพานเปนอารมณ พิจารณากิเลสท่ีละไดแลวและกิเลสที่ยังเหลืออยู เกิดมรรคญาณครั้งท่ี ๑ จะสามารถ ละสังโยชน ๓ เบ้ืองตน คือ สักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสไดเด็ดขาด (กําจัดทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัยได) อันเปนสังโยชนเบ้ืองตํ่าได๖๒ จิตมีความสะอาดในระดับหน่ึง แตยังไมสามารถลดแรงของราคะ โทสะ และโมหะไดมากนัก พระอริยบุคคลผูไดบรรลุโสดาปตติผลน้ัน เปนภาวะท่ีตัดอนุสัยกิเลสไดบางสวนทําใหตองวนเวียนตอในสังสารวัฏน้ีอีก โดยแบงตามประเภท ดังน้ี

(๑) เอกพีชี คือผูท่ีผานวิปสสนาญาณตามลําดับ และยกจิตพิจารณามรรค ผล นิพพาน สามารถละสังโยชนเบ้ืองตน ๓ ได และลดกระแสกิเลสไดมาก จึงตองเกิดอีกเพียงครั้งเดียว

(๒) โกลังโกละ คือผูท่ีผานวิปสสนาญาณตามลําดับ และยกจิตพิจารณามรรค ผล นิพพาน สามารถละสังโยชนเบ้ืองตน ๓ ได และลดกระแสกิเลสพอประมาณ จะตองมาเกิดอีก ๒ – ๓ ครั้ง

๖๒ พระธรรมปฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท, หนา ๓๕๒.

Page 58: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๔๓

(๓) สัตตักขัตตุปรมะ คือผูท่ีผานวิปสสนาญาณตามลําดับ และยกจิตพิจารณามรรค ผล นิพพาน สามารถละสังโยชนเบ้ืองตน ๓ ได และลดกระแสกิเลสไดเบาบาง เพราะบารมีธรรมยังไมมากพอ จะตองมาเกิดอีก ๗ ครั้งเปนอยางมาก๖๓

๒) จิตของอริยบุคคลระดับพระสกทาคามีภาวะ ผูท่ีผานการทวนญาณ จนรูแจงแทงตลอดในระดับแหงวิปสสนาญาณ ต้ังแตอุทยัพยญาณ จนถึง สัจจานุโลมิกญาณ จนผานโคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ถือนิพพานเปนอารมณ พิจารณากิเลสท่ีละไดแลวและกิเลสท่ียังเหลืออยู จนเกิดมรรคญาณครั้งท่ี ๒ สามารถละสังโยชน ๓ เ บ้ืองตน คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสไดเด็ดขาด พรอมสามารถลดแรงของราคะ โทสะ โมหะไดมากกวาโสดาบัน สามารถกําจัดกามราคานุสัย และปฏิฆานุสัยสวนหยาบๆได จิตสะอาดมากขึ้น แตยังไมสะอาดหมดจดถึงท่ีสดุ๖๔

๓) จิตของอริยบุคคลระดับพระอนาคามีภาวะ ผูท่ีผานการทวนญาณ สามารถรูแจงแทงตลอดในระดับแหงญาณ ต้ังแตอุทยัพยญาณ จนถึง สัจจานุโลมิกญาณ จนผานโคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ถือนิพพานเปนอารมณ พิจารณากิเลสท่ีละไดแลวและกิเลสท่ียังเหลืออยู จนเกิดมรรคญาณครั้งท่ี ๓ สามารถละสังโยชน ๓ และละเพ่ิมอีก ๒ อยางคือ กามราคะและปฏิฆะ (ความขัดเคือง) สามารถกําจัดกามราคานุสัย และปฏิฆานุสัยสวนท่ีละเอียดได๖๕ จิตมีความสะอาดมากขึ้น มีความสะอาดมากวาพระสกทาคามี แตยังไมหมดจดถึงท่ีสุดแลว ๔) จิตของพระอริยบุคคลระดับพระอรหันตภาวะ ผูสามารถผานการทวนญาณ สามารถรูแจงแทงตลอดในระดับแหงญาณ ต้ังแตอุทยัพยญาณ จนถึง สัจจานุโลมิกญาณ จนพิจารณามรรค ผล นิพพาน กิเลสท่ีละไดแลวและกิเลสท่ียังเหลืออยู จนเกิดมรรคญาณ ครั้งท่ี ๔ สามารถละสังโยชนท่ีเหลืออกี ๕ อยาง คือ รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุจธัจจะ และอวิชชา สามารถกําจัดมานานุสัย,ภวราคานุสัยและอวิชชานุสัยใหเด็ดขาด ถือเปนผูมีจิตท่ีหางไกล สะอาดบริสุทธิ์ หมดจดถึงท่ีสุด มีคําอธิบายเพิ่มเติมวา เปนจิตท่ีมีความเปนอิสระ คือความหลุดพนจากอาสวะทั้งหลาย๖๖ ไมมีความหวาดเสียว ไมสะดุง ไมสะทาน ไม

๖๓ ดูรายละเอียดใน องฺ. ติก. (ไทย) ๒๐/๘๘/๓๑๕, อภิ.ปุ. (ไทย) ๓๖/๓๑/๑๕๔, อภิ.ปุ (ไทย) ๓๖/๓๒/๑๕๔, อภิ.ปุ. (ไทย) ๓๖/๓๓/๑๔๕.

๖๔ ดูรายละเอียดใน องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๘/๓๑๕. ๖๕ ดูรายละเอียดใน ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๑๘/๓๐๗, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๘/๓๑๖.

๖๖

ดูรายละเอียดใน ที.ม.(ไทย) ๑๐/๗๗/๔๓.

Page 59: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๔๔

หว่ันไหว๖๗ มีความหนักแนนเหมือนภูเขาหินใหญ มีสภาพเหมือนแผนดินท่ีไมวาใครท้ิงของสะอาดหรือไมสะอาดลงไปก็รองรับไดโดยไมขัดเคือง๖๘ ตลอดเวลามีความผองใส เยือกเย็น อิ่มเอิบ และมีแตความสุข จิตของพระอรหันตถือวาเปนจิตท่ีสมบูรณท่ีสุด

๒.๕.๒ เพื่อความหลุดพนจากทุกข ในพุทธปรัชญาเถรวาท ถือวา การหลุดพนจากทุกข ก็คือ การหลุดพนจากการยึด

มั่นถือมั่นในกายในใจน้ี หรือละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ ๕ คือ รูปนามน้ีได วิปสสนาญาณจึงเปนปจจัยสําคัญในการทําใหสามารถเห็นแจงทุกขในรูปนาม ดังน้ัน ทุกขท่ีวิปสสนาญาณเขาไปเห็นคือ สภาวะทุกขในไตรลักษณ และทุกขในอริยสัจ ๔ เมื่อศึกษาจะเห็นไดวา อริยสัจ ๔ เปนเปาหมายเบ้ืองหนาของวิปสสนาญาณ ท่ีสามารถทําผูปฏิบัติขามพนจากโคตรปุถุชน ไปสูโคตรอริยชนได คือ ตองอาศัยญาณท่ีเขาไปพิจารณารูปนาม โดยความเปนอริยสัจ ๔ ซึ่งปรากฏชัดใน สังขารุเปกขาญาณ ท่ีเห็นอริยสัจเปนเบ้ืองหนา และ สัจจานุโลมิกญาณ มีการอนุโลมแก วิปสสนาญาณท้ัง ๘ เปนเบ้ืองตน และมีการคลอยตาม โพธิปกขิยธรรม ๓๗ หรือมรรคสัจจะ ในสวนเบ้ืองปลาย๖๙ ดังน้ัน การคลอยตามโพธิปกขิยธรรม ๓๗ หรือมรรคสัจ ก็คือ การมองเห็นหนทางไปสูการดับทุกขในอริยสัจ ๔ น่ันเอง สอดคลองกับดังพุทธวจนท่ีวา

ภิกษุท้ังหลาย เรากลาวความสิ้นไปแหงอาสวะท้ังหลาย วามีได สําหรับผูรูผูเห็นอยูเทาน้ัน หาไดกลาววา มีไดสําหรับผูไมรูไมเห็นอยู ในกรณีน้ี สําหรับผูรูผูเห็นอยูซึ่งสัจจะวา ทุกขเปนอยางน้ี เหตุใหเกิดทุกขเปนอยางน้ี ความดับทุกขเปนอยางน้ี และขอปฏิบัติใหถึงความดับทุกขเปนอยางน้ี๗๐ ดังน้ัน การเห็นอริยสัจในวิปสสนาญาณจึงเปนหัวใจสําคัญของการดับทุกขในรูป

นามน้ี โดยผานกระบวนการแหงญาณ นับจากการเห็นอริยสัจครั้งแรกคือ สังขารุเปกขาญาณ จนเห็นแจงในอริยสัจท้ังหมด คือ สัจจานุโลมิกญาณ

๖๗ ดูรายละเอียดใน อง.จตุกฺก.(ไทย) ๒๑/๑๑๘/๑๓๗.

๖๘

ดูรายละเอียดใน อง.ฉกฺก.(ไทย) ๒๒/๕๕/๕๓๘-๕๓๙.

๖๙

ดูรายละเอียดใน พระพุทธโฆสเถระ, คัมภีรวิสุทธิมรรค (อาจ อาสภมหาเถระ แปล), หนา

๑๑๒๖ – ๑๑๒๗.

๗๐

สํ.มหา.(ไทย) ๑๙/๑๐๙๕/๖๐๘.

Page 60: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๔๕

๒.๕.๓ เพื่อการบรรลุพระนิพพาน จุดมุงหมายท่ีสําคัญของการเจริญวิปสสนา คือ การมีญาณหยั่งรูแจงเห็นจริง จน

สามารถละความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนไดอยางเด็ดขาด จึงชื่อวา บรรลุถึงนิพพาน ดังน้ัน นิพพาน เปนเปาหมายท่ีวิปสสนาญาณตองเขาไปถึง และถือเปนอารมณ ดังปรากฏในวิสุทธิมรรค วา อนุโลมญาณสามารถกําจัดกิเลสท่ีปดบังอริยสัจออกไปได แตไมมีนิพพานเปนอารมณ ในโคตรภูญาณ จิตสามารถนอมอารมณไปสูนิพพานได แตไมสามารถทําลายกิเลสได เมื่อโคตรภูญาณเกิดขึ้นทําหนาท่ีของตนหมดแลวก็ดับไป ญาณ ในโลกุตตระ คือ มรรคญาณ ผลญาณโดยมีนิพพานเปนอารมณก็เกิดขึ้นติดตอกันไป อุปมาเหมือน บุรุษจะขามคลองนํ้า ว่ิงมาดวยกําลังแรงจับเถาไมท่ีผูกติดอยูกับตนไม แลวเหวี่ยงตัวใหขามไปถึงอีกฝงหน่ึง แลวปลอยเถาไมเสีย แลวมาต้ังตัวใหเปนปกติก็สบาย รูสึกวาตัวเองไดขามพนคลองน้ําสําเร็จแลว การปลอยเถาไมน้ันก็คือ ตัดเชื้อชาติปุถุชนไปสูอริยชน ไปสูฝงคือพระนิพพาน๗๑ จึงเห็นไดวา มรรคญาณ ผลญาณ ท่ีเกิดตามมาก็มีนิพพานเปนอารมณ พรอมกับการเกิดวิโมกข ๓ อยาง คือภาวะท่ีไมรับรูอารมณภายในและอารมณภายนอกท่ีเปนสังขตธรรม รูแตเพียงนิพพานอารมณเดียว อยางใดอยางหน่ึง ไดแก

(๑) อนิมิตตวิโมกข ผูหนักในศรัทธา เห็นสังขารธรรมเปนอนิจจัง (อนิจจา นุปสสนา) และเห็นนิพพานเปนอนิมิตตสภาวะ

(๒) อัปปณิหิตวิโมกข ผูหนักในสมาธิ จะเห็นสังขารธรรมเปนทุกข (ทุกขานุปสสนา) และเห็นนิพพานเปนอัปปณิหิตสภาวะ(ไมมีท่ีต้ังแหงตัณหา)

(๓) สุญญตวิโมกข หมายถึง ผูหนักในทางปญญา จะเห็นสังขารธรรมท้ังหลายเปนอนัตตา (อนัตตานุปสสนา) และเห็นนิพพานเปนสุญญตา (ความวางเปลา)๗๒

๗๑ พระพุทธโฆสเถระ, คัมภีรวิสุทธิมรรค (อาจ อาสภมหาเถระ แปล), หนา ๑๑๓๒ – ๑๑๓๓.

๗๒

ดูรายละเอียดใน พระพุทธโฆสเถระ, คัมภีรวิสุทธิมรรค (อาจ อาสภมหาเถระ แปล), หนา

๑๑๒๔ – ๑๑๒๕.

Page 61: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๔๖

(กําหนด รูกาย รูเวทนา รูจติ รูธรรม) = (อินทรียสังวร) (อินทรียพละ=มุงม่ันกําจัดอกุศล,เพียรระวังอกศุลเกิด, การระลึกรู คุมครองจิตกั้นอกุศล,การตัง้ม่ันไมซัดสายไปสูอกุศล,ความรูชัด กําจัดอวิชชา) หลักไตรสิกขา (ศีล,สมาธิ,ปญญา)

มีนิพพานเปนอารมณ

เมื่อไดศึกษาวิจัยทําใหทราบถึงบาทฐานเบ้ืองตนของการเกิดขึ้นของวิปสสนาญาณท่ีเกิดจากการอาศัยรูปนามขันธ ๕ และกระบวนการรับรูท่ีอาศัยอายตนะท่ีรูสึกผานกายและจิตใจ องคธรรมสําคัญเชน สติปฏฐาน ๔ อินทรียพละ ไตรสิกขา เปนตน เปนเครื่องชวยพัฒนาและกระตุนใหการเกิดวิปสสนาญาณ มองเห็นความจริงท่ีเกิดขึ้นในรูปนามได ในท่ีน้ีไดถือเอาตามกระบวนการแหงวิปสสนาญาณ ๙ สามารถเห็นสภาวธรรมสําคัญ ท่ีทําใหทราบเขาใจได เห็นไดวาพุทธปรัชญาใหความสําคัญตอสภาวะท่ีเกิดขึ้นอยางมาก สภาวะดังกลาวเกิดจากภาวนามยปญญาโดยตรง ไมใชเกิดขึ้นจากการฟง การคิดหรือการอนุมานแตอยางใด คือเห็นประจักขโดยตรงจากประสบการณจริง เริ่มจากเห็นการเกิดและดับของรูปนาม นับต้ังแต

รูปนาม ขันธ ๕ อายตนะ

บาทฐานวิปสสนาญาณ

-สติปฏฐาน ๔ -ไตรสิกขา -อินทรียพละ

กระบวนการตามองคธรรม

-วิปสสนาญาณ ๙ อุทยัพยญาณ ภังคานุปสสนาญาณ ภยตูปฏฐานญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ

-โสดาบันภาวะ -สกทาคามีภาวะ -อนาคามีภาวะ -อรหันตะภาวะ

โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ปจจเวกขณญาณ

Page 62: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๔๗

อุทยัพยญาณเบ้ืองปลาย มาจนถึงสัจจานุโลมิกญาณ จนนําไปสูการหลุดพนจากปุถุชนไปสูอริยบุคคลขั้นตางๆ และสภาวธรรมที่ใหความจริงแทน้ัน ปรากฏสภาวะไตรลักษณเกิดขึ้นตลอดเวลา ถือไดวา สภาวะท่ีปรากฏน้ัน เปนความรูท่ีเกิดขึ้นจากวิปสสนาญาณโดยตรง

Page 63: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

บทที่ ๓

แนวคิด เรื่อง อัชฌัตติกญาณของโอโช การศึกษาวิจัยในเรื่อง การศึกษาวิเคราะหเปรียบเทียบวิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท กับ อัชฌัตติกญาณของโอโช ในบทท่ี ๓ ผูวิจัยไดศึกษาแนวคิดอัชฌัตติกญาณของโอโช ๕ ประเด็นหลัก ไดแก

๓.๑ ความหมายของอัชฌัตติกญาณ ๓.๒ บอเกิดของอชัฌัตติกญาณ ๓.๓ สภาวะลักษณะของ อัชฌัตติกญาณ ๓.๔ กระบวนการความรูแบบอัชฌัตติกญาณ ๓.๕ จุดมุงหมายการบรรลุอัชฌัตติกญาณ

๓.๑ ความหมายอัชฌัตติกญาณ

๓.๑.๑ ความหมายตามรูปศัพท ในพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานใหความหมายไววา อัชฌัตติกญาณ

(Intuition) มาจากคําวา อัชฌัตติกะ แปลวา ภายใน,เฉพาะตัว,สวนตัว๑ คําวา ญาณ แปลวา ปรีชาหย่ังรูหรือกําหนดรูท่ีเกิดจากอํานาจสมาธิ,ความสามารถหย่ังรูเปนพิเศษ๒ รวมความแลวหมายถึง การหย่ังรูภายในหรือการหยั่งรูโดยตรงดวยจิตใจ น่ันคือ การท่ีจิตเกิดความรูแจมแจงชัดเจนโดยตรง ไมตองอาศัยการอางเหตุผลหรือความรูอันเปนตัวกลางใดๆ๓

๑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน, (กรุงเทพมหานคร : นามมีบุคสพับลิเคช่ัน. ๒๕๔๒) , หนา ๑๓๔๙.

๒ เร่ืองเดียวกัน, หนา ๓๙๐.

๓ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพทปรัชญาอังกฤษ-ไทย, พิมพครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : เท็กซ แอนด เจอรนัล พับลิเคช่ัน จํากัด. ๒๕๔๓), หนา ๕๑.

Page 64: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๔๙

กีรติ บุญเจือ ไดใหความหมายศัพท วา อัชฌัตติกญาณ (อัชฌัตติกะ=ภายใน+ญาณ=สมรรถภาพรู) แปลจากศัพทภาษาอังกฤษวา Intuition (intueri=มอง) หมายถึง การรูโดยตรงหรือการหยั่งรูน่ันเอง๔

๓.๑.๒ ความหมายตามคํานิยาม ฟชท นักปรัชญาเชิงจิตวิสัย ชาวเยอรมัน (Johan Gottlieb Fichte ๑๗๖๒-๑๘๑๔) ไดอธิบายถึงอัชฌัตติกญาณวาเปนความรูท่ีแทจริง (wissens-chaftslehre) เปนความรูสูงสุด และสามารถอธิบายสิ่งท้ังปวงไดอยางถูกตองตามความเปนจริง๕ เฮนรี่ แบร็กซ็อง (Henri Bergson ๑๘๕๙-๑๙๔๑) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ไดใหความหมายวา “คําวา อัชฌัตติกญาณ (Intuition) เปนความรูท่ีอยูเหนือการคิดหาเหตุผล มีความรูในตัวเอง สามารถรูเปาหมายของตัวเองและขยายตัวไดอยางไมมีขอบเขต”๖ Bergson พูดวา อัชฌัตติกญาณของแตละบุคคลก็ยอมเปนเรื่องของแตละบุคคลไปรูแทนกันไมได ดังน้ัน ความจริงสูงสุดอันบุคคลยอมบรรลุไดดวยตนเอง๗ ดร.ราธกฤษณัน นักปรัชญาชาวอินเดีย ไดใหความหมายวา อัชฌัตติกญาณ เปนความรูขั้นสมบูรณเกิดแวบขึ้นจากภายในโดยไมตองอาศัยประสบการณทางประสาทสัมผัสหรือความคิด สามารถรูแจงสัจธรรมภายในจิตใจเราไดชัดเจน๘

สมัคร บุราวาศ ไดกลาวถึง อัชฌัตติกญาณ (Intuition) วา เปนปรากฏการณทางความรูอีกอยางหน่ึง เรียกวา การรูเอง หรือบางทีก็เรียกในเชิงยกยอกันวา ญาณพิเศษ ฟงดูแลวไดความคลายกับวาโดยไมตองเรียนและไมตองเก็บความรูทางผัสสะมากอน คนเราก็อาจมี

๔ กีรติ บุญเจือ, มนุษยรูอยางไร, พิมพครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพไทยวัฒนาพานิช,

๒๕๒๕), หนา ๓๒.

     ๕ อางใน รศ.ชัยวัฒน อัตพัฒน, ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม ๒, พิมพครั้งที่ ๕, (กรุงเทพมหานคร : 

มหาวิทยาลัย รามคําแหง, ๒๕๔๗), หนา ๒๗.

     ๖ อางใน รศ.ชัยวัฒน อัตพัฒน, ปรัชญาตะวันตกรวมสมัย, (กรุงเทพมหานคร :  มหาวิทยาลัย

รามคําแหง, ๒๕๔๔), หนา ๑๓๙.

     ๗ อางใน ดร.เดือน คําดี, ปญหาปรัชญา, (กรุงเทพมหานคร :  สํานักพิมพโอเดียนสโตร, ๒๕๓๐),

หนา ๑๐๔.

๘ อางใน อดิศักด์ิ ทองบุญ , ปรัชญาอินเดียรวมสมัย , พิมพครั้งที่ ๓ , (กรุงเทพมหานคร :

ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๕), หนา ๑๕๔.

Page 65: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๕๐

ความรูขึ้นเองไดดวยความเปนอัจฉริยะ บางทีนักคิดฝายจิตนิยมก็คลุมไปถึงสัตว วามีญาณพิเศษอะไรบางอยางทําใหทราบเหตุการณลวงหนาได พวกน้ีจึงนําญาณพิเศษน้ีไปสงเสริมทฤษฎีท่ีวา จิตเปนสิ่งนิรันดร อันมีปญญาเปนเลิศ และจิตน้ีมีสิ่งท่ีมีในชีวิตท่ัวไป ญาณพิเศษ คือ การแสดงตัวของปญญาอันเลิศท่ีติดมากับจิตน้ีเอง๙

๓.๑.๓ ความหมายอัชฌัตติกญาณของโอโช โอโชไดอธิบายความหมายของอัชฌัตติกญานไวอยางกวางๆ วา อัชฌัตติกญาณเปนความรูท่ีเกิดขึ้นจากการหย่ังรูภายใน เปนความรูท่ีเกิดจากประสบการณท่ีเหนือประสาทสัมผัส ความรูท่ีเกิดขึ้นจากภายนอกหรือทางประสาทสัมผัส ไมใชความรูท่ีแทจริง

อัชฌัตติกญาณเปนสิ่งท่ีเกิดขึ้นภายในตัวเรา เปนการสอนท่ีมาจากขางใน ไมใชสิ่งท่ีหยิบยืมมาจากขางนอก อะไรก็ตามท่ีมาจากขางนอกไมใชปญญา ปญญาเปนการเห็นไดดวยตนเอง เปนความสามารถในการมอง เปนชองทางของวิสัยทัศน เปนความชัดท่ีเกิดจากตัวเรา ท่ีทําใหเราเขาใจความลึกลับของการดํารงอยู๑๐

ความหมายของอัชฌัตติกญาน โอโชไดพยายามอธิบายใหเขาใจ วา คือสิ่งท่ีอยูเหนือความฉลาดปราดเปรื่อง หรือปรีชาญาณ (Intellect) เปนสิ่งท่ีอยูนอกเหตุเหนือผล ไมสามารถจะนํามาอธิบายไดในทางตรรกะ ทานไดกลาวไวตอนหน่ึงวา

เรื่องเหตุเรื่องผล เปนเรื่องของการตองการจะรูในสิ่งท่ีไมรู อัชฌัตติกญาน เปนความรูท่ีเขาถึงความลี้ลับได ปราศจากคําอธิบาย เรารูสึกถึงสิ่งน้ันได แตไมอาจอธิบายเปนถอยคําได ย่ิงเราพยายามอธิบายเปนถอยคํา ก็เทากับกําลังไปปกปด จนแนนหนามากขึ้นไปอีก๑๑

๙สมัคร บุราวาศ, ปญญา, พิมพครั้งที่ ๒ , (กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ ศยาม, ๒๕๔๒), หนา ๗๕.

