map of siam- ayutthaya period 1542-1764

103
ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์ - ภูมิศาสตร์ - การเมือง กับลัทธิอาณานิคมในอาเซียน - อุษาคเนย์ Collected Maps: History - Geography - Politics and Colonialism in Southeast Asia ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ

Upload: textbooksproject-foundation

Post on 10-Mar-2016

316 views

Category:

Documents


30 download

DESCRIPTION

แผนที่ "สยามประเทศไทย" สมัยอยุธยา พ.ศ.2085-2307 Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

TRANSCRIPT

Page 1: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์ - ภูมิศาสตร์ - การเมือง

กับลัทธิอาณานิคมในอาเซียน - อุษาคเนย์Collected Maps:

History - Geography - Politics

and Colonialism in Southeast Asia

ชาญวิทย์ เกษตรศิริบรรณาธิการ

Page 2: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

จัดพิมพ์โดย มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย

Toyota Thailand Foundation

186/1 หมู่ 1 ถนนทางรถไฟเก่า ต.สำาโรงใต้ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130

โทรศัพท์ 0 2386 1393-5 โทรสาร 0 2386 2880

186/1 Moo 1 Old Railway Road, T.Samrong Tai, A.Prapadaeng, Samutprakan 10130

Tel. 0 2386 1393-5 Fax. 0 2386 2880

มูลนิธิโครงการตำาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

The Foundation for The Promotion fo Social Science and Humanities Textbooks Project

413/38 ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทร/โทรสาร 0 2433 8713

413/38 Arun-amarin Road, Bangkoknoi, Bangkok, Siam 10700 Tel./Fax. 0 2433 8713

http://www.textbooksproject.com | http://www.textbooksproject.org | www.facebook.com/textbooksproject

จัดจำาหน่ายโดย ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร. 0 2218 9872 โทรสาร 0 2254 9495

CALL CENTER โทร. 0 2255 4433 http://www.chulabook.com

ร้านค้าติดต่อ แผนกขายส่ง สยามสแควร์ ชั้น 14 โทร. 0 2218 9889-90

โทรสาร 0 2254 9495

บรรณาธิการ : ชาญวิทย์ เกษตรศิริผู้ช่วยบรรณาธิการ : สิตานัน รวีฤทธิ์ | สิริกาญจน์ รัตนเกต ุ| ชนิสรา โสกันต์ กองจัดการ : กิตสุนี รุจิชานันทกุล | รัตนา กาญจนรัตน์ | ไอยยเอื้อ รวีฤทธิ์ | วัลลภ วงษ์จริต | กิตติยา ใจใหญ่ | กนกแข เนตรเจริญ | ณัฐนันท์ จิราสุริยนันท์ | ฉัตรศิริ เพียรพยุรเขตร์ | พยงค์ ทับสกุลพิมพ์ครั้งแรก : มกราคม 2555จำานวนพิมพ ์: 1,500 เล่มราคา : 1,700 บาทออกแบบปกและรูปเล่ม : DREAM CATCHER GRAPHIC CO., LTD. Tel. 0 2455 3932, 0 2455 3995

ISBN : 978-616-7202-28-0

ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์ - ภูมิศาสตร์ - การเมืองกับลัทธิอาณานิคมในอาเซียน - อุษาคเนย์

Collected Maps: History - Geography - Politics and Colonialism in Southeast Asia

ผลงานค้นคว้าและวิจัยทางวิชาการชุด “ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์-การเมือง กับลัทธิอาณานิคม” นี้

ถือเป็นความคิดเห็นและบทวิเคราะห์ส่วนบุคคลของผู้วิจัยแต่ละท่าน

Page 3: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

บรรณาธิการ: ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (3)

คำ�นำ� (Introduction) (8)

ภ�ค 1 (PART I)

แผนที่ “สย�มประเทศไทย” สมัยอยุธย� พ.ศ. 2085-2307 3 Maps of Siam: Ayutthaya Period 1542-1764 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช

แผนที่ “สย�มประเทศไทย” สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2316-2322 93 Maps of Siam: Thonburi Period 1773-1779 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช

จดหม�ยเหตุเรื่องแผนที่ “สย�ม” หรือ From Siam to Burma Map 102 “แผนที่เส้นท�งเดินทัพจ�กกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ” ของสมเด็จพระเจ้�กรุงธนบุรี ต�กสินมห�ร�ช Sino-Thai Map from Bangkok-Thonburi to Ava-Burma ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

แผนที่ “สย�มประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452 115 Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช

สนธิสัญญ�ทอร์เดสซิญ�ส์: ก�รแบ่งเขตอิทธิพลของโปรตุเกสกับสเปน 266 Treaty of Tordesillas กัณฐิกา ศรีอุดม

ภ�ค 2 (PART II)

ภูมิก�ย�และประวัติศ�สตร์ 274 Geo-Body and History ธงชัย วินิจจะกูล

“เสียดินแดน” เป็นประวัติศ�สตร์หลอกไพร่ไปต�ยแทน 308 (เพร�ะ “ไทย” ไม่เคยเสียดินแดน) ธงชัย วินิจจะกูล

ว�ทกรรมเสียดินแดน 311 Lost Territories Discourse ธำารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

สารบัญ

Page 4: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

(4) ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์-การเมือง กับลัทธิอาณานิคมฯ

จินตกรรมประวัติศ�สตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน” 333 จ�กทศวรรษ 2470 ถึง พ.ศ. 2554 Imagined Thai Historiography and Historical Maps from 1930s to the Present ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

เขตแดนพม่�กับเพื่อนบ้�น ประวัติศ�สตร์และภูมิศ�สตร์ก�รเมือง 374 Boundaries of Burma: History and Political Geography ดุลยภาค ปรีชารัชช

แผนที่คดีเมือง แผนที่ม�ตร�ส่วน 1 : 200,000 ระหว่�งสย�มกับฝรั่งเศส 402 พ.ศ. 2446/47 (ค.ศ. 1904) และ พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) Politics of Franco-Siamese Maps 1904-1908 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ อัครพงษ์ ค่ำาคูณ

พรมแดนไทย-ล�ว: สนธิสัญญ� เขตแดน และแผนที่ 412 Boundaries of Siam/Thailand-Laos: Treaties, Boundaries and Maps สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

ชุดแผนที่ม�ตร�ส่วน 1 : 200,000 ระหว่�งสย�มกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2446/47 (ค.ศ. 1904) 433 และ พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) Franco-Siamese Maps 1904-1908 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี และ อัครพงษ์ ค่ำาคูณ

เงื่อนไขและปัจจัยแห่งคว�มสำ�เร็จ ในก�รปักปันและปักหลักเขตแดนไทย-ม�เลเซีย 543 Boundaries of Siam/Thailand-Malaysia: the Conditions of Achievement อรอนงค์ ทิพย์พิมล และ ธนศักดิ์ สายจำาปา

บรรณ�นุกรมคัดสรร (Blibiograhpy) 557มูลนิธิโตโยต้�ประเทศไทย 559ร�ยน�มคณะกรรมก�รมูลนิธิโตโยต้�ประเทศไทย 560ร�ยน�มคณะกรรมก�รบริห�รมูลนิธิโตโยต้�ประเทศไทย 561กิจกรรมของมูลนิธิโตโยต้�ประเทศไทย 562คำ�แถลงมูลนิธิโครงก�รตำ�ร�สังคมศ�สตร์และมนุษยศ�สตร์ 563ร�ยน�มคณะกรรมก�รบริห�รมูลนิธิโครงก�รตำ�ร�สังคมศ�สตร์และมนุษยศ�สตร์ 564ประวัติผู้เขียน 565

Page 5: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

บรรณาธิการ: ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (5)

สารบัญแผนที่

แผนที่สย�มประเทศไทยสมัยอยุธย� พ.ศ. 2085-2307 5(Maps of Siam: Ayutthaya Period 1542-1764)

1. แผนที่โลกคันติโน โดย นักแผนที่นิรนาม ชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2045 (ค.ศ. 1502) 6 The Cantino Planisphere

2. แผนที่อินเดียแห่งตะวันออก โดย ฌอง รอทซ์ ( Jean Rotz) พ.ศ. 2085 (ค.ศ. 1542) 14 The Indis of Orient

3. แผนที่บูรพทิศจากอินเดียถึงญี่ปุ่น โดย เฟอร์นาว วาช ดูราโด (Fernão Vaz Dourado) 20 (ราว พ.ศ. 2119/ค.ศ. 1576)

4. แผนที่หมู่เกาะโมลุกกะ โดย เพทรูส พลางคิอุส (Petrus Plancius) พ.ศ. 2138 (ค.ศ. 1595) 28 Insvlae Molvccae

5. แผนที่ราชอาณาจักรสยาม โดย โยฮานเนส เมเทลลุส ( Johannes Metellus) พ.ศ. 2139 (ค.ศ. 1596) 30 Regnvm Sian

6. แผนที่มะละกา โดย โยโดคุส ฮอนดิอุส ( Jodocus Hondius) พ.ศ. 2159 (ค.ศ. 1616) 34 Malacca

7. แผนที่อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา ฉบับซองซอง ดับเบวิลล์ พ.ศ. 2195 (ค.ศ. 1652) 36 Partie de l’Inde au delà du Gange และ Presqv-isle de l’Inde au delà du Gange

8. แผนที่ใหม่ของอินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา โดย โรเบิร์ต มอร์เด็น (Robert Morden) 42 พ.ศ. 2223 (ค.ศ. 1680) A New Map of India beyond Ganges

9. แผนที่อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา โดย จาคโคโม คานเตลลี ดา วิญโญลา 44 (Giacomo Cantelli da Vignola) พ.ศ. 2226 (ค.ศ. 1683) Penisola dell India di là dal Gange

10. แผนที่ราชอาณาจักรสยาม โดย ปิแอร์ ดูวัล (Pierre Duval) พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686) 50 Carte du Royaume de Siam

11. แผนที่ราชอาณาจักรสยาม โดย วินเช็นโซ มาเรีย โคโรเนลลี (Vincenzo Maria Coronelli) 60 พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) Royaume de Siam, avec les Royaumes qui luy sont Tributaires

12. แผนที่ราชอาณาจักรสยาม โดย เมอซิเออร์ เดอ ลามาร์ และ ซิมง เดอ ลาลูแบร์ 68 พ.ศ. 2234 (ค.ศ. 1691) Carte du Royaume de Siam

13. แผนที่อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา โดย ปิแอร์ ฟาน เดอ อา พ.ศ. 2256 (ค.ศ. 1713) 76 L’ Inde de la le Gange

14. แผนที่อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคาตามประวัติศาสตร์สมัยใหม่ โดย แฮรมัน โมล พ.ศ. 2268 (ค.ศ. 1725) 84 India beyond Ganges Agreable to Modern History

Page 6: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

(6) ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์-การเมือง กับลัทธิอาณานิคมฯ

15. แผนที่ราชอาณาจักรสยาม-ตังเกี๋ย-พะโค-อังวะ-อารกัน โดย ฌาค นิโคลาส์ เบลเลง 90 พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) Carte des Royaumes de Siam de Tunquin Pegu, Ava Aracan. &c

แผนที่สย�มประเทศไทยสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2316-2322 93(Maps of Siam: Thonburi Period 1773-1779) 16. แผนที่ราชอาณาจักรสยาม-ตังเกี๋ย-พะโค-อังวะ-อารกัน โดย ฌาค นิโคลาส์ เบลเลง 94 พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) Carte des Royaumes de Siam de Tunquin Pegu, Ava Aracan. &c

17. แผนที่คาบสมุทรอินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา โดย อากอสติโน ดา ราบาตตา และ จิโอวานนี เดอ บายู 100 พ.ศ. 2322 (ค.ศ. 1779) Penisola di la dal Gange ante. India ultra Gangem di diversi Rè

แผนที่สย�มประเทศไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452 115(Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908)

18. แผนที่อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม-กัมพูชา-ลาว โดย อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) 116 Regni d’Aracan del Pegu di Siam di Camboge e di Laos

19. แผนที่คาบสมุทรอินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา โดย จิโอวานนี มาเรีย คาสสินี พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) 124 La Penisola delle Indie di là dal Gange

20. แผนที่อินเดียนอกพระแม่คงคา-จักรวรรดิพม่า พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1818) 132 India di là dal Gange os sia l’Impero Birmanno

21. แผนที่ตังเกี๋ย-โคชินจีน-สยาม-พม่า โดย เอ. ซี. เลมอส พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) 138 Mappa do Tonquin Cochinchina Siam e Birmania)

22. แผนที่อาณาจักรสยามและโคชินจีน ฉบับครอว์เฟิร์ด ( John Crawfurd) พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) 144 Map of the Kingdoms of Siam and Cochin China

23. แผนที่พม่า-สยาม-โคชินจีน ฉบับแอร์โรวสมิธ ( John Arrowsmith) พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) 154 Burma, Siam, and Cochin China

24. แผนที่อาณาจักรสยาม ฉบับปัลเลอกัวซ์ ( Jean-Baptiste Pallegoix) พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) 164 Carte du Royaume de Siam

25. แผนที่ฉบับร่างแสดงสยามและรัฐใกล้เคียง ฉบับจอห์น แอร์โรวสมิธ ( John Arrowsmith) 172 พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) Sketch of Siam & the Adjacent States

26. แผนที่สยามและประเทศราช ฉบับเซอร์ จอห์น เบาว์ริง พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) 176 Map of Siam and Its Dependencies

27. แผนที่อินโดจีน จากผลการสำารวจอย่างเป็นทางการของฝรั่งเศส ฉบับการ์นิเยร์ 186 (Marie Joseph Francis Garnier) พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1873) Carte Générale de L’Indo-Chine

Page 7: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

บรรณาธิการ: ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (7)

28.แผนที่ราชอาณาจักรสยามและประเทศราชฉบับแมคคาร์ธีพ.ศ. 2431(ค.ศ. 1888) 196 Map of the Kingdom of Siam and Its Dependencies

29.แผนที่แสดงการเปลี่ยนแปลงแนวพรมแดนของสยามโดยจอห์นจอร์จบาร์โธโลมิว 206 พ.ศ. 2436(ค.ศ. 1893) Map Illustrating the Siamese Frontier Changes

30.แผนที่ราชอาณาจักรสยามและประเทศราชฉบับแมคคาร์ธีพ.ศ. 2443(ค.ศ. 1900) 216 Map of the Kingdom of Siam and Its Dependencies

31.แผนที่อินโดจีนตะวันออกฉบับปาวีพ.ศ. 2445(ค.ศ. 1902) 226 Indo-Chine Orient.le 1902 Dressée par A. Pavie, Paris

32.แผนที่พม่าและอินเดียไกลโดยจอห์นจอร์จบาร์โธโลมิว( John George Bartholomew) 234 พ.ศ. 2452(ค.ศ. 1909) Burma and Farther India

33.แผนที่กองข้าหลวงปันเขตร์แดนระหว่างสยาม-อังกฤษพ.ศ. 2452(ค.ศ. 1909) 242 Anglo-Siamses Boundary Commission

34.แผนที่พระราชอาณาจักร์สยามโดยกระทรวงคมนาคมพ.ศ. 2457(ค.ศ. 1914) 252 Map of Siam

35.แผนที่เส้นทางเสด็จอินโดจีนของฝรั่งเศสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่7 258 และสมเด็จพระนางเจ้ารำาไพพรรณีพระราชินี6เมษายน-8พฤษภาคมพ.ศ. 2473(ค.ศ. 1930) Voyage de L.L. M.M. Les Souverains du Siam en Indochine Francaise

36.แผนที่1 : 200,000ชุดแรกระวางที่1เมืองคอบ-เมืองเชียงล้อม(Mg.Khop-Mg.Xieng Lom) 434

พ.ศ. 2451(ค.ศ. 1908)

37.แผนที่1 : 200,000ชุดแรกระวางที่2แม่น้ำาด้านเหนือ(Haut Me-Nam)พ.ศ. 2451(ค.ศ. 1908) 442

