cdm manual

143
คูมือการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด กรมโรงงานอุตสาหกรรม สิงหาคม 2550 www.erm.com ERM Delivering sustainable solutions in a more competitive world

Upload: pukpao123

Post on 27-Nov-2014

130 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: CDM Manual

คูมือการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด

กรมโรงงานอุตสาหกรรม

สิงหาคม 2550 www.erm.com

ERM Delivering sustainable solutions in a more competitive world

Page 2: CDM Manual

สารบัญ

บทนํา 1

1 อนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพิธีสารเกียวโต 4

1.1 อนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) 4

1.2 พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) 9 1.3 กลไกตางๆ ในการลดการปลอยกาซเรือนกระจกภายใตพิธีสารเกียวโต 12

2 กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) 13

2.1 กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) 13 2.2 วัฏจักรโครงการกลไกการพฒันาที่สะอาด 22 2.3 หนวยงานทีเ่กีย่วของกับกลไกการพัฒนาทีส่ะอาด 24

3 ขั้นตอนการทาํโครงการภายใตกลไกการพฒันาที่สะอาด 28

3.1 ขั้นตอนการจดัทําเอกสารประกอบแนวคดิโครงการ (Project Idea Note: PIN) 28 3.2 ขั้นตอนการจดัทําเอกสารประกอบโครงการ (Project Design Document: PDD) 30 3.3 ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ (Validation) 38 3.4 ขั้นตอนการขึน้ทะเบยีนโครงการ (Registration) 44 3.5 ขั้นตอนการยนืยัน การรับรองการลดกาซเรือนกระจก และการออกคารบอนเครดิตที่ไดจากการ

ดําเนินโครงการ CDM (Verification, Certification and Issuance of CERs) 45 3.6 การซื้อขายคารบอนเครดิตที่ไดจากการดําเนินโครงการ CDM 46

4 ภาคอุตสาหกรรมไทยกับกลไกการพัฒนาที่สะอาด 53

4.1 ภาคอุตสาหกรรมไทยกับการปลอยกาซเรือนกระจก / สาขาที่นาจะสามารถดําเนินโครงการ CDM 53 4.2 โครงการกลไกการพัฒนาทีส่ะอาด 57 4.3 เทคโนโลยีในการลดกาซเรือนกระจก 75

5 บทสรุป 85

Page 3: CDM Manual

สารบัญตาราง

ตารางที่ 1.1 ประเทศในกลุมภาคผนวกที ่I ภายใตอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมอิากาศ 8 ตารางที่ 1.2 คาศักยภาพในการทําใหเกิดภาวะโลกรอนของกาซเรือนกระจกแตละชนิด 11 ตารางที่ 2.1 ผลประโยชนที่ไดรับจากโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด 21 ตารางที่ 3.1 รายละเอียดในเอกสารประกอบแนวคดิโครงการ (PIN) 29 ตารางที่ 3.2 หนวยงานปฏบิัติการในการตรวจสอบที่ไดรับการรับรองจาก EB แลว 38 ตารางที่ 3.3 รายละเอียดประเด็นการพิจารณาในหลักเกณฑการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศไทย 42 ตารางที่ 3.4 ปริมาณและราคาซื้อขาย CER และ ERU ในป พ.ศ. 2548-2549 51 ตารางที่ 4.1 ประเภทโครงการกลไกการพฒันาที่สะอาด 57 ตารางที่ 4.2 รายละเอียดโครงการ A.T. Biopower Rice Husk Power Project in Pichit, Thailand 63 ตารางที่ 4.3 รายละเอียดโครงการ Korat Waste To Energy 66 ตารางที่ 4.4 รายละเอียดโครงการ Ningguo Cement Plant 9100KW Waste Heat Recovery and Utilisation for Power Generation Project of Anhui Conch Co. Ltd 70 ตารางที่ 4.5 รายละเอียดโครงการ Energy Efficiency Measures At Paper Production Plant 72 ตารางที่ 4.6 เทคโนโลยีการลดกาซเรือนกระจก 75 ตารางที่ 4.7 การบําบัดน้ําเสียดวยแบบตางๆ และผลที่เกิดขึ้นตามมา 79

Page 4: CDM Manual

สารบัญรูป

รูปที่ 2.1 การผลิตและการแลกเปลี่ยน CERs 16 รูปที่ 2.2 ขั้นตอนในการดําเนินโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด 22 รูปที่ 3.1 Additionality Tool 34 รูปที่ 3.2 ระยะเวลาของอายุโครงการ และระยะเวลาการคิดคารบอนเครดิต 36 รูปที่ 3.3 แนวโนมภาพรวมการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศในกลุมภาคผนวกที่ 1 47 รูปที่ 3.4 ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศในกลุมภาคผนวกที่ 1 ป พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) เทยีบกับปพ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) 48 รูปที่ 3.5 สัดสวนการซือ้คารบอนเครดิต จําแนกตามประเทศผูซ้ือ 49 รูปที่ 3.6 ราคาของ CER และ ERU ในอนาคต (ยูโรตอตันคารบอนไดออกไซด) 51 รูปที่ 3.7 การประมาณปริมาณ CERs ในระยะยาว 52 รูปที่ 4.1 ปริมาณกาซเรอืนกระจกรายสาขา พ.ศ. 2546 55 รูปที่ 4.2 คาดการณปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกจําแนกตามสาขา ป พ.ศ. 2546-2563 56 รูปที่ 4.3 โครงการกลไกการพัฒนาทีส่ะอาดที่ไดรับการขึ้นทะเบยีนแลว แยกตามประเภทโครงการ 59 รูปที่ 4.4 โครงการกลไกการพัฒนาทีส่ะอาดที่ไดรับการขึ้นทะเบยีนแลว แยกตามประเทศเจาบาน 60 รูปที่ 4.5 สาขาในการพฒันาโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดในประเทศไทย 61 รูปที่ 4.6 ประเภทของโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทย 61 รูปที่ 4.7 ระบบผลิตกาซชีวภาพ 76 รูปที่ 4.8 ตัวอยางระบบยูเอเอสบ ี 81 รูปที่ 4.9 ตัวอยางระบบบําบัดน้ําเสียบอหมักแบบปด 82 รูปที่ 4.10 ตัวอยางระบบบําบัดน้ําเสียแบบกวนผสมสมบูรณ 82 รูปที่ 4.11 การใชเทคโนโลยีกาซชีวภาพในโรงงานผลิตแปงมันสําปะหลัง 83

Page 5: CDM Manual

Glossary

AAU Assigned Amount Unit ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกทีจ่ัดสรรใหประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I ในชวงพันธกรณ ี

CDM Clean Development Mechanism

กลไกการพัฒนาที่สะอาด

CER Certified Emission Reduction เครดิตที่ไดจากการดําเนินโครงการ CDM

CFCs Chlorofluorocarbons คลอโรฟลูออโรคารบอน

CH4 Methane มีเทน

CO2 Carbon dioxide คารบอนไดออกไซด

CO2e Carbon Dioxide Equivalent คารบอนไดออกไซดเทียบเทา

COP Conference of the Parties การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ

CP Commitment period ชวงพันธกรณ ี

DNA Designated National Authority องคกรกํากับดแูลการดําเนนิงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด

DOE Designated Operational Entities

หนวยงานปฏบิัติการในการตรวจสอบ

EB Executive Board คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด

EIT Economies in Transition ประเทศที่อยูระหวางการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจสูระบบตลาดเสรี

ERU Emission Reduction Unit เครดิตที่ไดจากการดําเนินโครงการ JI

ET Emission Trading การซื้อขายกาซเรือนกระจก

GHGs Greenhouse Gases กาซเรือนกระจก

GWP Global Warming Potential ศักยภาพในการทําใหเกดิภาวะโลกรอน

Page 6: CDM Manual

Glossary

HFCs Hydro fluorocarbon ไฮโดรฟลูออโรคารบอน

IPCC Intergovernmental Panel on Climate Change

คณะกรรมการระหวางรัฐบาลวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภมูิอากาศ

JI Joint Implementation การดําเนินการรวม

KP Kyoto Protocol พิธีสารเกียวโต

LULUCF Land use, land use change and forestry

กิจกรรมการเปลี่ยนแปลงการใชประโยชนที่ดินและปาไม

NMVOC Non methane volatile organic compound

สารประกอบอินทรียที่ระเหยงายที่ไมใชมีเทน

N2O Nitrous oxide ไนตรัสออกไซด

ODA Official development assistance

เงินชวยเหลือดานการพัฒนาจากประเทศอุตสาหกรรม

PCFs Per fluorocarbon เปอรฟลูออโรคารบอน

PDD Project Design Document; เอกสารประกอบโครงการ

PIN Project Idea Note; เอกสารประกอบแนวความคิดโครงการ

RPS Renewable Portfolio Standard การกําหนดสัดสวนพลังงานหมุนเวยีนในการผลิตไฟฟา

SF6 Sulphur hexafluoride ซัลเฟอรเฮกซาฟลูโอไรด

UNEP United Nations Environment Programme

โครงการสิ่งแวดลอมแหงสหประชาชาต ิ

UNFCCC United Nations Framework Convention on Climate Change

อนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภมูิอากาศ

WMO World Meteorological Organization

องคการอุตุนิยมวิทยาโลก

Page 7: CDM Manual

Glossary

Annex B of Kyoto Protocol ภาคผนวก ข ของพิธีสารเกียวโต

Annex I Countries ประเทศในกลุมภาคผนวกที่ 1 ของ UNFCCC

Baseline กรณีฐาน

Bundling การควบรวมโครงการ

Certification การรับรองการลดกาซเรือนกระจก

Crediting period ชวงเวลาในการคิดเครดิต

Emission factor คาสัมประสิทธิ์การปลดปลอยกาซเรือนกระจก

GHG Inventory บัญชีกาซเรือนกระจก

Issuance การออกคารบอนเครดิต

Methodology Panel คณะทํางานในการพิจารณาวิธีประเมินปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก

Monitoring ติดตามการลดการปลอยกาซเรือนกระจก

Project Design ออกแบบโครงการ

Registration ขึ้นทะเบยีนโครงการ

Validation การตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ

Verification การยืนยันการลดกาซเรือนกระจก

Page 8: CDM Manual

1

บทนํา ปจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเปนไปอยางรวดเร็ว เนื่องจากการปลอยกาซเรือนกระจกจากกิจกรรมตางๆ ของมนุษยอยางตอเนื่อง ไมวาจะเปนจากการใชพลังงาน การเกษตร การพัฒนาและขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนสง รวมถึงการตัดไมทําลายปาและการทําลายสิ่งแวดลอมในรูปแบบอื่นๆ ลวนเปนสาเหตุสําคัญของการเกิดภาวะโลกรอน (Global warming) ซ่ึงไดสงผลกระทบตอการดํารงชีพของมนุษย ส่ิงมีชีวิตและส่ิงแวดลอม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในระบบตางๆ จนกอใหเกิดความเสียหายตอทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศ ที่ครอบคลุมไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก รวมทั้งประเทศไทย จากรายงานของคณะกรรมการระหวางรัฐบาลวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ระบุวา ในชวงระยะเวลา 30 ปที่ผาน (พ.ศ. 2513 - 2543) อุณหภูมิผิวโลกสูงขึ้นอยางรวดเร็วโดยเฉล่ีย 0.2 องศาตอทศวรรษ ทําใหธารน้ําแข็งในบางพื้นที่ลดลงถึง 1 ใน 4 หิมะที่ปกคลุมเทือกเขาหิมาลัย แอนดีสและคิริมานจาโรลดปริมาณลงอยางเห็นไดชัดเจน ปริมาณน้ําฝนทางซีกโลกเหนือมีปริมาณเพิ่มขึ้น ในขณะที่ซีกโลกใตมีปริมาณลดลง นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุถึงการเคลื่อนยายของส่ิงมีชีวิตหลายชนิดพันธุที่เคลื่อนยายเขาใกลขั้วโลกมากขึ้น โดยเฉลี่ยเปนระยะทาง 6 กิโลเมตรทุกๆ 10 ป ซ่ึงบงชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ฤดูใบไมผลิ ดอกไมบาน และการวางไขที่เร็วขึ้นกวาเดิม

จากสถานการณและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกรอนดังกลาวจึงกลายเปนแรงผลักดันสําคัญที่ทําใหนานาประเทศหันมารวมกันปองกันและแกไข พรอมทั้ง เสริมสรางศักยภาพในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั้งในระดับทองถ่ินและระดับประเทศ ดังนั้น จึงมีการจัดตั้งอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework convention on Climate Change : UNFCCC) และพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้น เพื่อกําหนดพันธกรณีใหประเทศตางๆ หันมารวมมือ และดําเนินการลดปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกลง เพื่อใหบรรลุตามเปาหมายภายในระยะเวลาที่กําหนด จึงเปนแนวทางและกรอบความรวมมืออยางเปนรูปธรรมตอการปองกันและแกไขปญหาผลกระทบจากภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยเปนประเทศหนึ่งที่ตระหนักถึงความสําคัญของการแกไขปญหาภาวะโลกรอนรวมกับนานาประเทศ จึงไดตกลงใหความรวมมือในการแกไขปญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยลงนามใหสัตยาบันตออนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลง

Page 9: CDM Manual

2

สภาพภูมิอากาศ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 และลงนามใหสัตยาบันในพิธีสารเกียวโตเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 จากการใหสัตยาบันครั้งนั้นสงผลใหประเทศไทยสามารถเขารวมลดปริมาณการปลอยก าซเรือนกระจก ภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) บนพื้นฐานของภาคความสมัครใจได ประเทศไทยจึงไดจัดตั้งองคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคกรมหาชน) ขึ้น เพื่อปฏิบัติงานดานการบริหารเกี่ยวกับกาซเรือนกระจกและการดําเนินการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดภายใตพิธีสารเกียวโตใหเปนไปตามขอกําหนดสากล และปจจุบันประเทศไทยไดมีการกําหนดกรอบและทิศทางในการพัฒนาประเทศอยางยั่งยืนและสอดคลองกับแนวทางการเตรียมพรอมเพื่อรองรับการแกไขปญหาจากการปลอยกาซเรือนกระจกและภาวะโลกรอนไวในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) โดยมุงเนนและสงเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดมลพิษและควบคุมกิจกรรมที่จะสงผลกระทบตอคุณภาพชีวิต ดวยการควบคุมมลพิษทางอากาศที่จะสงผลตอการปลอยกาซเรือนกระจกและทําใหเกิดภาวะโลกรอน ตลอดจนสงเสริมใหมีกลไกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อกําหนดจุดยืนเชิงยุทธศาสตรตอพันธกรณีและขอตกลงระหวางประเทศดานสิ่งแวดลอม รวมทั้งขอตกลงทางการคาที่มีประเด็นเกี่ยวของกับสิ่งแวดลอม ซ่ึงแนวทางการพัฒนาดังกลาวก็เพื่อตอบสนองตอการสรางสภาพแวดลอมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเปนสวนหนึ่งของยุทธศาสตรการพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสรางความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดลอม ดังนั้น แนวทางการพัฒนาประเทศในชวงป พ.ศ. 2550-2554 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 10 จึงไดใหความสําคัญกับการดําเนินงานเพื่อลดการปลอยกาซเรือนกระจก รวมทั้งการปฏิบัติตามพันธกรณีขอตกลงระหวางประเทศที่เกี่ยวของ จึงสงผลใหทุกภาคสวน ทั้งหนวยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน รวมทั้งองคกรตางๆ เกิดความตระหนักและแสดงเจตนารมณในการมีสวนรวมตอการรับรู พรอมกับรวมกําหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อใหบรรลุผลตอการแกไขปญหาการปลอยกาซเรือนกระจกและภาวะโลกรอนของประเทศอยางชัดเจนมากยิ่งขึ้น ภาคอุตสาหกรรม เปนภาคการผลิตและบริการที่มีบทบาทสําคัญตอการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศมาอยางตอเนื่อง แตในขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมก็ยังคงมีการใชทรัพยากร พลังงานและการกอใหเกิดของเสียจากการใชทรัพยากรและกระบวนการผลิต ซ่ึงเปนสาเหตุหนึ่งของการปลอยกาซเรือนกระจกชนิดตางๆ ดังนั้น เพื่อใหความ

Page 10: CDM Manual

3

พยายามในการลดผลกระทบจากการปลอยกาซเรือนกระจกและการเกิดภาวะโลกรอนของประเทศบรรลุผลอยางมีประสิทธิภาพ ภาคอุตสาหกรรมจึงอยูในฐานะที่สามารถใหการสนับสนุนการดําเนินโครงการ CDM ภายใตอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพิธีสารเกียวโต ซ่ึงเปนเครื่องมือที่ชวยใหภาคอุตสาหกรรมดําเนินโครงการลดกาซเรือนกระจกได ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการดังกลาวจะสงเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอยางยั่งยืน ดวยการปรับเปลี่ยนแผนและกระบวนการผลิตทีม่กีารใชเทคโนโลยีและการจัดการที่ เปนมิตรตอส่ิงแวดลอม พรอมกับเรงปลูกจิตสํานึกใหผูประกอบการเห็นความสําคัญของปญหาภาวะโลกรอนและแนวทางแกไขปญหารวมกัน การดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดดังกลาว จึงเปนแนวทางหนึ่งที่สามารถชวยลดกาซเรือนกระจกที่สงผลตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงไดจัดทําคูมือ “การดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด” เลมนี้ขึ้น โดยไดรวบรวมขอมูลจากเอกสารและแหลงอางอิงตางๆ เพื่อใหผูประกอบการไดนําไปเปนแนวทางและตัวอยางสําหรับการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ซ่ึงในคูมือเลมนี้ประกอบดวยสาระที่สําคัญ ไดแก ความเปนมาของอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพิธีสารเกียวโต รายละเอียดและขั้นตอนการดําเนินโครงการ CDM ขอแนะนําสําหรับสาขาที่มีศักยภาพในการทําโครงการ CDM ได ตลอดจนตัวอยางการทําโครงการ CDM และเทคโนโลยีในการลดกาซเรือนกระจก กรมโรงงานอุตสาหกรมในฐานะหนวยงานภาครัฐที่ใหความดูแล สนับสนุน และสงเสริมสถานประกอบการอุตสาหกรรม จึงพยายามหาทางทําใหภาคอุตสาหกรรมไดมีสวนรวมในการลดการปลอยกาซเรือนกระจกและภาวะโลกรอน โดยตั้งอยูบนพื้นฐานของภาคความสมัครใจ ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมหวังเปนอยางยิ่งวารายละเอียดและสาระสําคัญทั้งหมดที่ปรากฏอยูในคูมือเลมนี้จะเปนประโยชนสําหรับผูประกอบการตลอดจนผูที่สนใจทั่วไปที่จะนําไปพัฒนาและขยายผลโครงการตอไป

Page 11: CDM Manual

4

1 อนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพิธีสารเกียวโต

1.1 อนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC)

ในชวงทศวรรษที่ 1980 นักวิทยาศาสตรตางเริ่มกังวลวาการปลอยกาซเรือนกระจกจากกิจกรรมตางๆ ของมนุษยสูช้ันบรรยากาศ จะสงผลใหสภาวะเรือนกระจกทวีความรุนแรงขึ้น โครงการสิ่งแวดลอมแหงสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) รวมกับองคการอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) จึงไดจัดตั้งคณะกรรมการระหวางรัฐบาลดานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ขึ้นในป พ.ศ. 2531 โดยมีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาวิเคราะหขอมูลทางวิทยาศาสตรที่เกี่ยวของกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อเตรียมมาตรการและกลยุทธที่เปนไปไดในการบริหารจัดการที่เกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตอมาในป พ.ศ. 2533 IPCC ไดจัดทํารายงานมีขอสรุปยืนยันวากิจกรรมตางๆ ของมนุษยสงผลกระทบตอสภาพภูมิอากาศจริง ประกอบกับในปนั้น ไดมีการจัดการประชุม Second World Climate Conference ขึ้น จึงทําใหปญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเปนเรื่องที่อยูในความสนใจของนานาประเทศ จากจุดเริ่มตนดังกลาว จึงเกิดการประชุมระดับนานาชาติขึ้น เพื่อหาแนวทางยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปองกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย โดยไดมีการลงนามรับรอง อนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2535 ณ สํานักงานใหญองคการสหประชาติ ณ นครนิวยอรค ตอมาประเทศตางๆ จํานวนกวา 150 ประเทศ ไดลงนามใหสัตยาบันในระหวางการประชุมสหประชาชาติวาดวยส่ิงแวดลอมและการพัฒนา (UNCED) หรือ การประชุมสุดยอดโลก (Earth Summit) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล โดยมีสาระสําคัญของอนุสัญญาฯ ดังนี้ • ใหมนุษยชาติตระหนักรวมกันวากิจกรรมตางๆ ของมนุษยไดทําใหระดับของกาซเรือน

กระจกในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นเปนอยางมาก การเพิ่มขึ้นนี้ทําใหสภาวะเรือนกระจกในธรรมชาติทวีความรุนแรงขึ้น โดยทําใหพื้นผิวและบรรยากาศของโลกรอนมากขึ้น ซ่ึงอาจสงผลกระทบตอระบบนิเวศธรรมชาติและมวลมนุษยชาติ

Page 12: CDM Manual

5

• สัดสวนการปลอยกาซเรือนกระจกทั้งที่ผานมาในอดีตและในปจจุบันสวนใหญมาจากประเทศพัฒนาแลว ในขณะที่สัดสวนปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกตอประชากรของประเทศกําลังพัฒนายังมีระดับต่ํา แตมีแนวโนมที่จะเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองตอความตองการของสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจ

• การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเปนปรากฏการณธรรมชาติระดับโลกที่ตองการความรวมมือระหวางประเทศ โดยจําเปนตองอาศัยการมีสวนรวมและการแกปญหารวมกันระหวางประเทศที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพอยางกวางขวาง ตามหลักการความรับผิดชอบรวมในระดับที่แตกตาง (Common but differentiated responsibilities) และเปนไปตามความสามารถและสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

• วัตถุประสงคหลักของอนุสัญญาฯ เพื่อรักษาระดับความเขมขนของกาซเรือนกระจกในบรรยากาศใหคงที่ในระดับที่ไมเปนอันตรายตอระบบสภาวะอากาศ ซ่ึงวัตถุประสงคนี้ควรที่จะบรรลุภายในระยะเวลาอันพอเหมาะกับการใหระบบนิเวศปรับตัวใหเขากับการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอยางเปนธรรมชาติ และเพื่อเปนการปองกันผลกระทบที่รุนแรงตอการผลิตอาหาร ตลอดจนเปนการสงเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในลักษณะที่ยั่งยืน

พันธกรณีภายใตอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทีก่าํหนดใหประเทศภาคีทั้งปวงคํานึงถึงความรับผิดชอบรวมกันตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศ โดยมีระดับความรับผิดชอบของแตละประเทศภาคีที่แตกตางกันขึ้นอยูกับสถานการณของการพัฒนาประเทศและภูมิภาค ซ่ึงสามารถสรุปสาระสําคัญไดดังนี้ • กําหนดรูปแบบปฏิบัติ เผยแพร และปรับปรุงตามแผนระดับประเทศและระดับภูมิภาค

อยางเหมาะสม โดยมีมาตรการเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากการปลอยกาซเรือนกระจกจากแหลงกําเนิดอันเกิดจากการกระทําของมนุษยและการกําจัดโดยการเก็บกักกาซเรือนกระจกทั้งปวง พรอมทั้งมาตรการตางๆ ที่ชวยใหมีการปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยางเพียงพอ

• สงเสริมและรวมมือในการพัฒนา การใช การเผยแพร รวมทั้งการถายทอดเทคโนโลยี วิธีปฏิบัติและกระบวนการที่ควบคุม ลด หรือปองกันการปลอยกาซเรือนกระจกที่มิไดอยูภายใตพิธีสารมอนทรีออล(1) จากกิจกรรมของมนุษยในสาขาตางๆ ที่เกี่ยวของ เชน จากภาคพลังงาน ขนสง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ปาไมและการจัดการของเสีย

(1) พิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) เปนพิธีสารที่เกดิขึ้นภายใตอนุสัญญาเวียนนา โดยมีกฎขอบังคับใหประเทศภาคีพิธีสารดําเนินการลดและเลิกการใชสารที่ทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน เชน สารเคมีจําพวก CFC Halon เมทิลโบรไมดซึ่งไดมีการใชมาตรการจํากัดการนําเขา การสงออก การบริโภค และการถายทอดเทคโนโลยีการผลิต ตลอดจนควบคมุการผลิตเพื่อใหมีการลดและเลิกใชสารเคมีเหลานี้

Page 13: CDM Manual

6

• สงเสริมการจัดการแบบยั่งยืน รวมทั้งสงเสริมและรวมมือในการอนุรักษและการขยายแหลงรองรับและเก็บกักกาซเรือนกระจกที่ไมไดอยูภายใตพิธีสารมอนทรีออลตามความเหมาะสม รวมทั้งชีวมวล ปาไม และมหาสมุทร ตลอดจนระบบนิเวศบนบก ชายฝงและทะเลอื่นๆ

• รวมมือในการเตรียมการเพื่อปรับตัวตอผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ การพัฒนาและการผสมผสานแผนการที่เหมาะสมในการจัดการเขตชายฝงทรัพยากรน้ํา และการเกษตร เพื่อการคุมครองและฟนฟูพื้นที่ที่ไดรับผลกระทบจากความแหงแลงและการเปลี่ยนแปลงสภาพเปนทะเลทราย ตลอดจนอุทกภัยโดยเฉพาะอยางยิ่งในภาคพื้นแอฟริกา

• คํานึงถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเทาที่จะเปนไปไดในสวนที่เกี่ยวกับนโยบายและการดําเนินการดานสังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดลอมและใชวิธีการอันเหมาะสม เชน การประเมินผลกระทบในการสรางแบบแผนและกําหนดโครงการหรือมาตรการในระดับประเทศที่ประเทศภาคีจะไดปฏิบัติเพื่อบรรเทาหรือปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงการลดผลกระทบทางลบที่จะเกิดตอเศรษฐกิจ การสาธารณสุข และคุณภาพสิ่งแวดลอม

• สงเสริมและรวมมือในการวิจัยทางวิทยาศาสตร เทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ และอื่นๆ เพื่อการสังเกตการณอยางเปนระบบ รวมถึงการพัฒนาระบบฐานขอมูลเกี่ยวกับระบบภูมิอากาศ โดยมุงเสริมสรางความเขาใจเกี่ยวกับสาเหตุ ผลกระทบ ขนาดความรุนแรง และระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

• สงเสริมและรวมมือในการแลกเปลี่ยนขอมูลขาวสารดานวิทยาศาสตร เทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและกฎหมายที่เกี่ยวของกับระบบภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

• สงเสริมและรวมมือในการใหการศึกษา การฝกอบรม และสรางจิตสํานึกกับประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการมีสวนรวมของประชาชนอยางกวางขวาง

อยางไรก็ตาม ประเทศที่พัฒนาแลวและประเทศภาคีอ่ืนที่มีช่ือรวมอยูในภาคผนวกที่ I (Annex I Countries) ของอนุสัญญาฉบับนี้ ยังมีพันธกรณีที่ตองปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ เพิ่มเติม โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ • แตละประเทศตองกําหนดนโยบายแหงชาติ และดําเนินมาตรการที่สอดคลองในการ

บรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการจํากัดการปลอยกาซเรือนกระจกที่เกิด

Page 14: CDM Manual

7

จากการกระทําของมนุษย และการคุมครองปองกันและเพิ่มแหลงรองรับและที่กักเก็บกาซเรือนกระจก ทั้งนี้ นโยบายและมาตรการเหลานี้จะตองแสดงใหเห็นวามีการปรับระดับของการปลอยกาซคารบอนไดออกไซดและกาซเรือนกระจกอื่นๆ ที่ไมไดอยูภายใตพิธีสารมอนทรีออลใหเทียบเทากับระดับกอนหนานี้ดวยการคํานึงถึงความแตกตางของจุดเริ่มตน โครงสรางทางเศรษฐกิจและพื้นฐานทางทรัพยากร ความจําเปนในการรักษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยางยั่งยืนและแข็งแกรง เทคโนโลยีที่มีอยู และสถานการณในแตละประเทศภาคี โดยที่ประเทศเหลานี้อาจจะปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการเหลานั้นรวมกับประเทศภาคีอ่ืนๆ และอาจชวยประเทศภาคีอ่ืนดวยการสนับสนุนเพื่อบรรลุวัตถุประสงคแหงอนุสัญญาฯ

• ใหประเทศภาคีแตละประเทศจัดสงรายละเอียดขอมูลของนโยบายและมาตรการ ตลอดจนผลการคาดประมาณการปลอยกาซเรือนกระจกที่เกิดจากการกระทําของมนุษยและการกําจัดโดยแหลงรองรับกาซเรือนกระจกที่ไมไดอยูภายใตพิธีสารมอนทรีออลภายในระยะเวลาที่กําหนด โดยมีเปาหมายในการลดการปลอยกาซคารบอนไดออกไซดและกาซเรือนกระจกอื่นที่ไมไดอยูภายใตพิธีสารมอนทรีออลใหอยูในระดับการปลอยกาซดังกลาวในป พ.ศ. 2533 โดยดําเนินการดวยตนเองหรือรวมกันตามที่กําหนดไวในอนุสัญญาฯ ภายในหกเดือนหลังจากที่อนุสัญญาฯ ไดมีผลบังคับตอประเทศภาคีและตอไปเปนระยะๆ

• การคํานวณการปลอยกาซจากแหลงกําเนิด และการกําจัดโดยแหลงรองรับกาซเรือนกระจก โดยคํานึงถึงความรูทางวิทยาศาสตรที่ดีที่สุด รวมถึงขีดความสามารถที่มีประสิทธิภาพของแหลงรองรับและการมีสวนรวมตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น

• ภายใตอนุสัญญาฯ ไดมีการแบงประเทศภาคีออกเปน 2 กลุม ไดแก ประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I และประเทศนอกกลุมภาคผนวกที่ I

บทสรุป อนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) เปนอนุสัญญาที่มีจุดมุงหมายเพื่อรักษาระดับความเขมขนของกาซเรือนกระจกในบรรยากาศใหคงที่ในระดับที่ปลอดจากการแทรกแซงของมนุษย และเพื่อใหประเทศอุตสาหกรรม และอีกหลายประเทศในแถบยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกรวมมือกันลดการปลอยกาซเรือนกระจกโดยสมัครใจ โดยไมมีกรอบเวลาบังคับที่แนนอน

Page 15: CDM Manual

8

ตารางที่ 1.1 ประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I ภายใตอนุสญัญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ออสเตรเลีย (Australia)* ออสเตรีย (Austria) เบลารุส (Belarus)* เบลเยียม (Belgium) บัลแกเรีย (Bulgaria) แคนาดา (Canada) โครเอเชีย (Croatia)* สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) เดนมารก (Denmark) เอสโตเนีย (Estonia) ประชาคมเศรษฐกิจแหงยุโรป (European Community) ฟนแลนด (Finland) ฝร่ังเศส (France) เยอรมนี (Germany)

กรีซ (Greece) ฮังการี (Hungary) ไอซแลนด (Iceland) ไอรแลนด (Ireland) อิตาลี (Italy) ญ่ีปุน (Japan) ลัตเวีย (Latvia) ลิกเตนสไตน (Liechtenstein) ลิทัวเนีย (Lithuania) ลักเซมเบิรก (Luxembourg) โมนาโก (Monaco)* เนเธอรแลนด (Netherlands) นิวซีแลนด (New Zealand) นอรเวย (Norway) โปแลนด (Poland) โปรตุเกส (Portugal)

โรมาเนีย (Romania) สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) สโลวาเกีย (Slovakia) สโลวีเนีย (Slovenia) สเปน (Spain) สวีเดน (Sweden) สวิตเซอรแลนด (Switzerland) ตุรกี (Turkey) ยูเครน (Ukraine) สหราชอาณาจกัรบริเตนใหญและไอรแลนดเหนือ (United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) สหรัฐอเมริกา (United States of America)*

ที่มา: UNFCCC website (http://unfccc.int/parties_and_observers/parties/annex_i/items/2774.php)

หมายเหตุ * ประเทศในภาคผนวกที่ I ที่ไม เขารวมในพิธีสารเกียวโต สําหรับประเทศไทยไดเห็นความสําคัญของปญหาโลกรอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงไดลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2535 และไดใหสัตยาบันเขารวมเปนภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework Convention on Climate Change, UNFCCC) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยมีผลบังคับใชกับประเทศไทยตั้งแตวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 เปนตนมา สงผลใหประเทศไทยมีขอผูกพันตามพันธกรณีตางๆ ที่ระบุในอนุสัญญาดังกลาว

