2554 - มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย · 2020. 2. 1. ·...

87
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน นิภาพร โชติพฤกษวัน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีการศึกษา 2554 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Upload: others

Post on 12-Feb-2021

7 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • การศึกษาปัจจัยทีม่ีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน

    นิภาพร โชติพฤกษวัน

    การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

    สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

    ปีการศึกษา 2554 ลิขสิทธิ์ของมหาวทิยาลัยหอการค้าไทย

  • หัวข้อการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน

    ชื่อผู้ศึกษา นางสาวนิภาพร โชติพฤกษวัน ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา การเงิน อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณรพี บานชื่นวิจิตร ปีการศึกษา 2554

    บทคัดย่อ

    การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อ ยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน ตัวแปรที่นํามาศึกษาได้แก่ อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (IBR) อัตราเงินเฟ้อ (INF) ดุลบัญชีเดินสะพัด (CA) มูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-สหรัฐอเมริกา (XUS) มูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-สหภาพยุโรป (XEU) และมูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-จีน (XCN) ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลรายเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 จํานวน 125 เดือน โดยใช้สมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression) มาประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม ด้วยวิธีกําลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares: OLS)

    จากการศึกษาพบว่า อัตราเงินเฟ้อ (INF) เป็นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่กําหนดไว้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ณ ระดับนัยสําคัญ 95% สําหรับตัวแปรอัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (IBR) เป็นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อยูโร ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ณ ระดับนัยสําคัญ 95% แต่ไม่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเงินบาทต่อหยวน

  • ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัด (CA) มูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-สหรัฐอเมริกา (XUS) มูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-สหภาพยุโรป (XEU) และมูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-จีน (XCN) เป็นปัจจัยที่ไม่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน

  • กิตติกรรมประกาศ

    การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้สําเร็จได้ด้วยความกรุณาจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณรพี บานชื่นวิจิตร อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าด้วยตนเอง ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางในการศึกษา ตรวจตรา ให้ข้อคิดเห็น และแก้ไขเนื้อหา ตลอดจนติดตามความคืบหน้าของการศึกษาครั้งนี้ด้วยดีเสมอมา ขอขอบคุณ อาจารย์ ดร .นงนภัส แก้วพลอย ประธานกรรมการ และอาจารย์สกุัญญา ภู่สุวรรณรัตน์ กรรมการการสอบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ที่ได้ให้ข้อคิดเห็นและแนวทางที่เป็นประโยชน์ ทําให้การศึกษาครั้งนี้มีความเรียบร้อยสมบูรณ์มากขึ้น สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณเพื่อนนักศึกษาปริญญาทุกท่าน ที่ได้ให้กําลังใจและให้ความช่วยเหลือในการทําการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตลอดมา

  • สารบัญ

    หน้า บทคัดยอ่ ........................................................................................................................ . ง

    กิตติกรรมประกาศ ........................................................................................................... ฉ

    สารบัญ ........................................................................................................................... ช

    สารบัญตาราง ................................................................................................................. ฌ

    สารบัญภาพ .................................................................................................................... ญ

    บทที่ 1. บทนํา .......................................................................................................... . 1

    ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา ................................................... 1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา ...................................................................... 4 สมมติฐาน ............................................................................................... 4 ขอบเขตการศึกษา ................................................................................... 4 คํานิยามศัพท์ .......................................................................................... 5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ....................................................................... 6

    2. แนวคิด ทฤษฎ ีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .......................................................... 7 ส่วนที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา ............................................ 7 ส่วนที่ 2 งานวิจัยที่เกี่ยวขอ้ง .................................................................. 34

    3. ระเบียบวิธีการศึกษา ................................................................................... 38 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ..................................................................... 38 ตัวแปรในการศึกษา .............................................................................. 38 เครื่องมอืที่ใช้ในการศึกษา ..................................................................... 41 การเก็บรวบรวมข้อมูล ........................................................................... 41 การวิเคราะหข์้อมูล ................................................................................ 42 การนําเสนอข้อมูล ................................................................................. 45

  • สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า

    4. ผลการวิเคราะหข์้อมูล ................................................................................. 46 อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทตอ่ดอลลาร์สหรัฐฯ ........................... 48 อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทตอ่ยูโร ............................................ 50 อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทตอ่หยวน ........................................ 53

    5. สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และขอ้เสนอแนะ ........................................... 57 สรุปผลการศึกษา .................................................................................. 57 อภิปรายผล .......................................................................................... 58 ข้อเสนอแนะสําหรับการศึกษาครั้งนี้ ....................................................... 61 ข้อเสนอแนะสําหรับการศึกษาครั้งต่อไป .................................................. 61

    บรรณานุกรม ................................................................................................................. 63

    ภาคผนวก ..................................................................................................................... 67

    ประวัติผู้ศึกษา ............................................................................................................... 79