     ๑๐ “Intuition means something that arise With your being; it is your potential. that’s why it is

called intuition Windom is never borrowed, and that which is borrowed is never wisdom. Unless you have your own wisdom. your owe vision. your own clarity,your own eyes to see. you will not be able to understand the mystery of existence”. osho. intuition(knowing beyond logic). st.martins griffin,new York. 2001. p. 13 .

๑๑ “Reason is an effort to know the unknown and intuition is the happening of the unknowable

to penetrate the unknowable is possible but to explain it is not. The feeling is possible the explanation is not. The more you try to explain it the more closed you will become so do not try”. Intuition p.xii.

Page 66: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๕๑

โอใช ไดพยายามอธิบายความหมายของอัชฌัตติกญาณ วาเปนสิ่งท่ีอยูเหนือคําบัญญัติ ท่ีมาจากความคิดของมนุษยเปนสิ่งปดบังความจริงตางๆเอาไว ซึ่งเกิดจากการสั่งสมความรูมาต้ังแตเด็ก ท่ีมนุษยไดถูกยัดเยียดใหจําและใหคิดในสิ่งท่ีมนุษยไดสรางขึ้น จากการใชเหตุและผลอันจอมปลอมท้ังหลาย ดังน้ัน เหตุผลถือวาเปนประสบการณท่ีไมแนนอน อันเกิดจากการคาดเดาหรือหมายเอาผิด จนสั่งสมทับถมกันใหความจริงท่ีแทน้ันไดกลายเปนของเทียม เกิดการแบงแยกไมผสานสอดคลองกัน

๓.๒ บอเกิดของอัชฌัตติกญาณ ๓.๒.๑ บอเกิดอัชฌัตติกญาณของโอโช จากการศึกษาแนวคิดอัชฌัตติกญาณของโอโชน้ัน ทานไมไดยอมรับแตเพียง

อัชฌัตติกญาณวาเปนความรูท่ีมีอยูจริง แตยังมีความรูท่ีอยูในตัวมนุษยอีก ๒ ระดับ ท่ีมีความสําคัญตอตัวมนุษยเองและเปดเผยตอโลก ความรู ๒ ระดับท่ีถือวาเปนระดับความรูท่ีมนุษยมีอยู ไดแก ความรูระดับสัญชาตญาณ (Instinct) เปนระดับทางกายภาพ ความรูสึกทางกายสัมผัส และความรูระดับปรีชาญาณ (Intellect) ระดับความคิด การใชเหตุผล ดังน้ัน ควรจะอธิบายใหเห็นถึงกระบวนการความเช่ือมโยงกันระหวางความรูทางกายภาพ ความรูระดับเหตุผล และความรูระดับเหนือเหตุผล เพ่ือชี้ใหเห็นถึงความแตกตางกันในกระบวนการความรูเหลาน้ัน

แหลงกําเนิด และสิ่งแทนคาของความรู ๓ ระดับ

ตามโครงสรางน้ี แสดงใหเห็นการเชื่อมโยงสิ่งท่ีเปนตัวแทนความรูท้ัง ๓ ได เพ่ือสามารถอธิบายปรากฏการณท่ีเชื่อมผานผสานกัน และเห็นถึงบอเกิดท่ีสําคัญของความรูท้ัง ๓ ระดับ วาเกิดขึ้นมาจากอะไร ในโครงสรางน้ีจะเห็นบอเกิดหรือสาเหตุของการไดมาซึ่งความรูท้ัง ๓ ระดับ ท่ีสื่อความหมายใหเห็นความเชื่อมโยง วาสัญชาตญาณมีแหลงกําเนิดจาก

สัญชาตญาณ รางกาย

ปรีชาญาณ สมอง

อัชฌัตติกญาณ จิตใจ

อดีต + ประสบการณ

ปจจุบัน + การคาดคะเน

อนาคต + ความจริง

Page 67: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๕๒

รางกาย เปนสิ่งแทนคาท่ีเกิดจากอดีต ความรูท่ีเกิดขึ้นกอเกิดมาจากประสบการณท่ีมีอยูเอง ปรีชาญาณมีแหลงกําเนิดจากสมอง เปนสิ่งท่ีโอโชบอกวา พ่ึงเกิดขึ้นมาใหมจากยุคปจจุบัน ไดความรูมาจากการคาดคะเนหรือการใชเหตุผล ในสวนอัชฌัตติกญาณ มีแหลงความรูจากจิตใจ อารมณ และความรูสึก เปนสิ่งท่ีแทนคาความรูท่ีจะเกิดขึ้นในอนาคตท่ีเปนจริง อีกท้ังความรูท่ีไดมาน้ัน เปนความจริงแทท่ีบริสุทธิ์๑๒

๑. สัญชาตญาณ (Instinct) ๑๓ เปนความรูระดับเริ่มตนเกิดจากสวนของรางกาย หรือสวนของประสาทสัมผัส ท่ีทุกชีวิตตองมีความรูชนิดน้ี ต้ังแต เกิดมา ชีวิตก็เริ่มทํางานโดยตัวของมันเอง โดยไมมีใครสั่งหรือบังคับ รางกายไดถูกควบคุมอยางเปนระบบ เพ่ือใหสิ่งมีชีวิตท้ังหลายดําเนินไปได น่ันคือ การมีสัญชาตญาณท่ีติดตัวมาต้ังแตกําเนิด โดยท่ีไมมีใครกําหนดกฎเกณฑใดๆเลย ดังน้ัน เมื่ออธิบายถึง สัญชาตญาณ (instinct) ควรเขาใจวาเปนความรูท่ีเกิดขึ้นจาก กายภาพท้ังหมด ไมวาจะเปน การหายใจ ความหิว การทํางานของระบบสมอง ทางเดินอาหาร การเตนของหัวใจ การขับถาย ฯลฯ เหลาน้ี ลวนเปนสวนหน่ึงของสัญชาตญาณแทบท้ังสิ้น โอใชไดกลาวถึงการทํางานของรางกายไววา

หากเราตองฝากความดูแลทุกสวนของรางกายไวกับการตัดสินใจของสมองหรือฝากไวกับปรีชาญาณแลว รับรองวาคงตองยุงยาก เพราะไมเชนน้ันชวงท่ีเราหลับ เราอาจจะลืมหายใจ หรือในบางครั้งท่ีเรากําลังใชความคิดสับสน สมองอาจลืมสั่งการใหระบบการหมุนเวียนของโลหิตทํางานก็ได หรือเราอาจจะยุงอยูจนตัดสินใจไมไดวา จํานวนออกซิเจนปริมาณเทาใดจึงจะพอเหมาะกับการใชงานของเซลลท่ัวรางกายของเรา....สิ่งท่ีเกิดขึ้นท้ังหลายเหลาน้ีลวนเปนสิ่งท่ีดําเนินไปภายใตการทํางานของสัญชาตญาณท้ังสิ้น๑๔

๑๒โอโช, ปญญาญาณ(intuition) แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, พิมพครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร

: สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป , ๒๕๔๘), หนา ๓๗-๔๑.

๑๓

คําวา สัญชาตญาณ อาจารยบางทานใช สัญชาตเวค (สํ+ชาต+เวค) แปลวา ความรูสึกที่เกิดขึ้น

พรอมกัน แปลโดยความหมายคือ ความรูที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอวัยวะรับสัมผัส, ชัยวัฒน อัตพัฒน, ญาณวิทยา, ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคําแหง, ๒๕๔๒), หนา ๑๕๒.

๑๔ โอโช, ปญญาญาณ (intuition) แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๓๐.

Page 68: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๕๓

การอธิบายของโอใช ทําใหทราบวา โอโชยอมรับความจริงดานวัตถุ คือ สวนของรางกาย การรับรูท่ีเกิดผานทางผัสสะหรือประสาทสัมผัสเปนความรูท่ีใหความแทจริงแกเราได เปนความรูท่ีไมบิดเบือน องคความรูท่ีอยูในสวนของกายภาพหรือรางกายเกิดจากสัญชาตญาณ ท่ีเปนธรรมชาติท่ีมีมาแตเดิม แตเขาอธิบายตอไปวา สัญชาตญาณถูกบิดเบือนไป เพราะมนุษยไมรูจักหนาท่ีของแตละสวน ชอบทําสิ่งท่ีฝนธรรมชาติหรืออาจไปทรมานในสวนของรางกายใหเกิคการบีบคั้นหรือไปกดทับพลังแหงสัญชาตญาณไว

โอโชไดอธิบายถึงสาเหตุของการเขาไปกดทับรางกายจนเกิดการเปลี่ยนแปลง จนเกิดความรูท่ีผิดไปจากความเปนจริง เขาไปยุมยามกับสัญชาตญาณ เขาไปกดทับขมมันไว เชน การกดทับอารมณทางเพศของบางศาสนา วาเปนสิ่งท่ีเขาไปทําลายวงจรธรรมชาติ เรื่องอารมณทางเพศนั้น เปนเรื่องของธรรมชาติ เปนสัญชาตญาณท่ีอยูในตัวมนุษยหรือสัตว การท่ีมนุษยเขาไปยุมยามและทําอะไรท่ีฝนสัญชาตญาณของธรรมชาติ เปนการไปกดทับอารมณ ซึ่งไมเปนประโยชนตอการพัฒนาใดๆเลย อีกตัวอยางหนึ่ง คือ เรื่องการอดนํ้า อดอาหาร ท่ีเขามองวา เปนการทรมานรางกายท่ีเปลาประโยชน เพราะในเม่ือรางกายเกิดความอยาก เกิดความหิวแลว ก็ตองหาสิ่งตางๆมาปรนเปรอ เพ่ือบําบัดความหิวกระหาย อันเปนกระบวนการของธรรมชาติ โอโชอธิบายถึงนักบวชบางศาสนากลับอางวา การอดนํ้าอดอาหารเปนกระบวนการพัฒนาทางดานจิตวิญญาณ “เราอดอาหารดวยเหตุผลทางจิตวิญญาณ มันชางเปนเหตุผลท่ีคอนขางประหลาดเสียจริงๆ การท่ีเราพยายามเขาไปยุมยามกับชีวิตของเราแบบน้ี นาจะถือวาเปนเรื่องง่ีเงามากกวาจะเปนเรื่องท่ีเพ่ิมคุณคาทางจิตวิญญาณ”๑๕

๒. ปรีชาญาณ (Intellect) เปนความรูในระดับความคิด เกิดจากความเปนเหตุและผล หรือเปนความรูท่ีอยู

ในสวนของหัวสมอง (Head) เปนสวนท่ีอยูในตัวมนุษยเทาน้ัน ซึ่งไมมีในสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นๆ ปรีชาญาณ ถือวา เปนอุปกรณหรือเครื่องมือสําคัญของมนุษยในการดํารงชีวิตใหเปนไปตามเหตุและผลของตน เปนเครื่องมือในการประกอบอาชีพทํามาหากิน เปนสิ่งท่ีเ ก่ียวของกับศาสตรแขนงตางๆ ไมวาจะเปน วิชาคณิตศาสตร วิชาภูมิศาสตร วิชาประวัติศาสตร วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ศาสตรตางๆเหลาน้ีลวนเปนผลงานท่ีมาจาก

๑๕เร่ืองเดียวกัน, หนา ๔๖.

Page 69: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๕๔

ปรีชาญาณดวยกันท้ังสิ้น ท้ังน้ีโอโชเห็นวา ปรีชาญาณ เปนสิ่งท่ีพ่ึงเกิดมาภายหลังสัญชาตญาณ โอใชไดอธิบายเก่ียวกับปรีชาญาณวา

ปรีชาญาณเปนสิ่งท่ีไมมีในสัตว มันเปนชวงเวลาแหงปจจุบัน เราดําเนินการเรื่องราวตางๆ ผานสิ่งท่ีเรียกวา ปรีชาญาณ สิ่งตางๆท้ังหลายท่ีเกิดขึ้นบนโลกใบน้ี มักจะมีท่ีมาจากปรีชาญาณ ไมวาจะเปนเรื่องการศึกษา การเมือง การทําธุรกิจ การประกอบอาชีพ หรือเรื่องศาสนา เรื่องปรัชญา ก็ลวนมีท่ีมาจากปรีชาญาณท้ังสิ้น ในสัตวไมมีความสามารถเชนน้ี ปรีชาญาณเปนความสามารถท่ีมีไดเฉพาะในคนเทาน้ัน๑๖

ปรีชาญาณน้ัน ถือวา เปนเครื่องมือท่ีมนุษยใชแสวงหาความรู เพราะวา ปรีชาญาณไมไดใชเครื่องมือ คือ ประสบการณ แตกลับไปใชเครื่องมือท่ีสรางขึ้นมาใหม ไดแก ความเชื่อ ปรัชญา และอุดมคติ มาเปนเครื่องสอดแสวงหาความจริง หรือเปนเครื่องแสวงหาความอยากท่ีอาจดูเปนเรื่องใหม แตจริงๆแลวก็คือ มันก็เรื่องเกาท่ีนํามาเลาใหมหรือมาต้ังคําถามใหมๆใหเราไดตอบน่ันเอง โอโชไดอธิบายวา ความรูชนิดน้ี เปนสวนหน่ึงของวัตถุ สสาร หรือทางกายภาพ เปนสวนของรูปธรรม เปนเคร่ืองมือในการแสวงหาความจริงท่ีเก่ียวกับสิ่งท่ีเปน รูปธรรมเทาน้ัน ทานไดกลาวในตอนหนึ่งวา “ความคิดดําเนินไปไดเฉพาะในโลกแหงวัตถุเทาน้ัน ตัวความคิดเอง ก็เปนเสมือนวัตถุอยางหน่ึง ถึงแมมันจะเบาบาง แตมันก็มีตัวตนคลายวัตถุ เราสามารถบันทึก และถายทอดบอกตอได”๑๗ จากการศึกษา โอโช ไดกลาวถึงประเด็นเรื่องของ จินตนาการ(imagination) อันหมายถึง ความสามารถในการสรางสิ่งท่ีใหเห็นใหเปนจริงเปนจังขึ้นมา๑๘ เพ่ือชี้ใหเห็นถึงผลท่ีมักเกิดตามมาจากการใชปรีชาญาณอยางผิดๆ น่ันคือ การสรางความคิดท่ีไมมีจริงใหกลายเปนความจริง อันเปนผลมาจากการปรุงแตง ทานกลาววา “ความเปนจริงน้ันอยูภายในตัวทาน มันไมใชการสรางขึ้นมาใหม เพราะวาอะไรท่ีทานสรางขึ้นมันไมใชของจริง สิ่งท่ีสรางขึ้นมาเปนแคผลผลิตของจินตนาการ” โอโชไดอธิบายถึงการท่ีมนุษยชอบเขาไปกดทับอารมณท่ีเปนไปตามธรรมชาติประกอบกับเหตุผลท่ีสรางขึ้นท่ียังไมไดพิสูจนจนเกิดจินตนาการท่ีสรางขึ้นมาเอง นําไปสูความรูทางศาสนาหรือปรากฏการณทางจิต ท่ีทานเห็น

๑๖ เร่ืองเดียวกัน, หนา ๓๗.

๑๗เร่ืองเดียวกัน, หนา ๙๐.

๑๘ “creating one’s own reality is called imagination” osho. Intuition. p.60.

Page 70: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๕๕

วา เปนแคภาพลวงตา จินตนาการเปนการปรุงแตงของจิตท่ีถูกสรางจากความรูเดิมแลวนํามาขยายตอ จนเกิดความสลับซับซอน

จินตนาการสามารถสรางจิตท่ีไมปรกติขึ้นได อาจเริ่มจากการเชื่อในฝนกลางวันท่ีเราสรางขึ้น สามารถปรากฏเปนภาพลวงตาขึ้นมา สิ่งเหลาน้ีเกิดขึ้นกับนักบุญ ผูนําศาสนามากมาย ท่ีเชื่อวาตนเองไดพบไดเห็น และไดพูดคุยกับพระเจา สิ่งท่ีเขาพูดมาน้ันมาจากจินตนาการของพวกเขาเอง๑๙ ในกรณีเรื่อง จินตนาการ น้ี ผูวิจัยเห็นวา โอโชอาจมองจินตนาการเปน ๒ แบบ

อยูท่ีวาฐานความรูเกิดท่ีปรีชาญาณ หรือ อัชฌัตติกญาณ ถาจินตนาการ เกิดจากฐานแหงปรีชาญาณ จะเปนจินตนาการท่ีเกิดความคิดท่ีฝนเฟองเลื่อนลอย ไรสาระ แตถาจินตนาการต้ังอยูบนฐานของอัชฌัตติกญาณ ก็อาจเปนจินตนาการท่ีทรงคุณคาได

๓. อัชฌัตติกญาณ (Intuition) โอโช ถือวา อัชฌัตติกญาณ เปนความรูท่ีไมไดอาศัยเหตุผลตรรกะใดๆมาพิสูจน

ความจริง เปนความรูท่ีสมบูรณอยูในตัวเอง การจะเขาถึงตองใชความรูสึกลวนๆ โดยไมมีความคิดใดๆมาปะปน

เมื่อศึกษาพบวา การท่ีจะเขาสูความจริงแทได ตองใชความรูสึกท่ีไมไดเกิดจากการคิดปรุงแตง ความรูสึกท่ีวาน้ี เปนความรูสึกท่ีครอบคลุมถึงความรูสึกท่ีเกิดขึ้นทางประสาทสัมผัส โอโช เชื่อวา ถึงแมอารมณความรูสึกจะเปนสวนนามธรรมก็ตาม แตก็สามารถแทรกซึมผานสวนท่ีเปนรูปธรรมได ในทางกลับกัน มนุษยพยายามใชเหตุผลท่ีเปนรูปธรรมเพ่ือพิสูจนความจริงท่ีเปนฝายนามธรรม เปนสิ่งขัดแยงกัน น่ันคือ รูปธรรมไมสามารถรับรูสวนท่ีเปนนามธรรม แตนามธรรมสามารถรับรูขอมูลในสวนของรูปธรรมได

อัชฌัตติกญาณ...สามารถว่ิงผานปรีชาญาณไดอยางทะลุปรุโปรง สิ่งท่ีอยูสูงกวาสามารถว่ิงผานสิ่งท่ีอยูตํ่ากวา แตสิ่งท่ีอยูตํ่ากวาไมสามารถทําเชนน้ันได มันคลายกับ

๑๙“imagination can create a kind of insanity if it starts believing in its own daydreams. it can

create hallucination. as far as I’m concerned. your so-called saints. great religious leaders who have seen god. who have met god. who have talked with god. are in that category. their god is just their imagination”. osho. intuition p.62.

Page 71: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๕๖

การท่ีจิตใจของเราสามารถซึมผานและบงการรางกายของเราได ในขณะท่ีรางกายไมสามารถซึมผานหรือบงการสวนท่ีเปนจิตใจได๒๐

เราสามารถสรุปความตางกันและคลายกันของความรูแบบอัชฌัตติกญาณกับสัญชาตญาณ ดังน้ี ๑) คลายกันตรงท่ีความรูท้ังสอง เปนสิ่งธรรมชาติ ดํารงอยูในตัวเองอยางน้ัน น่ันคือเปนสิ่งท่ีมีมาแตเดิม หนาท่ีหลักก็คือ ตอบสนอง และเติมเต็ม ๒) ความตางกันคือ สญัชาตญาณ เปนวัตถุสสาร หรือรูปธรรม สัมผัสไดทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย รับรูไดดวยประสบการณท่ีมาจากสิ่งภายนอก สวนอัชฌัตติกญาณเปน อสสาร หรือเปนนามธรรม เขาถึงไดดวยใจ ตอบสนองรับรูไดกับประสบการณจากสิ่งท่ีอยูภายในเทาน้ัน

เมื่อความรูแบบสัญชาตญาณท่ีเปนพ้ืนฐานความรูทางกายภาพ ไมถูกกอกวน ไมถูกกดทับ ทางอารมณแลว ปลอยใหเปนไปตามธรรมชาติ เมื่อน้ันก็อาจทําใหเรากาวขามไปสูอัชฌัตติกญาณไดโดยงาย เพราะทานไดเห็นวา ท้ัง ๒ ระดับ คือ สัญชาตญาณและอัชฌัตติกญาณ มีความคลายกันตรงท่ีท้ัง ๒ สภาวะไมไดอิงอาศัยเหตุและผล หรือเปนธรรมชาติท่ีอยูเหนือการบังคับของเหตุและผล แตตางกันมากตรงท่ี สัญชาตญาณ ทํางานในระดับท่ีเปนเรื่องของกายภาพ และอัชฌัตติกญาณ ทํางานในระดับท่ีเปนเรื่องของจิตวิญญาณ โอโชกลาววา “การยอมรับชีวิตแหงสัญชาตญาณดวยความเบิกบานอยางแทจริง โดยปราศจากความรูสึกผิด เทากับเปนการเปดประตูไปสูอัชฌัตติกญาณโดยปริยาย”๒๑ ในสวนของ ปรีชาญาณนั้น โอโช ถือวาเปนเครื่องมือในการแสวงหาความรูท่ีสําคัญในปจจุบัน ถึงแมโอโชไมยอมรับปรีชาญาณ ในสวนของการพิสูจนความแทจริงของ

๒๐โอโช, ปญญาญาณ, แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๒๒.

๒๑ “To accept your instinctive life with absolute joy. without any guilt . will help yon to open the

doors of intuition”. osho. Intuition p.14.