Page 16: CDM Manual

9

1.2 พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

ผลจากการลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกลาว ทําใหมีการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ขึ้นทุกป โดยในการประชุมสมัยที่ 3 (3rd Conference of the Parties: COP 3) ที่กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุน ไดมีการยกรางพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อจัดการกับปญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอยางเปนรูปธรรม โดยมีรายละเอียดสาระสําคัญของพิธีสาร ดังนี้ • ประเทศภาคีในภาคผนวก I ใหมีการปฏิบัติและ/หรือเพิ่มเติมรายละเอียดในนโยบาย

และมาตรการตามสถานการณของประเทศ อาทิ - การเพิ่มประสิทธิภาพของการใชพลังงาน การปกปองรักษาและการขยายแหลงรองรับและที่เก็บกักกาซเรือนกระจก โดยตองกระทําอยางสอดคลองกับขอตกลงดานสิ่งแวดลอมระหวางประเทศที่เกี่ยวของกับการปฏิบัติการเพื่อสงเสริมการจัดการปาไมอยางยั่งยืน การฟนฟูปาและการปลูกปา

- การสงเสริมรูปแบบการเกษตรที่ยั่งยืนโดยการคํานึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

- การศึกษาวิจัยและสงเสริมการพัฒนาและเพิ่มการใชพลังงานในรูปแบบใหมๆ โดยใชเทคโนโลยีที่ชวยลดปริมาณกาซคารบอนไดออกไซดและมีนวัตกรรมใหมๆ ที่รักษาสิ่งแวดลอม

- ลดหรือเลิกการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสาขาที่ปลอยกาซเรือนกระจกที่ขัดตอวัตถุประสงคของอนุสัญญาฯ

- การใหมีการปฏิรูปสาขาที่เกี่ยวของอยางเหมาะสมเพื่อเปาหมายในการสงเสริมนโยบายและมาตรการที่จํากัดหรือลดการปลอยกาซเรือนกระจกที่ไมไดควบคุมโดยพิธีสารมอนทรีออล

- การดําเนินมาตรการจํากัดและ/หรือลดการปลอยกาซเรือนกระจกที่ไมไดควบคุมโดยพิธีสารมอนทรีออลในสาขาการคมนาคมขนสง และจํากัดและ/หรือลดการปลอยกาซมีเทนโดยวิธีการนํากลับมาใชใหมในการจัดการของเสีย การผลิต การคมนาคมขนสง และการกระจายพลังงาน ทั้งนี้ สามารถรวมมือกับประเทศภาคีอ่ืนในการเพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายและมาตรการของประเทศตนเองหรือรวมกัน

• ประเทศภาคีในภาคผนวก I ตองจํากัดหรือลดการปลอยกาซเรือนกระจกที่ไมไดควบคุมโดยพิธีสารมอนทรีออลจากการคมนาคมขนสงทางอากาศและที่ขนสงทางทะเล โดยประสานความรวมมือกับองคการการบินพลเรือนระหวางประเทศ (International Civil Aviation Organization) และองคการพาณิชยนาวีระหวางประเทศ (International Maritime Organization)

Page 17: CDM Manual

10

• ใหประเทศภาคีในภาคผนวก I แตละประเทศหรือหลายประเทศรวมกันตั้งเปาหมายในการลดปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกตาง ๆ ใหต่ํากวาระดับที่ปลอยในป พ.ศ. 2533 อยางนอยรอยละ 5 เมื่อคิดเปนปริมาณเทียบเทากาซคารบอนไดออกไซด ภายในชวงพันธกรณีแรก คือ ระหวางป พ.ศ. 2551 ถึง 2555

• ประเทศภาคีสามารถเขารวมในกลไกการลดปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกได 3 รูปแบบ คือ การดําเนินการรวมกัน (Joint Implementation: JI) กลไกการพัฒนาที่สะอาด(Clean Development Mechanism: CDM) และการซื้อขายกาซเรือนกระจก (Emission Trading: ET)

• ใหประเทศภาคีทุกๆ ประเทศจัดทํารายงานบัญชีปริมาณการปลอยกาซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษยจากแหลงตางๆ และการกําจัดโดยแหลงรองรับกาซเรือนกระจกทั้งหมดที่ไมไดควบคุมโดยพิธีสารมอนทรีออล ตลอดจนมาตรการในการแกไขปญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมาตรการในการอํานวยความสะดวกในการปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

• พิธีสารนี้จะมผีลบังคับใชเมื่อพนกําหนด 90 วัน นับจากวนัที่ภาคีตามอนุสัญญาฯ ไมนอยกวา 55 ไดมอบสัตยาบนัสาร สารยอมรับ สารเหน็ชอบ หรือสารภาคยานุวัตขิองตน ทั้งนี้ ภาคีทัง้ 55 ประเทศดังกลาว ใหหมายความรวมถึงภาคีที่มีช่ือรวมอยูในภาคผนวก I ดวย โดยภาคทีม่ีช่ือรวมอยูในภาคผนวก I (ทีไ่ดใหสัตยาบนัสาร หรือสารยอมรับ หรือสารเหน็ชอบ หรือใหภาคยานวุัต)ิ ตองมีปริมาณการปลอยกาซคารบอนไดออกไซด รวมกันอยางนอยกวารอยละ 55 ของการปลอยกาซคารบอนไดออกไซดทั้งหมดในป พ.ศ. 2533 ของภาคีที่มีช่ืออยูในภาคผนวกที่ I

สําหรับกาซเรือนกระจกตามพิธีสารเกียวโตมีเพียง 6 ชนิด คือ คารบอนไดออกไซด (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคารบอน (HFCs) เปอรฟลูออโรคารบอน (PCFs) และซัลเฟอรเฮกซาฟลูโอไรด (SF6) โดยกาซแตละชนิดจะมีประสิทธิภาพในการแผรังสีความรอน (radioactive efficiency) ที่แตกตางกัน ดังนั้น ในการคํานวณปริมาณกาซเรือนกระจก จึงใหคํานวณเปนปริมาณเทียบเทากาซคารบอนไดออกไซด โดยใชคาศักยภาพในการทําใหเกิดภาวะโลกรอน (Global Warming Potential: GWP) ของกาซแตละชนิดเปนตัวคูณ สําหรับคาศักยภาพในการทําใหเกิดภาวะโลกรอนของกาซเรือนกระจกแตละชนิดในชวงพันธกรณีแรก จะเปนไปตามรายงานของคณะกรรมการระหวางรัฐบาลวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC Second Assessment Report 1995) ดังแสดงใน ตารางที่ 1.2

Page 18: CDM Manual

11

ตารางที่ 1.2 คาศักยภาพในการทําใหเกิดภาวะโลกรอนของกาซเรือนกระจกแตละชนิด

ศักยภาพในการทําใหโลกรอน (เทาของคารบอนไดออกไซด) กาซเรือนกระจก

IPCC 1995 IPCC 2001 1. คารบอนไดออกไซด (CO2) 1 1 2. มีเทน (CH4) 21 23 3. ไนตรัสออกไซด (N2O) 310 296 4. ไฮโดรฟลูออโรคารบอน (HFCs) 140 – 11,700 12 – 12,000 5. เปอรฟลูออโรคารบอน (PCFs) 6,500 – 9,200 5,700 – 11,900 6. ซัลเฟอรเฮกซาฟลูโอไรด (SF6) 23,900 22,200 ที่มา: IPCC, 2001

บทสรุป ภายใตพิธีสารเกียวโต กลุมประเทศในภาคผนวกที่ I จะตองรวมมือกันในการลดการปลอยกาซเรือนกระจกใหบรรลุตามเปาหมาย คือใหอยูต่ํากวาปริมาณการปลดปลอยในป พ.ศ. 2533 รอยละ 5ในชวงระยะเวลา 5 ป ตั้งแตป พ.ศ. 2551 - 2555 หรือที่เรียกวาในชวงพันธกรณีแรก (First Commitment Period) ซ่ึงแตละประเทศที่อยูในกลุมภาคผนวกที่ I จะมีเปาหมายในการลดปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกแตกตางกันออกไป ตามที่ระบุในภาคผนวก ข (Annex B) ของพิธีสารเกียวโต พิธีสารยังไดกําหนดกลไกความรวมมือในการลดกาซเรือนกระจกไว 3 รูปแบบ ไดแก การซื้อขายกาซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) การดําเนินการรวมกัน (Joint Implementation: JI) และกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) พิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใชเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ พ.ศ. 2548 ซ่ึงเปนไปตามมาตรา 25 เมื่ อสหพันธรัฐรัสเซียไดลงนามให สัตยาบัน สงผลใหปริมาณรวมการปลอยก าซคารบอนไดออกไซดในป พ.ศ. 2533 คิดเปนรอยละ 61.6 ปจจุบันมีประเทศตางๆ เขารวมในพธีิสารเกียวโตรวมทั้งสิ้น 175 ประเทศ (ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2550) ประเทศไทยไดใหสัตยาบันตอพิธีสารเกียวโต เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545 อยางไรก็ตาม ประเทศไทยไมไดอยูในกลุมภาคผนวกที่ I จึงไมมีพันธกรณีในการลดกาซเรือนกระจกในชวงพันธกรณีแรก แตประเทศไทยสามารถมีสวนรวมในการลดการปลอยกาซเรือนกระจกไดจากการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ตามที่นิยามไวในมาตรา 12 ของพิธีสารเกียวโต

Page 19: CDM Manual

12

1.3 กลไกตางๆ ในการลดการปลอยกาซเรือนกระจกภายใตพธีิสารเกียวโต

เพื่อใหบรรลุจุดมุงหมายของพิธีสารเกียวโตในการลดการปลอยกาซเรือนกระจก พิธีสารเกียวโตมุงเนนการดําเนินการในประเทศที่มีพันธกรณีเองเปนหลัก อยางไรก็ดี พิธีสารเกียวโตไดกําหนดกลไกที่ยืดหยุน (Flexibility Mechanisms) ไว 3 กลไก เพื่อลดภาระคาใชจายในการลดกาซเรือนกระจกของประเทศในภาคผนวกที่ I ไดแก • การดําเนินการรวมกัน (Joint Implementation: JI) เปนกลไกตามมาตรา 6 ที่เปดโอกาส

ใหประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I รวมกันดําเนินโครงการตางๆ เพื่อลดการปลอยกาซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากมาตรการที่มีอยูแลวในการดําเนินธุรกิจตามปกติ โดยผูดําเนินโครงการจะไดรับ Emission Reduction Unit (ERU) สําหรับกาซเรือนกระจกที่สามารถลดไดและผานการตรวจวัดแลว

• กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) เปนกลไกตามมาตรา 12 ที่เปนกลไกที่ดําเนินการรวมกันระหวางประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I และประเทศนอกภาคผนวกที่ I เพื่อลดการปลอยกาซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากมาตรการที่จะเกิดขึ้นอยูแลวในการดําเนินธุรกิจตามปกติ และเปนการชวยเหลือประเทศภาคีที่อยูนอกภาคผนวกที่ I ใหสามารถบรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยผูดําเนินโครงการจะไดรับ Certified Emission Reduction (CER) สําหรับกาซเรือนกระจกที่สามารถลดไดและผานการรับรองแลว

• การซ้ือขายกาซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) เปนกลไกตามมาตรา 17 ที่เปนการซื้อขายใบอนุญาตในการปลอยกาซเรือนกระจกที่ประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I ไดรับ โดยใบอนุญาตนี้เรียกวา Assigned Amount Unit (AAU)

Page 20: CDM Manual

13

2 กลไกการพัฒนาท่ีสะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)

ในการประชุมเพื่อจัดทํารางพิธีสารภายใตกรอบอนุสัญญาวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Convention on Climate Change: UNFCCC) ประเทศในภาคผนวกที่ I ไดมีการนําประเด็นดานตนทุนในการลดปริมาณกาซเรือนกระจกที่สูงมาเปนขออางวาการดําเนินการดังกลาวจะสงผลกระทบตอระบบเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ดังนั้นประเทศในภาคผนวกที่ I จึงตองการที่จะใหประเทศนอกภาคผนวกที่ I เขามามีสวนรวมในการลดปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกในรูปแบบของโครงการพัฒนาที่สะอาด กลาวคือ อนุญาตใหประเทศในภาคผนวกที่ I ลงทุนเพื่อดําเนินการลดปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกในประเทศนอกภาคผนวกที่ I ซ่ึงมีตนทุนในการดําเนินการต่ํากวาประเทศในภาคผนวกที่ I และเปนการชวยใหประเทศนอกภาคผนวกที่ I มีการพัฒนาประเทศอยางยั่งยืน ดังนั้น ในการประชุมสมัยที่ 3 (Third Conference of the Parties: COP 3) ที่กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุน จึงไดมีการยกรางพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้น และไดบรรจุกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ไวเปนมาตราหนึ่งในรางพิธีสารดังกลาว

2.1 กลไกการพัฒนาท่ีสะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)

กลไกการพัฒนาที่สะอาด หรือ CDM เปนกลไกที่กําหนดขึ้นภายใตพิธีสารเกียวโตตามมาตราที่ 12 ซ่ึงเปนกลไกที่ชวยประเทศในภาคผนวกที่ I ของอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการบรรลุถึงเปาหมายในการจํากัดปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกและลดการปลอยกาซเรือนกระจกตามพันธกรณีของตน และเพื่อสงเสริมใหเกิดการพัฒนาอยางยั่งยืนใหกับประเทศนอกภาคผนวกที่ I

พิธีสารเกียวโต มาตรา 12

1. กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ถูกกําหนดโดยนัย

นี้ 2. CDM มีวัตถุประสงค เพื่อชวยเหลือภาคีที่ไมรวมอยูในภาคผนวก I ใหสามารถบรรลถึุง

การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development) และใหมีสวนสนับสนุนวัตถุประสงคสูงสุดของอนุสัญญา และเพื่อชวยเหลือภาคีที่มีช่ือรวมอยูในภาคผนวก I ใหสามารถ

Page 21: CDM Manual

14

ปฏิบัติพันธกรณีเกี่ยวกับการจํากัดและการลดการปลอยตามปริมาณที่กําหนด ภายใตขอที่ 3 ไดอยางสอดคลอง

3. ภายใต CDM • ภาคีที่ไมรวมอยูในภาคผนวก I จะไดประโยชนจากการดําเนินกิจกรรม

โครงการ (Project activities) อันเปนผลจากการลดการปลอยกาซที่ไดผานการรับรองแลว (Certified Emission Reductions)

• ภาคีที่มีช่ือรวมอยูในภาคผนวก I อาจนําการลดการปลอยกาซซึ่งผานการรับรองแลวที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมโครงการดังกลาวไปใช เพื่อใหสอดคลองกับสวนหนึ่งของพันธกรณีในการจํากัดและการลดการปลอยตามปริมาณที่กําหนด ภายใตขอที่ 3 ตามการพิจารณาของที่ประชุมภาคีในฐานะที่เปนการประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ได

4. CDM จะเปนเชนไรใหขึ้นอยูกับอํานาจและแนวปฎิบัติของที่ประชุมภาคีในฐานะที่เปนการประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ และโดยใหคณะกรรมการบริหาร (Executive Board) ของ CDM เปนผูกํากับดูแล

5. การลดการปลอยกาซที่เปนผลจากแตละกิจกรรมโครงการ ตองไดรับการรับรองจากหนวยงานปฏิบัติงาน (Operational Entities) ที่ประชุมภาคีในฐานะที่เปนการประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ ไดมอบหมายบนพื้นฐานของ

• การมีสวนรวมโดยสมัครใจ ตามที่แตละภาคีที่เกี่ยวของเห็นชอบ • ผลประโยชนในระยะยาวที่แทจริงและที่สามารถวัดได ที่เกี่ยวของกับการ

บรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • การลดการปลอยกาซที่ในสวนเพิ่มเติมจากที่จะเกิดขึ้นในกรณีที่ไมมีกิจกรรม

โครงการที่ผานการรับรองแลว 6. CDM ตองชวยเหลือในการจัดการจัดหาเงินทุนในการดําเนินกิจกรรมโครงการที่ผาน

การรับรองแลวตามความจําเปน 7. ในการประชุมสมัยแรก ที่ประชุมภาคีในฐานะที่เปนการประชุมของภาคีตามพิธิสารนี้

ตองจัดทํารูปแบบและวิธีการปฏิบัติอยางละเอียดโดยมีวัตถุประสงคเพื่อทําใหเกิดความโปรงใส (transparency) ประสิทธิภาพ (efficiency) และความรับผิดชอบ (accountability) โดยการตรวจสอบอยางอิสระ (independent audition) และการตรวจทานความถูกตอง (verification) ของกิจกรรมโครงการ

8. ที่ประชุมภาคีในฐานะที่เปนการประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ ตองทําใหแนใจวาเงินสวนแบง (share) ที่ไดมาจากการดําเนินกิจกรรมโครงการที่ผานการรับรองแลว ถูก

Page 22: CDM Manual

15

นําไปใชเปนคาใชจายทางดานบริหาร และนําไปชวยเหลือประเทศกําลังพัฒนาซึ่งมีความออนไหวเปนพิเศษที่จะไดรับผลกระทบในเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อใชเปนคาใชจายในการปรับตัวใหเขากับสภาวะที่เปนอยู (costs of adaptation)

9. การเขาไปมีสวนรวมภายใตกลไก CDM รวมทั้งในกิจกรรมที่กลาวในยอหนาที่ 3 ขางตน และการเขาไปมีสวนรวมในการจัดหาเพื่อใหไดมาซึ่งการลดการปลอยกาซซึ่งผานการรับรองแลว อาจเกี่ยวของกับองคกรเอกชน และ/หรือ องคกรของรัฐ และขึ้นอยูกับแนวปฏิบัติใด ๆ ที่คณะกรรมการบริหารของ CDM อาจจัดหามา

10. การลดการปลอยกาซซึ่งผานการรับรองแลว ที่ไดมาในระหวางป พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) จนถึงจุดเริ่มตนของชวงเวลาดําเนินการตามพันธกรณีชวงแรก สามารถนําไปใชเพื่อชวยใหเกิดการดําเนินการที่สอดคลอง (compliance) ในชวงระยะเวลาตามพันธกรณีชวงแรกได

กลไกการพัฒนาที่สะอาด จึงเปนกลไกที่ทําใหเกิดความรวมมือกันระหวางประเทศในภาคผนวกที่ I กับประเทศนอกภาคผนวกที่ I ดวยความสมัครใจของทั้งสองฝาย โดยประเทศในภาคผนวกที่ I สามารถนําปริมาณกาซเรือนกระจกที่ลดไดจากโครงการที่ดําเนินการรวมกับประเทศนอกภาคผนวกที่ I ไปคิดเปนปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศของตน เพื่อใหบรรลุถึงพันธกรณีที่กําหนดไวในอนุสัญญาฯ สวนประเทศนอกภาคผนวกที่ I ก็ไดรับการสนับสนุนปจจัยดานตางๆ ในการพัฒนาประเทศอยางยั่งยืน ดังนั้น กลไกการพัฒนาที่สะอาดจึงเปรียบเสมือนแรงจูงใจใหประเทศนอกภาคผนวกที่ I ปรับเปลี่ยนมาใชเทคโนโลยีสะอาดเพิ่มมากขึ้น อันจะสงผลใหการปลอยกาซเรือนกระจกลดลง โดยแรงจูงใจที่กลาวถึงคือ Certified Emission Reductions (CERs) หรือที่เรียกกันทั่วไปวา คารบอนเครดิต ที่ผูดําเนินโครงการจะไดรับ และสามารถนําไปขายใหกับประเทศในภาคผนวกที่ I ได ดังแสดงในรูปที่ 2.1

Page 23: CDM Manual

16

รูปท่ี 2.1 การผลิตและการแลกเปลี่ยน CERs

ที่มา: บริษัท อีอารเอ็ม-สยาม จํากัด, 2548

2.1.1 หลักเกณฑและเงื่อนไขในการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด

หลักเกณฑในการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด เปนหลักเกณฑที่ไดรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 7 ที่เมืองมาราเคช ประเทศโมรอคโค จึงเรียกหลักเกณฑนี้วา Marrakesh Accords (2) ซ่ึงมีรายละเอียดของหลักเกณฑในการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ดังนี้ • ตองเปนโครงการที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจ • ประเทศที่รวมโครงการจะตองใหสัตยาบันตอพิธีสารเกียวโต และตองจัดตั้งองคกร

กํากับดูแลการดําเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Designated National Authority: DNA)

• โครงการที่ดําเนินการจะตองมีสวนชวยในการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศเจาบาน • หากมีเงินชวยเหลือโครงการจากประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I จะตองไมใชเงิน

ชวยเหลือที่เพื่อการพัฒนาอยางเปนทางการ • ตองมีการสอบถามความคิดเห็นจากผูที่มีสวนเกี่ยวของกับโครงการ และตองดําเนินการ

วิเคราะหผลกระทบตอส่ิงแวดลอม

(2) UNFCCC, 2001, Decision 17/CP. 7: Modalities and procedures for a clean development mechanism, as defined in Article 12 of the Kyoto Protocol.

Page 24: CDM Manual

17

• การลดกาซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น จะตองเปนการดําเนินโครงการเพิ่มเติมจากการดําเนินงานตามปกติในดานการเงิน (Financial additionality) การลงทุน (Investment additionality) การถายทอดเทคโนโลยี (Technology additionality) และดานส่ิงแวดลอม (Environmental additionality)

• กระบวนการตางๆ ในการดําเนินโครงการจะตองมีความโปรงใส มีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบ โดยการผานการตรวจสอบและการพิสูจนอยางเปนอิสระ

2.1.2 ประเภทโครงการที่เขาขายโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด

เพื่อใหการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดเปนไปอยางมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จึงไดมีการแบงประเภทของโครงการออกเปน 3 ประเภท ไดแก • โครงการ CDM ทั่วไป • โครงการ CDM ดานปาไม • โครงการ CDM ขนาดเล็ก สําหรับโครงการ CDM ดานปาไมและโครงการ CDM ขนาดเล็กจะเปนประเภทโครงการที่มีลักษณะพิเศษกวาโครงการทั่วไป ทั้งในสวนรายละเอียดโครงการ และชวงระยะเวลาการคิดคารบอนเครดิต

โครงการ CDM ทั่วไป

โครงการ CDM ทั่วไปเปนโครงการที่ประเทศภาคีภายใตพิธีสารเกียวโตไดจัดทําขึ้น โดยประกอบดวย 15 ประเภทโครงการ ดังนี้

1. อุตสาหกรรมดานพลังงาน 2. อุตสาหกรรมการจําหนายพลังงาน 3. การใชพลังงาน 4. อุตสาหกรรมการผลิต 5. อุตสาหกรรมเคมี 6. การกอสราง 7. การขนสง 8. การทําเหมืองแรและการถลงุแร 9. การผลิตโลหะ

Page 25: CDM Manual

18

10. การรั่วไหลของกาซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิง 11. การรั่วไหลของกาซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตและการใช halocarbons และ

sulphur hexafluoride 12. การใชสารละลาย 13. การจัดการของเสีย 14. การปลูกปา และการฟนฟูปา 15. การเกษตร

โครงการ CDM ดานปาไม

สําหรับการดําเนินโครงการ CDM ดานปาไมนั้น ปา หมายถึง พื้นที่ที่มีขนาดขั้นต่ําตั้งแต 0.05-1.0 เฮกเตอร (500-10,000 ตารางเมตร) โดยมีตนไมปกคลุม (crown cover) มากกวารอยละ 10-30 โดยตนไมเหลานี้ตองมีศักยภาพที่จะเติบโตและมีความสูงไมนอยกวา 2- 5 เมตร (3) ทั้งนี้ กิจกรรมดานปาไมที่สามารถดําเนินการเปนโครงการ CDM ดานปาไมไดจะจํากัดอยูเฉพาะการปลูกปา (Afforestation) และการฟนฟูปา (Reforestation) ตามนิยามที่กําหนดไว ดังนี้ • การปลูกปา (Afforestation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพการใชที่ดินที่กระทําโดย

มนุษย จากพื้นที่ที่ไมเคยเปนปามากอนในระยะเวลา 50 ป ใหกลายเปนปา โดยการปลูก หวานเมล็ด หรือการสงเสริมใหเกิดการขยายพันธุตามธรรมชาติ

• การฟนฟูปา (Reforestation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพการใชที่ดินที่กระทําโดยมนุษย จากพื้นที่ที่คร้ังหนึ่งเคยเปนปาแตถูกแปลงสภาพใหไปใชประโยชนอ่ืน ใหกลับกลายเปนปาอีกครั้ง โดยการปลูก หวานเมล็ด หรือการสงเสริมใหเกิดการขยายพันธุตามธรรมชาติ โดยในชวงพันธกรณีแรก จะจํากัดอยูเฉพาะโครงการที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ที่ไมเปนปา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2532

(3) ตัวเลขขั้นต่ําของแตละประเทศจะแตกตางกัน โดยประเทศที่ตองการรวมโครงการ CDM ดานปาไม จะตองกําหนดตัวเลขขั้นต่ําที่เหมาะสมกับประเทศของตน และสงใหกับ CDM EB

Page 26: CDM Manual

19

โดยในการคิดชวงเวลาเพื่อหาคารบอนเครดิต จะเริ่มนับจากวันเริ่มตนกิจกรรมปลูกปาหรือฟนฟูปา ภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด โดยผูดําเนินโครงการสามารถเลือกชวงเวลาในการคิดเครดิตสําหรับโครงการ CDM ดานปาไมจากสองทางเลือก คือ • ชวงเวลาแบบตออายุได (Renewable Crediting Period) เปนเวลาสูงสุด 20 ป แตสามารถ

ตออายุได 2 คร้ัง หาก baseline ของโครงการยังคงใชไดอยูหรือไดมีการปรับปรุงใหเขากับขอมูลใหม รวมระยะเวลาสูงสุดในการคิดคารบอนเครดิต 60 ป หรือ

• ชวงเวลาแบบคงที่ (Fixed Crediting Period) เปนเวลาสูงสุด 30 ป และไมสามารถตออายุได

และสําหรับเครดิตที่ไดรับจากการดําเนินโครงการดานปาไม จะแตกตางจากโครงการ CDM ทั่วไป ซ่ึงจะสามารถเลือกคิดแบบใดแบบหนึ่ง คือ • tCERs (Temporary CER) จะคิดปริมาณคารบอนเครดิตไปจนถึงสิ้นสุดพันธกรณีในแต

ละชวง (the end of the Commitment period) • lCERs (Long-term CER) จะคิดปริมาณคารบอนเครดิตไปจนถึงเวลาที่ส้ินสุดชวงเวลา

ในการคิดเครดิต (the end of the Crediting period) โครงการ CDM ขนาดเล็ก

โครงการ CDM ขนาดเล็ก เปนโครงการที่ชวยลดคาใชจายในการดําเนินงานและชวยรนระยะเวลาในการขอขึ้นทะเบียน เนื่องจากมีขั้นตอนที่งายและกระชับขึ้น โดยกิจกรรมที่สามารถเขารวมเปนโครงการ CDM ขนาดเล็ก สามารถแบงออกเปน 4 ลักษณะกิจกรรม (4) ไดแก • โครงการพลังงานหมุนเวียน ที่มีกําลังการผลิตสูงสุดไมเกิน 15 MWe • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใชพลังงาน ที่สามารถลดการใชพลังงานไดไมเกิน

15 GWh ตอป • โครงการอื่นๆ ที่สามารถลดปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกจากกิจกรรมของ

มนุษย โดยโครงการดังกลาวมีการปลดปลอยกาซเรือนกระจกไมเกิน 15,000 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา

(4) UNFCCC, 2002, Annex II to decision 21/CP.8 Simplified modalities and procedures for small–scale clean development mechanism project activities.

Page 27: CDM Manual

20

• โครงการปลูกปาและการฟนฟูสภาพปาขนาดเล็ก ที่มีการดูดซับกาซเรือนกระจกไมเกิน 8,000 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทาตอป หากมีการดูดซับเกินกวานี้ สวนที่เกนิจะไมถูกนับเปนคารบอนเครดิต

ทั้งนี้ โครงการที่เขาขายโครงการ CDM ขนาดเล็ก จะไดรับสิทธิพิเศษ ดงันี้ • ใชเอกสารประกอบโครงการที่ปรับใหงายขึ้น • วิธีการคํานวณการลดกาซเรือนกระจกและวิธีการในการติดตามตรวจสอบปริมาณการ

ลดกาซเรือนกระจกที่งายขึ้น • สามารถควบรวมหลายโครงการเขาดวยกัน (bundling) • ไดรับการผอนปรนเรื่องการวิเคราะหผลกระทบดานสิ่งแวดลอม • คาธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนต่ํากวาโครงการทั่วไป • ระยะเวลาในการพิจารณาโครงการเพื่อขึ้นทะเบียนสั้นกวา • สามารถใชหนวยงานปฏิบัติการในที่ไดรับหมอบหมายรายเดียวกันในการตรวจสอบ

เอกสารประกอบโครงการ (validation) และการยืนยันการลดกาซเรือนกระจก (verification)

ในการควบรวมโครงการขนาดเล็กเขาดวยกันเปนโครงการ CDM ทั่วไป จะตองเปนไปตามหลักเกณฑ ดังนี้ • โครงการที่ควบรวมกันแลวจะไมสามารถแยกออกจากกันไดในทุกระยะของการ

ดําเนินโครงการ • ตองมีชวงเวลาในการคิดเครดิตเหมือนกัน • เปนโครงการประเภทเดียวกัน ลักษณะกิจกรรมเหมือนกัน โดยอาจมีเทคโนโลยี

เหมือนกันหรือตางกันก็ได ปจจุบัน คณะทํางานดานโครงการ CDM ขนาดเล็ก อยูระหวางดําเนินการรางหลักเกณฑในการควบรวมโครงการ CDM ขนาดเล็ก ที่มีลักษณะกิจกรรมแตกตางกัน

2.1.3 ผลประโยชนท่ีไดรับจากโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด

กลไกการพัฒนาที่สะอาดเปรียบเสมือนแรงจูงใจใหประเทศกําลังพัฒนา หันมาใชเทคโนโลยีสะอาดเพิ่มมากขึ้น อันจะสงผลใหการปลอยกาซเรือนกระจกสูบรรยากาศลดนอยลง ซ่ึงหากไมมีแรงจูงใจจากกลไกการพัฒนาที่สะอาดแลว ประเทศนอกภาคผนวกที่ I

Page 28: CDM Manual

21

หรือประเทศกําลังพัฒนาจะยังคงใชเทคโนโลยีแบบเดิมที่มีตนทุนต่ําและมีการปลอยกาซเรือนกระจกในปริมาณมาก โดยแรงจูงใจที่กลาวถึงคือ คารบอนเครดิต หรือ CERs ที่ผูดําเนินโครงการจะไดรับ และสามารถนําไปขายใหกับประเทศในภาคผนวกที่ I (ประเทศพัฒนาแลว) ไดนั่นเอง สวนผลประโยชนที่ประเทศเจาของโครงการ จะไดรับคือ การพัฒนาอยางยั่งยืน ทั้งนี้ผลประโยชนที่ไดรับจากโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดสามารถแบงออกเปน 2 ระดับ คือระดับทองถ่ินและระดับประเทศ ซ่ึงแสดงไวในตารางที่ 2.1

ตารางที่ 2.1 ผลประโยชนท่ีไดรับจากโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด

ประเด็น ผลประโยชนท่ีไดรับ ระดับทองถิ่น ดานสิ่งแวดลอม - มีการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมระดับชุมชนในพื้นที่โครงการ

- ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น โดยการนํามาใชเปนเชื้อเพลิงพลังงาน - ลดการใชทรัพยากรเชื้อเพลิงที่ไมสามารถทดแทนได

ดานเศรษฐกิจ - กรณีที่ เปนโครงการดานพลังงานทดแทนจะชวยใหนําผลิตผลทางการเกษตร เชน ปาลม มะพราว ทานตะวัน ผลสบูดํา ฯลฯ มาเปนวัตถุดิบในการผลิตพลังงาน

- เกษตรกรสามารถนําวัสดุเหลือใช เชน แกลบ ใบออย เศษไม ฯลฯ ไปขายเพื่อเปนวัตถุดิบในการดําเนินโครงการ CDM

- กระตุนเศรษฐกิจในระดับชุมชนใหเกิดการจางงานมากขึ้น - มีการผลิตสินคาดวยวิธีการที่สะอาดขึ้น

ดานสังคม - ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยเฉพาะดานสุขภาพอนามัยจากคุณภาพสิ่งแวดลอมที่ดีขึ้น

- เพิ่มทางเลือกในการประกอบกิจการที่เปนประโยชนตอสภาวะแวดลอม ระดับประเทศ ดานสิ่งแวดลอม - คุณภาพสิ่งแวดลอมโดยรวมของประเทศดีขึ้น

- มีการถายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดทั้งจากตางประเทศและภายในประเทศ

ดานเศรษฐกิจ - ลดการพึ่งพาการนําเขาเชื้อเพลิงพลังงาน - กระตุนเศรษฐกิจระดับชาติและเพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจ - มีรายไดจากภาษีเงินไดนิติบุคคลจากการซื้อขาย CERs - ลดภาระของประเทศที่ภาครัฐจะตองลงทุนในการรักษาสิ่งแวดลอมและ

อนุรักษพลังงาน ดานสังคม - มีบทบาทในเวทีโลกในการแกไขปญหาระดับนานาชาติ

- ทําใหเพิ่มอํานาจตอรองในการเจรจาระหวางประเทศ ที่มา: สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม, 2549

Page 29: CDM Manual

22

2.2 วัฏจักรโครงการกลไกการพฒันาที่สะอาด

การดําเนินโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาดมีขั้นตอนในการดําเนินโครงการ จํานวนทั้งสิ้น 7 ขั้นตอน รายละเอียดดังแสดงใน รูปที่ 2.2

รูปท่ี 2.2 ขั้นตอนในการดําเนินโครงการภายใตกลไกการพัฒนาทีส่ะอาด

ที่มา: บริษัท อีอารเอ็ม-สยาม จํากัด, 2550 หมายเหตุ DNA หมายถึง หนวยงานกลางที่ทําหนาที่ประสานการดําเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด DOE หมายถึง หนวยงานปฏิบัติการที่ไดรับหมอบหมายในการตรวจสอบ (Designated Operational Entities)

CDM EB หมายถึง คณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Executive Board of CDM)

การออกแบบโครงการและจัดทําเอกสารประกอบโครงการ ผูดําเนินโครงการ

การอนุมตัิจากประเทศเจาบาน

DNA

การตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ

DOE (A)

การขึ้นทะเบียนโครงการ

CDM EB

การติดตามการลด GHG

ผูดําเนินโครงการ

การยืนยันการลด GHG

DOE (B)

การรับรองการลด GHG

DOE (B)

การออกใบรับรองปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจก

CDM EB

Page 30: CDM Manual

23

1. การออกแบบโครงการ (Project Design) ผูดําเนินโครงการจะตองออกแบบลักษณะของโครงการและจัดทําเอกสารประกอบโครงการ (Project Design Document: PDD) โดยมีการกําหนดขอบเขตของโครงการ วิธีการคํานวณการลดกาซเรือนกระจก วิธีการในการติดตามผลการลดกาซเรือนกระจก การวิเคราะหผลกระทบตอส่ิงแวดลอม เปนตน

2. การตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ (Validation) ผูดําเนินโครงการจะตองวาจางหนวยงานกลางที่ไดรับมอบหมายในการปฏิบัติหนาที่แทนคณะกรรมการบริหารฯ หรือที่เรียกวา Designated Operational Entity (DOE) ในการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ วาเปนไปตามขอกําหนดตางๆ หรือไม ซ่ึงรวมถึงการไดรับความเห็นชอบในการดําเนินโครงการจากประเทศเจาบานดวย

3. การขึ้นทะเบียนโครงการ (Registration) เมื่อ DOE ไดทําการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการและลงความเห็นวาผานขอกําหนดตางๆ ครบถวน จะสงรายงานไปยังคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด (EB) เพื่อขอขึ้นทะเบียนโครงการ

4. การติดตามการลดการปลอยกาซเรือนกระจก (Monitoring) เมื่อโครงการไดรับการขึ้นทะเบียนเปนโครงการ CDM แลว ผูดําเนินโครงการจึงดําเนินโครงการตามที่เสนอไวในเอกสารประกอบโครงการ และทําการติดตามการลดการปลอยกาซเรือนกระจก ตามที่ไดเสนอไวเชนกัน

5. การยืนยันการลดกาซเรือนกระจก (Verification) ผูดําเนินโครงการจะตองวาจางหนวยงาน DOE ใหทําการตรวจสอบและยืนยันการติดตามการลดกาซเรือนกระจก

6. การรับรองการลดกาซเรือนกระจก (Certification) เมื่อหนวยงาน DOE ไดทําการตรวจสอบการลดการปลอยกาซเรือนกระจกแลว จะทํารายงานรับรองปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจกที่ดําเนินการไดจริงตอคณะกรรมการบริหารฯ เพื่อขออนุมัติใหออกหนังสือรับรองปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกที่ลดได หรือ CER ใหผูดําเนินโครงการ

7. การออกใบรับรองปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจก (Issuance of CER) เมื่อคณะกรรมการบริหารฯ ไดรับรายงานรับรองการลดกาซเรือนกระจก จะไดพิจารณาออกหนังสือรับรองปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกที่ลดได หรือ CER ใหผูดําเนินโครงการตอไป

Page 31: CDM Manual

24

ทั้งนี้ หนวยงานกลาง (DOE) ที่ทําหนาที่ในการการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ (Validation) และการยืนยันการลดกาซเรือนกระจก (Verification) นั้น จะตองเปนหนวยงานคนละหนวยงานกัน สําหรับรายละเอียดในการดําเนินโครงการในแตละขั้นตอนจะอธิบายอกีครั้งหนึ่งในบทที่ 3 ของคูมือฉบับนี้

2.3 หนวยงานที่เก่ียวของกับกลไกการพัฒนาทีส่ะอาด

2.3.1 คณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาท่ีสะอาด (CDM Executive Board: EB)

คณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด เปนคณะกรรมการที่แตงตั้งขึ้นโดยที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ โดยผูที่ไดรับการแตงตั้งจะมาจากผูแทนจากภูมิภาคตางๆ ซ่ึงคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดประกอบดวยสมาชิกจํานวน 10 คน โดยประธานคณะกรรมการบริหารฯ มาจากประเทศนอกภาคผนวกที่ I รองประธานมาจากประเทศในภาคผนวกที่ I และสมาชิกซึ่งเปนผูแทนจากภูมิภาคตางๆ 5 ภูมิภาคตามการแบงขององคการสหประชาชาติภูมิภาคละ 1 คน (ภูมิภาคเอเชีย ภูมิภาคแอฟริกา ภูมิภาคลาตินอเมริกา ภูมิภาคยุโรปตะวันออก และภูมิภาคยุโรปตะวันตกและกลุมอืน่ๆ) สมาชิกจากประเทศในภาคผนวกที่ I อีก 1 คน สมาชิกจากประเทศนอกภาคผนวกที่ I อีก 1 คน และอีก 1 คน มาจากกลุมประเทศกําลังพัฒนาที่เปนเกาะขนาดเล็ก (Small Island Developing States) นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดยังมีการเลือกสมาชิกสํารอง (Alternates) อีก 10 คน ทั้งนี้ ในการทําหนาที่ประธานและรองประธานคณะกรรมการฯ จะสลับกันระหวางประเทศในภาคผนวกที่ I กับประเทศนอกภาคผนวกที่ I โดยมีวาระการดํารงตําแหนงคราวละ 1 ป คณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดมีอํานาจหนาที่หลักในการพิจารณาและอนุมัติโครงการ ใหคําแนะนําในการประชุม ตรวจรับและพิจารณาวิธีที่ใชในการคํานวณปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจก ตรวจสอบ แตงตั้งและเพิกถอน DOE รวมถึงจัดทําขอมูลตางๆ อยางโปรงใสและสามารถตรวจสอบได

Page 32: CDM Manual

25

2.3.2 หนวยงานกลางที่ทําหนาท่ีประสานการดําเนินงานตามกลไกการพัฒนาท่ีสะอาดของประเทศไทย (Thailand’s Designated National Authority for the Clean Development Mechanism: Thai DNACDM)

หนวยงานกลางที่ทําหนาที่ประสานการดําเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด เปนหนวยงานที่จัดตั้งขึ้นตามขอตกลงมาราเคช ที่กําหนดใหประเทศนอกภาคผนวกที่1 ที่มีความประสงคเขารวมดําเนินโครงการ CDM จะตองดําเนินการแตงตั้งหนวยงานกลางประสานการดําเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Designated National Authority for the Clean Development Mechanism : DNACDM) ขึ้นในประเทศของตน สําหรับประเทศไทยไดมีการจัดตั้งองคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน) เพื่อทําหนาที่เปนหนวยงานกลางประสานการดําเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดของประเทศ โดยมีวัตถุประสงคดังตอไปนี้ • วิเคราะห กล่ันกรอง และจัดทําความเห็นเกี่ยวกับการใหคํารับรองโครงการ ตลอดจน

ติดตามประเมินผลโครงการที่ไดรับคํารับรอง • สงเสริมการพัฒนาโครงการ และการตลาดสําหรับซื้อขายปริมาณกาซเรือนกระจกที่

ไดรับการรับรอง • จัดทําฐานขอมูลเกี่ยวกับโครงการที่ไดรับคํารับรอง และการขายปริมาณกาซเรือน

กระจกที่ไดรับการรับรอง นอกจากนี้ องคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน) ยังมีหนาที่ที่สําคัญอีกประการหนึ่ง คือ การกําหนดแนวทางการใหคํารับรองวาโครงการที่เสนอนั้นเปนโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด หรือไม โดยมีหลักเกณฑในการพิจารณา คือ โครงการมีความเหมาะสมและมีประโยชนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดลอม ตลอดจนตองเปนโครงการที่สงผลใหเกิดการลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกในประเทศ และสงเสริมการพัฒนาของประเทศอยางยั่งยืน

2.3.3 หนวยงานปฏบิัติการในการตรวจสอบ (Designated Operational Entities: DOE)

หนวยงานปฏิบัติการในการตรวจสอบ หรือ DOE เปนหนวยงานหรือองคกรอิสระที่ไดรับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดใหดําเนินการในการตรวจสอบการดําเนินการในขั้นตอนตางๆ ตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด ดังนั้น DOE จึงเปรียบเสมือนหนวยงานที่เขามาชวยเหลือแบงเบาภาระการดําเนินงานของ EB ที่จะชวยตรวจสอบความ

Page 33: CDM Manual

26

ถูกตองของขอมูลที่ผูดําเนินการเสนอ พรอมใหความเห็นกอนดําเนินการสงเรื่องให EB เปนผูพิจารณาผูอนุมัติ หนาที่และความรับผิดชอบของ DOE มีดังตอไปนี ้• ยืนยันและรับรองความถูกตองของปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น

จริงจากการดําเนินโครงการ • ตรวจสอบความถูกตองของการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑตางๆ ของ

ประเทศเจาของโครงการ • เปดเผยขอมูลโครงการที่ไดดําเนินการตรวจสอบ ยืนยัน และรับรองความถูกตองใน

สวนที่ไมถือวาเปนความลับของเจาของโครงการ ซ่ึงเปนขอมูลที่แสดงใหเห็นถึงสวนเพิ่มเติมของโครงการที่นอกเหนือจากการดําเนินการตามปกติ (Additionality) วิธีการในการกําหนดขอมูลฐาน (Baseline) การติดตามตรวจสอบ (Monitoring) และการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมของโครงการนั้น

• รายงานผลการดําเนินงานประจําปตอ EB อยางไรก็ตาม ในการดําเนินโครงการตางๆ ภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด สําหรับขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ (Validation) และการยืนยันการลดกาซเรือนกระจก (Verification) ในโครงการหนึ่งๆ จะไมสามารถใช DOE ซํ้ากันได ตัวอยางเชน ถาทําการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการใหกับโครงการ A แลว จะไมสามารถทําหนาที่ในการยืนยันการลดกาซเรือนกระจกใหกับโครงการ A ได (ยกเวนโครงการขนาดเล็ก)

2.3.4 ผูรับซื้อคารบอนเครดิต

ผูรับซื้อคารบอนเครดิต หรือ ผูใหการสนับสนุนในการดําเนินโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด ไดแก ประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I ซ่ึงไดใหสัตยาบันตอพิธีสารเกียวโต โดยประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I สามารถนํา CERs จากการดําเนินโครงการ CDM ที่ไดไปใชในการเปนสวนลด ในการคิดคํานวนปริมาณการปลอยกาซโดยรวมทั้งหมดในประเทศของตน ทั้งนี้ ผูรับซื้อคารบอนเครดิตสามารถแบงออกไดเปน 3 ประเภท คือ (สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม, 2549 : 16) • รัฐบาลของประเทศในกลุมภาคผนวกที ่I (Annex I Government) ประเทศที่มีพันธกรณี

ในการลดกาซเรือนกระจกจะมอบหมายใหหนวยงานของรัฐเปนผูจัดหา Carbon Credit เพื่อบรรลุพันธกรณีในการลดปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกของตน โดย

Page 34: CDM Manual

27

รัฐบาลเปนผูจัดสรรงบประมาณใหกับหนวยงานรัฐไปดาํเนินการ เชน ประเทศอังกฤษ มอบหมายหนาที่ดังกลาวให Department for Environment Food And Rural Affairs ประเทศเยอรมนี มอบหมายให Deutsche Gesellschaft for Technische Zusammenarbeit (GTZ) GmbH ประเทศเดนมารก มอบหมายให Ministry of Foreign Affairs เปนตน

• กองทุนกาซเรือนกระจก (Carbon Fund) เปนกองทุนที่รวบรวมมาจากแหลงทุนของรัฐบาลหรือกลุมบริษัทเอกชนที่ตองการซื้อปริมาณกาซเรือนกระจกที่ลดได เชน Prototype Carbon Fund, Community Development Carbon Fund, BioCarbon Fund, The Netherlands CDM Facility, The Netherlands European Carbon Facility, Italian Carbon Fund, Danish Carbon Fund และ Spanish Carbon Fund สําหรับประเทศญี่ปุนไดมีการจัดตั้ง Carbon Fund โดยจัดเปน Japan Carbon Finance ที่รวบรวมเงินทุนจากบริษัทเอกชนตางๆ ของประเทศญี่ปุนมาบริหารจัดการ

• ตัวกลางรับซื้อคารบอนเครดิต (Carbon Broker) เปนนายหนาที่ทําหนาที่ในการนําคารบอนเครดิตไปขายใหกับบริษัทเอกชนหรือรัฐบาลของประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I โดยทํางานในลักษณะเดียวกันกับ Broker ของตลาดหุน เชน Asia Carbon Exchange ในประเทศสิงคโปรที่จะทําหนาที่เปดประมูล CERs และคิดคานายหนาเปนเงิน รอยละ 2 ของรายไดจาก CERs หรือ Tradition Finance Service ในประเทศอังกฤษ เปนตน

Page 35: CDM Manual

28

3 ขั้นตอนการทําโครงการภายใตกลไกการพฒันาที่สะอาด

ขั้นตอนการดําเนินโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาดมี 7 ขั้นตอน ดังแสดงในรูปที่ 2.2 ซ่ึงนําเสนอไวในบทที่ 2 ประกอบดวย (1) ขั้นตอนการออกแบบโครงการ (2) ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ (3) ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนโครงการ (4) ขั้นตอนการติดตามการลดการปลอยกาซเรือนกระจก (5) ขั้นตอนการยืนยันการลดกาซเรือนกระจก (6) ขั้นตอนการรับรองการลดกาซเรือนกระจก และ(7) ขั้นตอนการออกคารบอนเครดิต สําหรับขั้นตอนที่สําคัญที่เจาของโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด จะตองนํามาพิจารณา ไดแก • ขั้นตอนการจัดทําเอกสารประกอบแนวคิดโครงการ (Project Idea Note: PIN) • ขั้นตอนการจัดทําเอกสารประกอบโครงการ (Project Design Document: PDD) • ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ (Validation) • ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนโครงการ (Registration) • ขั้นตอนการยืนยันและการรับรองการลดกาซเรือนกระจก และการออกคารบอนเครดิต

ที่ไดจากการดําเนินโครงการ CDM (Verification, Certification and Issuance of CERs) • การซื้อขายเครดิตที่ไดจากการดําเนินโครงการ CDM

3.1 ขั้นตอนการจัดทําเอกสารประกอบแนวคิดโครงการ (Project Idea Note: PIN)

การจัดทําเอกสารประกอบแนวคิดโครงการ (Project Idea Note: PIN) เปนการจัดทําเอกสาร เพื่อใหผูดําเนินโครงการ CDM สามารถเห็นภาพรวมของโครงการ CDM ไดงายขึ้น ทั้งนี้ ขอมูลที่ใชประกอบในการจัดทํา PIN ยังสามารถนําไปใชในการจัดทําเอกสารประกอบโครงการ (Project Design Document: PDD) เพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเปนโครงการ CDM กับ Executive Board (EB) ไดอีกดวย หัวขอในการจัดทํา PIN นั้นไมมีรูปแบบที่เปนมาตรฐานแนนอน แตโดยทัว่ไปจะประกอบดวย ขอมูลทั่วไปของโครงการ ลักษณะของโครงการ การลดการปลอยกาซเรือนกระจก การสงเสริมดานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และขอมูลดานการเงินของโครงการ ซ่ึงรายละเอียดในแตละหัวขอไดแสดงไวในตารางที่ 3.1

Page 36: CDM Manual

29

ตารางที่ 3.1 รายละเอียดในเอกสารประกอบแนวคิดโครงการ (PIN)

หัวขอ ประเด็นสาระสําคัญในเอกสารประกอบแนวคิดโครงการ ขอมูลทั่วไปของโครงการ • วัตถุประสงคของโครงการ

• รายละเอียดและกิจกรรมของโครงการ • เทคโนโลยีที่จะใช • ผูพัฒนาโครงการ • ผูสนับสนุนทางการเงินของโครงการ • ตารางเวลาการดําเนินโครงการ

ลักษณะของโครงการ • ขนาดของโครงการ • ประเภทของโครงการ (ตองเลือกประเภทและระบุ

รายละเอียด) • ที่ต้ังของโครงการ

การลดการปลอยกาซเรือนกระจก (GHG) • ประเภทของกาซเรือนกระจกที่โครงการจะลดได • การลดการปลอยกาซเรือนกระจกที่คาดประมาณ

(กรณีฐาน และ กรณีที่มีโครงการ CDM) การสงเสริมดานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

• ผลกระทบดานสิ่งแวดลอม • ผลกระทบดานสังคมและเศรษฐกิจ • ผลกระทบดานการถายทอดเทคโนโลยี

ขอมูลดานการเงินของโครงการ • การประมาณคาใชจายทั้งหมดในโครงการ • แหลงเงินทุน • ผูรับซื้อคารบอนเครดิต • ราคาคารบอนเครดิต • ผลตอบแทนการลงทุนที่คาดการณ

ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษพลังงาน, 2550

อยางไรก็ตาม การจัดทํา PIN มิไดเปนขั้นตอนที่จําเปนในการดําเนินโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาดตามขอกําหนดของ EB แตเปนเพียงการจัดทําเอกสารเพื่อพิจารณาความเปนไปไดของโครงการกอนที่จะดําเนินโครงการจริง

Page 37: CDM Manual

30

3.2 ขั้นตอนการจัดทําเอกสารประกอบโครงการ (Project Design Document: PDD)

การจัดทําเอกสารประกอบโครงการ (Project Design Document: PDD) เปนการจัดทําเอกสารเพื่อนําเสนอรายละเอียดของโครงการตามรูปแบบที่ EB กําหนด ซ่ึงปจจุบันรูปแบบของเอกสารดังกลาว แบงออกเปน 5 หัว (5) ดังตอไปนี้

A รายละเอียดของโครงการ B วิธีการที่ใชในการคํานวณและแผนการติดตามปริมาณการลดการปลอยกาซเรือน กระจก C ขอมูลระยะเวลาของอายุโครงการ และระยะเวลาการคิดคารบอนเครดิต

D ขอมูลผลกระทบดานสิ่งแวดลอม E ขอคิดเห็นจากผูมีสวนเกีย่วของอื่นๆ นอกจากหัวขอหลักทั้ง 5 หัวขอดังกลาวขางตนแลว ในรูปแบบการจัดทํา PDD ยังกําหนดใหนําเสนอภาคผนวก ซ่ึงประกอบดวย รายละเอียดเกี่ยวของผูประสานงานโครงการ ขอมูลการไดรับการสนับสนุนการดําเนินโครงการ ขอมูลฐานที่เกี่ยวของกับการคํานวณปริมาณกาซเรือนกระจก และแผนการติดตามการดําเนินงานของโครงการอีกดวย

3.2.1 รายละเอียดของโครงการ

รายละเอียดของโครงการ เปนการรายงานรายละเอียดที่เกี่ยวของกับลักษณะทั่วไปของโครงการ อันประกอบดวย ช่ือโครงการ ลักษณะโครงการ รายละเอียดเจาของโครงการ ที่ตั้งโครงการ รายละเอียดดานเทคนิคเกี่ยวกับโครงการ การถายทอดเทคโนโลยี ขอบเขตของโครงการ การประเมินปริมาณการลดกาซเรือนกระจก ชวงเวลาการคิดคารบอนเครดิต และการไดรับการสนับสนุนทุนจากรัฐบาล

3.2.2 วิธีการที่ใชในการคํานวณและแผนการตดิตามปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจก

วิธีการที่ใชในการคํานวณปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจก เพื่อใหการคํานวณปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกเปนไปอยางถูกตองและเปนมาตรฐานเดียวกัน EB จึงไดกําหนดวิธีการที่ใชในการคํานวณปริมาณการปลดปลอยกาซ

(5) PROJECT DESIGN DOCUMENT FORM (CDM PDD) - Version 03.1.: 28 July 2006

Page 38: CDM Manual

31

เรือนกระจกเพื่อใชในการจัดทําเอกสารประกอบโครงการขึ้น ซ่ึงในปจจุบัน EB ไดใหการอนุมัติวิธีการ (Methodologies) ไปแลวรวมทั้งสิ้น 93 วิธีการ (ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2550) โดยสามารถแบงออกเปน 5 ประเภทวิธีการ ดังนี้ • วิธีการคํานวณปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจกสําหรับโครงการทั่วไป

ยกเวนโครงการดานปาไม (Large Scale Methodologies) จํานวน 49 วิธีการ • วิธีการคํานวณปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจกสําหรับการควบรวมโครงการ

ทั่วไป ยกเวนโครงการดานปาไม (Large Scale Methodologies) จํานวน 11 วิธีการ • วิธีการคํานวณปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจกสําหรับโครงการทั่วไป ดาน

ปาไม (Large Scale Methodologies) จํานวน 8 วิธีการ • วิธีการคํานวณปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจกสําหรับโครงการขนาดเล็ก

ยกเวนโครงการดานปาไม (Small Scale Methodologies) จํานวน 24 วิธีการ • วิธีการคํานวณปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจกสําหรับโครงการขนาดเล็ก

โครงการดานปาไม (Small Scale Methodologies) จํานวน 1 วิธีการ ทั้งนี้ วิธีการตางๆ จะมีการพฒันา ปรับปรุง และเพิ่มเติมตลอดเวลา ผูดําเนินโครงการจงึควรตรวจสอบวา วิธีการที่จะนําใชเปนวิธีการลาสุดที่ไดรับการรับรองจาก EB แลว อยางไรก็ตาม วิธีการคํานวณปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจกจะตองสอดคลองกับแตละประเภทโครงการ (sectoral scope) และลักษณะโครงการ ซ่ึงในที่นี้ขอนําเสนอตัวอยางวิธีการคํานวณที่ไดรับการเห็นชอบแลวโดยยอ จํานวน 3 ประเภทโครงการ ไดแก • AM0001 – Incineration of HFC23 • AM0008 – Industrial fuel switching • ACM0001 –Landfill gas capture

AM0001 – Incineration of HFC23 วิธีการคํานวณนี้ ใชไดกับโครงการที่เดิมมีการปลดปลอยกาซ HFC23 (CHF3) ซ่ึงเปนผลพลอยได (by-product) จากการผลิตสาร HCFC22 และไมมีกฎหมายในการหามการปลดปลอยกาซ HFC23 สูบรรยากาศ ปริมาณการลดกาซเรือนกระจก (ERy) เทากับปริมาณกาซ HFC23 ที่ถูกทําลาย ลบดวยปริมาณกาซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทําลายกาซ HFC

Page 39: CDM Manual

32

ERy = (Q_HFC23y – B_HFC23y) * GWP_HFC23 – E_DPy - Ly ERy = ปริมาณการลดกาซเรือนกระจก Q_HFC23y = ปริมาณกาซ HFC23 ที่ทําลายไดในโครงการ B_HFC23y = ปริมาณกาซ HFC23 ที่ตองทําลายในกรณีฐาน (ในกรณีที่มีกฎหมาย

ใหทําลายกาซ HFC ในสัดสวนของกาซที่ผลิตได ซ่ึงโดยมากสําหรับประเทศกําลังพัฒนาจะไมมีกฎหมายดังกลาว และปริมาณนี้จะมีคาเทากับ 0)

GWP_HFC23 = ศักยภาพในการทําใหเกดิภาวะโลกรอนของกาซ HFC23 ซ่ึงปจจบันมีคาเทากับ 11,700

E_DPy = ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกในกระบวนการทําลายสาร HFC ซ่ึงหมายถึงกาซเรือนกระจกจากการใชกาซธรรมชาติ ไอน้ําและไฟฟาในกระบวนการดังกลาว

Ly = ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากโครงการแตเกิดขึ้นภายนอกขอบเขตของโครงการ รวมถึงกิจกรรมขนสงพลังงานมายังโครงการ และการขนสงกากของเสียไปบอขยะ

AM0008 – Industrial fuel switching วิธีการนี้ใชไดกับการเปลี่ยนเชื้อเพลิงในสวนหนึ่งของกระบวนการอุตสาหกรรม เชน การเปลี่ยนเชื้อเพลิงของหมอไอน้ําจากถานหินหรือผลิตภัณฑปโตรเลียม เปนกาซธรรมชาติ โดยปริมาณการลดกาซเรือนกระจก (ERy) เทากับ ปริมาณการปลอยกาซในกรณีฐาน (BEy) ลบปริมาณการปลอยกาซในโครงการ (PEy) ลบปริมาณการปลอยกาซที่เกิดขึ้นจากโครงการ แตอยูนอกเหนือขอบเขตของโครงการ (Ly) ERy = BEy – PEy – Ly โดยที่ BEy เปนปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกในกรณีที่ไมมีการดําเนินโครงการ โดยจะยังคงใชเชื้อเพลิงที่ใชอยูในปจจุบันตอไปจนสิ้นสุดระยะเวลาการคิดคารบอนเครดิต และไมมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ โดยรวมกาซ CO2, CH4 และ N2O ในการคํานวณ

Page 40: CDM Manual

33

ดวย สวน PEy หมายถึงปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกจากการใชเชื้อเพลิงใหม คือ กาซธรรมชาติ ซ่ึงรวมกาซ CO2, CH4 และ N2O ในการคํานวณดวยเชนกัน สําหรับ Ly นั้น หมายถึงกาซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการผลิตและการขนสงกาซธรรมชาติที่ใชในโครงการ ซ่ึงจะคิดในกรณีที่การผลิตหรือขนสงเกดิขึ้นในประเทศที่ดําเนินโครงการเทานั้น ACM0001 –Landfill gas capture วิธีการคํานวณนี้ ใชไดกับโครงการกักเก็บและทําลายกาซมีเทนจากบอขยะ (Landfill) โดยกาซชีวภาพที่เกิดขึ้นอาจนํามาใชผลิตไฟฟาไดโดยไมคิดการลดกาซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการใชพลังงานทดแทนดังกลาว หรือหากตองการรวมการลดกาซเรือนกระจกจากการใชพลังงานทดแทน จะตองใชวิธีการ ACM0002 หรือวิธีการของโครงการขนาดเล็ก แลวแตขนาดของโครงการ ทั้งปริมาณการลดกาซเรือนกระจก (ERy) เทากับผลตางระหวางปริมาณกาซมีเทนที่ถูกทําลาย (MDproject,y) กับปริมาณกาซมีเทนที่จะถูกทําลายในกรณีฐาน (MDreg,y) คูณดวยคาศักยภาพการทําใหเกิดภาวะโลกรอนของกาซมีเทน (GWPCH4) ซ่ึงมีคาเทากับ 21 และในกรณีที่มีการรวมการใชพลังงานทดแทนดวย สามารถบวกเพิ่มการลดกาซเรือนกระจกเทากับปริมาณไฟฟาที่ทดแทนได (EGy) คูณดวยสัมประสิทธิ์ในการปลอยกาซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟา (CEFelectricity,y) และบวกกับปริมาณความรอนที่ทดแทนได (ETy) คูณกับสัมประสิทธิ์ในการปลอยกาซเรือนกระจกจากการผลิตความรอนนั้น (CEFthermal,y) ERy = (MDproject,y - MDreg,y) * GWPCH4 + EGy* CEFelectricity,y + ETy* CEFthermal,y วิธีการนี้ ไมตองคิดการปลอยกาซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากโครงการ แตอยูนอกเหนือขอบเขตของโครงการ อยางไรก็ตาม ในกรณีที่ผูจัดทําเอกสารประกอบโครงการตองการใชวิธีการคํานวณปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกวิธีการใหม ซ่ึงเปนวิธีการที่ยังไมเคยผานการอนุมัติจาก EB ผูจัดทําเอกสารประกอบโครงการจะยื่นตองเร่ืองขอให EB อนุมัติวิธีการคํานวณใหมนั้นเสียกอน กอนที่จะนําเอาวิธีการคํานวนนั้นมาใชในการคํานวณปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจก

Page 41: CDM Manual

34

นอกจากนี้ ในการจัดทําเอกสารประกอบโครงการ ยังจะตองมีการจัดทําผลการพิจารณาโครงการ เพื่อพิสูจนวาโครงการที่เสนอในการดําเนินโครงการ CDM เปนโครงการที่อยูนอกเหนือจากการดําเนินการที่เกิดขึ้นโดยปกติอยูแลว หรือเปนสวนเพิ่ม (additionality) โดยใชเครื่องมือในการประเมินสวนเพิ่ม (Tool for the demonstration and assessment of additionality) ที่ไดรับการอนุมัติจาก EB ซ่ึงสามารถแบงขั้นตอนในการประเมินออกเปน 4 ขั้นตอน ดังแสดงใน รูปที่ 3.1

รูปท่ี 3.1 Additionality Tool

ที่มา: CDM-Executive Board, Tool for the demonstration and assessment of additionality Version 03

1. การบงชี้ถึงทางเลือกอ่ืน (Identification of options) เปนการบงชี้ถึงทางเลือกในการ

ดําเนินโครงการ เพื่อใหไดผลลัพธเชนเดียวกับโครงการที่เสนอและเปนไปตามขอบังคับของกฎหมายของประเทศเจาบาน

2. การวิเคราะหการลงทุน (Investment analysis) เปนการวิเคราะหที่มีวัตถุประสงคเพื่อช้ีใหเห็นวาโครงการที่เสนอขอขึ้นทะเบียนเปนโครงการ CDM มีผลตอบแทน

การบงชี้ถึงทางเลือกอ่ืน

การวิเคราะหการลงทุน

การวิเคราะหอุปสรรค

การวิเคราะหลักษณะโครงการ ท่ีเกิดขึ้นทั่วไป

ไมใช

ใช

Additionality

ใช

ไมใช Additionality

ไมใช

ไมใช

ใช

Page 42: CDM Manual

35

ในการลงทุนที่ดอยกวากรณีฐาน หรือเพื่อแสดงใหเห็นวาในฐานะนักลงทุน โครงการที่เสนอมีผลตอบแทนในการลงทุนที่ไมนาสนใจ

3. การวิเคราะหอุปสรรค (Barrier analysis) มีวัตถุประสงคเพื่อช้ีใหเห็นถึงอุปสรรคตางๆ ที่ขัดขวางไมใหโครงการที่เสนอในการลดปริมาณกาซเรือนกระจกเกิดขึ้นได

4. การวิเคราะหลักษณะโครงการที่เกิดขึ้นท่ัวไป (Common practice analysis ) เปนการวิเคราะหลักษณะโครงการในประเทศเจาบาน เพื่อเปนการตรวจสอบวาโครงการที่เสนอเปนโครงการ CDM

ทั้งนี้ ในการวิเคราะห additionality ในขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอนที่ 3 ผูทําการวิเคราะหสามารถทําไดทั้ง 2 ขั้นตอนหรือสามารถเลือกทําขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็ได แผนการติดตามการลดการปลอยกาซเรือนกระจก สําหรับแผนการติดตามการลดการปลอยกาซเรือนกระจกที่ใชในการประกอบการจัดทําเอกสารประกอบโครงการนั้น จะเปนแผนการติดตามที่สอดคลองกับวิธีการคํานวณปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกตามที่ EB ไดอนุมัติไวแลว ทั้งนี้ แผนการติดตามการลดการปลอยกาซเรือนกระจกจะเปนแผนการติดตามที่ใชเปนหลักปฏิบัติในการติดตามการลดกาซเรือนกระจกของโครงการในอนาคตภายหลังจากที่โครงการไดรับการขึ้นทะเบียนเปนโครงการ CDM แลว ซ่ึงประกอบดวยขอมูล ดังตอไปนี้ • ขอมูลและตัวแปรในการคํานวณการลดการปลอยกาซเรือนกระจก • วิธีที่ใชในการติดตามผลและการเก็บขอมูล • รายละเอียดแผนการติดตาม

