comparative micro finance

189

Upload: bombust

Post on 15-Oct-2014

228 views

Category:

Documents


5 download

TRANSCRIPT

Page 1: Comparative Micro Finance
Page 2: Comparative Micro Finance

รายงานผลการวิจัย สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

สถาบันระหวางประเทศเพ่ือการคาและการพัฒนา (องคการมหาชน) ลิขสิทธิ์ © สถาบันระหวางประเทศเพื่อการคาและการพัฒนา (2552)

ขอมูลท่ีปรากฏอยูในรายงานฉบับนี้เปนความเหน็สวนบุคคลของนักวิจัย และอาจไมสะทอนถึงความเหน็ของสถาบันระหวางประเทศเพ่ือการคาและการพัฒนา

Page 3: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

คํานํา

การดําเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมแหงชาติที่ผานมานั้นมีขอจํากัดหลายประการสงผลใหผลประโยชนทางเศรษฐกิจท่ีเกิดข้ึนถูกจัดสรรใหแกประชาชนทั่วไปอยางไมเทาเทียมกัน ประชาชนสวนใหญที่มีฐานะยากจนยังไมสามารถเขาถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน แหลงเงินทุน และการใหบริการทางการเงินพื้นฐานไดอยางเต็มที่มากนัก หนังสือเลมนี้เปนสวนหนึ่งของโครงการวิจัย เรื่อง “สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย” ที่ทางสถาบันระหวางประเทศเพื่อการคาและการพัฒนา (องคการมหาชน) จัดทําขึ้นดวยเล็งเห็นถึงความสําคัญของผลกระทบจากการขาดโอกาสที่จะเขาถึงแหลงเงินทุนดังกลาวเพื่อนํามาใชพัฒนาคุณภาพชีวิตของผูที่มีฐานะยากจน เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเหมาะสมสําหรับประเทศไทย

หนังสือเลมนี้ประกอบดวย กรอบการวิเคราะหระบบการเงินในระดับจุลภาค (Micro-

Financial System Framework) ทั้งในระดับลูกคา ระดับองคกร และระดับนโยบาย รายละเอียดสถาบันการเงินในระดับจุลภาคที่สําคัญของประเทศไทย บังกลาเทศ และมองโกเลีย และผลการศึกษา และขอเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันการเงินในระดับจุลภาคที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทย

คณะผูวิจัยหวังเปนอยางยิ่งวาหนังสือเลมนี้จะเปนประโยชนแกผูท่ีมีสวนเกี่ยวของท้ัง

ภาครัฐ เอกชน รวมท้ังผูท่ีสนใจ สามารถนําผลการศึกษา ขอคิดเห็น ขอเสนอแนะ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติท่ีดีของสถาบันการเงินระดับจุลภาคในประเทศไทย ธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ในประเทศบังกลาเทศ และธนาคาร XacBank ในประเทศมองโกเลียท่ีเปนเง่ือนไขแหงความสําเร็จในการดําเนินงานระบบการเงินในระดับจุลภาค ไปใชในการศึกษา ปรับปรุง และพัฒนาระบบการเงินในระดับจุลภาคท่ีเหมาะสมสําหรับประเทศไทยตอไป

คณะนักวจิัย

Page 4: Comparative Micro Finance
Page 5: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

สารบัญ

หนา บทสรุปสําหรับผูบริหาร ..............................................................................................................................i บทท่ี 1 กรอบการวิเคราะหระบบการเงินในระดับจุลภาค (Micro-Financial System Framework)…….1

1.1 บทนํา ...................................................................................................................................1

1.2 การวิเคราะหในระดับลูกคา (Clients).......................................................................................3

1.2.1 ลูกคาของสถาบันการเงินในระดับจลุภาค..........................................................................3

1.2.2 การประเมินผลกระทบของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคตอลูกคา ................................8

1.3 การวิเคราะหในระดับองคกร (Micro Level)..........................................................................11

1.3.1 ประเภทขององคกรเงินในระดับจุลภาค ..........................................................................11

1.3.2 การระดมเงินทุน ..............................................................................................................13

1.3.3 การใหสินเช่ือ...................................................................................................................14

1.4 การวิเคราะหในระดับนโยบาย (Macro Level).......................................................................21

1.4.1 รัฐบาลกับการเปนผูใหการอุดหนนุสินเช่ือในระดับจุลภาค.............................................21

1.4.2 รัฐบาลกับการเปนผูกําหนดนโยบายท่ัวไป ......................................................................23

1.4.3 รัฐบาลกับการเปนผูกําหนดนโยบายเชิงรุก ......................................................................25 บทท่ี 2 ระบบการเงนิระดับจุลภาคในประเทศไทย ..................................................................................27

2.1 ระบบการเงินระดับจุลภาคในประเทศไทย ............................................................................29

2.2 โครงการกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง...............................................................................34

2.2.1 ความเปนมา .....................................................................................................................34

2.2.2 นโยบายและวัตถุประสงค ...............................................................................................34

2.2.3 ลักษณะการดําเนนิการ.....................................................................................................35

2.2.4 การบริหารจัดการการเงิน ................................................................................................35

2.2.5 การใหสินเช่ือ...................................................................................................................35

2.2.6 ผลการดําเนินงาน.............................................................................................................36

2.2.7 ผลจากการดําเนินงานของโครงการกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง ...............................38

Page 6: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

สารบัญ (ตอ)

หนา 2.3 ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ......................................................................39

2.3.1 ความเปนมา .....................................................................................................................39

2.3.2 นโยบาย และวัตถุประสงค ..............................................................................................39

2.3.3 ลักษณะการดําเนนิการ.....................................................................................................40

2.3.4 การบริหารจัดการทางการเงิน ..........................................................................................41

2.3.5 การใหสินเช่ือ...................................................................................................................43

2.3.6 การใหบริการอ่ืนๆ ...........................................................................................................47

2.3.7 ผลการดําเนินการ.............................................................................................................50

2.3.8 ผลจากการดําเนินงานของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร.......................55

2.4 ธนาคารออมสิน .....................................................................................................................56

2.4.1 ความเปนมา .....................................................................................................................56

2.4.2 นโยบาย และวัตถุประสงค ..............................................................................................56

2.4.3 ลักษณะการดําเนนิการ.....................................................................................................56

2.4.4 การบริหารจัดการการเงิน ................................................................................................57

2.4.5 การใหสินเช่ือ...................................................................................................................59

2.4.6 โครงการธนาคารประชาชน.............................................................................................61

2.4.7 ผลการดําเนินการ.............................................................................................................66

2.4.8 ผลจากการดําเนินงานของโครงการธนาคารประชาชน....................................................73 บทท่ี 3 ระบบการเงนิระดับจุลภาคในประเทศบังกลาเทศ .......................................................................74

3.1 ระบบการเงินระดับจุลภาคในประเทศบังกลาเทศ ..................................................................75

3.2 ธนาคารกรามีน ......................................................................................................................76

3.2.1 ความเปนมา .....................................................................................................................76

3.2.2 นโยบายและวัตถุประสงค ...............................................................................................77

3.2.3 ลักษณะการดําเนนิการ.....................................................................................................81

3.2.4 การบริหารจัดการการเงิน ................................................................................................84

3.2.5 การใหสินเช่ือ...................................................................................................................87

3.2.6 ผลการดําเนินการ.............................................................................................................96

3.2.7 ผลจากการดําเนินการของการใหสินเช่ือระดับจุลภาคในประเทศบังกลาเทศ ................102

Page 7: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

สารบัญ (ตอ)

หนา บทท่ี 4 ระบบการเงนิระดับจุลภาคในประเทศมองโกเลีย ..................................................................... 104

4.1 ระบบการเงินระดับจุลภาคในประเทศมองโกเลีย ................................................................104

4.2 ธนาคาร XacBank ................................................................................................................107

4.2.1 ความเปนมา ...................................................................................................................107

4.2.2 นโยบายและวัตถุประสงค .............................................................................................108

4.2.3 ลักษณะการดําเนนิงาน ..................................................................................................109

4.2.4 การบริหารจัดการทางการเงิน ........................................................................................110

4.2.5 การใหสินเช่ือ.................................................................................................................114

4.2.6 ผลการดําเนินการ...........................................................................................................118 4.2.7 ผลจากการดําเนินการของธนาคาร XacBank.................................................................123

บทท่ี 5 ผลการศึกษา และขอเสนอแนะ .................................................................................................. 124

5.1 ผลการวิเคราะหเปรียบเทียบสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของไทย บังกลาเทศ และ มองโกเลีย ...........................................................................................................................124

5.1.1 นโยบาย และวัตถุประสงคในการดําเนินการ.................................................................124

5.1.2 กลุมเปาหมาย การควบคุมดูแล และการบริหารงาน ......................................................125

5.1.3 การกําหนดอัตราดอกเบี้ย...............................................................................................127

5.1.4 กลยุทธ รูปแบบการใหกู การสรางแรงจูงใจ และการใหบริการ ....................................127

5.1.5 ความสําเร็จท่ีแตกตาง ....................................................................................................130

5.1.6 ปจจัยสูความสําเร็จ และการกําหนดเปาประสงค ...........................................................132

5.2 ขอเสนอแนะรูปแบบการบริหารสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของประเทศไทย ..............139

5.2.1 ขอเสนอแนะในระดับลูกคา (Clients)............................................................................140

5.2.2 ขอเสนอแนะในระดับองคกร.........................................................................................142

5.2.3 ขอเสนอแนะในระดับนโยบาย ......................................................................................145

บรรณานุกรม .......................................................................................................................................... 149

ภาคผนวก................................................................................................................................................ 156

Page 8: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

สารบัญตาราง

หนา ตารางท่ี 1.1 การเขาถึงกลุมลูกคาของสถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาจากประเทศ

ฟลิปปนส อูกานดา โบลิเวยี และบังกลาเทศ .............................................................5

ตารางท่ี 1.2 จุดแข็งและจดุออนขององคกรการเงินในระดับจุลภาคในแตละประเภท ................12

ตารางท่ี 1.3 คําม่ันสัญญาของธนาคารกรามีน และ Bangladesh Rural Advancement Committee (BRAC) ...................................................................................................................17

ตารางท่ี 1.4 ศักยภาพทางการเงินของการใหสินเช่ือในแตละประเภท ........................................20

ตารางท่ี 1.5 กฎระเบียบท่ีปรับใชกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาค .....................................24

ตารางท่ี 2.1 รูปแบบของสถาบันการเงินในระดับจุลภาค (Microfinance) ในประเทศไทย .........32

ตารางท่ี 2.2 การจัดอันดับมาตรฐานกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง ..........................................36

ตารางท่ี 2.3 โครงสรางเงินฝากของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร ....................42

ตารางท่ี 2.4 อัตราดอกเบ้ียเงินใหสินเช่ือของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร......46

ตารางท่ี 2.5 จํานวนหนวยใหบริการของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ............52

ตารางท่ี 2.6 รายงานขอมูลทางการเงินท่ีสําคัญของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร....53

ตารางท่ี 2.7 โครงสรางเงินฝากของธนาคารออมสิน ป 2549-2550.............................................59

ตารางท่ี 2.8 ผลการดําเนินงานสินเช่ือโครงการธนาคารประชาชน ณ ส้ินสุดเดือน ธันวาคม ป 2548-2551 ...........................................................................................................70

ตารางท่ี 2.9 รายงานขอมูลทางการเงินท่ีสําคัญของธนาคารออมสิน ...........................................72

ตารางท่ี 3.1 สรุปขอแตกตางระหวางธนาคารกรามีน และธนาคารพาณิชยท่ัวไป.......................78

ตารางท่ี 3.2 เครือขายบริษัทของกรามีน (Grameen Family) .....................................................943

ตารางท่ี 4.1 โครงสรางเงินฝากของธนาคาร XacBank ป 2549-2550........................................113

ตารางท่ี 5.1 ตารางเปรียบเทียบองคกรการเงินระดับจุลภาคท่ีศึกษา......................................134

Page 9: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

สารบัญรูปภาพ

หนา รูปภาพท่ี 1.1 กรอบโครงสรางสถาบันการเงินในระดับจลุภาค.......................................................3

รูปภาพท่ี 1.2 กลุมลูกคาของสถาบันการเงินในระดับจุลภาค ..........................................................4

รูปภาพท่ี 1.3 ระดับความยากงายและโอกาสสําเร็จของการประกันในระดับจุลภาค ......................7

รูปภาพท่ี 2.1 มูลคาเงินฝากของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2550-2551......43

รูปภาพท่ี 2.2 จํานวนลูกคาเงินเช่ือของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2545-2549 ...........................................................................................................49

รูปภาพท่ี 2.3 มูลคาสินเช่ือของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2545-2549.......49

รูปภาพท่ี 2.4 โครงสรางสินเช่ือของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2549 จําแนกตามประเภทสินเช่ือ ......................................................................................50

รูปภาพท่ี 2.5 ปริมาณเงินใหสินเช่ือและเงินฝากของธนาคารเพือ่การเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2548-2550 ...........................................................................................................52

รูปภาพท่ี 2.6 ผลกําไรของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรในป 2545-2550 ..........53

รูปภาพท่ี 2.7 อัตราผลตอบแทนผูถือหุนของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2545-2550 ............................................................................................................54

รูปภาพท่ี 2.8 มูลคาสินทรัพยรวมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2548-2550.....54

รูปภาพท่ี 2.9 มูลคาเงินฝากของธนาคารออมสิน ป 2545-2550.....................................................58

รูปภาพท่ี 2.10 มูลคาสินเช่ือของธนาคารออมสิน ป 2545-2550......................................................60

รูปภาพท่ี 2.11 โครงสรางสินเช่ือของธนาคารออมสิน ป 2550 จําแนกตามประเภท .......................61

รูปภาพท่ี 2.12 จํานวนสมาชิกเงินฝากโครงการธนาคารประชาชน .................................................64

รูปภาพท่ี 2.13 ปริมาณเงินฝากโครงการธนาคารประชาชน ............................................................65

รูปภาพท่ี 2.14 จํานวนสมาชิกท่ีไดรับสินเช่ือโครงการธนาคารประชาชน......................................65

รูปภาพท่ี 2.15 จํานวนเงินสินเช่ือโครงการธนาคารประชาชนท่ีไดการอนุมัติ ................................66

รูปภาพท่ี 2.16 ปริมาณเงินใหสินเช่ือและเงินฝากของธนาคารออมสิน ป 2548-2550.....................69

รูปภาพท่ี 2.17 ปริมาณเงินใหสินเช่ือและเงินฝากของโครงการธนาคารประชาชน ป 2548-2550.....70

รูปภาพท่ี 2.18 ผลกําไรของธนาคารออมสิน ป 2547-2550.............................................................71

รูปภาพท่ี 2.19 อัตราผลตอบแทนผูถือหุนของธนาคารออมสิน ป 2546-2550 ................................71

รูปภาพท่ี 2.20 มูลคาสินทรัพยรวมของธนาคารออมสิน ป 2546-2550 ...........................................72

Page 10: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

สารบัญรูปภาพ (ตอ)

หนา รูปภาพท่ี 3.1 การกระจายตัวของวงเงินสินเช่ือระดับจุลภาคในบังกลาเทศ (ป 2548) ...................75

รูปภาพท่ี 3.2 สัดสวนของผูหญิงท่ีเปนสมาชิกธนาคารกรามีน ป 2519–2551..........................79

รูปภาพท่ี 3.3 จํานวนสมาชิกของธนาคารกรามีน ป 2543–2551 ...............................................79

รูปภาพท่ี 3.4 จํานวนสาขาของธนาคารกรามีนและจํานวนหมูบานท่ีครอบคลุม (ป 2519-2551)....82

รูปภาพท่ี 3.5 โครงสรางของธนาคารกรามีน (ป 2551–2552) .......................................................83

รูปภาพท่ี 3.6 มูลคาเงินฝากของธนาคารกรามีน เฉพาะสมาชิกของธนาคาร ป 2548–2550 ..........86

รูปภาพท่ี 3.7 จํานวนลูกคาสินเช่ือของธนาคารกรามีน ป 2543–2550...........................................88

รูปภาพท่ี 3.8 มูลคาสินเช่ือของธนาคารกรามีน ป 2543–2551 ......................................................88

รูปภาพท่ี 3.9 กิจกรรม 25 อันดับแรกท่ีลูกคาของธนาคารกรามีนนําสินเช่ือไปใช ป 2550 ...........91

รูปภาพท่ี 3.10 แผนผังแสดงการเช่ือมตอกันระหวางสินเช่ือพื้นฐาน (Basic Loan) และสินเช่ือยืดหยุน (Flexi-loan)...............................................................................92

รูปภาพท่ี 3.11 ผลกําไรของธนาคารกรามีน ป 2534–2550..............................................................97

รูปภาพท่ี 3.12 มูลคาทรัพยสินรวมของธนาคารกรามีน ป 2545–2550............................................97

รูปภาพท่ี 3.13 อัตราสวนของผูกูท่ีสามารถหลุดพนจากเสนความยากจนได (ป 2540–2550) โดยวดัจาก “ดชันีช้ีวัด 10 ขอ” ของกรามีน (10 Indicators) .....................................99

รูปภาพท่ี 3.14 สาขาและพนกังานสาขาของธนาคารกรามีนท่ีไดรับสัญลักษณรูปดาวท้ัง 5 สี ......101

รูปภาพท่ี 4.1 จํานวนบัญชีเงินฝากของธนาคาร XacBank ป 2549-2550.....................................112

รูปภาพท่ี 4.2 มูลคาเงินฝากของธนาคาร XacBank ป 2549-2550................................................113

รูปภาพท่ี 4.3 จํานวนลูกคาสินเช่ือของธนาคาร XacBank ป 2545-2550 .....................................115

รูปภาพท่ี 4.4 มูลคาสินเช่ือของธนาคาร XacBank ป 2545-2550 ................................................115

รูปภาพท่ี 4.5 มูลคาสินเช่ือของธนาคาร XacBank ป 2549-2550 จําแนกตามพ้ืนท่ีทางภูมิศาสตร ....116

รูปภาพท่ี 4.6 โครงสรางสินเช่ือของธนาคาร XacBank ป 2550 จําแนกตามประเภทสินเช่ือ ......117

รูปภาพท่ี 4.7 ผลกําไรของธนาคาร XacBank ในป 2545-2550 ...................................................121

รูปภาพท่ี 4.8 อัตราผลตอบแทนผูถือหุนของธนาคาร XacBank ป 2545-2550 ...........................121

รูปภาพท่ี 4.9 มูลคาสินทรัพยรวมของธนาคาร XacBank ป 2545-2550......................................122

Page 11: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

i

บทสรุปสําหรับผูบรหิาร

ความยากจนยังเปนปญหาใหญสําหรับประเทศกําลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย รวมท้ังประเทศในแถบลุมน้ําโขง สาเหตุสําคัญประการหนึ่งของความยากจนน้ี คือ การขาดโอกาสที่จะเขาถึงแหลงเ งินทุนเพื่อ ท่ีจะนํามาใชพัฒนาชีวิต ดังนั้น แนวคิดเ ร่ืองระบบการเ งินในระดับจุลภาค (Microfinance) จึงไดรับการพัฒนาข้ึนเพื่อเปดโอกาสใหคนยากจนสามารถเขาถึงแหลงเงินทุนได ท้ังนี้ เปนท่ีเช่ือกันโดยท่ัวไปวาระบบการเงินในระดับจุลภาคจะสามารถลดเง่ือนไขการเขาถึงบริการทางการเงินของผูมีรายไดนอยได และเปนเคร่ืองมือหนึ่งท่ีจะสามารถชวยลดปญหาความยากจนในระดับฐานรากไดอยางยั่งยืน ในประเทศไทยแมวาจะมีสถาบันการเงินภาครัฐและภาคเอกชนท่ีใหบริการทางการเงินมาอยางตอเนื่องในพื้นท่ีตางๆ ก็ตาม แตทวาการใหบริการทางการเงินสําหรับผูมีรายไดนอยในประเทศก็ยังคงประสบกับเง่ือนไขและขอจํากัด ทําใหผูมีรายไดนอยเหลานั้นยังคงขาดโอกาสท่ีจะเขาถึงแหลงเงินทุนหลายประการ

ในการศึกษานี้จึงไดทําการศึกษาแนวคิด บทบาท ยุทธศาสตร และการดําเนินงานของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคในประเทศไทย เปรียบเทียบกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีประสบความสําเร็จและเปนท่ียอมรับโดยท่ัวไป ไดแก ธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ในประเทศบังกลาเทศ และธนาคาร XacBank ในประเทศมองโกเลีย เพื่อวิเคราะหแนวคิด แนวทางการดําเนินงาน กลไกการปลอยสินเช่ือและติดตามสินเช่ือ รวมทั้งกลยุทธของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคดังกลาวท่ีมีอิทธิพลตอความสําเร็จในการดําเนินงาน ท้ังนี้ เพื่อนําเอาองคความรูท่ีไดจากการศึกษามาเปนขอเสนอแนะเชิงนโยบาย สําหรับประยุกตใชกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของไทย ภายใตเง่ือนไขและขอจํากัดท่ีมีตอไป

กรอบการวิเคราะหระบบการเงินในระดับจุลภาค (Micro-Financial System Framework) การศึกษานี้ไดกําหนดวัตถุประสงคท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรตองบรรลุไว 3

ประการ คือ 1. สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองมีการพัฒนาคุณภาพการใหบริการทางการเงิน

(Financial Service) กับคนจํานวนมากของประเทศซ่ึงโดยท่ัวไปเปนคนท่ีมีฐานะยากจน (Scale) 2. สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองมีการขยายการใหสินเช่ือไปสูคนท่ีมีฐานะยากจน

ท่ีสุดในสังคม (Poorest Group) เพื่อท่ีจะแนใจวาคนจนทุกคนสามารถเขาถึงแหลงเงินทุนได (Depth)

Page 12: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

ii

3. สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองพิจารณาถึงตนทุนในการใหสินเช่ือท้ังผูขอสินเช่ือ (ลูกคา) และผูใหบริการสินเช่ือเอง (สถาบันการเงินในระดับจุลภาค)

ท้ังนี้เพื่อท่ีจะสามารถวิเคราะหเปรียบเทียบระบบการเงินในระดับจุลภาคของประเทศไทย ประเทศมองโกเลีย และประเทศบังกลาเทศ ในดานการบริหารจัดการเงินทุน (Fund Management) การบริหารจัดการความเส่ียงทางการเงิน (Financial Risk Management) และการบริหารจัดการโดยท่ัวไป (General Management) รวมถึงการประเมินความสําเร็จหรือความลมเหลวของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคและการประเมินผลกระทบตอชุมชนและสังคม (Social Impact Evaluation) ไปจนถึงการนําเสนอขอเสนอแนะไดอยางเหมาะสม การศึกษานี้จึงไดแบงกรอบการวิเคราะหเปน 3 ระดับ คือ ระดับลูกคา (Clients) ระดับองคกร (Micro Level) และ ระดับนโยบาย (Macro Level) ซ่ึงการเขาใจท้ังระดับลูกคา ระดับสถาบัน และระดับนโยบาย จะเปนกรอบสําคัญในการสรางระบบการเงินในระดับจุลภาคใหเกิดประโยชนแกคนจนในประเทศ และชวยใหระบบการเงินดังกลาวสามารถดํารงอยูไดอยางยั่งยืน

ผลการศึกษา ผลการศึกษา พบวา ระบบการเงินในระดับจุลภาคของไทย บังกลาเทศ และมองโกเลีย ท่ีได

นําเสนอในรายงานฉบับนี้ตางมีความเปนมาท่ีเหมือนและแตกตางกัน โดยระบบการเงินในระดับจุลภาคของท้ังสามประเทศมีจุดประสงคเร่ิมตนเหมือนกัน คือ การใหเงินกูแกคนจน ผูประกอบการรายยอย ตลอดจนผู ท่ีไมมีชองทางในการกู เ งินจากระบบอ่ืนๆ แตการจัดต้ัง วัตถุประสงค กระบวนการ และผูมีสวนไดสวนเสียของระบบการเงินตางๆนี้มีความแตกตางกันไปตามลักษณะของประชากร กฎหมาย อิทธิพลจากผูจัดต้ังและเจาของเงินทุน นโยบาย และวัตถุประสงคในการดําเนินการ

กรณีประเทศไทย กองทุนหมูบาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน (ในท่ีนี้หมายถึงเฉพาะโครงการธนาคารประชาชน) ตางมีนโยบายและจุดประสงคท่ีเร่ิมมาจากการเปนองคกรของรัฐเพื่อสงเสริมและพัฒนาเกษตรกร คนจน และผูประกอบการรายยอยตามนโยบายของรัฐบาล ทําใหการดําเนินการของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของไทยทั้ง 3 แหงอาจมีการแทรกแซงจากรัฐบาลและกลุมนักการเมืองในการใชเงินทุนและการดําเนินนโยบายตางๆ ท่ีอาจบิดเบือนจากจุดประสงคท่ีต้ังไว และอาจทําใหการดําเนินงานไมเปนไปตามกลไกตลาดได ซ่ึงแตกตางจากธนาคารกรามีน และธนาคาร XacBank ท่ีจัดต้ังและจดทะเบียนในรูปของธนาคารท่ีไมไดริเร่ิมโดยรัฐ โดยกลุมเปาหมายของธนาคารกรามีน คือ

Page 13: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

iii

ประชาชนท่ียากจน ขณะท่ีกลุมเปาหมายของธนาคาร XacBank คือประชาชนท่ัวไปและผูประกอบการธุรกิจท่ีตองการสินเช่ือโดยท่ีไมจําเปนตองมีฐานะยากจน

ในดานกลยุทธท่ีองคกรเหลานี้ใชในการใหเงินกูกับผูขอกูรายยอย สําหรับกองทุนหมูบานและธนาคารกรามีนมีความคลายคลึงกันอยางมากเนื่องจากท้ังสององคกรตางไมเรียกรองหลักทรัพยคํ้าประกันในการขอสินเช่ือ หากแตใชสมาชิกในกลุมคํ้าประกัน หรือใชระบบกลุมในการกดดันลูกหนี้ รวมถึงการใหกูท่ีเปนระบบแบบข้ันบันได สําหรับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน ยังคงตองใชหลักทรัพยคํ้าประกันและใชสมาชิกคํ้าประกัน ซ่ึงคลายกับกลยุทธของธนาคาร XacBank เนื่องจากผูกูรายยอยมีความเส่ียงสูง การไมมีหลักทรัพยคํ้าประกันหรือไมมีผูคํ้าประกันจึงไมใชกลยุทธท่ีมีประสิทธิผลสําหรับธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร และโครงการธนาคารประชาชน

ในสวนของการชําระคืนหนี้ พบวา กองทุนหมูบานและธนาคารกรามีนกําหนดใหมีการชําระเงินคืนแบบเปนงวดๆ ในระยะส้ัน เชน 1 ป หรือภายในระยะเวลาท่ีกําหนด และลูกคาท่ีมีการชําระหนี้ตามกําหนดอยางสมํ่าเสมอจะไดรับประโยชนตอบแทน เชน การเพิ่มวงเงินกูในการกูคร้ังตอไป ซ่ึงสอดคลองกับกลยุทธท่ีไมตองใชหลักทรัพยคํ้าประกัน เนื่องจากมีการกําหนดเวลาการชําระหนี้เปนงวดๆ รายสัปดาหหรือรายเดือนอยางชัดเจน และมีสมาชิกในกลุมคํ้าประกันหรือกดดันสมาชิกดวยกันเอง ทําใหผูกูสามารถท่ีจะติดตามความสามารถในการใชคืนเงินกูของผูกูไดอยางใกลชิด สําหรับธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร โครงการธนาคารประชาชน และธนาคาร XacBank ตางก็มีการกําหนดเวลาการชําระหนี้คืนเปนงวดๆ คลายกัน หากแตมีความเขมงวดมากกวาโดยจะคิดเบ้ียปรับหากลูกหนี้ผิดนัดชําระหน้ี

สําหรับกลยุทธการสรางแรงจูงใจในการชําระคืนเงินกู พบวา องคกรตางๆ พยายามท่ีจะผลักดันใหลูกหนี้จายหน้ีคืนตามกําหนดเพ่ือจะไดรับการพิจารณาเพิ่มวงเงินกูและลดอัตราดอกเบี้ย แตธนาคารกรามีนมีความโดดเดนในการสรางแรงจูงใจนี้มากท่ีสุด โดยใชระบบแรงกดดันจากสมาชิกลูกหนี้ในกลุมและเนนการสรางความสัมพันธท่ีดีกับลูกหนี้ดวยวิธีการจัดการประชุมระหวางธนาคารกับลูกหนี้ทุกสัปดาห แตหากพิจารณาทางดานการพัฒนาศักยภาพของลูกหนี้ในการประกอบอาชีพ ผลการศึกษาพบวา ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรมีความโดดเดนมากท่ีสุด เนื่องจากเปนธนาคารเฉพาะกิจท่ีมุงสงเสริมศักยภาพของเกษตรกร จึงมีการประชุมและอบรมในพื้นท่ี (การพบกลุม) อยางสมํ่าเสมอ ท้ังนี้ ผลประโยชนทางออมท่ีไดคือ การมีสัมพันธภาพท่ีดีกับลูกคา ซ่ึงจะทําใหการติดตามการใชหนี้คืนดําเนินไปอยางมีประสิทธิภาพมากข้ึน

นอกจากนี้ ผลการเปรียบเทียบทางดานเครือขายในการใหบริการ พบวา ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ธนาคารกรามีน และธนาคาร XacBank มีความโดดเดนทางดานการสรางเครือขายการบริการใหเขาถึงประชาชนท่ีดอยโอกาสมากท่ีสุด โดยมีการบริการผานสาขาของธนาคารและหนวยบริการในหลายระดับ นอกจากนี้ ยังมีพนักงานออกไปใหบริการนอก

Page 14: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

iv

สถานท่ีและมีการจัดต้ังกลุมผูกู สําหรับการประชุมกลุมและการฝกอบรมที่มีข้ึนประจําทุกสัปดาห สําหรับธนาคาร XacBank นอกจากจะใหบริการผานทางสาขาของธนาคารแลว ยังใหบริการผานโทรศัพทมือถือ (Mobile Banking Scheme) และระบบแฟรนไชส (Franchising) ผานสหกรณเงินออมและสินเช่ือในแตละตําบลและหมูบานดวย ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศท่ีประชากรอาศัยอยูอยางกระจัดกระจาย ทําใหธนาคาร XacBank ใหความสําคัญกับการใหบริการนอกสถานท่ีดวย

ในสวนของการสรางแรงจูงใจใหกับพนักงาน พบวา แตละองคกรมีระบบการสรางแรงจูงใจท่ีตางกัน โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร และธนาคารออมสินมีระบบการสรางแรงจูงใจพนักงานเหมือนบริษัทท่ัวไป คือ มีระบบการเล่ือนตําแหนง การปรับเงินเดือน และการใหโบนัสตามผลงาน แตธนาคารกรามีนมีการสรางแรงจูงใจเพิ่มเติมใหกับพนักงาน คือ การใหคะแนนและเชิดชูผลงานเพื่อเปนกําลังใจใหกับพนักงานและเปนแรงบันดาลใจใหกับสาขาอ่ืนๆ ขณะท่ีธนาคาร XacBank จะใหความสําคัญตอการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพ่ือพัฒนาความเช่ียวชาญในการทํางานดานระบบการเงินในระดับจุลภาค สําหรับกองทุนหมูบาน ไมมีรูปแบบการสรางแรงจูงใจใหกับพนักงานท่ีชัดเจน เนื่องจากการบริหารจัดการกองทุนข้ึนอยูกับคณะกรรมการบริหารกองทุนประจําหมูบานเปนหลัก ซ่ึงแตละกองทุนจะมีความแตกตางกันไป

จากผลการวิเคราะหความสําเร็จของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคในประเทศไทย บังกลาเทศ และมองโกเลีย พบวา ความสําเร็จของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคขึ้นอยูกับปจจัยตางๆ มากมาย ซ่ึงในการนิยามความสําเร็จ ผูประเมินจะตองพิจารณาความสําเร็จของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคนั้นๆ ตามเปาประสงคขององคกร โดยหากประเมินตามเปาประสงคของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีแสวงหาผลกําไร พบวา ธนาคาร XacBank ธนาคารกรามีน และโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสินตางมีความสําเร็จสูง แตหากพิจารณาสถาบันการเงินในระดับจุลภาคในดานการเขาถึงประชาชนผูยากไรตามจุดประสงคของการลดความยากจน พบวา ธนาคารกรามีน และธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ประสบความสําเร็จคอนขางมาก สําหรับกองทุนหมูบาน พบวา มีความสําเร็จในดานการชําระคืนเงินตน หากแตยังไมสามารถเขาถึงคนจนไดอยางท่ัวถึงตามจุดประสงคท่ีไดต้ังไวต้ังแตแรกเร่ิมของการดําเนินโครงการ อยางไรก็ตาม กองทุนหมูบานสามารถบรรลุวัตถุประสงคในการชวยใหเกิดเงินทุนหมุนเวียนไดเปนอยางดี

จากการวิเคราะหความสําเร็จในภาพรวมของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคตางๆ พบวา

ปจจัยท่ีนําไปสูความสําเร็จมีความแตกตางกันไป แตปจจัยพื้นฐานในการกําหนดกลยุทธสําหรับระบบการเงินระดับจุลภาคท่ีนําไปสูความสําเร็จในภาพรวม สามารถสรุปได 9 ประการ ดังนี้

Page 15: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

v

1. การควบคุมดูแล: การควบคุมดูแลสถาบันการเงินในระดับจุลภาค เปนปจจัยพื้นฐานในการกําหนดกลยุทธและเปาประสงคขององคกร สถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีดีตองมีการควบคุมดูแลจากหนวยงานท่ีมีจุดประสงคท่ีสอดคลองกับเปาประสงคขององคกร

2. การเขาถึงกลุมเปาหมาย: การเขาถึงกลุมเปาหมายขององคกรเปนส่ิงสําคัญ และตองมีการติดตามพรอมท้ังการประเมินผลอยางตอเนื่อง เพื่อใหการดําเนินการขององคกรเขาถึงกลุมเปาหมายไดมากท่ีสุด

3. แหลงเงินทุน: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคตองพิจารณาท่ีมาของเงินทุนท่ีทําใหเกิดการหมุนเวียนเงินทุนไดอยางยั่งยืนและและคุมทุนในการดําเนินการ

4. การสรางแรงจูงใจในการชําระหนี้: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคตองเนนการสรางแรงจูงใจในการชําระหนี้ และใชทุนในการสรางแรงจูงใจใหมากกวาธนาคารพาณิชยท่ัวไป ท้ังนี้ตองมีการสรางแรงจูงใจใหเหมาะสมกับกลุมเปาหมายดวย

5. แรงจูงใจใหกับพนักงาน: เนื่องจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคตองติดตามลูกหนี้รายยอยท่ีมีความเส่ียงสูงในการไมชําระคืนเงินกู ดังนั้นจึงตองมีพนักงานทองถ่ินในสัดสวนท่ีมาก พรอมท้ังมีระบบการสรางแรงจูงใจใหกับพนักงานท่ีมีประสิทธิภาพ และมีตัวช้ีวัดท่ีเปนรูปธรรมในการติดตามผลการดําเนินงานของพนักงานได

6. ระบบการติดตามลูกหนี้: นอกจากการมีระบบการสรางแรงจูงใจในการชําระหนี้ และการสรางแรงจูงใจใหกับพนักงานในการติดตามหนี้แลว สถาบันการเงินในระดับจุลภาคตองมีระบบการติดตามลูกหนี้ หรือกําหนดงวดการชําระหนี้ท่ีมีความถ่ีสูง เพื่อสรางระบบการติดตามประเมินผลที่ดี

7. เครือขายการบริการ: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคตองเนนการสรางเครือขายบริการท่ีเขาถึงกลุมเปาหมาย สามารถครอบคลุมพื้นท่ีของกลุมเปาหมายไดมากท่ีสุด และมีเครือขายบริการตนทุนตอหนวยตํ่า เนื่องจากตองมีการบริการผูกูรายยอยเปนจํานวนบอยคร้ังจากระบบการติดตามลูกหนี้ท่ีเขมขน

8. ความคุมทุน: เนื่องจากการปลอยกูใหกับผูประกอบการรายยอย คนจน หรือผูดอยโอกาสในการเขาถึงแหลงเงินทุน มีความเส่ียงสูง สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจําตองพิจารณาใหมีการกําหนดอัตราดอกเบ้ียและคาใชจายในการดําเนินการตางๆ ท่ีคุมทุน เพื่อความเปนอิสระขององคกร และการเปนสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีมีความยั่งยืน

9. การบริหารจัดการแบบพึ่งตนเอง: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีมีการบริหารจัดการแบบพึ่งตนเอง โดยไมพึ่งภาครัฐ จะมีความยืดหยุนในการปรับเปล่ียนระบบการดําเนินงานและมีวินัยในการบริการการเงินท่ีมีประสิทธิภาพ

Page 16: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

vi

ขอเสนอแนะเก่ียวกับรูปแบบการบริหารจัดการสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเหมาะสม ผลจากการศึกษา พบวา รูปแบบการบริหารจัดการสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ี

เหมาะสมในประเทศไทย ควรจะดําเนินการเพ่ือใหบรรลุวัตถุประสงคท้ัง 3 ประการ ไดแก Scale, Depth และ Sustainability พรอมๆ กัน คือ

1. Scale: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองมีการพัฒนาคุณภาพการใหบริการทางการเงิน (Financial Service) กับคนจํานวนมากของประเทศท่ีมีฐานะยากจน

2. Depth: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองมีการขยายการใหสินเช่ือไปสูคนท่ีมีฐานะยากจนท่ีสุดในสังคม (Poorest Group) หรือกลุมท่ียากจนแรนแคน เพื่อท่ีจะแนใจวาคนจนทุกคนสามารถเขาถึงแหลงเงินทุนได

3. Sustainability: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองมีความม่ันคงทางการเงินโดยตองพิจารณาถึงตนทุนในการใหสินเช่ือท้ังผูขอสินเช่ือ (ลูกคา) และผูฝากเงิน

ท้ังนี้ นอกจากรูปแบบการบริหารจัดการท่ีควรเนนใหความสําคัญกับการจัดต้ังสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคท้ังสามประการดังกลาวแลว การจัดต้ังและบริหารสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเหมาะสมสําหรับประเทศไทยยังควรตองมีการดําเนินการใหเหมาะสมและสอดคลองกับการบริหารจัดการทั้งในระดับลูกคา (Clients) และในระดับองคกร (Micro Level) ดวย โดยมีขอเสนอแนะดังนี้

ขอเสนอแนะในระดับลูกคา (Clients)

เนื่องจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคไดใหความสําคัญกับการปลอยสินเช่ือแกกลุมลูกคาท่ีมีรายไดตํ่าหรือมีฐานะยากจน ซ่ึงประกอบดวย กลุมท่ีมีความยากจนอยูในระดับปานกลาง (Moderate Poor) และเปนกลุมท่ีไมยากจนแตมีความไมม่ันคง (Vulnerable Non-Poor) และกลุมท่ีมีความยากจนมาก (Extreme Poor) การที่สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะสามารถปลอยสินเช่ือใหครอบคลุมไปถึงกลุมลูกคาท่ีมีความยากจนมาก (Extreme Poor) หรือกลุมท่ีลูกคามีความไมม่ันคง (Vulnerable Non-Poor) โดยไมทําใหเกิดความเส่ียงท่ีสูงเกินไปไดนั้น สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรจะสรางความหลากหลายในการปลอยสินเช่ือใน 2 ลักษณะ ไดแก

1. ความหลากหลายของกลุมลูกคา (Diversified Customers): สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรที่จะมีการกําหนดสัดสวนของการใหบริการสินเช่ือแกลูกคาในแตละกลุมท่ีแนนอน คือ

(1) กลุมผูดอยโอกาส ไดแก ผูหญิง คนชรา หรือคนพิการ เนื่องจากลูกคากลุมนี้จะมีความเส่ียงสูงท่ีสุด การใหสินเช่ือแกคนกลุมนี้จึงควรกําหนดรูปแบบการกูยืมแบบกลุม

Page 17: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

vii

(Group Lending) โดยใหกลุมลูกคาผูดอยโอกาสสามารถเลือกท่ีจะจับกลุมกับกลุมผูดอยโอกาสเชนเดียวกัน หรือจับกลุมกับกลุมลูกคาแรงงานนอกระบบ (ท่ีไมมีหลักทรัพย) ท่ัวไปก็ได โดยท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคอาจจะใหสิทธิพิเศษ (Priority) ในการปลอยสินเช่ือกับกลุมท่ีดอยโอกาสนี้กอนกลุมอ่ืนๆ

(2) กลุมแรงงานนอกระบบท่ีไมมีหลักทรัพย รวมถึงเกษตรกร การใหสินเช่ือแกคนกลุมนี้ควรท่ีจะใหการกูยืมแบบกลุม (Group Lending) แตในกรณีท่ีกลุมแรงงานนอกระบบเหลานั้นมีหลักทรัพยท่ีใชคํ้าประกันตามขอกําหนดของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคแหงนั้น การใหสินเช่ือสามารถกระทําในลักษณะของสินเช่ือสวนบุคคลได (Individual Lending)

(3) กลุมแรงงานในระบบที่มีรายไดนอย โดยสวนใหญคนกลุมนี้มักจะมีหลักทรัพยค้ําประกัน และเอกสารยืนยันอ่ืนๆ เชน การกําหนดเงินเดือนข้ันต่ํา การจายเบ้ียประกันสังคม เปนตน ทําใหลูกคากลุมนี้มีระดับความเส่ียงนอยกวาสองกลุมแรกท่ีกลาวมาแลวขางตน ดังนั้น การใหสินเช่ือแกลูกคากลุมนี้จึงสามารถกระทําในลักษณะของสินเช่ือสวนบุคคลได (Individual Lending)

การสรางความหลากหลายของกลุมลูกคาจะชวยใหการบริหารความเส่ียง (Risk

Management) ของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคมีประสิทธิภาพมากข้ึนจากการพยายามเขาถึงกลุมลูกคาท่ีหลากหลาย นอกจากนี้ การกําหนดสัดสวนท่ีแนนอนในการปลอยสินเช่ือยังทําใหแนใจวาสถาบันการเงินในระดับจุลภาคยังคงใหความสําคัญกับกลุมท่ีดอยโอกาสและกลุมท่ียากจนมากซ่ึงเปนกลุมท่ีไมสามารถเขาถึงแหลงเงินทุนได

2. ความหลากหลายของสินคา (Diversified Products) ลักษณะของสินเช่ือควรท่ีจะตองสอดคลองกับสถานะของการดํารงชีวิตประจําวัน และตองมีความหลากหลายในตัวสินคาตามความตองการ คือ

(1) สินเช่ือเพื่อการดํารงชีวิตท่ัวไป เชน การเกิด การเสียชีวิต คาเลาเรียนบุตร (2) สินเช่ือเพื่อใชในภาวะฉุกเฉิน (Emergencies) เชน การเจ็บไขไดปวย หรือวางงาน (3) สินเช่ือเพื่อสรางโอกาส (Opportunities) เชน การลงทุนในธุรกิจ การซื้อ

อสังหาริมทรัพย การตอเติมท่ีอยูอาศัยตามวัตถุประสงคของคนหรือกลุมก็ได โดยการกูเพื่อการลงทุนในธุรกิจใหมนี้สามารถกระทําไดในลักษณะของการกูยืมแบบกลุม (Group Lending) โดยใหสิทธิพิเศษแกกลุมท่ีต้ังใจจะทําธุรกิจหรือมีวัตถุประสงครวมกัน เชน ผลิตสินคาของกลุมแมบาน การตอเติมหรือซอมแซมท่ีอยูอาศัย เปนตน

Page 18: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

viii

รูปแบบของการใหบริการสินเช่ือท่ีหลากหลายจะทําใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคสามารถกําหนดอัตราดอกเบ้ียและระยะเวลาการปลอยกูใหแตกตางกัน ซ่ึงจะเปนการชวยลดความเส่ียงจากการปลอยสินเช่ือของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคนั้นได และยังชวยใหลูกคาท่ีดอยโอกาสสามารถเขาถึงแหลงเงินทุนไดมากข้ึนดวย นอกจากนี้ สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรมีบริการเปดรับเงินฝากของประชาชน (Deposit Institution) โดยท่ัวไปดวย โดยเฉพาะกับกลุมคนจนท่ีตองการความม่ันคงในชีวิตและทรัพยสิน รวมไปถึงสามารถวางแผนการขยายขอบเขตการดําเนินงานเพื่อใหครอบคลุมถึง “ระบบการประกันในระดับจุลภาค” (Micro Insurance) ดวย

ขอเสนอแนะในระดับองคกร

สถาบันการเงินในระดับจุลภาคในประเทศไทย สามารถแบงไดเปน 4 ประเภท คือ

(1) องคกรการเงินท่ีไมเปนทางการ (Informal) (2) องคกรท่ีจัดต้ังโดยกลุมสมาชิกหรือสหกรณ (Member-owned) (3) องคกรท่ีไมใชรัฐบาล (NGOs) และ (4) องคกรการเงินท่ีเปนทางการ (Formal) ซ่ึงแตละประเภทจะมีจุดแข็งและจุดออนท่ีแตกตางกัน การดําเนินการในระดับองคกรจึงควรมีลักษณะ 7 ประการ ดังนี้

1. การจัดต้ัง: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเหมาะสมควรท่ีจะมีการจัดต้ังในลักษณะขององคกรการเงินท่ีเปนทางการ (Formal) ท่ีมีอิสระ หรือใหมีการเขาแทรกแซงจากภาครัฐใหนอยท่ีสุด (Independent) และไมแสวงหากําไรสูงสุด (Not for Profit Maximization) หรืออาจสามารถจัดต้ังไดในลักษณะขององคการมหาชน (Public Organization) ก็ได

(1) การจัดตั้งองคกรในลักษณะแบบเปนทางการนี้ จะชวยลดขอจํากัดในการใหบริการ ทําใหสามารถเพ่ิมความสามารถในการบริหารจัดการเงินทุน และยังเปนการเนนถึงวัตถุประสงคทางสังคมท่ีควรคูไปกับการทํากําไร ซ่ึงจะทําใหองคกรมีความอิสระในการกําหนดอัตราดอกเบ้ียและบริหารจัดการไดอยางมีประสิทธิภาพ

(2) การจัดต้ังสามารถเกิดข้ึนไดจากการรวมทุนระหวางภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน หรือการใหรัฐเปนตัวกลาง ในระยะเร่ิมตนอาจเร่ิมจากการขอเงินสนับสนุนจากองคกรระหวางประเทศ และลดสัดสวนขององคกรระหวางประเทศและรัฐลงในระยะตอมา เพื่อลดการแทรกแซงจากการเมือง นอกจากนี้ การจัดต้ังในอีกแนวทางหนึ่งก็คือ การยกระดับของกองทุนหมูบานใหเปนลักษณะขององคกร แตในกรณีนี้จําเปนตองมีการแกพระราชบัญญัติการบริหารกองทุนหมูบานใหสอดคลองกับวัตถุประสงค เปนตน

Page 19: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

ix

2. การกําหนดอัตราดอกเบ้ีย: การกําหนดอัตราดอกเบ้ียควรกําหนดตามความเส่ียงในการกูเงินในแตละประเภท อยางไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยท่ีจัดเก็บจากองคกรควรสูงกวาอัตราดอกเบ้ียของธนาคารพาณิชย แตตํ่ากวาอัตราดอกเบ้ียของเงินกูนอกระบบ

3. การเขาถึงกลุมลูกคา: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรพยายามสรางระบบการเขาถึงลูกคาใหมากท่ีสุด เชน การใหบริการแบบ Mobile Banking ของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ซ่ึงเปนระบบท่ีมีประสิทธิผลและสามารถเขาถึงกลุมลูกคาดอยโอกาสไดอยางแทจริง

4. การติดตามการปลอยสินเช่ือ (Monitoring): รูปแบบการปลอยสินเช่ือท่ียังคงเหมาะสมกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของประเทศไทย ก็คือ การใหกูในลักษณะแบบกลุม (Group Lending) และมีการติดตามโดยใชแรงกดดันทางสังคม ประกอบกับการประชุมกลุม โดยมีการใหเงินกูแบบข้ันบันได

5. การกําหนดแรงจูงใจของพนักงาน: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรท่ีจะมีการวัดประสิทธิภาพของพนักงาน และมีการใหโบนัสหรือการเล่ือนข้ันตามความสามารถของพนักงาน เพื่อเปนระบบแรงจูงใจ

6. แหลงของเงินทุน (Source of Fund): สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรจะทําหนาที่เปนสถาบันรับฝากเงิน (Deposit-Taking Financial Institution) ซ่ึงมีลักษณะของ Debt Financing โดยกําหนดใหดอกเบ้ียเงินฝากสูงกวาธนาคารพาณิชยท่ัวไป และจําเปนท่ีจะตองมีมาตรการกํากับดูแลท่ีเหมาะสม (Prudent Regulation) ซ่ึงครอบคลุมถึงมาตรการการชวยเหลือผูฝากเงิน มาตรการการลดความเส่ียงในระบบ (Systematic Risk) นอกจากนี้ แหลงของเงินทุนยังสามารถมีลักษณะของ Equity Finance ได แตควรจะตองมีการจัดการกําหนดภาระหน้ีท่ียอมรับได โดยพิจารณาควบคูไปกับกําไรท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคคาดหวัง (Expected Profit) นอกจากนี้ แหลงของเงินทุนยังสามารถระดมไดจากสาธารณะ มูลนิธิ และการบริจาคจากองคกรตางๆ

7. ตาขายคุมครองทางสังคม (Social Safety Net) สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรจะเนนการใหบริการทางการเงินพื้นฐาน โดยเฉพาะการใหสินเช่ือแกประชาชนท่ีมีฐานะยากจนไปจนถึงยากจนที่สุดในสังคม เพื่อเปนการสรางระบบและกลไกในการพัฒนาระบบตาขายคุมครองทางสังคม หรือเครือขายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net) ใหประชาชน กลุมผูดอยโอกาสทางสังคมและกลุมผูยากจนท่ัวไป สามารถเขาถึงแหลงเงินทุนได ซ่ึงจะชวยใหคนยากจนหรือคนดอยโอกาส สามารถดํารงชีพอยูไดอยางเขมแข็งภายใตสถานการณทางเศรษฐกิจและสังคมตางๆ ท่ีเปล่ียนแปลงไป เชน วิกฤตการณทางเศรษฐกิจ วิกฤตการณดานอาหาร และวิกฤตการณดานพลังงาน เปนตน ซ่ึงปญหาเหลานี้ลวนสงผลกระทบตอทุกคนในประเทศ โดยเฉพาะกับคนยากจน ดังนั้น สถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีดีจึงควรทําหนาท่ีเปนเสมือนระบบตาขายคุมครองทางสังคมเพื่อชวยผอนคลายผลกระทบดังกลาวลง และชวยใหประชาชนท่ีไดรับผลกระทบนั้นสามารถพัฒนาตนเอง และพ่ึงพาตนเองทางเศรษฐกิจไดอยางยั่งยืน

Page 20: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

x

ขอเสนอแนะในระดับนโยบาย (Macro Level) โดยท่ัวไปแลว การดําเนินการของภาครัฐมีสวนเกี่ยวของกับระบบการเงินในระดับจุลภาค

คือ การเปนผูใหบริการทางการเงินในระดับจุลภาคทั้งทางตรงและทางออม และการเปนผูกําหนดนโยบาย (set policies) ในระบบการเงิน โดยภาครัฐควรมีการดําเนินการในระดับนโยบายท่ีเกี่ยวเนื่องในดานตางๆ ดังนี้

1. ดานการเปนผูใหบริการทางการเงินในระดับจุลภาคท้ังทางตรงและทางออม เพื่อใหการใหสินเช่ือจากการอุดหนุนจากภาครัฐเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ ควรใหมีการดําเนินการ คือ

(1) การดําเนินการในการบริหารจัดการสินเช่ือในระดับจุลภาคควรมีความเปนอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ

(2) ตองใหความสําคัญระบบการควบคุมภายในองคกร และกฎระเบียบในการบริหารจัดการในการรักษาความยั่งยืนทางการเงินของสถาบัน (Financially sustainable microfinance)

(3) การใหสินเช่ือในระดับจุลภาคจะตองใหความสําคัญกับการใหสินเช่ือแกคนจนหรือคนท่ีมีรายไดนอยเปนหลัก

ท้ังนี้รัฐบาลอาจเขามามีสวนในการกําหนดกลุมลูกคาหรือกิจการทางเศรษฐกิจเฉพาะ บางกลุมในทางออม (Indirect support) ได เชน การจัดสรรเงินทุนแกสถาบันการเงินเฉพาะ (Wholesale-level fund) เปนตน ซ่ึงสามารถดําเนินการโครงการที่มีลักษณะเฉพาะกลุมไดในหลายรูปแบบ เชน กองทุนหมูบาน หรือการใหสินเช่ือไปกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคบางประเภท เปนตน

2. การเปนผูกําหนดนโยบาย ท้ังท่ีเปนนโยบายท่ัวไปและนโยบายเชิงรุก (Proactive

government promotion) เพื่อสนับสนุนการดําเนินการของสถาบันการเงินในระดับจุลภาค ภาครัฐควรมีบทบาทสําคัญ ดังนี้

(1) ภาครัฐตองใหความสําคัญกับการดําเนินนโยบายในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ท้ังนี้เพื่อสรางสภาวะแวดลอมทางเศรษฐกิจท่ีดีท่ีเอ้ืออํานวยตอความยั่งยืนของระบบการเงินระดับจุลภาค ทั้งในระดับองคกร และระดับผูกู

(2) ภาครัฐตองใหความสําคัญกับอิสระการกําหนดอัตราดอกเบ้ีย (Liberalized interest rates) ตามความเส่ียง (Risk) และผลตอบแทน (Return) อยางแทจริงแกองคกรการเงินระดับจุลภาค ท้ังนี้ควรอยูในระดับท่ีเหมาะสม สามารถครอบคลุมตนทุนทางการเงิน และการบริหารจัดการ สามารถสะทอนตนทุนทางการเงินท่ีแทจริงได

Page 21: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

xi

(3) การออกกฎระเบียบและกํากับดูแลสถาบันการเงิน (Appropriate banking regulations and supervisory practices) สําหรับองคกรการเงินระดับจุลภาคตองเหมาะสมกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาค มีการผอนปรนเครื่องมือท่ีใชในการกํากับดูแลท่ีตางจากกรณีธนาคารพาณิชยท่ัวไป และควรเปนไปเพื่อสรางแรงจูงใจในการปลอยสินเช่ือใหแกชุมชน โดยเฉพาะในชุมชนท่ีมีรายไดตํ่า

(4) ภาครัฐควรเนนนโยบายการใหความสําคัญกับการใหสินเช่ือ ควรคํานึงถึงความเส่ียง (Risk) และผลตอบแทน (Return) อยางแทจริง เพื่อทําใหสินเช่ือท่ีใหออกไปมีประสิทธิภาพ

(5) ภาครัฐอาจจัดสรรงบประมาณโดยตรงใหกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาค เพื่อทําหนาท่ีเปนผูจัดสรรใหกับกลุมลูกคาเฉพาะ หรืออาจสนับสนุนระบบการจับคูเงินฝาก (Matching deposits) เพื่อสนับสนุนการระดมเงินทุนในการดําเนินงาน รวมทั้งสนับสนุนในการลงทุนทางดานเทคโนโลยี และการสรางระบบการจัดการตางๆ ได

(6) ภาครัฐควรมุงเนนท่ีจะสงเสริมการพัฒนาใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเปนสวนหนึ่งของการพัฒนาระบบตาขายคุมครองทางสังคม หรือเครือขายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net) เพื่อเปนเคร่ืองมือในการเพิ่มโอกาสของคนในชุมชนท่ีมีฐานะยากจนใหไดรับความสะดวกในการฝากเงิน สงเสริมวินัยดานการออม รวมท้ังดานสินเช่ือ พรอมท้ังมีอัตราดอกเบี้ยท่ีเหมาะสมเม่ือเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกูนอกระบบ เปนตน และเพื่อเปนการประกันมาตรฐานการดํารงชีวิตข้ันพื้นฐานใหแกประชาชน ท้ังนี้ เพื่อเปนการบริหารจัดการเครือขายการคุมครองทางสังคมสําหรับคนยากจน และผูดอยโอกาส อันจะชวยบรรเทาปญหาความยากจน และสรางคุณภาพชีวิตแกคนในกลุมดังกลาวอยางยั่งยืน รวมท้ังเปนการเตรียมความพรอมและการพัฒนาใหประชาชนสามารถพึ่งตนเองไดภายใตสถานการณทางเศรษฐกิจ และสังคมตางๆ ท่ีเปล่ียนแปลงไปไดในระยะยาว ตลอดจนชวยใหภาครัฐสามารถบรรลุเปาหมายในการบริหารจัดการเศรษฐกิจระดับมหภาคท้ัง 3 ดาน ไดแก การสรางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได ไดอยางยั่งยืนตอไปดวย

โดยสรุป สถาบันการเงินในระดับจุลภาคที่ดีควรจะตองมีองคประกอบที่สําคัญ หรือมีตัวช้ีวัดความสําเร็จท่ีสําคัญ 4 ประการ ไดแก

1. เปนองคกรท่ีมี “ความยั่งยืน” (Sustainability) มีการระดมเงินทุน และบริหารจัดการเงินทุนท่ีมีประสิทธิภาพโดยปราศจากการเขาแทรกแซงของภาครัฐ

2. เปนองคกรที่จําเปนตองมีการกําหนด “ผลตอบแทนในรูปตัวเงิน” (Returns) ภายใตการบริหารจัดการความเส่ียง

Page 22: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

xii

3. เปนองคกรท่ีมีวัตถุประสงคในดาน “การลดความยากจน” (Poverty Reduction) โดยเนนการเขาถึงกลุมคนจนใหหลากหลายมากขึ้น และมีการนําเสนอรูปแบบของสินเชื่อที่มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองกับลักษณะการดํารงชีพของครัวเรือน

4. เปนองคกรท่ีมี “การวัดผลกระทบในเชิงของสังคม” (Social Impacts) ตอลูกคาท่ีไดรับบริการสินเช่ือ เชน โอกาสในการศึกษา โอกาสในการบริโภคอาหารท่ีถูกสุขลักษณะ เปนตน ท้ังท่ีเปนการวิเคราะหเชิงคุณภาพ (qualitative analysis) และการวิเคราะหเชิงปริมาณ (quantitative analysis) เพื่อใหสามารถตรวจสอบสภาพทางสังคมของผูกูไดอยางแทจริงวามีการพัฒนาหรือไม อยางไร และมีความนาเช่ือถือ และเปนท่ียอมรับโดยท่ัวไปได

ท้ังนี้ การดําเนินการตามองคประกอบท้ังส่ีประการนี้ จะตองมีความสมดุล เพื่อท่ีจะทําใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของประเทศไทยมีท้ังความยั่งยืน และมีประสิทธิผลในการชวยลดความยากจนและการกินดีอยูดีของคนในประเทศไดในระยะยาวตอไป

Page 23: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

1

บทท่ี 1 กรอบการวิเคราะหระบบการเงินในระดับจุลภาค

(Micro-Financial System Framework)

1.1. บทนํา

ในชวงหลายทศวรรษท่ีผานมา ระบบการเงินขนาดเล็กไดมีการพัฒนาอยางตอเนื่องเพ่ือตอบสนองตอความตองการในการกูเงินของคนจนท่ีมีรูปแบบท่ีเปล่ียนแปลงไป ในปจจุบัน สถาบันการเงินในระดับจุลภาค (Microfinance) ไดมีการประกอบกิจการในรูปแบบตางๆ ไมวาจะเปนการจัดต้ังสถาบันการเงินในระดับจุลภาคแบบที่เปนทางการ ซ่ึงอาจเกิดจากการริเร่ิมจากภาครัฐ หรือประชาชนในชุมชน และมีการจดทะเบียนตามท่ีกฎหมายกําหนด รวมไปถึงการจัดต้ังสถาบันการเงินในระดับจุลภาคแบบไมเปนทางการ ซ่ึงอาจเปนการจัดต้ังโดยการรวมกลุมของคนในชุมชน ลักษณะการดําเนินงานจึงข้ึนอยูกับขอตกลงของแตละชุมชนท่ีจัดต้ังสถาบันการเงินในระดับจุลภาคนั้นๆ และปจจุบันยังไมมีการจดทะเบียนตามกฎหมายท่ีมีอยูหรือยังไมมีกฎหมายรองรับ1

อยางไรก็ดี วัตถุประสงคท่ีสําคัญท่ีสุดในการจัดต้ังสถาบันการเงินในระดับจุลภาคก็คือ การใหโอกาสในการขยายสินเช่ือไปสูครัวเรือนท่ีมีฐานะยากจน รวมไปถึงวิสาหกิจขนาดยอมท่ีมีความตองการเงินทุนเพื่อไปใชสําหรับการลงทุนประกอบกิจการ ท้ังนี้สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรมีโครงสรางท่ีเหมาะสมท่ีจะสามารถเปนเครื่องมือหนึ่งท่ีชวยลดปญหาความยากจนของคนในประเทศนั้นๆ

นอกเหนือจากวัตถุประสงคเพื่อลดความยากจนและเพ่ิมสวัสดิการแกคนในประเทศแลว สถาบันการเงินในระดับจุลภาคยังจําเปนท่ีจะตองคํานึงถึงแนวทางการบริหารความเส่ียงทางการเงิน (Financial Risk Management) และมีความยั่งยืน (Sustainable) เฉกเชนเดียวกับการบริหารจัดการสถาบันการเงินในเชิงพาณิชยโดยท่ัวไป แตเนื่องจากในปจจุบันท่ีความแตกตางระหวางสถาบันการเงินในระดับจุลภาคแบบด้ังเดิม (Traditional Microfinance) กับสถาบันการเงินท่ีมีขนาดใหญอยางธนาคารพาณิชย (Commercial Bank) นั้น เร่ิมมีความคลุมเครือมากข้ึน เนื่องจากธนาคารพาณิชยขนาดใหญในปจจุบันไดขยายการใหบริการสินเช่ือเพื่อใหกูยืมแกคนจนมากข้ึน

1 เน่ืองจากเพ่ือสามารถทําการศึกษาในลักษณะของกรณีเปรียบเทียบ (Comparative Studies) ไดอยางถูกตอง การศึกษาฉบับน้ีจะวิเคราะหเฉพาะสถาบันการเงินในระดับจุลภาคที่เปนทางการเทาน้ัน

Page 24: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

2

ดังนั้นความหมายของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคในท่ีนี้ นอกจากจะหมายถึงสถาบันการเงินท่ีมีการดําเนินงานใหเงินกูแกคนยากจนแลว ยังตองมีการดําเนินงานท่ีครอบคลุม และใหความสําคัญในเชิงผลประโยชนของสังคมดวย ตัวอยางเชน การลดความยากจน การสรางโอกาสในการศึกษาของคนจน หรือการมีท่ีอยูอาศัยท่ีถูกสุขลักษณะ เปนตน การศึกษานี้ไดกําหนดวาวัตถุประสงคของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรที่จะตองบรรลุวัตถุประสงค 3 ประการดังนี้

1. สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองมีการพัฒนาคุณภาพการใหบริการทางการเงิน (Financial Service) กับคนจํานวนมากของประเทศซ่ึงโดยท่ัวไปเปนคนท่ีมีฐานะยากจน (Scale)

2. สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองมีการขยายการใหสินเช่ือไปสูคนท่ีมีฐานะยากจนท่ีสุดในสังคม (Poorest Group) เพื่อท่ีจะแนใจวาคนจนทุกคนสามารถเขาถึงแหลงเงินทุนได (Depth)

3. สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองพิจารณาถึงตนทุนในการใหสินเช่ือท้ังผูขอสินเช่ือ (ลูกคา) และผูใหบริการสินเช่ือเอง (สถาบันการเงินระดับจุลภาค)

เพื่อท่ีจะสามารถวิเคราะหเปรียบเทียบสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของประเทศไทย ประเทศมองโกเลีย และประเทศบังกลาเทศ และนําเสนอขอแนะนําไดอยางเหมาะสมนั้น ในบทนี้จะอธิบายถึงโครงสรางของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีดีและมีประสิทธิภาพ โดยจะจําแนกประเด็นต้ังแต การบริหารจัดการเงินทุน (Fund Management) การบริหารจัดการความเส่ียงทางการเงิน (Financial Risk Management) การบริหารจัดการโดยท่ัวไป (General Management) การประเมินความสําเร็จ หรือลมเหลวของสถาบันการเงินในระดับจุลภาค และการประเมินผลกระทบตอชุมชนและสังคม (Social Impact Evaluation) ท้ังนี้กรอบการวิเคราะหในบทนี้จะจําแนกการวิเคราะหเปน 3 ระดับ โดยเร่ิมจากระดับของ “ลูกคา” (Client) เปนศูนยกลาง และขยายการวิเคราะหไปสู “ระดับจุลภาค” (Micro Level) และ “ระดับมหภาค” (Macro Level) ตอไป

• ระดับลูกคา (Clients) ในท่ีนี้หมายถึงผูขอกูจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีมีฐานะยากจนหรือมีรายไดตํ่า (Low-Income Clients) ซ่ึงโดยท่ัวไปแลวจะมีลักษณะของความตองการสินเช่ือท่ีหลากหลาย เชน สินเช่ือเพื่อการอุปโภคบริโภค สินเช่ือเพื่อการศึกษา และสินเช่ือเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ เปนตน สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจําเปนท่ีจะตองเขาใจถึงความแตกตางของความตองการเงินทุนดังกลาวเพื่อท่ีจะสามารถสรางรายสินคาทางการเงิน (Financial Product Line) ท่ีจะสามารถสนองตอความตองการไดอยางเหมาะสม

• ระดับองคกร (Micro Level) ในท่ีนี้ อธิบายถึงโครงสรางการบริหารจัดการของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีตองคํานึงถึง ไมวาจะเปนทางดานตนทุนของเงินทุน

Page 25: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

3

(Cost of Fund) การเขาถึงกลุมลูกคา (Outreach) การตรวจสอบและกํากับดูแลสินเช่ือ (Credit Monitoring and Supervision) และการบริหารตนทุนประกอบการ (Transaction Cost) เปนตน

• ระดับนโยบาย (Macro Level) ในท่ีนี้อธิบายถึงกรอบนโยบายท่ีจําเปนเพื่อท่ีจะทําใหระบบการเงินระดับจุลภาคนี้มีความยั่งยืน (Sustainable) และมีประสิทธิผล (Effective) ในการลดปญหาความยากจน โดยในสวนนี้จะอธิบายถึงการกําหนดนโยบายหรือกฎระเบียบในการบริหารจัดการสถาบันการเงินในระดับจุลภาคที่เหมาะสมจากธนาคารกลาง กระทรวงการคลัง หรือหนวยงานอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวของ

รูปภาพท่ี 1.1 กรอบโครงสรางสถาบันการเงินในระดับจุลภาค

1.2. การวิเคราะหในระดับลูกคา (Clients) 1.2.1. ลูกคาของสถาบันการเงินในระดับจุลภาค ลูกคา หรือผูขอกูสินเช่ือจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคนั้นมีความแตกตางจากลูกคา

ของสถาบันการเงินท่ีมีขนาดใหญโดยท่ัวไป ลูกคาสวนใหญของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคมักจะมีรายไดตํ่าหรือมีฐานะยากจน เปนกลุมท่ีไมมีนายจางหรือจางงานตนเอง (Self-Employed) หรืออาจเปนผูประกอบกิจการในครอบครัว ซ่ึงรวมถึงชาวนาและเกษตรกร นอกจากนี้ลูกคาของ

ลูกคา

องคกร

นโยบาย

Page 26: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

4

สถาบันการเงินในระดับจุลภาคยังมีความแตกตางกันระหวางลูกคาท่ีอยูในเมืองกับลูกคาท่ีอยูในชนบท ลูกคาท่ีอยูในชนบทสวนใหญจะเปนเกษตรกรหรือประกอบอาชีพท่ีเกี่ยวของกับทางดานการเกษตร การแปรรูปอาหาร หรือการคาขายเล็กๆ นอยๆ ในขณะท่ีลูกคาท่ีอยูในเมืองจะประกอบอาชีพท่ีหลากหลายไมวาจะเปน การขายของหาบเร/รถเข็น การทํางานในภาคกอสราง การทํางานตามบาน เปนตน จากการเก็บขอมูลของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจากหลายๆ ประเทศพบวา ถึงแมวาลูกคาสวนใหญมีฐานะยากจนที่มีรายไดตํ่ากวาเสนแบงความยากจน (Poverty Line) ของประเทศนั้นๆ แตก็ยังไมใชกลุมลูกคาท่ีมีฐานะยากจนท่ีสุด (Poorest) แตมีระดับความยากจนอยูในระดับปานกลาง (Moderate Poor)2 โดยสรุปจากการศึกษาสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของ Cohen (2003) พบวา

• ลูกคาสวนใหญของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคในประเทศเปนลูกคาท่ีมีความยากจนอยูในระดับปานกลาง (Moderate Poor) และอีกสวนหนึ่งเปนลูกคาท่ีไมยากจนแตมีความไมม่ันคง (Vulnerable Non-Poor) ในขณะท่ีจะมีสวนนอยๆ ท่ีเปนกลุมท่ีมีความยากจนมาก (Extreme Poor)

• โครงการการใหสินเช่ือของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคสวนใหญยังเขาไมถึงกลุมคนท่ียากจนแรนแคน (Destitute)

รูปภาพท่ี 1.2

กลุมลูกคาของสถาบันการเงินในระดับจุลภาค ยากจนแรนแคน

Destitute ยากจนมาก

(Extreme Poor) ยากจนปานกลาง (Moderate Poor)

ไมยากจน แตไมมีความมั่นคง (Vulnerable Non-Poor)

ไมยากจน (Non Poor)

มีฐานะม่ังคั่ง (Wealthy)

ที่มา: Cohen (2003)

2 กลุมที่มีความ “ยากจนในระดับปานกลาง” น้ีหมายถึงกลุมที่อยูในเปอรเซ็นตที่ 10-50 ของครัวเรือนที่อยูตํ่ากวาเสนความยากจน (Cohen: 2003)

เสนแบงความยากจน (Poverty Line)

Page 27: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

5

ผลการศึกษาดังกลาวสอดคลองกับการศึกษาของ Consultative Group to Assist the Poor (CGAP) ท่ีไดเก็บขอมูลจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจากประเทศฟลิปปนส อูกานดา โบลิเวีย และบังกลาเทศ พบวา สถาบันการเงินในระดับจุลภาคในกลุมตัวอยางเขาถึงกลุมลูกคาท่ีมีความยากจนอยูในระดับปานกลาง (Moderate Poor) หรือไมยากจนแตมีความไมม่ันคงในชีวิต (Vulnerable Non-Poor)

ตารางท่ี 1.1

การเขาถึงกลุมลูกคาของสถาบันการเงนิในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาจากประเทศฟลิปปนส อูกานดา โบลิเวีย และบังกลาเทศ

ระดับความยากจน ฟลิปปนส (CARD)

อูกานดา (UWFT)

โบลิเวีย (4 โครงการ)

บังกลาเทศ (BRAC)

ยากจนแรนแคน ไมสามารถเขาถึงได ไมสามารถเขาถึงได ไมสามารถเขาถึงได ไมสามารถเขาถึงได

ยากจนมาก เขาถึงไดบาง (Some) เขาถึงไดนอย (Few) แทบเขาถึงไมไดเลย (Almost None)

เขาถึงประมาณรอยละ 40

ยากจนปานกลาง เขาถึงไดมาก (Many) เขาถึงไดมาก (Many) เขาถึงไดมาก (Many) เขาถึงประมาณรอยละ 35

ไมยากจนแตไมมีความมั่นคง

เขาถึงไดบาง (Some) เขาถึงไดมาก (Many) เขาถึงไดมาก (Many) เขาถึงประมาณรอยละ 25

ที่มา: CGAP (2000) CARD = Centre for Agriculture and Rural Development; UWFT = Uganda Woman’s Finance Trust; BRAC = Bangladesh Rural Advancement Committee.