  • สารบัญตาราง

    ตารางที ่ หน้า 1. ปริมาณการซื้อขายเงนิตราต่างประเทศ โดยแยกตามเงนิสกุลต่าง ๆ .................... 3 2. สรุปแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวขอ้ง ........................................................................... 34 3. สรุปความสมัพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่มีตอ่ตวัแปรตาม ..................................... 40 4. แสดงการวิเคราะห์คา่สถิติเบื้องตน้ของตัวแปรต่าง ๆ ........................................... 46 5. แสดงค่าความสมัพนัธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ

    ของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงนิบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ .................................. 48 6. แสดงค่าความสมัพนัธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ

    ของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงนิบาทต่อยูโร ................................................... 51 7. แสดงค่าความสมัพนัธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ

    ของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงนิบาทต่อหยวน ............................................... 53 8. สรุปและเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธ์ของตัวแปรอิสระ

    ที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงนิบาทตอ่ดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และคา่เงินบาทตอ่หยวน ......................................................... 57

  • สารบัญภาพ

    ภาพที ่ หน้า 1. อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ สกุลเงินบาทตอ่ยูโร

    และสกุลเงินบาทตอ่หยวน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 .................................................................... 2

    2. อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ............. 25

    3. อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อยูโร ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ............. 26

    4. อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อหยวน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ............. 26

    5. อัตราดอกเบี้ยใหกู้้ยมืระหว่างธนาคาร ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ............. 27

    6. อัตราเงินเฟ้อ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ............. 29

    7. ดุลบัญชีเดินสะพดั ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ............. 31

    8. มูลค่าการส่งออก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ............. 33

  • บทที่ 1 บทน า

    ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา

    อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Rate) เป็นปัจจัยที่สําคัญปัจจัยหนึ่งในการติดต่อธุรกรรมกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ จําเป็นต้องอาศัยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในการทําหน้าที่เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงราคาสินค้าและบริการระหว่างประเทศที่เป็นเงินสกุลต่างกันให้มีมูลค่าเท่าเทียมกัน

    ในอดีตประเทศไทยใช้นโยบายการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยใช้ระบบการกําหนดค่าเงินบาทอิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเงินตราสกุลหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติในฐานะที่เป็นเงินสกุลสําคัญของโลก แต่ภายหลังจากเหตุการณ์ผันผวนทางเศรษฐกิจทั้งในระดับโลกและภายในประเทศไทยเอง ค่าของเงินในระบบการเงินระหว่างประเทศได้มีการปรับตัวตลอดเวลา ประเทศไทยจึงทําการเปลี่ ยนแปลงระบบการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ โดยอิงไว้กับสกุลเงินตราต่างประเทศหลายสกุลที่มีความสําคัญทางการค้ากับประเทศเป็นหลัก หรือเรียกว่าตะกร้าเงิน (ช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2527 – มิถุนายน พ.ศ. 2540) เพื่อทําให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น ต่อมาในภาวะที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราหลายสกุลมีความผันผวนตลอดเวลา ประเทศไทยจึงเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราลอยตัวแบบจัดการ (Managed Floating Exchange Rate) ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งช่วยส่งผลให้การทํางานของนโยบายการเงินไทยมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวขึ้น แต่ก็ทําให้ค่าเงินบาทผันผวนมากขึ้นเช่นกัน กล่าวคือ ค่าเงินบาทจะเปลี่ยนแปลงตามค่าของกลุ่มสกุลเงินของประเทศคู่ค้าที่สําคัญของประเทศไทย และสามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าซื้อหรือขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตามความจําเป็น เพื่อไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนมากเกินไป และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ระบบดังกล่าวทําให้นโยบายการเงินมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ อีกทั้งช่วยเสริมสร้างความมั่นใจของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งทําให้สามารถดูแลการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าระบบอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวจะส่งผลให้การทํางาน

  • 2

    ของเครื่องมือการเงินของทางการไทยมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวขึ้น แต่ค่าเงินบาทก็ยังคงมีความผันผวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเงินจากภายนอกประเทศ

    ภาพที่ 1 อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ สกุลเงินบาทต่อยูโร และสกุลเงินบาทต่อหยวน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

    ที่มา: Forex Trading and Exchange Rates Services: OANDA, 2554

    ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทเทียบกับเงินสกุลอื่น ๆ ที่ใช้กันอยู่ในประเทศรวมทั้งสิ้น 48 สกุล โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 35 สกุล ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา (ที่มา: อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร ปี 2545-ปัจจุบัน: ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2554) ในส่วนของการศึกษานี้ จะทําการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อสกุลเงินต่างประเทศ 3 สกุล อันได้แก่ ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน ซึ่งถือเป็นสกุลเงินอัตราแลกเปลี่ยนที่สําคัญและน่าสนใจศึกษา โดยเงินทั้ง 3 สกุลดังกล่าวนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนของเงินสกุลหลักของโลกในแต่ละทวีป กล่าวคือ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเงินสกุลหลักในทวีปอเมริกาและเป็นเงินสกุลหลักที่สําคัญของโลก โดยเป็นเงินตราที่ใช้อ้างอิงกับเงินตราอื่น ๆ ทุกสกุลทั่วโลก รวมไปถึงเงินทุนสํารองระหว่างประเทศของไทย เงินยูโร เป็นเงินสกุลหลักในทวีปยุโรป โดยมีกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 17 ประเทศ ที่ร่วมกันใช้เงินยูโรเป็นสกุลเงินของประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ไซปรัส เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสเปน (ที่มา: Map of euro area 1999: European Central Bank, 2554) และสุดท้ายเงินหยวน เป็น

