ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ...

44
10-1 หน่วยที10 มาตรการบังคับทางปกครอง รองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ ชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ วุฒิ น.บ. (เกียรตินิยม) น.ม., น.บ.ท., Dr.Jur ตำแหน่ง ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หน่วยที ่เขียน หน่วยที ่ 10

Upload: others

Post on 01-Jan-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-1

หน่วยที่10

มาตรการบังคับทางปกครอง

รองศาสตราจารย์ดร.กมลชัยรัตนสกาววงศ์

ชื่อ รองศาสตราจารย์ดร.กมลชัยรัตนสกาววงศ์

วุฒิ น.บ.(เกียรตินิยม)น.ม.,น.บ.ท.,Dr.Jur

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

หน่วยที่เขียน หน่วยที่10

Page 2: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-2

แผนผังแนวคิดหน่วยที่10

มาตรการบังคับ

ทางปกครอง

10.1 สภาพปัญหาก่อนมี

และแนวทางในการ

ตราพระราชบัญญัติ

วิธีปฏิบัติราชการทาง

ปกครองพ.ศ.2539

10.2 ประเภทของ

คำสั่งทางปกครอง

ที่ต้องใช้มาตรการ

บังคับทางปกครอง

10.4 หลักเกณฑ์ในการ

ใช้มาตรการบังคับ

ทางปกครอง

10.5 การใช้สิทธิโต้แย้ง

คัดค้านการใช้

มาตรการบังคับ

ทางปกครอง

10.3 หลักเกณฑ์ทั่วไป

10.1.1 สภาพปัญหาก่อนมีพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ

ทางปกครองพ.ศ.2539

10.1.2 แนวทางในการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ

ทางปกครองพ.ศ.2539

10.2.1 คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการเรียกให้ผู้รับ

คำสั่งทางปกครองชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้

10.2.2 คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการกำหนดให้ผู้รับ

คำสั่งทางปกครองกระทำการยอมรับภาระบางอย่าง

หรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

10.3.1 การบังคับทางปกครองจะใช้กับคำสั่งทางปกครอง

ที่ต้องมีการบังคับการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

ของการออกคำสั่งทางปกครอง

10.3.2 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองสามารถบังคับทางปกครอง

ได้เองไม่ต้องฟ้องศาล

10.3.3 ต้องไม่มีกฎหมายหรือคำสั่งอื่นใดให้ทุเลาการบังคับ

10.3.4 ต้องไม่ใช้กับหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ด้วยกัน

10.4.1 วัตถุแห่งการบังคับ

10.4.2 ขั้นตอนและวิธีการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

10.4.3 การใช้มาตรการบังคับทางปกครองต้องพอสมควร

แก่เหตุ

10.5.1 การอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง

10.5.2การใช้สิทธิโต้แย้งทางศาล

Page 3: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-3

หน่วยที่10

มาตรการบังคับทางปกครอง

เค้าโครงเนื้อหาตอนที่10.1 สภาพปัญหาก่อนมี และแนวทางในการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ

ทางปกครองพ.ศ.2539

10.1.1สภาพปัญหาก่อนมีพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

10.1.2 แนวทางในการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

ตอนที่10.2 ประเภทของคำสั่งทางปกครองที่ต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

10.2.1 คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการเรียกให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงิน

ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

10.2.2คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองกระทำ

การยอมรับภาระบางอย่างหรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

ตอนที่10.3 หลักเกณฑ์ทั่วไป

10.3.1การบังคับทางปกครองจะใช้กับคำสั่งทางปกครองที่ต้องมีการบังคับการให้เป็น

ไปตามวัตถุประสงค์ของการออกคำสั่งทางปกครอง

10.3.2เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองสามารถบังคับทางปกครองได้เองไม่ต้องฟ้องศาล

10.3.3ต้องไม่มีกฎหมายหรือคำสั่งอื่นใดให้ทุเลาการบังคับ

10.3.4ต้องไม่ใช้กับหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ด้วยกัน

ตอนที่10.4 หลักเกณฑ์ในการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

10.4.1วัตถุแห่งการบังคับ

10.4.2ขั้นตอนและวิธีการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

10.4.3 การใช้มาตรการบังคับทางปกครองต้องพอสมควรแก่เหตุ

ตอนที่10.5 การใช้สิทธิโต้แย้งคัดค้านการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

10.5.1การอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง

10.5.2การใช้สิทธิโต้แย้งทางศาล

Page 4: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-4

แนวคิด1. เดิมในประเทศไทยการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองกระทำตามแนวทางปฏิบัติที่เคย

ทำกันมา และมีลักษณะไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกทั้ง ประชาชนก็อยู่ในฐานะที่ไม่มี

สิทธิเรียกร้องให้ได้รับการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับทางปกครองของตนหากไม่มีกฎหมาย

บัญญัติรองรับสิทธิของประชาชนไว้อย่างชัดแจ้ง จึงมีการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ

ราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 โดยคณะกรรมการยกร่างกฎหมายวิธีพิจารณาเรื่องใน

ชัน้เจา้หนา้ที่ฝา่ยปกครองที่ได้รบัการแตง่ตัง้จากนายกรฐัมนตรีได้นำกฎหมายวธิีพจิารณา

เรื่องในชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมาเป็นแนวทาง

ในการยกร่างวางหลักเกณฑ์ทั่วไปในการปฏิบัติราชการทางปกครองเพื่อให้เกิดความเป็น

เอกภาพและเป็นหลักในการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่ต้องกระทำการ

ตามกฎหมายปกครองเฉพาะเรื่องต่างๆ และกำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นการคุ้มครองสิทธิ

และเสรีภาพของประชาชนภายใต้หลักนิติรัฐ

2. คำสัง่ทางปกครองที่ตอ้งมีการบงัคบัการให้เปน็ไปตามคำสัง่ทางปกครองสามารถแบง่แยก

ประเภทตามเกณฑ์การบังคับเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการบังคับทางปกครอง ได้แก่

คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการเรียกให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงินตามที่

กฎหมายกำหนดไว้ กับคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทาง

ปกครองกระทำการยอมรับภาระบางอย่างหรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

3. การบังคับทางปกครองมีหลักเกณฑ์ว่า จะไม่ใช้กับคำสั่งทางปกครองที่โดยสภาพไม่ต้อง

มีการบังคับทางปกครอง และกรณีที่คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างร้าย

แรงถึงระดับโมฆะกรรมรวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจที่จะพิจารณาใช้มาตรการ

บังคับทางปกครองเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองของตนได้โดยไม่ต้องฟ้องต่อศาล

ตลอดจนไม่อาจบังคับทางปกครองกับคำสั่งทางปกครองที่ถูกสั่งให้ทุเลาการบังคับและ

เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองย่อมไม่อาจที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองต่อหน่วยงานของ

รัฐได้

4. การกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงินมีขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้อง

ดำเนินการบังคับทางปกครอง ได้แก่ ออกหนังสือเตือนให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระ

เงินภายในระยะเวลาที่กำหนดและยึดหรืออายัดทรัพย์สินและขายทอดตลาดตามลำดับ

โดยนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

Page 5: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-5

ส่วนการกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองกระทำการหรือละเว้นกระทำการมีขั้นตอน

ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องดำเนินการบังคับทางปกครองโดยต้องมีคำเตือนเป็น

หนังสือ และต้องระบุข้อความเกี่ยวกับมาตรการบังคับทางปกครองและค่าใช้จ่าย ได้แก่

ระบุมาตรการบังคับทางปกครองที่จะใช้ให้ชัดแจ้ง และค่าใช้จ่ายในการที่เจ้าหน้าที่เข้า

ดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทนหรือจำนวนค่าปรับทาง

ปกครองแล้วแต่กรณีรวมทั้งกำหนดค่าใช้จ่ายในคำเตือนนอกจากนี้เจ้าหน้าที่จะต้องใช้

มาตรการบังคับทางปกครองที่กำหนดไว้ในคำเตือนหรืออาจใช้กำลังเข้าดำเนินการเพื่อให้

เป็นไปตามมาตรการบังคับทางปกครองได้ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองต่อสู้ขัด

ขวางการบังคับทางปกครอง

5. หากผู้ถูกดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองเห็นว่า เจ้าหน้าที่ดำเนินการตาม

มาตรการทางปกครองที่มิชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิอุทธรณ์การบังคับทางปกครองนั้น

ต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับการอุทธรณ์คำสั่ง

ทางปกครองและอาจใช้สิทธิฟ้องต่อศาลเพื่อเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการกระทำ

ของฝ่ายปกครองได้

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่10จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์สภาพปัญหาก่อนมีพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

พ.ศ. 2539 รวมทั้งแนวทางในการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

พ.ศ.2539ได้

2. อธิบายและวิเคราะห์ถึงประเภทของคำสั่งทางปกครองที่ต้องใช้มาตรการบังคับทาง

ปกครองได้

3. อธิบายและวิเคราะห์ถึงหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองได้

4. อธิบายและวิเคราะห์ถึงหลักเกณฑ์ในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองได้

5. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้สิทธิอุทธรณ์มาตรการบังคับทางปกครองได้

Page 6: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-6

กิจกรรม1.กิจกรรมการเรียน

1)ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่10

2)อ่านแนวการศึกษาประจำหน่วยที่10

3)ทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียนหน่วยที่10

4)ศึกษาเนื้อหาสาระจาก

4.1)แนวการศึกษาหน่วยที่10

4.2)หนังสือประกอบการสอนชุดวิชากฎหมายปกครองชั้นสูง

5)ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

6)ตรวจสอบคำตอบของแต่ละกิจกรรมจากแนวตอบ

7)ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่10

2.งานที่กำหนดให้ทำ

1)ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2)อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากบรรณานุกรม

แหล่งวิทยาการ1. สื่อการศึกษา

1) แนวการศึกษาหน่วยที่10

2) หนังสือประกอบการสอนชุดวิชากฎหมายปกครองชั้นสูง

2.1)รองศาตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ (2543) กฎหมายปกครอง

กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์วิญญูชน

2.2)ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ (2540) กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์จิรรัชการพิมพ์

3) หนังสือตามที่อ้างไว้ในบรรณานุกรม

การประเมินผล1.ประเมินผลจากการสัมมนาเสริมและงานที่กำหนดให้ทำในแผนกิจกรรม

2.ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา

Page 7: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-7

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้เดิมของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง“มาตรการบังคับทางปกครอง”

