sec.b thainationusa ประวัติ 77 ... · sec.b หน้า 11...

1
หน้า 11 Sec.B ไทยเนชั่นยูเอสเอ www.thainationusa.com thainationusa ประวัติ 77 จังหวัดไทย ( ต่อจากฉบับที่แล้ว ) จังหวัดขอนแก่น “พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก “ นักคิด คณาจารย์ ต้านเผด็จการทหารคสช. ( ติดตามต่อฉบับหน้า ) เสื่อม ทำนบกั้นน้ำขึ้นเป็นถนนรอบบึงเมืองเก่า เพื่อกักน้ำไว้ใช้ สอยในฤดูแล้ง เพราะบึงนี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาว เมืองขอนแก่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 พระนครบริรักษ์ (อุ นครศรี) เจ้าเมืองขอนแก่น ได้กราบถวายบังคมลา ออกจากราชการ เหตุเพราะชราภาพ จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งพระพิทักษ์สารนิคม (หนู หล้า สุนทรพิทักษ์) ปลัดเมืองขอนแก่นขึ้นเป็นผู้ว่าราช การเมืองขอนแก่น และในปีนั้นเอง ก็ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามตำแหน่งข้าหลวงประจำเมือง ขอนแก่นเป็นข้าหลวงประจำบริเวณลำชี ส่วนเมืองต่างๆ ที่ขึ้นต่อนั้น ก็ให้เปลี่ยนเป็นอำเภอ และผู้เป็นเจ้าเมือง นั้น ๆ ก็ให้เปลี่ยนเป็นนายอำเภอ ตำแหน่งอุปฮาดก็ เป็นปลัดอำเภอไป ต่อมาใน พ.ศ. 2450 ได้ย้าย ศาลากลาง มาตั้งที่บ้านพระลับ (ที่ทำการเทศบาลนคร ขอนแก่น ในปัจจุบัน) และเปลี่ยนนามข้าหลวงประจำ บริเวณลำชี มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองตามเดิม ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัด แทน ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจึงกลายเป็นผู้ว่าราชการ จังหวัด และศาลาว่าการเมืองก็เปลี่ยนมาเป็นศาลากลาง จังหวัด และใน พ.ศ. 2507 สมัย จอมพลถนอม กิต ติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สร้างศาลากลางใหม่ที่สนาม บินเก่า ห่างจากที่เดิม 2,000 เมตร ตามดำริของ จอม พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ได้เริ่มต้นไว้ ก่อนแล้ว ปัจจุบันเรียกว่า “ศูนย์ราชการ” ซึ่งตรงกับ สมัย นายสมชาย กลิ่นแก้ว เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ขอนแก่น ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งในระหว่าง พ.ศ.2503 –2511 นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางความเจริญ แห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประวัติความ เป็นมาที่ยาวนาน แบ่งเป็นยุคต่างๆได้ดังนีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในอดีตกาลยุคก่อนประ วัติศาสตร์ย้อนกลับไปกว่าร้อยกว่าล้านปีมาแล้ว ในบริ เวณเขตจังหวัดขอนแก่นเคยที่อยู่ของ “ไดโนเสาร์” สัตว์โลกดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่สูญพันธ์ไปแล้ว โดย นักธรณ๊วิทยาได้ค้นพบรอยเท้าและฟอสซิลไดโนเสาร์ พันธุ์กินพืชและพันธุ์กินเนื้ออายุกว่า4,000 – 2,000 ปี ขอนแก่นเคยเป็นถิ่นอาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประ วัติศาสตร์ ดังปรากฎหลักฐานจากการขุดค้น ของนัก โบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีโนนนกทา บ้านนาดี ตำบล บ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ขุดค้นเมื่อ พ.