  • 3

    หนึ่งสกุลหลักในทวีปเอเชีย โดยทั้งหมดได้พิจารณาจากสัดส่วนการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของประเทศสําคัญ ๆ ทั่วโลก

    ตารางที่ 1 ปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ โดยแยกตามเงินสกุลต่าง ๆ

    ที่มา: ธนาคารเพื่อการชําระบัญชีระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements: BIS),

    2554

    จากตารางที่ 1 เนื่องจากธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศเกี่ยวข้องกับเงิน 2 สกุล ผลรวมของร้อยละการซื้อขายเงินตราแต่ละสกุลจึงเท่ากับ 200% ทั้งนี้ธนาคารเพื่อการชําระบัญชีระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements: BIS) และธนาคารกลางทั่วโลก จะมีการจัดทําแบบสํารวจกิจกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศทุก ๆ 3 ปี ดังนั้นแบบสํารวจล่าสุด คือ เดือนเมษายน 2010 จากตารางแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนการซื้อขายเงินตราที่ใช้ใน

  • 4

    ตลาดการเงินระหว่างประเทศ อันดับ 1 อยู่ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (84.9%) อันดับ 2 อยู่ในรูปเงินยูโร (39.1%) ในส่วนของเงินหยวน (0.9%) จัดอยู่ในอันดับที่ 17 ของมูลค่าโดยรวมทั่วโลก และจัดอยู่ในอันดับ 5 ของมูลค่าโดยรวมในทวีปเอเชีย

    ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงสนใจศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ภาคเศรษฐกิจการเงิน รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ทราบถึงสาเหตุสําคัญที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน วัตถุประสงค์ของการศึกษา

    เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน สมมติฐาน

    อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) และมูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-สหรัฐอเมริกา (Exports to USA) อย่างน้อย 1 ปัจจัย มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

    อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) และมูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-สหภาพยุโรป (Exports to European Union) อย่างน้อย 1 ปัจจัย มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อยูโร

    อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) และมูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-จีน (Exports to China) อย่างน้อย 1 ปัจจัย มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อหยวน ขอบเขตการศึกษา

    ขอบเขตการศึกษา คือ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน โดยข้อมูลที่นํามาใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ทําการเก็บข้อมูลโดยใช้ข้อมูลสถิติของตัวแปรอิสระและตัวแปรตามทั้งหมดเป็นรายเดือน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 จํานวน 125 เดือน

  • 5

    โดยเก็บข้อมูลจากตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 1. ตัวแปรตาม (Dependent Variable: Y) คือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อยูโร และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อหยวน 2. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable: X) ที่คาดว่าจะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) มูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-สหรัฐอเมริกา (Exports to USA) มูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-สหภาพยุโรป (Exports to European Union) และมูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-จีน (Exports to China) ค านิยามศัพท์

    อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Rate) หมายถึง ราคาของเงินตราสกุลหนึ่ง จํานวน 1 หน่วย คิดเทียบให้อยู่ในหน่วยเงินตราอีกสกุลหนึ่ง

    อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (THB: USD) หมายถึง ราคาของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ 1 หน่วย ต่อมูลค่าของเงินบาท

    อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อยูโร (THB: EUR) หมายถึง ราคาของเงินยูโร 1 หน่วย ต่อมูลค่าของเงินบาท

    อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อหยวน (THB: CNY) หมายถึง ราคาของเงินหยวน 1 หน่วย ต่อมูลค่าของเงินบาท

    อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้นเพื่อใช้ในการปรับสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ โดยธุรกรรมอาจจะอยู่ในรูปการกู้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (At Call) หรือเป็นการกู้ยืมแบบมีกําหนดระยะเวลา (Term) ตั้งแต่ 1 วัน ถึง 6 เดือน ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 50-70 เป็นการกู้ยืมระยะ 1 วัน (Overnight) รองลงมาเป็นการกู้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (At Call)

    อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) หมายถึง ภาวการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทําโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยคํานวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจํา โดยน้ําหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกําหนดจากรูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งไดจ้ากการสํารวจ

    ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) หมายถึง บัญชีที่บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงของสินค้าเข้า สินค้าออก การบริการ และเงินโอนหรือเงินบริจาคภายในประเทศหนึ่ง โดยการบันทึก

  • 6

    รายการสินค้าออกจากราคา ณ แหล่งผลิต (Free on Board – F.O.B.) ซึ่งเป็นรายการบวกเนื่องจากมีรายได้เข้าประเทศ และรายการสินค้าเข้าซึ่งเป็นราคา ณ ปลายทางของผู้ซื้อ (Cost Insurance and Freight – C.I.F.) เป็นรายการลบเนื่องจากเป็นรายจ่ายของประเทศ

    มูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-สหรัฐอเมริกา (Exports to USA) หมายถึง มูลค่าการขายสินค้าจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกา (หน่วย: พันล้านบาท)

    มูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-สหภาพยุโรป (Exports to European Union) หมายถึง มูลค่าการขายสินค้าจากประเทศไทยไปประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 27 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร (หน่วย: พันล้านบาท)

    มูลค่าการส่งออกสินค้าไทย-จีน (Exports to China) หมายถึง มูลค่าการขายสินค้าจากประเทศไทยไปประเทศจีน (หน่วย: พันล้านบาท) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นประโยชน์แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนทางการเงินให้สอดคล้องกับทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวน

  • บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง

    ในการศึกษาเรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อยูโร และค่าเงินบาทต่อหยวน” ผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบการนําเสนอผลการศึกษา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ได้กําหนดไว้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้

    ส่วนที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา ส่วนที่ 2 งานวิจัยที่เกี่ยวขอ้ง

    ส่วนที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา ทฤษฎีที่นํามาประยุกต์ใช้ในการอธิบายเกี่ยวกับการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนในการศึกษานี้ มีหลายทฤษฎี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1.1 อัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Rate) หมายถึง ราคาของเงินตราสกุลหนึ่งจํานวน 1 หน่วย คิดเทียบให้อยู่ในหน่วยเงินตราอีกสกุลหนึ่ง

    ประเภทของอัตราแลกเปลี่ยน การแบ่งระบบอัตราแลกเปลี่ยนสามารถจําแนกเป็น 5 ระบบ คือ 1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) หมายถึง ระบบอัตรา

    แลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศที่กําหนดค่าเสมอภาค (Parity) ของเงินแต่ละสกุลไว้ โดยเทียบกับทองคําหรือเงินดอลลาร์ หรือเงินสกุลหลักอื่น ๆ เช่น มาร์ก ฟรังซ์ เยน เป็นต้น ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดไว้จะมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวขึ้นลงได้ภายในขอบเขตจํากัด ข้อดีของระบบแลกเปลี่ยนคงที่ คือ ง่ายต่อการทําธุรกิจระหว่างประเทศ เนื่องจากผู้ส่งออกและผู้นําเข้าสินค้าสามารถทราบต้นทุนที่แน่นอนของตน จึงมีอัตราเสี่ยงที่จะต้องขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงได้น้อยมาก นอกจากนี้ยังไม่ค่อยเกิดการเก็งกําไรต่ออัตราแลกเปลีย่น เนื่องจาก อัตราแลกเปลี่ยนจะเคลื่อนไหวขึ้นลงไม่มากนักทําให้ไม่คุ้มกับการเก็งกําไร ข้อเสียของระบบแลกเปลี่ยนคงที่ คือ ค่าเงินที่กําหนดนั้นอาจไม่สะท้อนค่าความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ อาจนําไปสู่การโจมตีค่าเงินอันจะนําไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ

  • 8

    2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวหรืออัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงได (Floating or Flexible Exchange Rate Arrangements) เป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่เคลื่อนไหวขึ้นลงได้อย่างเสรี โดยอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ระบบนี้จะไมมีการแทรกแซงจากรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศที่แต่ละประเทศใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ผสมระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ และอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว

    3. อัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถปรับค่าเสมอภาคได้ (Adjustable Peg) เป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถปรับค่าเสมอภาคได้ต่อเมื่อประเทศนั้นเกิดการขาดดุลการชําระเงินติดต่อกันมาหลายปี

    4. อัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทีละเล็กละน้อย (Crawling Peg) เป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถปรับค่าเสมอภาคไดตลอดเวลา โดยไม่จําเป็นว่าประเทศที่ปรับค่าเสมอภาคต้องขาดดุลการชําระเงินติดต่อกันหลายปี

    5. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float) หมายถึง ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่มีกลไกการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานเงินตราระหว่างประเทศ กล่าวคือ เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีค่าเสมอภาคตายตัว แต่ปล่อยให้อุปสงค์และอุปทานของเงินสกุลนั้นทํางานได้ในระดับหนึ่ง โดยที่ธนาคารกลางของประเทศเข้าไปแทรกแซงเพื่อจํากัดขนาดและความผันผวนของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นจุดด้อยของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวอย่างเสรี ระบบนี้จึงใช้กันแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้งระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในปัจจุบัน

    จากการศึกษาของกองทุนระหว่างประเทศพบว่า แต่ละประเทศมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนตลอดเวลา โดยมีแนวโน้มจะเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวมากขึ้น สําหรับกรณีประเทศไทยนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ควบคุมดูแลในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน โดยระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ประกาศใช้แต่เดิมจะเป็นอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ต่อจากนั้นมาได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2506 ในครั้งนั้นกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 20.08 บาท และต่อมาค่าของเงินบาทก็ปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนี้