คำแนะนำ อ่านคำถามต่อไปนี้ แล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างที่กำหนดให้ นักศึกษามีเวลาทำแบบ

ประเมินผลตนเองชุดนี้30นาที

1. จงอธิบายถึงสภาพปัญหาก่อนมีพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

2. จงอธิบายถึงแนวทางในการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

3. จงอธิบายถึงประเภทของคำสั่งทางปกครองที่ต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

Page 8: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-8

ตอนที่10.1

สภาพปญัหากอ่นมีและแนวทางในการตราพระราชบญัญตัิวธิีปฏบิตัิ

ราชการทางปกครองพ.ศ.2539

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่10.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่10.1.1สภาพปัญหาก่อนมีพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

เรื่องที่10.1.2แนวทางในการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

แนวคิด1. ในอดตีการกระทำทางปกครองของเจา้หนา้ที่ฝา่ยปกครองไม่เปน็เอกภาพไมม่ีการคุม้ครอง

สิทธิและเสรีภาพของประชาชน

2. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายกลาง เพื่อให้

เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองปฏิบัติหน้าที่ไปในแนวทางเดียวกัน โดยกำหนดให้มีการคุ้มครอง

สิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากขึ้นโดยเฉพาะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบังคับทางปกครอง

ตามหลักนิติรัฐ

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่10.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธบิายและวเิคราะห์ถงึความเปน็มาและสภาพปญัหาของพระราชบญัญตัิวธิีปฏบิตัิราชการ

ทางปกครองพ.ศ.2539ได้

2. อธิบายและวิเคราะห์ถึงแนวทางในการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

พ.ศ.2539ได้

Page 9: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-9

เรื่องที่10.1.1สภาพปัญหาก่อนมีพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ

ทางปกครองพ.ศ.2539

สาระสังเขปเดิมประเทศไทยไม่มีกฎหมายทั่วไปบัญญัติถึงขอบเขตการใช้อำนาจและวิธีพิจารณาความในเชิง

ของการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองกระทำตามแนวทางปฏิบัติที่เคย

ทำกันมา และคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองซึ่งเป็นเรื่องภายในของฝ่ายปกครอง (res

interna) หรือบางครั้งก็กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติเฉพาะเรื่องที่กระจัดกระจายและมีความหลากหลาย

ด้วยกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไปทำให้การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

อีกทั้งประชาชนได้รับการปฏิบัติจากรัฐเสมือนเป็นวัตถุ(object)ในการใช้อำนาจรัฐทางปกครองที่ไม่มีสิทธิ

เรียกร้องให้ได้รับการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับทางปกครองของตนหากไม่มีกฎหมายบัญญัติรองรับสิทธิของ

ประชาชนไว้อย่างชัดแจ้ง

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือกฎหมายปกครองบทที่ 2 และบทที่ 3 โดยรอง

ศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองบทที่ 8 โดยนาย

ชัยวัฒน์วงศ์วัฒนศานต์)

กิจกรรม10.1.1

ทา่นเหน็วา่ในการปฏบิตัิราชการทางปกครองชัน้เจา้หนา้ที่กอ่นที่จะมีพระราชบญัญตัิวธิีปฏบิตัิ

ราชการทางปกครองพ.ศ. 2539นั้นมีสภาพปัญหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง

หรือไม่อย่างไร

Page 10: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-10

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.1.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.1กิจกรรม10.1.1)

Page 11: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-11

เรื่องที่10.1.2 แนวทางในการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ

ทางปกครองพ.ศ.2539

สาระสังเขปสภาพปัญหาดังที่กล่าวไว้ในเรื่องที่ 10.1.1 เกิดขึ้นในทุกประเทศประเทศที่อยู่ในระบบประมวล

กฎหมาย(CivilLaw)จึงได้ให้ความสำคัญและพยายามแก้ไขปัญหาโดยการตรากฎหมายวิธีพิจารณาเรื่องชั้น

เจา้หนา้ที่ฝา่ยปกครองอนัไดแ้ก่ประเทศออสเตรยีสหพนัธ์สาธารณรฐัเยอรมนีเนเธอรแ์ลนด์สวสิเซอรแ์ลนด์

ยูโกสลาเวียฮังการี เบลเยี่ยมสาธารณรัฐเชคอิตาลีนอร์เวย์และสวีเดนเป็นต้นประเทศไทยก็ได้เห็นถึง

ความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายวิธีพิจารณาชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองนายกรัฐมนตรีจึงได้ออกคำสั่งสำนัก

นายกรัฐมนตรีที่194/2534ลงวันที่17พฤษภาคม2534แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างกฎหมายวิธีพิจารณา

เรื่องในชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยคณะกรรมการ

ยกร่างได้นำกฎหมายวิธีพิจารณาเรื่องในชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

(Verwaltungsverfahrensgesetz vom 25.Mai 1976) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ทางกฎหมาย

และกระชับมากที่สุดมาเป็นแนวทางในการยกร่าง และได้ทุ่มเทการทำงานและยกร่างภายในระยะเวลาเพียง

3เดือนเท่านั้นในการยกร่างนี้ได้ใช้คำว่าคำสั่งทางปกครองแทนคำว่านิติกรรมทางปกครองเพราะเกรงว่าอาจ

มีการสับสนว่าเป็นนิติกรรมตามกฎหมายแพ่งต่อมาได้มีการแก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาเรื่องใน

ชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเป็นร่างพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.....เนื่องจากหากใช้ชื่อ

เดิมอาจมีความเข้าใจที่สับสนว่าเป็นร่างกฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการตราร่าง

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.....ฉบับนี้

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2539 รัฐสภาก็ได้ตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.

2539วางหลักเกณฑ์ทั่วไปในการปฏิบัติราชการทางปกครองไม่ว่าจะเป็นการเตรียมการหรือการดำเนินการ

เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเป็นหลักในการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ฝ่าย

ปกครองที่ตอ้งกระทำการตามกฎหมายปกครองเฉพาะเรือ่งตา่งๆและได้กำหนดหลกัเกณฑ์ที่เปน็การคุม้ครอง

สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในฐานะที่ประชาชนเป็นผู้ทรงสิทธิ(subject)ที่รัฐสมัยใหม่ต้องให้ความสำคัญ

ภายใต้หลักนิติรัฐ (Rechtsstaat) ที่เรียกร้องให้การกระทำทางปกครอง โดยเฉพาะกำหนดให้มีมาตรการ

บังคับทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายพอสมควรแก่เหตุและควบคุมการกระทำทางปกครองมิให้มีการใช้

อำนาจรัฐโดยเจ้าหน้าที่ตามอำเภอใจ

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือกฎหมายปกครอง บทที่ 2 และบทที่ 3 โดย

รองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองบทที่ 8 โดย

นายชัยวัฒน์วงศ์วัฒนศานต์)

Page 12: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-12

กิจกรรม10.1.2

ให้ท่านอธิบายว่าประเทศไทยมีแนวทางในการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทาง

ปกครองพ.ศ.2539หรือไม่อย่างไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.1.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.1กิจกรรม10.1.2)

Page 13: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-13

ตอนที่10.2

ประเภทของคำสั่งทางปกครองที่ต้องใช้มาตรการบังคับ

ทางปกครอง

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่10.2แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่10.2.1 คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการเรียกให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงิน

ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

เรื่องที่10.2.2 คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองกระทำ

การยอมรับภาระบางอย่างหรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

แนวคิด1. คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการเรียกให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงินตามที่

กฎหมายกำหนดเปน็การกระทำทางปกครองที่เรยีกให้เอกชนชำระเงนิตามอตัราที่กฎหมาย

กำหนด

2. คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองกระทำการยอมรับ

ภาระบางอย่างหรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่าย

ปกครองในรูปของคำสั่งให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ ซึ่งมิใช่กรณีที่เรียกให้ชำระ

เงิน

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่10.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์ถึงประเภทของคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการเรียกให้ผู้รับ

คำสั่งทางปกครองชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้

2. อธิบายและวิเคราะห์คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทาง

ปกครองกระทำการยอมรับภาระบางอย่างหรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดได้

Page 14: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-14

เรื่องที่10.2.1คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการเรียกให้ผู้รับ

คำสั่งทางปกครองชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้

สาระสังเขปในทางวิชาการสามารถแบ่งแยกประเภทของคำสั่งทางปกครองได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่า

จะแบ่งแยกเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาเรื่องใดหรือยึดถือปัจจัยด้านใดเป็นหลักในการพิจารณา ไม่ว่าจะ

เป็นด้านดุลพินิจด้านการบอกล้างคำสั่งทางปกครองด้านสิทธิหน้าที่ ด้านเนื้อหาด้านผลกระทบต่อบุคคล

ที่สาม โดยเฉพาะด้านการบังคับทางปกครอง สามารถแบ่งแยกออกเป็นสองประการประการแรก ได้แก่

คำสั่งทางปกครองที่ไม่ต้องมีการบังคับการตามคำสั่งทางปกครองกล่าวคือเป็นการสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่าย

ปกครองในลักษณะที่เป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง เช่น ออกใบอนุญาตการอนุมัติ

หรือเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการรับรองสิทธิของผู้รับคำสั่งทางปกครองเช่นการออกใบรับรอง

นิติบุคคลสูติบัตรเป็นต้นประการที่สองได้แก่คำสั่งทางปกครองที่ต้องมีการบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่ง

ทางปกครองกล่าวคือ เป็นกรณีที่ผู้รับคำสั่งทางปกครองฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเนื้อหาของคำสั่งทางปกครอง

เช่นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ควบคุมงานผู้ดำเนิน

การ ลูกจ้าง หรือบริวารของบุคคลดังกล่าวระงับการก่อสร้างอาคารที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ

ควบคมุอาคารพ.ศ.2522และการกอ่สรา้งดงักลา่วนัน้ไม่สามารถแกไ้ขเปลีย่นแปลงให้ถกูตอ้งได้เจา้พนกังาน

ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคาร หรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน ผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคาร

บางส่วนหรือทั้งหมดได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522มาตรา

42จะเห็นได้ว่าคำสั่งให้รื้อถอนนี้เป็นคำสั่งทางปกครองหากต่อมาเจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคาร

ผู้ควบคุมงานผู้ดำเนินการไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีความจำเป็นจะต้อง

บังคับการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาลอีก

ทั้งนี้ คำสั่งทางปกครองที่ต้องมีการบังคับการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการออกคำสั่งทาง

ปกครองนี้สามารถแบ่งแยกประเภทตามเกณฑ์การบังคับได้เป็นคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการเรียก

ให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้กล่าวคือเป็นการกระทำทางปกครองที่เรียกให้

เอกชนชำระเงินตามอัตราที่กฎหมายกำหนดตัวอย่างเช่นกรณีเงินภาษีซึ่งต้องเสียหรือนำส่งต่อกรมสรรพากร

เมื่อถึงกำหนดชำระแล้วถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้างทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง

อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือ

นำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักรโดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา

12หรือกรณีเงินค่าบริการเช่นเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษซึ่งยังมิได้ทำการก่อสร้างติดตั้ง

หรือจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสียหรือไม่ประสงค์ที่จะทำการก่อสร้างหรือจัดให้มีระบบ

บำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสียตามที่เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกำหนดดังกล่าว มีหน้าที่ต้องจัดส่ง

Page 15: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-15

น้ำเสียหรือของเสียที่เกิดจากการดำเนินกิจการของตนไปทำการบำบัด และมีหน้าที่ต้องเสียค่าบริการตาม

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535มาตรา 71หรือกรณีเงินสมทบ

เช่น เงินสมทบกองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนที่นายจ้างไม่ส่งหรือส่งไม่ครบ เลขาธิการมีอำนาจ

ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งไม่นำส่งเงินสมทบและหรือ

เงินเพิ่มหรือนำส่งไม่ครบจำนวนตามมาตรา50แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537มาตรา47

(โปรดอ่านรายละเอียดในหนังสือกฎหมายปกครองบทที่ 2 โดยรองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย

รัตนสกาววงศ์)

กิจกรรม10.2.1

จงอธบิายความหมายของคำสัง่ทางปกครองที่มีลกัษณะเปน็การเรยีกให้ผูร้บัคำสัง่ทางปกครอง

ชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้พร้อมกับยกตัวอย่าง

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.2.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.2กิจกรรม10.2.1)

Page 16: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-16

เรื่องที่10.2.2คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการกำหนดให้

ผู้รับคำสั่งทางปกครองกระทำการยอมรับภาระ

บางอย่างหรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

สาระสังเขปนอกจากคำสั่งทางปกครองที่ต้องมีการบังคับการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการออกคำสั่งทาง

ปกครองสามารถแบ่งแยกประเภทตามเกณฑ์การบังคับได้เป็นคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการเรียกให้

ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังได้กล่าวมาแล้วยังแบ่งแยกประเภทได้เป็นคำสั่ง

ทางปกครองที่มีลกัษณะเปน็การกำหนดให้ผูร้บัคำสัง่ทางปกครองกระทำการยอมรบัภาระบางอยา่งหรอืละเวน้

การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในรูปของคำสั่งเช่นคำสั่งรื้อถอน

อาคารที่เจ้าของอาคารก่อสร้างอาคารที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ

บัญญัติท้องถิ่นกฎกระทรวงและเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามมาตรา42แห่ง

พระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522หรือคำสั่งมิให้กระทำการอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่นตามพระราช

บัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ.2535มาตรา25

(โปรดอ่านรายละเอียดในหนังสือกฎหมายปกครองบทที่ 2 โดยรองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย

รัตนสกาววงศ์)

กิจกรรม10.2.2

จงอธิบายความหมายของคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทาง

ปกครองกระทำการยอมรับภาระบางอย่าง หรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมกับยก

ตัวอย่างด้วย

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.2.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.2กิจกรรม10.2.2)

Page 17: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-17

ตอนที่10.3

หลักเกณฑ์ทั่วไป

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่10.3แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่10.3.1 การบังคับทางปกครองจะใช้กับคำสั่งทางปกครองที่ต้องมีการบังคับการให้เป็น

ไปตามวัตถุประสงค์ของการออกคำสั่งทางปกครอง

เรื่องที่10.3.2เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองสามารถบังคับทางปกครองได้เองไม่ต้องฟ้องศาล

เรื่องที่10.3.3ต้องไม่มีกฎหมายหรือคำสั่งอื่นใดให้ทุเลาการบังคับ

เรื่องที่10.3.4ต้องไม่ใช้กับหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ด้วยกัน

แนวคิด1. การบังคับทางปกครองไม่ใช้กับคำสั่งทางปกครองโดยสภาพที่ไม่ต้องมีการบังคับทาง

ปกครอง หรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรงถึงระดับโมฆะ

กรรม

2. ในการบังคับทางปกครองเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจที่จะพิจารณาใช้มาตรการบังคับ

ทางปกครองเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองของตนได้โดยไม่ต้องฟ้องต่อศาล

3. คำสั่งทางปกครองที่ถูกสั่งให้ทุเลาการบังคับนั้นย่อมถือเป็นคำสั่งทางปกครองที่ยังไม่อาจ

บังคับการได้

4. ในบางกรณีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอาจออกคำสั่งทางปกครองแก่หน่วยงานของรัฐด้วยกัน

ได้หากหน่วยงานของรัฐผู้รับคำสั่งทางปกครองไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองนั้น

แต่เจา้หนา้ที่ฝา่ยปกครองยอ่มไม่อาจที่จะใช้มาตรการบงัคบัทางปกครองตอ่หนว่ยงานของ

รัฐได้

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่10.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์หลักเกณฑ์ทั่วไปที่กำหนดว่า การบังคับทางปกครองจะใช้กับคำสั่ง

ทางปกครองที่ต้องมีการบังคับการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการออกคำสั่งทาง

ปกครองได้

Page 18: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-18

2. อธิบายและวิเคราะห์หลักเกณฑ์ทั่วไปที่กำหนดว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองสามารถบังคับ

ทางปกครองได้เองไม่ต้องฟ้องศาลได้

3. อธิบายและวิเคราะห์หลักเกณฑ์ทั่วไปที่กำหนดว่า ต้องไม่มีกฎหมายหรือคำสั่งอื่นใดให้

ทุเลาการบังคับได้

4. อธิบายและวิเคราะห์หลักเกณฑ์ทั่วไปที่กำหนดว่า ต้องไม่ใช้กับหน่วยงานของรัฐและเจ้า

หน้าที่ด้วยกันได้

Page 19: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-19

เรื่องที่10.3.1 การบังคับทางปกครองจะใช้กับคำสั่งทางปกครองที่

ต้องมีการบังคับการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ

การออกคำสั่งทางปกครอง

สาระสังเขปด้วยเหตุที่ การบังคับทางปกครองมีขึ้นเพื่อให้มีการดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคำสั่ง

ทางปกครองในกรณีเอกชนฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือปฏิบัติไม่ครบตามข้อกำหนดในคำสั่ง

ทางปกครองแสดงให้เห็นว่าการบังคับทางปกครองจะใช้กับคำสั่งทางปกครองประเภทที่ต้องมีการบังคับการ

ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีข้อกำหนดให้กระทำการ

ห้ามมิให้กระทำการหรือหนังสือเรียกให้ชำระเงินก็ตาม

การบังคับทางปกครองไม่ใช้กับคำสั่งทางปกครองโดยสภาพที่ไม่ต้องมีการบังคับทางปกครอง เช่น

คำสั่งทางปกครองที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง ได้แก่ การออกใบอนุญาตการอนุมัติ การ

ออกใบรับรองนิติบุคคลสูติบัตร ใบมรณบัตร เป็นต้น รวมทั้ง ไม่ใช้กับกรณีที่คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ

ด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรงถึงระดับโมฆะกรรม (DieNichtigkeit vonVerwaltengsakten) กล่าวคือ

เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่มีผลทางกฎหมายเนื่องจากออกโดยผิดพลาดอย่างเห็นได้ชัด แม้แต่วิญญูชนที่

ไม่ได้ศึกษากฎหมายก็เห็นได้ว่ามีการผิดพลาดอย่างชัดแจ้งหรือกรณีคำสั่งทางปกครองออกโดยไม่ทราบว่า

หน่วยงานใดเป็นผู้ออกหรือกรณีคำสั่งทางปกครองที่ออกให้แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครองนอกเหนือเขตท้องที่

ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจเป็นต้นกรณีเช่นนี้ผู้รับคำสั่งทางปกครองไม่ต้องปฏิบัติตามและเจ้าหน้าที่

ฝ่ายปกครองก็ไม่อาจบังคับการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครองได้

(โปรดอ่านหนังสือกฎหมายปกครอง โดยรองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ บทที่ 2

และบทที่3หนังสือวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมันบทที่9โดยรองศาสตราจารย์

ดร.วรเจตน์ภาคีรัตน์)

กิจกรรม10.3.1

จงอธิบายว่าการบังคับทางปกครองจะใช้กับคำสั่งทางปกครองประเภทใดบ้าง

Page 20: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-20

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.3.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.3กิจกรรม10.3.1)

Page 21: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-21

เรื่องที่10.3.2เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองสามารถบังคับทางปกครอง

ได้เองไม่ต้องฟ้องศาล

สาระสังเขปดังได้กล่าวมาแล้วว่าจำเป็นต้องมีการบังคับทางปกครองเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคำสั่ง

ทางปกครองซึ่งหากมีการดำเนินการบังคับทางปกครองในลักษณะเช่นเดียวกับการดำเนินคดีหรือบังคับคดี

คดีทางแพ่งที่ต้องอาศัยคำพิพากษาของศาลและหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา276แห่งประมวล

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ย่อมต้องมีคดีจำนวนมากเพราะการกระทำทางปกครองมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

เสมอและอาจต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาคดีนานไม่ทันท่วงทีกับการบริหารราชการทางปกครองที่ต้อง

ตอบสนองกับความต้องการของประชาชนส่วนรวมที่มีลักษณะพลวัตร (Dynamic)อยู่เสมอเจ้าหน้าที่ฝ่าย

ปกครองจึงมีอำนาจที่จะพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครอง เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองของ

ตนโดยอาจมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ตามมาตรา

56แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

(โปรดอ่านหนังสือกฎหมายปกครอง โดยรองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ บทที่ 2

และบทที่3หนังสือวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมันบทที่9โดยรองศาสตราจารย์

ดร.วรเจตน์ภาคีรตัน์และกฎหมายวธิีปฏบิตัิราชการทางปกครองบทที่8โดยนายชยัวฒัน์วงศ์วฒันศานต)์

กิจกรรม10.3.2

จงอธิบายว่าเพราะเหตุใดเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจึงสามารถบังคับทางปกครองได้เองไม่ต้อง

ฟ้องศาล

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.3.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.3กิจกรรม10.3.2)

Page 22: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-22

เรื่องที่10.3.3ต้องไม่มีกฎหมายหรือคำสั่งอื่นใดให้ทุเลาการบังคับ

สาระสังเขปกรณีที่ผูร้บัคำสัง่ทางปกครองไม่พอใจในคำสัง่ทางปกครองหรอืเหน็วา่คำสัง่ทางปกครองไม่ชอบดว้ย

กฎหมายก็อาจมีการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านภายในฝ่ายปกครองซึ่งโดยหลักทั่วไปแล้วหากกฎหมายเฉพาะ

เรื่องไม่ได้บัญญัติขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ก็สามารถที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง

ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.