ขอสําคัญ คือ ขอมูลตางๆ ที่ใชในการติดตามปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจกจะตองคํานึงถึงคุณภาพของขอมูลและวิธีที่ใชในการควบคุมคุณภาพของขอมูลดวย

3.2.3 ขอมูลระยะเวลาของอายโุครงการ และระยะเวลาการคิดคารบอนเครดิต

ในการดําเนินโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด ผูดําเนินโครงการจะตองนําเสนอระยะเวลาของอายุโครงการจริงทั้งหมด และระยะเวลาการคิดคารบอนเครดิต (Crediting period) ดังนี้

Page 43: CDM Manual

36

• ชวงเวลาแบบคงที่ (Fixed Crediting Period) กําหนดเวลาสูงสุด 10 ป และไมสามารถตออายุได

• ชวงเวลาแบบตออายุได (Renewable Crediting Period) เปนเวลาสูงสุด 7 ป แตสามารถตออายุไดเพียง 2 คร้ัง หากกรณีฐานของโครงการยังคงใชไดอยูหรือไดมีการปรับปรุงใหเขากับขอมูลใหม รวมระยะเวลาสูงสุดในการคิดเครดิต 21 ป

รูปท่ี 3.2 ระยะเวลาของอายุโครงการ และระยะเวลาการคิดคารบอนเครดิต

ที่มา: IGES, CDM and JI in CHARTS Ver. 3.0, สิงหาคม 2550

อยางไรก็ตาม ในการตออายุโครงการ CDM ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 จะตองมีการศึกษาเพิ่มเติมวากรณีฐานที่ใชในการคํานวณปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกยังใชไดอยูหรือไม โดยมีประเด็นตางๆ ที่จะตองนํามาพิจารณา เชน โครงการจะยังคงสงผลใหปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกลดลงหรือไม กฎ ระเบียบ ขอบังคับตางๆ มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม และหากมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกับการกําหนดกรณีฐานอยางไร ซ่ึงวิธีการในการ

Page 44: CDM Manual

37

คํานวณปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกกรณีฐานของชวงเวลาในการคิดคารบอนเครดิตระยะที่ 2 หรือ ระยะที่ 3 ควรจะเปนวิธีเดียวกับการประเมินปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกในระยะแรก ซ่ึงหนวยงานที่จะตองมีหนาที่รับผิดชอบในการประเมินเหลานี้ คือ DOE (6)

3.2.4 ขอมูลผลกระทบดานสิง่แวดลอม

ขอมูลผลกระทบดานสิ่งแวดลอม เปนขอมูลที่แสดงถึงผลการวิเคราะหผลกระทบดานส่ิงแวดลอมที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการ สําหรับการดําเนินโครงการ CDM ในประเทศไทย หากโครงการใดเขาขายที่จะตองจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบส่ิงแวดลอม (Environmental Impact Assessment: EIA) ตามพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 ผูดําเนินโครงการจะตองจัดทํารายงาน EIA และผานการอนุมัติกอนที่จะดําเนินโครงการ CDM ได สําหรับในกรณีที่โครงการไมเขาขายจะตองจัดทํารายงาน EIA ผูดําเนินโครงการจะตองจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบส่ิงแวดลอมเบื้องตน (Initial Environmental Evaluation: IEE) ทั้งนี้รายละเอียดประเภทโครงการที่จะตองจัดทํารายงาน EIA มีแสดงไวใน ภาคผนวก ค

3.2.5 ขอคิดเห็นจากผูมีสวนเกี่ยวของ

ขอคิดเห็นจากผูมีสวนเกี่ยวของเปนการรวมบทสรุปขอคิดเห็นของผูมีสวนเกี่ยวของกับโครงการ ทั้งนี้ในเอกสารประกอบโครงการตองมีการระบุถึงขอคิดเห็นของผูมีสวนเกี่ยวของ รายละเอียดสรุปความคิดเห็นของผูมีสวนเกี่ยวของ และแนวทางในการปรับปรุงโครงการซึ่งรวมถึงการตอบสนองของผูดําเนินโครงการเมื่อไดรับขอคิดเห็นดังกลาว ซ่ึงผูจัดทําเอกสารประกอบโครงการสามารถนําวิธีการตามแนวทางการมีสวนรวมของประชาชนและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมทางสังคมในกระบวนการวิเคราะหผลกระทบทางสิ่งแวดลอม ที่จัดทําโดยสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม มาใชในการรับฟงขอคิดเห็นจากผูที่เกี่ยวของกับโครงการได โดยมีขั้นตอนของการดําเนินงานดานการมีสวนรวม ดังนี้ • จําแนกหัวขอดานสังคมและการมีสวนรวม • จําแนกผูมีสวนไดสวนเสีย

(6) Clarifications on procedures and documentation which need to be used for the renewal of a crediting period (EB 20, Annex 7)

Page 45: CDM Manual

38

• จัดทําแผนการมีสวนรวมของประชาชน • ใหขอมูลกับประชาชน • ดําเนินการปรึกษาหารือ โดยดําเนินการรวมกับกลุมผูมีสวนไดสวนเสีย • สรุปผลการดําเนินการปรึกษาหารือ และจัดทําแผนการดําเนินการดานชุมชนของ

โครงการ ทั้งนี้ ผูจัดทําเอกสารประกอบโครงการสามารถศึกษาละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องแนวทางการมีสวนรวมของประชาชน และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมทางสังคมในกระบวนการวิเคราะหผลกระทบทางสิ่งแวดลอม ที่จัดทําโดยสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ไดที่ http://www.onep.go.th/eia/pp_book/pp_book1.pdf

3.3 ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ (Validation)

การตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการในการดําเนินโครงการ CDM เปนกระบวนการตรวจสอบเอกสารภายใตความรับผิดชอบของ 2 หนวยงานไดแก • หนวยงานปฏิบัติการในการตรวจสอบ (DOE) ซ่ึงเปนหนวยงานอิสระที่ไดรับมอบหมาย

ใหปฏิบัติหนาที่แทน EB ในการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ โดยผูดําเนินโครงการจะตองวาจาง DOE เพื่อดําเนินการตรวจสอบเอกสารวาเปนไปตามขอกําหนดตางๆ ในการดําเนินโครงการ CDM หรือไม ทั้งนี้ DOE แตละรายจะสามารถใหการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการได ตามประเภทโครงการที่ไดรับการอนุมัติจาก EB เทานั้น สําหรับรายชื่อ DOE และ ประเภทโครงการที่แตละ DOE สามารถใหการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการไดนั้น มีแสดงใน ตารางที่ 3.2

ตารางที่ 3.2 หนวยงานปฏบิัติการในการตรวจสอบที่ไดรับการรับรองจาก EB แลว

รายช่ือหนวยงานปฏิบัติการในการตรวจสอบ (DOE)

ประเภทโครงการที่สามารถตรวจสอบในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ

ประเภทโครงการที่สามารถตรวจสอบในขั้นตอนการยืนยัน และการรับรองการลดกาซเรือนกระจก

Japan Quality Assurance Organization (JQA)

1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 10, 11, 12, 13

-

JACO CDM.,LTD (JACO) 1, 2, 3 1, 2, 3 Det Norske Veritas Certification AS (DNV Certification AS)

1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 15

1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 15

Page 46: CDM Manual

39

รายช่ือหนวยงานปฏิบัติการในการตรวจสอบ (DOE)

ประเภทโครงการที่สามารถตรวจสอบในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ

ประเภทโครงการที่สามารถตรวจสอบในขั้นตอนการยืนยัน และการรับรองการลดกาซเรือนกระจก

TÜV SÜD Industrie Service GmbH (TÜV-SÜD)

1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15

1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 15

Tohmatsu Evaluation and Certification Organization Co., Ltd. (TECO)

1, 2, 3 -

Japan Consulting Institute (JCI) 1, 2, 13 - Bureau Veritas Certification Holding S.A. (BVC Holding S.A.)

1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 10, 11, 12 1, 2, 3

SGS United Kingdom Ltd. (SGS) 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 10, 11, 12, 13, 15

1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 10, 11, 12, 13, 15

The Korea Energy Management Corporation (KEMCO)

1 -

TÜV Rheinland Japan Ltd. (TÜV Rheinland)

1, 2, 3, 13 -

KPMG Sustainability B.V. (KPMG) 1, 2, 3, 13 - British Standards Institution (BSI) 1, 2, 3 - Spanish Association for Standardisation and Certification (AENOR)

1, 2, 3 1, 2, 3

TÜV NORD CERT GmbH (RWTUV) 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 10, 11, 12, 13

1, 2, 3

Lloyd’s Register Quality Assurance Ltd (LRQA)

1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 10, 11, 12, 13

-

Colombian Institute for Technical Standards and Certification (ICONTEC)

- 1, 2, 3

Korean Foundation for Quality (KFQ) 1, 2, 3 - PricewaterhouseCoopers - South Africa (PwC)

1, 2, 3 -

ที่มา: UNFCCC website ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2550 (http://cdm.unfccc.int/DOE/list/index.html) หมายเหตุ ประเภทโครงการ

1 อุตสาหกรรมดานพลังงาน 2 อุตสาหกรรมการจําหนายพลังงาน 3 การใชพลังงาน

Page 47: CDM Manual

40

4 อุตสาหกรรมการผลิต 5 อุตสาหกรรมเคมี 6 การกอสราง 7 การขนสง 8 การทําเหมืองแรและการถลุงแร 9 ผลิตภัณฑโลหะ 10 การรั่วไหลของกาซเรือนกระจกจากการใชเช้ือเพลิง 11 การรั่วไหลของกาซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตและการใช halocarbons และ sulphur hexafluoride 12 การใชสารละลาย 13 การจัดการของเสีย 14 การปลูกปา และการฟนฟูปา 15 การเกษตร

• องคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน) เปนหนวยงานที่ทําหนาที่ใน

การพิจารณาเอกสารประกอบโครงการในเบื้องตน เพื่อยืนยันวาโครงการที่เสนอนั้น เปนโครงการที่มีสวนชวยในการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศ หรือไม

3.3.1 การตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการของหนวยงานปฏิบัติการในการตรวจสอบ

การตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการของหนวยงานปฏิบัติการในการตรวจสอบ (DOE) เปนการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวของ เพื่อเปนการยืนยันวาการดําเนินโครงการเปนไปตามเงื่อนไขตามที่กําหนดในการดําเนินโครงการ CDM หรือไม โดยมีหลักเกณฑการพิจารณาตรวจสอบ ดังตอไปนี้ • การเขารวมโครงการ CDM เปนไปตามความสมัครใจ และเปนโครงการที่เกิดขึ้นใน

กลุมประเทศนอกภาคผนวกที่ I • โครงการที่นําเสนอ จะตองเปนโครงการ CDM ที่กอใหเกิดการลดปริมาณการปลอย

กาซเรือนกระจก เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีที่ไมมีโครงการ • วิธีการที่ใชในการคํานวณและการติดตามปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก ที่เปนไป

ตามวิธีการที่ไดรับการรับรองจาก EB • การประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการตามวิธีการที่

ประเทศเจาบานกําหนด

Page 48: CDM Manual

41

• ขอคิดเห็นจากผูมีสวนไดสวนเสียกับโครงการ โดยเฉพาะจากผูมีสวนไดสวนเสียในระดับทองถ่ิน พรอมทั้งเอกสารแสดงแนวทางในการดําเนินการปรับปรุงโครงการเมื่อไดรับขอคิดเห็น

3.3.2 การตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการขององคการบรหิารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน)

การตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการขององคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน) เปนการพิจารณาตรวจสอบเอกสารเพื่อยืนยันวาโครงการที่เสนอนั้น เปนโครงการที่มีสวนชวยในการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศ หรือไม โดยองคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน) ไดกําหนดใหผูดําเนินโครงการจะตองจัดสงเอกสารตางๆ เพื่อใชในประกอบการพิจารณาโครงการ ดังนี้ • เอกสารประกอบโครงการภายใตกลไกการพฒันาที่สะอาด (PDD) • รายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม (EIA) หรือ รายงานการวิเคราะหผลกระทบ

ส่ิงแวดลอมเบื้องตน (IEE) • แบบสอบถามสถานะโครงการภายใตกลไกการพฒันาที่สะอาด • แบบการประเมินโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด ตามหลักเกณฑการพัฒนาที่

ยั่งยืนสําหรับผูดําเนินโครงการ สําหรับ แบบฟอรมแบบสอบถามสถานะโครงการ CDM และแบบฟอรมการประเมินโครงการ CDM ตามหลักเกณฑการพัฒนาที่ยั่งยืนสําหรับผูดําเนินโครงการ มีแสดงไวใน ภาคผนวก ง

ปจจุบันประเทศไทย ไดมีการจัดทําหลักเกณฑการพัฒนาอยางยั่งยืนสําหรับโครงการ CDM ในประเทศขึ้น ซ่ึงประกอบดวยมิติการพัฒนาอยางยั่งยืน 4 ดานไดแก ดานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม ดานสังคม ดานการพัฒนาและ/หรือการถายทอดเทคโนโลยี และดานเศรษฐกิจ โดยมีดัชนีช้ีวัดในการพิจารณาในแตละมิติ ดังแสดงใน ตารางที่ 3.3 สําหรับรายละเอียดหลักเกณฑในการพิจารณาในแตละดัชนีช้ีวัด มีแสดงใน ภาคผนวก จ

Page 49: CDM Manual

42

ตารางที่ 3.3 รายละเอียดประเด็นการพิจารณาในหลักเกณฑการพัฒนาอยางยัง่ยืนของประเทศไทย

มิติการพัฒนาอยางยั่งยืน ดัชนีช้ีวัดในการพิจารณา ดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ดานทรัพยากรธรรมชาติ

• ความตองการใชน้ํา และประสิทธิภาพการใชน้ําของโครงการ

• การพังทลายของดิน และการกัดเซาะชายฝง / ชายตลิ่งของแมน้ํา

• การเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายใตโครงการ • ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecosystem

Diversity) • ความหลากหลายของชนิดพันธุ (Species Diversity) • การใช /นําเข าชนิดพันธุ ที่มีการตัดแต งพันธุกรรม

(GMO) และ/หรือสัตวตางถิ่น (Alien Species)ในบริเวณพื้นที่โครงการ

ดานสิ่งแวดลอม • ลดการปลอยกาซเรือนกระจกที่กําหนดโดยพิธีสาร

เกียวโตของโครงการ • ลดการปลอยสารที่เปนมลพิษทางอากาศตามประกาศ

มาตรฐานมลพิษทางอากาศ • มลพิษทางเสียง • การจัดการมลพิษทางกลิ่น • ปริมาณความสกปรกในน้ําทิ้ง • การจัดการของเสียของโครงการ • มลพิษดิน • การปนเปอนของน้ําใตดิน • การลดปริมาณของเสียอันตราย

ดานสังคม • การมีสวนรวมของประชาชน • สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และ

แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • สุขภาพอนามัยของคนงานและชุมชนโดยรอบ

ด านการพัฒนาและ /หรือการถ ายทอดเทคโนโลยี

• การพัฒนาเทคโนโลยี • แผนการดําเนินงานเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา (Crediting

Period) ที่โครงการเลือกไว • การฝกอบรมบุคลากร

Page 50: CDM Manual

43

มิติการพัฒนาอยางยั่งยืน ดัชนีช้ีวัดในการพิจารณา ดานเศรษฐกิจ • รายได ที่เพิ่มขึ้นของผูมีสวนได ส วนเสีย (รายได ที่

เพิ่มขึ้นของคนงานและรายได ที่เพิ่มขึ้นของผูมีสวนได ส วนเสียอื่น เชน เกษตรกรมีรายได เพิ่มขึ้นจากการขายวัตถุดิบ)

• พลังงาน (การใชพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพการใชพลังงาน)

• การเพิ่มการใช วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content)

ที่มา: สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม, 2550

อยางไรก็ตาม หลักเกณฑการพิจารณาดังกลาวขางตน เปนหลักเกณฑที่ประเทศไทยไดนํามาใชในการพิจารณาเฉพาะโครงการ CDM ที่เกี่ยวของกับโครงการดานพลังงานตอไปนี้เทานั้น • โครงการดานการผลิตและใชพลังงาน เชน การผลิตพลังงานหมุนเวียน และปรับปรุง

ประสิทธิภาพการใชพลังงาน • โครงการดานสิ่งแวดลอมที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงาน เชน การแปลงขยะและน้ําเสียเปน

พลังงาน • โครงการดานคมนาคมขนสงที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงาน เชน การเพิ่มประสิทธิภาพระบบ

คมนาคมขนสง • โครงการดานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงาน เชน การลดการปลอยกาซเรือน

กระจกในกระบวนการอุตสาหกรรม ทั้งนี้ หากผลการพิจารณาตรวจสอบเอกสารเพื่อยืนยันปรากฎวา การดําเนินโครงการนั้นเปนโครงการที่มีสวนชวยในการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศ องคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน) จะดําเนินการนําผลการพิจารณาดังกลาวเสนอใหปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม หรือผูที่ไดรับมอบหมายซึ่งตองดํารงตําแหนงไมต่ํากวาอธิบดีหรือเทียบเทาออกจดหมายรับรองโครงการใหกับเจาของโครงการ เพื่อใหเจาของโครงการนําไปประกอบการขอขึ้นทะเบียนกับ EB ตอไป

Page 51: CDM Manual

44

3.4 ขั้นตอนการขึน้ทะเบียนโครงการ (Registration)

ภายหลังจากการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการจากหนวยงานปฏิบัติการในการตรวจสอบ (DOE) และหนวยงานกลางการประสานการดําเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดของประเทศ (DNA) เสร็จสิ้นเปนที่เรียบรอยแลว ขั้นตอนตอไปคือการขอขึ้นทะเบียนโครงการ เพื่อรับรองการเปนโครงการ CDM ซ่ึงประกอบดวยขั้นตอนยอย 2 ขั้นตอนไดแก • ขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนโครงการ • ขั้นตอนการพจิารณาอนุญาตการขึ้นทะเบยีนโครงการ

3.4.1 ขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนโครงการ

เมื่อหนวยงานปฏิบัติการในการตรวจสอบ (DOE) ไดมีการพิจารณาตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการเสร็จสิ้นเปนที่เรียบรอยแลว DOE จะดําเนินการจัดทําเอกสารการขอขึ้นทะเบียนโครงการและเอกสารแสดงผลการตรวจสอบโครงการ ซ่ึงรวมถึง เอกสารประกอบโครงการ จดหมายยืนยันการดําเนินโครงการจากประเทศเจาบาน และรายละเอียดขอเสนอแนะจากการพิจารณาตรวจสอบโครงการของ DOE เพื่อนําเสนอตอสํานักงานเลขานุการ UNFCCC ในการพิจารณาเขาสูกระบวนการอนุญาตการขึ้นทะเบียนเปนโครงการ CDM ตอไป

3.4.2 ขั้นตอนการพิจารณาอนุญาตการขึ้นทะเบียนโครงการ

ขั้นตอนการพิจารณาอนุญาตการขึ้นทะเบียนโครงการ เปนขั้นตอนการพิจารณาของ EB เพื่อพิจารณารายละเอียดตางๆ ของโครงการกอนที่จะดําเนินการการตัดสินวาจะอนุญาตใหมีการขึ้นทะเบียนโครงการนั้นเปนโครงการ CDM หรือไม ทั้งนี้ EB จะเปนผูวางกรอบและวิธีการในการพิจารณาโครงการ โดย EB สามารถจัดตั้งคณะผูทําการพิจารณาขึ้น ซ่ึงประกอบไปดวยตัวแทนจาก EB 2 คน และผูชํานาญการอื่นๆ ตามความเหมาะสม เพื่อดําเนินการในการพิจารณารายละเอียดตางๆ ของโครงการ กอนที่จะเสนอเขาที่ประชุม EB เพื่อตัดสินใหมีการขึ้นทะเบียนโครงการ เปนโครงการ CDM ตอไป

Page 52: CDM Manual

45

3.5 ขั้นตอนการยนืยัน การรับรองการลดกาซเรือนกระจก และการออกคารบอนเครดิตท่ีไดจากการดําเนินโครงการ CDM (Verification, Certification and Issuance of CERs)

สําหรับโครงการที่ไดมีการขึ้นทะเบียนเปนโครงการ CDM และไดมีการเริ่มดําเนินโครงการแลว เจาของโครงการจะตองดําเนินการติดตามผล (Monitoring) การลดการปลอยกาซเรือนกระจกตามที่ไดเสนอไวในเอกสารประกอบโครงการ เพื่อจัดทํารายงานการติดตามผลการดําเนินงานของโครงการ ทั้งนี้ ผลที่ไดจากการติดตามผลการดําเนินงานจะตองนําเขาสูขั้นตอนการยืนยัน (Verification) การรับรองการลดกาซเรือนกระจก (Certification) และการออกคารบอนเครดิต (Issuance of CERs) ตอไป

3.5.1 ขั้นตอนการยืนยัน และการรับรองการลดกาซเรือนกระจก

เพื่อใหผลการลดปริมาณกาซเรือนกระจกที่ลดไดเปนขอมูลที่ถูกตองและโปรงใส จึงตองมีการยืนยันและรับรองขอมูลปริมาณการลดกาซเรือนกระจก ดังนั้น ในขั้นตอนการยืนยันและการรับรองการลดกาซเรือนกระจกที่ลดได จึงตองดําเนินการตรวจสอบโดยหนวยงาน DOE ซ่ึงเปนหนวยงานอิสระที่ไดรับการรับรองจาก EB สําหรับการตรวจสอบความถูกตองของขอมูล DOE จะดําเนินการตรวจสอบความถูกตองของขอมูลเปนระยะตามแผนการติดตามตรวจสอบ โดยจะพิจารณาจากขอมูลในรายงานการติดตามผลการดําเนินโครงการ เปรียบเทียบกับขอมูลฐาน (Baseline data) หรือ DOE อาจจะดําเนินการสุมตรวจสอบจริงในพื้นที่โครงการเพิ่มเติม อยางไรก็ตาม ผลที่ไดจากการตรวจสอบและการรับรองการลดกาซเรือนกระจก DOE จะดําเนินการยืนยันและรับรองผลการตรวจสอบดังกลาว เพื่อนําเสนอตอ EB ในการพิจารณาออก Certified Emission Reduction (CER) ตอไป ขอสําคัญที่ควรระวัง คือ DOE ที่ใชในขั้นตอนการยืนยัน และการรับรองการลดกาซเรือนกระจกจะตองไมเปน DOE ที่เปนหนวยงานเดียวกันกับที่ใชในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ

3.5.2 ขั้นตอนการออกคารบอนเครดิตท่ีไดจากการดําเนินโครงการ CDM

สําหรับกระบวนการพิจารณาในการออกคารบอนเครดิตที่ไดจากการดําเนินโครงการ CDM (CER) EB จะเปนผูกําหนดกรอบและวิธีการในการพิจารณาโครงการ โดย EB อาจจะตั้งคณะผูทําการพิจารณาโครงการ ซ่ึงจะประกอบไปดวยตัวแทนจาก EB 2 คน และ

Page 53: CDM Manual

46

ผูชํานาญการอื่นๆ ตามความเหมาะสม เพื่อชวยในการพิจารณารายละเอียดตางๆ ของโครงการ ทั้งนี้ ในระหวางการพิจารณารายละเอียดโครงการ คณะผูทําการพิจารณาโครงการสามารถรองขอขอมูลเพิ่มเติมจาก DOE และเจาของโครงการ เพื่อนําไปพิจารณาและวิเคราะหในรายละเอียดตางๆ ของโครงการเพิ่มเติม ซ่ึงผลจากการพิจารณาสมาชิก EB 2 คน จะสรุปขอเสนอแนะเสนอไปยังที่ประชุม EB เพื่อพิจารณาอนุมัติการออก CER ตอไป โดยผลจากการอนุมัติออก CER สํานักงานเลขานุการ UNFCCC จะออกหนังสือรับรอง CER ใหแกเจาของโครงการ CDM เพื่อใชเปนเอกสารในการซื้อขายคารบอนเครดิต

3.6 การซื้อขายคารบอนเครดิตท่ีไดจากการดําเนินโครงการ CDM

การซื้อขายคารบอนเครดิต เปนผลมาจากการที่พิธีสารเกียวโตไดกําหนดกลไกที่ยืดหยุนเพื่อชวยลดคาใชจายของประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I ในการลดการปลอยกาซเรือนกระจก โดยกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) เปนกลไกหนึ่งภายใตพิธีสารเกียวโตที่ชวยเหลือใหประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I สามารถลดการปลอยกาซเรือนกระจกในประเทศกําลังพัฒนาอื่นๆ โดยผูดําเนินโครงการจะไดรับ Certified Emission Reduction (CER) สําหรับกาซเรือนกระจกที่สามารถลดไดและผานการตรวจวัดแลว สําหรับการซื้อขายคารบอนเครดิตจากโครงการ CDM ในปจจุบันเปนการซื้อขายในลักษณะการตกลงกันระหวางผูดําเนินโครงการและผูที่สนใจจะซื้อคารบอนเครดิต ซ่ึงราคาการซื้อขายคารบอนเครดิตจะเปนไปตามอุปสงคและอุปทานของตลาด ทั้งนี้เนื่องจากโครงการ CDM สวนใหญในปจจุบันยังไมไดรับการยืนยันและรับรองการลดกาซเรือนกระจกหรือการออก CER และยังไมมีตลาดกลางในการซื้อขาย CER

3.6.1 อุปสงคของคารบอนเครดิต

ประเทศที่มีความตองการซื้อคารบอนเครดิต เปนประเทศที่ไมสามารถลดการปลอยกาซเรือนกระจกในประเทศของตนเองไดตามที่กําหนดไวในพิธีสารเกียวโต ทั้งนี้ อาจเปนผลมาจากการที่เศรษฐกิจเติบโตอยางตอเนื่องมากกวาที่ไดคาดการณไว หรือมาตรการลดการปลอยกาซที่กําหนดไมเปนผลตามที่ไดคาดการณไว หรือตนทุนในการลดกาซเรือนกระจกที่คาดการณไวแพงกวาราคาของคารบอนเครดิตที่สามารถจัดหามาชดเชยได เปนตน

Page 54: CDM Manual

47

จากขอมูลของอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ดังแสดงในรูปที่ 3.3 พบวาปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I โดยภาพรวมมีแนวโนมลดลงเล็กนอย ดังจะเห็นไดจากในป พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) มีการปลอยกาซเรือนกระจกลดลงรอยละ 4.9 เมื่อเทียบกับการปลอยกาซเรือนกระจกในป พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) โดยการลดลงดังกลาวเปนผลสืบเนื่องมาจากการลดลงของการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศที่อยูระหวางการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจสูระบบตลาดเสรี (Economies in transition) ซ่ึงหมายถึงกลุมประเทศในยุโรปตะวันออก ซ่ึงปลอยกาซเรือนกระจกลดลงถึงรอยละ 44.8 ในขณะที่ประเทศในกลุมภาคผนวกที่ 1 อ่ืนๆ ปลอยกาซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นรอยละ 12.1 เมื่อเทียบกับปพ.ศ. 2533 (ค.ศ.1990)

รูปท่ี 3.3 แนวโนมภาพรวมการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศในกลุมภาคผนวกที่ 1

ที่มา: UNFCCC website (http://ghg.unfccc.int/index.html)

ดังนั้น อุปสงคของคารบอนเครดิตสวนใหญจะมาจากประเทศในกลุมภาคผนวกที่ 1 ที่ไมใชประเทศที่อยูระหวางการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจสูระบบตลาดเสรี ซ่ึงหากพิจารณาเปนรายประเทศ ดังแสดงใน รูปที่ 3.4 จะพบวาแตละประเทศมีปริมาณปลอยกาซเรือนกระจกที่แตกตางกันอยางมากเมื่อเทียบกับการปลอยกาซเรือนกระจกในปค.ศ. 1990 บางประเทศปลอยเพิ่มขึ้น เชน ประเทศแคนาดา มีการปลอยกาซเพิ่มขึ้นถึงรอยละ 62.2 รองลงมาคือ ประเทศสเปน มีการปลอยกาซเพิ่มขึ้นรอยละ 50.4 ไปจนถึงประเทศที่มีการปลอยกาซลดลง เชน ประเทศลัตเวีย ลดลงรอยละ 160.5 ประเทศเยอรมนี ลดลงรอยละ 18.2 เปนตน

Page 55: CDM Manual

48

รูปท่ี 3.4 ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศในกลุมภาคผนวกที่ 1 ป พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) เทียบกับปพ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990)

ที่มา: UNFCCC website (http://ghg.unfccc.int/index.html)

Page 56: CDM Manual

49

จากรูปที่ 3.4 ช้ีใหเห็นถึงทิศทางไดวาประเทศใดที่ยังมีความตองการคารบอนเครดิต เมื่อพิจารณาจากระดับการปลอยกาซเรือนกระจกในปปจจุบัน นอกจากนี้ จากรายงานของธนาคารโลก พบวาประเทศที่มีการซื้อคารบอนเครดิตมากที่สุดในป พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) คือ ประเทศญี่ปุนถึงรอยละ 46 และในป พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) คือ สหราชอาณาจักรฯ รอยละ 50 ดังแสดงใน รูปที่ 3.5 อยางไรก็ดี คาดวาประเทศในกลุมประชาคมยุโรปจะมีความตองการคารบอนเครดิตเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

รูปท่ี 3.5 สัดสวนการซือ้คารบอนเครดิต จําแนกตามประเทศผูซ้ือ

ที่มา: World Bank Institute, 2007

ดังนั้น อุปสงคของคารบอนเครดิตทั้ง 3 ประเภท จะขึ้นอยูกับการคาดการณปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศในกลุมภาคผนวกที่ I ในชวงพันธกรณีแรก พ.ศ. 2551 – 2555 ถาหากคาดวาจะมีการปลอยกาซเรือนกระจกมาก จะทําใหมีความตองการคารบอนเครดิตสูง อยางไรก็ดี การประเมินความตองการคารบอนเครดิตในชวงพันธกรณีแรกนั้นยังไมสามารถประเมินไดอยางชัดเจน เนื่องจาก ยังไมมีการกําหนดรายละเอียดของชวงพันธกรณีตอไป ซ่ึงจะมีผลตอยุทธศาสตรในการลดกาซเรือนกระจกของแตละประเทศและความตองการเครดิตในแตละชวงเวลา

3.6.2 อุปทานของคารบอนเครดิต

อุปทานของคารบอนเครดิตแตละประเภทนั้นแตกตางกัน เนื่องจาก AAU เปนใบอนุญาตใหปลอยกาซเรือนกระจกไดในปริมาณที่กําหนด และยังเปนปริมาณที่ตายตัวดังที่ไดกาํหนดไวในพิธีสารเกียวโต ดังนั้นอุปทานของ AAU จึงมีจํากัดไมเปลี่ยนแปลง ในขณะที่อุปทานของ ERU และ CER นั้นเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการลดการปลอยกาซเรือนกระจก จึงมี

Page 57: CDM Manual

50

ปริมาณเปลี่ยนแปลงไปตามโครงการที่เกิดขึ้นจริง โดยปจจัยสําคัญที่เปนตัวกําหนดปริมาณของ ERU และ CER นั้นคือ • ราคาในการซื้อขายคารบอนเครดิต • ตนทุนในการดําเนินโครงการ • ประเภทของโครงการที่ดําเนินการ (JI หรือ CDM) • การพิจารณาอนุมัติโครงการโดยประเทศเจาบานและโดย CDM EB

3.6.3 ราคาของ CER

การประเมินราคาของ CER จะตองพิจารณาจากประเด็นสําคัญ 2 ประเด็น คือ • ราคาและสัญญาซื้อขายไมเปนมาตรฐาน เนื่องจากตลาดซื้อขาย CER นั้นเปนตลาดที่

กระจัดกระจาย จึงเปนการยากที่จะนําราคาซื้อขายของแตละโครงการมาเปรียบเทียบกันโดยตรง อีกทั้งยังมีเงื่อนไขของสัญญาที่แตกตางกัน เชน เงื่อนไขในการจายเงิน เงื่อนไขของการผิดสัญญา ขอตกลงเกี่ยวกับคาใชจายในการดําเนินการในการ CERs เปนตน จึงทําใหราคา CER ในแตละประเภทโครงการมีความแตกตางกัน