    1) วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ปรบัเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 20 บาท 2) วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ปรับเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 21 บาท 3) วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ปรับเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 23 บาท และในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในระบบอัตรา

    แลกเปลี่ยนของไทย โดยไมผูกค่าเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพียงสกุลเดียวอีกต่อไป เนื่องจากการผูกติดกับเงินตราสกุลหลักเพียงสกุลเดียวนั้น เมื่อค่าเงินตราสกุลหลักนั้นเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทเป็นอย่างมากด้วย จึงได้เปลี่ยนมาผูกติดกบั

  • 9

    เงินตราหลายสกุลที่เป็นประเทศคู่ค้าของไทย หรือเรียกว่าระบบตะกร้าเงิน (Basket of Currency) ในครั้งนั้นกําหนดให้เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 27.15 บาท จนถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ประเทศไทยจึงเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราลอยตัวแบบจัดการ (Managed Floating Exchange Rate)

    การก าหนดอัตราแลกเปลี่ยน การกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนนั้นจะพิจารณาเงินตราต่างประเทศเหมือนกับสินค้าชนิดหนึง่

    โดยวิธีการกําหนดจะใช้หลักเกณฑ์การกําหนดราคาทางเศรษฐศาสตร์ทั่วไป คือพิจารณาจาก อุปสงค์และอุปทานเงินตราต่างประเทศ

    1. อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ คือ จํานวนการซื้อเงินตราต่างประเทศในระดับอัตราแลกเปลี่ยนต่าง ๆ กันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง อุปสงค เงินตราต่างประเทศจะมีลักษณะเป็น อุปสงค์สืบเนื่อง (Derived Demand) เนื่องจากจะต้องมีกิจกรรมที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศก่อน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าและบริการระหว่างประเทศ การส่งเงินไปลงทุนในต่างประเทศ การชําระหนี้ต่างประเทศ และการบริจาคให้แก่ต่างประเทศ จึงต้องมีอุปสงค์เงินตราต่างประเทศตามมา

    อุปสงค์เงินตราต่างประเทศจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราแลกเปลี่ยน เช่น ราคาสินคาจากต่างประเทศมีราคาแพงขึ้น ทําให้มีการนําเข้าลดลง ความต้องการใช้เงินตราต่างประเทศก็จะลดลงตามไปด้วย

    2. อุปทานของเงินตราต่างประเทศ คือ จํานวนเงินตราต่างประเทศที่มีผู้นํามาเสนอขายในระดับอัตราแลกเปลี่ยนต่าง ๆ กัน ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง สําหรับอุปทานเงินตราต่างประเทศ จะมีลักษณะเป็นอุปทานสืบเนื่อง (Derived Supply) เนื่องจากจะต้องมีกิจกรรมที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศก่อน ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ การรับเงินลงทุนจากต่างประเทศ การรับชําระหนี้จากต่างประเทศ การกู้เงินจากต่างประเทศ และการได รับเงินบริจาคจากต่างประเทศ จึงต้องมีอุปทานเงินตราต่างประเทศตามมา

    อุปทานของเงินตราต่างประเทศจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกันกับอัตราแลกเปลี่ยน เช่น หากอัตราแลกเปลี่ยนเดิมอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 25 บาท มีผู้นําเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ออกมา ขาย 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อมาอัตราแลกเปลี่ยนมาอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 40 บาท มีผู้นําดอลลาร์สหรัฐฯ ออกมาขายถึง 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมาอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 60 บาท มีผู้นําเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ออกมาขายถึง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากส่งออกได้มากขึ้น เพราะสินค้าไทยเมื่อส่งไปต่างประเทศจะมีราคาถูกลงเมื่อใช้อัตราแลกเปลี่ยนใหม่

    3. อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพจะเกิดขึ้นเมื่ออุปสงค์เงินตราต่างประเทศเท่ากับอุปทานเงินตราต่างประเทศ

  • 10

    แนวคิด ทฤษฎี ที่เก่ียวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยน ตั้งแต่อดีตนักเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศได้พยายามพัฒนาแนวคิดและทฤษฎี

    ในการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยน เพื่ออธิบายถึงปรากฏการณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละช่วงเวลา และยังอธิบายถึงแนวทางในการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ ดุลยภาพ (Equilibrium Exchange Rate) ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่ทําให้ดุลการชําระเงินอยู่ในดุลยภาพโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ (International Equilibrium) แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ดังกล่าว อธิบายปัจจัยและวิถีทางในการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยน ดุลยภาพที่แตกต่างกันไปหลายลักษณะ ทฤษฎีที่นํามาประยุกต์ใช้ในการอธิบายเกี่ยวกับการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนในการศึกษานี้ มีหลายทฤษฎี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    สภาวะความเสมอภาคระหว่างประเทศ (International Parity Conditions) ทฤษฎีต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขสภาวะความเสมอภาคระหว่างประเทศ (International Parity