2539หรอือาจมีการฟอ้งตอ่ศาลปกครองตามมาตรา9แหง่พระราชบญัญตัิจดัตัง้ศาลปกครองและวธิีพจิารณา

คดีปกครองพ.ศ. 2542หรือดำเนินการฟ้องต่อศาลยุติธรรมกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้อยู่ในอำนาจ

ศาลเฉพาะอื่นใดตามหลักอำนาจฟ้องคดีโดยทั่วไปที่ได้รับการบัญญัติไว้ในมาตรา218ของรัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทยกรณีเช่นนี้ เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งเองผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์หรือผู้มีอำนาจพิจารณา

วินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทางปกครองอาจสั่งให้ทุเลาการบังคับทางปกครองไว้ก่อนคำสั่งทางปกครองที่

ถูกสั่งให้ทุเลาการบังคับนั้นย่อมถือเป็นคำสั่งทางปกครองที่ยังไม่อาจบังคับการได้(nochnichtvollstreck-

bar)เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะดำเนินการบังคับทางปกครองต่อไปไม่ได้ตามมาตรา56แห่งพระราชบัญญัติ

วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539แต่ถ้าไม่มีกฎหมายหรือคำสั่งให้ทุเลาการบังคับทางปกครองก็ย่อม

ต้องมีการดำเนินการบังคับทางปกครองต่อไปแม้คำสั่งทางปกครองนั้นจะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตามเว้นแต่

กรณีที่คำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรงถึงระดับโมฆะกรรมเนื่องจากคำสั่งทางปกครอง

ย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น ทั้งนี้ ตามมาตรา 42

วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 ยึดหลักการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านไม่

เป็นการทุเลาการบังคับทางปกครองไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์ต่อองค์กรวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง

หรือฟ้องร้องต่อองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการแตกต่างจากกฎหมายวิธีพิจารณาชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของ

ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(Verwaltungsverfahrensgesetzvom25Mai1976)ที่ยึดหลักการ

อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านไม่ว่าต่อองค์กรวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองหรือยื่นฟ้องต่อศาลให้เพิกถอน

คำสั่งทางปกครองที่มีผลเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของผู้ฟ้อง หรือคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้สิทธิ

ประโยชน์แก่ผู้ฟ้องนั้นย่อมเป็นการทุเลาการบังคับทางปกครองยกเว้นคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ชำระ

ภาษีอากรค่าธรรมเนียมการอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับ

(โปรดอ่านหนังสือกฎหมายปกครอง โดยรองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ บทที่ 2

และบทที่3หนังสือวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมันบทที่9โดยรองศาสตราจารย์

ดร.วรเจตน์ภาคีรตัน์และกฎหมายวธิีปฏบิตัิราชการทางปกครองบทที่8โดยนายชยัวฒัน์วงศ์วฒันศานต)์

Page 23: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-23

กิจกรรม10.3.3

การอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งทางปกครองจะเป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับคำสั่งทางปกครอง

หรือไม่อย่างไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.3.3

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.3กิจกรรม10.3.3)

Page 24: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-24

เรื่องที่10.3.4ต้องไม่ใช้กับหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ด้วยกัน

สาระสังเขปดังกล่าวมาแล้วว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับเอกชนได้ และใน

บางกรณีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็อาจออกคำสั่งทางปกครองแก่หน่วยงานของรัฐด้วยกันได้ หากหน่วยงาน

ของรัฐผู้รับคำสั่งทางปกครองไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองย่อมไม่อาจที่

จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองต่อหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้เพราะเป็นเรื่องไม่สมควรที่จะใช้อำนาจรัฐ

มาบังคับกับหน่วยงานของรัฐด้วยกันเว้นแต่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอย่างอื่น

นอกจากนี้การบังคับทางปกครองจะไม่ใช้กับเจ้าหน้าที่ด้วยกันตามมาตรา55แห่งพระราชบัญญัติ

วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539ซึ่งหมายถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจรัฐแต่มิใช่ในฐานะข้าราชการ

ตวัอยา่งเชน่หนว่ยงานของรฐัสรา้งสนามบนิหรอืสรา้งอาคารขนาดใหญ่รมิแมน่ำ้โดยไม่ได้ปฏบิตัิตามกฎหมาย

สิ่งแวดล้อมเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้มาตรการรื้อถอนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522เข้ารื้อ

ถอนสนามบินไม่ได้หรือจะยึดอายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐไม่ได้เพราะทรัพย์สิน

ของรัฐไม่ตกอยู่ภายใต้การบังคับคดีทางศาลตลอดจนการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

(โปรดอ่านหนังสือกฎหมายปกครองโดยรองศาสตราจารย์ดร.กมลชัยรัตนสกาววงศ์บทที่2และ

บทที่3และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองบทที่8โดยนายชัยวัฒน์วงศ์วัฒนศานต์)

กิจกรรม10.3.4

จงอธิบายว่าเพราะเหตุใดจึงไม่ใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับหน่วยงานของรัฐและเจ้า-

หน้าที่ด้วยกัน

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.3.4

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.3กิจกรรม10.3.4)

Page 25: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-25

ตอนที่10.4

หลักเกณฑ์ในการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่10.4แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่10.4.1 วัตถุแห่งการบังคับ

เรื่องที่10.4.2 ขั้นตอนและวิธีการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

เรื่องที่10.4.3 การใช้มาตรการบังคับทางปกครองต้องพอสมควรแก่เหตุ

แนวคิด1. กรณีที่มีการออกคำสั่งทางปกครองให้ชำระเงินและเมื่อถึงกำหนดชำระเงินแล้ว ผู้รับ

คำสั่งทางปกครองไม่ชำระเงินให้ถูกต้องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเพิกเฉยไม่ชำระหรือ

ชำระบ้างแต่ไม่ครบถ้วนถูกต้อง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอาจดำเนินการเพื่อนำไปสู่การ

ใช้อำนาจบังคับทางปกครองได้ ส่วนการกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองกระทำการ

หรือละเว้นกระทำการแล้วผู้รับคำสั่งทางปกครองฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง

เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการใช้กำลังทางกายภาพเข้าดำเนินการ

และมีอำนาจใช้มาตรการปรับทางปกครอง

2. เมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครองไม่ชำระเงินให้ถูกต้องครบถ้วนเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้อง

ดำเนนิการออกหนงัสอืเตอืนให้ผูร้บัคำสัง่ทางปกครองชำระเงนิการยดึหรอือายดัทรพัยส์นิ

และขายทอดตลาดตามลำดับ สำหรับการกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองกระทำการ

หรือละเว้นกระทำการ แล้วผู้รับคำสั่งทางปกครองฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่ต้องมีคำเตือนเป็น

หนังสือและต้องระบุข้อความเกี่ยวกับมาตรการบังคับทางปกครองที่จะใช้ให้ชัดแจ้งรวม

ทั้งระบุถึงค่าใช้จ่ายในการที่เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่น

กระทำการแทนหรือจำนวนค่าปรับทางปกครองแล้วแต่กรณีตลอดจนเจ้าหน้าที่จะต้อง

ใช้มาตรการบังคับทางปกครองที่กำหนดไว้ในคำเตือนเป็นหลัก

3.ในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองต้องกระทำโดยสมควรแก่เหตุ

Page 26: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-26

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่10.4จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายและวิเคราะห์ถึงวัตถุแห่งการบังคับได้

2. อธิบายและวิเคราะห์ขั้นตอนและวิธีการใช้มาตรการบังคับทางปกครองได้

3. อธิบายและวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างมาตรการบังคับทางปกครองกับหลักพอ

สมควรแก่เหตุได้

Page 27: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-27

เรื่องที่10.4.1วัตถุแห่งการบังคับ

สาระสังเขปในการพจิารณาใช้มาตรการบงัคบัทางปกครองเพือ่ให้เปน็ไปตามวตัถปุระสงค์ของการออกคำสัง่ทาง

ปกครองและเพื่อเป็นประโยชน์ในการกำหนดถึงอำนาจขั้นตอนและวิธีการในการบังคับทางปกครองของเจ้า

หน้าที่จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงวัตถุแห่งการบังคับเป็นเกณฑ์ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น2ประการดังนี้

1.การกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงิน เป็นการสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง

ให้เอกชนชำระเงิน (Öffentlich-rechtlicheGeldforderung) เช่น การชำระเงินภาษีอากรค่าบริการค่า

ธรรมเนียมค่าบำรุงเบี้ยปรับค่าปรับค่าปรับทางปกครองหรือเงินอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่ฝ่าย

ปกครองมีอำนาจสั่งการให้เอกชนชำระหรือกรณีกฎหมายกำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องชำระซึ่งพระราช-

บัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539มาตรา57วางหลักว่า เมื่อถึงกำหนดชำระเงินแล้วผู้รับ

คำสัง่ทางปกครองไม่ชำระเงนิให้ถกูตอ้งครบถว้นไม่วา่จะเปน็การเพกิเฉยไม่ชำระหรอืชำระบา้งแต่ไม่ครบถว้น

ถูกต้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอาจดำเนินการเพื่อนำไปสู่การใช้อำนาจบังคับทางปกครองได้ซึ่งรายละเอียด

จะกล่าวในเรื่องขั้นตอนและวิธีการใช้มาตรการบังคับทางปกครองต่อไป

2.การกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองกระทำการหรือละเว้นกระทำการ การที่เจ้าหน้าที่ฝ่าย