• การไมเปดเผยราคาซื้อขายที่แทจริง เนื่องจากไมมีตลาดกลาง อีกทั้งโดยปกติแลวผูซ้ือผูขายมักจะไมเปดเผยราคา โดยเฉพาะกรณีที่ผูซ้ือเปนบริษัทเอกชน เนื่องจากไมมีขอกําหนดใหตองเปดเผยขอมูล ดังนั้นจึงทําใหหลายประเภทโครงการไมมีขอมูลราคาซื้อขายที่แทจริง

จากรายงานปริมาณ และราคาซื้อขายคารบอนเครดิตของธนาคารโลกในโครงการ CDM และ JI (CER และ ERU) ในชวงป พ.ศ. 2548 - 2549 มีราคาซื้อขายอยูระหวาง 7.5 – 11 เหรียญสหรัฐตอตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา ซ่ึงราคาซื้อขายนั้นจะขึ้นอยูกับคุณภาพของโครงการในการลดกาซเรือนกระจก ชวงเวลาการซื้อขาย และความเสี่ยงในการซื้อขาย รายละเอียดดังแสดงใน ตารางที่ 3.4

Page 58: CDM Manual

51

ตารางที่ 3.4 ปริมาณและราคาซื้อขาย CER และ ERU ในป พ.ศ. 2548-2549

2548 2549 ประเภทคารบอนเครดิต ปริมาณ (MtCO2) มูลคา (M.US$) ปริมาณ (MtCO2) มูลคา (M.US$) Primary CDM 341 2,417 450 4,813 Secondary CDM 10 221 25 444 JI 11 68 16 141 รวม 362 2,706 491 5,398 ที่มา: World Bank Institute, 2007

นอกจากนี้ จากการประเมินของบริษัท CantorCO2e ซ่ึงเปนบริษัทซื้อขายคารบอนเครดิตไดช้ีใหเห็นวา ความตองการสวนเกินยังคงเปนปจจัยสําคัญในการกําหนดราคาของ CER และ ERU โดยเฉพาะเครดิตที่มีความเสี่ยงต่ํา ทั้งนี้ คาดวาความตองการสวนเกินจะยังมีอยูตอไปในอนาคต เนื่องจากความลาชาในการอนุมัติและข้ึนทะเบียนโครงการ และจากการคาดการณราคาของ Point Carbon ไดคาดการณไววาราคาของ CER และ ERU จะเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วในอนาคต โดยมีคาเฉลี่ยประมาณ 10 ยูโรตอตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา (13 เหรียญสหรัฐตอตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา) ในชวงพันธกรณีแรก ดังแสดงใน รูปที่ 3.6

รูปท่ี 3.6 ราคาของ CER และ ERU ในอนาคต (ยูโรตอตันคารบอนไดออกไซด)

ที่มา: Point Carbon, 2005

Page 59: CDM Manual

52

นอกจากนี้ การประมาณปริมาณ CER ในระยะยาวของ Point Carbon ดัง รูปที่ 3.7 ซ่ึงคาดวาในป พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) ปริมาณ CER จะเพิ่มขึ้นมากกวา 250 ลานตัน และจะมีปริมาณสะสมจนถึงป พ.ศ. 2555 เทากับ 1,000 ลานตัน ทั้งนี้ โครงการประเภทลดการปลอยกาซ HFC ซ่ึงเปนสารทําความเย็นจะเปนโครงการที่ผลิต CER เขาสูตลาดมากที่สุด

รูปท่ี 3.7 การประมาณปริมาณ CERs ในระยะยาว

ที่มา: Point Carbon, 2005

ดังนั้น ในการซื้อขายคารบอนเครดิตที่ไดจากการดําเนินโครงการ CDM จึงตองพิจารณาถึงอุปสงคและอุปทานของตลาด รวมถึงแนวโนมของการประเมินความตองการคารบอนเครดิตในชวงพันธกรณีตอไปดวย

0.0

50.0

100.0

150.0

200.0

250.0

300.0

2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012

Mill

ion

CER

s p.

a. OtherFlaringLFGN2OHFC

Page 60: CDM Manual

53

4 ภาคอุตสาหกรรมไทยกับกลไกการพัฒนาทีส่ะอาด

4.1 ภาคอุตสาหกรรมไทยกับการปลอยกาซเรือนกระจก / สาขาที่นาจะสามารถดําเนินโครงการ

CDM

4.1.1 บัญชีกาซเรือนกระจกสําหรับประเทศไทย พ.ศ. 2546

ผลการศึกษาประเมินปริมาณกาซเรือนกระจกของประเทศไทยที่ปลอยออกมาในป พ.ศ. 2546 และการคาดการณปริมาณการปลอยกาซในชวงป พ.ศ. 2548-2563 (7) ซ่ึงทําการประเมินโดยใชวิ ธีการที่กํ าหนดในคูมือการคํานวณกาซเรือนกระจกที่จัดทําโดยคณะกรรมการระหวางรัฐบาลวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) โดยไดมีการปรับใหเขากับลักษณะการเก็บขอมูลและขอมูลของประเทศไทย ในการประเมินปริมาณกาซเรือนกระจกตามที่กําหนดใน IPCC Guidelines (IPCC, 1996) นั้น ไดแบงแยกไวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยแบงออกเปน 6 สาขา ไดแก • พลังงาน (Energy) ปริมาณกาซเรือนกระจกในสาขาพลังงานนั้น รวมกาซเรือนกระจก

จากการเผาไหมเชื้อเพลิงในกระบวนการแปรรูปพลังงาน การเผาไหมเชื้อเพลิงเพื่อใชเปนพลังงานในภาคอุตสาหกรรมตางๆ เหมืองแร กอสราง ขนสง ครัวเรือน การคา เกษตรกรรม และรวมไปถึงกาซที่เล็ดลอด (fugitive emission) จากกระบวนการผลิตพลังงาน เชน การผลิตและขุดเจาะน้ํามันหรือกาซธรรมชาติ เปนตน

• กระบวนการอุตสาหกรรม (Industrial Process) กาซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในกระบวนการอุตสาหกรรมเปน by-product ที่เกิดจากการผลิต ไมรวมถึงการใชพลังงานในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากกาซเรือนกระจกดังกลาวไดรวมไวในภาคพลังงานแลว นอกจากนี้ ยังไมรวมถึง Non-methane Volatile Organic Compounds หรือ NMVOCs ที่เกิดขึ้นจากการใชสารทําละลาย ถึงแมวาจะเกิดขึ้นในกระบวนการอุตสาหกรรมก็ตาม โดย NMVOC ที่เกิดขึ้นจากการใชสารทําละลายจะรวมอยูในภาคการใชสารทําละลาย

(7) บัญชีกาซเรือนกระจกสําหรับประเทศไทย พ.ศ. 2546 ที่จัดทําขึ้นโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน (2548) ไดรวบรวมกาซเรือนกระจกเพียง 6 ชนิดที่เกี่ยวของกับพิธีสารเกียวโต ซึ่งไดแก คารบอนไดออกไซด (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคารบอน (HFCs) เปอรฟลูออโรคารบอน (PFCs) และซัลเฟอรเฮกซาฟลูโอไรด (SF6)

Page 61: CDM Manual

54

• สารทําละลาย (Solvent and Other Product Use) กาซเรือนกระจกประเภท NMVOCs เปนกาซที่สําคัญที่เกิดจากการใชสารทําละลายและสารที่เกี่ยวของ แตเนื่องจาก NMVOCs ไมไดรวมอยูภายใตพิธีสารเกียวโตจึงไมไดมีการประเมินปริมาณกาซดังกลาวไวในบัญชีกาซเรือนกระจกป พ.ศ. 2546 สําหรับการปลดปลอยไนตรัสออกไซด (N2O) จากอุปกรณการแพทย และไฮโดรฟลูออโรคารบอน (HFCs) จากเครื่องใชในครัวเรือน เชน ตูเย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องดับเพลิง เครื่องทําโฟม เครื่องทําความเย็น นั้นจะถูกคิดประเมินไวแลวในการรายงานการปลดปลอยกาซเรือนกระจกจากกระบวนการอุตสาหกรรม

• การเกษตร (Agriculture) กาซเรือนกระจกจากภาคการเกษตรรวมกิจกรรมตางๆ คือ ปศุสัตว การปลูกขาว การใสปุยไนโตรเจนในดิน การเลี้ยงสัตวบนทุงหญา การเผาทุงหญา และการเผาเศษพืชจากการทําเกษตรกรรม

• การเปล่ียนแปลงการใชประโยชนท่ีดินและปาไม (Land Use Change and Forestry) ในรายงานบัญชีกาซเรือนกระจกแบงกิจกรรมดานการเปลี่ยนแปลงการใชที่ดินและปาไมเปน 4 กิจกรรมยอย ไดแก การเปลี่ยนแปลงปริมาณปาไมและแหลงพันธุไมอ่ืนๆ การเปลี่ยนแปลงการใชประโยชนจากที่ดินปาไมหรือทุงหญา การละเลยไมดูแลพื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงปริมาณคารบอนในดิน

• ของเสีย (Waste) กาซเรือนกระจกจากภาคของเสียประเมินจากกิจกรรมการจัดการขยะ (solid waste disposal on land) การจัดการน้ําเสีย (wastewater treatment) และการจัดการของเสียชุมชน (human sewage)

รายละเอียดสําคัญของบัญชีกาซเรือนกระจกสําหรับประเทศไทย พ.ศ. 2546 (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน, 2548) สรุปไดดังนี้ • ปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกสุทธิของประเทศไทยในปพ.ศ. 2546เทากับ

344.2 ลานตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา (Mt CO2e) • ภาคพลังงานปลดปลอยกาซเรือนกระจกคิดเปนรอยละ 56.1 ของปริมาณการ

ปลดปลอยกาซสุทธิของประเทศ หรือเทากับ 193.2 ลานตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา โดยกิจกรรมการแปรรูปพลังงานมีสัดสวนในการปลอยกาซสูงสุดในภาคพลังงาน (รอยละ 22 ของปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกสุทธิของประเทศไทย)

• ภาคการเกษตรมีการปลดปลอยกาซเรือนกระจกมากเปนอันดับสองรองจากภาคพลังงาน โดยปลดปลอยกาซเรือนกระจก 82.8 ลานตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา หรือรอยละ 24 ของปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกสุทธิของประเทศไทย โดย

Page 62: CDM Manual

55

ที่การปลูกขาวกอใหเกิดกาซเรือนกระจกมากที่สุดในภาคการเกษตรคิดเปนประมาณ 46.7 ลานตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา

• ภาคของเสียและกระบวนการอุตสาหกรรมมีการปลดปลอยกาซเรือนกระจก 26.9 และ 18.7 ลานตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา หรือคิดเปนรอยละ 7.8 และรอยละ 5.4 ของปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกสุทธิของประเทศไทย ตามลําดับ

• การเปลี่ยนแปลงการใชที่ดินและปาไมมีอัตราการปลดปลอยกาซเรือนกระจกประมาณ 22.6 ลานตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา หรือรอยละ 6.6 ของปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกสุทธิของประเทศไทย

ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศไทย แยกตามสาขาในป พ.ศ. 2546 แสดงไดดัง รูปที่ 4.1

รูปท่ี 4.1 ปริมาณกาซเรือนกระจกรายสาขา พ.ศ. 2546

ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน, 2548

4.1.2 คาดการณปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศไทย

ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศไทยในชวงป พ.ศ. 2548-2563 ภายใตการคาดการณอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไดดําเนินการศึกษาแยกเปน 3 กรณี โดยนําเอาราคาน้ํามันที่พยากรณโดยกระทรวงพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกา (US Department of Energy) มาพิจารณาสรางเปนทางเลือก ไดแก ก) ราคาน้ํามันปานกลาง ข) น้ํามันราคาสูง (High A) และ ค) น้ํามันราคาสูงมาก (High B)

-

50,000

100,000

150,000

200,000

250,000

300,000

350,000

400,000

Total Emission &Removals

1. Energy 2. IndustrialProcess

3. Solvent andother product use

4. Agriculture 5. Land UseChange &Forestry

6. Wastes

CO

2-eq

uiva

lent

(Mt)

56.1%

5.4%

0.0%

24.1%

6.6% 7.8%

344.2 Mt

Page 63: CDM Manual

56

รูปที่ 4.2 แสดงการเปรียบเทียบการคาดการณปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกของประเทศไทยภายใตระดับราคาน้ํามันทั้ง 3 กรณี

รูปท่ี 4.2 คาดการณปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกจําแนกตามสาขา ป พ.ศ. 2546-2563

ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน, 2548

จากผลการคาดการณปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก (กรณีราคาน้ํามันปานกลาง) ขางตนนี้ พบวา • ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกมแีนวโนมเพิ่มขึ้นในทุกกรณ ี• กาซเรือนกระจกที่ปลอยออกมา มีกาซคารบอนไดออกไซดเปนองคประกอบหลัก

ประมาณรอยละ 70 นอกจากนี้แลวจะเปนกาซมีเทนประมาณรอยละ 21 และสวนที่เหลืออีกรอยละ 9 เปนกาซไนตรัสออกไซดรวมกับกาซไฮโดรฟลูออโรคารบอน

• สาขาพลังงานยังคงเปนสาขาที่มีการปลอยกาซเรือนกระจกมากเปนอันดับหนึ่ง โดยมีปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกประมาณ 193 ลานตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทาในปฐาน (พ.ศ. 2546) และเพิ่มสูงขึ้นเปน 387 ลานตันในป พ.ศ. 2563 หรือเพิ่มขึ้นในอัตรารอยละ 4.7 ตอป

0

100

200

300

400

500

600

2003 2005 2010 2015 2020

CO

2-eq

uiva

lent

(Mt)

1.Energy 2.Industrail Process3.Solvent and Other Product Use 4.Agriculture5.Land Use Change and Forestry 6.WastesHigh A scenario High B scenario

Page 64: CDM Manual

57

การที่ระดับราคาน้ํามันเพิ่มสูงขึ้น ไมไดทําใหกิจกรรมในสาขาเศรษฐกิจตางๆ ลดลงอยางมีนัยสําคัญจนทําใหการปลดปลอยปริมาณกาซเรือนกระจกลดลงแตอยางใด ในทางตรงกันขาม กลับพบวาปริมาณกาซเรือนกระจกที่จะปลดปลอยในอนาคตกลับเพิ่มขึ้นตามอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ไมวาจะเปนการพยากรณในกรณีใดก็ตาม

4.1.3 ศักยภาพในการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด

ในการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดเพื่อลดการปลอยกาซเรือนกระจกนั้น สามารถดําเนินการไดหลายประเภท โดยแตละประเภทมีตนทุนตอตันคารบอนไดออกไซดที่ลดไดแตกตางกัน ดังนั้นในการประเมินศักยภาพจะตองวิเคราะหขอมูลทั้งในสวนของประเภทของโครงการ ศักยภาพในการลดการปลอยกาซเรือนกระจกและตนทุนของโครงการ จากการวิเคราะหเบื้องตน พบวาสาขาพลังงานเปนสาขาที่มีศักยภาพและความพรอมในการลดกาซเรือนกระจกมากที่สุด (รวมถึงการลดการปลอยกาซมีเทนจากของเสียเพื่อใชเปนพลังงาน) โดยแบงลักษณะโครงการออกเปน 3 ประเภทหลัก คือ

1. การผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวยีน 2. การผลิตและใชเชื้อเพลิงชีวภาพ 3. การปรับปรุงประสิทธิภาพการใชพลังงาน

4.2 โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด

โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภายใตพิธีสารเกียวโตถูกกําหนดและแบงประเภท (sectoral scope) โดย UNFCCC ออกเปน 15 ประเภท โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังแสดงในตารางที่ 4.1

ตารางที่ 4.1 ประเภทโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด

ประเภทท่ี ประเภทโครงการ ลักษณะ/ตัวอยางโครงการ 1 Energy industries (renewable - /

non-renewable sources) การใชพลังงานทดแทนและการเปลี่ยนเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟา

2 Energy distribution การเพิ่มประสิทธิภาพระบบสายสงไฟฟาและระบบการกระจายทอน้ํารอน (district heating)

Page 65: CDM Manual

58

ประเภทท่ี ประเภทโครงการ ลักษณะ/ตัวอยางโครงการ 3 Energy demand การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานไอน้ํา การลดการใช

พลังงานในการสงน้ําใชตามทอ 4 Manufacturing industries การใชพลังงานทดแทนในอุตสาหกรรมตางๆ เชน การ

นําลมรอนทิ้งจากกระบวนการผลิตปูนเม็ดมาใชเปนพลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟา เปนตน

5 Chemical industries การลดการปลอย N2O จากอุตสาหกรรมเคมี 6 Construction โครงการที่เกี่ยวของกับอุตสาหกรรม/อุปกรณการ

กอสราง 7 Transportation การพัฒนาและปรับปรุงระบบคมนาคม 8 Mining/mineral production การกักเก็บและนํากาซ CH4 จากการทําเหมืองถานหิน

มาใชประโยชน 9 Metal production การลด สาร PFC จากกระบวนการผลิตอลูมิเนียม

10 Fugitive emissions from fuels (solid, oil and gas)

การกักเก็บกาซจากหลุมขุดเจาะน้ํามัน การลดการรั่วซึมของระบบทอสงกาซธรรมชาติ รวมถึงการนํากาซเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและขุดเจาะน้ํามันกลับมาใชประโยชน

11 Fugitive emissions from production and consumption of halocarbons and sulphur hexafluoride

การกักเก็บและทําลายสารประเภท HFC23

12 Solvent use โครงการที่เกี่ยวของกับอุตสาหกรรมสารทําละลาย 13 Waste handling and disposal การปรับปรุงวิธีการจัดการของเสียตางๆ เชน การเก็บ

กักและนํากาซจากบอฝงกลบขยะมาใชประโยชน รวมถึงการจัดการมูลสัตวจากฟารมปศุสัตว

14 Afforestation and reforestation การปลูกปาและการฟนฟูปาในพื้นที่ปาเสื่อมโทรม 15 Agriculture การจัดการมูลสัตวจากฟารมปศุสัตว

ที่มา: บริษัทอีอารเอ็ม-สยาม, 2550

สถานภาพปจจุบันของโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (8) ที่ไดพัฒนาขึ้นมีรวมอยูทั่วโลกมากกวา 2,100 โครงการ และมีจํานวน 762 โครงการที่ไดรับการอนุมัติจาก CDM EB ใหขึ้นทะเบียนเปนโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด โดยโครงการเหลานี้สามารถทําการครอบครองและซื้อขายคารบอนเครดิตที่เรียกกันวา Certified Emission Reductions หรือ

(8) สถานภาพโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่นาํเสนอ เปนขอมูลจากเว็บไซต UNFCCC ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Page 66: CDM Manual

59

CERs ไดจริง โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่ไดรับการขึ้นทะเบียนแลวสามารถแยกตามประเภทไดดังแสดงใน รูปที่ 4.3

รูปท่ี 4.3 โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่ไดรับการขึ้นทะเบียนแลว แยกตามประเภทโครงการ

ที่มา: UNFCCC website ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2550 (http://cdm.unfccc.int/Statistics/Registration/RegisteredProjByScopePieChart.html) หมายเหตุ โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดบางโครงการสามารถแยกเปนประเภทโครงการได มากกวา 1 ประเภท นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจํานวนโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่พัฒนาขึ้นและไดรับการขึ้นทะเบียนจาก CDM EB แลว แบงตามประเทศเจาบาน (host country) (รูปที่ 4.4) จะเห็นไดวาโครงการที่เกิดขึ้นจํานวนมากเกินในประเทศอินเดียมากที่สุด จํานวน 268 โครงการ รองลงมาเกิดในประเทศจีน บราซิล และเม็กซิโก จํานวน 106 105 และ 90 โครงการ ตามลําดับ และอีก 282 โครงการ เปนโครงการที่พัฒนาขึ้นในประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 อีก 44 ประเทศ โดยในประเทศไทยมีโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่ไดรับการขึ้นทะเบียนกับ CDM EB แลว จํานวน 3 โครงการ (9) ไดแก • Khon Kaen Sugar Power Plant เปนโครงการโรงไฟฟาที่ใชกากออย เศษไม และ

เปลือกไมเปนเชื้อเพลิง พัฒนาโครงการโดยบริษัท โรงไฟฟาน้ําตาลขอนแกน จํากัด คาดวาโครงการจะลดปริมาณกาซเรือนกระจกไดปละ 61,449 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา และประเทศในภาคผนวกที่ 1 ที่เปนผูซ้ือ CERs คือ สหราชอาณาจักร

(9) ขอมูจากเว็บไซต UNFCCC ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Mining/mineral production, 0.40%

Transport, 0.10%

Manufacturing industries, 6.36%

Fugitive emissions from production and

consumption of halocarbons and

sulphur hexafluoride, 1.52%

Fugitive emissions from fuels (solid, oil

and gas), 7.58%

Afforestation and reforestation, 0.10%

Agriculture, 7.78%

Chemical industries, 1.31%

Energy demand, 1.31%

Energy industries (renewable - / non-

renewable sources), 52.73%

Waste handling and disposal, 20.81%

Page 67: CDM Manual

60

• A.T. Biopower Rice Husk Power Plant in Pichit, Thailand เปนโครงการโรงไฟฟาที่ใชแกลบเปนเชื้อเพลิงหลัก พัฒนาโครงการโดยบริษัท เอ ที ไบโอพาวเวอร จํากัด คาดวาโครงการจะลดปริมาณกาซเรือนกระจกไดปละ 70,772 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา และประเทศในภาคผนวกที่ 1 ที่เปนผูซ้ือ CERs คือ ประเทศญี่ปุน

• Korat Waste To Energy เปนโครงการปองกันการปลอยกาซมีเทนจากการบําบัดน้ําเสียจากโรงงานแปงมันสําปะหลัง โดยใชระบบการบําบัดแบบไรอากาศ พัฒนาโครงการโดยบริษัท สงวนวงศ จํากัด คาดวาโครงการจะลดปริมาณกาซเรือนกระจกไดปละ 310,843 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา และประเทศในภาคผนวกที่ 1 ที่เปนผูซ้ือ CERs คือ สหราชอาณาจักรฯ

รูปท่ี 4.4 โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่ไดรับการขึ้นทะเบียนแลว แยกตามประเทศเจาบาน

ที่มา: UNFCCC website ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2550 (http://cdm.unfccc.int/Statistics/Registration/ NumOfRegisteredProjByHostPartiesPieChart.html)

หมายเหต ุ ตัวเลขกํากับในแผนภาพ แสดงจํานวนโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดในประเทศ นั้นๆ ที่ไดรับการลงทะเบียนกับ CDM EB เรียบรอยแลว จากการรวบรวมขอมูลโดยสํานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 ภาคเอกชนในประเทศไทยใหความสนใจในการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด โดยมีแนวคิดในการดําเนินโครงการตางๆ ประมาณ 40 โครงการ เชน โครงการโรงไฟฟาพลังงานชีวมวล (แกลบ กากออย) การลดการปลอยกาซมีเทนจากการบําบัดน้ําเสีย โดยใชระบบบําบัดแบบ

อนิเดยี, 268

จีน, 107บราซิล, 105

เม็กซิโก, 90

อืน่ๆ, 140

ไทย, 3

ชลิ,ี 19

มาเลเซีย, 16

สาธารณรัฐเกาหล,ี 15

Page 68: CDM Manual

61

ไรอากาศ การนํากาซชีวภาพมาใชเปนพลังงานทดแทน และการผลิตเอทานอลและไบโอดีเซลเพื่อใชทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เปนตน โดยมีรายละเอียดดังแสดงในรูปที่ 4.5 และ รูปที่ 4.6

รูปท่ี 4.5 สาขาในการพฒันาโครงการกลไกการพัฒนาท่ีสะอาดในประเทศไทย

ที่มา: สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม , 2549

รูปท่ี 4.6 ประเภทของโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทย

ที่มา: สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม , 2549

Page 69: CDM Manual

62

และเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีไดมีมติเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ ที่เสนอใหคณะรัฐมนตรีใหการรับรองโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดโดยใหออกหนังสือรับรองแกผูพัฒนาโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดของเอกชน 7 โครงการ ภายใตพิธีสารเกียวโตซึ่งเปนโครงการที่สนับสนุนการผลิตพลังงานทดแทน ประกอบดวย โครงการผลิตไฟฟาจากเชื้อเพลิงชีวมวล 5 โครงการ และโครงการผลิตไฟฟาจากกาซชีวภาพ 2 โครงการ (10) ดังรายชื่อตอไปนี้ โครงการผลิตไฟฟาจากเชื้อเพลิงชีวมวล

• โครงการ Dan Change Bio-Energy Cogeneration Project ผลิตไฟฟาจาก กากออย และใบออย ตั้งอยูที่ จ. สุพรรณบุรี

• โครงการ Phu Khieo Bio-Energy Cogeneration Project ผลิตไฟฟาจาก กากออย และใบออย ตั้งอยูที่ จ. ชัยภูมิ

• โครงการ A.T.Biopower Rice Husk Power Project ผลิตไฟฟาจากแกลบ ตั้งอยูที่ จ. พิจิตร

• โครงการ Khon Kaen Sugar Power Plant Project ผลิตไฟฟาจาก กากออย ตั้งอยูที่ จ. ขอนแกน

• โครงการ Rubber Wood Residue Power Plant in Yala, Thailand ผลิตไฟฟาจากเศษไมยางพารา ตั้งอยูที่ จ. ยะลา

โครงการผลิตไฟฟาจากกาซชีวภาพ

• โครงการ Korat Waste to Energy Project, Thailand ผลิตไฟฟาจากกาซชีวภาพที่ไดจากน้ําเสียโรงงานผลิตแปงมันสําปะหลัง ตั้งอยูที่ จ. นครราชสีมา

• โครงการ Ratchaburi Farms Biogas Project ผลิตไฟฟาจากกาซชีวภาพที่ไดจากน้ําเสียฟารมสุกร ตั้งอยูที่ จ.ราชบุรี

(10) ที่มาสถานภาพโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่นําเสนอ เปนขอมูลจากเว็บไซต UNFCCC

Page 70: CDM Manual

63

4.2.2 ตัวอยางโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดในประเทศไทย

ตัวอยางโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดในประเทศไทยที่จะนําเสนอตอไปนี้ เปนโครงการที่ไดรับการรับรองโดยรัฐบาลไทย และขึ้นทะเบียนกับ CDM EB แลว โครงการ A.T. Biopower Rice Husk Power Project in Pichit, Thailand

โครงการ A.T. Biopower Rice Husk Power Project in Pichit, Thailand เปนโครงการโรงไฟฟาที่ใชแกลบเปนเชื้อเพลิงหลัก พัฒนาโครงการโดยบริษัท เอ ที ไบโอพาวเวอร จํากัด ไดรับการขึ้นทะเบียนกับ CDM EB เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 คาดวาโครงการจะลดปริมาณกาซเรือนกระจกไดปละ 70,772 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา และประเทศในภาคผนวกที่ 1 ที่เปนผูซ้ือ CERs คือ ประเทศญี่ปุน รายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการนําเสนอไวใน ตารางที่ 4.2

ตารางที่ 4.2 รายละเอียดโครงการ A.T. Biopower Rice Husk Power Project in Pichit, Thailand

โครงการ A.T. Biopower Rice Husk Power Project in Pichit, Thailand วันที่โครงการไดขึ้นทะเบียนกับ CDM EB

18 มิถุนายน 2550

ลักษณะโครงการ โครงการจัดอยูในประเภท 1 : Energy industries (renewable - / non-renewable sources) ขนาดโครงการ ขนาดใหญ กาซเรือนกระจกที่ลดลงจากโครงการ

คารบอนไดออกไซด (CO2) และมีเทน (CH4)

กิจกรรมที่ดําเนินการ โรงงานไฟฟาที่ใชแกลบเปนเชื้อเพลิงหลัก โดยมีระบบไฟฟาติดตั้งขนาด 22 MW และไดทําสัญญาขายไฟฟาระยะเวลา 25 ป กับการไฟฟาฝายผลิตแหงปรเทศไทย

เทคโนโลยีที่ใช Suspension-fired boilers ซึ่งเปนเทคโนโลยีที่กอใหเกิดขี้เถาคุณภาพดีจากการเผาไหม ขี้เถาที่เกิดขึ้นสามารถนําไปใชเปนสวนผสมของปูนซีเมนต

สถานที่ต้ัง ประเทศ ไทย จังหวัด/เมือง จังหวัดพิจิตร ผูดําเนินโครงการ ผูดําเนินโครงการ 1 บริษัท เอ ที ไบโอพาวเวอร จํากัด (ประเทศไทย)

Page 71: CDM Manual

64

โครงการ A.T. Biopower Rice Husk Power Project in Pichit, Thailand ผูดําเนินโครงการ 2 Chubu Electric Power Co, Inc. (ประเทศญี่ปุน) ผูดําเนินโครงการ 3 Mitsubishi UFJ Securities Co., Ltd. (ประเทศญี่ปุน) แผนการดําเนินงาน อายุโครงการ อยางนอย 25 ป วันเริ่มตนโครงการ 5 มกราคม 2547 ประเภท crediting period Renewable (7 ป) วันเริ่มตน crediting period 21 ธันวาคม 2548 การคํานวณปริมาณการลดกาซเรือนกระจก ปริมาณกาซที่จะลดไดเฉลี่ยตอป 70,772 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา ปริมาณกาซที่จะลดไดตลอดระยะเวลา crediting period

495,405 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา

กรณีฐานในการพิจารณา พลังงานไฟฟา ระบบผลิตไฟฟาของประเทศไทยที่ดําเนินการอยูแลวและที่อยูในแผนการดําเนินงานตอในอนาคต การใชประโยชนจากแกลบ การนําแกลบไปทิ้งใหยอยสลายเองหรือเผาทิ้งกลางแจง โดยไมไดใชประโยชนทางดานพลังงานแตอยางใด

Additionality - ความเสี่ยงในการนําเทคโนโลยีใหมมาใชกับโครงการ เชน ปญหาจากการใช boiler กับคุณลักษณะเฉพาะของแกลบในประเทศไทย ปญหาจากบุคลากรที่ขาดประสบการณกับการใชเทคโนโลยี

- ความไมแนนอนของวัตถุดิบ (แกลบ) เนื่องจากโรงไฟฟา A.T. Biopower ไมมีผูจัดสงวัตถุดิบหลัก เมื่อเทียบกับโรงไฟฟาแกลบเดิมที่มีอยู แตรับวัตถุดิบจากผูจัดสงรายยอยจํานวนมาก

- เนื่ องจากผูดํ า เนินโครงการตองการลดผลกระทบทางด านสิ่งแวดลอมที่อาจเกิดขึ้นจากขี้เถา โดยการลดปริมาณขี้เถาที่เกิดจากเผาเชื้อเพลิงชีวมวลใหมากที่สุดผานการจําหนายขี้เถาใหกับผูผลิตปูนซีเมนต จึงเกิดความเสี่ยงในเรื่องของคุณลักษณะของขี้เถาวาจะเหมาะสมกับอุตสาหกรรมการผลติปูนซีเมนตเพียงพอหรือไม

- แมวาโรงงานไฟฟาแกลบจะเกิดขึ้นมากอนแลว 9 โครงการในประเทศไทย แตโรงไฟฟาที่เกิดขึ้นแลวทั้งหมดตั้งขึ้นใกลกับหรือเปนเจาของโดยโรงสีขาวหรือโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โรงไฟฟาเหลานั้นมีผูจัดสงวัตถุดิบหลักจึงมีความเสี่ยงทางดานการขาดแคลนวตัถุดิบต่ํา

Page 72: CDM Manual

65

โครงการ A.T. Biopower Rice Husk Power Project in Pichit, Thailand Methodology ที่ใช ACM 0006 (version 04) “Consolidated baseline methodology for

grid-connected electricity generation from biomass residues” ผลกระทบทางดานสิ่งแวดลอม ผลกระทบดานสิ่งแวดลอมที่อาจเกิดขึ้น

- มลพิษทางอากาศ ในรูปของกาซซัลเฟอรไดออกไซด (SO2) และฝุนละอองในอากาศ

- น้ําเสียจากกิจกรรมของโครงการ - ขี้เถาที่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงชีวมวล - เสียงรบกวน

แนวทางในการปองกัน/ลดผลกระทบขางตน

- แผนการเฝาติดตามตรวจวัดมลพิษทางอากาศอยางตอเนื่อง - ติดตามตรวจสอบระดับเสียงตามจุดตางๆใกลพ้ืนที่โรงงานไฟฟา - แมจะไมมีการปลอยน้ําเสียออกนอกบริเวณโรงงาน โดยปลอยให น้ําเสียในบอกักเก็บระเหยเอง ผูดําเนินโครงการจะจัดใหมีการตรวจวัดน้ําเสียในบอ เพื่อควบคุมคุณภาพน้ํา

- หากขี้เถาที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของโครงการเหลือจากการขาย จะมีการฝงกลบในพื้นที่โครงการ

