wordpress.com · web view8. กระบวนการท จะทำให...

73
แแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแ แ แแแแแ แแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแ แ แแแแแแ แ แแแแแแ แแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแ แแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แ แแ แแ แแแแ แแแแแแแแแแ หหหหหหหหหหหหหหหหหหห แแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ หหหหหหหหหหหหหหหหหหห แแแแแแ แแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ หหหหหหหหหหหหหหหหหหห แ แแแแแแ แแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแ หหหหหหหหหหหหหหห

Upload: others

Post on 29-Jan-2021

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

(คำชี้แจงการใช้แบบฝึกทักษะ)

แบบฝึกทักษะ ชุดสร้างสรรค์งานเอกลักษณ์ไทยด้วยใบตองดอกไม้สด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชางานใบตองดอกไม้สด รหัสวิชา ง ๓๐๒๖๖ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ชุดที่ ๒ เรื่อง การจัดการงานใบตองดอกไม้สด ผลิตขึ้นเพื่อเป็นแบบฝึกทักษะ ประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ และเจตคติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพต่อไป

แบบฝึกทักษะ ชุดสร้างสรรค์งานเอกลักษณ์ไทยด้วยใบตองดอกไม้สด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ มี ๑๐ เล่ม ประกอบด้วย

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง ความรู้พื้นฐานงานใบตองดอกไม้สด

แบบฝึกทักษะชุดที่ ๑ เรื่อง ความรู้พื้นฐานงานใบตองดอกไม้สด

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง การจัดการงานใบตองดอกไม้สด

แบบฝึกทักษะชุดที่ ๒ เรื่อง การจัดการงานใบตองดอกไม้สด

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่อง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์ใบตองดอกไม้สดและการบำรุงรักษา

แบบฝึกทักษะชุดที่ ๓ เรื่อง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์ใบตองดอกไม้สด

และการบำรุงรักษา

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ เรื่อง เครื่องแต่งตัวงานใบตองดอกไม้สด

แบบฝึกทักษะชุดที่ ๔ เรื่อง เครื่องแต่งตัวงานใบตองดอกไม้สด

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เรื่อง การพับกลีบและเย็บแบบ

แบบฝึกทักษะชุดที่ ๕ เรื่อง การพับกลีบและเย็บแบบ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ เรื่อง การประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ

แบบฝึกทักษะชุดที่ ๖ เรื่อง การประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ เรื่อง การประดิษฐ์พานของหมั้น

แบบฝึกทักษะชุดที่ ๗ เรื่อง การประดิษฐ์พานของหมั้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘ เรื่อง การประดิษฐ์พานศรีปากชาม

แบบฝึกทักษะชุดที่ ๘ เรื่อง การประดิษฐ์พานศรีปากชาม

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙ เรื่อง การประดิษฐ์พานบายศรี ๓ ชั้น (บายศรีสู่ขวัญ)

แบบฝึกทักษะชุดที่ ๙ เรื่อง การประดิษฐ์พานบายศรี ๓ ชั้น (บายศรีสู่ขวัญ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๐ เรื่อง การประดิษฐ์ชิ้นงานโครงงาน

แบบฝึกทักษะชุดที่ ๑๐ เรื่อง การประดิษฐ์โครงงานใบตองดอกไม้สด

(คำแนะนำสำหรับนักเรียน)

นักเรียนควรจะต้องปฏิบัติตามกิจกรรมดังต่อไปนี้

๑. นักเรียนศึกษาแผนภูมิลำดับขั้นการเรียนแบบฝึกทักษะ

๒. นักเรียนศึกษาผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้และ สาระสำคัญของแบบฝึกทักษะ

ชุดที่ ๒ เรื่อง การจัดการงานใบตองดอกไม้สด

๓. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การจัดการงานใบตองดอกไม้สด

๔. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์

๕. เมื่อมีปัญหาในการเรียน หรือสงสัยให้ซักถามครู

๖. นักเรียนควรปฏิบัติกิจกรรมแบบฝึกด้วยตนเองอย่างเต็มความสามารถ

ไม่ลอกคำตอบ จากผู้อื่น และไม่ดูเฉลยก่อนจะตอบคำถามเสร็จ

๗. นักเรียนสามารถทบทวนเนื้อหาได้เมื่อมีปัญหาสงสัย หรือไม่สามารถตอบคำถาม

ในแบบฝึกทักษะได้

๘. เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมแบบฝึกทักษะต่างๆ เสร็จเรียบร้อยและครบถ้วน ให้นำ

กระดาษคำตอบกิจกรรมแบบฝึกทักษะ และแบบฝึกทักษะ ชุดที่ ๒ เรื่อง การจัดการ

งานใบตองดอกไม้สด ส่งครู

๙. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การจัดการงานใบตองดอกไม้สด

นำแบบทดสอบและกระดาษคำตอบ ส่งครู เพื่อบันทึกคะแนน

๑๐. ใช้เวลาในการศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมแบบฝึกทักษะ ๒ ชั่วโมง

(แผนภูมิลำดับขั้นการเรียนแบบฝึกทักษะ)

(อ่านคำชี้แจง คำแนะนำ )

(ศึกษา ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ สาระสำคัญ)

(ทำแบบทดสอบก่อนเรียน)

(ศึกษาใบความรู้ทำกิจกรรมแบบฝึกทักษะ ตรวจกับบัตรเฉลย)

(ทำแบบทดสอบหลังเรียน)

(ผ่านเกณฑ์)

(ไม่ผ่านเกณฑ์ศึกษาใบความรู้(ทบทวน)ทำกิจกรรมแบบฝึกทักษะ ตรวจกับบัตรเฉลย)

(ศึกษาแบบฝึกทักษะชุดต่อไป)

(แผนภูมิ ลำดับขั้นการเรียนแบบฝึกทักษะ ชุดที่ ๒ เรื่อง การจัดการงานใบตองดอกไม้สด )

(ผลการเรียนรู้)๔

( ๑. อธิบายหลักศิลปะและการออกแบบงานใบตองดอกไม้สดได้ถูกต้อง ๒. บอกข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นและองค์ประกอบการออกแบบงานใบตองดอกไม้สดได้ถูกต้อง ๓. ออกแบบงานใบตองดอกไม้สดเพื่อประดิษฐ์จำหน่ายได้ถูกต้อง ๔. การวิเคราะห์วางแผนประดิษฐ์งานใบตองดอกไม้สดได้ถูกต้อง ๕. บันทึกรายการรับ-จ่ายและกำหนดราคาจำหน่ายงานใบตองดอกไม้สดได้ถูกต้อง ๖. วิเคราะห์การจัดการงานใบตองดอกไม้สด ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๗. นำความรู้เรื่องกระบวนการจัดการงานใบตองดอกไม้สดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ๘. เห็นประโยชน์ของกระบวนการจัดการงานใบตองดอกไม้สด เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม)