ศ. 2509 ค้นพบโครงกระดูกกว่า 200 โครงกระดูก นอกจากนั้นยังพบเครื่องสำริด และ เหล็กมีเครื่องมือ เครื่องใช้เป็นขวาน รวมทั้งแบบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อ มีกำ ไลแขนสำริดคล้องอยู่ที่โครงกระดูกท่อนแขน ซ้อนกัน หลาย วง พบกำไรทำด้วยเปลือกหอยรวมทั้งพบแหวน เหล็กไน แสดงว่ามีการปั่นด้ายทอผ้าใช้ในยุคนั้นแล้ว นอกจากนี้ ยังพบขวานทองแดง อายุ 4,600-4,800 ปี เป็นหัวขวานหัวเดียวที่พบในประเทศไทย ที่มีอายุเก่า แก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ในชั้นดินที่ 20 การกำหนด อายุโดยคาร์บอนด์ 14 จากชั้นดินที่ 19 ปรากฏว่าอายุ 4,275 ปี มีเครื่องปั้นดินเผาที่มีอายุใกล้เคียงกับแหล่ง โบราณคดีบ้านเชียง โดย ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมเกษตรกรรมที่รู้จักการใช้โลหะซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกัน นี้พบกระจายตัวอยู่ทั่วขอนแก่น 100 แห่ง โดยส่วน มากพบตามที่ที่ราบลุ่มแม่น้ำพรม แม่น้ำพอง แม่น้ำเชิญ และแม่น้ำชี ซึ่งบางส่วนก็ยังไม่ได้มีการขุดค้นขึ้นมา ศึกษาอย่างจริงจัง การขยายตัวของชุมชนโบราณใน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายนี้ ก่อ ให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนมากมายอย่างมากมายจาก ชุมชนที่ผลิตเพื่อการบริโภค อุปโภค ภายในชุมชน กลายมาเป็นการผลิตเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยน ทำให้ เกิดการรวมตัวของกลุ่มชน จนกลายเป็นสังคมเมืองใน ที่สุด จากหลักฐานข้างต้นพิสูจน์ให้เห็นว่าอาณาเขต บริเวณจังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรม วัฒนธรรมอันสูงสุดมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีความเจริญรุ่ง เรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปี สมัยประวัติศาสตร์ ในสมัยประวัติศาสตร์จังหวัด ขอนแก่น ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมแบบทวารวดีจาก ภาคกลางเข้ามาสู่ภาคอีสานเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12- 16 และได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณ สำนักงานอัยการสูงสุดจะมีการแถลงข่าวการดำเนิน คดีกับนายกทักษิณ ซึ่งจะเป็นการพิจารณาคดีอาญาลับ หลังจำเลยเป็นคดีแรก โดยก่อนหน้านี้การพิจารณาคดี อาญาและสืบพยานในศาล จะต้องกระทำโดยเปิดเผย ต่อหน้าจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 172 หลักการพิจารณาคดีอาญาต้องทำต่อหน้าจำเลยดัง กล่าว สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองโดยนำไป บัญญัติไว้ในข้อ 14 (d) ของกติการะหว่างประเทศว่า ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้เข้า เป็นภาคีเมื่อเดือนตุลาคม 2539 จากนั้นไทยได้มีการ แก้ไข วิ.