38.แผนที่1 : 200,000ชุดแรกระวางที่3เมืองน่าน(Mg.Nan)พ.ศ. 2451(ค.ศ. 1908) 450

39.แผนที่1 : 200,000ชุดแรกระวางที่4ปากลาย(Pak Lay) พ.ศ. 2451(ค.ศ. 1908) 458

40.แผนที่1 : 200,000ชุดแรกระวางที่5น้ำาเหือง(Nam Heung)พ.ศ. 2451(ค.ศ. 1908) 466

41.แผนที่1 : 200,000ชุดแรกระวางที่6ปาสัก(Bassac)พ.ศ. 2451(ค.ศ. 1908) 474

42.แผนที่1 : 200,000ชุดแรกระวางที่7โขง(Khong)พ.ศ. 2451/52(ค.ศ. 1908) 482

43.แผนที่1 : 200,000ชุดแรกระวางที่8ดงรัก(Dangrek)พ.ศ. 2451/52(ค.ศ. 1908) 490

44.แผนที่1 : 200,000ชุดหลังระวางSECTEUR No.1หรือแผ่นที่1พ.ศ. 2451/52(ค.ศ. 1908) 500

45.แผนที่1 : 200,000ชุดหลังระวางSECTEUR No.2หรือแผ่นที่2พ.ศ. 2451/52(ค.ศ. 1908) 506

46.แผนที่1 : 200,000ชุดหลังระวางSECTEUR No.3หรือแผ่นที่3พ.ศ. 2451/52(ค.ศ. 1908) 512

47.แผนที่1 : 200,000ชุดหลังระวางSECTEUR No.4หรือแผ่นที่4พ.ศ. 2451/52(ค.ศ. 1908) 520

48.แผนที่1 : 200,000ชุดหลังระวางSECTEUR No.5หรือแผ่นที่5(ส่วนที่1) พ.ศ. 2451/52(ค.ศ. 1908) 528

49.แผนที่1 : 200,000ชุดหลังระวางSECTEUR No.5หรือแผ่นที่5(ส่วนที่2) พ.ศ. 2451/52(ค.ศ. 1908) 536

Page 8: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

(8) ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์-การเมือง กับลัทธิอาณานิคมฯ

คำานำา

หนงัสอื “ประมวลแผนที:่ ภมูศิาสตร-์ประวตัศิาสตร-์การเมอืง กบัลทัธอิาณานคิมในอาเซยีน-อษุาคเนย”์ (Maps, History, Politics and Colonialism in Siam and Southeast Asia) เล่มนี้ เป็นผลงานสืบเนื่องมาจากหนังสือชุด “เขตแดนของเรา เพื่อนบ้านอาเซียนของเรา” จำานวน 6 เล่ม ที่มูลนิธิฯ ได้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) และในเล่มนี้ของเรา ถือได้ว่าเป็นส่วนที่ต่อเนื่องโดยตรงกับเล่มที่ 1 ในชุดนั้น คือ “ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเขา้ใจ และแผนที ่ระหวา่งสยามประเทศไทย กบัประเทศอาเซยีนเพือ่นบา้น: กมัพชูา-ลาว-พมา่-มาเลเซยี” (Collected Treaties-Agreements-Memorandum of Understanding and Maps Between Siam/Thailand-Cambodia-Laos-Burma-Malaysia) เรามีความเชื่อว่า วิชา (ความรู้ และ/หรือ ความไม่รู้) ทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ตลอดจนแผนที่ ที่เราได้เล่าเรียน (และไม่ได้เรียน) กันมา ได้เห็น (หรือไม่ได้เห็น) กันมา ตั้งแต่เล็กจนโต จากโรงเรียน จากวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัย รวมไปจนถึง “ความรับ (ไม่) รู้” ต่างๆ ทั้งที่เราได้รับถ่ายทอดกันมาจากในและนอกห้องเรียน ทั้งในรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโดยปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ตลอดจนได้รับจากสื่อในรูปต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ละคร เพลง หรือ นวนิยาย ทั้งหลายทั้งปวงนั้น มีส่วนในการกำาหนดความคิดความอ่าน “จินตนาการ” และ/หรือกำาหนดการกระทำาของเราเอง ในฐานะปัจเจกบุคคล และในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่กว้างขวางออกไป นั่นคือ “ประเทศชาติ” (หรือจะใช้ศัพท์แสงอื่นๆ เช่น “แผ่นดิน-บ้านเมือง-รัฐชาติ-ราชอาณาจักร” ก็ตาม) ดังนั้น การที่เราจะสามารถหยั่งรู้ได้ถึง “ต้นตอ” ตลอดจน “ข้อมูล” ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ทั้งภูมิศาสตร์ และแผนที่ (ที่เราอาจจะมองข้ามไปได้โดยง่าย) นั้น ก็น่าจะช่วยให้เราเกิดความเข้าใจใน “ตัวตน” ของเรา และที่สำาคัญคือ ความเข้าใจต่อ “สังคม” และ/หรือ “ประเทศชาติ” (หรือจะใช้ศัพท์แสงอื่นๆ เช่น “แผ่นดิน-บ้านเมือง-รัฐชาติ-ราชอาณาจักร” อีกก็ตาม) ทั้งนี้ทั้งนั้น โดยรวม (และ “ทุกภาคส่วน”) ได้ดียิ่งขึ้น และนี่ก็เป็นที่มาของหนังสือเล่มนี้ นั่นเอง หนังสือเล่มนี้ของเรา แบ่งออกเป็น 2 ภาคด้วยกัน คือ ภาคหนึ่ง แผนที่ฝรั่ง สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภาคสอง ในภ�ค 1 คือ แผนที่ “สยามประเทศไทย” 3 สมัย ดังนี้ (ก) แผนที่ “สย�มประเทศไทย” สมัยอยุธย� พ.ศ. 2085-2307 (Maps of Siam: Ayutthaya Period 1542-1764) นี่เป็นแผนที่ยุคเป็น “แม่แบบ” ของแผนที่ในปัจจุบัน มีทั้งความงดงาม และพลังอย่างมหาศาล ในการทำาให้ฝรั่งค่อยๆ พิชิตโลก ยึดครองดินแดนไปเป็นเมืองขึ้นทั่วโลก รวมทั้งอุษาคเนย์ของเรา (ข) แผนที่ “สย�มประเทศไทย” สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2316-2322 (Maps of Siam: Thonburi Period 1773-1779) ในส่วนต่อเนื่องจาก (ก) นี้ เราได้แทรกแผนที่แบบตะวันออก “จีน-ไทย” เข้ามาด้วย คือ เรื่องของจดหมายเหตุแผนที่ “สยาม” หรือ From Siam to Burma Map อันเป็น “แผนที่เส้นทางเดินทัพ จากกรุงธนบุรี ถึงกรุงอังวะ” ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตากสินมหาราช Sino-Thai Map from Bangkok-Thonburi to Ara-Burma ที่ถูกค้นพบโดยบังเอิญที่กรุงไทเป ไต้หวัน และ (ค) แผนที่ “สย�มประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452 (Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908) ในบทนี้ ในส่วนที่เป็น (ก) สมัยอยุธยานั้น เราได้คัดเลือกแผนที่ฝรั่งแผ่นสำาคัญๆ จำานวนมากทีเดียว เริ่มต้นด้วยแผนทีโ่ลกแผน่แรกทีเ่ขยีนหลงัการเขา้มาของโปรตเุกสในเอเชยี ตามดว้ยแผนทีอ่ษุาคเนยแ์ผน่สำาคญัทีเ่ขยีนโดยชาวยโุรป จากนั้นเราได้คัดเลือกแผนที่สยามโดยชาวยุโรปหลากหลายเชื้อชาติ อาทิ เยอรมัน ดัตช์ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และโปรตุเกส ฯลฯ

Page 9: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

บรรณาธิการ: ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (9)

ในส่วนเดียวกันนี้ เราได้แทรกทั้งเรื่องราวและแผนที่สำาคัญไว้ด้วย คือ สนธิสัญญ�ทอร์เดสซิญส์ (Treaty of Tordesillas พ.ศ. 2037 หรือ ค.ศ. 1494) สนธิสัญญานี้ แม้จะมีความสำาคัญอย่างยิ่งต่อโลก แต่ก็มักเป็นเรื่องที่เข้าใจ “ผิดๆ” ทางประวตัศิาสตรก์นั กลา่วคอืในการลา่อาณานคิมยคุแรกของฝรัง่ตะวนัตกนัน้ กษตัรยิโ์ปรตเุกสกบัสเปน (ไมใ่ชส่นัตะปาปา) เป็นผู้กำาหนด “แบ่งโลก” กันฝ่ายละครึ่ง ถึงขนาดบัญชาให้มีเส้นสมมติ ขีดลากจากขั้วโลกเหนือ ถึงขั้วโลกใต้ แบ่งดินแดนในพื้นพิภพให้เป็นของโปรตุเกสครึ่งหนึ่ง คือ ส่วนที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ด้านทิศตะวันออก กับอีกครึ่งหนึ่ง คือ ดินแดนทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก ที่โคลัมบัสค้นพบขึ้นใหม่ก่อนหน้านี้เพียง 2 ปี ให้ตกเป็นของสเปน (สนธิสัญญานี้ UNESCO ได้จดทะเบียนให้เป็น “มรดกโลก” ร่วมกันระหว่างสองประเทศ และเป็นประเภท Memory of the World เมื่อ พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ตัวแทนของกษัตริย์ทั้งสองฝ่าย คือ สเปนและโปรตุเกสได้ลงนาม ณ เมืองทอร์เดสซิญส์ เมื่อ พ.ศ. 2037 (ค.ศ. 1494) ดังนั้น สเปนจึงเป็นเจ้าอาณานิคม ที่มีทั้งดินแดน อำานาจ และอารยธรรมอยู่ในอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ (ยกเว้นแต่บราซิลที่โดย “อุบัติเหตุ” และ “ความบังเอิญ” ทางประวัติศาสตร์ ถูกขีดเส้นให้เป็นของโปรตุเกส) ในขณะเดียวกัน สนธิสญัญานี ้ทำาใหโ้ปรตเุกสเปน็เจา้อาณานคิม มดีนิแดน อำานาจ และอารยธรรมอยูใ่นแอฟรกิา เอเชยีใต ้เอเชยีตะวนัออก (รวมทั้งอุษาคเนย์ และสยาม) ยกเว้นก็แต่ฟิลิปปินส์ ที่ตกเป็นของสเปน เจ้าอาณานิคม “ฝรั่งปักษ์ใต้” นี้ จะถูกเจ้าอาณานิคม “ฝรั่งปักษ์เหนือ” อย่าง ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส (รวมทั้งสหรัฐอเมริกา) มาแย่งชิงดินแดนอาณานิคมไปในยุคต่อมา นั่นเอง สำาหรับในภ�ค 2 ประกอบด้วยบทความ ที่เป็นข้อคิดข้อเขียนตามลำาดับ ดังนี้ คือ ธงชยั วนิจิจะกลู “ภมูกิ�ย�และประวตัศิ�สตร”์ (Geo-Body and History) และ “เสยีดนิแดน” เปน็ประวตัศิ�สตร์หลอกไพร่ไปต�ยแทน (เพร�ะ “ไทย” ไม่เคยเสียดินแดน) ธงชัยกล่าวถึงข้อเขียนของเขาไว้อย่างน่าสนใจว่า “ภูมิกายา กับความรู้ประวัติศาสตร์ เกี่ยวพันกันอย่างสำาคัญใน 3 ประเด็นได้แก่ 1) ประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วย ร.ศ. 112 ปิดบังกำาเนิดของสยามจากแผนที่ แต่กลับยกย่องวีรบุรุษทั้งหลาย ทั้งๆ

ที่เขาเหล่านั้น ตกเป็นเครื่องมือของความรู้ภูมิศาสตร์ และแผนที่สมัยใหม่ 2) แทนที่จะยอมรับกำาเนิดของสยามจากกระดาษ กลับอธิบายว่า เป็นการเสียดินแดนและการปฏิรูปการปกครอง

ซึ่งล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์อคติ ตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมของชนชั้นนำา 3) ประวตัศิาสตรอ์คต ิกลบัอาศยัภมูกิายา เปน็ฐานของการผลติความทรงจำาและเรือ่งเลา่ ทีป่ดิบงักำาเนดิของสยาม

จากแผนที่ ธำารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ “ว�ทกรรมเสียดินแดน” (Lost Territories Discourse) ในส่วนนี้ ธำารงศักดิ์กล่าวสรุปไว้ว่า “ความรู้เรื่องไทยเสียดินแดน มาจากความเข้าใจประวัติศาสตร์ผิดๆ หลายประการ ที่สำาคัญคือ เข้าใจผิดว่าดินแดนของรัฐสมัยเก่า กำาหนดชัดเจนแน่นอนได้ว่า ตรงไหนของใคร และเมืองขึ้นของสยามในสมัยโบราณ เท่ากับเป็น ดินแดนของประเทศสยามสมัยใหม่ด้วย ประวัติศาสตร์การ ‘เสียดินแดน’ กลายเป็นฐานของลัทธิชาตินิยมของไทย รวมทั้งที่กำาลังบ้าคลั่งอยู่ในขณะนี้” ชาญวิทย์ เกษตรศิริ “จินตกรรมประวัติศ�สตร์นิพนธ์ไทย กับแผนที่ “เสียดินแดน” จ�กทศวรรษ 2470 ถึง พ.ศ. 2554” (Imagined Thai Historiography and Historical Maps from 1930s to the Present) ในบทความนี้ ว่าไปมีที่มาจาก “การค้นพบ” แผนที่ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียน และในมหาวิทยาลัย ในช่วงประมาณยุค 1960s ผนวกกับความบันดาลใจจาก 2 นักวิชารุ่นเยาว์วัยกว่าข้างต้น นั่นเอง ดุลยภาค ปรีชารัชช “เขตแดนพม่�กับเพื่อนบ้�น ประวัติศ�สตร์ และภูมิศ�สตร์ก�รเมือง” (Boundaries of Burma: History and Political Geography) บทความนี้ “มุ่งศึกษาประเด็นเขตแดนระหว่างพม่ากับเพื่อนบ้าน ผ่านแนววิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์การเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยผลการศึกษาเผยให้เห็นว่า รัฐพม่าประสบความสำาเร็จในการแก้ไขปัญหาพิพาทด้านเขตแดน กับรัฐขนาดใหญ่อย่างจีน กับอินเดีย รวมถึงรัฐขนาดเล็กอย่างลาว แต่กระนั้น ความขัดแย้งด้านเขตแดน กับรัฐเพื่อนบ้านอย่างไทย และบังกลาเทศ กลับสร้างความร้าวฉานทางการเมืองระหว่างประเทศ จนอาจกลายเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงในภูมิภาคอาเซียนและอนุภูมิภาครอบอ่าวเบงกอล

Page 10: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

(10) ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์-การเมือง กับลัทธิอาณานิคมฯ