(สาระการเรียนรู้)

( ๑. หลักศิลป์และการออกแบบงานใบตองดอกไม้สด ๒. ข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นและองค์ประกอบการออกแบบงานใบตองดอกไม้สด ๓. ออกแบบงานใบตองดอกไม้สดเพื่อประดิษฐ์จำหน่าย ๔. การวิเคราะห์วางแผนประดิษฐ์งานใบตองดอกไม้สด ๕. บันทึกรายการรับ-จ่ายและกำหนดราคาจำหน่ายงานใบตองดอกไม้สด ๖. วิเคราะห์การจัดการงานใบตองดอกไม้สด ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๗. ความรู้เรื่องกระบวนการจัดการงานใบตองดอกไม้สดกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ๘. ประโยชน์ของกระบวนการจัดการงานใบตองดอกไม้สด เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม)

(สาระสำคัญ)

( การจัดกระบวนการจัดการงานใบตองดอกไม้สด เรื่อง กระทงดอกไม้ธูปเทียน-แพ พานของหมั้น บายศรีปากชาม พานบายศรี ๓ ชั้น ให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน จะต้องศึกษาเกี่ยวกับ เรื่อง การออกแบบ เลือกใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน ตรวจสอบและปรับปรุงงาน จัดการผลงาน ด้าน การนำไปใช้ การทำบัญชีรับจ่าย กำหนดราคาจำหน่ายและการประเมินผล วิเคราะห์การจัดการงานใบตองดอกไม้สด ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้มีระบบในการจัดการครบวงจร จึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ)

(แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่อง การจัดการงานใบตองดอกไม้สด )

(คำชี้แจง )

1. ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียวและกาเครื่องหมายกากบาท (X)

ลงในกระดาษคำตอบ

๒. ข้อสอบมีจำนวน ๑๐ ข้อ คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน

๓. เมื่อทำแบบทดสอบเสร็จแล้วให้ส่งกระดาษคำถามพร้อมกระดาษคำตอบคืน

เพื่อบันทึกคะแนน

1. การออกแบบ หมายถึงข้อใด

ก. การดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม

ข. การรู้จักใช้ความรู้ ความคิดริเริ่ม

ค. การนำเอาส่วนประกอบทางศิลปะมาใช้

ง. การคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นใหม่

2. หลักเกณฑ์ที่ถือปฏิบัติเป็นอันดับแรกในการออกแบบ คือข้อใด

ก. ความงาม

ข. ความปลอดภัย

ค. หน้าที่การนำไปใช้

ง. คุณสมบัติของวัสดุ

3. ความสำคัญของการออกแบบที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ข้อใดถูกต้องที่สุด

ก. ทำให้มีเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต

ข. มีสิ่งอำนวยความสะดวกในทุกด้าน

ค. ทำให้สร้างผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ในการดำรงชีวิต

ง. ทำให้มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค

4. ประโยชน์ของการออกแบบข้อใดไม่ถูกต้อง

ก. เพื่อให้เกิดความงามทางพื้นผิว

ข. ช่วยวางรูปของงานให้เหมาะกับหน้าที่ และการใช้สอย

ค. ช่วยให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกคล้อยตามในด้านความงาม

ง. ช่วยให้เกิดการค้นคว้าทดลองทั้งด้าน วัสดุ และวิธีการใหม่ๆ

5. ลำดับขั้นตอนการออกแบบข้อแรก คือข้อใด

ก. หาข้อมูล

ข. การจัดการ

ค. กระบวนการ

ง. วางเป้าหมาย

6. กิจกรรมที่สำคัญที่ต้องกำหนดขึ้นก่อนปฏิบัติคือข้อใด

ก. การวางแผน

ข. สำรวจความต้องการ

ค. ศึกษากระบวนการผลิต

ง. ตรวจสอบและปรับปรุงผลงาน

7. สิ่งสำคัญที่สุดของขั้นตอนและกระบวนการวางแผนคือข้อใด

ก. การตั้งสมมุติฐาน

ข. การปฏิบัติตามแผน

ค. การประเมินผลงาน

ง. การกำหนดวัตถุประสงค์

8. กระบวนการที่จะทำให้งานวางแผนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ ข้อใด

ก. วัตถุประสงค์

ข. กำหนดระยะเวลาของงาน

ค. การดำเนินงานไปอย่างสมเหตุสมผล

ง. การประสานงานร่วมกันของสมาชิกในกลุ่ม

9. การประเมินผลเริ่มต้นและสิ้นสุดด้วยกิจกรรมข้อใด

ก. การประเมินคุณภาพและราคาทุน

ข. ประเมินคุณภาพและการจำหน่าย

ค. ประเมินระหว่างปฏิบัติและการจำหน่าย

ง. ประเมินระหว่างปฏิบัติและการปรับปรุงผลงาน

10. ข้อใดคือความหมายของการจัดจำหน่ายงานใบตองดอกไม้สด

ก. การนำงานใบตองดอกไม้สดจากผู้ผลิตไปจำหน่ายให้ผู้บริโภค

ข. ศูนย์รวมการแลกเปลี่ยนงานใบตองดอกไม้สดระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขายสินค้า

ค. การให้บริการผู้บริโภคในการซื้องานใบตองดอกไม้สดทุกประเภท

ง. การนำงานใบตองดอกไม้สดไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินด้วยวิธีการที่เหมาะสม

และมีผลกำไร

( การจัดการงานใบตองดอกไม้สด)

(การออกแบบงานใบตองดอกไม้สด)

(การจะประดิษฐ์งานใบตองดอกไม้สด ประการแรกต้องมีการออกแบบก่อนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นงานประดิษฐ์ บายศรี กระทงดอกไม้ พานของหมั้น หรือพานขันหมาก การออกแบบจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้ และฝึกให้เกิดความชำนาญ จะก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในที่สุด การที่จะออกแบบได้แปลกๆ ใหม่ๆ จะต้องเป็นผู้รู้มาก เห็นมาก ศึกษามาก)

(ใบความรู้ที่ ๑ เรื่องการออกแบบงานใบตองดอกไม้สด)๘

(ความหมายของการออกแบบ)