อาญา เพื่อให้เป็นไปตาม ICCPR เช่น แก้ไข มาตรา 87 ที่เคยให้อำนาจ พงส. ควบคุมตัวผู้ถูกจับ กุมได้ไม่เกิน 7 วัน เป็นไม่เกิน 48 ชั่วโมงหรือสั่งให้ผูต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังโดยทันที เพื่อให้สอด คล้องกับข้อย่อย 3 ของกติกาข้อ 9 ที่บัญญัติให้ต้อง นำตัวผู้ถูกจับกุมไปศาล “โดยพลัน” เป็นต้น พุทธ ศาสนาก็ถือปฏิบัติตามหลักการนี้โดยพระธรรมวินัยอัน เป็นกฎหมายสงฆ์บัญญัติให้การกล่าวหาสงฆ์ที่ต้อง อธิกรณ์จะต้องกระทำต่อหน้าสงฆ์นั้นเช่นกัน การยึดอำนาจของ คสช. สร้างความเสียหายให้ กับประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง แต่ทีสร้างความเสียหายมากที่สุดคือการทำลายหลักนิติธรรม โดยออกกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดำรงตำ แหน่งทางการเมืองให้พิจารณาคดีอาญาลับหลังจำเลยได้ ทั้งหมดกระทำขึ้นเพียงเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้ามซึ่งนอก จากจะขัดกับหลักความยุติธรรมอาญาแล้ว ยังขัดหรือ แย้งกับกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษย ชน อันจะนำมาซึ่งความขัดแย้งและทำให้ประเทศสูญ เสียความน่าเชื่อถือ ประชาชนจึงต้องอดทนรอให้มีการ เลือกตั้ง เมื่ออำนาจกลับคืนมาแล้วการยกเลิกกฎเกณฑ์ หรือการกระทำต่างๆ ที่ คสช. ทำให้ประเทศชาติ “เสื่อม” หรือเสียหายจะต้องได้รับการสะสาง ช่วยกัน นับถอยหลังอีกไม่นานเกินรอครับ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ผมไปแข่งฟุตบอล จตุรมิตรอาวุโสรุ่นอายุ 47+ นัดที่สองเจอกับทีมกรุงเทพ คริสเตียน เสมอกันไป 1-1 แมตหน้าต้องไปชิงชนะ เลิศกับเทพศิรินทร์ในวันเสาร์ ยิ่งเห็น คสช. ออก อาการเป๋ไปเป๋มาอันเป็นอาการใกล้หมดอำนาจ ผมยิ่ง ต้องเร่งฟิตร่างกายเอาไว้ต่อสู้กับเผด็จการหรืออาจต้อง ทำมากกว่านั้นถ้าถึงเวลาแล้วยังไม่ไป อำนาจมักทำให้ เกิดการเสพติด ยิ่งพวกที่ไม่เคยมีอำนาจยิ่งหลงไหล และไม่อยากปล่อยอำนาจ เวลาจะคืนอำนาจจึงสร้าง เงื่อนไขสารพัดเหมือนประชาชนมาขอส่วนบุญ บางคน เหิมเกริมขนาดอบรมประชาชนถึงการเลือกผู้แทนทั้งทีเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเลือกใครก็ได้ คล้ายกับเงิน ที่ประชาชนหามาจะให้ใครหรือจะใช้อย่างไรถือเป็นสิทธิ โดยชอบและไม่ทำให้น้ำหนักบนศรีษะของใครเพิ่มขึ้น เข้าใจหรือยัง วัฒนา เมืองสุข สมาชิกพรรคเพื่อไทย 20 พฤศจิกายน 2560 ปีท่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๙๔ ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๖o Vol. 11 No.194 December 2017