ปกครองสั่งการให้เอกชนผู้รับคำสั่งทางปกครองกระทำการเช่นเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการให้เอกชนรื้อถอน

อาคารที่สร้างผิดกฎหมายหรือละเว้นกระทำการเช่นห้ามประกอบกิจการสถานบริการหรือห้ามส่งเสียงดัง

เกินระดับเป็นต้นแต่ผู้รับคำสั่งทางปกครองฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าวพระราชบัญญัติ

วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539มาตรา58ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

ดังนี้

2.1 การใช้กำลังทางกายภาพเข้าดำเนินการ

1) เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเอง เป็นกรณีที่อยู่ในวิสัยที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง

สามารถดำเนินการเองได้ เช่น การรื้อถอนหรือทำลายสิ่งกีดขวางทางหลวงหรือการรื้อถอนบ้านอยู่อาศัย

ชั่วคราวที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการรื้อถอนเป็นต้น

2)เจา้หนา้ที่มอบหมายให้บคุคลอืน่การทำการแทนเปน็กรณีที่ไม่อยู่ในวสิยัที่เจา้หนา้ที่

ฝ่ายปกครองสามารถดำเนินการเองได้ เจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจให้บุคคลอื่นซึ่งอาจเป็นเอกชนกระทำการ

แทนก็ได้ซึ่งการกระทำการแทนดังกล่าว(Beleihung)เป็นการกระทำทางปกครองเช่นการรื้อถอนอาคาร

ที่ก่อสร้างฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งมีขนาดใหญ่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นขาดความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ใน

เทคโนโลยีชั้นสูงในการรื้อถอนอาคารและไม่มีอุปกรณ์เพียงพอที่จะดำเนินการได้

3) ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นกรณีตาม

1) หรือ 2) ก็ตามผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายที่รัฐออกไปเพื่อการดังกล่าว

Page 28: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-28

ตลอดจนค่าแรงงานของเจ้าหน้าที่ที่ใช้ไปเพื่อการนี้อันอาจคำนวณเป็นทรัพย์สินได้และหากเพิกเฉยไม่ชำระ

ค่าใช้จ่ายดังกล่าว เจ้าหน้าที่ก็จะออกคำสั่งให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 25ต่อปี

ของค่าใช้จ่ายดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวมีวัตถุแห่งการบังคับตามคำสั่งทางปกครองเป็นหนี้เงิน

ที่จะต้องดำเนินการบังคับต่อไป

2.2การใช้มาตรการปรับทางปกครองในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ประสงค์จะเข้าดำเนินการบังคับ

ทางปกครองเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นทำการแทน แต่ต้องการให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองดำเนินการ

เอง เช่น เจ้าหน้าที่มีภาระงานราชการจำนวนมากไม่อาจดำเนินการเองในชั้นนี้ และไม่ประสงค์จะจ้างเอกชน

เข้าดำเนินการเนื่องจากต้องใช้งบประมาณสูง ขณะเดียวกันการฝ่าฝืนคำสั่งทางปกครองของผู้รับคำสั่งทาง

ปกครองไม่ก่อให้เกิดผลกระทบแก่ประชาชนโดยส่วนรวมหรือการดำเนินการเองจะได้ไม่คุ้มเสียโดยชั่งน้ำ

หนักกับประโยชน์ของส่วนรวมแล้ว กรณีเช่นนี้ เจ้าหน้าที่อาจใช้อำนาจดุลพินิจปรับผู้รับคำสั่งทางปกครอง

เป็นรายวันตามจำนวนที่สมควรแก่เหตุแต่ต้องไม่เกิน20,000บาทต่อวันทั้งนี้เจ้าหน้าที่ระดับใดมีอำนาจ

ปรับวันละเท่าใดนั้น เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธี

ปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

(โปรดอ่านหนังสือกฎหมายปกครองโดยรองศาสตราจารย์ดร.กมลชัยรัตนสกาววงศ์บทที่2และ

บทที่3และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองบทที่8โดยนายชัยวัฒน์วงศ์วัฒนศานต์)

กิจกรรม10.4.1

จงอธิบายถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในกรณีที่มีการออกคำสั่งทางปกครองให้ผู้รับ

คำสั่งทางปกครองกระทำการหรือละเว้นกระทำการ แต่ผู้รับคำสั่งทางปกครองฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม

คำสั่งทางปกครองนั้น

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.4.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.4กิจกรรม10.4.1)

Page 29: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-29

เรื่องที่10.4.2ขั้นตอนและวิธีการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

สาระสังเขป1.การกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงิน พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

พ.ศ. 2539มาตรา 57 ได้กำหนดถึงขั้นตอนและวิธีการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยวางหลักว่า เมื่อ

ถึงกำหนดชำระเงินแล้ว ผู้รับชำระคำสั่งทางปกครองไม่มีการชำระเงินให้ถูกต้องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการ

เพิกเฉยไม่ชำระหรือชำระบ้างแต่ไม่ครบถ้วนถูกต้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องดำเนินการดังนี้

1.1 ออกหนังสือเตือนให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงินกล่าวคือให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง

มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะต้องพิจารณาระยะเวลาให้สอดคล้องและ

เหมาะสมกับเรื่องและจำนวนเงินที่ต้องชำระด้วยแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวันซึ่งหากมีการนำเงินมาชำระครบ

ถ้วนถูกต้องมาตรการบังคับทางปกครองก็เป็นอันสิ้นสุดอนึ่งคำเตือนดังกล่าวไม่ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง

เพราะไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่กระทบต่อสิทธิขึ้นใหม่

1.2การยดึหรอือายดัทรพัยส์นิและขายทอดตลาดถา้ไมม่ีการปฏบิตัิตามคำเตอืนเชน่เพกิเฉย

ไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกหรือครั้งที่สองก็ตามเจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทาง

ปกครองโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินและขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน

ส่วนวิธีการยึด การอายัด และการขายทอดตลาด ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

แพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม กล่าวคือ นำบทบัญญัติในภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับตามคำพิพากษาหรือ

คำสัง่มาตรา271ถงึมาตรา323แหง่ประมวลกฎหมายวธิีพจิารณาความแพง่มาใช้บงัคบัไม่วา่จะเปน็เรือ่งการ

ยึดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการขายทอดตลาดการร้องขัดทรัพย์การขอกันส่วนการขอเฉลี่ยทรัพย์ทรัพย์สินที่

ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีหรือการอายัดสิทธิเรียกร้อง

ทั้งนี้ผู้มีอำนาจในการยึดอายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้รับคำสั่งทางปกครองหรือ

โดยนัยนี้คือ อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครองนั้น รายละเอียดปรากฏตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.

2542)ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539เช่นอธิบดีหรือหัวหน้า

สว่นราชการที่มีฐานะเปน็กรมในกรณีที่ผู้ทำคำสัง่ทางปกครองเปน็เจา้หนา้ที่ในสงักดัของกรมหรอืสว่นราชการ

ที่มีฐานะเป็นกรมแล้วแต่กรณีเป็นต้น

อนึ่ง การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจยึด อายัด และขายทอดตลาดเพื่อบังคับชำระหนี้

เงิน อาจเกิดปัญหาการบังคับคดีซ้ำซ้อนกันได้ระหว่างการบังคับทางปกครองกับการบังคับคดีของศาล โดย

มุ่งหมายที่จะบังคับเอากับทรัพย์สินอย่างเดียวกัน กรณีนี้ต้องใช้หลักบุริมสิทธิเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา

กล่าวคือหากสิทธิของฝ่ายใดสูงกว่าให้ใช้สิทธิของฝ่ายนั้น เช่น กรณีที่ศาลคดีแพ่งไปยึดทรัพย์มาขายทอด

ตลาดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดชำระค่าภาษีอากรอาจร้องขอต่อศาลให้

หักเงินค่าภาษีอากรที่ค้างชำระก่อน(คำพิพากษาศาลฎีกาที่558/2478)

Page 30: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-30

2.การกำหนดให้ผูร้บัคำสัง่ทางปกครองกระทำการหรอืละเวน้กระทำการพระราชบญัญตัิวธิีปฏบิตัิ

ราชการทางปกครองพ.ศ.2539มาตรา59กำหนดการใช้มาตรการบังคับทางปกครองในกรณีการกำหนดให้

ผู้รับคำสั่งทางปกครองกระทำการหรือละเว้นกระทำการมีดังนี้

2.1เจ้าหน้าที่ต้องมีคำเตือนเป็นหนังสือ คำเตือนเป็นหนังสือต้องกำหนดให้มีการกระทำ

หรือละเว้นกระทำการตามคำสั่งทางปกครองภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสมควรแก่กรณี โดยคำเตือนนี้

จะกำหนดไปพร้อมกับคำสั่งทางปกครองก็ได้

2.2 ต้องระบุข้อความเกี่ยวกับมาตรการบังคับทางปกครองและค่าใช้จ่ายคำเตือนนั้นจะต้อง

ระบุข้อความที่มีเนื้อหาดังนี้

1)มาตรการบังคับทางปกครองที่เจ้าหน้าที่เลือกดำเนินการจะใช้นั้นต้องระบุให้ชัดแจ้ง

โดยจะตอ้งระบุวา่ในการบงัคบัทางปกครองนี้เจา้หนา้ที่จะเขา้ดำเนนิการเองหรอืมอบหมายให้บคุคลอืน่กระทำ

การหรือใช้มาตรการกำหนดค่าปรับทางปกครองมาตรการใดมาตรการหนึ่งเท่านั้นจะกำหนดมากกว่าหนึ่ง

มาตรการในคราวเดียวกันไม่ได้

2)ค่าใช้จ่ายในการที่เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่น

กระทำการแทนหรือจำนวนค่าปรับทางปกครองแล้วแต่กรณี

3)การกำหนดค่าใช้จ่ายในคำเตือนไม่เป็นการตัดสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหาก

จะต้องเสียค่าใช้จ่ายจริงในการใช้มาตรการบังคับโดยเจ้าหน้าที่นั้นมากกว่าที่ได้กำหนดไว้

2.3 เจ้าหน้าที่จะต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครองที่กำหนดไว้ในคำเตือน เจ้าหน้าที่จะ

เปลีย่นแปลงมาตรการบงัคบัทางปกครองที่ระบุในคำเตอืนไม่ได้เวน้แต่ในกรณีที่มาตรการบงัคบัทางปกครอง