(“การ”หมายความว่า งาน,สิ่ง,เรื่องที่ทำ 1“ออก”หมายความว่า ทำให้ปรากฏขึ้น, ทำให้เกิดขึ้น 2“แบบ”หมายความว่า สิ่งที่กำหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดำเนิน 3การออกแบบ คือ การรู้จักคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ หรือการคิดแก้ปัญหาเพื่อนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ขั้นแรกอาจทำขึ้นเพื่อความจำเป็นในการดำรงชีวิต ต่อมาจึงกลายเป็นเพื่อจรรโลงใจ และสนองตอบด้านอารมณ์ สังคม จิตใจ ประกอบเข้าด้วยกันการออกแบบจัดเป็นงาน “ศิลปประยุกต์” นอกจากจะให้คุณค่าทางด้านประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันแล้ว ยังให้คุณค่าทางด้านความงาม และความสุขด้านจิตใจด้วย)

(ความสำคัญของการออกแบบงานใบตองดอกไม้สด)

(การออกแบบ มีบทบาทมากในสังคมปัจจุบัน เพราะชีวิตมนุษย์ในสังคมปัจจุบันต่างก็มีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุข อาศัยสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ และส่วนที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเป็นผลงานที่สร้างขึ้นจากความคิด สติปัญญา เพื่อตอบสนองความต้องการ จึงกล่าวได้ว่าปัจจัยสี่ประการ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค มีการพัฒนาด้วยการออกแบบของมนุษย์ให้มีประโยชน์อำนวยความสุขตลอดไป)

1ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525, (พิมพ์ครั้งที่ 6,

กรุงเทพฯ : อักษร เจริญทัศน์,2539), หน้า 98

2เรื่องเดียวกัน, หน้า 925

3เรื่องเดียวกัน, หน้า 495

(หลักการออกแบบงานใบตองดอกไม้สดที่ดี)

การออกแบบเป็นหัวใจที่สำคัญในการประดิษฐ์ชิ้นงาน เพราะการประดิษฐ์ชิ้นงานต้องเน้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความเหมาะสม รูปทรง สัดส่วน ความประณีตสวยงาม หลักการออกแบบโดยทั่วไป มีดังนี้

๑. รูปร่างและรูปทรง โดยรูปร่างเป็นเส้นรอบนอกของวัตถุหรือรูปแบบของชิ้นงานที่สามารถสื่อความหมายถึง ความกว้าง ความยาว ความสูง ส่วนรูปทรงเป็นลักษณะของชิ้นงานที่ออกแบบสามารถสื่อความหมายถึงความกว้าง ความยาว และความหนาของชิ้นงานต้องได้สัดส่วนสัมพันธ์กันรวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ ต้องเป็นแนวทางเดียวกัน

(ผลงานสำเร็จของนักเรียนแหล่งที่มาภาพ : เพ็ญวดี ค้าสุวรรณ)

๒. ความรู้เรื่องเส้น การใช้เส้นในการออกแบบงานใบตองดอกไม้สดจะช่วยให้เกิดความรู้สึก

ที่แตกต่างกัน การนำเส้นต่าง ๆ มาใช้ในการออกแบบ ผู้ออกแบบควรคำนึงถึงลักษณะของเส้นดังนี้

เส้นแนวตั้งหรือเส้นแนวดิ่ง ให้ความรู้สึกแข็งแรง มั่นคง ให้ทิศทางในทางตั้ง

เส้นนอนหรือเส้นขนาน ให้ความรู้สึกเวิ้งว้าง ราบเรียบ ให้ทิศทางในทางกว้าง

เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนโยน นิ่มนวล อ่อนไหว

เส้นคด ให้ความรู้สึกว่าเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง ไม่ขัดแย้ง

เส้นเฉียงหรือทแยง ให้ความรู้สึกว่าเคลื่อนไหว ไม่คงที่ เอนเอียง ไม่แน่นอน

เส้นหัก ให้ความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวตื่นเต้น อันตราย

๑๐

๓. ความรู้เรื่องสีที่นำมาใช้ในชิ้นงาน สีมีอิทธิพลต่อความรู้สึก เป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบ ที่ช่วยให้งานใบตองดอกไม้สด ซึ่งมีส่วนช่วยให้ชิ้นงานนั้นดูสวยงามโดดเด่น หรือแสดงความรู้สึกต่างๆ ออกมาจากสีของดอกไม้และใบไม้ที่ใช้

(ผลงานสำเร็จของนักเรียนแหล่งที่มาภาพ : เพ็ญวดี ค้าสุวรรณ)

๔. วัสดุในการประดิษฐ์ ควรเลือกวัสดุชนิดใหม่ๆ มาประดิษฐ์ชิ้นงานเพื่อความแปลกใหม่ หรือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

(วัสดุสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แหล่งที่มาภาพ : เพ็ญวดี ค้าสุวรรณ)

๕. โอกาสที่ใช้ ผู้ประดิษฐ์ต้องทราบว่าจะประดิษฐ์ชิ้นงานในโอกาสอะไร เช่น ใช้สำหรับงานประกวด

ใช้สำหรับงานโชว์ ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อการค้า

(โอกาสที่ใช้งานใบตองดอกไม้สดใช้สำหรับงานโชว์และงานประกวดแหล่งที่มาภาพ : เพ็ญวดี ค้าสุวรรณ)

๑๑

๖. แรงงานและเวลา ควรจะต้องทราบว่ามีแรงงานที่จะช่วยกันมากน้อยเท่าไร หรือมีเวลาเตรียมงานกี่วัน เพื่อจะได้มีการออกแบบให้สอดคล้องกับเวลาและแรงงาน

(กระบวนการทำงานของนักเรียนแหล่งที่มาภาพ : เพ็ญวดี ค้าสุวรรณ)

๗. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สำหรับงานใบตองดอกไม้สดจำเป็นต้องมีการนำงานดอกไม้สดมาผสมผสานเพื่อเพิ่มสีสันให้กับชิ้นงานหรือการไล่โทนสีของใบตองและดอกไม้สด

(ผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การไล่โทนสีของใบตองและดอกไม้สดแหล่งที่มาภาพ : เพ็ญวดี ค้าสุวรรณ)

๑๒

(ใบความรู้ที่ ๒ เรื่องการวางแผนทำงานใบตองดอกไม้สด)

(การวางแผนทำงานใบตองดอกไม้สด)

( การวางแผน มีความสำคัญต่อการทำงานประดิษฐ์เป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ทำให้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงานสามารถหาแนวทางแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที การทำงานมีประสิทธิภาพ และได้ผลงานมีคุณภาพตามรูปแบบที่กำหนดไว้)