    Conditions) เป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการเชื่อมโยงระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนแบบทันที (Spot Exchange Rate) กับอัตราแลกเปลี่ยนแบบล่วงหน้า (Forward Exchange Rate) ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวจะมีประโยชน์ในการอธิบายและพยากรณ์แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาว

    จากการประชุมของกลุ่มประเทศสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในปี ค.ศ. 1976 ได้มีการประกาศรับรองให้ระบบปริวรรตเงินตราแบบลอยตัวเป็นระบบทางการของโลก อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันนี้ ระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศที่ประเทศต่างๆ ใช้อยู่มิได้เหมือนกันหมดทุกประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศยังคงมีความแตกต่างกันในด้านพื้นฐานเศรษฐกิจและระดับการพัฒนาของประเทศ ดังนั้น บางประเทศจึงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราลอยตัวแบบเสรี (Freely Floating Exchange Rate) บางประเทศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราลอยตัวแบบจัดการ (Managed Floating Exchange Rate) ขณะที่บางประเทศยังคงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการยากที่จะนําทฤษฎีใดเพียงทฤษฎีหนึ่งในเรื่องเงื่อนไขเสมอภาคระหว่างประเทศ (International Parity Conditions) มาใช้พยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้ถูกต้องแม่นยําได้ในทุกสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีเหล่านี้ยังนับว่ามีประโยชน์ต่อนักการเงิน ในเรื่องการอธิบายทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางเศรษฐกิจ มหภาคบางตัวได้ค่อนข้างแม่นยํา แนวความคิดและทฤษฎีที่สนับสนุนสภาวะความเสมอภาคซึ่งกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน โดยทฤษฎีในกลุ่มแรก จะเป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างอํานาจซื้อและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศผ่านกลไกราคาสินค้า และในกลุ่มที่สอง เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยเริ่มจากทฤษฎีฟิชเชอร์ (The Fisher Effect) และตามด้วยผลกระทบระหว่างประเทศแบบ ฟิชเชอร์ (The International Fisher Effect) ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยใน

  • 11

    ตลาดเงินสองประเทศกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสองสกุล นอกจากนี้ยังได้พูดถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในราคาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Exchange Rate Determination) แนวความคิดและทฤษฎีที่สนับสนุนสภาวะความเสมอภาคในส่วนของราคาสินค้า

    ทฤษฎีความเสมอภาคแห่งอ านาจซ้ือ (The Purchasing - Power Parity Theory: PPP)

    ทฤษฎีความเสมอภาคแห่งอํานาจซื้อ (PPP) ได้ถูกนํามาใช้อธิบายพฤติกรรมของอัตราแลกเปลี่ยนจริง (Actual Exchange Rate) ในระยะยาวราคาสินค้าเปรียบเทียบของสองประเทศเป็นตัวกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่สําคัญมาก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจะสะท้อนให้เห็นอํานาจซื้อเปรียบเทียบของเงิน 2 สกุล ทฤษฎีนี้สามารถใช้พยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาว และใช้พยากรณ์ระดับที่ค่าของเงินตราควรจะเป็นภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ (Managed Floating Exchange Rate)

    ทฤษฎี PPP เป็นทฤษฎีที่ต้องการอธิบายดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยน โดยแสดงวิธีคํานวณหาดุลยภาพอัตราแลกเปลี่ยนวิธีลัด เมื่อประเทศมีดุลการชําระเงินไม่สมดุล ความจําเป็นที่จะต้องมีการคํานวณจึงเกิดขึ้น เพราะประเทศต่าง ๆ ไม่มีความรู้ว่าอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศมีรูปร่างที่แน่นอนอย่างไร ทฤษฎีนี้ได้รับแนวความคิดมาจากนักเศรษฐศาสตร์ชาวสวีเดนชื่อ Gustav Cassel ในทศวรรษ 1920 ซึ่งได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณากลไกความเชื่อมโยงระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและเงินตราภายในประเทศจากสินค้าในประเทศต่าง ๆ (Cassell, 1918: 413-415) ผู้ซึ่งกล่าวว่าด้วยจํานวนเงินเท่ากันควรซื้อสินค้าชนิดเดียวกันได้จํานวนเท่ากันในประเทศต่าง ๆ (หน่วยเงินตราคิดเป็นเงินตราสกุลเดียวกัน) โดยได้แนวความคิดมาจาก กฎราคาเดียว (Law of One Price) ของดุลยภาพตลาดที่มีการแข่งขัน ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและเน้นเฉพาะสินค้าโดยไม่ได้คํานึงถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ แนวคิดดังกล่าวได้อธิบายถึงปัจจัยกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม ซึ่งหมายถึงระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ทําให้เกิดดุลการชําระเงิน (Balance of Payment) โดยอัตราแลกเปลี่ยนจะมีความสัมพันธ์ระหว่างระดับราคาสินค้าภายในประเทศและต่างประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสองสกุลจะปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับช่องว่างระหว่างอัตราเงินเฟ้อ (Differential Rates of Inflation) ระหว่างสองประเทศ โดยจะมีทิศทางการปรับตัวจนกระทั่งดุลยภาพของดุลการชําระเงินของทั้งสองประเทศได้ดุล