ที่กำหนดไว้ไม่สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ ตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทาง

ปกครองพ.ศ. 2539 เช่น เจ้าหน้าที่ได้ระบุในคำเตือนว่าจะใช้มาตรการปรับทางปกครองรายวันแต่ปรากฏ

ว่าผู้รับคำสั่งทางปกครองก็ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองเจ้าหน้าที่อาจเปลี่ยนแปลงใช้มาตรการบังคับ

ทางปกครองด้วยการเข้าดำเนินการด้วยตนเองได้เป็นต้นแต่หากเจ้าหน้าที่ใช้มาตรการบังคับทางปกครองที่

เด็ดขาดขั้นสุดท้าย (ultima ratio) แล้ว เจ้าหน้าที่จะกลับมาใช้มาตรการบังคับทางปกครองที่เบากว่าไม่ได้

เช่นเจ้าหน้าที่ใช้มาตรการบังคับทางปกครองด้วยตนเองแล้วจะเปลี่ยนมาเป็นใช้มาตรการปรับทางปกครอง

ไม่ได้

2.4 เจ้าหน้าที่อาจใช้กำลังเข้าดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการบังคับทางปกครองได้

ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองต่อสู้ขัดขวางการบังคับทางปกครอง ขณะที่เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการ

บังคับทางปกครองอยู่นั้น หากผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็นผู้รับคำสั่งทางปกครองผู้

อยู่อาศัยหรือบริวารต่อสู้ขัดขวางการบังคับทางปกครองเจ้าหน้าที่อาจใช้กำลังเข้าดำเนินการเพื่อให้เป็นไป

ตามมาตรการบังคับทางปกครองได้แต่ต้องกระทำโดยสมควรแก่เหตุตามข้อ3ทั้งนี้ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่

อาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจได้ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่สามารถมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่

ตำรวจดำเนินการแทนตนเองได้

Page 31: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-31

3.การใช้มาตรการกรณีมีความจำเป็นรีบด่วนโดยทั่วไปแล้วการบังคับทางปกครองตามคำสั่งที่ให้

ผู้รับคำสั่งทางปกครองกระทำการหรือละเว้นกระทำการมีขั้นตอนพื้นฐานกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง

จะต้องออกคำสั่งทางปกครองและหากผู้รับคำสั่งทางปกครองฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเจ้าหน้าที่ก็จะใช้มาตรการ

บังคับทางปกครองดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ในบางกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องบังคับการโดยเร่งด่วน (der

sofortigeVollzug) เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญาหรือมิให้เกิดความเสีย

หายต่อประโยชน์สาธารณะ เช่นมีการวางสิ่งของไว้กีดขวางการจราจรซึ่งไม่ทราบเจ้าของหรือผู้ครอบครอง

กลุ่มผู้ชุมนุมกระจายกำลังกันเผาสถานที่ราชการ เป็นต้น หากจะให้เจ้าหน้าที่จะออกคำสั่งทางปกครองให้

กลุ่มผู้ชุมนุมกระทำการหรือละเว้นกระทำการก็อาจจะทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาการบริหาราชการแผ่นดิน

ได้ทันการและก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

โดยไม่ต้องออกคำสั่งทางปกครองให้กระทำหรือละเว้นกระทำก่อนก็ได้ ตามมาตรา 58 วรรคสาม แห่ง

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

(โปรดอ่านหนังสือกฎหมายปกครองโดยรองศาสตราจารย์ดร.กมลชัยรัตนสกาววงศ์บทที่2และ

บทที่3และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองบทที่8โดยนายชัยวัฒน์วงศ์วัฒนศานต์)

กิจกรรม10.4.2

จงอธิบายถึงขั้นตอนและวิธีการใช้มาตรการบังคับทางปกครองกรณีกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทาง

ปกครองชำระเงิน

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.4.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.4กิจกรรม10.4.2)

Page 32: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-32

เรื่องที่10.4.3การใช้มาตรการบังคับทางปกครองต้อง

พอสมควรแก่เหตุ

สาระสังเขปในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองทั้งในกรณีปกติทั่วไปพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทาง

ปกครองพ.ศ.2539มาตรา56วรรคสามกำหนดให้เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองใช้มาตรการบังคับ

ทางปกครองเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครองโดยกระทบกระเทือนผู้อยู่

ในบังคับของคำสั่งทางปกครองน้อยที่สุดหรือในกรณีเร่งด่วนพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

พ.ศ.2539มาตรา58วรรคสามก็บัญญัติให้ต้องกระทำโดยสมควรแก่เหตุแสดงให้เห็นว่าการใช้มาตรการ

บังคับทางปกครองทุกกรณีต้องยึดหลักพอสมควรแก่เหตุ(GrundsatzderVerhaeltnismaessigkeit)ซึ่ง

เปน็หลกักฎหมายทัว่ไปที่สำคญัในประเทศสหพนัธ์สาธารณรฐัเยอรมนีและมีคา่บงัคบัเทา่กบัรฐัธรรมนญูหรอื

อาจกล่าวได้ว่าการบังคับทางปกครองของเจ้าหน้าที่ต้องกระทำพอสมควรแก่เหตุเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของ

คำสั่งทางปกครองเท่านั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนดังนั้นแม้บางกรณีการกระทำ

ของเจ้าหน้าที่จะชอบด้วยกฎหมายแต่ถ้ากระทำโดยใช้ความรุนแรงเกินความจำเป็นขัดต่อหลักพอสมควรแก่

เหตุแล้วการใช้อำนาจนั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(โปรดอ่านหนังสือกฎหมายปกครองโดยรองศาสตราจารย์ดร.กมลชัยรัตนสกาววงศ์บทที่2และ

บทที่3และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองบทที่8โดยนายชัยวัฒน์วงศ์วัฒนศานต์)

กิจกรรม10.4.3

เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องยึดหลักกฎหมายใดในการใช้อำนาจดุลพินิจดำเนินการตาม

มาตรการบังคับทางปกครอง

Page 33: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-33

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.4.3

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.4กิจกรรม10.4.3)

Page 34: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-34

ตอนที่10.5

การใช้สิทธิโต้แย้งคัดค้านการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่10.5แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่10.5.1การอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง

เรื่องที่10.5.2การใช้สิทธิโต้แย้งทางศาล

แนวคิด1. ในกรณีที่มีการบังคับทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้อยู่ในบังคับทางปกครองใน

ฐานะที่เป็นประธานของเรื่องย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งการบังคับทางปกครองดังกล่าวด้วย

การอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเว้นแต่การออกคำสั่งโดยรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ

2. ในกรณีที่มีการบังคับทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้อยู่ในบังคับทางปกครองย่อม

สามารถใช้สิทธิโต้แย้งด้วยการฟ้องต่อศาล

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่10.5จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายและวิเคราะห์ถึงการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองได้

2. อธิบายและวิเคราะห์ถึงการใช้สิทธิโต้แย้งทางศาลได้

Page 35: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-35

เรื่องที่10.5.1การอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง

สาระสังเขปมาตรการบังคับทางปกครองมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ที่มุ่งให้เกิดผลทางกฎหมายกระทบสิทธิและ

เสรีภาพเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการออกคำสั่งทางปกครองประเภทที่ต้องมีการบังคับการด้วย

เหตุนี้ หากผู้ถูกดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองเห็นว่า เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามมาตรการทาง

ปกครองที่มิชอบด้วยกฎหมายก็อาจอุทธรณ์การบังคับทางปกครองนั้นต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเพื่อขอให้

ทบทวนการบังคับทางปกครองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเอง โดยให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับ

การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามมาตรา62แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

เว้นแต่เป็นการออกคำสั่งโดยรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการตามมาตรา44และมาตรา48แห่งพระราชบัญญัติ

วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

(โปรดอ่านหนังสือกฎหมายปกครองโดยรองศาสตราจารย์ดร.กมลชัยรัตนสกาววงศ์บทที่2และ

บทที่3และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองบทที่8โดยนายชัยวัฒน์วงศ์วัฒนศานต์)

กิจกรรม10.5.1

เมื่อผู้อยู่ในบังคับทางปกครองไม่พอใจการบังคับทางปกครองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง

ผู้อยู่ในบังคับทางปกครองดังกล่าวมีสิทธิขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองทบทวนด้วยวิธีการใดบ้าง จง

อธิบาย

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.5.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.5กิจกรรม10.5.1)

Page 36: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-36

เรื่องที่10.5.2การใช้สิทธิโต้แย้งทางศาล

สาระสังเขปการควบคมุเจา้หนา้ที่ฝา่ยปกครองโดยการบงัคบับญัชาและการอทุธรณ์ภายในฝา่ยปกครองอาจมีขอ้

เสียบางประการกล่าวคือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมักมีแนวโน้มยืนยันตามความเห็นเดิมของฝ่ายปกครองเอง

และหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอาจไม่สมบูรณ์เพียงพอ จึงจำเป็นต้องให้องค์กรที่ใช้อำนาจ

ตุลาการที่มีความเป็นอิสระ มีวิธีพิจารณาที่สมบูรณ์ เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการกระทำของฝ่าย

ปกครอง และเมื่อมาตรการบังคับทางปกครองให้ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครองการใช้สิทธิโต้แย้งมาตรการ

บังคับทางปกครอง จึงอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง

และวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542มาตรา9

(โปรดอ่านหนังสือกฎหมายปกครองโดยรองศาสตราจารย์ดร.กมลชัยรัตนสกาววงศ์บทที่2และ

บทที่3และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองบทที่8โดยนายชัยวัฒน์วงศ์วัฒนศานต์)

กิจกรรม10.5.2

เมื่อผู้อยู่ในบังคับทางปกครองไม่พอใจการบังคับทางปกครองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองผู้

อยู่ในบังคับทางปกครองดังกล่าว สามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ควบคุมตรวจสอบการบังคับทาง

ปกครองดังกล่าวได้หรือไม่อย่างไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม10.5.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่10ตอนที่10.5กิจกรรม10.5.2)

Page 37: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-37

แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่10

มาตรการบังคับทางปกครอง

ตอนที่10.1สภาพปัญหาก่อนมีและแนวทางในการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทาง

ปกครองพ.ศ.2539

แนวตอบกิจกรรม10.1.1

เดมิประเทศไทยไมม่ีกฎหมายทัว่ไปบญัญัติถงึขอบเขตการใช้อำนาจและวธิีพจิารณาความในเชงิของ

การคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนหรือบางครั้งก็กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติเฉพาะเรื่องที่กระจัดกระจายและ

มีความหลากหลายด้วยกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไปไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกทั้งประชาชนไม่มีสิทธิ

เรียกร้องให้ได้รับการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับทางปกครองของตนหากไม่มีกฎหมายบัญญัติรองรับสิทธิของ

ประชาชนไว้อย่างชัดแจ้ง

แนวตอบกิจกรรม10.1.2

ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบญัญตัิวธิีปฏบิตัิราชการทางปกครองพ.ศ.2539โดยคณะกรรมการ

ยกร่างได้นำกฎหมายวิธีพิจารณาเรื่องในชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

มาเปน็แนวทางในการยกรา่งวางหลกัเกณฑ์ทัว่ไปในการปฏบิตัิราชการทางปกครองไม่วา่จะเปน็การเตรยีมการ

หรอืการดำเนนิการเจา้หนา้ที่ฝา่ยปกครองเพือ่ให้เกดิความเปน็เอกภาพและเปน็หลกัในการปฏบิตัิราชการของ

เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่ต้องกระทำการตามกฎหมายปกครองเฉพาะเรื่องต่างๆและได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่

เป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในฐานะที่ประชาชนเป็นผู้ทรงสิทธิภายใต้หลักนิติรัฐ

ตอนที่10.2ประเภทของคำสั่งทางปกครองที่ต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

แนวตอบกิจกรรม10.2.1

เป็นการกระทำทางปกครองที่เรียกให้เอกชนชำระเงินตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็นเงิน

ภาษีเงินค่าบริการเงินสมทบหรือเงินประเภทอื่นใดที่มีกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองดำเนินการ

เรียกให้เอกชนชำระได้

Page 38: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-38

แนวตอบกิจกรรม10.2.2

เป็นการสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในรูปของคำสั่ง เช่นคำสั่งรื้อถอนอาคารที่เจ้าของอาคาร

ก่อสร้างอาคารที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ข้อบัญญัติท้องถิ่น กฎ

กระทรวง และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติ

ควบคุมอาคารพ.ศ.2522

ตอนที่10.3หลักเกณฑ์ทั่วไป

แนวตอบกิจกรรม10.3.1

การบังคับทางปกครองจะใช้กับคำสั่งทางปกครองประเภทที่ต้องมีการบังคับการให้เป็นไปตาม

วัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครองเนื่องจากการบังคับทางปกครองมีขึ้นเพื่อให้มีการดำเนินการเป็นไปตาม

วัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครองในกรณีเอกชนฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือปฏิบัติไม่ครบ

ตามข้อกำหนดในคำสั่งทางปกครอง

แนวตอบกิจกรรม10.3.2

การจะบงัคบัทางปกครองดว้ยวธิีการดำเนนิคดีหรอืบงัคบัคดีคดีทางแพง่ที่ตอ้งอาศยัคำพพิากษาของ

ศาลและหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา276แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งย่อม

ต้องมีคดีจำนวนมากเพราะการกระทำทางปกครองมีอยู่อย่างต่อเนื่องเสมอและอาจต้องใช้ระยะเวลาในการ

พิจารณาคดีนาน ไม่ทันกับการบริหารราชการทางปกครองที่ต้องตอบสนองกับความต้องการของประชาชน

ส่วนรวมที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงจำเป็นที่จะต้องให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่สามารถใช้มาตรการ

บังคับทางปกครองได้

แนวตอบกิจกรรม10.3.3

โดยหลักแล้วกรณีที่มีการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งทางปกครองจะไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับ

คำสั่งทางปกครองเว้นแต่เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งเองผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์หรือผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย

ความถูกต้องของคำสั่งทางปกครอง สั่งให้ทุเลาการบังคับทางปกครองไว้ก่อน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะ

ดำเนินการบังคับทางปกครองต่อไปไม่ได้ตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

พ.ศ. 2539 แต่ถ้าไม่มีกฎหมายหรือคำสั่งให้ทุเลาการบังคับทางปกครองก็ย่อมต้องมีการดำเนินการบังคับ

ทางปกครองต่อไปแม้คำสั่งทางปกครองนั้นจะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม เว้นแต่กรณีที่คำสั่งทางปกครอง

ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรงถึงระดับโมฆะกรรมเนื่องจากคำสั่งทางปกครองย่อมมีผลบังคับตราบเท่า

ที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น ทั้งนี้ ตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่ง

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

Page 39: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-39

แนวตอบกิจกรรม10.3.4

เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองย่อมไม่อาจที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองต่อหน่วยงานของรัฐในกรณี

หน่วยงานของรัฐผู้รับคำสั่งทางปกครองไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองเพราะเป็นเรื่องไม่สมควรที่จะ

ใช้อำนาจรัฐมาบังคับกับหน่วยงานของรัฐด้วยกันเว้นแต่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอย่างอื่น

นอกจากนี้การบังคับทางปกครองจะไม่ใช้กับเจ้าหน้าที่ด้วยกันตามมาตรา55แห่งพระราชบัญญัติ

วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 เช่น หน่วยงานของรัฐสร้างอาคารขนาดใหญ่ติดแม่น้ำโดยมิได้

ศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมิชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้มาตรการรื้อถอนอาคาร

ดังกล่าวไม่ได้

ตอนที่10.4หลักเกณฑ์ในการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

แนวตอบกิจกรรม10.4.1

เมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครองให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ แต่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทาง

ปกครองพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539มาตรา 58 ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่อาจ

ใช้มาตรการบังคับทางปกครองได้ 2 ประการ ประการแรก การใช้กำลังทางกายภาพเข้าดำเนินการ โดย

เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองหรือเจ้าหน้าที่มอบหมายให้บุคคลอื่นการทำการแทนประการที่สองการ

ใช้มาตรการปรับทางปกครองรายวันเพื่อกดดันให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองรีบเร่งปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งทาง

ปกครองมาตรการปรับรายวันนี้แตกต่างจากโทษปรับทางอาญาและโทษปรับกรณีกระทำผิดกฎหมายซึ่งเป็น

ข้อห้ามในทางปกครองทั้งนี้โดยหลักกฎหมายเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโทษปรับทางอาญาและโทษปรับ

ทางปกครองจะต้องระงับโดยคำพิพากษาของศาลที่มีเขตอำนาจในคดีอาญา(ศาลยุติธรรม)

แนวตอบกิจกรรม10.4.2

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539มาตรา57ได้กำหนดถึงขั้นตอนและวิธี

การใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยวางหลักว่า เมื่อถึงกำหนดชำระเงินแล้วผู้รับชำระคำสั่งทางปกครอง

ไม่มีการชำระเงินให้ถูกต้องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเพิกเฉยไม่ชำระหรือชำระบ้างแต่ไม่ครบถ้วนถูกต้อง

เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องดำเนินการออกหนังสือเตือนให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงินหากไม่ปฏิบัติ

ตามคำเตือนเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินและขายทอดตลาดโดยวิธีการยึดการอายัดและการ

ขายทอดตลาดให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมทั้งนี้ผู้มีอำนาจในการ

ยึดอายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้รับคำสั่งทางปกครองเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่9(พ.ศ.

2542)ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

Page 40: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-40

แนวตอบกิจกรรม10.4.3

ในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองไม่ว่าจะเป็นกรณีปกติทั่วไปหรือเร่งด่วนก็ตามต้องกระทำ

โดยยึดหลักพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่สำคัญในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

และมีค่าบังคับเท่ากับรัฐธรรมนูญ

ตอนที่10.5การใช้สิทธิโต้แย้งคัดค้านการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

แนวตอบกิจกรรม10.5.1

เมือ่ผู้อยู่ในบงัคบัทางปกครองไม่พอใจการบงัคบัทางปกครองของเจา้หนา้ที่ฝา่ยปกครองที่มีลกัษณะ

เปน็กฎเกณฑ์ที่มุง่ให้เกดิผลทางกฎหมายกระทบสทิธิและเสรภีาพขึน้ใหม่ที่แยกเปน็เอกเทศออกจากคำสัง่ทาง

ปกครองที่ต้องมีการบังคับการผู้อยู่ในบังคับทางปกครองดังกล่าวมีสิทธิขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองทบทวน

การบังคับทางปกครองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเองโดยให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับการอุทธรณ์

คำสั่งทางปกครองตามมาตรา62แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

แนวตอบกิจกรรม10.5.2

เมื่อผู้อยู่ในบังคับทางปกครองไม่พอใจการบังคับทางปกครองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองผู้อยู่ใน

บังคับทางปกครองดังกล่าวสามารถใช้สิทธิทางศาลซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการที่มีความเป็นอิสระมีวิธี

พิจารณาที่เป็นรูปแบบพิธีการทางศาลเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการกระทำของฝ่ายปกครองและเมื่อ

มาตรการบังคับทางปกครองให้ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครองการใช้สิทธิโต้แย้งมาตรการบังคับทางปกครอง

จึงอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี

ปกครองพ.ศ.2542มาตรา9

Page 41: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-41

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “มาตรการบังคับทาง

ปกครอง”

คำแนะนำ อา่นคำถามตอ่ไปนี้แลว้เขยีนคำตอบลงในชอ่งวา่งที่กำหนดให้นกัศกึษามีเวลาในการทำแบบ

ประเมินผลตนเองชุดนี้30นาที

1. จงอธิบายถึงวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในประเทศไทยว่ามีการกำหนดให้การอุทธรณ์เป็นเหตุให้ทุเลา

การบังคับทางปกครองหรือไม่แตกต่างจากวิธีพิจารณาในชั้นเจ้าหน้าที่ของประเทศสหพันธรัฐสาธารณรัฐ-

เยอรมนีหรือไม่อย่างไร

2. จงอธบิายถงึขัน้ตอนและวธิีการใช้มาตรการบงัคบัทางปกครองกรณีกำหนดให้ผูร้บัคำสัง่ทางปกครองชำระ

เงินและหากมีการบังคับคดีซ้ำซ้อนกันระหว่างการบังคับทางปกครองกับการบังคับคดีของศาลจะยึดหลัก

กฎหมายใดในการพิจารณา

3. ผู้อยู่ในบงัคบัทางปกครองอาจใช้สทิธิโต้แยง้มาตรการบงัคบัทางปกครองที่ตนเหน็วา่ไม่ชอบดว้ยกฎหมาย

