จดหมายข่าว ()elib.coj.go.th/ebook/data/journal/insd2553_02.pdf ·...

8
ปีท่ 4 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม (Academic Resource Center) จดหมายข่าว “บุญ” หรือ “ปุญญ” แปลว่า “ชำระ” หมายถึง การทำให้หมดจดจากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แกโลภะ โทสะ และ โมหะ ตามพระไตรปิฎก เราสามารถ สร้าง “บุญ” ได้ 3 อย่าง คือ 1. ทาน คือ การให้ ได้แก่ การตักบาตร บริจาค ทรัพย์ ถวายสังฆทาน เป็นต้น แต่มีการให้บางประการทีไม่นับเป็นบุญ เช่น สุรา มหรสพ เพราะให้สิ่งเพื่อกามคุณ 2. ศีล คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือรักษา ความสำรวมทางกาย วาจา การรักษาศีลสำหรับฆราวาส ได้แก่ ศีล 5 และอุโบสถศีล (มี 8 ข้อ) 3. ภาวนา คือ การอบรมจิตทางสมถะและทาง วิปัสสนา การน่งสมาธิ เรียกว่า สมถะภาวนา ส่วนการนั่ง วิปัสสนา (สติรู้ถึงรูป-นาม) เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา การสวมรองเท้าส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่งเป็นประจำ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เพราะมีความเสี่ยงสูงต่อการ เกิดข้ออักเสบและหมอนรองกระดูกเสื่อม เพราะส้นสูงเพิ่ม ความโค้งของกระดูกสันหลัง บีบกดกระดูก และเพิ่มความ ตึงเครียดให้กับมัดกล้ามเนื้อ รองเท้าส้นเข็มนั้นอันตราย ที่สุด เพราะความแคบของส้นทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนัก รองเท้าส้นลิ่มทำให้เกิดแรงกดที่กระดูกสันหลังและสะดุด ได้ง่าย ส่วนรองเท้าส้นสูงแบบไม่มีสายรัด ไม่มีที่พยุงเท้า จะทำให้เท้าพุ่งไปข้างหน้า นิ้วเท้าก็จะถูกหัวรองเท้าบีบอยูตลอดเวลา สาวๆ ถ้าอยากใส่รองเท้าพวกนี้ขณะทำงานอย่างน้อย ก็ควรมีรองเท้าแตะใส่สบาย หรือรองเท้าผ้าใบไว้เปลี่ยน เวลาเดินทางไปกลับเพื่อป้องกันโรคข้อนิ้วหัวแม่เท้าเสื่อม และอาการปวดหลัง ความเสี่ยงบนส้นเท้า มาเติมความเบิกบาน ให้ชีวิตการทำงานมีสีสันกันเถอะ ผู้จัดทำ : ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม (http://www.isd.coj.go.th) ที่อยู: อาคารศาลอาญาชั้น 6 ถ.รัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0 2513 8335 โทรสาร 0 2541 2264 เบื่อหรือยัง ที่ต้องนั่งทำงานอย่างเคร่งเครียด มองไปทางไหนทุกคนก็สาละวนอยู่กับ งานของตัวเอง ไม่มีบรรยากาศการทำงานที่สนุกสนาน มีแต่การทำงานแบบไปวันๆ เราจึง ควรเติมความเบิกบานให้ชีวิตการทำงานของเราด้วยวิธีง่าย ดังนี>> หาเรื่องขำๆ มาเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟังบ้าง จะได้อารมณ์ดี ทำงานด้วยความ เบิกบาน งานจะได้ออกมาดี >> ตกเย็นไปสังสรรค์กัน หรือชวนกันไปเล่นฟิตเนส นอกจากได้ผ่อนคลายแล้ว ยังได้กระชับความสัมพันธ์กับ เพื่อนๆ ในที่ทำงานด้วย >> จัดโต๊ะทำงานให้เรียบร้อย ทำความสะอาดและจัดเก็บเอกสารต่างๆ ให้เรียบร้อย หาต้นไม้เล็กๆ มาวางบนโต๊ะ หรือหารูปวิวสวยๆ มาติดก็จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น >> ให้ความสำคัญกับวันเกิดของเพื่อนร่วมงาน ชักชวนกันมาเขียนการ์ดวันเกิด ร้องเพลงอวยพร กินเค้กด้วยกัน และ ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกเก็บไว้เป็นความประทับใจร่วมกัน >> เปลี่ยนบรรยากาศด้วยการเปลี่ยนที่นั่ง บริษัทในเมืองไทยหลายแห่งมี hot desk สำหรับพนักงาน ซึ่งเป็นโต๊ะ ทำงานที่ไม่ได้เป็นที่ประจำของใคร จัดเตรียมเอาไว้เพื่อให้พนักงานได้เปลี่ยนบรรยากาศ เผื่อว่าการนั่งทำงานที่โต๊ะ ตัวเดิมทุกวัน มันทำให้สมองตีบตัน ความคิดสร้างสรรค์ไม่แล่น การเปลี่ยนที่นั่งเสียบ้างอาจช่วยลดความจำเจ ในชีวิตลงได้ บุญ ที่ถูกต้อง ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม (www.library.coj.go.th)