สำาหรบักรณขีองจนีนัน้ บรรยากาศทางการเมอืงในยคุสงครามเยน็ และความตัง้ใจจรงิ ของรฐับาลพมา่ในการแกไ้ขปญัหาเขตแดน ชว่ยสง่เสรมิใหพ้มา่สามารถยตุขิอ้พพิาทกบัจนีไดต้ัง้แตท่ศวรรษ 1960s ซึง่นบัเปน็นวตักรรมทางภมูริฐัศาสตร ์ที่น่าสนใจ ส่วนปัญหาเขตแดนกับอินเดียหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษนั้น ก็ได้รับการปรับปรุงผ่านการรวบรวมข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่เจ้าอาณานิคมเคยทำาไว้ในช่วงที่เคยปกครองทั้งอินเดียกับพม่า ประกอบกับในช่วงต้นสงครามเย็น รัฐบาล เนห์รูของอินเดีย กับรัฐบาลอูนุของพม่า ต่างมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในฐานะแนวร่วมของกลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด จึงส่งผลให้บรรยากาศการปักปันเขตแดน เป็นไปด้วยความราบรื่น ในขณะที่เขตแดนระหว่างพม่ากับลาว ก็เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแบ่งอำานาจระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในยุคอาณานิคม ซึ่งส่งผลให้แม่น้ำาโขง ช่วงที่ไหลผ่านพรมแดนพม่า-ลาว กลายสภาพเป็นแนวกันกระทบ บวกกับเส้นเขตแดนที่ปรากฏในเอกสารของอังกฤษและฝรั่งเศส ก็ล้วนแล้วแต่แสดงตำาแหนง่เขตแดนในลกัษณะทีค่ลา้ยคลงึกนั จนอาจกลา่วไดว้า่ ความชดัเจนของแผนทีอ่าณานคิมในบางกรณ ีกส็ามารถยับยั้งความขัดแย้งระหว่างประเทศได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม สำาหรับเขตแดนพม่ากับไทยและบังกลาเทศนั้น นับว่าเต็มไปด้วยอุปสรรคนานาประการ โดยเฉพาะการตีความเขตแดนโดยอาศัยเอกสารและแผนที่กันคนละฉบับ จนส่งผลให้เกิดการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ทับซ้อนในวงกวา้ง นอกจากนัน้ การแยง่ชงิทรพัยากรธรรมชาตแิละและการปะทตุวัของลทัธชิาตนิยิม กส็ง่ใหพ้มา่ตอ้งเผชญิกบัแรงกดดนัจากประเทศเพื่อนบ้าน จนอาจนำาไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรง ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการเพิ่มกำาลังทหารตามแนวชายแดน โดยสำาหรับบังกลาเทศนั้น พม่าได้เพิ่มเรือรบเข้าประจำาการในอ่าวเบงกอล พร้อมสร้างรั้วลวดหนามตลอดแนวพรมแดนทางบก เพื่อป้องกันการรุกล้ำาที่ทำากินจากชาวบังกลาเทศ ขณะที่เขตแดนด้านที่ติดกับไทย รัฐบาลพม่าเริ่มส่งกองกำาลังเข้ามาจัดระเบียบพื้นที่ชายแดนมากขึ้น พร้อมสร้างค่ายทหารประชิดแนวพรมแดนในหลายบริเวณ จนอาจส่งผลต่อการเผชิญหน้าทางการทหารในอนาคต อัครพงษ์ ค่ำาคูณ และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ “แผนที่คดีเมือง แผนที่ม�ตร�ส่วน 1 : 200,000 ระหว่�งสย�มกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2446/47 (ค.ศ. 1904) และ พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908)” (Politics of Franco-Siamese Maps 1904-1908) นี่คือชุดแผนที่ ที่สร้างปัญหาให้กับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา และกับลาวมากที่สุด นี่เป็นแผนที่ ที่ทำาให้เกิดคดีขึ้นศาลโลก ในกรณี “ปราสาทเขาพระวิหาร” เมื่อ พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) และนี่ก็เป็นแผนที่ ที่ทำาให้มีข้อพิพาทจนเกิดการ “สงคราม” ย่อยๆ ในกรณี “มรดกโลก” เมื่อ พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) สืบมาจนกระทั่งการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ และนี่ก็เป็นแผนที่ ที่ทำาให้มีความขัดแย้ง และพิพาทระหว่างไทยกับลาวมาแล้วเช่นกัน (ดูบทความของ สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี) แผนที่ชุดนี้ เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และได้มีการตีพิมพ์ไว้หลายครั้ง ไม่ว่าจะโดยฝรั่งเศสในยุคอาณานิคม ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลลาว ในสมัยที่มีความขัดแย้งกับไทย และมีการนำาขึ้น websites ไว้แล้วเช่นกัน แต่ในประเทศของเรา แผนที่ “เจ้าปัญหา” ดังกล่าวชุดนี้ กลับไม่ได้เป็นที่รับรู้ และได้เห็นกันเป็นประจักษ์พยาน ดังนั้น การนำามาตีพิมพ์โดยสมบูรณ์ทุกแผ่น คือ ชุดแรก 8 แผ่น และชุดหลัง 5 แผ่นนี้ จึงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่จะทำาให้เราเข้าใจว่า เรื่องของพรมแดน เขตแดน นั้น มีส่วนประกอบที่สำาคัญ คือ ที่มีทั้ง “สนธิสัญญา” และ “แผนที่” ที่ราชอาณาจักรสยาม (Siam) ต้องยอมรับและได้รับไว้แล้ว ตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ยุค “ลัทธิราชาชาตินิยม” ของรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 พร้อมด้วยข้าราชสำานักของพระองค์ท่าน ไม่ว่าจะเป็นพลตรี หม่อมชาติเดชอุดม ประธานฝ่ายสยาม (คือ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ หรือ ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์ นามเดิม ม.ร.ว. กลาง) และ/หรือ พลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช ที่ได้ไปร่วมตกลงกับตัวแทนของฝ่ายฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) และเปลี่ยนนามประเทศเป็นราชอาณาจักรไทย (Thailand) ผู้นำาใหม่ทั้งฝ่ายผู้นำาทหาร/พลเรือน เช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม หลวงวิจิตรวาทการ ผู้มีส่วนผลิต “ลัทธิอำามาตยาชาตินิยม” กับผู้นำารุ่นต่อมา เช่น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และผู้นำานักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมอย่างเชน่ ม.ร.ว. เสนยี ์ปราโมช และ นายควง อภยัวงศ ์ตลอดจนนายอภสิทิธิ ์เวชชาชวีะ ในยคุของ “ลทัธชิาตนิยิมลกูผสม-พนัธุ์ทาง-ราชาอำามาตยาชาตินิยม” ไม่รับรอง “แผนที่” ดังกล่าวชุดนี้ อันเป็นผลให้เกิดปัญหาระหว่างสองชาติมาเป็นเวลานานถึงกว่าครึ่งศตวรรษ (พิบูล-วิจิตร-สฤษดิ์-ถนัด-เสนีย์-คึกฤทธิ์-สนธิ-อภิสิทธิ์) สภุลกัษณ ์กาญจนขนุด ี“พรมแดนไทย-ล�ว: สนธสิ ั ญญ�เขตแดน และแผนที”่ (Boundaries of Siam/Thailand-Laos: Treaties, Boundaries and Maps) ในบทนี้ ผู้เขียนได้สรุปไว้ว่า “เขตแดนไทยและลาวในยุคสมัยปัจจุบัน ถูกกำาหนด

Page 11: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

บรรณาธิการ: ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (11)

โดยความตกลงระหว่างสยามและฝรั่งเศสอินโดจีน เมื่อกว่า 100 ปีผ่านมาแล้ว การกำาหนดเส้นเขตแดนในเวลานั้น มีความสำาคัญมาก เพราะมันได้เปลี่ยนแปลงแบบแผนในการสำานึกเกี่ยวกับความเป็นชาติใหม่ ของทั้งไทยและลาวเลยทีเดียว ซึ่งเป็นความสำานึกในความเป็นชาติสมัยใหม่ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องดินแดน ขอบเขตของดินแดน และการใช้อำานาจอธิปไตยเหนือดินแดน เป็นสำาคัญ และในการสร้างสำานึกเกี่ยวกับดินแดนเช่นว่านั้น มีสองสิ่ง ซึ่งมีบทบาทในการกำาหนดอันได้แก่ ‘สนธิสัญญาและแผนที่’ ในบทความนี้ พยายามชี้ให้เห็นว่า สนธิสัญญาและแผนที่นั้น สมควรจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกเขตเขตความเป็นประเทศ ของไทยและลาว ได้อย่างชัดเจนที่สุด แต่ทว่า เรื่องราวกลับไม่เป็นเช่นนั้น ตรงกันข้าม ทั้งสนธิสัญญาและแผนที่ กลายเป็นปัญหาให้เกิดการถกเถียงกันมากที่สุด หรือในบางกรณีนั้น กลับปรากฏว่า ความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ทั้งในเรื่องสนธิสัญญาและแผนที่นั่นเอง ที่ทำาให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว ถือว่าคนส่วนใหญ่นั้น เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันแท้ๆ ความขัดแย้งเช่นว่านั้น รุนแรงถึงขั้นใช้กำาลังทหารเข้ารบพุ่งกันเลย ทีเดียว ถ้าหากจะถือว่า สนธิสัญญาและแผนที่ ที่ทำากันระหว่างสยามและฝรั่งเศส เมื่อศตวรรษที่ผ่านมา ว่าเป็นการสร้างตัวตนของชาติทั้งสอง เราอาจจะกล่าวได้ว่า การสร้างตัวตนดังกล่าวนั้น แม้ผ่านกาลเวลามานานแล้ว ก็ยังไม่แล้วเสร็จ และสาเหตุที่ทำากันไม่เสร็จเสียทีนั้น ก็เนื่องมาจาก ความเข้าใจ และ มายาคติ เกี่ยวกับปัญหาดินแดนของทั้งสองชาตินั่นเอง” อรอนงค์ ทิพยพิมล และ ธนศักดิ์ ส�ยจำ�ป� “เงื่อนไข และปัจจัยแห่งความสำาเร็จ ในการปักปัน และปักหลักเขตแดนไทย-มาเลเซยี” ผูเ้ขยีนกลา่วสรปุไวอ้ยา่งนา่สนใจยิง่ คอื “การปกัปนั และการจดัทำาหลกัเขตแดนระหวา่งประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นปัญหาต่อเนื่องยาวนาน กล่าวได้ว่า ยังไม่มีการปักปันและปักหลักเขตแดนสำาเร็จลุล่วงลงอย่างสมบรูณแ์มแ้ตด่า้นเดยีว หากแตด่า้นทีป่ระสบความสำาเรจ็มากทีส่ดุนัน้ คอื ดา้นเขตแดนระหวา่งไทยกบัมาเลเซยี ทีม่กีารจดัทำาหลักเขตแดนทางบก เกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว หากแต่ยังเหลือหลักเขตที่ไม่สามารถตกลงกันได้เพียง 2 หลัก เท่านั้น โดยเงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำาเร็จดังกล่าว เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนตัว ระหว่างผู้นำาของทั้งสองประเทศ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณะเจรจาฯ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ในการจัดทำาหลักเขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย บนพื้นฐานที่ว่าการเจรจาและการจัดทำาหลักเขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย เป็นเรื่องทางเทคนิค มิใช่เป็นเรื่องของการเจรจาต่อรองในเชิงการเมือง ตลอดทั้งการไม่นำาเรื่องเขตแดน มาเป็นประเด็นทางการเมือง”

ชาญวิทย์ เกษตรศิริYMCA Metropolitan, Singapore

หลังมหาอุทกภัย สยามประเทศไทย (คริสต์มาส 2011/2554)

Page 12: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764
Page 13: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์ - ภูมิศาสตร์ - การเมือง

กับลัทธิอาณานิคมในอาเซียน - อุษาคเนย์

Collected Maps:

History - Geography - Politics

and Colonialism in Southeast Asia

Page 14: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764
Page 15: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ภาค 1PART I

Page 16: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764
Page 17: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

แผนที่ “สยามประเทศไทย”สมัยอยุธยา

พ.ศ. 2085-2307Maps of Siam: Ayutthaya Period

A.D.1542-1764

Page 18: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

6 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(1)แผนที่โลก “คันติโน”

โดย นักแผนที่นิรนาม ชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2045 (ค.ศ. 1502)

The Cantino Planisphere

แผนทีต่วัเขยีนไมม่ชีือ่ แตน่ยิมเรยีกกนัวา่ “แผนทีโ่ลกคนัตโิน” ตามชือ่ของ อลัแบรโ์ต คนัตโิน (Alberto Cantino) ทตูชาวอติาล ีผูว้า่จา้งนกัแผนทีน่รินามชาวโปรตเุกส ใหล้กัลอบเขยีนแผนทีโ่ลก แสดงผลสำารวจลา่สดุของโปรตเุกส (Padrão Real) ทีเ่กบ็รกัษาที ่“อาคารอนิเดยี” (Casa da Índia) กรงุลสิบอน เดมิท ีแผนทีแ่ยกเปน็สามสว่น ตอ่มาประกอบเขา้ดว้ยกนัมีขนาดความสูง 1,020 มม. ความกว้าง 2,180 มม. คันติโน ส่งมอบแผนที่ให้แก่ แอร์โคเละ เด้สเต้ ดยุกแห่งเฟร์ราระ (Ercole d’Este, the Duke of Ferrara) ใน พ.ศ. 2045 (ค.ศ. 1502) ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หรืออยุธยาตอนกลาง แผนทีโ่ลกคนัตโิน เปน็แผนทีโ่ลกแผน่แรกสดุ และสำาคญัสดุ ทีเ่ขยีนโดยนกัแผนทีโ่ปรตเุกสในชว่งครสิตศ์ตวรรษที่ 16 (กลางพุทธศตวรรษที่ 21- กลางพุทธศตวรรษที่ 22) ความสำาคัญของแผนที่ มีดังต่อไปนี้ ประการแรก แผนทีโ่ลกคนัตโิน เปน็แผนทีแ่รกสดุทีแ่สดงเสน้สมมตุิ “แบง่โลก” หรอืแบง่ปรมิณฑลทางอำานาจของโลกเวลานั้น ระหว่างสเปนและโปรตุเกส อันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาทอร์เดซิลลาช พ.ศ. 2037 (Treaty of Tordesillas, 1494) ข้อตกลงนี้ แบ่งพื้นที่โลกออกเป็นสองปริมณฑล โดยให้ลากเส้นอยู่ห่างไปทางตะวันตกของหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Cape Verde Islands) 370 ลีก (1 ลีก ความยาวประมาณ 4.8 กิโลเมตร) ตรงกับดินแดนที่เป็นบราซิลปัจจุบัน สเปน คุมอำานาจอยู่ทางตะวันตกของเส้น และโปรตุเกส คุมอำานาจอยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมตั้งแต่บราซิล แอฟริกา ตลอดไปถึงอนุทวีปอินเดีย และบางส่วนของคาบสมุทรมลายู แผนที่ไม่ระบุว่าเขตปริมณฑลของโปรตุเกสนั้น สิ้นสุดที่ใดในเอเชีย เหตุเพราะความรู้ทางภูมิศาสตร์ของนักแผนที่สมัยนั้น ยังมีไม่มาก และทั้งสองมหาอำานาจ ต่างต้องการช่วงชิงหมู่เกาะโมลุกกะ (The Moluccas Islands) ซึง่อดุมไปดว้ยแหลง่เครือ่งเทศสนิคา้ยอดนยิม แตภ่ายหลงั กองเรอืทีน่ำาโดย เฟอรด์นิานด ์มาเจลแลน (Ferdinand Magellan) เดินทางรอบโลกได้สำาเร็จ และกลับถึงสเปนใน พ.ศ. 2065 (ค.ศ. 1522) ก็เริ่มมีความชัดเจน เกี่ยวกับเส้นแบ่งปริมณฑลในเอเชีย เพียงสองปีต่อมา ก็ปรากฏแผนที่แผ่นแรก ที่แสดงเส้นแบ่งนี้ เป็นแผนที่โลกโดย จวน เวสปุคชี ( Juan Vespucci) นักแผนที่ชาวอิตาลี แผนที่ลากเส้นจากเหนือลงใต้ ตรงเส้นเมอริเดียนที่ 135 องศา พาดผ่านคาบสมุทรมลายู หากยึดตามแผนที่ ในบรรดาหมู่เกาะอุษาคเนย์ มีเพียงสุมาตรา ที่อยู่ทางตะวันตกของเส้น คือภายใต้โปรตุเกส ส่วนหมู่เกาะที่เหลือ ทางตะวันออก เช่น ชวา บอร์เนียว และโมลุกกะ ล้วนอยู่ภายใต้สเปน ในการเจรจาช่วงคริสต์ทศวรรษ 1520 เวสปุคชี ผู้นำาคณะเจรจาฝ่ายสเปน ได้เสนอแผนที่โลกของตน เป็นหลักฐานในการอ้างสิทธิของสเปน เหนือหมู่เกาะโมลุกกะ แต่ทางโปรตุเกส ไม่ยอมรับแผนที่นี้ ต่อมาใน พ.ศ. 2072 (ค.ศ. 1529) พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งสเปน ทรงตัดสินพระทัย มอบสิทธิเหนือหมู่เกาะโมลุกกะ ให้แก่โปรตุเกส แลกเปลี่ยนกับเหรียญทองคำา มูลค่า 350,000 ดูคัต ซึ่งนับว่ามากโขในขณะนั้น ประการทีส่อง แผนทีโ่ลกคนัตโิน เปน็แผนทีแ่รกสดุ ทีแ่สดงผลสำารวจของโปรตเุกสในยคุของการแสวงหาโลกใหม ่และดินแดนเครื่องเทศ แผนที่แสดงชายฝั่งบราซิล เพียงสองปี หลังการค้นพบโดย เปดรู อัลวารืช กาบราล (Pedro Álvares Cabral) นักสำารวจชาวโปรตุเกส หากสังเกต จะพบธงโปรตุเกส ปักอยู่เหนือดินแดนนี้ และดินแดนอื่นๆ บนชายฝั่งตะวันออกของอเมริกาใต้ หรือดินแดนทางฝั่งขวา ของเส้นแบ่งปริมณฑลนั่นเอง ส่วนธงสเปนจะพบบริเวณอเมริกาใต้ ตอนบนและหมู่เกาะคาริบเบียน หรือดินแดนทางฝั่งซ้ายของเส้น แผนที่แสดงรูปร่างลักษณะของแอฟริกา ใกล้เคียงความเป็นจริง ทั้งยังบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศของชายฝั่งอย่างละเอียด เป็นเพราะชาวโปรตุเกส ได้สำารวจชายฝั่งแอฟริกามา ตั้งแต่ต้นศตวรรษก่อนหน้า และที่สำาคัญ แผนที่โลกคันติโนเป็นแผนที่แรกสุดที่แสดงดินแดนตะวันออกไกล หลังการมาถึงเมืองท่ากไลกัฏ/กาลิกูฏ (เขียน Caliqut ในแผนที่) บนชายฝั่งมะละบาร์ของ วาสกู ดา กามะ (Vasco da Gama) ผู้บัญชาการกองเรือโปรตุเกส ใน พ.ศ. 2041 (ค.ศ. 1498) ที่น่าสังเกตก็คือ ชาวโปรตุเกส เมื่อทำาแผนที่ดินแดนแถบนี้ในระยะ