สัญชาตญาณปรีชาญาณ

จินตนาการ

ความคิด

อัชฌัตติกญาณ จิตใจ ความรูสึก อารมณ

Page 72: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๕๗

ความรู แตทานแนะนําวา ปรีชาญาณน้ันควรมีตัวปญญาญาณหรืออัชฌัตติกญาณกํากับและควบคุมไว เพราะปรีชาญาณเปนความรูท่ียังบกพรองไมมีความสมบูรณในตัว เปนความรูท่ีอิงอาศัยสิ่งอื่น แตกตางจากอัชฌัตติกญานท่ีเปนความรูท่ีสมบูรณในตัวเอง เปนอิสระไมพ่ึงพิงอาศัยปจจัยอื่นใดมาพิสูจนความจริง ดังน้ัน ปรีชาญาณท่ีมีปญญาญาณควบคุมไว จะเปนปรีชาญาณท่ีไดรับการพัฒนาไปสูความรูระดับสูงได

๔. ความรู (Knowledge) กับ การรู (Knowing) ในประเด็นน้ีโอโชไดอธิบายใหเห็นถึงสิ่งท่ีปรีชาญาณหรือเหตุผลไดสรางขึ้นจนทํา

ใหเกิดการแบงแยก ไดแก ความรู กับ สิ่งท่ีไมอาศัยปรีชาญาณเกิด แตเกิดมีเอง น่ันคือตองอาศัย แคการรู ท้ังน้ีความรูท่ีเปนสวนหน่ึงของปรีชาญาณ เมื่อเกิดขึ้นมาก็ไดแบงแยกสิ่งตางๆออกไปเปนสวนๆ คือแยกผูรู ออกไปจาก สิ่งท่ีถูกรู ทําใหเกิดความไมเชื่อมโยงสัมพันธกัน แตการรูน้ันเปนสภาวะแหงการเขาถึงโดยตรงตอสิ่งท่ีถูกรู ไมมีการแบงแยกหรือใชเหตุผลใดๆมาตัดสิน เหมือนกับการมองดูดอกไมโดยท่ีไมไดใชความคิดวา ดอกไมน้ันเปนเชนไร มีชื่อเรียกอยางไร แตเปนการมองดูดวยความรูสึก จนเห็นถึงความเชื่อมโยงผสานเปนอันหน่ึงอันเดียวกัน

ความรูสรางระยะหาง ความรูแบงแยกระหวาง ความเปนเรา กับ ความเปนเขา ความรูแบงแยกประธาน (subject) ออกจากกรรม (object) แยกผูรู (the knower) ออกจากส่ิงท่ีถูกรู (the known) แยกผูสังเกต (the observer) ออกจาก สิ่งท่ีถูกสังเกต (the observed) ความรูไดแบงแยกสิ่งตางๆอยางท่ีไมสามารถจะนํามาเชื่อมประสานกันไดอีก๒๒

โอโช ไดแสดงใหเห็นสิ่งท่ีขวางก้ันความจริง น่ันคือ การเขาไปสมมติบัญญัติ สิ่งตางๆ ไปตามเหตุผลหรือความรู จนเกิดการแบงแยกไมใหเห็นตามความเปนจริงท่ีอยูเบ้ืองหลังสิ่งสมมติน้ัน ทานกลาววา “ความรูเปนอุปสรรคกีดก้ันไมใหเกิดปญญา”๒๓ ปญญาในท่ีน้ีหมายถึงความจริงท่ีไมตองอาศัยความรูคือเหตุผล มาเปนตัวตัดสินน่ันเอง และการท่ีจะเขาถึงความจริงไดน้ัน ตองใชการรู หรือความรูสึก เพ่ือเขาไปรับรูสิ่งตางๆอยางท่ีมันเปน จนเกิดการ

๒๒เร่ืองเดียวกัน, หนา ๘๔.

๒๓

osho , 365 วัน มหัศจรรยสมาธิ (everyday), แปลโดย กําธร เกงสกุล, (กรุงเทพมหานคร :

สํานักพิมพโพสตบุกส, ๒๕๕๒), หนา ๑๗๔.

Page 73: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๕๘

เชื่อมผสานไมมีการแบงแยก ทําลายสิ่งสมมติท่ีความรูไดสรางขึ้น เกิดความเปนอันหน่ึงอันเดียวกัน

๓.๓ สภาวลักษณะของอัชฌัตติกญาณ ในเร่ืองของสภาวะลักษณะหรือขอบขายในตัวสภาวะของอัชฌัตติกญาณน้ัน เมื่อไดศึกษาวิจัยตามเน้ือหาคําสอนของโอโชแลว ผูวิจัยเห็นวาสามารถจําแนกใหเห็นตัวความรูอัชฌัตติกญานของโอโช วามีสภาวะลักษณะเปนอยางไร โดยวิเคราะหตามความหมายสภาวะลักษณะไปแตละประเด็น ดังน้ี

๓.๓.๑ เปนสภาวะที่เกิดข้ึนโดยฉับพลัน ๑) สภาวะความรูท่ีเกิดโดยฉับพลันหรือเรียกวา สภาวะการกาวกระโดด (intuition

is a jump) เปนการกาวขามจากจุดท่ีรูไดเปนสูสิ่งท่ีรูไมได ไมอิงอาศัยความคิดท่ีเปนเหตุผล ความเขาใจเก่ียวกับทฤษฎี หรือการอนุมานอะไรตางๆ ความเขาใจของเราสวนใหญตองอิงอาศัยเหตุผลอยูเสมอ น่ันคือ ตองมีสิ่งท่ีเชื่อมตอกัน หรือความเปนเหตุเปนผลของกันและกัน แตสภาวะการกาวกระโดดเปนเหมือนสภาวะท่ีไรการเชื่อมโยง หาทิศทางไมเจอ แตเปนสิ่งท่ีมีอยูจริง ผุดเกิดมาอยางไรการคาดคะเนใดๆ โอโชกลาววา “เปนปรากฏการณในลักษณะท่ีกาวกระโดด ไมไดเปนการกาวขามจากจุดหน่ึงไปยังอีกจุดหน่ึง ไมตองอาศัยการเชื่อมตอระหวางจุดสองจุด แตเปนการกระโดดขาม...อัชฌัตติกญาณไมตองการเสนทางเดิน...ไมมีแหลงกําเนิดท่ีชัดเจน เปนเพียงสิ่งท่ีอุบัติขึ้นมาเอง”๒๔

๓.๓.๒ เปนสภาวะที่อยูเหนือจิตสํานึก (the superconscious) ๒) อัชฌัตติกญานเปนสภาวะท่ีอยูเหนือจิตสํานึก หมายถึง สภาวะท่ีลวงเลย

ขอบเขตของจิตสํานึก และจิตใตสํานึก เปนสภาวะท่ีต่ืนรูปราศจากความคิดใดๆมาเจือปน เปนความรูสึกตัวท่ีไมเจือปนดวยความคิดปรุงแตง โดยการท่ีไมไดใชเหตุผล หรืออารมณใดๆมาตัดสิน ผูเขาถึงสภาวะน้ี จะรูสึกถึงความสุข ปลอดโปรงโลงสบาย เปนอิสระไมยึดติด และปลอยวาง

การรูแจงเปนสภาวะท่ีปราศจากความคิด ....เมื่อทานอยูโดยปราศจากความคิดบางสิ่งบางอยางจะเขามา แลวทานก็จะเห็นสิ่งท่ีขาพเจากําลังอธิบายอยูน้ี มันไมใชการท่ีทาน

๒๔เร่ืองเดียวกัน, หนา ๒๓.

Page 74: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๕๙

ไดยินสิ่งท่ีขาพเจาพูด แตมันเปนอัชฌัตติกญาณ ท่ีเกิดขึ้น เปนการรูแจง เปนความกระจางท่ีบังเกิดตอทาน และทานตองการจะแบงปนใหแกขาพเจา การรูแจงเปนสภาวะของการไมคิด ไมมีความคิดมันคือชองวาง มันคือรอยตอระหวางความคิด เปนชองวางท่ีฉายประกายแหงสัจจะความจริง๒๕

เมื่อดูตามรูปภาพน้ี๒๖ สวนท่ีเปนจิตใตสํานึกน้ัน เปนสวนของความรูระดับสัญชาตญาณ สวนท่ีจิตสํานึก เปนสวนของความรูระดับปรีชาญาณ สวนจิตเหนือสํานึก เปนสวนของอัชฌัตติกญาณ โอโชไดชี้ใหเห็นถึงความแตกตางทางปริมาณพรอมกับคุณภาพ วามนุษยเราสวนใหญรับรูขอมูลไดแคในสวนท่ีเปนจิตสํานึก ถือวาเปนสวนในปริมาณและคุณภาพท่ีนอย เพียง ๑ ใน ๑๐ เทาน้ัน แตกตางจากจิตใตสํานึก ท่ี เปนความรูระดับสัญชาตญาณ ท่ีครอบคลุมความรูของรูปธรรมเกือบท้ังหมด สวนจิตเหนือสํานึก น้ันเปนสวนของอัชฌัตติกญาณ ถือวา เปนสภาวะท่ีอยูเหนือความรูท้ังหมด

๓.๓.๓ เปนแหลงพลังงาน (Energy) โอโช เชื่อวา มีพลังปลดปลอย (energy) ท่ีอยูในตัวเรา เปนพลังท่ีแฝงตัวอยูในจิต

ใตสํานึก มีลักษณะเคล่ือนไหวอยูตลอดเวลา สามารถจะปะทุขึ้นมาตลอดเวลาเชนกัน ดังท่ีโอโชไดอธิบายไววา “หลักการพ้ืนฐานของพลังคือไมใชสิ่งตายตัวหรืออยูน่ิง มันจําเปนตอง

๒๕ osho .Intuition . p.51.

๒๖

“At the center of the unconscious is instinct. At the center of the conscious is intellect.

At the center of the superconscious is intuition”. osho. Intuition p. 32.

จิตใตสํานึก

จิตเหนือสํานึก จิตสํานึก

Page 75: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๖๐

เคลื่อนท่ีอยูตลอดเวลา การเคล่ือนไหวคือธรรมชาติของมัน มันไมใชสิ่งท่ีจับวางไวท่ีไหนจะอยูท่ีน่ันตลอดเวลา มันมีชีวิต มีการเลื่อนเคลื่อนไปตลอดเวลา”๒๗ พลังงานดังกลาว เปนพลังธรรมชาติท่ี เคลื่อนไหวในรางกาย หรือพลังสัญชาตญาณ ท่ีถูกกดทับขมไว เมื่อเวลาใดท่ีพลังงานถูกปลดปลอย พลังเหลาน้ันจะผุดขึ้นสูจิตสํานึก อันเปนสวนของปรีชาญาณ สุดทายจะทะลุผานจิตสํานึกไปสูระดับสูงสุด น่ันคือ ระดับจิตเหนือสํานึก ทําใหเกิดสภาวะแหงการเขาถึงอัชฌัตติกญาณขึ้นมา

พลังน้ีจะถูกปลดปลอยจากจิตใตสํานึกขึ้นมาไดตองเกิดจากการท่ีมนุษยเลิกกดทับอารมณตนเอง โดยการปลอยวางจากความคิดเชิงเหตุผล หรือขอปฏิบัติตางๆท่ีเหตุผลไดสรางขึ้น เปนพลังงานท่ีหลั่งไหลขึ้นมาอยางไมขาดสาย ทําใหความรูท้ังสามน้ัน ไดแก สัญชาตญาณ ปรีชาญาณ และอัชฌัตติกญาณ เชื่อมผสานสงผานสอดคลองกัน

สัญชาตญาณ เปนสวนท่ีทําใหทุกอยางลื่นไหลดําเนินไปตามธรรมชาติ และไมวาจะดวยเหตุผลกลใดก็ตาม เราไมควรไปยุมยามรบกวนมัน ปรีชาญาณเปนสวนท่ีควรอยางย่ิงท่ีจะตองนํามาใชเพ่ือกรุยทางใหกับอัชฌัตติกญาณ เพ่ืออัชฌัตติกญาณจะไดผุดบังเกิดขึ้นได และเมื่อเราเขาถึงท้ัง ๓ สิ่งแลว ชีวิตเราก็คงเปนชีวิตท่ีมีพลัง เปนชีวิตท่ีสุขสวาง โชติชวง ดุจการเฉลิมฉลองท่ีย่ิงใหญ๒๘

๒๗Energy has a fundamental principle about it. it cannot remain static. it has to move.

movement is its nature. it is not a thing that you put somewhere and it remains there. No it has to move it is life. osho . Intuition p.30

๒๘Ibid., p. 15.

จิตใตสํานึก

จิตสํานึก

จิตเหนือสํานึก อัชฌัตติกญาณ

Page 76: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๖๑

๓.๓.๔ สภาวะแหงความมีอยู (being) โอโช ไดอธิบายถึง สิ่งท่ีเปนธรรมชาติแทจริง เปนสิ่งท่ีอยูเบ้ืองหลัง องคประกอบ

ท้ัง ๓ คือ กาย (body) สมอง (head) และใจ (heart) ถือไดวา เปนแหลงกําเนิดของอัชฌัตติกญาณ น่ันคือ ความเปนเรา (being) ทานกลาววา “ผูท่ีซอนตัวอยูหลังสามสิ่งน้ี ไดแก รางกาย ความคิดและจิตใจ น่ันคือ สิ่งท่ีเปนตัวตนของเรา อาจเรียกไดวา ความเปนตัวเรา ซึ่งนาจะเปนผูบงการท่ีแทจริง”๒๙ โอโช มองวา รายกาย หัวสมองหรือความคิด และจิตใจ เปนสิ่งท่ีไมอาจจะแยกกันได ต้ังแตแรก ท้ังน้ี การท่ีจะเขาใจกระบวนการของการเขาไปรูความจริง ควรตองอธิบายแยกสิ่งเหลาน้ีออก เพ่ือใหมองเห็นถึงองคประกอบที่สําคัญ และเพ่ือใหเห็นถึงความมีอยูของตัวเรา ถึงกระน้ัน ท้ังสามสวนน้ี จะตองสอดผสานกันไปในทางเดียวกัน ถารางกายมีความสมบูรณพรอมไมมีการฝนบีบคั้นใดๆ ก็ยอมสงผลถึง สวนของสมองท่ีเปนสวนหน่ึงของรางกาย ทําใหเกิดความฉลาดปราดเปรื่องขึ้น เมื่อสภาพรางกายดีพรอมก็ยอมสงผลถึงสภาพจิตใจใหดีขึ้นตาม โอโช อธิบายไววา “เมื่อใดก็ตามท่ีสามสวน คือ หัวสมอง จิตใจ และรางกาย ของเราสอดผสานกันเปนอยางดี เมื่อน้ันเราจะพบวา การดํารงอยูของเราน้ันเปนสิ่งท่ีเบาสบายและเรียบงายท่ีสุด”๓๐

ผูวิจัยเห็นวา ความมีอยูหรือความเปนเรา ตามความคิดของโอโช เปนสภาวะท่ีตัวอัชฌัตติกญาณดํารงอยูในน้ัน เปนจุดกําเนิดของชีวิต ตัวสภาวะความมีอยู (being) ท่ีวาน้ี นาจะเปน อัตตาเดิมแท มีสภาพเปนอนันตภาวะ

๓.๔ กระบวนการความรูแบบอัชฌัตติกญาณ ๓.๔.๑ กระบวนการกล่ันกรองความรู ในประเด็นน้ี โอโชไดอธิบายลักษณะกระบวนการความรู เพ่ือเขาถึงความจริงแท

เพราะตองทําลายตัวกลั่นกรองท่ีเขามาปกปดชีวิตและจิตใจใหหมดสิ้นเสียกอน ทานเปรียบชีวิตและจิตใจ เหมือนกับของสีขาวบริสุทธิ์ท่ีถูกหอหุมดวยสิ่งแปลกปลอมหลายชั้น สิ่งบริสุทธิ์อยูภายในแกนกลาง อันเปนแกนแท

๒๙“The master is hidden behind these three: the body. The mind. the heart. The master is

hidden behind all these three that is your being”. osho. intuition. p.3.

๓๐

“And if your head. Your heart. And your body are all in a symphony. Then to find your

being is the easiest thing in the world”. Ibid., p.5.

Page 77: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๖๒

อัชฌัตติกญาณ เปนความรูแทท่ีเปนแกนของความจริง การท่ีจะมองเห็นโลกตามความเปนจริงได โดยมองผานชีวิตอันแสนสามัญ เปนสิ่งท่ีเปนไปไดยากมาก เพราะสิ่งท่ีปรากฏไดถูกบิดเบือน จากสีขาวมาเปนสีดํา จากความจริงกลายมาเปนความเท็จ ดวยความสลับซับซอนของตัวกรองท่ีทับถมกันหลายๆชั้น กวาจะมาถึงปรากฏตอหนา ณ เวลาน้ีก็แทบไมอาจเห็นความจริงแทหลงเหลืออยูเลย

๑) ความรูสึกทางกายภาพ (The physical senses) โอโชไดอธิบายถึงการท่ีมนุษยบิดเบือนภาวะความจริงของรางกาย ปฏิกิริยาตางๆ

ทางรางกาย ความรูสึกรับสัมผัสทางตา หู จมูกหรือทางผัสสะ ท่ีธรรมชาติไดสรางขึ้น ถูกปรับเติมเสริมแตงจนผิดแผกจากธรรมชาติด่ังเดิม มนุษยชอบหลอกลวงตนเอง บิดเบือนประสาทสัมผัสจากความจริง ทําใหตนเองตกอยูภายใตแหงความกลัว

เมื่อใดก็ตามท่ีเปลือกชั้นนอกน้ีหายไป...มันก็เหมือนกับท่ีเราพยายามเลนโยคะเพ่ือตองการทําใหรางกายมีชีวิตชีวา มีความรูสึกตัวท่ีไวและมีความกระชุมกระชวยเพ่ิมมากขึ้น ทําใหกลไกตางๆในรางกายทํางานไดอยางสมบูรณและเมื่อตอนน้ันทุกอยางก็จะงาย ใสบริสุทธิ์ มีความสวยงามและล่ืนไหลไปตามธรรมชาติ เกิดความอบอุนในจิตใจ ทําใหเปดกวางและเห็นพัฒนาการท่ีเกิดขึ้น ทุกสิ่งท่ีปรากฏจะเปนสิ่งใหมอยูเสมอ๓๑

“เมื่อใดก็ตามท่ีทานเริ่มฟง เริ่มเห็น เริ่มสัมผัส และรับรูถึงกลิ่นตางๆ อยางแทจริงแลว ในท่ีสุดทานจะไดสัมผัสกับสิ่งท่ีเปนความจริง”๓๒

๒) เงื่อนไขที่สรางข้ึน (Conditioning) โอโช หมายถึง ระบบความเช่ือท่ีมนุษยไดสรางขึ้น ไมวาจะเปนเรื่อง ศาสนา

ประเพณี สังคม การเมือง ฯลฯ ท่ีกอใหเกิดเปนเง่ือนไข ทําใหมนุษยอยูหางกัน ขาดสายสัมพันธ ขาดความรักความเมตตา เกิดความขัดแยง ความเชื่อท่ีไรสติปญญา และทําใหเกิดการไมสอดผสานกันในดานความคิด จึงเปนปญหาท่ีตองแกเพ่ือใหเกิดการเชื่อมโยงไรเง่ือนไขใดๆ โอโชกลาววา “เราจะตองปลอยวางระบบความเชื่อตางๆเหลาน้ีใหได เพ่ือความ

๓๑โอโช, ปญญาญาณ (intuition), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๑๕๘.

๓๒

เร่ืองเดียวกัน, หนา ๑๖๐.

Page 78: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๖๓

เขาใจท่ีแทจริงจะไดผุดขึ้นมา แลวความพรอมท่ีจะแสวงหา ความไรเดียงสา ความบริสุทธิ์ก็จะเกิดขึ้น ถึงตอนน้ันทานจะถูกรายลอมดวยความรูสึกลี้ลับ ต่ืนเตน นาอัศจรรยใจ”๓๓

๓) การใชเหตุและผล (Rationalization) โอโชไดอธิบายวา มนุษยมักดํารงชีวิตดวยเหตุผลจอมปลอมไมเปนจริงมาโดยตลอด การใชประสบการณในอดีต การคาดคะเนท่ีไมแนนอนมาตัดสิน หรือแมการสรางเหตุผลใหมๆขึ้นมา ทําใหเกิดความผิดพลาดขึ้นในชีวิต จนไมอาจจะกาวขามได

เหตุผลท่ีแทจริงจะเกิดขึ้นเมื่อทานใชปฏิภาณไหวพริบ (intelligent) โปรดอยาลืมวาสําหรับขาพเจา ผูมีปฏิภาณไหวพริบกับผูมีการศึกษา (intellectual) น้ันไมเหมือนกัน ผูมีการศึกษาสูงมักจะซอนตัวอยูหลังเหตุผลอันจอมปลอมท้ังหลาย เหตุผลของเขาอาจจะเปนไปตามหลักตรรกวิทยา แตมันอาจไมสมเหตุสมผลก็ได เหตุผลของเขาเปนเพียงของปลอมท่ีปรากฏออกมาดูคลายวาเปนเหตุผล๓๔

๔) ความรูสึกที่ออนไหว (Sentimentality) โอโช หมายถึง การที่มนุษยไดสรางอารมณความรูสึกจอมปลอมเขามาในหัวใจ

ทําใหเกิดความออนแอและไรพลังในการสรางสรรค ความรูสึกจริงๆ (real feeling) จะทําใหเกิดการมีสวนรวม มันสรางความมุงมั่น ไมใชความเห็นอกเห็นใจ แตเปนการกระทํา (action) เมื่อไรก็ตามท่ีความรูสึกจริงๆ ในสิ่งใดสิ่งหน่ึงเกิดขึ้นภายในหัวใจทานแลว มันจะเปลี่ยนแปลงตัวทานทันที มันจะนําไปสูการกระทํา๓๕

๕) การเก็บกด (Repression) เปนสวนท่ีหมายถึงการเขาไปกดทับสัญชาตญาณ ทําใหศูนยกลางท้ังหมดเร่ิมแปรปรวน เกิดความสับสนในตัวเองจนไมรูวาอะไรเปนอะไร หรือแมแตเก็บกดอารมณทางเพศอาจทําใหเกิดการจินตนาการท่ีแตงเติมออกมาจากความคิดความเพอฝน “จงเฝามองและหัดสังเกต ปลอยหัวสมองทําหนาท่ีของมันในเรื่องเหตุผล ปลอยหัวใจทํางานดวยความรูสึก

๓๓เร่ืองเดียวกัน, หนา ๑๖๔.

๓๔ osho. intuition, p. 111.

๓๕

ปญญาญาณ (intuition), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๑๖๘.