Upload: dothuan

Post on 03-Jul-2018

221 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: จดหมายข่าว ()elib.coj.go.th/Ebook/data/Journal/insd2553_02.pdf · กฎหมายอาญา จาก ... ฎีกาสำคัญที่ย่อสรุปเป็นหมวดหมู่

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม (Academic Resource Center)

จ ด ห ม า ย ข่ า ว

“บุญ” หรือ “ปุญญ” แปลว่า “ชำระ” หมายถึง

การทำให้หมดจดจากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่

โลภะ โทสะ และ โมหะ ตามพระไตรปิฎก เราสามารถ

สร้าง “บุญ” ได้ 3 อย่าง คือ

1. ทาน คือ การให้ ได้แก่ การตักบาตร บริจาค

ทรัพย์ ถวายสังฆทาน เป็นต้น แต่มีการให้บางประการที่

ไม่นับเป็นบุญ เช่น สุรา มหรสพ เพราะให้สิ่งเพื่อกามคุณ

2. ศีล คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือรักษา

ความสำรวมทางกาย วาจา การรักษาศีลสำหรับฆราวาส

ได้แก่ ศีล 5 และอุโบสถศีล (มี 8 ข้อ)

3. ภาวนา คือ การอบรมจิตทางสมถะและทาง

วิปัสสนา การนั่งสมาธิ เรียกว่า สมถะภาวนา ส่วนการนั่ง

วิปัสสนา (สติรู้ถึงรูป-นาม) เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา

การสวมรองเท้าส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่งเป็นประจำ

ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เพราะมีความเสี่ยงสูงต่อการ

เกิดข้ออักเสบและหมอนรองกระดูกเสื่อม เพราะส้นสูงเพิ่ม

ความโค้งของกระดูกสันหลัง บีบกดกระดูก และเพิ่มความ

ตึงเครียดให้กับมัดกล้ามเนื้อ รองเท้าส้นเข็มนั้นอันตราย

ที่สุด เพราะความแคบของส้นทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนัก

รองเท้าส้นลิ่มทำให้เกิดแรงกดที่กระดูกสันหลังและสะดุด

ได้ง่าย ส่วนรองเท้าส้นสูงแบบไม่มีสายรัด ไม่มีที่พยุงเท้า

จะทำให้เท้าพุ่งไปข้างหน้า นิ้วเท้าก็จะถูกหัวรองเท้าบีบอยู่

ตลอดเวลา

สาวๆ ถา้อยากใสร่องเทา้พวกนีข้ณะทำงานอยา่งนอ้ย

ก็ควรมีรองเท้าแตะใส่สบาย หรือรองเท้าผ้าใบไว้เปลี่ยน

เวลาเดินทางไปกลับเพื่อป้องกันโรคข้อนิ้วหัวแม่เท้าเสื่อม

และอาการปวดหลัง

ความเสี่ยงบนส้นเท้า

มาเติมความเบิกบาน ให้ชีวิตการทำงานมีสีสันกันเถอะ

ผู้จัดทำ : ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม (http://www.isd.coj.go.th) ที่อยู่ : อาคารศาลอาญาชั้น 6 ถ.รัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0 2513 8335 โทรสาร 0 2541 2264

เบื่อหรือยัง ที่ต้องนั่งทำงานอย่างเคร่งเครียด มองไปทางไหนทุกคนก็สาละวนอยู่กับ งานของตัวเอง ไม่มีบรรยากาศการทำงานที่สนุกสนาน มีแต่การทำงานแบบไปวันๆ เราจึง ควรเติมความเบิกบานให้ชีวิตการทำงานของเราด้วยวิธีง่าย ดังนี้ >> หาเรื่องขำๆ มาเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟังบ้าง จะได้อารมณ์ดี ทำงานด้วยความ เบิกบาน งานจะได้ออกมาดี >> ตกเย็นไปสังสรรค์กัน หรือชวนกันไปเล่นฟิตเนส นอกจากได้ผ่อนคลายแล้ว ยังได้กระชับความสัมพันธ์กับ เพื่อนๆ ในที่ทำงานด้วย >> จัดโต๊ะทำงานให้เรียบร้อย ทำความสะอาดและจัดเก็บเอกสารต่างๆ ให้เรียบร้อย หาต้นไม้เล็กๆ มาวางบนโต๊ะ หรือหารูปวิวสวยๆ มาติดก็จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น >> ให้ความสำคัญกับวันเกิดของเพื่อนร่วมงาน ชักชวนกันมาเขียนการ์ดวันเกิด ร้องเพลงอวยพร กินเค้กด้วยกัน และ ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกเก็บไว้เป็นความประทับใจร่วมกัน >> เปลี่ยนบรรยากาศด้วยการเปลี่ยนที่นั่ง บริษัทในเมืองไทยหลายแห่งมี hot desk สำหรับพนักงาน ซึ่งเป็นโต๊ะ ทำงานที่ไม่ได้เป็นที่ประจำของใคร จัดเตรียมเอาไว้เพื่อให้พนักงานได้เปลี่ยนบรรยากาศ เผื่อว่าการนั่งทำงานที่โต๊ะ ตัวเดิมทุกวัน มันทำให้สมองตีบตัน ความคิดสร้างสรรค์ไม่แล่น การเปลี่ยนที่นั่งเสียบ้างอาจช่วยลดความจำเจ ในชีวิตลงได้