Page 19: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 7

แรก จะเน้นการสำารวจทางน้ำา ตามเกาะแก่ง และชายฝั่งทะเลมากกว่าพื้นที่ตอนใน เพื่ออำานวยความสะดวกในการเดินเรือ ซึง่สอดคลอ้งกบัผลประโยชนก์ารคา้ทางทะเลของตนในขณะนัน้ นอกจากนี ้เมอืงทา่ชายฝัง่ ยงัเปน็เมอืงทีใ่ชเ้ปน็ฐาน สำาหรบัการสถาปนาอำานาจรัฐของโปรตุเกส (Estado da Índia หรือ “รัฐแห่งอินเดีย”) เมืองสำาคัญบนคาบสมุทรมลายู ที่ปรากฏชื่อในแผนที่ได้แก่ Malaqua (มะละกา) nagaingor (นครศรีธรรมราช เดิมเรียก นครลิกอร์) เหนือขึ้นไปคือ Cerener (เชอเรอเนอร์ เพี้ยนมาจากคำาอาหรับ “ชะฮริ เนาว์” อันแปลว่า “นครแห่งเรือและคูคลอง” ใช้เรียกอาณาจักรสยาม และกรุงศรีอยุธยา) champocachim (พิเคราะห์จากตำาแหน่งที่ตั้งในแผนที่ทำาให้อนุมานได้ว่าคือ กัมโพช/กัมพูชา มากกว่า จามปา) และ chinacochim (โคชินจีน ชื่อเดิมของดินแดน ที่เป็นเวียดนามกลางในปัจจุบัน) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แผนที่โลกคันติโน ไม่ใช่แผนที่ฝรั่งแรกสุดที่ระบุชื่อและตำาแหน่งของเมืองในอุษาคเนย์ แผนที่แผ่นแรก ที่ระบุชื่อจามปา (janpa) คือ แผนที่จากสมุดแผนที่คาตาลัน (Catalan Atlas) โดย อับราฮัม เครสคูส์ (Abraham Cresques) นักแผนที่ชาวยิว เขียนเมื่อ พ.ศ. 1918 (ค.ศ. 1375) ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 โดยอาศัยข้อมูลจากบันทึกของ มาร์โค โปโล (Marco Polo) นักเดินทางชาวอิตาลีที่แวะเยือนจามปา และชวาในช่วง พ.ศ. 1835-38 (ค.ศ. 1292-95) ตรงกับปลายแผ่นดินพ่อขุนรามคำาแหง ส่วนแผนที่แรกสุด ที่ระบุชื่อกรุงศรีอยุธยาคือ แผนที่โลกโดยบาทหลวง เมาโร (Fra Mauro) นักบวชชาวอิตาลี เขียนเมื่อ พ.ศ. 2002 (ค.ศ. 1459) ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยให้ชื่อว่า Scierno (แชร์โน) ซึ่งต่อมาถ่ายเสียงเป็นภาษาโปรตุเกสว่า Cerener (เชอเรอเนอร์) ดังที่ปรากฏในแผนที่โลกคันติโน อย่างไรก็ตาม แผนที่โดยบาทหลวงท่่านนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น “แผนที่โปรตุเกส” เพราะผู้เขียนได้รับว่าจ้างจากพระเจ้าอฟงซูที่ 5 (Affonso V) แห่งโปรตุเกส ชื่อเมืองและเกาะในอุษาคเนย์ ที่ปรากฏครั้งแรกในแผนที่ได้แก่ พะโค (paigu) ตะนาวศรี (tauasari) ทวาย (taua) เมาะตะมะ (marthaban) มะละกา (melacha) กุย (choy) เพชรบุรี (biçipuri) สุโขทัย (Sciechutai) ชวา (GIAVA) และ สุมาตรา (TAPROBANA) แผนที่อ้างอิงข้อมูลจากบันทึกของ มาร์โค โปโล และ นิโคโล ดิ กงติ (Nicolò di Conti) นักแสวงโชคชาวอิตาลี เป็นหลัก ทั้งยังอาจได้ข้อมูลเพิ่มเติม จากคำาบอกเล่าของพ่อค้ามุสลิม ที่แวะเวียนยุโรปอยู่เนืองๆ เพราะปรากฏหลักฐานว่าพ่อค้ามุสลิมและแขกมัวร์จากเมกกะ ได้แวะผ่านเมืองท่าฝั่งตะวันตกของสยามในยุคนั้น จึงไม่แปลกใจที่ปรากฏชื่อเมือง ที่มีรากศัพท์จากคำาอาหรับ เช่น แชร์โน (กรุงศรีอยุธยา) ในแผนที่ สรุปก็คือ ชื่อเหล่านี้ปรากฏในแผนที่ฝรั่ง อย่างน้อยสี่ทศวรรษ ก่อนที่โปรตุเกสจะเข้ามาสู่บริเวณนี้ ประการที่สาม นอกจากข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แผนที่ยังให้รายละเอียด เกี่ยวกับเส้นทางการค้า เมืองท่า แหล่งเครื่องเทศและอัญมณี ซึ่งเป็นที่หมายปองของชาวยุโรปในช่วงเวลานั้น ตัวอย่างเช่น บริเวณตำาแหน่งเมืองท่ากไลกัฏ/กาลิกูฏ จะพบธงโปรตุเกส ปักอยู่เด่นสง่าพร้อมข้อความว่า “ที่นี่คือกไลกัฏ/กาลิกูฏ เมืองสำาคัญที่สุดแห่งหนึ่ง ค้นพบโดยพระเจ้าดง มานูแอล กษัตริย์โปรตุเกส ที่นี่ เป็นแหล่งของกำายาน พริกไทย และสรรพสินค้าจากแหล่งต่างๆ อาทิ เครื่องเทศอบเชย ขิง กานพลู กำายาน ไม้จันทน์หอม อัญมณีล้ำาค่าหลากหลายชนิด รวมถึงไข่มุก” ข้อความข้างเกาะสุมาตราบันทึกไว้ว่า “เกาะนี้เรียกว่าโทปอร์บานา เป็นเกาะที่สำาคัญที่สุดในโลก รุ่มรวยไปด้วยทุกสิ่งทุกอย่าง อาทิ ทอง เงิน อัญมณี ไข่มุก ทับทิมเม็ดงามใหญ่ เครื่องเทศต่างๆ ผ้าไหม และผ้าแพร อนึ่ง ผู้คนบูชารูปเคารพ มอีธัยาศยัดเีปน็กนัเอง และชอบคบคา้กบัชาวตา่งถิน่ สนิคา้จำานวนมากจากทีน่ีไ่ดส้ง่ออกจำาหนา่ยยงัทีอ่ืน่ สว่นสนิคา้ทีข่าดแคลนกจ็ะถกูนำาเขา้” ทัง้ใหข้อ้มลูเกีย่วกบัเมอืงทา่มะละกาวา่ “ในเมอืงมะละกาแหง่นีม้สีนิคา้ทกุชนดิทีม่ายงักไลกฏั เชน่ กานพลู กำายาน ว่านหางจระเข้ ไม้จันทน์ โกฐน้ำาเต้า งาช้าง อัญมณี ไข่มุก สารกลิ่นชะมด เครื่องถ้วยชามคุณภาพดี และสินค้าอื่นๆ อีกมากมาย โดยสินค้าส่วนใหญ่นำาเข้าจากประเทศจีน” จะเห็นว่ามะละกาในยุคนั้นเป็นชุมทางการค้าที่สำาคัญ กล่าวอีกนัยคือเป็น “จุดเชื่อม” หรือจุดตัดของเส้นทางการค้าในมหาสมุทรอินเดีย เชื่อมโยงมหาสมุทรอินเดียส่วนใหญ่เข้ากับจีนตอนใต้ สอดคล้องกับบันทึกร่วมสมัยของโตเม่ ปิรืช (พ.ศ. 2058/ ค.ศ. 1515) ที่รายงานว่า “มะละกาเป็นเมืองที่สร้างขึ้นเพื่อสินค้าเหมาะกว่าเมืองอื่นใดในโลก สุดเขตมรสุมและเริม่เขตอืน่ๆ มะละกาตัง้อยูต่รงกลางมดีนิแดนแวดลอ้ม การคา้พาณชิยร์ะหวา่งประเทศตา่งๆ ทีอ่ยูห่า่งไปหนึง่พนัลกีโดยรอบต้องมาที่มะละกา” แผนที่ยังบันทึกข้อมูลสินค้าส่งออก ที่สำาคัญของนครศรีธรรมราชอย่างรวบรัดว่า “นครลิกอร์ ที่นี่มีทุกสิ่งที่ได้กล่าวมาก่อนหน้า ทับทิม และอัญมณีหลากหลาย” และถัดจากชื่อเมือง “เชอเรอเนอร์” หรือ กรุงศรีอยุธยา แผนที่ระบุอย่างรวบรัดเช่นกันว่า “ที่นี่มีสินค้าทุกชนิดที่ได้กล่าวมาก่อนหน้า” จากที่คัดมาโดยสังเขป แสดงถึงความมั่งคั่งของดินแดนแถบนี้ และเป็นประจักษ์พยานชี้ชัดว่า แผนที่เขียนเพื่อสนองผลประโยชน์ทางการค้าของโปรตุเกสในยุคนั้น

Page 20: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

8 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

ข้อมูลที่เขียนกำากับไว้ข้างชื่อเมืองต่างๆ เป็นข้อมูลร่วมสมัยที่ทรงคุณค่า นับเป็นโชคดีของเรา ที่นักเขียนแผนที่ยุคแรก สำารวจหรือรับรู้ข้อมูลเพียงแค่เกาะแก่ง และเมืองท่าตามชายฝั่งทะเล แต่แทนที่จะปล่อยให้พื้นที่ตอนใน ที่ยังไม่สำารวจนั้นว่างเปล่า นักแผนที่กลับเติมเต็มพื้นที่ว่าง ด้วยภาพประดับแสดงผู้คนชาวพื้นเมือง สิงสาราสัตว์ และพรรณไม้นานาชนิด ทั้งบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเมืองที่ได้สำารวจและสินค้าที่สามารถหาได้ในเมืองเหล่านี้ นอกจากแผนที่โลกคันติโนแล้ว แผนที ่โบราณอืน่ๆ ทีบ่นัทกึขอ้มลูรายละเอยีดสำาคญัในแผนทีค่อื แผนทีใ่นสมดุแผนทีค่าตาลนั พ.ศ. 1918 (ค.ศ. 1375) และแผนที่โลกโดย บาทหลวงเมาโร พ.ศ. 2002 (ค.ศ. 1459) เป็นต้น ข้อน่าสังเกต อีกประการหนึ่งคือ แม้ว่าแผนที่โลกคันติโนจะวาดเค้าโครงคาบสมุทรอินเดียได้ค่อนข้างถูกต้อง เมื่อเปรียบเทียบกับแผนที่ปโตเลมีที่แพร่หลายในยุโรปขณะนั้น แต่คาบสมุทรมลายู กลับมีขนาดกว้างใหญ่กว่าความเป็นจริง โดยพาดยาวไปเกือบถึงเส้นรุ้งเขตใต้ (Tropic of Capricorn) อันเกิดจากความสับสนและยุ่งยากของนักเขียนแผนที่สมัยนั้น ในการผสมผสานข้อมูลใหม่กับข้อมูลปโตเลมี ที่เขียนตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 (ปลายพุทธศตวรรษที่ 7) ปลายคาบสมุทรมลายูก็เช่นเดียวกัน แทนที่จะหันไปทางทิศตะวันออกหรือทางเกาะชวา กลับ “หันผิดด้าน” ไปทางทิศตะวันตก เหตุผลก็เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของ “แหลมทอง” หรือ Avrea Chersonesvs ในแผนที่ปโตเลมี แผนที่แผ่นแรกที่ “หัน” ปลายคาบสมุทรมลายูถูกด้านคือแผนที่ “คาบสมุทรมลายูและเกาะสุมาตราตอนบน” โดย ฟรานซิสกู รูดริเกวซ (Francisco Rodrigues) นักเขียนแผนที่และคนนำาร่องชาวโปรตุเกสที่เดินทางมามะละกาพร้อมกับกองเรือของ อฟงซู ดือ อัลบูแกร์เกอ (Afonso de Albuquerque) เขียนราว พ.ศ. 2056 (ราว ค.ศ. 1513) ตรงกับกลางรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ที่สำาคัญ ยังเป็นแผนที่ฝรั่งแรกสุดที่วาดเน้นบริเวณดินแดนของสยาม โดยคนนำาร่องฝรั่งคนแรกที่เข้ามาในน่านน้ำาอุษาคเนย์ และเป็นแผ่นแรกสุดที่ใช้ชื่อ “อัมส์เซียม” (Amssiam) หรือ “สยาม” สำาหรับราชอาณาจักร แทนชื่อเรียกเดิม แชร์โน/เชอเรอเนอร์ ที่แผลงมาจากภาษาอาหรับ ส่วนแผนที่แรกสุดที่วางตำาแหน่งปลายคาบสมุทรมลายูให้อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร คือ “แผนที่อินเดียตะวันออก” โดย โลปู โฮเมม (Lopo Homem) และ เปดรู เรยเนล (Pedro Reinel) นักแผนที่ชาวโปรตุเกส เขียนราว พ.ศ. 2062 (ราว ค.ศ. 1519) ตรงกับปลายรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แผนที่สองแผ่นหลังเขียนขึ้นเพียงไม่กี่ปีหลังโปรตุเกสเข้ามาสำารวจน่านน้ำาอุษาคเนย์ แผนที่โลกคันติโน ปัจจุบันเก็บรักษาที่หอสมุดเอสเต็นเซ่ (Biblioteca Estense) เมืองโมเดน่า (Modena) ประเทศอิตาลี แผนที่ต่อมาได้ถูกคัดลอกโดย นิโคโล คาเวรี (Nicolo Caveri) ชาวอิตาลี ในราว พ.ศ. 2048 (ค.ศ. 1505) แผนที่โลกฉบับคาเวรี ปัจจุบันเก็บรักษาที่หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส (Bibliothėque Nationale de France) กรุงปารีส อนึ่ง การเข้ายึดครองมะละกาของโปรตุเกสใน พ.ศ. 2054 (ค.ศ. 1511) ได้กระตุ้นความสนใจของชาวยุโรป ที่มีต่อดินแดนตะวันออกไกล จึงไม่น่าแปลกใจว่าเพียงสองปีต่อมา มาร์ติน วาลซีมึลเลอร์ (Martin Waldseemüller) นักแผนที่ชาวเยอรมนี ได้พิมพ์เผยแพร่แผนที่เอเชียอาศัยต้นแบบจากแผนที่โลกคันติโนโดยให้ชื่อ TABVLA MODERNA INDIAE หรือ “แผนที่อินเดียใหม่” เนื่องจากฝรั่งสมัยนั้นยังไม่มีความรู้ทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับเอเชียที่ชัดเจน คำาว่า “อินเดีย” จึงหมายรวมถึงเอเชียทัง้หมด ความสำาคญัของแผนทีน่ีค้อืเปน็แผนทีด่นิแดนตะวนัออกไกลแผน่แรกสดุทีพ่มิพข์ึน้หลงัการเขา้มาในนา่นน้ำาอนิเดยีของโปรตุเกส กล่าวโดยสรุปคือ แผนที่โลกคันติโน มีความสำาคัญในฐานะเอกสารชั้นต้น ที่ให้ข้อมูลไม่ปรากฏในจดหมายเหตุประเภทอื่น ยืนยันหรือขยายความข้อมูลประวัติศาสตร์ที่เรารับทราบกันอยู่แล้ว แต่น่าเสียดายที่แผนที่นี้ ยังไม่ได้รับความสนใจในหมู่นักประวัติศาสตร์ไทยเท่าที่ควร แผนที่โลกคันติโนไม่เพียงเผยแพร่ข้อมูลด้านกายภาพ เช่น ที่ตั้งของเมืองท่า ลักษณะภูมิประเทศ เส้นทางการค้าเครื่องเทศและผลิตผลของป่า แต่ยังแสดงให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกใน “ยุคสมัยแห่งการค้นพบ” (The Age of Discovery) หากนำามาตรวจสอบข้อมูลกับจดหมายเหตุโปรตุเกสร่วมสมัย เช่น “เรื่องย่อจากตะวันออก” (The Suma Oriental) โดย โตเม่ ปิรืช (Tomé Pires) “หลายทศวรรษในเอเชีย” (Décadas da Ásia) โดย ดิโอกู ดู โกตู (Diogo do Couto) และ จูอาว ดือ บาร์รูช ( João de Barros) “การแสวงบุญ” (Peregrinação) โดย ฟืร์เนา เมนดืช ปินตู (Fernão Mendes Pinto) และ “บันทึกสิ่งที่พบเห็นและได้ยินในถิ่นตะวันออก” (Livro do que viu e ouviu no Oriente) โดย ดูอาร์ตือ บาร์โบซา” (Duarte Barbosa) เป็นต้น อาจช่วยให้เข้าใจบริบทของประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ ระหว่างสยามและโปรตุเกสในระยะเริ่มแรก และประวัติศาสตร์ยุคสำารวจ และการขยายตัวของโปรตุเกส ในดินแดนตะวันออกไกลได้มากยิ่งขึ้น