    โดยกล่าวว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่สมดุลระหว่างเงินตราสองสกุล คืออัตราแลกเปลี่ยนที่ทําให้อํานาจซื้อเท่ากัน กล่าวคืออัตราแลกเปลี่ยนที่สมดุลจะเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ทําให้ประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง มีความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อซื้อสินค้าชนิดเดียวกันจากนอกประเทศ เพราะเมื่อได้แลกเปลี่ยนเงินตราที่สมดุลแล้ว สินค้าอย่างเดียวกันจะมี

  • 12

    ราคาเท่ากันในทุกประเทศ ภายใต้เงื่อนไขในตลาดที่มีการแข่งขัน ไม่มีค่าขนส่ง และไม่มีการกีดขวางทางการค้า ตามกฎนี้กล่าวว่าสินค้าชนิดเดียวกันควรขายในราคาเดียวกันในทุก ๆ ประเทศ เมื่อคิดอยู่ในรูปเงินสกุลเดียวกัน ดังนั้นระดับอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพจะถูกกําหนดโดยสดัสว่นของระดับราคาสินค้าในประเทศต่อระดับราคาสินค้าในต่างประเทศ กล่าวคือ หากสินค้าชนิดเดียวกันมีราคาไม่เท่ากันในรูปเงินสกุลเดียวกันในแต่ละประเทศ ประเทศที่มีราคาสินค้าสูงกว่าโดยเปรียบเทียบกับคู่ค้า อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้นจะมีแนวโน้มอ่อนลงเนื่องจากความต้องการซื้อสินค้าจากประเทศนั้นลดลง จะเกิดการทํากําไรจากส่วนต่างของสองตลาด (Arbitrage) ทําให้ราคาเท่ากัน โดยความต้องการในสกุลเงินของประเทศนั้นจะลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดทําให้ราคาสินค้าของทั้งสองประเทศเมื่อคิดเป็นเงินสกุลเดียวกันเท่ากัน นั่นคือ ดุลการคา้ระหว่างประเทศอยู่ในภาวะสมดุล และอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ

    แนวคิดกฎราคาเดียว (Law of One Price) สามารถแสดงได้ตามสมการ ต่อไปนี้

    E × P* = P

    โดยที ่ E = อัตราแลกเปลี่ยน (แสดงราคาของเงินสกุลในประเทศต่อ 1 หน่วยของ เงินสกุลต่างประเทศ)

    P = ระดับราคาสนิค้าในประเทศ ในรูปของเงินสกุลท้องถิ่น P* = ระดับราคาสนิค้าตา่งประเทศ ในรูปของเงินตราต่างประเทศ

    ทั้งนี้ข้อสรุปของทฤษฎีนี้อยู่ภายใต้ข้อสมมติว่าตลาดการค้าระหว่างประเทศมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ไม่มีต้นทุนค่าขนส่งและการกีดกันทางการค้าใด ๆ

    ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการปรับตัวเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวมากขึ้นภายหลังประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศลดค่าเงินในปี ค.ศ. 1973 และ ต่อมาใน ปี ค.ศ. 1979 J.A. Frankel ได้พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยกําหนดอัตราแลกเปลี่ยน โดยการนําปริมาณเงินและความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) มาอธิบายอัตราแลกเปลี่ยน แนวคิดนี้นําไปสู่แบบจําลองตามแนวคิดทางการเงิน (Monetary Approach) โดยมีข้อสมมติฐานทางทฤษฎีว่า พันธบัตรในประเทศและต่างประเทศสามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ (Frankel, 1979: 610-622)

    ต่อมา Hooper and Morton ได้นําแนวคิดความเสมอภาคของอํานาจซื้อ (PPP) มาพัฒนาแนวคิด Hybrid Model โดยการนําดุลบัญชีเดินสะพัดเข้ามาพิจารณาในแบบจําลองการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยน (Hooper, Peter and John Morton, 1982: 39-56)

  • 13

    ทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้อมี 2 แนวความคิด คือทฤษฎีความเสมอภาคอํานาจซื้ออย่างสมบูรณ์ (Absolute PPP) และทฤษฎีความเสมอภาคอํานาจซื้อโดยเปรียบเทียบ (Relative PPP)

    ทฤษฎีความเสมอภาคอ านาจซ้ืออย่างสมบูรณ์ (Absolute Purchasing Power Parity: APP)

    เป็นทฤษฎีซึ่งใช้ค่าดัชนีราคาสินค้าแทนราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในการคํานวณอัตราแลกเปลี่ยนตาม PPP โดยมีสมมติฐานว่าถ้าตลาดเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market) ราคาของสินค้าจะเท่ากันทุกตลาด