บุญ ที่ถูกต้อง

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม

(w

ww.lib

rary.co

j.go.t

h)

Page 2: จดหมายข่าว ()elib.coj.go.th/Ebook/data/Journal/insd2553_02.pdf · กฎหมายอาญา จาก ... ฎีกาสำคัญที่ย่อสรุปเป็นหมวดหมู่

จดหมายข่าว วิทยบรรณสาร : ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม

•ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอ้างอิง •ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับอ้างอิง

•ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉบับอ้างอิง

มุมหนังสือน่าอ่าน

ดวงสมร เวชกิจ*

ประมวลกฎหมายอาญาฉบับอ้างอิง

ชื่อผู้แต่ง ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ

เลขหมู่ ๓๔๓.๐๑ ท๕ป ๒๕๕๒

จำนวนหน้า ๖๗๒ หน้า

หนังสือประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอ้างอิง นี้ เป็นหนังสือ มีตัวบทประมวลกฎหมายอาญามาตราต่างๆ อย่างครบถ้วน

พร้อมทั้งมีคำอธิบายเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา เรียงมาตรา ที่มีการรวบรวมเลือกสรรเอาแหล่งข้อมูลทั้งหลายทาง

กฎหมายอาญา จากวิทยานิพนธ์ บทความวิชาการจากวารสารกฎหมายของไทย หรือคำพิพากษาที่สำคัญๆ มารวมเข้าไว้

ด้วยกันในแต่ละมาตรา ตลอดจนมีการนำหมายเหตุท้ายคำพิพากษาฎีกา ของศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ มาประกอบไว้ด้วย

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฉบับอ้างอิง

ชื่อผู้แต่ง สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล

เลขหมู่ ๓๔๓.๑๐๔ ส๗ป ๒๕๕๑

จำนวนหน้า ๖๓๒ หน้า

หนังสือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับอ้างอิง นี้ให้เนื้อหาเป็นตัวบทประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

อาญา ที่มีคำอธิบายโดยย่อเพื่อให้เข้าใจสาระสำคัญๆ ของมาตรานั้นๆ โดยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญประกอบ นอกจากนี้

ในแต่ละมาตรายังมีการระบุแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม ทั้งที่เป็นวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และบทความในวารสารทางกฎหมายต่างๆ

เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา อีกด้วย

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฉบับอ้างอิง

ชื่อผู้แต่ง วรรณชัย บุญบำรุง , ธนกร วรปรัชญากูล

เลขหมู่ ๓๔๗.๙๑ ว๔ป ๒๕๕๑

จำนวนหน้า ๘๓๖ หน้า

หนังสือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มีเนื้อหาซึ่งมีทั้งตัวบทประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งพร้อม

คำอธิบายหลักและทฤษฎีกฎหมาย และคำพิพากษาฎีกาสำคัญที่ย่อสรุปเป็นหมวดหมู่แล้ว เพื่อไว้ใช้ศึกษา ค้นคว้า อ้างอิงและ

ใช้ปฏิบัติงานทางกฎหมาย โดยในส่วนต้นจะประกอบไปด้วยสาระสำคัญและหลักทั่วไปของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

สำหรับเนื้อหาในแต่ละมาตรานั้น นอกเหนือจากตัวบทแล้ว ยังประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์และบทความของ

แต่ละมาตรา เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นคว้า หลักและทฤษฎีของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยย่อของมาตรานั้น

สนใจหนังสือเล่มนี้ สามารถยืม หรืออ่าน ได้ที่ห้องสมุดศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม * บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการสารสนเทศ

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม

(w

ww.lib

rary.co

j.go.t

h)

Page 3: จดหมายข่าว ()elib.coj.go.th/Ebook/data/Journal/insd2553_02.pdf · กฎหมายอาญา จาก ... ฎีกาสำคัญที่ย่อสรุปเป็นหมวดหมู่

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม : วิทยบรรณสาร

จดหมายข่าว

The Scope of Criminal Law 9 สรวิศ ลิมปรังษี*

Bail

คำว่า “Bail” หมายถึง “การประกัน” ผู้ต้องหาหรือ

จำเลยเพื่อให้ได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างที่มีการดำเนิน

คดีอาญากับผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นโดยตกลงหรือสัญญา

ว่าเมื่อถึงเวลาตามที่กำหนดผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นจะมา

ปรากฏตัวต่อเจ้าพนักงานหรือศาล การประกันนั้นตามปกติจะ

กำหนดเป็นจำนวนเงินที่ผู้ให้ประกันจะต้องรับผิดในกรณีที่

ผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นไม่มาปรากฏตัวตามที่นัดไว้หรือ

ผิดเงื่อนไขของการปล่อยชั่วคราว

“ผู้ประกัน” ซึ่งเป็นบุคคลที่สัญญากับเจ้าพนักงาน

หรือศาลเพื่อขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในการปล่อย

ชั่วคราวโดยทำสัญญากับเจ้าพนักงานหรือศาลว่าเมื่อถึงเวลา

หรือเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้จะนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยผู้นั้น