ความคิดเห็นจากผูมีสวนไดสวนเสียจากโครงการ วิธีการ การจัดประชุมและการสํารวจความคิดเห็นจากผูนําชุมชนและผูอยู

อาศัยในชุมชนรอบขาง ความคิดเห็นที่ไดรับ - การสํารวจความคิดเห็น รอยละ 87 เห็นดวยกับโครงการ และรอยละ

2.7 ไมเห็นดวย - การจัดทําประชาพิจารณ รอยละ 89 เห็นดวยกับการจัดทําโครงการซึ่งผลการสํารวจทั้ง 2 ครั้ง อยูในระดับที่สูงกวาเกณฑที่ เปนที่เห็นชอบทั้งในการจัดทํารายงานผลกระทบสิ่งแวดลอมและการเขารวมโครงการผูผลิตไฟฟารายเล็ก (SPP) กับการไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย

Page 73: CDM Manual

66

โครงการ A.T. Biopower Rice Husk Power Project in Pichit, Thailand แนวทางในการมีสวนรวมกับชุมชน

- ผูดําเนินโครงการไดจัดตั้งกองทุนเพื่อปองกันผลกระทบทางดานสิ่งแวดลอมที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมของโครงการ

- การพัฒนาทางดานเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนโดยรอบโครงการ ประกอบดวย การจางงานในชุมชนระหวางการกอสรางและการดําเนินงานของโครงการ การพัฒนาฝมือแรงงาน การปนไอน้ําจากโครงการบางสวนเพื่อใชในการอบขาว การเพิ่มมูลคาแกลบ เปนตน

- นอกจากนี้ ผูดําเนินโครงการไดจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชน โดยกรรมการกองทุน ประกอบดวยผูนําชุมชน ตัวแทนผูดําเนินโครงการ และที่ปรึกษาจากหนวยงานภายนอก โดยกองทุนนี้จะไดใชประโยชนทางดานการศึกษาของเยาวชน ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดลอมในชุมชน

ผลจากโครงการตอการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศไทย (ประเทศเจาบาน) - ผลิตกระแสไฟฟาจากพลังงานชีวมวล ชวยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล - ชวยเสริมสรางความมั่นคงทางดานพลังงานไฟฟาในประเทศ - สอดคลองกับนโยบายของประเทศในการสงเสริมการพัฒนาทางดานพลังงานทดแทน ที่มา: เอกสารประกอบโครงการ A.T. Biopower Rice Husk Power Plant in Pichit, Thailand (version 02) ลงวันที่ 25 มกราคม 2550

โครงการ Korat Waste To Energy

โครงการ Korat Waste To Energy เปนโครงการปองกันการปลอยกาซมีเทนจากการบําบัดน้ําเสียจากโรงงานแปงมันสําปะหลัง โดยใชระบบการบําบัดแบบไรอากาศ พัฒนาโครงการโดยบริษัท สงวนวงศ จํากัด ไดรับการขึ้นทะเบียนกับ CDM EB เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550 คาดวาโครงการจะลดปริมาณกาซเรือนกระจกไดปละ 310,843 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา และประเทศในภาคผนวกที่ 1 ที่เปนผูซ้ือ CERs คือ สหราชอาณาจักรฯ รายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการนําเสนอไวใน ตารางที่ 4.3

ตารางที่ 4.3 รายละเอียดโครงการ Korat Waste To Energy

โครงการ Korat Waste To Energy วันที่โครงการไดขึ้นทะเบียนกับ CDM EB

16 มิถุนายน 2550

ลักษณะโครงการ โครงการจัดอยูในประเภท 13 : Waste handling and disposal

Page 74: CDM Manual

67

โครงการ Korat Waste To Energy ขนาดโครงการ ขนาดใหญ กาซเรือนกระจกที่ลดลงจากโครงการ

คารบอนไดออกไซด (CO2) และมีเทน (CH4)

กิจกรรมที่ดําเนินการ การติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสียแบบไรอากาศ เพื่อปองกันการปลอยกาซมีเทน ซึ่งเปนสวนประกอบหลักในกาซชีวภาพ จากน้ําเสียโรงงานแปงมันสําปะหลัง และนํากาซชีวภาพที่กักเก็บไดมาใชแทนน้ํามันเตา นอกจากนี้ กาซชีวภาพที่เหลือยังไดนํามาใชผลิตไฟฟา

เทคโนโลยีที่ใช Anaerobic Baffled Reactor (ABR) สถานที่ต้ัง ประเทศ ไทย จังหวัด/เมือง จังหวัดนครราชสีมา ผูดําเนินโครงการ ผูดําเนินโครงการ 1 บริษัท โคราช เวสท ทู เอ็นเนอรยี จํากัด (ประเทศไทย) ผูดําเนินโครงการ 2 EcoSecurities Group plc. (ประเทศสหราชอาณาจักรฯ) ผูดําเนินโครงการ 3 - แผนการดําเนินงาน อายุโครงการ 20 ป วันเริ่มตนโครงการ 1 พฤษภาคม 2546 ประเภท crediting period Fixed (10 ป) วันเริ่มตน crediting period 1 พฤษภาคม 2546 การคํานวณปริมาณการลดกาซเรือนกระจก ปริมาณกาซที่จะลดไดเฉลี่ยตอป 310,843 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา ปริมาณกาซที่จะลดไดตลอดระยะเวลา crediting period

3,108,427 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา

กรณีฐานในการพิจารณา การบําบัดน้ําเสียแบบบอเปดที่ใชอยูเดิม

Page 75: CDM Manual

68

โครงการ Korat Waste To Energy Additionality - ความเสี่ยงในการติดตั้งและเดินระบบบําบัดน้ําเสียแบบไรอากาศ

โดยใชเทคโนโลยี ABR ซึ่งเปนเทคโนโลยีใหม สวนประกอบของอุปกรณติดตั้งระบบน้ําเสียตองนําเขาจากตางประเทศ และความไมชํานาญของบุคลากรในประเทศในการเดินระบบ

- ความเสี่ยงทางดานการเงิน โดยการติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสียแบบไรอากาศเชิงพาณิชยของโครงการ KWTE ผูลงทุนตางชาติรับความเสี่ยงทั้งหมดทางดานการเงิน ทั้งความผกผันของคาเงินบาท ประกอบกับความไมมั่นคงทางการเมืองในประเทศไทย

- ความเสี่ยงทางดานสังคม เนื่องจากชุมชนรอบขางคุนเคยกับระบบบําบัดแบบบอเปดเดิม ชุมชนโดยรอบขาดความเชื่อมั่นดานความปลอดภัย (กลัวเหตุกาซระเบิด) เมื่อติดตั้งระบบปดเพื่อกักเก็บกาซชีวภาพ

Methodology ที่ใช AM0022 (version 04) “Avoided wastewater and on-site energy use emissions in the industrial sector”

ผลกระทบทางดานสิ่งแวดลอม ผลกระทบดานสิ่งแวดลอมที่อาจเกิดขึ้น

คาดวาจะเกิดผลกระทบในเชิงบวกจากการติดตั้งระบบน้ําเสียแบบไรอากาศ ไดแก ลดการปลดปลอยกาซชีวภาพออกสูบรรยากาศ ปรับปรุงคุณภาพน้ําเสีย ลดการพึ่งพาการใชเช้ือเพลิงฟอสซิล เปนตน

แนวทางในการปองกัน/ลดผลกระทบขางตน

-

ความคิดเห็นจากผูมีสวนไดสวนเสียจากโครงการ วิธีการ การจัดประชาพิจารณ โดยผูเขารวมมาจากทั้งภาครัฐ องคกรพัฒนา

เอกชน (NGOs) สถาบันการศึกษา ฯลฯ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2545 โดยในการจัดประชุมมีการนําเสนอขอมูลโครงการและความเขาใจเกี่ยวกับโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด

ความคิดเห็นที่ไดรับ - แนวทางในการมีสวนรวมกับชุมชน

-

Page 76: CDM Manual

69

โครงการ Korat Waste To Energy ผลจากโครงการตอการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศไทย (ประเทศเจาบาน) - นับเปนโครงการเทคโนโลยีสะอาดสาธิตระดับประเทศ เพื่อเปนแบบอยางตอไป - ชวยกระจายและสรางความมั่นคงทางดานพลังงาน และลดการพึ่งพาการนําเขาพลังงานจากนอกประเทศ

- สรางการจางงานทั้งในระยะกอสรางและดําเนินโครงการ - เปนการเพิ่มมูลคาการผลิตมันสําปะหลัง - การนําของเหลือทิ้งมาใชประโยชน (กาซชีวภาพที่เดิมปลอยทิ้งจากบอเปด) ที่มา: เอกสารประกอบโครงการ Korat Waste To Energy (version 04) ลงวันที่ 16 มีนาคม 2550

4.2.3 ตัวอยางโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดในตางประเทศ

ตัวอยางโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดในตางประเทศที่จะนําเสนอตอไปนี้ คือ • โครงการ Ningguo Cement Plant 9100KW Waste Heat Recovery and Utilisation

for Power Generation Project of Anhui Conch Cement Co. Ltd, ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

• โครงการ Energy Efficiency Measures At Paper Production Plant, ประเทศอินเดีย ซ่ึงทั้ง 2 โครงการไดรับการรับรองโดยรัฐบาลของประเทศเจาบาน และขึ้นทะเบียนกับ CDM EB แลว

โครงการ Ningguo Cement Plant 9100KW Waste Heat Recovery and Utilisation for Power Generation Project of Anhui Conch Cement Co. Ltd, ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

โครงการ Ningguo Cement Plant 9100KW Waste Heat Recovery and Utilisation for Power Generation Project of Anhui Conch Cement Co. Ltd เปนโครงการกักเก็บลมรอนทิ้ง (waste heat) จากกระบวนการผลิตปูนเม็ด เพื่อนํามาผลิตไฟฟา พัฒนาโครงการโดย บริษัท Anhui Conch Cement จํากัด ไดรับการขึ้นทะเบียนกับ CDM EB เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2550 คาดวาโครงการจะลดปริมาณกาซเรือนกระจกไดปละ 54,907 ตันคารบอนไดออกไซด และประเทศในภาคผนวกที่ 1 ที่เปนผูซ้ือ CERs คือ สหราชอาณาจักรฯ รายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการนําเสนอไวใน ตารางที่ 4.4

Page 77: CDM Manual

70

ตารางที่ 4.4 รายละเอียดโครงการ Ningguo Cement Plant 9100KW Waste Heat Recovery and Utilisation for Power Generation Project of Anhui Conch Co. Ltd

โครงการ Ningguo Cement Plant 9100KW Waste Heat Recovery and Utilisation for Power Generation Project of Anhui Conch Co. Ltd วันที่โครงการไดขึ้นทะเบียนกับ CDM EB

4 พฤษภาคม 2550

ลักษณะโครงการ โครงการจัดอยูในประเภท 1 : Energy industries (renewable - / non-renewable sources)

4 : Manufacturing industries ขนาดโครงการ ขนาดใหญ กาซเรือนกระจกที่ลดลงจากโครงการ

คารบอนไดออกไซด (CO2)

กิจกรรมที่ดําเนินการ โครงการกักเก็บลมรอนทิ้งจากกระบวนการผลิตปูนเม็ด เพื่อนํามาผลิตไฟฟา

เทคโนโลยีที่ใช 1. Pre-heater boiler 2. Air quenching cooler boiler 3. กังหันไอน้ํา 4. เครื่องปนไฟฟา

สถานที่ต้ัง ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน จังหวัด/เมือง มณฑลอันหุย เมืองหนิงกั่ว ผูดําเนินโครงการ ผูดําเนินโครงการ 1 Anhui Conch Cement Company limited (ประเทศสาธารณรัฐ

ประชาชนจีน) ผูดําเนินโครงการ 2 CAMCO International Limited (ประเทศสหราชอาณาจักรฯ) ผูดําเนินโครงการ 3 - แผนการดําเนินงาน อายุโครงการ 15 ป วันเริ่มตนโครงการ 29 กรกฎาคม 2549 ประเภท crediting period Fixed (10 ป) วันเริ่มตน crediting period 1 เมษายน 2550 การคํานวณปริมาณการลดกาซเรือนกระจก ปริมาณกาซที่จะลดไดเฉลี่ยตอป 54,907 ตันคารบอนไดออกไซด

Page 78: CDM Manual

71

โครงการ Ningguo Cement Plant 9100KW Waste Heat Recovery and Utilisation for Power Generation Project of Anhui Conch Co. Ltd ปริมาณกาซที่จะลดไดตลอดระยะเวลา crediting period

549,070 ตันคารบอนไดออกไซด

กรณีฐานในการพิจารณา พลังงานไฟฟาที่ใชในโรงงานปูน Ningguo ซื้อจาก East China Power Network และลงทุนในธุรกิจหลัก โดยการเพิ่มกําลังการผลิต

Additionality - ผลตอบแทนการลงทุนในโครงการต่ํากวาการลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจซีเมนต

- Anhui Conch Cement ขาดวามชํานาญในดานเทคโนโลยีการนําลมรอนมาใชผลิตไฟฟา แมผลตอบแทนในการลงทุนจะใกลเคียงกัน จากความชํานาญในธุรกิจซีเมนต Anhui จะเลือกลงทุนในโครงการที่มีความชํานาญมากกวาเพื่อลดความเสี่ยง

- เทคโนโลยีการนําลมรอนทิ้งมาใชผลิตไฟฟาเปนเทคโนโลยีที่ตองนาํเขาจากตางประเทศ แมเดิมจะมีการนําเทคโนโลยีนี้มาใชในธุรกิจซีเมนตแลว 2 โครงการ แตทั้งสองโครงการไดรับการสนับสนุนทางดานการเงินจากรัฐบาลญี่ปุน

- บุคลากรขาดความชํานาญ เนื่องจากเปนเทคโนโลยีใหม Methodology ที่ใช AM0022 (version 04) “Avoided wastewater and on-site energy use

emissions in the industrial sector” ผลกระทบทางดานสิ่งแวดลอม ผลกระทบดานสิ่งแวดลอมที่อาจเกิดขึ้น

คาดวาจะเกิดผลกระทบในเชิงบวก มีเพียงเสียงรบกวนเพียงเล็กนอยจากระบบผลิตไฟฟาที่ติดต้ังใหม เนื่องจากอุปกรณที่ติดต้ังอยูในพ้ืนที่ปด และปมน้ําถูกติดตั้งต่ํากวาระดับผิวดิน

แนวทางในการปองกัน/ลดผลกระทบขางตน

-

ความคิดเห็นจากผูมีสวนไดสวนเสียจากโครงการ วิธีการ - การจัดประชุมซึ่งประกอบดวยผูอยูอาศัยในพื้นที่ เจาหนาที่ภาครัฐ

และตัวแทนจากผูดําเนินโครงการ - การปรึกษาหารือรวมกับเจาหนาที่ภาครัฐระดับทองถิ่น และไดรับหนังสือรับรองสนับสนุนโครงการ

- การปรึกษาหารือรวมกับสมาคมพาณิชยระดับมณฑล (local provincial trade association) ซึ่งเปนองคกรพัฒนาเอกชนและมีสวนรวมเกี่ยวกับขอปฏิบัติที่ดีสําหรับผูประกอบอุตสาหกรรมซีเมนต และไดรับหนังสือรับรองสนับสนุนโครงการ

ความคิดเห็นที่ไดรับ -

Page 79: CDM Manual

72

โครงการ Ningguo Cement Plant 9100KW Waste Heat Recovery and Utilisation for Power Generation Project of Anhui Conch Co. Ltd แนวทางในการมีสวนรวมกับชุมชน

-

ผลจากโครงการตอการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (ประเทศเจาบาน) - เพิ่มการใชพลังงานสะอาดและความมั่นคงทางดานพลังงานของประเทศจีน - สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีการใชประโยชนจากลมรอนทิ้งมาผลิตไฟฟา ซึ่งนําไปพัฒนาใชเพื่อการประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรมอื่นไดเชนกัน

- สนับสนุนการใชพลังงานอยางมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมซีเมนต ที่มา: เอกสารประกอบโครงการ Ningguo Cement Plant 9100KW Waste Heat Recovery and Utilisation for Power Generation Project of Anhui Conch Co.Ltd (version 04) ลงวันที่ 19 มกราคม 2550

โครงการ Energy Efficiency Measures At Paper Production Plant, ประเทศอินเดีย

โครงการ Energy Efficiency Measures At Paper Production Plant เปนโครงการที่พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใชพลังงานตอหนวยการผลิตโดยการนําเทคโนโลยีประหยัดพลังงานมาใชในกระบวนการผลิต พัฒนาโครงการโดย บริษัท Andhra Pradesh Paper Mills Limited ไดรับการขึ้นทะเบียนกับ CDM EB เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2550 คาดวาโครงการจะลดปริมาณกาซเรือนกระจกไดปละ 2,877 ตันคารบอนไดออกไซด รายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการนําเสนอไวใน ตารางที่ 4.5

ตารางที่ 4.5 รายละเอียดโครงการ Energy Efficiency Measures At Paper Production Plant

โครงการ Energy Efficiency Measures At Paper Production Plant ลักษณะโครงการ โครงการจัดอยูในประเภท 4 : Manufacturing industries ขนาดโครงการ ขนาดเล็ก กาซเรือนกระจกที่ลดลงจากโครงการ

คารบอนไดออกไซด (CO2)

กิจกรรมที่ดําเนินการ ลดการใชพลังงานตอหนวยการผลิตโดยการนําเทคโนโลยีประหยัดพลังงานมาใชในกระบวนการผลิต

เทคโนโลยีที่ใช 1. Variable Frequency Drive 2. Efficient Equipments 3. Optimisation in operation of equipment and controls

Page 80: CDM Manual

73

โครงการ Energy Efficiency Measures At Paper Production Plant สถานที่ต้ัง ประเทศ ประเทศอินเดีย จังหวัด/เมือง Rajahmundry ผูดําเนินโครงการ ผูดําเนินโครงการ 1 Andhra Pradesh Paper Mills Limited (ประเทศอินเดีย) ผูดําเนินโครงการ 2 - ผูดําเนินโครงการ 3 - แผนการดําเนินงาน อายุโครงการ 15 ป วันเริ่มตนโครงการ 7 กุมภาพันธ 2543 ประเภท crediting period Fixed (10 ป) วันเริ่มตน crediting period 16 กรกฎาคม 2543 การคํานวณปริมาณการลดกาซเรือนกระจก ปริมาณกาซที่จะลดไดเฉลี่ยตอป 2,877 ตันคารบอนไดออกไซด ปริมาณกาซที่จะลดไดตลอดระยะเวลา crediting period

28,768 ตันคารบอนไดออกไซด

กรณีฐานในการพิจารณา การใชพลังงานไฟฟากอนติดตั้งโครงการและหลังการติดตั้งโครงการ

Page 81: CDM Manual

74

โครงการ Energy Efficiency Measures At Paper Production Plant Additionality - ขอจํากัดในการทําโครงการ เนื่องมาจากความไมเขาใจถึงโครงการ

กลไกพัฒนาที่สะอาด ทําใหไมแนใจและไมมั่นใจถึงประโยชนของการทําโครงการ - ความไมมั่นใจในการลงทุนดานเทคโนโลยีใหม เนื่องมาจากเครื่องจักรที่ใชในการผลิตกระดาษเปนเครื่องจักรที่มีอายุการใชงานมานาน การทําโครงการโดยการติดตั้งอุปกรณใหมๆ อาจเกิดความเสี่ยงดานเทคโนโลยีได ทําใหโครงการอาจจะไมสําเร็จตามเปาหมายได - ความไมคุนเคยในเทคโนโลยีใหมๆ ของพนักงาน และความไมมั่นใจในการกําหนดคาควบคุมใหมๆ อยางเชน ความไมมั่นใจในการเปลี่ยนคาความดันลมที่ใชในกระบวนการผลิต พนักงานอาจมีความกังวลและไมมั่นใจในการกําหนดคาใหม เพราะอาจทําใหเกิดความเสียหายตอกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑได ซึ่งอาจจะมีมากกวาความประหยัดที่ไดจากการกําหนดคาใหม - เนื่องจากการลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรเกาใหมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อการประหยัดพลังงานและชวยลดปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกนั้นเปนการลงทุนที่สูงสําหรับโรงงานในอินเดีย ในมุมมองทางดานธุรกิจ การลงทุนเปลี่ยนมาใชเครื่องจักรที่ทันสมัยขึ้นจะมีความคุมมากกวาการลงทุนในการปรับปรุงเครื่องจักรเกา - ในประเทศอินเดียไมมีกฏหมายหรือขอกําหนดใดๆ ที่ผูกมัดในโรงงานดําเนินการในเรื่องของการอนุรักษพลังงาน

- การขาดจิตสํานึกที่ดีในการอนุรักษพลังงานของกลุมโรงงานอุตสาหกรรมในอินเดีย

- การขาดแคลนองคความรูในเรื่องของการจัดการดานพลังงานและการอนุรักษในอินเดีย

Methodology ที่ใช AMS-II.D (version 07) “Energy efficiency and fuel switching measure for industrial facilities”

ผลกระทบทางดานสิ่งแวดลอม ผลกระทบดานสิ่งแวดลอมที่อาจเกิดขึ้น

การดําเนินโครงการไมมีผลกระทบหลักตอสิ่งแวดลอม

แนวทางในการปองกัน/ลดผลกระทบขางตน

-

ความคิดเห็นจากผูมีสวนไดสวนเสียจากโครงการ วิธีการ -

Page 82: CDM Manual

75

โครงการ Energy Efficiency Measures At Paper Production Plant ความคิดเห็นที่ไดรับ - แนวทางในการมีสวนรวมกับชุมชน

-

ผลจากโครงการตอการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศอินเดีย (ประเทศเจาบาน) - ลดปริมาณการใชไฟฟาตอหนวยการผลิต - ลดปริมาณการปลอยกาซคารบอนไดออกไซด - ลดปริมารการใชแหลงเชื้อเพลิงปฐมภูมิ เชน ถานหิน ที่มา: เอกสารประกอบโครงการ Energy Efficiency Measures At Paper Production Plant (version 02) ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2549

4.3 เทคโนโลยีในการลดกาซเรือนกระจก

การลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมสามารถทําไดในหลายวิธี โดยวิธีที่นิยมมากที่สุดสําหรับภาคการผลิตจะใชวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการใชพลังงาน และสําหรับภาคของเสียจะใชการบริหารจัดการของเสียที่เกิดขึ้น ตัวอยางของเทคโนโลยีในการลดกาซเรือนกระจกในทั้ง 2 ภาคแสดงไวใน ตารางที่ 4.6

ตารางที่ 4.6 เทคโนโลยีการลดกาซเรือนกระจก

ภาคการผลิต ภาคการจัดการของเสีย • Cogeneration system • Fuel Switching method • Motor System • Boiler System • Lighting System • Refrigeration & HVAC System • Solar and Ozone Technology • HV Substation and MV/LV Industrial

Power System and Power Quality • Productivity Improvement

• Biogas Recovery Technology • Waste-To-Energy system • Biomass Gasification • Carbon Capture and Storage (CCS) • Heat Recovery System

ที่มา: บริษัท อีอารเอ็ม-สยาม, 2550

สําหรับคูมือฉบับนี้จะยกตัวอยางในการลดกาซเรือนกระจกดวยการใชเทคโนโลยีกาซชีวภาพ (Biogas Recovery Technology) ในภาคการจัดการของเสีย

Page 83: CDM Manual

76

4.3.1 การลดกาซเรือนกระจกดวยเทคโนโลยีกาซชีวภาพ

หนึ่งในภาคหลักที่สงผลตอการปลดปลอยกาซเรือนกระจกในประเทศไทย ไดแก ภาคการจัดการของเสียนี้ ซ่ึงเปนผลที่เกี่ยวของโดยตรงจากภาคอุตสาหกรรมจากน้ําเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตในโรงงาน ประเทศไทยเปนประเทศที่พื้นฐานสวนใหญของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทผลิตภัณฑทางการเกษตรแปรรูปซึ่งวัตถุดิบที่ไดสวนใหญมาจากการเกษตร วัตถุดิบจากการเกษตรเหลานี้มีสวนประกอบหลัก คือ สารประกอบจําพวกคารบอน ซ่ึงสงผลใหน้ําเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตจากโรงงานเหลานี้เต็มไปดวยปริมาณสารอินทรียที่สามารถยอยสลายไดตามกระบวนการในธรรมชาติ น้ําเสียเหลานี้เองเปนแหลงกําเนิดที่สําคัญของกาซชีวภาพซึ่งมีสวนประกอบเปนกาซมีเทน (CH4) สูงถึงรอยละ 60-70 ของปริมาณกาซชีวภาพที่เกิดขึ้นทั้งหมด กาซมีเทนจัดเปนกาซเรือนกระจกที่มีความศักยภาพในการทําลายชั้นโอโซน (Global Warming Potential: GWP) สูงกวากาซคารบอนไดออกไซด (CO2) ถึง 21 เทา อยางไรก็ตาม เราสามารถบริหารจัดการกับกระบวนการดังกลาวโดยใชเทคโนโลยีกาซชีวภาพ ซ่ึงจะเปนการบริหารจัดการน้ําเสียตั้งแตเร่ิมตนออกจากกระบวนการผลิตไปจนถึงการปลดปลอยน้ําทิ้งออกนอกโรงงาน รูปที่ 4.7 แสดงผังอยางงายของมาตรการลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกเมื่อนําเทคโนโลยีการผลิตกาซชีวภาพมาใช

รูปท่ี 4.7 ระบบผลิตกาซชีวภาพ

ที่มา: บริษัท อีอารเอ็ม-สยาม, 2550

นํ้าเสียจากกระบวนการผลิต

ระบบผลิตกาซชีวภาพ

ระบบผลิตกาซชีวภาพ

กาซชีวภาพนําไปใชเปนพลังงานหมุนเวียน

นํ้าท้ิงท่ีไดมาตรฐาน

ปุยชีวภาพ

Page 84: CDM Manual

77

น้ําเสียจากอุตสาหกรรมในประเทศไทยทีม่ีศักยภาพในการกอใหเกิดกาซชีวภาพ ไดแก • อุตสาหกรรมน้ําตาล • อุตสาหกรรมเบียรและสุรา • อุตสาหกรรมแปรรูปผลไม • อุตสาหกรรมปศุสัตว • อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว • อุตสาหกรรมน้ํามันปาลม • อุตสาหกรรมกระดาษ • อุตสาหกรรมฟอกยอมผา • อุตสาหกรรมอาหารแชแข็ง • อุตสาหกรรมอาหารกระปอง • อุตสาหกรรมอาหารพรอมปรุง • อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม • อุตสาหกรรมผลิตเสนหมี่และกวยเตีย๋ว • อุตสาหกรรมแปงมันสําปะหลังและแปงขาว

โรงงานในกลุมอุตสาหกรรมเหลานี้ หากไมมีการบริหารจัดการกับของเสียที่เกิดขึ้นอยางถูกตองจะทําใหกาซชีวภาพซึ่งไดแก กาซมีเทน ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติถูกปลดปลอยข้ึนสูช้ันบรรยากาศและกอใหเกิดปญหาโลกรอนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามมานั่นเอง

4.3.2 เทคโนโลยีกาซชีวภาพ

เทคโนโลยีกาซชีวภาพเปนเทคโนโลยีที่ใชในการจัดการของเสียที่มีสารประกอบสวนใหญเปนสารอินทรียที่ยอยสลายได ระบบนี้จึงจัดเปนวิธีการบําบัดของเสียดวยวิธีการทางธรรมชาติโดยการสรางระบบที่เลียนแบบธรรมชาติและออกแบบใหระบบมีอัตราในการการบําบัดของเสียใหสูงขึ้น ระบบที่ไดจึงมีขนาดเล็กลง ตองการพื้นที่นอยลง ระบบกาซชีวภาพจะถูกออกแบบใหเปนระบบปด เพื่อรวบรวมและเก็บกักกาซชีวภาพที่เกิดขึ้นเพื่อนําไปใชประโยชนเปนพลังงานทดแทน อีกทั้งยังเปนการปองกันไมใหเกิดการปลดปลอยกาซชีวภาพสูบรรยากาศ

Page 85: CDM Manual

78

กาซชีวภาพจัดเปนพลังงานทดแทนชนิดหนึ่งที่สามารถนําไปใชประโยชนไดหลายอยาง อาทิเชน การนําไปใชเปนเชื้อเพลิงโดยตรงทดแทนการใชน้ํามันเตาหรือกาซธรรมชาติในหมอตมไอน้ํา (boiler) และการนําไปใชในการผลิตกระแสไฟฟาเพื่อลดการใชไฟฟาจาก grid หรือในบางกรณียังมีไฟฟาที่เหลือจากการผลิตสงขายคืน grid ไดอีกดวย การนํากาซชีวภาพไปใชประโยชนจะชวยลดปญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือปญหาโลกรอนลงอยางมีนัยสําคัญ ในการที่จะคํานวณปริมาณกาซมีเทนที่ลดลงไดจากโครงการนั้น สามารถศึกษาไดจาก • AM0013 “Avoided methane emissions from organic waste-water treatment”

(Version 4) • AM0022 “Avoided wastewater and on-site energy use emissions in the industrial

sector” (Version 4) • AMS-III.H “Methane recovery in wastewater treatment”

ดังนั้น จะเห็นไดวาโดยทั่วไปการนําเทคโนโลยีกาซชีวภาพมาใชสามารถลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกได 2 ทาง ไดแก

1) จากกาซชีวภาพที่ถูกเก็บรวบรวมไมถูกปลดปลอยขึ้นสูบรรยากาศ ซ่ึงทําใหสามารถหลีกเลี่ยงการปลดปลอยกาซมีเทนจากระบบฯ ได

2) จากการลดการใชเชื้อเพลิงเดิมโดยการนํากาซชีวภาพไปใชเปนพลังงานทดแทน ซ่ึงสงผลใหสามารถลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกที่เกิดจากการใชเชื้อเพลิงเดิมลงได

อยางไรก็ตาม ในการประเมินปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกที่ลดลงจําเปนจะตองทําการวิเคราะหเปนรายกรณีไป เนื่องจากในแตละโครงการอาจจะมีคาพื้นฐานที่ใชในการเปรียบเทียบกรณีฐาน (baseline) แตกตางกัน ผลที่ไดจากการลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกจึงมีคาแตกตางกัน เพื่อเปนการเปรียบเทียบใหเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นในการลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกโดยการนําเทคโนโลยีกาซชีวภาพมาใช ตารางที่ 4.7 แสดงผลในการกําจัดคาสารอินทรียจากน้ําเสียหรือคาซีโอดี (COD) จํานวน 1 กิโลกรัม ดวยวิธีการบําบัดน้ําเสียแบบตางๆ ซ่ึง

Page 86: CDM Manual

79

แสดงใหเห็นถึงการลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกดวยการไมปลดปลอยกาซชีวภาพขึ้นสูบรรยากาศ

ตารางที่ 4.7 การบําบัดน้าํเสียดวยแบบตางๆ และผลที่เกิดขึ้นตามมา

วิธีการบําบัดน้ําเสีย ปริมาณไฟฟาที่ใชเติมอากาศ (kWh/kg COD)

ปริมาณกาซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการใชไฟฟา (kg CO2e/kg COD)

ปริมาณกาซมีเทนที่เกิดขึ้นจากระบบฯ (m3 CH4/kg COD)

ปริมาณกาซเรือนกระจกที่ถูกปลดปลอยสูบรรยากาศ (kg CO2e/kg COD)

ระบบใชอากาศแบบเรงตะกอน

0.5 0.26 ~0 0.26

ระบบบอหมักไมใชอากาศแบบเปด

0 0 0.4 6.4

ระบบผลิตกาซชีวภาพ

0 0 0.4 ~0

ที่มา: บริษัท อีอารเอ็ม-สยาม, 2550

หมายเหต ุ - ปริมาณกาซเรือนกระจกที่ปลดปลอยสูบรรยากาศเกิดจากกาซเรือนกระจกจาก

การใชไฟฟาในระบบรวมกับปริมาณกาซชีวภาพจากการบําบัดน้ําเสียที่ถูกปลดปลอยสูบรรยากาศ

- สมมติฐานให Emission Factor ของการใชไฟฟาสําหรับประเทศไทยเทากับ 0.52 kg CO2/kWh

- สมมติฐานให ระบบผลิตกาซชีวภาพสามารถรวบรวมกาซที่เกิดขึ้นไดรอยละ 100 - กําหนดคาความหนาแนนของกาซมีเทนประมาณ 0.715 กิโลกรัมตอ ลบ.ม.