Page 21: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 9

แผนที่โลกคันติโน โดยนักแผนที่นิรนาม ชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2045 (ค.ศ. 1502) (The Cantino Planisphere)

Page 22: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

10 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 23: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 11

Page 24: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

12 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 25: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764
Page 26: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

14 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

แผนที่ “อินเดียแห่งตะวันออก” [The Indis of Orient] (ขนาด 300 x 520 มม.) โดย ฌอง รอทซ์ ( Jean Rotz) ช่างแผนที่แห่งสำานักเดียปป์ (Dieppe) ประเทศฝรั่งเศส เริ่มเขียนเมื่อราว พ.ศ. 2083 (ค.ศ. 1540) หรืออยุธยาตอนกลาง หรือประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตรงกับกลางรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช อันเป็น “ยุคแห่งการค้นพบ” (The Age of Discovery) ที่ชาวยุโรปเข้ามาบุกเบิกสำารวจทวีปและประเทศต่างๆ และล่าอาณานิคมทั่วโลก สันนิษฐานว่ารอทซ์อาจเคยเดนิทางเขา้มาในภมูภิาคอษุาคเนย ์โดยเฉพาะทีเ่กาะสมุาตรา โดยรว่มอยูใ่นทมีสำารวจของชาวฝรัง่เศสทีน่ำาโดย ฌอง พามองตีเยร์ ( Jean Parmentier) ในช่วง พ.ศ. 2072 - 2073 (ค.ศ. 1529 - 1530) คำาว่า Indis หรือ India ในที่นี้ เป็นชื่อที่ชาวยุโรปคุ้นเคยและเรียกกันมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ มีความหมายไม่เฉพาะเพียง “ชมพูทวีป” หรือ “ประเทศอินเดีย” แต่รวมถึงดินแดนที่อยู่ระหว่าง “ชมพูทวีป” กับประเทศจีน ดังนั้นจึงมีคำาขยายความอีกว่า Intra Ganges กับ Extra Ganges ถอดความได้ว่า “ในลุ่มน้ำาคงคา” คือประเทศอินเดีย กับ “นอกลุ่มน้ำาคงคา” หมายถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือุษาคเนย์ นั่นเอง แผนที่ “อินเดียแห่งตะวันออก” รวมอยู่ในสมุดแผนที่ The Boke of Idrography ซึ่งเดิมทีรอทซ์ตั้งใจทำาขึ้นเพื่อถวายแด่ราชสำานักฝรั่งเศส แต่เมื่อรวบรวมเสร็จ พ.ศ. 2085 (ค.ศ. 1542) เขากลับตัดสินใจนำาขึ้นถวายแด่พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ดังนั้นจึงมีคำาภาษาอังกฤษปรากฏอยู่ คือ The Indis of Orient ตรงบริเวณที่เป็นภาคใต้ของสยาม หรือ แหลมมลายู แผนที่มีลักษณะพิเศษดังนี ้ ประการแรก เป็นแผนที่ตัวเขียนที่วิจิตรอลังการมาก ผู้เขียนไม่เพียงให้ตำาแหน่งของเมืองท่าต่างๆ ยังเติมเต็มพื้นที่ว่างด้วยการวาดภาพกระท่อม ช้างป่า แมกไม้ และขบวนแห่ผู้คนชาวอุษาคเนย์ ฯลฯ ทั้งยังล้อมกรอบแผนที่ด้วยภาพไม้ประดับที่สวยงาม ประการที่สอง ผู้เขียนวางทิศใต้ไว้ด้านบน ผืนแผ่นดินใหญ่ทางด้านบนของแผนที่ สันนิษฐานว่าอาจเป็นทวีปออสเตรเลีย ด้านล่างของแผนที่คือประเทศอินเดียและแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ ประการที่สาม เป็นแผนที่โดยชาวยุโรปแผ่นแรกที่ครอบคลุมภูมิภาคอุษาคเนย ์ ให้รายละเอียดเมืองท่าสำาคัญทางชายฝั่งทะเลอันดามันและทะเลจีนใต้ เช่น เมาะตะมะ (Martamam) ไทรบุรี (Quedaa) มะละกา (Mellaca) ปัตตานี (Patane) สิงคโปร์ (Sinca pura) และเกาะสุมาตรา (Trapobana) น่าสังเกตว่าช่างแผนที่สมัยนั้นยังไม่ได้เข้าสำารวจเกาะบอร์เนียว (borneo) อย่างจริงจัง จึงให้รายละเอียดเฉพาะเมืองท่าตอนบนของเกาะ ที่สำาคัญที่สุดคือ เป็นแผนที่ฝรั่งแผ่นแรกสุดที่แสดงภาพบ้านเรือนและเครื่องแต่งกายของชาวอุษาคเนย์ (ที่อาจเป็นคนไทยสยาม หรือคนพม่า หรือคนมอญหรือเขมรก็ได้) กระท่อมที่มีใต้ถุนสูง บริเวณปากอ่าวสยามคือสัญลักษณ์แทนกรุงศรีอยุธยา

(2)แผนที่ “อินเดียแห่งตะวันออก” โดย ฌอง รอทซ์ (Jean Rotz

พ.ศ. 2085 (ค.ศ. 1542)The Indis of Orient

)

Page 27: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 15

แผนที่อินเดียแห่งตะวันออก โดย ฌอง รอทซ์ ( Jean Rotz) พ.ศ. 2085 (ค.ศ. 1542) (The Indis of Orient) (ภาพจากหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ กรุงลอนดอน)

Page 28: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

16 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 29: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 17

Page 30: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

18 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 31: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 19

Page 32: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

20 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(3)แผนที่ “บูรพทิศจากอินเดียถึงญี่ปุ่น”

โดย เฟอร์นาว วาช ดูราโด (Fernão Vaz Dourado) (ราว พ.ศ. 2119/ค.ศ. 1576)

แผนที่ไม่มีชื่อ แต่ขอเรียกว่าแผนที่ “บูรพทิศจากอินเดียถึงญี่ปุ่น” (ขนาด 386 x 505 มม.) เป็นหนึ่งในชุดแผนที่ตัวเขียนจำานวน 20 แผ่น โดย เฟอร์นาว วาช ดูราโด (Fernão Vaz Dourado) นักแผนที่ชาวโปรตุเกส เขียนเมื่อราว พ.ศ. 2119 (ค.ศ. 1576) หรือ 7 ปีหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2112/ค.ศ. 1569) นีเ่ป็นแผนที่ฝรั่งแผน่แรกๆ ที่เขียนขึน้ภายหลงัการเสียกรุงฯ จงึไม่ปรากฏชือ่สำาหรบัราชอาณาจกัรสยาม เพราะถูกแทนที่โดยหงสาวดี (Pegu) ส่วนชื่อ สยาม (Siam) และ โอเดีย (odia) ในแผนที่ หมายถึงกรุงศรีอยุธยา (ในตำาแหน่งที่ต่างกัน เกิดจากความสับสนของช่างแผนที่ยุคนั้น) แผนที่จำานวนหนึ่งที่เขียนขึ้นช่วงนั้นไม่ปรากฏชื่อสยาม อาทิ แผนที่ China Regio Asiae และ แผนที่ India Orient โดย ฟิลลิปป์ กัลเลอร์ (Philippe Galle) พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงแอนท์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม พ.ศ. 2131 (ค.ศ. 1588) และ พ.ศ. 2138 (ค.ศ. 1595) ตามลำาดับ แผนที่โดยดูราโด แสดงตำาแหน่งหัวเมืองสำาคัญๆ ในอดีต อาทิ ปัตตานี (patane) กุยบุรี (cui) ชะอำา (cham) ทวาย (tauai) มะริด (mirgim) ตะนาวศรี (tanasari) ภูเก็ต (jumsalaö) และ ไทรบุรี (queda) แผนที่ให้รายละเอียดเฉพาะหวัเมอืงชายฝัง่ทะเล โดยไมร่ะบตุำาแหนง่หวัเมอืงชัน้ใน เพราะในสมยันัน้แทบจะไมเ่คยมชีาวยโุรปไดเ้ขา้ไปสำารวจพืน้ที ่ชั้นใน

Page 33: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 21

แผนที่บูรพทิศจากอินเดียถึงญี่ปุ่น โดย เฟอร์นาว วาช ดูราโด (Fernão Vaz Dourado) (ราว พ.ศ. 2119/ค.ศ. 1576) (ภาพจากหอสมุดแห่งชาติโปรตุเกส กรุงลิสบอน)

Page 34: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

22 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 35: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 23

Page 36: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

24 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 37: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 25

Page 38: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

26 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 39: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 27

Page 40: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

28 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(4)แผนที่ “หมู่เกาะโมลุกกะ”

โดย เพทรูส พลางคิอุส (Petrus Plancius) พ.ศ. 2138 (ค.ศ. 1595)

Insvlae Molvccae

แผนที่ Insvlae Molvccae (ขนาด 395 x 555 มม.) โดย เพทรูส พลางคิอุส (Petrus Plancius) นักแผนที่ชาวฮอลันดา อนุมานว่าคัดลอกมาจาก “แผนที่ลับ” ของโปรตุเกสที่เขียนโดย บาร์โทโลเมล ลาสโซ (Bartolomeo Lasso) พ.ศ. 2133 (ค.ศ. 1590) แผนที่โดย พลางคิอุส พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2138 (ค.ศ. 1595) ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือช่วงอยุธยาตอนกลาง ต่อมาแทรกอยู่ในหนังสือประมวลการเดินทาง Itinerario ที่เรียบเรียงโดย ยาน ฮอยเก็น ฟาน ลินโชเท็น ( Jan Huyghen van Linschoten) ชาวฮอลันดา ตีพิมพ์ครั้งแรกที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปีถัดมา หนังสือชุดนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายในยุโรป จึงได้มีการพิมพ์ซ้ำาหลายครั้ง แผนที่แผ่นที่คัดมาลงในหนังสือเป็นฉบับพิมพ์ซ้ำา พ.ศ. 2160 (ค.ศ. 1617) แผนที่แผ่นนี้เป็นประจักษ์พยานว่าเครื่องเทศจากอุษาคเนย์ เช่น พริกไทย กานพลู ดอกจันทน์เทศ ไม้จันทน์หอม ชาด ครั่ง พิมเสน กำายาน ล้วนเป็นที่ต้องการในหมู่พ่อค้าชาวยุโรป สังเกตจากจำานวนเรือสินค้าและความหลากหลายของเครื่องเทศที่ปรากฏในแผนที่ นอกจากนี้ ยังเป็นแผนที่แรกสุดที่เขียนเส้นแบ่งพรมแดน (border) ระหว่างสยามและอาณาจักรใกล้เคียง (เส้นประในแผนที่) แสดงว่าการกำาหนดเส้นพรมแดนในแผนที่ฝรั่งมีมากว่าสี่ศตวรรษแล้ว แม้ว่าแนวคิดนี้จะยังไม่ปรากฏในรัฐประเพณีของโลกตะวันออกก็ตาม สังเกตชื่อสำาหรับสยาม (SIAN) ได้หวนคืนมาอีกครั้ง และเป็นชื่ออาณาจักรแห่งเดียวในแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ที่เขียนด้วยอักษรตัวใหญ่ ชื่ออาณาจักรอื่นๆ เช่น หงสาวดี (Pegu) กัมพูชา (Camboia) จามปา (Chanpa) โคชินจีน (Cochinchina) และ ตังเกี๋ย (Tunquin) ล้วนเขียนด้วยอักษรตัวเล็ก แสดงให้เห็นว่าสยามกลับมาโดดเดน่อกีครัง้ในรชัสมยัสมเดจ็พระนเรศวรมหาราช ซึง่กส็อดคลอ้งกบัขอ้มลูในจดหมายเหตโุปรตเุกสทีเ่ขยีนโดย จอูาว ดอื บารูช ( João de Barros) ที่ระบุว่า สยามเป็นหนึ่งในสามจักรวรรดิสำาคัญในอุษาทวีป (นอกเหนือจากจีนและวิชัยนคร หรือจามปา) และเป็นที่น่าสังเกตอีกว่าสยามในแผนที่ จำากัดอยู่แค่ดินแดนภาคกลาง เหนือ และตะวันออก เท่านั้น ชื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสยามในแผนที่คือ แม่น้ำาเจ้าพระยา (Menan fluvius) แม่น้ำาโขง (Mecon fluvius) เชียงใหม่ (Iangoma) กรุงศรีอยุธยา (Sian Diam al. Odia) กุยบุรี (Cui) ตะนาวศรี (Tanacerim) นครศรีธรรมราช (Lugu) ปัตตานี (Patane) และกลันตัน (Calatao) แผนที ่“หมูเ่กาะโมลกุกะ” แมจ้ะไดร้บัการตพีมิพห์ลายครัง้ในชว่งปลายครสิตศ์ตวรรษที่ 16 และตน้ครสิตศ์ตวรรษที ่17 (ราวกลางพทุธศตวรรษที่ 22) แตย่งัคงเปน็ทีต่อ้งการมากในหมูน่กัสะสมแผนทีโ่บราณ กอปรกบัคณุคา่ทางประวตัศิาสตร์และศิลปะ ทำาให้ได้ชื่อว่าเป็นแผนที่อุษาคเนย์ฉบับพิมพ์ที่หายากที่สุดและมีราคาแพงที่สุด

Page 41: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 29

แผนที่หมู่เกาะโมลุกกะ โดย เพทรูส พลางคิอุส (Petrus Plancius) พ.ศ. 2138 (ค.ศ. 1595) (Insvlae Molvccae) (ภาพ

จากหนังสือ Portugaliae monumenta cartographica ภาคที่สาม พิมพ์ที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส พ.ศ. 2503/ค.ศ. 1960)

Page 42: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

30 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(5)แผนที่ “ราชอาณาจักรสยาม”

โดย โยฮานเนส เมเทลลุส (Johannes Metellus) พ.ศ. 2139 (ค.ศ. 1596)