(ประโยชน์ของการวางแผน)

(การวางแผนเป็นการกำหนดทิศทางในการทำงานไปสู่เป้าหมาย ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างคุ้มค่า ดังต่อไปนี้๑. การวางแผนในการทำงานที่เป็นระบบ เป็นกระบวนการบริหารจัดการที่ช่วยให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทุกชนิด ได้แก่ กำลังคน เวลา และเงินทุน เป็นต้น๒. การทำงานที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เป็นการทำงานที่ช่วยลดภาระความขัดแย้งของผู้ร่วมงานในองค์กรนั้น ๆ รวมทั้งช่วยลดภาระการทำงานที่ซ้ำซ้อน เพราะการวางแผนที่รัดกุมและชัดเจน จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง๓. การทำงานที่มีการวางแผนร่วมกัน ทำให้ผู้ร่วมงานได้มีโอกาสระดมพลังความคิด ทำให้เกิดความรักความสามัคคีในองค์กร ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ๔. การทำงานที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เป็นการทำงานที่ง่ายต่อการควบคุม และตรวจสอบงาน อีกทั้งลดภาระในการบริหารงานด้วย)

๑๓

(ขั้นตอนการวางแผนทำงานใบตองดอกไม้สด)

การวางแผนทำงานใบตองดอกไม้สดมีขั้นตอนที่ควรปฏิบัติดังนี้

(๑. ขั้นวางแผนประดิษฐ์ชิ้นงานการวางแผนประดิษฐ์ชิ้นงานเป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติงานล่วงหน้าว่า จะประดิษฐ์งานประเภทใด มีลักษณะรูปทรงอย่างไร ทำเพื่ออะไร หรือมีจุดมุ่งหมายของงานเกี่ยวกับการนำไปใช้ประโยชน์อะไร การเตรียมวัสดุ รวมทั้งวิธีการทำและเทคนิคในการทำงาน ระยะเวลาในการประดิษฐ์ชิ้นงาน จะจัดการกับชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้วอย่างไร โดยคิดวางแผนไว้ในใจ หรือจะเขียนไว้ในสมุดบันทึก แล้วแต่วิธีการของผู้ประดิษฐ์)

(แนวปฏิบัติในการวางแผนงานใบตองดอกไม้สด)

( ๑. กำหนดประเภทของงานที่จะประดิษฐ์๒. การออกแบบให้มีลักษณะรูปทรงอย่างไร ๓. กำหนดจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของงานว่าทำเพื่ออะไร เช่น ใช้สำหรับงานประกวด ใช้สำหรับงานโชว์ ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อการค้า๔. การเลือกใช้วัสดุ ตั้งเป้าหมายว่าจะเลือกใช้ใบตองอ่อน ใบตองแก่ ดอกไม้ชนิดไหน สีอะไรบ้าง ๕. การปฏิบัติประดิษฐ์ชิ้นงาน รวมถึง การกำหนดเครื่องมือและอุปกรณ์ ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ เทคนิคในการทำงาน เพื่อนำข้อมูลความรู้ไปใช้ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติ ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่สิ้นเปลืองเวลา๖. กำหนดระยะเวลา ควรระบุให้ชัดเจนว่า การจะทำงานประดิษฐ์แต่ละชิ้น หรือการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนให้สำเร็จจะใช้เวลาในการประดิษฐ์นานเท่าใด๗. กำหนดผู้รับผิดชอบ ชิ้นงานประดิษฐ์ที่จะทำ เป็นงานที่ทำคนเดียว หรือทำร่วมกันเป็นกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มจะต้องแบ่งกันรับผิดชอบแต่ละขั้นตอนให้เรียบร้อย งานบางอย่างต้องช่วยกันทำ งานบางอย่างมอบหมายให้สมาชิกคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบ โดยคำนึงถึงความถนัดและความสามารถของแต่ละคน เพื่อให้ได้ชิ้นงานประดิษฐ์ที่มีคุณภาพดี)

๑๔

(แนวปฏิบัติในการวางแผนงานใบตองดอกไม้สด ( ต่อ ))

(๘. กำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการทำงานประดิษฐ์ โดยจัดทำรายการสิ่งของที่ต้องจัดซื้อ และทำประมาณการค่าใช้จ่ายของแต่ละงานลำดับที่รายการวัสดุจำนวนหน่วยราคาต่อหน่วยจำนวนเงินรวม๑.๒.๓.ค่าใบตองสดค่าดอกกุหลาบมอญค่าดอกรัก๕ ถุง๒ ถุง๑ ถุง๑๐๐๑๕๐๑๕๐๕๐๐๑๕๐๑๕๐รวมเงิน (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)๘๐๐)

(๙. เตรียมสถานที่ เป็นสิ่งสำคัญเพราะการจะประดิษฐ์ชิ้นงานแต่ละอย่าง สถานที่ก็มีส่วนสำคัญในการปฏิบัติประดิษฐ์ชิ้นงานให้เกิดความคล่องตัว การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น ห้องปฏิบัติการ ต้องมีการเตรียมโต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องอำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ ในการทำงานเฉพาะอย่าง เป็นต้นวัน เดือนปีเวลางานที่ปฏิบัติ(ขั้นตอนการประดิษฐ์)สถานที่ปฏิบัติผู้รับผิดชอบหมายเหตุ…………......…………......…………......…………....…………....…………....………………………..........………………………..........………………………..........……………….......……………….......……………….......……………........……………........…………….......…………….....……………....……………....)

ตารางแผนการปฏิบัติประดิษฐ์ชิ้นงานใบตองดอกไม้สด

(๒. ขั้นปฏิบัติงาน แนวทางการปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่ต้องลงมือทำงานตามกระบวนการของงานประดิษฐ์ตามลำดับ ดังนี้)

( ๒.๑ การออกแบบงานใบตองดอกไม้สด การออกแบบ คือ การกำหนดต้นแบบของงานใบตองดอกไม้สด ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ โดยการกำหนดรูปแบบของชิ้นงาน เช่น กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ พานของหมั้น บายศรีปากชาม และรูปแบบพานบายศรี ๓ ชั้น พร้อมกับกำหนดวัสดุที่ต้องใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประดิษฐ์เข้าใจลักษณะของงานที่จะทำ สามารถจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และประมาณการค่าใช้จ่ายในการประดิษฐ์งานใบตองดอกไม้สดได้)