และศักยภาพในการทําลายชั้นโอโซนของกาซมีเทนเทากับ 21 เทา นอกจากนั้นเทคโนโลยีนี้ยังถือเปนการบริหารจัดการของเสีย โดยชวยลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น รวมทั้งยังสามารถนําของเสียกลับไปใชใหมในกระบวนการผลิตไดอีกดวย เทคโนโลยีนี้จึงสามารถลดตนทุนในการผลิตสินคาของโรงงานอุตสาหกรรมลงได

Page 87: CDM Manual

80

เทคโนโลยีการผลิตกาซชีวภาพที่นิยมใชกันอยางแพรหลายทั้งในและตางประเทศ ประกอบไปดวย 3 ประเภทหลัก ไดแก

1) ระบบบําบัดน้าํเสียแบบยเูอเอสบี (UASB: Upflow Anaerobic Sludge Blanket) 2) ระบบบําบัดน้าํเสียบอหมักแบบปด (Anaerobic Covered Lagoon) 3) ระบบบําบัดน้าํเสียแบบกวนผสมสมบูรณ (Completely Mixed Reactor)

โดยมีรายละเอยีดเพิ่มเติมดังที่จะนําเสนอตอไปนี ้ ระบบบําบัดน้าํเสียแบบยเูอเอสบี

ระบบยูเอเอสบีเปนเทคโนโลยีชีวภาพแบบไรออกซิเจน ที่เพาะเลี้ยงและคัดเลือกแบคทีเรียประเภทไมใชอากาศ (anaerobic bacteria) ในถังปฏิกิริยาใหเปนเม็ด (granular sludge) ขนาด 1-5 มิลลิเมตร ซ่ึงมีน้ําหนักมากอยูสวนลางของถัง โดยมีความเขมขน 50,000-100,000 มิลลิกรัมตอลิตร เหมาะสําหรับใชบําบัดน้ําเสียอุตสาหกรรม โดยมีประสิทธิภาพบําบัดคาซีโอดีไดมากกวารอยละ 80 และมีอัตราภาระบรรทุกสารอินทรียสูงถึง 5-20 กิโลกรัมซีโอดีตอลูกบาศกเมตรตอวัน หลักการทํางานของระบบยูเอเอสบีนั้น เมือ่สูบน้ําเสียเขาสูดานลางของถัง น้ําเสียจะคอยๆไหลผานชัน้ตะกอนขึ้นมา ทาํใหสารอนิทรยีและมลสารตางๆ ถูกกําจัดออกไปโดยแบคทีเรียประเภทไมใชอากาศ กาซชีวภาพที่เกิดขึน้จากการยอยสลายสารอินทรียในน้ําเสียจะชวยในการผสมน้ําเสียใหสัมผัสตะกอนแบคทีเรียไดอยางสมบูรณ ดานบนของถังปฏิกิริยาจะมีอุปกรณที่เรียกวา Gas Solid Separator (GSS) ซ่ึงทําหนาที่แยกกาซ ตะกอนแบคทีเรีย และน้ําทิ้งออกจากกัน น้ําทิ้งจะระบายไปยังระบบบําบัดขั้นทีส่อง กาซชีวภาพจะถูกรวบรวมสงไปใชเปนเชื้อเพลิงซึ่งมีกาซมีเทนอยูประมาณรอยละ 60-70 ตะกอนแบคทีเรียจะจมกลับลงไปสูดานลางของถังปฏิกริิยา รูปที่ 4.8 แสดงตัวอยางระบบยูเอเอสบ ี

Page 88: CDM Manual

81

รูปท่ี 4.8 ตัวอยางระบบยูเอเอสบี

ที่มา: บริษัท อีอารเอ็ม-สยาม, 2550

ระบบบําบัดน้าํเสียบอหมักแบบปด

ระบบบําบัดน้ําเสียบอหมักแบบปดหรือที่นิยมเรียกกันวา “โคเวอรลากูน” (รูปที่ 4.9) นั้น เปนระบบแบบบอหมักที่มีการออกแบบ โดยนําแผนพลาสติกโพลีเอททาลีน (Polyethylene หรือ PE) มาปกคลุมบอ เพื่อกักเก็บกาซชีวภาพที่เกิดขึ้นจากการยอยสลายของสารอินทรียในน้ําเสีย กลไกการยอยสลายคาซีโอดีนั้นจะใชแบคทีเรียไมใชอากาศประเภทเดียวกับระบบยูเอเอสบี เพียงแตในกรณีนี้แบคทีเรียอาจจะไมมีการรวมตัวกันเปนเม็ดขนาดใหญ รวมทั้งไมมีการกวนผสมที่ดีระหวางน้ําเสียกับแบคทีเรีย จึงทําใหอัตราการบําบัดน้ําเสียชากวาระบบยูเอเอสบี ระบบที่ไชจึงมีขนาดที่ใหญกวา แตอยางไรก็ตามระบบนี้จะมีขอไดเปรียบจากการที่ใชเงินลงทุนกอสรางที่ต่ํากวา เนื่องจากสามารถใชบอขุดดินเปนถังปฏิกิริยาได อีกทั้งระบบยงัสามารถรับภาระจากน้ําเสียของโรงงานที่มีของแข็งแขวนลอยในน้ําเสียและสามารถรับการเปลี่ยนแปลงของลักษณะน้ําเสียไดดีกวา ระบบนี้จึงมีการนําไปใชอยางแพรหลายในฟารมเลี้ยงสุกรและโรงงานแปรรูปสัตวตางๆ

Page 89: CDM Manual

82

รูปท่ี 4.9 ตัวอยางระบบบําบัดน้าํเสียบอหมักแบบปด

ที่มา: บริษัท อีอารเอ็ม- สยาม, 2550

ระบบบําบัดน้าํเสียแบบกวนผสมสมบูรณ

ระบบนี้เปนระบบที่พัฒนามาจากระบบบอหมักแบบปด โดยออกแบบใหมีการกวนผสมที่ดีขึ้น ทําใหสามารถลดระยะเวลาที่ตองการในการบําบัดน้ําเสียลงได ถังปฏิกิริยาจะถูกออกแบบใหเปนถังทรงกระบอกสูง โดยสวนใหญมักเปนถังเหล็ก ภายในมีการติดตั้งเครื่องกวนเพื่อชวยกวนผสมน้ําเสียที่ถูกปอนเขาสูถังกับแบคทีเรียไมใชอากาศที่อยูภายในถัง ดังนั้นระบบนี้จึงสามารถบําบัดน้ําเสียที่มีความเขมขนสูงๆ ไดดี อาทิ เชน น้ําเสียจากโรงงานสกัดน้ํามันปาลม อยางไรก็ตาม น้ําทิ้งที่ออกจากระบบนี้มักจะมีปริมาณของแข็งแขวนลอยเจือปนอยูในปริมาณที่มาก ซ่ึงสวนใหญเปนแบคทีเรียที่เกิดขึ้นจากระบบ ดังนั้นจึงจะตองมีถังหรือบอรองรับตามหลังและหมุนเวียนนําของแข็งแขวนลอยกลับมายังถังปฏิกิริยาหลักใหมเพื่อปองกันการสูญเสียแบคทีเรียจนหมดจากระบบ

รูปท่ี 4.10 ตัวอยางระบบบําบัดน้าํเสยีแบบกวนผสมสมบูรณ

ที่มา: บริษัท อีอารเอ็ม-สยาม, 2550

Page 90: CDM Manual

83

4.3.3 ตัวอยางการนาํเทคโนโลยีกาซชีวภาพมาไปใชในภาคอุตสาหกรรม

โรงงานผลิตแปงมันสําปะหลัง

อุตสาหกรรมแปงมันสําปะหลังเปนอุตสาหกรรมที่กอใหเกิดของเสีย ในปริมาณมาก ซ่ึงผลกระทบดานสิ่งแวดลอมเกิดขึ้นจากกระบวนการลาง การปอกเปลือก และการสกัดแปง โดยทั่วไปแปงมันสําปะหลัง 1 ตัน กอใหเกิดน้ําเสียประมาณ 10-15 ลบ.ม. ซ่ึงน้ําเสียนี้มีภาระความสกปรกของสารอินทรียสูง (ปริมาณคาซีโอดีของน้ําเสียประมาณ 20,000-25,000 มก.ตอลิตร) นอกจากนี้ กระบวนการผลิตยังกอใหเกิดของเสียในรูปของแข็ง ไดแก เปลือก ราก และกากมันสําปะหลัง

ปจจุบันระบบกาซชีวภาพถูกนํามาใชในโรงงานผลิตแปงมันสําปะหลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบดังกลาวเปนที่ยอมรับวาสามารถลดตนทุนของโรงงาน รวมท้ังลดผลกระทบดานมลภาวะทางน้ําอีกดวย น้ําเสียจากกระบวนการผลิตเปนวัตถุดิบหลักที่ปอนเขาสูระบบกาซชีวภาพเพื่อผลิตกาซชีวภาพ ซ่ึงสวนใหญจะอยูในรูปของกาซมีเทน กาซดังกลาวจะถูกนําไปเปนเชื้อเพลิงในหัวเผา (burner) เพื่อทดแทนการใชน้ํามันเตา สําหรับผลิตลมรอนที่ใชในกระบวนการอบแปง ซ่ึงในการใชระบบกาซชีวภาพนี้จะชวยลดปริมาณการใชน้ํามันเตาและลดภาระความสกปรกของสารอินทรียในน้ําเสียลงไดอีกดวย

รูปท่ี 4.11 การใชเทคโนโลยีกาซชีวภาพในโรงงานผลิตแปงมันสําปะหลัง

ที่มา: บริษัท อีอารเอ็ม- สยาม, 2550

จากรูปที่ 4.11 จะเห็นวาทุกครั้งที่มีการใชหัวมันในการผลิต 1 ตัน จะสามารถผลิตแปงมันไดประมาณ 200 กิโลกรัม ซ่ึงเมื่อนําระบบกาซชีวภาพมาใชจะสามารถผลิตกาซชีวภาพจากน้ําเสียไดประมาณ 18 ลบ.ม.ตอวัน

Page 91: CDM Manual

84

ซ่ึงเมื่อพิจารณาในกรณีที่โรงงานแปงมันสําปะหลังมีกําลังการผลิตแปงมันสําปะหลัง 200 ตันตอวัน จะพบวามีน้ําเสียเกิดขึ้นประมาณ 2,000 ลบ.ม.ตอวัน โดยจะสามารถผลิตกาซชีวภาพไดประมาณ 18,000 ลบ.ม.ตอวัน การกอสรางระบบผลิตกาซชีวภาพขนาดนี้จะใชเงินลงทุนคากอสรางประมาณ 40-50 ลานบาท หรือประมาณ 1.2-1.4 บาทตอ 1 ลบ.ม.ของกาซชีวภาพที่ผลิตได (ในกรณีที่กําหนดอายุของระบบที่ประมาณ 15 ป) เมื่อกําหนดกรณีฐานใหโรงงานแปงมันสําปะหลังแหงหนึ่งใชระบบน้ําเสียแบบบอเปดและใชน้ํามันเตาในหัวเผาภายในโรงงานสําหรับกระบวนการอบแปง เมื่อโรงงานแหงนี้ติดตั้งเทคโนโลยีกาซชีวภาพและรวบรวมกาซชีวภาพไดรอยละ 90 ของกาซที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยนําไปใชทดแทนน้ํามันเตาในหัวเผา โรงงานแหงนี้จะชวยลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกได โดย • จากการไมปลดปลอยกาซชีวภาพขึ้นสูบรรยากาศจํานวนประมาณ 158 ตัน

คารบอนไดออกไซดเทียบเทาตอวัน • จากการลดการใชน้ํามันเตาประมาณ 9,000 ลิตรตอวัน ซ่ึงจะสามารถลดการ

ปลดปลอยกาซเรือนกระจกจํานวน 34.6 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทาตอวัน (การใชน้ํามันเตา 1 ลิตร จะปลดปลอยกาซเรือนกระจกประมาณ 3.845 กิโลกรัมคารบอนไดออกไซดเทียบเทา)

โดยสรุปแลว โรงงานแหงนี้สามารถลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกไดประมาณ 192.6 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทาตอวัน หรือคิดเปน 0.96 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทาตอการผลิตแปงมันสําปะหลัง 1 ตัน

Page 92: CDM Manual

85

5 บทสรุป

ประเทศไทยเปนประเทศหนึ่งที่ตระหนักถึงความสําคัญของการแกไขปญหาภาวะโลกรอน โดยประเทศไทยไดมีการลงนามใหสัตยาบันตออนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 และลงนามใหสัตยาบันในพิธีสารเกียวโตเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 เพื่อรวมกับนานาประเทศในการชวยแกปญหาสภาวะโลกรอนจากการลดปริมาณกาซเรือนกระจก ซ่ึงผลจากการลงนามใหสัตยาบันครั้งนั้นทําใหประเทศไทยเขาไปมีสวนรวมในการลดปริมาณกาซเรือนกระจก โดยการดําเนินโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ซ่ึงเปนเพียงกลไกเดียวภายใตพิธีสารเกียวโตที่ใหประเทศกําลังพัฒนามีสวนรวมในการลดปริมาณกาซเรือนกระจก และชวยใหเกิดการพัฒนาประเทศอยางยั่งยืน ในการดําเนินโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาดไดมีการแบงประเภทโครงการออกเปน 15 ประเภทโครงการ ไดแก อุตสาหกรรมดานพลังงาน อุตสาหกรรมการจําหนายพลังงาน การใชพลังงาน อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมเคมี การกอสราง การขนสง แรและผลิตภัณฑแร ผลิตภัณฑโลหะ กิจกรรมการปลอยกาซเรือนกระจกทางออมจากเชื้อเพลิง กิจกรรมการปลอยกาซเรือนกระจกทางออมจากกระบวนการผลิตและการใช halocarbons และ sulphur hexafluoride การใชสารละลาย การจัดการของเสีย การปลูกปา และการฟนฟูปา และการเกษตร อยางไรก็ตาม เพื่อใหการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดเปนไปมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จึงไดมีการแบงประเภทโครงการออกเปนโครงการขนาดเล็ก อีก 4 ประเภทโครงการ คือ โครงการพลังงานหมุนเวียน ที่มีกําลังการผลิตสูงสุดไมเกิน 15 MWe โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใชพลังงาน ที่สามารถลดการใชพลังงานไดไมเกิน 15 GWh ตอป โครงการอื่นๆ ที่สามารถลดปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย โดยที่โครงการดังกลาวมีการปลดปลอยกาซเรือนกระจกไมเกิน 15,000 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา และโครงการปลูกปาและการฟนฟูสภาพปาขนาดเล็ก ที่มีการดูดซับกาซเรือนกระจกไมเกิน 8,000 ตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทาตอป ทั้งนี้โครงการขนาดเล็กชวยใหผูดําเนินโครงการสามารถดําเนินโครงการไดรวดเร็วขึ้น เนื่องจากมีขั้นตอนที่งายและกระชับขึ้น

Page 93: CDM Manual

86

สําหรับขั้นตอนที่สําคัญที่เจาของโครงการภายใตกลไกการพัฒนาที่สะอาด จะตองนํามาใชในการพิจารณาดําเนินโครงการ CDM ไดแก • ขั้นตอนการจัดทําเอกสารประกอบแนวคิดโครงการ (Project Idea Note: PIN) เปนการ

จัดทําเอกสาร เพื่อใหผูดําเนินโครงการ CDM สามารถเห็นภาพรวมของโครงการ CDM ไดงายขึ้น ซ่ึงในการจัดทํา PIN นั้น มิไดเปนขั้นตอนที่จําเปนในการดําเนินโครงการ CDM ตามขอกําหนดของ Executive Board (EB)

• ขั้นตอนการจัดทําเอกสารประกอบโครงการ (Project Design Document: PDD) เปนการจัดทําเอกสารเพื่อนําเสนอรายละเอียดตางๆ ของโครงการตามรูปแบบที่ EB ไดกําหนด ซ่ึงประกอบดวยสาระสําคัญ 5 หัวขอ ไดแก รายละเอียดทั่วไปของโครงการ วิธีการที่ใชในการคํานวณและแผนการติดตามปริมาณการลดการปลอยกาซเรือนกระจก ขอมูลระยะเวลาของอายุโครงการ และระยะเวลาการคิดเครดิต ขอมูลผลกระทบดานสิ่งแวดลอม และขอคิดเห็นจากผูที่เกี่ยวของอื่นๆ

• ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ (Validation) เปนขั้นตอนตรวจสอบเอกสารภายใตความรับผิดชอบของ 2 หนวยงาน คือหนวยงานปฏิบัติการในการตรวจสอบ (DOE) ทําหนาที่ตรวจสอบเอกสารวาเปนไปตามขอกําหนดตางๆ ในการดําเนินโครงการ CDM หรือไม และองคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องคการมหาชน) ทําหนาที่ในการพิจารณาเอกสารประกอบโครงการ เพื่อยืนยันวาโครงการที่เสนอนั้น เปนโครงการที่มีสวนชวยในการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศ หรือไม

• ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนโครงการ (Registration) เปนขั้นตอนการพิจารณาของ EB เพื่อพิจารณาในรายละเอียดตางๆ ของโครงการกอนที่จะดําเนินการการตัดสินวาจะอนุญาตใหมีการขึ้นทะเบียนโครงการนั้นเปนโครงการ CDM หรือไม

• ขั้นตอนการยืนยันและการรับรองการลดกาซเรือนกระจก และการออกคารบอนเครดิตท่ีไดจากการดําเนินโครงการ CDM (Verification, Certification and Issuance of CERs) เปนขั้นตอนที่ DOE จะดําเนินการตรวจสอบและการรับรองการรายงานผลการลดปริมาณกาซเรือนกระจก กอนที่จะนําเสนอให EB ในการพิจารณาออก Certified Emission Reduction (CER)

• การซื้อขายเครดิตท่ีไดจากการดําเนินโครงการ CDM เปนขั้นตอนการซื้อขายในลักษณะการตกลงกันระหวางผูดําเนินโครงการและผูที่สนใจจะซื้อคารบอนเครดิต ซ่ึงราคาการซื้อขายคารบอนเครดิตจะเปนไปตามอุปสงคและอุปทานของตลาด โดยราคาการซื้อโดยเฉลี่ยในชวงป พ.ศ. 2548 - 2549 มีราคาซื้อขายอยูระหวาง 7.5 – 11 เหรียญ

Page 94: CDM Manual

87

สหรัฐตอตันคารบอนไดออกไซดเทียบเทา ซ่ึงราคาซื้อขายนั้นจะขึ้นอยูกับคุณภาพของโครงการในการลดกาซเรือนกระจก ชวงเวลาการซื้อขาย และความเสี่ยงในการซื้อขาย

สถานภาพปจจุบันของโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่ไดพัฒนาขึน้มีรวมอยูทัว่โลกมากกวา 2,100 โครงการ และมีจํานวน 762 โครงการที่ไดรับการอนุมตัิจาก CDM EB ใหขึ้นทะเบยีนเปนโครงการ CDM โดยในประเทศไทยไดมีโครงการที่ไดรับการขึ้นทะเบียนแลว จํานวน 3 โครงการ อยางไรก็ตาม ในการดําเนินโครงการ CDM เพื่อลดการปลอยกาซเรือนกระจกนั้น สามารถดําเนินการไดหลายประเภท โดยแตละประเภทมีตนทุนตอตันคารบอนไดออกไซดที่ลดไดแตกตางกัน จากการวิเคราะหเบื้องตน พบวา ในประเทศไทยสาขาพลังงานเปนสาขาที่มีศักยภาพและความพรอมในการลดกาซเรือนกระจกมากที่สุด (รวมถึงการลดการปลอยกาซมีเทนจากของเสียเพื่อใชเปนพลังงาน) โดยแบงลักษณะโครงการออกเปน 3 ประเภทหลัก คือ • การผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียน • การผลิตและใชเชื้อเพลิงชีวภาพ • การปรับปรุงประสิทธิภาพการใชพลังงาน

หนึ่งในภาคหลักที่สงผลตอการปลดปลอยกาซเรือนกระจกในประเทศไทย ไดแก ภาคการจัดการของเสีย ซ่ึงเปนผลที่เกี่ยวของโดยตรงจากภาคอุตสาหกรรม น้ําเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตในโรงงานเปนแหลงกําเนิดที่สําคัญของกาซชีวภาพซึ่งมีสวนประกอบของกาซมีเทนสูงถึงรอยละ 60-70 ดังนั้นจะเห็นไดวาโดยทั่วไปการนําเทคโนโลยีกาซชีวภาพมาใชจะชวยใหสามารถลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกได 2 ทาง คือ • จากกาซชีวภาพที่ถูกรวบรวมไมถูกปลดปลอยข้ึนสูบรรยากาศ ซ่ึงทําใหสามารถ

หลีกเลี่ยงการปลดปลอยกาซมีเทนจากระบบฯ ได • จากการลดการใชเชื้อเพลิงเดิมโดยการนํากาซชีวภาพไปใชเปนพลังงานทดแทน ซ่ึง

สงผลใหสามารถลดการปลดปลอยกาซเรอืนกระจกที่เกิดจากการใชเชือ้เพลิงเดมิลงได อยางไรก็ตาม ในการประเมินปริมาณการปลดปลอยกาซเรือนกระจกที่ลดลงจําเปนจะตองทําการวิเคราะหเปนรายกรณีไป เนื่องจากในแตละโครงการอาจจะมีคาพื้นฐานที่ใชในการ

Page 95: CDM Manual

88

เปรียบเทียบกรณีฐานแตกตางกัน ผลที่ไดจากการลดการปลดปลอยกาซเรือนกระจกจึงมีคาแตกตางกัน

Page 96: CDM Manual

ภาคผนวก ก

เอกสารประกอบโครงการ (PROJECT DESIGN DOCUMENT: PDD)

Page 97: CDM Manual

PROJECT DESIGN DOCUMENT FORM (CDM PDD) - Version 03.1. CDM – Executive Board page 1

CLEAN DEVELOPMENT MECHANISM PROJECT DESIGN DOCUMENT FORM (CDM-PDD)

Version 03 - in effect as of: 28 July 2006

CONTENTS A. General description of project activity B. Application of a baseline and monitoring methodology C. Duration of the project activity / crediting period D. Environmental impacts E. Stakeholders’ comments

Annexes Annex 1: Contact information on participants in the project activity Annex 2: Information regarding public funding Annex 3: Baseline information

Annex 4: Monitoring plan

Page 98: CDM Manual

PROJECT DESIGN DOCUMENT FORM (CDM PDD) - Version 03.1. CDM – Executive Board page 2 SECTION A. General description of project activity A.1 Title of the project activity: >> A.2. Description of the project activity: >> A.3. Project participants: >> A.4. Technical description of the project activity: A.4.1. Location of the project activity: >> A.4.1.1. Host Party(ies): >> A.4.1.2. Region/State/Province etc.: >> A.4.1.3. City/Town/Community etc: >> A.4.1.4. Detail of physical location, including information allowing the unique identification of this project activity (maximum one page): >> A.4.2. Category(ies) of project activity: >> A.4.3. Technology to be employed by the project activity: >>

A.4.4 Estimated amount of emission reductions over the chosen crediting period: >> A.4.5. Public funding of the project activity: >>

Page 99: CDM Manual

PROJECT DESIGN DOCUMENT FORM (CDM PDD) - Version 03.1. CDM – Executive Board page 3 SECTION B. Application of a baseline and monitoring methodology B.1. Title and reference of the approved baseline and monitoring methodology applied to the project activity: >> B.2 Justification of the choice of the methodology and why it is applicable to the project activity: >> B.3. Description of the sources and gases included in the project boundary >> B.4. Description of how the baseline scenario is identified and description of the identified baseline scenario: >> B.5. Description of how the anthropogenic emissions of GHG by sources are reduced below those that would have occurred in the absence of the registered CDM project activity (assessment and demonstration of additionality): >> B.6. Emission reductions:

B.6.1. Explanation of methodological choices: >>

B.6.2. Data and parameters that are available at validation: (Copy this table for each data and parameter) Data / Parameter: Data unit: Description: Source of data used: Value applied: Justification of the choice of data or description of measurement methods and procedures actually applied :

Any comment: B.6.3 Ex-ante calculation of emission reductions: >> B.6.4 Summary of the ex-ante estimation of emission reductions: >>

Page 100: CDM Manual

PROJECT DESIGN DOCUMENT FORM (CDM PDD) - Version 03.1. CDM – Executive Board page 4 B.7 Application of the monitoring methodology and description of the monitoring plan:

B.7.1 Data and parameters monitored: (Copy this table for each data and parameter) Data / Parameter: Data unit: Description: Source of data to be used:

Value of data applied for the purpose of calculating expected emission reductions in section B.5

Description of measurement methods and procedures to be applied:

QA/QC procedures to be applied:

Any comment: B.7.2 Description of the monitoring plan:

>> B.8 Date of completion of the application of the baseline study and monitoring methodology and the name of the responsible person(s)/entity(ies) >> SECTION C. Duration of the project activity / crediting period C.1 Duration of the project activity: C.1.1. Starting date of the project activity: >> C.1.2. Expected operational lifetime of the project activity: >>

Page 101: CDM Manual

PROJECT DESIGN DOCUMENT FORM (CDM PDD) - Version 03.1. CDM – Executive Board page 5 C.2 Choice of the crediting period and related information: C.2.1. Renewable crediting period C.2.1.1. Starting date of the first crediting period: >> C.2.1.2. Length of the first crediting period: >> C.2.2. Fixed crediting period: C.2.2.1. Starting date: >> C.2.2.2. Length: >> SECTION D. Environmental impacts >> D.1. Documentation on the analysis of the environmental impacts, including transboundary impacts: >> D.2. If environmental impacts are considered significant by the project participants or the host Party, please provide conclusions and all references to support documentation of an environmental impact assessment undertaken in accordance with the procedures as required by the host Party: >> SECTION E. Stakeholders’ comments >> E.1. Brief description how comments by local stakeholders have been invited and compiled: >> E.2. Summary of the comments received: >> E.3. Report on how due account was taken of any comments received: >>

Page 102: CDM Manual

PROJECT DESIGN DOCUMENT FORM (CDM PDD) - Version 03.1. CDM – Executive Board page 6

Annex 1

CONTACT INFORMATION ON PARTICIPANTS IN THE PROJECT ACTIVITY Organization: Street/P.O.Box: Building: City: State/Region: Postfix/ZIP: Country: Telephone: FAX: E-Mail: URL: Represented by: Title: Salutation: Last Name: Middle Name: First Name: Department: Mobile: Direct FAX: Direct tel: Personal E-Mail:

Page 103: CDM Manual

PROJECT DESIGN DOCUMENT FORM (CDM PDD) - Version 03.1. CDM – Executive Board page 7

Annex 2

INFORMATION REGARDING PUBLIC FUNDING

Page 104: CDM Manual

PROJECT DESIGN DOCUMENT FORM (CDM PDD) - Version 03.1. CDM – Executive Board page 8

Annex 3

BASELINE INFORMATION

Annex 4

MONITORING INFORMATION

- - - - -

Page 105: CDM Manual

ภาคผนวก ข

วิธีการคํานวณการลดกาซเรือนกระจกที่ไดรับการอนุมัติแลว

Page 106: CDM Manual

ข1

Number Methodology Title Sectoral Scope วิธีการคํานวณสําหรับโครงการ CDM ขนาดใหญ (ยกเวนโครงการดานปาไม)

Approved Large Scale Methodologies (49) AM0001 Incineration of HFC23 Waste Streams 11 AM0002 Greenhouse gas emission reductions through landfill gas capture

and flaring where the baseline is established by a public concession contract

13

AM0003 Simplified financial analysis for landfill gas capture projects 13 AM0007 Analysis of the least-cost fuel option for seasonally-operating

biomass cogeneration plants 1, 4

AM0009 Recovery and utilization of gas from oil wells that would otherwise be flared

10

AM0010 Landfill gas capture and electricity generation projects where landfill gas capture is not mandated by law

1, 13

AM0011 Landfill gas recovery with electricity generation and no capture or destruction of methane in the baseline scenario

13

AM0013 Avoided methane emissions from organic waste-water treatment 13 AM0014 Natural gas-based package cogeneration 1, 4 AM0017 Steam system efficiency improvements by replacing steam traps

and returning condensate 3

AM0018 Steam optimization systems 3 AM0019 Renewable energy project activities replacing part of the electricity

production of one single fossil-fuel-fired power plant that stands alone or supplies electricity to a grid, excluding biomass projects

1

AM0020 Baseline methodology for water pumping efficiency improvements 3 AM0021 Baseline Methodology for decomposition of N2O from existing

adipic acid production plants 5

AM0022 Avoided Wastewater and On-site Energy Use Emissions in the Industrial Sector

13

AM0023 Leak reduction from natural gas pipeline compressor or gate stations

10

AM0024 Methodology for greenhouse gas reductions through waste heat recovery and utilization for power generation at cement plants

1, 4

AM0025 Avoided emissions from organic waste through alternative waste treatment processes

1, 13

Page 107: CDM Manual

ข2

Number Methodology Title Sectoral Scope AM0026 Methodology for zero-emissions grid-connected electricity

generation from renewable sources in Chile or in countries with merit order based dispatch grid

1

AM0027 Substitution of CO2 from fossil or mineral origin by CO2 from renewable sources in the production of inorganic compounds

5

AM0028 Catalytic N2O destruction in the tail gas of Nitric Acid or Caprolactam Production Plants

5

AM0029 Methodology for Grid Connected Electricity Generation Plants using Natural Gas

1

AM0030 PFC emission reductions from anode effect mitigation at primary aluminium smelting facilities

9

AM0031 Methodology for Bus Rapid Transit Projects 7 AM0033 Use of non-carbonated calcium sources in the raw mix for cement

processing 4

AM0034 Catalytic reduction of N2O inside the ammonia burner of nitric acid plants

5

AM0035 SF6 Emission Reductions in Electrical Grids 1, 11 AM0036 Fuel switch from fossil fuels to biomass residues in boilers for heat

generation 1, 4

AM0037 Flare reduction and gas utilization at oil and gas processing facilities

5, 10

AM0038 Methodology for improved electrical energy efficiency of an existing submerged electric arc furnace used for the production of SiMn

9

AM0039 Methane emissions reduction from organic waste water and bioorganic solid waste using co-composting

13

AM0040 Baseline and monitoring methodology for project activities using alternative raw materials that contain carbonates in clinker manufacturing in cement kilns

4

AM0041 Mitigation of Methane Emissions in the Wood Carbonization Activity for Charcoal Production

4

AM0042 Grid-connected electricity generation using biomass from newly developed dedicated plantations

1, 14

Page 108: CDM Manual

ข3

Number Methodology Title Sectoral Scope AM0043 Leak reduction from a natural gas distribution grid by replacing old

cast iron pipes with polyethylene pipes 10

AM0044 Energy efficiency improvement projects: boiler rehabilitation or replacement in industrial and district heating sectors

1

AM0045 Grid connection of isolated electricity systems 1 AM0046 Distribution of efficient light bulbs to households 3 AM0047 Production of biodiesel based on waste oils and/or waste fats from

biogenic origin for use as fuel 1, 5

AM0048 New cogeneration facilities supplying electricity and/or steam to multiple customers and displacing grid/off-grid steam and electricity generation with more carbon-intensive fuels

1

AM0049 Methodology for gas based energy generation in an industrial facility

1, 4

AM0050 Feed switch in integrated Ammonia-urea manufacturing industry 5 AM0051 Secondary catalytic N2O destruction in nitric acid plants 5 AM0052 Increased electricity generation from existing hydropower stations

through Decision Support System optimization 1

AM0053 Biogenic methane injection to a natural gas distribution grid 1, 5 AM0054 Energy efficiency improvement of a boiler by introducing oil/water

emulsion technology 1

AM0055 Baseline and Monitoring Methodology for the recovery and utilization of waste gas in refinery facilities

1, 4

AM0056 Efficiency improvement by boiler replacement or rehabilitation and optional fuel switch in fossil fuel-fired steam boiler systems

1

AM0057 Avoided emissions from biomass wastes through use as feed stock in pulp and paper production

4, 13

Approved Consolidated Methodologies (11)

ACM0001 Consolidated methodology for landfill gas project activities 13 ACM0002 Consolidated methodology for grid-connected electricity

generation from renewable sources 1

ACM0003 Emissions reduction through partial substitution of fossil fuels with alternative fuels or less carbon intensive fuels in cement manufacture

4

Page 109: CDM Manual

ข4

Number Methodology Title Sectoral Scope ACM0005 Consolidated Methodology for Increasing the Blend in Cement

Production 4

ACM0006 Consolidated methodology for electricity generation from biomass residues

1

ACM0007 Methodology for conversion from single cycle to combined cycle power generation

1

ACM0008 Consolidated methodology for coal bed methane and coal mine methane capture and use for power (electrical or motive) and heat and/or destruction by flaring

8, 10

ACM0009 Consolidated methodology for industrial fuel switching from coal or petroleum fuels to natural gas

1, 4

ACM0010 Consolidated methodology for GHG emission reductions from manure management systems

13, 15

ACM0011 Consolidated baseline methodology for fuel switching from coal and/or petroleum fuels to natural gas in existing power plants for electricity generation