มาส่งตัวเรียกว่าเป็น “Surety”

ในการสัญญาเพื่อขอให้มีการปล่อยชั่วคราวดังกล่าว

ผู้ประกันจะต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไว้กับเจ้า

พนักงานหรือศาลเพื่อแสดงข้อผูกมัดที่มีอยู่และเป็นหลักฐาน

2010 : Volume 1

สำหรับความรับผิดที่อาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือ

จำเลยไม่มาปรากฏตัวตามที่กำหนดนัดไว้หรือผิดเงื่อนไขของ

การปล่อยชั่วคราว สัญญาประกันดังกล่าวเราเรียกว่า “Bail

bond” คำว่า Bond นี้หากเป็นในความหมายที่พบเห็นโดย

ทั่วไปอาจจะหมายถึง ตราสารประเภทหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่

ผู้ทรงตราสารมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของสิทธิเรียกร้อง ที่จะ

เรียกให้ลูกหนี้ของตราสารนั้นชำระหนี้ได้ตามจำนวนที่ระบุไว้

แต่ในความหมายที่ เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวและการ

ประกันตัวในที่นี้คงมีความหมายถึงเป็นสัญญาที่ทำเป็น

หนังสือที่แสดงเงื่อนไขความรับผิดของผู้ประกันที่ได้ให้ไว้แก่

เจ้าพนักงานหรือศาล

ในการนำประกันหรือหลักประกันไปวางไว้กับเจ้า

พนักงานหรือศาลเพื่อขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย

นั้นเราจะใช้วลีที่ว่า “to post bail” เช่น John has to post bail

before he can obtain his temporary release from the

court.

ประกันหรือหลักประกันที่จะนำมาใช้ในการขอให้

ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยอาจมีได้หลายประเภท

หลายลักษณะ ประเภทหนึ่งคือประกันที่เรียกว่า “Cash bail

bond” เป็นกรณีที่ผู้ประกันนำเงินสดไปวางไว้กับเจ้าพนักงาน

หรือศาลเพื่อเป็นประกันในการปล่อยชั่วคราว หากมีการผิด

เงื่อนไขการประกัน เจ้าพนักงานหรือศาลก็จะริบเงินที่วางไว้

เพื่อชำระหนี้ที่ผู้ประกันมีความรับผิดอยู่ตามสัญญาประกันที่

ตนทำไว้กับเจ้าพนักงานหรือศาล เช่น Jack forfeited the

cash that he posted as a bail with the court because he

cannot bring John to appear before the court on the

designated date.

ในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยไป การทำ

สัญญาประกันนั้นอาจจะเป็นสัญญาประกันที่ทำโดยมี

หลักประกันหรือไม่ก็ได้ สัญญาประกันที่ไม่มีหลักประกัน * ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม

(w

ww.lib

rary.co

j.go.t

h)

Page 4: จดหมายข่าว ()elib.coj.go.th/Ebook/data/Journal/insd2553_02.pdf · กฎหมายอาญา จาก ... ฎีกาสำคัญที่ย่อสรุปเป็นหมวดหมู่

จดหมายข่าว วิทยบรรณสาร : ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม

สำหรับหนี้หรือความรับผิดที่ผู้ประกันอาจเกิดขึ้นตามสัญญา

ประกันนั้นเรียกว่าเป็น “Unsecured bail bond” ส่วนสัญญา

ประกันที่มีการวางหลักประกันความรับผิดไว้ด้วยไม่ว่าหลัก

ประกันนั้นจะอยู่ในรูปของทรัพย์สินชนิดใดก็ตามเราเรียกว่า

เป็น “Secured bail bond”

ความผิดหรือข้อหาที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกกล่าวหา

ว่ากระทำความผิดนั้นมีหลายลักษณะ ความผิดบางฐานหรือ

บางขอ้หาอาจจะมลีกัษณะทีไ่มร่า้ยแรงนกั ทำใหห้ากผูต้อ้งหา

หรือจำเลยนั้นขอให้มีการปล่อยชั่วคราว เจ้าพนักงานหรือศาล

อาจพิจารณาให้ปล่อยชั่วคราวได้ ส่วนจะมีประกันหรือหลัก

ประกันด้วยหรือไม่นั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณา

ต่างหาก ฐานความผิดหรือข้อหาที่อยู่ในวิสัยที่จะให้มีการ

ปล่อยชั่วคราวได้นี้เรียกว่า “Bailable offence”

Sentence

คำว่า Sentence ที่นำมาใช้ในกรณีของการดำเนิน

กระบวนพิจารณาคดีอาญาจะหมายถึงการที่ศาลพิพากษา

กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยว่าควรเป็นเพียงใดภายหลังจาก

ที่จำเลยให้การรับสารภาพหรือถูกตัดสินว่ามีความผิดแล้ว

การดำเนินการลักษณะนี้ทำให้กระบวนพิจารณาถูกแบ่งเป็น

สองขั้นตอนที่แยกต่างหากจากกัน ขั้นตอนแรกคือการพิสูจน์

ความผิดหรือความบริสุทธ์ของจำเลยเสียก่อน เมื่อพิสูจน์

จนปราศจากความสงสัยตามสมควรแล้วว่าจำเลยเป็น

ผู้กระทำความผิดตามที่ถูกฟ้องหรือกล่าวหาจึงจะกำหนดโทษ

เป็นอีกชั้นหนึ่ง เหตุที่แยกกระบวนพิจารณาทั้งสองขั้นตอน

ออกจากกันเพื่อให้ศาลได้มีโอกาสได้รับข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับ

พฤติกรรมหรือความเป็นมาของจำเลยซึ่งศาลจะนำมาใช้

ประกอบดุลพินิจ ข้อมูลดังกล่าวอาจจะมาจากทั้งสองฝ่าย

เชน่ ทางฝา่ยโจทกห์รอืผูเ้สยีหายเองทีอ่าจจะนำพยานหลกัฐาน

หรือข้อมูลมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยควรต้องรับโทษหนัก

มากน้อยเพียงใด และในขณะเดียวกันจำเลยเองก็จะมีโอกาส

นำข้อมูลเกี่ยวกับตนเองมาเสนอต่อศาลด้วยว่าแม้จะปรากฏ

ว่าจำเลยกระทำความผิด แต่โทษที่จะลงแก่จำเลยอาจจะเป็น

โทษสถานเบาด้วยเหตุที่จำเลยเคยมีประวัติหรือภูมิหลังที่ดี

มาก่อน เป็นต้น กรณีดังกล่าวนี้อาจจะแตกต่างจากกระบวน

พจิารณาทีท่ำตามกฎหมายไทย เนือ่งจากในกรณตีามกฎหมาย

ไทยนัน้เมือ่กระบวนพจิารณาสบืพยานสิน้สดุ หากศาลพพิากษา

ว่าจำเลยมีความผิด ศาลจะกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยไว้ใน

คราวเดียวกันเลย เนื่องจากหากจำเลยมีข้อมูลที่อาจเป็นคุณ

แก่ตนในการที่ศาลพิจารณากำหนดโทษ จำเลยก็จะนำเสนอ

ตั้งแต่ก่อนที่ศาลจะพิพากษาแล้ว

สำหรับความผิดบางข้อหาหรือบางฐานความผิด

เจ้าพนักงานหรือศาลอาจปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย

ไปโดยที่ไม่ต้องให้จำเลยทำสัญญาประกันใดๆ ไว้เลยก็ได้

โดยเป็นที่เชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นจะมาปรากฏตัวต่อ

เจ้าพนักงานหรือศาลตามที่กำหนดหรือระบุ เนื่องจากความ

ผิดที่ถูกกล่าวหาหรือฟ้องนั้นเป็นความผิดที่มีโทษไม่ร้ายแรง

จึงเชื่อว่าจำเลยไม่น่าจะหลบหนี การปล่อยชั่วคราวไปใน

ลกัษณะดงักลา่วนีเ้รยีกวา่ “Release on own recognizance”

หากเปรียบเทียบกับกรณีตามกฎหมายไทยอาจจะใกล้เคียง

กับการปล่อยชั่วคราวไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา

ความอาญา มาตรา 110 วรรคสองซึ่งเป็นกรณีการปล่อย

ชั่วคราวในคดีที่มีฐานความผิดอย่างอื่นนอกเหนือจากที่มี

โทษจำคุกอย่างสูงเกินห้าปี เจ้าพนักงานหรือศาลอาจสั่งให้

ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยไปโดยไม่ต้องมีประกันก็ได้

ในกรณีดังกล่าว มาตรา 111 กำหนดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย

ต้องสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียก

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม

(w

ww.lib

rary.co

j.go.t

h)

Page 5: จดหมายข่าว ()elib.coj.go.th/Ebook/data/Journal/insd2553_02.pdf · กฎหมายอาญา จาก ... ฎีกาสำคัญที่ย่อสรุปเป็นหมวดหมู่

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม : วิทยบรรณสาร

จดหมายข่าว

สวัสดีค่ะฉบับนี้ ขอแนะนำกฎหมายที่น่าสนใจค่ะ ถ้าสนใจกฎหมายเรื่องใดสามารถค้นได้ที่เว็บไซต์ http://www. ratchakitcha.soc.go.th หรือ http://www.library.coj.go.th/ ที่ “ศูนย์ข้อมูลกฎหมายใหม่” หรือที่ “DOWNLOAD กฎหมาย” มี ดังนี้ค่ะ 1. พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2553 หน้า 1 (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 28 ก วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553) 2. พระราชบัญญัติ การเดินอากาศ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2553 หน้า 1 (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 36 ก วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553) 3. พระราชกฤษฎีกาให้นำราคาปานกลางของที่ดินที่ใช้อยู่ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ หน้า 1 ประจำปี พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2524 มาใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปี พ.ศ. 2553 (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 29 ก วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) 4. พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 หน้า 2 (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 33 ก วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) 5. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์การแจ้งให้หัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ทราบในกรณีที่จะ หน้า 4 แต่งเครื่องแบบตำรวจ หรือแต่งกาย โดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบตำรวจเพื่อการแสดง พ.ศ. 2553 6. กฎกระทรวงกำหนดระบบงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการบังคับให้เป็นไปตามมาตรา 10 หน้า 11 มาตรา 11 และ มาตรา 12 พ.ศ. 2553 (ลำดับที่ 5 - 6 ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 27 ก วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553) 7. กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 94 (พ.ศ. 2553) ออกตามความในพระราชบัญญัติ หน้า 14 เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 8. กฎกระทรวงการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณาความเสียหาย หน้า 22 จากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2553 (ลำดับที่ 7 - 8 ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 28 ก วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553) 9. กฎกระทรวงกำหนดวิธีการขอคืนสิ่งของที่เจ้าพนักงานยึดไว้ไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2553 หน้า 10 (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 32 ก วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) 10. กฎกระทรวงกำหนดหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2553 หน้า 1 (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 35 ก วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) 11. กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าเพื่อขาย หน้า 15 เครื่องสำอางควบคุม พ.ศ. 2553 (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 36 ก วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553) 12. ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่ หน้า 4 (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 29 ก วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) 13. กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 หน้า 23 (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 30 ก วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) 14. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีสมัครไปปฏิบัติงานใดๆ หน้า 28 ตามความประสงค์ของทางราชการ พ.ศ. 2553 (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน 28 ก วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553) ฉบับนี้ไว้แค่นี้ก่อนน่ะค่ะ ไว้พบกันฉบับหน้าค่ะ