Regnvm Sian

แผนที่ในชื่อภาษาละติน Regnvm Sian (ขนาด 154 x 227 มม.) โดย โยฮานเนส เมเทลลุส ( Johannes Metellus) นกัแผนทีช่าวเยอรมนั จากหนงัสอื Theatrum, oder schawspiegel พมิพค์รัง้แรกทีก่รงุโคโลนจ ์ประเทศเยอรมน ีพ.ศ. 2139 (ค.ศ. 1596) ตรงกับอยุธยาตอนกลาง ต้นรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือสามปีหลังสมรภูมิหนองสาหร่ายที่สยามได้ประกาศแยกจากหงสาวดี แผนที่พิมพ์ซ้ำา พ.ศ. 2142 (ค.ศ. 1599) พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และ พ.ศ. 2145 (ค.ศ. 1602) นี่เป็นแผนที่แรกสุดที่ใช้ชื่อสยามในกรอบจารึก (Regnvm Sian คำาละตินหมายถึงราชอาณาจักรสยาม) ชื่อเรียกกรุงศรีอยุธยาปรากฏถึงสามครั้ง (SIAN, Odia และ Scierno) ในตำาแหน่งที่ต่างกัน อันเกิดมาจากความสับสนของผู้เขียนซึ่งไม่เคยเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร มีชื่อเมืองในอดีตที่ปรากฏในแผนที่คือ เชียงใหม่ (Iangoma) เพชรบุรี (Perperi) นครศรีธรรมราช (Nucaon) เมาะตะมะ (Martabam) ทวาย (Tauay) ตะนาวศรี (Tanazarim) มะริด (Mareguim) ภูเก็ต (Iucaloa) ไทรบุรี (Quedaa) กลันตัน (Calantan) และ ปัตตานี (Patane) ทั้งยังปรากฏชื่อและตำาแหน่งของ “ทะเลสาบเชียงใหม่” (Chianaÿ lacus) ทะเลสาบในจินตนาการที่นักแผนที่สมัยนั้นเชื่อว่าเป็นต้นน้ำาของแม่น้ำาสายสำาคัญในอุษาคเนย์ อาทิ อิระวดี สาละวิน และเจ้าพระยา ทะเลสาบแห่งนี้ยังเคยถูกอ้างถึงในจดหมายเหตุ หรือบันทึกการเดินทางผจญภัย อันเป็นวรรณกรรมเอกเรื่อง Peregrinação โดย เฟอร์นาว เมนดืช ปินตู (Fernão Mendes Pinto) ชาวโปรตุเกสที่เข้ามาสยามในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช และจดบันทึกการเดินทางไปทั่วอุษาทวีป

Page 43: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 31

แผนที่ราชอาณาจักรสยาม โดย โยฮานเนส เมเทลลุส ( Johannes Metellus) พ.ศ. 2139 (ค.ศ. 1596) (Regnvm Sian) (เอื้อเฟื้อภาพโดย Dawn F. และ James P.Rooney)

Page 44: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

32 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 45: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 33

Page 46: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

34 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(6)แผนที่ “มะละกา”

โดย โยโดคุส ฮอนดิอุส (Jodocus Hondius) พ.ศ. 2159 (ค.ศ. 1616)

Malacca

แผนที่ Malacca (ขนาด 92 x 131 มม.) โดย โยโดคุส ฮอนดิอุส ( Jodocus Hondius) นักแผนที่ชาวฮอลันดา จากสมุดแผนที่ Tabularum geographicarum contractarum เรียบเรียงโดย เพทรูส เบอร์ติอุส (Petrus Bertius) พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2159 (ค.ศ. 1616) ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม หรืออยุธยาตอนกลาง แผนที่พิมพ์ซ้ำา พ.ศ. 2161 (ค.ศ. 1618) และ พ.ศ. 2163 (ค.ศ. 1620) ผูเ้ขยีนอาศยัแมแ่บบจากแผนทีอ่ษุาคเนย ์(India Orientalis) ทีต่นเขยีนเมือ่ทศวรรษกอ่นหนา้ แผนทีว่างทศิตะวนัตกไว้ด้านบน แม้ใช้ชื่อ “มะละกา” ในกรอบจารึก แต่ถือเป็นแผนที่แรกสุดของฝรั่งที่เขียนเฉพาะเจาะจงแผ่นดินสยาม เมืองสำาคญัทีป่รากฏในแผนทีค่อื กรงุศรอียธุยา (หรอื Sian มลีกัษณะเปน็เกาะขนาดใหญบ่รเิวณปากอา่วสยาม) มะรดิ (Mirgira) ตะนาวศรี (Tanaçerim) กุยบุรี (Cui) ภูเก็ต (Iunsalam) นครศรีธรรมราช (Luga) ปัตตานี (Patane) ไทรบุรี (Quedan) กลันตัน (Calatao) เปรัก (Pera) มะละกา (Malacca) ตลอดจนสุมาตรา (Sumatra) และบอร์เนียว (Borneo) รายละเอียดที่น่าสนใจในแผนที่ คือ เส้นประแสดงพรมแดนระหว่างสยาม (SIAN) และกัมพูชา (Camboya) อนึ่ง แผนที่มีความคลาดเคลื่อนอย่างน้อยสามประการคือ ประการแรก ตำาแหน่งของกรุงศรีอยุธยาที่วางบริเวณปากอ่าวสยาม ประการที่สอง แม่น้ำาโขง (Mecon fluviu) ไหลเป็นเส้นตรงโดยมีปากแม่น้ำาอยู่ในกัมพูชา แทนที่จะไหลโค้งไปออกทะเลจีนใต้ที่เวียดนาม และประการสุดท้าย อ่าวเมาะตะมะมีขนาดกว้างใหญ่กว่าความเป็นจริง flfl

Page 47: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 35

แผนที่มะละกา โดย โยโดคุส ฮอนดิอุส ( Jodocus Hondius) พ.ศ. 2159 (ค.ศ. 1616) (Malacca) (ภาพจากห้องสมุดส่วนบุคคล ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช : ธวช)

Page 48: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

36 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(7)แผนที่ “อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา”

ฉบับซองซอง ดับเบวิลล์ พ.ศ. 2195 (ค.ศ. 1652)

Partie de l’Inde au delà du Gange และ Presqv-isle de l’Inde au delà du Gange

แผนที่ Partie de l’Inde au delà du Gange และ Presqv-isle de l’Inde au delà du Gange (ขนาด 190 x 252 มม.) โดย นิโคลาส์ ซองซอง ดับเบวิลล์ (Nicolas Sanson d’Abbeville) “นักภูมิศาสตร์แห่งราชสำานัก” (Geographe du Roy) ชาวฝรั่งเศส จากสมุดแผนที่ L’Asie en plusiers cartes nouvelles พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2195 (ค.ศ. 1652) ตรงกับปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรืออยุธยาตอนปลาย แผนที่พิมพ์ซ้ำาที่กรุงปารีส พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) และ พ.ศ. 2210 (ค.ศ. 1667) ดังที่กล่าวมาแล้ว คำาว่า Inde หรือ India ในที่นี้ เป็นชื่อที่ชาวยุโรปใช้เรียกดินแดนนี้มาแต่โบราณ มีความหมายไม่เฉพาะเพียง “ชมพูทวีป” หรือ “ประเทศอินเดีย” เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมดินแดนระหว่าง “ชมพูทวีป” กับมหาจักรวรรดิจีน ดังนั้นจึงมีคำาขยายความอีกว่า l’Inde au delà du Gange ถอดความว่า “อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา” ซึ่งก็หมายถึงอุษาคเนย์ นั่นเอง นี่เป็นแผนที่สองแผ่นประกบคู่กัน แผ่นซ้ายครอบคลุมพื้นที่จากอินเดียถึงจีนตอนใต้ และส่วนที่เป็นพม่า-สยามตอนบน-เวียดนาม-กัมพูชา โดยปรากฏแว่นแคว้นที่บางแห่งก็มีพรมแดน บางแห่งก็ไม่ปรากฏอย่างแจ้งชัด ที่น่าสนใจคือ สยามภาคกลางและเหนือ มีชื่อเมืองปรากฏ เช่น สุโขทัย (Sacottay) และอยุธยา (Odiaa als Aiothia) แผ่นขวาครอบคลุมพื้นที่ตามแนวชายฝั่งอ่าวสยามและทะเลอันดามัน โดยระบุเมืองท่าสำาคัญ เช่น อ่างหิน หรือ อ่างศิลาในชลบุรี? (Ogmo) มะริด (Mirgim) ตะนาวศรี (Tanacerim) ภูเก็ต (Iuncalaon) กุย (Cin) มะเดื่อ หรือ ชุมพรในปัจจุบัน (Berdio) ปากน้ำาหลังสวนในชุมพร? (Patanor) ขนอมในสุราษฎร์ธานี? (Cornane) นครศรีธรรมราช (Ligor) พัทลุง (Bordelong) สงขลา (Singora) เคดะห์ (Queda) และปัตตานี (Patane) ที่สำาคัญ เป็นแผนที่ฉบับพิมพ์แผ่นแรกที่ระบุชื่อและตำาแหน่งของบางกอก (Banckock) และอ่าวสยาม (Golfe de Sian) เลยจากสยามไป ก็มีตังเกี๋ย (Tunquin) จามปา (Chiapaa) และกัมพูชากับเมืองหลวงละแวก (CAMBOIA, Rauecca)

Page 49: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 37

แผนที่อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา ฉบับซองซอง ดับเบวิลล์ พ.ศ. 2195 (ค.ศ. 1652) (Partie de l ’Inde au delà du Gange และ Presqv-isle de l ’Inde au delà du Gange) (ธวช)

Page 50: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

38 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 51: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 39

Page 52: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

40 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 53: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 41

Page 54: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

42 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(8)แผนที่ใหม่ของ “อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา” โดย โรเบิร์ต มอร์เด็น (Robert Morden)

พ.ศ. 2223 (ค.ศ. 1680)A New Map of India beyond Ganges

แผนที่ A New Map of India beyond Ganges (ขนาด 124 x 105 มม.) โดย โรเบิร์ต มอร์เด็น (Robert Morden) นักแผนที่ชาวอังกฤษ จากหนังสือ Geography rectified: or, a description of the world พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศองักฤษ พ.ศ. 2223 (ค.ศ. 1680) ตรงกบัปลายรชัสมยัสมเดจ็พระนารายณม์หาราช หรอือยธุยาตอนปลาย พิมพ์ซ้ำาที่กรุงลอนดอน พ.ศ. 2231 (ค.ศ. 1688) พ.ศ. 2236 (ค.ศ. 1693) และ พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) นี่เป็นแผนที่สยามแผ่นแรกที่พิมพ์โดยชาวอังกฤษและพิมพ์ขึ้นที่เกาะอังกฤษ แผนที่ให้ชื่อแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ หรือคาบสมุทรอินโดจีน ว่า India beyond Ganges หรือ “อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา” อันเป็นชื่อเรียกดินแดนที่ตั้งของสยามและประเทศอื่นๆ ในแถบนี้มาแต่โบราณ ชื่ออื่นๆ ที่ชาวยุโรปใช้เรียกแผ่นดินสยามในอดีตคือ แผ่นดินทอง (Regio aurea) และ Macin (มหาจีน?) เมืองสำาคัญที่ปรากฏในแผนที่คือ สุโขทัย (Sacotai) เมาะตะมะ (Martaban) มะริด (Mirgin) เพชรบรุ ี(Pipili) ตะนาวศร ี(Tanacerim) ภเูกต็ (Iuncalaon) นครศรธีรรมราช (Ligor) ไทรบรุ ี(Queda) ปตัตาน ี(Palane) สงขลา (Singora) บางกอก (Banckok) และ กรุงศรีอยุธยา (Siam) นอกจากนี้ ยังเป็นแผนที่สยามแผ่นแรกที่ระบุตำาแหน่งของเมืองสิงขร? (Tulingu) เหนือตะนาวศรี เมืองสำาคัญบนเส้นทางข้ามคาบสมุทรระหว่างทะเลอันดามันและอ่าวสยาม ข้อที่น่าสังเกตและพึงระวังในการ “อ่าน” แผนที่แผ่นนี้คือ การระบายสีเพื่อกำาหนดพรมแดนของอาณาจักรต่างๆ เช่น เบงกอล (Bengala) อารกัน หรือ ยะไข่ (Aracan) พะโค (Pegu) มะละกา (Malacca) สยาม (SIAM) กัมพูชา (CAMBODIA) จามปา (CHIAMPA) โคชินจีน (Cochin China) ตังเกี๋ย (TONQUIN) รวมทั้งเกาะไหหลำา (Ainan) และเกาะสุมาตรา (SUMATRA) การระบายสีโดยนักเขียนแผนที่อาจสร้างความสับสนในเรื่องของอาณาเขตและพรมแดน ของแต่ละรัฐหรืออาณาจักร ก็เป็นได้ ในกรณีนี้ ผู้ระบายสีแผนที่แบ่ง “สยาม” ออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนสีเหลืองและส่วนสีเขียว โดยมีแม่น้ำาเจ้าพระยา (Menam R.) คั่นกลาง น่าสังเกตอีกว่า พรมแดนสยามตอนบนสิ้นสุดที่ (แต่ไม่รวม) สุโขทัย (Sacotai)

Page 55: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 43

แผนที่ใหม่ของอินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา โดย โรเบิร์ต มอร์เด็น (Robert Morden) พ.ศ. 2223 (ค.ศ. 1680) (ธวช)

Page 56: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

44 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(9)แผนที่ “อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา”

โดย จาคโคโม คานเตลลี ดา วิญโญลา (Giacomo Cantelli da Vignola)

พ.ศ. 2226 (ค.ศ. 1683)Penisola dell India di là dal Gange

แผนที่ Penisola dell India di là dal Gange (ขนาด 528 x 408 มม.) โดย จาคโคโม คานเตลลี ดา วิญโญลา (Giacomo Cantelli da Vignola) นักแผนที่ชาวอิตาลี แม้แผนที่จะระบุที่กรอบจารึกตรงมุมขวาล่างว่าเขียนเมื่อ พ.ศ. 2226 (ค.ศ. 1683) แตป่รากฏครัง้แรกในสมดุแผนที ่Mercvrio geografico พมิพค์รัง้แรกทีก่รงุโรม ประเทศอติาล ีราว พ.ศ. 2227 (ค.ศ. 1684) หรือราวปีถัดมา ตรงกับปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรืออยุธยาตอนปลาย แผนที่พิมพ์ซ้ำาที่กรุงโรม ราว พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) และ พ.ศ. 2235 (ค.ศ. 1692) นี่เป็นแผนที่แผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ที่มีสยามอยู่ตรงกลาง และมีส่วนที่เป็นคาบสมุทร คือ แหลมมลายูและเกาะสุมาตรา และเป็นแผ่นแรกที่พิมพ์โดยชาวอิตาลี ประดับด้วย “กรอบจารึก” (cartouche) ที่วิจิตรพิสดาร ขนาบด้วยภาพลายเส้นชายมุสลิมกำาลังหยอกล้อกับเสือดาว เป็นแผ่นแรกที่ระบุตำาแหน่งของละโว้ (Lauo) และปราณบุรี (Pra) และเป็นแผ่นแรกๆ ที่แสดงอาณาเขตของอาณาจักรโบราณในอุษาคเนย์ โดยใช้คำาว่า “Regno di ...” (คำาอิตาเลียนหมายถึง “อาณาจักรแห่ง...”) มีการระบายสีแบ่งพรมแดนอย่างชัดเจน อาทิ อาณาจักรยะไข่หรืออารกัน (REGNO D ARACAN) อาณาจักรพะโค (REGNO DI PEGV) ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองพะโค (หงสาวดี) และมีพรมแดนครอบคลุมไปถึงเชียงใหม่ (Iancoma) อาณาจกัรองัวะ (Regno d’Aua) อาณาจกัรพมา่ (Regno di Brema) อาณาจกัรเมาะตะมะ (Regno di Martaban) อาณาจักรตะนาวศรี (Regno di Tanasserin) อาณาจักรกัมพูชา (REGNO DI CAMBODIA) ที่มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองละแวก (Lauuech) อาณาจักรโคชินจีน (REGNO DI COCINCINA) อาณาจักรตังเกี๋ย (REGNO DI TVNQVIN) และอาณาจักรจามปา (REGNO DI CIAMPAA) ทั้งยังแสดงอาณาจักรต่างๆ ที่ปลายคาบสมุทรมลายู อาทิ ปัตตานี (Regno di Patane) และเคดาห์หรือไทรบุรี (Regno di Queda) น่าสนใจที่ว่าสำาหรับอาณาจักรสยาม หรือ REGNO DI SIAN นั้น มีชื่อ เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า “สยาม โอเดีย หรือ อโยธยา” (Sian ats Odia et Aiothia) บางกอก (Bankok) ปรากฏเด่นชัดในฐานะเมืองหน้าด่านบริเวณปากอ่าวสยาม (Golfo di Sian) สำาหรบัพรมแดนรอบๆ ของสยาม ถกูเขยีนใหพ้รมแดนดา้นตะวนัออกตดิอาณาจกัรกมัพชูา สว่นพรมแดนทางดา้นเหนอืเลยเมอืงสโุขทยัไปไมไ่กลนกั และไมค่รอบคลมุถงึเชยีงใหม ่(Iancoma) และทางดา้นตะวนัตกแมจ้ะมพีรมแดนตดิทะเลอันดามัน แต่ก็ไม่รวมอีกสองอาณาจักร คือ เมาะตะมะ และตะนาวศรี ส่วนทางด้านใต้แม้แผนที่จะระบายเส้นพรมแดนสีเหลืองไปจนจรดอาณาจักรมะละกา ยะโฮร์ และเกาะสิงคโปร์ (Regno di Malaca, Regno di Ihor, Sincapura I.) แต่ก็มีเสน้ประแสดงพรมแดนระหวา่งสยามกบัอาณาจกัรปตัตานแีละไทรบรุ ีสรปุวา่ในแผนทีแ่ผน่นี ้อาณาเขตทางทศิใตข้องสยามสิ้นสุดที่สงขลา (Singora)

Page 57: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

แผนที่อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา โดย จาคโคโม คานเตลลี ดา วิญโญลา (Giacomo Cantelli da Vignola) พ.ศ. 2226 (ค.ศ.