ในการเขาถึงลูกคาท่ีมีฐานะยากจนใหมากข้ึน สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจําเปนตอง

เขาใจถึงพฤติกรรมของคนจนใหมากข้ึน เพื่อท่ีจะสามารถกําหนดรูปแบบของการใหบริการไดอยางเหมาะสม โดยท่ัวไปแลวคนจนมีความตองการในการขอกูจากสถาบันการเงินโดยมีเหตุผลท่ีแตกตางกัน จากการศึกษาของ Rutherford (2000) กลาววา คนยากจนมีความตองการในการขอสินเช่ือดวยเหตุผลหลัก 3 ประการไดแก

1. เพื่อใชในการดํารงชีวิตประจําวัน (Life-Cycle Events) ไมวาจะเปนการเกิด การ

เสียชีวิต คาเลาเรียนบุตร เปนตน 2. เพี่อใชในภาวะฉุกเฉิน (Emergencies) เชน การเจ็บไขไดปวย อุบัติเหตุ หรือตกงาน 3. เพื่อสรางโอกาส (Opportunities) เชน การลงทุนในธุรกิจใหมๆ การซ้ือสังหาริมทรัพย

หรือ การตอเติมท่ีอยูอาศัย เปนตน

Page 28: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

6

ท้ังนี้ ในการนําเสนอการใหสินเช่ือเพื่อตอบสนองความตองการของกลุมลูกคาคนจนไดอยางเหมาะสมน้ัน สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจําเปนตองมีการนําเสนอ “นวัตกรรมสินคาทางการเงิน” (Innovative Financial Products) ท่ีมีความหลากหลายและครอบคลุมกับความตองการอยางเพียงพอ นอกจากการใหสินเช่ือแกลูกคาท่ีมีฐานะยากจนแลว ระบบการเงินในระดับจุลภาคยังขยายบทบาทจาก “การใหสินเช่ือในระดับจุลภาค” (Micro-Credit) เปนสถาบันการเงินในระดับจุลภาค (Microfinance) ท่ีดําเนินการรับเงินฝากของประชาชน (Deposit Institution) การใหบริการในการรับฝากเงินเปนอีกชองทางหนึ่งท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเปดใหบริการแกลูกคาท่ีมีฐานะยากจนแตไมสามารถเขาถึงแหลงเงินฝากโดยท่ัวไปได3

การรับเงินฝากจากคนจนเปนอีกหนึ่งของการใหบริการท่ีคนจนตองการ เนื่องจากคนจน “ไมไดตองการแตเพียงสินเช่ือ แตคนจนยังตองการความม่ันคงในชีวิตและทรัพยสิน” โดยสังเกตไดจากการท่ีลูกคากลุมท่ีสําคัญกลุมหนึ่งของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคโดยท่ัวไปจะเปนกลุมลูกคาท่ีเปนกลุมท่ีไมจนแตไมมีความม่ันคง (Vulnerable) การสรางความม่ันคงแกคนจนนั้นนํามาสูการท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคไดนําเสนอสินคาท่ีหลากหลายเพื่อตอบสนองความตองการแกคนจนที่มักจะประสบกับ “ความเส่ียง” (Risks) ท่ีหลากหลาย ไมวาจะเปน การเสียชีวิตของคนในครอบครัว การเจ็บไขไดปวย ความเสียหายของสินคาเกษตรจากภัยธรรมชาติ หรือการเสียหายของท่ีอยูอาศัย เปนตน

การดําเนินการในเร่ืองท่ีเกี่ยวกับการประกันของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคมีแนวโนมไดรับความนิยมในอนาคต เพราะประชาชนทุกคนตองการมีชีวิตท่ีม่ันคงและมีหลักประกันในชีวิตใหกับลูกหลานเม่ือตัวเองเสียชีวิต แตประชาชนผูมีรายไดนอยไมสามารถใชบริการจากสถาบันการเงินในระบบไดเนื่องจากมีเบ้ียประกันท่ีคอนขางแพง ในปจจุบัน สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจํานวนมากทั่วโลกไดทดลองขยายขอบเขตการดําเนินงานเพ่ือใหครอบคลุมถึง “ระบบการประกันในระดับจุลภาค” (Micro insurance)

ในการบริหารจัดการระบบการประกันใหมีความม่ันคงนั้น สถาบันการเงินในระดับจุลภาคอาจจําเปนท่ีจะตองสรางความรวมมือกับบริษัทประกันภัยตางๆ ใหเขามารวมมือในบางกรณี เนื่องจากการประกันแตละประเภทจะมีความยากงายในการบริหารจัดการท่ีแตกตางกัน จากการศึกษาของ Churchill (2004) ไดอธิบายวาการใหหลักประกันทางดานสินเช่ือในชีวิต (Credit Life) เปนการใหการประกันท่ัวไปที่งายท่ีสุดและมีโอกาสสําเร็จมากท่ีสุด ในขณะท่ีระบบการ

3 โดยทั่วไปแลว คนจนจะมีการฝากเงิน/ขอกูเงินในปริมาณท่ีนอย ซึ่งอาจจะไมเปนที่ยอมรับของธนาคารพาณิชยโดยท่ัวไป เน่ืองจากการรับฝากเงิน/การใหเงินกู ในปริมาณนอยจะทําใหธนาคารพาณิชยมีตนทุนตอหนวย (หรือตอ transaction) ที่สูงกวา

Page 29: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

7

ประกันสุขภาพ (Health Insurance) เปนการใหประกันท่ียากท่ีสุด และมีโอกาสสําเร็จนอยท่ีสุด ถึงแมวาจะเปนระบบการประกันท่ีคนจนมีความตองการมากท่ีสุดก็ตาม4

นอกจากนี้ การดําเนินการในเร่ืองการประกันยังเปนวิธีการลดความเส่ียงจากการเบ้ียวหนี้วิธีหนึ่ง โดยการใหผูท่ีขอสินเช่ือจะตองจายเงินเปนสัดสวนท่ีกําหนดเขาสูกองทุนการประกันของโครงการ โดยจากตัวอยางของธนาคารกรามีน ธนาคารกรามีนไดกําหนดใหการดําเนินงานสมาชิกแตละคนตองจายเงินรอยละ 1 ของจํานวนเงินท่ีกู เขาไปยังกองทุนการประกัน ในกรณีท่ีเกิดการเสียชีวิตของสมาชิก กองทุนดังกลาวจะจายคืนหนี้ใหท้ังหมด รวมถึงเงินในการจัดงานศพใหแกครอบครัวท่ีสมาชิกเสียชีวิตดวย (Ledgerwood, 1998)

รูปภาพท่ี 1.3 ระดับความยากงายและโอกาสสําเร็จของการประกันในระดับจุลภาค

ที่มา: Churchill (2004)

4 Churchill (2004) ไดอธิบายวาการใหหลักประกันทางดานการเกษตร (Agriculture) มักจะมีความสับสนมากในทางปฏิบัติเน่ืองจากผลผลิตของสินคาเกษตรมักจะมีปจจัยแปรผันอื่นๆ เขามาเก่ียวของเปนจํานวนมาก เชน จากสภาพภูมิอากาศไปจนถึงผลิตภาพ (Productivity) ของตัวเกษตรกรเอง ดังน้ันจึงเปนการยากที่จะใหระบบการประกันที่รองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ไมไดคาดหวัง (Shock) ไดอยางแทจริง ยกตัวอยางเชน ระบบการประกันทางดานการเกษตรจะใหการประกันกับสินคาที่ไดรับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ แตจะไมไดการประกันจากการท่ีเกษตรกรมีผลผลิตที่ตํ่า เน่ืองจากผลผลิตภาพที่ตํ่าของตัวเกษตรกรเอง แตสิ่งที่ยากก็คือการที่ผูใหประกันจะสามารถจําแนกปจจัยทั้งสองอยางน้ี (สภาพภูมิอากาศกับผลิตภาพของเกษตรกร) ออกจากกันไดอยางไร

Credit life Term life/ Personal accident

Saving life Property insurance

Endowment life Agriculture

Health insurance

ระดับ

ของความย

าก

(Deg

ree

of D

ifficu

lty) ระดับของความสําเร็จ

(Degree of Success)

Page 30: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

8

ดังนั้น ความสําเร็จของระบบการเงินในจุลภาคระดับของลูกคาจะเกิดข้ึนไดนั้นยอมเกิดจากการท่ีสถาบันการเงินสามารถใหบริการท่ีครอบคลุม และตอบสนองตอความตองการของลูกคาไดอยางเพียงพอ ความแตกตางทางดานฐานะระหวางลูกคาของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคและลูกคาของธนาคารพาณิชยโดยท่ัวไปเปนประเด็นสําคัญท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจําเปนตองมีการบริหารจัดการท่ีแตกตางจากธนาคารพาณิชยขนาดใหญ ไมวาจะเปนการเขาถึงกลุมลูกคาท้ังในระดับกวางและระดับลึก (Strengthening and Deepening) และการประเมินความสามารถในการใชคืนเงินกู (Loan Repayment) รวมถึงการสรางระบบประกันในระดับจุลภาค (Micro insurance) ในดานตางๆ ท่ีลูกคาตองการผานระบบการออมและการใหสินเช่ือของธนาคารเพ่ือรักษาความยั่งยืนของสถาบันดวย

1.2.2 การประเมินผลกระทบของสถาบันการเงนิในระดับจุลภาคตอลูกคา นอกจากวัตถุประสงคทางดานการใหบริการทางการเงินแกลูกคาในกลุมท่ีมีฐานะความ

ยากจนแลว สถาบันการเงินในระดับจุลภาคยังสามารถวัดความสําเร็จจากการที่เปนองคกรหนึ่งในการชวยพัฒนาประเทศได ถึงแมวาระบบการเงินในระดับจุลภาคจะไมใชเปนเครื่องมือในการลดปญหาความยากจนของประเทศโดยตรงก็ตาม แตการใหบริการทางดานการเงินท่ีมีประสิทธิภาพ (โดยเฉพาะการใหสินเช่ือ) แกคนยากจน ก็เปรียบเสมือนกับการใหโอกาสแกคนยากจนในการเขาถึงแหลงเงินทุนท่ีคนเหลานั้นไมสามารถเขาถึงระบบการเงินโดยท่ัวไปได

อยางไรก็ดี ไมไดมีเคร่ืองรับประกันแตอยางไรวา ลูกคาท่ีขอสินเช่ือจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะมีฐานะท่ีดีข้ึน แตในหลายๆ กรณีท่ีลูกคาเหลานั้นอาจมีฐานะท่ียากจนลงถาไมมีการบริหารจัดการทางดานการเงินอยางถูกตอง ดังนั้น การวัดความสําเร็จของระบบการเงินในระดับจุลภาคจึงไมควรวัดเพียงแค “ความยั่งยืนขององคกร” (Sustainability) “ผลตอบแทนในรูปตัวเงิน” (Returns) หรือ “การลดความยากจน” (Poverty Reduction) แตเพียงอยางเดียว แตควรวัดไปถึงผลกระทบในเชิงสังคม (Social Impacts) ตอลูกคาท่ีไดรับบริการสินเช่ือ ท้ังนี้มีการศึกษาจํานวนมากท่ีไดพยายามใชวิธีการ “ประเมินผลกระทบ” (Impact Evaluation) ในระดับสังคม โดยพบวาลูกคาท่ีมีฐานะยากจนและไดรับการใหสินเช่ือจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะไดรับประโยชนทางสังคมท่ีสูงข้ึน จากหนังสือของ Hittlefield, Morduch, and Hashemi (2004) ไดรวบรวมการศึกษาผลกระทบของกลุมครัวเรือนท่ีเปนลูกคาสถาบันการเงินในระดับจุลภาคที่นอกเหนือจากทางดานรายได โดยไดจําแนกในดานตางๆ ดังนี้

Page 31: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

9

• ดานการศึกษา - จากกลุมตัวอยางในประเทศบังกลาเทศพบวา ลูกสาวท่ีมาจากครัวเรือนท่ีเปนลูกคาของ

ธนาคารกรามีนมีโอกาสศึกษาตอในระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน (Basic Education) มากกวา ลูกสาวท่ีมาจากครัวเรือนท่ีไมไดเปนลูกคาของธนาคารกรามีนอยูประมาณรอยละ 60

- ลูกคาที่ขอกูเงินจาก Bangladesh Rural Advancement Committee (BRAC) ในประเทศบังกลาเทศ มีโอกาสในการสงลูกหลานใหไดรับการศึกษาเพิ่มเติมถึง 2 เทาในชวงเวลา 3 ป (จากรอยละ 12 ในป ค.ศ.1992 เปนรอยละ 24 ในป ค.ศ.1995)

- ในประเทศอูกานดา (Uganda) ลูกคาท่ีขอกูเงินจากสถาบันการเงิน Foccas มีโอกาสสงลูกเขารับการศึกษาในระดับประถมศึกษามากกวาครัวเรือนท่ีไมไดเปนลูกคาของธนาคารอยูประมาณรอยละ 33

• ดานสุขภาพ - การศึกษาพบวา เด็กและสตรีท่ีมาจากครัวเรือนท่ีไดรับสินเช่ือจากสถาบันการเงินใน

ระดับจุลภาคจะมีสุขภาพท่ีดีกวาเด็กและสตรีท่ีมาจากครัวเรือนท่ีไมไดเปนลูกคา เนื่องจากการไดรับสินเช่ือจะทําใหผูปวยของครัวเรือนนั้นไดรับการรักษาอาการเจ็บไขไดปวยทันที ไมตองรอจนอาการเร่ิมรุนแรงข้ึนจนเกินเยียวยา

- จากกลุมตัวอยางในประเทศโบลิเวีย (Bolivia) ลูกคาของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคอยาง Credito con Educacion Rutal (CRECER) ไดมีการใหนมแม มีการปองกันโรคทองรวง และมีการฉีดวัคซีนใหเด็ก

- ในประเทศอูกานดา (Uganda) รอยละ 95 ของลูกคาท่ีขอกูเงินจากสถาบันการเงิน Foccas ไดรับการเขาถึงบริการทางดานสุขภาพพื้นฐานมากกวาครัวเรือนไมไดเปนลูกคาของธนาคารอยูประมาณรอยละ 72 นอกจากนี้รอยละ 32 ของกลุมลูกคายังไดเรียนรูการปองกันการติดเช้ือ HIV มากกวาครัวเรือนท่ีไมไดเปนลูกคาของธนาคาร

- จากกลุมตัวอยางจากโครงการ HOPE’s ของประเทศเอกวาดอร (Ecuador) และฮอนดูรัส (Honduras) พบวา ครัวเรือนท่ีเขารวมโครงการประกันสุขภาพของธนาคารจะไดรับการดูแลสุขภาพท่ีดีกวาครัวเรือนท่ีไมไดเขารวมโครงการ

• ดานการสงเสริมสถานะทางเพศของผูหญิง - ในหลายๆ ประเทศ เพศหญิงจะมีโอกาสในการตัดสินใจเร่ืองๆ ตางๆ ในครอบครัวท่ี

นอยกวาเพศชาย การสรางโอกาสในการเขาถึงแหลงเงินทุนจะชวยทําใหเพศหญิงมีผลผลิตภาพในการทํางานท่ีสูงข้ึน

Page 32: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

10

- การขยายวงเงินสินเช่ือใหแกลูกคาในกลุมผูหญิงเปนการสรางระดับความเทาเทียมกันทางเพศใหสูงข้ึน ยกตัวอยางเชน จากกลุมตัวอยางของประเทศอินโดนีเชีย ลูกคากลุมผูหญิงของธนาคาร Bank Rakarat Indonesia (BRI) ไดมีโอกาสในการรวมตัดสินใจกับสามีในการบริหารการเงินของครอบครัวมากกวาผูหญิงท่ีไมใชลูกคาของธนาคาร

- จากกลุมตัวอยางในประเทศเนปาล (Nepal) ประมาณรอยละ 68 ของกลุมลูกคาใน โครงการ Woman’s Empowerment Program ตอบแบบสอบถามวาพวกเธอเหลานั้นไดมีโอกาสในการรวมตัดสินใจในการซ้ืออสังหาริมทรัพย การสงลูกไปโรงเรียน หรือการวางแผนตางๆ ในครอบครัว

- จากกลุมตัวอยางในประเทศอินเดีย (India) กลุมลูกคาใน Self-Employed Woman’s Association (SEWA) บอกวาพวกเธอเหลานั้นสามารถตอรองคาจางท่ีไดรับจากการเปนแรงงานนอกระบบ (Informal Workers) ใหสูงข้ึนได

โดยสรุป เนื่องจากกลุมลูกคาของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคมีฐานะท่ียากจน มีความ

ไมม่ันคง มีความเส่ียง และมีความตองการที่หลากหลายมากกวาลูกคาในธนาคารพาณิชยขนาดใหญ การบริหารจัดการสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจึงควรมีการนําเสนอสินคาท่ีหลากหลายเพ่ือท่ีจะครอบคลุมไปสูคนในทุกระดับ โดยเฉพาะคนจนท่ีอยูในกลุมของ “จนแรนแคน” หรือ “จนดักดาน” ท่ีพบวายังไมไดรับการเขาถึงบริการทางการเงินอยางเพียงพอ คนจนตองการการเขาถึงแหลงสินเช่ือท่ีมีความสะดวกสบาย (Convenience) มีความยืดหยุน (Flexibility) และมีดอกเบ้ียท่ีไมสูงนัก นอกจากสินเช่ือ คนจนยังตองการแหลงการออม (Saving) และการมีระบบประกัน (Insurance) ท่ีเหมาะสม อยางไรก็ดี การมีระบบการเงินในระดับจุลภาคไมไดเปนคําตอบเดียวท่ีจะนําไปสูการลดปญหาความยากจน แตระบบการเงินในระดับจุลภาคท่ีมีประสิทธิภาพจะชวยบรรเทาความเส่ียงท่ีเกิดข้ึนแกคนจนในหลายๆ ดาน รวมไปถึงยังเปนการชวยใหคนจนรูจักวางแผนทางการเงินและลงทุนในระยะยาวไดอยางเหมาะสม

ดังนั้น ความทาทายในการบริหารจัดการสถาบันการเงินในระดับจุลภาคใหมีความยั่งยืนและสามารถตอบสนองตอความตองการในการพัฒนาประเทศจึงเปนส่ิงสําคัญท่ีหลายฝายตองพิจารณา ท้ังในระดับองคกรการเงินในระดับจุลภาคเอง จนไปถึงในระดับผูกําหนดนโยบาย ซ่ึงจะมีการจําแนกวิเคราะหเปนท้ังในระดับจุลภาค (ระดับองคกรผูใหบริการ) และระดับมหภาค (ระดับผูกําหนดนโยบาย) ในสวนตอไป

Page 33: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

11

1.3 การวิเคราะหในระดับองคกร (Micro Level) จากท่ีไดกลาวไวขางตน องคกรการเงินในระดับจุลภาคสามารถถูกจัดต้ังไดในหลาย

ลักษณะไมวาจะเปนองคกรการเงินในระดับจุลภาคแบบท่ีเปนทางการ ซ่ึงอาจเกิดจากการริเร่ิมจากภาครัฐ หรือประชาชนในชุมชน และมีการจดทะเบียนตามท่ีกฎหมายกําหนด รวมไปถึงการจัดต้ังองคกรการเงินในระดับจุลภาคแบบไมเปนทางการ ซ่ึงอาจเปนการจัดต้ังโดยการรวมกลุมของคนในชุมชน ลักษณะการดําเนินงานจึงข้ึนอยูกับขอตกลงของแตละชุมชนท่ีจัดต้ังองคกรการเงินในระดับจุลภาคนั้นๆ อยางไรก็ดี ในชวง 25 ปท่ีผานมา องคกรการเงินในระดับจุลภาคมีการดําเนินการในลักษณะท่ีเปนทางการมากข้ึน โดยทําหนาท่ีเปรียบเสมือนกับธนาคารพาณิชยโดยท่ัวไปที่มีท้ังการรับฝากเงิน การปลอยสินเช่ือ และการใหหลักประกันในรูปแบบตางๆ แตประเด็นท่ีแตกตางกันก็คือ องคกรการเงินในระดับจุลภาคจะตองบอกรับความเส่ียงจากลูกคาท่ีมีฐานะยากจนท่ีไมมีหลักทรัพยคํ้าประกัน (Collateral) มีตนทุนการดําเนินการตอหนวย (Average Transaction Cost) ท่ีสูงกวาเนื่องจากกลุมลูกคาจะขอกู/ฝากในปริมาณท่ีไมมากนัก

1.3.1 ประเภทขององคกรเงินในระดับจุลภาค โดยท่ัวไปประเภทขององคกรการเงินในระดับจุลภาค สามารถจําแนกออกเปน 4 ประเภท

ตามรูปแบบของการจัดต้ังไดแก องคกรการเงินในระดับจุลภาคท่ีไมเปนทางการ (Informal) องคกรท่ีจัดต้ังโดยกลุมสมาชิกหรือสหกรณ (Member-owned) องคกรท่ีไมใชรัฐบาล (NGOs) และองคกรการเงินในระดับจุลภาคท่ีเปนทางการ (Formal)

รูปแบบของการจัดต้ังองคกรทางการเงินนั้นจะมีจุดแข็ง/ จุดออนท่ีแตกตางกัน โดยองคกรการเงินในระดับจุลภาคท่ีไมเปนทางการหรือองคกรท่ีจัดต้ังโดยกลุมสมาชิกหรือสหกรณจะมีความไดเปรียบในการเขาถึงแหลงลูกคาท่ีมีฐานะยากจนจริง แตมีขอเสียในเร่ืองของความสามารถในการนําเสนอสินคาท่ีสามารถครอบคลุมความตองการของลูกคา ในขณะท่ีองคกรท่ีเปนทางการจะมีขอไดเปรียบในเร่ืองของการบริหารจัดการความเส่ียงและการมีประเภทสินคาท่ีหลากหลาย แตองคกรท่ีมีการจัดต้ังแบบเปนทางการ (ท่ีมีขนาดใหญ) อาจคํานึงถึงผลประโยชนทางดานกําไรและอาจไมใหความสําคัญทางดานผลประโยชนทางสังคมมากเทาท่ีควร อยางไรก็ดี Helms (2006) ไดใหความเห็นวาความไดเปรียบในการเขาถึงลูกคาคนจนของการจัดต้ังองคกรการเงินในระดับจุลภาคแบบไมเปนการทางนั้นมี “ความสําคัญนอย” เม่ือเปรียบเทียบกับการมีสินคาทางการเงินท่ีหลากหลาย นอกจากนี้องคกรการเงินท่ีมีขนาดใหญจะสามารถเขาถึงกลุมลูกคาคนจนไดโดยการเปดสาขาไปยังชนบทใหมากข้ึน

Page 34: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

12

ตารางท่ี 1.2 จุดแข็งและจุดออนขององคกรการเงินในระดับจุลภาคในแตละประเภท

ประเภท จุดแข็ง จุดออน

องคกรการเงินในระดับจุลภาคที่ไมเปนทางการ (Informal)

สะดวกและรวดเร็ว มีความใกลชิดกับลูกคา มีตนทุนในการบริหารจัดการตํ่า เขาถึงกลุมลูกคาคนจนที่แทจริงได เขาถึงลูกคาที่อยูหางไกลได

ไมมีความแนนอน มีรูปแบบการปฏิบัติการที่จํากัด ตนทุนในการกูสูง (อัตราดอกเบี้ยเงินกูสูง)

องคกรที่จัดต้ังโดยกลุมสมาชิกหรือสหกรณ (Member-owned)

มีตนทุนในการบริหารจัดการตํ่า เขาถึงกลุมลูกคาคนจนที่แทจริงได เขาถึงลูกคาที่อยูหางไกลได กําไรท่ีไดรับกลับมาอยูในรูปของเงินปนผลใหสมาชิก

มีประเภทของสินคาทางการเงินที่จํากัด

ในหลายๆ ประเทศ ไมมีการกํากับดูแลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

มีรูปแบบการปฏิบัติการที่จํากัดแกสมาชิก มีความเสี่ยงสูง

องคกรที่ไมใชรัฐบาล (NGOs) มีความรูและเขาใจปญหาความยากจนเปนอยางดี

มีจุดมุงหมายในเชิงสังคมมากกวาธุรกิจ

สามารถที่จะยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได

ผูใหเงินบริจาค (Donor) เขามามีสวนรวม

มีรูปแบบการใหบริการท่ีจํากัด มีขนาดเล็ก มีตนทุนในการบริหารจัดการที่สูงในบางกรณี

องคกรการเงินในระดับจุลภาคที่เปนทางการ (Formal)

มีการใหบริการที่หลากหลาย มีสาขาต้ังอยูจํานวนมาก มีความสามารถในการบริหารจัดการเงินทุน

มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

วัตถุประสงคทางดานการทํากําไรอาจจะอยูเหนือกวาวัตถุประสงคในเชิงสังคม

มีความยากในการเขาถึงคนจนหรือลูกคาที่อยูหางไกล

ในหลายคร้ังที่สินคาที่นําเสนอไมตอบสนองตอความตองการของลูกคา

ที่มา: สรุปจาก Helms (2006)

Page 35: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

13

1.3.2 การระดมเงินทุน

จากเดิมท่ีองคกรการเงินในระดับจุลภาคระดมทุนจากการไดรับการสนับสนุนหรืออุดหนุน

จากภาครัฐ (Government-directed financial institution) หรือองคกรท่ีใหการชวยเหลือตางๆ มีการศึกษาจํานวนมากท่ีอธิบายถึงขอจํากัดของการที่องคกรการเงินในระดับจุลภาคอยูภายใตการอุดหนุนของรัฐบาล โดยเฉพาะขอจํากัดทางดานเงินทุนของภาครัฐในการขยายการใหบริการครอบคลุมแกกลุมลูกคา ดังนั้น ในปจจุบันจึงไดมีการผลักดัน โดยเฉพาะจากกลุมนักเศรษฐศาสตรของธนาคารโลก ใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคทําหนาท่ีเปน “สถาบันเงินฝาก” (Saving Institution) เชนเดียวกับธนาคารพาณิชยโดยท่ัวไป (Ledgerwood and White, 2006) ได โดยใหสามารถเปนองคกรท่ีรับเงินฝากจากสาธารณะ (Public Saving) ในรูปแบบตางๆ ไมใชแตเปนผูรับฝากจากคนจนแตเพียงอยางเดียวโดยมีเหตุผลท่ีสําคัญ ดังตอไปนี้

1. การเปนสถาบันเงินฝากจะชวยใหองคกรการเงินในระดับจุลภาคสามารถตอบสนอง

ความตองการออมของคนจนในประเทศได 2. การเปนสถาบันเงินฝากจะชวยใหเกิดการจัดสรรเงินทุนจากสาธารณะไปสูคนยากจน

ซ่ึงจะเปนการชวยลดชองวางของรายได (Income Gap) ระหวางคนจน-คนรวย 3. การเปนสถาบันเงินฝากจะชวยใหองคกรการเงินมีการบริหารงานท่ีเกิดการประหยัดตอ

ขนาด (Economies of Scale) มากข้ึน ซ่ึงนําไปสูโอกาสในการขยายการใหบริการแกลูกคาท่ีมีฐานะยากจนในพื้นท่ีหางไกล

4. การเปนสถาบันเงินฝากจะชวยลดภาระของรัฐบาลในการเปนผูใหการอุดหนุน เนื่องจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคสามารถใชเงินออมในการปลอยสินเช่ือไดโดยตรง

5. การเปนสถาบันเงินฝากจะชวยเพิ่มผลไดทางเศรษฐกิจในการเพ่ิมการผลิต และการลงทุนจากแหลงทุนใหมๆ

นอกจากทําหนาท่ีเปนสถาบันเงินฝากโดยตรงจากลูกคาท่ีเปนคนยากจนแลว ในปจจุบัน

องคกรการเงินในระดับจุลภาคไดมีการดําเนินการระดมทุนดวยวิธีการตางๆ ท้ังในรูปแบบของการระดมทุนแบบหนี้สิน (Debt Finance) เชน การรับเงินฝาก หรือการออกพันธบัตร และการระดมทุนแบบทุน (Equity Finance) เชน การลงทุนในตลาดหลักทรัพย รูปแบบท่ีแตกตางของการระดมทุนสงผลทําใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจําเปนตองจัดการบริหารความเส่ียงในการปกปองเงินทุนของผูออม

Page 36: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

14

การรับฝากเงินยังสามารถนํามาใชเปนรูปแบบที่สําคัญของระบบการเงินในระดับจุลภาคเพื่อแกไขปญหาความไมสมมาตรของขอมูลขาวสาร โดยการกําหนดใหผูกูจะตองฝากเงินจนถึงระดับหนึ่งกอนท่ีจะไดรับเงินกู เนื่องจากประชาชนมักคิดเสมอวาสินเช่ือท่ีพวกเขาไดรับเปนเงินของรัฐบาล หรือไดรับการอุดหนุนจากภาครัฐ และสามารถที่จะเบ้ียวหนี้ได การรับฝากเงินขององคกรการเงินในระดับจุลภาคจึงสามารถกระทําได 2 ลักษณะ คือ

• การบังคับฝากเงิน

• การฝากเงินโดยสมัครใจ โดยการบังคับฝากเงินเปนการบังคับใหผูท่ีกูเงินตองฝากเงินเปนจํานวนหนึ่งหรือเปน

สัดสวนของเงินกู โดยถามีการชําระหนี้ไมครบจะไมสามารถถอนเงินออกไปใชได การฝากเงินในลักษณะนี้เปนการฝากเงินเพื่อเปนสินทรัพยในการค้ําประกันเงินกูนั้นเอง ในขณะท่ีการฝากเงินโดยสมัครใจของสมาชิกเปนการใหบริการบุคคลทั้งท่ีเปนสมาชิกและไมเปนสมาชิกของธนาคารโดยสามารถฝากเงินคร้ังละเทาไรก็ได รวมถึงสามารถถอนเงินไดตลอดเวลา การฝากเงินในลักษณะนี้เปนการสงเสริมใหเกิดการออมและแกไขปญหาการขาดเงินในการบริโภค (Consumption Smoothing)

1.3.3 การใหสินเชื่อ

ปญหาสําคัญท่ีสุดของการเขาถึงแหลงเงินทุนของคนยากจนก็คือ “การที่คนจนไมมีหลักทรัพยหรือทรัพยสินท่ีสามารถนํามาใชในการค้ําประกันเงินกู” หรือ “ไมมีหลักทรัพยเพียงพอในการขอกูยืม” การใหสินเช่ือแกผูขอกูโดยไมมีหลักประกันใดๆ นั้นเปนการสรางความเส่ียงแกสถาบันการเงินในระดับจุลภาคนั้นๆ เนื่องจากการมีหลักทรัพยคํ้าประกันเงินกูจะทําใหผูกูสามารถม่ันใจไดถึงความสามารถในการใชคืนเงินกู (พรอมดอกเบ้ีย) ของผูขอกู ซ่ึงจะเปนการลดปญหา Adverse Selection ท่ีมักเกิดข้ึนในตลาดสินเช่ือจากความไมสมมาตรของขอมูลขาวสาร (Asymmetric Information) ระหวางผูกูกับผูใหกู

ความสําเร็จของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคอยูตรงที่วิธีการใหกูเปนแบบกลุม (Group Lending) โดยท่ีผูขอกูไมตองใชหลักทรัพยในการค้ําประกันเงินกู ในชวงเร่ิมตนของการดําเนินการ ทางสถาบันการเงินจะสงพนักงานเขาไปในหมูบานเพื่อทําความเขาใจเกี่ยวกับการใหสินเช่ือของสถาบันการเงิน ในกรณีธนาคารกรามีน ทางธนาคารจะเจาะกลุมไปสูคนยากจนเทานั้น โดยธนาคารกรามีนไดกําหนดใหมีการต้ังกลุมข้ึนมาจํานวนกลุมละ 5 คน และสมาชิกภายในกลุมจะตองถือครองท่ีดินนอยกวาคร่ึงเอเคอร โดยตองมาจากตางครอบครัว และมีการแบงเพศตามกลุมท่ีชัดเจน

Page 37: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

15

โดยในแตละกลุมจะมีหัวหนากลุมท่ีทําหนาท่ีเปนศูนยกลางในการจัดการประชุมในแตละสัปดาห และรายงานสถานการณใหแกเจาหนาท่ีของสถาบันการเงินผูปลอยกู ซ่ึงสมาชิกแตละคนจะไดรับสินเช่ือไปดําเนินการในเร่ืองท่ีตนเองสนใจท่ีจะลงทุน5

ขอดีท่ีสําคัญท่ีสุดของการใหกูแบบกลุม (Group Lending) ก็คือการลดปญหาความไม

สมมาตรของขอมูลขาวสาร (Asymmetric Information) ท่ีทําใหเกิดปญหา Adverse Selection เพราะคนในกลุมเองยอมทราบดีวาครัวเรือนไหนมีสภาพความเปนอยูอยางไร ขอมูลท่ีไดจากการจัดกลุมในการขอสินเช่ือดังกลาวนี้ จึงคลายกับการใหขอมูลแกผูใหสินเช่ือเพื่อใหแนใจวาผูขอสินเช่ือมีความนาเช่ือถือเพียงใด โดยการจัดกลุมจะเปนการแยกกลุมผูขอกูท่ีมีโอกาสไมใชหนี้สูงออกจากกลุมผูขอกูท่ีดี

การใหกูแบบเปนกลุมยังชวยลดปญหาความไมสมมาตรของขอมูลขาวสารที่ทําใหเกิดปญหา Moral Hazard เนื่องจากการรับผิดชอบรวมกันของสมาชิกภายในกลุม (Joint Responsibility) ท่ีจะตรวจสอบกันเองภายในกลุมวาสมาชิกภายในกลุมมีการบริหารเงินท่ีขอกูยืมไปอยางถูกตองและมีประสิทธิภาพเพียงใด (Peer Monitoring) โดยในแตละสัปดาหสมาชิกจะตองรายงานผลการดําเนินการของการใชสินเช่ือในแตละครัวเรือนแกหัวหนากลุม เพื่อท่ีหัวหนากลุมจะนําไปยื่นแกเจาหนาท่ีของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคอีกคร้ัง โดยในการพบกันแตละคร้ังจะมีการแลกเปล่ียนความรูกันระหวางสมาชิกภายในกลุมหรือเจาหนาท่ีอาจจะมีการใหคําแนะนําแกสมาชิก ซ่ึงผลไดโดยภาพรวมก็คือจะเปนการชวยสราง “ทุนทางสังคม” (Social Capital) ใหเกิดข้ึนในชุมชนนั้นๆ ซ่ึงจะชวยทําใหเกิดการพัฒนาในชุมชนนั้นๆ

นอกจากจะชวยลดปญหาหนี้เสียท่ีเกิดจากการปลอยกูแลว การใหกูแบบกลุมยังชวยลดตนทุนในการบริหารจัดการ (Transaction Cost) ใหถูกลง เนื่องจากเจาหนาท่ีผูใหกูสามารถทราบถึงปญหาท่ีเกิดข้ึนในแตละกลุม และสามารถแกไขไดอยางทันทวงที พรอมท้ังยังสามารถแกไดพรอมๆ กัน

5 เน่ืองจากลักษณะการใหกูแบบกลุม (Group Lending) น้ีเปนลักษณะที่ถูกจัดต้ังขึ้นจากธนาคารกรามีนในประเทศบังกลาเทศ และถูกนําไปใชโดยสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจํานวนมากทั่วโลก ดังน้ันในบางครั้งที่การใหกูยืมแบบกลุมน้ีถูกเรียกวา “the Grameen Style’s Group Lending”

Page 38: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

16

อยางไรก็ดี การใหกูยืมแบบกลุมยังมีขอดอยบางประการดังนี้

• การใหกูยืมแบบกลุมไมสามารถใชกับกลุมหมูบานท่ีในแตละครัวเรือนไมมีความสัมพันธกันมากนัก โดยเฉพาะกับประเทศที่อาจมีภูมิลําเนาท่ีแตละบานอยูหางไกลกัน และมีโอกาสติดตอกันยาก การใหกูยืมแบบกลุมจะเปนการเพิ่มตนทุนแกผูใหกูโดยรวม

• การใหกูยืมแบบกลุมอาจเกิดความเปนไปไดท่ีสมาชิกภายในกลุมรวมหัวกันท่ีจะไมใชคืนหนี้ (Collusion) โดยเฉพาะในกรณีท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีใหกูนั้นไมมีบทลงโทษทางสังคมหรือทางกฎหมายใดๆ กับกลุมสมาชิกท่ีไมใชคืนหนี้

• การใหกูยืมแบบกลุมอาจทําใหเกิดปญหา Free-Rider ได จากการที่สมาชิกในกลุมบางคนอาจไมทํางาน หรือไมทําการลงทุนอยางเต็มท่ีหรือมีประสิทธิภาพ ซ่ึงอาจสงผลตอการทํางานของสมาชิกในกลุมเชนกัน

ดังนั้น เพื่อท่ีจะใหแนใจวาสมาชิกสามารถบริหารจัดการเงินกูยืมไดอยางมีประสิทธิภาพ

และตรงตามความตองการของผูใหกู ในการประชุมแตละคร้ังผูใหกูจะทําการตรวจสอบ Code of Conduct ในขอตางๆ วาผูขอกูนั้นไดปฏิบัติตามหรือไม โดยธนาคารกรามีนไดกําหนด “คําม่ันสัญญา” (Codes of Conduct) ไว 16 ขอ ขณะท่ี Bangladesh Rural Advancement Committee ซ่ึงเปนสถาบันการเงินในระดับจุลภาคอีกแหงหนึ่งของประเทศบังกลาเทศไดกําหนดไว 17 ขอ ดังตัวอยางในตารางท่ี 1.3

Page 39: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

17

ตารางท่ี 1.3

คําม่ันสัญญาของธนาคารกรามีนและ Bangladesh Rural Advancement Committee (BRAC)

Grameen Bank’s 16 Decision BRAC’s 17 Promises 1. The four principles of the Grameen Bank: discipline, unity, courage, and hard work-we will follow and advance in all walks of our lives

1. We will note engage in malpractice of injustice.

2. We will bring prosperity to our families 2. We will work hard and bring prosperity to our family 3. We will note live in dilapidated houses. We will repair out houses and work toward constructing new houses

3. We will send our children to school.

4. We will grow vegetables all year round. We will eat plenty of them and sell the surplus.

4. We will adopt family planning and keep our family size small.

5. During the plantation seasons, we will plant as many seedlings as possible

5. We will try to be clean and keep our house tidy

6. We will plan to keep our families small. We will minimize our expenditures. We will look after our health

6. We will always drink pure water.

7. We will educate our children and ensure that we can pay for their education

7. We will note keep our food uncovered and will wash our hands and face before we talk our meal

8. We will always keep our children and the environment clean. 8. We will construct latrines and will not leave our stool where it doesn’t belong

9. We will build and use pit-latrines 9. We will cultivate vegetables and trees in and around our house. 10. We will drink tubewell water. If it is not available, we will boil water or treat it with alum.

10. We will try to help each other under all circumstances

11. We will note talk any dowry in our sons’ wedding, neither will we give any dowry in our daughters’ wedding. We will keep the center free from the curse of dowry. We will not practice child marriage.

11. We will fight against polygamy and injustices to our wives and all woman.

12. We will note inflict injustice on anyone nor will we allow anyone to do so.

12. We will be loyal to the organization and abide by its rules and regulations.

13. For higher incomes we will collectively undertake bigger investment

13. We will not sign anything without having a good understanding of what it means

14. We will always be ready to help each other. If anyone is having difficulty, we will help them.

14. We will attend weekly meetings regularly and on time.

15. If we learn of any breach in discipline in any center, we will help to restore discipline

15. We will always abide by the decisions of the weekly group meetings.

16. We will introduce physical exercise in our centers. We will talk part in all social activities collectively.

16. We will regularly deposit our weekly savings.

17. If we receive a loan we will repay it. ที่มา: Khandker (1998)

Page 40: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

18

สถาบันการเงินในระดับจุลภาคในปจจุบันเร่ิมขยายลักษณะ หรือขอบเขตการใหสินเช่ือไปสูสินเช่ือประเภทรายบุคคล นอกเหนือจากการใหสินเช่ือแบบกลุม (Beyond Group Lending) มากข้ึน ตัวอยางเชน BancoSol ของโบลิเวียหรือ Bank Rakyat Indonesia ของอินโดนิเชียท่ีไดขยายวงเงินการใหสินเช่ือมาสูการใหแบบรายบุคคล (Individual Lending) มากข้ึน จากการรวบรวมของ Armendariz and Morduch (2005) ไดรวบรวมขอมูลจาก The Microbanking Bulletin จากตารางท่ี 1.4 โดยเปรียบเทียบศักยภาพทางการเงินของการใหสินเช่ือในแตละประเภท โดยพบวา

• สถาบันการเงินท่ีใหสินเช่ือรายบุคคล จะใหบริการลูกคาไดมากกวาโดยสังเกตไดจากขนาดสินเช่ือโดยเฉล่ีย (Average Loan Size) ท่ีสูงกวา สําหรับการใหสินเช่ือรายบุคคล (973 เหรียญสหรัฐฯ) เม่ือเปรียบเทียบกับการใหสินเช่ือแบบกลุม (371 เหรียญสหรัฐฯ) และการใหสินเช่ือในลักษณะของธนาคารหมูบาน (136 เหรียญสหรัฐฯ)

• สถาบันการเงินท่ีใหสินเช่ือรายบุคคล จะสรางความนาไววางใจแกลูกคาไดดีกวา โดยสังเกตไดจากเปอรเซ็นตของความยั่งยืนทางการเงินของลูกคา (Financial Self-Sufficient Ratio) ท่ีสูงกวาสําหรับการใหสินเช่ือรายบุคคล (รอยละ 102) เม่ือเปรียบเทียบกับการใหสินเช่ือแบบกลุม (รอยละ 89) และการใหสินเช่ือในลักษณะของธนาคารหมูบาน (รอยละ 89)

• สถาบันการเงินท่ีใหสินเช่ือรายบุคคล จะสามารถใหสินเช่ือแกลูกคาในกลุมผูหญิง (รอยละ 46) ไดนอยกวาการใหสินเช่ือแบบกลุม (รอยละ 73) และการใหสินเช่ือในลักษณะของธนาคารหมูบาน (รอยละ 89)

• สถาบันการเงินท่ีใหสินเช่ือรายบุคคล จะสามารถกําหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกูและคาใชจายอ่ืนๆ ไดตํ่ากวา (รอยละ 21) เม่ือเปรียบเทียบกับการใหสินเช่ือแบบกลุม (รอยละ 30) และการใหสินเช่ือในลักษณะของธนาคารหมูบาน (รอยละ 49)6

• สถาบันการเงินท่ีใหสินเช่ือรายบุคคล จะมีคาใชจายตอขนาดสินเช่ือท่ีตํ่ากวา โดยสังเกตไดจากสัดสวนคาใชจายในการประกอบการกับวงเงินสินเช่ือ (Operation Expense per Loan Portfolio) ท่ีตํ่ากวาสําหรับการใหสินเช่ือรายบุคคล (รอยละ 20) เม่ือ

6 โดยเฉล่ียแลว อัตราดอกเบี้ยและคาธรรมเนียมของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคอยูในระดับที่สูงกวาโครงการ

สินเช่ือในชนบทซึ่งทําใหระบบการเงินในระดับจุลภาคสามารถพ่ึงตนเองได (Self-Sustain)

Page 41: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

19

เปรียบเทียบกับการใหสินเช่ือแบบกลุม (รอยละ 37) และการใหสินเช่ือในลักษณะของธนาคารหมูบาน (รอยละ 61)

ถึงแมวาการใหสินเช่ือแบบกลุม (และแบบหมูบาน) จะสามารถเขาถึงคนจนท่ีแทจริงได

ดีกวา และสามารถสรางระบบการกํากับดูแลสินเช่ือ (Loan Monitor) ไดดีกวาสินเช่ือรายบุคคลก็ตาม แตทวาการใหสินเช่ือแบบกลุมยังมีขอดอยในกรณีท่ีนําไปใชในชุมชนท่ีแตละครัวเรือนอยูหางไกลกัน หรือประชากรในชุมชนนั้นมีความแตกตางกันมาก (Heterogeneous Population) การใหสินเช่ือรายบุคคลจะชวยใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคสามารถเขาถึงคนกลุมยอยๆ ไดมากข้ึน (Outreach) ถึงแมวาจะมีตนทุนในการกํากับดูแล (ตอผูขอสินเช่ือ) สูงกวามากก็ตาม ดังนั้นในปจจุบันสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจึงจําเปนท่ีจะตองมีรูปแบบของการใหสินเช่ือท่ีหลากหลาย (ท้ังในระดับบุคคลและแบบกลุม) เพื่อท่ีจะเปนการกระจายความเส่ียงท่ีเกิดข้ึนและสามารถนําเสนอสินคาทางการเงินท่ีหลากหลายและตรงตามความตองการของลูกคาไดมากข้ึน

อยางท่ีทราบกันดีวาการดําเนินงานของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคคอนขางประสบความสําเร็จเปนอยางสูงจากสัดสวนการชําระคืนเงินกูท่ีสูง การติดตามหน้ีสูญท่ีรวดเร็ว บางแหงจะมีการลดอัตราดอกเบ้ียสําหรับผูท่ีชําระหนี้กอนกําหนดและเพิ่มอัตราดอกเบ้ียสําหรับผูท่ีชําระเงินกูไมตรงเวลา

อยางไรก็ดี ความสําเร็จของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะไมสามารถสําเร็จไดถาปราศจากโครงสรางทางดานการเงินของประเทศท่ีแข็งแกรง (Financial Infrastructure) โครงสรางทางการเงินในท่ีนี้หมายถึงระบบท่ีสามารถสงผานเงินทุนระหวางสถาบันการเงิน ผูฝากเงิน และผูขอสินเช่ือไดอยางรวดเร็ว ถูกตอง และมีประสิทธิผล โดยเฉพาะกับกลุมลูกคาท่ีอยูกระจายไปในแตละพื้นท่ี และจําเปนตองเขาถึงโครงสรางทางการเงินในทุกประเภท ท้ังนี้ระบบขอมูลสารสนเทศ (Information System) จําเปนท่ีจะตองไดรับการพัฒนาและนํามาใชกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาค นอกจากจะชวยใหผูบริหารสถาบันการเงินสามารถกําหนดเคร่ืองมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเงินในระดับจุลภาคแลว ระบบสารสนเทศยังชวยในการลดความเส่ียงและตนทุนจากการลงทุนอีกดวย

การขาดแคลนบุคลากรที่ทําหนาท่ีในการใหบริการในเชิงเทคนิคแกผูขอสินเช่ือเปนปญหาสําคัญของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคโดยท่ัวไป โดยเฉพาะการเขาถึงคนจนในเชิงลึกท่ีจําเปนตองใชเจาหนาท่ีสินเช่ือเพิ่มข้ึนเนื่องจากความตองการในการขอสินเช่ือท่ีเพิ่มข้ึน การพัฒนาความพรอมของโครงสรางทางการเงินและการปรับปรุงประสิทธิภาพของผูใหสินเช่ือเปนปจจัยสําคัญในการพัฒนาระบบการเงินในระดับจุลภาคของประเทศ

นอกจากกําหนดลักษณะของการใหกูยืมแลว สถาบันการเงินในระดับจุลภาคยังไดกําหนดกฎระเบียบยอยตางๆ ไมวาจะเปน การใหสินเช่ือแตละครั้งจะใหในวงเงินท่ีตํ่า โดยมีระยะเวลาในการใชคืนท่ีส้ัน นอกจากนี้ยังไดมีการสรางระบบแรงจูงใจโดยกําหนดใหลูกคาท่ีจายคืนหนี้อยาง

Page 42: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

20

สมํ่าเสมอ และไมผิดนัดชําระหนี้ สามารถกูเงินในคร้ังตอไปไดในปริมาณท่ีมากขึ้น โดยสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะมีตารางการชําระหนี้ท่ีชัดเจน เชน กําหนดใหมีการชําระหนี้ทุกสัปดาหหรือทุกเดือน ซ่ึงทําใหผูกูสามารถท่ีจะติดตามความสามารถในการจายสินเช่ือของผูกูไดอยางใกลชิด

ตารางท่ี 1.4

ศักยภาพทางการเงินของการใหสินเชื่อในแตละประเภท

ตัวชี้วัด การใหสินเชื่อรายบุคคล (Individual Lending)

การใหสินเชื่อแบบกลุม (Group Lending)

การตั้งธนาคารหมูบาน (Village Banks)

จํานวนกลุมตัวอยาง 73 47 27

ขนาด (Scale) จํานวนผูขอสินเชื่อ 9,610 47,884 16,163 ขนาดสินเชื่อโดยเฉล่ีย (Average Loan Size)

$973 $371 $136

การเขาถึงกลุมลูกคา (Outreach) ขนาดสินเชื่อตอรายไดตอหัว (Average Loan Size/GNP: %)

88 46 20

สัดสวนของลูกคาผูหญิง (Fraction Female :%)

46 73 89

ศักยภาพทางการเงนิ (Financial Performance) ผลตอบแทนตอทรัพยสิน (Return on Assets: %)

-1.2 -4.1 -7.2

ผลตอบแทนตอทุน (Return on Equity: %)

0.6 -12.5 -10.7

ความยั่งยืนทางการเงินของลูกคา (Financial Self-Sufficient Ratio: %)

102 89 89

ผลตอบแทน (Yield: %)

21 30 49

ประสิทธิภาพ (Efficiency) คาใชจายในการดําเนินการตอสินเชื่อ (Operative expense/loan portfolio: %)

20 37 61

ตนทุนตอผูขอสินเชื่อ (Cost per borrower: US$)

155 93 62

สัดสวนของผูกูตอเจาหนาท่ีผูใหสินเชื่อ (Number of borrowers/ Loan officers)

508 356 309

ที่มา: Armendariz and Morduch (2005)

Page 43: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

21

1.4 การวิเคราะหในระดับนโยบาย (Macro Level) บทบาทของภาครัฐตอระบบการเงินในระดับจุลภาคยังเปนประเด็นท่ีมีการถกเถียงอยูใน

ปจจุบัน เนื่องจากการเขาแทรกแซงของภาครัฐมีท้ังขอดีและขอเสียท่ีแตกตางกัน โดยท่ัวไปแลว ภาครัฐมีสวนเกี่ยวของกับระบบการเงินในระดับจุลภาคอยู 3 ดานดวยกันคือ

1. รัฐบาลเปนผูใหบริการทางการเงินในระดับจุลภาคท้ังทางตรงและทางออม ไมวาจะเปนการเปนผูใหการอุดหนุนสินเช่ือไปในกลุมลูกคาเฉพาะท่ีภาครัฐกําหนดไว โดยภาครัฐจะทําหนาท่ีเปนผูถือหุนใหญของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีถูกกอต้ังในลักษณะของธนาคารรัฐวสิาหกิจ (State-Own Enterprise Bank)

2. รัฐบาลเปนผูกําหนดนโยบาย (set policies) ในระบบการเงินในระดับจุลภาค โดยมีวัตถุประสงคในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการกํากับดูแลระบบการเงินของประเทศ รวมถึงระบบการเงินในระดับจุลภาค

3. รัฐบาลสามารถสรางกําหนดนโยบายเชิงรุก (Proactive) ในการสรางแรงจูงใจใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเนนใหบริการทางการเงินเฉพาะกลุมคนจน

การศึกษาในสวนนีจ้ะวิเคราะหถึงบทบาทของภาครัฐท้ัง 3 ดานดังกลาว

1.4.1 รัฐบาลกับการเปนผูใหการอุดหนุนสินเชื่อในระดับจุลภาค รัฐบาลสามารถทําหนาท่ีเปนผูใหสินเช่ือแกผูขอกูโดยตรงจากธนาคารที่มีสถานะเปน

รัฐวิสาหกิจ อยางไรก็ดี การศึกษาจํานวนมากเห็นพองตองกันวา การใหสินเชื่อในระดับจุลภาคโดยการอุดหนุน (Subsidize) ผานสถาบันการเงินรัฐวิสาหกิจสวนมาก มักประสบปญหาสําคัญ ดังนี้

• การใหสินเช่ือโดยการอุดหนุนจากภาครัฐมีโอกาสที่จะถูกดึงจากนโยบายท่ีเอ้ือไปสูวัตถุประสงคทางการเมือง เชน ภาครัฐอาจจะเนนใหสินเช่ือ เพื่อเปนการสรางฐานเสียงโดยท่ีไมไดเนนถึงกลุมลูกคาท่ีมีฐานะยากจนเทาท่ีควร

• การใหสินเช่ือโดยการอุดหนุนจากภาครัฐอาจทําใหผูกูมองวาเปนเงินใหเปลาจากรัฐโดยเฉพาะกับประเทศท่ีภาครัฐมักเปนผูใหการอุดหนุนในภาคเกษตรกรรม

Page 44: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

22

• การใหสินเช่ือโดยการอุดหนุนจากภาครัฐจําเปนท่ีจะตองกําหนดอัตราดอกเบ้ียท่ีตํ่า ซ่ึงทําใหไมสามารถครอบคลุมถึงตนทุนทางการเงิน (Cost of Fund) ซ่ึงจะเปนการสรางภาระใหแกภาครัฐท่ีเปนผูท่ีใหการอุดหนุนเปนสําคัญ

• การใหสินเช่ือโดยการอุดหนุนจากภาครัฐอาจทําใหกลุมลูกคาถูกจํากัดอยูในวงแคบ เชน ภาครัฐอาจจํากัดการใหสินเช่ือกับประชากรบางพ้ืนท่ี บางกลุม หรือบางกิจกรรมทางเศรษฐกิจเทานั้น โดยเฉพาะลูกคาท่ีไดรับสินเช่ืออาจเปนกลุมท่ีมีเครือขายกับเจาหนาท่ี ซ่ึงทําใหสินเช่ือนั้นไมสามารถเขาถึงคนจนอยางแทจริงได

• เจาหนาท่ีจากภาครัฐท่ีทําหนาท่ีในการใหสินเช่ืออาจไมมีความรูทางดานการเงินดีพอ โดยเฉพาะสถาบันการเงินในระดับจุลภาคที่มีลักษณะเฉพาะ เชน ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ท่ีเจาหนาท่ีอาจมีความรูทางดานการเกษตร แตไมมีความรูทางดานการเงินและการพัฒนาท่ีดีพอ

การใหสินเช่ือผานการอุดหนุนจากภาครัฐโดยตรงสวนมากจะไมมีความไมม่ันคงและสราง

ตนทุนแกภาครัฐ ดังนั้นเพื่อใหการใหสินเช่ือจากการอุดหนุนจากภาครัฐจากธนาคารรัฐวิสาหกิจเปนไปอยางมีประสิทธิภาพจึงจําเปนตองมีการดําเนินการ ดังตอไปนี้

• สินเช่ือในระดับจุลภาคควรมีความเปนอิสระแยกออกจากการปฏิบัติการตางๆ ของธนาคาร

• ผูบริหารและคณะกรรมการของสถาบันการเงินจะตองใหความสําคัญในการรักษาความยั่งยืนทางการเงินของสถาบัน (Financially sustainable microfinance)

• ผูบริหารและคณะกรรมการของสถาบันการเงินจะตองใหความสําคัญกับการใหสินเช่ือแกคนจนหรือคนท่ีมีรายไดนอย

• จําเปนท่ีจะตองไมมีแรงกดดันทางการเมืองตอการดําเนินการของธนาคาร

• ธนาคารควรท่ีจะมีอิสระในการต้ังอัตราดอกเบ้ียเงินกู

• จําเปนตองมีระบบการควบคุมภายในองคกร และกฎระเบียบในการบริหารจัดการเงินทุน โดยเฉพาะกับสาขาของธนาคารท่ีอยูหางไกล

อยางไรก็ดี รัฐบาลในฐานะท่ีเปนผูใหการอุดหนุนการใหสินเช่ือสามารถกําหนดกลุมลูกคา

หรือกิจการทางเศรษฐกิจเฉพาะ และสามารถเปนผูจัดสรรสินเช่ือแกลูกคาบางกลุมในทางออม (Indirect support) ได โดยการเปนผูใหเงินทุนหลักแกสถาบันการเงินเฉพาะ (Wholesale-level fund)

Page 45: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

23

เพื่อทําหนาท่ีเปนผูกระจายสินเช่ือแกผูกูอีกทอดหนึ่ง การใหสินเช่ือทางออมนี้เรียกวา “second-tier funds” หรือ “apex funds” ซ่ึงสามารถดําเนินการไดหลายรูปแบบ ไมวาจะเปนการจัดโครงการท่ีมีลักษณะเฉพาะกลุม เชน กองทุนหมูบาน หรือการใหสินเช่ือไปกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคบางประเภท ท้ังนี้ ภาครัฐเลือกท่ีจะใหการอุดหนุนท้ังทางตรงและทางออมเนื่องจากเห็นวาตนทุนในการใหการอุดหนุนนั้นยังตํ่ากวาตนทุนในการเปนสถาบันเงินฝาก

1.4.2 รัฐบาลกับการเปนผูกําหนดนโยบายท่ัวไป

รัฐบาลมีบทบาทสําคัญตอความยั่งยืนของระบบการเงินเพื่อคนยากจน ในการกําหนด

นโยบายสนับสนุนใหระบบการเงินระดับจุลภาคเพ่ือคนยากจนนั้นมีความยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงคท่ีสําคัญ 3 ประการดังนี้

• การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Macroeconomic stability) ภาครัฐตองใหความสําคัญในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเปนสําคัญ เชน การรักษา

ระดับเงินเฟอใหตํ่า เนื่องจากระดับเงินเฟอสูงจะเปนอุปสรรคไมเพียงกับสถาบันการเงินในการบริหารจัดการเงินทุน แตยังสรางความลําบากแกผูกู เนื่องจากเงินเฟอท่ีสูงจะกระทบตออัตราดอกเบ้ีย อัตราแลกเปล่ียน หรือแมกระท่ังกับรายไดของผูขอกูเอง

• เสรีภาพในการกําหนดอัตราดอกเบ้ีย (Liberalized interest rates) รัฐบาลในหลายประเทศไดมีการกําหนดระดับเพดานของอัตราดอกเบี้ย (Interest rate

ceiling) ของสถาบันการเงิน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินในระดับจุลภาค โดยมีวัตถุประสงคเพื่อชวยเหลือผูกูท่ีมีฐานะยากจนไมใหรับภาระการกูท่ีสูงเกินไป หรือตองไปกูจากสินเช่ือนอกระบบที่มักจะกําหนดอัตราดอกเบ้ียท่ีสูงมาก อยางไรก็ดีการกําหนดเพดานดอกเบ้ียอาจสรางผลเสียในภายหลังได เนื่องจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะไมสามารถต้ังอัตราดอกเบ้ียไดสูงพอที่จะครอบคลุมตนทุนทางการเงิน และอาจทําใหสถาบันการเงินนั้นไมสามารถขยายสินเช่ือไดมากพอ (หรืออาจไมสามารถประกอบกิจการอยูได) ซ่ึงอาจสงผลใหผูขอกูในภายหลังจําเปนตองไปกูเงินจากนอกระบบ7 นอกจากนั้น การกําหนดเพดานดอกเบ้ียยังทําใหลูกคาไมทราบถึงตนทุนในการกูยืมท่ีแทจริงอีกดวย

7 จากการศึกษาของ Helms and Reille (2004) ไดอธิบายวาประเทศที่มีการกําหนดเพดานอัตราดอกเบ้ียอยางสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส หรือเยอรมนีจะไดรับผลกระทบทางลบกับลูกคาในสถาบันการเงินในระดับจุลภาค โดยมีแนวโนมที่สัดสวนลูกคาจะไปกูเงินจากผูกูนอกระบบมากกวาเทาตัวเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศท่ีไมไดมีการกําหนดเพดานดอกเบ้ีย

Page 46: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

24

• การออกกฎระเบียบและกํากับดูแลสถาบันการเงิน (Appropriate banking regulations and supervisory practices)

การกําหนดกฎระเบียบและการกํากับดูแลท่ีเหมาะสมกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเปนประเด็นทาทายแกผูกําหนดนโยบาย เนื่องจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคตองเผชิญกับความเส่ียงท่ีแตกตางจากธนาคารพาณิชยโดยท่ัวไป รวมถึงมีลักษณะของกลุมลูกคาท่ีแตกตางกัน การออกกฎระเบียบเพื่อกํากับดูแลธนาคารพาณิชย ยกตัวอยางเชน การเรียกรองในการถือทุน (Capital Requirement) มีวัตถุประสงคเพื่อใหแนใจวาธนาคารพาณิชยแหงนั้นมีขนาดทุนเพียงพอท่ีจะสามารถจายใหกับผูฝากเงินในกรณีท่ีมีการถอนเงินออกไปเปนจํานวนมาก (Large deposit outflows) แตเม่ือกฎระเบียบดังกลาวถูกนํามาใชกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคแลว สัดสวนการถือครองทุนจะตองตํ่ากวาของธนาคารพาณิชยโดยท่ัวไป เนื่องจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคมักจะมีขนาดเล็กกวา และมีตนทุนการบริหารจัดการการใหสินเช่ือและติดตามสินเช่ือท่ีสูงกวา เนื่องจากขนาดของสินเช่ือท่ีแตกตางกัน รวมถึงการมีกระบวนการติดตามสินเช่ือท่ีแตกตางกัน ดังนั้นการออกกฎระเบียบเพื่อกํากับดูแลจึงควรท่ีจะมีการผอนปรนเคร่ืองมือท่ีใชในการกํากับดูแลสถาบันการเงินในระดับจุลภาคออกจากธนาคารพาณิชย ดังตารางท่ี 1.5 ดังนี้

ตารางท่ี 1.5 กฎระเบียบท่ีปรับใชกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาค

กฎระเบียบสําหรับธนาคารพาณิชยโดยท่ัวไป กฎระเบียบเม่ือปรบัใชกับสําหรับสถาบันการเงินในระดับจุลภาค

(1) การถือครองทุนขั้นตํ่า (Minimum capital requirement) (2) จําเปนตองปรับใหลดลงตามขนาดของสถาบัน (3) สัดสวนความเพียงพอของทุน (Capital-adequacy ratios) (4) จําเปนตองถือครองในสวนตราสารทุน (Equity) มากขึ้น

เนื่องจากความผันผวนที่มากกวา (5) จํากัดการใหสินเชื่อที่ไมปลอดภัย (Limited unsecured leading) (6) ไมสามารถมีขอจํากัดน้ีไดในระบบการเงินในระดับ

จุลภาคเน่ืองจากการใหสินเชื่อแกคนจนตองมีความเส่ียง (7) มีการลงทะเบียนหลักทรัพยค้ําประกันเงินกู (Collateral) (8) ไมสามารถใชไดกับระบบการเงินในระดับจุลภาค