    จากสูตรที่แสดง “Law of one price” สามารถคํานวณหาอัตราแลกเปลี่ยน ได้คือ

    E = P / P*

    สูตรที่แสดงนี้มีชื่อเรียกทางวิชาการว่า ทฤษฎีความเสมอภาคอํานาจซื้ออย่างสมบูรณ์ (Absolute Purchasing Power Parity) ซึ่งในทางปฏิบัติจะมีปัญหาในการพิจารณาว่าระดับราคาที่กล่าวในทฤษฎีจะใช้กับสินค้าประเภทใด และกลุ่มสินค้าที่บริโภคในแต่ละประเภทก็มีน้ําหนักต่างกัน ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงนิยมใช้ดัชนีราคาแทนระดับราคา ซึ่งดัชนีราคาที่นิยมใช้มี 3 ประเภท คือ ค่าดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ค่าดัชนีราคาขายส่ง (Wholesale Price Index: WPI) และดัชนีผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (GDP deflator)

    ทฤษฎีความเสมอภาคอํานาจซื้ออย่างสมบูรณ์ (Absolute Purchasing Power Parity) ใช้กําหนดอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพระยะยาว ซึ่งจะเท่ากับราคาเปรียบเทียบในสองประเทศ ซึ่งสามารถเขียนในรูปสมการดังนี้

    S = P / P*

    โดยที ่ S = ค่าของเงินตราในประเทศต่อ 1 หน่วยเงินตราตา่งประเทศ (Spot Rate) P = ระดับราคาสนิค้าในประเทศ ในรูปของเงินสกุลท้องถิ่น P* = ระดับราคาสนิค้าตา่งประเทศ ในรูปของเงินตราต่างประเทศ

    เมื่อสินค้าในประเทศสูงขึ้น ค่า S จะสูงขึ้น ซึ่งหมายถึงค่าเงินของประเทศนั้นจะมีการเสื่อมค่าลง (Depreciation) กรณีที่ประเทศนั้นใช้อัตราแลกเปลี่ยนเสรี หรือจะมีการลดค่าเงิน (Devaluation) กรณีที่ประเทศนั้นใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่

    ทฤษฎีความเสมอภาคอํานาจซื้ออย่างสมบูรณ์ (Absolute Purchasing Power Parity) กล่าวว่า ดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับอัตราส่วนของระดับราคาสินค้าของสองประเทศ สมมติมีประเทศสองประเทศ คือ ประเทศ A และประเทศ B ดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ A คือ

  • 14

    SA = P

    A / P

    B

    ในที่นี้ SA คืออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตรา 2 สกุล P

    A และ P

    B ก็คือระดับราคาสินค้าใน

    ประเทศ A และประเทศ B ตามลําดับ ในรูปแบบดุลยภาพบางส่วน (Partial Equilibrium Model) ณ อัตราแลกเปลี่ยนใดอัตรา

    หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพหรือไม่ ราคาสินค้าในประเทศ A เท่ากับราคาสินค้าประเทศ B คูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยน หรือ P

    A = S x P

    B ตัวอย่างเช่น ราคาสินค้าของประเทศ B

    เท่ากับ 100 บาท และอัตราแลกเปลี่ยนคือ 25 บาทต่อดอลลาร์ ราคาสินค้าของประเทศ A จะเท่ากับ 2,500 บาท ความสัมพันธ์ในลักษณะเช่นนี้จะเป็นอยู่ตลอดไปสําหรับสินค้าที่ซื้อขายกันแต่ละชนิด ถ้าไม่มีค่าขนส่งและข้อกีดขวางทางการค้า ซึ่งทําให้ทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้ออย่างสมบูรณ์เป็นจริง

    ตามความเป็นจริง การค้าระหว่างประเทศมีข้อกีดขวางมากมาย และมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่ง นอกจากนั้นสินค้าที่ซื้อขายกันก็มีหลายชนิด ทําให้เกิดปัญหาในการเลือกใช้ระดับราคาที่เท่ากันของ 2 ประเทศ และสินค้าบางชนิดเป็นสินค้าที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (Non-Traded Goods) เช่น การตัดผม ซึ่งเป็นบริการที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ สินค้าเหล่านี้จึงไม่มีความสัมพันธ์ทางด้านราคาระหว่างประเทศต่าง ๆ ฉะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าของประเทศต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงไม่เป็นจริงเสมอไป เราจึงไม่สามารถใช้สมการ S

    A = P

    A / P

    B ในการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ

    เมื่อใช้ Law of One Price สนับสนุนทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้ออย่างสมบูรณ์ เราจะหมายถึงระดับราคาสินค้าชนิดหนึ่ง แต่เมื่อเราขยายเป็นระดับราคาสินค้าหลายชนิดของประเทศหนึ่งเท่ากับของอีกประเทศหนึ่ง ข้อความนี้ไม่เป็นจริง เพราะประการแรกราคาสินค้าหลายชนิดอาจจะไม่เท่ากันในทุกประเทศ ถึงแม้สินค้าเหล่านั้นจะมีลักษณะเหมือนกันแต่ราคาต่างกัน ประการที่สอง การใช้ตัวถ่วงน้ําหนักระดับราคาในแต่ละประเทศต่างกัน ทําให้เกิดความแตกต่างระหว่างระดับราคา ถึงแม้ว่า Law of One Price ของสินค้าแต่ละชนิดจะเป็น