Page 79: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๖๔

1

ใหศูนยกลางทางเพศทําหนาท่ีทางเพศ ปลอยใหทุกอยางทําหนาท่ีเฉพาะของมัน อยาปลอยใหมันผสมปนเป”๓๖

๖) อัชฌัตติกญาณที่แปดเปอน (Corrupted Intuition) เมื่อมาถึงเปลือกสุดทาย น่ันคือ หาวิธีการชะลางอัชฌัตติกญาณท่ีมันแปดเปอนให

สวางใสสะอาดหมดจดอยางท่ีเคยเปนมาแตด้ังเดิม วิธีการท่ีแนะนําเปนสิ่งแรกคือ การละความคิดท่ียึดติดวาเหตุผลคือทางท่ีไปสูคําตอบท่ีถูกตอง เมื่อน้ันอัชฌัตติกญานจะเริ่มเบงบานในจิตใจ เมื่อเปลือกท้ัง ๕ ถูกแกะออกไป สิ่งท่ีเปนตัวนําทางจะถูกเปดเผย น่ันคือ การรูแจง โอโช กลาววา “อัชฌัตติกญาณจะทํางานไดก็ตอเมื่อเหตุผลถูกระงับการใชไวเทาน้ัน อัชฌัตติกญาณไมมีกระบวนการ มันเปนการกาวกระโดดขามจากปญหาสูคําตอบ มันเปนเสนทางลัด มันเกิดขึ้นมาเหมือนกับสายฟาแลบ”๓๗ ในประเด็นน้ี ผูวิจัยมองวา กระบวนการดังกลาวเปนเรื่องท่ีกลาวถึง สิ่งท่ีทําใหรางกายและจิตใจเกิดความเศราหมอง ธรรมชาติดังเดิมถูกแตงเติมดวยสิ่งสกปรก และควรท่ีจะชําระลางสิ่งเหลาน้ันออกไปใหหมด เพ่ือสามารถเขาไปสูความจริงท่ีไมถูกปดบังจากสิ่งใดๆ จิตใจมีสภาพผองใส เหมือนนํ้าท่ีไมเจือดวยสี ไมมีตะกอนใดๆหลงเหลืออยู Peel the Onion

1. The physical senses 2. Conditioning

3. Rationalization

4. Sentimentality

5. Repression

6. Intuition

๓๖ “watch and observr. let the head function as reason. let the heart function as feeling. let

the sex center function as sex. let everything function in its own way”. Ibid., p. 117.

๓๗ปญญาญาณ (intuition), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๑๗๒.

2 3

4 5

6

Page 80: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๖๕

๓.๔.๒ ความรูสึกตัว (Consciousness) เครื่องมือท่ีจะนําไปสูความรูแทจริงน้ัน มีเครื่องมือสําคัญท่ีโอโชไดกลาวถึงเสมอ

เมื่อไดบรรยายเก่ียวกับการปฏิบัติท่ีนําไปสูการรูแจงของทาน เครื่องมือสําคัญท่ีสุด คือ ความรูสึกตัวหรือสติ (Consciousness) โอโชเชื่อวา ความรูสึกตัวจะนําไปสูการรูแจง เพราะสติไมใชเครื่องมือท่ีมาจากการคิด การใชเหตุผล แตมาจากความรูสึกตัว หรือการต่ืนตัวท่ีเกิดขึ้นภายใน ท่ีใครๆก็รูสึกได

บางทีเขาเรียกการเจริญสติ วาการทําสมาธิ (Meditation) ซึ่งหมายถึง การปลูกจิตสํานึก การรับรูดวยความรูสึก การเขาถึงการหยั่งรู การผจญภัยสูงสุดของจิตมนุษยท่ีสามารถเขาถึงความพอดีท่ีไมมีการกระทํา ไมมีปฏิกิริยา จิตท่ีไมมีความรูสึก จากท่ีเกิดขึ้นเองไมมีมูลสาเหตุ เพราะการดํารงอยู เปนการคิดปรุงแตงขึ้น เรียกวา ความปลื้มปติ๓๘

บางครั้งโอโชจะเรียกการมีสติวา การภาวนา ใจความตอนหน่ึงวา “การภาวนา คือ การไดเปนอยูอยางสอดคลองเปนอันหน่ึงอันเดียวกันท้ังภายในและภายนอก การภาวนาคือการเดินทางท่ีไรอัตตา”๓๙ และอีกใจความ วา “การภาวนาหมายถึงการกาวออกมาจากความคิด มาเฝาดูอยูขางนอก หากทานหลุดเขาไปในความคิด ทานจะไมเกิดปญญา....หากทานออกมาอยูขางนอก ทานจะมีความรูสึกตัว”๔๐ โอโชจะเนนยํ้า ในเร่ืองสติความรูสึกตัว เปนสิ่งสําคัญขั้นแรก ในการนําไปสูอัชฌัตติกญาณ ในการท่ีเราจะมองเห็นอะไรตามความเปนจริง โดยท่ีสติ ท่ีเขาไดกลาวถึง เปนสติท่ีทําลายระบบความคิด ทําลายชองวางระหวาง เหตุผล และ อารมณ จนนําไปสูการพัฒนาจิตใจ ใหเกิดความเบิกบาน และรูสึกถึงความมหัศจรรยท่ีเปยมไปดวยความสุขอยูภายใน “การมีสติต่ืนรู เปนวิธีการ สวนการพัฒนาเปนผลลัพธ เมื่อทานมีสติมากขึ้น ทานก็จะเจริญพัฒนามากขึ้น ถึงขาพเจาจะสอนทาน แตเรื่องการมีสติต่ืนรู โดยไมพูดถึงการเจริญพัฒนาเลย แตในท่ีสุด มันมักจะเกิดขึ้นหากทานน้ันมีสติ”๔๑ และกลาววา

๓๘osho. Meditation. New York : st.martins griffin. 2004. p. 2-3.

๓๙โอโช, เซน the way of zen , วรสิทธิ์ ลีลาบูรณพงศ แปล, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ pk

press ,๒๕๕๑), หนา ๑๓๙.

๔๐osho. Intelligence. new york : st.martins griffin. 2004. P. 71.

๔๑โอโช , วุฒิภาวะ ศิลปะของผู ถึ งพร อม ( maturity) , แปลโดย ดร .ประพนธ ผาสุกยื ด ,

(กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป, ๒๕๔๙), หนา ๒๕๓.

Page 81: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๖๖

มีสวิทยอยูในจิตใจของเรา สวิทยท่ีวาน้ี ก็คือ การเฝาดู การต่ืนรู การรูเห็นเปนพยาน เมื่อทานเริ่มรูเห็นเปนพยาน จิตท่ีชอบคิดของทาน ก็เริ่มจะหยุด ย่ิงรูเห็นเปนพยานมากข้ึน ทานก็จะรูซึ้งถึงกุญแจสําคัญวา จิตคิดน้ันหยุดไดโดยงาย และนั่นเปนการปลดปลอยสูอิสรภาพที่ย่ิงใหญ๔๒

๓.๔.๓ วิธีขจัดความคิด (Mind) โอโชมองวา ความคิด (Mind) คือ ตัวปญหาท่ีสําคัญท่ีทําใหมนุษยลืมโลกความ

จริงของตนเอง เปนสิ่งท่ีมาแปดเปอนจิตใจเราใหขุนมัว เห็นสิ่งตางๆ ไมเหมือนเดิม ความคิด ทําใหมนุษยสรางทิฏฐิความเห็นผิดใหแกตนเอง โดยแสวงหาอํานาจ เพ่ือสรางภาพตนเองใหมีความย่ิงใหญ ยึดอัตตาของตนเพ่ือขมผูอื่น เกิดภาวะความอยากความปรารถนาท่ีผิดๆ โดยมักอางเหตุอางผล ความเชื่อ อุดมการณ มาเพ่ือแกงแยงชิงดีกัน สรางสิ่งๆตางๆ มาทําลายกันหรือทําสงครามกัน อันเปนผลมาจากความคิดท้ังสิ้น ดังน้ัน ความคิดจึงเปนปญหาสําคัญของมนุษย ท่ีเขาเห็นวา เราควรกําจัดความคิดออกไปจากตัวเรา โดยหาวิธีหรือทางออกใหกับชีวิตมนุษย แตตัวความคิดเองน้ันเปนสิ่งท่ีอยูในตัวมนุษย ลําพังตัวเราก็ไมสามารถทําลายหรือบังคับมันได

ทานไมสามารถหยุดความคิดไดโดยตรง ทานตองเขาใจเรื่องน้ีใหไดปลอยใหมันเขาไปอยูในชีวิตของทาน ความคิดไมสามารถถูกหยุดไดโดยตรง เพราะวา ความคิดไมใชอะไรอื่นนอกจากคนรับใชของความปรารถนา ตอนท่ีความปรารถนาอยูท่ีน่ัน ทานไมสามารถหยุดความคิดได เจานายอยูท่ีน่ันคนใชก็พรอมจะทํางาน๔๓ สาเหตุหน่ึง ท่ีโอใชเห็นวา การท่ีมนุษยไมสามารถกําจัดความคิดออกไป

หรือไมสามารถบังคับบัญชามันได เพราะมนุษยเขาใจผิดมาต้ังแตแรก โดยใหตัวความคิดมาเปนเครื่องควบคุม หรือนําความคิดมาเปนตัวนํา และชี้ทางชีวิตใหกับเรา ทําใหความคิดมีอํานาจเหนือจิตใจน่ันเอง โอโช กลาววา “ความคิดอานท่ีถูกกํากับโดยความรูสึกตัว จะเปน

๔๒ โอโช, เปนไปไดดวยปญญา(Intelligence), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด,พิมพครั้งที่ ๓,

(กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป , ๒๕๔๘), หนา ๒๗๑.

๔๓โอโช, เตา มรรควิถีท่ีไรเสนทาง (tao:the pathless path), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด,

พิมพครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป, ๒๕๔๘), หนา ๒๒๓.

Page 82: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๖๗

ผูรับใชท่ีดี แตเมื่อใดก็ตามท่ีความคิดเปนเจานายของความรูสึกตัว มันจะเปนนายท่ีอันตรายอยางย่ิง” ๔๔

สภาพของตัวความคิด ท่ีโอโชกลาวถึง มันเหมือนกับเปนสวนท่ีเปนตัวเน้ือหาสาระ (content) ท่ีเขามาควบคุมชีวิตเรา ควบคุมอารมณตางๆของเราตลอดเวลา ทําใหไมสามารถมองทะลุผานใหเห็นสภาพท่ีเปนจริงของชีวิตได น่ันคือ การถูกยึดหลงอยูในความคิดและอารมณท่ีไมมีสิ้นสุด โอโชไดกลาวไวตอนหน่ึงวา

พวกเรามักจะมีเน้ือหาสาระอยูในความคิดเสมอ ความคิดมีการเคลื่อนท่ี มีความตองการท่ีแปรเปล่ียนขึ้นลงตลอดเวลา มีความโกรธ มีความโลภ และความทะเยอทะยานตางๆนานา เรามักจะมีตัวเน้ือหาสาระอยูในความคิดเสมอ ความคิดของเราจึงไมเคยวาง ว่ิงไปว่ิงมาตลอดเวลาวันแลววันเลา๔๕

วิธีการท่ีโอโช แนะนําก็คือการกําจัดสิ่งท่ีตัวเน้ือหาสาระออก โดยการมีสติท่ีต่ืนรู หรือ ความรูสึกตัว (consciousness) ถือวา เปนสวนของความรูตัวท่ัวพรอม เปนชวงท่ีเขามาควบคุมตัวเน้ือหาสาระ (content) เปนชวงท่ีเมื่อสติต่ืนตัวอยางเต็มท่ีแลว จิตใจก็จะเปดรับ เกิดชองวางท่ีไมมีสิ่งท่ีเปนเน้ือหาสาระใดๆมาปะปน จนถึงชวงระยะสุดทาย สมาธิก็จะต้ังมั่น แลวพรอมท่ีจะเกิดสภาวะความเปนหน่ึงเดียวกันกับทุกสิ่ง ซึ่งทานเรียกมันวา ความวาง “มันเปนสภาวะแหงความวาง หรือท่ีเรียกกันวา สุญญตา เปนสภาวะท่ีไมมีตัวเน้ือหาสาระใดๆ ไมมีสิ่งใดใหถูกรบกวน ไมมีสัจจะความจริงท่ีถูกบิดเบือนอีกตอไป”๔๖

อยาปลอยตัวทานหลุดเขาไปในความคิด จงเฝามองมันเหมือนตัวทานอยูบนเนินเขา เฝาดูกาย เฝาดูใจ ตามดูท้ังภายนอกและภายในจนทานเขาใจวาแทจริงแลว ทานไมไดเปนสิ่งท่ีอยูขางนอกและไมไดเปนสิ่งท่ีอยูขางใน ทานกาวลวงพนท้ังสองสิ่งน้ันไปแลว๔๗

๔๔ โอโช, ปญญาญาณ(intuition), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๙๗.

๔๕

เร่ืองเดียวกัน, หนา ๙๒.

๔๖“Then there is emptiness. shunyata. then there in nothingness. because then is no content. there

is undisturbed. undistorted truth’. Osho. Intuition. p. 25.

๔๗

โอโช, ปญญาญาณ(intuition), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๑๒๐.

Page 83: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๖๘

๓.๔.๔ วิธีการปฏิบัตินําไปสูอัชฌัตติกญาน โอโชไดแนะถึงวิธีการในการปฏิบัติตนไปสูเปาหมายขั้นสูงสุด ท่ีเขาปรารถนาให

ทุกคนไดเดินตามทางน้ัน น่ันคือ การรูแจงเขาสูภาวะแหงอัชฌัตติกญาณ เน้ือหาสวนใหญเขาไดเนนยํ้าในเรื่อง การรูสึกตัวอยูเสมอ หรือเรียกอีกแบบวา การตามรู เฝาดู สังเกต เพราะเขาไดอธิบายไววา วิปสสนา ตามหมายของโอโช คือ การมอง โดยมีความหมายเปรียบเทียบวา เฝาดูและสังเกต๔๘

โอโชไดแบงวิธีการปฏิบัติโดยใชวิธีสังเกตเฝาดู ตามนัยแหงการปฏิบัติของทาน วามีหลักการเฝาดูการสังเกตอยู ๓ ขั้นตอน ไดแก

๑) การเฝาสังเกตรางกาย ๒) การเฝาสังเกตความคิด ๓) การเฝาสังเกตความรูสึก

(๑) การเฝาสังเกตรางกาย โอโช หมายถึง การเฝาตามดู การเคลื่อนไหวของรางกายทุกสวนอยางต่ืนรูต่ืนตัวท่ีสุด กิริยาแหงการเคลื่อนไหวของรางกายและแมแตอิริยาบถตองเปนไปอยางชาๆ ทําตามอยางใจเย็นและระมัดระวังในการปฏิบัติน้ัน โอโชกลาวไวตอนหน่ึงวา

มือของขาพเจาเคลื่อนไหว มือของขาพเจายกขึ้น ขาพเจาสังเกตเห็นตนเองเดินอยูบนถนน จับสังเกตแตละกาวท่ีเดิน เฝามองเวลากินอาหาร ดังน้ัน กาวแรกของวิปสสนา ก็คือ การจับสังเกตกิริยาตางๆของรางกาย ซึ่งเปนขั้นท่ีงายท่ีสุด น่ันคือ ขณะจับสังเกตรางกายของคุณ คุณจะท่ึงกับประสบการณใหมๆ หากเคลื่อนไหวมือพรอมกับจับสังเกต เฝามองต่ืนตัว ต่ืนรู คุณจะรูสึกไดถึงความสงางามและความเงียบบางอยางของมือ๔๙ โอโชไดกลาวยํ้าในเรื่องน้ีอีกวา “ไมวาทานจะเดิน ผาฟนหรือตักนํ้า จงเฝาดูการ

เคลื่อนไหวอยางรูสึกตัว ต่ืนตัว มีสติรับรู อยาทําไปโดยไมรูตัว เหมือนผีดิบ เหมือนคนเดินละเมอ”๕๐ โอโชไดอธิบายวา การมีสติตอการกระทําทาง กาย วาจา และใจ การปลูกจิตสํานึก

๔๘โอโช, คุรุวิพากยคุรุ, โตมร ศุขปรีชา แปล, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ gm books), หนา ๕๑.

๔๙ เร่ืองเดียวกัน, หนา ๕๑.

๕๐ โอโช, วุฒิภาวะ(maturity), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๒๕๓.

Page 84: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๖๙

การเดินอยางมีสติ ดวยการไกวมือตามจังหวะของการกาวเดิน สังเกตการเคลื่อนไหวของรางกาย ทุกอยางท่ีมากระทบสัมผัสตัวเรา ควรสังเกตตามรูใหทัน เชน การอาบนํ้า ก็สังเกตตามรู การเดินก็ใชหลักของการสังเกตตามรู เชนเดียวกันกับจิตท่ีเห็น นอกจากการมีสติระลึกรูในอิริยาบถตางๆแลว โอโชยังไดเนนการมีสติตามรูลมหายใจ เพ่ือเพ่ิมความรูชัดในทุกสวนของรางกาย ทุกอิริยาบถท่ีเคลื่อนไหวจนทายท่ีสุดก็นําไปสูการต่ืนรู

การหายใจ คือ สะพานท่ีนําไปสูการต้ังจิตเปนสมาธิ เปนการบังคับลมหายใจท่ีนําไปสูการฝกจิตเปนสมาธิ ดวยการกําหนดลมหายใจ ก็จะสามารถควบคุมจุดแหลงกําเนิดของชีวิตจะสามารถทองไปตามกาลเวลาในโลกน้ี ในหวงอวกาศ และในขณะปจจุบัน หากฝกจิตเปนสมาธิอยูในปจจุบันแลวก็จะสามารถสงจิตไปยังท่ีตางๆ การนั่งวิปสสนา เปนการน่ังสมาธิท่ีทําใหผูฝกบรรลุความจริงระดับสูงสุด (การหลุดพน) จุดหน่ึงในขณะปจจุบัน ไมวอกแวกไมหว่ันไหว ๕๑

(๒) การเฝาสังเกตความคิด โอโชไดกลาวถึงการจับสังเกตความคิด เปนเชนเดียวกับ การจับสังเกตเฝาดูกาย ความคิดเปนสิ่งท่ีมองไมเห็นไดดวยตาจับตองไมได แตเปนสิ่งท่ีมีอยูจริง เปนรูปธรรม เหมือนกับอากาศท่ีมีอยูจริง แตจับตองไมได

การเฝาสังเกตดูความคิดน้ัน ไมควรเขาไปเก่ียวของ หรือไปตัดสินใดๆ ในความคิด แมวาความคิดจะเปนสิ่งท่ีดี หรือเปนสิ่งท่ีชั่วรายก็ตาม จงมองโดยปราศจากการตัดสินใดๆ เหตุผลท่ีตองหามตัดสิน เพราะในชั่วขณะท่ีเราเริ่มตัดสินวา น้ีเปนความคิดท่ีดี แมเพียงเทาน้ัน คุณก็ไมไดสังเกตเสียแลว คุณกําลังเริ่มคิด และเขาไปเก่ียวของ คุณไมอาจยืนอยูหางๆ ยืนอยูริมถนนแลวเพียงแตเฝามองดูการจราจร อยาไดเขารวม ไมวาดานการสรรเสริญ ใหคุณคา หรือประณาม ไมควรมีทัศนคติใดๆ ตอสิ่งท่ีผานเขามาในจิตใจ๕๒ ดังน้ัน มโนทัศนหรือจินตนาการ ความคิด หรืออารมณใดท่ีเกิดขึ้นมา ควร

ตระหนักรูเทาน้ัน คือไมนําเรื่องราวเหลาน้ันมาใสไวในจิตตนเอง ไมมีการวิพากษวิจารณในสิ่งท่ีเห็น ในสิ่งท่ีเกิด เพราะความคิดท่ีฟุงซานและจินตนาการอันไรจุดหมาย เปรียบเหมือน

๕๑Osho. Meditation. New York : st.martins griffin. 2004..p. 99.

๕๒

โอโช, คุรุวิพากยคุรุ, โตมร ศุขปรีชา แปล, หนา ๕๒.

Page 85: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๗๐

กําแพงท่ีปดก้ันไมใหเขาถึงปญญาหยั่งรู โอโชกลาววา “เมื่อใดก็ตามท่ีทานต่ืนตัวพรอมรับทุกสิ่งโดยไมมีความคิดใดๆ ไมมีอคติใดๆไมมีการวางแผน รับรูสิ่งตางๆท่ีเกิดขึ้นในขณะน้ัน ทานจะไดสิ่งท่ีเปนจริง มันเปนของแท”๕๓

ความเปนจริงน้ันอยูภายในตัวทาน มันไมใชการสรางขึ้นมาใหม เพราะวาอะไรท่ีสรางขึ้นมาใหมน้ันมันไมใชของจริง สิ่งท่ีสรางขึ้นมาเปนผลิตผลของจินตนาการ (imagination) สิ่งท่ีทานตองทําคือการกาวล้ําเขาไปในความเงียบ เฝามองมัน ดวยความต่ืนตัวและรูสึกตัว เพียงแคน้ันทานก็จะไดเห็นความจริง ผูท่ีไดเห็นความจริงจะพูดวามันเปนประสบการณท่ีเงียบมากๆ เปนความรูท่ีเปยมไปดวยปติสุข มันเปนความสุขท่ีไมมีสิ้นสุด๕๔

(๓) การเฝาดูความรูสึก โอโช หมายถึง อารมณความรูสึกตางท่ีเกิดขึ้นในจิตใจ โดยใชเง่ือนไขอยางเดียวกัน น่ันคือ อยาตัดสินเพียงเฝาดูอยางรูตัวท่ัวพรอม

อารมณความรูสึกน้ัน สวนใหญครอบงําคุณตอนน้ี หากคุณรูสึกเศรา คุณถูกความเศราโศกเขาครอบงํา เมื่อคุณรูสึกโกรธก็ไมแตกตาง คุณจะเต็มไปดวยความโกรธ ทุกๆเสนใยในตัวคุณ จะเตนรําดวยความโกรธ การเฝาดูหัวใจของเรานั้นจะพบกับประสบการณท่ีไมมีอะไรมาครอบงําเราไดอีก ความเศราเพียงมาแลวก็ไป ความสุขมาแลวก็ไป เราไมไดสุขดวยเชนกัน ไมวาจะเกิดอะไรขึ้นลึกๆในหัวใจของเรา ก็ไมสงผลกับเราอยางสิ้นเชิง๕๕

โอโชไดอธิบายใหเห็นถึงแนวทาง ๓ ขั้น ท่ีจะพาไปสูความรูแท คือ อัชฌัตติกญาน เริ่มจากการฝกเรียนรูกาย สิ่งท่ีเปนรูปธรรม เปนสิ่งรูชัดสัมผัสไดโดยตรง ไมวาจะอยูในกิริยาอาการใด หรือ อิริยาบถใดก็มีความรูสึกตัวท่ัวพรอมได เมื่อเกิดความชํานาญในการต่ืนรูทางกายแลว ก็เริ่มการฝกการเรียนรูการเฝาดูอาการท่ีเกิดขึ้นทางใจ อันเปนสวนของนามธรรม

เราควรเริ่มตนดวยการเฝาดูกาย ไมวาจะเดิน จะน่ัง กําลังนอนหรือทานอาหาร เราควรจะเริ่มจากสิ่งท่ีเปนรูปธรรม เพราะมันจะงายกวา หลังจากน้ันคอยเคลื่อนไปยังประสบการณท่ีเปนนามธรรม เริ่มจากเฝาดูความคิด และเมื่อชํานาญในการเฝาดู

๕๓โอโช, หลุด (freedom), ประพนธ ผาสุกยึด แปล, หนา ๑๔๓.

๕๔ โอโช, ปญญาญาน (intuition), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๑๑๒.