เนื่องจากคนจนไมมีทรัพยสินที่ใชเปนหลักทรัพยค้ําประกันเงินกู

(9) มีการกําหนดมาตรฐานเดียวกันไมวาจะเปนเวลาในการเปดปด หรือสําหรับการเคลียรบัญชีในแตละวัน

(10) ไมมีมาตรฐานท่ีแนนอนขึ้นอยูกับความสะดวกของลูกคา

(11) มีเอกสารการขอสินเชื่อที่เปนมาตรฐาน (12) เอกสารการขอสินเชื่อที่เปนมาตรฐานมักจะมีตนทุนตอหนวยที่สูงเน่ืองจากสินเชื่อมีขนาดเล็ก

ที่มา: Helms (2006)

Page 47: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

25

ในบางประเทศท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคไมไดถูกกํากับโดยธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ แตถูกกํากับโดยกระทรวงท่ีเกี่ยวของ เชน กระทรวงเกษตรท่ีกํากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร หรือกระทรวงการคลังท่ีกํากับธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม แตเนื่องจากภาครัฐอาจจะขาดความรูทางดานการเงิน ซ่ึงอาจทําใหการประกอบการของธนาคารมีวัตถุประสงคในการชวยเหลือบางกลุมหรือเอ้ือประโยชนทางการเมืองมากกวาวัตถุประสงคทางดานความยั่งยืนของสถาบัน8

1.4.3 รัฐบาลกับการเปนผูกําหนดนโยบายเชิงรุก

ภาครัฐโดยเฉพาะในประเทศท่ีกําลังพัฒนามักจะกําหนดนโยบายเชิงรุก (Proactive

government promotion) ในการสนับสนุนใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาค โดยท่ีสําคัญมักประกอบดวย

• การใหสินเช่ือบางสาขาการผลิตท่ีสําคัญ (Priority sector lending) รัฐบาลในบางประเทศมักเรียกรองใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจัดสรรการปลอย

สินเช่ือโดยมีวัตถุประสงคเฉพาะ เชน เพื่อพัฒนาในบางกิจกรรม หรือบางสาขาการผลิตท่ีเปนสาขายุทธศาสตรของประเทศ หรือเปนสาขาท่ีเกี่ยวของกับการจางงานสูง ซ่ึงอาจทําใหการปลอยสินเช่ือไมไดคํานึงถึงความเส่ียง (Risk) และผลตอบแทน (Return) อยางแทจริง ซ่ึงทําใหสินเช่ือท่ีออกไปไมมีประสิทธิภาพและไมคุมคาเพียงพอ

• การออกกฎระเบียบเพื่อสรางแรงจูงใจ (Regulatory incentives) รัฐบาลในบางประเทศมีการออกกฎระเบียบเพื่อสรางแรงจูงใจแกสถาบันการเงินในระดับ

จุลภาคในการปลอยสินเช่ือใหแกชุมชน เชน การออกกฎหมาย Community Reinvestment Act (CRA) ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในการสนับสนุนใหสถาบันการเงินเนนปลอยสินเช่ือไปยังชุมชนท่ีธนาคารนั้นต้ังอยู โดยเฉพาะในชุมชนท่ีมีรายไดตํ่า

• การจายโดยตรง (Government payments) รัฐบาลในบางประเทศสามารถจัดสรรงบประมาณโดยตรงใหกับสถาบันการเงินในระดับ

จุลภาคในการทําหนาท่ีเปนผูจัดสรรใหกับกลุมลูกคาเฉพาะ นอกจากน้ีภาครัฐอาจเปนผูสนับสนุน

8 ในบางประเทศไดมีการออกกฎหมายเพื่อใชในการประกอบการสถาบันการเงินในระดับจุลภาคโดยเฉพาะ (Microfinance Specific Laws)

Page 48: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

26

ในการลงทุนทางดานเทคโนโลยี เชน การชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส โดยใหการสนับสนุนแกสถาบันการเงินในการสรางระบบดังกลาว

• การจับคูเงินฝาก (Matching deposits) รัฐบาลในบางประเทศ เชน สหรัฐอเมริกาไดมีการทดลองทํา Individual Development

Accounts (IDAs) โดยการจับคูเงินฝากของผูฝากท่ีมีฐานะยากจนกับเงินสมทบของรัฐในอัตราสวน 1:1 หรือ 2:1 หรือมากกวานั้น โดยการจับคูเงินฝากในท่ีนี้มักจะมีวัตถุประสงคเฉพาะ เชน เพื่อการซ้ือบาน หรือเพื่อการศึกษาตอ เปนตน

โดยสรุป ภาครัฐมีบทบาทสําคัญในการสรางระบบการเงินในระดับจุลภาค นวัตกรรม

ทางการเงิน (และไมใชการเงิน) เปนส่ิงสําคัญสําหรับระบบการเงินในระดับจุลภาคในการขยายขอบเขตการใหบริการทางการเงินท่ีครบวงจร เพื่อใหไปสูคนยากจนใหมากท่ีสุด ซ่ึงบทบาทท่ีสําคัญท่ีสุดของภาครัฐ ก็คือ การสรางบรรยากาศทางการเงิน (Financial environment) ท่ีมุงเนนไปสูการแขงขันของสถาบันการเงิน และนําเสนอบริการทางการเงินท่ีหลากหลาย (Diverse financial providers) การเขาใจท้ังระดับลูกคา ระดับสถาบัน และระดับนโยบาย ซ่ึงเปนกรอบสําคัญในการสรางระบบการเงินในระดับจุลภาคใหเกิดประโยชนแกคนจนในประเทศ และชวยใหระบบการเงินดังกลาวสามารถดํารงอยูไดอยางยั่งยืน

Page 49: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

27

บทท่ี 2

ระบบการเงนิระดับจุลภาคในประเทศไทย ประเทศไทยเปนหนึ่งในประเทศที่ไดใหความสําคัญกับการแกไขปญหาความยากจนโดย

ตลอดระยะเวลาที่ผานมา ดังจะเห็นไดจากการกําหนดนโยบายแกไขปญหาความยากจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับตางๆ โดยยุทธศาสตรหนึ่งท่ีสําคัญเกี่ยวของกับการแกไขปญหาความยากจน คือ ยุทธศาสตรการสรางความเขมแข็งใหกับชุมชนและสังคมใหเปนรากฐานท่ีม่ันคงใหกับประเทศ ซ่ึงใหความสําคัญกับการเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการเขาถึงบริการพื้นฐานดานตางๆ แกคนจนอยางท่ัวถึง ซ่ึงรวมถึงการขยายโอกาสใหคนจนไดเขาถึงแหลงสินเช่ือในฐานะเปนปจจัยการผลิตสําคัญเพื่อนําไปใชในการสรางอาชีพ เพิ่มรายได และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองดวย ท้ังนี้เนื่องจากการใหบริการทางการเงินสําหรับผูมีรายไดนอยยังคงประสบกับเง่ือนไข และขอจํากัดหลายประการ เชน ปญหาการพิจารณาการอนุมัติเงินใหสินเช่ือของสถาบันการเงินท่ีจะพิจารณาการใหกูจากขนาดของสินทรัพยคํ้าประกันของผูขอกู ซ่ึงมักกําหนดมูลคาสินทรัพยคํ้าประกันเงินกูจากผูกูรายยอยในสัดสวนท่ีสูงกวาผูกูรายใหญเพื่อจํากัดความเส่ียงในการปลอยสินเช่ือดวย และปญหาการใหเงินสินเช่ือแกผูกูรายยอยโดยท่ัวไปนั้นท่ีมักใหผลตอบแทนตํ่าและมีความเส่ียงสูง9 สถาบันการเงินในระบบธนาคารพาณิชยจึงมักจะกําหนดอัตราดอกเบ้ียเงินกูจากผูกูรายยอยในอัตราสูงกวาผูกูท่ีมีขนาดใหญ หรือมีความนาเช่ือถือมากกวา สงผลใหประชาชนท่ียากจนและไมมีสินทรัพยคํ้าประกัน หรือมีแตไมเพียงพอตอการคํ้าประกัน ไมสามารถเขาถึงแหลงสินเช่ือในระบบธนาคารพาณิชยได เปนตน

ในอดีตท่ีผานมาแหลงสินเช่ือนอกระบบจึงถือเปนแหลงเงินกูท่ีสําคัญท่ีสุดของคนยากจนในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคเกษตร ดังตัวอยางการศึกษาของ ปรัชญา ปนมณี (2548) ท่ีระบุวา เกษตรกรที่ยากจนจะกูเงินจากแหลงเงินกูนอกระบบเปนสวนใหญ โดยในป 2506 เงินสินเช่ือท่ีเกษตรกรกูจากแหลงสินเช่ือนอกระบบ มีสัดสวนถึงรอยละ 95 ของสินเช่ือท้ังหมด10

ในปจจุบัน พบวา สัดสวนดังกลาวมีแนวโนมลดลงตามลําดับ ขณะท่ีแหลงสินเช่ือในระบบกลับมีบทบาทมากข้ึน สาเหตุสําคัญ คือ การขยายบทบาทของระบบธนาคารพาณิชย การขยายตัว

9 สินเช่ือรายยอยในภาคเกษตร เปนสินเช่ือประเภทหน่ึง ซึ่งอยูภายใตเกณฑการประเมิน ผลตอบแทนกับความเสี่ยง เชนเดียวกับสินเช่ืออื่นทั่วไป คือ ผูใหกูจะกําหนดผลตอบแทน หรือดอกเบี้ยเงินกูที่สูงขึ้นตามความเสี่ยงของการใหกูสูงขึ้น ดังน้ันหากสินเช่ือดังกลาวมีความเสี่ยงสูง ผูใหกูก็จะกําหนดดอกเบี้ยเงินกูสูงเชนเดียวกัน 10 ปรัชญา ปนมณี. “หน้ีนอกระบบ ภาวะหน้ีสินเรื้อรัง และการเจริญเติบโตของภาคเกษตรกรรมไทย: สมมติฐานจากกรณีพิเศษของแบบจําลอง AK” วารสารเศรษฐศาสตรธรรมศาสตร ปที่ 23 ฉบับที่4 (ธันวาคม 2548)

Page 50: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

28

ของรายไดจากนอกภาคเกษตร รูปแบบการกูเงินแบบผอนสงท่ีขยายตัวเพิ่มข้ึน การขยายการใหบริการข้ันพื้นฐานของภาครัฐ และการขยายตัวระบบการเงินในระดับจุลภาครูปแบบตางๆ เปนตน ทําใหความจําเปนในการพึ่งพาแหลงเงินกูนอกระบบมีแนวโนมลดลงอยางตอเนื่อง จากรายงานการประเมินความยากจนของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติในป 255011 ระบุวา ครัวเรือนท่ีเปนหนี้และยากจน ประมาณรอยละ 13.10 จะเปนหนี้นอกระบบ ขณะท่ีครัวเรือนท่ียากจนสวนใหญจะเปนหนี้ในระบบ สูงถึงรอยละ 75.55 อยางไรก็ตาม จากรายงานดังกลาว พบวา มีครัวเรือนท่ีเปนหนี้และยากจนเปนหนี้ท้ังในระบบและนอกระบบ ประมาณรอยละ 11.35 แสดงใหเห็นวา แมแหลงเงินกูนอกระบบจะมีบทบาทลดลง แตทวาสินเช่ือในระบบก็ยังคงไมสามารถทดแทนสินเช่ือจากแหลงสินเช่ือนอกระบบไดอยางสมบูรณ

สําหรับวัตถุประสงคของการกูเงินสวนใหญของครัวเรือนยากจนในชนบท เปนการกูเพื่อใชในการทําการเกษตรเปนหลัก รองลงมาคือ เพื่อใชจายอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ขณะท่ีครัวเรือนยากจนในกรุงเทพจะกูเพื่อใชจายอุปโภคบริโภคในครัวเรือนเปนหลัก สวนใหญจะเปนเงินกูจากเครือญาติหรือผูกูนอกหมูบาน เชน พอคาพืชผลทางการเกษตร พอคาปจจัยการผลิต หรือรานคาปลีก เปนตน การศึกษาของปรัชญา ปนมณี (2548) ระบุวา รอยละ 97 ของเกษตรกรท่ีกูเงินนอกระบบตองจายดอกเบ้ียในอัตราไมตํ่ากวารอยละ 15 ตอเดือน หรือรอยละ 180 ตอป เนื่องจากการใหกูนอกระบบมีตนทุนการกูยืมท่ีสูงกวาการกูในระบบ ซ่ึงปจจัยตางๆ ท่ีมีผลตอการกําหนดอัตราดอกเบ้ียสินเช่ือของผูใหกูนอกระบบ ไดแก ตนทุนสารสนเทศ คาเสียโอกาส อายุของเงินกู หลักประกัน และสัญญาเงินกู รวมท้ังวัตถุประสงคในการกูเงินของผูกู เปนตน

โดยท่ัวไป การใหกูนอกระบบมีการคิดอัตราดอกเบ้ียสูงกวาดอกเบ้ียสินเช่ือในระบบ ประมาณรอยละ 5-20 ตอเดือน12 และอาจมีการหักเงินในเบ้ืองตนไวดวย ตัวอยางเชน หากกู 10,000 บาท ผูกูจะไดรับเงินจริงเพียง 8,000 บาท หรือ 7,500 บาท เปนตน นอกจากนี้ระยะเวลาการชําระคืนเงินกูสวนใหญจะกําหนดจายเงินเปนรายวัน เชน กรณีกูเงิน 3,000 บาท หากตองจายเงินกูคืนวันละ 120 บาท ในระยะเวลา 1 เดือน เทากับ ผูกูจะตองจายเงินกูคืนรวมเปนเงิน 3,600 บาท นั่นคือ อัตราดอกเบ้ียจะมีคาเทากับรอยละ 20 ตอเดือน

11 ที่มา: สํานักพัฒนาฐานขอมูลและตัวช้ีวัดภาวะสังคม. “รายงานการประเมินความยากจน”. สํานักงาน

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ, ป 2550. 12 ที่มา: การกูนอกระบบ http://www.dpu.ac.th/researchcenter/poll.php?act=view&id=6

http://www.businessthai.co.th/content.php?data=409513_%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%81

Page 51: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

29

2.1 ระบบการเงินระดับจุลภาคในประเทศไทย รูปแบบการใหบริการการเงินในระดับจุลภาค (Microfinance) ในประเทศไทย จากการศึกษา

ของไพบูลย วัฒนศิริธรรม และพรรณทิพย เพชรมาก (2544) พบวา ในระยะแรก สวนใหญมักจะดําเนินการในรูปแบบของโครงการเงินกู หรือสินเช่ือรูปแบบของโครงการสินเช่ือเกษตรจากภาครัฐ ซ่ึงไดพัฒนาเปนสินเช่ือชนบทและเปนสินเช่ือในรูปแบบของระบบการเงินในระดับจุลภาคในระยะเวลาตอมา ตัวอยางเชน การจัดตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) ในป 2509 การจัดต้ังกองทุนพัฒนาชนบทในป 2527 โครงการพัฒนาคนจนในเมืองในป 2535 การจัดต้ังโครงการแกไขปญหาดานการเงินและสินเช่ือสําหรับคนจนในเมืองในป 2543 และการจัดต้ังโครงการกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง และโครงการธนาคารประชาชนในป 2544 เปนตน ในปจจุบันการดําเนินงานสวนใหญของภาครัฐจะอาศัยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเปนตัวกลางในการใหบริการทางการเงินในระดับจุลภาคแกประชาชนเปนหลัก

สําหรับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเปนขององคกรภาคประชาชนหรือเปนองคกรการเงินในระดับจุลภาคท่ีกลุมประชาชนหรือชุมชนเปนผูจัดต้ังเองในปจจุบันนี้ก็ไดมีการพัฒนาและขยายตัวเพิ่มข้ึนอยางกวางขวางมาก ท้ังยังไดรับการสงเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐอีกดวย ทําใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเหลานี้มีการพัฒนาการเช่ือมโยงเปนเครือขาย สามารถขยายกิจกรรมพัฒนาไปสูดานอ่ืนๆ และไดพัฒนาไปสูการดําเนินการรูปแบบใหมๆ เปนจํานวนมากในพ้ืนท่ีตางๆ ท่ัวประเทศ ท่ีสําคัญ คือ กลุมเครดิตยูเนี่ยน กลุมออมทรัพยเพื่อการผลิต กลุมออมทรัพย ธนาคารหมูบาน กลุมสัจจะสะสมทรัพย สหกรณออมทรัพยตางๆ เปนตน

จากการศึกษาของไพบูลย ศิริวัฒนธรรม และศิริพร เพชรมาก (2544)13 พบวา ในป 2544 สถาบันการเงินในระดับจุลภาคในประเทศไทยท่ีเปนขององคกรภาคประชาชนมีจํานวนประมาณ 40,000 แหง ท่ัวประเทศ โดยมีจํานวนสมาชิกรวมกันประมาณ 3 ลานคน ซ่ึงมีปริมาณเงินออมรวมกันประมาณ 10,000 ลานบาท และหากรวมสถาบันการเงินขององคกรชุมชนกลุมประเภทอ่ืนๆ และสหกรณตางๆ แลว จํานวนองคกรชุมชนท่ีเกี่ยวของกับการเงินในระดับจุลภาคจะมีจํานวนมากถึง 66,317 กลุม มีจํานวนสมาชิก 10.35 ลานคน และเงินออมรวมกันถึงประมาณ 23,724.12 ลานบาท

13 ไพบูลย วัฒนศิริธรรม และพรรณทิพย เพชรมาก. “ระบบการเงินผูมีรายไดนอย.” สถาบันพัฒนาองคกรชุมชน, 2544.

Page 52: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

30

สํานักนโยบายระบบการเงิน กระทรวงการคลัง14 ไดแบงรูปแบบของสถาบันการเงินระดับจุลภาค (Microfinance) ในประเทศไทย เปน 3 ประเภท คือ

1. สถาบันการเงินของรัฐท่ีดําเนินการระบบการเงินระดับจุลภาค ประกอบดวย ธนาคาร

พาณิชย ไดแก ธนาคารกรุงไทย ซ่ึงมีธนาคารชุมชนเปนหนวยงานหลักในการใหบริการสินเช่ือระดับจุลภาคผานทางธนาคารชุมชน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไดแก ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรที่ใหบริการสินเช่ือระดับจุลภาคแกเกษตรกรและประชาชนท่ัวไป และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (ธ.พ.ว.) ซ่ึงใหบริการสินเช่ือระดับจุลภาคแกวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม เชน สินเช่ือในโครงการ Fast Track และธนาคารออมสิน ซ่ึงมีธนาคารประชาชนเปนหนวยงานหลักในการใหบริการการเงินระดับจุลภาคใหประชาชนท่ัวไปในระดับฐานราก

2. หนวยงานท่ีสมาชิกในชุมชนรวมกันจัดต้ังและไมรับเงินฝากจากภายนอก เปนกลุมการเงินท่ีประชาชนรวมตัวกันจัดต้ัง เพื่อชวยเหลือซ่ึงกันและกันทางดานการเงิน โดยมีการใหบริการทางการเงินดานตางๆ แกสมาชิก เชน การรับฝากเงิน การใหสินเช่ือ การใหประกัน การใหสวัสดิการ การใหคําปรึกษา และเพื่อสงเสริมกิจกรรมการพัฒนาและสวัสดิการชุมชนเปนหลัก ไดแก กลุม/สหกรณเครดิตยูเนี่ยน กลุม/สหกรณออมทรัพย กลุมสัจจะออมทรัพยตางๆ และธนาคารหมูบาน เปนตน โดยองคกรการเงินชุมชนเหลานี้มีลักษณะรวมท่ีสําคัญ คือ ความตองการอยูบนพื้นฐานแนวทางการพ่ึงตนเองของชุมชนเปนหลัก

3. หนวยงานท่ีจัดต้ังข้ึนตามนโยบายของรัฐบาลในการชวยเหลือประชาชนท่ีมีฐานะยากจน ไดแก กลุมออมทรัพยเพื่อการผลิต ซ่ึงกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เปนหนวยงานที่ใหการสนับสนุนและสงเสริมใหมีการจัดต้ังข้ึนต้ังแตป 2517 และสํานักงานกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองแหงชาติ (ส.ท.บ.) ซ่ึงจัดต้ังข้ึนตามพระราชกฤษฎีกาจัดต้ังกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองแหงชาติ ป พ.ศ. 2544 ตามนโยบายของรัฐบาลในขณะน้ัน

ในปจจุบัน ประเทศไทยไมมีการกําหนดกฎเกณฑหรือกฎหมาย เพื่อใชในการกํากับ ควบคุมดูแลกลุมสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเหลานี้โดยเฉพาะ หนวยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินในระดับจุลภาคในประเทศไทย ประกอบดวยหนวยงานหลายหนวยงานดวยกัน คือ

14สํานักนโยบายระบบการเงิน. “การปฏิรูประบบการกํากับดูแลสถาบันการเงินในประเทศไทย.” สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง, 2548.

Page 53: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

31

1. กระทรวงการคลัง กํากับและดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม และธนาคารออมสิน

2. ธนาคารแหงประเทศไทย กํากับดูแลธนาคารกรุงไทย 3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ กํากับดูแลสหกรณ 4. กระทรวงมหาดไทย กํากับดูแลกลุมออมทรัพยเพื่อการผลิต 5. สํานักนายกรัฐมนตรี กํากับดูแลสํานักงานกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง 6. กระทรวงพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย โดยสถาบันพัฒนาองคกรชุมชน

กํากับดูแลกลุมสัจจะออมทรัพย

หนวยงานท่ีดําเนินการกํากับดูแลสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเหลานี้จะมีระดับ และแนวทางการควบคุมดูแลท่ีตางกัน กลาวคือ สถาบันการเงินในระดับจุลภาคของรัฐท้ังท่ีเปนธนาคารพาณิชย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และสหกรณ จะมีการกํากับดูแลท้ังทางดานองคกรและการเงิน ขณะท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเปนกลุมออมทรัพยเพื่อการผลิต และกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง มีกฎหมายรับรองการจัดต้ัง แตไมมีการกํากับดูแลทางดานการเงินจากภาครัฐ สําหรับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคระดับฐานรากแบบพึ่งพาตนเองท่ีสมาชิก (ชุมชน) รวมกันจัดต้ังและไมรับเงินฝากจากภายนอก ปจจุบันมีเพียงการลงทะเบียนกับสถาบันพัฒนาองคกรชุมชนเทานั้น โดยท่ียังไมมีกฎหมายรองรับ และไมมีการตรวจสอบทางการเงินจากภาครัฐแตอยางใดในปจจุบัน

สําหรับการควบคุมดูแลอัตราดอกเบ้ียเงินกูตางๆ ปจจุบันธนาคารแหงประเทศไทยไมมีการกําหนดเพดานอัตราดอกเบ้ียเงินกูโดยท่ัวไป อยางไรก็ตาม กรณีสินเช่ือสวนบุคคล ธนาคารแหงประเทศไทยกําหนดใหสถาบันการเงินท่ีใหบริการสินเช่ือประเภทนี้สามารถเรียกหนี้คางชําระ เม่ือรวมคาปรับ คาบริการตางๆแลวตองไมเกินรอยละ 28 ตอป (อัตรา Effective Rate)15 โดยเกณฑนี้ครอบคลุมท้ังสถาบันการเงิน และผูประกอบธุรกิจท่ีมิใชสถาบันการเงิน (Non-bank) ดวย

15 ประกาศธนาคารแหงประเทศไทยที่ สนส. 83/2551 เรื่อง “หลักเกณฑการปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย คาบริการตางๆ และเบี้ยปรับที่สถาบันการเงินอาจเรียกไดในการประกอบธุรกิจสินเช่ือสวนบุคคลภายใตการกํากับ”.

Page 54: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

32

ตารางที่ 2.1 รูปแบบของสถาบันการเงินในระดับจุลภาค (Microfinance) ในประเทศไทย

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค (Microfinance) เปาหมาย การดําเนินงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร เพื่อใหบริการทางการเงินระดับจุลภาคแกเกษตรกร

และประชาชนระดับฐานรากโดยเฉพาะในชนบท ใหบริการดานเงินฝาก และสินเชื่อแกทั้งเกษตรกร และประชาชนทั่วไปผานสาขาธนาคาร

ธนาคารออมสิน เพื่อตอบสนองความตองการสินเชื่อขนาดเล็กของประชาชนทั่วไป ผูประกอบอาชีพอิสระ หรือธุรกิจรายยอย

ใหบริการดานเงินฝาก และสินเชื่อแกประชาชนทั่วไปผานสาขาธนาคาร โดยมีธนาคารประชาชน เปนหนวยงานหลักในการใหบริการ

ธนาคารกรุงไทย

เพื่อตอบสนองความตองการสินเชื่อขนาดเล็กของประชาชนทั่วไป ผูประกอบอาชีพอิสระ หรือธุรกิจรายยอย

ใหบริการดานเงินฝาก และสินเชื่อแกประชาชนทั่วไปผานสาขาธนาคาร โดยมีธนาคารชุมชน เปนหนวยงานหลักในการใหบริการ

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอมแหงประเทศไทย

เพื่อสงเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอมแหงประเทศไทย

ใหบริการเฉพาะดานสินเชื่อ เชน โครงการ Fast Track แกประชาชนทั่วไปผานสาขาธนาคาร

สหกรณเครดิตยูเนี่ยน สงเสริมการพัฒนาบุคคล การสะสมทรัพย และสรางความมั่นคงใหแกครอบครัว

ใหบริการดานเงินฝากแบบคาหุน และใหบริการสินเชื่อเฉพาะแกสมาชิกเปนจํานวนเทากับเงินสะสมของสมาชิก

สหกรณการเกษตร เพื่อสงเสริม และสนับสนุนการใหบริการทางการเงินในการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม

ใหบริการดานเงินฝากทั้งแบบคาหุน และเงินฝากทั่วไป และใหบริการสินเชื่อเฉพาะแกสมาชิกตามระเบียบของสหกรณ

กลุมออมทรัพยเพื่อการผลิต เ พื่อสงเสริมการใหบริการทางการเงิน การออม สวัสดิการใหกับชุมชน

ใหบริการดานเงินฝากแบบคาหุนและใหบริการสินเชื่อเฉพาะแกสมาชิกเปนจํานวนเทากับเงินสะสมของสมาชิก

ที่มา: สรุปจากโครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการเงินระดับจุลภาค, 2547.

Page 55: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

33

ตารางที่ 2.1 รูปแบบของสถาบันการเงินในระดับจุลภาค (Microfinance) ในประเทศไทย (ตอ)

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค (Microfinance) เปาหมาย การดําเนินงาน กลุมเครดิตยูเนี่ยน เพื่อสงเสริมการออม และสวัสดิการใหกับชุมชน ใหบริการดานเงินฝากแบบคาหุน และใหบริการสินเชื่อเฉพาะแก

สมาชิกเปนจํานวนเทากับเงินสะสมของสมาชิก กลุมสัจจะออมทรัพย

เพื่อแกปญหาความยากจน หนี้สิน และจัดสวัสดิการใหกับชุมชน ใหชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได

ใหบริการดานเงินฝากแบบคาหุนและใหบริการสินเชื่อเฉพาะแกสมาชิกจํานวนเทากับเงินสะสมของสมาชิกและอายุการเปนสมาชิก

ธนาคารหมูบาน เพื่อแกปญหาความยากจน และหนี้สินของคนในชุมชน

ใหบริการดานเงินฝากแบบคาหุนและใหบริการสินเชื่อเฉพาะแกสมาชิกเทากับเงินสะสมของสมาชิก

กองทุนหมูบานและชุมชนเมืองแหงชาติ เพื่อเปนแหลงเงินทุนหมุนเวียน ในการลงทุนพัฒนาอาชีพ สรางรายไดหรือเพิ่มรายได ลดรายจาย ในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน

เนนใหบริการดานสินเชื่อแกสมาชิกของกองทุนในหมูบาน หรือชุมชน และสามารถใหมีการออมโดยอาจลงหุน/ฝากเงินสัจจะไวกับกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองเพื่อเสริมสรางความเขมแข็งทางเศรษฐกิจในระดับของชุมชน

ที่มา: สรุปจากโครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการเงินระดับจุลภาค, 2547.

Page 56: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

34

2.2 โครงการกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง

2.2.1 ความเปนมา

โครงการกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง ถือไดวาเปนโครงการทางการเงินในระดับจุลภาคท่ีสําคัญของไทยในปจจุบัน ท่ีสามารถขยายการใหบริการทางการเงินไดอยางครอบคลุมกวางขวางมากท่ีสุด และยังมีขนาดใหญท่ีสุดอีกดวย ในป 2551 พบวาโครงการกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง มีปริมาณเงินทุนเพื่อใชดําเนินการมากถึง 132,440.48 ลานบาท

โครงการกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองเร่ิมจัดต้ังและดําเนินการข้ึนในป 2544 ตามนโยบายของรัฐบาลในขณะน้ัน โดยมีเปาหมายเพื่อเปนแหลงเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุนพัฒนาอาชีพ สรางรายไดหรือเพิ่มรายได ลดรายจายในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน และเพื่อเปดโอกาสใหชุมชนไดพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการองคกรและกองทุนของตนเอง อันนําไปสูการสรางเสริมความเขมแข็งของชุมชน16 โดยมีสํานักงานกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองแหงชาติ (สทบ.) เปนหนวยงานในการบริหารจัดการในสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

การจัดหาเงินกองทุนในระยะเร่ิมตนรัฐบาลใช เ งินกูจากธนาคารออมสิน และต้ังงบประมาณเพ่ือใชคืนเงินกู พรอมชดเชยดอกเบ้ีย เพื่อจัดสรรเงินกองทุนใหแกหมูบานและชุมชนเมืองแหงละ 1 ลานบาท ในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน โดยกําหนดเปาหมายการดําเนินการในระยะแรกในหมูบาน 70,865 หมูบาน และชุมชนเมืองประมาณ 4,000 ชุมชน

2.2.2 นโยบายและวัตถุประสงค กองทุนหมูบานและชุมชนเมืองมีวัตถุประสงคในการดําเนินการ 5 ประการ คือ 1. เปนแหลงหมุนเวียนในหมูบานและชุมชนเมือง สําหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ

สรางงาน เพิ่มรายได เพื่อนําไปสูการสรางกองทุนสวัสดภิาพท่ีดแีกประชาชนในหมูบานหรือชุมชน 2. สงเสริมและพัฒนาหมูบานและชุมชนเมืองใหมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการ

ระบบและบริหารจัดการเงินทุนของตนเอง 3. เสริมสรางกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมูบานและชุมชนเมือง 4. กระตุนเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศ 5. เสริมสรางศักยภาพและความเขมแข็งท้ังทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนใน

หมูบานและชุมชนเมือง

16 ที่มาhttp://www.villagefund.or.th/index.aspx?pageid=469&parent=433&directory=1964&pagename=content

Page 57: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

35

2.2.3 ลักษณะการดําเนินการ

การดําเนินงานในระดับหมูบานหรือชุมชน กําหนดใหสมาชิกเปนผูบริหารและควบคุมดูแลในการจัดการเงินกองทุนกันเอง โดยใหแตละหมูบานหรือแตละชุมชนเลือกคณะกรรมการกองทุนหมูบานจํานวน 15 คนจากสมาชิกของหมูบานหรือชุมชนน้ันๆ เพื่อทําหนาท่ีในการบริหารจัดการกองทุนและการอนุมัติเงินกูยืม พรอมท้ังจัดทําระเบียบขอบังคับ หลักเกณฑและวิธีการบริหารกองทุนหมูบาน รับสมัครสมาชิก ระดมทุน จัดทําระบบบัญชี จัดทําระบบตรวจสอบ แลวจึงขอข้ึนทะเบียนกองทุนหมูบานหรือชุมชนเมืองกับทางสถาบันการเงินท่ีกําหนด

2.2.4 การบริหารจัดการการเงิน ในระยะเริ่มแรก กองทุนหมูบานและชุมชนเมืองจะไดรับการจัดสรรเงินกองทุนใหแก

หมูบานและชุมชนเมืองแหงละ 1 ลานบาท ในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน สําหรับจัดสรรเงินเพื่อใหกูยืมในหมูบานและชุมชน โดยจะข้ึนอยูกับคณะกรรมการกองทุนท่ีเกิดจากการคัดเลือกของสมาชิกในหมูบานหรือชุมชนน้ันๆ โดยในการขอกู ทางกองทุนจะกําหนดใหสมาชิกเปดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อใชในการรับและชําระคืนเงินกูผานทางธนาคาร 3 แหง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร และธนาคารกรุงไทยท่ีสาขาธนาคารโดยตรง ซ่ึงจะแตกตางจากระบบของกลุมออมทรัพย/องคกรการเงินระดับชุมชนตางๆ ท่ีมีการดําเนินการอยูท่ีกลุมในหมูบาน/ชุมชนโดยท่ัวไป

2.2.5 การใหสินเชื่อ โดยท่ัวไปในการขอกู มีขอกําหนดใหผูท่ีจะขอกูตองมีบุคคลค้ําประกัน 2 คน และสามารถ

กูไดไมเกิน 20,000 บาท หากมีความจําเปนอาจใหกูไดไมเกิน 50,000 บาท อยางไรก็ตาม ในกรณีฉุกเฉิน คณะกรรมการสามารถอนุมัติใหกูไดมากกวาวงเงินท่ีกําหนดตามความเหมาะสมและความจําเปนข้ึนอยูกับกฎระเบียบท่ีคณะกรรมการกําหนด โดยมีระยะเวลาใชคืนเงินกูไมเกิน 1 ป หรือภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการหมูบานหรือชุมชนนั้นๆ กําหนด

การกําหนดอัตราดอกเบ้ียเงินกูของกองทุนตางๆ ข้ึนอยูกับคณะกรรมการหมูบานหรือชุมชนน้ันๆ เปนผูกําหนด โดยปกติไมเกินรอยละ 15 ตอป สําหรับเงินกูท่ีระยะเวลาใชคืนเงินกูไมเกิน 1 ป

Page 58: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

36

2.2.6 ผลการดําเนินงาน สําหรับการประเมินประสิทธิภาพของกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง มีการใชเกณฑตางๆ

เพื่อจัดอันดับมาตรฐานของกองทุนตามความสามารถของการบริหารจัดการกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองแตละแหง ซ่ึงแบงเปน 3 ระดับ คือ A AA และ AAA ซ่ึงกองทุนท่ีไดรับการจัดอันดับ AAA นั้น จะสามารถขอเพ่ิมวงเงินกูเพิ่มไดอีกแหงละ 100,000 บาท

จากการศึกษาของเพลินพิศ สัตยสงวน (2549)17 พบวา โดยเฉล่ียในชวงป 2545-2548 มีกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง จํานวนรอยละ 33 ท่ีไดรับการประเมินโดยไดมาตรฐาน AAA ซ่ึงหมายถึง มีการบริหารจัดการไดดีเยี่ยม รอยละ 63 ไดมาตรฐาน AA หรือมีการบริหารจัดการในระดับปานกลาง และมีรอยละ 3 ท่ีไดมาตรฐาน A หรือตองมีแกไขการปรับปรุงการบริหารจัดการ

ตารางท่ี 2.2 การจัดอันดับมาตรฐานกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง

มาตรฐาน AAA มาตรฐาน AA มาตรฐาน A

เงินกู ชําระคืนรอยละ 90 ขึ้นไป ชําระคืนรอยละ 70-90 ชําระคืนตํ่ากวารอยละ 70

เงินออม มีการออม รอยละ 80 ขึ้นไป มีการออม รอยละ 60-80 มีการออม ตํ่ากวารอยละ 60-80

ผลประกอบการ มีกําไร เทาทุน ขาดทุน

ดานสังคม

- มีกองทุนสวัสดิการและมีการเบิกจาย - มีสมาชิกเพิ่มขึ้น - สมาชิกรอยละ 90 มีสวนรวมในกิจกรรมกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง

- มีกองทุนสวัสดิการแตยังไมมีการเบิกจาย - มีสมาชิกเทาเดิม - สมาชิกรอยละ 75 มีสวนรวมในกิจกรรมกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง

- ไมมีกองทุนสวัสดิการ - มีสมาชิกลดลง - สมาชิกรอยละ 60 มีสวนรวมในกิจกรรมกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง

การใชเงินตามวัตถุประสงค สมาชิกรอยละ 80 ขึ้นไป สมาชิกรอยละ 70-80 สมาชิกตํ่ากวารอยละ 70

ที่มา: สุทธาภา อมรวิวัฒน และเกียรติพงศ อริยปรัชญา, 2549.

17 ที่มา: เพลินพิศ สัตยสงวน “สถาบันการเงินเฉพาะกิจ; เครื่องมือของนโยบายรัฐในการเขาถึงผูที่ไมไดรับการบริการจากธนาคารพาณิชย” เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการสถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทยประจําป 2549 เรื่อง สูหน่ึงทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ: ไดเรียนรูและปรับปรุงอะไรบาง? 9-10 ธันวาคม 2549.

Page 59: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

37

จากรายงานผลการดําเนินงานกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง ณ ส้ินเดือนธันวาคม 255118 ปรากฏวา มีกองทุนท่ีไดรับการจัดสรรและโอนเงินแลว 78,920 กองทุน ในจํานวนนี้เปนกองทุนท่ีจดทะเบียนเปนนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติแลว จํานวน 69,345 กองทุนโดยมียอดเงินในกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง รวมท้ังส้ิน 132,440.48 ลานบาท การใชเงินกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองมียอดการกูยืมหมุนเวียนสะสมเฉล่ีย 6-7 รอบตอกองทุนสะสม สมาชิกท่ีกูยืมรวมสะสมมีจํานวน 10.28 ลานราย (ประมาณรอยละ 87 ของสมาชิกท้ังหมด) สําหรับการชําระคืนเงินกู พบวา มีอัตราการชําระคืนเงินกูประมาณรอยละ 94-96 ขณะท่ีมีหนี้คางชําระเฉล่ียรอยละ 4 ถึง รอยละ 6 ตอปเทานั้น

อยางไรก็ตามเปนท่ีนาสังเกตวา รายงานการประเมินความยากจน ป 255019 กลับพบวา การชําระคืนเงินกูของกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองในระหวางป 2547-2549 มีแนวโนมลดลงจากรอยละ 95.26 ในป 2547 เปนรอยละ 92.85 ในป 2548 และ รอยละ 88.26 ในป 2549 ตามลําดับ ขณะท่ีการคางชําระหนี้เงินกูมีสัดสวนเพิ่มข้ึนจากรอยละ 4.74 ในป 2547 เปนรอยละ 7.15 ในป 2548 และเพิ่มเปนรอยละ 11.74 ในป 2549 ตามลําดับ ซ่ึงสอดคลองกับผลการศึกษาของสถาบันวิจัยและใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร (2548) ท่ีสํารวจพบวาสมาชิกกองทุนมีการผิดชําระหนี้สูงข้ึน โดยพบวารอยละ 13.8 เคยผิดชําระเงินกู โดยเฉพาะสมาชิกกองทุนท่ีอยูในเขตภาคกลาง ภาคใต และกรุงเทพมหานคร20

18 ที่มา สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (ไมปรากฏป) “รายงานความคืบหนามาตรการสําคัญของรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรีสําคัญที่เก่ียวของกับภาคการคลัง.” สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. <http://www.fpo.go.th/content.php?action=view&section=6570000000&id=21552> 19 ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (2551) “รายงานการประเมินความยากจน ป 2550.” สํานักงานพัฒนาฐานขอมูลและตัวช้ีวัดภาวะสังคม สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ.http://www.nesdb.go.th/portals/0/tasks/eco_crowd/Poverty%202007.pdf 20 ที่มา: สถาบันวิจัยและใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร (2548) “การติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล: รายงานฉบับสมบูรณ.” เสนอตอ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแหงชาติ โดยสถาบันวิจัยและใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

Page 60: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

38

2.2.7 ผลจากการดําเนินงานของโครงการกองทุนหมูบานและชมุชนเมือง จากการศึกษาของชัยสิทธ์ิ อนุชิตวรวงศ (2550)21 ช้ีใหเห็นวา โครงการกองทุนหมูบานและ

ชุมชนเมืองนั้นเปนโครงการทางการเงินในระดับจุลภาค (Microfinance) โครงการหนึ่งท่ีขยายโอกาสใหประชาชนสามารถเขาถึงแหลงสินเช่ือไดอยางกวางขวางมาก โดยพบวาในป 2545 มีประชากรจํานวนมากถึงประมาณ 4.7 ลานคนท่ีไดรับประโยชนจากโครงการดังกลาว ซ่ึงคิดเปนประมาณรอยละ 7.66 ของประชากรทั้งหมด และไดเพิ่มเปน 6.5 ลานคน หรือประมาณรอยละ 10.28 ของประชากรท้ังหมดในป 2549

ท้ังนี้จากรายงานการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ในป 2548 พบวา การจัดต้ังกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองชวยสรางโอกาสในการเขาถึงแหลงเงินทุนของประชาชนไดมากข้ึน โดยปรากฏวาสมาชิกของกองทุนถึงรอยละ 51.7 ไมเคยกูเงินจากแหลงใดมากอน และสมาชิกกองทุนสวนใหญประมาณรอยละ 76.5 ไมไดกูเงินจากแหลงเงินกูอ่ืนอีกหลังจากกูเงินจากกองทุนแลว ซ่ึงสะทอนใหเห็นวาผลของโครงการสามารถลดการพ่ึงพิงเงินกูนอกระบบไดเปนสวนมาก อยางไรก็ตาม สมาชิกกองทุนรอยละ 14.7 ยังจําเปนตองกูเงินจากแหลงเงินกูในระบบเพิ่มเติม ขณะท่ีสมาชิกกองทุนอีกรอยละ 7.6 ยังจําเปนตองกูเงินจากแหลงเงินกูนอกระบบเพิ่มเติม

สวนใหญนําเงินกูท่ีไดรับไปใชประโยชนในการหมุนเวียนเพื่อการประกอบอาชีพมากกวารอยละ 95 ของเหตุผลในการกูยืมท้ังหมด ขณะที่นําไปใชเพื่อบรรเทาเหตุฉุกเฉิน/ความเดือดรอนในครัวเรือนเฉล่ียเพียงรอยละ 2.63 และนําไปใชหนี้ใหแหลงเงินกูนอกระบบรอยละ 3.2 จากการศึกษาผลกระทบของ สทบ. พบวา การดําเนินโครงการกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองจะมีผลใหรายไดของครัวเรือนท่ีกูยืมเงินเพิ่มข้ึน โดยในป 2546 และ 2547 สมาชิกกองทุนมีรายไดเพิ่มข้ึนรอยละ 59.3 และรอยละ 54.6 ตามลําดับ นับต้ังแตเร่ิมตนโครงการ

ขณะท่ีการศึกษาเกี่ยวกับเปาหมายการดําเนินงานกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองท่ีตองการการเปดโอกาสใหคนยากจนไดเขาถึงแหลงเงินทุนในการประกอบอาชีพ ปรากฏวา ยังไมประสบความสําเร็จมากนัก เนื่องจากคนจนท่ีไดรับประโยชนจากการดําเนินโครงการมีจํานวนนอยกวาคนไมจนและยังมีแนวโนมลดลงอยางตอเนื่องอีกดวย โดยในป 2545 อัตราสวนคนจนท่ีไดรับประโยชนจากการดําเนินโครงการกองทุนหมูบานมีประมาณรอยละ 15.4 ขณะที่ในป 2549 อัตราสวนดังกลาวไดลดลง เหลือเพียงรอยละ 9.15 เทานั้น ซ่ึงสอดคลองกับรายงานการประเมินความยากจน ในป 2550 ที่ระบุวาคนจนที่สามารถเขาถึงกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองมีเพียง 21 ที่มา: ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ (2550) “โอกาสการเขาถึงแหลงสินเช่ือกับการลดปญหาความยากจน.” เอกสารประกอบการ เรื่องจะแกปญหาความยากจนกันอยางไร: แขงขัน แจกจาย หรือสวัสดิการ เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจําป สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย วันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2550 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอรซิต้ี ชลบุรี.

Page 61: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

39

รอยละ 9.97 ของจํานวนคนจนท้ังหมดเทานั้น เชนเดียวกับการสํารวจความคิดเห็นของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2550) ซ่ึงพบวา คณะกรรมการของกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองหลายแหงมักไมใหสินเช่ือแกกลุมคนยากจน เนื่องจากเปนผูท่ีมีความเส่ียงสูงและมีโอกาสท่ีจะไมสามารถชําระคืนเงินกูได อีกท้ังยังไมมีคนยอมเปนผูคํ้าประกันการกูยืมใหอีกดวย แสดงใหเห็นวา คนจนท่ีไดรับประโยชนจากโครงการกองทุนหมูบานนี้ยังคงเปนสวนนอยและยังไมท่ัวถึง

นอกจากนี้ในการดําเนินโครงการนี้ ยังมีปญหาในเร่ืองการจัดต้ังใหเปนกองทุนหมุนเวียน มีการสงเงินลาชาของผูกู บางคนจงใจไมสงเงินกู ทําใหชุมชนขาดโอกาสในการกูเพื่อเปนเงินหมุนเวียนสําหรับผูอ่ืนท่ีจะกูตอไป นอกจากนี้ยังขาดความรู ความเขาใจในการบริหารงานเพ่ือเพิ่มศักยภาพของกองทุนและฐานขอมูลท่ีครอบคลุมเพื่อเปนประโยชนในดานการบริหารจัดการและการตัดสินใจอยางเปนระบบ ทําใหการบริหารกองทุนเติบโตชา ซ่ึงเห็นไดจากจํานวนกองทุนท่ีไดรับการจัดอันดับวาดีมากยังมีจํานวนไมมากนัก โดยเฉล่ียมีเพียงรอยละ 33 จากจํานวนกองทุนท้ังหมดเทานั้น

2.3 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร 2.3.1 ความเปนมา

ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรไดรับการจัดต้ังข้ึนตามพระราชบัญญัติ

ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป พ.ศ. 2509 โดยมีเปาหมายใหเปนสถาบันระดับชาติท่ีมีฐานะเปนรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังท่ีทําหนาท่ีอํานวยสินเช่ือแกเกษตรกรและสถาบันทางการเกษตรตางๆ อยางกวางขวาง ในปจจุบันธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) ถือเปนสถาบันการเงินท่ีมีสัดสวนการใหสินเช่ือระดับจุลภาค โดยเฉพาะแกเกษตรกรรายยอยไดอยางกวางขวางมากท่ีสุดในประเทศไทย22

2.3.2 นโยบาย และวัตถุประสงค

ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) เดิมนั้น มีวัตถุประสงคหลัก คือ การใหบริการทางการเงินพื้นฐานแกเกษตรกร และความชวยเหลือดานตางๆ เพื่อสงเสริมอาชีพการเกษตรหรือการดําเนินงานของเกษตรกร กลุมเกษตรกร หรือสหกรณการเกษตร ตลอดจนธุรกิจ

22 APEC Small and Medium Enterprise Workshop Group (2005) “The Need and Availability of Micro Finance Service for Micro Enterprise: Bringing Multi-Level Good Practices Into Local Context.” APEC.

Page 62: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

40

ท่ีเกี่ยวเนื่องในการเกษตร ท้ังนี้ เพื่อเพิ่มรายไดแกครอบครัวเกษตรกร รวมท้ังเพื่อการพัฒนาและเพ่ิมระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

ในปจจุบันธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรไดกําหนดวิสัยทัศนในการดําเนินงานสูการเปน “ธนาคารพัฒนาชนบท ท่ีม่ันคง มีการจัดการท่ีทันสมัย ท้ังนี้เพื่อยกระดับรายได และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและประชาชนในชนบท” โดยไดมีการปรับเปล่ียนบทบาท และรูปแบบการดําเนินงานหลายประการเพื่อใหการขยายขอบเขตการใหบริการครอบคลุมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกภาคเกษตรมากข้ึน23

2.3.3 ลักษณะการดําเนินการ

ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรดําเนินงานการใหบริการทางการเงินภายใตการกํากับควบคุมของกระทรวงการคลัง ตามพระราชบัญญัติธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป พ.ศ.2509 สําหรับโครงสรางการบริหารงานกําหนดใหมีคณะกรรมการจํานวน 11 คน ในการควบคุมการดําเนินงาน โดยกําหนดให “รัฐมนตรีวาการกระทรวงการคลัง” เปนประธานโดยตําแหนง และมีกรรมการเปนผูแทนจากธนาคารแหงประเทศไทย ผูแทนสํานักนายกรัฐมนตรี ผูแทนสํานักงานการปฏิรูปท่ีดินเพื่อเกษตรกรรม และผูแทนจากสวนราชการท่ีเกี่ยวของ

ในปจจุบันธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร มีการจัดโครงสรางองคกรในการบริหารจัดการในลักษณะของการกระจายอํานาจ หนาท่ี และความรับผิดชอบ โดยจะแบงสวนงาน ปฏิบัติการออกเปนลําดับข้ันในการดําเนินการ โดยกําหนดใหมีผูจัดการธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรเปนกรรมการโดยตําแหนง และมีรองผูจัดการ 4 คน ดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารดานตางๆ ไดแก ดานการธนาคาร การบริหารสาขา กลยุทธองคกร และดานบัญชีการเงินและธุรกิจธนาคาร

ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรมีการใหบริการทางดานการเงิน 4 ประเภทใหญๆ คือ การใหบริการรับฝากเงิน การใหบริการสินเช่ือ การใหคําแนะนํา ปรึกษาและบริการฝกอบรมประกอบการใหสินเช่ือ และการใหบริการเกี่ยวกับประกันชีวิตและประกันภัย

ในฐานะท่ีเปนรัฐวิสาหกิจประเภทสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารไดกําหนดแนวทางการบริหารและจัดการความเส่ียง เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคของการเปนธนาคารเพ่ือการพัฒนาชนบทท่ีทันสมัย โดยไดแบงความเส่ียงของธนาคารออกเปน 6 ดาน เพื่อใหครอบคลุมท้ังความเส่ียงทางดานการเงิน (Financial Risk) และความเส่ียงท่ีไมใชการเงิน (Non-financial Risk) เพื่อใหสอดคลองกับแนวทางการประเมินความเส่ียงของธนาคารแหงประเทศไทย กระทรวงการคลัง และแนวทางการควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผนดิน (คตง.) ดังนี้ ความเส่ียงทางดาน 23 แผนการดําเนินงานธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรในชวงป 2550-2554 <www.baac.or.th>

Page 63: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

41

สินเช่ือ ความเส่ียงทางดานการตลาด ความเส่ียงดานสภาพคลอง ความเส่ียงดานการปฏิบัติงาน และความเส่ียงดานการปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางการ ควบคูไปกับการจัดทําตัวช้ีวัดองคกร (KPI) โดยมีสํานักบริหารความเส่ียงทําหนาท่ีวางระบบบริหารความเส่ียงในภาพรวม ประสาน ติดตาม และประเมินผลในภาพรวม เพื่อเสนอใหกับคณะกรรมการบริหารความเส่ียงและคณะกรรมการธนาคาร และเพื่อใหการควบคุมดูแลการดําเนินงานของธนาคารเปนไปตามนโยบายและวัตถุประสงคท่ีกําหนดไว

2.3.4 การบริหารจัดการทางการเงิน

ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรมีฐานะเปนสถาบันการเงินเฉพาะกิจท่ีมีการดําเนินงานภายใตการกํากับดูแลของกระทรวงการคลัง ในรอบปบัญชี 2549 ธนาคารมีทุนเรือนหุน 381,270,397 ลานบาท โดยกระทรวงการคลังเปนผูถือหุนรายใหญท่ีมีหุนสามัญ 380,635,327 หุน คิดเปนสัดสวนประมาณรอยละ 99.84 ของจํานวนหุนสามัญของธนาคารท้ังหมด สําหรับผูถือหุนท่ีเปนสถาบันเกษตรและเอกชนมีหุนประมาณรอยละ 0.14 และ 0.02 ตามลําดับ

ในอดีตเงินทุนการดําเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตรสวนใหญจะมาจากเงินฝากของธนาคารพาณิชยท่ีนํามาฝากไวกับธนาคาร จากนโยบายสินเช่ือชนบทของรัฐบาลในชวงระยะเวลาท่ีผานมา24 ท่ีกําหนดใหธนาคารท่ีนําเงินมาฝากไวกับธนาคาร หากไมสามารถปลอยสินเช่ือในสัดสวนท่ีกําหนดตามนโยบายสินเช่ือเพื่อชนบท ซ่ึงเปนการชวยระดมเงินฝากของธนาคารและลดตนทุนในการระดมเงินทุนของธนาคารในตลาดเงิน ทําใหธนาคารสามารถขยายการปลอยสินเช่ือแกเกษตรกรในชนบทไดอยางกวางขวาง อยางไรก็ตาม ในปจจุบันรัฐบาลไดผอนคลายเง่ือนไขดังกลาว โดยใหขยายขอบเขตของนิยามของสินเช่ือเพื่อชนบทใหครอบคลุมไปถึงสินเช่ือนอกภาคการเกษตรดวย ทําใหธนาคารพาณิชยสามารถขยายสาขาและปลอยสินเช่ือเพื่อชนบทไดมากข้ึนเปนลําดับ สงผลใหปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชยท่ีนํามาฝากกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตรมีสัดสวนลดลง

ปจจุบันแหลงเงินทุนของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรสวนใหญมาจากเงินฝากของประชาชนและสวนราชการ ในรอบปบัญชี 2549 (ณ ส้ินเดือนมีนาคม 2550) ธนาคารมีทุนการดําเนินงาน 566,088 ลานบาท โดยแบงเปนเงินฝากจํานวน 496,621 ลานบาท คิดเปนรอยละ 87.73 รองลงมา คือ สวนของผูถือหุนจํานวน 48,871 ลานบาท หนี้สินอ่ืนๆ 11,419 ลานบาท และเงินกูท้ังในและตางประเทศจํานวน 9,177 ลานบาท คิดเปนรอยละ 8.63 2.02 และ 1.62 ตามลําดับ 24 ในป 2518 รัฐบาลมีนโยบายสงเสริมการใหสินเช่ือชนบท โดยกําหนดสัดสวนสินเช่ือที่ธนาคารพาณิชยตองปลอยกูใหกับภาคการเกษตร หากไมสามารถปลอยกูใหกับเกษตรกรไดตามสัดสวนที่กําหนดได ธนาคารพาณิชยตองนําเงินสวนที่เหลือมาฝากไวกับธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณ

Page 64: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

42

ท้ังนี้เพื่อการบริหารจัดการทางดานการเงินของธนาคารและเพ่ือสรางความม่ันคงทางการเงิน ปจจุบันธนาคารไดขยายพื้นท่ีการใหบริการและพัฒนาผลิตภัณฑเงินฝากหลายรูปแบบดวยกัน ท่ีสําคัญประกอบดวย เงินฝากประเภทตางๆ ไดแก

1. เงินฝากกระแสรายวัน (Demand Deposits or Current Accounts) 2. เงินฝากออมทรัพย 3. เงินฝากประจํา 4. สลากออมทรัพยทวีสิน ซ่ึงถือเปนผลิตภัณฑเงินฝากท่ีสําคัญท่ีพัฒนาข้ึนสําหรับใช

ระดมเงินฝาก โดยมีลักษณะเปนเงินฝากออมทรัพยท่ีมีการชิงโชค ซ่ึงผูฝากมีสิทธิไดรับรางวัลทุกเดือน และสามารถใชเปนหลักประกันกูเงินและหลักประกันในการออกหนังสือคํ้าประกัน (Bank Guarantee) รวมท้ังใชประกันผูตองหาไดดวย

จากขอมูลสถิติมูลคาเงินฝากของธนาคาร ณ ส้ินเดือนมีนาคมเปรียบเทียบในป 2550 และ

2551 พบวา ธนาคารมีปริมาณเงินฝากเพิ่มมากขึ้นจาก 496,620.53 ลานบาทในป 2550 เปน 514,666.93 ลานบาท ในป 2551 คิดเปนอัตราการขยายตัวประมาณรอยละ 3.63

หากพิจารณาโครงสรางเงินฝากของธนาคารจากตารางที่ 2.3 ณ ส้ินเดือนมีนาคม ป 2551 พบวา เงินฝากออมทรัพยนั้นเปนแหลงระดมเงินฝากท่ีสําคัญท่ีสุดของธนาคาร คือ มีสัดสวนประมาณรอยละ 73.98 ของมูลคาเงินฝากท้ังหมด ขณะท่ีเงินฝากประเภทท่ีกําหนดระยะเวลา เชน เงินฝากประจํา และบัตรออมทรัพยทวีสินนั้นมีสัดสวนใกลเคียงกัน คือ ประมาณรอยละ 15.56 และ 13.65 ตามลําดับ

ตารางท่ี 2.3 โครงสรางเงินฝากของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร

หนวย: รอยละ

ประเภทเงินฝาก ป 2550 ป 2551 เงินฝากกระแสรายวัน 0.33 0.45 เงินฝากออมทรัพย 66.98 73.98 เงินฝากประจํา 18.60 15.56 บัตรเงินฝากทวีสิน 14.09 13.65

ที่มา: ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร

Page 65: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

43

ผลิตภัณฑเงินฝากของธนาคารประเภทที่สามารถขยายตัวไดเพิ่มข้ึนในป 2551 นั้นประกอบดวย เงินฝากประเภทจายคืนเม่ือทวงถาม ซ่ึงปรับตัวเพิ่มข้ึนจาก 1,627.42 ลานบาท ในป 2550 เปน 2,242.26 ลานบาท ในป 2551 หรือมีอัตราการขยายตัวประมาณรอยละ 37.78 และเงินฝากออมทรัพยซ่ึงปรับตัวเพิ่มข้ึนจาก 332,626.08 ลานบาท ในป 2550 เปน 367,399.46 ลานบาท ในป 2551 หรือมีอัตราการขยายตัวประมาณรอยละ10.45 ตามลําดับ

ขณะท่ีผลิตภัณฑเงินฝากระยะยาวอ่ืนๆ ของธนาคารในป 2551 มีการปรับตัวลดลงจากปกอนหนา (ป 2550) กลาวคือ เงินฝากประเภทบัญชีเงินฝากประจํา มีการปรับตัวลดลงจาก 92,383.19 ลานบาท ในป 2550 เปน 77,258.09 ลานบาท ในป 2551 หรือมีอัตราการขยายตัวเปนลบประมาณ รอยละ 16.37 และบัตรออมทรัพยทวีสินซ่ึงมีการปรับตัวลดลงจาก 69,983.84 ลานบาท ในป 2550 เปน 67,767.12 ลานบาท ในป 2551 หรือมีอัตราการขยายตัวเปนลบรอยละ 3.17 ตามลําดับ

รูปภาพท่ี 2.1 มูลคาเงินฝากของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2550-2551

2,242.261,627.42

367,399.46

332,626.08

77,258.0992,383.19

67,767.1269,983.84

0

50,000

100,000

150,000

200,000

250,000

300,000

350,000

400,000

2550 2551

หนวย: ลานบาท

จายคืนเมื่อทวงถาม

ออมทรัพย

ประจํา

บัตรเงินฝากทวีสิน

ที่มา: ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร

2.3.5 การใหสินเชื่อ

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) ดําเนินงานใหสินเช่ือแกเกษตรกร และสําหรับบุคคลและองคกรตางๆ เพื่อใชในการลงทุน และเปนคาใชจายหมุนเวียนในการดําเนินกิจการ การควบคุมสินเช่ือของธนาคารจะใหความสําคัญกับรายรับ-รายจายของผูกูเปนหลัก ซ่ึงผูท่ี

Page 66: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

44

ขอสินเช่ือจะตองข้ึนทะเบียนเปนสมาชิกของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร โดยแจงความประสงคตอพนักงานพัฒนาธุรกิจท่ีสาขาหรือหนวยอําเภอ หรือหัวหนากลุมลูกคาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตรในหมูบานเพื่อติดตอกับธนาคาร25 โดยธนาคารจะจัดการฝกอบรมเพื่อใหสมาชิกในกลุมดูแลกํากับและชําระหนี้ตามท่ีกําหนด นอกจากนี้ ธนาคารจะจัดใหมีการประชุมและฝกอบรมในพ้ืนท่ีรวมกับพนักงานสินเช่ือ ซ่ึงจะจัดข้ึนอยางนอยปละ 3 คร้ัง โดยธนาคารจะใหพนักงานเปนผูฝกอบรมหัวหนากลุมใหมีคานิยม ความซ่ือสัตยและทัศนคติท่ีดีตอธนาคาร และเพื่อเสริมสรางความสัมพันธท่ีดีของกลุมลูกคา

ในการใหสินเช่ือ ธนาคารจะสงพนักงานออกไปติดตามตรวจสอบ กํากับและแนะนําการใชประโยชนจากเงินกู เพื่อใหผูกูใชเงินถูกตองตามวัตถุประสงคและเปนไปตามแผนงานท่ีกําหนดไว หากไมปฏิบัติตาม ธนาคารอาจระงับการจายเงินท่ีเหลือหรือเรียกเงินกูคืนและอาจไมพิจารณาใหเงินกูตอไป การติดตามตรวจสอบการใชเงินกูจะทําใหธนาคารทราบไดวาผูกูมีปญหาหรืออุปสรรคในการผลิตอยางไรบาง เพื่อท่ีธนาคารจะไดพิจารณาชวยเหลือและประสานงานกับสาขาใหการดําเนินงานเปนไปตามเปาหมาย และสามารถชําระหนี้ไดตามระยะเวลาที่กําหนดไว

ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร แบงประเภทสินเช่ือของธนาคารออกเปน 5 ประเภท26 ไดแก

1. เงินใหสินเช่ือแกเกษตรกร (รายยอย/รายบุคคล) เปนการใหสินเช่ือโดยตรงจากธนาคารไปยังเกษตรกร

2. เงินใหสินเช่ือแกสหกรณการเกษตรและกลุมลูกคาเกษตรกร เปนการใหสินเช่ือแกเกษตรกรโดยออมผานสถาบันเกษตรกร

3. เงินใหสินเช่ือโครงการตามนโยบายรัฐ เปนสินเช่ือซ่ึงธนาคารจะใหสินเช่ือแกเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร โดยไดรับเงินจากสวนราชการและเงินทุนธนาคารตามนโยบายของรัฐบาล ท้ังนี้ ธนาคารจะไดรับคาบริการและชดเชยตนทุนของเงินสินเช่ือเปนคาตอบแทน27 สินเช่ือ

25 ยงยุทธ แฉลมวงษ และคณะ (2547) “โครงการศึกษาวิจัยเพ่ือพัฒนาระบบการเงินระดับจุลภาค (Micro-banking development).” เสนอตอ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ โดยสถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย. 26 ที่มา: ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร <www.baac.or.th> 27 สถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย (2541) “รายงานฉบับสมบูรณ โครงการตลาดการเงินในชนบทไทย 2539.” เสนอตอ ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร โดยฝายวิจัยเศรษฐกิจรายสาขา สถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย.

Page 67: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

45

ในรูปโครงการ28 นั้น โดยท่ัวไปจะถูกกําหนดจากหนวยงานภาครัฐในสวนกลางท่ีเปนเจาของโครงการ โดยมักกําหนดดอกเบ้ียเงินกูจากเกษตรกรท่ีเขารวมโครงการในอัตราท่ีตํ่ากวาอัตราดอกเบ้ียในตลาดคอนขางมาก และจะกําหนดระยะเวลาในการปลอยกูเปนเวลานานกวาสินเช่ือท่ัวไป นอกจากน้ียังเปนสินเช่ือผอนปรน ซ่ึงการเรงรัดหนี้จะไมเขมงวดตามสินเช่ือปกติ โดยปจจุบันสินเช่ือในรูปโครงการนี้ สามารถแบงออกไดเปน 2 ประเภทใหญๆ ตามแหลงเงินทุน คือ สินเช่ือโครงการนโยบายรัฐและโครงการพิเศษของธนาคาร ซ่ึงมีการกําหนดเงื่อนไขวงเงินการใหสินเช่ือ ระยะเวลาการชําระเงินกู และอัตราดอกเบ้ียท่ีแตกตางกัน

4. เงินใหสินเช่ือประเภทอ่ืน ไดแก สินเช่ือเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมออยและน้ําตาล การใหสินเช่ือโครงการกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองแหงชาติ เงินใหกูท่ีใชเงินฝากคํ้าประกัน สินเช่ือโครงการเคหะสงเคราะห สินเช่ือโครงการสินเช่ือขนาดยอม และต๋ัวเงินซ้ือลด เปนตน

สําหรับระยะเวลาของการชําระคืนเงินกู ธนาคารจะกําหนดระยะเวลาการชําระคืนเงินกูและดอกเบ้ียเปนรายงวด แตกตางกันไปขึ้นอยูกับวัตถุประสงค ประเภทของสินเช่ือ โดยคํานึงถึงปจจัยตางๆ ของผูกู เชน อายุการใช ประโยชนของสินทรัพยท่ีใชเงินกู จํานวนของเงินกู รายไดและความสามารถในการชําระหนี้ของผูกู เปนตน และเง่ือนไขในการขอกูมีดังนี้

• กรณีสินเช่ือนั้นมีวัตถุประสงคเพื่อเปนคาใชจายในการประกอบอาชีพท่ีเกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม ธนาคารกําหนดใหชําระคืนภายใน 12 เดือน หรืออาจขยายระยะเวลาการชําระคืนไดไมเกิน 18 เดือน

• กรณีสินเช่ือนั้นมีวัตถุประสงคเพื่อใชในการลงทุน เพื่อการประกอบอาชีพ หรือฟนฟูการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพท่ีเกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม ธนาคารกําหนดใหชําระคืนไมเกิน 15 ป หรืออาจขยายเวลาการชําระคืนไดไมเกิน 20 ป ท้ังนี้ธนาคารอาจจะกําหนดใหมีระยะเวลาที่ผูกูยังไมตองชําระเงินตนก็ได แตไมเกิน 5 ปแรก

• กรณสิีนเช่ือท่ีมีวัตถุประสงคเพื่อรอการขายผลิตผล ธนาคารกําหนดระยะเวลาชําระคืนภายใน 6 เดือน

• กรณีสินเช่ือท่ีมีวัตถุประสงคเพื่อใชในการชําระหนี้สินภายนอก โดยปกติธนาคารกําหนดระยะเวลาใหชําระคืนเสร็จไมเกิน 10 ป หรืออาจขยายระยะเวลาการชําระคืนไดไมเกิน 12 ป

28 สินเช่ือในรูปโครงการหมายถึง การใหกูประเภทตางๆ แกผูกูที่เปนเกษตรกรรายยอย กลุมเกษตรกร องคกร หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เก่ียวเน่ือง อาจเปนเงินกูระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว ที่มีวัตถุประสงคเพ่ือสนับสนุนการปรับปรุงกระบวนการผลิต เพ่ิมรายได หรือเพ่ือเพ่ิมระดับชีวิตของผูขอสินเช่ือ

Page 68: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

46

• กรณีผูกูเปนกองทุนหมูบานหรือชุมชนเมือง ธนาคารกําหนดระยะเวลาการชําระคืนในระยะเวลาไมเกิน 5 ป

โดยปกติการชําระคืนเงินกูและดอกเบ้ีย หากกรณีท่ีเกษตรกรไมสามารถชําระคืนไดตาม

กําหนด เกษตรกรสามารถผอนผันการชําระหนี้ได 3 คร้ังๆ ละ 2 เดือน ในทางปฏิบัติ เจาหนาท่ีธนาคารจะแนะนําใหเกษตรกรแบงเงินท่ีไดรับจากการขายผลผลิตมาชําระหนี้เพื่อลดคาใชจายสวนของดอกเบ้ียลง ซ่ึงเกษตรกรสามารถชําระคืนเงินกูพรอมดอกเบ้ียไดท่ีสาขาของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร หรือผานสาขาธนาคารพาณิชยท่ีกําหนด29

อัตราดอกเบ้ียเงินใหสินเช่ือของธนาคาร โดยท่ัวไปจะกําหนดตามประเภทของลูกคา คือ

• ลูกคาท่ีเปนองคกร ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ย MLR สําหรับลูกคาช้ันดีในอัตรารอยละ 5.50 ตอป โดยกําหนดใหมีสวนตางสูงสุดท่ีคิดเพิ่มจากอัตราดอกเบ้ีย MLR ไดไมเกินรอยละ 2.00 ตอป และกําหนดอัตราดอกเบ้ียสูงสุด ในกรณีท่ีผูกูผิดนัดชําระ หรือผิดเง่ือนไขตามสัญญาไวไมเกินรอยละ 10.50 ตอป

• ลูกคาบุคคล ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบ้ีย MLR สําหรับลูกคาช้ันดีในอัตรารอยละ 7.50 ตอป โดยกําหนดใหมีสวนตางสูงสุดที่คิดเพิ่มจากอัตราดอกเบ้ีย MLR ไมเกินรอยละ 3.00 ตอป และกําหนดอัตราดอกเบ้ียสูงสุดกรณีท่ีผูกูผิดนัดชําระ หรือผิดเง่ือนไขตามสญัญาไดไมเกินรอยละ 13.50 ตอป

ตารางท่ี 2.4

อัตราดอกเบี้ยเงินใหสินเชื่อของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร

อัตราดอกเบี้ย ลูกคารายบุคคล ลูกคาองคกร สถาบันช้ันดี (Minimum Loan Rate) MLR 7.50 5.50 สวนตางสูงสุดที่จะใชบวกกับ MLR (Highest Cap Over MLR)

3.00 2.00

อัตราดอกเบี้ยสูงสุดกรณีผิดนัดชําระหรือผิดเง่ือนไขตามสัญญา (Highest Rate for Defaulted Account)

13.50 10.50

ที่มา: ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร

29 ยงยุทธ แฉลมวงษ และคณะ (2547) “โครงการศึกษาวิจัยเพ่ือพัฒนาระบบการเงินระดับจุลภาค (Micro-banking development).” เสนอตอ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ โดยสถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย.