กฎหมายน่าสนใจ ปรียนันท์ จรรยา *

* บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเอกสารพิเศษทางกฎหมาย

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม

(w

ww.lib

rary.co

j.go.t

h)

Page 6: จดหมายข่าว ()elib.coj.go.th/Ebook/data/Journal/insd2553_02.pdf · กฎหมายอาญา จาก ... ฎีกาสำคัญที่ย่อสรุปเป็นหมวดหมู่

จดหมายข่าว วิทยบรรณสาร : ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม

ห้องสมุดอันเกิดจากความรักนี้ ได้แก่ ห้องสมุด

เนียลสัน เฮส์ (Neilson Hays Library) ตั้งอยู่ ถนนสุรวงศ์

เขตบางรัก กรุงเทพฯ เปิดทำการวันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา

9.30 - 17.00 น. เป็นห้องสมุดที่นายแพทย์ ที.เฮวาร์ด ซึ่งเป็น

แพทย์ใหญ่ประจำการในกรมการแพทย์ทหารเรือไทยที่ได้

เดินทางเข้ามารับราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุล-

จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพบรักกับนางเจนนี่ เนียลสัน เฮส์

ที่รักการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ และเคยเป็นอาสามัครในการ

พัฒนาห้องสมุดบางกอกเลดี้ ไลบรารี่ แอสโซซิเอชั่น สำหรับ

ให้บริการแก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาในสมัยนั้น โดยนางเจนนี่

เนียลสัน เฮส์ ได้ทุ่มเทแรงงานแรงใจและชีวิตทั้งหมดให้แก่

ห้องสมุด และเป็นกรรมการดำเนินงานห้องสมุดมายาวนาน

ถึง 25 ปี จนถึงแก่กรรมลง นายแพทย์ ที.เฮวาร์ด จึงสร้าง

ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ แห่งนี้เป็นอนุสรณ์สถานแก่เธอผู้

เป็นที่รัก ในปี พ.ศ. 2464 โดยตัวอาคารเป็นอาคารร่วมสมัย

กบัพระทีน่ัง่อนนัตสมาคม ออกแบบโดย นายมารโิอ ตามาญโญ

สถาปนิกชาวอิตาเลียน ที่เข้ามารับราชการในราชสำนักไทย

สมัยรัชกาลที่ 5

ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ แห่งนี้ มีจุดเด่น คือ เจ้าหน้าที่

และคณะกรรมการบริหารทั้งหมดเป็นสตรี และให้บริการ

เฉพาะหนังสือบันเทิงคดีเท่านั้น และหนังสือภายในห้องสมุดนี้

ทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ระบบที่ใช้เป็นแบบ ดิวอี้ ส่วน

หนังสือที่ เก่ามากจะเก็บรักษาไว้ในตู้หนังสือที่หายาก ผู้

ใช้บริการสามารถยืมหนังสือในห้องสมุดนี้กลับไปอ่านได้

แต่ต้องสมัครสมาชิก ซึ่งมีด้วยกันหลายประเภท เพื่อให้เข้ากับ

ผู้ใช้บริการ โดยมีทั้งแบบครอบครัว แบบเดี่ยวๆ สำหรับผู้ใหญ่

หรือสำหรับเด็กเพราะที่นี้มีมุมหนังสือเด็กภาคภาษาอังกฤษ

ซึ่งจัดได้อบอุ่นและน่ารัก และทุกสุดสัปดาห์จะมีการเล่านิทาน

ภาษาอังกฤษ

* บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานสนับสนุนห้องสมุดประจำศาล