๕๕โอโช, คุรุวิพากยคุรุ, แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๕๓.

Page 86: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๗๑

ความคิดแลว หลังจากน้ันก็อาจเฝาฝกดูความรูสึก หลังจากท่ีทานเฝาดูความรูสึกไดแลว จากน้ันทานก็ควรเฝาฝกดูอารมณ มันเปนสิ่งท่ีเบาบางและเลือนลางกวาความรูสึกมาก ความมหัศจรรยของการเฝาดูอยูตรงท่ีวา ถาทานฝกฝนเฝาดูกาย จิตผูรูของทานก็จะเกิดการพัฒนา ขณะท่ีทานเฝาดูความคิด จิตผูรูของทานก็จะแข็งแรงขึ้น ขณะท่ีทานเฝาดูความรูสึก จิตผูรูของทานก็จะแข็งแรงย่ิงขึ้นไปอีก ตอนท่ีทานเฝาดูอารมณของทาน จิตผูรูของทานจะพัฒนาจนมันสามารถเปนตัวของตัวเองได มันสามารถเฝาดูตัวมันเองได เหมือนกับ เทียนไขท่ีจุดไวในค่ําคืนท่ีมืดมิด มันไมไดแคทําใหเกิดแสงสวางรอบตัวเทาน้ัน แตมันยังทําใหเกิดแสงสวางในตัวมันเองดวยเชนกัน๕๖

โอโชไดแนะวิธีการเรียนรู เมื่อสามารถรูวิธีไดอยางดีแลว การเจริญกาวหนาของการปฏิบัติสมาธิภาวนาก็จะดีขึ้นไปตามลําดับ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังน้ี ๑. ปลอยใหเปนไปตามธรรมชาติ ๒. ดําเนินชีวิตใหเปนไปตามกิจกรรมน้ัน ๓. มีสิ่งใดมากระทบผูปฏิบัติก็จะเพียงแครับรูเหมือนการน่ิงของนํ้าท่ีไมมีระลอกเคลื่อนเปนความเงียบสงบ๕๗

โอโชกลาววา เมื่อปฏิบัติตามรูเฝาดูอยางต่ืนตัวตามขั้นตอนท้ัง ๓ ไดอยางสมบูรณแบบแลว ขั้นตอนท่ี ๔ จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เมื่อทุกคนพรอมแลว ความรูแจงหรืออัชฌัตติกญาณจะผุดขึ้นมาเอง เปนการกาวกระโดดไปสูความจริงแทหรือสัจธรรมแหงการดํารงอยู

๓.๕ จุดมุงหมายของการบรรลุอัชฌัตติกญาณ ๓.๕.๑ เพื่อไปสูการหลุดพนจากความคิด ในประเด็นการหลุดพน โอโชกลาวถึงการท่ีมนุษยหลุดพนไปจากความคิด เพราะ

ความคิดเปนสาเหตุสําคัญ เปนตนตอของปญหาท่ีทําใหชีวิตยุงเหยิง เปนพันธนาการท่ีซับซอน จนเปนระบบความเชื่อและกฎเกณฑเง่ือนไขตางๆท่ีสรางความเปนตัวตนท่ีไมมีจริงขึ้นมา แยกผูรูออกจากสิ่งท่ีถูกรู เพราะในความเปนจริง ธรรมชาติมีความเชื่องโยงถึงกัน แตความคิดน้ัน

๕๖ โอโช, สปาอารมณ(Emotional Wellness), แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, พิมพครั้งที่ ๒,

(กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป , ๒๕๕๒), หนา ๒๑๓.

๕๗

Osho, Meditation , p.19.

Page 87: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๗๒

แยกสิ่งท่ีเปนองครวมออกจากกัน แลวสมมติใหเปนแบบน้ันแบบน้ี ตามความคิดของตนไป จนกลายมาเปนปญหาท่ีสลับซับซอน ดังน้ัน เปาหมายสําคัญย่ิงคือการหลุดพนออกไปจากความคิด หรือการมีจิตหลุดพนไปจากสิ่งสมมุติตางๆ ท่ีเกิดจากการใชปรีชาญาณ เมื่อใดมนุษยไดทําลายกําแพงคือความคิดตางๆไดแลว มนุษยก็จะเดินกลับมาสูทางแหงธรรมชาติอันเปนทางสายบริสุทธิ์ท่ีปราศจากการปรุงแตง เปนภาวะแหงจิตเดิมแทท่ีใสสะอาด ภาวะน้ันไมมีสิ่งผูกมัด ไมมีเสนแบงแยก เกิดความเชื่อมโยงกันของสรรพสิ่งจากรางกายสูจิตใจ หรือจากจิตใจไปสูรางกาย คือความเปนหน่ึงเดียวกัน โอโชเรียกภาวะแหงการหลุดพนไวหลายนัย เชน ภาวะความวางภาวะไรตัวตน ภาวะแหงเตา ภาวะแหงการรูแจง เปนตน ในประเด็นน้ีขอยกเอาคํากลาวของ โอโช ท่ีแสดงทัศนะตอการหลุดพนไว ดังน้ี

โอโชไดอธิบายใหถึงสภาวะแหงความวางไววา ความวางอยูท่ีน่ัน แตคุณสั่งสมขยะเอาไวเสียมากจนมองไมเห็นความวาง เหมือนบานท่ีเต็มไปดวยขาวของ คุณจะมองไมเห็นพ้ืนท่ีวาง แลวท่ีสุดก็เต็ม...ทวาพ้ืนท่ีไมไดหายไปไหน ลองคิดดู ตรึกตรองดู ท่ีวางไมไดหายไปไหน ลองยายเครื่องตางๆออก แลวท่ีวางจะปรากฏ มันอยูท่ีน่ันเสมอ ซอนซุกอยูในครัวเรือน ไมเคยถูกทําลายไป ท่ีวางไมเคยไปจากหอง ไมแมชั่วขณะหน่ึง เฉกเชนความวางภายในคุณ นิพพานของคุณ สุญญตาของคุณ๕๘ บางขอความวา สิ่งท่ีหลงเหลืออยูคือความสงบเงียบ มันคือความวางท่ีพระพุทธเจา เรียกวา สุญญตา ความเงียบน้ันเปนความวางเปลา มันหมายถึงความไมมีอะไร และดวยความไมมีอะไรน้ีเทาน้ัน ท่ีทําใหทุกอยางลื่นไหล ไปไดในโลกของสัจจะความจริงน้ี๕๙ วันท่ีวิเศษสุดในชีวิตคือ เมื่อคุณไมอาจหาส่ิงใดท่ีจะสลัดท้ิงออกไปจากใจไดอีกตอไป เพราะทุกอยางไดถูกสลัดท้ิงออกไปหมดสิ้นแลว และมีเพียงความวางโดยแท ในความวางน้ัน คุณจะคนพบตัวเอง ในความวางน้ัน คุณจะพบสติท่ีสมบูรณ....ใจคุณจะไรท่ีสิ้นสุดดุจฟากฟา....ไมวาจะเรียกสิ่งน้ันวา ธรรมะ เตา สัจธรรมหรือนิพพาน ท้ังหมดก็หมายถึงสิ่งเดียวกัน๖๐

 

๕๘โอโช, คุรุวิพากยคุรุ, แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๒๓.

๕๙โอโช,ปญญาญาน, แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๙๐.

๖๐

โอโช, 365 วัน มหัศจรรยสมาธิ (everyday). แปลโดย กําธร เกงสกุล แปล, หนา ๕๖.

Page 88: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๗๓

บางทัศนะของโอโชไดอธิบายถึงสภาวะของเตา ไววา   สรรพสิ่งเปนหน่ึงเดียว การแยกจากกันเปนเรื่องท่ีเปนไปไมได ความคิดเรื่องแยกจากกันน้ัน เปนอุปสรรค ....ทําใหเกิดอัตตาตัวตน ถาทานอยูอยางมีอัตตาตัวตน แสดงวาทานไมไดอยูบนหนทางน้ัน ทานไมไดอยูในเตา....เตา หมายถึง การดํารงอยูอยางไมมีอัตตาตัวตน อยูอยางเปนสวนหน่ึง ไมใชเปนสิ่งท่ีแยกกันออกมา๖๑ เมื่อใดทานมีความสุข เมื่อน้ันทานไมมีอัตตาตัวตน ในขณะที่ทานมีความสุขเบิกบานใจ อัตตาตัวตนของทานจะหายไป ทานสามารถหลอมรวมกับสรรพสิ่งได โดยปราศจากเสนแบงก้ันใดๆ๖๒

บางทัศนะโอโชไดกลาวถึง การรูแจง และ ปญญาไววา การรูแจง คือ การมาถึงจุดท่ีรูวาไมมีท่ีๆใดใหตองเดินอีกตอไป การรูแจงคือการเขาใจวาน่ีคือสิ่งท้ังหลายท้ังปวง และเปนสิ่งท่ีมีความสมบูรณอยูในตัวแลว และมันคือเรื่องราวท้ังหมด การรูแจงไมใชการทํางานใหสําเร็จลุลวงไป มันเปนความเขาใจวาไมมีอะไรท่ีตองทําใหสําเร็จ และไมมีท่ีๆใดท่ีจะตองเดินไปใหถึง ทานไดมาถึงท่ีหมายเรียบรอยแลว๖๓ ปญญามาจากส่ิงเดียวเทาน้ัน มันไมใชการรูสิ่งตางๆมากมาย หากแตวาเปนการรูเพียงสิ่งเดียวเทาน้ัน และน่ันก็คือการต่ืนรูของทานและการท่ีแยกตัวออกมาจากจิตท่ีเอาแตคิด๖๔

๒.๕.๒ เพื่อความเปนมนุษยที่สมบูรณแบบ เมื่อศึกษาวิจัยพบวา ผูท่ีมีลักษณะเขาถึงอัชฌัตติกญาณ (Intuition) ตามแนวคิดของ

โอโช อาจไมมีความพิเศษมากมาย ตามความเขาใจของมนุษยท่ัวไป แตมนุษยผูมีอัชฌัตติกญาณคือมนุษยท่ีเขาใจความเปนจริงของชีวิต ท้ังทางรางกาย (สัญชาตญาณ) ทางเหตุผล (ปรีชาญาณ) และอัชฌัตติกญาณ เกิดความสอดผสานกันอยางลงตัว ท้ังทางดาน ความคิด อารมณ ความรูสึก เปนผูมีความระลึกรูตัวอยางพิเศษตอสิ่งท่ีมากระทบและเกิดพลังท่ีอยูขางในรางกายและจิตใจ จนเปนภาวะแหงความสมบูรณ ความอิ่มเอิบท้ังทางรางกายและจิตใจ ผลจากการเขาถึงอัชฌัตติกญาณทําใหเกิดการพัฒนาในตัวมนุษยเอง นําพลังท่ีอยูในตัวมาเปนพลังดาน

๖๑ โอโช, เตา, แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด, หนา ๓๖.

๖๒เร่ืองเดียวกัน, หนา ๔๑.

๖๓ osho, เซน the way of zen, วรสิทธิ์ ลีลาบูรณพงศ แปล, หนา ๑๗๔.

๖๔

โอโช, สปาอารมณ (emotional wellness), แปลโดย ประพนธ ผาสุกยึด, หนา ๒๑.

Page 89: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๗๔

บวก เกิดเปนเชาวปญญา (Intelligen) และพลังสรางสรรค (Creativity) แหงชีวิต ดังน้ัน มนุษยท่ีสมบูรณแบบ คือ มนุษยท่ีเขาถึงความรูแจงภายในตนเอง และ รูถึงการดํารงชีวิตเปนไปตามธรรมชาติอยางรูตัวท่ัวพรอม รูต่ืนในปจจุบันขณะ โดยไมอิงอาศัยเรื่องราวในอดีตและเรื่องราวในอนาคต อัชฌัตติกญานทําใหมนุษยสามารถละความยึดถือในเหตุผลท่ีไรประสบการณภายใน ละท้ิงตัวตนท่ีมนุษยสรางขึ้นมา น่ันคือสภาวะสูงสุดท่ีเปนผลิตผลของการหย่ังรู

Page 90: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

บทที่ ๔

เปรียบเทียบ วิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท กับ อัชฌัตติกญาณของโอโช

ในบทน้ี ทางผูวิจัยไดทําการเปรียบเทียบประเด็นเน้ือหาของอัชฌัตติกญานและวิปสสนาญาณเพ่ือใหเห็นความคลายกันและตางกันในเน้ือหาน้ัน ในประเด็นเรื่อง ความหมาย บอเกิด สภาวลักษณะ กระบวนการ และจุดมุงหมาย ของอัชฌัตติกญานและวิปสสนาญาณ ดังตอไปนี้

๔.๑ ความหมายของวิปสสนาญาณและอัชฌัตติกญาณ ในประเด็นความหมายวิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท วิปสสนาญาณท่ีแท เกิดจากการท่ีเขาไปรูเห็นเปนพยานวา ญาณที่เปนวิปสสนาญาณจริงๆ คือ การท่ีวิปสสนาไดเขาไปเห็นสภาวะแหงการเกิดดับของรูปนาม เห็นปรากฏการณทางธรรมชาติ ท่ีมีสภาพการเกิดขึ้น ต้ังอยู และดับไปอยางชัดแจง อันเปนกระบวนการแหงกฎไตรลักษณ ท้ังน้ีกระบวนดังกลาว ไมไดเกิดจากการจํา การอาน และการคิดหาเหตุผลใดๆ แตเกิดจากการไดลงมือปฏิบัติตามหลักแหงไตรสิกขา จนเกิดญาณท่ีมองเห็นความจริงได เรียกวา ภาวนามยปญญา สวนอัชฌัตติกญาณ ในความหมายของโอโช เปนความรูท่ีเกิดขึ้นจากการหย่ังรูภายใน เปนความรูท่ีเกิดจากประสบการณท่ีเหนือประสาทสัมผัส ความรูท่ีเกิดขึ้นจากภายนอกหรือทางประสาทสัมผัส ไมใชความรูท่ีแทจริง อัชฌัตติกญาณเปนสิ่งท่ีอยูเหนือความฉลาดปราดเปรื่อง หรือปรีชาญาณ (Intellect) เปนสิ่งท่ีอยูนอกเหตุเหนือผล ไมสามารถจะนํามาอธิบายไดในทางตรรกะได ในทัศนะท่ีคลายกัน วิปสสนาญาณในพุทธปรัชญาเถรวาทและอัชฌัตติญาณของโอโชน้ัน ผูวิจัยเห็นวา มีความหมายที่คลายกัน ในแงท่ีวา ความรูท้ังสองอยางน้ันเปนความรูท่ีเกิดจากภายในตนเอง อันเกิดจากการปฏิบัติหรือบมเพาะในวิธีใดวิธีหน่ึง ผูท่ีจะเขาถึงหรือเขาไปสัมผัสตองใชประสบการณตรงในการท่ีจะเขาไปรูหรือสัมผัสความจริงได ในทัศนะท่ีตางกันน้ัน ทัศนะท้ัง ๒ มีความตางกัน คือ ในสวนพุทธปรัชญาเถรวาท ถือวา ความรูในระดับวิปสสนาญาณ มีประเด็นท่ีมีกรอบท่ีชัดเจนในเร่ืองความหมาย เพราะมีเปาหมายท่ีชัดเจนความหมายจึงครอบคลุมอยูในเรื่องของการรูแจงเห็นจริงในรูปนาม หรือกายและใจนี้ และตองเกิดจากการฝกฝนบําเพ็ญภาวนาดวยประสบการณตรงเทาน้ัน เปนการรูแจง

Page 91: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๗๖

แทงตลอดในกฎธรรมชาติ คือไตรลักษณ โดยเห็นวากายน้ีใจน้ีเปนทุกขลวนๆ มีแตความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง การคงอยูไมไดนาน ไมมีตัวตนท่ีแทจริง ในแนวคิดของโอโช อัชฌัตติกญาณ เปนความรูท่ีผุดขึ้นมาเอง เขาเรียกการผุดเกิดน้ีวา เปนลางสังหรณ ผูวิจัยเห็นวา ในความหมายน้ีมิไดเกิดจากประสบการณการเจริญภาวนา หรือ การใชสติต่ืนรู ในอีกแงหน่ึง ความรูอัชฌัตติกญาณน้ี สามารถเกิดหรือผุดบังเกิดขึ้นกับคนท่ัวไปได ผลจากการหย่ังรูอัชฌัตติกญาณก็คือความเปนอัจฉริยภาพ (Intelligent) หรือผูมีพลังสรางสรรค

๔.๒ บอเกิดของอัชฌัตติกญาณและวิปสสนาญาณ ในทัศนะทางพุทธปรัชญาเถรวาท ประเด็นในแงของบอเกิด ไดอธิบายถึงบาทฐานสําคัญท่ีทําใหวิปสสนาญาณเกิดขึ้น เมื่อศึกษาตามกระบวนการดังกลาวจึงเห็นไดวา พุทธปรัชญาใหความสําคัญเก่ียวกับรูปนามขันธ ๕ ไดแก รูป หรือกาย เวทนา ความรูสึกท่ีเกิดขึ้นท้ังทางกายและใจ สัญญา ความจําไดหมายรูในสิ่งตางๆ สังขาร การนึกคิดปรุงแตงตางๆ และวิญญาณ การรับรูสิ่งตางๆท่ีเขามากระทบท้ังทางกายและใจ ท้ังน้ีรูปนามขันธ ๕ มีอายตนะ เปนตัวรบัรูอารมณท่ีเขามากระทบใหเกิดความรูสึกตางๆ จนเกิดอารมณท้ังท่ีเปนกุศล อกุศล และอัพยากตะ สิ่งสําคัญคือการเขาใจดวยปญญาวา ทําอยางไรใหอารมณตางๆเหลาน้ันกอเกิดเปนการรับรูท่ีบริสุทธิ์ไมถูกกอกวนดวยกิเลส ท่ีกลายเปนความยึดมั่นถือมั่นท่ีผิดแผกไปจากความเปนจริง ท้ังน้ี ก็ตองอาศัยกระบวนทางพุทธปรัชญาท่ีใชองคธรรมสําคัญมาเปนบาทฐานความรู ท้ังสติปฏฐาน ๔ การใชสติรูทัน กาย รูทันเวทนา รูทันจิต รูทันธรรมารมณ ตามกระบวนการแหงหลักไตรสิกขา และเพ่ิมพูนกําลังแหงอินทรียพละ จนเกิดวิปสสนาญาณรูแจงในรูปนามขันธ ๕ ในสวนแนวคิดของโอโช บอเกิดอัชฌัตติกญาณ มีแหลงท่ีมาจากกายและจิตใจ ท้ังสองสวนไมอาจจะแยกกันได ความรูท่ีเกิดขึ้นทางกระบวนทางกาย ท่ีเรียกวาสัญชาตญาณ น้ันก็มีความสําคัญไมนอยไปกวาความรูท่ีเกิดจากใจโดยตรง การท่ีจะเขาสูความจริงแทได ตองใชความรูสึกท่ีไมไดเกิดจากการคิดปรุงแตง ความรูสึกท่ีวาน้ี เปนความรูสึกท่ีครอบคลุมถึงความรูสึกท่ีเกิดขึ้นทางกาย โอโช เชื่อวา ถึงแมอารมณความรูสึกจะเปนสวนนามธรรมก็ตาม แตก็สามารถแทรกซึมผานสวนท่ีเปนรูปธรรมได ในทางกลับกัน มนุษยพยายามใชเหตุผลท่ีเปนรูปธรรมเพ่ือพิสูจนความจริงท่ีเปนฝายนามธรรม เปนสิ่งขัดแยงกัน เมื่อความรูแบบสัญชาตญาณท่ีเปนพ้ืนฐานความรูทางกายภาพ ไมถูกกอกวน ไมถูกกดทับ ทางอารมณ

Page 92: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๗๗

แลว ปลอยใหเปนไปตามธรรมชาติ เมื่อน้ันก็อาจทําใหเรากาวขามไปสูอัชฌัตติกญาณไดโดยงาย ผูวิจัยเห็นวา ประเด็นของบอเกิดน้ี ท้ัง ๒ ทัศนะ มีความคลายกัน คือ ท้ังอัชฌัตติกญาณและวิปสสนาญาณ มีแหลงท่ีมาจากกายและใจ และในแงของการเขาไปรับรูเพ่ือใหถึงสภาวะแหงความจริง ท่ีตองใชความรูสึกลวนๆ ไมมีการเขาไปตีคาใดๆ ท้ังน้ีตองใชความรูสึกตัวนําทางเพื่อเขาถึงคําตอบ ดังน้ัน การจะเปดเผยอัชฌัตติกญาณและวิปสสนาญาณได ตองใชความรูสึกสัมผัสท้ังกายและใจโดยตรง ในประเด็นความตางกันในแงบอเกิด ทางพุทธปรัชญาเห็นตางวา ความรูสึกท่ีเกิดทางประสาทสัมผัสหรือการรับรูทางอายตนะท้ัง ๖ น้ัน ตองเปนความรูสึกท่ีไมเจือดวยความอยาก หรือความรูสึกท่ีไมมาจากสัญชาตญาณเดิมของมนุษย น่ันคือ การรับรูตองไมถูกปรุงแตงดวยกิเลสตัณหาอุปาทาน จะถือไดวา เปนความรูท่ีบริสุทธิ์ท่ีสามารถนําพาไปสูความรูระดับวิปสสนาญาณได กลาวคือ ความรูน้ันจะตองประกอบไปดวยจิตท่ีเปนกุศลฝายเดียวเทาน้ัน ไมเจือดวยความโลภ (โลภะ) ความโกรธ (โทสะ) ความหลง (โมหะ) อีกประเด็นหน่ึงทางพุทธปรัชญาถือวา ความอยาก ความตองการทางเพศ เปนแรงขับท่ีเกิดจากอนุสัยกิเลสท่ีนอนเน่ืองอยูในสันดาน เมื่อทําตามความอยากอยูเนืองๆตามแรงขับของสัญชาตญาณแบบน้ัน ก็ไมอาจทําใหความอยากตางๆหายไปได ย่ิงเปนแรงกระตุนใหเกิดความอยากสืบตอไปไมมีสิ้นสุด ตางจากโอโชท่ีใหความสําคัญตอสัญชาตญาณและเปนสิ่งท่ีควรใสใจ เปนฐานของความรูสึกทางกายและใจ ในประเด็นน้ี บอเกิดอัชฌัตติกญาณในแบบของโอโช คือ การรับรูในสวนของสัญชาตญาณ เปนการรับรูทางธรรมชาติ ถือวาเปนความรูท่ีบริสุทธิ์ทางสสาร เปนการกระตุนทางพลังงานทางรางกาย ไมวาจะเปนสัญชาตญาณในการมีชีวิตอยู การสืบพันธุหรือความตองการทางเพศ ความอยากท่ีเกิดจากแรงขับทางสัญชาตญาณ ตางๆเหลาน้ี เปนสิ่งไมควรเขาไปควบคุม พลังแหงสัญชาตญาณเหลาน้ี เมื่อถูกเปดเผยและดําเนินไปตามวิถีของมันแลว ก็อาจเปนแหลงความรูท่ีสามารถพาเราไปสูความรูระดับสูงได โอโชกลาววา “สัญชาตญาณและอัชฌัตติกญาณน้ันจริงๆแลว สามารถเดินไปดวยกันได สิ่งหน่ึงเดินไปในระดับกายภาพ ในขณะท่ีอีกสิ่งหน่ึงเดินไปในระดับจิตวิญญาณ”๑ อีกตอนหน่ึงวา “ถาทานชื่นชม

๑โอโช, ปญญาญาณ (intuition), ประพนธ ผาสุกยึด แปล, หนา ๔๔.