1683) (Penisola dell India di là dal Gange) (ธวช)

Page 58: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

46 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 59: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 47

Page 60: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

48 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 61: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 49

Page 62: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

50 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(10)แผนที่ “ราชอาณาจักรสยาม”

โดย ปิแอร์ ดูวัล (Pierre Duval) พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686)

Carte du Royaume de Siam

แผนที่ Carte du Royaume de Siam (ขนาด 478 x 336 มม.) โดย ปิแอร์ ดูวัล (Pierre Duval) นักแผนที่ชาวฝรั่งเศส พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686) ตรงกับปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรืออยุธยาตอนปลาย นี่เป็นแผนที่แผ่นแรกที่เขียนหลังการเข้ามากรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ของราชทูตฝรั่งเศส เชวาลิเยร์ เดอ โชมองต์ (Alexandre Chevalier de Chaumont พ.ศ. 2183-2253/ค.ศ. 1640-1710) ท่านราชทูตผู้มีชื่อเสียงโด่งดังผู้นี้ เป็นผู้แทนพระองค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ท่านราชทูตพร้อมด้วยบาทหลวงสำาคัญ 3 รูป คือ บาทหลวง เดอชัวซี (Abbé de Choisy คณะเยซูอิต) บาทหลวงกีย์ ตาชาร์ด และบาทหลวงเบนีน วาเชต์ (Guy Tachard, Father Bénigne Vachet: Société des Missions Étrangères de Paris) ได้เข้าเฝ้าและถวายพระราชสาส์นแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท กรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) คณะราชทูตของฝรั่งเศสชุดนี้มีจุดประสงค์ที่จะโน้มน้าวให้สมเด็จพระนารายณ์ฯ หันไปนับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก พร้อมทั้งการได้เมืองมะริด และบางกอกเป็นของฝรั่งเศสด้วย และก็เป็นผู้นำาราชทูตสยามชุดของออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) เมืองอาณานิคม ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ในปีถัดมา ราชทูตสยามชุดโกษาปาน กลับคืนสู่กรุงศรีอยุธยาพร้อมด้วยคณะราชทูตฝรั่งเศสชุดต่อมา คือ ชุดของเซเบเรต์ (Claude Céberet du Boullay) และซิมง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de la Loubère) ในปี พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) แผนที่ฉบับนี้มีความวิจิตรตระการตา ประดับประดาด้วยภาพลายเส้นแสดงขบวนเรือกำาปั่นของคณะราชทูตฝรั่งเศส 2 ลำา คือ L’Oiseau และ La Maligne ที่แล่นอ้อมทวีปแอฟริกา ผ่านแหลมกู๊ดโฮป เข้ามายังมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน ผ่านช่องแคบซุนดา (Destroit de La Sonde) เข้ามาในอ่าวสยาม (Golfe de Siam) เรือพระที่นั่งฯ และช้างเผือกคู่บารมีแห่งพระเจ้ากรุงสยาม แผนที่นี้ มีความเหมือนกับแผนที่ในยุคสมัยเดียวกัน ที่เราได้เห็นมาแล้ว (แผนที่หมายเลข 6-7-8) กล่าวคือ มีการแสดงพรมแดนของอาณาจกัรตา่งๆ พรอ้มทัง้ระบายสแีบง่แยกใหเ้หน็ชดัอกีดว้ย ดงันัน้ อาณาจกัรสยาม หรอื Royaume de Siam ก็มีพรมแดนทางเหนือจรดอาณาจักรพะโค (Royaume de Pegu) ทางตะวันออกจรดอาณาจักรลาว (Lao Royaume) และอาณาจักรกัมพูชา (R. de Camboia) ส่วนพรมแดนทางใต้สิ้นสุดและรวมถึงเคดะห์หรือไทรบุรี (Queda) ในขณะที่ปัตตานี ปาหัง เปรัก และมะละกา (Patane, Pahang, Pera, Malaca) อยู่นอกอาณาเขตสยาม น่าสนใจที่ว่าเมืองสำาคัญๆ ที่ปรากฏในแผนที่นี้ มีทั้งกรุงศรีอยุธยา (SIAM al IUDIA) ละโว้ (Louvo) พิษณุโลก (Porcelut) ชัยนาท (Chenat) พระบาท (สระบุรี) (Prabat) สามโคก (ปทุมธานี) (Sancok) ตลาดแก้ว (นนทบุรี) (Tlakieu) และบางกอก (BancoK) ฯลฯ และในส่วนของชายฝั่งทะเลอันดามันนั้น แผนที่วาดให้ดินแดนตั้งแต่ เมาะตะมะ ทวาย มะริด ตะนาวศรี และเคดะห์หรือไทรบุรี (Martaban, Tavay, Mirgin, Tanacerin, Queda) อยู่ในอาณาเขตของสยาม แผนที่แผ่นนี้เป็นที่หมายปองและมีราคาสูงในหมู่นักประวัติศาสตร์และนักสะสม เพราะมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวิจิตรศิลป์ แผนที่มีทั้งฉบับที่เขียนโดยดูวัลและโดยบาทหลวงพลาซิด (R.P. Placide) นกัแผนทีช่าวฝรัง่เศส : ซึง่พมิพท์ีก่รงุปารสีในปเีดยีวกนั ทัง้ยงัปรากฏซ้ำาในสมดุแผนที ่Carte de geographie โดยบาทหลวงพลาซิด พิมพ์ราว พ.ศ. 2257 (ค.ศ. 1714) แม้แผนที่จะมีการพิมพ์ขึ้นหลายครั้งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 แต่ก็นับเป็นแผนที่ราชอาณาจักรสยามที่หายากที่สุด เป็นที่ต้องการที่สุด และมีมูลค่าสูงสุดในปัจจุบัน

Page 63: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 51

ภาพจำาลองเหตุการณ์ที่ราชทูตฝรั่งเศส เชวาลิเยร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont) ผู้แทนพระองค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พร้อมด้วยบาทหลวงสำาคัญ 3 รูป คือ บาทหลวงเดอชัวซี (Abbé de Choisy คณะเยซูอิต) บาทหลวงกีย์ ตาชาร์ด และบาทหลวงเบนีน วาเชต์ (Guy Tachard, Father Bénigne Vachet: Société des Missions Étrangères de Paris) เข้าเฝ้าและถวายพระราชสาส์นแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท กรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ด้านล่างซา้ยออกญาวชิเยนทร ์(ฟอลคอน) หมอบกรานเขา้เฝา้อยูด่ว้ย พรอ้มแสดงมอืสง่สญัญาณใหร้าชทตูฝรัง่เศสยืน่พระราชสาสน์ใหส้งูขึน้ไปถึงพระหัตถ์ของพระองค์

Page 64: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764
Page 65: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

แผนที่ราชอาณาจักรสยาม โดย ปิแอร์ ดูวัล (Pierre Duval) พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686) Carte du Royaume de Siam (ธวช)

Page 66: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

54 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 67: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 55

Page 68: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

56 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 69: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 57

Page 70: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

58 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 71: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 59

Page 72: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

60 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(11)แผนที่ “ราชอาณาจักรสยาม”

โดย วินเช็นโซ มาเรีย โคโรเนลลี (Vincenzo Maria Coronelli)

พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687)Royaume de Siam,

avec les Royaumes qui luy sont Tributaires

แผนที่ Royaume de Siam, avec les Royaumes qui luy sont Tributaires (ขนาด 613 x 451 มม.) โดย วินเช็นโซ มาเรีย โคโรเนลลี (Vincenzo Maria Coronelli) นักแผนที่ชาวอิตาลี จัดพิมพ์โดย ฌอง บัปติสต์โนแลง ( Jean Baptiste Nolin) ที่กรุงปารีส พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687 ระบุปีพิมพ์ที่ด้านล่างของกรอบจารึก) มีจำาหน่ายทั้งฉบับแยกพิมพ์ และรวมอยู่ในหนังสือ Histoire naturelle et politique du Royaume de Siam แต่งโดย นิโคลาส์ แชรแวส (Nicolas Gervaise) หรือจดหมายเหตุแชรแวส พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2231 (ค.ศ. 1688) ตรงกับปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรืออยุธยาตอนปลาย พิมพ์ซ้ำาที่กรุงปารีสในปีถัดมา แผนที่นี้เขียนโดยอาศัยข้อมูลจากนักบวชเยซูอิต ที่เข้ามาสยามพร้อมคณะราชทูตฝรั่งเศส เดอ โชมองต์ ใน พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) เมื่อเปรียบเทียบกับแผนที่ Carte du Royaume de Siam ที่เขียนในปีก่อนหน้า แผนที่โดย โคโรเนลลีอาจด้อยกว่าในแง่สุนทรียรส แต่ก็แทนที่ด้วยข้อมูลภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ดนิแดนทีเ่ปน็เมอืงขึน้หรอื “รฐับรรณาการ” ทีอ่ยูท่างใตข้องเมอืงหลวงของสยาม รายละเอยีดทีน่า่สนใจคอื แมแ้ตก่ารสะกดชื่อกรุงศรีอยุธยาด้วยอักษรฝรั่งเศส ก็ใช้ตัวสะกดที่หลากหลายดังนี้ JUDTIJA, ODIAN, JUDIA และ UPIA นอกจากนี ้นีเ่ปน็แผนทีร่าชอาณาจกัรสยามแผน่แรกทีร่ะบตุำาแหนง่ปอ้มปราการของเมอืงหนา้ดา่นตัง้แตป่ากอา่วสยามเรือ่ยจนถงึกรงุศรอียธุยา ไดแ้ก ่ปอ้มเพชรบรุ ี(Pipelis Forteresse) ปอ้มทีบ่รเิวณคลงัสนิคา้บางปลากด (Demeure des Hollandois) ปอ้มบางกอก (Forteresse de Bankok ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำาเจ้าพระยา) ป้อมตลาดแก้ว (Fort Tlakieu ทั้งสองฝั่งแม่น้ำา) และป้อมตลาดขวัญ (Tlaquan) แผนที่แสดงตำาแหน่งหัวเมืองและแม่น้ำาสายต่างๆ ตลอดชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวสยามจนถึงละโว้ (LOUVO, Maison Royale) ทั้งยังระบุเส้นทางเรือของคณะราชทูตฝรั่งเศสจากกรุงปัตตาเวีย (BATAVIA, ou IACATRA) สู่กรุงศรีอยุธยา โปรดสังเกตบรรดาอาณาจักรที่แวดล้อมอาณาจักรสยาม (LE ROYAUME DE SIAM) อยู่คืออาณาจักรเมาะตะมะ (ROY[AUME] DE MARTABAN) อาณาจักรกัมพูชา (ROYAUME DE CAMBOYE) อาณาจักรตังเกี๋ย (TUNQUIN) อาณาจักรโคชินจีน (COCHINCHINE) อาณาจักรจามปา (ROY[AUME] DE CIAMPA) และอาณาจักรมะละกา (MALACCA, ou SORNAU) อย่างไรก็ตาม แผนที่ไม่ครอบคลุมพื้นที่ทางเหนือของสยาม เพราะก่อนหน้านั้นแทบไม่เคยมีผู้ใดได้ไปสำารวจดินแดนแถบนั้น จะมีก็แต่เพียง ราล์ฟ ฟิทช์ (Ralph Fitch) พ่อค้าชาวอังกฤษที่แวะเยือนเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2130 (ค.ศ. 1587) อนึ่ง แม้จะเป็นแผนที่โดยชาวอิตาลีที่ทำางานให้กับราชสำานักฝรั่งเศส แต่ก็ให้ความสำาคัญกับบทบาทของฮอลันดาในสยาม โดยแผนที่ระบุตำาแหน่งบ้านฮอลันดาใต้กรุงศรีอยุธยา (Dem. des Hollandois) และคลังสินค้า “อัมสเตอร์ดัม” ที่บางปลากด (Demeure des Hollandois) ใกล้ปากแม่น้ำาเจ้าพระยา นับเป็นแผนที่ฝรั่งที่ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสยามในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ดีที่สุด แผนที่สยามที่พิมพ์ขึ้นภายหลัง ไม่ว่าจะโดย ปิแอร์ มอร์ติเยร์ (Pierre Mortier, พ.ศ. 2243/ค.ศ. 1700) อองรีอับราฮัม ชาเทอลอง (Henri Abraham Châtelain, พ.ศ. 2262/ค.ศ. 1719) หรือ โยอาฮิม อ็อตเท็นส์ (Joachim Ottens,

Page 73: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 61

ราว พ.ศ. 2273/ค.ศ. 1730) ล้วนใช้แผนที่แผ่นนี้เป็นแม่แบบ สังเกตว่าในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (หรือหลังจากนั้นไม่นาน) มีการพิมพ์แผนที่สยามขนาดใหญ่ถึงสี่ครั้ง คือ แผนที่โดย วิญโญลา โดย ดูวัล โดย พลาซิด และโดย โคโรเนลล ีทัง้ยงัมกีารจดัพมิพจ์ดหมายเหตเุกีย่วกบัสยามออกเผยแพรใ่นยโุรปอกีหลายฉบบั อาท ิจดหมายเหตโุดยราชทตูเดอ โชมองต์ (พ.ศ. 2229/ค.ศ. 1686) จดหมายเหตุโดยบาทหลวงตาชาร์ด (พ.ศ. 2229/ค.ศ. 1686 และ พ.ศ. 2232/ค.ศ. 1689) จดหมายเหตุโดย บาทหลวงแชรแวส (พ.ศ. 2231/ค.ศ. 1688) และจดหมายเหตุโดย ราชทูตเดอ ลาลูแบร์ (พ.ศ. 2234/ค.ศ. 1691) ฯลฯ แผนที่และจดหมายเหตุเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองและความสำาคัญของสยามในสายตาของชาวยุโรปสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี

Page 74: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764
Page 75: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

แผนที่ราชอาณาจักรสยาม โดย วินเช็นโซ มาเรีย โคโรเนลลี (Vincenzo Maria Coronelli) พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) (ธวช)

Page 76: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

64 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 77: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 65

Page 78: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

66 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 79: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 67

Page 80: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

68 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(12)แผนที่ “ราชอาณาจักรสยาม”

โดย เมอซิเออร์ เดอ ลามาร์ และ ซิมง เดอ ลาลูแบร์ พ.ศ. 2234 (ค.ศ.1691)