๑๕

(สิ่งที่ควรคำนึงในการออกแบบงานใบตองดอกไม้สด) ( ๑) ออกแบบให้เหมาะสมกับวัสดุที่เลือกนำมาใช้ เช่น ใบตองอ่อน ใบตองแก่ ใบกระบือ ดอกไม้สด เช่น ดอกบัวสาย ดอกรัก ดอกกุหลาบ ดอกกล้วยไม้ ฉะนั้น การออกแบบ กำหนดต้นแบบ จึงควรคำนึงถึงลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาใช้ด้วย เพื่อให้ทำตามแบบได้สะดวก ๒) ออกแบบให้เหมาะสมกับการนำมาใช้ประโยชน์ งานแต่งงาน งานหมั้น งานขึ้นบ้านใหม่จะเน้นการออกแบบเป็นงานใบตองดอกไม้สดประเภทของใช้ในงานพิธีที่เป็นเอกลักษณ์ไทย ฉะนั้น การออกแบบจึงควรคำนึงถึงความเหมาะสมของแบบกับประโยชน์การนำมาใช้ของงานที่ออกแบบด้วย ๓) ออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ เป็นการออกแบบที่ใช้ต้นทุนในการประดิษฐ์ตามแบบให้น้อยที่สุด อาจทำโดยการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาเป็นส่วนประกอบให้มากที่สุด แทนการใช้วัสดุที่ซื้อในท้องตลาดซึ่งจะมีราคาค่อนข้างแพง ๔) ออกแบบให้สวยงาม ทั้งรูปทรงและลวดลาย งานใบตองดอกไม้สดประเภทของใช้ ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย เช่น กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ พานแหวนหมั้น พานขันหมาก บายศรีปากชาม บายศรีสู่ขวัญ ออกแบบให้ได้สัดส่วน สีสัน ตกแต่งด้วยงานมาลัย ตาข่าย เฟื่อง อุบะ ดอกข่าประดิษฐ์ ให้ชิ้นงานมีความประณีตสวยงาม และรักษาคุณค่าทางศิลปะ เน้นความเป็นเอกลักษณ์ไทย )

(พานของหมั้นผลงานของนักเรียนแหล่งที่มาภาพ : เพ็ญวดี ค้าสุวรรณ)

๑๖

( ๒.๒ การเลือก การเตรียมวัสดุเพื่อนำมาใช้ในงานใบตองดอกไม้สด การเลือกและการเตรียมวัสดุที่จะนำมาใช้สำหรับทำงานใบตองดอกไม้สด ควรเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ออกแบบไว้ และควรคำนึงถึงประโยชน์ในการนำมาใช้ด้วย เช่น กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ พานของหมั้น บายศรีปากชาม บายศรีสู่ขวัญ ต้องต้องมีความประณีตสวยงาม มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย เคลื่อนย้ายได้สะดวก จัดเตรียมไว้ให้ครบถ้วน)

( แนวปฏิบัติในการเลือกวัสดุเพื่อนำมาใช้ทำงานประดิษฐ์๑) เลือกวัสดุที่หาได้ง่าย มีในท้องถิ่น๒) มีรูปทรง ขนาดเหมาะสมกับรูปแบบของงานที่จะประดิษฐ์๓) วัสดุดอกไม้ใบตองมีความสด ไม่เหี่ยว๔) นำวัสดุอื่นมาตกแต่งให้สวยงามได้ เช่น ใบตองอ่อน ใบกระบือ ใบหมากผู้หมากเมีย ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ใบพลู เป็นต้น )

( ๒.๓ เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ทำงานใบตองดอกไม้สดงานใบตองดอกไม้สดแต่ละชนิด มีกรรมวิธีการผลิตแตกต่างกัน บางชนิดทำให้สำเร็จเป็นชิ้นงานโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์มาก ฉะนั้นเราจึงต้องจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานประดิษฐ์ให้พร้อมจะช่วยให้การทำงานใบตองดอกไม้สดเสร็จตามเวลาที่กำหนด และมีคุณภาพดี)

( แนวปฏิบัติในการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ทำงานประดิษฐ์1) ศึกษาคำแนะนำ วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ให้เข้าใจก่อนนำไปใช้งาน โดยศึกษาจากคู่มือการใช้ หรือสอบถามจากผู้รู้2) จัดเตรียมเครื่องมือไว้ให้ครบถ้วน วางเป็นระเบียบ สะดวกในการหยิบใช้3) เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้เหมาะสมกับวัสดุที่นำมาผลิตชิ้นงานเหมาะกับผู้ใช้ สามารถจับถือได้ถนัดมือ)

๑๗

( ๒.๔ ลงมือปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน หลังจากเลือกและเตรียมวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ไว้พร้อมแล้ว ถึงขั้นที่ต้องลงมือทำงานตามลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานใบตองดอกไม้สดแต่ละชนิด เริ่มตั้งแต่ขั้นแรกดำเนินไปจนถึงขั้นสุดท้าย ได้ผลสำเร็จของงาน)

( แนวทางในการลงมือปฏิบัติงาน 1) ให้ทำตามลำดับขั้นตอนการประดิษฐ์งานใบตองดอกไม้สด 2) ทำงานด้วยความตั้งใจ มีความประณีตและอดทน 3) ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ให้ถูกวิธี เหมาะสมกับชนิดของวัสดุ 4) ทำงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด ไม่หยอกล้อเล่นกับเพื่อนในระหว่างปฏิบัติงาน ทำงานตามลำดับขั้นตอนด้วยความประณีต5) ในระหว่างปฏิบัติประดิษฐ์ชิ้นงาน ตั้งใจปฏิบัติให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ มีความประณีตสวยงามถ้าเกิดปัญหา ไม่ควรท้อถอย ควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ความสามารถ แล้วพยายามปฏิบัติงานต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ )

(การทำงานประดิษฐ์ให้มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ การทำงานอย่างประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน ประหยัดค่าใช้จ่าย และมีความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการที่สามารถทำได้ ดังนี้1. ทำงานประดิษฐ์แบบประหยัดเวลา หมายถึง การใช้เวลาน้อยที่สุด ทำงานได้ผลงานหรือชิ้นงานในปริมาณมากที่สุด เช่น การจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อม ก่อนลงมือปฏิบัติทำให้การทำงานเกิดความคล่องตัว และรวดเร็ว2. ทำงานประดิษฐ์แบบประหยัดแรงงาน โดยการใช้เครื่องมือที่เป็นเครื่องทุนแรงเข้ามาช่วยทำงาน เช่น ใช้เครื่องเย็บกระดาษช่วยในการประดิษฐ์พานบายศรี เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และทันตามเวลา นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับการยืนหรือการนั่งทำงานในระดับที่เหมาะสมกับผู้ประดิษฐ์3. ทำงานประดิษฐ์แบบประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นการเลือกวัสดุที่นำมาใช้ในงานใบตองดอกไม้สดควรเป็นวัสดุที่มีและหาได้ในท้องถิ่น ถ้าหากจะซื้อหาควรจัดซื้อในราคาที่ถูก และเลือกซื้อจากแหล่งที่มีวัสดุ4. ทำงานประดิษฐ์อย่างปลอดภัย ความปลอดภัยในการทำงานเกิดจากการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ถูกวิธี และปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง เช่น การใช้กรรไกร มีด ต้องใช้อย่างระมัดระวัง และถูกวิธี เป็นต้นดังนั้น การทำงานประดิษฐ์โดยเน้นการเพิ่มคุณภาพในกระบวนการทำงาน และการเพิ่มผลผลิตนั้น เราสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานประดิษฐ์ได้ เพราะเทคโนโลยีในงานประดิษฐ์ ทำให้ได้ชิ้นงานประดิษฐ์ที่มีทั้งขนาดและคุณภาพเหมือนกันทุกครั้งที่มีการผลิตชิ้นงาน และสามารถผลิตได้ครั้งละจำนวนมาก)

๒๐

เทคโนโลยีกับงานประดิษฐ์

ความหมายของเทคโนโลยี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า

เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้

ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

ดังนั้น จากความหมายข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีเป็นการนำเครื่องมือและอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในการประดิษฐ์สิ่งของ โดยเน้นการเพิ่มคุณภาพในกระบวนการทำงานและเพิ่มผลผลิตของชิ้นงานเป็นสำคัญ กรรมวิธีในการสร้างสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ฉะนั้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานประดิษฐ์ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่จะประดิษฐ์

การทำงานโดยใช้เทคโนโลยี เป็นการเพิ่มคุณภาพในการทำงานและผลผลิตให้ดีมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ได้เหมาะสมกับการประดิษฐ์

ชิ้นงานแต่ละชนิด

ประโยชน์ของเทคโนโลยี

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานประดิษฐ์ มีประโยชน์ดังต่อไปนี้ คือ

1. ช่วยให้การทำงานบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพ

2. ได้ผลผลิตที่มีปริมาณมาก และมีคุณภาพตามต้องการ

3. ลดต้นทุนในการผลิต เป็นการลงทุนน้อย แต่ได้ผลกำไรมากกว่าที่ลงทุน ประหยัด

เวลาและแรงงานในการทำงาน

4. สามารถพัฒนาไปสู่กระบวนการผลิตครั้งละมากๆ ได้

เทคโนโลยีที่ใช้ในงานใบตองดอกไม้สด

3. เทคโนโลยีกับกระบวนการผลิต

คือ ขั้นตอนการผลิตตั้งแต่การออกแบบ การเตรียมวัสดุต่าง ๆ ก่อนการทำงานประดิษฐ์

เช่น การกรีด การรีด การฟอก การย้อม ฯลฯ มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้ได้ชิ้นงาน

ประดิษฐ์ที่มีขนาด คุณภาพเหมือนกันทุกครั้งที่มีการผลิต สามารถผลิตชิ้นงานได้ปริมาณมาก และมี

คุณภาพตามต้องการ

การเลือกใช้เทคโนโลยีในงานประดิษฐ์

การเลือกใช้เทคโนโลยีในงานประดิษฐ์นั้น มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้

1. เหมาะสมกับวัสดุที่นำมาผลิตเป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องกรีดใบลานและใบตาล

เครื่องรีดผักตบชวา ใยกล้วย และกกเหลี่ยม ฯลฯ เครื่องตอกกลีบ เครื่องอัดกลีบ และเครื่องตาก

กลีบดอกไม้ เป็นต้น

2. สร้างขึ้นได้ง่าย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

3. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง และได้ผลผลิตในปริมาณมาก

4. ใช้งานและเก็บรักษาได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

5. ซ่อมแซมแก้ไขได้ง่าย เมื่อเกิดการชำรุดหลังจากใช้งาน

6. อนุรักษ์พลังงาน ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. การจัดเก็บวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ และสถานที่ปฏิบัติงาน

หลังจากปฏิบัติงานเสร็จแล้ว ควรจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ ดูแลทำความสะอาด

เครื่องมือทำงานทุกชนิดให้ถูกวิธี และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย จะช่วยให้สะดวกในการหยิบใช้ในครั้ง

ต่อไป ปลอดภัย ใช้งานได้นาน ทั้งยังเป็นการสร้างนิสัยรักความสะอาด มีระเบียบ และมีความ

ละเอียดรอบคอบในการทำงานอีกด้วย

แนวทางในการจัดเก็บวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ และสถานที่ทำงานประดิษฐ์

1) การจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ที่เหลือ ถ้ายังสภาพที่ใช้งานได้ ให้เก็บรวบรวมใส่ซองหรือกล่อง สำหรับวัสดุประเภทของเหลว บรรจุขวด เช่น กาว เชลแล็ค ควรใช้ผ้าเช็ดปากขวดให้

แห้งแล้วปิดฝาครอบให้สนิท ปืนกาวไฟฟ้า เมื่อเลิกใช้ให้ดึงกาวซิลิโคนออก เช็ดตัวปืนให้สะอาด

หลังใช้งานทุกครั้ง

2) การจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ทำงาน ถ้าเครื่องมือใดล้างน้ำได้ ให้ล้าง ผึ่งให้แห้ง

เช็ดให้สะอาด ถ้าเครื่องมือเป็นโลหะ ควรทาด้วยน้ำมันป้องกันสนิมก่อนเก็บใส่กล่อง

3) เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ให้ถูกวิธี แล้วนำเก็บไว้ในตู้

4) เมื่อเก็บวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์เข้าที่แล้ว ควรทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติงาน

ให้ดูสะอาด เรียบร้อย เพื่อความเป็นระเบียบ และเหมาะที่จะทำงานในครั้งต่อไป

การบันทึกการปฏิบัติงานและการสรุปผลการปฏิบัติงาน

ลำดับ

ที่

เรื่องที่วางแผนไว้

พ.ศ.2548

ชื่อ

ผู้รับ

ผิดชอบ

การปฏิบัติ

ปัญหาที่พบในขณะ

ปฏิบัติงาน

หมายเหตุ

รายการ

เดือน

เป็นไปตามแผน

ไม่เป็น

ไปตาม

แผน

รายการ

ปัญหา

ที่พบ

วิธีการ

แก้ไข

1

ค่าใช้จ่ายใน

การทำงาน

……….