Page 69: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

47

ในสวนของหลักประกันการใหเงินสินเช่ือ ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร กําหนดใหผูขอสินเช่ือสามารถเลือกใช “หลักทรัพย” หรือ “บุคคล” ในการค้ําประกันเงินใหสินเช่ือได โดยธนาคารเปนผูกําหนดวงเงินและเง่ือนไขการขอสินเช่ือตามความเหมาะสม คือ

• กรณีเกษตรกรรายยอยหรือบุคคล สามารถใชหลักทรัพยในการค้ําประกัน เชน อสังหาริมทรัพยและหลักทรัพยรัฐบาลไทย หรือตราสารทางการเงินซ่ึงออกโดยธนาคาร หรือเงินฝากในธนาคารไดไมเกินรอยละ 80 ของราคาประเมิน หรือกรณีบุคคลคํ้าประกัน จะตองเปนลูกคาประจําสาขาหรือบุคคลอ่ืน กําหนดใหมีผูคํ้าประกันอยางนอย 2 คน โดยจํานวนเงินกูไมเกิน 150,000 บาท

• กรณีกลุมบุคคลหรือกลุมเกษตรกรกูเงิน เกษตรกรในกลุมสามารถคํ้าประกันซ่ึงกันและกันได โดยใชหลักประกันแบบลูกหนี้รวม โดยกําหนด จํานวนเงินกูของผูกูแตละราย ไมเกิน 150,000 บาท และหากเปนกรณีกลุมบุคคลหรือกลุมเกษตรกร ใหกูไดไมเกิน 3,000,000 บาท

• กรณีกองทุนหมูบานหรือชุมชน และองคกรกูเงิน กําหนดใหมีคณะกรรมการของกองทุนหรือองคกรท้ังคณะเปนผูคํ้าประกันในฐานะสวนตัว ใหกูไดไมเกิน 3,000,000 บาท

ในรอบปบัญชี 2549 ธนาคารมีปริมาณเงินใหสินเช่ือ 428,586 ลานบาท เพิ่มข้ึนจากป 2548

รอยละ 4.8 สวนใหญเปนสินเช่ือเกษตรกรรายคน รอยละ 86.28 รองลงมาคือ สหกรณเกษตรกร มีสัดสวนรอยละ 4.97 และสินเช่ือโครงการนโยบายรัฐ รอยละ 2.79 ตามลําดับ 30 โดยในป 2550 จํานวนเงินใหสินเช่ือของธนาคารท่ีเพิ่มข้ึนเปน 449,182 ลานบาท คิดเปนสัดสวนรอยละ 5.95 ของสินเช่ือท้ังหมดของธนาคารพาณิชยท้ังระบบ สวนมากเปนการเพ่ิมข้ึนของเงินใหสินเช่ือเกษตรกรรายยอย เปนสวนสําคัญ31

2.3.6 การใหบริการอ่ืนๆ นอกจากการบริการรับฝากเงินและการใหสินเช่ือแลว ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณ

การเกษตรยังมีการใหบริการดานการประกันหลายรูปแบบ เพื่อสงเสริมการออมและสรางหลักประกันในชีวิตและทรัพยสินของเกษตรกร โดยรูปแบบท่ีสําคัญ ไดแก

30 ที่มา: ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร <www.baac.or.th> 31 เน่ืองจากบริการของธนาคารเปนการปลอยสินเช่ือรายยอยและไมมีหลักค้ําประกันจึงตองมีการกํากับดูแลใกลชิด ขณะที่ลูกคาสถาบันเกษตรกรมีปญหาอัตราการชําระคืนหน้ีตํ่ากวา ดังน้ัน ธนาคารจึงเนนการใหสินเช่ือแกเกษตรกรรายบุคคลมากกวา

Page 70: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

48

• กองทุนทวีสุข เปนกองทุนสําหรับใหความชวยเหลือแกเกษตรกรลูกคาธนาคารและ

ครอบครัวเม่ือไมสามารถประกอบอาชีพได • กองทุนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห เปนบริการทางการเงินประเภทหนึ่งท่ีธนาคารไดให

การสนับสนุนลูกคาในการจัดต้ัง เพื่อชวยเหลือกันเองในหมูสมาชิก เพื่อชวยเหลือสมาชิกและครอบครัวเม่ือเสียชีวิต มีท้ังสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห ลูกคาผูกูและผูฝาก สําหรับการสมัครเปนสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะหนั้นไมจําเปนตองเปนลูกคาเงินกู หรือเปนลูกคาเงินฝากของธนาคาร หากเพียงผูสมัครจะตองฝากเงินกับธนาคารตามเง่ือนไขท่ีสมาคมกําหนด และสมัครเปนสมาชิกของสมาคมท่ีตองการ ซ่ึงแตละสมาคมจะมีเง่ือนไขและขอกําหนดไมเหมือนกัน

• นอกจากนี้ ธนาคารยังมีการใหบริการการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรจากภัยแลงดวย ซ่ึงธนาคารไดพัฒนาการประกันภัยพืชผลขึ้น เพื่อเปนหลักประกันสําหรับเกษตรกรท่ีไดรับความเสียหายจากภัยพิบัติ/ภัยธรรมชาติ โดยมีหนวยงานท่ีเกี่ยวของ ประกอบดวย สํานักงานคณะกรรมการกํากับและสงเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สมาคมประกันวินาศภัย กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร และธนาคารโลก ไดรวมกันศึกษาและจัดทําโครงการนํารองประกันภัยพืชผลโดยใชดัชนีภูมิอากาศข้ึน32

ในป 2548 และเร่ิมจัดทําโครงการประกันภัยจริงในป 2550 เฉพาะพ้ืนท่ี อ.ปากชอง จ.นครราชสีมา โดยมีบริษัทประกันภัยเขารวมโครงการจํานวน 10 ราย โดยพืชผลที่ไดรับการคุมครอง คือ ขาวโพด

เล้ียงสัตว เนื่องจากเปนพืชหลักของเกษตรกรในพ้ืนท่ี33

32เกณฑการประเมินจะใชปริมาณนํ้าฝนสะสมท่ีวัดไดจากสถานีตรวจวัดสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในชวงวันคุมครองที่กําหนด จากน้ันนําไปเปรียบเทียบกับเกณฑปริมาณความตองการนํ้าของขาวโพดเล้ียงสัตวที่กําหนดไวในเง่ือนไขกรมธรรมในแตละชวงความคุมครอง หากเกิดภัยตามเง่ือนไขกรมธรรม บริษัทประกันจะจายสินไหมชดเชยความเสียหายใหเกษตรกรผาน ธนาคาร ภายใน 20 วันนับจากการเกิดภัย 33 ป 2551 ธนาคารไดขยายพ้ืนที่ดําเนินงานเพ่ิมขึ้นอีก 4 จังหวัด ไดแก เพชรบูรณ นครสวรรค ลพบุรี และสระบุรี โดยกําหนดเบี้ยประกันภัย 2 อัตรา คือ ไรละ 80 บาท วงเงินชดเชยสูงสุดเฉล่ีย 350 – 875 บาทตอไร และเบี้ยประกันไรละ 120 บาท วงเงินชดเชยสูงสุด 525 – 1,315 บาทตอไร ขึ้นอยูกับความเสี่ยงของแตละพ้ืนที่ โดยจะจายจริงตามความเสียหายในแตละชวงคือ ชวงเพาะปลูกระยะที่ 1 (30 วัน) ระยะที่ 2 (20 วัน) และระยะที่ 3 (30 วัน)

Page 71: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

49

รูปภาพท่ี 2.2 จํานวนลูกคาเงินเชื่อของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2545-2549

จํานวนลูกคาสินเช่ือเกษตรกร

-

1,000,000

2,000,000

3,000,000

4,000,000

5,000,000

6,000,000

2545 2546 2547 2548 2549

ครวัเรอืน

ลูกคาเกษตรกรท้ังหมดเกษตรกรลุกคารายคน

สหกรณการเกษตร

กลุมเกษตรกร

ที่มา: รายงานขอมลูการเงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร (รอบปบัญชี 2549 ณ สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2550)

รูปภาพท่ี 2.3

มูลคาสินเชื่อของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2545-2549

มูลคาสินเชื่อ (ลานบาท)

289,381318,912

356,680

421,701 428,586449,182

-

50,000

100,000

150,000

200,000

250,000

300,000

350,000

400,000

450,000

500,000

2545 2546 2547 2548 2549 2550

ลานบาท

ที่มา: รายงานขอมลูการเงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร (รอบปบัญชี 2549 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550)

Page 72: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

50

รูปภาพท่ี 2.4

โครงสรางสินเชื่อของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2549 จําแนกตามประเภทสินเชื่อ

อ่ืนๆ5.95%

สินเชื่อนโยบายรฐั2.79%

กลุมเกษตรกร0.01%

สหกรณการเกษตร4.97%

สินเชื่อแกเกษตรกร86.28%

ที่มา: รายงานขอมลูการเงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร (รอบปบัญชี 2549 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550)

2.3.7 ผลการดําเนินการ

ในชวงระยะเวลาท่ีผานมา ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรไดดําเนินงานอยางมีประสิทธิภาพ เปนสถาบันการเงินท่ีสามารถเขาถึงประชาชนในพื้นท่ีชนบทไดมากท่ีสุด และไดขยายขอบเขตการดําเนินงานท้ังดานเงินฝาก และดานการใหกูออกไปอยางกวางขวาง รวมทั้งสามารถขยายพื้นท่ีการดําเนินงาน และมีจํานวนสมาชิกท่ีเปนเกษตรกรเพ่ิมข้ึนอยางตอเนื่อง34

จากรายงานผลการดําเนินงานในรอบปบัญชี 2549 พบวาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตรสามารถใหบริการสินเช่ือแกเกษตรกรไดประมาณ 5.68 ลานครัวเรือน คิดเปนรอยละ 98.10 ของครัวเรือนเกษตรกรท้ังหมด ซ่ึงจําแนกเปนเกษตรกรรายคน 4.12 ลานครัวเรือน สหกรณการเกษตร 1.55 ลานครัวเรือน และสมาชิกกลุมเกษตรกร 0.01 ลานครัวเรือน เมื่อเทียบกับ รอบปบัญชี 2548 พบวา ในป 2549 ธนาคารสามารถใหบริการทางการเงินแกครัวเรือนเกษตรกรไดเพิ่มข้ึนจํานวน 151,751 ครัวเรือน คิดเปนอัตราการขยายตัว รอยละ 2.74 จากปกอนหนา

34 ที่มา: สถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย (2541) “รายงานฉบับสมบูรณ โครงการตลาดการเงินในชนบทไทย 2539.” เสนอตอ ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร โดยฝายวิจัยเศรษฐกิจรายสาขา สถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย.

Page 73: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

51

ท้ังนี้ เนื่องจากธนาคารไดเ ร่ิมขยายบทบาทการใหสินเช่ือไปสูธุรกิจท่ีเกี่ยวเนื่องกับการเกษตรมากข้ึน โดยไดปรับเปล่ียนบทบาทท่ีเนนการใหบริการแกภาคการเกษตรเปนสําคัญไปสูการเปน “สถาบันการเงินเพื่อพัฒนาชนบท” โดยเนนการใหสินเช่ือแบบกํากับคําแนะ (Supervised credit) ใหการสนับสนุนท้ังทางดานวิชาการ การตลาด และวัตถุดิบตางๆ รวมท้ังการขยายขอบเขตใหบริการทางการเงินไปยังตลาดการเงินนอกภาคเกษตรมากข้ึน รวมท้ังการใหบริการตางๆ ท้ังดานเงินฝาก สินเช่ือ และบริการอ่ืนๆ เชน การโอนเงิน การประกัน การรับชําระคาสินคาและบริการ เปนตน ก็ทําใหธนาคารมีบทบาทในตลาดเงินฝากและสินเช่ือในตลาดเงินมากข้ึนดวย

ในปจจุบันธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรมีการดําเนินงานครอบคลุมพื้นท่ีตางๆ ท่ัวประเทศ ประกอบดวย สํานักงานจังหวัดจํานวน 75 แหง ตลาดกลางจํานวน 1 แหง สาขาธนาคารจํานวน 586 สาขา กองทุนธนาคารอิสลาม จํานวน 93 แหง และเปนสาขายอย จํานวน 364 สาขา และหนวยอําเภอ จํานวน 952 หนวย

เม่ือพิจารณาปริมาณเงินฝากและเงินใหสินเช่ือของธนาคารในชวงป 2548-2550 พบวาธนาคารมีปริมาณเงินฝากเพิ่มข้ึนอยางตอเนื่อง และมีปริมาณมากกวาเงินใหสินเช่ือของธนาคารท่ีเพิ่มข้ึน ซ่ึงบงช้ีใหเห็นถึงความตองการใชบริการเงินฝากท่ีเพิ่มข้ึนมากกวาความตองการใชสินเช่ือของธนาคารโดยเปรียบเทียบ

ผลการดําเนินงานของธนาคารในป 2550 ปรากฏวา ธนาคารมีกําไรสุทธิ 5,586 ลานบาทเพิ่มข้ึนมากกวารอยละ 91.4 จากป 2549 เปนผลจากการบริหารจัดการทางการเงินของธนาคารอยางมีประสิทธิภาพ และการขยายการใหสินเช่ือนอกภาคเกษตร รวมท้ังรายไดจากดอกเบ้ียของธนาคารท่ีปรับตัวสูงข้ึนในป 2550 โดยธนาคารมีรายไดดอกเบ้ียสุทธิ 32,096 ลานบาท ผลกําไรดังกลาวสงผลใหอัตราผลตอบแทนผูถือหุน (Return to Equity: ROE) ปรับตัวสูงข้ึนจากรอยละ 5.97ในป 2549 เปนรอยละ 10.25 ในป 2550

โดยในป 2550 ธนาคารมีปริมาณสินเช่ือท่ีไมกอใหเกิดรายไดจํานวน 50,747 ลานบาท สูงข้ึนจากป 2549 ประมาณ 1.5 เทา สงผลใหสัดสวนสินเช่ือท่ีไมกอใหเกิดรายไดตอสินเช่ือของธนาคารเพิ่มจากรอยละ 4.5 ในป 2549 เปนรอยละ 11.30 ในป 2550 ท้ังนี้เปนผลมาจากการท่ีธนาคารไดปรับปรุงเกณฑการตั้งสํารองคาเผ่ือหนี้สงสัยจะสูญ และวิธีการจัดช้ันหนี้สงสัยจะสูญ ตามเกณฑ IAS 39 เปนสําคัญ

หากพิจารณาถึงความม่ันคงของฐานะทางการเงินของธนาคาร จากมูลคาสินทรัพยของธนาคาร ช้ีใหเห็นวา ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร มีมูลคาสินทรัพยถึง 588,184 ลานบาท มีอัตราการขยายเฉล่ียประมาณรอยละ 8.34 ตอป ในชวงป 2548-2550 โดยมีอัตราสวนเงินกองทุนตอสินทรัพยเส่ียงมากกวารอยละ 12.90 สูงกวาเกณฑท่ีธนาคารแหงประเทศไทยกําหนดไวที่ รอยละ 8.5 สะทอนใหเห็นวาธนาคารเปนสถาบันการเงินท่ีมีความม่ันคงทางการเงินในระดับสูง

Page 74: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

52

ผลการประเมินประสิทธิภาพการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจประจําปของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในป 2550 ก็แสดงใหเห็นวาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตรนั้นเปนรัฐวิสาหกิจท่ีมีผลการดําเนินงานท่ีมีประสิทธิภาพสูงแหงหนึ่ง ซ่ึงไดรับการประเมินวามีผลการดําเนินงานท่ีมีประสิทธิภาพเปนอันดับส่ีจากการจัดอันดับประสิทธิภาพการดําเนินงานของหนวยงานรัฐวิสาหกิจท้ังหมด35

ตารางท่ี 2.5 จํานวนหนวยใหบริการของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร

หนวยใหบริการ จํานวน สํานักงาน จังหวัด 75 สาขา ตลาดกลาง 1 แหง สาขา 586 สาขา กองทุนธนาคารอิสลาม 93 แหง สาขายอย 364 สาขา หนวยอําเภอ 952 หนวย

ที่มา: ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร

รูปภาพท่ี 2.5 ปริมาณเงินใหสินเชื่อและเงินฝากของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2548-2550

421,701 428,586449,182

431,401

496,621514,667

0

100000

200000

300000

400000

500000

600000

2548 2549 2550

ลานบาท

เงินใหสินเช่ือ เงินฝาก ที่มา: ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร

35 ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ <www.sepo.go.th>

Page 75: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

53

รูปภาพท่ี 2.6 ผลกําไรของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรในป 2545-2550

ที่มา: ภาพรวมผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ, สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

ตารางท่ี 2.6 รายงานขอมูลทางการเงินท่ีสําคัญของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร

ป 2548 ป 2549 ป 2550 Loan to Deposits (L/D Ratio) 97.80% 86.30% 87.30% Cost to Income Ratio 15.10% 26% 23.60% Loan to Total Asset 84.00% 75.70% 76.40% เงินกองทุนตอสินทรัพยเสี่ยง (BIS) 10.80% 10.80% 12.90% NPL ตอเงินใหสินเช่ือ (NPL Ratio) 5.10% 4.50% 11.30% ROA 0.30% 0.50% 0.90% Net Interest Margin (NIM) 5.40% 5.30% 5.60% ที่มา: ภาพรวมผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ, สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

ผลกําไร

660961

1,645 1,734

2,918

5,586

-

1,000.00

2,000.00

3,000.00

4,000.00

5,000.00

6,000.00

2545 2546 2547 2548 2549 2550

ลานบาท

Page 76: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

54

รูปภาพท่ี 2.7 อัตราผลตอบแทนผูถือหุนของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2545-2550

อัตราผลตอบแทนสวนของผูถอืหุน

2.382.94

3.74 3.84

5.97

10.25

0

2

4

6

8

10

12

2545 2546 2547 2548 2549 2550

รอยละ

ที่มา: ผลการดําเนินงานและฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Review) สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

รูปภาพท่ี 2.8

มูลคาสินทรัพยรวมธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ป 2548-2550

มูลคาสินทรัพยรวม

501,931

566,088

588,184

440,000

460,000

480,000

500,000

520,000

540,000

560,000

580,000

600,000

2548 2549 2550

ลานบาท

ที่มา: ผลการดําเนินงานและฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Review) สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

Page 77: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

55

2.3.8 ผลจากการดําเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร จากผลการวิจัยของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ( 2541) พบวา การดําเนินงาน

ของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรในระยะเวลาท่ีผานมาประสบความสําเร็จอยางสูงในภารกิจหลักดานสินเช่ือเกษตรที่ใหกูแกลูกคาเกษตรกรรายบุคคล สามารถเพ่ิมปริมาณสินเช่ือในระบบสนองความตองการของเกษตรกรไดอยางท่ัวถึง นอกจากนี้ การที่วงเงินกูตอสัญญามีขนาดใหญข้ึนและระยะเวลากูของเงินกูนอกระบบนานข้ึน ก็มีอิทธิพลทําใหอัตราดอกเบ้ียตํ่าลงดวย เพราะตนทุนธุรกรรมตํ่าลง สงผลใหเกษตรกรกูเงินนอกระบบนอยลง เพราะธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรไดเขามาแทนท่ี โดยสามารถใหบริการครอบคลุมครัวเรือนเกษตรกรไดมากถึงรอยละ 98.10 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด36

นอกจากนี้ จากการรายงานของโครงการวิจัยประเมินผลโครงการแกไขปญหาหนี้สินภาคประชาชน37 พบวา จากการแกไขปญหาความยากจนของรัฐบาลท่ีไดมอบหมายใหธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรดําเนินการดูแลและแกไขปญหาความยากจนใหแกเกษตรกรที่มีปญหาภาระหนี้สิน ท้ังหนี้สินในระบบและหนี้สินนอกระบบท่ัวประเทศ ตามยุทธศาสตรหลักตามแผนบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2548-2551 พบวา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตรสามารถแกไขปญหาหนี้นอกระบบ และสงผลใหเกษตรกรที่เขารวมโครงการสามารถพัฒนาตนเองจนสามารถชําระหนี้ไดคิดเปนรอยละ 86.23 89.30 และ 88.39 ในป 2549 2550 และ 2551 ตามลําดับ สําหรับการแกไขปญหาใหแกลูกหนี้ในระบบของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรนัน้ ลูกหนี้ธนาคารท่ีตองดําเนินการในป 2548 และ 2551 สามารถชําระหนี้ได คิดเปนรอยละ 90.77 และ 90.68 ตามลําดับ ซ่ึงถือวา ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรสามารถดําเนินการไดครอบคลุมประเด็นหนี้ในระบบและนอกระบบสําหรับเกษตรกร

อยางไรก็ตาม ในปจจุบัน พบวายังไมมีรายงานการศึกษาท่ีสามารถบงช้ีไดอยางชัดเจนไดวา การดําเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตรสามารถยกระดับรายไดของครัวเรือนเกษตรกรเหลานี้ใหหลุดพนจากความยากจนไดมากนอยเพียงใด

36 ที่มา: ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร <www.baac.go.th> 37 ที่มา: สถาบันการจัดการเพ่ือชนบทและสังคม (ไมระบุป) “บทสรุปสําหรับผูบริหาร: โครงการวิจัยประเมินผลโครงการแกไขปญหาหน้ีสินภาคประชาชน.” มูลนิธิบูรณะชนบทแหงประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ. <http://www.rasmi-trrm.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538677486>

Page 78: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

56

2.4 ธนาคารออมสิน 2.4.1 ความเปนมา ธนาคารออมสินไดรับการจัดต้ังข้ึนคร้ังแรกในช่ือ “คลังออมสิน” ดําเนินการภายใต

พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456 โดยมีเปาหมายเพื่อสงเสริมการออมของประชาชน ตอมาไดมีการปรับปรุง และปรับเปล่ียนสถานะเปนธนาคารออมสินภายใต “พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489” โดยมีสถานะเปนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ขณะท่ียังคงวัตถุประสงคการดําเนินงานเพื่อกระตุนการออมเปนหลัก โดยไมไดมีบทบาทมุงเนนการใหสินเช่ือแกประชาชนท่ัวไป หากแตมุงเนนเพื่อการหมุนเวียนเงินทุนใหกับรัฐบาลเปนสําคัญ ซ่ึงมีการบริหารงานโดยอิสระภายใตการควบคุมของคณะกรรมการท่ีไดรับการแตงต้ังจากรัฐมนตรีวาการกระทรวงการคลัง

ในปจจุบันธนาคารออมสินมีฐานะเปนสถาบันการเงินเฉพาะกิจท่ีมีรัฐบาลเปนประกันโดยดําเนินงานใหบริการทางการเงินแกประชาชนท่ัวไปท้ังดานเงินฝาก เงินกู และดานบริการทางการเงินอ่ืนๆ ภายใตการกํากับดูแลของกระทรวงการคลัง โดยรัฐบาลไดกําหนดนโยบายใหธนาคารเขาไปมีสวนรวมในการผลักดันและจัดการทางดานการเงินในโครงการเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายของภาครัฐในหลายโครงการดวยกัน

2.4.2 นโยบาย และวัตถุประสงค

ธนาคารออมสินเดิมนั้นไดรับการจัดต้ังข้ึนโดยมีวัตถุประสงคหลักเพื่อสงเสริมการออมเงินของประชาชนเปนสําคัญ อยางไรก็ตาม ในชวงระยะเวลาท่ีผานมาธนาคารออมสินก็ไดมีการเปล่ียนแปลงระบบการดําเนินงานและการบริการ เพื่อใหเขากับสถานการณทางเศรษฐกิจและการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน และเพื่อตอบสนองตอความตองการบริการทางการเงินในปจจุบัน โดยธนาคารออมสินไดจัดทําแผนวิสาหกิจ ป 2551-2555 ข้ึน เพื่อใชเปนแผนแมบทการดําเนินงานของธนาคาร โดยไดกําหนดวิสัยทัศนในการดําเนินงานใหมุงสูการเปน “สถาบันการเงินท่ีม่ันคงเพื่อการออม การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานรากเปนสําคัญ”

2.4.3 ลักษณะการดําเนินการ ธนาคารออมสินดํา เนินงานภายใตการกํากับควบคุมของกระทรวงการคลังตาม

พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 โครงสรางการบริหารงานนั้นกําหนดใหรัฐมนตรีมีอํานาจในการแตงต้ังคณะกรรมการธนาคาร 11 คน และแตงต้ังคณะผูบริหาร ประกอบดวย

Page 79: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

57

ผูอํานวยการธนาคาร รองผูอํานวยการและคณะกรรมการอ่ืนๆไมนอยกวา 7 คนเปนผูบริหาร จัดการและควบคุมการดําเนินงานของธนาคารใหเปนไปตามแผนงานท่ีกําหนดไว

ในการปฏิบัติงานนั้น ธนาคารออมสินมีการจัดโครงสรางองคกรโดยแบงสวนงานการบริหาร การปฏิบัติการ เพื่อกระจายอํานาจ หนาท่ี และความรับผิดชอบ ออกเปนฝายตางๆ เพื่อกํากับดูแลการดําเนินงานในแตละดาน คือ ดานกิจการสาขา ดานสินเช่ือ ดานเงินฝากและบริการ และดานกิจกรรมชุมชน และมีผูอํานวยการธนาคารเปนผูบริหารการปฏิบัติงานของธนาคารในดานตางๆ ใหเปนไปตามนโยบายของธนาคาร โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบ ทําหนาท่ีตรวจสอบการดําเนินงาน ภายใตการควบคุมของคณะกรรมการธนาคารออมสิน

ในปจจุบันธนาคารออมสินเปนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐท่ีมีขนาดทรัพยสินมากท่ีสุดและมีขนาดทรัพยสินมากเปนอันดับ 5 ของธนาคารพาณิชยท้ังหมด ซ่ึงมีบทบาทสําคัญในการอํานวยสินเช่ือระดับจุลภาคตามนโยบายของรัฐ โดยมีธนาคารประชาชน เปนหนวยงานหลักในการกํากับดูแลการใหบริการทางการเงินในระดับจุลภาคของธนาคารออมสิน ซ่ึงใหบริการทางการเงิน ดานสินเช่ือ ดานเงินฝาก และดานการพัฒนา โดยมีการจัดต้ังศูนยพัฒนาลูกคา เพื่อใหบริการอบรม และใหคําปรึกษาในการประกอบอาชีพแกสมาชิก

2.4.4 การบริหารจัดการการเงิน แหลงเงินทุนในการดําเนินงานของธนาคารออมสิน สวนใหญมาจากเงินฝากของประชาชน

ในป 2550 ธนาคารมีทุนการดําเนินงาน 756,759 ลานบาท ในจํานวนนี้มาจากเงินฝากจํานวนท้ังส้ิน 643,946 ลานบาท ซ่ึงคิดเปนสัดสวนรอยละ 85.09 ของทุนการดําเนินงานท้ังหมด รองลงมา คือ สวนของผูถือหุน 86,925 ลานบาท หนี้สินอ่ืนๆ 24,791 ลานบาท และมาจากเงินกู 1,097 ลานบาท คิดเปนสัดสวนรอยละ 11.49 3.21 และ 0.14 ตามลําดับ ในการระดมเงินฝากของธนาคาร พบวา ธนาคารมีผลิตภัณฑเงินฝากท่ีหลากหลาย ท่ีสําคัญไดแก

1. เงินฝากประจํา 2. เงินฝากเผ่ือเรียก 3. เงินฝากออมทรัพย 4. เงินฝากสงเคราะหชีวิตและครอบครัว 5. สลากออมสินซ่ึงเปนผลิตภัณฑเงินฝากท่ีผูฝากเงินมีโอกาสจะไดรับเงินรางวัลท่ีมีการ

ออกรางวัลทุกเดือน และเม่ือฝากครบอายุ 3 ปจะไดรับเงินตนคืนพรอมดอกเบ้ีย

จากการดําเนินงานการระดมเงินฝากของธนาคารออมสินในระยะเวลาที่ผานมา ธนาคารสามารถระดมเงินฝากไดเพิ่มข้ึนอยางตอเนื่อง ท้ังนี้เปนผลจากการขยายพ้ืนท่ีและชองทางการ

Page 80: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

58

ใหบริการของธนาคารท่ีทําใหประชาชนสามารถเขาถึงบริการของธนาคารไดสะดวกข้ึน ในชวงป 2545-2550 ธนาคารสามารถระดมเงินฝากไดเพิ่มข้ึน คิดเปนอัตราการขยายตัวเฉล่ียรอยละ 4.31 ตอป โดยในป 2550 ธนาคารมีปริมาณเงินฝาก 643,946 ลานบาท หรือขยายตัวเพิ่มข้ึนรอยละ 4.8 จากป 2549 เม่ือเทียบกับเงินฝากของธนาคารพาณิชยท้ังระบบในประเทศ ในป 2550 ธนาคารออมสิน มีสัดสวนเงินฝากประมาณรอยละ 9 ของเงินฝากของธนาคารพาณิชยท้ังระบบในประเทศ

โครงสรางเงินฝากของธนาคารออมสินสวนใหญเปนสลากออมสินและพันธบัตร เงินฝากเผ่ือเรียก และเงินฝากประเภทตางๆ ในป 2550 โครงสรางเงินฝากของธนาคารท่ีสําคัญ ประกอบดวย สลากออมสินและพันธบัตร โดยมีสัดสวนรอยละ 31.75 เงินฝากเผ่ือเรียก รอยละ 26.24 และเงินฝากประจํา รอยละ 25.83 โครงสรางเงินฝากโดยเปรียบเทียบของธนาคาร ระหวางป 2549 และ 2550 โครงสรางเงินฝากของธนาคารนั้นไมมีการเปล่ียนแปลงมากนัก

รูปภาพท่ี 2.9

มูลคาเงินฝากของธนาคารออมสิน ป 2545-2550

มลูคาเงินฝาก

522,542554,175 560,623 564,008

614,233643,946

-

100,000

200,000

300,000

400,000

500,000

600,000

700,000

2545 2546 2547 2548 2549 2550

ลานบาท

ที่มา: ธนาคารออมสิน

Page 81: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

59

ตารางท่ี 2.7 โครงสรางเงินฝากของธนาคารออมสิน ป 2549-2550

ป 2549 ป 2550 กระแสรายวัน 0.27 0.29 เผ่ือเรียก 26.80 26.24 เผ่ือเรียกพิเศษ 12.36 10.52 ประจํา 24.84 25.83 สลากออมสินและพันธบัตร 30.56 31.75 เงินสงเคราะหชีวิตและครอบครัว 4.93 5.14 เงินรับฝากอื่นๆ 0.004 0.01 เงินที่ผูฝากทอดท้ิง 0.25 0.22

ที่มา: ธนาคารออมสิน

2.4.5 การใหสินเชื่อ ปจจุบันธนาคารออมสินมีการบริการเงินใหสินเช่ือแกประชาชน หนวยงาน และภาคธุรกิจ

หลายรูปแบบดวยกัน เพื่อสนองนโยบายรัฐซ่ึงเนนการใหสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเปนเคร่ืองมือในการอํานวยสินเช่ือแกประชาชน ซ่ึงสินเช่ือของธนาคารมีเง่ือนไข การค้ําประกัน และการชําระท่ีแตกตางกันไปตามประเภทของสินเช่ือ โดยในการบริหารความเส่ียงนั้น สามารถแบงประเภทของสินเช่ือออกเปน 2 ประเภทหลักๆ คือ สินเช่ือนโยบายรัฐ และสินเช่ือเพื่อธุรกิจ

1. สินเช่ือนโยบายรัฐ ปจจุบันธนาคารออมสินมีการใหสินเช่ือภายใตโครงการสินเช่ือ

นโยบายรัฐ 8 โครงการ ไดแก สินเช่ือโครงการธนาคารประชาชน สินเช่ือฉับพลัน สินเช่ือธุรกิจหองแถว สินเช่ือเพื่อผูประกอบการรายใหม สินเช่ือแปลงสินทรัพยเปนทุน สินเช่ือสานฝนสูอาชีพ สินเช่ือพัฒนาคุณภาพชีวิตขาราชการ และสินเช่ือเพื่อพัฒนาชนบท ตามลําดับ

2. สินเช่ือเพื่อธุรกิจ ประกอบดวย สินเช่ือเคหะ สินเช่ือเพื่อธุรกิจ SMEs สินเช่ือเพื่อการศึกษา สินเช่ือไทรทองเอนกประสงค สินเช่ือเพื่อไปทํางานตางประเทศ สินเช่ือสวัสดิการ สินเช่ือชีวิตสุขสันต และสินเช่ือคอมพิวเตอรเพื่อการศึกษา

สําหรับผลการดําเนินงานดานการใหสินเช่ือโดยท่ัวไป ในป 2550 ธนาคารมีปริมาณเงินใหสินเช่ือ 469,639 ลานบาท เพิ่มข้ึนจากป 2549 รอยละ 8.7 ซ่ึงธนาคารมีปริมาณเงินใหสินเช่ือ คิดเปนสัดสวนรอยละ 6.22 ของยอดเงินใหสินเช่ือของธนาคารพาณิชยท้ังหมดในประเทศ

Page 82: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

60

ประเภทสินเช่ือสวนใหญของธนาคารท่ีใหแกประชาชนท่ัวไป คือ สินเช่ือเพื่อสังคมและชุมชน ซ่ึงมีสัดสวนมากท่ีสุดจํานวน 157,330.25 ลานบาท หรือคิดเปนรอยละ 34.17 ของสินเช่ือท้ังหมดของธนาคาร รองลงมา คือ สินเช่ือเพื่อท่ีอยูอาศัย มีสัดสวนรอยละ 24.65 อันดับท่ีสาม คือ สินเช่ือบุคคล มีสัดสวนรอยละ 18.68 อันดับท่ีส่ี คือ สินเช่ือภาครัฐและวิสาหกิจ มีสัดสวนรอยละ 10.19 อันดับท่ีหา คือ สินเช่ือธุรกิจขนาดกลางและยอม มีสัดสวนรอยละ 6.41 ตามลําดับ สําหรับสินเช่ือธุรกิจขนาดใหญมีสัดสวนการใหสินเช่ือนอยท่ีสุด คือ ประมาณรอยละ 5.18 ของเงินใหสินเช่ือท้ังหมดของธนาคาร

รูปภาพท่ี 2.10

มูลคาสินเชื่อของธนาคารออมสิน ป 2545-2550

มูลคาสินเชื่อ

260,994285,963

343,891

394,330

431,946

469,639

-

50,000

100,000

150,000

200,000

250,000

300,000

350,000

400,000

450,000

500,000

2545 2546 2547 2548 2549 2550

ลานบาท

ที่มา: ธนาคารออมสิน

Page 83: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

61

รูปภาพท่ี 2.11 โครงสรางสินเชื่อของธนาคารออมสิน ป 2550 จําแนกตามประเภท

ภาครัฐและวิสาหกิจ10.91%

เพื่อสังคมและชุมชน34.17%

เพื่อท่ีอยูอาศัย24.65%

บุคคล18.68%

ธุรกิจขนาดใหญ5.18%

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอม

6.41%

ที่มา: ธนาคารออมสิน

2.4.6 โครงการธนาคารประชาชน โครงการธนาคารประชาชน ถือเปนโครงการสินเช่ือในระดับจุลภาคท่ีสําคัญของธนาคาร

ออมสินท่ีมุงเนนการใหบริการการเงินรายยอยแกประชาชนระดับฐานราก เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล โครงการธนาคารประชาชนเร่ิมดําเนินการคร้ังแรกในป 2544 โดยมีสํานักโครงการธนาคารประชาชนเปนหนวยงานในการบริหารจัดการและดําเนินงาน สําหรับเงินทุนท่ีใชในการดําเนินโครงการนั้นจะใชเงินทุนของธนาคารออมสินโดยไมมีการขอรับเงินงบประมาณสนับสนุนในการดําเนินการ หรือชดเชยความเสียหายจากการดําเนินโครงการจากภาครัฐ โดยโครงการธนาคารประชาชนมีวัตถุประสงคในการดําเนินงาน 3 ประการ คือ

1. สงเสริมประชาชนใหมีอาชีพ รายไดและความเปนอยูท่ีดีข้ึน 2. เพื่อสงเสริมการออมในหมูสมาชิก 3. เพื่อพัฒนาอาชีพใหสมาชิก และสงเสริมใหสมาชิกมีงานทํา

Page 84: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

62

โครงการธนาคารประชาชนมีการดําเนินงานใหบริการทางการเงิน 3 รูปแบบ คือ

1. การใหบริการรับฝากเงิน เปนการใหบริการแกสมาชิกเพื่อสงเสริมการออม ซ่ึงสมาชิกสามารถเลือกฝากเงินไดทุกประเภทโดยไมจํากัด โดยมีพนักงานของธนาคารใหบริการรับฝากเงินนอกสถานท่ี เพื่ออํานวยความสะดวกใหกับสมาชิก

2. การใหบริการสินเช่ือ โดยเปาหมายของลูกคาสินเช่ือโครงการธนาคารประชาชน มี 3 กลุม คือ ประชาชนท่ัวไปที่ประกอบอาชีพอิสระรายยอย ผูมีรายไดประจําท่ีตองการประกอบอาชีพเสริม และผูท่ีสนใจประกอบอาชีพอิสระ ธนาคารกําหนดใหผูท่ีจะขอสินเช่ือจะตองสมัครสมาชิก ณ สาขาของธนาคาร และเปดบัญชีเงินฝากประเภทเผ่ือเรียกในช่ือผูสมัคร 1 บัญชี โดยธนาคารจะพิจารณาเงินใหสินเช่ือตามความเหมาะสม หลังจากท่ีฝากเงินอยางตอเนื่องเปนระยะเวลาไมนอยกวา 2 เดือน ธนาคารกําหนดใหผูขอสินเช่ือตองมีสถานท่ีประกอบอาชีพ หรือใหบริการลูกคาท่ีแนนอน ท่ีสามารถติดตามได มีสมุดบัญชีเงินฝากกับธนาคารออมสิน เปนระยะเวลาอยางนอย 2 เดือน โดยไมมีการจํากัดวงเงินฝาก ซ่ึงผูท่ีมีเงินฝากอยูแลว ธนาคารกําหนดใหสามารถยื่นขอเงินกูไดทันทีท่ีผูขอสินเช่ือสมัครเปนสมาชิก

3. การใหบริการพัฒนาอาชีพ ธนาคารมีการดําเนินการสงเสริมการพัฒนาอาชีพแกสมาชิก โดยการจัดต้ังศูนยพัฒนาลูกคา ใหคําแนะนํากับสมาชิกโดยไมคิดคาใชจาย รวมท้ังยังมีบริการใหการฝกอบรมที่จําเปน ใหคําปรึกษา และแกไขปญหา ท้ังทางดานการเงิน อาชีพและดานอ่ืนๆ แกสมาชิกของโครงการธนาคารประชาชนดวย

ในการขอสินเช่ือโครงการธนาคารประชาชน ธนาคารกําหนดใหผูขอสินเช่ือสามารถเลือกใช “บุคคล” หรือ “หลักทรัพย (อสังหาริมทรัพย/สังหาริมทรัพย)” หรือ “หลักประกันตามโครงการแปลงสินทรัพย” อยางใดอยางหนึ่งในการคํ้าประกันเงินสินเช่ือของตนได

กรณีท่ีขอเงินกูโดยใชสมาชิกโครงการธนาคารประชาชนเปนผูคํ้าประกัน ธนาคารกําหนดใหผูท่ีคํ้าประกันจะตองเปนสมาชิกในธนาคารสาขาเดียวกันกับผูกู จํานวนไมนอยกวา 2 คน ในการค้ําประกันรวม หากเปนขาราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองคกรของรัฐ กําหนดใหจะตองดํารงตําแหนงระดับ 3 ข้ึนไปจํานวน 1 คนข้ึนไป หรือ หากเปนผูมีรายไดประจําซ่ึงเปนพนักงานบริษัท/หรือธุรกิจเอกชน จะตองทํางานในองคกรนั้นติดตอกันไมนอยกวา 3 ป จํานวนไมนอยกวา 2 คน คํ้าประกัน หรือ กรณีลูกคาท่ัวไปของธนาคารออมสินคํ้าประกัน จะตองเปนบุคคลท่ีธนาคารใหความเช่ือถือ จํานวนไมนอยกวา 1 คน คํ้าประกัน

สวนกรณีกูเพื่อชําระคืนเงินกูนอกระบบ ซ่ึงกูมาเพ่ือการประกอบอาชีพหรือเพื่อความจําเปนในการดํารงชีพ นายจางจะตองเปนผูคํ้าประกัน และยินยอมท่ีจะหักเงินเดือนของผูกูเพื่อนําสงใหธนาคาร ท้ังนี้ผูคํ้าประกันแตละคนในทุกกรณีขางตน จะคํ้าประกันผูกูไดไมเกิน 2 ราย

Page 85: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

63

สําหรับวงเงินใหสินเช่ือ ธนาคารกําหนดวงเงินใหสินเช่ือในโครงการธนาคารประชาชนเปนสินเช่ือขนาดเล็ก เพื่อใชในการประกอบอาชีพ หรือความจําเปนในการดํารงชีพตามวงเงินท่ีใชจริง และตามความสามารถในการชําระคืน โดยวงเงินใหสินเช่ือจะเร่ิมจากนอยไปหามาก ธนาคารกําหนดเงินใหสินเช่ือคร้ังแรกแกสมาชิกในโครงการไวไมเกินรายละ 30,000 บาท และกําหนดเงินใหสินเช่ือคร้ังท่ีสอง ไมเกินรายละ 50,000 บาท สําหรับวงเงินใหสินเช่ือในคร้ังตอไป กําหนดไมเกินรายละ 100,000 บาท

ในการชําระคืนเงินใหสินเช่ือ ธนาคารกําหนดระยะเวลาของการชําระคืนเงินกูเปนรายงวด โดยใชวิธีหักบัญชีจากเงินฝากท่ีผูขอสินเช่ือขอเปดไวเม่ือสมัครเปนสมาชิกโครงการธนาคารประชาชน ซ่ึงธนาคารมีการใหบริการรับฝากเงินนอกสถานท่ีเพื่ออํานวยความสะดวกใหกับสมาชิกในการชําระคืนเงินกู โดยธนาคารจะมีการสรางแรงจูงใจในการชําระคืนเงินกู ดวยการใหสินเช่ือซํ้ากับผูท่ีจายหนี้ตรงตามเวลา รวมทั้งการเพิ่มปริมาณสินเช่ือใหสําหรับการกูคร้ังตอไปดวย ธนาคารกําหนดจํานวนงวดการชําระคืนเงินกูตามจํานวนเงินใหสินเช่ือ คือ วงเงินกูไมเกินรายละ 15,000 บาท กําหนดระยะเวลาชําระคืนไมเกิน 13 งวด วงเงินกู 15,000 บาท แตไมเกิน 30,000 บาท ระยะเวลาชําระคืนไมเกิน 25 งวด วงเงินกูเกิน 30,000 บาท แตไมเกิน 50,000 บาท ระยะเวลาชําระคืนไมเกิน 37 งวด และวงเงินกูมากกวา 50,000 บาท แตไมเกิน 100,000 บาท ธนาคารกําหนดระยะเวลาชําระคืนไมเกิน 97 งวด

อัตราดอกเบ้ียของโครงการธนาคารประชาชน เทากับรอยละ 1 ตอเดือน (แบบคงท่ี) เม่ือเทียบเปนอัตราลดตนลดดอก (Effective Rate) จะมีคาเทากับรอยละ 22 ตอป38 หากสมาชิกไมชําระหนี้ตามกําหนด ธนาคารจะคิดคาปรับจากเงินตนของงวดนั้นในอัตรารอยละ 1.5 ตอเดือน

นอกจากการใหบริการรับฝากเงินและการใหสินเช่ือแลว ธนาคารยังมีการใหบริการอ่ืนๆ

เพื่อฝกอบรมเสริมสรางความรู และทักษะการประกอบอาชีพแกสมาชิกในโครงการอีกดวย เพื่อเปนแนวทางใหกับสมาชิกและจัดการอบรมแกสมาชิกประจําป เพื่อแนะแนวทางการประกอบอาชีพ รวมท้ังใหบริการประกันอุบัติเหตุใหกับสมาชิกท่ีไดรับอนุมัติสินเช่ือดวยในวงเงินไมเกิน 100,000 บาทโดยไมตองเสียคาใชจายใด ๆ เพิ่มเติม ซ่ึงวงเงินคุมครองน้ีจะใชในการตัดภาระหน้ี ซ่ึงเปนการประกันความเส่ียงจากการใหสินเช่ือของธนาคาร

อยางไรก็ตาม จากการศึกษาของ วิทวัส เหมทานนท (2551) พบวา การดําเนินการใหการบริการฝกอบรมอาชีพแกสมาชิกเพื่อนําไปใชในการประกอบอาชีพนั้นไมประสบความสําเร็จมากนัก ในเร่ืองการนําความรูท่ีไดจากการฝกอบรมไปตอยอดในการประกอบอาชีพ เนื่องจากการจัดอบรมความรูนั้นไมสอดคลองกับความสนใจของสมาชิก อีกท้ังสมาชิกของโครงการธนาคารประชาชน 38 ยงยุทธ แฉลมวงษ และคณะ (2547) “โครงการศึกษาวิจัยเพ่ือพัฒนาระบบการเงินระดับจุลภาค (Micro-banking development).” เสนอตอ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ โดยสถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย.

Page 86: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

64

สวนใหญนั้นมีอาชีพหลักอยูแลว ดังนั้นสมาชิกสวนใหญเม่ือไดรับการฝกอบรมแลวจึงไมไดนําเอาความรูท่ีไดจากการฝกอบบรมของธนาคารไปใชในการประกอบอาชีพมากนัก

ในสวนของการดําเนินการดานเงินฝากของโครงการนี้ จากรายงานของโครงการธนาคารประชาชน ต้ังแตป 2548 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2551 พบวา โครงการธนาคารประชาชนมีจํานวนสมาชิกดานเงินฝาก 625,772 ราย ลดลงประมาณรอยละ 6.86 จากเดือนธันวาคม 2550 โดยมีแนวโนมลดลงอยางตอเนื่อง โดยเฉล่ียในชวงป 2548-2551 สมาชิกดานเงินฝากของโครงการมีจํานวนลดลงเฉล่ียประมาณรอยละ 3 ตอป ขณะท่ีปริมาณเงินฝากของสมาชิกโครงการธนาคารประชาชน ในชวงป 2549-2551 กลับมีแนวโนมปรับตัวเพิ่มข้ึน หลังจากท่ีปรับตัวลดลงไปในป 2549 โดยในเดือนพฤศจิกายน 2551 ปริมาณเงินฝากมีจํานวน 1,903.41 ลานบาท

สําหรับผลการดําเนินงานดานการใหสินเช่ือโครงการธนาคารประชาชนในป 2551 ธนาคารมีจํานวนสมาชิกท่ีไดรับการอนุมัติสินเช่ือเปนจํานวน 1,684,044 ราย เพิ่มข้ึนจากป 2550 จํานวน 165,049 ราย คิดเปนอัตราการขยายตัวรอยละ 10.87 โดยในชวงป 2548-2550 มีการขยายตัวเฉล่ียรอยละ 12.45 ตอป สําหรับปริมาณเงินใหสินเช่ือในป 2551 ธนาคารมีปริมาณเงินใหสินเช่ือ 42,376.40 ลานบาท เพิ่มข้ึนจากป 2550 รอยละ 14.13 โดยในชวงป 2548-2550 มีการขยายตัวเฉล่ีย รอยละ 16.02 ตอป

รูปภาพท่ี 2.12

จํานวนสมาชิกเงินฝากโครงการธนาคารประชาชน

จํานวนสมาชิกเงินฝาก

690,598 693,503

671,876

625,772

580,000

600,000

620,000

640,000

660,000

680,000

700,000

2548 2549 2550 2551

ราย

ที่มา: ธนาคารออมสิน

Page 87: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

65

รูปภาพท่ี 2.13 ปริมาณเงินฝากโครงการธนาคารประชาชน

ปรมิาณเงินฝาก

2,010.22

1,870.79

1,893.321,903.41

1,800

1,850

1,900

1,950

2,000

2,050

2548 2549 2550 2551

ลานบาท

ที่มา: ธนาคารออมสิน

รูปภาพท่ี 2.14

จํานวนสมาชิกท่ีไดรับสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน

จํานวนสมาชิกท่ีไดรับสินเช่ือ

1,185,254

1,310,970

1,518,995

1,684,044

0

200,000

400,000

600,000

800,000

1,000,000

1,200,000

1,400,000

1,600,000

1,800,000

2548 2549 2550 2551

ราย

ที่มา: ธนาคารออมสิน

Page 88: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

66

รูปภาพท่ี 2.15 จํานวนเงินสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนที่ไดการอนุมัติ

จํานวนเงินสินเช่ือท่ีไดรับการอนุมัติ (ลานบาท)

27,152.34

31,062.71

37,128.52

42,376.40

0.00

5,000.00

10,000.00

15,000.00

20,000.00

25,000.00

30,000.00

35,000.00

40,000.00

45,000.00

2548 2549 2550 2551

ลานบาท

ที่มา: ธนาคารออมสิน

2.4.7 ผลการดําเนินการ จากการดําเนินงานของธนาคารในรอบป 2550 พบวา ธนาคารสามารถขยายการใหบริการ

ทางการเงินแกประชาชนไดอยางกวางขวาง ท้ังดานเงินฝากและดานสินเช่ือ ซ่ึงเปนผลมาจากการขยายขอบเขตการใหบริการของธนาคาร ท้ังในดานพื้นท่ีและชองทางการใหบริการที่เพิ่มข้ึน เปนผลใหประชาชนทั่วไปสามารถเขาถึงการใหบริการของธนาคารไดมากข้ึน โดยปจจุบันธนาคารมีจํานวนสาขาท่ัวประเทศ จํานวน 597 สาขา เปนธนาคารชุมชน จํานวน 17 แหง และมีจํานวนพนักงาน 9,408 คน

เม่ือพิจารณาเปรียบเทียบปริมาณเงินฝากและสินเช่ือของธนาคารในชวงป 2548-2550 พบวา ธนาคารสามารถระดมเงินฝากไดเพิ่มข้ึนและมากกวาปริมาณเงินใหสินเช่ือทุกป ซ่ึงแสดงใหเห็นถึงความตองการใชบริการเงินฝาก และสะทอนถึงความเปนสถาบันการเงินเพื่อการออมของธนาคารออมสินไดเปนอยางดี อยางไรก็ตาม การขยายการใหบริการดานสินเช่ือตามนโยบายรัฐ ไดสงผลใหปริมาณเงินใหสินเช่ือขยายตัวสูงข้ึนในปจจุบัน ดังแสดงในรูปท่ี 2.16 สงผลใหสัดสวนเงินสินเช่ือตอเงินฝากของธนาคารเพิ่มข้ึนเปนลําดับ โดยเพิ่มจากรอยละ 59.70 ในป 2547 เปนรอยละ 72.90ในป 2550

สําหรับการดําเนินงานในสวนของโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน พบวาสัดสวนของ “จํานวนเงินสินเช่ือท่ีไดรับอนุมัติของโครงการธนาคารประชาชน” ตอ “สินเช่ือรวม

Page 89: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

67

ของธนาคารออมสิน” มีสัดสวนสูงข้ึนจากรอยละ 6.83 ในป 2548 เปนรอยละ 7.19 ในป 2549 และเปนรอยละ 7.91 ในป 2550

เม่ือพิจารณาปริมาณเงินฝากและปริมาณสินเช่ือเฉพาะโครงการธนาคารประชาชน พบวา โครงการธนาคารประชาชนนั้นมี “เงินใหสินเช่ือ” สูงกวา “เงินฝาก” แสดงใหเห็นถึงความตองการของสมาชิกโครงการท่ีตองการใชบริการดานสินเช่ือมากกวาบริการทางดานเงินฝาก ซ่ึงสะทอนใหเห็นวา การดําเนินโครงการธนาคารประชาชนและการสรางแรงจูงใจในการระดมเงินฝากในโครงการน้ีไมประสบความสําเร็จเทาท่ีควร สาเหตุประการหนึ่งมาจากการที่ผูสมัครเขาเปนสมาชิกโครงการธนาคารประชาชนไมกลาฝากเงินกับธนาคาร เพราะกลัววาหากการชําระเงินกูมีปญหาแลวอาจถูกอายัดเงินฝากได นอกจากนี้ในการดําเนินการ ธนาคารไมไดเขมงวดกับการกําหนดเง่ือนไขท่ีใหผูฝากเงินตองฝากกับธนาคารอยางตํ่า 2 เดือนกอนการยื่นขอกูดวย โดยการอนุโลมใหผูท่ีมีบัญชีเงินฝากสามารถกูเงินจากธนาคารไดเลย และใหหักเงินชําระเงินคืนเงินกูจากบัญชีเงินฝากขางตน ดังนั้น ผูฝากสวนใหญจึงเปดบัญชีเพียงเพื่อใชประโยชนในการชําระเงินกูเทานั้น39 ธนาคารจึงจําเปนตองนําเงินทุนจากเงินฝากสวนอ่ืนมาใชในการใหสินเช่ือแกสมาชิกของโครงการ

สําหรับดานการชําระคืนเงินกู หากพิจารณาจากอัตราสินเช่ือท่ีไมกอใหเกิดรายไดตอเงินใหสินเช่ือของโครงการธนาคารประชาชน พบวา มีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงข้ึนมาก ในป 2549 เพิ่มข้ึนจากรอยละ 11.75 ในป 2548 เปนรอยละ 17.35 ในป 2549 และรอยละ 18.21 ในป 2550 สําหรับในป 2551 อัตราการชําระคืนเงินกูตอเงินใหสินเช่ือนี้มีคาเทากับรอยละ 17.57 ซ่ึงธนาคารไดมีการดําเนินการเพ่ือลดอัตราการชําระคืนเงินกูตอเงินใหสินเช่ือโครงการธนาคารประชาชน หลายประการ ดังนี้

1. ธนาคารระดับสาขา ออกบริการรับฝากเงินนอกสถานท่ี ตามวัน เวลา และสถานท่ีท่ี

กําหนด 2. เพิ่มหนวยบริการเพื่อใหลูกหนี้สามารถชําระหนี้ไดสะดวก 3. จํานวนหน้ีคางชําระเกิน 3 เดือน ธนาคารจะเรงออกติดตามอยางตอเนื่อง ท้ังทาง

โทรศัพท หนังสือเตือน การเขาพบลูกคา เปนตน 4. จํานวนหนี้คางท่ีเกินกวา 3 เดือน ธนาคารออมสินระดับภาค เขต สาขา และพนักงาน

สินเช่ือจากฝายนโยบายรัฐดําเนินการลงพื้นท่ี และเชิญลูกหนี้มาเจรจาเพ่ือแกไขหน้ีคางชําระ 5. ธนาคารจางบริษัทติดตามหน้ีสําหรับหนี้ท่ีคางชําระเกิน 6 เดือนข้ึนไป

39 วิทวัส เหมทานนท (2551) “ผลกระทบจากการเขารวมโครงการธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน.” คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

Page 90: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

68

6. ประสานความรวมมือระหวางธนาคารออมสินกับสํานักระงับขอพิพาท กระทรวงยุติธรรมเพ่ือจัดกระบวนการไกลเกล่ียการชําระหนี้

7. กําหนดมาตรการพิเศษสําหรับลูกคาโครงการท่ีมีประวัติการชําระหนี้ดี โดยในรอบระยะเวลา 12 เดือน ท่ีไมมีหนี้คางชําระ จะใหปรับลดอัตราดอกเบ้ียรอยละ 0.25 ตอเดือนของลูกคาเกาและใหมใหเปนแบบข้ันบันได

สําหรับผลการดําเนินงานของธนาคารออมสิน ในชวงป 2549-2550 พบวา โดยเฉล่ียธนาคารมีผลกําไรจากการดําเนินงานชะลอตัวลงในป 2549 จากในชวงป 2547-2548 ท่ีมีกําไรสูงถึง 11,925 และ 12,342 ลานบาท สวนหนึ่งเปนผลจากการตั้งสํารองหน้ีสงสัยจะสูญของธนาคารตามเกณฑ IAS 39 อยางไรก็ตาม หลังจากท่ีธนาคารมีการปรับปรุงดานการบริหารจัดการและมีการขยายขอบเขตการใหบริการทางการเงินของธนาคารมากข้ึน ทําใหประชาชนสามารถเขาถึงบริการของธนาคารไดมากข้ึน เปนผลใหธนาคารมีรายไดเพิ่มข้ึนจากการใหสินเช่ือเพิ่มข้ึน ดังเห็นไดจากรายไดจากดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเปน 41,850 ลานบาท ในป 2550 หรือปรับตัวสูงขึ้นจากป 2549 รอยละ 15.2 และสงผลใหกําไรของธนาคารในป 2550 ปรับตัวเพิ่มสูงข้ึนเปน 10,832 ลานบาท หรือเพิ่มข้ึนจากป 2549 รอยละ 7.6 การเพิ่มข้ึนของผลกําไรของธนาคารดังกลาว ทําใหผลตอบแทนผูถือหุนของธนาคารปรับตัวเพิ่มข้ึนเปนรอยละ 19.50 ในป 2550 ดวย หลังจากที่อัตราสวนผลตอบแทนสวนของผูถือหุนมีคาลดลงในป 2549

นอกจากนี้การท่ีธนาคารสามารถปลอยสินเช่ือไดเพิ่มข้ึน สงผลใหธนาคารมีขนาด

สินทรัพยรวมเพิ่มข้ึนดวย โดยในป 2550 ธนาคารมีสินทรัพยรวมท้ังส้ิน 756,576 ลานบาท เพิ่มข้ึนรอยละ 6.3 จากป 2549 อยางไรก็ตาม การท่ีธนาคารสามารถขยายปริมาณสินเช่ือไดเพิ่มข้ึนก็สงผลใหจํานวนสินเช่ือท่ีไมกอใหเกิดรายได (NPL) เพิ่มข้ึนเชนกัน ซ่ึงแสดงใหเห็นวาการขยายการใหสินเช่ือเปนผลใหธนาคารมีความเส่ียงเพิ่มข้ึนดวย โดยในป 2550 ธนาคารมีปริมาณสินเช่ือท่ีไมกอใหเกิดรายไดประมาณ 17,377 ลานบาท สูงข้ึนประมาณรอยละ 5.4 จากป 2549 ขณะท่ีในชวงป 2548-2550 ธนาคารมีสัดสวนของสินเช่ือท่ีไมกอใหเกิดรายไดตอสินเช่ือรอยละ 3.6 3.8 และ 3.7 ตามลําดับ โดยเพิ่มข้ึนจากป 2547 ท่ีธนาคารมีสัดสวนของ NPL ตอสินเช่ือเทากับรอยละ 2.7 เทานั้น

เม่ือพิจารณาถึงความมั่นคงของฐานะทางการเงิน จากสถิติอัตราสวนเงินกองทุนตอสินทรัพยเส่ียง ช้ีใหเห็นวา แมวาธนาคารออมสินจะมีอัตราสวนเงินกองทุนตอสินทรัพยเส่ียงลดลงมาเปนลําดับในชวงป 2548-2550 แตธนาคารก็ยังคงดํารงเงินกองทุนตอสินทรัพยเส่ียงในระดับสูงเม่ือเปรียบเทียบกับธนาคารพาณิชยและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐอ่ืนๆ โดยมีอัตราสวนเงินกองทุนตอสินทรัพยเส่ียงถึงรอยละ 22.30 ในป 2550 ซ่ึงสูงกวาเกณฑท่ีธนาคารแหงประเทศไทย

Page 91: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

69

กําหนดไวท่ีระดับรอยละ 8.5 สะทอนใหเห็นถึงความม่ันคงของฐานะทางการเงินของธนาคารไดเปนอยางดี

นอกจากนี้ ผลการประ เ มินประสิท ธิภาพ รัฐวิสาหกิจประจํ าป ของ สํ านักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในป 2550 ก็แสดงใหเห็นวาธนาคารออมสินนั้นเปนสถาบันการเงินเฉพาะกิจท่ีมีผลการดําเนินงานท่ีดีและมีประสิทธิภาพมากท่ีสุดดวยเมื่อเทียบกับรัฐวิสาหกิจแหงอ่ืน ซ่ึงไดรับการประเมินประสิทธิภาพในการดําเนินงานใหอยูในอันดับสองของรัฐวิสาหกิจท้ังหมดดวย40

รูปภาพท่ี 2.16

ปริมาณเงินใหสินเชื่อและเงินฝากของธนาคารออมสิน ป 2548-2550

394,330431,946

469,639

564,008

614,233643,946

-

100,000

200,000

300,000

400,000

500,000

600,000

700,000

2548 2549 2550

ลานบาท

เงินใหสินเชื่อ เงินฝาก ที่มา: ธนาคารออมสิน

40 ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ <www.sepo.go.th>

Page 92: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

70

รูปภาพท่ี 2.17 ปริมาณเงินใหสินเชื่อและเงินฝากของโครงการธนาคารประชาชน ป 2548-2550

ที่มา: ธนาคารออมสิน

ตารางท่ี 2.8

ผลการดําเนินงานสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ณ สิ้นเดือนธันวาคม ป 2548-2551

รายการ 2548 2549 2550 2551 จํานวนสมาชิกเงินฝาก (ราย) 690,598 693,503 671,876 625,772* จํานวนเงินฝาก (ลานบาท) 2,010.22 1,870.79 1,893.32 1,903.41* จํานวนสมาชิกที่ไดรับสินเช่ือ (ราย) 1,185,254 1,310,970 1,518,995 1,684,044 จํานวนเงินสินเช่ือที่ไดรับการอนุมัติ (ลานบาท) 27,152.34 31,062.71. 37,128.52 42,376.4 อัตราสวน NPL ตอเงินใหสินเช่ือ* (รอยละ) 11.75 17.35 18.21 17.57 ที่มา: ผลการดําเนินงานสินเช่ือโครงการธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน

สรุปสถานการณดานการคลัง: มาตรการสําคัญดานการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง *ตัวเลขสิ้นสุด เดือนพฤศิกายน 2551

27,152.34

31,062.71

37,128.52

42,376.40

2,010.22 1,870.79 1,903.411,893.32

0

5,000

10,000

15,000

20,000

25,000

30,000

35,000

40,000

45,000

2548 2549 2550 2551

ลานบาท

เงินใหสินเช่ือ เงินฝาก

Page 93: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

71

รูปภาพท่ี 2.18 ผลกําไรของธนาคารออมสิน ป 2547-2550

ที่มา: ธนาคารออมสิน

รูปภาพท่ี 2.19 อัตราผลตอบแทนผูถือหุนของธนาคารออมสิน ป 2546-2550

อัตราผลตอบแทนสวนของผูถือหุนของธนาคารออมสิน

15.70

17.90

19.20

17.51

19.50

0.00

5.00

10.00

15.00

20.00

25.00

2546 2547 2548 2549 2550

รอยละ

ที่มา: ธนาคารออมสิน

ผลกําไร

11,92512,342

10,06910,832

0

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

12,000

14,000

2547 2548 2549 2550

ลานบาท

Page 94: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

72

รูปภาพท่ี 2.20 มูลคาสินทรัพยรวมของธนาคารออมสิน ป 2546-2550

มูลคาสินทรพัยรวมของธนาคารออมสิน ป 2547-2550

665,911

680,072

711,492

756,576

620,000

640,000

660,000

680,000

700,000

720,000

740,000

760,000

780,000

2547 2548 2549 2550

ลานบาท

ที่มา: ธนาคารออมสิน

ตารางท่ี 2.9 รายงานขอมูลทางการเงินท่ีสําคัญของธนาคารออมสิน

ป 2547 ป 2548 ป 2549 ป 2550 เงินกองทุนตอสินทรัพยเสี่ยง (BIS) 28.50 25.40 22.30 22.30 Loan to Deposits (L/D Ratio) 59.70% 68.10% 70.30% 72.90% Net Interest Margin (NIM) 3.10% 3.30 3.49 3.45 ROA 1.80% 1.80% 1.40% 1.50% คาใชจายพนักงาน/รายไดรวม 23.90% 20.70% 17.50% 16.40% NPL ตอเงินใหสินเช่ือ (NPL Ratio) 2.70% 3.60% 3.80% 3.70%

ที่มา: ภาพรวมผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ, สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

Page 95: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

73

2.4.8 ผลจากการดําเนินงานของโครงการธนาคารประชาชน จากรายงานการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล41 ระบุวา