Carte du Royaume de Siam

แผนที่ Carte du Royaume de Siam (ขนาด 337 x 166 มม.) โดย เมอซิเออร์ เดอ ลามาร์ (M. de la Mare) วิศวกรชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามารับราชการในสยาม ช่วงปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมา ซิมง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de la Loubère) ราชทตูฝรัง่เศสทีเ่ขา้มาสยามในเวลาไลเ่ลีย่กนั ไดน้ำามาปรบัปรงุเพือ่พมิพล์งในหนงัสอื Du royaume de Siam par Monsieur de La Loubere หรือ “จดหมายเหตุ เดอ ลาลูแบร์” พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2234 (ค.ศ. 1691) ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา หรืออยุธยาตอนปลาย แผนที่สยามโดย เดอ ลามาร์/เดอ ลาลูแบร์ ภายใต้ชื่อนี้ พิมพ์ใหม่เป็นภาษาฝรั่งเศสที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปีเดียวกัน (แต่ใช้แม่พิมพ์ต่างกัน) และ พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) พ.ศ. 2256 (ค.ศ. 1713) และ พ.ศ. 2257 (ค.ศ. 1714) ทั้งยังพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2236 (ค.ศ. 1693) โดยใช้ชื่อแผนที่ว่า A Mapp of the Kingdome of Siam คณะราชทตูฝรัง่เศสชดุทีส่องทีน่ำาโดย เซเบเรต ์(Claude Céberet du Boullay) ผูอ้ำานวยการบรษิทัอนิเดยีตะวนัออกของฝรั่งเศส และ เดอ ลาลูแบร์ นี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากคณะราชทูตชุดแรกของ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont) ซึ่งได้เข้าเฝ้าและถวายพระราชสาส์นต่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในปี พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) คณะราชทูตฝรั่งเศสชุดที่สองนี้ เป็นผู้นำาคณะราชทูตสยามชุดของโกษาปานกลับมาพร้อมกันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) แผนที่แสดงอาณาเขตหรือพรมแดนของสยาม โดยแบ่งออกเป็น “สยามตอนบน” หรือ Haut Siam กับ “สยามตอนล่าง” หรือ Bas Siam “สยามตอนบน” คืออาณาบริเวณที่อยู่เหนือกรุงศรีอยุธยาขึ้นไปตามแม่น้ำาเจ้าพระยา (Menam) ตามลำาดับ คือ ชัยนาท (Tchainat) นครสวรรค์ (Laconsevan) กำาแพงเพชร (Campengpet) สุโขทัย (Socotàï) พิษณุโลก (Porselouc) สวรรคโลก (Sanquelouc) พิชัย (Pitchiàï) ละครไท/นครไทย (Locontàï) เมืองฝาง (Meuangfang) เหนือสุดของสยาม คือ แม่ตาก (Metac) โดยที่ เชียงใหม่ (Chiamàï) อยู่นอกเส้นประของอาณาจักรสยาม และอยู่สุดขอบของแผนที่นี้ ในส่วนของดินแดนที่อยู่ระหว่าง “สยามตอนบน” กับ “สยามตอนล่าง” และเยื้องไปทางทิศตะวันออกนั้น พรมแดนจะสิ้นสุดและจรดกับ “อาณาจักร” อื่นๆ คือ “ล้านช้าง เมืองหลวงของลาว” (Lantchang Cap.le de Laos) ที่อยู่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำาของ หรือ โขง (Mecon R) กับอาณาจักรของกัมพูชา (Camboya) ผู้เขียนแผนที่นี้ มีความรู้ทางสภาพภูมิศาสตร์ของลาวหรือกัมพูชาค่อนข้างจำากัด เช่น แม่น้ำาของ-โขงดูจะไหลเป็นเส้นตรง ไม่มีหักโค้งลดเลี้ยวแต่อย่างใด แล้วก็ออกสู่ทะเลไปตรงบริเวณใกล้ๆ กับที่เรียกว่า “แหลมกัมพูชา” (Cap. de Camboya) ดังนั้น ดินแดนทางด้านนี้จึงไม่ปรากฏภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยกเว้น Corazema ซึ่งน่าจะหมายถึง “โคราชสีมา” (นครราชสีมา หรือ โคราช) และทางทิศตะวันออกมี Periou และ Bangplasói (แปดริ้ว หรือ ฉะเชิงเทรา และ บางปลาสร้อยในจังหวัดชลบุรีปัจจุบัน) และก็สิ้นสุดที่เมืองและแม่น้ำา Chante Bon ซึ่งก็น่าจะหมายถึง “จันทบูร” หรือ “จันทบุรี” นั่นเอง สำาหรับ “สยามตอนล่าง” หรือ Bas Siam ไล่เลาะลงไปทางทิศใต้จาก Siam หรือกรุงศรีอยุธยานั้น ก็จะมีเมืองสำาคัญ คือ Bancok (บางกอก) Prapri (ราชบุรี) Pipeli (เพชรบุรี) Pram (ปราณ) Coüil (กุย) Merguy (มะริด) Tenasserim (ตะนาวศรี) Ialingue (จาลิง ซึ่งอาจหมายถึงด่านสิงขร?) Clàï (ไชยา?) Bangeri (บางคลี ชื่อเดิมของเมืองถลางในสมัยอยุธยา ปัจจุบันคือตำาบลบางคลี ขึ้นกับอำาเภอตะกั่วทุ่งในจังหวัดพังงา) Ligor (ลิกอร์ หรือ นครศรีธรรมราช) Isle de Iunsalam (Junk Ceylon หรือ เกาะภูเก็ต) Bordelong (พัทลุง) Singor (สงขลา) เป็นอันสุดแดนสยาม จากนั้นเป็นเส้นประ ... แล้วก็มีเมืองสำาคัญ คือ Patane และ

Page 81: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 69

Queda (ปัตตานีและเคดะห์) ขอแทรกตรงนี้ว่า ในแผนที่ฉบับที่เหมือนกันนี้ (A Map of the Kingdome of Siam) ซึ่งพิมพ์ที่กรุงลอนดอน ไม่มีเส้นประหรือพรมแดนระหว่างสยามกับ Patane และ Queda (ปัตตานีและเคดะห์) ในเรื่องเกี่ยวกับอาณาเขตหรอืดนิแดนนี ้หากเราจะศกึษาเปรยีบเทยีบกบัแผนทีอ่ืน่ๆ ในสมยัเดยีวกนั กจ็ะเหน็ไดว้า่ขณะทีแ่ผนทีโ่ดยดวูลัและพลาซิต พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686) วางตำาแหน่งเมาะตะมะ และเคดะห์ไว้ในสยาม และแผนที่โดยโคโรเนลลี พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) ระบุว่าทั้งเคดะห์และปัตตานี อยู่ในเช่นกัน แต่เมาะตะมะกลับอยู่นอกอาณาเขตสยาม ข้อมูลสำาคัญที่ปรากฏครั้งแรกคือ เส้นทางโบราณจากเมืองท่าฝั่งอันดามัน สู่อ่าวสยามโดยผ่านตะนาวศรีและเมือง Ialingue (ด่านสิงขร?) จดหมายเหตุฝรั่งเศสฉบับแรกสุด ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสยาม (Relation du voyage ... Par M. De Bourges) โดย ฌาค เดอ บูร์เฌอร์ ( Jacques de Bourges) พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณม์หาราช ระบวุา่เปน็เสน้ทางทีช่าวฝรัง่เศสใชเ้พือ่เลีย่งการเผชญิหนา้กบัคูแ่ขง่ชาวโปรตเุกสและฮอลนัดา ปจัจบุนัไดม้ีความพยายามทีจ่ะรือ้ฟืน้เสน้ทางนีด้ว้ยการสรา้ง “แลนดบ์รดิจ”์ เชือ่มเมอืงมะรดิในพมา่ผา่นดา่นสงิขรสูเ่มอืงทา่ฝัง่อา่วสยามที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Page 82: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764
Page 83: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

แผนท

ี่ราชอ

าณาจ

ักรสย

าม โดย

เมอซ

ิเออร

์ เดอ

ลามาร

์ และ

ซิมง

เดอ

ลาลูแ

บร์ พ

.ศ. 2

234

(ค.ศ

. 169

1) (

Car

te d

u R

oyau

me d

e Sia

m) (

ธวช)

Page 84: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

72 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 85: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 73

Page 86: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

74 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 87: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 75

Page 88: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

76 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(13)แผนที่ “อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา”

โดย ปิแอร์ ฟาน เดอ อา พ.ศ. 2256 (ค.ศ. 1713)

L’ Inde de la le Gange

แผนที่ L’ Inde de la le Gange (ขนาด 222 x 298 มม. เฉพาะแผนที่ และ 264 x 384 มม. รวมกรอบประดับ) โดย ปิแอร์ ฟาน เดอ อา (Pierre van der Aa) นักแผนที่ชาวฮอลันดา จากสมุดแผนที่ Le nouveau théatre du Monde, ou la Géographie Royale พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2256 (ค.ศ. 1713) ตรงกับต้นรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หรืออยุธยาตอนปลาย พิมพ์ใหม่ที่เดียวกันในปีถัดมา และที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ราว พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) แผนที่ฉบับพิมพ์ใหม่มีขนาดเล็กกว่าเพราะไร้กรอบประดับ นี่เป็นแผนที่สยามช่วงอยุธยาตอนปลายที่งดงามเป็นพิเศษ โดยเฉพาะภาพลายเส้นแสดงชาวพื้นเมืองอุษาคเนย์ที่ประดับกรอบจารึกบริเวณมุมซ้ายล่าง เต็มไปด้วยชื่อเมือง หมู่เกาะ และแม่น้ำาสายต่างๆ มากมาย และนับเป็นแผนที่สยามโดยชาวฮอลันดาที่หายากที่สุดแผ่นหนึ่ง อาณาเขตของสยามใกล้เคียงกับในแผนที่โดยราชทูตฝรั่งเศส เดอ ลา ลูแบร์ โดยกำาหนดให้พรมแดนทางทิศเหนือหรือ Haut Siam สิ้นสุดที่แม่ตาก (Metac) และเมืองฝาง หรือ สวางคบุรี (Mepang fang) ทิศใต้หรือ Bas Siam ก็ยังคุมทวาย-มะริด-ตะนาวศรี (Tavai-Mergui-Tenacerim) อยู่ และไปสิ้นสุดที่สงขลา (Singor) โดยไม่รวมเคดะห์ (Queda) หรือ ปัตตานี (Patane) ในสว่นทีเ่ปน็พรมแดนของสยาม แผนทีน่ีว้าดใหเ้หน็วา่อาณาจกัรสยาม หรอื Royaume de Siam นัน้แวดลอ้มไปดว้ยอาณาจกัรอืน่ๆ เชน่เดยีวกบัแผนทีใ่นยคุใกลเ้คยีงกนั คอื Roy. du Pegou-Ava-Laos-Camboge-Ciampa-Cochinchine-Tonquin หรืออาณาจักรพะโค-อังวะ-ลาว-กัมพูชา-จามปา-โคชินจีน-ตังเกี๋ย

Page 89: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 77

แผนที่อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา โดย ปิแอร์ ฟาน เดอ อา พ.ศ. 2256 (ค.ศ. 1713) (L’ Inde de la le Gange) (ธวช)

Page 90: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

78 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 91: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 79

Page 92: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

80 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 93: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 81

Page 94: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

82 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 95: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 83

Page 96: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

84 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(14)แผนที่ “อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคาตามประวัติศาสตร์สมัยใหม่”

โดย แฮรมัน โมล พ.ศ. 2268 (ค.ศ. 1725)

India beyond Ganges Agreable to Modern History

แผนที่ India beyond Ganges Agreable to Modern History (ขนาด 255 x 195 มม.) โดย แฮรมัน โมล (Herman Moll) นักแผนที่ชาวเยอรมัน จากหนังสือ Modern History: or, the present state of all nations พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2268 (ค.ศ. 1725) ตรงกับปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หรืออยุธยาตอนปลาย พิมพ์ซ้ำาที่กรุงลอนดอน พ.ศ. 2282 (ค.ศ. 1739) พ.ศ. 2287 (ค.ศ. 1744) และที่กรุงดับลิน เกาะไอร์แลนด์ พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) ปรบัปรงุจากแผนทีเ่ดมิของเขาทีใ่ชช้ือ่ The East Part of India, or India beyond the R. Ganges (พ.ศ. 2255/ค.ศ. 1712) สังเกต “ทะเลสาบเชียงใหม่” (Chaamay L.) ในอาณาจักรอังวะที่ด้านบนของแผนที่ ทะเลสาบในจินตนาการแห่งนี้ (อ้างถึงในจดหมายเหตุปินตู) มีขนาดเล็กลงเมื่อเทียบกับแผนที่อื่นๆ ที่เขียนศตวรรษก่อนหน้า ผู้เขียนระบายสีแผนที่แสดงพรมแดนของอาณาจักรต่างๆ อย่างชัดเจน อาณาเขตสยามในแผนที่นั้น ใกล้เคียงกับแผนที่ “อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคา” ที่เขียนโดย ปิแอร์ ฟาน เดอ อา เมื่อราวทศวรรษก่อนหน้า โดยให้ทิศเหนือสิ้นสุดที่เมืองฝาง (Menang fang) ทิศใต้สิ้นสุดที่สงขลา (Singor) ทิศตะวันออกสิ้นสุดที่นครราชสีมา (Corozena)จันทบูร (Chautebonn) ฯลฯ ทิศตะวันตกครอบคลุมมะริด (Merguy) ตะนาวศรี (Tenasserim) แต่ไม่รวมเมาะตะมะ(Martaban)

Page 97: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

แผนที่อินเดียนอกลุ่มน้ำาคงคาตามประวัติศาสตร์สมัยใหม่ โดย แฮรมัน โมล พ.ศ. 2268 (ค.ศ. 1725) (India beyond Ganges Agreable to Modern History) (ธวช)

Page 98: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

86 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 99: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 87

Page 100: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

88 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

Page 101: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 89

Page 102: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

90 ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยอยุธยา พ.ศ. 2085-2307

(15)แผนที่ “ราชอาณาจักรสยาม-ตังเกี๋ย-พะโค-อังวะ-อารกัน”

โดย ฌาค นิโคลาส์ เบลเลง พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764)

Carte des Royaumes de Siam de Tunquin Pegu, Ava Aracan. &c

แผนที่ Carte des Royaumes de Siam de Tunquin Pegu, Ava Aracan. &c (ขนาด 265 x 264 มม.) โดย ฌาค นิโคลาส์ เบลเลง ( Jacques Nicolas Bellin) นักแผนที่ชาวฝรั่งเศส จากสมุดแผนที่ Le Petit atlas maritime ภาคที่ 3 พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) ตรงกับปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ นี่เป็นแผนที่สุดท้ายที่พิมพ์ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีของสยาม ก่อนที่จะเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 (ค.ศ. 1767) หรอือกีเพยีง 3 ปตีอ่มาเทา่นัน้ แผนทีน่ีป้รบัปรงุจากแผนทีช่ือ่เดยีวกนัทีเ่บลเลงเขยีนตัง้แต ่พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749) ดังนั้น สิ่งที่น่าสังเกตจากแผนที่ฉบับนี้ ก็คือ ในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยานั้น เราก็จะทราบได้ว่ามีอาณาจักรต่างๆ ที่ร่วมสมัยกันอยู่ดังต่อไปนี้ คือ Royaume d Aracan-Ava-Pegu-Siam-Laos-Camboie-Tunquin-Cochinchine หรือ อารกัน-อังวะ-พะโค-สยาม-ลาว-กัมพูชา-ตังเกี๋ย-โคชินจีน เมืองฝาง (Mevangfong) ในแผนที่นี้อยู่นอกอาณาเขตสยาม ที่น่าสังเกตอย่างยิ่งคืออาณาจักรจามปาได้หายไปจากแผนที่แล้ว (หายไปตั้งแต่แผนที่สยาม พ.ศ. 2292/ค.ศ.1749 โดย เบลเลง) และน่าสังเกตอีกว่า บางกอก ไม่ปรากฏในแผนที่ และไม่อยู่ในแผนที่สยามแผ่นแรกของเขาเช่นกัน

Page 103: Map of Siam- Ayutthaya Period 1542-1764

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 91

แผนที่ราชอาณาจักรสยาม-ตังเกี๋ย-พะโค-อังวะ-อารกัน โดย ฌาค นิโคลาส์ เบลเลง พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) (Carte des Royaumes de Siam de Tunquin Pegu, Ava Aracan. &c) (ธวช)