……….

………

………

……..

……..

……..

……..

………...

………...

………...

………...

………

………

2

วัสดุสิ่งของ

ในการทำงาน

……….

……….

………

………

……..

……..

……..

……..

………...

………...

………...

………...

………

………

3

เวลาในการ

ปฏิบัติงาน

……….

……….

………

………

……..

……..

……..

……..

………...

………...

………...

………...

………

………

4

ผู้รับผิดชอบ

……….

………

……..

……..

………...

………...

………

5

การทำงานร่วมกัน

……….

………

……..

……..

………...

………...

………

6

ผลงานสำเร็จที่ได้

(ใส่ช่องหมายเหตุ)

……….

……….

………

………

……..

……..

……..

……..

………...

………...

………...

………...

………

………

สรุปผลการปฏิบัติงาน

1. รายการปฏิบัติที่เป็นไปตามแผน จำนวน ………………รายการ

2. รายการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามแผนจำนวน ………………รายการ

3. สรุปผลผลิตที่ได้จำนวน ………………ชิ้น / อัน

4. สรุปรายจ่ายเป็นเงินจำนวน ……………… บาท

78

3. ขั้นประเมินผล

ขั้นประเมินผล เป็นการตรวจสอบงานประดิษฐ์ที่กำลังทำอยู่ เพื่อให้ทราบความก้าวหน้า

ของงานประดิษฐ์ ปัญหา และสิ่งที่ควรแก้ไข การประเมินผลควรทำเป็นระยะ ๆ ทุกขั้นตอน เริ่ม

ตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย หรือไปจนถึงผลงานสำเร็จ

แนวทางในการประเมินผลการทำงานประดิษฐ์

1. การออกแบบ ดัดแปลงแบบถูกต้อง ครบถ้วน เป็นแบบสำหรับประดิษฐ์ชิ้นงานได้

หรือไม่ ถ้าตรวจดูแล้วพบแบบส่วนใดยังไม่สมดุล ไม่สมส่วน ควรแก้ไขทันที

2. การเตรียมวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน จัดได้ครบถ้วนหรือไม่ ถ้า

ไม่ครบ เป็นเพราะเหตุใด รีดจัดหาให้ครบ มีความพร้อมก่อนปฏิบัติงาน

3. การลงมือปฏิบัติงาน ขั้นตอนใดมีปัญหา เช่น วัสดุที่หาได้ไม่ตรงตามแบบ เป็นผลให้

การทำงานประดิษฐ์บางขั้นตอนไม่ได้ ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไม่เหมาะสมกับวัสดุ จึงทำงาน

ไม่สะดวก เมื่อพบสาเหตุแล้วควรรีบแก้ไข เพื่อให้การทำงานดำเนินไปด้วยดี เพิ่มประสิทธิภาพใน

การทำงาน

4. ตรวจสอบและปรับปรุงผลงานสำเร็จ ดำเนินการหลังจากทำงานเสร็จแล้ว ควรประเมิน

อีกครั้งว่า ผลงานประดิษฐ์เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ คุณภาพดีเพียงใด จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ตรง

ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร น่าจะปรับปรุงส่วนใดอีก

5. ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลทุกครั้ง ควรรวบรวมบันทึกไว้ เพื่อนำไปเป็นแนวทาง

ในการทำงานประดิษฐ์ชิ้นต่อไป หรือเป็นแนวทางในการทำงานครั้งต่อไป

การประเมินผล ตรวจสอบ และปรับปรุงผลงานเป็นระยะ จะทำให้ผลงานดีมีคุณภาพ

สรุป

การวางแผนมีความสำคัญต่อการทำงานประดิษฐ์เป็นอย่างมากและยังมีคุณค่าต่อการทำงานทุกชนิดทุกประเภท เพราะเป็นการกำหนดทิศทางในการทำงานไปสู่เป้าหมายอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาแรงงาน สามารถแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาได้ทันท่วงที การทำงานมีประสิทธิภาพได้ผลงานที่มีคุณภาพโดยต้องมีการประเมินเป็นระยะๆทุกขั้นตอนจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ส่วนการทำงานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี เป็นการเพิ่มคุณภาพในการทำงานและผลผลิตให้ดีมากยิ่งขึ้น กรรมวิธีในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ฉะนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ได้เหมาะสมกับการประดิษฐ์ชิ้นงานแต่ละชนิด

๑๘

(ใบความรู้ที่ ๓ เรื่องการกำหนดราคาจำหน่ายงานใบตองดอกไม้สด)

(การกำหนดราคาจำหน่าย เป็นการตั้งราคาขายสิ่งประดิษฐ์ให้มีกำไรเพียงพอในการดำเนินกิจการ ซึ่งการกำหนดราคาจำหน่ายควรตั้งราคาต่อหน่วยต่อชิ้นในราคาไม่แพงเกินไป เพื่อให้การหมุนเวียนของสิ่งประดิษฐ์และเงินทุนมีสภาพคล่องตัว โดยในการตั้งราคาขายนั้นควรคำนึงถึง๑. ต้นทุนการผลิต หมายถึง ราคาค่าซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการผลิต โดยคิดเฉพาะส่วนที่ใช้ผลิตชิ้นงาน เช่น ซื้อใบตอง ดอกไม้สดเพื่อมาทำพานของหมั้น ๑๐๐ ก้าน ก้านละ ๕ บาท รวมเป็นเงิน ๕๐๐ บาท ใช้ไป ๕๐ ก้าน ดังนั้น ราคาต้นทุนการผลิตคิดเป็นจำนวนเงิน ๒๕๐ บาท เป็นต้น๒. ค่าใช้จ่าย หมายถึง การจ่ายเงินทุกชนิดที่เกิดจากการผลิตชิ้นงาน เช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าขนส่ง ค่าจ้างแรงงาน ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้า เป็นต้น๓. กำไร หมายถึง จำนวนเงินที่บวกเพิ่มไปในราคาต้นทุนและค่าใช้จ่าย)

(๓. หลักการคำนวณกำไรจากงานใบตองดอกไม้สดเพื่อการจำหน่าย)