Upload: others

Post on 19-Aug-2020

7 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Sec.B thainationusa ประวัติ 77 ... · Sec.B หน้า 11 ไทยเนชั่นยูเอสเอ thainationusa ประวัติ 77 จังหวัดไทย

หนา้ 11Sec.Bไทยเนชั่นยูเอสเอ

www.thainationusa.com thainationusa

ประวัติ 77 จังหวัดไทย

( ต่อจากฉบับที่แล้ว )

จังหวัดขอนแก่น“พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่

ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก “

นักคิด คณาจารย์ ต้านเผด็จการทหารคสช.( ติดตามต่อฉบับหน้า )

เสื่อม

ทำนบกั้นน้ำขึ้นเป็นถนนรอบบึงเมืองเก่า เพื่อกักน้ำไว้ใช้สอยในฤดูแล้ง เพราะบึงนี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาวเมืองขอนแก่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 พระนครบริรักษ์ (อุ นครศรี) เจ้าเมืองขอนแก่น ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เหตุเพราะชราภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งพระพิทักษ์สารนิคม (หนูหล้า สุนทรพิทักษ์) ปลัดเมืองขอนแก่นขึ้นเป็นผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น และในปีนั้นเอง ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองขอนแก่นเป็นข้าหลวงประจำบริเวณลำชี ส่วนเมืองต่างๆ ที่ขึ้นต่อนั้น ก็ให้เปลี่ยนเป็นอำเภอ และผู้เป็นเจ้าเมืองนั้น ๆ ก็ให้เปลี่ยนเป็นนายอำเภอ ตำแหน่งอุปฮาดก็เป็นปลัดอำเภอไป ต่อมาใน พ.ศ. 2450 ได้ย้ายศาลากลาง มาตั้งที่บ้านพระลับ (ที่ทำการเทศบาลนครขอนแก่น ในปัจจุบัน) และเปลี่ยนนามข้าหลวงประจำบริเวณลำชี มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองตามเดิม ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดแทน ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจึงกลายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และศาลาว่าการเมืองก็เปลี่ยนมาเป็นศาลากลางจังหวัด และใน พ.ศ. 2507 สมัย จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สร้างศาลากลางใหม่ที่สนามบินเก่า ห่างจากที่เดิม 2,000 เมตร ตามดำริของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ได้เริ่มต้นไว้ก่อนแล้ว ปัจจุบันเรียกว่า “ศูนย์ราชการ” ซึ่งตรงกับสมัย นายสมชาย กลิ่นแก้ว เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งในระหว่าง พ.ศ.2503 –2511 นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน แบ่งเป็นยุคต่างๆได้ดังนี้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในอดีตกาลยุคก่อนประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปกว่าร้อยกว่าล้านปีมาแล้ว ในบริเวณเขตจังหวัดขอนแก่นเคยที่อยู่ของ “ไดโนเสาร์” สัตว์โลกดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่สูญพันธ์ไปแล้ว โดย

นักธรณ๊วิทยาได้ค้นพบรอยเท้าและฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์กินพืชและพันธุ์กินเนื้ออายุกว่า4,000 – 2,000 ปี ขอนแก่นเคยเป็นถิ่นอาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฎหลักฐานจากการขุดค้น ของนักโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีโนนนกทา บ้านนาดี ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ขุดค้นเมื่อ พ.ศ. 2509 ค้นพบโครงกระดูกกว่า 200 โครงกระดูก นอกจากนั้นยังพบเครื่องสำริด และ เหล็กมีเครื่องมือเครื่องใช้เป็นขวาน รวมทั้งแบบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อ มีกำไลแขนสำริดคล้องอยู่ที่โครงกระดูกท่อนแขน ซ้อนกันหลาย วง พบกำไรทำด้วยเปลือกหอยรวมทั้งพบแหวนเหล็กไน แสดงว่ามีการปั่นด้ายทอผ้าใช้ในยุคนั้นแล้ว นอกจากนี้ ยังพบขวานทองแดง อายุ 4,600-4,800 ปี เป็นหัวขวานหัวเดียวที่พบในประเทศไทย ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ในชั้นดินที่ 20 การกำหนดอายุโดยคาร์บอนด์ 14 จากชั้นดินที่ 19 ปรากฏว่าอายุ 4,275 ปี มีเครื่องปั้นดินเผาที่มีอายุใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง โดย ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์สังคมเกษตรกรรมที่รู้จักการใช้โลหะซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกันนี้พบกระจายตัวอยู่ทั่วขอนแก่น 100 แห่ง โดยส่วนมากพบตามที่ที่ราบลุ่มแม่น้ำพรม แม่น้ำพอง แม่น้ำเชิญ และแม่น้ำชี ซึ่งบางส่วนก็ยังไม่ได้มีการขุดค้นขึ้นมาศึกษาอย่างจริงจัง การขยายตัวของชุมชนโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายนี้ ก่อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนมากมายอย่างมากมายจากชุมชนที่ผลิตเพื่อการบริโภค อุปโภค ภายในชุมชน กลายมาเป็นการผลิตเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มชน จนกลายเป็นสังคมเมืองในที่สุด จากหลักฐานข้างต้นพิสูจน์ให้เห็นว่าอาณาเขตบริเวณจังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรม วัฒนธรรมอันสูงสุดมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปี สมัยประวัติศาสตร์ ในสมัยประวัติศาสตร์จังหวัดขอนแก่น ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมแบบทวารวดีจากภาคกลางเข้ามาสู่ภาคอีสานเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 และได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณ

สำนักงานอัยการสูงสุดจะมีการแถลงข่าวการดำเนินคดีกับนายกทักษิณ ซึ่งจะเป็นการพิจารณาคดีอาญาลับหลังจำเลยเป็นคดีแรก โดยก่อนหน้านี้การพิจารณาคดีอาญาและสืบพยานในศาล จะต้องกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 หลักการพิจารณาคดีอาญาต้องทำต่อหน้าจำเลยดังกล่าว สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองโดยนำไปบัญญัติไว้ในข้อ 14 (d) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีเมื่อเดือนตุลาคม 2539 จากนั้นไทยได้มีการแก้ไข วิ.อาญา เพื่อให้เป็นไปตาม ICCPR เช่น แก้ไขมาตรา 87 ที่เคยให้อำนาจ พงส. ควบคุมตัวผู้ถูกจับกุมได้ไม่เกิน 7 วัน เป็นไม่เกิน 48 ชั่วโมงหรือสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังโดยทันที เพื่อให้สอดคล้องกับข้อย่อย 3 ของกติกาข้อ 9 ที่บัญญัติให้ต้องนำตัวผู้ถูกจับกุมไปศาล “โดยพลัน” เป็นต้น พุทธศาสนาก็ถือปฏิบัติตามหลักการนี้โดยพระธรรมวินัยอันเป็นกฎหมายสงฆ์บัญญัติให้การกล่าวหาสงฆ์ที่ต้องอธิกรณ์จะต้องกระทำต่อหน้าสงฆ์นั้นเช่นกัน การยึดอำนาจของ คสช. สร้างความเสียหายให้กับประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง แต่ที่สร้างความเสียหายมากที่สุดคือการทำลายหลักนิติธรรม โดยออกกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้พิจารณาคดีอาญาลับหลังจำเลยได้ ทั้งหมดกระทำขึ้นเพียงเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้ามซึ่งนอกจากจะขัดกับหลักความยุติธรรมอาญาแล้ว ยังขัดหรือแย้งกับกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน อันจะนำมาซึ่งความขัดแย้งและทำให้ประเทศสูญเสียความน่าเชื่อถือ ประชาชนจึงต้องอดทนรอให้มีการเลือกตั้ง เมื่ออำนาจกลับคืนมาแล้วการยกเลิกกฎเกณฑ์หรือการกระทำต่างๆ ที่ คสช. ทำให้ประเทศชาติ “เสื่อม” หรือเสียหายจะต้องได้รับการสะสาง ช่วยกันนับถอยหลังอีกไม่นานเกินรอครับ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ผมไปแข่งฟุตบอลจตุรมิตรอาวุโสรุ่นอายุ 47+ นัดที่สองเจอกับทีมกรุงเทพ

คริสเตียน เสมอกันไป 1-1 แมตหน้าต้องไปชิงชนะเลิศกับเทพศิรินทร์ในวันเสาร์ ยิ่งเห็น คสช. ออกอาการเป๋ไปเป๋มาอันเป็นอาการใกล้หมดอำนาจ ผมยิ่งต้องเร่งฟิตร่างกายเอาไว้ต่อสู้กับเผด็จการหรืออาจต้องทำมากกว่านั้นถ้าถึงเวลาแล้วยังไม่ไป อำนาจมักทำให้เกิดการเสพติด ยิ่งพวกที่ไม่เคยมีอำนาจยิ่งหลงไหลและไม่อยากปล่อยอำนาจ เวลาจะคืนอำนาจจึงสร้างเงื่อนไขสารพัดเหมือนประชาชนมาขอส่วนบุญ บางคนเหิมเกริมขนาดอบรมประชาชนถึงการเลือกผู้แทนทั้งที่เป็นสิทธิของประชาชนที่จะเลือกใครก็ได้ คล้ายกับเงินที่ประชาชนหามาจะให้ใครหรือจะใช้อย่างไรถือเป็นสิทธิโดยชอบและไม่ทำให้น้ำหนักบนศรีษะของใครเพิ่มขึ้น เข้าใจหรือยัง

วัฒนา เมืองสุข สมาชิกพรรคเพื่อไทย 20 พฤศจิกายน 2560

ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๙๔ ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๖o Vol. 11 No.194 December 2017