ปิยะพร เจนกาญจนดิลก *

นอกจากนี้ห้องสมุดเนียลสัน

เฮส ์ยงัเปน็สถานทีจ่ดัแสดงนทิรรศการ

ที่เรียกว่า “โรทันดา แกลอรี่ิ” เป็นการ

จัดแสดงนิทรรศการศิลปะหมุนเวียน

โดยศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ

ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามา

แสดงผลงานทางศิลปะอยู่ตลอด

อ นุ ส ร ณ์ ค ว า ม รั ก แ ห่ ง นี้

ไม่เพียงแต่ คุณหมอ ที.เฮวาร์ด จะ

สร้างเพื่อแสดงถึงความรักที่มีต่อ

ภรรยาเทา่นัน้ แตก่ลายเปน็สาธารณ-

ประโยชน์ให้แก่ผู้ที่รักการอ่านอีก

ด้วย

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม

(w

ww.lib

rary.co

j.go.t

h)

Page 7: จดหมายข่าว ()elib.coj.go.th/Ebook/data/Journal/insd2553_02.pdf · กฎหมายอาญา จาก ... ฎีกาสำคัญที่ย่อสรุปเป็นหมวดหมู่

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม : วิทยบรรณสาร

จดหมายข่าว

พิพิธภัณฑ์ ... สรรมาเล่า กัญญา ภู่ตระกูล*, รุ่งนภา รัตนประเสริฐศรี**

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ได้เสด็จไปประทับยังจังหวัดนครปฐมหลายครั้ง เพื่อปฏิบัติพระราชภารกิจถวายพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการปูกระเบื้องสีทอง ณ องค์พระปฐมเจดีย์ และได้ถวายราชสักการะอยู่เป็นนิจ ทรงมีความนับถือ

และผูกผันกับองค์พระปฐมเจดีย์มาก สาเหตุสำคัญอาจเป็นเพราะพระองค์ทรงเห็นปาฏิหาริย์ที่องค์พระถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ

วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2452 ขณะประทับอยู่ที่เรือนสนามจันทร์ อีกครั้งทรงเห็นในปี พ.ศ. 2457

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะซื้อที่ดินเพื่อสร้างที่ประทับขึ้นที่หลังองค์พระ ทรงสร้าง

พระราชวงัสนามจนัทร ์บนเนือ้ที ่888 ไร ่3 งาน 24 วา เริม่สรา้งในป ีพ.ศ. 2450 โดยเริม่กอ่สรา้งพระทีน่ัง่พมิานปฐมเปน็อาคารแรก

สถาปนิกที่ออกแบบ คือ หลวงพิทักษ์มานพ ภายหลังได้เป็น พระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี)

การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น เคยมีผู้แสดงความเห็นไว้ว่าทรง

สรา้งขึน้เพือ่เปน็ทีม่ัน่และเตรยีมพรอ้มสำหรบัวกิฤตการณข์องประเทศอนัอาจเกดิขึน้ได ้ เชน่ การถกูรกุรานจากประเทศมหาอำนาจ

เมื่อปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ที่ฝรั่งเศสบุกรุกเข้ามาในดินแดนแผ่นดินสยาม

พระทีน่ัง่และพระตำหนกัของพระบาทสมเดจ็พระมงกฎุเกลา้เจา้อยูห่วั รชักาลที ่ 6 ทีท่รงสรา้งในเขตพระราชวงัสนามจนัทร ์

ได้แก ่

1. พระที่นั่งพิมานปฐม 2. พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี 3. พระที่นั่งวัชรีรมยา

4. พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ 5. พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย 6. พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์

7. พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ 8. พระตำหนักทับแก้ว 9. พระตำหนักทับขวัญ

พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี เป็นพระที่นั่งแบบตะวันตก สูง 2 ชั้น ลักษณะทางสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับพระที่นั่งพิมานปฐม

แต่มีขนาดเล็กกว่า พระที่นั่งองค์นี้สร้างขึ้นในคราวเดียวกันและสร้างเชื่อมต่อกับพระที่นั่งพิมานปฐมทางทิศใต้ โครงสร้างเป็น

คอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังชั้นบนเดิมเป็นไม้ แก้ไขเป็นผนังปูนในปี พ.ศ. 2456 เคยใช้เป็นที่ทำการของศาลจังหวัดนครปฐม

(ปัจจุบันศาลจังหวัดนครปฐมย้ายไปอยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐม)

เรือนที่พักข้าราชบริพาร

เรือนที่พักข้าราชการระดับสูงหรือข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท เป็นเรือนซึ่งสร้างขึ้นด้วยไม้สัก มีลักษณะ

เป็นเรือนเดี่ยวยกใต้ถุนสูง หลังคาชัน เพดานสูง มีช่องระบายอากาศเหนือบานประตู - หน้าต่าง ห้องต่าง ๆ สามารถติดต่อกันได้

อย่างสะดวก ห้องต่าง ๆ จะอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกัน มีระเบียงทางเดินเป็นตัวเชื่อมต่อห้องต่าง ๆ เรือนบางเรือนมีห้องน้ำอยู่บน

ตัวเรือน มีห้องโถงใหญ่อยู่ตรงกลางเพื่อใช้เป็นที่สำหรับจัดเลี้ยงหรือจัดงานรื่นเริงต่าง ๆ เรือนที่พักส่วนใหญ่ออกแบบให้มีมุขยื่น

ออกมาทางด้านหน้าของตัวเรือนเพื่อให้มีความสง่างาม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามให้แก่เรือนที่พักทุกเรือน ส่วนใหญ่เป็นนามที่ตั้งขึ้นตามชื่อ