โครงการธนาคารประชาชนมีบทบาทสําคัญในการเปนแหลงเงินทุนสําหรับผูมีรายไดนอยและผูประกอบการรายยอยเพื่อสรางรายได ลดภาระการพึ่งพาเงินกูนอกระบบ สมาชิกโครงการธนาคารประชาชนสวนใหญเคยกูเงินมากอนเขารวมโครงการ โดยกูเงินนอกระบบมากอนรอยละ 38.0 ขณะเดียวกันเปนท่ีนาสังเกตวาสมาชิกโครงการรอยละ 39.7 ไมเคยกูเงินจากแหลงใดมากอน ดังนั้นโครงการธนาคารประชาชนจึงชวยสรางโอกาสใหผูท่ีมีรายไดนอยและผูประกอบการรายยอยท่ีไมเคยกูเงินจากแหลงใดมากอนสามารถเขาถึงสถาบันการเงินในระบบไดดวยเงื่อนไขการกูยืมท่ีไมยุงยากนัก โดยสวนใหญสมาชิกโครงการใชเงินกูเพื่อเปนทุนหมุนเวียนในกิจการเดิม ขณะท่ีอีกสวนหนึ่งใชเงินกูเพื่อการบริโภคในครัวเรือน และใชเงินกูเพื่อการชําระหนี้นอกระบบ

นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกลาวแสดงใหเห็นวา สมาชิกโครงการรอยละ 72.9 ระบุวาไมจําเปนตองกูเงินจากแหลงอ่ืนอีกหลังจากกูเงินจากโครงการธนาคารประชาชน การใชเงินกูจากโครงการธนาคารประชาชนจึงนาจะเพียงพอสําหรับใชเปนทุนหมุนเวียนในกิจการเดิมหรือใชจายเพื่อบรรเทาเหตุฉุกเฉินในระยะส้ัน โดยมีสมาชิกโครงการเพียงรอยละ 15.3 เทานั้นท่ีระบุวายังมีความจําเปนตองใชเงินกูนอกระบบเพิ่มเติม เนื่องจากเงินทุนท่ีไดรับจากโครงการมีไมเพียงพอตอความตองการ ซ่ึงช้ีใหเห็นวาสมาชิกโครงการบางสวนยังคงตองพึ่งพาเงินกูนอกระบบเพิ่มเติม

สําหรับผลกระทบทางเศรษฐกิจของการดําเนินงานตามโครงการธนาคารประชาชน พบวา สมาชิกโครงการรอยละ 46.1 มีรายไดเพิ่มข้ึน แมวาสมาชิกโครงการรอยละ 48.3 มีรายจายเพิ่มขึ้นก็ตาม นอกจากนี้สมาชิกโครงการยังระบุวาภาวะการมีงานทําเพิ่มขึ้นรอยละ 36.2 และเงินออมสูงข้ึนรอยละ 29.4

อยางไรก็ตาม ปจจุบันการขยายจํานวนสมาชิกโครงการและปริมาณเงินกูดังกลาวกลับมีแนวโนมชะลอตัว ท้ังยังเปนท่ีนาสังเกตดวยวาโครงการธนาคารประชาชนยังไมสามารถพัฒนาศักยภาพของผูประกอบการรายยอยไดเทาท่ีควร อาจเปนผลจากจํานวนวงเงินกูท่ีมีจํากัด สวนใหญจะใชเปนทุนหมุนเวียนในกิจการทําใหเงินกูถูกใชเปนเพียงทุนหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคลองในกิจการ นอกจากน้ี ยังถูกใชเพื่อการบริโภคในครัวเรือนหรือบรรเทาเหตุฉุกเฉิน รวมถึงใชเพื่อชําระหนี้นอกระบบเพื่อลดภาระหนี้นอกระบบท่ีมีตนทุนสูงกวา สินเช่ือตามโครงการธนาคารประชาชนยังมีวงเงินไมมากพอสําหรับการลงทุนขยายกิจการหรือพัฒนาธุรกิจในระยะยาวได

41 ที่มา: สถาบันวิจัยและใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร (2548) “การติดตาม และประเมินผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล: รายงานฉบับสมบูรณ.” เสนอตอ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแหงชาติ โดยสถาบันวิจัยและใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

Page 96: Comparative Micro Finance
Page 97: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

74

บทท่ี 3

ระบบการเงนิระดับจุลภาคในประเทศบังกลาเทศ

ความยากจนในประเทศบังกลาเทศ คร่ึงหนึ่งของประชากรทั้งหมดในประเทศบังกลาเทศอยูใตเสนความยากจน (Poverty Line) นั่นคือ มีรายไดตอวันนอยกวา 1 เหรียญสหรัฐฯ ซ่ึงสาเหตุของความยากจนมาจากหลายปจจัย อาทิเชน ภัยธรรมชาติ โรคระบาด อุบัติเหตุ ปญหาครอบครัว และการขาดโอกาสในการเขาถึงแหลงเงินทุน เปนตน ซ่ึงปจจัยสุดทายนับวาเปนปจจัยท่ีสําคัญสําหรับคนจนในการประกอบอาชีพเพื่อใหตัวเองหลุดพนจากความยากจนได การแกปญหาความยากจนจึงนับเปนนโยบายหลักของรัฐบาลบังกลาเทศ อยางไรก็ตามลําพังรัฐบาลเองไมสามารถลดปญหาความยากจนได หากตองอาศัยความรวมมือจากภาคเอกชนดวย ซ่ึงในท่ีนี้ไดรวมถึงสถาบันการเงินในระดับจุลภาค (Microfinance Institutions: MFIs) ตางๆ ดวย ซ่ึงธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ถือเปนสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีประสบความสําเร็จในการดําเนินงานมากท่ีสุดท่ีเปนท่ียอมรับโดยท่ัวไป

การดําเนินงานของธนาคารกรามีนไดรับการยอมรับจากหนวยงานท้ังในระดับประเทศ และระหวางประเทศหลายหนวยงาน เชน ธนาคารโลก (World Bank) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asia Development Bank: ADB) International Food Research Policy Institute (IFPRI) และ Bangladesh Institute of Development Studies (BIDS) เปนตน วาธนาคารกรามีนเปนเคร่ืองมือในการขจัดความยากจนที่มีประสิทธิภาพในประเทศบังกลาเทศ โดยการนําเสนอบริการเงินกูเพื่อชวยใหคนจนไดเขาถึงแหลงเงินทุนและสามารถหยิบยืมทุนทรัพยในระยะส้ันเพื่อไปประกอบวิชาชีพหาเล้ียงตัวเองได ท้ังนี้ จากรายงานผลการดําเนินงานของธนาคารกรามีนในระยะเวลาท่ีผานมา มีผลปรากฏอยางชัดเจนวาสามารถลดปญหาความยากจนลงไดจริง สามารถเขาถึงกลุมเปาหมายท่ีเปนคนยากจน โดยเฉพาะผูหญิงยากจนระดับฐานรากไดอยางกวางขวาง และมีอัตราการชําระคืนหนี้สูง ดวยความสําเร็จของธนาคารกรามีนดังกลาวไดสงผลใหแนวคิดระบบการเงินในระดับจุลภาคไดรับการยอมรับและเผยแพรกระจายไปสูประเทศอ่ืนๆ อยางกวางขวาง โดยในปจจุบันมีหนวยงาน/องคกรตางๆ ท้ังภาครัฐและภาคเอกชน ประมาณ 400 แหง จาก 66 ประเทศ นําแนวคิดและรูปแบบการดําเนินงานของธนาคารกรามีนไปประยุกตใชในการดําเนินงานในพื้นท่ีตางๆ ท่ัวโลก สําหรับในทวีปเอเชีย มีหนวยงาน/องคกร 169 แหง ใน 19 ประเทศ ท่ีไดนําเอาระบบการเงินในระดับจุลภาคมาใชในการดําเนินงาน เชน กลุมสัจจะออมทรัพยในประเทศไทย ธนาคาร ACLEDA ในกัมพูชา ธนาคาร Vietnam Bank for the Poor (VNP) ในเวียดนาม ธนาคาร The Fonds Cooperatif (FC) Ltd. ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และธนาคาร XacBank ในประเทศมองโกเลีย เปนตน

Page 98: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

75

3.1 ระบบการเงินระดับจุลภาคในประเทศบังกลาเทศ ในประเทศบังกลาเทศ นอกจากจะมีธนาคารกรามีนเปนแหลงเงินกูท่ีสําคัญสําหรับผูท่ีมี

ฐานะยากจนแลว ในระบบการเงินระดับจุลภาคยังมีสถาบันการเงินในระดับจุลภาค (MFIs) อ่ืนๆ อีกจํานวนหน่ึง ท่ีไดนําหลักการใหสินเช่ือระดับจุลภาคท่ีสามารถเขาถึงคนจนไดไปตอยอด และสงเสริมการออมแกผูมีรายไดนอยรวมถึงคนจน เพื่อใหคนจนในบังกลาเทศสามารถเขาถึงแหลงเงินทุนได ซ่ึงประกอบดวยสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเปนองคกรภาครัฐ และองคกรภาคเอกชน สถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเปนองคกรภาครัฐท่ีสําคัญ ไดแก Banglades Rural Development Board (BRDB) และสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีสําคัญท่ีเปนขององคกรพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organization: NGO) ท่ีสําคัญ ไดแก Bangladesh Rural Advancement Committee (BRAC), Association for Social Advancement (ASA), Proshika, Palli Daridro Bimochon Foundation (PDBF) และ Thengamara Mohila Sabuj Sangha (TMSS) เปนตน โดยสถาบันการเงินในระดับจุลภาค 3 แหงแรก (BRAC ASA และ Proshika) ถือเปนสถาบันการเงินท่ีสําคัญท่ีใหบริการดานสินเช่ือรายใหญในบังกลาเทศ รองจากธนาคารกรามีน (รูปภาพที่ 3.1) ซ่ึงธนาคารกรามีน ธนาคาร BRAC ธนาคารASA และ ธนาคาร Proshika นั้นสามารถใหบริการทางการเงินแกผูกูรายยอยประมาณรอยละ 86 ของจํานวนผูกูในบังกลาเทศท้ังหมด โดยเงินกูสุทธิของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท้ัง 4 แหงนี้ มีมูลคารวมกันสูงกวา 800 ลานเหรียญสหรัฐฯ ในขณะท่ีมูลคาเงินฝากสุทธิรวมของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท้ัง 4 แหงนี้ มีสูงกวา 380 ลานเหรียญสหรัฐฯ (Rahman 2551)

รูปภาพท่ี 3.1 การกระจายตัวของวงเงินสินเชื่อระดับจุลภาคในบังกลาเทศ (ป 2548)

ที่มา: รายงานของ The World Bank Office, Dhaka (April 16, 2006)

Page 99: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

76

แมวาสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท้ัง 4 แหงนี้ จะมีลักษณะการดําเนินงาน และ

วัตถุประสงคการดําเนินการท่ีแตกตางกันก็ตาม42 แตในระยะเร่ิมตนของการดําเนินงานนั้นจะดําเนินงานไมตางกัน โดยเร่ิมตนจากโครงการการทดลองดวยเงินสนับสนุนและความชวยเหลือทางดานวิชาการจากองคกรเอกชนทองถ่ิน และ/หรือจากองคกรระหวางประเทศเปนหลัก43 ซ่ึงพบวารูปแบบการใหสินเช่ือระดับจุลภาคของสถาบันการเงินท้ัง 4 แหง ในบังกลาเทศนี้ ไดรับการยอมรับวาเปนตัวอยางความสําเร็จในการเขาถึงคนจนและมีสวนชวยแกปญหาความยากจนในประเทศบังคลาเทศเปนอยางมาก และถือเปนตนแบบของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีประเทศกําลังพัฒนาตางๆ ไดใหความสนใจและนําไปศึกษา เพื่อพัฒนาสถาบันการเงินในระดับจุลภาคใหสอดคลองกับสภาพเศรษฐกิจสังคมของตน ท้ังนี้เพราะการใหบริการสินเช่ือระดับจุลภาคท่ีมีประสิทธิผลนั้นตองมีการนํารองโครงการผานการทดลอง ปรับปรุง และตองอาศัยระยะเวลาในพัฒนารูปแบบท่ีเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสังคม (Rahman 2551)

3.2 ธนาคารกรามีน 3.2.1 ความเปนมา

ธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ในประเทศบังกลาเทศ กอตั้งขึ้นดวยกฎหมายพิเศษใน

ป 2526 โดยศาสตราจารย ดร.มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) ผูซึ่งไดรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ป 2539 ในฐานะบุคคลที่พยายามสรางการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมจากฐานลาง โดยเริ่มตนในป 2522 เมื่อดร.ยูนุส ไดรับเงินสนับสนุนจากธนาคารกลางของประเทศ ในการดําเนินโครงการธนาคารกรามีน (The Grameen Bank Project) โดยเร่ิมจากเขตตังเกล (Tangail District) และไดขยายการใหบริการครอบคลุมพื้นท่ีเกือบท่ัวประเทศในระยะเวลาตอมา จนกระท่ังป 2526 โครงการธนาคารกรามีนไดรับการยอมรับจากรัฐบาล และไดจดทะเบียนข้ึนในรูปธนาคารดวยกฎหมายพิเศษท่ีตางไปจากธนาคารท่ัวไป โดยต้ังช่ือวา “Grameen Bank” ซ่ึงนับเปนจุดเร่ิมตนของธนาคารกรามีน โดยคําวา “กรามีน” เปนภาษาบังกลาเทศ แปลวา “ชนบท” หรือ “หมูบาน”

42 รายละเอียดดังแสดงในภาคผนวก ก. 43 สาเหตุที่เงินสนับสนุนและความชวยเหลือทางดานวิชาการในการริเริ่มโครงการการปลอยสินเช่ือไมไดมาจากองคกรของภาครัฐ เน่ืองจากภาครัฐมักจะมีกระบวนการทางราชการท่ีซับซอนมากกวา

Page 100: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

77

ในชวงป 2533-2537 ธนาคารกรามีนไดรับเงินอุดหนุน เงินกูดอกเบี้ยตํ่า และเงินกูท่ีรัฐบาลชวยประกันจากธนาคารชาติบังกลาเทศ รัฐบาลประเทศตางๆ มูลนิธิและองคกรระหวางประเทศตางๆ รวมเปนเงินทั้งสิ้นประมาณ 125 ลานเหรียญสหรัฐฯ แตในป 2538 ธนาคารกรามีนไดตัดสินใจหยุดรับเงินชวยเหลือและเงินกูดอกเบี้ยตํ่าจากองคกรภายนอก (ยกเวนกรณีเกิดภาวะฉุกเฉิน เชน ภัยธรรมชาติ) โดยใชเงินฝากและเงินทุนของธนาคารกรามีนเองในการปลอยกู

ปจจุบันธนาคารกรามีนนับเปนธนาคารคนจนแหงแรกของโลกที่สามารถปลอยสินเช่ือใหแกคนจน โดยไมมีหลักทรัพยใดๆ คํ้าประกัน ไมมีการจํานอง ไมตองมีเอกสารทางกฎหมายมารองรับ หากแตหลักประกันในท่ีนี้ คือ ความซ่ือสัตย ความรับผิดชอบ และความเช่ือม่ันในศักยภาพการชําระหนี้ของคนจน ซ่ึงตรงกันขามกับหลักการของธนาคารพาณิชยท่ัวไปท่ีคิดวา คนจนไมมีทางท่ีจะชําระหนี้ ถาปลอยสินเช่ือไป โอกาสเส่ียงเปนหนี้สูญสูงมาก ดังนั้น ธนาคารกรามีนจึงถือเปนสถาบันการเงินในระดับจุลภาคที่เปนจุดกําเนิดของการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับสินเช่ือระดับจุลภาคท่ีสามารถเขาถึง “คนท่ีมีฐานะยากจนถึงจนท่ีสุด” ตามหมูบานตางๆ ไดอยางท่ัวถึง

3.2.2 นโยบายและวัตถุประสงค

นโยบายการดําเนินงานของธนาคารกรามีนแตกตางจากธนาคารพาณิชยทั่วไปในหลายๆ ดาน (ดูจากตารางที่ 3.1) ที่สําคัญ คือ การขอกูเงินกับธนาคารพาณิชยทั่วไปตองมีหลักประกันท่ีเปนทรัพยสิน ในขณะที่ธนาคารกรามีนไมเรียกรองทรัพยสินใดๆ เปนหลักประกัน หากอาศัยเพียงศักยภาพของผูกูที่ยากจนเหลานั้น ทั้งนี้เนื่องจาก ดร.ยูนุส เชื่อวา การที่คนจนคนหนึ่งมีชีวิตรอดมาจนถึงทุกวันนี้ได ถือเปนหลักฐานท่ีเพียงพอแลววา คนจนมีความสามารถในการเอาตัวรอด ซึ่งหากคนจนคนไหนที่ไมสามารถเอาตัวรอดได ก็คงอดตายไปนานแลว และเนื่องจากคนจนมีโอกาสที่จะเขาถึงแหลงสินเชื่อไมมากนักหรือบางคนอาจจะไมมีเลย การที่ธนาคารกรามีนยอมปลอยกูใหคนจนโดยไมเรียกรองสินทรัพยคํ้าประกันเลย ถือเปนโอกาสเดียวที่คนจนเหลานั้นพึ่งไดและตองรักษาไว เพราะการมีโอกาสไดกูจะชวยใหพวกเขามีชีวิตความเปนอยูท่ีดีข้ึนกวาเดิม ดังนั้น เปาหมายของธนาคารกรามีน คือ ตองการใหคนจนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตท่ีดีข้ึนไดดวยตัวเอง โดยอาศัยการกูเงินเพื่อนํามาสรางรายได

Page 101: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

78

ตารางท่ี 3.1 สรุปขอแตกตางระหวางธนาคารกรามีน และธนาคารพาณิชยท่ัวไป

ประเด็น ธนาคารกรามีน ธนาคารพาณิชยท่ัวไป 1. เปาหมายหลัก การใหโอกาสคนจนไดเขาถึงแหลงเงินทุน การสรางผลกําไรสูงสุด 2. การใหสินเช่ือ ไมมีหลักทรัพยใดๆ ค้ําประกัน ตองมีหลักทรัพยค้ําประกัน 3. ดอกเบี้ยเงินกู คิดดอกเบี้ยแบบปกติ

(simple interest) คิดดอกเบี้ยเงินกูทบตนทุกไตรมาส (quarterly compounding)

4. จํานวนเงินที่ใหกู จํานวนนอย จํานวนมาก 5. ประเภทของผูกู เนนผูหญิง เนนผูชาย 6. วิธีการบริหาร รวมกลุมๆ ละ 5 คน รายบุคคล 7. การติดตามลูกหน้ี ดูแลติดตามลูกหน้ีและครอบครัว ไมมีการติดตามลูกหน้ี 8. การผิดนัดชําระหน้ี ยืดอายุการชําระหน้ีออกไป ยึดหลักประกัน 9. สาขาของธนาคาร อยูในชุมชนชนบท อยูในศูนยกลางธุรกิจ/ใจกลางเมือง 10. การทํางานของพนักงาน เดินทางไปพบลูกหน้ีตามหมูบาน น่ังทํางานในสํานักงานตามช่ัวโมง

การทํางานของธนาคาร

ธนาคารกรามีนเปนธนาคารอิสลาม ซ่ึงไมแสวงหากําไรจากดอกเบ้ีย แตสามารถแสวงหา

กําไรจากการคาได ดังนั้น หลักการสําคัญของการปลอยสินเช่ือของธนาคารกรามีน คือ การปลอยสินเช่ือในจํานวนท่ีตํ่ามากใหกับคนยากจนผูดอยโอกาส คนท่ีไรท่ีดินทํากิน รวมถึงคนท่ียากจนมากท่ีสุดของประเทศ เชน คนขอทาน เพื่อนําไปซ้ือเคร่ืองมือการประกอบอาชีพของตัวเอง เม่ือเร่ิมสรางงานและมีรายไดแลว ก็สามารถชําระเงินกูบางสวนคืน วิธีการนี้จะทําใหคนจนเหลานั้นสามารถพึ่งพาตนเองได ในขณะท่ีธนาคารพาณิชยท่ัวไปมุงปลอยสินเช่ือในจํานวนมาก โดยหวังเพียงการสรางผลกําไรสูงสุดและกังวลกับการชําระหนี้เทานั้น ธนาคารกรามีนจึงถือเปนธนาคารท่ีใหบริการสินเช่ือระดับจุลภาค (Microcredit) ไดอยางแทจริง

เปาหมายของธนาคารกรามีนอีกประการหนึ่งท่ีเดนชัด และตางจากธนาคารพาณิชยท่ัวไป คือ การใหบริการสินเช่ือแกคนยากจนซ่ึงสวนใหญเปนผูหญิง มากถึงประมาณรอยละ 97 (รูปภาพที่ 3.2) เนื่องจาก ดร.ยูนุส เช่ือวา การใหสินเช่ือแกผูหญิงนั้นทําใหเกิดการพัฒนาทางสังคมไดเร็วกวาการใหสินเช่ือแกผูชาย เนื่องจากผูหญิงมีความละเอียด สามารถดูแลการใชจายเงินภายในครอบครัวไดดีกวาผูชาย และใสใจในเร่ืองความอดอยากของสมาชิกในครอบครัวมากวาผูชาย นอกจากนี้ผูหญิงยังเปนเพศท่ีนาเช่ือถือท่ีสุดในการกูยืมเงิน มีความรับผิดชอบสูง ทํางานหนักและใชเงินคืนตามสัญญาเสมอ ยกเวนเพียงบางกรณีท่ีมีปญหาเกิดข้ึนในครอบครัว

Page 102: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

79

จากรูปภาพท่ี 3.3 ท่ีแสดงจํานวนสมาชิกของธนาคารกรามีนโดยจําแนกตามเพศ ต้ังแต ป 2543 – 2551 พบวา จํานวนผูหญิงท่ีเขามาเปนสมาชิกมีมากข้ึนทุกป และมีสัดสวนท่ีมากกวาผูชายมาก

รูปภาพท่ี 3.2

สัดสวนของผูหญิงท่ีเปนสมาชิกธนาคารกรามีน ป 2519 – 2551

ที่มา: รายงานประจําปของธนาคารกรามีน

รูปภาพท่ี 3.3

จํานวนสมาชิกของธนาคารกรามีน ป 2543 – 2551

2,25

5,69

9

2,25

7,01

2

2,36

3,81

2

2,98

1,35

7

3,88

3,38

3 5,37

1,15

6

122,

657

121,

589

119,

194

142,

445

176,

249

208,

243

228,

149

233,

713

239,

117

6,680 ,555

7,431

,086

7,177

,516

0

1,000,000

2,000,000

3,000,000

4,000,000

5,000,000

6,000,000

7,000,000

8,000,000

2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551

ป (พ.ศ.)

จํานวน

( คน

)

หญิง ชาย

ที่มา: รายงานประจําปของธนาคารกรามีน

Page 103: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

80

นอกจากนี้ ธนาคารกรามีนยังมีนโยบายสนับสนุนใหลูกหนี้ยึดถือเอาเปาหมายพ้ืนฐานตางๆ ท้ังทางดานสังคม การศึกษา และสุขภาพ มาเปนเปาหมายในชีวิตของตน โดยลูกหนี้ของธนาคารกรามีนทุกคนจะตองผานการเรียนรู “บทบัญญัติสิบหกประการ” เพื่อเปนการเตรียมความพรอม และฝกการมีวินยัใหกับสมาชิก โดยสมาชิกทุกคนจะตองปฏิบัติตามหลักบัญญัติ 16 ประการ (The Sixteen Decisions)44 ไดแก

1. ยึดม่ันตามหลัก 4 ประการคือ การมีวินัย สามัคคี กลาหาญ และทํางานหนัก 2. มุงม่ันสรางความเจริญรุงเรืองแกครอบครัวของตนเอง 3. ตองไมอาศัยในบานท่ีทรุดโทรมหักพัง ควรซอมแซมบานและมุงทํางานเพ่ือสรางบาน

ใหมใหเร็วท่ีสุด 4. ตองปลูกพืชผักไวบริโภคเองตลอดป เพื่อแกปญหาเร่ืองการขาดอาหาร และเพื่อ

ปองกันโรคตาฟางในเด็ก และสวนท่ีเหลือจากการบริโภคใหขาย 5. ชวงวางจากฤดูกาลเพาะปลูกจะตองปลูกพืชผักอยางอ่ืนเทาท่ีจะปลูกไดเพื่อเปนอาชีพ

เสริม 6. ตองวางแผนครอบครัว ควรลดคาใชจายและดูแลสุขภาพ 7. ใหการศึกษากับบุตรหลานของสมาชิก 8. ดูแลบุตรหลานและสภาพแวดลอมใหสะอาดอยูเสมอ 9. ใชสวมท่ีเหมาะสมเพื่อสุขอนามัย 10. มีแหลงน้ําดื่มท่ีสะอาด หากไมมี ใหตมน้ําหรือใชสารสม 11. ไมควรใหเด็กแตงงานเร็ว และไมจายหรือเรียกสินสอดใหเปนภาระแกครอบครัว45 12. พยายามหลีกเล่ียงการฟองรองกัน และหลีกเล่ียงขอขัดแยงท่ีจะเกิดข้ึน 13. พยายามขยายธุรกิจใหเติบโต เพื่อใหมีรายไดเพิ่มข้ึน 14. ยินดีชวยเหลือซ่ึงกันและกันไมวาผูชาย หรือผูหญิง 15. พรอมปรับปรุงระเบียบวินัยใหเหมาะสม 16. ยินดีเขารวมกิจกรรมทางสังคมอยางสมํ่าเสมอ

44 บทบัญญัติสิบหกประการน้ี ไดมาจากการประชุมรวมกับกลุมลูกหน้ีของธนาคารกรามีนถึงความตองการของลูกหน้ีทั้งหลาย ซึ่งสามารถรวบรวมเปน 16 ขอ ในป พ.ศ. 2527 <http://www.grameen.com/index.php?option=com_content&task=view&id=22&Itemid=109> 45ในธรรมเนียมการสมรสของบังกลาเทศ เจาสาวตองเปนฝายใหสินสมรสกับเจาบาว ซึ่งบางคร้ังกลายเปนสาเหตุสําคัญของการทะเลาะวิวาทและประทุษรายผูหญิง เมื่อฝายชายอยากไดสินสอดมากขึ้น แมรัฐบาลบังกลาเทศจะประกาศใหการเรียกรองสินสอดเปนเรื่องผิดกฎหมายก็ตาม แตธรรมเนียมน้ีก็ยังใชอยูแพรหลาย

Page 104: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

81

ในชวงระหวางการอบรมบทบัญญัติ 16 ประการ พนักงานของธนาคารจะสอนใหสมาชิกหัดเขียนช่ือของตนเองเพ่ือรับเงินกู เพราะสมาชิกใหมไมสามารถอานออกเขียนได หลังจากการเรียนรูบทบัญญัติ 16 ขอนี้ สมาชิกทุกคนของธนาคารกรามีนจะกลายเปนสมาชิกท่ีมีคุณภาพ ซ่ึงกิจกรรมเหลานี้ จะไมมีทางเกิดข้ึนกับลูกหนี้ของธนาคารพาณิชยท่ัวไป เนื่องจากธนาคารพาณิชยท่ัวไปมองวาเร่ืองเหลานี้ไมใชธุรกิจของพวกเขา

นโยบายอีกประการหนึ่งของธนาคารกรามีนท่ีตางจากองคกรพัฒนาอ่ืนๆ คือ ธนาคารกรามีนไมไดมุงเนนเรื่องการฝกอบรมทักษะใหกับชาวบานเชนเดียวกับองคกรพัฒนาอื่นๆ ทั่วไป เพราะดร.ยูนุสเช่ือวาการท่ีชาวบานมีชีวิตรอดมาไดก็แสดงวาพวกเขามีทักษะในการเอาตัวรอดอยูแลว ดังนั้นจึงไมตองไปเสียเวลาจัดฝกอบรมทักษะใหม แตควรชวยใหพวกเขามีเงินทุนเพื่อใหเขามีโอกาสใชทักษะท่ีมีอยูแลวนั้นไปใชไดอยางเต็มท่ี ไมวาจะเปนการสานตะกรา การเพาะปลูก การเล้ียงสัตว การรับจางถีบสามลอ เปนตน46 และเนื่องจากธนาคารกรามีนมีพื้นฐานอยูบนความสัมพันธแบบเช่ือใจของมนุษย ไมไดอยูท่ีการขูวาจะลงโทษตามกฎหมาย นโยบายของธนาคารกรามีนจึงอยูท่ีการมุงม่ันท่ีจะฟนฟูคนท่ีมีปญหาการใชหนี้ ไมใชการมุงลงโทษลูกหนี้ท่ีไมสามารถชําระหนี้ได

3.2.3 ลักษณะการดําเนินการ

ลักษณะการดําเนินการของธนาคารกรามีนที่ทําใหการบริการดานเงินทุนเขาถึงคนจนในหลายพื้นท่ีไดอยางท่ัวถึง คือ การไปหาลูกคาตามบานแทนท่ีจะใหลูกคาไปหาธนาคาร ดังนั้น สาขาของธนาคารกรามีนจึงต้ังอยูในชุมชนชนบท ซ่ึงตางจากธนาคารพาณิชยท่ัวไปที่พยายามต้ังสาขาในศูนยกลางธุรกิจและยานใจกลางเมือง จากรูปภาพท่ี 3.4 จะเห็นไดวาธนาคารกรามีนไดขยายสาขาโดยครอบคลุมหมูบานมากข้ึนทุกๆป โดยในป 2545 ครอบคลุม 41,636 หมูบาน และเพ่ิมข้ึนอยางรวดเร็วเกือบเทาตัวภายในระยะเวลา 6 ป (ในป 2551 เขาถึง 83,566 หมูบาน) จากรายงานประจําเดือนมกราคม 2552 ของธนาคารกรามีน ระบุวา ปจจุบันธนาคารมีสาขา 2,541 สาขา และครอบคลุมถึง 83,744 หมูบาน

จากรูปภาพท่ี 3.4 แสดงโครงสรางของธนาคารกรามีนและจํานวนหนวยใหบริการของธนาคารกรามีนและจํานวนสมาชิก ซ่ึงเพิ่มข้ึนทุกๆ ป การดําเนินการของแตละสวนเร่ิมข้ึนหลังจากสมาชิกในกลุมทําการคัดเลือกผูนํากลุม 1 คน (Group Leader) จากนั้นเม่ือสมาชิกแจงความจํานงขอกูเงินไปยังหัวหนากลุมแลว หัวหนากลุมจะรวบรวมความตองการเงินกูและแจงไปยังหัวหนาศูนย (Center Manager) เม่ือหัวหนาศูนยพิจารณาประวัติผูขอกูแลัว จึงจัดทําคําขอกูสงไปยังสาขา จากนั้น

46 ที่มา: วิทยากร เชียงกูล (2551) มูฮัมหมัด ยูนุส ธนาคารคนจนและรางวัลโนเบล. กรุงเทพ: สํานักพิมพสายธาร.

Page 105: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

82

สาขาจะรับคําขอกู ตรวจสอบและสงคําขอกูไปยังสํานักงานเขตเพ่ือพิจารณาอนุมัติ หลังจากเขตอนุมัติแลวก็จะพิจารณาจายเงินกูอนุมัติตามคําขอกูและแจงกลับไปยังสาขา เพื่อใหทางสาขานัดหมายสมาชิกผูนั้นใหมารับเงิน47

ในแตละสัปดาหพนักงานของธนาคารกรามีน ซ่ึงมีจํานวนประมาณ 24,240 คน จะเดินทางไปพบผูกูในพื้นท่ีท่ีอยูในความรับผิดชอบถึงบาน และมีการประชุมระหวางกันเกิดข้ึน เพื่อใหผูกูไดรับความสะดวกสบายในการทยอยชําระคืนเงินกู โดยชําระเงินตนเปนงวดๆ รายสัปดาห ทําใหจํานวนเงินท่ีตองชําระไมสูงมาก ถึงแมวาการเดินทางไปหาลูกหนี้ทุกๆ สัปดาหจะตองเสียคาใชจายในการบริหารจัดการคอนขางสูงก็ตาม แตธนาคารกรามีนก็ถือวาคุมคา เพราะนอกจากจะเปนการเอื้ออํานวยความสะดวกใหกับผูกูในการชําระหนี้แลว ทางธนาคารยังถือโอกาสการเขาพบผูกูในแตละสัปดาหนี้ตรวจสอบและติดตามสถานการณ เพื่อประเมินการใชเงินกูและศักยภาพของผูกูในการจายคืนภาระหนี้ ท้ังนี้เนื่องจากธนาคารไมไดเรียกรองหลักทรัพยคํ้าประกันใดๆ จากผูกูในการปลอยสินเช่ือ ดังนั้น การพบปะกับผูกูอยางสม่ําเสมอทุกๆ สัปดาหอยางใกลชิด จะชวยใหธนาคารเกิดความม่ันใจในความสามารถของผูกูท่ีจะชําระหนี้ได

รูปภาพท่ี 3.4

จํานวนสาขาของธนาคารกรามีนและจํานวนหมูบานท่ีครอบคลุม (ป 2519 - 2551)

05000

10000150002000025000300003500040000450005000055000600006500070000750008000085000

2519

2521

2523

2525

2527

2529

2531

2533

2535

2537

2539

2541

2543

2545

2547

2549

2551

ป (พ.ศ.)

จํานวนหมูบานท่ีครอบคลุม จํานวนสาขา

83,566

2,53

9

ที่มา: รายงานประจําปของธนาคารกรามีน

47 ที่มา: จากการสัมภาษณเจาหนาที่ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร และจากรายงานผลการศึกษาดูงานธนาคารกรามีนของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ระหวางวันที่ 17-21 พฤษภาคม 2551

Page 106: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

83

รูปภาพท่ี 3.5 โครงสรางของธนาคารกรามีน (ป 2551 – 2552)

ที่มา: * Dipal Chandra Barua, Deputy Managing Director, Grameen Bank, Paper presented at the ‘Globe Forum 2008’ as a Speaker held on 7-8 May 2008 in Stockholm. **Grameen Bank Monthly Update ประจําเดือนมกราคม ป 2552

ปจจัยและกระบวนการที่นําไปสูความสําเร็จของธนาคารกรามีน มีลักษณะเปนแบบธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) ซ่ึงจะมีการปรับปรุงแกไขอยางตอเนื่องแทบทุกป สามารถแบงไดเปน 3 ประการหลักๆ ดังตอไปนี้48

1. การยึดม่ันในเปาหมายท่ีจะเปนธนาคารพาณิชยท่ีแสวงหากําไร ไมใชองคกรการกุศล แมวาธนาคารกรามีนกอต้ังข้ึนเพื่อชวยเหลือคนจน แตธนาคารกรามีนก็ไมใชองคกรการ

กุศลท่ีบริจาคเงินใหกับคนจน ธนาคารกรามีนมีการปลอยสินเช่ือท่ีคิดดอกเบ้ียในอัตราดอกเบ้ียปกติ แตไมมีดอกเบ้ียทบตน และตองการเงินกูคืนจากลูกหนี้ ซ่ึงไมใชเงินใหเปลา โดยที่ความแตกตางของการใหบริการสินเช่ือระหวางธนาคารกรามีนกับธนาคารพาณิชยท่ัวไป คือ เปาหมายสูงสุดของการใหบริการ ธนาคารพาณิชยท่ัวไปมีเปาหมายหลักอยูท่ีการไดผลกําไรสูงสุด สวนเปาหมายของธนาคารกรามีนไมไดอยูที่ผลกําไร แตคือ การใหบริการทางการเงินแกคนจน โดยเฉพาะผูหญิง เพื่อชวยใหเขาตอสูกับความยากจน สามารถสรางรายไดเพื่อเล้ียงตนเองและครอบครัวและมีฐานะม่ันคง

48 สฤณี อาชวานันทกุล (2550) “บทความพิเศษ: มูฮัมหมัด ยูนุส ประเทศไทย และอนาคตไมโครเครดิต.” สารคดี, ฉบับที่ 264 (กุมภาพันธ). <http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=675>

สํานักงานใหญ (Head Office) – 1 แหง *

สํานักงานเขต (Zonal Office) – 40 แหง *

ภาค (Area Office) – 261 แหง *

สาขา (Branch Office) – 2,541 แหง **

ศูนย (Centre) – 141,301 แหง **

กลุมสมาชิก (Group) – 1,214,821 คน **

สมาชิก (Member) – 7.7 ลานคน **

Page 107: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

84

2. การสรางกระบวนการและกลไกตาง ๆ ท่ีเอ้ืออํานวยใหคนจนชําระหนี้ได เนื่องจากธนาคารกรามีนไมไดเรียกรองหลักประกันใดๆ จากคนจนในการปลอยสินเช่ือ

ดังนั้น จึงตองมีกระบวนการและกลไกท่ีจะชวยพัฒนาใหลูกหนี้ของเขาสามารถชําระหนี้ได นั่นคือ ระบบเครือขายกลุม หรือระบบอนุมัติเงินกูแบบกลุม (solidarity group) ซ่ึงแตกตางจากการขอกูแบบรายบุคคล ตรงท่ีคนจนท่ีตองการกูเงินจากธนาคารกรามีน จะตองรวมตัวกันเปนกลุมๆ ละ 5 คน และตางคนตางเปนผูคํ้าประกันเงินกูซ่ึงกันและกัน แทนการใชหลักทรัพยคํ้าประกัน ซ่ึงวิธีการขอกูแบบเปนกลุมนี้จะทําใหเพื่อนในกลุมชวยเหลือเกื้อกูลกันและเปนการใชแรงกดดันทางสังคมเพื่อสรางแรงจูงใจใหชําระหนี้ตรงเวลา นอกจากนี้ เงินกูท่ีธนาคารกรามีนใหกูในคร้ังแรกนั้นเปนเงินจํานวนนอย ท้ังนี้เพื่อใหลูกหนี้ในกลุมสามารถชําระหนี้ใหครบจํานวนตามเวลา เพื่อท่ีจะใหเพื่อนรวมกลุมท่ีเหลือไดรับเงินกูกอนตอไป ในชวงแรกของการกอต้ัง ธนาคารกรามีนมักปลอยเงินกูจํานวน 365 ตากาตอป (หรือประมาณ 183 บาท49) เพื่อใหผูกูชําระคืนเปนรายวัน วันละ 1 ตากา วิธีนี้จะทําใหงายตอผูกู และไมทําใหผูกูรูสึกวาเงินกูของธนาคารกรามีนเปนภาระมากเกินไป ปจจุบันเงินกูของธนาคารกรามีนมีระยะเวลา 1 ป ชําระคืนเงินตนรอยละ 2 ทุกสัปดาห ดอกเบ้ียรอยละ 20 ตอป

3. การใหการศึกษาและมอบอํานาจแกคนจน (Empowerment) การดําเนินธุรกิจของธนาคารกรามีนเปนแบบ “Trust-based Banking” นั่นคือ ธนาคารมี

ความเช่ือม่ันในศักยภาพของลูกหนี้ท่ีมีฐานะยากจนวา พวกเขาสามารถชําระหนี้คืนได แตเนื่องจากคนจนเหลานี้สวนใหญไมเคยรูจักวินัยในการใชเงิน วิธีการบริหารเงิน หรือลูทางในการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนั้น ธนาคารกรามีนจึงใหความสําคัญและทุมเทท้ังเงินและเวลา เพื่อชวยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนจนดวยวิธีการตางๆ เชน การใหสินเช่ือเพื่อการศึกษาดอกเบ้ียตํ่าสําหรับบุตรหลานของลูกหนี้ สินเช่ือท่ีอยูอาศัย สินเช่ือการประมง สินเช่ือระบบชลประทาน นอกจากนี้ ธนาคารกรามีนยังมีกฎใหลูกหนี้ออมเงินรอยละ 5 ของเงินกู ในบัญชีออมทรัพย กองทุนบํานาญ กองทุนประกันชีวิต และกองทุนฉุกเฉิน เปนตน

3.2.4 การบริหารจัดการการเงิน

ธนาคารกรามีน กอต้ังข้ึนดวยกฎหมายพิเศษ ดวยทุนจดทะเบียน 100 ลานตากา (ประมาณ 50 ลานบาท) ปจจุบันมีทุนจดทะเบียน 500 ลานตากา50 รัฐบาลบังกลาเทศเปนผูถือหุนในระยะ 49 สกุลเงินที่ใชในประเทศบังกลาเทศ คือ ตากา เมื่อเทียบคากับเงินบาทไทยโดยประมาณแลวเปนครึ่งหน่ึงของเงินบาท น่ันคือ 2 ตากาประมาณเทากับ 1 บาท 50 GRAMEEN BANK: Notes to the financial statements (2007). Retrieved November 06, 2008

Page 108: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

85

เร่ิมแรกกวารอยละ 60 แตก็ไดลดสัดสวนดังกลาวลงมาใหแกลูกหนี้ของธนาคารกรามีนในระยะตอมา เนื่องจาก ดร.ยูนุส มีความคิดวา ลูกหนี้ท่ีชําระคืนเงินกูตรงเวลา ควรไดรับสิทธิใหเปนผูถือหุน ธนาคารกรามีนจะไดเปนธนาคารของคนจนอยางแทจริง ปจจุบันลูกหนี้ของธนาคารกรามีนถือหุนรวมกันรอยละ 94.34 ของจํานวนหุนท้ังหมด สวนท่ีเหลืออีกรอยละ 5.66 เปนของรัฐบาลบังกลาเทศ คณะกรรมการของธนาคารกรามีนมีท้ังหมด 13 คน โดยกรรมการ 9 คน คัดเลือกมาจากลูกหนี้ของธนาคารกรามีนท่ีถือหุน และกรรมการที่เหลืออีก 3 คนเปนตัวแทนรัฐบาล อีก 1 คน คือ ดร.ยูนุส เอง51

จากระยะเวลาเร่ิมตนต้ังแตธนาคารกรามีนกอต้ังข้ึนจนถึงปจจุบัน ธนาคารกรามีนเติบโตอยางรวดเร็ว โดยมีเงินอยูในระบบประมาณ 223,080 ลานบาท มีจํานวนคนยากจนท่ัวประเทศกูเงินแลวประมาณ 6.5 ลานคน ประมาณรอยละ 97 ของผูกูท้ังหมดเปนผูหญิง52 โดยธนาคารกรามีนปลอยเงินกูเฉล่ียปละ 31,200 ลานบาท เฉพาะชวงป 2548 พบวา ธนาคารกรามีนปลอยเงินกู ประมาณ 27,534 ลานบาท มีอัตราการคืนเงินตนอยูท่ีรอยละ 98.24 และเปนสัดสวนท่ีมากกวาอัตราการคืนเงินตนของธนาคารพาณิชยท่ัวไป อยางไรก็ตาม ธนาคารพาณิชยท่ัวไปสามารถทํากําไรใหผูถือหุนไดรับผลตอบแทนสูงกวาธนาคารกรามีน เนื่องจากเปาหมายสูงสุดของธนาคารกรามีน คือ ประโยชนทางสังคม ไมใชผลกําไร ดังนั้น การที่ธนาคารกรามีนปลอยสินเช่ือใหคนยากจนผูไมรูหนังสือท่ีอาศัยอยูในชนบทหางไกล ยอมตองมีคาใชจายในการติดตามลูกหนี้ท่ีคอนขางสูง ตลอดจนความเส่ียงจากการผิดนัดชําระหนี้สูงกวาธนาคารพาณิชยท่ัวไป

ท้ังนี้ เพื่อเปนการบริหารความเส่ียงของธนาคาร และเพื่อสรางความม่ันคงดานการเงินใหแก

สมาชิก ธนาคารกรามีนไดกําหนดใหสมาชิกปกติของธนาคารกรามีนทุกคนมีการออมเงิน โดยบัญชีท่ีเปนบัญชีเงินออมมี 3 ประเภท53 ไดแก

1. เงินออมสวนตัว (Personal Saving Account) โดยใหฝากจํานวน 20 ตากาตอสัปดาห หรือ ประมาณ 10 บาทตอสัปดาห

2. เงินออมสะสมทรัพยเพื่อการเกษียณ (Pension Fund) ถือเปนเงินสะสมระยะยาว หากลูกหนี้ของธนาคารกรามีนขอสินเช่ือมากกวา 8,000 ตากา (138 เหรียญสหรัฐฯ) ข้ึนไป ธนาคารมีขอบังคับใหผูกูตองออมเงินไวในบัญชีสะสมทรัพยเพื่อการเกษียณอยางนอยเดือนละ 50 ตากา (0.86

< www.grameen-info.org/dmdocuments/Note%20to%20the%20Financial%20Statement2007.pdf> 51 GRAMEEN BANK: Notes to the financial statements (2007). Retrieved November 06, 2008 <www.grameen-info.org/dmdocuments/Note%20to%20the%20Financial%20Statement2007.pdf> 52 จากรายงานประจําเดือนตุลาคม 2551, ผูกูที่เปนผูหญิงมีจํานวน 7,347,227 คน และที่เปนผูชาย 238,426 คน (ดูจากภาคผนวก) 53 ที่มา: จากการสัมภาษณเจาที่ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรและจากรายงานผลการศึกษาดูงานธนาคารกรามีนของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ระหวางวันที่ 17-21 พฤษภาคม 2551

Page 109: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

86

เหรียญสหรัฐฯ) โดยกําหนดใหออมติดตอกันเปนระยะเวลา 10 ป หลังจากครบกําหนด 10 ป ผูฝากจะไดรับเงินสมทบจากธนาคารเปนจํานวนเกือบสองเทาของจํานวนท่ีผูฝากไดฝากไวเปนเวลา 120 เดือน นับวาโครงการนี้ไดรับความนิยมจากผูกูเปนอยางมาก ภายใตเงินสะสมประเภทนี้ ธนาคารกรามีนมียอดเงินฝากรวมมากกวา 100 ลานตากา (1.75 เหรียญสหรัฐฯ) ตอเดือน ซ่ึงทําใหธนาคารกรามีนมีสถานะทางการเงินท่ีสามารถพ่ึงตนเองได ในขณะเดียวกัน ผูกูเองก็รูสึกม่ันใจวาตนจะมีเงินออมไวใชในยามชรา 54

3. เงินออมเพ่ือประกันเงินกู (Loan Insurance Saving Fund) เปนเงินฝากท่ีเรียกเก็บจากตัวผูกูและคูสมรสจํานวนรอยละ 3 ของเงินกู เพื่อเก็บไวเปนบัญชีเงินฝาก และจะไดรับอัตราดอกเบ้ียรอยละ 12 ตอป โดยแยกดอกเบ้ียไปอยูในบัญชีกองทุนกลาง สําหรับวงเงินดอกเบ้ียท่ีอยูในบัญชีสวนกลางของธนาคารนี้ จะเปนวงเงินกันสํารองไวใชจายในกรณีท่ีผูกูคนใดคนหนึ่งตายจะไดใชเงินสํารองจากกองทุนดอกเบ้ียเงินฝากสวนกลางนี้ชําระหนี้ท้ังหมดใหแทน สําหรับเงินตนท่ีฝากไวก็จะตกเปนสิทธิของครอบครัวผูตาย

รูปภาพท่ี 3.6 จําแนกตามประเภทของเงินฝากโดยแสดงใหเห็นวา เงินออมสะสมทรัพยเพื่อการเกษียณระยะยาว 10 ป มีมูลคาสูงสุดในแตละป และมีอัตราการขยายตัวท่ีสูงข้ึนอยางตอเนื่อง สวนเงินฝากออมทรัพยและเงินออมเพ่ือประกันเงินกูก็มีอัตราการขยายตัวเพิ่มข้ึนเชนกัน

รูปภาพที่ 3.6

มูลคาเงินฝากของธนาคารกรามีน เฉพาะสมาชิกของธนาคาร ป 2548 – 2550

8 6 5

225142

349 436

289

1,530

1,119

702

438

0200400600800

1,0001,2001,4001,6001,800

2548 2549 2550

Mill

ions

ป (พ.ศ.)

( ลานตากา)

เงินฝากประจํา (Fixed Deposit)

เงินฝากออมทรัพย (SavingDeposit)

เงินออมสะสมทรัพยเพ่ือการเกษียณระยะยาว 10 ป (Grameenpension scheme -10 years)

เงินออมเพ่ือประกนัเงินกู (Loaninsurance savings fund)

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคารกรามีน

54 Yunus, Muhammad. “Grameen Bank II” Retrieved October 2, 2008 <http://www.grameen-info.org/index.php?option=com_content&task=view&id=30&Itemid=116&limit=1&limitstart=5>

Page 110: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

87

นอกจากผลิตภัณฑเงินฝากท่ีสําคัญท้ัง 3 ประเภทขางตนแลว ธนาคารกรามีนยังมีเงินฝากประเภทอ่ืนๆสําหรับสมาชิกอีกดวย ไดแก Polly phone deposit, Double in 7 years deposit, Monthly profit deposit scheme, Grameen pension scheme-5 year, Central emergency fund และ Central welfare fund เปนตน ดวยความหลากหลายของประเภทของเงินฝาก อัตราดอกเบ้ียเงินฝากของธนาคารกรามีนอยูระหวางรอยละ 8.5 – 12 ตอป ซ่ึงข้ึนอยูกับประเภทของเงินฝาก

3.2.5 การใหสินเชื่อ

ลักษณะการปลอยสินเช่ือท่ีทําใหธนาคารกรามีนมีอัตราสวนการคืนเงินสูงถึงรอยละ 98.5

หรือแทบจะเรียกไดวา ไมมีหนี้สูญเลย คือ การใหกูแบบกลุม (Solidarity Group หรือ Group Lending) โดยใหผูกูจับกลุมๆ ละ 5 คน จากนั้นสมาชิกในกลุมจะทําการคัดเลือกผูนํากลุม 1 คน (Group Leader) เพื่อใหบริการกลุมรวมกับหัวหนาศูนย (Center Manager) (กลาวไวในหัวขอ 3.2.3) และเม่ือสมาชิกตองการกูเงิน สมาชิกในกลุมทุกคนจะตองสัญญาวาจะปฏิบัติตามหลักบัญญัติของธนาคารทั้ง 16 ขอ55 ธนาคารจะประเมินผูขอกูเปนเวลาหนึ่งเดือนวาจะสามารถปฏิบัติตามหลักบัญญัติของธนาคารไดหรือไม หากพิจารณาแลววาสมาชิกในกลุมผานเกณฑปฏิบัติของทางธนาคาร จากนั้นธนาคารจึงเร่ิมปลอยกูใหแกสมาชิกสองในหาคนของกลุม เม่ือสองรายแรกน้ีเร่ิมชําระคืนเงินตนและดอกเบ้ียแลว อีกสามรายท่ีเหลือจึงจะมีสิทธิกูเงินจากธนาคาร แมวาสมาชิกในกลุมนั้นจะไมตองรับผิดชอบหนี้สินของสมาชิกคนอ่ืนๆในกลุมก็ตาม แตวิธีนี้ถือเปนการใชแรงกดดันทางสังคมจากสมาชิกท่ียังไมไดเงินกู เพื่อสรางแรงจูงใจใหสมาชิกท่ีกูไปแลวชําระหนี้ตรงตามเวลาท่ีกําหนด หรืออาจไดรับการชวยเหลือจากเพื่อนรวมกลุมใหชําระหนี้ใหไดดวย คนในกลุมจึงมีหนาท่ีดูแลซ่ึงกันและกัน เพื่อใหแตละคนใชเงินไดสําเร็จ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตใหดีข้ึนไปพรอมๆ กัน ดังนั้น แรงกดดันจากสมาชิกในกลุมนี้จึงทําหนาท่ีเสมือนหลักประกันสินเช่ือท่ีธนาคารไมไดเรียกรองกอนปลอยสินเช่ือแตอยางใด

จากรูปภาพท่ี 3.3 ในป 2550 จํานวนสมาชิกทั้งชายและหญิง รวมกันเปน 7.41 ลานคน แตหากพิจารณาจากรูปภาพท่ี 3.7 พบวา จํานวนลูกคาสินเช่ือมีประมาณ 6.15 ลานคน ท้ังนี้เนื่องจากผูท่ีเขามาเปนสมาชิกแตยังไมไดรับเงินกูจากทางธนาคารกรามีน ดวยเง่ือนไขท่ีวาตองใหสมาชิกสองคนแรกในกลุมชําระหนี้และปฏิบัติตามกฎของกรามีนกอน จากนั้นสมาชิกในกลุมคนถัดไปจึงจะไดรับสินเช่ือ และในชวงระยะเวลา 9 ปท่ีผานมา สินเช่ือของธนาคารกรามีนมีมูลคาเพิ่มข้ึน ดังแสดงในรูปภาพท่ี 3.8

55 อางถึงในหัวขอ 3.2.2

Page 111: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

88

รูปภาพท่ี 3.7 จํานวนลูกคาสินเชื่อของธนาคารกรามีน ป 2543 – 2550

จํานวนลูกคาสินเชื่อ (Number of Loanees)

0

1,000,000

2,000,000

3,000,000

4,000,000

5,000,000

6,000,000

7,000,000

2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550

ป (พ.ศ.)

จํานวน

( คน

)

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคารกรามีน

รูปภาพท่ี 3.8 มูลคาสินเชื่อของธนาคารกรามีน ป 2543 – 2551

มูลคาสินเชื่อ (ลานเหรียญสหรัฐฯ)

193.26 194.18 196.81

312.96

415.82

258.10

646.05

529.53471.19

0

100

200

300

400

500

600

700

2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551

ป (พ.ศ.)

ที่มา: “Grameen Bank at a glance” ประจําเดือนธันวาคม 2551

เนื่องจากเงินกูท่ีธนาคารกรามีนใหคร้ังแรกนั้นมีจํานวนนอย ลูกหนี้ในกลุมจึงตองชําระหนี้

ใหครบจํานวนกอน จากน้ันธนาคารกรามีนจึงจะสามารถอนุมัติเงินกูกอนตอไปได และในแตละสัปดาหจะมีการประชุมระหวางธนาคารและผูกูเพื่อใหผูกูทยอยชําระหนี้และฝากเงิน ซ่ึงการประชุมทุกสัปดาหนี้ถือเปนการตรวจสอบความสามารถในการชําระหนี้ของผูกูดวย

Page 112: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

89

การปลอยสินเช่ือโดยมีกระบวนการติดตามลูกหนี้ของธนาคารกรามีน นอกจากจะทําใหลูกหนี้ชําระหนี้ตรงเวลาแลว ยังสามารถปองกันปญหา Moral Hazard ท่ีมักเกิดข้ึนกับคนจนท่ีคิดวาเงินกูเปน “เงินใหเปลา” ไมจําเปนตองใชคืน คนจนประเภทนี้จะนําเงินกูไปใชจายในสินคาอุปโภคบริโภคที่ฟุมเฟอยแทนการลงทุนท่ีจะสามารถสรางรายไดและผลกําไร เพื่อนําเงินมาชําระดอกเบ้ียและเงินตนได ดังนั้น เม่ือถึงคราวท่ีตองชําระเงินกูคืน คนจนประเภทนี้ก็ไมมีเงินมาจายคืน โดยอางวาไดนําเงินกูไปลงทุนแลว และการลงทุนเกิดความเสียหายไมอาจสรางรายไดดังท่ีคาดการณไวได ความเส่ียงดาน Moral Hazard นี้เองท่ีทําให ดร.ยูนุส พยายามกีดกันบทบาทของภาครัฐอยางตอเนื่อง โดยการลดสัดสวนผูถือหุนของรัฐในธนาคารกรามีนใหเหลือนอยท่ีสุด ท้ังนี้เพราะหากภาครัฐมีบทบาทและมีอํานาจมากข้ึนในธนาคารกรามีนแลว อาจนําแนวคิดของธนาคารกรามีนไปใชในการหาเสียงกับคนจน ดวยการปลอยเงินกูโดยท่ีไมหวังเอาคืน หรือโฆษณาวาจะยกหนี้ให ซ่ึงมาตรการเหลานี้จะทําใหคนจนตองพึ่งพาเงินอุดหนุนจากรัฐไปเร่ือยๆ แทนท่ีจะหาวิธีชวยตัวเอง56

เนื่องจากธนาคารกรามีนปลอยสินเช่ือใหกับคนจน ซ่ึงตองเผชิญกับความเส่ียงสูงกวาธนาคารพาณิชยท่ัวไป และผูกูสวนใหญไมรูหนังสือ ทําใหดร.ยูนุสตองออกแบบเง่ือนไขเงินกูท่ีคอนขางยืดหยุน เชน ปลอยกูในจํานวนนอยแตเพียงพอท่ีจะชวยในการยังชีพ และไมมากพอท่ีจะเอาไปใชจายฟุมเฟอยเกินตัวได โดยคิดดอกเบ้ียในอัตราปกติ ไมมีดอกเบ้ียทบตน และสงพนักงานธนาคารไปเก็บเงินตามบาน แทนท่ีจะใหลูกหนี้เดินทางไปธนาคาร

ธนาคารกรามีนมีบริการผลิตภัณฑสินเช่ือ 4 ประเภท57 ซ่ึงแตละประเภทมีอัตราดอกเบ้ียเงินกูท่ีแตกตางกัน ดังนี้

1. สินเช่ือพื้นฐาน (Basic Loan) หรือ สินเช่ือพื้นฐานเพ่ือประกอบอาชีพสรางรายได

(Basic Income-generating Loan) เปนสินเช่ือท่ัวไปท่ีนําไปใชในการสรางรายได ซ่ึงรายไดนั้นจะนําไปใชเปนคาใชจายปกติท่ัวไป การชําระคืนเปนรายสัปดาห และระยะเวลาการชําระหนี้ข้ึนอยูกับการตกลงรวมกันระหวางผูกูกับธนาคาร โดยธนาคารจะเรียกเก็บอัตราดอกเบ้ียรอยละ 20 ตอป

2. สินเช่ือบาน (Housing Loan) เปนสินเช่ือท่ีจายเพ่ือสรางรายไดโดยมีเปาหมายชัดเจนวาผูกูตองการบาน ซ่ึงอาจเปนเพียงเพิงพักอาศัย และอาจใชเพื่อเปนสถานท่ีสําหรับประกอบอาชีพดวย โดยในป 2551 ธนาคารปลอยสินเช่ือ Housing Loans แลวจํานวน 6.5 ลานแหง อยางไรก็ตาม สมาชิก

56 ที่มา: สฤณี อาชวานันทกุล (2550) “บทความพิเศษ: มูฮัมหมัด ยูนุส ประเทศไทย และอนาคตไมโครเครดิต.” สารคดี, ฉบับที่ 264 (กุมภาพันธ 2550). <http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=675> 57 สถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย (2551) “องคกรทางการเงินระดับจุลภาคในตางประเทศและการเปรียบเทียบกับองคกรทางการเงินระดับจุลภาคของไทย” รายงานทีดีอารไอ. ฉบับที่ 57 (เมษายน 2551).

Page 113: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

90

ท่ีจะกูสินเช่ือบานไดตองผานข้ันตอนการกูสินเช่ือพื้นฐานมากอน โดยธนาคารจะเรียกเก็บอัตราดอกเบ้ียรอยละ 8 ตอป

3. สินเช่ือเพื่อการศึกษา (Higher Education Loan) เปนสินเช่ือท่ีใหการศึกษาต้ังแตระดับปริญญาตรีข้ึนไป จากขอมูลเดือนธันวาคม 2551 มีผูท่ีไดรับเงินกูประเภทนี้ท้ังส้ิน 30,948 คน โดยแบงเปนผูเขาศึกษาในมหาวิทยาลัยท่ัวไป จํานวน 29,278 คน ศึกษาในโรงเรียนแพทย จํานวน 338 คน ดานวิศวกรรมจํานวน 576 คน และสถาบันวิชาชีพตางๆ จํานวน 756 คน58 ท้ังนี้สินเช่ือเพื่อการศึกษาจะใหกูเฉพาะบุตรของสมาชิกเทานั้นโดยในชวง 5 ปแรกท่ีเรียน ทางธนาคารจะไมคิดดอกเบ้ียเลย แตจะเร่ิมเก็บอัตราดอกเบ้ียรอยละ 5 ตอป หลังจากเสร็จส้ินการศึกษาในระดับนั้นๆ แลว

4. สินเชื่อเพื่อผูยากไร (Struggling /Beggar Loan) มีขึ้นในป 2547 เปนสินเชื่อพิเศษท่ีไมมีหลักประกันและไมมีดอกเบ้ีย ซ่ึงผูยากไรในท่ีนี้ตองเปนผูท่ีมีรายไดตํ่ากวา 1 ตากาตอวัน (หรือประมาณ 50 สตางค) ไดแก คนขอทาน สินเช่ือประเภทนี้มุงหวังใหผูยากไรมีสภาพความเปนอยูท่ีดีข้ึน และสามารถกาวไปสูการเปนสมาชิกธรรมดาประกอบอาชีพท่ีกอใหเกิดรายไดม่ันคง โดยการขายขนม ลูกอม ของเลน เปนตน ปจจุบันมีคนขอทานเขามาเปนสมาชิกแลว 108,741 ราย โดยท่ีผานมาธนาคารปลอยกูไปแลวประมาณ 124.81 ลานตากา ซ่ึงในจํานวนนี้ไดมีการชําระหนี้แลว 91.60 ลานตากา (ขอมูล ณ เดือนธันวาคม 2551) สินเช่ือประเภทนี้จะมีลักษณะท่ีตางจากสินเช่ือประเภทอ่ืน คือ ผูกูผูยากไรไมตองปฏิบัติตามกฎของธนาคาร สามารถชําระเงินคืนทีละนอยในแตละสัปดาหได และผูกูทุกคนมีประกันชีวิตคุมครองโดยไมตองเสียคาใชจายใดๆ ท้ังส้ิน

สําหรับหลักเกณฑการใหสินเช่ือทุกประเภทมีขอกําหนดท่ีทําใหสมาชิกเขาใจไดงาย ตัวอยางเชน ผูกูสินเช่ือบานจะตองผานการกูข้ันพื้นฐานมากอน สินเช่ือทุกประเภทตองเปนสินเช่ือท่ีจายเพ่ือสรางรายไดเทานั้น และเม่ือมีรายไดแลว จากน้ันจึงนําเงินรายไดไปเปนคาใชจายหรือซ้ือบานตอไป เปนตน ดังรูปภาพที่ 3.9 กิจกรรมท้ัง 25 ประเภทท่ีผูกูนําเงินไปใชลวนกอใหเกิดรายไดท้ังส้ิน โดยการซื้อวัวนมเพื่อรีดน้ํานมขายเปนกิจกรรมอันดับหนึ่งท่ีมีสมาชิกนําสินเช่ือไปใชมากท่ีสุด รองลงมาคือ เพื่อการปศุสัตว (เล้ียงโค) และ เปดรานขายของชํา

การใหเงินกูจะมากหรือนอยข้ึนอยูกับผลงานของแตละสมาชิกในกลุม ประเภทของการกูและกําหนดการจายคืนจะยืดหยุนไดตามหลักการใหญ และในกรณีท่ีเปนเงินกูเพื่อการลงทุนสําหรับกิจการรายยอย (Microenterprise Loan) จะไมมีขอจํากัดของวงเงินท่ีขอกู ขนาดของเงินกูอาจเพิ่มไดตามโครงการท่ีลงทุน โดยเฉล่ียจะอยูท่ีประมาณ 23,978 ตากา (348.92 เหรียญสหรัฐฯ) โดยสวนใหญผูกูจะนําไปใชซ้ือรถบรรทุก เคร่ืองไถนา เคร่ืองปมน้ํา เรือสําหรับโดยสาร และประมง เปนตน

58 “Grameen Bank at a glance”, ฉบับเดือนธันวาคม 2551 <www.grameen-info.org>

Page 114: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

91

รูปภาพท่ี 3.9 กิจกรรม 25 อันดับแรกท่ีลูกคาของธนาคารกรามีนนําสินเชื่อไปใช ป 2550

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคารกรามีน (หนา 29)

ในป 2544 ธนาคารกรามีนไดปรับปรุงและออกแบบระบบการใหเงินกูใหม โดยเรียกวา

ธนาคารกรามีน 2 (Grameen Bank II)59 เพื่อเพิ่มความยืดหยุนใหแกผูกู ไมวาจะเปนการผอนชําระหน้ีท่ีนอยลงหรือระยะเวลาในการชําระหนี้ท่ียาวข้ึน โดยระบบใหมนี้ธนาคารกรามีนจะมีการใหกู 2 ประเภทหลักๆ คือ การใหเงินกูพื้นฐาน (Basic Loan) และเงินกูแบบยืดหยุน (Flexible Loan) ผูกูสวนใหญจะเร่ิมจากเงินกูพื้นฐาน ซ่ึงมีกําหนดการชําระหนี้ท่ีแนนอน หากลูกหนี้สามารถชําระหน้ีไดตามกําหนดและสมํ่าเสมอ ธนาคารจะเรียกเก็บอัตราดอกเบ้ียรอยละ 20 ตอป กรณีนี้ธนาคารกําหนดใหเปนเสนทางปรกติ (Grameen Micro-credit Highway) ดังรูปภาพท่ี 3.10 ซ่ึงลูกหนี้กลุมนี้สามารถเพ่ิมขนาดของเงินกูได แตหากลูกหนี้ประสบปญหาจนไมสามารถชําระหนี้คืนตามกําหนดได เชน ประสบภัยธรรมชาติ โรคภัยไขเจ็บ หรือปญหาครอบครัว ธนาคารจะผอนผันใหลูกหนี้กลุมนี้สามารถเปล่ียนเปนเงินกูยืดหยุน (Flexible Loan, Renegotiated Loan หรือ Rescheduled Basic Loan) กรณีนี้ธนาคารกําหนดอีกทางเลือกหนึ่งสําหรับลูกหนี้ หรือ Detour โดยธนาคารจะมีการทําสัญญาการกูเงินกับลูกหนี้ข้ึนมาใหม โดยปรับตารางการชําระหนี้ใหแกลูกหนี้ใหม

อยางไรก็ตามหากลูกหนี้สามารถกลับมาชําระหนี้ไดตามปกติ ลูกหนี้จะสามารถกลับมาใชเงินกูแบบพื้นฐาน หรือกลับเขามาในเสนทางปรกติไดอีกคร้ัง 60 59 ความแตกตางระหวางรูปแบบเดิมของธนาคารกรามีน 1 และรูปแบบใหมของธนาคารกรามีน 2 แสดงในภาคผนวก ค. 60 Yunus, Muhammad. “Grameen Bank II” Retrieved October 2, 2008 <http://www.grameen-info.org/index.php?option=com_content&task=view&id=30&Itemid=0&limit=1&limitstart=3>

Page 115: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

92

รูปภาพท่ี 3.10 แผนผังแสดงการเช่ือมตอกันระหวางสินเชื่อพ้ืนฐาน (Basic Loan) และสินเชื่อยืดหยุน (Flexi-loan)

ที่มา: http://www.grameen-info.org/index.php?option=com_content&task=view&id=30&Itemid=0&limit=1&limitstart=3

การกูแบบยืดหยุนของธนาคารกรามีน 2 นี้ทําใหผูกูไมรูสึกอับอายในชวงเวลาท่ีตนประสบ

ปญหาไมสามารถชําระหนี้ไดตามเสนทางปรกติ เพราะผูกูสามารถขอปรับโครงสรางหนี้พื้นฐานใหมได เชน ขอผอนชําระในปริมาณท่ีนอยลงในแตละคร้ัง โดยยืดระยะเวลาชําระหนี้ใหนานข้ึน ซ่ึงทายท่ีสุดแลววิธีใหมนี้ผูกูก็ยังคงตองใชหนี้พรอมดอกเบ้ียอยูดี อยางไรก็ตามการกูแบบยืดหยุนนี้จะทําใหผูกูคนนั้นถูกตัดสิทธิเครดิตวงเงินกู ท่ีไดสะสมมาเม่ือตอนอยูในเสนทางปรกติ แตหากกลับเขาไปเสนทางปรกติไดแลวก็จะสามารถเร่ิมสะสมวงเงินกูไดอีกคร้ัง

นอกจากนี้ ธนาคารกรามีนยังมีระบบการดูแลติดตามคุณภาพชีวิตของผูกูดวย เชน การใหทุนและสินเช่ือเพื่อการศึกษา รวมถึงติดตามสภาพท่ีพักอาศัย สุขอนามัย แหลงน้ําดื่มท่ีสะอาด และความสามารถในการรับมือกับภัยธรรมชาติและภาวะฉุกเฉินตางๆ ซ่ึงระบบกรามีนนี้ชวยลูกหนี้ใหสรางกองทุนบํานาญของตัวเองและชองทางออมเงินอ่ืนๆ ในกรณีท่ีลูกหนี้ลวงลับไป โดยธนาคารกรามีนจะไมเรียกรองใหครอบครัวผูตายชําระหนี้แทน แตจะเบิกเงินตนท้ังหมดพรอมดอกเบ้ียจากโปรแกรมประกันชีวิตท่ีเปนสวนหนึ่งของโครงสรางเงินกูอยูแลว สงผลใหครอบครัวของลูกหนี้ไมตองรับภาระผูกพันใดๆ ท้ังส้ิน61

61 Is Grameen Bank Different From Conventional Banks? (2008). Retrieved November 12, 2008 <http://www.grameen-info.org/index.php?option=com_content&task=view&id=27&Itemid=176>

Page 116: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

93

นอกจากการใหสินเช่ือระดับจุลภาคแกคนยากจนในชนบทแลว ธนาคารกรามีนยังมีโครงการและกิจกรรมตางๆ ท่ีเปนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนยากจนใหพนจากความยากจนและใหทัดเทียมคนท่ัวไปในสังคม ดวยการขยายกิจการ บริษัทเครือขาย กองทุน และมีกิจการดําเนินการในรูปแบบตางๆ62 ดังปรากฏในตารางท่ี 3.2 เครือขายธนาคารกรามีน มี 2 แบบ63 คือ

1. บริษัทท่ีต้ังอิสระ คือ มีการถือหุนตางหาก ธนาคารกรามีนไมไดถือหุน ไมไดใหกู หรือรับเงินกูจากบริษัทเหลานี้ บริษัทเหลานี้เปนบริษัทเพื่อแสวงหาผลกําไร มีการจดทะเบียนและเสียภาษีเหมือนบริษัทอ่ืนๆ ซ่ึงมีท้ังส้ิน 17 บริษัท โดยทํากิจการดานโทรศัพทและคอมพิวเตอร ส่ิงทอ การศึกษา การสงเสริมธุรกิจและการลงทุน บริษัทท่ีทํากําไรมากท่ีสุด คือ บริษัท Grameen Phone โดยมีสวนแบงตลาดมากท่ีสุดในบังกลาเทศ (60%)

2. บริษัทที่ธนาคารกรามีนจัดต้ังข้ึนเพื่อทําโครงการบางโครงการโดยมีวัตถุประสงคเพื่อการพัฒนาสังคมแบบไมมุงหาผลกําไร โดยธนาคารกรามีนรับประกันหรือเปนผูใหเงินกูสนับสนุนดวย ไดแก มูลนิธิพัฒนาการประมง (Grameen Fisheries and Livestock Foundation) กองทุนกรามีน (Grameen Fund) และการพัฒนาการศึกษา สาธารณสุข เทคโนโลยี

ตารางท่ี 3.2 เครือขายบริษัทของกรามีน (Grameen Family)

ชื่อบริษัท ปท่ีกอต้ัง วัตถุประสงค

Grameen Bank 2526 บริการทางการเงินใหแกคนยากจน

Grameen Trust www.grameentrust.org

2532 ฝกอบรม ชวยเหลือทางดานเทคนิค จัดสัมมนา สงเสริมการวิจัยเชิงปฏิบัติการ สนับสนุนดานเงินทุนใหกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคทั่วโลก

Grameen Krishi (Agriculture) Foundation

2534 ทดลองและจัดฝกอบรมการปรับปรุงแนวทางในการทําเกษตรกรรม เพ่ือใหไดรับผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามกําหนด คุมคาตอการลงทุน

Grameen Uddog (Enterprise) 2537 สงออกผลิตภัณฑหัตถกรรม Grameen Check ประเภทสิ่งทอ

ที่มา: Yunus, Muhammad (2007). “Creating a World Without Poverty: Social Business and the Future of Capitalism”, Public Affairs, pp. 78-79.