Page 93: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๗๘

สัญชาตญาณ มันจะเปนการงายมากท่ีจะพาทานไปสูสภาวะของอัชฌัตติกญาณ”๒ ซึ่งชี้ใหเห็นถึงการยอมรับความรูทางประสาทสัมผัส ท่ีแสดงออกมาทางความรูสึกทุกอยางวา สามารถทําใหความรูพัฒนาไปในระดับอัชฌัตติกญาณได

๔.๓ สภาวะลักษณะของวิปสสนาญาณและอัชฌัตติกญาณ ทางพุทธปรัชญาถือวา สภาวะลักษณะของวิปสสนาญาณ เปนความรูท่ีอยูเหนือ

จิตสํานึก คืออยูเลยขอบเขตของการคิดหาเหตุผล อยูระดับท่ีไมตองอาศัยสุตมยปญญา หรือจินตามยปญญา แตเปนความรูท่ีเหนือจิตสํานึกธรรมดา (Insight) เกิดจากการลงมือปฏิบัติวิปสสนาจนเห็นญาณท่ีไมอิงอาศัยการนึกคิด และสภาวะท่ีปรากฏใหเห็นน้ันมีลักษณะของการเกิดและดับ เปนสภาวะท่ีสามารถตัดสินดวยปญญาขั้นภาวนามยปญญา สภาวะการเกิดและดับ ปรากฏใหเห็นในลําดับขั้นอุทยัพยญาณ เปนตนไป ท้ังน้ี สภาวะแหงการเกิดและดับ อาจเรียกอีกอยางวา เปนการปรากฏตัวของสภาวะไตรลักษณ สภาวะน้ีจะปรากฏเสมอในทุกๆญาณ ทุกๆสภาวธรรม ท่ีปรากฏขึ้นในรูปนาม ตามลําดับขั้นของวิปสสนาญาณ หรือ เห็นเปนปรากฏการณท่ีบังเกิดแกรูปนาม พรอมเปดเผยทุกอยางท่ีถูกปดบังไวปรากฏออกมาใหเห็นเปนจริงเปนจัง และการบังเกิดญาณแตครั้ง จิตจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปสูญาณขั้นท่ีมองเห็นโลกและชีวิตตามความเปนจริง คือเห็นภาวะท่ีไมนาอยู ไมนาเอา ไมนาเปน ของรูปนามสังขารและการเห็นภัยในสังสารวัฏน้ี

ในสวนอัชฌัตติกญาณของโอโช เห็นไดวาสภาวะลักษณะท่ีปรากฏเปนสภาวะความรูท่ีเกิดโดยฉับพลันหรือท่ีเรียกวา สภาวะการกาวกระโดด (Intuition is a jump) เปนการกาวขามจากจุดท่ีรูไดเปนสูสิ่งท่ีรูไมได ไมอิงอาศัยความคิดท่ีเปนเหตุผล หรือ ความเขาใจเก่ียวกับทฤษฎี หรือการอนุมานอะไรตางๆ พรอมท้ัง เปนสภาวะท่ีอยูเหนือจิตสํานึก สภาวะดังกลาวลวงเลยขอบเขตของจิตสํานึก และจิตใตสํานึกไปแลว เปนสภาวะท่ีต่ืนรูปราศจากความคิดใดๆมาเจือปน เปนความรูสึกตัวท่ีไมเจือปนดวยความคิดปรุงแตง นอกจากน้ัน อัชฌัตติกญาณยังมีลักษณะเปนพลังงานท่ีทรงคุณคาหลอเลี้ยงชีวิตและจิตใจใหมีประสิทธิภาพและกอเกิดการพัฒนาท้ังทางรางกายและจิตใจมากขึ้น

๒เร่ืองเดียวกัน, หนา ๔๗.

Page 94: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๗๙

ในเรื่องของสภาวะลักษณะ น้ัน ท้ัง ๒ ทัศนะ มีความคลายกันในแงตรงท่ีสภาวะท้ัง ๒ เปนสภาวะท่ีเหนือจิตสํานึก เหนือการปรุงแตงทางความคิดท่ีใชเหตุผลมาเปนเครื่องมือ ดังน้ัน สภาวะลักษณะจะปรากฏขึ้นภายในจิตใจเอง ตามธรรมชาติ ไรการควบคุมใดๆ ทางพุทธปรัชญาเรียกวา เปนภาวะแหงปรมัตถ หรือภาวะท่ีอยูเหนือสิ่งสมมติบัญญัติ อยูเหนือหวงแหงกาลเวลา ประเด็นความตางในเร่ืองของสภาวะลักษณะ เมื่อศึกษาวิจัยก็พบวา ในสวนของพุทธปรัชญา สภาวะลักษณะของความรูท่ีเรียกวา วิปสสนาญาณนั้น มีหนาท่ีในตัวของมันเอง มีหนาท่ีโดยตรงคือการรูในเชิงประจักษแจงในกายในใจ หรือรูแจงในรูปนามขันธ ๕ ทําใหเกิดปรากฏการณตามความเปนจริง คือ เห็นไตรลักษณ คือ เปนสภาวะท่ีเห็นการเกิด – ดับของรูปนาม หรือประจักษแจงวา รูปนามน้ี และทุกสรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คือมีการเกิดขึ้น ต้ังอยู ดับไป เทาน้ัน ดังน้ัน สภาวะลักษณะแบบวิปสสนาญาณจะปรากฏในขอบขายของกายและใจ และไมมีความรูอื่นนอกจากการรูสภาวะไตรลักษณเทาน้ัน ในสวนของความรูอัชฌัตติกญาณของโอโช ผูวิจัยเห็นวา อัชฌัตติกญาณของทานเปนสภาวะท่ีใหคําตอบในทันทีทันใด มีลักษณะเหมือนสายฟาแลบ เกิดสวางจาขึ้นในจิตใจจนเห็นบทสรุป บุคคลท่ีเกิดญาณความรูน้ี ก็จะรูชัดในเรื่องท่ีตนอาจสงสัยหรือเรื่องท่ีไมเคยรูมากอน สัจจะความจริงท่ีปรากฏใหเห็นประจักษท่ีเกิดจากอัชฌัตติกญาณ ก็อาจเปนคําตอบของบางสิ่งท่ีมนุษยอยากรูหรือกําลังคนหาท่ีเชื่อมโยงกับสิ่งภายนอก เปนความรูท่ีเกิดโดยฉับพลันท่ีมีคําตอบแลวเมื่อไดความจริงท่ีเปนคําตอบก็นําคําตอบท่ีมีอยูจริงไปใชใหเกิดเปนพลังสรางสรรค หรือท่ีเรียกวา intelligence อีกประเด็น เห็นวา อัชฌัตติกญาณมีลักษณะเปนพลังงาน มีการเคลื่อนไหวอยูตลอดเวลา พลังน้ีเปนสิ่งทําใหทุกอยางเปนหน่ึงเดียวกัน หรือสอดผสานกันไดระหวางกายและจิตใจ ความตางกันของ ๒ ทัศนะท่ีเห็นชัดอีกประเด็นก็คือ ตัวสภาวะของอัชฌัตติกญาณน้ัน เมื่อรูแจงแลวภาวะนั้นจะเปนภาวะแหงความสมบูรณ เปนสัต (Being) ไมใชสิ่งท่ีแยกกัน โอโช เห็นวา ผูรูและสิ่งท่ีถูกรู เปนสิ่งเดียวกัน ตองหลอมรวมเปนหน่ึงเดียว แตภาวะแหงวิปสสนาญาณ คือการเห็นภาวะความจริงวาไมมีท้ังผูรูและไมมีสิ่งท่ีถูกรู เห็นแตความเกิดดับแหงรูปนาม และรูแจงวา ทุกสิ่งมีสภาพอิงอาศัยกันเกิด (Becoming) หรือ เปนสภาวะท่ีเกิดขึ้นตามเหตุปจจัยท่ีอิงอาศัยกันและกันเกิด (ปจจยาการ) และ ทุกสิ่งตองตกอยูในกฎอยางเดียวกันคือ เกิดขึ้น ต้ังอยูและดับไป

Page 95: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๘๐

๔.๔ กระบวนการความรูของวิปสสนาญาณและอัชฌัตติกญาณ ในเรื่องกระบวนการการเกิดความรู ท่ีเรียกวาวิปสสนาญาณน้ัน ไมสามารถจะรูไดดวยการคาดเดาวาจะเกิดขึ้นในเวลาไหน เมื่อใด เพราะอยูท่ีเหตุปจจัยจะใหเกิด วิปสสนาญาณสามารถเกิดขึ้นอยางฉับพลันในทันทีทันใด สภาวธรรมน้ันๆ จะปรากฏใหเห็นตอหนาตอตาไดทุกขณะ หรือสภาวะแหงวิปสสนาญาณอาจเกิดขึ้นไปตามลําดับอยางตอเน่ือง เมื่อผูเจริญวิปสสนามีสติระลึกรูตามดวยกําลังแหงอินทรียพละอยางตอเน่ืองในอิริยาบถอิริยาบถหน่ึง ก็เกิดญาณในลักษณะเกิดขึ้นตอเน่ือง กระบวนการเกิดญาณอาจเกิดขึ้นในอิริยาบถน้ันอิริยาบทเดียวก็ได เมื่อวิปสสนาญาณเกิดขึ้นในขณะใด ก็อาจทําใหการเกิดลําดับญาณเปนไปอยางตอเน่ืองไมขาดสาย ไมมีการขาดตอน ในอิริยาบถน้ันๆ บางกรณี อาจเกิดจากกําลังแหงอินทรียพละไมแกกลาพอ หรือเกิดความไมสมดุลกันของอินทรียพละ ทําใหการเกิดของญาณไมตอเน่ือง ไมเปนไปตามลําดับขั้น หรือ เกิดจากสิ่งท่ีเปนอุปสรรคตอวิปสสนาญาณ อยางตัว วิปสสนูปกิเลสมาปดบังไว จําเปนตองมีการปรับอินทรียใหเกิดความสมดุลและใหมีกําลัง ในกระบวนการความรูอีกแงหน่ึง พุทธปรัชญา มีกระบวนการทําใหเกิดความรูตามองคธรรม ในท่ีน้ีไดแสดงใหเห็นกระบวนการขั้นตอนตามนัยแหงวิสุทธิ ๗ เห็นไดวา ในขั้นปฏิปทาญาณทัศนะวิสุทธิ เปนขั้นท่ีเกิดญาณมองเห็นตัววิปสสนาญาณจริงๆ นับต้ังแต อุทยัพพยญาณ จนถึง ปจจเวกขณญาณ วาเปนขั้นของความจริงแท ท้ังน้ีไดอธิบายถึงกระบวนการท่ีนับเขาในวิปสสนาภูมิ ๖ วาดวยเรื่องวิธีการขั้นตอนของการพิจารณารูปนามตามองคธรรมตางๆโดยอาศัยประเภทธรรมท้ังหลายท่ีแยกเปนขันธ อายตนะ ธาตุ อินทรีย สัจจะ ปฏิจจสมุปบาท ท่ีทําใหเขาถึงความรูท่ีแทจริง จนเกิดวิปสสนาญาณมองเห็นสภาวธรรมนั้นๆ และทําใหมองเห็นปจจัยท่ีสําคัญการใชสติพิจารณาตามรูใหเห็นรูปนามตกอยูในกฎแหงไตรลักษณ เห็นความเกิดและดับ เห็นทุกขโทษ ในกองสังขาร จนเกิดการละความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามได

ในแนวคิดอัชฌัตติกญาณของโอโช ผูวิจัยเห็นวา กระบวนการความรูท่ีเห็นชัดเจน ในการอธิบายของทาน ตองเขาใจแยกแยะและทําลายตัวกลั่นกรองท่ีเขามาปกปดชีวิตและจิตใจใหหมดสิ้นเสียกอน เหมือนกับของสีขาวบริสุทธิ์ท่ีถูกหอหุมดวยสิ่งแปลกปลอมหลายชั้น สิ่งบริสุทธิ์อยูภายในแกนกลาง อันเปนแกนแท การท่ีจะมองเห็นโลกตามความเปนจริงได โดยมองผานชีวิตอันแสนสามัญ เปนสิ่งท่ีเปนไปไดยากมาก เพราะสิ่งท่ีปรากฏไดถูกบิดเบือน โอโชเชื่อวา เครื่องมือสําคัญท่ีสุด คือ ความรูสึกตัวหรือสติ (Consciousness) ความรูสึกตัวจะนําไปสูการรูแจง เพราะสติไมใชเครื่องมือท่ีมาจากการคิด การใชเหตุผล แตมาจาก

Page 96: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๘๑

ความรูสึกตัว หรือการต่ืนตัวท่ีเกิดขึ้นภายใน ท่ีใครๆก็รูสึกได และตัวสติจะทําลายมานหมอกแหงความคิดตางๆลง เขาเห็นวา เราควรกําจัดความคิดออกไปจากตัวเรา โดยหาวิธีหรือทางออกใหกับชีวิตมนุษย แตตัวความคิดเองน้ันเปนสิ่งท่ีอยูในตัวมนุษย ลําพังตัวเราก็ไมสามารถทําลายหรือบังคับมันได ตองอาศัยการรูสึกตัว (Consciousness) หรือความรูตัวท่ัวพรอม ท่ีเขามาควบคุมตัวเน้ือหาสาระ หรือตัวความคิด เมื่อสติต่ืนตัวอยางเต็มท่ีแลว จิตใจก็จะเปดรับ เกิดชองวางท่ีไมมีสิ่งท่ีเปนเน้ือหาสาระใดๆมาปะปน สุดทายสมาธิก็จะต้ังมั่น แลวพรอมท่ีจะเกิดสภาวะความเปนหน่ึงเดียวกันกับทุกสิ่ง

ในเรื่องกระบวนการความรูในการเขาถึงการรูแจง ท้ัง ๒ ทัศนะ ผูวิจัยเห็นวา วิธีการหรือแนวทางเบ้ืองตนท่ีมีความคลายกัน เปนเรื่องของ การมีสติ หรือความรูตัวท่ัวพรอม ในแนวคิดทางพุทธปรัชญาเถรวาท ใหความสําคัญตอการมีสติอยางมาก ในฐานะเปนบาทฐานหรือเปนเครื่องมือของการเจริญภาวนา ตัวสติจะเปนตัวนําทางท่ีทําใหเกิดการพัฒนาทางวิปสสนาญาณ ดวยการระลึกรูกายและระลึกรูใจ ตามสภาวะท่ีปรากฏ และอยูกับหวงแหงปจจุบันขณะ รูเทาทันอารมณในจิตใจของตนเอง ในกระบวนการความรูทัศนะของโอโช สติเปนตัวชวยในการปฏิบัติภาวนาตามวิธีของทานและสามารถนําไปสูการรูแจงหรือบรรลุถึงอัชฌัตติกญาณ และการดํารงชีวิตประจําวันตองมีสติอยูกับปจจุบันขณะ รูอารมณ ความรูสึกตามความเปนจริง ความตางกันท่ีเห็นชัดคือวิธีการของพุทธปรัชญาเถรวาทท่ีเห็นวา วิปสสนาญาณจะเกิดมีขึ้นได ตองปฏิบัติตามแนวสติปฏฐาน ๔ คือ กาย,เวทนา,จิต,ธรรม หรือเปนวิธีการท่ีเรียกวาตามรูการดู กายและจิตอยางตอเน่ือง พรอมกับเรียนรูปฏิบัติตามกระบวนการแหงวิปสสนาภูมิ ๖ และใหเปนไปตามแหงหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปญญา สิ่งท่ีสําคัญคือการใชสติพิจารณาดูรูปนามน้ัน ตองประกอบไปดวยหลักธรรมสําคัญ โดยเฉพาะสติท่ีเกิดขึ้นน้ัน ตองพัฒนาใหเกิดสัมมาสติ คือสติท่ีกอใหเกิดกุศล สติจะชวยสกัดก้ันอกุศลมูล ท่ีทําใหความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดมีกําลังขึ้นมาจนกอใหเกิดการยึดมั่นถือมั่น ท้ังความอยากท่ีเกิดมาจากแรงขับทางสัญชาตญาณ ก็ถือวาเปนกระแสแหงกิเลส การตามรูตามดูดวยสัมมาสติน้ีทําใหเห็นสภาวะความจริง เกิดเปนวิปสสนาญาณท่ีมองเห็นรูปนามหรือ กายใจนี้ มีแตกระแสแหงความเกิดและดับ ไมขาดสาย พุทธปรัชญาถือวา การเห็นความจริงเชนน้ี เปนวิปสสนาญาณท่ีเกิดจากการลงมือภาวนา

Page 97: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๘๒

ในสวนของกระบวนการความรูแบบอัชฌัตติกญาณของโอโช ผูวิจัยเห็นวามีประเด็นท่ีควรศึกษาเก่ียวกับกระบวนการในการเขาไปรูความจริง ซึ่งกระบวนดังกลาวสามารถเขาใจได ถาสามารถจับประเด็นและเขาใจในกระบวนการ ๓ สิ่ง ไดแก

๑) การทําความเขาใจในสวนกายภาพ หรือในระดับสัญชาตญาณ วาควรมีการปฏิบัติตนอยางไร และใหเห็นคาของธรรมชาติท่ีไมควรเขาไปกดทับสัญชาตญาณ

๒) ควรทําความเขาใจระดับท่ีเรียกวาปรีชาญาณ การละท้ิงความคิดปรุงแตง ทําลายมโนภาพหรือจินตนาการตางๆลง

๓) การใหความสําคัญตอ อารมณ ความรูสึก และใชสติควบคุมอารมณความรูสึกใหเปนปกติ ใชสติความรูสึกตัวจับความเคลื่อนไหวตลอดเวลา จนเกิดความรูสึกต่ืนตัวเบิกบานในอารมณอยางไมถูกกดทับ

มีอีกประเด็นหน่ึง ท่ีผูวิจัยใหความสนใจก็คือ แนวคิดของโอโช เก่ียวกับ การดํารงชีวิตอยูโดยไมควบคุมกดทับสัญชาตญาน เนนการระลึกรูตามอารมณตามสิ่งท่ีปรากฏ จนเกิดเปนพลังขับเคลื่อนภายในกาย เกิดการผอนคลายปลอยวางท้ังทางกายและจิตใจได โอโช เชื่อวา ในกระบวนการดังกลาว จะกอเกิดพลังแหงชีวิต เปนพลังแหงธรรมชาติท่ีอยูในระดับสัญชาตญาณ หรือ พลังแหงจิตใตสํานึกใหปลดปลอยออกมาอยางเปนอิสระ ไมมีการสกัดก้ันใดๆ เพ่ือใหเกิดกระบวนการเช่ือมโยงระหวางกายและจิตใจ เมื่อทํากระบวนการน้ันไปตามลําดับแลว ความรูในสวนลึกของจิตใจจะปรากฏขึ้นเองอยางแจมแจง เปนปรากฏการณท่ีเรียกวา ความรูอันสมบูรณ น่ันคือ อัชฌัตติกญาณ เมื่อวิเคราะหเปรียบเทียบในพุทธปรัชญา แนวคิดน้ีมีความตางกันมาก ในแงของการปฏิบัติ ซึ่งพุทธปรัชญาใหความสําคัญตอการควบคุมกาย วาจา ใจ ใหปกติ ตองใชศีลมาควบคุมคุมครองไว เพ่ือไมใหกิเลสท่ีอยูขึ้นมามีอํานาจเหนือจิตใจ ตองใชการสํารวมระวัง ตอกิเลสตางๆท่ีเขามาสนองตออารมณอยางมาก ตองทําใหบรรเทาเบาบางลงและตัดใหขาด ในกรณีน้ี การสํารวมระวังไมไชเปนการกดทับอารมณสัญชาตญาณ แตเปนรูเทาทันอารมณไมใหกิเลสเขามามีอํานาจในจิตใจ สวนแนวคิดของ โอโชท่ีใชสัญชาตญาณมาเปนอารมณของการภาวนา ในมุมมองทางพุทธปรัชญา อาจถือวา เปนแนวคิดท่ีเขาขายไปในทางสุดโตงไดมาก หรือท่ีเรียกวากามสุขัลลิกานุโยค ท่ีออกนอกหลักมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง ถึงแมจะใชสติตามรูตามดูก็ตาม แตก็อาจเขาขายเปนมิจฉาสติท่ีไมทําใหเห็นตามความเปนจริงตามแบบพุทธปรัชญาได

Page 98: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๘๓

๔.๕ จุดมุงหมายสูงสุดของความรูของวิปสสนาญาณและอัชฌัตติกญาณ ในพุทธปรัชญา ไดแสดงใหเห็นถึงจุดมุงหมายที่สําคัญของวิปสสนาญาณ โดยมี

ประเด็นหลักๆท่ีไดอธิบายไว ประเด็นแรกไดอธิบายถึงการบรรลุธรรมเขาสูภาวะแหงความเปนอริยบุคคล ท่ีไดมีระดับแหงการพัฒนาศักยภาพทางจิต โดยสามารถตัดสินในแตละบุคคลภาวะนั้นได วาละสังโยชนในขอใดไดบาง จนถึงระดับท่ีละสังโยชนไดท้ังหมด คือ การบรรลุเขาสูความเปนพระอรหันตได อีกประเด็นได แสดงถึงหลักความจริงของชีวิตท่ีวิปสสนาญาณเขาไปรูแจงจนเห็นสภาวะของรูปนามท่ีเต็มไปดวยทุกข ซึ่งทุกขภาวะถือวาเปนหลักธรรมท่ีปรากฏในอริยสัจและอยูในกฎแหงไตรลักษณ ในขั้นลําดับญาณก็จะปรากฏสภาวะแหงทุกขน้ีตลอดเวลา และอีกประเด็นสําคัญ มีสภาวะท่ีแสดงใหเห็นสภาวธรรมท่ีเปนจุดหมาย และปรากฏแกผูท่ีบรรลุวิปสสนาญาณในขั้นสูงเสมอ คือ การเห็นนิพพานเปนอารมณ เปนภาวะแหงจิตใจของบุคคลท่ีละความยึดมั่นถือมั่น เห็นทุกขโทษ และเห็นภัยในวัฏฏะสงสาร จนเบ่ือหนายคลายกําหนัดยินดีในรูปนามเสียได จนมีนิพพานอยูเบ้ืองปลาย น่ันคือ สภาวะแหงจิตผูกําลังหลุดพนจากกองทุกขในรูปนามขันธ ๕ น่ันเอง