ของเทพเจ้าฮินดู เรือนที่เคยเป็นที่พักของผู้พิพากษาศาลและเจ้าหน้าที่ของศาลยุติธรรมปัจจุบันยังคงมีเหลืออยู่ในพระราชวัง

สนามจันทร์ คือ เรือนพระธเนศวร ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ของเรือนพระธเนศวร สามารถติดตามได้ในฉบับหน้า

* บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และเอกสารจดหมายเหตุ ** บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และเอกสารจดหมายเหตุ

ศาลและบ้านพักผู้พิพากษา ในเขตพระราชวังสนามจันทร์

(ตอนที่ 1)

พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี พระราชวังสนามจันทร์

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม

(w

ww.lib

rary.co

j.go.t

h)

Page 8: จดหมายข่าว ()elib.coj.go.th/Ebook/data/Journal/insd2553_02.pdf · กฎหมายอาญา จาก ... ฎีกาสำคัญที่ย่อสรุปเป็นหมวดหมู่

จดหมายข่าววิทยบรรณสาร : ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม

สวัสดีค่ะฉบับนี้คอลัมน์ทิปไอทีนำเสนอความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง

หนังสือElectronicหรือE-Book

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง Electronic Book มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันได้แก่

1.โปรแกรมชุดFlipAlbum

2.โปรแกรมDeskTopAuthor

3. โปรแกรมFlashAlbumDeluxe

4.โปรแกรมAdobeAcrobatProfessional

ชุดโปรแกรมทั้ง4จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน

ElectronicBookด้วยฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ประกอบด้วย

1.โปรแกรมชุดFlipAlbumโปรแกรมสำหรับอ่านคือFlipViewer

2.โปรแกรมชุดDeskTopAuthorโปรแกรมสำหรับอ่านคือDNLReader

3.โปรแกรมชุดFlashAlbumDeluxeโปรแกรมสำหรับอ่านคือFlashPlayer

4.โปรแกรมชุดAdobeAcrobatProfessionalโปรแกรมสำหรับอ่านคือAdobeAcrobatReader

นางสาวอัณณ์ชญาน์ ตันติเวชานนท์ *

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)

เวทีนักคิด

จากคำถามที่ว่า “หากว่าเราเป็นเจ้าของอาคารสำนักงานแห่งหนึ่ง ผู้เช่าอาคารของเราต้องการให้ปรับปรุงลิฟท์

ด้วยเหตุผลว่าลิฟท์มาช้า ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปผู้เช่าอาคารคงย้ายไปเช่าตึกอื่น เราจะสามารถแก้ปัญหาให้ผู้เช่าอาคาร

ในเรื่องนี้อย่างไร”โดยมีแนวทางแก้ปัญหา

ก.ติดตั้งลิฟท์ตัวใหม่

ข.เปลี่ยนไปใช้ลิฟท์ขนาดใหญ่กว่าเดิม

ค.คัดเลือกผู้เช่าที่ทำธุรกิจแตกต่างกันจะได้มีเวลาเริ่มงานและเลิกงานต่างกัน

ซึ่งแต่ละวิธีที่กล่าวมาล้วนแต่เสียทั้งเงินและเวลาทั้งสิ้น เรามาดูเฉลยคำตอบที่ทุกคนคิดไม่ถึงและอาจนำมุมมอง

การคิดเปลี่ยนจากคำถาม-คำตอบในเวทีนักคิดไปใช้ประโยชน์ในการคิดเปลี่ยนในแง่มุมต่างๆ

เฉลยคำตอบ ให้นำกระจกไปติดที่กำแพงรอบๆบริเวณสำหรับรอขึ้นลิฟท์ เพราะจากคำถามเดิมคือ ทำอย่างไร

จึงจะเพิ่มจำนวนลิฟท์ได้ ซึ่งถ้าคิดแบบนี้คงต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ แต่หากคิดว่า ทำอย่างไรให้คนที่รอลิฟท์

รู้สึกหงุดหงิดน้อยลง เมื่อคำถามเปลี่ยนไปคำตอบย่อมเปลี่ยนไปด้วยซึ่งเหตุการณ์นี้เจ้าของอาคารสำนักงานแห่งหนึ่งใน

ชิคาโกก็เคยประสบ เพียงแค่มุมมองเปลี่ยนไปทำให้ชีวิตเปลี่ยน การมองในมุมที่แตกต่างช่วยให้มองเห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและนี่คือ...เคล็ดลับการมีความสุขได้ภายใน3วินาที

สำหรับผู้ที่ตอบคำถามถูก คือ คุณลาวัณย์ โห้มัจฉา ส่วนช่วยอำนวยการ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ทางศูนย์

วิทยบริการศาลยุติธรรมจะดำเนินการติดต่อให้มารับรางวัลในภายหลัง

แหล่งที่มา : ฮิสึอิโคะทะโร.ชุดสร้างสุขได้ภายใน 3 วินาที เล่ม 1. กรุงเทพฯ:สยามอินเตอร์บุ๊คส์,2553.

* นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ กลุ่มงานพัฒนาระบบสารสนเทศ

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม

(w

ww.lib

rary.co

j.go.t

h)