62 ที่มา: http://www.grameen-info.org/ 63 วิทยากร เชียงกูล. “มูฮัมหมัด ยูนุส ธนาคารคนจนและรางวัลโนเบล.” สํานักพิมพสายธาร 2551, หนา 130-131.

Page 117: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

94

ตารางท่ี 3.2 (ตอ) เครือขายบริษัทของกรามีน (Grameen Family)

ชื่อบริษัท ปท่ีกอต้ัง วัตถุประสงค

Grameen Fund http://www.grameen-info.org/grameen/gfund/index.html

2537 จัดหากองทุนรวมลงทุนที่ ต้ังใจลงทุนในกิจการเพ่ือสังคมใหแกผูประกอบการท่ีเพ่ิงจะเริ่มธุรกิจ

Grameen Motsho O Pashusampad (Fisheries and Livestock) Foundation www.gfish-livestock.com

2537 มุงพัฒนาการเล้ียงปลาแบบผสมผสาน การทําปศุสัตว และการผสมพันธุสัตว เพ่ือใหคนยากชนในชนบทและผูที่ไรที่ดินทํากินไดมีสวนรวมในการสรางประโยชนใหกับตนเองและสังคม

Grameen Telecom www.grameentelecom.net.bd

2538 ใหบริการทางดานโทรคมนาคมแกคนยากจน

Grameen Shamogree (Products) 2539 จัดจําหนายผลิตภัณฑหัตถกรรม Grameen Check ประเภทสิ่งทอและอื่นๆ ภายในประเทศ

Grameen CyberNet www.citechco.net

2539 ใหบริการอินเตอรเน็ต รวมถึงฮารดแวร ซอฟทแวร และคําแนะนําเก่ียวกับเว็บเพจ

Grameen Shakti (Energy) www.gshakti.org

2539 เปนแหลงพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนใหกับชนบทในบังกลาเทศ เน่ืองจากพลังงานทดแทนอยูในราคาถูกซึ่งจะชวยลดภาระคาใชจายของคนจน

GrameenPhone www.grameenphone.com

2539 บริษัทกรามีนโฟน กอต้ังโดยความรวมมือระหวางธนาคารกรามีนกับเทเลนอร (Telenor) บริษัทโทรคมนาคมยักษใหญของนอร เวย โดยขายและใหบริการโทรศัพทมือถือราคาถูกใหแกชาวบาน โดยเฉพาะในชนบท เพ่ือนําไปขายบริการเปนโทรศัพทสาธารณะในหมูบาน

Grameen Kalyan (Welfare) www.grameenkalyan.org

2539 ใหบริการดานสุขภาพและสวัสดิการแกสมาชิกและพนักงานของธนาคารกรามีน

Grameen Shikkaha (Education) http://www.grameen-info.org/grameen/gshikkha/

2540 ใหทุนการศึกษาและความชวยเหลือดานตางๆแกนักเรียนที่ฐานะทางบานยากจน

ที่มา: Yunus, Muhammad (2007). “Creating a World Without Poverty: Social Business and the Future of Capitalism”, Public Affairs, pp. 78-79.

Page 118: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

95

ตารางท่ี 3.2 (ตอ) เครือขายบริษัทของกรามีน (Grameen Family)

ชื่อบริษัท ปท่ีกอต้ัง วัตถุประสงค

Grameen Communications www.grameencommunications.com

2540 ใหบริการอินเตอรเน็ตและการประมวลขอมูล

Grameen Knitwear www.grameenknitwear.com

2540 ผลิตสิ่งทอเพ่ือการสงออก เปนการสรางงานใหกับคนในทองถ่ิน

Grameen Capital Mgmt. 2541 เนนดานการบริการจัดการลงทุน Grameen Solutions www.grameensolutions.com

2542 บริการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบโปรแกรมที่ ใชบนเ ว็บไซตและเครือข ายอินเตอรเน็ตใหแกธุรกิจ

Grameen IT Park 2544 พัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกในสํานักงานดวยเทคโนโลยีสมัยใหม

Grameen Byabosa Bikash (Business Promotion) www.grameenbb.org

2544 จัดหาการค้ําประกันสินเช่ือ (Loan guarantees) สําหรับธุรกิจขนาดเล็ก

Grameen Information Highway Ltd. 2544 ใหบริ ก า รระบบ เ ช่ื อมต อและส งข อมู ล (Data connectivity) และการเขาถึงอินเตอรเน็ต

Grameen Star Education www.grameenstar.com

2545 จัดฝกอบรมดานเทคโนโลยีสารสนเทศ

Grameen Bitek www.grameenbitek.com

2545 ผลิตสินคาอิเล็กทรอนิกส

Grameen Healthcare Trust 2549 จัดหากองทุนใหแก Grameen Health Care Services Grameen Health Care Services 2549 ใหบริการดานสุขภาพแกคนยากจน Grameen Danone 2549 จัดใหมีอาหารท่ีใหคุณคาทางโภชนาการที่คนยากจน

มีกําลังพอท่ีจะซื้อได

ที่มา: Yunus, Muhammad (2007). “Creating a World Without Poverty: Social Business and the Future of Capitalism”, Public Affairs, pp. 78-79.

Page 119: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

96

3.2.6 ผลการดําเนินการ นับต้ังแตกอต้ังจนถึงปลายป 2549 ธนาคารกรามีนปลอยเงินกูไปแลว 347.75 พันลานตากา

(6.5 พันลานเหรียญสหรัฐฯ) ใหแกผูยากไรจํานวนกวา 6.15 ลานครัวเรือนในบังกลาเทศ ปจจุบันธนาคารกรามีนมีสาขาท้ังส้ิน 2,541 แหงท่ัวประเทศ ซ่ึงใหบริการครอบคลุมหมูบานกวา 83,700 แหง และไดรับชําระหนี้คืนแลว 313.11 พันลานตากา (5.87 พันลานเหรียญสหรัฐฯ) หนี้ท่ีปลอยปจจุบัน 34.64 พันลานตากา (504.26 ลานเหรียญสหรัฐฯ) ธนาคารกรามีนมีอัตราการใชหนี้คืนราวรอยละ 98 ของผูกู (หนี้เสียรอยละ 2 ของสินเช่ือท้ังหมด) ซ่ึงอยูในระดับท่ีถือวาดีมาก ในป 2538 ธนาคารกรามีนประสบความสําเร็จในการออกหุนกูจํานวนกวา 5,400 ลานตากา เพื่อระดมทุนจากธนาคารพาณิชยตางๆ ในบังกลาเทศมาชําระคืนเงินกูจากธนาคารกลาง เพื่อใชเปนทุนหมุนเวียนของธนาคารกรามีน และยังระดมทุนจากภาคธุรกิจมาใชในโครงการเพื่อสังคมตางๆ ความสําเร็จคร้ังนี้เปนเคร่ืองพิสูจนวา รูปแบบการปลอยกูของธนาคารกรามีนสามารถอยูไดดวยกระแสเงินสดจากการดําเนินงานเปนสวนใหญ และสามารถระดมทุนจากตลาดเงินไดเอง โดยไมตองพึ่งพาเงินกูดอกเบ้ียตํ่าจากภาครัฐอีกตอไป

ธนาคารกรามีนทํากําไรไดทุกป ยกเวนปกอต้ัง 2526 ท่ีมีการโอนกิจการมาจากโครงการรวมมือธนาคารพาณิชยของรัฐ และป 2534-2535 ซ่ึงเปนผลกระทบจากภัยธรรมชาติคร้ังใหญ ในป 2549 ธนาคารทํากําไรได 1,398 ลานตากา (20 ลานเหรียญสหรัฐฯ) เงินกําไรสวนนี้ของธนาคารกรามีนจะถูกโอนเขากองทุนเพื่อการฟนฟูในยามเกิดภัยพิบัติตามเง่ือนไขท่ีกําหนดโดยรัฐบาล เพื่อใหรัฐบาลยกเวนการเก็บภาษีนิติบุคคลแกธนาคารกรามีน64 อยางไรก็ตาม จากรูปภาพท่ี 3.11 จะเห็นไดอยางชัดเจนวา กําไรของธนาคารในป 2550 ลดลงจากป 2549 มาก กลาวคือ จาก 1,398 ลานตากา (20 ลานเหรียญสหรัฐฯ) ในป 2549 ลดลงเปน 106.91 ลานตากา (1.56 ลานเหรียญสหรัฐฯ) ท้ังนี้มีสาเหตุหลัก 2 ประการ65 ประการแรก คือ การประสบปญหาอุทกภัยคร้ังใหญ 2 คร้ัง ในป 2550 ในเกือบทุกภูมิภาคของประเทศบังกลาเทศ ซ่ึงสงผลใหผูกูของธนาคารกรามีนไมสามารถชําระเงินกูไดตรงตามเวลาท่ีกําหนดและสงผลกระทบใหผูกูของธนาคารทั้ง 398 สาขาภายใต 7 สํานักงานเขต ตองประสบปญหาการชําระหนี้คืน และประการท่ีสอง คือ ผลกําไรจากโครงการโทรศัพทมือถือในชนบทท่ีลดลง เนื่องจากการแขงขันท่ีเพิ่มสูงข้ึนในตลาดเปนสําคัญ

64 ที่มา: วิทยากร เชียงกูล (2551) มูฮัมหมัด ยูนุส ธนาคารคนจนและรางวัลโนเบล. กรุงเทพ: สํานักพิมพสายธาร.หนา 128-129. 65 จากการสัมภาษณ Mr.Dulal C Kar รองผูจัดการแผนกการบัญชีและการเงินของธนาคารกรามีน

Page 120: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

97

รูปภาพท่ี 3.11 ผลกําไรของธนาคารกรามีน ป 2534 – 2550

ผลกําไร (ลานเหรียญสหรัฐฯ)

0.211.572.15

-0.15

-0.01 2.15 0.24 0.54 0.37 0.46

1.56

20.00

15.21

7.006.15

1.05 1.03

-5

0

5

10

15

20

2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550

ป (พ.ศ.)

ที่มา: รายงานประจําปของธนาคารกรามีน

รูปภาพท่ี 3.12

มูลคาทรัพยสินรวมของธนาคารกรามีน ป 2545 – 2550

มูลคาทรัพยสินรวม (ลานเหรียญสหรัฐฯ)

849.42

1,004.87

464.38360.78

558.00 678.28

0

200

400

600

800

1,000

1,200

2545 2546 2547 2548 2549 2550

ป (พ.ศ.)

ที่มา: รายงานประจําปของธนาคารกรามีน

ในสวนของฐานะทางการเงินของธนาคารกรามีน พบวาอยูในเกณฑท่ีดี จากขอมูลสถิติแสดงในรูปภาพที่ 3.12 ช้ีใหเห็นวา มูลคาสินทรัพยธนาคารกรามีนมีมูลคาเพิ่มข้ึนทุกป โดยในป 2550 ธนาคารกรามีนมีสินทรัพยรวมมูลคาท้ังส้ิน 1,004.87 ลานเหรียญสหรัฐฯ ซ่ึงมากกวามูลคาทรัพยสินรวมของธนาคารในป 2546 ถึงสองเทา

Page 121: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

98

ในทุกๆ ป การเงินและบัญชีของธนาคารกรามีนจะมีการตรวจสอบโดยบริษัทตรวจสอบบัญชี เพื่อเปนหลักประกันวาไมมีการร่ัวไหลของเงินกูจากธนาคารถึงมือผูยากจน นอกจากนี้ในแตละปพนักงานของธนาคารกรามีนจะเดินทางไปพบสมาชิก เพื่อตรวจสอบสภาพทางดานสังคมเศรษฐกิจของสมาชิกเหลานี้วามีการพัฒนาหรือไม และประเมินผลดูวามีกี่ครัวเรือนท่ีหลุดพนจากความยากจนไดแลว โดยใช “ดัชนีช้ีวัดการพนความยากจน 10 ขอ” (10 Indicators)66 ซ่ึงไดแก

1. สมาชิกในครอบครัวอาศัยในบานท่ีมีมูลคาอยางนอย 25,000 ตากา หรือ เปนบานท่ีมีหลังคาและสมาชิกในครอบครัวทุกคนไดนอนบนเตียงแทนการนอนพ้ืน

2. มีแหลงน้ําดื่มท่ีสะอาด ใชน้ําตม หรือน้ําแกวงสารสม 3. บุตรหลานทุกคนในครอบครัวท่ีมีความพรอมทางกายภาพและสติปญญาท่ีมีอายุเกิน 6

ขวบ ตองไดเขาเรียนหรือสําเร็จการศึกษาระดับช้ันประถมศึกษา 4. ในแตละสัปดาห ลูกหนี้ตองมีเงินชําระหนี้อยางนอย 200 ตากา 5. บานตองมีสวมท่ีถูกสุขลักษณะ 6. สมาชิกในครอบครัวจะตองมีเส้ือผาสวมใสเพียงพอ มีเส้ือหนาวในฤดูหนาว มีผาหม

และมุง เพื่อกันยุง 7. มีแหลงท่ีมาของรายไดเสริม เชน รายไดจากการปลูกผัก ผลไม เพื่อท่ีสามารถหา

รายไดเพิ่มในยามคับขัน 8. มีบัญชีเงินออมโดยเฉล่ียตอปประมาณ 5,000 ตากา 9. สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีอาหารครบหาหมู 3 ม้ือตอวัน ตลอดท้ังป 10. สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีความตระหนักในเร่ืองสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพ

ซ่ึงกันและกันไดในยามเจ็บปวย ไมวาจะเปนการไดรับการรักษาท่ีทันทวงทีและสามารถจายคายารักษาพยาบาลได

หากลูกหนี้ของธนาคารกรามีนมีสภาพความเปนอยูและมีคุณสมบัติครบตาม 10 ขอขางตน ถือวาลูกหนี้ผูนั้นหลุดพนจากความยากจนแลว ซ่ึงปจจุบัน พบวา กวารอยละ 63 ของลูกหนี้ของธนาคารกรามีนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองจนหลุดพนจากความยากจนไดแลว (รูปภาพท่ี 3.13)

จากผลการตรวจสอบต้ังแตป 2540 พบวา ในแตละปจํานวนคนยากจนท่ีหลุดพนจากความยากจนมีจํานวนเพ่ิมข้ึนอยางตอเนื่อง โดยในป 2548 พบวา ประมาณรอยละ 58 ของลูกหนี้ธนาคารกรามีนหรือคิดเปนจํานวนลูกหนี้ของธนาคารประมาณ 3 ลานกวาคน สามารถหลุดพนจากความยากจนได ซ่ึงถือเปนผลสําเร็จอยางสูงของธนาคาร เนื่องจากประเทศบังกลาเทศเคยถูกจัดเปนประเทศท่ียากจนท่ีสุดของโลก ดังนั้น ผลงานของดร.ยูนุส และธนาคารกรามีน จึงเปนการชวย

66 ที่มา: http://www.grameen.com/index.php?option=com_content&task=view&id=23&Itemid=126

Page 122: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

99

ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนยากจนและชวยยกสถานะชีวิตความเปนอยูของพวกเขาใหหลุดพนเสนความยากจน ดร.ยูนูสไดทาคนท้ังโลกวา ถาในป 2573 (ค.ศ. 2030) ใครพบความยากจนในประเทศบังกลาเทศ ดร.ยูนุส พรอมจายเงินใหทันที 1 ลานเหรียญสหรัฐฯ67

รูปภาพท่ี 3.13 อัตราสวนของผูกูท่ีสามารถหลุดพนจากเสนความยากจนได (ป 2540 – 2550)

โดยวัดจาก “ดัชนีชี้วัด 10 ขอ” ของกรามีน (10 Indicators)

20.4%

42.0%

58.4%

46.5%

65.5%

40.0%

15.1%

24.1%

51.1%55.0%

63.6%

0%

10%

20%

30%

40%

50%

60%

70%

2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550

ป (พ.ศ.)

ที่มา: Dipal Chandra Barua (2008) ”Grameen Bank.” Paper presented at the Workshop on Extending Pension Coverage to Informal Sector Workers in Asia jointly Organized by the Government Pension Fund, Thailand and the World Bank , held on Nov 30 to Dec 1, 2006 in Bangkok, Thailand. Also, presented at the ‘Globe Forum 2008’ as a Speaker held on 7-8 May 2008 in Stockholm.

นอกจากธนาคารกรามีนจะเปนธนาคารเพ่ือคนจนท่ีปลอยกูโดยไมตองมีหลักประกัน

หากแตประสบความสําเร็จดวยอัตราการชําระคืนเงินกูสูงถึงรอยละ 98 แลว ธนาคารยังเปนสถาบันท่ีชวยสงเสริมคุณภาพชีวิตของผูคนในประเทศบังคลาเทศใหดีข้ึนในทุกดาน และทําใหเกิดความเปล่ียนแปลงในสังคม ตัวอยางเชน ผลจากการประชุมระหวางพนักงานของธนาคารกรามีนกับกลุมสมาชิกในทุกๆ สัปดาห ทําใหสมาชิกท่ีเปนผูหญิงมีสวนรวมในกิจกรรมตางๆ ในสังคมมากข้ึน ซ่ึง

67 “กรามีนแบงก ทาพิสูจน ยินดีจาย 1 ลานดอลลาร ถาป 2030 พบความยากจนในบังกลาเทศ.” ดอกเบี้ยธุรกิจ. 7 กรกฎาคม 2551 <http://www.dbbnews.com/index.php/2008-06-30-11-46-04/money-news-passed/142-2008-07-06-16-46-10>

Page 123: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

100

เปนเสริมสรางความมั่นใจใหกับผูหญิงเหลานี้68 สงผลใหประชาชนท่ียากจนสามารถพัฒนาภาวะผูนําและมีความตระหนักของตนเองในการเลือกต้ังในระดับตางๆ เพิ่มข้ึนดวย69 ปจจัยหนึ่งท่ีสําคัญท่ีทําใหธนาคารกรามีนประสบความสําเร็จ คือ ความเพียร อุตสาหะ และความต้ังใจ บวกกับความมุงม่ันของพนักงานท่ีตองการจะเห็นคนยากจนไดมีชีวิตความเปนอยูท่ีดีข้ึน ดวยโครงสรางและการบริหารจัดการของธนาคารกรามีนที่เนนการสรางความสัมพันธที่ใกลชิดระหวางพนักงานกับลูกคา โดยเฉพาะอยางยิ่งผูจัดการศูนยซ่ึงเปนคนสําคัญท่ีจะเขาไปดูแล ตรวจเยี่ยม ติดตามการรับฝากเงินและรับชําระคืนเงินกูในทุกๆ สัปดาห ลักษณะการทํางานจะรวมกันทําโดยเปรียบเสมือนเปนทีมเดียวกันระหวางผูจัดการศูนย หัวหนากลุมและสมาชิก แมวาลูกคาจะเปนสตรี และขอจํากัดสิทธิสตรีมุสลิมทางศาสนาท่ีกําหนดใหสตรีมีบทบาทเพียงในครัวเรือน แตธนาคารกรามีนไดดึงเอาศักยภาพความรูความสามารถของสมาชิกใหสามารถทํางานสรางรายได สรางกลุมเขมแข็งและสรางคุณภาพชีวิตท่ีดีข้ึนไดดวยตนเอง ดังนั้นธนาคารกรามีนจึงใหความสําคัญกับผูจัดการศูนย การคัดเลือกจะตองเลือกจากคนในพ้ืนท่ีและผานการคัดสรรแลววามีความเสียสละ มีจิตใจรักท่ีจะชวยเหลือดูแลผูอื่น โดยตําแหนงแลวผูจัดการศูนยมีรายไดเงินเดือนนอยกวางานท่ีรับผิดชอบ ดังนั้น แรงจูงใจจึงตองทําในรูปอ่ืน เชน การยกยองเชิดชู มอบรางวัล เปนตน70

พนักงานของธนาคารกรามีนในแตละสาขาท่ีสามารถปฏิบัติหนาท่ีจนบรรลุผลตามเกณฑท่ีระบุไวขางลางจะไดรับสัญลักษณรูปดาวจําแนกตามสีตางๆ ซ่ึงพวกเขาสามารถติดโชวบนเส้ือท่ีสวมใส เพื่อใหผูอ่ืนทราบวาพวกเขาปฏิบัติหนาท่ีไดดีในระดับไหน ซ่ึงวธีินีถื้อเปนแรงจงูใจอยางหน่ึงท่ีจะทําใหพนักงานของธนาคารไดมีความภาคภูมิใจและเต็มท่ีกับการทํางาน จากขอมูลสถิติพบวา ในป 2549 ประมาณ 2,079 สาขาของธนาคารกรามีน หรือประมาณ 90% ของสาขาทั้งหมด และ พนักงานจํานวน 12,359 คน (80%) ไดรับสัญลักษณรูปดาวอยางนอย 1 ดวง71

68 Md. Abul Basher. “Empowerment of Microcredit Participants and its Spillover Effects: Evidence from the Grameen Bank of Bangladesh”, Journal of Developing Areas, 40(2), pp. 173-183, 2007. 69 “นักบริหารความจน ดร.มูฮัมหมัด ยูนุส.” หนังสือพิมพกรุงเทพธุรกิจ. 21 เมษายน พ.ศ.2550 < http://www.bangkokbiznews.com/2007/04/21/WW06_0609_news.php?newsid=65018> 70 ที่มา: จากการสัมภาษณเจาหนาที่ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรและรายงานผลการศึกษาดูงานธนาคารกรามีนของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร ระหวางวันที่ 17-21 พฤษภาคม 2551 71 Dipal Chandra Barua (2007) “Grameen Bank.” Paper presented at the ICAO international Seminar organized by National Agricultural Cooperative Federation held on October 17, 2007 in Singapore.

Page 124: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

101

รูปภาพท่ี 3.14 สาขาและพนักงานสาขาของธนาคารกรามีนท่ีไดรับสัญลักษณรูปดาวท้ัง 5 สี

สัญลักษณรูปดาวจําแนกตามสีตางๆ เพื่อบงบอกถึงความสําเร็จตามเปาหมายน้ันๆ (‘Star’ for Achievements)

ดาวสีเขียว ในกรณีท่ีสาขานั้นมีประวัติการชําระหนี้คืน 100% ดาวสีฟา ในกรณีท่ีสาขานั้นสามารถทํากําไรได ดาวสีมวง ในกรณีท่ีสาขานั้นมีเงินฝากมากกวาสินเช่ือคงคาง ดาวสีน้ําตาล ในกรณีลูกทุกคนของสมาชิกของสาขานั้นเขารับการศึกษาในโรงเรียน

หรืออยางนอยจบการศึกษาช้ันประถม ดาวสีแดง ในกรณีผูกูทุกคนของสาขานั้นพนเสนความยากจน โดยประเมินจาก

“ดัชนีช้ีวัดการพนความยากจน 10 ขอ (10 Indicators)”

Page 125: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

102

3.2.7 ผลจากการดําเนินการของการใหสินเชื่อระดับจุลภาคในประเทศบังกลาเทศ จากการทบทวนการศึกษาตางๆ ช้ีใหเห็นวาการดําเนินการใหสินเช่ือในระดับจุลภาคใน

ประเทศบังกลาเทศมีผลกระทบตอสภาพแวดลอมทางเศรษฐกิจและสังคมหลายดานดวยกัน โดยสรุปผลกระทบของการใหสินเช่ือระดับจุลภาคของประเทศบังกลาเทศตอครัวเรือนในประเทศบังกลาเทศ มีดังตอไปนี้

รายจายตอหัว (Per capita expenditure): ผลกระทบตอรายจายตอหัวเปนผลกระทบท่ี

ครัวเรือนมักไดรับจากการขอสินเช่ือระดับจุลภาค โดยจากการศึกษาของ Pitt and Khandker (1996) พบวา ครัวเรือนท่ีไดรับสินเช่ือระดับจุลภาคจะมีรายจายตอหัวเพิ่มข้ึน โดยจะมีนัยสําคัญตอครัวเรือนท่ีมีผูหญิงเปนผูขอกู โดยการเพ่ิมข้ึนรอยละ 10 ของสินเช่ือระดับจุลภาคท่ีใหกับผูหญิงจะสงผลทําใหการใชจายตอสัปดาหของครัวเรือนเพิ่มข้ึนรอยละ 0.43 สําหรับกลุมลูกคาของธนาคารกรามีน และเพิ่มข้ึนรอยละ 0.39 สําหรับกลุมลูกคาของ BRAC ซ่ึงเปนอัตราท่ีเพิ่มสูงข้ึนเปนสองเทาเม่ือเทียบกับการที่ผูขอกูเปนเพศชาย สาเหตุสําคัญมาจากการที่ผูหญิงมักไมมีบทบาทสําคัญในตลาดแรงงานและไมสามารถทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพเทากับผูชาย นอกจากนี้ ผูหญิงยังมีความโนมเอียงในการบริโภค (Propensity to consume) ท่ีสูงกวาผูชายอีกดวย

มูลคาสุทธิ (Net worth): จากการศึกษาของ Pitt and Khandker (1996) พบวา ลูกคาสินเช่ือรายยอยจะมีมูลคาสุทธิ (Net Worth) เพิ่มข้ึนรอยละ 72 โดยเฉพาะกับกลุมลูกคาผูชาย โดยผลการศึกษา พบวา การเพิ่มข้ึนรอยละ 10 ของสินเช่ือระดับจุลภาคของ BRAC ท่ีใหกับผูชายจะสงผลทําใหครัวเรือนมีมูลคาสุทธิเพิ่มข้ึนประมาณรอยละ 0.2 ในขณะท่ีมูลคาสุทธิของสินเช่ือท่ีใหกับลูกคาผูหญิงจะเพิ่มข้ึนเพียงแครอยละ 0.09 เทานั้น ในขณะท่ีสินเช่ือระดับจุลภาคจากธนาคารกรามีนจะสงผลกระทบตอการเพ่ิมข้ึนของความม่ังค่ังสุทธิของผูหญิงและผูชายในสัดสวนท่ีเทาๆ กัน คือ รอยละ 0.14 (ผูหญิง) และรอยละ 0.15 (ผูชาย) สาเหตุสําคัญอาจจะมาจากการที่ลูกคาสวนใหญของธนาคารกรามีนเปนกลุมลูกคาผูหญิงมากกวาผูชาย

ผูหญิง (Women): เนื่องจากผูหญิงมักจะมีโอกาสในการเขาถึงแหลงเงินทุนนอยกวาผูชาย วัตถุประสงคท่ีสําคัญประการหนึ่งของระบบการเงินในระดับจุลภาคก็คือ การสรางโอกาสแกผูหญิงใหมีโอกาสเทาเทียมกับผูชาย จากการศึกษาพบวา การเงินระดับจุลภาคของประเทศบังกลาเทศจะชวยสรางโอกาสใหผูหญิงสามารถมีในการทํางานประเภท Self-Employment โดยเฉพาะกับผูหญิงบังกลาเทศท่ีอยูในแถบชนบท งานประเภท Self-Employment นี้เปนงานท่ีผูหญิงสามารถทําไดท่ีบาน โดยไมกระทบตอภาระในการดูแลครอบครัวแตอยางใด การศึกษาของ

72 มูลคาสุทธิ (Net Worth) ในที่น้ีคือ มูลคาของทรัพยสินในปจจุบันหักดวยมูลคาเงินกู

Page 126: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

103

Pitt and Khandker (1996) พบวา การเพิ่มข้ึนรอยละ 10 ของสินเช่ือรายยอยของลูกคาผูหญิงจะสงผลทําใหผูหญิงเขาสูตลาดแรงงานเพิ่มข้ึนรอยละ 0.1 สําหรับกลุมลูกคาธนาคารกรามีน และเพิ่มข้ึนรอยละ 0.07 สําหรับกลุมลูกคาของ BRAC

โอกาสในการศึกษา (Schooling): สินเช่ือระดับจุลภาคสงผลกระทบโดยตรงตอการเพิ่มโอกาสในการศึกษาของครัวเรือนในประเทศบังกลาเทศ โดยเฉพาะกับเด็กผูชาย จากการศึกษาของ Pitt and Khandker (1996) พบวา รอยละ 1 ของการเพิ่มข้ึนของสินเช่ือระดับจุลภาคแกลูกคาของธนาคารกรามีนท่ีเปนผูหญิงจะสงผลตอการเพ่ิมข้ึนของความนาจะเปนในการศึกษาของเด็กผูชายประมาณรอยละ 2.4 และของเด็กผูหญิงประมาณรอยละ 1.9 ในขณะท่ีรอยละ 1 ของการเพิ่มข้ึนของสินเช่ือระดับจุลภาคแกลูกคาของธนาคารกรามีนท่ีเปนผูชายจะสงผลตอการเพ่ิมข้ึนของความนาจะเปนในการศึกษาของเด็กผูชายประมาณรอยละ 2.8 แตกลับพบวาไมมีผลตอการเพิ่มข้ึนตอความเปนไปไดในการศึกษาของลูกคาผูหญิง ดังนั้นจึงเห็นไดวา การใหสินเช่ือระดับจุลภาคแกกลุมลูกคาไมวาจะเปนผูหญิงหรือผูชายก็ตามจะสงผลตอการสรางโอกาสทางการศึกษาของเด็กผูชายมากกวาเด็กผูหญิง สาเหตุสําคัญมาจากการที่ครอบครัวบังกลาเทศเห็นวาเด็กผูหญิงจะสามารถชวยแมทํางานท่ีบานไดดีกวาเด็กผูชาย ซ่ึงแสดงวาเด็กผูหญิงจะมีตนทุนคาเสียโอกาสในการศึกษา (Opportunity Cost for Education) สูงกวาเด็กผูชายน่ันเอง

โภชนาการของเด็ก (Children’s Nutrition): จากการศึกษาของ Pitt และคณะ (1998) พบวาสินเช่ือระดับจุลภาคจะสงผลกระทบทางตรงตอโภชนาการของเด็ก โดยรอยละ 10 ของสินเช่ือระดับจุลภาคท่ีใหกับกลุมลูกคาผูชายสงผลตอการเพิ่มข้ึนของดัชนีมวลรวมของรางกายของเด็กผูหญิงประมาณรอยละ 3 ในขณะท่ีรอยละ 10 ของสินเช่ือระดับจุลภาคท่ีใหกับกลุมลูกคาผูหญิงสงผลตอการเพ่ิมข้ึนของดัชนีมวลรวมของรางกายของเด็กผูหญิงท่ีสูงกวา คือประมาณรอยละ 6 นอกจากนี้ยังพบวารอยละ 10 ของสินเช่ือรายยอยท่ีใหกับกลุมลูกคาผูหญิงจะสงผลทําใหความสูงของเด็กเพิ่มข้ึนประมาณรอยละ 14.2 สําหรับเด็กผูชายและรอยละ 11.6 สําหรับเด็กผูหญิง ซ่ึงผลกระทบท่ีเกิดข้ึนนี้มากกวาผลกระทบจากสินเช่ือท่ีใหกับลูกคาผูชาย สาเหตุสําคัญมาจากการท่ีผูหญิงมักจะใสใจกับคุณคาของอาหารที่บริโภคในครัวเรือนมากกวาผูชาย

Page 127: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

104

บทท่ี 4

ระบบการเงนิระดับจุลภาคในประเทศมองโกเลีย

4.1 ระบบการเงินระดับจุลภาคในประเทศมองโกเลีย

มองโกเลียเปนประเทศดอยพัฒนาท่ีประสบความสําเร็จเปนอยางมากในการใหบริการทาง

การเงินในระดับจุลภาค ระบบการเงินในระดับจุลภาคมีอัตราการเจริญเติบโตสูงและสามารถพัฒนาไดอยางรวดเร็วภายในระยะเวลาอันส้ันเม่ือเปรียบเทียบกับประเทศอ่ืนๆ ท้ังประเทศพัฒนาแลวและประเทศกําลังพัฒนา ความสําเร็จดังกลาวเกิดข้ึนไดโดยปราศจากการแทรกแซงและการสนับสนุนชวยเหลือจากภาครัฐ ประเทศมองโกเลียไมไดมีนโยบายเฉพาะเพื่อสนับสนุนการขับเคล่ือนของระบบการเงินในระดับจุลภาค รัฐบาลไมมีมาตรการใหความชวยเหลือเกี่ยวกับการลดหยอนภาษีเพื่อกระตุนการเติบโตของระบบการเงินในระดับจุลภาค อีกท้ังไมมีกฎหมายเฉพาะท่ีควบคุมการดําเนินการของระบบการเงินในระดับจุลภาคโดยตรง การดําเนินการของระบบการเงินในระดับจุลภาคอยูภายใตการกํากับดูแลของธนาคารกลางแหงมองโกเลีย (Central Bank of Mongolia: BoM) โดยใชกฎระเบียบควบคุมกิจการสถาบันการเงินท่ัวไป ซ่ึงไมไดมีการกําหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู ดังนั้น ถือไดวาความสําเร็จในการพัฒนาระบบการเงินในระดับจุลภาคของมองโกเลียนั้นคอนขางท่ีจะเปนไปตามกลไกตลาด ท้ังนี้ ตัวช้ีวัดท่ีบงช้ีถึงความสําเร็จในการพัฒนาของระบบการเงินในระดับจุลภาคก็คือ เกณฑประเภทตางๆ ท่ีแสดงถึงการเขาถึงแหลงเงินทุนของประชาชน รวมท้ังอัตราสวนของสินเช่ือท่ีกอใหเกิดรายไดและไมกอใหเกิดรายได เปนตน จากการศึกษาของธนาคารกลางแหงมองโกเลีย พบวา สัดสวนของชุมชนหมูบานท่ีมีธนาคารพาณิชยท่ีใหบริการทางการเงินในระดับจุลภาคอยางนอย 1 แหงคิดเปนรอยละ 100 และสัดสวนของชุมชนหมูบานท่ีมีธนาคารพาณิชยท่ีใหบริการทางการเงินในระดับจุลภาคอยางนอย 2 แหงคิดเปนรอยละ 77 สําหรับสัดสวนของกสิกรท่ีเขาถึงการบริการทางการเงินในระดับจุลภาคมีคาเทากับรอยละ 72 นอกจากนี้ยังพบวาสัดสวนของเงินกูท่ีชําระคืนตรงเวลามีคาเทากับรอยละ 92.4 ซ่ึงนับวาเปนตัวเลขท่ีสูงมาก

ในประเทศมองโกเลีย การใหบริการทางการเงินมีความแตกตางกันไปทั้งในเมืองและในชนบทตามสภาพพื้นท่ี อยางไรก็ดี อุปสรรคตอการดําเนินงานของสถาบันการเงินท่ีใหบริการในเขตชนบท คือ คาใชจายในการดําเนินงาน เนื่องจากประเทศมองโกเลียมีประชากรเพียง 3.04 ลานคนโดยประมาณ แตมีพื้นท่ีใหญกวาประเทศไทยกวา 3 เทา ทําใหมองโกเลียเปนหนึ่งในประเทศท่ีมีความหนาแนนของประชากรนอยท่ีสุดประเทศหนึ่งในโลก โดยประชากรมากกวารอยละ 50 ของประเทศอาศัยอยูในชนบทหางไกล ซ่ึงเปนปจจัยสําคัญท่ีทําใหการเขาถึงประชาชนเปนไปไดยากและเกิดตนทุน

Page 128: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

105

ท่ีสูงท้ังทางดานการเงินและเวลา โดยเฉพาะการเขาถึงแหลงเงินทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนยากจนท่ีอยูหางไกลจากตัวเมือง ดังนั้น จึงสงผลใหคาใชจายในการใหบริการทางการเงินแกลูกคาในชนบทสูงกวาในเมืองและในเขตชนบทรอบเมือง (Peri-urban) เปนอยางมาก

สถาบันการเงินในประเทศมองโกเลียท่ีมีบทบาทในการใหบริการทางการเงินแกประชาชน

ท่ัวไปในระดับจุลภาค มีหลายรูปแบบ สามารถจําแนกออกไดเปน 3 ประเภทหลักๆ คือ

1. สถาบันทางการเงินท่ีดําเนินการแบบเปนทางการ (Formal Financial Intermediaries)สถาบันการเงินท่ีใหบริการทางการเงินแกประชาชนท่ัวไปในมองโกเลียนั้นมีหลายรูปแบบ สามารถแบงออกเปน 7 ประเภท คือ ธนาคาร บริษัทประกันภัย บริษัทใหบริการดานสินเช่ือเชาซ้ือ บริษัทเงินทุน สหกรณออมทรัพยและสินเช่ือ สหกรณรูปแบบอ่ืนๆ และโรงรับจํานํา จากการศึกษาของ Oyunjargal and Nyamaa (2002) และ UNDP (2004) พบวาสถาบันการเงินแตละประเภทนั้นตางมีจํานวน และความสามารถในการเขาถึงคนยากจนแตกตางกันไป73 โดยสถาบันการเงินท่ีมีบทบาทสําคัญในการใหบริการสินเช่ือระดับจุลภาคแกประชาชน ไดแก ธนาคาร XacBank ธนาคาร Khan Bank และธนาคาร Savings Bank เปนตน

2. สถาบันการเงินท่ีดําเนินการแบบกึ่งทางการ (Semi-Formal Financial Intermediaries) ไดแก องคกร NGO ท้ังท่ีเปนของในประเทศและระหวางประเทศ และเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ในมองโกเลียมีองคกร NGO ท่ีจดทะเบียนกับกระทรวงยุติธรรมและการจัดการกิจการภายในประเทศ (Ministry of Justice and Internal Affairs) ท้ังส้ินกวา 2,400 แหง และในจํานวนนี้ มี 60 องคกรท่ีใหบริการสินเช่ือในระดับจุลภาค อาทิ Credit Mongol เปนตน

3. ผูใหบริการการเงินท่ีดําเนินการอยางไมเปนทางการ (Informal Sources) อาทิ เพื่อนๆ เครือญาติ พอคา รานคา เปนตน ซ่ึงเปนแหลงสินเช่ือท่ีเปนท่ีนิยมและเขาถึงคนท่ีมีรายไดระดับลางถึงระดับกลางเปนสวนใหญ โดยกลุมพอคา/ผูประกอบการคา และผูแปรรูปสินคาเกษตร มักจะปลอยสินเชื่อแกผูที่ประกอบอาชีพเล้ียงปศุสัตว และรานคาสวนใหญจะใหสินเช่ือแกลูกคาท่ีมาซ้ือของ รวมถึงใหสินเช่ือแกรานคาดวยกันเอง

จากการสํารวจความตองการบริการทางการเงินจาก 1,284 ครัวเรือน โดยองคกรพัฒนาสังคมทองถ่ิน ช่ือ ‘Sant Maral’ ในป 254474 ไดระบุแหลงท่ีมาของการกูยืมนั้นจะมาจากคนใน

73 รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ง. 74 ปที่ทําการสํารวจ (ป 2544) จํานวนประชากรในมองโกเลียมีทั้งสิ้นประมาณ 2.42 ลานคน หรือประมาณ 559,610 ครัวเรือน โดยขนาดครอบครัวเฉล่ีย 4.36 คนตอครอบครัว ประชากรสวนใหญ (รอยละ 90) เปนชาวมองโกเลีย สวนที่เหลือบางเปนชาวรัสเซียและจีน ซึ่งไดอาศัยอยูอยางถาวรในมองโกเลีย ปจจุบัน (ป 2552) มองโกเลียมีจํานวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 3.04 ลานคน

Page 129: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

106

ครอบครัวและคนรูจักมากถึงรอยละ 84 และมีเพียงรอยละ 7 เทานั้นท่ีกูยืมจากธนาคาร สวนใหญการใชบริการของธนาคารไมใชการกูและการออม หากเปนใชบริการดานเงินบํานาญ (Pension) และการจายเงินเดือน (Salary Payments) เปนสําคัญ

ระบบการเงินในระดับจุลภาคของมองโกเลียเกิดข้ึนไมนานนักเม่ือเปรียบเทียบกับของไทยและบังกลาเทศ โดยสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเหลานี้ใชเวลาโดยเฉลี่ย 8 ป จึงจะสามารถพึ่งตนเองได โดยไมตองไดรับเงินสนับสนุนจากรัฐ จากท่ีไดกลาวมาแลวขางตน สถาบันการเงินในมองโกเลียท่ีมีบทบาทในการเปนผูใหบริการสินเช่ือระดับจุลภาคหลักท่ีสําคัญ คือ ธนาคาร Khan Bank และธนาคาร XacBank ท้ังนี้ ธนาคาร Khan Bank เปนสถาบันการเงินท่ีใหญท่ีสุดและมีบทบาทมากในการใหบริการทางการเงินในพื้นท่ีชนบทของมองโกเลีย สวนธนาคาร XacBank เปนสถาบันการเงินท่ีต้ังข้ึนมาเพื่อใหบริการทางการเงินในระดับจุลภาคโดยเฉพาะ ธนาคารนี้ไดรับการยอมรับวาสามารถใหบริการสินเช่ือแกคนในชนบทไดอยางกวางขวางและประสบความสําเร็จอยางมากในการดําเนินงานในการปลอยสินเชื่อ ตลอดจนสามารถขยายโอกาสการเขาถึงบริการทางการเงินไมเฉพาะแตผูมีรายไดนอยเทานั้น แตยังรวมถึงผูประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดยอมของประเทศมองโกเลียอีกดวย ดังนั้น ถือวาธนาคาร XacBank เปนกรณีตัวอยางท่ีดีท่ีสมควรจะศึกษาลักษณะรูปแบบการดําเนินการ เพื่อท่ีจะไดนําแนวปฏิบัติท่ีดีของธนาคารมาปรับใชใหเหมาะสมเพื่อการพัฒนาระบบการเงินในระดับจุลภาคของไทยตอไป

Page 130: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

107

4.2 ธนาคาร XacBank

4.2.1 ความเปนมา ธนาคาร XacBank (อาน “แฮช-แบงก) กอต้ังข้ึนในชวงปลายป 2544 (ค.ศ. 2001) โดยมี

สํานักงานใหญอยูท่ีกรุงอุลันบาตอร (Ulaanbaatar) ประเทศมองโกเลีย สถาบันการเงินแหงนี้เกิดข้ึนจากการควบรวมกิจการของสถาบันการเงินท่ีไมใชธนาคาร (Non-bank financial institution-NBFI) ในมองโกเลีย 2 องคกรดวยกัน ไดแก X.A.C. (Golden Fund for Development) LLC และ Goviin Ekhlel (Gobi Initiative) LLC ท้ังนี้ สถาบันการเงินท่ีไมใชธนาคารท้ัง 2 องคกรท่ีเปนท่ีมาของ ธนาคาร XacBank มีความเปนมาดังนี้ คือ X.A.C. LLC ไดเร่ิมตนกอต้ังข้ึนในป 2541 (ค.ศ. 1998) ภายใตโครงการ MicroStart Mongolia จากการริเร่ิมของโครงการพัฒนาแหงสหประชาชาติ หรือ UNDP (United Nations Development Program) หลังจากนั้น X.A.C. LLC ไดมีการปฏิรูปการดําเนินการ จนทําให X.A.C. LLC เปนสถาบันการเงินท่ีไมใชธนาคารแหงแรกในมองโกเลีย โดยการรวมกิจกรรมการบริการทางการเงินขององคกรไมแสวงหาผลกําไร (Non-Governmental Organization: NGO) ท้ังหมด 6 องคกรภายในประเทศ สําหรับ Goviin Ekhlel LLC นั้น เปนสถาบันการเงินท่ีไมใชธนาคารท่ีถูกจัดต้ังข้ึนในเดือนธันวาคม ป 2542 (ค.ศ. 1999) โดย Mercy Corps จากการสนับสนุนทางการเงินของสํานักงานใหความชวยเหลือเพื่อการพัฒนาระหวางประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา หรือ USAID (United States Agency for International Development) โดยมีจุดประสงคเพื่อใหบริการดานสินเช่ือและบริการทางการเงินอ่ืนๆ แกวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม

สถาบันการเงินท่ีไมใชธนาคารท้ัง 2 แหงนี้ มีภารกิจครอบคลุมพื้นท่ีทางภูมิศาสตรท่ีแตกตางกัน นอกจากน้ียังใหบริการทางการเงินแกลูกคาในตลาดท่ีแตกตางกัน กลาวคือ X.A.C. LLC ใหบริการสินเช่ือระดับจุลภาค (Microloans) สวน Goviin Ekhlel LLC ใหบริการสินเช่ือแกวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (SME loans) อยางไรก็ดี ท้ัง X.A.C. LLC และ Goviin Ekhlel LLC ตางมีเปาหมายและกลยุทธเดียวกัน คือ การที่จะพัฒนาเปนธนาคารพาณิชยท่ีใหบริการทางการเงินอยางเต็มรูปแบบ ซ่ึงปจจัยนี้เองไดเปนพื้นฐานในการควบรวมสถาบันการเงินท่ีไมใชธนาคารท้ังสองนี้ จนกลายเปน ธนาคาร XacBank อยางท่ีเปนอยูในปจจุบัน

Page 131: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

108

4.2.2 นโยบายและวัตถุประสงค ธนาคาร XacBank มีความมุงม่ันท่ีจะเปนสถาบันการเงินผูนําท่ีมีการพัฒนาอยางไมหยุดนิ่ง

ในการใหบริการทางการเงินและนวัตกรรมทางการเงินแบบครบวงจร โดยผานเครือขายของสาขาและหุนสวนท่ีครอบคลุมทุกพื้นท่ีท่ัวประเทศ ธนาคาร XacBank มีความแนวแนท่ีจะเปนผูนําในการประยุกตใชเทคโนโลยีสารสนเทศท่ีทันสมัย เขากับรูปแบบการบริการที่นาประทับใจ ท้ังนี้ เพื่อท่ีจะขยายสวนแบงทางการตลาด และเพ่ิมการใหการสนับสนุนตอการพัฒนาธุรกิจรายยอย ตลอดจนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอมท่ีมีความพรอมในการแขงขันในประเทศมองโกเลีย ในการที่จะบรรลุเปาหมาย ธนาคาร XacBank มีนโยบายใหการสนับสนุนทางการเงินแกลูกคาอยางท่ัวถึง โดยเปนชองทางท่ีสําคัญสําหรับลูกคา ไมวาจะเปนผูประกอบการรายยอยท่ีทําธุรกิจแบบดั่งเดิม หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม ใหสามารถเขาถึงเคร่ืองมือและการใหบริการทางการเงินท่ีโปรงใส เช่ือถือได และตอบสนองตอความตองการของลูกคาไดอยางเต็มท่ี โดยการใหการสนับสนุนการศึกษา การพัฒนาฝมือแรงงาน รวมท้ังการสงเสริมการพัฒนาของภาคธุรกิจอยางตอเนื่อง โดยคํานึงถึงมนุษย ส่ิงแวดลอม และผลกําไรอยางสมดุลกัน เพื่อกอใหเกิดการพัฒนาอยางยั่งยืนในประเทศมองโกเลีย นอกจากนี้ ธนาคาร XacBank ถือวาศักยภาพของบุคลากรเปนตัวขับเคล่ือนใหองคกรมีความเจริญกาวหนาและประสบความสําเร็จตอไปได ปจจัยหนึ่งท่ีสําคัญท่ีมีผลอยางมากตอการดําเนินการของธนาคาร XacBank ก็คือ ความสามารถและประสิทธิภาพของผูบริหารทุกระดับและเจาหนาท่ีระดับปฏิบัติการ ธนาคาร XacBank ใหความสําคัญอยางยิ่งตอการพัฒนาทรัพยากรมนุษย และไดมีนโยบายในการเสริมสรางศักยภาพของบุคลากรอยางตอเนื่อง ไมวาจะเปนจากการฝกอบรมในงาน (On-the-job Training) หรือ การฝกอบรมนอกงาน (Off-the-job Training) โดยการจัดการฝกอบรมเชิงปฏิบัติการภายในองคกรเอง และการสงบุคลากรไปเขารับการฝกอบรมจากหนวยงานภายนอกอ่ืน เชน หนวยงานของรัฐ และองคกรระหวางประเทศ ในฐานะท่ีธนาคาร XacBank เปนสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีทันสมัย ธนาคาร XacBank ไดประยุกตใชหลักการจัดการตอการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ในการดําเนินการ ซ่ึงสงผลใหบุคลากรของ ธนาคาร XacBank มีความสามารถในการปรับตัวและปรับระบบการทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพ ภายใตสภาพแวดลอมทางธุรกิจท่ีมีการเปล่ียนแปลงอยางรวดเร็วตลอดเวลา ดวยเหตุนี้เอง ทําใหเจาหนาที่ทุกระดับของ ธนาคาร XacBank มีศักยภาพและประสิทธิภาพในการทํางานสูง อีกท้ังยังมีความเช่ียวชาญและประสบการณในการทํางานดานระบบการเงินในระดับจุลภาคเปนอยางมาก อันเปนผลให ธนาคาร XacBank สามารถมีความกาวหนาอยางตอเนื่องและมีเสถียรภาพ

Page 132: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

109

4.2.3 ลักษณะการดําเนินงาน ในแงของปรัชญาในการดําเนินงาน ธนาคาร XacBank ยึดถือหลักความเปนธรรมและ

ศีลธรรมในการจัดการและการดําเนินธุรกิจ ธนาคาร XacBank มีความเช่ือวาความรับผิดชอบตอผูมีสวนไดสวนเสีย (Stakeholders) ทุกกลุม ไดแก ลูกคา ผูถือหุน ชุมชนสังคม และพนักงานทุกคน เปนส่ิงสําคัญ อยางไรก็ดี ความรับผิดชอบสูงสุดสําหรับธนาคาร คือ ความรับผิดชอบในการใหบริการแกลูกคา ทั้งที่อยูในชนบทและในเมือง ทั้งที่เปนผูประกอบการรายยอย หรือรายเล็ก คนเล้ียงสัตว หรือคนทํางานท่ีไมสามารถเขาถึงการบริการทางการเงินแบบเดิมๆได ธนาคาร XacBank มีความพยายามอยางแนวแนในการใหการบริการทุกรูปแบบดวยความเปนเลิศ เพื่อตอบสนองความตองการของลูกคาอยางรวดเร็วฉับพลัน ถูกตองครบถวน รวมท้ังมีบรรยากาศท่ีเปนมิตร ธนาคาร XacBank ถือวาผูถือหุนและลูกคาทุกรายเปนหุนสวนทางธุรกิจของธนาคาร เพราะฉะนั้นกลุมผูมีสวนไดสวนเสียดังกลาวจะตองมีโอกาสท่ีจะไดรับผลตอบแทนท้ังในรูปของเงินปนผล ดอกเบ้ียเงินฝากและอื่นๆ อยางเปนธรรมและสมเหตุสมผล นอกจากนี้ ธนาคาร XacBank มีความต้ังใจและกลาท่ีจะทดลองทําตามแนวคิดใหมๆ โดยการศึกษาวิจัยและการพัฒนาคิดคนนวัตกรรมอยางตอเนื่อง ซ่ึงถือวาเปนความพยายามที่จะลดตนทุนในการใหบริการทางการเงิน อันจะทําใหสามารถรักษาระดับดอกเบ้ียเงินกูและคาธรรมเนียมตางๆใหสมเหตุสมผล

สําหรับดานความรับผิดชอบตอพนักงานนั้น ธนาคาร XacBank มีความรับผิดชอบตอชีวิต ครอบครัวและความเปนอยูของบุคลากร ไมวาจะเปนหญิงหรือชาย หรือวามีถ่ินฐานอยูท่ีใดก็ตามในประเทศมองโกเลีย ธนาคาร XacBank สงเสริมและผลักดันใหพนักงานสามารถปฏิบัติตามหนาท่ีท่ีมีตอครอบครัวและสังคม ผูบริหารถือวาพนักงานจะตองมีความรูสึกวาตนมีความม่ันคงในอาชีพการงาน พนักงานทุกคนจะตองไดรับคาตอบแทนจากการทํางานอยางเปนธรรมและเหมาะสมกับประสิทธิภาพการทํางาน อีกท้ังผูบริหารยังใหความสําคัญกับสภาพแวดลอมในการทํางาน ซ่ึงจะตองสะอาด เปนระเบียบเรียบรอย และปลอดภัย ท้ังนี้เพื่อสวัสดิภาพของพนักงานทุกคน นอกจากนี้ ผูบริหารมีความเช่ือวาพนักงานทุกคนควรไดรับความเคารพในเกียรติ ศักดิ์ศรี และไดรับการยกยองในความสามารถและคุณงามความดี ตลอดจนไดรับสิทธิและเสรีภาพในการใหขอคิดเห็นและขอโตแยง รวมท้ังไดรับโอกาสท่ีเสมอภาคกันในการจางงาน การพัฒนาตนเอง และมีความกาวหนาในหนาท่ีการงานท่ีเหมาะสม สอดคลองกับคุณสมบัติและประสิทธิผลของการทํางาน

เม่ือกลาวถึงความรับผิดชอบของสังคมนั้น ธนาคาร XacBank ถือวา ผูมีสวนไดสวนเสียทุกกลุมจะตองมีความรับผิดชอบตอชุมชนสังคม ไมวาจะเปนชุมชนท่ีอยูอาศัยหรือชุมชนในท่ีทํางาน ธนาคาร XacBank ไดดําเนินกิจกรรมท่ีสงเสริมและชวยเหลือตอการพัฒนาชุมชน การพัฒนาระบบสาธารณสุข การศึกษา และส่ิงแวดลอม นอกจากนี้ ยังไดมีการปลูกฝงใหพนักงานทุกคนมีจิตสํานกึท่ีด ีเคารพกฎหมายอยางเครงครัด สนับสนุนการบริจาคเงินเพื่อการกุศล และปฏิบัติตามหนาท่ีท่ีจะตอง

Page 133: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

110

จายภาษีอยางถูกตองครบถวน ในสวนท่ีเกี่ยวของกับการอนุรักษส่ิงแวดลอม ธนาคาร XacBank มีนโยบายท่ีชัดเจนท่ีจะทะนุบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอมอยางมีหลักการ ท้ังนี้ ธนาคารไดพัฒนารูปแบบการปลอยกูเพื่อเปนการสงเสริมใหมีการใชทรัพยากรพลังงานอยางประหยัดและไมเปนอันตรายตอส่ิงแวดลอม โดยสรุป หากธนาคาร XacBank สามารถดําเนินการท่ีสอดคลองกับหลักการที่กลาวมาแลวนี้ ผลประโยชนท่ีเปนธรรมจะตกอยูกับลูกคาและผูถือหุน พนักงานจะมีขวัญและกําลังใจท่ีดี และในท่ีสุดจะนําไปสูการพัฒนาประเทศมองโกเลียใหกาวหนายิ่งข้ึนไป

4.2.4 การบริหารจัดการทางการเงนิ

จากขอมูลรายงานประจําป 2550 ผูถือหุนของธนาคาร XacBank ประกอบดวยองคกรเอกชนท่ีไมแสวงหาผลกําไร องคกรระหวางประเทศและบริษัทเอกชนรวมท้ังส้ิน 12 หนวยงาน ผูถือหุนรายใหญท่ีสุด 5 รายแรกท่ีถือหุนมากกวารอยละ 10 ไดแก Mercy Corps, Tuushin LLC, Employee Investment Trust (EIT), International Finance Cooperation (IFC) และ European Bank for Reconstruction and Development (EBRD) โดยหนวยงานดังกลาวถือหุนในสัดสวนเรียงจากมากไปนอยในอัตราสวน ดังนี้ รอยละ 18.38, 13.16, 12.01, 10.71 และ 10.11 ตามลําดับ ในแงของการระดมทุน สถาบันการเงินระดับโลกและองคกรทางการเงินระหวางประเทศ เชน Blue Orchid Finance, Morgan Stanley, Deutsche Bank, Credit Suisse, European Bank for Reconstruction and Development (EBRD) และ International Finance Cooperation (IFC) เปนตน ไดปลอยกูระยะยาวใหกับธนาคาร XacBank โดยเฉลี่ยระยะเวลาการใหกูของสถาบันการเงินและองคกรเหลานี้คือประมาณ 4-5 ป

แหลงเงินทุนที่สําคัญอีกแหลงหนึ่งของธนาคาร XacBank คือเงินฝากจากลูกคาท่ัวไป ธนาคาร XacBank สามารถระดมเงินฝากจากลูกคาภายในประเทศ โดยจําเปนจะตองมีเงินสํารองตามกฎหมายไวรอยละ 5 ของปริมาณเงินฝากท้ังหมด ซ่ึงถือเปนอัตราสวนเงินสํารองตอเงินฝากท่ีธนาคารกลางกําหนด (Required Reserve Ratio) อยางไรก็ตาม เพื่อเปนการลดความเส่ียงในการบริหารจัดการทางดานการเงินของธนาคาร และเพื่อสรางความม่ันคงทางการเงินใหกับลูกคามากข้ึน ธนาคาร XacBank ไดกําหนดอัตราเงินสวนสํารองสวนเกิน (Excess Reserve Ratio) ไวเองในประมาณอัตรารอยละ 5 เชนกัน

เม่ือพิจารณาถึงผลิตภัณฑทางการเงิน ธนาคาร XacBank มีผลิตภัณฑทางการเงินในรูปแบบบัญชีเงินออมในประเภทตางๆ รวมท้ังส้ิน 7 ประเภท จากขอมูลป 2547 ธนาคาร XacBank มีจํานวนเงินฝากจากลูกคารวมท้ังส้ิน 15.7 พันลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) หรือประมาณ 13.25 ลานเหรียญ

Page 134: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

111

สหรัฐฯ75 โดยมีอัตราการเติบโตของจํานวนเงินฝากคิดเปนรอยละ 39 เม่ือเทียบจากป 2545 และถือไดวาจํานวนเงินฝากไดเพิ่มข้ึนถึง 2.6 เทา ภายในระยะเวลา 3 ป โดยผลิตภัณฑในการระดมเงินฝากท่ีสําคัญ ประกอบดวย

1. เงินฝากกระแสรายวัน 2. เงินฝากเผ่ือเรียก 3. เงินฝากประจําระยะส้ัน 4. เงินออมเพ่ือบุตรธิดา 5. เงินออมระยะยาว จากขอมูลสถิติในป 2549 และ 2550 พบวา จํานวนบัญชีเงินฝากของธนาคาร XacBank

เพิ่มข้ึนจาก 149,653 บัญชี เปน 180,827 บัญชี เม่ือพิจารณาแยกตามพื้นท่ีเมืองหลวงและเขตชนบทจากรูปภาพท่ี 4.1 ช้ีใหเห็นวาจํานวนบัญชีในกรุงอุลันบาตอรเพิ่มข้ึนในอัตราสวนเพียงเล็กนอยเม่ือเทียบกับอัตราการเพิ่มข้ึนของจํานวนบัญชีในเขตชนบท ซ่ึงสะทอนถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของธนาคาร XacBank ในการระดมเงินฝากและการขยายการจัดต้ังสาขาไปยังเขตชนบทในสวนภูมิภาค สําหรับมูลคาเงินฝากนั้น ภายในระยะเวลาจากป 2549 ถึงป 2550 ธนาคาร XacBank สามารถระดมเงินฝากท้ังจากเมืองหลวงและเขตชนบทรวมแลวเพิ่มข้ึนจาก 43.0 พันลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) เปน 63.4 พันลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) คิดเปน 53.59 ลานเหรียญสหรัฐฯ ซ่ึงคิดเปนอัตราการขยายตัวสูงถึงรอยละ 47.44

75 อัตราแลกเปล่ียนโดยเฉล่ียในป 2547 เทากับ 1,185.3 มองโกเลียนทูรุก (MNT) ตอ 1 เหรียญสหรฐัฯ ที่มา: https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/print/mg.html

Page 135: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

112

รูปภาพท่ี 4.1 จํานวนบัญชีเงินฝากของธนาคาร XacBank ป 2549-2550

52,136

72,600

97,517

108,227

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

2549 2550

กรุงอุลันบาตอร

จังหวัดอ่ืนๆ

ท่ีมา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคาร XacBank

หากจําแนกตามประเภทของเงินฝากตามท่ีแสดงไวในรูปภาพท่ี 4.2 จะเห็นวา บัญชีเงินฝากท้ัง 3 ประเภทใหญๆ ไมวาจะเปนบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Current Accounts) บัญชีเงินฝากเผ่ือเรียก (Demand Deposits) หรือบัญชีเงินฝากประจํา (Time Deposits) ตางก็เพิ่มข้ึนในอัตราที่สูงท้ังส้ิน โดยเฉพาะบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของบุคคลและนิติบุคคลท่ีมีอัตราการขยายตัวสูงถึงรอยละ 118.5 กลาวคือ จาก 5.4 พันลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) ในป 2549 เพิ่มเปน 11.8 พันลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) หรือคิดเปน 9.97 ลานเหรียญสหรัฐฯ ในป 2550 ในขณะท่ีบัญชีเงินฝากเผ่ือเรียก และบัญชีเงินฝากประจํา มีอัตราการเพ่ิมข้ึนรอยละ 76.3 และรอยละ 24.4 ตามลําดับ

เม่ือพิจารณาโครงสรางของเงินฝาก (ตารางที่ 4.1) พบวา ถึงแมวาบัญชีเงินฝากประจํา ซ่ึงประกอบดวยเงินฝากประจําระยะส้ัน (Short term Deposits) เงินออมสําหรับบุตรธิดา (Children’s Savings) และเงินออมระยะยาว (Long term Savings) จะมีความสําคัญลดลงจากป 2549 แตก็ยังมีสัดสวนสูงท่ีสุดเม่ือเทียบกับบัญชีเงินฝากประเภทอ่ืน โดยคิดเปนสัดสวนรอยละ 55 ของมูลคาเงินฝากท้ังหมดของธนาคาร XacBank ทั้งนี้ ในป 2550 บัญชีเงินฝากเผื่อเรียกมีสัดสวนคิดเปนรอยละ 26 สวนบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีสัดสวนคิดเปนรอยละ 19

Page 136: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

113

รูปภาพท่ี 4.2 มูลคาเงินฝากของธนาคาร XacBank ป 2549-2550

หนวย: พันลานมองโกเลียนทูรุก (MNT)