ในแนวคิดของโอโช เก่ียวกับจุดหมายของอัชฌัตติกญาณ โอใชไดเนนเรื่องของการหลุดพนออกไปจากความคิดหรือเหตุผลท่ีไรสาระ การท่ีมนุษยหลุดพนไปจากความคิด เพราะความคิดเปนสาเหตุสําคัญ เปนตนตอของปญหาท่ีทําใหชีวิตยุงเหยิง เปนพันธนาการท่ีซับซอน จนเปนระบบความเชื่อและกฎเกณฑเง่ือนไขตางๆท่ีสรางความเปนตัวตนท่ีไมมีจริงขึ้นมา แยกผูรูออกจากสิ่งท่ีถูกรู ดังน้ัน เมื่อหลุดพนออกจากความคิดได ก็ถือวา เขาสูภาวะแหงความจริงแทได ในภาวะแหงความจริงน้ี โอโชถือวา เปนภาวะแหงการรูแจง เปนความรูขั้นสูง ท่ีทําใหสามารถปลอยวาง ละความยึดติดสิ่งสมมติท่ีเกิดจากความคิดของมนุษยท่ีสรางขึ้นมา และเมื่อเขาถึงอัชฌัตติกญาณแลว ชีวิตจะเกิดความสอดผสานกันอยางลงตัว ท้ังทางดาน ความคิด อารมณ ความรูสึก เปนผูมีความระลึกรูตัวอยางพิเศษตอสิ่งท่ีมากระทบและเกิดพลังท่ีอยูขางในรางกายและจิตใจ จนเปนภาวะแหงความสมบูรณ ความอิ่มเอิบท้ังทางรางกายและจิตใจ เปนพลังดานบวก เกิดเปนเชาวปญญา (Intelligen) และพลังสรางสรรค (Creativity) แหงชีวิต

เมื่อศึกษาแนวคิดท้ัง ๒ ทัศนะ ท้ังวิปสสนาญาณและอัชฌัตติกญาณ มีความคลายกันในระดับผลท่ีไดรับ คือ ความสุขท่ีเกิดขึ้นจากการภาวนาทําใหเกิดภาวะท่ีเห็นไดในปจจุบัน คือ การรูสึกผอนคลายทางกายและใจ การปลอยวางความคิดและละความยึดถือสิ่งท่ีเปนสมมติบัญญัติตางๆ ลงได เกิดความสุขจากการปลอยวางคลายความยึดถือสิ่งสมมติบัญญัติ

Page 99: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๘๔

ทําใหจิตใจเปนอิสระตอการปรุงแตง ความเบิกบานท่ีเต็มเปยมในจิตใจ พรอมท้ังความสงบระงับทางอารมณ ดังน้ัน ทัศนะท้ัง ๒ มีความคลายกัน ในฐานะท่ีสรางความสุขใหเกิดขึ้นไดจากผลท่ีเกิดขึ้นในปจจุบันเปนหลัก

ในประเด็นความตางกันของท้ัง ๒ ทัศนะ ไดแยกประเด็นความตางเปน ๒ ประเด็น ดังตอไปน้ี ประเด็นแรก ความตางเก่ียวกับการหลุดพน ตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทน้ัน วิปสสนาญาณมีจุดมุงหมายสูงสุด คือ การหลุดพนจากกองทุกขท่ีมีอยูในรูปและนาม หรือวา กายและใจนี้เทาน้ัน อันนําไปสูภาวะความจริงอันเปนปรมัตถ คือ การดับกิเลสโดยสิ้นเชิง หรือเรียกภาวะท่ีบรรลุน้ันวา นิพพาน ผูวิจัยเห็นวาวิปสสนาญาณนั้น โดยตัวของมันเอง เปนเพียงเครื่องมือในการเขาไปรูความจริงเพ่ือไปสูจุดมุงหมาย เมื่อบุคคลผูบรรลุเขาถึงเปาหมายคือนิพพานแลว สภาวะวิปสสนาญาณก็ไมจําเปนอีกตอไป เพราะถือวาสิ้นสุดการเดินทางแลว เหมือนบุคคลผูใชเรือขามฝง เมื่อพายไปถึงฝงแลว ก็ไมไดใชเรือน้ันอีก ผูวิจัยเห็นวา แตกตางกันตรงท่ีตัวอัชฌัตติกญาณของโอโชน้ัน เปนท้ังจุดหมายปลายทาง สามารถนํามาคอยควบคุมสรางสรรคในสวนของสัญชาตญาณและปรีชาญาณ แตวิปสสนาญาณน้ันเปนแคเครื่องมือในการทําหนาท่ีมองเห็นสภาวะความเปนจริง คือ มองเห็นไตรลักษณในสิ่งท้ังหลายเทาน้ัน สวนจุดมุงหมายของการเขาถึงอัชฌัตติกญาณของโอโช ผูวิจัยเห็นวา เปนการหลุดพนจากสิ่งสมมติบัญญัติ หลุดพนจากความคิดตางๆท่ีมนุษยสรางขึ้นมาภายหลัง จนไปสูสภาวะเดิมแทของจิต อันมีธรรมชาติ วางเปลา ไปสูความจริงท่ีแท น่ันคือ ความมีอยูท่ีแทจริงของตัวตนท่ีสมบูรณ สภาวะที่แทจริงน้ัน เปนสภาวะแหงอัชฌัตติกญาณ หมายความวา อัชฌัตติกญาณเปนท้ังเครื่องมือ เปนท้ังตัวสภาวะเอง เมื่อบรรลุเขาถึงภาวะน้ัน เขาจะเริ่มเปนนายของตัวเอง พรอมท่ีจะนําอัชฌัตติกญาณมาใชควบคุมสัญชาตญาณและปรีชาญาณ ใหเปนไปอยางสรางสรรค บุคคลท่ีเขาถึงอัชฌัตติกญาณ เปนผูเพียบพรอมไปดวยความฉลาดปราดเปรื่อง เปนผูมีเชาวปญญา และการริเริ่มสรางสรรค ไมติดอยูในโลกของสมมติบัญญัติ มีชีวิตอยูอยางธรรมชาติ เรียบงาย ไมด้ินรนทะเยอทะยาน

ในประเด็นท่ี ๒ เปนทัศนะเก่ียวกับความเปนมนุษยท่ีสมบูรณ ในพุทธปรัชญาเถรวาท มนุษยท่ีสมบูรณแบบคือมนุษยท่ีไดรับการพัฒนาคุณภาพของจิต ซึ่งบุคคลผูเกิดวิปสสนาญาณ บรรลุญาณในขั้นตางๆจนสามารถละสังโยชน ๑๐ ต้ังแตละไดในบางสวนหรือสามารถละไดท้ังหมด ก็จะเปนบุคคลชั้นเลิศ นับแต โสดาบันบุคคล จนถึง พระอรหันต น่ันคือกาวจากปุถุชนไปสูความเปนอริยชน ตามขั้นการพัฒนาทางจิตใจ สามารถละวางกิเลสตางๆได

Page 100: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๘๕

ตามลําดับแหงวิปสสนาญาณ จนนําไปสูการหลุดพนในรูปนาม สวนแนวคิดของโอโช ผูวิจัยเห็นวา มนุษยผูเขาถึงอัชฌัตติกญาณ มีความสมบูรณพรอมในตัวเอง ท้ังรางกายและจิตใจ ทานเนนเรื่องความสอดผสานกันของชีวิตใหเปนอยางธรรมชาติ ดังน้ัน มนุษยท่ีสมบูรณคือมนุษยท่ีมีชีวิตสอดคลองธรรมชาติ มีพลังสรางสรรคท่ีเต็มเปยมและเบิกบานในจิตใจ เปนมนุษยท่ีเขาถึงความหลุดพนตามทัศนะของโอโช

ตารางเปรียบเทียบ 

สรุปแนวคิดวิปสสนาญาณในพุทธปรัชญาเถรวาทและอัชฌัตติกญาณของโอโช วิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท อัชฌัตติกญาณของโอโช

ความหมายตามนัยของท้ัง ๒ ทัศนะ ญาณท่ีเปนวิปสสนาญาณจริงๆ คือ การท่ีวิปสสนาไดเขาไปเห็นสภาวะแหงการเกิดดับของรูปนาม เ ห็นปรากฏการณทางธรรมชาติ ท่ีมีสภาพการเกิดขึ้น ต้ังอยู และดับไปอยางชัดแจง อันเปนกระบวนการแหงกฎไตรลักษณ

ความรูท่ีเกิดขึ้นจากการหย่ังรูภายใน เปนความรู ท่ี เ กิดจากประสบการณ ท่ี เหนือประสาทสัมผัส อัชฌัตติกญาณเปนสิ่งท่ีอยูเหนือความฉลาดปราดเปรื่อง เปนสิ่งท่ีอยูนอกเหตุเหนือผล

บอเกิดของท้ัง ๒ ทัศนะ

พุทธปรัชญาใหความสําคัญเก่ียวกับรูปนามขันธ ๕ ท้ังความสําคัญของการรับรูอารมณทางอายตนะ กระทบใหเกิดความรูสึกตางๆ จนเกิดอารมณท้ังท่ีเปนกุศล อกุศล และอัพยากตะ ท้ังน้ี ก็ตองอาศัยกระบวนทางพุทธปรัชญาท่ีใชองคธรรมสําคัญมาเปนบาทฐานความรู จนเกิดวิปสสนาญาณรูแจงในรูปนามขันธ ๕

บอเกิดอัชฌัตติกญาณ มีแหลงท่ีมาจากกายและจิตใจ ท้ังสองสวนไมอาจจะแยกกันได ความรู ท่ี เกิดขึ้นทางกระบวนทางกาย ท่ีเรียกวาสัญชาตญาณ น้ันก็เปนปจจัยสําคัญในการเกิดอัชฌัตติกญาณ รวมไปถึง อารมณ

ความรูสึก ท่ีเกิดจากจิตใจโดยตรง

สภาวะลักษณะของท้ัง ๒ ทัศนะ สภาวะลักษณะของวิปสสนาญาณ เปน สภาวะลักษณะท่ีปรากฏเปนสภาวะความรูท่ี

Page 101: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๘๖

ความรู ท่ีอ ยู เหนือจิตสํานึก คืออยู เลยขอบเขตของการคิดหาเหตุผล อยูระดับท่ีไมตองอาศัยสุตมยปญญา หรือจินตามยปญญา แตเปนความรูท่ีเหนือจิตสํานึกธรรมดา ( Insight) เ กิดจากการลงมือปฏิบัติวิปสสนาจนเห็นญาณท่ีไมอิงอาศัยการนึกคิด และสภาวะท่ีปรากฏใหเห็นน้ันมีลักษณะของการเกิดและดับ เปนสภาวะท่ีสามารถตัดสินดวยปญญาขั้นภาวนามยปญญา

เกิดโดยฉับพลันหรือท่ีเรียกวา สภาวะการกาวกระโดด (Intuition is a Jump) ไมอิงอาศัยความคิดท่ีเปนเหตุผล เปนสภาวะท่ีอยูเหนือจิตสํานึก สภาวะดังกลาวลวงเลยขอบเขตของจิตสํานึก และจิตใตสํานึกไปแลว เปนสภาวะท่ีต่ืนรูปราศจากความคิดใดๆมาเจือปน เปนความรูสึกตัวท่ีไมเจือปนดวยความคิดปรุงแตง

กระบวนการความรูของท้ัง ๒ ทัศนะ วิปสสนาญาณนั้น อยูท่ีเหตุปจจัยจะทําใหเ กิด พรอม ท้ังสามารถ เ กิดขึ้นอย า งฉับพลันในทันทีทันใด และเมื่อวิปสสนาญาณเกิดขึ้นในขณะใด ก็อาจทําใหการเกิดลําดับญาณเปนไปอยางตอเน่ืองไมขาดสาย ไมมีการขาดตอน บางกรณี อาจเกิดจากกําลังแหงอินทรียพละไมแกกลาพอ เกิดวิปสสนูปกิเลสมาปดบังไว อีกแงหน่ึง พุทธปรัชญา มีกระบวนการทําใหเกิดความรูตามองคธรรม ท่ีนับเขาในวิสุทธิ ๗ และวิปสสนาภูมิ ๖ วาดวยเรื่องวิธีการขั้นตอนของการพิจารณารูปนามตามองคธรรมตางๆ จนเกิดวิปสสนาญาณมองเห็นสภาวธรรมน้ันๆ

การเขาถึงอัชฌัตติกญานตองเขาใจแยกแยะและทําลายตัวกลั่นกรองท่ีเขามาปกปดชีวิตและจิตใจใหหมดสิ้นเสียกอน เหมือนกับของสี ข า วบริ สุ ท ธิ์ ท่ี ถู กห อ หุ ม ด ว ยสิ่ งแปลกปลอมหลายชั้นและเครื่องมือสําคัญท่ี สุ ด คื อ ค ว า ม รู สึ ก ตั ว ห รื อ ส ติ (Consciousness) ความรูสึกตัวจะนําไปสูการรูแจง เพราะสติไมใชเครื่องมือท่ีมาจากการคิด การใชเหตุผล แตมาจากความรูสึกตัว หรือการต่ืนตัวท่ีเกิดขึ้นภายใน ท่ีใครๆก็รูสึกได และตัวสติจะทําลายมานหมอกแหงความคิดตางๆลง

จุดมุงหมายของความรูของท้ัง ๒ ทัศนะ

จุดมุงหมายท่ีสําคัญ คือ การบรรลุธรรมเขาสูภาวะแหงความเปนอริยบุคคล ท่ีไดมี

จุดมุงหมายที่สําคัญ คือ การท่ีมนุษยหลุดพนไปจากความคิด เพราะความคิดเปนสาเหตุ

Page 102: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๘๗

ระดับแหงการพัฒนาศักยภาพทางจิต สามารถละสังโยชนไดบางสวนจนถึงระดับท่ีละสังโยชนได ท้ังหมด พรอมแสดงถึงหลักความจริงของชีวิต รูแจงเห็นสภาวะของรูปนามท่ีเต็มไปดวยทุกข ซึ่งทุกขภาวะถือวาเปนหลักธรรมท่ีปรากฏชัดในอริยสัจและอยูในกฎแหงไตรลักษณและประเด็นสําคัญ มีสภาวะท่ีแสดงใหเห็นสภาวธรรมท่ีเปนจุดหมาย คือ การเห็นนิพพานเปนอารมณ เปนภาวะแหงจิตใจของบุคคลท่ีละความยึดมั่นถือมั่น ในรูปนามขันธ ๕

สําคัญ เปนตนตอของปญหาท่ีทําใหชีวิตยุงเหยิง เปนพันธนาการท่ีซับซอน สรางความเปนตัวตนท่ีไมมีจริงขึ้นมา แยกผูรูออกจากสิ่ ง ท่ี ถู กรู ดั ง น้ัน เมื่ อหลุ ดพนออกจากความคิดได ก็ถือวา เขาสูภาวะแหงความจริงแทได ในภาวะแหงความจริงน้ี โอโชถือวา เปนภาวะแหงการรูแจง เปนความรูขั้นสูง ท่ีทําใหสามารถปลอยวาง ละความยึดติดสิ่งสมมติท่ีเกิดจากความคิดของมนุษยท่ีสรางขึ้นมา

Page 103: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

บทที่ ๕

สรุปผลการวิจัยและขอเสนอแนะ

๕.๑ สรุปผลการวิจัย วิทยานิพนธน้ี มีวัตถุประสงค คือ (๑) เพ่ือศึกษาแนวคิดเรื่องวิปสสนาญาณ ใน

พุทธปรัชญาเถรวาท (๒) เพ่ือศึกษาแนวคิดเรื่อง อัชฌัตติกญาณ ของโอโช (๓) เพ่ือศึกษาเปรียบเทียบใหเห็นถึงความคลายและความตาง โดยมีขอสรุปผลการศึกษาไดดังน้ี

๕.๑.๑ แนวคิดวิปสสนาญาณทางพุทธปรัชญาเถรวาท ตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท วิปสสนาญาณ เปนความรูในระดับภาวนามยปญญา ไมไดเกิดจากการคิดเองหรือคาดคะเนตามความเขาใจของตน แตเกิดจากผลแหงการภาวนาท่ีเขาไปประจักขดวยตนเอง ในการเขาไปพิสูจนความจริงน้ีตองอาศัยองคธรรมมาเปนบาทฐานการปฏิบัติเพ่ือเขาถึงวิปสสนาญาณ องคธรรมท่ีสําคัญอยางสติปฏฐานท้ัง ๔ หรือการใชอินทรียพละมาเปนเครื่องเกื้อหนุน หรือแมแตการใชหลักแหงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปญญา ก็เปนกระบวนการท่ีทําใหเกิดวิปสสนาญาณท้ังน้ัน สิ่งท่ีวิปสสนาญาณเขาไปเห็นเปนปญญาท่ีเห็นแจงในรูปนาม (ขันธ ๕) หรือเปนการเห็นสภาวะการเกิดขึ้น และดับไป ของรูปนาม  เห็นรูปนามตกอยูในกฎแหงไตรลักษณ หรือเห็นแจงอริยสัจ ๔ ในรูปนามขันธ ๕ เพ่ือนําไปสูการละความยึดมั่นถือมั่นในรูปนาม และนําไปสูความหลุดพน จาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน  

๕.๑.๒ แนวคิดอัชฌัตติกญาณของโอโช ตามทัศนะของโอโช ความรูระดับอัชฌัตติกญาณ เปนความรูท่ีเกิดจากประสบการณตรงท่ีเกิดขึ้นภายใน เปนสภาวะท่ีเหนือจิตสํานึก ทานเนนความรูสึกทางดานจิตใจท่ีเปน บอเกิดท่ีแทของอัชฌัตติกญาณ และการไมกดทับอารมณทางสัญชาตญาณ โดยการเอาเหตุผลมาเปนตัวนํา ไมอาจจะพัฒนาจิตใจไปสูความจริงได ตองอาศัยความรูสึกตัว มีสติอยูกับปจจุบันขณะ ละท้ิงความคิดการปรุงแตงท้ังหลายลง ใชจิตใจเปนตัวนําทาง ก็สามารถเขาถึงอัชฌัตติกญาณได ความรูระดับอัชฌัตติกญาณ มีจุดมุงหมายท่ีทําใหจิตละความยึดมั่นถือ

Page 104: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๘๙

มั่นในตัวตน และปลอยวางจากสิ่งสมมติตางๆท่ีเกิดขึ้นจากความคิดหรือเหตุผลท่ีไมมีอยูจริง อีกท้ังการรูแจงในอัชฌัตติกญาณยังสามารถทําใหชีวิตมีพลังสรางสรรคและพัฒนาไปสูความเปนมนุษยท่ีสมบูรณแบบไดอีก

๕.๑.๓ วิปสสนาญาณและอัชฌัตติกญาณ มีความคลายกันและความตางกันสรุปได ดังน้ี

(๑) ในแงความหมาย คลายตรงท่ีทัศนะท้ัง ๒ กลาวถึงความรูเกิดมาจากสิ่งภายใน ไมไดเกิดจากการแสวงหาความรูภายนอก เปนความรูท่ีเกิดจากประสบการณตรงไมผานการคิดหาเหตุผลใดๆ ความตางกันในเชิงความหมาย อัชฌัตติกญาณของโอโช อีกความหมายหน่ึง ความรู ท่ีเกิดโดยลางสังหรณ รู เองเกิดขึ้นเอง แลวกลายเปนพลังสรางสรรค แตวิปสสนาญาณคือการรูแจงเห็นจริง ในกายและใจ คือ เห็นสภาวะความไมเท่ียง เปนทุกขและเปนอนัตตา เทาน้ัน

(๒) ในแงบอเกิด ทัศนะท้ัง ๒ คลายกันตรงท่ี ความรูท่ีไดมา เกิดจากการใชความรูสึกลวนๆ ไมใชสมมติบัญญัติหรือการปรุงแตงใดๆ เขาไปรับรู ตอสิ่งตางๆ ความตางกัน ในเรื่องบอเกิด การเปดรับอารมณความรูทางสัญชาตญาณ การตอบสนองตอสิ่งเราตามธรรมชาติ หรือการไมกดทับอารมณทางเพศ เปนบอเกิดของอัชฌัตติกญาณได ทางพุทธปรัชญา เห็นวา รูปนามขันธ ๕ เปนบอเกิดของวิปสสนาญาณ มองเห็นสิ่งตางๆตามความเปนจริง ปองกันไมใหอกุศลจิตท้ังหลายมีกําลังพอท่ีจะสนองตอความอยากหรือสามารถกําจัดกิเลสลงไดอยางราบคาบ จนเกิดการรูแจงเขาสูวิปสสนาญาณตามลําดับ

(๓) สภาวะลักษณะมีความคลายกันตรงท่ีความรูท้ัง ๒ เปนสภาวะอยูเหนือจิตสํานึก เปนอุตรภาวะ อยูเหนือสิ่งสมมุติบัญญัติ ความตางกันในเรื่องสภาวะลักษณะ อัชฌัตติกญาณมีลักษณะท่ีสมบูรณในตัวเอง มีพลังในตัวเอง เชื่อมสิ่งตางๆรวมเขาดวยกัน เปนหน่ึงเดียวไมมีการแบงแยก แตวิปสสนาญาณเห็นสิ่งตางๆ มีแตความแตกสลาย คงทนอยูอยางเดิมไมได ไมมีอะไรท่ีเปนตัวตนท่ีแทจริง เห็นแตความเกิดขึ้น ต้ังอยู และความดับไปในสรรพสิ่ง

(๔) กระบวนการความรู คลายกันตรงท่ีท้ัง ๒ ทัศนะ ใหความสําคัญตอการใชสติ ความระลึกรูตัว เปนบาทฐาน สวนความตางกันในเรื่องของกระบวนการความรู อัชฌัตติกญาณเกิดจากการมีสติเพ่ือตามรูอารมณท่ีปรากฏทางกายและใจ หรือระลึกรูอารมณความรูสึกท่ีแสดงออกมาตามสัญชาตญาณจนเกิดการต่ืนตัวทางอารมณ จนสามารถละความคิดการปรุง

Page 105: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๙๐

แตงท้ังหลาย เมื่อน้ันอัชฌัตติกญาณจะปรากฏ สวนทางพุทธปรัชญา การมีสติตามรูตามดูรูปนามหรือ การตามดูกายและจิต จนเห็นกระบวนการแหงเหตุปจจัยและการเกิดดับท่ีสืบเน่ือง พรอมท้ังวิปสสนาญาณไดรูแจงเห็นจริงในรูปนามตามลําดับขั้น จนเกิดการพัฒนาจิต จากระดับโลกิยะ จนถึงโลกุตตระ

(๕) ในแงจุดมุงหมาย ท้ัง ๒ ทัศนะ คลายกันตรงท่ีทําใหจิตหลุดพนจากความคิดปรุงแตง เปนจิตท่ีวางเปลาอิสระจากสิ่งสมมติตางๆ ความตางกันในเรื่องจุดมุงหมาย พุทธปรัชญาถือวา จุดมุงหมายของวิปสสนาญาณ คือการหลุดพนจากกองทุกข พนกิเลส ตัณหา อุปาทาน เขาไปสูนิพพาน หรือการบรรลุจนไปสูความเปนอริยบุคคลชั้นตางๆ สวนจุดมุงหมายอัชฌัตติกญาณของโอโช คือ การกาวไปสูความวางแหงจิตท่ีไรพันธนาการทางความคดิ นําไปสูจิตเดิมแทท่ีปราศจากการยึดถือในตัวตนท่ีผิด

๕.๒ ขอเสนอแนะ ๕.๒.๑ ขอเสนอแนะเชิงวิชาการ เมื่อศึกษาวิจัยพบวา มีประเด็นท่ีนาสนใจเก่ียวกับธรรมชาติด่ังเดิมแหงจิตใจ ใน

พุทธปรัชญาเถรวาทน้ัน จิตเดิมแทคือจิตท่ีมีธรรมชาติท่ีผองใส เปนของเดิมแท แตถูกปรุงแตงดวยความโลภ ความโกรธ ความหลง จนเสียความเปนธรรมชาติเดิมกลายเปนจิตใหม ความโลภ ความโกรธ ความหลง เปนสิ่งท่ีตองละและทําลายใหสิ้นซาก กิเลสและความทุกขตางๆท่ีทําใหจิตวุนวายน้ันไมใชพ้ืนฐานของจิตเดิมแท ดังพระพุทธพจนท่ีวา “จิตน้ีประภัสสร เขาไปเศราหมองเพราะกิเลสท่ีจรมา...จิตน้ีประภัสสรหลุดพนไดเด็ดขาดจากอุปกิเลสท่ีจรมา”๑ จิตท่ีถูกปรุงแตงดวยกิเลสเมื่อไดรับการอบรมดวยวิธีอบรมจิตท่ีถูกตองตามหลักไตรสิกขา จะคอยๆฉลาดขึ้นโดยลําดับจนเขาถึงสภาวะเดิมแทอยางถาวรไมถูกปรุงแตงอีกตอไป ในแนวคิดของโอโชก็กลาวถึงธรรมชาติเดิมแทของจิตเชนกัน โดยเห็นวา จิตท่ีหลุดพน คือการกลับไปสูธรรมชาติด่ังเดิมของจิต วางจากสิ่งสมมติบัญญัติอันเกิดจากความคิด ความคิด หรือ การปรุงแตง เปนสิ่งท่ีเกิดขึ้นมาภายหลัง ถึงแมภาวะจิตแบบอัชฌัตติกญาณน้ันเปนภาวะที่พนจากสมมติบัญญัติ ในทัศนะของโอโชก็ยังไมไดแสดงความละเอียดในเร่ืองของอํานาจของกิเลส หรือโอโชอาจมองตรงกันขามกับพุทธปรัชญาในขอท่ีวา อัชฌัตติกญาณสามารถควบคุมความคิดและอารมณตางๆที่มีจิตใจได รวมไปถึงความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเปน

๑ ดูรายละเอียด องฺ.เอกก.(ไทย) ๒๐/๙/๔๙-๕๐.