ได้หรือไม่อย่างไร

Page 42: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-42

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่10

ก่อนเรียน1.เดิมประเทศไทยไม่มีกฎหมายทั่วไปบัญญัติถึงขอบเขตการใช้อำนาจและวิธีพิจารณาความในเชิง

ของการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนหรือบางครั้งก็กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติเฉพาะเรื่องที่กระจัดกระจาย

และมีความหลากหลายด้วยกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไปไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกทั้งประชาชนไม่มี

สิทธิเรียกร้องให้ได้รับการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับทางปกครองของตนหากไม่มีกฎหมายบัญญัติรองรับสิทธิ

ของประชาชนไว้อย่างชัดแจ้ง

2.ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539 โดยคณะ

กรรมการยกร่างได้นำกฎหมายวิธีพิจารณาเรื่องในชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐ

เยอรมนีมาเป็นแนวทางในการยกร่างวางหลักเกณฑ์ทั่วไปในการปฏิบัติราชการทางปกครองไม่ว่าจะเป็นการ

เตรียมการหรือการดำเนินการเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเป็นหลักในการปฏิบัติ

ราชการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่ต้องกระทำการตามกฎหมายปกครองเฉพาะเรื่องต่างๆ และได้กำหนด

หลักเกณฑ์ที่เป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในฐานะที่ประชาชนเป็นผู้ทรงสิทธิภายใต้หลัก

นิติรัฐ

3.คำสั่งทางปกครองที่ต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครองแบ่งได้เป็น2กรณีคือ

3.1 คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการเรียกให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงินตามที่

กฎหมายกำหนดเป็นการกระทำทางปกครองที่เรียกให้เอกชนชำระเงินตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

3.2คำสัง่ทางปกครองที่มีลกัษณะเปน็การกำหนดให้ผูร้บัคำสัง่ทางปกครองกระทำการยอมรบั

ภาระบางอย่างหรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในรูปของ

คำสั่งให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการซึ่งมิใช่กรณีที่เรียกให้ชำระเงิน

หลังเรียน1.กรณีที่ผู้รับคำสั่งทางปกครองไม่พอใจในคำสั่งทางปกครองหรือเห็นว่าคำสั่งทางปกครองไม่ชอบ

ด้วยกฎหมายก็อาจมีการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านภายในฝ่ายปกครอง ซึ่งโดยหลักทั่วไปแล้วหากกฎหมาย

เฉพาะเรื่องไม่ได้บัญญัติขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ ก็สามารถที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งทาง

ปกครองต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองตามมาตรา44แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

พ.ศ.2539หรืออาจมีการฟ้องต่อศาลปกครองตามมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี

พิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542หรือดำเนินการฟ้องต่อศาลยุติธรรมกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้อยู่ใน

อำนาจศาลเฉพาะอื่นใดตามหลักอำนาจฟ้องคดีโดยทั่วไปที่ได้รับการบัญญัติไว้ในมาตรา218ของรัฐธรรมนูญ

Page 43: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-43

แห่งราชอาณาจักรไทยกรณีเช่นนี้เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งเองผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์หรือผู้มีอำนาจพิจารณา

วินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทางปกครองอาจสั่งให้ทุเลาการบังคับทางปกครองไว้ก่อนคำสั่งทางปกครองที่

ถูกสั่งให้ทุเลาการบังคับนั้นย่อมถือเป็นคำสั่งทางปกครองที่ยังไม่อาจบังคับการได้(nochnichtvollstreck-

bar)เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะดำเนินการบังคับทางปกครองต่อไปไม่ได้ตามมาตรา56แห่งพระราชบัญญัติ

วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539แต่ถ้าไม่มีกฎหมายหรือคำสั่งให้ทุเลาการบังคับทางปกครองก็ย่อม

ต้องมีการดำเนินการบังคับทางปกครองต่อไปแม้คำสั่งทางปกครองนั้นจะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตามเว้นแต่

กรณีที่คำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรงถึงระดับโมฆะกรรมเนื่องจากคำสั่งทางปกครอง

ย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น ทั้งนี้ ตามมาตรา 42

วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 ยึดหลักการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านไม่

เป็นการทุเลาการบังคับทางปกครองไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์ต่อองค์กรวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง

หรือฟ้องร้องต่อองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการแตกต่างจากกฎหมายวิธีพิจารณาชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของ

ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(Verwaltungsverfahrensgesetzvom25Mai1976)ที่ยึดหลักการ

อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านไม่ว่าต่อองค์กรวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองหรือยื่นฟ้องต่อศาลให้เพิกถอน

คำสั่งทางปกครองที่มีผลเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของผู้ฟ้อง หรือคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้สิทธิ

ประโยชน์แก่ผู้ฟ้องนั้นย่อมเป็นการทุเลาการบังคับทางปกครองยกเว้นคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ชำระ

ภาษีอากรค่าธรรมเนียมการอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับ

2.การกำหนดให้ผูร้บัคำสัง่ทางปกครองชำระเงนิมีขัน้ตอนและวธิีการใช้มาตรการบงัคบัทางปกครอง

ดังนี้

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539มาตรา 57 ได้กำหนดถึงขั้นตอน

และวิธีการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยวางหลักว่า เมื่อถึงกำหนดชำระเงินแล้ว ผู้รับชำระคำสั่งทาง

ปกครองไม่มีการชำระเงินให้ถูกต้องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเพิกเฉยไม่ชำระหรือชำระบ้างแต่ไม่ครบถ้วน

ถูกต้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องดำเนินการดังนี้

2.1ออกหนังสือเตือนให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองชำระเงินกล่าวคือให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง

มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะต้องพิจารณาระยะเวลาให้สอดคล้องและ

เหมาะสมกับเรื่องและจำนวนเงินที่ต้องชำระด้วย แต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ซึ่งหากมีการนำเงินมาชำระ

ครบถ้วนถูกต้อง มาตรการบังคับทางปกครองก็เป็นอันสิ้นสุด อนึ่ง คำเตือนดังกล่าวไม่ถือเป็นคำสั่งทาง

ปกครองเพราะไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่กระทบต่อสิทธิขึ้นใหม่

2.2การยึดหรืออายัดทรัพย์สินและขายทอดตลาดถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือนเช่นเพิก

เฉยไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกหรือครั้งที่สองก็ตามเจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับ

ทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินและขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน

ส่วนวิธีการยึด การอายัด และการขายทอดตลาด ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

แพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม กล่าวคือ นำบทบัญญัติในภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับตามคำพิพากษาหรือ

Page 44: Ex.41712-10law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-10.pdfว ธ ปฏ บ ต ราชการ ทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 10.2 ประเภทของ คำส งทางปกครอง

10-44

คำสัง่มาตรา271ถงึมาตรา323แหง่ประมวลกฎหมายวธิีพจิารณาความแพง่มาใช้บงัคบัไม่วา่จะเปน็เรือ่งการ

ยึดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการขายทอดตลาดการร้องขัดทรัพย์การขอกันส่วนการขอเฉลี่ยทรัพย์ทรัพย์สินที่

ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีหรือการอายัดสิทธิเรียกร้อง

ทั้งนี้ ผู้มีอำนาจในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้รับคำสั่งทางปกครอง

หรือโดยนัยนี้คือ อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครอง นั้น รายละเอียดปรากฏตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 9

(พ.ศ.2542) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 เช่น อธิบดีหรือ

หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ในกรณีที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของกรมหรือ

ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมแล้วแต่กรณีเป็นต้น

อนึ่ง การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจยึด อายัด และขายทอดตลาดเพื่อบังคับชำระหนี้

เงิน อาจเกิดปัญหาการบังคับคดีซ้ำซ้อนกันได้ระหว่างการบังคับทางปกครองกับการบังคับคดีของศาล โดย

มุ่งหมายที่จะบังคับเอากับทรัพย์สินอย่างเดียวกัน กรณีนี้ต้องใช้หลักบุริมสิทธิเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา

กล่าวคือหากสิทธิของฝ่ายใดสูงกว่าให้ใช้สิทธิของฝ่ายนั้น เช่น กรณีที่ศาลคดีแพ่งไปยึดทรัพย์มาขายทอด

ตลาดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดชำระค่าภาษีอากรอาจร้องขอต่อศาลให้

หักเงินค่าภาษีอากรที่ค้างชำระก่อน(คำพิพากษาศาลฎีกาที่558/2478)

3.ผู้อยู่ในบังคับทางปกครองอาจใช้สิทธิโต้แย้งมาตรการบังคับทางปกครองที่ตนเห็นว่าไม่ชอบด้วย

กฎหมายได้2ประการดังนี้

3.1 การอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองมาตรการบังคับทางปกครองมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์

ที่มุ่งให้เกิดผลทางกฎหมายกระทบสิทธิและเสรีภาพเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการออกคำสั่งทาง

ปกครองประเภทที่ต้องมีการบังคับการด้วยเหตุนี้หากผู้ถูกดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองเห็น

ว่าเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามมาตรการทางปกครองที่มิชอบด้วยกฎหมายก็อาจอุทธรณ์การบังคับทางปกครอง

นั้นต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเพื่อขอให้ทบทวนการบังคับทางปกครองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเองโดยให้

ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติวิธี

ปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539เว้นแต่เป็นการออกคำสั่งโดยรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการตามมาตรา

44และมาตรา48แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539

3.2 การใช้สิทธิโต้แย้งทางศาลการควบคุมเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองโดยการบังคับบัญชาและ

การอทุธรณ์ภายในฝา่ยปกครองอาจมีขอ้เสยีบางประการกลา่วคอืเจา้หนา้ที่ฝา่ยปกครองมกัมีแนวโนม้ยนืยนั

ตามความเห็นเดิมของฝ่ายปกครองเองและหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอาจไม่สมบูรณ์เพียง

พอจึงจำเป็นต้องให้องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการที่มีความเป็นอิสระมีวิธีพิจารณาที่เป็นรูปแบบพิธีการทางศาล

เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการกระทำของฝ่ายปกครองและเมื่อมาตรการบังคับทางปกครองให้ถือว่า

เป็นคำสั่งทางปกครองการใช้สิทธิโต้แย้งมาตรการบังคับทางปกครองจึงอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาล

ปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542มาตรา9