5.4

11.89.3

16.4

28.3

35.2

0.0

5.0

10.0

15.0

20.0

25.0

30.0

35.0

40.0

2549 2550

เงินฝากกระแสรายวัน

เงินฝากเผื่อเรียก

เงินฝากประจํา

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคาร XacBank

ตารางท่ี 4.1 โครงสรางเงินฝากของธนาคาร XacBank ป 2549-2550

หนวย: รอยละ

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคาร XacBank

ประเภทเงินฝาก ป 2549 ป 2550

เงินฝากกระแสรายวัน 12 19

เงินฝากเผ่ือเรียก 22 26

เงินฝากประจําระยะสั้น 42 30

เงินออมเพ่ือบุตรธิดา 22 22

เงินออมระยะยาว 2 3

Page 137: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

114

4.2.5 การใหสินเชื่อ

การขยายตัวของการใหบริการสินเช่ือของธนาคาร XacBank อยูในอัตราท่ีสูงมาก กลาวคือ อัตราการเติบโตคิดเปนรอยละ 85.7 รอยละ 64.4 และรอยละ 67.8 ในป 2548 ป 2549 และป 2550 ตามลําดับ ดังแสดงในรูปภาพท่ี 4.3 ท้ังนี้ เนื่องมาจากการขยายตัวของการปลอยสินเช่ือ 3 ประเภท ไดแก สินเช่ือเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (SME loans) สินเช่ือเพื่อท่ีอยูอาศัย (Mortgage loans) และสินเช่ือเพื่อการบริโภค (Consumption loans) โดยรวมธนาคาร XacBank ไดปลอยสินเช่ือโดยมีมูลคาท้ังส้ินคิดเปน 86.1 ลานเหรียญสหรัฐฯ หรือ 101.9 พันลานมองโกเลียนทูรุก (MNT)76 ในป 2550 เม่ือพิจารณาการปลอยสินเช่ือโดยแบงพื้นท่ีเมืองหลวง ตางจังหวัด และการใหบริการเคล่ือนท่ีตามท่ีแสดงไวในรูปภาพท่ี 4.5 พบวา การปลอยสินเช่ือโดยผานสาขาตางจังหวัด ระบบการใหบริการทางการเงินเคล่ือนท่ีผานโทรศัพทมือถือ (Mobile Banking) และระบบเครือขายตัวแทน (Franchise Cooperative Network) เปนปจจัยท่ีทําใหมูลคาการปลอยสินเช่ือโดยรวมของธนาคาร XacBank ขยายตัวสูงมาก ท้ังนี้อัตราการเติบโตถึงรอยละ 92.7 และมีมูลคาเทากับ 51,231 ลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) หรือประมาณ 43.3 ลานเหรียญสหรัฐฯ คิดเปนรอยละ 50.3 ของมูลคาสินเช่ือท้ังหมดของธนาคาร XacBank นอกจากนี้ ปจจัยสําคัญอีกปจจัยหนึ่งท่ีทําใหธนาคาร XacBank สามารถปลอยสินเช่ือใหแกลูกคารายยอยไดเปนจํานวนมาก คือการกําหนดหลักประกันเงินกู (Collateral) ของธนาคาร กลาวคือ การกูยืมในวงเงินท่ีตํ่ากวา 500 เหรียญสหรัฐฯ ลูกคาไมจําเปนตองวางหลักประกันเงินกู สวนกรณีท่ีกูยืมในวงเงินท่ีมากกวา 500 เหรียญสหรัฐฯ นั้น ธนาคาร XacBank กําหนดใหลูกคาวางหลักประกันเงินกู ซ่ึงลูกคาสามารถนําสัตวเล้ียง หรือของใชในบาน เชน พรมปูพื้น เคร่ืองครัว และเคร่ืองใชไฟฟา มาเปนหลักประกันเงินกูกับธนาคารได

สําหรับการปลอยสินเช่ือในกรุงอุลันบาตอรนั้นมีการขยายตัวสูงเชนกัน โดยมีมูลคาเพิ่มข้ึนจากป 2549 ประมาณรอยละ 75 และมีมูลคาเทากับ 42,843 ลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) หรือ 36.21 ลานเหรียญสหรัฐฯ ในป 2550 ซ่ึงเทากับรอยละ 42 ของมูลคาสินเช่ือท้ังหมด อยางไรก็ตาม ขอมูลทางสถิติช้ีใหเห็นวา การปลอยสินเช่ือโดยผานธนาคารเคล่ือนท่ีนั้น มีมูลคาลดลงจากป 2549 จาก 9,887 ลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) เปน 7,816 ลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) หรือ 6.61 ลานเหรียญสหรัฐฯ ในป 2550 ซ่ึงสาเหตุอาจมาจากการขยายสาขาท่ีเพิ่มมากข้ึน ตลอดจนบทบาทและประสิทธิภาพท่ีสูงข้ึนในการใหบริการสินเช่ือของสาขาตางๆ ในเขตชนบทในภูมิภาคตางๆ ซ่ึงทําใหการปลอยสินเช่ือโดยผานธนาคารเคล่ือนท่ีมีความสําคัญลดลงจากเดิม

76 อัตราแลกเปล่ียนโดยเฉล่ียในป 2550 เทากับ 1,183 มองโกเลียนทูรุก (MNT) ตอ 1 เหรียญสหรัฐฯ

Page 138: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

115

รูปภาพท่ี 4.3 จํานวนลูกคาสินเชื่อของธนาคาร XacBank ป 2545-2550

จํานวนลูกคาสินเช่ือ

0

10000

20000

30000

40000

50000

60000

2545 2546 2547 2548 2549 2550

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคาร XacBank

รูปภาพท่ี 4.4 มูลคาสินเชื่อของธนาคาร XacBank ป 2545-2550

มูลคาสินเช่ือ (ลานเหรียญสหรัฐฯ)

4.9 9.416.8

86.1

51.3

31.2

0.010.020.030.040.050.060.070.080.090.0

100.0

2545 2546 2547 2548 2549 2550

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคาร XacBank

Page 139: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

116

รูปภาพท่ี 4.5 มูลคาสินเชื่อของธนาคาร XacBank ป 2549-2550 จําแนกตามพ้ืนท่ีทางภูมิศาสตร

หนวย: ลานมองโกเลียนทูรุก (MNT)

24,368

42,843

26,581

51,231

9,887 7,816

0

10,000

20,000

30,000

40,000

50,000

60,000

2549 2550

กรุงอุลันบาตอร

จังหวัดอ่ืนๆ

สินเชื่อผานธนาคารเคล่ือนที่

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคาร XacBank

ในการใหบริการสินเช่ือนั้น ธนาคาร XacBank ไดปลอยสินเช่ือท้ังหมดจํานวน 105,723 ราย

สินเช่ือ โดยแบงเปนสินเช่ือประเภทหลักๆ ได 8 ประเภท ดังนี้ 1. สินเช่ือรายยอย 2. สินเช่ือเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (SMEs) 3. สินเช่ือเพื่อการบริโภค 4. สินเช่ือเพื่อการเชาซ้ือ 5. สินเช่ือเพื่อธุรกิจ 6. สินเช่ือในชนบท 7. สินเช่ือเพื่อท่ีอยูอาศัย 8. สินเช่ืออ่ืนๆ

จากรูปภาพที่ 4.6 แสดงโครงสรางสินเชื่อในป 2550 พบวา สินเชื่อรายยอย หรือ สินเชื่อ

ระดับจุลภาค (Micro loans) สินเช่ือเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม สินเช่ือเพื่อท่ีอยูอาศัย และสินเช่ือเพื่อการบริโภคมีความสําคัญมาก กลาวคือ ธนาคาร XacBank ไดปลอยกูแกลูกคาโดยผานสินเช่ือท้ัง 4 ประเภทมากกวาสินเช่ือประเภทอ่ืนๆ ซ่ึงคิดเปนสัดสวนรวมกันเทากับรอยละ 82

Page 140: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

117

ท้ังนี้ แยกคิดเปนสัดสวนตอมูลคาสินเช่ือท้ังหมด คือ รอยละ 25 รอยละ 22 รอยละ 19 และรอยละ16 ตามลําดับ

สําหรับสินเช่ือรายยอยในป 2550 เม่ือเปรียบเทียบกับป 2549 พบวา ถึงแมจํานวนลูกคาสินเช่ือรายยอยลดลงจาก 18,550 ราย ในป 2549 เปน 16,834 รายในป 2550 แตมูลคาสินเช่ือรายยอยไดเพิ่มจาก 16.22 ลานเหรียญสหรัฐฯ ในป 2549 เปนประมาณ 21.27 ลานเหรียญสหรัฐฯ ในป 2550 ดวยเหตุนี้เอง ทําใหสินเช่ือรายยอยมีมูลคาเฉล่ียเพิ่มข้ึนจาก 874.39 เหรียญสหรัฐฯ เปน 1,262.84 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะท่ี ภายในชวงเวลาหนึ่งปนี้ สินเช่ือเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอมก็มีมูลคาเฉล่ียเพิ่มข้ึนเชนกัน แตเพิ่มข้ึนในอัตราการเปล่ียนแปลงเล็กนอยเทานั้น คือเพิ่มจาก 20,281 เหรียญสหรัฐฯ ในป 2549 เปน 21,359 เหรียญสหรัฐฯ ในป 2550

รูปภาพท่ี 4.6

โครงสรางสินเชื่อของธนาคาร XacBank ป 2550 จําแนกตามประเภทสินเชื่อ

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคาร XacBank

Page 141: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

118

4.2.6 ผลการดําเนินการ นับต้ังแตกอต้ังจนถึงในชวงปลายป 2545 (ค.ศ.2002) ธนาคาร XacBank ไดมีการขยายขอบเขตการดําเนินการและไดเปดสาขาครอบคลุมในทุกจังหวัด (Aymag) ในมองโกเลีย ซ่ึงถือไดวา ธนาคาร XacBank บรรลุเปาหมายในการใหบริการทางการเงินครบวงจรแกประชาชนในทุกภูมิภาคโดยเฉพาะประชาชนในชนบทท่ีอยูหางไกล รวมถึงคนเล้ียงสัตวท่ีชอบยายถ่ินฐาน (Nomadic Herders) นอกจากนี้ ธนาคาร XacBank ยังไดเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันของตนเองดวยการใหบริการสินเช่ือในหลายรูปแบบ ตลอดจนระดมเงินฝากในลักษณะตางๆ ท่ีเหมาะสมกับความตองการของกลุมลูกคาทุกกลุม

นอกจากการปลอยสินเช่ือและการรับฝากเงินแลว ธนาคาร XacBank ยังใหการบริการทางการเงินอ่ืนๆ อาทิ การโอนเงิน การรับชําระเงิน (Payment Settlement) ตลอดจนธุรกิจเกี่ยวกับการเชาซ้ือ (Leasing Services) สําหรับการใหบริการทางการเงินแกลูกคาท่ีอยูในชนบทถือเปนปญหาอุปสรรคสําคัญอยางหนึ่งในการเขาถึงลูกคาใหท่ัวถึง เนื่องจากประชากรในเขตชนบทของมองโกเลียอยูกันอยางกระจัดกระจายไมเปนหลักแหลงในเขตพ้ืนท่ีหางไกลจากตัวเมือง อยางไรก็ตาม ธนาคาร XacBank สามารถฝาฟนอุปสรรคดังกลาวโดยการใหบริการทางการเงินผานโทรศัพทมือถือ (Mobile Banking Scheme) ซ่ึงสามารถเขาถึงลูกคาในเขตตําบล (Soum) ในพื้นท่ีทุรกันดารไดถึง 137 ตําบล (Soum) ในป 2547 นับเปนหนึ่งในสามของจํานวนตําบล (Soum) ท้ังหมดในมองโกเลีย ในป 2550 ธนาคารไดขยายขอบเขตทางภูมิศาสตรในการใหบริการลูกคาเพิ่มข้ึน โดยสามารถเขาถึงลูกคาไดครอบคลุม 165 ตําบล (Soum) ซ่ึงเทากับคร่ึงหนึ่งของจํานวนตําบล (Soum) ท่ีมีอยูท้ังหมดท่ัวประเทศ นอกจากนี้ รูปแบบการใหบริการทางการเงินท่ียั่งยืนในระดับตําบล (Soum) ของธนาคาร XacBank ท่ีสําคัญอีกรูปแบบหนึ่งคือ การประยุกตใชระบบแฟรนไชส (Franchising) โดยการจัดต้ังสหกรณเงินออมและสินเช่ือ (Saving and Credit Cooperative: SCC) ข้ึนในแตละตําบล (Soum) และหมูบาน ซ่ึงสหกรณเงินออมและสินเช่ือเหลานี้ ดําเนินการโดยตัวแทนจากชุมชนหมูบาน อยางไรก็ดี ประเด็นปญหาอยางหนึ่งของสหกรณเงินออมและสินเช่ือ คือ ความสามารถและประสิทธิภาพในการทํางานของตัวแทนหมูบานยังคงอยูในเกณฑที่ไมนาพึงพอใจนัก ดังนั้น ส่ิงสําคัญท่ีทางสํานักงานใหญของธนาคาร XacBank ดําเนินการเพ่ือเปนการบรรเทาและแกปญหานี้ ก็คือ การใหการสนับสนุนทางการเงิน ตลอดจนเทคนิคการจัดการและการใชเทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อทําใหการดําเนินงานของสหกรณเงินออมและสินเช่ือเปนไปไดอยางมีประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึน

Page 142: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

119

หากกลาวถึงการเจริญเติบโตของธนาคาร XacBank จะเห็นไดวา ธนาคาร XacBank มีความกาวหนาเปนไปตามลําดับ จนถึงป 2547 (ค.ศ. 2004) ในชวงเวลา 3 ปแรก นับจากท่ีไดกอต้ัง ธนาคาร XacBank ไดมีการจัดต้ังสาขาจํานวนท้ังส้ิน 37 สาขา โดยมีกิจการครอบคลุมพื้นท่ีทางภูมิศาสตรท่ัวประเทศมองโกเลีย และมีบุคลากรรวมทุกระดับจํานวนท้ังส้ิน 506 คน สําหรับในดานการดําเนินการของธนาคาร XacBank พบวา ภายในระยะเวลาเดียวกัน ธนาคาร XacBank ไดปลอยกูในรูปแบบของสินเช่ือประเภทตางๆ ใหกับลูกคาจํานวนประมาณ 20,000 ราย จากขอมูลในป 2550 แสดงใหเห็นวา การเติบโตของธนาคาร XacBank อยูในเกณฑท่ีนาพอใจมาก จํานวนสาขาเพิ่มขึ้นเปน 68 สาขา และมีจํานวนพนักงานเพ่ิมข้ึนเปน 801 คน ในจํานวนนี้มีพนักงานท่ีประจําอยูตามสาขาตางๆ จํานวน 608 คน จํานวนลูกคาสินเช่ือเพิ่มข้ึนเปนจํานวนกวา 51,000 ราย

ในดานรายรับนั้น ขอมูลสถิติป 2549 และป 2550 รายงานวา รายรับจากคาธรรมเนียมในการทําธุรกรรมทางการเงิน เชน การโอนเงิน การแลกเงินตราตางประเทศ และอ่ืนๆ เทากับ 0.89 ลานเหรียญสหรัฐฯ และ 1.23 ลานเหรียญสหรัฐฯ ตามลําดับ ซ่ึงเพิ่มข้ึนในอัตรารอยละ 37.5 ภายในชวงเวลาดังกลาว สําหรับรายรับอีกสวนหนึ่ง คือ รายรับสุทธิจากดอกเบ้ียเงินกูนั้น ธนาคาร XacBank มีรายรับสุทธิจากการปลอยสินเช่ือเพิ่มข้ึนในอัตรารอยละ 20.42 กลาวคือ เพิ่มข้ึนจาก 7.09 ลานเหรียญสหรัฐฯ ในป 2549 เปน 8.54 ลานเหรียญสหรัฐฯ หรือ 10,102 ลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) ในป 2550 นับต้ังแตปท่ีกอต้ังธนาคาร XacBank (ป 2544) รายไดสุทธิโดยรวมของธนาคาร XacBank เพิ่มข้ึนติดตอกันเปนปท่ีหก ผลประกอบการของธนาคาร XacBank เปนท่ีนาพอใจอยางมาก กลาวคือ ในป 2547 ธนาคาร XacBank สามารถพลิกผันตัวเองจากการเปนสถาบันการเงินท่ีประสบกับการขาดทุนในชวงระยะเวลาเร่ิมตน ซ่ึงขาดทุนประมาณ 0.15 ลานเหรียญสหรัฐฯ จนกลายมาเปนสถาบันการเงินท่ีมีผลกําไรถึง 795.2 ลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) คิดเปน 0.65 ลานเหรียญสหรัฐฯ ภายในระยะเวลา 3 ป สําหรับในป 2550 ผลกําไรหรือรายไดสุทธิโดยรวมมีอัตราการเพิ่มขึ้นจากป 2549 ประมาณรอยละ 67.1 โดยมีมูลคาเทากับ 2.9 พันลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) หรือคิดเปน 2.47 ลานเหรียญสหรัฐฯ ท้ังนี้ เม่ือเทียบกับป 2546 พบวา ผลกําไรในป 2550 คิดเปนกวา 10 เทาของผลกําไรในป 2546 (รูปภาพท่ี 4.7)

การเพิ่มข้ึนของผลกําไรของธนาคารทําใหอัตราผลตอบแทนผูถือหุน (Return to Equity: ROE) เพิ่มสูงข้ึนเชนกัน จากรูปภาพท่ี 4.8 ในปแรกท่ีธนาคาร XacBank เร่ิมดําเนินการ อัตราผลตอบแทนผูถือหุนมีคาติดลบประมาณรอยละ 6 หลังจากนั้น อัตราผลตอบแทนผูถือหุนมีคาเปนบวกทุกป ซ่ึงสะทอนผลประกอบการที่ดีของธนาคาร ในป 2549 อัตราผลตอบแทนผูถือหุนหลังจากหักภาษี มีคาเทากับรอยละ 19.5 และตัวเลขดังกลาวเพิ่มสูงข้ึนเปนรอยละ 27.9 ในป 2550

หากพิจารณาถึงฐานะทางการเงิน ขอมูลสถิติในรูปภาพท่ี 4.9 แสดงใหเห็นวา มูลคาสินทรัพยธนาคาร XacBank มีมูลคาเพิ่มข้ึนทุกป ต้ังแตมีการกอต้ังธนาคาร XacBank ข้ึนมา เร่ิมจากป 2545 ธนาคาร XacBank มีสินทรัพยรวมมูลคาท้ังส้ิน 10.10 ลานเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยาย

Page 143: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

120

ของตัวเลขดังกลาวมีคามากกวารอยละ 50 ตลอด เปนระยะเวลา 5 ปติดตอกัน ในป 2547 ธนาคาร XacBank มีสินทรัพยรวมมูลคาประมาณ 26.14 ลานเหรียญสหรัฐฯ ในจํานวนนี้ คิดเปนเงินใหสินเช่ือ (Loan Portfolio) จํานวนท้ังส้ิน 20.3 พันลานมองโกเลียนทูรุก (MNT) หรือเทากับ 16.8 ลานเหรียญสหรัฐฯ และเงินใหสินเช่ือท่ีคางชําระเกินกวา 1 วัน (Portfolio At Risk) รอยละ 1.3 ตอมาในป 2548 และป 2549 มูลคาสินทรัพยของธนาคาร XacBank เพิ่มข้ึนเปน 48.53 ลานเหรียญสหรัฐฯ และ 76.33 ลานเหรียญสหรัฐฯ ตามลําดับ และจากขอมูลสถิติในปลาสุด พบวา ในป 2550 สินทรัพยของธนาคาร XacBank คิดเปนประมาณ 12 เทาของมูลคาสินทรัพยในป 2545 ท้ังนี้ มีมูลคารวมท้ังส้ิน 122.59 ลานเหรียญสหรัฐฯ ซ่ึงในจํานวนนี้มีสัดสวนท่ีเปนเงินท่ีใหสินเช่ือรอยละ 70 จํานวนเงินสดคิดเปนรอยละ 7 และท่ีดิน อาคารและอุปกรณสุทธิ คิดเปนสัดสวนประมาณรอยละ 6.3 สําหรับเงินใหสินเช่ือท่ีคางชําระเกินกวา 1 วัน มีสัดสวนเพียงรอยละ 0.92 เทานั้น ซ่ึงถือวาเปนระดับท่ีตํ่าท่ีสุดนับต้ังแตมีการกอต้ังธนาคาร XacBank ในป 2545

Page 144: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

121

รูปภาพท่ี 4.7 ผลกําไรของธนาคาร XacBank ในป 2545-2550

ผลกําไร (ลานเหรียญสหรัฐฯ)

0.65

1.22

1.52

2.47

0.24-0.15

-0.50

0.00

0.50

1.00

1.50

2.00

2.50

3.00

2545 2546 2547 2548 2549 2550

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคาร XacBank

รูปภาพท่ี 4.8 อัตราผลตอบแทนผูถือหุนของธนาคาร XacBank ป 2545-2550

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคาร XacBank

Page 145: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

122

รูปภาพท่ี 4.9

มูลคาสินทรัพยรวมของธนาคาร XacBank ป 2545-2550

มูลคาสินทรัพยรวม (ลานเหรียญสหรัฐฯ)

10.1015.24

26.14

48.53

76.33

122.59

0.00

20.00

40.00

60.00

80.00

100.00

120.00

140.00

2545 2546 2547 2548 2549 2550

ที่มา: รายงานประจําป 2007 ของธนาคาร XacBank

Page 146: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

123

4.2.7 ผลจากการดําเนินการของธนาคาร XacBank

ในป 2550 ความสําเร็จในการดําเนินงานของธนาคาร XacBank ไดรับการยอมรับในระดับนานาชาติเปนอยางมาก ความนาเช่ือถือของธนาคาร XacBank ไดรับการยกระดับจาก Standard and Poor’s Ratings Services โดยเพิ่มระดับความนาเช่ือถือจากระดับ BB- เปนระดับ B+ ท้ังนี้ เนื่องมาจากความมีเสถียรภาพทางการเงินท่ีดีข้ึน ผนวกกับศักยภาพการเติบโตอยางตอเนื่องและม่ันคง นอกจากนี้ ธนาคาร XacBank ไดถูกจัดเขาเปนธนาคารหนึ่งในจํานวน 100 สถาบันการเงินในระดับจุลภาคช้ันนําของโลกจาก Microfinance Information eXchange (MIX) ซ่ึงธนาคาร XacBank ถูกจัดอยูในอันดับท่ี 49 โดยพิจารณาจากผลประกอบการ ประสิทธิภาพการดําเนินธุรกิจ ความโปรงใส การเขาถึงประชาชนในการใหบริการทางการเงิน และความรับผิดชอบตอสังคมเปนเกณฑ นอกจากนี้ ในปเดียวกันธนาคาร XacBank ไดลงนามและเขารวมใน United Nations Global Compact อยางเปนทางการ เพื่อเปนการแสดงใหเห็นถึงความต้ังม่ันอยางแนวแนของธนาคาร XacBank ท่ีจะประกอบธุรกิจดวยความโปรงใส รวมท้ังคํานึงถึงผลประโยชนของสวนรวม และสวัสดิภาพของสังคมเปนหลัก ท้ังในดานสิทธิมนุษยชน แรงงาน ทรัพยากรส่ิงแวดลอม และการตอตานการฉอราษฎรบังหลวงดวย

อยางไรก็ตาม จากการทบทวนการศึกษาตางๆ ยังไมพบรายงานการศึกษาผลกระทบของการดําเนินงานของธนาคาร XacBank ท่ีสามารถเขาถึงคนจน ผลกระทบตอการลดความยากจน และสัดสวนผูกูท่ีสามารถหลุดพนความยากจนท่ีนาเช่ือถือท่ีสามารถนํามาใชในการเสนออางอิงในการศึกษานี้ได เนื่องจากระบบการเงินในระดับจุลภาคของมองโกเลียยังไดรับการพัฒนาขึ้นไดไมนานนัก

Page 147: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

124

บทท่ี 5

ผลการศึกษา และขอเสนอแนะ

5.1 ผลการวิเคราะหเปรียบเทียบสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของไทย บังกลาเทศ และ มองโกเลีย

ระบบการเงินในระดับจุลภาคของไทย บังกลาเทศ และมองโกเลีย ท่ีไดนําเสนอในรายงานฉบับนี้ตางก็มีประวัติและความเปนมาท่ีเหมือนและแตกตางกัน โดยระบบการเงินในระดับจุลภาคในท้ังสามประเทศมีจุดประสงคเร่ิมตนในการใหเงินกูแกคนจน ผูประกอบการรายยอย ตลอดจนผูท่ีไมมีชองทางในการกูเงินจากระบบอ่ืนๆ แตการจัดต้ัง วัตถุประสงค กระบวนการ และผูมีสวนไดสวนเสียของระบบการเงินตางๆนี้มีความแตกตางกันไปตามลักษณะประชากร กฎหมาย และอิทธิพลจากผูจัดต้ังและเจาของเงินทุน ในบทนี้ จะกลาวถึงขอเปรียบเทียบของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคตางๆ เหลานี้ โดยสังเคราะหท่ีมาของความแตกตางและสาเหตุของความสําเร็จท่ีแตกตางกันในการเขาถึงกลุมเปาหมาย และลดความยากจนท่ีเปนองครวม เพื่อนําเสนอเปนขอเสนอแนะเพื่อการจัดต้ังระบบการเงินในระดับจุลภาค หรือปรับปรุงระบบการเงินในระดับจุลภาคที่ มีอยูในปจจุบันของไทยใหบรรลุจุดประสงคของการชวยเหลือคนจนไดอยางมีประสิทธิภาพและยั่งยืนข้ึน

5.1.1 นโยบาย และวัตถุประสงคในการดาํเนินการ ระบบการเงินในระดับจุลภาคของไทยท้ังสามองคกรท่ีไดกลาวมา ไดแก กองทุนหมูบาน

ธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน (ในท่ีนี้หมายถึงเฉพาะธนาคารประชาชน) ตางมีนโยบายและจุดประสงคท่ีเร่ิมมาจากการเปนองคกรของรัฐเพื่อสงเสริมและพัฒนาเกษตรกร คนจน และผูประกอบการรายยอย โดยองคกรท้ังสามนี้ มีการจัดต้ังข้ึนตามนโยบายของรัฐบาล มีรัฐบาลเปนเจาของ โดยธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินจัดเปนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และกองทุนหมูบานเปนกองทุนเฉพาะกิจของรัฐ ท่ีมีวัตถุประสงคเพื่อพัฒนาชนบท ยกระดับรายไดและคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเมือง และเขตชนบท โดยมุงสงเสริมการพัฒนา การพึ่งตนเองในชุมชน และกระตุนเศรษฐกิจระดับฐานราก นอกจากนี้ ธนาคารออมสินยังเนนการสงเสริมการออมเพื่อสมาชิกจะไดมีวินัยการออมท่ีดี ท้ังนี้เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐในระยะยาวในการ

Page 148: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

125

แกปญหาความยากจน และสงเสริมใหประชากรในระดับฐานรากมีการพึ่งตนเอง โดยองคกรท้ังสามองคกรนี้จัดเปนองคกรท่ีไมแสวงหากําไรที่มีรัฐหรือคนในชุมชนเปนเจาของ ในขณะท่ีธนาคารกรามีน และ ธนาคาร XacBank จัดต้ังและจดทะเบียนในรูปของธนาคารท่ีไมไดริเร่ิมโดยรัฐ โดยธนาคารกรามีนจดทะเบียนในรูปธนาคารดวยกฎหมายเฉพาะพิเศษท่ีตางไปจากธนาคารพาณิชยท่ัวไปของบังกลาเทศ และ XacBank เกิดข้ึนจากการควบกิจการของสถาบันการเงินท่ีไมใชธนาคาร (Non-bank)

แมวาธนาคารกรามีน และ ธนาคาร XacBank มีจุดประสงคท่ีใกลเคียงกับระบบการเงินในระดับจุลภาคของไทย คือเพื่อใหกูแกคนจนและผูประกอบการรายยอย “เพื่อตอบสนองความตองการบริการทางการเงินอยางท่ัวถึงแกคนจน ท่ีคํานึงการแสวงหากําไรอยางสมดุล เพื่อใหเกิดการพัฒนาอยางยั่งยืน” แตยังคงเปนองคกรท่ีเปน “ธุรกิจเพื่อสังคม” ท่ียึดเปาหมายเปนธนาคารพาณิชยท่ีแสวงหากําไรที่รัฐไมไดเปนเจาของ และไมไดจัดต้ังข้ึนเพื่อสนองนโยบายของรัฐ โดยขณะนี้ ธนาคารกรามีนมีเจาของคือผูกูที่เปนสมาชิกถึงรอยละ94.34 และธนาคาร XacBank มีเจาของเปนบริษัทเอกชน และ NGOs

5.1.2 กลุมเปาหมาย การควบคุมดูแล และการบริหารงาน เนื่องจากความแตกตางทางดานท่ีมา การจัดต้ัง รวมถึงการเปนองคกรท่ีแสวงหากําไร

หรือไม ทําใหการดําเนินการของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของไทยมีความแตกตางจากธนาคารกรามีน และธนาคาร XacBank โดยหากพิจารณากลุมเปาหมายของการใหกูจะพบวาสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของไทยเนนการใหกูแกเกษตรกร (ธ.ก.ส.) คนจนในชุมชน (กองทุนหมูบาน) และคนจนและวิสาหกิจรายยอยท่ัวไปท่ีไมสามารถเขาถึงแหลงทุนอ่ืนๆได (ธนาคารออมสิน) เนื่องจากองคกรท้ังสามเปนองคกรเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐ แตกลุมเปาหมายของธนาคารกรามีนคือประชาชนท่ียากจนท่ีสวนใหญเปนผูหญิงท่ีธนาคารกรามีนเห็นวาเปนเพศท่ีมีความรับผิดชอบสูงและนาเช่ือถือท่ีสุดในการใชเงินคืนตามสัญญา และกลุมเปาหมายของธนาคาร XacBank คือประชาชนท่ัวไปและธุรกิจท่ีตองการสินเช่ือ (โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอม) ท่ีไมจําเปนตองเปนคนจน เนื่องจากธนาคารกรามีนและธนาคาร XacBank เปน“ธุรกิจเพื่อสังคม” ท่ีแสวงหากําไรที่มีเปาหมายเปนกลุมคนฐานราก

หากพิจารณาการบริหารจัดการและการควบคุมดูแล พบวา เนื่องจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีสําคัญของไทยจัดต้ังข้ึนเปนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ การบริหารจัดการและการควบคุมดูแลจึงมาจากมาจากองคกรของรัฐเปนสวนใหญ โดย ธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) มีดําเนินการตามพระราชบัญญัติธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณ ป 2509 โดยอยูภายใตการกํากับดูแลของธนาคารแหงประเทศไทยและกระทรวงการคลัง ธนาคาร

Page 149: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

126

ออมสินมีการดําเนินการภายใตพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 โดยโครงการธนาคารประชาชนจัดต้ังข้ึนตามนโยบายของรัฐบาลในป 2544 และยังคงอยูภายใตการกํากับดูแลของธนาคารแหงประเทศไทยและกระทรวงการคลัง ซ่ึงท้ัง ธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินมีคณะกรรมการบริหาร ซ่ึงแตงต้ังโดยรัฐบาล โดยมีตัวแทนจากธนาคารแหงประเทศไทย และกระทรวงการคลัง สวนกองทุนหมูบานท่ีจัดต้ังข้ึนตามนโยบายของรัฐบาลในป 2544 มีการดําเนินการภายใตคณะกรรมการบริหารกองทุนของหมูบาน/ชุมชน และสมาชิก แตยังคงการกํากับดูแลโดยสํานักนายกรัฐมนตรี โดยหากเปรียบเทียบกับธนาคารกรามีน และธนาคาร XacBank แลว พบวา แมวาธนาคารกรามีนและธนาคาร XacBank ในภาพรวม จะถูกกํากับดูแลตามกฎหมายโดยกระทรวงการคลัง แตการดําเนินการจะยังอยูภายใตคณะกรรมการบริหารของธนาคาร ซ่ึงแตงต้ังโดยผูถือหุน (และผูกูในกรณีของธนาคารกรามีน) ท้ังนี้ เนื่องจากธนาคารท้ังสองแหงนี้มีการดําเนินการในรูปแบบธนาคารเอกชนที่ไมใชสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ

อยางไรก็ตาม มีขอสังเกตท่ีเปนประเด็นสําคัญท่ีสงผลใหการดําเนินการของระบบการเงินในระดับจุลภาคของไทยมีความขัดแยงกับการควบคุมดูแลคือ การที่เงินทุนของ ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน (ท่ีถือวาเปนสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของไทยท่ีเขาถึงเกษตรกรและผูประกอบการรายยอยมากท่ีสุดแหหนึ่ง) มาจากเงินฝากของธนาคารซ่ึงเปนการระดมทุนจากประชาชนและตลาดเงินท่ัวไปคลายกับธนาคารกรามีนและ ธนาคาร XacBank แตกลับมีคณะกรรมการบริหารซ่ึงแตงต้ังโดยรัฐบาล ทําใหอาจมีการแทรกแซงโดยรัฐบาลและกลุมนักการเมืองในการใชเงินทุนและการดําเนินนโยบายตางๆ ท่ีอาจบิดเบือนจากจุดประสงคท่ีต้ังไวในการใหกูกับกลุมผูดอยโอกาสในการเขาถึงเงินทุน และอาจทําใหการดําเนินงานในการบริหารเงินทุนไมเปนไปตามกลไกตลาดท่ีสะทอนความเส่ียงของการชําระคืนเงินกู โดยอาจมีการชวยเหลือจากรัฐบาลในกรณีท่ีการปลอยกูไมมีผลกําไรเนื่องจากลูกหนี้ผิดชําระหนี้ ทําใหตองมีการขยายระยะเวลาการชําระหนี้ได

ในสวนของกองทุนหมูบาน เนื่องจากกองทุนหมูบานเปนนโยบายจากรัฐ จึงมีแหลงท่ีมาของเงินทุนเร่ิมตน (seed money) จากเงินโอนของภาครัฐ โดยหลังจากโอนใหคณะกรรมการบริหารกองทุนของหมูบานแลว รัฐก็ไมไดเขามาแทรกแซงในเร่ืองการบริหารจัดการ ทําใหการปลอยกูเปนไปตามกลไกของตลาดและความเส่ียงของสมาชิกมากกวา ธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารประชาชน และมีความใกลเคียงกับการบริหารจัดการของเอกชน เชน ธนาคารกรามีน และธนาคาร XacBank มากกวา

Page 150: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

127

5.1.3 การกําหนดอัตราดอกเบ้ีย

ดวยเหตุผลของความแตกตางทางดานการบริหารจัดการดังกลาวทําใหกองทุนหมูบานมีการกําหนดอัตราดอกเบ้ียท่ีไมมีการแทรกแซงจากภาครัฐท่ีคลายกับธนาคารกรามีน และธนาคาร

XacBank โดยการกําหนดอัตราดอกเบ้ียของกองทุนหมูบานท่ีผานมาโดยเฉล่ียมีอัตราท่ีคอนขางสูงคือไมเกินรอยละ 15 ตอป ซ่ึงใกลเคียงกับอัตราดอกเบ้ียของธนาคารกรามีน (ประมาณรอยละ 20 ตอปในกรณีท่ีลูกหนี้ชําระหนี้ตามกําหนดและสม่ําเสมอ) และธนาคาร XacBank (ประมาณโดยเฉล่ีย

รอยละ 17-20 ตอป) ท่ีการกําหนดอัตราดอกเบ้ียไมมีการแทรกแซงจากภาครัฐเชนเดียวกัน เนื่องจากการบริหารจัดการของ กองทุนหมูบาน ธนาคารกรามีน และธนาคาร XacBank เปนแบบพึ่งตนเอง

เพื่อใหเกิดความมีเสถียรภาพของกองเงินทุน จึงทําใหการกําหนดอัตราดอกเบ้ียสะทอนความเส่ียงของผูกูรายยอยมากกวา ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และโครงการ

ธนาคารประชาชน ของธนาคารออมสิน ซ่ึงการกําหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกูข้ึนอยูกับนโยบายของรัฐบาล โดยในปจจุบัน อัตราดอกเบ้ียของ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.)

ข้ึนอยูกับประเภท วัตถุประสงคและเง่ือนไขในการกู ซ่ึงมีอัตราดอกเบี้ยอยูท่ีเฉล่ีย MLR 5.50-7.50 ตอป ขณะท่ีโครงการธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน กําหนดอัตราดอกเบ้ียท่ีรอยละ 1 ตอเดือน

5.1.4 กลยุทธ รูปแบบการใหกู การสรางแรงจูงใจ และการใหบริการ กลยุทธท่ีองคกรตางๆ ในรายงานนี้ใชในการใหเงินกูกับผูขอกูรายยอยมีความแตกตางกัน

ตามนโยบายและเปาประสงคขององคกร จากการวิเคราะหเปรียบเทียบ จะเห็นไดวา กองทุนหมูบานและธนาคารกรามีน มีความคลายคลึงกันอยางมากในเร่ืองการไมเรียกรองหลักทรัพยคํ้าประกัน แตจะมีการใชสมาชิกคํ้าประกันหรือกดดันลูกหนี้ และมีการใหกูท่ีเปนระบบข้ันบันได และมีการปลอยวงเงินกูไดมากกวาเงินกูข้ันแรกในกรณีท่ีมีความจําเปน โดยผูกูจากกองทุนหมูบานจะดองมีสมาชิกคํ้าประกัน 2 และกูไดไมเกิน 20,000 บาท (หรือขยายวงเงินกูไดไมเกิน 50,000 บาท) ในขณะท่ีธนาคารกรามีนมีกลยุทธท่ีไมตองใชหลักทรัพยคํ้าประกันเชนกัน แตใชการรวมกลุมกลุมละ 5 คน และใชสมาชิกในกลุมกดดันกันเอง โดยสมาชิกในกลุมคนอ่ืนๆ จะไมตองรับผิดชอบเงินกูของลูกหนี้ท่ีผิดสัญญาชําระเงินตามสัญญา แตจะไมสามารถกูเงินได หากยังมีสมาชิกในกลุมไมใชหนี้คืนตามสัญญา

สําหรับ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และ โครงการธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน มีกลยุทธท่ีคลายกับธนาคารพาณิชยท่ัวไปท่ียังคงใชหลักทรัพยคํ้าประกัน และใชสมาชิกคํ้าประกันสองคน ซ่ึงคลายกับกลยุทธของธนาคาร XacBank ท้ังนี้ เนื่องจาก

Page 151: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

128

ผูกูรายยอยนั้นมีความเส่ียงสูงในการไมชําระหนี้คืน และธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และโครงการธนาคารประชาชน เนนการใหกูเพื่อการเกษตรและธุรกิจรายยอยท่ีมีกลุมเปาหมายท่ัวไปจึงไมสามารถใชการรวมกลุมท่ีไมมีหลักทรัพยคํ้าประกันไดเนื่องจากเปนตนทุนท่ีสูงเกินไป ซ่ึงการมีตนทุนท่ีสูงนี้จะตองมีการกําหนดอัตราดอกเบ้ียท่ีสูงเพื่อใหเกิดความคุมทุน แตดังท่ีไดกลาวไวแลววา อัตราดอกเบ้ียเงินกูของธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสินถูกกําหนดไวตํ่ามาก การไมมีหลักทรัพยคํ้าประกัน หรือไมมีผูคํ้าประกันจึงไมใชกลยุทธท่ีมีประสิทธิผล สําหรับธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน

สําหรับการชําระคืนหนี้ พบวา กองทุนหมูบาน และธนาคารกรามีนกําหนดใหมีการชําระ

เงินคืนเปนงวดๆ เหมือนกัน โดยสวนใหญจะกําหนดระยะเวลาใชคืนเงินกูแบบระยะส้ัน เชน 1 ป หรือภายในระยะเวลาท่ีกรรมการกําหนด และลูกคาท่ีมีการชําระหนี้ตามกําหนดจะไดรับประโยชนตอบแทน เชน มีการเพิ่มวงเงินกู หรือลดอัตราดอกเบ้ียให ซ่ึงจะเห็นวานโยบายการชําระเงินคืนเปนงวดๆ และ การใหผลประโยชนตอบแทนในการเปน “ผูกูช้ันดี” นี้ สอดคลองกับกลยุทธท่ีไมตองใชหลักทรัพยคํ้าประกันเนื่องจากมีการกําหนดการชําระเงินเปนงวดๆ และมีสมาชิกคํ้าประกันหรือกดดัน เพื่อติดตามประเมินความสามารถในการใชคืนเงินกูไดอยางใกลชิด

สําหรับโครงการธนาคารประชาชน ของธนาคารออมสินพบวา ยังมีการกําหนดใหมีการ

ชําระเงินคืนเปนงวดๆ เหมือนกัน แตมีบทลงโทษสําหรับการไมใชหนี้คืนท่ีเขมงวดกวา เชน หากไมชําระหนี้คืนตามกําหนด ธนาคารจะคิดคาปรับจากเงินตนในงวดนั้นในอัตรารอยละ 1.5 ตอเดือน ซ่ึงในภาพรวมแลวพบวา ยังคงมีลักษณะท่ีเปนคลายกับ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคาร XacBank โดยยังคงคิดเบ้ียปรับสําหรับการผิดชําระเงินกูอยู

สําหรับระบบการสรางแรงจูงใจในการใชหนี้คืน พบวา องคกรตางๆ พยายามท่ีจะใชกล

ยุทธในการสรางแรงจูงใจในการชําระหนี้ โดยลูกหนี้ท่ีจายหนี้คืนตามกําหนดจะไดรับการพิจารณาเพิ่มวงเงินกูและลดอัตราดอกเบ้ีย (ยกเวนธนาคาร XacBank) แตธนาคารกรามีนจะมีความโดดเดนในดานการสรางแรงจูงใจนี้มากท่ีสุด โดยเร่ิมจากการรวมกลุมสมาชิก 5 คน เม่ือสมาชิกตองการเงินกู สมาชิกในกลุมทุกคนจะตองสัญญาวาจะปฏิบัติตามหลักการของธนาคาร 16 ขอ (เพื่อเปนการเตรียมความพรอมและฝกวินัยใหกับสมาชิก) และธนาคารจะประเมินผูตองกูเปนระยะเวลา 1 เดือนวาสามารถปฏิบัติตามหลักการของธนาคารไดหรือไม จากน้ันจึงปลอยกูใหกับสมาชิก 2 คนกอน โดยใชระบบแรงกดดันจากสมาชิกในกลุม คือเม่ือสมาชิก 2 รายแรกน้ีชําระเงินตนและดอกเบ้ียคืนแลว สมาชิกคนอ่ืนจึงสามารถขอกูได และในระหวางการปลอยกู ธนาคารกรามีนจะเนนการสราง

Page 152: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

129

ความสัมพันธท่ีดีกับลูกคาโดยมีการจางพนักงานของธนาคารจํานวนมากเพ่ือติดตามลูกคา และมีการประชุมระหวางผูจัดการศูนย หัวหนากลุมและสมาชิกทุกสัปดาห

ทางดานการพัฒนาศักยภาพของลูกหนี้ในการประกอบอาชีพ พบวา ธนาคารเพ่ือการเกษตร

และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) มีความโดดเดนมากท่ีสุด เนื่องจากเปนธนาคารเฉพาะกิจเพื่อสงเสริมศักยภาพของเกษตรกร จึงมีการประชุมและอบรมในพื้นท่ี (การพบกลุม)ใหกับลูกหนี้รวมกับพนักงานสินเช่ืออยางสม่ําเสมอ ท้ังนี้ผลประโยชนทางออมท่ีไดคือการมีสัมพันธภาพท่ีดีกับลูกคาเพื่อเกิดการติดตามการใชหนี้คืนอยางมีประสิทธิภาพมากข้ึน ท้ังนี้ ท้ังกองทุนหมูบาน ธนาคารประชาชน ธนาคารกรามีน และธนาคาร XacBank ไมไดมีนโยบายหลักในการการอบรมเสริมทักษะใหกับลูกหนี้ เนื่องจากกองทุนหมูบานเนนการใหกูเพื่อการลงทุนและเปนทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพท่ีหลากหลายเกินไป และ ธนาคารกรามีนมีปรัชญาวาลูกหนี้ทุกคนมีศักยภาพในการทํางานอยูแลวเพียงแตขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพเทานั้น สําหรับ โครงการธนาคารประชาชน ของธนาคารออมสิน และธนาคาร XacBank ไมเนนการอบรมทักษะใหกับลูกคาเนื่องจากมีลูกคาท่ีหลากหลายและนโยบายการใหเงินกูจะคลายกับธนาคารพาณิชยท่ัวไปมากกวา

ทางดานเครือขายในการใหบริการ พบวา ธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร

(ธ.ก.ส.) ธนาคารกรามีน และธนาคาร XacBank มีความโดดเดนทางดานการสรางเครือขายการบริการใหเขาถึงประชาชนท่ีดอยโอกาสมากที่สุด โดยธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารกรามีนมีการบริการผานสาขาของธนาคาร หนวยบริการในระดับตําบล อําเภอ โดยเฉพาะธนาคารกรามีนท่ีมีสาขาการใหบริการเปนจํานวนมาก ซ่ึงสวนใหญจะอยูในชนบท นอกจากนี้ ยังมีพนักงานออกไปใหบริการนอกสถานท่ี และมีการจัดต้ังกลุมผูกู โดยแตงต้ังหัวหนากลุมเปนตัวกลางประสานงาน ติดตอกับธนาคาร รวมท้ังมีการประชุมกลุม อบรม ใหความรู สมาชิก ประจําทุกสัปดาห สําหรับธนาคาร XacBank มีการบริการผานทางสาขาของธนาคารและเนื่องจากสภาพของภูมิประเทศท่ีประชากรอยูอยางกระจายตัว จึงมีพนักงานออกไปใหบริการ นอกสถานท่ี มีการใหบริการทางการเงินผานโทรศัพทมือถือ (Mobile Banking Scheme) และมีการประยุกตใชระบบแฟรนไชส (Franchising) โดยวิธีการจัดต้ังสหกรณเงินออมและสินเช่ือข้ึนในแตละตําบล (Soum) และหมูบาน ซ่ึงดําเนินการโดยตัวแทนจากชุมชนหมูบาน

สําหรับกองทุนหมูบาน พบวา เนื่องจากการใหเงินกูเปนการใหกูในระยะส้ันโดยมีการ

พิจารณากล่ันกรองลูกหนี้จากคณะกรรมการประจําหมูบาน จึงไมจําเปนตองมีการใหบริการผานทางพนักงานเฉพาะของโครงการ โดยผูกูสามารถรับบริการทางการเงินผานทางสาขาของธนาคารออมสิน ธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารกรุงไทย

Page 153: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

130

ในสวนของการสรางการสรางแรงจูงใจใหกับพนักงาน พบวา ธนาคารเพ่ือการเกษตร และ

สหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินมีระบบการสรางแรงจูงใจใหกับพนักงานเหมือนบริษัทเอกชนท่ัวไป คือ มีระบบการเล่ือนตําแหนง เงินเดือน โบนัส ตามผลงาน แตธนาคารกรามีนจะมีระบบการสรางแรงจูงใจเพิ่มเติมใหกับพนักงาน คือมีการใหคะแนนและเชิดชูผลงานแกสาขาท่ีปฏิบัติงานดีเดนเพื่อเปนกําลังใจใหกับพนักงานและเปนแรงบันดาลใจใหกับสาขาอ่ืนๆ นอกจากนี้ ยังพบความโดดเดนของการสรางแรงจูงใจใหกับพนักงานของธนาคาร XacBank ท่ีพนักงานสวนใหญจะอยูในวัยหนุมสาว คือ การใหความสําคัญตอการพัฒนาทรัพยากรมนุษยของพนักงาน โดยมีนโยบายและกิจกรรมการเสริมสรางศักยภาพของบุคลากรเพื่อพัฒนาความเช่ียวชาญและประสบการณในการทํางานดานระบบการเงินในระดับจุลภาคอยางตอเนื่อง

ในสวนของกองทุนหมูบานท่ีไมมีพนักงานเฉพาะในการติดตามประเมินผลลูกหนี้ พบ

ขอสังเกตท่ีนาสนใจคือ มีระบบการจัดอันดับมาตรฐานของกองทุนหมูบาน (AAA, AA, และ A) ซ่ึงเปนการประเมินผลในทางมหภาคเทานั้น แตไมมีผลไดเสียตอการบริหารกองทุนในแตละหมูบาน เนื่องจากการบริหารจัดการกองทุนข้ึนอยูกับคณะกรรมการบริหารกองทุนประจําหมูบาน และเงินทุนหมุนเวียนเร่ิมตนของกองทุนหมูบานไดมีการโอนเขาสูระบบของหมูบานในแตละหมูบานไปแลว นอกจากกองทุนท่ีไดมาตรฐาน AAA ท่ีสามารถเพ่ิมวงเงินกูไดอีก 100,000 บาท

5.1.5 ความสําเร็จท่ีแตกตาง

หากวัดผลสําเร็จของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีไดเปรียบเทียบในบทนี้โดยพิจารณาจากอัตราการชําระเงินกูคืน พบวาธนาคาร XacBank ธนาคารกรามีน กองทุนหมูบาน ธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน มีอัตราการชําระเงินกูคืนมากท่ีสุดตามลําดับคือ XacBank รอยละ 99 ธนาคารกรามีนรอยละ 98 กองทุนหมูบานรอยละ 94-96 ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) รอยละ 89 และธนาคารออมสินรอยละ 83 และหากวัดผลประกอบการจาก ROE ก็ยังพบวาธนาคาร XacBank ยังคงประสบความสําเร็จสูงในการทําผลกําไรใหกับองคกร โดย ธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) และ ธนาคารกรามีนมี ROE อยูท่ีระดับใกลเคียงกัน (ประมาณ 10.25)77 ท้ังนี้ ROE ท่ีสูงมากของธนาคาร XacBank สะทอนการกล่ันกรองลูกหนี้แบบเขมงวด และการเรียกรองหลักทรัพยคํ้าประกันในการ

77 ยังไมมีการายงาน ROE ของ กองทุนหมูบาน และโครงการธนาคารประชาชนท่ีดําเนินการโดยธนาคารออมสิน (สําหรับ ROE ของ ธนาคารออมสินโดยรวมเทากับ 19.5)

Page 154: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

131

ขอกู รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกูท่ีสูงตอผูประกอบการรายยอย และการการมีเครือขายติดตามการชําระหนี้อยางคลอบคลุมและกวางขวาง

อยางไรก็ตาม แมวายังไมมีการประเมินผลการเขาถึงคนจนของธนาคาร XacBank ท่ีเปนตัวเลข

แนชัด จากนโยบายของธนาคาร XacBank ทําใหมีขอสรุปวาธนาคาร XacBank ไมนาที่จะเขาถึงคนจนและผูประกอบการท่ีขาดแหลงเงินทุนไดกวางขวางมากนัก เนื่องจากธนาคาร XacBank มีนโยบายของการใหกูเพื่อแสวงหากําไร และยังคงเรียกรองหลักทรัพยคํ้าประกันจากลูกหนี้ ซ่ึงมีชาวมองโกเลียท่ียากจนจํานวนมากท่ีไมมีหลักทรัพยคํ้าประกันตามหลักเกณฑของธนาคาร และ นโยบายของธนาคาร XacBank ในอนาคตยังมุงเนนการเปล่ียนแปลงกลยุทธการใหกูท่ีเนนการใหกูแกผูประกอบการรายใหญมากข้ึน ซ่ึงหากพิจารณาความสําเร็จของธนาคาร XacBank จากการเปนสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเขาถึงคนจนแลว อาจนับไดวาธนาคาร XacBank ยังไมประสบผลสําเร็จเทาท่ีควร

หากพิจารณาความสําเร็จจากการเปนสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเขาถึงคนจน พบวา

มีผูไดประโยชนจากกองทุนหมูบานประมาณ 6.5 ลานคน หรือประมาณรอยละ 10.28 ของระชากร (ในป 2549) แตจากการสํารวจของนักวิชาการหลายฝาย กลับพบวามีสัดสวนคนจนท่ีไดรับประโยชนจากกองทุนหมูบาน ประมาณเพียงรองละ 9-10 เทานั้น เนื่องจากกรรมการของกองทุนหมูบานหลายแหงไมใหสินเช่ือแกกลุมคนยากจนซ่ึงมีความเส่ียงสูงและไมมีผูคํ้าประกันให แตจากรายงานกลับพบวา ธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) ซ่ึงเปนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แมวาจะมีอัตราการชําระเงินกูคืนท่ีใกลเคียงกับกองทุนหมูบาน กลับสมารถใหบริการแกเกษตรกรไดถึงรอยละ 98.1 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมดในประเทศ ท้ังนี้ยังไมมีรายงานวา ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) ไดยกระดับครัวเรือนเกษตรกรเหลานี้ใหหลุดพนจากความยากจนไดมากนอยเพียงใด

จากการวิเคราะหความสําเร็จจากการเขาถึงคนจน พบวา ในภาพรวม กระบวนการ และดาน

กลยุทธการใหกูของธนาคารกรามีนถือวามีความโดดเดนในการเขาถึงคนจนมากที่สุด ซ่ึงในป 2549 มีรายงานวาธนาคารกรามีนสามารถเขาถึงผูยากไรจํานวน 6.15 ลานครัวเรือน และมีสาขาใหบริการครอบคลุมหมูบานกวา 83,000 หมูบาน และไดรับการยกยองจากนักวิชาการและสถาบันการเงินในระดับจุลภาคใหเปนสถาบันการเงินตนแบบท่ีมีกลไกการดําเนินงานท่ีเอ้ือตอการเขาถึงคนจนไดอยางท่ัวถึง ท้ังนี้ ธนาคารกรามีนอาจมีจุดดอยอยูบางในเร่ืองของจํานวนเงินกู ท่ีคอนขางตํ่า (เนื่องจากไมใชระบบหลักทรัพยคํ้าประกัน) แตจากรายงาน พบวา ธนาคารกรามีนสามารถทําใหผูกู

Page 155: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

132

สามารถหลุดพนจากความยากจนไดถึงรอยละ 58.4 ของผูกูท้ังหมด78 นอกจากนี้ ธนาคารกรามีน ยังไดขยายรูปแบบการใหกูไปยังขอทานและผูดอยโอกาสกลุมอ่ืนๆอยางตอเนื่อง สําหรับโครงการธนาคารประชาชน ยังไมพบรายงานการเขาถึงคนจนและการสัดสวนผูกูท่ีหลุดพนความยากจน จึงไมสามารถนําเสนอเปนตัวเลขท่ีอางอิงได แตคาดวา นาจะมีจํานวนนอยเนื่องจากโครงการธนาคารประชาชนมีระบบการใหกูคลายคลึงกับธนาคารพาณิชย ซ่ึงในท่ีนี้จะคลายกับธนาคาร XacBank

5.1.6 ปจจัยสูความสําเร็จ และการกําหนดเปาประสงค

จากการวิเคราะหความสําเร็จของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีไดนําเสนอในบทนี้ จะเห็นไดวาความสําเร็จของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคข้ึนอยูกับปจจัยตางๆ มากมาย ซ่ึงในการนิยามความสําเร็จ ผูประเมินจะตองพิจารณาความสําเร็จของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคนั้นตามเปาประสงคของสถาบันการเงินนั้นๆ โดยหากประเมินตามเปาประสงคของระบบการเงินในระดับจุลภาคท่ีแสวงหากําไร พบวาธนาคาร XacBank ธนาคารกรามีน และธนาคารออมสินมีความสําเร็จสูง แตหากพิจารณาระบบการเงินในระดับจุลภาคในดานการเขาถึงประชาชนผูยากไรตามจุดประสงคของการลดความยากจน พบวา ธนาคารกรามีน และ ธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณการเกษตร (ธ.ก.ส.) ประสบความสําเร็จคอนขางมาก สําหรับกองทุนหมูบาน พบวา มีความสําเร็จ ในอัตราการชําระคืนเงินตน แตไมสามารถเขาถึงคนจนไดอยางท่ัวถึงตามจุดประสงคท่ีไดตั้งไวต้ังแตแรกเร่ิมดําเนินโครงการมากนัก อยางไรก็ตาม กองทุนหมูบานสามารถบรรลุจุดประสงคในการชวยใหเกิดเงินทุนหมุนเวียนไดเปนอยางดี

กลาวโดยสรุป การวิเคราะหความสําเร็จในภาพรวมของระบบการเงินในระดับจุลภาคตางๆ

ท่ีไดนําเสนอในรายงานคร้ังนี้ พบวา ปจจัยสูความสําเร็จอาจแตกตางกันไปตามวัตถุประสงคของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคนั้นๆ แตสามารถสรุปปจจัยพื้นฐานเพื่อการกําหนดกลยุทธสําหรับระบบการเงินในระดับจุลภาคท่ีนําไปสูความสําเร็จในภาพรวมได ดังนี้

1. การควบคุมดูแล: การควบคุมดูแลสถาบันการเงินในระดับจุลภาค เปนปจจัยพื้นฐานใน

การกําหนดกลยุทธและเปาประสงคของสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีดีตองมีการควบคุมดูแลจากหนวยงานท่ีมีจุดประสงคท่ีสอดคลองกับเปาประสงคขององคกร

78 ตามนิยามความยากจนท่ีธนาคารกรามีนต้ังไวเองดังที่ไดนําเสนอในบทท่ี 3

Page 156: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

133

2. การเขาถึงกลุมเปาหมาย: การเขาถึงกลุมเปาหมายตามวัตถุประสงคหลักของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเปนส่ิงสําคัญท่ีตองมีการติดตามและประเมินผลอยางตอเนื่อง ท้ังนี้ ตองมีการประเมินการดําเนินการขององคกรเพื่อใหเขาถึงกลุมเปาหมายไดมากท่ีสุด

3. แหลงเงินทุน: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคตองพิจารณาท่ีมาของเงินทุนท่ีทําใหเกิดการหมุนเวียนเงินทุนไดอยางยั่งยืนและและคุมทุนในการดําเนินการ

4. การสรางแรงจูงใจในการชําระหนี้: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคตองเนนการสรางแรงจูงใจในการชําระหนี้ และใชทุนในการสรางแรงจูงใจใหมากกวาธนาคารพาณิชยท่ีปลอยสินเช่ือใหกับผูประกอบการรายใหญท่ีมีหลักทรัพยหรือบุคคลคํ้าประกัน ท้ังนี้ตองมีการสรางแรงจูงใจใหเหมาะสมกับกลุมเปาหมาย (เชน ธนาคารกรามีน เนนการใหกูแกผูหญิง) และคํานึงถึงวัฒนธรรมทองถ่ิน ความเช่ือ และศาสนาดวย

5. แรงจูงใจใหกับพนักงาน: เนื่องจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคตองติดตามลูกหนี้ท่ีเปนรายยอยท่ีมีความเสี่ยงสูงในการไมชําระคืนเงินกู สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจึงตองมีพนักงานทองถ่ินในสัดสวนท่ีมาก พรอมท้ังมีระบบการสรางแรงจูงใจใหกับพนักงานท่ีดีและมีประสิทธิภาพ และมีตัวช้ีวัดท่ีเปนรูปธรรมในการติดตามผลการดําเนินงานของพนักงานได

6. ระบบการติดตามลูกหนี้: นอกจากการมีระบบการสรางแรงจูงใจในการชําระหนี้ และการสรางแรงจูงใจใหกับพนักงานในการติดตามหนี้แลว สถาบันการเงินในระดับจุลภาคตองมีระบบการติดตามลูกหนี้ท่ีเนนการพบปะลูกหนี้บอยคร้ัง หรือการกําหนดงวดการชําระหนี้ท่ีมีความถ่ีสูง เพื่อลูกหนี้เกิดความเคยชิน และเพื่อการติดตามประเมินผลที่ดี

7. เครือขายการบริการ: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคตองเนนการสรางเครือขายบริการท่ีเขาถึงกลุมเปาหมาย ครอบคลุมพื้นท่ีของกลุมเปาหมายไดมากที่สุด และมีเครือขายบริการตนทุนตอหนวยตํ่า เนื่องจากตองมีการบริการผูกูรายยอยเปนจํานวนบอยคร้ังจากระบบการติดตามลูกหนี้ท่ีเขมขน

8. ความคุมทุน: เนื่องจากการปลอยกูใหกับผูประกอบการรายยอย คนจน หรือผูดอยโอกาสในการเขาถึงเงินทุนมีความเส่ียงสูงทางดานการชําระคืนหนี้ สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจําตองพิจารณาใหมีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยและคาใชจายในการดําเนินการตางๆ ท่ีคุมทุน เพื่อความเปนอิสระขององคกรจากการแทรกแซงของภาครัฐ และเพื่อความยั่งยืนขององคกร

9. การบริหารจัดการแบบพ่ึงตนเอง: สถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีมีการบริหารจัดการแบบพึ่งตนเอง โดยไมพึ่งภาครัฐจะมีความยืดหยุนในการปรับเปล่ียนระบบการดําเนินงานและมีวินัยในการบริการการเงินท่ีมีประสิทธิภาพ

Page 157: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

134

ตารางที่ 5.1 ตารางเปรียบเทียบองคกรการเงินระดับจุลภาคที่ศึกษา

กองทุนหมูบาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ

การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน

(เฉพาะโครงการธนาคารประชาชน) ธนาคารกรามีน ธนาคาร XacBank

การใหกู -ไมตองใชหลักประกัน - ใชสมาชิกค้ําประกัน 2 คน และกูไดไมเกิน 20,000 บาท หากมีความจําเปนอาจใหกูไดไมเกิน 50,000 บาท

-ใชหลักทรัพยค้ําประกัน -ใชสมาชิกค้ําประกัน 2 คนโดยจํ า น ว น เ งิ น ใ ห กู ขึ้ น อ ยู กั บหลักประกัน วัตถุประสงค และความสามารถของผูกู

-ใชหลักทรัพยค้ําประกัน -ใชสมาชิกค้ําประกัน 2 คน กําหนดเงินใหสินเชื่อครั้งแรกไมเกินรายละ 30,000 บาท และครั้งที่สอง ไมเกินรายละ 50,000 บาท สําหรับวงเงินใหสินเชื่อในครั้งต อ ไป กํ าหนดไม เ กิ น ร า ยละ 100,000 บาท

-ไมมีหลักประกัน - ใชสมาชิกในกลุมกดดัน - สมาชิกในกลุมจะไดรับเงินกูตอ เมื่ อสมาชิกในกลุม ที่ กู ไปชําระคืนเงินกูแลว - ส ม า ชิ ก ใ น ก ลุ ม ไ ม ต อ งรับผิดชอบแทนสมาชิกคนอื่น - กลุมหนึ่งๆประกอบดวย 5 คน

- ตองมีหลักทรัพยค้ําประกัน

รูปแบบการใหกู - แบบกลุม - แบบรายบุคคล - แบบกลุม เฉลี่ย 5-15 คน

- แบบกลุมๆ ละ3 คน - แบบกลุมๆ ละ 5 คน - แบบรายบุคคล - แบบกลุม (เฉพาะบางโครงการ)

การกําหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู

(นโยบายภาครัฐ) ไมมีการแทรกแซงจากภาครัฐ รัฐเขามาแทรกแซง รัฐเขามาแทรกแซง ไมมีการแทรกแซงจากภาครัฐ ไมมีการแทรกแซงจากภาครัฐ

อัตราดอกเบี้ยเงินกู

การกําหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกูของกองทุน ขึ้นอยูกับคณะกรรมการหมูบาน หรือชุมชนนั้นๆ เปนผูกําหนด โดยปกติไมเกินรอยละ 15 ตอป สําหรับเงินกูที่ระยะเวลาใชคืนเงินกูไมเกิน 1 ป

การกําหนดอัตราดอกเ บี้ย เ งินกูขึ้นอยูกับนโยบายของรัฐบาล ป จ จุ บั น อั ต ร าดอก เ บี้ ย ขึ้ น อยูประเภท วัตถุประสงคและเงื่อนไขในการกู เฉลี่ย MLR 5.50-7.50

การกําหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกูขึ้นอยูกับนโยบายของรัฐบาล โครงการธนาคารประชาชนกําหนด อัตราดอกเบี้ยรอยละ 1 ตอเดือน

ปจจุบันเงินกูยืมระยะเวลา 1 ป ชําระคืนเงินตนรอยละ 2 ทุกสัปดาห อัตราดอกเบี้ยรอยละ 20 ตอป - ไมมีการคิดอัตราดอกเบี้ยทบตน

การกําหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกูขึ้นอยูกับประเภทของเงินกู วัตถุประสงคและเงื่อนไขในการกู เฉลี่ยรอยละ 17-24

Page 158: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

135

ตารางที่ 5.1 ตารางเปรียบเทียบองคกรการเงินระดับจุลภาคที่ศึกษา (ตอ)

กองทุนหมูบาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ

การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน

(เฉพาะโครงการธนาคารประชาชน) ธนาคารกรามีน ธนาคาร XacBank

การชําระคืนเงินกู -กําหนดชําระคืนเปนงวดๆ - ระยะเวลาใชคืนเงินกูไมเกิน 1 ป ห รื อ ภ า ย ใ น ร ะ ย ะ เ ว ล า ที่คณะกรรมการหมูบาน หรือชุมชนนั้นๆ กําหนด

- ชําระคืนเปนตามระยะเวลา และเงื่อนไขการกู กรณีเกษตรกรกูเพื่อใชในการประกอบอาชีพ มีระยะเวลาไมเกิน 12 เดือน - หากไม ชํ า ร ะห นี้ต าม กํ าหนด ธนาคารจะคิดคาปรับ

- ชําระคืนเปนรายงวดๆ ตามวงเงินใหสินเชื่อ - หากไมชําระหนี้ตามกําหนด ธนาคารจะคิดคาปรับจากเงินตนของงวดนั้นในอัตรารอยละ 1.5 ตอเดือน

- ชํ าระคืน เปนงวดๆ เปนรายสัปดาห - สวนใหญเปนสินเชื่อระยะสั้น - เพิ่มความยืดหยุนใหแกผูกูที่มาสามารถชําระคืนตามกําหนดได ไมว าจะ เปนการผอนชําระหนี้นอยลงหรือระยะเวลาในการชําระหนี้ที่ยาวขึ้น

ชําระคืนเปนตามระยะเวลา และเงื่อนไขการกู - การดําเนินการกับผูผิดชําระหนี้จะเหมือนธนาคารพาณิชยทั่วไป

การรับฝากเงิน - ขึ้ น อ ยู กั บ น โ ย บ า ย ข อ งคณะกรรมการกองทุนในหมูบาน/ชุมชน

- มีสงเสริมการออมเงิน โดยมีการบริการรับฝากเงิน แตไมมีการบังคับออม

- กําหนดใหมีการฝากเงินกอนการกูอยางนอย 2 เดือน แตสามารถใชบัญชีเงินฝากของธนาคารที่มี มาใชในการยื่นขอสินเชื่อได

- กํ าหนดใหสมาชิกออมเ งินกับธนาคารเปนจํานวนเงินและตามระยะเวลาที่กําหนดกอนการใหกู

- มี บ ริ ก า ร รับฝ าก เ งิ น เ หมื อนธนาคารพาณิชยทั่วไป

การใหบริการประกัน ไมมี มี มี มี ไมมี

Page 159: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

136

ตารางที่ 5.1 ตารางเปรียบเทียบองคกรการเงินระดับจุลภาคที่ศึกษา (ตอ)

กองทุนหมูบาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ

การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน

(เฉพาะโครงการธนาคารประชาชน) ธนาคารกรามีน ธนาคาร XacBank

ชองทางการใหบริการ - ผ า นส า ข า ธน า ค า รอ อม สิน ธน า ค า ร เ พื่ อ ก า ร เ กษต ร แล ะส ห ก ร ณ ก า ร เ ก ษ ต ร แ ล ะธนาคารกรุงไทย

- ผ านสาขาของธนาคาร หนวยบริการ ในระดับตําบล อําเภอ สวนใหญจะอยูเขตชนบท - มีพนักงานออกไปใหบริการ นอกสถานที่ - มีการจัดตั้งกลุมผู กู และแตงตั้งหั ว ห น า ก ลุ ม เ ป น ตั ว ก ล า งประสานงาน ติดตอกับธนาคาร - มีการประชุม อบรม ใหความรูกลุมผูกูตามระยะเวลาที่กําหนด

- ผานสาขาของธนาคารสวนใหญจะอยูในเขตเมือง - มีพนักงานออกไปใหบริการ นอกสถานที่

- ผานสาขาของธนาคารสวนใหญจะอยูเขตชนบท - มีพนักงานออกไปใหบริการนอกสถานที่ - มีการจัดตั้งกลุมผู กู และแตงตั้งหั ว ห น า ก ลุ ม เ ป น ตั ว ก ล า งประสานงาน ติดตอกับธนาคาร - มีการประชุมกลุม อบรม ใหความรู สมาชิก ประจําทุกสัปดาห