Page 106: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๙๑

เพียงภาวะท่ีถูกปรุงแตงไปตามอํานาจของความคิด โอโชมองวา มันคือสิ่งท่ีมีอยูในตัวมนุษยท่ีถูกความคิดทําใหหลงผิด และเมื่อเกิดอัชฌัตติกญาณ สิ่งเหลาน้ีสามารถกลายมาเปนพลังบวก คือสามารถควบคุมไมใหอารมณเหลาน้ันปะทุขึ้นมาไดอีก แตทางพุทธปรัชญาปฏิเสธอยางสิ้นเชิง เพราะถือวาเปนกิเลสท่ีจะตองละหรือทําลายลงใหราบคาบ เพราะน่ันคือ ตัวอวิชชาหรืออุปสรรคขวางก้ันท่ีไมสามารถทําใหรูแจงได จากการศึกษาเปรียบเทียบ แนวคิดเรื่องอัชฌัตติกญาณของโอโชและวิปสสนาญาณของพุทธปรัชญาเถรวาท โดยเฉพาะแนวคิดของโอโช เปนการศึกษาตามเน้ือหาทางเอกสารจากหนังสือท่ีมีชื่อวา Intuition ของโอโช ท่ีมีผูแปลเปนภาษาไทย และเอกสารตนฉบับท่ีเปนภาษาอังกฤษ ซึ่งยังขาดมุมมองทางความคิดของโอโช ในหลายประเด็น ท้ังในสวนของความจริงเชิงประจักษ ในสวนเน้ือหาของแนวคิด วิปสสนาญาณ ของพุทธปรัชญาเถรวาท น้ัน ผูวิจัยไดเรียบเรียงเน้ือหาใหตรงประเด็นกับขอบเขตงานวิจัย แตยังไมครอบคลุมเน้ือหาท้ังหมด ซึ่งตองมาศึกษาเพ่ิมเติมอีกมาก เพ่ือใหเกิดความรูความเขาใจมากย่ิงขึ้น จากการศึกษาวิจัยพบวา สาระสําคัญของความรูอัชฌัตติกญาณของโอโชน้ัน เปนความรูท่ีแสดงใหเห็นธรรมชาติท่ีแทจริงของชีวิตมนุษย ใหมนุษยเขาใจธรรมชาติด้ังเดิมของตนเอง ไมเขาไปกดทับอารมณความรูสึก มีจิตใจปลอยวางตอความคิด ไมยึดตอระบบความเชื่อ กฎเกณฑท่ีคนในสังคมไดสรางขึ้นมา อัชฌัตติกญาณจะสรางชีวิตท่ีมีพลัง มีปญญาสรางสรรค สรางความสมดุลทําลายความขัดแยงท่ีมีลักษณะท่ีเปนปญหา โอโชมองวา สังคมปจจุบันไดขาดความรูทางอัชฌัตติกญาณ สูญเสียความรูสึกท่ีแทจริงไป เพราะสังคมปจจุบันมองสิ่งตางๆแยกออกจากกัน สรางความสลับซับซอนและปญหาท่ียุงยากตางๆขึ้นมาในจิตใจ เปนสังคมท่ีไมนาอยู มีแตความขัดแยง แยงชิงกันเพ่ืออํานาจ เพ่ืออุดมการณท่ีไรสาระตอชีวิต ดังน้ัน โอโชจึงปฏิเสธสังคมเหลาน้ี มนุษยควรใชความรูสึกตอกัน มากกวา การใชเหตุผลตอกัน เพราะนั่นคือทําใหทุกสิ่งเชื่อมผสานกันรวมเปนหน่ึงเดียว ความขัดแยงตางๆจะถูกวางลง มีแตความเขาใจกัน เกิดความรักและเมตตาตอกันจริงๆ สังคมในปจจุบันก็จะเปนสังคมท่ีนาอยู  

ในสวนพุทธปรัชญาเถรวาท วิปสสนาญาณ ทําใหเกิดการเขาใจแกนแทชีวิตหรือเขาใจความจริงของชีวิต วิปสสนาญาณทําใหเรามองเห็นจุดมุงหมายของชีวิตวา ควรเปนไปอยางไร และ มีชีวิตอยูอยางไรไมใหเกิดความทุกขกายทุกขใจ มนุษยในสังคมปจจุบันขาดความเขาใจท่ีถูกตองตอการดําเนินชีวิต เต็มไปดวยการสนองตอความอยาก ท่ีผาน เขามา ทางตา ทางหู ทางจมูก การลิ้มรส การสัมผัส และการรับรูดวยใจ อยูอยางขาดสติอยางไมทัน

Page 107: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๙๒

พิจารณา วิปสสนาญาณจะใหเกิดสติรูเทาทันความเปนไปตอชีวิต อยูดวยความไมประมาททุกๆขณะของปจจุบันจะเปนสิ่งท่ีมีคามากสําหรับผูรูแจงเห็นจริง และ การรูแจงวิปสสนาญาณ ทําใหทัศนะการมองโลกและชีวิตมนุษย มีความชัดเจน เพราะมองเห็นสภาพตามความเปนจริง การดําเนินชีวิตอยูอยางพอเพียง ไมคลอยใจไปกับความเจริญทางดานวัตถุนิยม ท่ีสรางคานิยมใหมๆและความสะดวกสบายเกินพอดีแกคนในสังคมทุกๆดาน เพราะจิตใจละความลุมหลงและยึดมั่นถือมั่นอยางสุดโตงได มีความระลึกรูตัวอยูกับปจจุบันอยางมีสุขภาวะ

๕.๒.๒ ขอเสนอแนะในการวิจัยครั้งตอไป จากการศึกษาวิจัย พบวา อัชฌัตติกญาณของโอโช มีนัยยะ ๒ นัย ไดแก ๑) นัยยะแรก เปนอัชฌัตติกญาณระดับสามัญสํานึกท่ีสามารถเกิดขึ้นกับคนท่ัวไป

ได อัชฌัตติกญาณ เปนการเกิดขึ้นเองแบบไรสาเหตุ หรือท่ีเรียกวา ลางสังหรณ หรือท่ีเกิดขึ้นกับบุคคลท่ีมีสติปญญามากกวาคนธรรมดาท่ัวไป นัยยะนี้มีอยูในแนวคิดทางปรัชญาบางสํานักของตะวันตก

๒) นัยยะท่ีสอง เปนอัชฌัตติกญานท่ีเกิดจากการภาวนา หรือเจริญสติระลึกรูตัว ถึงจะสามารถเขาสูภาวะรูแจง คือ อัชฌัตติกญาณได ระดับน้ีถือวาเปนแนวคิดตามแบบตะวันออก ท่ีเนนการปฏิบัติ โอโชจะเรียกสภาวะแหงการเขาสูถึงความรูท่ีแทจริง เชน สมาธิ สุญญตา นิพพาน อนัตตา เปนตน เมื่อผูวิจัยไดศึกษาแนวคิดของทาน ก็เขาใจไดวาแนวคําสอนของโอโช ไดรับอิทธิพลจากแนวคิดทางพุทธปรัชญาไมนอย

ในแนวคิดท้ังสอง ควรมีการศึกษาในประเด็นตอไปนี้ (๑) ควรจะศึกษา แนวคิดคําสอนของโอโช มีความคลายกันหรือตางกันกับพุทธ

ปรัชญาในแงมุมใดมากนอยเพียงไรบาง เพ่ือใหเกิดความเขาใจในแนวคิดของท้ังสองฝาย (๒) ควรจะศึกษาวิเคราะหเปรียบเทียบ ในแงจริยศาสตร เชน ภาวะทางอารมณ

ความรูสึก อุปนิสัย ความดี ความชั่ว เปนตน ท้ังโอโช และพุทธปรัชญาเถรวาท มีวิธีการจัดการและพัฒนาอยางไรบาง

(๓) ควรจะศึกษาแนวทางการปฏิบัติสมาธิภาวนาของโอโชแลวเปรียบเทียบในแนวทางปฏิบัติของพุทธปรัชญาเถรวาท เพ่ือใหเกิดความเขาใจกันอยางถูกตอง ท้ังเขาใจโลกตามเปนจริง วา ทุกสิ่งตองเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทุกชีวิตไมคงทนอยูไดนาน และเห็นตามเปนจริงวา ไมมีอะไรท่ีจะยึดมาเปนของๆตนได น่ันเอง  

Page 108: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

บรรณานุกรม

๑. ภาษาไทย

ก. ขอมูลปฐมภูมิ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ข. ขอมูลทุติยภูมิ

(๑) หนังสือ : กีรติ บุญเจือ. มนุษยรูอยางไร. พิมพครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพไทยวัฒนาพานิช , ๒๕๒๕. กองทุนพิมพหนังสือทานมหาสี สยาดอ (โสภณมหาเถร). วิปสสนากรรมฐานใน

พระพทุธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.

จารุณี วงศละคร. ปรัชญาเบ้ืองตน . พิมพครั้งท่ี ๓. เชียงใหม: บี.เอส.ดี การพิมพ. ๒๕๔๘.ชัยวัฒน อัตพัฒน. ญาณวิทยา. พิมพครั้งท่ี ๔ . กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพมหาวิทยาลัย

รามคาํแหง, ๒๕๔๒. _________.ปรัชญาตะวันตกรวมสมัย. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ มหาวิทยาลัย

รามคาํแหง, ๒๕๔๔. _________.ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม ๒. พิมพครั้งท่ี ๕ .กรุงเทพมหานคร :

สํานักพิมพมหาวิทยาลัยรามคําแหง, ๒๕๔๗. เชมเย สยาดอ พระชนกาภิวงศ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ. วิปสสนาญาณกาวหนาอยางไร (development of insight). มณฑาทิพย คุณวัฒนา แปล. กรุงเทพมหานคร : บุญศิริการพิมพ, ๒๕๔๙. เดือน คําดี. ดร. ปญหาปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ โอเดียนสโตร, ๒๕๓๐. _________.พุทธปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. สํานักพิมพ

Page 109: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๙๔

โอเดียนสโตร, ๒๕๓๔. นวองคุลี. วิปสสนาญาณ. พิมพครั้งท่ี ๓. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, ๒๕๔๘. แนบ มหานีรานนนท. การแนะแนวทางการปฏิบัติวิปสสนาวิสุทธิ ๗. พิมพครั้งท่ี ๕.

(กรุงเทพมหานคร : หจก.ทิพยวิสุทธิ์), ๒๕๕๓. ฐิตวณฺโณ ภิกขุ. วิปสสนาภาวนา. พิมพครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร : สภาการศึกษามหามกุฏ ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕. บุญมี แทนแกว. ญาณวิทยา. พิมพครั้งท่ี ๓. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ โอเดียนสโตร ,

๒๕๔๓. _________.พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ โอเดียนสโตร, ๒๕๔๕. ประยงค แสนบุราณ. ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ

โอเดียนสโตร, ๒๕๔๘. พระกัมมัฏฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ. รูแจงในชาติน้ี (In this very life). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๘. พระพรหมคุณาภรณ(ป.อ.ปยุตโต). สมาธิ ฐานสูสุขภาพจิตและปญญาหยั่งรู. พิมพครั้งท่ี ๘.

กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพศยาม,๒๕๕๑. พระธรรมกิตติวงศ(ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙.ราชบัณฑิต). ศัพทวิเคราะห. พิมพครั้งท่ี ๑. กรุงเทพมหานคร:เลี่ยงเชยีง, ๒๕๕๐. พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลธรรม. พิมพครั้งท่ี ๑๓ .

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ เอส อาร พริ้นต้ิง แมส โปรดักส จํากัด, ๒๕๔๘. _________.พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท. พิมพครั้งท่ี ๑๐ .

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพบริษัท สหธรรมิก จํากัด,๒๕๓๙. _________.พุทธธรรม. พิมพครั้งท่ี ๑๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย, ๒๕๔๖. พระธรรมวโรดม(บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ.๙). อภิธัมมัตถวิภาวินีแปล.พิมพครั้งท่ี ๑. กาญจนบุรี; ม.ป.ท., ๒๕๕๐. พระทักษิณคณาธิกร. ปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ดวงแกว, ๒๕๔๔. พระพุทธโฆสะ. วิสุทธิมรรค.แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพุฒาจารย(อาจ อาสภมหาเถร). พิมพครั้งท่ี ๔. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงคพริ้นต้ิง จํากัด, ๒๕๔๖.

Page 110: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๙๕

พิสิฏฐ โคตรสุโพธิ์. ดร. ทฤษฎีความรู. โครงการสนับสนุนงานวิจัยคณะมนุษยศาสตร. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม,๒๕๔๓.

พุทธทาสภิกขุ. วิธีฝกสมาธิวิปสสนา. พิมพครั้งท่ี ๖. กรุงเทพมหานคร. สํานักพิมพ สุนทร สาสน, ๒๕๓๖. มหามกุฏราชวิทยาลัย. วิสุทธิมรรค แปล ภาค ๓ ตอน ๑. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราช วิทยาลัย, ๒๕๔๓. มหามกุฏราชวิทยาลัย. วิสุทธิมรรค แปล ภาค ๓ ตอน ๒. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราช วิทยาลัย, ๒๕๔๓. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพทปรัชญาอังกฤษ-ไทย. พิมพครั้งท่ี ๓. กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ เท็กซ แอนด เจอรนัล พับลิเคชั่น จํากัด . ๒๕๔๓. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรงุเทพมหานคร : นามมีบุคสพับคิ

เลชั่นส, ๒๕๔๖. วิทย วิศทเวทย.ดร. ปรัชญาทั่วไป. พิมพครั้งท่ี ๑๕. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ ไทยรมเกลา

จํากัด, ๒๕๔๒. วิธาน สุชีวคปุตและคณาจารยภาควิชาปรัชญา. ปรัชญาเบ้ืองตน .พิมพครั้งท่ี ๔. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพมหาวิทยาลัยรามคําแหง, ๒๕๓๑. สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. คูมือนักธรรมชั้นเอก. กรุงเทพมหานคร

: มหามกุฏราชวิทยาลัย,๒๕๓๘. สมัคร บุราวาศ. ปญญา.พิมพครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ ศยาม.๒๕๔๒. _________. ประวัติและลัทธิ ของปวงปรัชญาเมธี. พิมพครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร:

สํานักพิมพ แพรพิทยา, ๒๕๒๒. _________.วชิาปรัชญา. พิมพครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ ศยาม,๒๕๔๒. อดิศักด์ิ ทองบุญ. ปรัชญาอินเดียรวมสมัย. พิมพครั้งท่ี ๓. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน , ๒๕๔๕. โอโช . คิดนอกรีต (CREATIVITY). กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ แปลนพรินทต้ิง จํากัด ,

๒๕๔๖. โอโช. คุรุวิพากยคุรุ.โตมร ศุขปรีชา แปล. พิมพครั้งท่ี ๓, กรุงเทพมหานคร. สํานักพิมพ gm books, ๒๕๕๒.

Page 111: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๙๖

_________.ปญญาญาณ (Intuition). แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด. พิมพครั้งท่ี ๓ . กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป , ๒๕๔๘.

_________.เปนไปไดดวยปญญา (Intelligence). แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด. พิมพครั้งท่ี ๓, กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป , ๒๕๔๘. _________.เตา มรรควิถีที่ไรเสนทาง (tao:the pathless path). แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสกุ ยืด. พิมพครั้งท่ี ๓. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป , ๒๕๔๘. _________.วฒุิภาวะ ศิลปะของผูถึงพรอม (Maturity : The Responsibility of being Oneself). แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ

ใยไหม ครีเอทีพ กรุป, ๒๕๔๙. _________.สปาอารมณ (Emotional Wellness). แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด. พิมพครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป , ๒๕๕๒. _________.หลุด (freedom). แปลโดย ดร.ประพนธ ผาสุกยืด. พิมพครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ใยไหม ครีเอทีพ กรุป , ๒๕๔๙. _________, 365 วัน มหัศจรรยสมาธิ (everyday). แปลโดย กําธร เกงสกุล แปล. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพโพสตบุกส, ๒๕๕๒.

(๒) วิทยานิพนธ : ชอุม ทศสิน. “การศึกษาเชงิวิเคราะหบทบาทของปญญาในพุทธปรัชญา” . วิทยานิพนธอักษร

ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๒๘. พรพิศ ศิริวิสูตร. “สติและวิธีการพัฒนาเพ่ือการประยุกตใชในชีวิตประจําวัน”, ศิลป

ศาสตรมหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม, ๒๕๔๕. พระมหากฤช ญาณาวุโธ. “การศึกษาวิเคราะหระหวางฌานและปญญา ในพระพุทธศาสนา

เถรวาท”. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี. “การศึกษาวิเคราะหญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท: ศึกษา เฉพาะในปกรณวิเสสวิสุทธิมรรค”. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.

Page 112: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๙๗

พระมหาชัยศิลป พุทฺธวิริโย. “ศึกษาวิเคราะหปฏิจจสมุปบาทอันเปนภูมิวิปสสนา เฉพาะกรณี การปฏิบัติวิปสสนาภาวนา ๗ เดือน”. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

พระมหาวิรัตน อภิธมฺโม. “การศึกษาวิเคราะหพรมแดนความรูในพุทธปรัชญาเถรวาทและ เดวิด ฮิวม”. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.

พระมหาระวี ติกฺขปฺโญ. “การศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีความรูของพุทธปรัชญาเถรวาทกับ เบอรทรันด รัสเซลล” . วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๔.

ลักษณวัต ปาละรัตน. “ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทเปนประสบการนิยมหรือไม”. วิทยานิพนธ อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย, ๒๕๓๕.

๒. ภาษาอังกฤษ (I) Books Osho. Zen and the Art of Enlightenment. New Delhi: Diamond Pocket Books, 1998. _________. Here And Now . New Delhi :Osho Diamond Pocket Books, 1998. _________. Meditation . New York : st.martins griffin, 2004. _________ .Intelligence. st.martins griffin,new york, 2004. _________.Intuition(knowing beyond logic).st.martins griffin,new york, 2001.

(II) Articles Osho. Meditation. [ออนไลน]. แหลงท่ีมา : http://www.osho.com [๐๗/๑๑/๒๕๕๓]. ________. Meditation. [ออนไลน]. แหลงท่ีมา : http://www.oshoworld.com [๒๒/๑๒/ ๒๕๕๓].

Page 113: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPTS OF INSIGHT …

๙๘

ประวัติผูศึกษาวิจัย

ช่ือ : พระมหา อิสรเชษฐ ปญญาวชิโร (ใจมาสุข) เกิด : วันพฤหัสบดี ท่ี ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ สถานที่เกิด : บานเลขท่ี ๒๗ บานสันตนหมื้อ ต. สันตนหมื้อ อ. แมอาย จ.เชียงใหม การศึกษา : จบ ประถมศึกษา โรงเรียนบานสันตนหมื้อ อ.แมอาย จ.เชยีงใหม

จบ นักธรรมชั้นเอก วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร เปรียญธรรม ๔ ประโยค สํานักเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม พุทธศาสตรบัณฑิต เอก ปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย บรรพชา : วันท่ี ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ อุปสมบท : วันท่ี ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ สังกัด : วัด ตําหนักธรรมนิมิต ต.หวยทราย อ.แมริม จ.เชียงใหม หนาที่ : รักษาการแทนเจาอาวาสวัดสวางเพชร ต.หวยทราย อ.แมริม

จ.เชียงใหม เปนพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน รร.บานหนองปลามัน ต. หวยทราย อ.แมริม จ.เชียงใหม

เขาศึกษา : ๑ มิถุนายน ๒๕๔๘ สําเร็จการศึกษา : มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่อยูปจจุบัน : วัดสวางเพชร หมูท่ี ๒ ต. หวยทราย อ.แมริม จ.เชียงใหม

๕๐๑๘๐ โทร. ๐๘๙๗๐๑๖๘๘๘ : E- mail: [email protected]