(การคำนวณกำไรจากงานใบตองดอกไม้สด เป็นวิธีการคิดราคาขายเพื่อให้ได้เงินเพิ่มจากต้นทุนและค่าใช้ต่างๆ ซึ่งมีหลักการดังนี้ คือ๑. คิดกำไรโดยบวกเพิ่มจำนวนเงินต่อชิ้น๒. คิดกำไรโดยบวกเพิ่มจำนวนเงินต่อจำนวนครั้งของการขาย๓. คิดกำไรจากร้อยละของราคาต้นทุนการผลิตการกำหนดราคา(๑) ราคาทุน ได้จากราคาวัตถุดิบ + ค่าแรง + ค่าวัสดุเสื่อม (๒) ราคากำไร = ราคาทุน + ความต้องการอย่างเหมาะสมตัวอย่างการคำนวณโดยวิธีบวกจำนวนเงินเพิ่มจากราคาต้นทุนการผลิตในการประดิษฐ์พานของหมั้น ๑ ชุด ต้นทุนการผลิต ๕๐๐ บาท ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ๑๐๐ บาทต้องการกำไรจากการขายร้อยละ ๑๐๐ ของราคาต้นทุนการประดิษฐ์ ดังนั้น จะต้องขายพานของหมั้นชุดละ ๑,๒๐๐ บาท โดยมีวิธีคิดดังนี้)

๑๙

(ขั้นตอนที่ ๑ ราคาต้นทุน + ค่าใช้จ่ายทั้งหมด = ค่าใช้จ่ายในการผลิตชิ้นงาน แทนค่า ๕๐๐+๑๐๐ = ๖๐๐ บาท ขั้นตอนที่ ๒ ค่าใช้จ่ายในการผลิตชิ้นงาน X กำไรที่ต้องการ = กำไรทั้งหมด ๑๐๐ แทนค่า ๖๐๐ x ๑๐๐ = ๖๐๐ บาท ๑๐๐ ขั้นตอนที่ ๓ กำไรทั้งหมด + ค่าใช้จ่ายในการผลิตชิ้นงาน = ราคาขายผลผลิต ทั้งหมดแทนค่า ๖๐๐ + ๖๐๐ = ๑,๒๐๐ บาท ราคาขายพานของหมั้น ๑ ชุด = ๑,๒๐๐ บาท)

(การทำบัญชีรับ-จ่ายในการทำงานใบตองดอกไม้สดการทำบัญชีรับ-จ่าย เป็นการบันทึกข้อมูลทางการเงินของแต่ละกิจการ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมค่าใช้จ่ายในการผลิตชิ้นงาน ควบคุมวัตถุดิบ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆซึ่งจะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินเกินงบประมาณ ลดปัญหาการขาดวัสดุสิ่งของหรือวัตถุดิบในการผลิต ช่วยให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผลผลิต ได้แก่ จำนวนการเงินของกิจการนั้นๆ )

(ใบความรู้ที่ ๔ เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง)

(ในชื่อที่เรียกว่า“๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข" เชิญศึกษาดูต่อไปนะคะ)

๒๒

๒๓

(๑. จิตสำนึกดี คิดสร้างสรรค์ )

๒๔

๒๕

๒๖

(การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง ในการจัดการเรียนการสอนงานใบตองดอกไม้สด โดยยึดหลักการดังนี้)

(ความพอประมาณ)

( - เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ความรู้พื้นฐานงานใบตองดอกไม้สดไม้สดประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน - นำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์งานใบตองที่สร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่า)

(ความมีเหตุผล)

( - ส่งเสริมกระบวนการทำงาน การคิด การแก้ปัญหาในการทำงานและชีวิตประจำวัน - ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์งานใบตองดอกไม้สด - กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเกิดผลในการผลิตชิ้นงาน - นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต)

(การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว)

( - รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จ - ฝึกเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม - ปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการประหยัดและอดออม - นำแบบอย่างแนวคิดไปพัฒนาการในการประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเองและทรัพยากรที่มี อยู่ในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง )

(ความรู้)

( - รอบรู้ เกี่ยวกับความรู้ความรู้พื้นฐานงานใบตองดอกไม้สดประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน)

(คุณธรรม)

( - มีความรับผิดชอบ ความอดทน เพียรพยายามในการทำงานด้วยความสามัคคีช่วยเหลือแบ่งปัน รู้จัก ประหยัด และตรงต่อเวลา)

๒๗

( สรุปการจัดการงานใบตองดอกไม้สด)

(การออกแบบงานใบตองดอกไม้สด)

(ความหมายของการออกแบบ)

(การออกแบบ คือ การรู้จักคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ หรือการคิดแก้ปัญหาเพื่อนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ขั้นแรกอาจทำขึ้นเพื่อความจำเป็นในการดำรงชีวิต ต่อมาจึงกลายเป็นเพื่อจรรโลงใจ และสนองตอบด้านอารมณ์ สังคม จิตใจ ประกอบเข้าด้วยกันการออกแบบจัดเป็นงาน “ศิลปประยุกต์” นอกจากจะให้คุณค่าทางด้านประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันแล้ว ยังให้คุณค่าทางด้านความงาม และความสุขด้านจิตใจด้วย)

(หลักการออกแบบงานใบตองดอกไม้สดที่ดี)

(การออกแบบเป็นหัวใจที่สำคัญในการประดิษฐ์ชิ้นงาน เพราะการประดิษฐ์ชิ้นงานต้องเน้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความเหมาะสม รูปทรง สัดส่วน ความประณีตสวยงาม หลักการออกแบบโดยทั่วไป มีดังนี้๑. รูปร่างและรูปทรง โดยรูปร่างเป็นเส้นรอบนอกของวัตถุหรือรูปแบบของชิ้นงานที่สามารถสื่อความหมายถึง ความกว้าง ความยาว ความสูง ส่วนรูปทรงเป็นลักษณะของชิ้นงานที่ออกแบบสามารถสื่อความหมายถึงความกว้าง ความยาว และความหนาของชิ้นงานต้องได้สัดส่วนสัมพันธ์กันรวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ ต้องเป็นแนวทางเดียวกัน๒. ความรู้เรื่องเส้น การใช้เส้นในการออกแบบงานใบตองดอกไม้สดจะช่วยให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างกัน การนำเส้นต่าง ๆ มาใช้ในการออกแบบ ผู้ออกแบบควรคำนึงถึงลักษณะ ๓. ความรู้เรื่องสีที่นำมาใช้ในชิ้นงาน สีมีอิทธิพลต่อความรู้สึก เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้งานใบตองดอกไม้สด นั้นดูสวยงามโดดเด่น หรือแสดงความรู้สึกต่างๆ ออกมาจากสีของดอกไม้และใบไม้ที่ใช้ ๔. วัสดุในการป