- ผานสาขาของธนาคาร - มีพนักงานออกไปใหบริการ นอกสถานที่ - มีการใหบริการทางการเงินผานโทรศัพทมือถือ (Mobile Banking Scheme) - การประยุกตใชระบบแฟรนไชส (Franchising) โดยวิธีการจัดตั้งสหกรณเงินออมและสินเชื่อ ขึ้นในแตละตําบล (Soum) และหมูบาน ซึ่ ง ดํา เ นินการโดยตัวแทนจากชุมชนหมูบาน

การใหบริการอื่น ๆ ไมมีแบบแผนที่แนนอน ขึ้นอยูกับคณะกรรมการหมูบาน หรือชุมชนนั้นๆ กําหนด

มีการอบรม ใหความรูทางวิชาการ สรางเครือขายการผลิต การตลาด

ใหคํ าปรึกษา อบรมความรู ในการประกอบอาชีพ

ใหคําปรึกษา อบรมอาชีพ ความรูในการประกอบอาชีพ

มีการอบรมใหความรูเชิงวิชาการ แตไมครอบคลุมทุกโครงการ และเปนสวนนอย

Page 160: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

137

ตารางที่ 5.1 ตารางเปรียบเทียบองคกรการเงินระดับจุลภาคที่ศึกษา (ตอ)

กองทุนหมูบาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ

การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน

(เฉพาะโครงการธนาคารประชาชน) ธนาคารกรามีน ธนาคาร XacBank

ระบบการสรางแรงจูงใจในการชําระหนี้ของผูกู

ไมมีแบบแผนที่แนนอน ขึ้นอยูกับคณะกรรมการหมูบาน หรือชุมชนนั้นๆ กําหนด

- ใหความสําคัญกับการแสรายรับ-รายจายของผูกูเปนหลัก -ลูกคาที่ชําระหนี้ตามกําหนดไดรับการพิจารณาเพิ่มวงเงินกู ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู - มีการประชุมและฝกอบรมในพื้นที่รวมกับพนักงานสินเชื่อเพื่อใหมีคานิยมและทัศนคติที่ดีตอธนาคาร เ ป น ผู มี ค ว ามซื่ อสั ตย และ เพื่ อเสริมสรางความสัมพันธที่ดีของกลุมลูกคา - เน นการสร า งความส ัมพ ันธ ที่ใกลชิดระหวางพนักงานกับลูกคา

- เนนการสรางความสัมพันธที่ใกลชิดระหวางพนักงานกับลูกคา -ลูกคาที่ชําระหนี้ตามกําหนดไดรับการพิจารณาเพิ่มวงเงินกู ลดอัตราดอกเบี้ย

- ลูกหนี้ของธนาคารกรามีนทุกคนจะตองผานการเรียนรู “บทบัญญัติสิบหกประการ” เพื่อเปนการเตรียมความพรอม และฝกการมีวินัยใหกับสมาชิก - เน นการสร า งความส ัมพ ันธ ที่ใกลชิดระหวางพนักงานกับลูกคา - มีการประชุมระหวางผูจัดการศูนย หั วหน า ก ลุ ม แ ล ะสม าชิ ก ทุ ก ๆ สัปดาห -ลูกคาที่ชําระหนี้ตามกําหนดไดรับการพิจารณาเพิ่มวงเงินกู

- เหมือนธนาคารพาณิชยทั่ วไป ลูกคาที่ชําระหนี้ตามกําหนดไดรับการพิจารณาเพิ่มวงเงินกู ลดอัตราดอกเบี้ย

อัตราการชําระคืนเงินกู อัตราการคางชําระหนี้เงินกู เทากับรอยละ 11.74 ในป 2549*

อัตราสวน NPL ตอสินเชื่อเทากับ รอยละ 11.30 ในป 2550

อัตราสวน NPL ตอสินเชื่อเทากับ รอยละ 17.57 ในป 2551

อัตราสวน NPL ตอสินเชื่อประมาณ รอยละ 2 ในป 2549

อัตราสวน NPL ตอสินเชื่อเทากับ รอยละ 0.92 ในป 2550

ผลประกอบการ ไมมีผลการศึกษาที่ชัดเจน ROE เทากับ 10.25 ROE เทากับ 19.50 (ของธนาคารออมสินรวม)

ROE เทากับ 10.25 ROE เทากับ 27.90 ในป 2550

Page 161: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

138

ตารางที่ 5.1 ตารางเปรียบเทียบองคกรการเงินระดับจุลภาคที่ศึกษา (ตอ)

กองทุนหมูบาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ

การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน

(เฉพาะโครงการธนาคารประชาชน) ธนาคารกรามีน ธนาคาร XacBank

ระบบการสรางแรงจูงใจใ น ก า ร ทํ า ง า น ข อ ง พนักงาน

ไมมีแบบแผนที่แนนอน ขึ้นอยูกับคณะกรรมการหมูบาน หรือชุมชนนั้นๆ กําหนด

- ให คว ามสํ าคัญต อก ารพัฒนาศักยภาพของพนักงาน - สรางแรงจูงใจพนักงานในการทํ า ง านโดยก าร เ ลื่ อน ตํ าแหน ง เงินเดือน โบนัส ตามผลงาน

- ใหความสําคัญตอการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน - สรางแรงจูงใจพนักงานในการทํางานโดยการเลื่อนตําแหนง เงินเดือน โบนัส ตามผลงาน

- นอกจากสรางแรงจูงใจพนักงานโดยการเลื่อนตําแหนง เ งินเดือน โบนัส แลวยังมีระบบการใหคะแนน แ ล ะ เ ชิ ด ชู ผ ล ง า น แ ก ส า ข า ที่ปฏิบัติงานดีเดน เพื่อเปนแรงบันดาลใจแกพนักงาน

- สรางแรงจูงใจใหพนักงานทุกคนจะตองไดรับคาตอบแทนจากการทํ า ง า น อ ย า ง เ ป น ธ ร ร ม แ ล ะเหมาะสมกับประสิทธิภาพการทํางาน - ใหความสําคัญอยางยิ่ งตอการพัฒนาทรัพยากรมนุษย และไดมีนโยบายในการเสริมสรางศักยภาพของบุคลากรอยางตอเนื่อง - เนนพัฒนาเจาหนาที่ทุกระดับของ ธนาคารใหมีประสิทธิภาพในการทํ า ง า น สู ง แ ล ะ พั ฒ น า ค ว า มเชี่ยวชาญและประสบการณในการทํ า ง านในระบบการ เ งินระ ดับจุลภาค

ผลตอผูกู ไมมีผลการศึกษาที่ชัดเจน สามารถใหบริการเกษตรกร รอยละ98.10 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด

ไมมีผลการศึกษาที่ชัดเจน ทําใหผูกูสามารถหลุดพนจากความยากจนได รอยละ 65.5 ผูกูทั้งหมด (ป 2550)

ไมมีผลการศึกษาที่ชัดเจน

Page 162: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 139

5.2 ขอเสนอแนะรูปแบบการบริหารสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของประเทศไทย

จากการวิเคราะหปจจัยเปรียบเทียบระหวางสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของประเทศไทย กับประเทศมองโกเลียและประเทศบังกลาเทศในสวนที่ผานมาแลว พบวา สถาบันการเงินในระดับจุลภาคของไทยมีลักษณะการบริหารจัดการที่แตกตางจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของท้ังสองประเทศ โดยประเด็นท่ีแตกตางมากท่ีสุดก็คือ การท่ีสถาบันการเงินของท้ังประเทศมองโกเลียและประเทศบังกลาเทศตางก็เปนการบริหารของเอกชน จึงทําใหสามารถดําเนินกิจการโดยปราศจากการเขาแทรกแซงของภาครัฐ (หรือจากทางการเมือง) และสามารถกําหนดรูปแบบของตัวสินคาและอัตราดอกเบ้ียไดโดยอิสระ ในขณะท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของประเทศไทยถูกจัดต้ังใหอยูในการกํากับดูแลของภาครัฐ (หรือเปนหนวยงานของรัฐ) ทําใหบอยคร้ัง สถาบันการเงินในระดับจุลภาคของไทยมักจะถูกแทรกแซงจากภาครัฐในการดําเนินกิจกรรมที่ทําใหตลาดเกิดการบิดเบือน (Market Distortion) เชน การปลอยสินเช่ือในอัตราดอกเบ้ียท่ีต่ําเกินไปกับกลุมลูกคาท่ีมีความเส่ียงสูง การสนับสนุนในการปลอยสินเช่ือกับกลุมใดกลุมหนึ่งโดยเฉพาะ หรือการยกหนี้สิน/พักหนี้สินใหกับกลุมเกษตรกร เปนตน มาตรการเหลานี้ทําใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจําเปนตองพึ่งการอุดหนุนจากภาครัฐเปนสําคัญ ซึ่งจะสงผลเสียตามมาถึงความไมยั่งยืนของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเหลานั้น รวมไปถึงยังเปนการสรางภาระแกภาครัฐและไมทําใหเกิดการพัฒนาประเทศอยางแทจริง

ในการเสนอแนะรูปแบบการบริหารจัดการสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเหมาะสมในประเทศไทย จะเสนอแนะโดยอยูภายใตกรอบวัตถุประสงค 3 ประการท่ีกลาวไวในบทที่ 1 ไดแก Scale, Depth และ Sustainability ดังนี้

1. สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองมีการพัฒนาคุณภาพการใหบริการทางการเงิน

(Financial Service) กับคนจํานวนมากของประเทศท่ีมีฐานะยากจน (Scale) 2. สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองมีการขยายการใหสินเช่ือไปสูคนท่ีมีฐานะยากจน

ท่ีสุดในสังคม (Poorest Group) หรือกลุมท่ียากจนแรนแคน เพื่อท่ีจะแนใจวาคนจนทุกคนสามารถเขาถึงแหลงเงินทุนได (Depth)

3. สถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะตองมีความม่ันคงทางการเงินโดยตองพิจารณาถึงตนทุนในการใหสินเช่ือทั้งผูขอสินเช่ือ (ลูกคา) และผูฝากเงิน (Sustainability)

ท้ังนี้รูปแบบการบริหารจัดการท่ีจะนําเสนอนั้น จะเนนใหความสําคัญกับการจัดต้ังสถาบัน

การเงินในระดับจุลภาคเพื่อบรรลุวัตถุประสงคท้ังสามดานนี้ไปพรอมๆ กัน และใหสอดคลองกับกรอบการวิเคราะหในการจัดต้ังและบริหารสถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเหมาะสมสําหรับ

Page 163: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 140

ประเทศไทยท้ัง 3 ระดับไดแก “ระดับของลูกคา” (Client) “ระดับจุลภาค” (Micro Level) และ “ระดับมหภาค” (Macro Level) ดังนั้นขอเสนอแนะจึงจะแบงเปนขอเสนอแนะในระดับลูกคา (Clients) และขอเสนอแนะในระดับองคกร ดังนี้

5.2.1 ขอเสนอแนะในระดับลูกคา (Clients)

เนื่องจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะใหความสําคัญกับการปลอยสินเช่ือแกกลุมลูกคา

ท่ีมีรายได ตํ่าหรือมีฐานะยากจน เปนอาจเปนกลุมท่ีไมมีนายจางหรือจางงานตนเอง (Self-Employed) และสวนใหญจะเปนกลุมชาวนาและเกษตรกร นอกจากนี้ลูกคาของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคสวนใหญยังอาศัยอยูในชนบท เชน เกษตรกรหรือประกอบอาชีพท่ีเกี่ยวของกับการเกษตร การแปรรูปอาหาร หรือการคาขายเล็กๆ นอยๆ ในขณะท่ีลูกคาท่ีอยูในเมืองจะประกอบอาชีพท่ีหลากหลายไมวาจะเปน การขายของหาบเร/รถเข็น การทํางานในภาคกอสราง การทํางานตามบาน เปนตน นอกจากนี้ ลูกคาสวนใหญของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเปนลูกคาท่ีมีความยากจนอยูในระดับปานกลาง (Moderate Poor) และอีกสวนหนึ่งเปนลูกคาท่ีไมยากจนแตมีความไมม่ันคง (Vulnerable Non-Poor) ในขณะท่ีจะมีสวนนอยๆ ท่ีเปนกลุมท่ีมีความยากจนมาก (Extreme Poor)

ทีมวิจัยเห็นวาในการท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะสามารถปลอยสินเช่ือใหครอบคลุมไปถึงกลุมลูกคาท่ีมีความยากจนมาก (Extreme Poor) หรือกลุมท่ีลูกคามีความไมม่ันคง (Vulnerable Non-Poor) โดยไมทําใหเกิดความเส่ียงท่ีสูงเกินไปไดนั้น สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรจะสรางความหลากหลายในการปลอยสินเช่ือใน 2 ลักษณะไดแก

1. ความหลากหลายของกลุมลูกคา (Diversified Customers) โดยสถาบันการเงินใน

ระดับจุลภาคควรที่จะมีการกําหนดสัดสวน (ในลักษณะของรอยละ) ของการใหบริการสินเช่ือแกลูกคาในแตละกลุมใหแนนอนโดยสามารถจําแนกได 3 กลุมหลักๆ ไดแก

(1) กลุมผูดอยโอกาส ไดแก ผูหญิง (โดยเฉพาะผูหญิงท่ีหยารางและมีภาระเล้ียงดูบุตร) คนชรา หรือคนพิการ เนื่องจากลูกคากลุมนี้จะมีความเส่ียงสูงท่ีสุด การใหสินเช่ือแกคนกลุมนี้จึงควรกําหนดรูปแบบการกูยืมแบบกลุม (Group Lending) โดยกลุมลูกคาผูดอยโอกาสสามารถเลือกท่ีจะจับกลุมกับกลุมผูดอยโอกาสเชนเดียวกัน หรือจับกับกลุมลูกคาแรงงานนอกระบบ (ท่ีไมมีหลักทรัพย) ท่ัวไปก็ได โดยท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจะใหสิทธิพิเศษ (Priority) ในการปลอยสินเช่ือกับกลุมท่ีดอยโอกาสนี้กอน

Page 164: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 141

กลุมอ่ืนๆ โดยจะตองมีการรับรองจากญาติหรือผูดูแลเพ่ือยืนยันสถานะของผูดอยโอกาสนั้นๆ เชน ลักษณะการพิการหรือการหยาราง เปนตน79

(2) กลุมแรงงานนอกระบบท่ีไมมีหลักทรัพย รวมถึงเกษตรกร โดยการใหสินเช่ือแกคนกลุมนี้ควรที่จะใหการกูยืมแบบกลุม (Group Lending) โดยมีจํานวนประมาณ 3-5 คนตอกลุม แตในกรณีท่ีกลุมแรงงานนอกระบบเหลานั้นมีหลักทรัพยท่ีใชค้ําประกันตามขอกําหนดของสถาบัน การใหสินเช่ือสามารถกระทําในลักษณะของสินเช่ือสวนบุคคลได (Individual Lending)

(3) กลุมแรงงานในระบบท่ีมีรายไดนอย โดยคนกลุมนี้มักจะมีหลักทรัพยค้ําประกัน และเอกสารยืนยันอ่ืนๆ เชน การกําหนดเงินเดือนข้ันต่ํา การจายเบ้ียประกันสังคม เปนตน จึงทําใหลูกคากลุมนี้มีระดับความเส่ียงนอยกวากลุมอ่ืนๆ ท่ีกลาวไวขางตน ดังนั้นการใหสินเช่ือแกลูกคากลุมนี้จึงสามารถกระทําในลักษณะของสินเช่ือสวนบุคคลได (Individual Lending)80

การสรางความหลากหลายของกลุมลูกคาจะชวยใหการบริหารความเส่ียง (Risk Management) ของสถาบันการเงินในระดับจุลภาคมีประสิทธิภาพมากข้ึนจากการพยายามเขาถึงกลุมลูกคาท่ีหลากหลาย นอกจากนี้ การกําหนดสัดสวนท่ีแนนอนในการปลอยสินเช่ือยังทําใหแนใจวาสถาบันการเงินในระดับจุลภาคยังคงใหความสําคัญกับกลุมท่ีดอยโอกาสและกลุมท่ียากจนมากซ่ึงเปนกลุมท่ีไมสามารถเขาถึงแหลงเงินทุนได

2. ความหลากหลายของสินคา (Diversified Products) ลักษณะของสินเช่ือควรท่ีจะตองสอดคลองกับสถานะของการดํารงชีวิตประจําวัน (Life-Cycle Events) ของคนไทย และตองมีความหลากหลายในตัวสินคาตามความตองการของลูกคาแตละคน ผูวิจัยเห็นวาการดํารงชีวิตประจําวันจะทําเกิดความตองการสินเช่ือท่ีหลากหลาย โดยสามารถจําแนกเปนเปน 3 ประเภทหลักๆ ไดแก

79ในกรณีน้ีจะใหความสําคัญกับกลุมลูกคาผูดอยโอกาสแทนที่จะเปนกลุมลูกคาที่ยากจนมาก (Extreme Poor) เน่ืองจากในหลายกรณีที่กลุมผูดอยโอกาสมักขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ หรือไมมีกําลังแรงงานอยูในครอบครัว (เชนการเสียชีวิต/การเจ็บปวยของหัวหนาครอบครัวที่เปนกําลังแรงงานสําคัญ) ซึ่งจะทําใหกลุมลูกคาดอยโอกาสน้ีมักเปนกลุมเดียวกับกลุมที่มีความยากจนมาก 80ลูกคากลุมน้ีอาจเปนกลุมลูกคาในเมืองที่มีลักษณะคลายๆ กับกลุมลูกคาของสถาบันการเงินที่ไมใชธนาคาร (Non-Bank) ที่เนนปลอยกูสินเช่ือสวนบุคคลเชน อีออน ควิกแคช คารฟอรแคช เปนตน

Page 165: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 142

(1) สินเช่ือเพื่อการดํารงชีวิตท่ัวไป เชน การเกิด เสียชีวิต คาเลาเรียนบุตร

(2) สินเช่ือเพื่อใชในภาวะฉุกเฉิน (Emergencies) เชน การเจ็บไขไดปวย อุบัติเหตุ หรือตกงาน

(3) สินเช่ือเพื่อสรางโอกาส (Opportunities) เชน การลงทุนในธุรกิจใหมๆ การซ้ืออสังหาริมทรัพย การตอเติมท่ีอยูอาศัยตามวัตถุประสงคของคนหรือกลุมก็ได โดยการกูเพื่อการลงทุนในธุรกิจใหมนี้สามารถกระทําไดในลักษณะของ Group Lending โดยใหสิทธิพิเศษแกกลุมท่ีต้ังใจจะทําธุรกิจหรือมีวัตถุประสงครวมกัน เชน ผลิตสินคาของกลุมแมบาน การตอเติมหรือซอมแซมท่ีอยูอาศัย เปนตน

รูปแบบของบริการสินเช่ือท่ีหลากหลายจะทําใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคสามารถกําหนดอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการปลอยกูใหแตกตางกันได ซ่ึงจะเปนการชวยลดความเส่ียงจากการปลอยสินเช่ือในลักษณะตางๆ นอกจากนี้ ความหลากหลายของสินคายังชวยใหลูกคาท่ีดอยโอกาสหรือมีฐานะยากจนสามารถเขาถึงแหลงเงินทุนไดมากข้ึน

นอกจากการใหสินเช่ือแกลูกคาท่ีมีฐานะยากจนแลว สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรเปนสถาบันท่ีเปดรับเงินฝากของประชาชน (Deposit Institution) โดยท่ัวไป โดยเฉพาะกับกลุมคนจนท่ีตองการความม่ันคงในชีวิตและทรัพยสิน รวมไปถึงสามารถวางแผนการขยายขอบเขตการดําเนินงานเพ่ือใหครอบคลุมถึง “ระบบการประกันในระดับจุลภาค” (Micro Insurance) ซ่ึงเปนระบบท่ียากในการบริหารจัดการท่ีสุด และมีโอกาสสําเร็จคอนขางนอย

5.2.2 ขอเสนอแนะในระดับองคกร

จากท่ีไดกลาวไวแลวขางตนวา สถาบันการเงินในระดับจุลภาคสามารถมีการจัดต้ังได 4 ประเภทไดแก (1) องคกรการเงินระดับจุลภาคท่ีไมเปนทางการ (Informal) (2) องคกรท่ีจัดต้ังโดยกลุมสมาชิกหรือสหกรณ (Member-owned) (3) องคกรที่ไมใชรัฐบาล (NGOs) และ (4) องคกรการเงินระดับจุลภาคท่ีเปนทางการ (Formal) ซ่ึงแตละประเภทจะมีจุดแข็งและจุดออนท่ีแตกตางกัน การดําเนินการในระดับองคกรจึงควรมีลักษณะ 7 ประการ ดังนี้

1. การจัดตั้ง สถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีเหมาะสมควรท่ีจะมีการจัดต้ังในลักษณะขององคกรการเงินท่ี “เปนทางการ (Formal) ท่ีมีอิสระหรือใหมีการเขาแทรกแซงจากภาครัฐใหนอยท่ีสุด (Independent) และไมแสวงหากําไรสูงสุด (Not for Profit Maximization)” หรืออาจสามารถ

Page 166: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 143

จัดต้ังไดในลักษณะขององคการมหาชน (Public Organization) ก็ได81 ท้ังนี้เพราะองคการมหาชน ถือเปนองคกรของรัฐประเภทหนึ่งท่ีกําหนดข้ึนเพื่อใหบริการสาธารณะตามท่ีกฎหมายกําหนดใหเปนหนาท่ีของรัฐท่ีตองการประสิทธิภาพสูง โดยมิไดคากําไรจากการบริการ หากแตกําหนดใหมีวัฒนธรรมองคกรเหมือนกับภาคธุรกิจท่ีสามารถใชประโยชนจากทรัพยากรไดอยางมีประสิทธิภาพสูงสุด ซ่ึงไมอาจดําเนินการไดในสวนราชการ

(1) การจัดต้ังองคกรในลักษณะท่ีเปนทางการนี้จะลดขอจํากัดในการใหบริการ โดย

สามารถนําเสนอบริการที่หลากหลาย จัดต้ังสาขาไดจํานวนมาก มีความสามารถในการบริหารจัดการเงินทุน และสามารถลงทุนในนวัตกรรมและเทคโนโลยีท่ีทันสมัยไดงาย นอกจากนี้ การเปนองคกรท่ีไมแสวงหากําไรสูงสุดยังเปนการเนนวัตถุประสงคทางสังคมท่ีควรคูไปกับการทํากําไร ในขณะท่ีการเปนองคกรอิสระหรือเอกชนจะทําใหองคกรมีความอิสระในการกําหนดอัตราดอกเบ้ียและบริหารจัดการเงินทุนไดอยางมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเปนการหลีกเล่ียงการเขาแทรกแซงของภาครัฐท่ีจะทําใหเกิดการบิดเบือนของระบบตลาด

(2) การจัดต้ังสามารถเกิดข้ึนไดจากการรวมทุนระหวางภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน หรือ

การใหรัฐเปนตัวกลางในการเริ่มตน โดยขอเงินสนับสนุนจากองคกรระหวางประเทศ และลดหุนสวนขององคกรระหวางประเทศและรัฐลงเร่ือยๆ เพื่อลดการแทรกแซงจากการเมือง นอกจากนี้ การจัดต้ังในอีกแนวทางหนึ่งก็คือ การยกระดับของกองทุนหมูบานเปนในลักษณะขององคกร แตในกรณีนี้จําเปนตองมีการแกพระราชบัญญัติการบริหารกองทุนหมูบานใหสอดคลองกับวัตถุประสงคขางตน เชนยกเลิกจากการบริหารจัดการกองทุนท่ีทําในระดับทองถ่ิน แตใหเปนการวางแผนจากสํานักงานใหญ เปนตน

2. การกําหนดอัตราดอกเบ้ีย อัตราดอกเบ้ียท่ีสถาบันการเงินในระดับจุลภาคจัดเก็บควรแปรผันตามความเส่ียงในการกูเงินในแตละประเภท โดยควรมีการตั้งอัตราดอกเบ้ียท่ีสูงกวากับกลุมท่ีมีความเส่ียงมากกวา อยางไรก็ดี อัตราดอกเบ้ียท่ีจัดเก็บจากสถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรสูงกวา

81 องคการมหาชนเปนองคการแบบราชการ (Bureaucratic model) ซึ่งมีสถานะเปนหนวยงานของรัฐและเปนนิติบุคคล จัดต้ังขึ้นตามพระราชบัญญัติองคการมหาชน พ.ศ. 2542 และพระราชกฤษฎีกาจัดต้ังหนวยงาน เพ่ือรับผิดชอบภารกิจของรัฐในการใหบริการสาธารณะหรือดําเนินกิจกรรมเฉพาะดานที่ภาครัฐยังจําเปนตองดําเนินการและจัดใหมี หรือภาครัฐตองมีบทบาทใหการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณเพ่ือใหเกิดการดําเนินงาน เปนบริการในสวนที่รัฐตองการสงเสริม หรือเปนบทบาทของรัฐในการใหบริการ การแทรกแซงตลาด หรือบริการที่ภาคเอกชนยังไมสนใจหรือมีศักยภาพที่จะดําเนินการ

Page 167: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 144

อัตราดอกเบ้ียของธนาคารพาณิชย แตตํ่ากวาอัตราดอกเบ้ียของเงินกูนอกระบบ ซ่ึงขัดแยงกับระบบเงินกูระดับจุลภาคในปจจุบันของประเทศไทย ท่ีภาครัฐกําหนดอัตราดอกเบ้ียท่ีต่ําเกินไป

3. การเขาถึงกลุมลูกคา สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรพยายามสรางระบบการเขาถึงลูกคาใหมากท่ีสุด ซ่ึงระบบการใหบริการแบบ Mobile Banking ของธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตรเปนระบบที่ผูวิจัยเห็นวามีประสิทธิผลมากท่ีสุด และสามารถเขาถึงกลุมลูกคาท่ีมีฐานะยากจน หรือดอยโอกาสไดอยางแทจริง

4. การติดตามการปลอยสินเชื่อ (Monitoring) ท่ียังคงเหมาะสมกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคของประเทศไทยก็คือ การใหกูในลักษณะแบบกลุม (Group Lending) และมีการติดตามโดยใชแรงกดดันทางสังคมประกอบกับการนัดประชุมกลุมในแตละคร้ัง แตเพื่อใหสอดคลองกับขนบธรรมเนียมของคนไทย อาจกําหนดใหมีการปรับรูปแบบโดยใช “การสาบาน” ท่ีจะใชเงินกูตามจุดประสงคท่ีขอกูและการจายหน้ีคืนตอส่ิงศักดิ์สิทธ์ิในทองถ่ิน การปลอยสินเช่ือสามารถกระทําไดโดยมีการใหเงินกูแบบข้ันบันได โดยใหกูเร่ิมตนกับทุกคนในวงเงินกูงวดแรกตํ่าและเพ่ิมข้ึนเร่ือยๆ เม่ือสมาชิกทุกคนในกลุมชําระเงินตนไดหมด ในการนัดประชุมกลุมควรมีการนัดพบกลุมและมีการชําระหนี้ทุกคร้ังท่ีนัดพบอยางนอยเดือนละ 2 คร้ัง

5. การกําหนดแรงจูงใจของพนักงาน นอกจากเงินเดือนท่ีไดประจําแลว ควรที่จะมีการวัดประสิทธิภาพของพนักงานท่ีทําหนาท่ีในการนัดประชุมกลุมและติดตามการชําระหนี้ดวย นอกจากนี้ควรมีการใหโบนัสหรือการเล่ือนข้ันตามความสามารถของการเรียกเก็บเงินชําระหนี้ ในกรณีของธนาคารกรามีน พนักงานท่ีทําหนาท่ีติดตามจะไดรับ “ดาว” ในสีตางๆ เพื่อแสดงวาพนักงานคนนี้มีความสามารถ แตในกรณีของประเทศไทย การไดรับโบนัสหรือการเล่ือนข้ันนาจะเปนระบบแรงจูงใจท่ีนํามาใชไดอยางมีประสิทธิภาพมากกวา

6. แหลงของเงินทุน (Source of Fund) สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรจะทําหนาท่ีเปนสถาบันรับฝากเงิน (Deposit-Taking Financial Institution) ซ่ึงมีลักษณะของ Debt Financing โดยใหดอกเบ้ียสูงกวาธนาคารพาณิชย โดยจําเปนท่ีจะตองมีการกําหนดมาตรการกํากับดูแลท่ีเหมาะสม (Prudent Regulation) ท่ีครอบคลุมไปถึง มาตรการการชวยเหลือผูฝากเงิน มาตรการการลดความเส่ียงในระบบ (Systematic Risk) นอกจากนี้ แหลงของเงินทุนยังสามารถมีลักษณะของ Equity Finance ไดแตควรจะตองมีการจัดการกําหนดภาระหนี้ท่ียอมรับได โดยพิจารณาควบคูไปกับกําไรที่สถาบันการเงินในระดับจุลภาคคาดหวัง (Expected Profit) นอกจากนี้ แหลงของเงินทุนยังสามารถระดมไดจากจากสาธารณะ มูลนิธิ และการบริจาคจากองคกรตางๆ

Page 168: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 145

7. ตาขายคุมครองทางสังคม (Social Safety Net) สถาบันการเงินในระดับจุลภาคควรจะเนนการใหบริการทางการเงินพื้นฐาน โดยเฉพาะการใหสินเช่ือแกประชาชนท่ีมีฐานะยากจนไปจนถึงยากจนท่ีสุดในสังคม เพื่อเปนการสรางระบบและกลไกในการพัฒนาระบบตาขายคุมครองทางสังคม หรือเครือขายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net) ใหประชาชน กลุมผูดอยโอกาสทางสังคมและกลุมผูยากจนทั่วไป สามารถเขาถึงแหลงเงินทุนได ซึ่งจะชวยใหคนยากจนหรือผูดอยโอกาส สามารถดํารงชีพอยูไดอยางเขมแข็งภายใตสถานการณทางเศรษฐกิจและสังคมตางๆ ท่ีเปล่ียนแปลงไป เชน วิกฤตการณทางเศรษฐกิจ วิกฤตการณดานอาหาร และวิกฤตการณดานพลังงาน เปนตน ซ่ึงปญหาเหลานี้ลวนสงผลกระทบตอทุกคนในประเทศ โดยเฉพาะกับคนยากจน ดังนั้น สถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีดีจึงควรทําหนาท่ีเสมือนระบบตาขายคุมครองทางสังคมเพื่อชวยผอนคลายผลกระทบดังกลาวลง และชวยใหประชาชนท่ีไดรับผลกระทบนั้นสามารถพัฒนาตนเอง และพ่ึงพาตนเองทางเศรษฐกิจไดอยางยั่งยืน

5.2.3 ขอเสนอแนะในระดับนโยบาย

จากท่ีไดกลาวในบทท่ี 1 แลววา โดยท่ัวไปแลว การดําเนินการของภาครัฐมีสวนเกี่ยวของกับ

ระบบการเงินในระดับจุลภาคอยู 3 ดาน ดวยกัน คือ การเปนผูใหบริการทางการเงินในระดับจุลภาคท้ังทางตรงและทางออม การเปนผูกําหนดนโยบาย (set policies) ในระบบการเงินในระดับจุลภาค และการสรางนโยบายเชิงรุก (Proactive) ในการสรางแรงจูงใจใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเนนใหบริการทางการเงินเฉพาะกลุมคนจน ภาครัฐควรใหมีการดําเนินการในระดับนโยบาย ในดานตางๆ ดังนี้

1. การเปนผูใหบริการทางการเงินในระดับจุลภาคท้ังทางตรงและทางออม เนื่องจากการใหสินเช่ือในระดับจุลภาคโดยการอุดหนุน (Subsidize) ท้ังทางตรงและทางออมสวนมากของภาครฐั มักประสบปญหาสําคัญ คือ ความไมมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และการแทรกแซงทางการเมือง ซ่ึงทําใหสินเช่ือนั้นไมสามารถเขาถึงคนจนอยางแทจริงได ท้ังยังเปนการสรางภาระตนทุนแกภาครัฐอีกดวย ดังนั้นเพื่อใหการใหสินเ ช่ือจากการอุดหนุนจากภาครัฐเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ ควรใหมีการดําเนินการ ดังนี้

(1) การดําเนินการในการบริหารจัดการสินเช่ือในระดับจุลภาคควรมีความเปนอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ

(2) ตองใหความสําคัญกับระบบการควบคุมภายในองคกร และกฎระเบียบในการบริหารจัดการในการรักษาความยั่งยืนทางการเงินของสถาบัน (Financially sustainable microfinance)

Page 169: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 146

(3) การใหสินเช่ือในระดับจุลภาคจะตองใหความสําคัญกับการใหสินเช่ือแกคนจนหรือคนท่ีมีรายไดนอยเปนหลัก

ท้ังนี้รัฐบาลอาจเขามามีสวนในการกําหนดกลุมลูกคาหรือกิจการทางเศรษฐกิจเฉพาะ และ

จัดสรรสินเช่ือแกลูกคาบางกลุมในทางออม (Indirect support) ได เชน การจัดสรรเงินทุนแกสถาบันการเงินเฉพาะ (Wholesale-level fund) ซ่ึงในทางปฏิบัติแลว ภาครัฐสามารถดําเนินการไดในหลายรูปแบบ ไมวาจะเปนการจัดโครงการท่ีมีลักษณะเฉพาะกลุม เชน กองทุนหมูบาน หรือการใหสินเช่ือไปกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคบางประเภท เปนตน

2. การเปนผู กําหนดนโยบาย ท้ังท่ี เปนนโยบายท่ัวไป นโยบายเชิงรุก (Proactive

government promotion) เพื่อสนับสนุนการดําเนินการของสถาบันการเงินในระดับจุลภาค ภาครัฐควรมีบทบาทสําคัญ ดังนี้

(1) ภาครัฐตองใหความสําคัญกับการดําเนินนโยบายในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ท้ังนี้เพื่อสรางปจจัย หรือสภาวะแวดลอมทางเศรษฐกิจท่ีดีท่ีเอ้ืออํานวยตอความยั่งยืนของระบบการเงินระดับจุลภาค ท้ังในระดับองคกร และระดับลูกคา หรือผูกู

(2) ภาครัฐตองใหความสําคัญกับอิสระการกําหนดอัตราดอกเบ้ีย (Liberalized interest rates) ตามความเส่ียง (Risk) และผลตอบแทน (Return) อยางแทจริงแกองคกรการเงินระดับจุลภาค ท้ังนี้ควรอยูในระดับท่ีเหมาะสม สามารถครอบคลุมตนทุนทางการเงิน และการบริหารจัดการ สามารถสะทอนตนทุนทางการเงินท่ีแทจริง และสงผลใหผูกูตองใชเงินกูนั้นอยางมีประสิทธิภาพ

(3) การออกกฎระเบียบและกํากับดูแลสถาบันการเงิน (Appropriate banking regulations and supervisory practices) สําหรับองคกรการเงินระดับจุลภาคตองเหมาะสมกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาค เนื่องจากองคกรการเงินระดับจุลภาคตองเผชิญกับความเสี่ยงท่ีตางจากธนาคารพาณิชยท่ัวไป รวมถึงมีลักษณะของกลุมลูกคาท่ีแตกตางกัน ดังนั้นในการออกกฎระเบียบเพื่อกํากับดูแลจึงควรมีการผอนปรนเคร่ืองมือท่ีใชในการกํากับดูแลสถาบันการเงินในระดับจุลภาคในระดับท่ีตางจากกรณีธนาคารพาณิชยท่ัวไป และควรเปนไปเพื่อสรางแรงจูงใจแกสถาบันการเงินในระดับจุลภาคในการปลอยสินเช่ือใหแกชุมชน โดยเฉพาะในชุมชนท่ีมีรายไดตํ่าดวย

(4) ภาครัฐควรเนนนโยบายการใหความสําคัญกับการใหสินเชื่อ โดยควรคํานึงถึงความเส่ียง (Risk) และผลตอบแทน (Return) อยางแทจริง เพื่อทําใหการใหสินเช่ือมีประสิทธิภาพ

Page 170: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 147

(5) ในการสนับสนุนระบบการเงินระดับจุลภาค ภาครัฐอาจจัดสรรงบประมาณโดยตรงใหกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเพ่ือทําหนาท่ีเปนผูจัดสรรใหกับกลุมลูกคาเฉพาะ หรืออาจสนับสนุนระบบการจับคูเงินฝาก (Matching deposits) ระหวางสถาบันการเงินและผูออม เพื่อสนับสนุนการระดมเงินทุนในการดําเนินงาน รวมท้ังอาจใหการสนับสนุนในการลงทุนทางดานเทคโนโลยี และการสรางระบบการจัดการตางๆ ใหกับสถาบันการเงินในระดับจุลภาคได

(6) ภาครัฐควรมุงเนนท่ีจะสงเสริมการพัฒนาใหสถาบันการเงินในระดับจุลภาคเปนสวนหนึ่งของการพัฒนาระบบตาขายคุมครองทางสังคม หรือเครือขายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net) เพื่อเปนเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสของคนในชุมชนท่ีมีฐานะยากจนใหไดรับความสะดวกในการฝากเงิน สงเสริมวินัยดานการออม รวมท้ังดานสินเช่ือ พรอมท้ังมีอัตราดอกเบ้ียท่ีเหมาะสมเม่ือเทียบกับอัตราดอกเบ้ียเงินกูนอกระบบ เปนตน และเพื่อเปนการประกันมาตรฐานการดํารงชีวิตข้ันพื้นฐานใหแกประชาชน ท้ังนี้ เพื่อเปนการบริหารจัดการเครือขายการคุมครองทางสังคมสําหรับคนยากจน และผูดอยโอกาส อันจะชวยบรรเทาปญหาความยากจน และสรางคุณภาพชีวิตแกคนในกลุมดังกลาวอยางยั่งยืน รวมท้ังเปนการเตรียมความพรอมและการพัฒนาใหประชาชนสามารถพึ่งตนเองไดภายใตสถานการณทางเศรษฐกิจและสังคมตางๆ ท่ีเปล่ียนแปลงไปไดในระยะยาว ตลอดจนชวยใหภาครัฐสามารถบรรลุเปาหมายในการบริหารจัดการเศรษฐกิจระดับมหภาคท้ัง 3 ดาน ไดแก การสรางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได ไดอยางยั่งยืนตอไปดวย

โดยสรุป สถาบันการเงินในระดับจุลภาคท่ีดีควรจะตองมีองคประกอบท่ีสําคัญ (หรือมี

ตัวช้ีวัดความสําเร็จท่ีสําคัญ) 4 ประการ ไดแก 1. ควรเปนองคกรท่ีมี “ความยั่งยืน” (Sustainability) มีการระดมเงินทุนและบริหารจัดการ

เงินทุนท่ีมีประสิทธิภาพโดยปราศจากการเขาแทรกแซงของภาครัฐ 2. เปนองคกรท่ีจําเปนตองมีการกําหนด “ผลตอบแทนในรูปตัวเงิน” (Returns) ภายใต

การบริหารจัดการความเส่ียง 3. เปนองคกรท่ีมีวัตถุประสงคในดาน “การลดความยากจน” (Poverty Reduction) โดย

เนนการเขาถึงกลุมคนจนใหหลากหลายมากข้ึนและมีการนําเสนอรูปแบบสินเช่ือท่ีมีความหลากหลายตอบสนองกับลักษณะการดํารงชีพของครัวเรือน

4. เปนองคกรท่ีมีการวัดผลกระทบในเชิงของสังคม (Social Impacts) ตอลูกคาท่ีไดรับบริการสินเช่ือ ท้ังนี้อาจกําหนดใหมีการวัดผลกระทบในเชิงของสังคมในลักษณะของตัวช้ีวัด (Checklist) ในรูปแบบหลายมิติ (Multi-dimensional Criteria) เพื่อใหเกิดความเชื่อมโยงระหวาง

Page 171: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 148

การวิเคราะหเชิงคุณภาพ (Qualitative analysis) และการวิเคราะหเชิงปริมาณ (Quantitative analysis) รวมกัน ตัวอยางเชน โอกาสในการศึกษา โอกาสในการบริโภคอาหารท่ีถูกสุขลักษณะ และการสรางรายได เปนตน โดยใหเหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ ของผูกู และวัตถุประสงคขององคกรเอง เชน ดัชนีช้ีวัดการพนความยากจน 10 ขอ ของผูกูของธนาคารกรามีน เปนตน และสอดคลองกับการดําเนินการของหนวยงานตางๆ ของภาครัฐท่ีดําเนินการอยูแลวในปจุบัน เพื่อสรางความเช่ือม่ันกับเกณฑการประเมิน สรางความโปรงใส ลดการใชดุลยพินิจใหนอยท่ีสุด เและสรางความเช่ือถือใหกับตัวองคกรเอง82

วัตถุประสงคท้ังส่ีประการนี้ เปรียบเสมือนกับลอขับเคล่ือนรถยนตท้ัง 4 ลอท่ีจะตองมีความสมดุล เพื่อท่ีจะทําใหระบบการเงินระดับจุลภาคของประเทศไทยมีท้ังความยั่งยืนและมีประสิทธิผลในการชวยลดความยากจนและการกินดีอยูดีของคนในประเทศไดในระยะยาวตอไป

82 ในเบื้องตนการกําหนดตัวช้ีวัดผลกระทบทางดานสังคมของผูกู วาจะใชเกณฑดานใดบางและใหความสําคัญกับเกณฑแตละดานอยางไรน้ัน ขึ้นอยูกับเปาประสงคขององคกรเอง ทั้งน้ีการประเมินผลกระทบทางดานสังคมที่พัฒนาขึ้นน้ันจะตองทําไดอยางรวดเร็วไมใชระยะเวลา และทรัพยากรของหนวยงานในการประเมินที่มากเกินไป เพ่ือเปนการสะดวกในการปฏิบัติงาน ในระยะแรกน้ัน อาจพัฒนาขึ้นในลักษณะตัวช้ีวัด (Checklist) ผลกระทบทางดานสังคมของผูกู ทั้งน้ีอาจกําหนดตัวช้ีวัดดังกลาวใหสอดคลองกับการดําเนินการของหนวยงานตางๆ ของภาครัฐที่ดําเนินการอยูแลวในปจุบัน ตัวอยางเชน ตัวช้ีวัดความยากจนของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ หรือ เครื่องช้ีวัดขอมูลความจําเปนพ้ืนฐาน (จปฐ.) และขอมูลพ้ืนฐานระดับหมูบาน/ชุมชน (กชช. 2ค) กระทรวงมหาดไทย เปนตน และจัดหาผูเช่ียวชาญเฉพาะในการพัฒนา วางแนวทาง จัดทําตัวช้ีวัดและฝกอบรมเจาหนาที่เพ่ือประเมินใหเหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ ของผูกู และวัตถุประสงคขององคกรเอง ทั้งน้ีเพ่ือพัฒนาใหหลักเกณฑการประเมินผลกระทบทางดานสังคมนั้นมีความนาเช่ือถือ โปรงใส มีเหตุผล เปนไปอยางถูกตองสอดคลองกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ สามารถตรวจสอบสภาพทางสังคมของผูกูไดอยางแทจริงวามีการพัฒนาหรือไม อยางไร และมีความนาเช่ือถือ และเปนที่ยอมรับโดยทั่วไปได

3. ลดความยากจน

1. มีความยั่งยนื

2. ผลตอบแทน 4. วิเคราะหผลกระทบ

Page 172: Comparative Micro Finance
Page 173: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 149

บรรณานุกรม

เอกสารอางอิงภาษาไทย

“กรามีนแบงก ทาพิสูจน ยินดีจาย 1 ลานดอลลาร ถาป 2030 พบความยากจนในบังกลาเทศ.”

ดอกเบ้ียธุรกิจ.7 กรกฎาคม 2551. <http://www.dbbnews.com/index.php/2008-06-30-11-46-04/money-news-passed/142-

2008-07-06-16-46-10> ชัยสิทธ์ิ อนุชิตวรวงศ (2550) “โอกาสการเขาถึงแหลงสินเช่ือกับการลดปญหาความยากจน.”

เอกสารประกอบการ เร่ืองจะแกปญหาความยากจนกันอยางไร: แขงขัน แจกจาย หรือสวัสดิการ เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจําป สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย วันท่ี 10-11 พฤศจิกายน 2550 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอรซิต้ี ชลบุรี.

“นักบริหารความจน ดร.มูฮัมหมัด ยูนุส.” หนังสือพิมพกรุงเทพธุรกิจ. 21 เมษายน พ.ศ.2550 <http://www.bangkokbiznews.com/2007/04/21/WW06_0609_news.php?newsid=65018> เพลินพิศ สัตยสงวน (2549) “สถาบันการเงินเฉพาะกิจ: เคร่ืองมือของนโยบายรัฐในการเขาถึงผูท่ี

ไมไดรับบริการจากธนาคารพาณิชย.” เอกสารประกอบการสัมมนา เร่ืองสูหนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ: ไดเรียนรูและปรับปรุงอะไรบาง? เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจําป สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย วันท่ี 9-10 ธันวาคม 2549 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอรซิต้ี ชลบุรี.

ไพบูลย วัฒนศิริธรรม และพรรณทิพย เพชรมาก (2544) “ระบบการเงินผูมีรายไดนอย.” สถาบันพัฒนาองคกรชุมชน

<http://job.haii.or.th/vtl/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=70> ปกรณ วิชยานนท.(2546) “สินเช่ือในชนบทไทยและการแปลงสินทรัพย (ท่ีดิน) เปนทุน.” รายงาน

ทีดีอารไอ ฉบับท่ี35 (พฤศจิกายน), หนา 1-20. ยงยุทธ แฉลมวงษ และคณะ (2547) “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการเงินระดับจุลภาค

(micro-banking development).” เสนอตอ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

มารเกอริต โรบินสัน (2001) การปฏิรูปการเงินรายยอย. วอชิงตันดีซี, สหรัฐอเมริกา: ธนาคารเพ่ือการฟนฟูและพัฒนา/ธนาคารโลก.

วิทยากร เชียงกูล (2551) มูฮัมหมัด ยูนุส ธนาคารคนจนและรางวัลโนเบล. กรุงเทพ: สํานักพิมพสายธาร.

Page 174: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 150

วิทวัส เหมทานนท (2551) “ผลกระทบจากการเขารวมโครงการธนาคารประชาชน ธนาคาร

ออมสิน.” คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. สฤณี อาชวานันทกุล (2550) “บทความพิเศษ: มูฮัมหมัด ยูนุส ประเทศไทย และอนาคตไมโคร

เครดิต.” สารคดี, ฉบับท่ี 264 (กุมภาพันธ) <http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=675.>

สถาบันการจัดการเพ่ือชนบทและสังคม (ไมระบุป) “บทสรุปสําหรับผูบริหาร: โครงการวิจัยประเมินผลโครงการแกไขปญหาหนี้สินภาคประชาชน.” มูลนิธิบูรณะชนบทแหงประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ.

<http://www.rasmi-trrm.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538677486>

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2541) “รายงานฉบับสมบูรณ โครงการตลาดการเงินในชนบทไทย 2539.” เสนอตอ ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร โดยฝายวิจัยเศรษฐกิจรายสาขา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สถาบันวิจัยและใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร (2548) “การติดตาม และประเมินผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล: รายงานฉบับสมบูรณ.” เสนอตอ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแหงชาติ โดยสถาบันวิจัยและใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

สถาบันวิจัยและใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร (2549) “การปฏิรูปโครงสรางการกํากับดูแลสถาบันการเงินและระบบการเงิน: รายงานฉบับสมบูรณ”. เสนอตอ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแหงชาติ โดยสถาบันวิจัยและใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

สมบูรณ ศิริประชัย นิธินันท วิศเวศวร และศุภชัย ศรีสุชาติ (2547) “นโยบายเศรษฐศาสตรมหภาคกับความยากจนในประเทศไทย: การสํารวจสถานะความรู.” วารสารเศรษฐศาสตรธรรมศาสตร, 3 (กันยายน), หนา 94-142.

สมศักดิ์ วงศปญญาถาวร รวิสมประภา รักเผาพันธุ และศิริพร สิริปญญวัฒน (ไมระบุป) “บทบาทสินเช่ือชนบทตอการเจริญเติบโตของภาคเกษตรไทย: บททดสอบเชิงประจักษของขอมูลระหวางป 2527-2539,” ธนาคารแหงประเทศไทย.

<http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/North/ArticleAndResearch/DocLi - 92k> สุทธาภา อมรวิวัฒน และเกียรติพงศ อริยปรัชญา (2549) “ปจจัยทุนทางสังคมตอความยั่งยืนของ

กองทุนหมูบานฯ.” เอกสารวิชาการโครงการวิจัยการประเมินนโยบายสาธารณะดานสังคมท่ีมีความสําคัญ โดยไดรับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสงเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสาธารณสุขแหงชาติ.

Page 175: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 151

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (2551) “รายงานการประเมินความ

ยากจน ป 2550.“ สํานักงานพัฒนาฐานขอมูลและตัวช้ีวัดภาวะสังคม สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ.

<http://www.nesdb.go.th/portals/0/tasks/eco_crowd/Poverty%202007.pdf> สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (2548) “การปฏิรูประบบการกํากับดูแลสถาบันการเงินในประเทศไทย”.

สํานักนโยบายระบบการเงิน สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (2548) “แผนแมบททางการเงินระดับฐานราก.” เอกสารประกอบการ

สัมมนาระดมความคิดเห็นรางแผนแมบททางการเงินระดับฐานราก.วันท่ี 15 -16 ธันวาคม 2548 ณ โรงแรม เอส ดี อเวนิว กรุงเทพฯ.

สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (ไมระบุป) “แผนแมบททางการเงินระดับฐานราก.” สํานักงานเศรษฐกิจการคลังกระทรวงการคลัง.

<www.fpo.go.th/pdf/finance%20basis%20model.pdf.> Rahman, A. (2551) “เรียนรูประสบการณ Grameen Bank (กรามีนแบงค).” เอกสารประกอบการ

สัมมนาทางวิชาการของคณะทํางานการกระจายรายได สภาท่ีปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ, วันท่ี 26 กรกฎาคม 2551 ณ. โรงแรมปรินซพาเลซ กรุงเทพฯ.

<http://www2.nesac.go.th/distribution/pdf/Binder.pdf>

Page 176: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 152

เอกสารอางอิงภาษาอังกฤษ

APEC Small and Medium Enterprise Workshop Group (2005) “The Need and Availability of

Micro Finance Service for Micro Enterprise: Bringing Multi-Level Good Practices Into Local Context.” APEC.

Armendariz, Beatriz and Morduch, Jonathan (2005) The Economics of Microfinance, Cambridge, MA: The MIT Press.

Churchill, Craig (2004) Microinsurance Products, presentation for the Kreditanstalt fur Wiederaufbar Microinsurance Meeting, Frankfurt, Germany.

Cohen, Monique (2003) “The Impact of Microfinance.” CGAP Donor Brift No.13, Washington, D.C.: CGAP.

Consultative Group to Assist the Poor (2000) “Microfinance and Risk Management: A Client Perspective.” CGAP Focus Note No.17, Washington, D.C.: CGAP.

Coleman, Brett E (2002) “Microfinance in Northeast Thailand: who benefits and how much?” Manila, Philippines : ADB.

Dilaka Lathapipat (2005) “Microfinancing: a case study in a low-income urban community.” Faculty of Economics, Thammasat University.

Dipal Chandra Barua (2006 ) Paper presented at the “Workshop on Extending Pension Coverage to Informal Sector Workers in Asia” jointly Organized by the Government Pension Fund, Thailand and the World Bank , held on Nov 30 to Dec 1, 2006 in Bangkok, Thailand.

Dipal Chandra Barua (2007) “Grameen Bank.” Paper presented at the ICAO international Seminar organized by National Agricultural Cooperative Federation. held on October 17, 2007 in Singapore.

Dipal Chandra Barua, Deputy Managing Director (2008) “Grameen Bank.” Paper presented at the Globe Forum 2008 as a Speaker held on 7-8 May 2008 in Stockholm.

Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (2006) “Microfinance for poverty reduction: building inclusive financial sectors in Asia and the Pacific.” ESCAP.

Fernando, Jude Lucksiri Mathew (2006). Microfinance: perils and prospects, London: Routledge. Grameen Bank “Is Grameen Bank Different From Conventional Banks?” <http://www.grameen-

info.org>

Page 177: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 153

Grameen Bank “Grameen Bank Monthly Update in Taka : October, 2008.” <http://www.grameen-

info.org> Grameen Bank “Grameen Bank: Notes to the financial statements (2007).” <www.grameen-

info.org> Grameen Bank “The 16 Decisions of Grameen Bank” <http://www.grameen.com> Helms, Brigit (2006) Access for All: Building Inclusive Financial Systems, Washington, D.C.: CGAP. Helms, Brigit and Reille, Xavier (2004) “Interest Rate Ceilings and Microfinance: The Story So

Far.” CGAP Occasional Paper No.9, Washington, D.C.: CGAP. Ingrid Matthaeus-Maier, J.D. von Pischke (2006) Microfinance investment funds: leveraging

private capital for economic growth and poverty reduction, Berlin: Springer. Khandker, Shahidur (1998) Fighting Poverty with Microcredit: Experience in Bangladesh,

Washington, D.C.: the International Bank for Reconstruction and Development. Ledgerwood, Joanna (1998) Microfinance Handbook: An Institutional and Financial Perspective,

Washington, D.C.: World Bank. Ledgerwood, Joanna and White, Victoria (2006) Transforming Microfinance Institutions:

Providing Full Financial Services to the Poor, Washington, D.C.: World Bank. Littlefield, Elizabeth, Morduch, Jonathan, and Hashemi, Syed (2004) Is Microfinance an Effective

Strategy to Reach the Milleium Development Goals?, CGAP Focus Note No.24, Washington, D.C.: CGAP.

Md. Abul Basher (2007) “Empowerment of Microcredit Participants and its Spillover Effects: Evidence from the Grameen Bank of Bangladesh,” Journal of Developing Areas, 40( 2), pp. 173-183.

Oyunjargal, T. and Nyamaa, T. (2002) “Sub-Sector Review of Micro-finance in Mongolia.” UNDP Mongolia, Ulaanbaatar, Mongolia.

Pitt, M. Mark and Khandker, R. Shahidur (1996) “Household and Intrahousehold Impact of the Grameen Bank and Similar Targeted Credit Programs in Bangladesh.” World Bank Discussion Paper 320, Washington, D.C.

Programs for the Poor and Nutritional Status of Children in Rural Bangladesh” PSTC Working Paper 98-01: RI: Brown University, Population Studies and Training Center.

Ruther ford, Stuart (2000) The Poor and Their Money, New Delhi: Oxford University Press India.

Page 178: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 154

UNDP (2004) “Sub-Sector Review of Micro-finance in Mongolia.” UNDP Mongolia,

Ulaanbaatar, Mongolia. Yunus, Muhammad (2007). Creating a World Without Poverty: Social Business and the Future of

Capitalism. Public Affairs. Yunus, Muhammad. “10 Indicators.” <http://www.grameen.com> Yunus, Muhammad. “Grameen Bank II.” <http://www.grameen-info.org>

Page 179: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 155

เอกสารอางอิงอิเล็กทรอนิกส

www.adb.org/Microfinance/default.asp www.asa.org.bd www.baac.or.th www.bot.or.th www.bracbank.com www.brac.net www.cgap.org www.fpo.go.th www.grameen-info.org www.gsb.or.th www.microfinancegateway.org www.mixmarket.org www.planetrating.com www.proshika.org www.xacbank.org

Page 180: Comparative Micro Finance
Page 181: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 156

ภาคผนวก

Page 182: Comparative Micro Finance
Page 183: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 157

ภาคผนวก ก.

สถาบันการเงนิท่ีสําคัญอ่ืนๆ ในประเทศบังกลาเทศ

1. BRAC BRAC ดําเนินการใหสินเช่ือในระดับจุลภาคในหลายประเทศท้ังในทวีปเอเชีย ไดแก

บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน ศรีลังกา ปากีสถาน และทวีปแอฟริกา ไดแก สาธารณรัฐยูกันดา แทนซาเนีย ไลบีเรียเซียรราลีโอน เปนตน เฉพาะในบังกลาเทศ BRAC สามารถใหบริการครอบคลุมกลุมลูกคาคนจนไดถึง 64 เขตการปกครองของบังกลาเทศ (District) หรือประมาณกวา 70,000 หมูบาน ดวยสาขาใหบริการ (Branch Office) ท้ังส้ินกวา 2,700 แหงท่ัวประเทศ โดยในป 2550 BRAC ใหบริการสินเช่ือแกคนจน 7.37 ลานคน ซ่ึงสวนใหญเปนผูหญิงถึงประมาณรอยละ 98 เชนเดียวกับธนาคารกรามีน BRAC มุงปลอยสินเช่ือในระดับจุลภาคแกผูหญิงยากจน โดยเฉพาะในเขตชนบท เพื่อสงเสริมอาชีพใหผูหญิงยากจนเหลานั้นสามารถสรางรายไดได รูปแบบการปลอยกูของ BRAC คลายกับของธนาคารกรามีนตรงท่ีมีคําม่ันสัญญา 17 ขอ83 (ธนาครากรามีนมี 16 ขอ) สําหรับผูขอกูหรือสมาชิกท่ีตองเรียนรูและปฏิบัติตาม เพื่อฝกการมีวินัย สําหรับการดําเนินการ BRAC ดําเนินการดานสินเช่ือผานกองทุนเงินกูหมุนเวียน (Revolving Loan Fund: RLF) ซ่ึงประกอบดวยรายไดสุทธิ เงินบริจาค เงินออมของกลุม เงินกูธนาคารและกองทุนจาก PKSF84 (Rahman 2551)

2. ASA ASA เปนอีกองคกรหนึ่งท่ีมีบทบาทสําคัญในการใหสินเช่ือแกคนจน เปาหมายหลักของ

ASA คือ การบรรเทาปญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผูท่ีไมมีท่ีดินเปนของตนเอง และไมมีสินทรัพยใดๆ เลย โดยเฉพาะแกผูหญิงในชนบท โดยการใหบริการการเงินระดับจุลภาค เพื่อใหพวกเขาสามารถเขาถึงแหลงเงินทุนและนําไปทํากิจกรรมท่ีกอใหเกิดรายได ในเดือนมิถุนายน ป 2551 ASA สามารถใหบริการครอบคลุมถึง 64 เขต (District) ในบังกลาเทศ โดยเขาถึงคนจนกวา 72,200 หมูบาน ดวยสาขาท่ีมีของ ASA กวา 3,324 แหง โดยเขาถึงผูกูได 7.13 ลานคน และมีอัตราการชําระหนี้คืนรอยละ 99.77 ลักษณะการปลอยสินเช่ือของ ASA มีท้ังแบบกลุม (Group Ledning)

83 รายละเอียดของคํามั่นสัญญาไดกลาวไวแลวในบทที่ 2 84 PKSF ยอมาจาก Palli Karma Sahayak Foundation เปนกองทุนที่ไมมุงหวังผลประโยชน จัดต้ังขึ้นในป 2533 โดยรัฐบาลของบังกลาเทศกับ NGOs รวมมือกันต้ังขึ้นเพ่ือสนับสนุนการปลอยกูรายยอย

Page 184: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 158

และรายบุคคล (Individual Lending) ข้ึนอยูกับประเภทของสินเช่ือ เชน สินเช่ือขนาดเล็กสําหรับผูชาย สินเช่ือเพื่อผูประกอบการขนาดยอม (Small Entrepreneur Loan) และสินเช่ือระยะส้ัน (1-3 เดือน) จะเปนการปลอยสินเช่ือแบบรายบุคคล สินเช่ือท่ีเปนการปลอยกูแบบกลุม ไดแก สินเช่ือขนาดเล็กสําหรับผูหญิง (กลุมละ 15-30 คน) สินเช่ือเพื่อธุรกิจขนาดยอม (Small Business Loan) (กลุมละ 10-15 คน) และสินเช่ือสําหรับคนจนมาก (Hardcore Poor) (กลุมละ 5-20 คน) รูปแบบการดําเนินงานของ ASA แตละสาขา เปนท่ีรูจักกันวาเปนรูปแบบท่ียั่งยืนและมีประสิทธิผลของการใชตนทุน (ASA Sustainable and Cost-effective Microfinance Model) ภายในระยะเวลาเพียง 9-12 เดือน สาขาของ ASA สามารถพึ่งตนเองไดอยางยั่งยืน โดยท่ีมีรายไดเทากับรายจาย (Break even) และสามารถทํากําไรได

3. Proshika หลักการของการปลอยสินเช่ือของ Proshika เรียกวา “เครดิต บวก บวก” (Credit Plus Plus)

นั่นคือ นอกจากจะใหบริการดานสินเช่ือในระดับจุลภาคแลว Proshika ยังจัดหาหลักสูตรฝกอบรมท่ีเหมาะสมแกผูกู ใหความชวยเหลือทางวิชาการ และการอํานวยความสะดวกทางการตลาดและสังคม รวมถึงการบริการทางดานอ่ืนๆ เพื่อการพัฒนาอีกดวย ลักษณะเดนของการดําเนินงานของ Proshika คือ สมาชิกในกลุมมีสวนรวมในทุกกระบวนการการตัดสินใจ โดยเร่ิมต้ังแตการออกแบบโครงการไปจนถึงการปลอยเงินกูและการชําระคืนเงินกู ซ่ึงการมีสวนรวมของสมาชิกในลักษณะนี้ เปนการชวยลดการวาจางพนักงาน ทําใหคาใชจายในการดําเนินงานลดลง สงผลให Proshika สามารถปลอยสินเช่ือแกคนจนในอัตราดอกเบ้ียท่ีตํ่าได (Rahman 2551) และเชนเดียวกับสถาบันการเงินระดับจุลภาคท่ีกลาวมาแลวขางตน Proshika พยายามท่ีจะเขาถึงครัวเรือนท่ียากจนผานทางผูหญิง เพื่อใหผูหญิงเหลานั้นสามารถเขารวมในกิจกรรมที่สรางรายไดได ในกลางป 2550 การบริการของ Proshika สามารถเขาถึงหมูบานได 24,139 แหงในบังกลาเทศ

Page 185: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 159

ภาคผนวก ข.

รูปภาพแสดงสํานักงานเขต (Zonal Office) ท้ัง 39 แหงท่ัวภูมิภาคของประเทศบังกลาเทศ

ที่มา: http://www.grameen-info.org/index.php?option=com_content&task=view&id=542&Itemid=596

Page 186: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 160

ภาคผนวก ค.

ความแตกตางระหวางรูปแบบเดิมของธนาคารกรามีน 1 และรูปแบบใหมของธนาคารกรามีน 2

Grameen I Grameen II Reason for Change

1. No provision to save for pension. Borrower deposit a fixed monthly amount in Grameen pension scheme.

To help borrowers build a nest egg for retirement.

2. Fixed, one-size-fits-all savings program.

Varied savings plans to fit members’ individual needs.

To encourage saving for special needs and long-term economic benefit.

3. No initiative to collect savings from nonmembers.

Active campaigns to collect savings from nonmembers.

To enable the bank to self-fund future loans.

4. Mostly one-year loans with fixed installment amounts.

Loan duration and installment size may vary.

To allow borrowers to tailor loan products to individual needs and changing circumstances.

5. Common loan ceiling for an entire branch.

Individual loan ceilings based on savings and other measurements.

To reward and incentivize good borrowing and repayment practices by members.

6. Family responsible for loan of deceased borrower.

Special savings fund ensures that outstanding loans are paid off after death.

To alleviate borrowers’ fears of leaving debt behind after death.

7. Borrower becomes defaulter if loan is not repaid in 52 weeks.

Borrower becomes defaulter if repayment schedule is not met within six months.

To create an early warning signal of potential borrower problems.

8. Funds for new bank branches borrowed from head office at 12 percent interest.

New branches are self-funding from Day 1, using savings from borrowers and non-borrowers.

To ensure that branches become self-sufficient quickly.

ที่มา: Yunus, Muhammad (2007). “Creating a World Without Poverty: Social Business and the Future of Capitalism”, Public Affairs, pp. 64.

Page 187: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทยีบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย 161

ภาคผนวก ง.

รูปแบบขององคกรการเงินในประเทศมองโกเลีย

ประเภทของผูใหบริการการเงิน จํานวนประมาณการ การเขาถึงคนยากจน

1. ธนาคาร (Banks) มี 16 แหง ซึ่งลวนใหบริการรับฝากเงินแกผูที่รายไดระดับลาง

มีธนาคาร 5 แหง ที่ใหบริการสินเช่ือระดับจุลภาค ไดแก XacBank, Khan Bank85, Savings Bank, Mongol Post Bank และ Golomt Bank ซึ่งธนาคาร 3 แหงแรกไดใหความสําคัญกับสังคม (Social Oriented) ดวย

2. บริษัทประกันภัย (Insurance Companies)

มี 23 บริษัท ภายใตโครงการ Sustainable Livelihoods ของธนาคารโลก ในป 2545 พบวา ผูที่มีรายไดระดับล า ง ไม ส าม า รถ เ ข า ถึ ง ก า รบริ ก า รด านประกันภัยได

3. บริษัทที่ใหบริการดานสินเช่ือเชาซื้อ (Financial Leasing Companies)

มีเพียง 1 แหงเทาน้ันที่ไดรับใบอนุญาตอยางถูกตองตามกฎหมาย

การดําเนินยังไมชัดเจน

4. บริษัทเงินทุน (Finance Companies)

มี 29 บริษัท จํานวนผูใชบริการท่ีมีความยากจนเพ่ิมขึ้น

5. สหกรณออมทรัพยและสินเช่ือ (Savings and Loan Cooperatives)

มี 135 แหง (66 แหง ในเขตเมือง

หลวง86 และ 69 แหงในเขต

ชนบท)

ขนาดของสินเช่ือที่สมาชิกสหกรณไดรับโดยเฉล่ียตอคน คือ 250 เหรียญสหรัฐฯ

6. สหกรณรูปแบบอื่นๆ (Other Types of Cooperatives)

มี 2,800 แหง สามารถใหบริการสินเช่ือในเขตชนบท

7. โรงรับจํานํา (Pawnshops) มี 900 แหง ทั่วประเทศ (อยูในเมืองหลวงมากกวา 600 แหง)

โรงรับจํานําเปนที่ตองการอยางมากสําหรับผูมีรายไดนอย โดยเฉพะเจ าหนาที่ของรัฐและนักเรียน

ที่มา: Oyunjargal and Nyamaa (2002) และ UNDP (2004)

85 Khan Bank มีช่ือเปนทางการวา Agricultural Bank of Mongolia หรือช่ือยอวา Ag Bank หรือ XAAH 86 เมืองหลวงของประเทศมองโกเลีย คือ กรุงอุลันบาตอร (Ulaanbaatar หรือ UB)

Page 188: Comparative Micro Finance
Page 189: Comparative Micro Finance

สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหวางบังกลาเทศ มองโกเลีย และไทย

คณะวิจัย

หัวหนาโครงการวิจัย

ดร. วัชรัศม์ิ ลีละวัฒน รองผูอํานวยการฝายวิชาการ สถาบันระหวางประเทศเพ่ือการคาและการพัฒนา (องคการมหาชน) นักวิจัย

รองศาสตราจารย ดร. พิริยะ ผลพิรุฬห คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพฒันบริหารศาสตร ผูชวยศาสตราจารย ดร. ปงปอนด รักอํานวยกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพฒันบริหารศาสตร นายพีรพงษ ตรีชะฎา นักวจิัยรวม นางสาวสิรินาฏ พรศิริประทาน นักวจิัย สถาบันระหวางประเทศเพื่อการคาและการพัฒนา (องคการมหาชน)

ผูชวยนักวิจัย นางสาวสุนันทา กาบกวง สถาบันระหวางประเทศเพ่ือการคาและการพัฒนา (องคการมหาชน)