1

ACM0012 Consolidated baseline methodology for GHG emission reductions for waste gas or waste heat or waste pressure based energy system”

1, 4

วิธีการคํานวณสําหรับโครงการ CDM ขนาดใหญ ดานปาไม

Approved Afforestation and Reforestation Methodologies (8) AR-AM0001 Reforestation of degraded land 14 AR-AM0002 Restoration of degraded lands through afforestation/reforestation 14 AR-AM0003 Afforestation and reforestation of degraded land through tree

planting, assisted natural regeneration and control of animal grazing

14

AR-AM0004 Reforestation or afforestation of land currently under agricultural use

14

AR-AM0005 Afforestation and reforestation project activities implemented for industrial and/or commercial uses

14

AR-AM0006 Afforestation/Reforestation with Trees Supported by Shrubs on Degraded Land

14

AR-AM0007 Afforestation and Reforestation of Land Currently Under Agricultural or Pastoral Use

14

Page 110: CDM Manual

ข5

Number Methodology Title Sectoral Scope AR-AM0008 Afforestation or reforestation on degraded land for sustainable

wood production 14

วิธีการคํานวณสําหรับโครงการ CDM ขนาดเล็ก (ยกเวนโครงการดานปาไม)

Approved Small-Scales Methodologies (24) AMS-I.A. Electricity generation by the user 1 AMS-I.B. Mechanical energy for the user with or without electrical energy 1 AMS-I.C. Thermal energy for the user with or without electricity 1 AMS-I.D. Grid connected renewable electricity generation 1 AMS-II.A Supply side energy efficiency improvements – transmission and

distribution 2

AMS-II.B. Supply side energy efficiency improvements – generation 1 AMS-II.C. Demand-side energy efficiency activities for specific technologies 3 AMS-II.D. Energy efficiency and fuel switching measures for industrial

facilities 4

AMS-II.E. Energy efficiency and fuel switching measures for buildings 3 AMS-II.F. Energy efficiency and fuel switching measures for agricultural

facilities and activities 3

AMS-III.A. Agriculture AMS-III.B. Switching fossil fuels 1 AMS-III.C. Emission reductions by low-greenhouse gas emitting vehicles 7 AMS-III.D. Methane recovery in agricultural and agro industrial activities 15 AMS-III.E. Avoidance of methane production from biomass decay through

controlled combustion 13

AMS-III.F. Avoidance of methane production from decay of biomass through composting

13

AMS-III.G. Landfill methane recovery 13 AMS-III.H. Methane recovery in wastewater treatment 13 AMS-III.I. Avoidance of methane production in wastewater treatment through

replacement of anaerobic lagoons by aerobic systems 13

AMS-III.J. Avoidance of fossil fuel combustion for carbon dioxide production to be used as raw material for industrial processes

5

AMS-III.K. Avoidance of methane release from charcoal production by shifting from pit method to mechanized charcoaling process

4

Page 111: CDM Manual

ข6

Number Methodology Title Sectoral Scope AMS-III.L. Avoidance of methane production from biomass decay through

controlled pyrolysis 13

AMS-III.M. Reduction in consumption of electricity by recovering soda from paper manufacturing process

5

AMS-III.N. Avoidance of HFC emissions in rigid Poly Urethane Foam (PUF) manufacturing

4

วิธีการคํานวณสําหรับโครงการ CDM ขนาดเล็ก ดานปาไม

Approved Small-Scale A/R Methodologies (1) AR-AMS0001 Simplified baseline and monitoring methodologies for small-scale

afforestation and reforestation project activities under the clean development mechanism implemented on grasslands or croplands

1

ที่มา: เว็บไซต UNFCCC ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Page 112: CDM Manual

ภาคผนวก ค

ประเภทโครงการที่เขาขายการจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม (EIA)

Page 113: CDM Manual

ค1

โครงการหรือกิจกรรม ขนาด

เขื่อนเก็บน้ําหรืออางเก็บน้ํา ที่มีปริมาตรเก็บกักน้ําตั้งแต 100 ลาน ลบ.ม.หรือ มีพ้ืนที่เก็บกักน้ําตั้งแต 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป

การชลประทาน ที่มีพ้ืนที่การชลประทานตั้งแต 80,000 ไรขึ้นไป สนามบินพาณิชย ทุกขนาด ระบบทางพิเศษตามกฎหมายวาดวยการทางพิเศษ หรือโครงการที่มีลักษณะเชนเดียวกับการทางพิเศษ หรือระบบขนสงมนชนที่ใชราง

ทุกขนาด

การทําเหมืองตามกฎหมายวาดวยแร ทุกขนาด นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายวาดวยนิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเชนเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม

ทุกขนาด

ทาเรือพาณิชย สามารถรับเรือขนาดตั้งแต 500 ตันกรอสขึ้นไป

โรงไฟฟาพลังความรอน ที่มีกําลังผลิตกระแสไฟฟาตั้งแต 10 เมกกะวัตต ขึ้นไป

การอุตสาหกรรม - อุตสาหกรรมปโตรเคมีที่ใชวัตถุดิบ:

และ/หรือการแยกกาซธรรมชาติในกระบวนการผลิต

- อุตสาหกรรมกลั่นนํามันปโตรเลียม - อุตสาหกรรมแยกหรือแปรสภาพกาซ

ธรรมชาติ - อุตสาหกรรมคลอแอลคาไลน ที่ใช

โซเดียมคอลไรด เปนวัตถุดิบในการผลิตโซเดียมคารบอเนต โซเดียมไฮดรอกไซด กรอไฮโดรคอลริค คลอรีน โซเดียมไฮโพคลอไรด และปูนคลอรีน

- อุตสาหกรรมเหล็กและ/หรือเหล็กกลา - อุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต - อุตสาหกรรมถลุงแรหรือหลอมโลหะ ซึ่ง

มิใชอุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกลา - อุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ

ต้ังแต 100 ตันตอวันขึ้นไป ทุกขนาด ทุกขนาด

ที่มีกําลังผลิตสารดังกลาวแตละชนิดหรือรวมกันต้ังแต 100 ตันตอวันขึ้นไป

ที่มีกําลังผลิตต้ังแต 100 ตันตอวันขึ้นไป ทุกขนาด ที่มีกําลังผลิตต้ังแต 50 ตันตอวันขึ้นไป ที่มีกําลังผลิตต้ังแต 50 ตันตอวันขึ้นไป

โครงการทุกประเภทที่อยูในพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีไดมีมติเห็นชอบ กําหนดใหเปนพื้นที่ลุมน้ําช้ัน 1บี

ทุกขนาด

การถมที่ดินในทะเล ทุกขนาด อาคารที่ต้ังอยูริมแมน้ํา ฝงทะเล ทะเลสาบ หรือชายหาด หรือที่อยูใกล หรือในอุทยานแหงชาติ หรืออุทยานประวัติศาสตร ซึ่งเปนบริเวณที่อาจจะกอใหเกิดผลกระทบกระเทือนตอคุณภาพ

อาคารที่มีขนาด 1. ความสูงตั้งแต 23 เมตรขึ้นไป หรือ 2. ที่มีพ้ืนที่รวมกันทุกช้ันหรือช้ันหนึ่งช้ันใด ในหลังเดียวกัน ต้ังแต 10,000 ตร.ม.ขึ้นไป

Page 114: CDM Manual

ค2

โครงการหรือกิจกรรม ขนาด สิ่งแวดลอม การจัดสรรที่ดินเพื่อเปนที่อยูอาศัย หรือเพื่อประกอบการพาณิชย

จํานวนที่ดินแปลงยอยต้ังแต 500 แปลงขึ้นไป หรือ เนื้อที่เกินกวา 100 ไร

โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล - กรณีต้ังอยูริมแมน้ํา ฝงทะเล ทะเลสาบ

หรือชายหาด ซึ่งเปนบริเวณที่อาจจะกอใหเกิดผลกระทบกระเทือนตอคุณภาพสิ่งแวดลอม

- กรณีโครงการที่ไมอยูในขอ 1.

ที่มีเตียงสําหรับผูปวยไวคางคืนตั้งแต 30 เตียง ขึ้นไป ที่มีเตียงสําหรับผูปวยไวคางคืนตั้งแต 60 เตียง ขึ้นไป

อุตสาหกรรมผลิตสารออกฤทธิ์ หรือ สารที่ใชปองกันหรือกําจัดศัตรูพืชหรือสัตวโดยกระบวนการทางเคมี

ทุกขนาด

อุตสาหกรรมผลิตปุยเคมีโดยกระบวนการทางเคมี ทุกขนาด ทางหลวงหรือถนน ซึ่งมีความหมายตามกฎหมายวาดวยทางหลวง ที่ตัดผานพื้นที่ดังตอไปน้ี

- พ้ืนที่เขตรักษาพันธสัตวปาและเขตหามลาสัตวปาตามกฎหมาย วา ดวยการสงวนและคุมครองสัตวปา

- พ้ืนที่เขตอุทยานแหงชาติตามกฎหมายวาดวยอุทยานแหงชาติ

- พ้ืนที่เขตลุมน้ําช้ัน 2 ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแลว

- พ้ืนที่เขตปาชายเลนที่เปนปาสงวนแหงชาติ

- พ้ืนที่เขตฝงทะเลในระยะ 50 เมตรหางจากระดับน้ําทะเลขึ้นสูงสุด

ทุกขนาดที่เทียบเทาหรือสูงกวามาตรฐานต่ําสุดของทางหลวง ชนบทขึ้นไป โดยรวมความถึงการกอสรางคันทางใหมเพิ่มเติมจากคันทางที่มีอยู

โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศ ที่มีจํานวนหองพักตั้งแต 80 หองขึ้นไป อาคารอยูอาศัยรวมตามกฎหมายวาดวยการควบคุมอาคาร

ที่มีจํานวนหองพักตั้งแต 80 หองขึ้นไป

โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม เฉพาะสิ่งปฎิกูลหรือวัสดุที่ไมใชแลวตามกฎหมายวาดวยโรงงาน ทุกขนาด

อุตสาหกรรมประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ําตาล - การทําน้ําตาลทรายดิบ น้ําตาลทรายขาว

น้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ ์- การทํากลูโคล เดกซโทรส ฟรักโทส

หรือผลิตภัณฑอื่นที่คลายคลึงกัน

ทุกขนาด ที่มีกําลังการผลิตตั้งแต 20 ตันตอวันขึ้นไป

Page 115: CDM Manual

ค3

โครงการหรือกิจกรรม ขนาด การพัฒนาปโตรเลียม

- การสํารวจและ/หรือผลิตปโตรเลียม - ระบบการขนสงปโตรเลียมและน้ํามัน

เช้ือเพลิงทางทอ

ทุกขนาด ทุกขนาด

Page 116: CDM Manual

ภาคผนวก ง

แบบสอบถามสถานะโครงการภายใตกลไกการพัฒนาท่ีสะอาด และ แบบการประเมินโครงการ CDM ตามหลักเกณฑการพัฒนาที่ยั่งยืนสําหรับผูดําเนนิโครงการ

Page 117: CDM Manual

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม 27 มีนาคม 2549

แบบสอบถามสถานะโครงการภายใตกลไกการพัฒนาท่ีสะอาด ผูตอบแบบสอบถาม _____________________________ ตําแหนง _____________________________________วันที่ __________________ 1. ชื่อโครงการ 2. ประเภทโครงการ (โปรดเลือก)

2.1 โครงการผลิตกระแสไฟฟาจากกาซชีวภาพ 2.2 โครงการผลิตกระแสไฟฟาจากเช ือเพลิงชีวภาพ 2.3 โครงการผลิตกกัเก็บมีเทนจากหลุมฝงกลบขยะ 2.4 โครงการอื่นๆ (โปรดระบ)ุ ___________________

3. เอกสารโครงการทีเกี่ยวของ (โปรดเลือก)

3.1 Project Idea Note (PIN) 3.2 Project Design Document (PDD) 3.3 รายงานการประเมินผลกระทบสิง่แวดลอมเบื้องตน (IEE) 3.4 รายงานการวิเคราะหผลกระทบสิง่แวดลอม (EIA) 3.5 CDM Project Prevalidation Report 3.6 เอกสารอื่นๆ (โปรดระบ)ุ _________________

4. การดาํเนินงานที่ผานมา (โปรดตอบคําถาม)

4.1 จัดทํา Project Idea Note (PIN) แลวเสร็จ วัน_______ เดือน________ ป________ 4.2 จัดทํา Project Design Document (PDD) แลวเสร็จ วัน_______ เดือน________ ป________ 4.3 วันที่ Meth Panel รับรอง Methodology ของโครงการ วัน_______ เดือน________ ป________ 4.4 วันที่ Validator เร่ิมตรวจสอบโครงการในพื้นที่ วัน_______ เดือน________ ป________ 4.5 วันที่เริ่มดําเนนิโครงการ วัน_______ เดือน________ ป________ 4.6 วันที่เริ่มมีการลดกาซเรือนกระจก วัน_______ เดือน________ ป________

แบบสอบถามเลขที่ 1-2550/_________

Page 118: CDM Manual

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม 27 มีนาคม 2549

5. ผูมีสวนเกี่ยวของกับโครงการภายใตกลไกการพฒันาที่สะอาด (โปรดระบ)ุ

5.1 เจาของโครงการ ____________________________ 5.2 เจาของโครงการรวม 1 (หากม)ี ____________________________ 5.3 เจาของโครงการรวม 2 (หากม)ี ____________________________ 5.4 DOE (Validator) ____________________________ 5.5 ผูรับซื้อ CER ____________________________

6. รายละเอียดของโครงการ (โปรดระบุ)

6.1 ที่ตั้งโครงการ ________________________________________ 6.2 Methodology ที่ใช ___________________________________ 6.3 ปริมาณกาซเรือนกระจกทีล่ดไดในแตละป ____________________ ตัน 6.4 ปริมาณกาซเรือนกระจกที่ไดลดลงแลวตั้งแตเร่ิมโครงการจนถึงปจจุบัน ____________ ตัน

Page 119: CDM Manual

แบบการประเมินโครงการ CDM ตามหลักเกณฑการพัฒนาท่ียั่งยืน

สําหรับผูพัฒนาโครงการ โครงการ (ไทย) _________________________________________________

(English) ______________________________________________ ผูกรอกขอมูล ________________________________________ ตําแหนง ____________________________________________ วันท่ีกรอกแบบสอบถาม ________________________________

เพื่อใหการประเมินโครงการ CDM เปนไปอยางถูกตองและสมบูรณที่สุด สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ในฐานะฝายเลขานกุารคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ภายใตคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ จึงขอใหผูพัฒนาโครงการกลไกการพัฒนาทีส่ะอาด กรอกขอมูลของโครงการ เพื่อแสดงการมสีวนรวมในการสงเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ในการกรอกแบบประเมินโครงการ CDM ตามหลักเกณฑการพฒันาที่ย่ังยืน ใหผูประกอบการกรอก คะแนนที่คิดวาโครงการควรไดรับ (ตามเกณฑที่แนบในภาคผนวก) พรอมทั้งใหเหตุผลสนับสนุน และที่มาของขอมูลและแหลงสืบคน เชน PDD หนา 6 Section A4, รายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม หนา 24 หัวขอ คุณภาพน้ําทิ้ง เปนตน ขอใหผูพัฒนาโครงการสงแบบประเมินโครงการ CDM ตามหลกัเกณฑการพัฒนาที่ยั่งยืนสาํหรับผูพัฒนาโครงการ ใหกับสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ทาง e-mail [email protected], [email protected]

ดัชนีวัด เกณฑการใหคะแนน คะแนน เหตุผลสนับสนุน ท่ีมาของขอทูล และแหลงสืบคน

1. หมวดดัชนีดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ดัชนีดานสิ่งแวดลอม

1) ลดการปลอยกาซเรือนกระจกที่กําหนดโดยพิธีสารเกียวโตของโครงการ หมายเหตุ : กาซเรือนกระจกที่กําหนดโดย พิธีสารเกียวโตไดแก

- คารบอนไดออกไซด (CO2) - มีเทน (CH4) - ไนตรัสออกไซด (N2O) - ไฮโดรฟลูออโรคารบอน (HFCs) - เปอรฟลูออโรคารบอน (PCs)

ปริมาณการปลอยก าซเ รื อนกระจก เที ยบ เท าคารบอนไดออกไซด (CO2

equivalent) โดย เที ยบกั บเสนฐาน (baseline)

แบบสอบถามเลขที่ 2-2550/_________

Page 120: CDM Manual

2ดัชนีวัด เกณฑการใหคะแนน คะแนน เหตุผลสนับสนุน ท่ีมาของขอทูล

และแหลงสืบคน - ซัลเฟอรเฮกซาฟลูออไรด (SF6) 2) ลดการปลอยสารที่เปนมลพิษทาง

อากาศ ตามประกาศมาตรฐานมลพิษทางอากาศ เชน NOx HC PM10 SO2 CO O3 VOC’s Dioxin หมายเหตุ : มาตรฐานการปลอยสารที่เปนมลพิษทางอากาศ สารเจือปนในอากาศ ใหอางอิงถึงกฎหมายที่ประกาศโดยหนวยงานรับผิดชอบ เชน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เปนตน

ปริมาณการปลอยสารที่เปนมลพิษทางอากาศเมื่อเทียบกับกรณีฐาน (กรณีไมมีโครงการ)

3) มลพิษทางเสียง (ตามมาตรฐานของทางราชการ) หมายเหตุ: มาตรฐานระดับเสียงใหอางอิงถึงประกาศคณะกรรมสิ่งแวดลอมแหงชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540) เรื่อง กําหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป มาตรา 32(5) แหง พรบ.สงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 และประกาศกรมควบคุมมลพิษ เร่ือง การคํานวณคาระดับเสียง และรวมถึงมาตรฐานอ่ื นใดที่ ประกาศ เป นกฎหมายโดยหนวยงานรับผิดชอบ

ร ะ ดั บ เ สี ย ง ใ น พื้ น ที่โครงการ

4) มลพิษทางกลิ่น (ตามมาตรฐานของทางราชการ) หมายเหตุ : การควบคุมมลพิษทางกลิ่น และเหตุเดือดรอนรําคาญทางกลิ่น ใหอางอิงถึงกฎหมายที่ประกาศโดยหนวยงานรับผิดชอบ เชน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมมลพิษ เปนตน

มลพิษทางกลิ่น

5) ปริมาณความสกปรกในน้ําท้ิง ตามมาตรฐานของทางราชการ

ปริมาณความสกปรกในน้ําทิ้ง (loading)

Page 121: CDM Manual

3ดัชนีวัด เกณฑการใหคะแนน คะแนน เหตุผลสนับสนุน ท่ีมาของขอทูล

และแหลงสืบคน หมายเหตุ : - มาตรฐานความสกปรกในน้ําทิ้ง ใหเปนไปตามกฎหมายควบคุมการระบายน้ําทิ้งในความรับผิดชอบของหนวยงานที่เกี่ยวของ เชน กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมเจาทา กรมชลประทาน เปนตน - การนําน้ําทิ้งที่บําบัดแลวไปใหเกษตรกร ไมถือเปน zero discharge แตใหถือเปนการบริการทางสังคม 6) การจัดการของเสียของโครงการ หมายเหตุ: ของเสีย หมายถึง สิ่งที่ไมสามารถนําไปใชประโยชนไดอีกและเปนภาระในการจัดการ

ของเสีย (waste) จากโ ค ร ง ก า ร ต อ วั ต ถุ ดิ บปอนเขาโครงการ

7) มลพิษดิน (ตามมาตรฐานทางราชการ) หมายเหตุ: มาตรฐานมลพิษดิน ใหเปนไปตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพรบ. สงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 เร่ือง กําหนดมาตรฐานคุณภาพดิน และรวมถึงมาตรฐานอื่นใดที่ประกาศเปนกฎหมายโดยหนวยงานรับผิดชอบ

มลพิษดิน ตามมาตรฐานของทางราชการ

8) การปนเปอนของน้ําใตดิน การปนเปอนของน้ําใตดิน

9) การลดปริมาณของเสียอันตราย หมายเหตุ : ของเสียอันตราย ใหอางอิงถึงกฎหมายที่ ประกาศโดยหน วยงานรับผิดชอบ เชน กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ปริมาณของเสียอันตราย

ดัชนีทรัพยากรธรรมชาติ

10) ความตองการใชน้ําและประสิทธิภาพการใชน้ําของโครงการ

ปริมาณความตองการใชน้ํา และประสิทธิภาพการใชน้ําของโครงการ

Page 122: CDM Manual

4ดัชนีวัด เกณฑการใหคะแนน คะแนน เหตุผลสนับสนุน ท่ีมาของขอทูล

และแหลงสืบคน 11) การพังทลายของดิน และการ กัด

เซาะชายฝง/ชายตลิ่งของแมน้ํา การพังทลายของดิน และการกัดเซาะชายฝง/ชายตลิ่งของแม น้ํ า ในบริ เ วณโครงการ

12) การเพ่ิมพื้นท่ีสีเขียวภายใตโครงการ(ดูสถิติพ้ืนที่สีเขียวของจังหวัด) หมายเหตุ : เปนมาตรการสงเสริมการเพิ่มพ้ืนที่สีเขียว จึงไมมีคะแนนติดลบ ซึ่งการเพิ่มพื้นที่สีเขียว อาจเปนการเพิ่มในบริเวณหรือนอกบริเวณโครงการก็ได แตเปนการดํ า เนินงานภายใต โครงการ ทั้ งนี้ ดูความหมายและลักษณะของพื้นที่สีเขียวทายตาราง

พ้ืนที่สีเขียว

13) ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecosystem diversity) เชน พิจารณาจากการเปลี่ยนพื้นที่นา เปนพ้ืนที่ดินถม หรือ การเปลี่ยนจากพื้นที่ดินถม พ้ืนที่ เสื่อมโทรม เปนพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น

ผ ล ก ร ะ ท บ ต อ ค ว า มหลากหลายของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

14) ความหลากหลายของชนิดพันธุ (species diversity)

ขนาดของประชากรพืช/สัตว(population size) และชนิดของพันธุ พืช /สัตว

15) การใช/ นําเขาชนิดพันธุท่ีมีการตัดแตงพันธุกรรม (GMO) และ/หรือชนิดพันธุตางถิ่น (alien species)ในบริเวณพ้ืนท่ีโครงการ

ชนิดพันธุที่มีการตัดแตงพันธุกรรมและ/หรือชนิดพันธุตางถิ่น

2. หมวดดัชนีดานสังคม

1) การมีสวนรวมของประชาชน (วัดจากระดับการมีสวนรวม ที่จัดขึ้น)

ก า ร มี ส ว น ร ว ม ข อ งประชาชน

Page 123: CDM Manual

5ดัชนีวัด เกณฑการใหคะแนน คะแนน เหตุผลสนับสนุน ท่ีมาของขอทูล

และแหลงสืบคน 2) สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาสังคม

วัฒนธรรม และแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายเหตุ : เปนมาตรการสงเสริมใหโครงการสนับสนุนการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย สาธารณูปโภค สาธารณูปการ แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาสิ่งแวดลอมของชุมชน จึงไมมีคะแนนติดลบ ซึ่ งการสนับสนุนกิจกรรมชุมชนสัมพันธดังกลาว อาจเปนการดําเนินงานในบริเวณหรือนอกบริเวณโครงการก็ได แตเปนการดําเนินงานภายใตโครงการ

สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาสั งคม วัฒนธรรม และแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เชน โครงการหรือกิจกรรมที่สงเสริมแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การคุมครองมรดกทางธรรมชาติและศิลปกรรม การใหทุนการศกึษา กิจกรรมทางศาสนาและศลิปวัฒนธรรม สงเสริมดานสขุภาพอนามัย พัฒนาศูนยเด็กเลก็ จัดหานํ้าดื่ม ฯลฯ

3) สุขภาพอนามัยของคนงานและชุมชนโดยรอบ

แผนการจัดการสุขภาพอนามัยของคนงานและชุมชนโดยรอบ

3. หมวดดัชนีดานการพัฒนาและ/หรือการถายทอดเทคโนโลยี

1) การพัฒนาเทคโนโลยี

ก า ร พั ฒ น า / นํ า เ ข าเทคโนโลยี

2) แผนการดํ า เนินงานเมื่ อสิ้ นสุ ดโครงการ หรือสิ้นสุดระยะเวลา Crediting Period ท่ีโครงการเลือกไว

แผนการดําเนินงานเมื่อสิ้ นสุ ดโครงการ หรือสิ้ น สุ ด ร ะ ย ะ เ ว ล า Crediting Period ที่โครงการเลือกไว

3) การฝกอบรมบุคลากร จํานวนลูกจางที่มีทักษะการทํางานดี

4. หมวดดัชนีดานเศรษฐกิจ 1) รายไดท่ีเพิ่มข้ึนของผูมีสวนไดสวน คาเฉลี่ ยจากผลรวมของ

Page 124: CDM Manual

6ดัชนีวัด เกณฑการใหคะแนน คะแนน เหตุผลสนับสนุน ท่ีมาของขอทูล

และแหลงสืบคน เสีย คะแนนใน 1.1-1.2

1.1) รายไดท่ีเพิ่มขึ้นของคนงาน หมายเหตุ : รายไดของคนงาน หมายถึง ค าจ า ง ค าแรง ค าล วง เวลา ซึ่ ง เป นคาตอบแทนที่เปนตัวเงิน

รายไดของคนงานตอป

1.2) รายไดท่ีเพ่ิมข้ึนของผูมีสวนไดสวนเสียอื่น เชน เกษตรกรมีรายไดเพิ่มขึ้นจากการขายวัตถุดิบ หมายเหตุ ผูพัฒนาโครงการจะตองระบุวาใครคือผูมีสวนได สวนเสีย ในการขายวัตถุดิบใหกับโครงการ

รายไดของผูมีสวนไดสวนเสีย

2) พลังงาน การใชพลังงานทดแทน หรือ ประสิทธิภาพการใชพลังงาน (รอยละ)

2.1) การใชพลังงานทดแทน

การใชพลังงานทดแทนน้ํามันเชื้อเพลิง/พลังงานหมุนเวียนในประเทศ (ton of oil equivalent)

2.2) ประสิทธิภาพการใชพลังงาน รอยละของประสิทธิภาพการใชพลังงาน

3) การเพิ่มการใชวัตถุดิบ ภายในประเทศ (local content)

สั ดส วนมู ล ค า ก า ร ใ ชวัตถุดิบภายในประเทศเมื่อเทียบกับมูลคาปจจัยนําเขา

Page 125: CDM Manual

ภาคผนวก จ

เกณฑการพัฒนาที่ยั่งยนืสําหรับพิจารณาโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดในประเทศไทย

Page 126: CDM Manual

หลักเกณฑการพัฒนาที่ยั่งยืนสําหรับพิจารณาโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดในประเทศไทย ระดับการใหคะแนน I.

ดัชนีวดั II.

เกณฑการใหคะแนน III. โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปน

โครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

1. หมวดดัชนดีานทรัพยากรธรรมชาตแิละสิ่งแวดลอม ดัชนีดานสิ่งแวดลอม

1) ลดการปลอยกาซเรือนกระจกที่กําหนดโดยพิธีสารเกียวโตของโครงการ หมายเหตุ : กาซเรือนกระจกที่กําหนดโดย พิธีสารเกียวโตไดแก

- คารบอนไดออกไซด (CO2) - มีเทน (CH4) - ไนตรัสออกไซด (N2O) - ไฮโดรฟลูออโรคารบอน (HFCs) - เปอรฟลูออโรคารบอน (PCs) - ซัลเฟอรเฮกซาฟลูออไรด (SF6)

ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจกเทียบเท าคารบอนไดออกไซด (CO2 equivalent) ที่ลดลงเมื่อเทียบกับกรณีไมมีโ ค ร ง ก า ร CDM (baseline)

0 ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก เทาเดิม

+1 ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก ลดลง

- 1 ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก เพิ่มขึ้น

0 ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก เทาเดิม

+1 ปริมาณการปลอยกาซเรือนกระจก ลดลงนอยกวารอยละ 10

+2 ปริ ม าณการปล อ ยก า ซ เ รื อนกระจก ลดลงตั้งแตรอยละ 10

2) ลดการปลอยสารที่เปนมลพิษทางอากาศ ตามประกาศมาตรฐานมลพิษทางอากาศ เชน NOx HC PM10 SO2 CO O3 VOC’s Dioxin หมายเหตุ : มาตรฐานการปลอยสารที่เปนมลพิษ

ปริมาณการปลอยสารที่เปนมลพิษทางอากาศเมื่อเทียบกับกรณีฐาน (กรณีไมมีโครงการ)

-1 ปริมาณการปลอยสารที่เปนมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น

0 ปริมาณการปลอยสารมลพิษทางอากาศเทาเดิม

-1 ปริมาณการปลอยสารมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น

0 ปริมาณการปลอยสารมลพิษทางอากาศเทาเดิม

Page 127: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

ทางอากาศ สารเจือปนในอากาศ ใหอางอิงถึงกฎหมายที่ประกาศโดยหนวยงานรับผิดชอบ เ ช น กระทรวงทรัพย ากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอม กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เปนตน

+1 ปริมาณการปลอยสารมลพิษทางอากาศลดลง

+1 ปริมาณการปลอยสารมลพิษทางอากาศลดลงนอยกวารอยละ 20

+2 ปริมาณการปลอยสารมลพิษทางอากาศลดลงตั้งแตรอยละ 20

3) มลพิษทางเสียง (ตามมาตรฐานของทางราชการ) หมายเหตุ: มาตรฐานระดับเสียงใหอางอิงถึงประกาศคณะกรรมสิ่งแวดลอมแหงชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540) เรื่อง กําหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป มาตรา 32(5) แหง พรบ.สงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 และประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง การคํานวณคาระดับเสียง และรวมถึงมาตรฐานอื่นใดที่ประกาศเปนกฎหมายโดยหนวยงานรับผิดชอบ

ระดั บ เสี ย งในพื้ น ที่โครงการ

0 ระดับเสียงอยูที่คามาตรฐาน +1 ระดับเสียงต่ํากวาคามาตรฐาน

-1 ระดับเสียงเกินกวาคามาตรฐาน 0 ระดับเสียงอยูที่คามาตรฐาน +1 ระดับเสียงต่ํากวาคามาตรฐานไม

เกิน 10 เดซิเบล +2 ระดับเสียงต่ํ ากวาค ามาตรฐาน

มากกวา 10 เดซิเบล

4) มลพิษทางกลิ่น (ตามมาตรฐานของทางราชการ)

มลพิษทางกลิ่น 0 อยูระดับเดียวกับเกณฑมาตรฐาน +1 ต่ํากวามาตรฐาน

-1 สูงกวามาตรฐาน 0 อยูระดับเดียวกับเกณฑมาตรฐาน

Page 128: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

หมายเหตุ : การควบคุมมลพิษทางกลิ่น และเหตุเดือดรอนรําคาญทางกลิ่น ใหอางอิงถึงกฎหมายที่ประกาศโดยหนวยงานรับผิดชอบ เชน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมมลพิษ เปนตน

+1 ต่ํากวามาตรฐาน +2 ปราศจากกลิ่น

5) ปริมาณความสกปรกในน้ําทิ้ง ตามมาตรฐานของทางราชการ หมายเหตุ : - มาตรฐานความสกปรกในน้ําทิ้ง ใหเปนไปตามกฎหมายควบคุมการระบายน้ํ า ทิ้ งในความรับผิดชอบของหนวยงานที่เกี่ยวของ เชน กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมเจาทา กรมชลประทาน เปนตน - การนําน้ําทิ้งที่บําบัดแลวไปใหเกษตรกร ไมถือเปน zero discharge แตใหถือเปนการบริการทางสังคม

ปริมาณความสกปรกในน้ําทิ้ง (loading)

0 ปริมาณความสกปรกในน้ําทิ้งอยูในระดับเดียวกับเกณฑมาตรฐาน

+1 ปริมาณความสกปรกในน้ําทิ้งต่ํากวามาตรฐาน

+2 ปริมาณความสกปรกในน้ําทิ้งต่ํากวามาตรฐาน และปริมาณน้ําทิ้งลดลง

+3 ไมมีการปลอยน้ําทิ้ง/น้ําเสียออกนอกโครงการ (zero discharge)

0 ปริมาณความสกปรกในน้ําทิ้งอยูในระดับเดียวกับเกณฑมาตรฐาน

+1 ปริมาณความสกปรกในน้ําทิ้งต่ํากวามาตรฐาน

+2 ปริมาณความสกปรกในน้ําทิ้งต่ํากวามาตรฐาน และปริมาณน้ําทิ้งลดลง

+3 ไมมีการปลอยน้ําทิ้ง/น้ําเสียออกนอกโครงการ (zero discharge)

6) การจัดการของเสียของโครงการ ของเสีย (waste) จาก -1 ของเสียออกจากโครงการตอ วัตถุดิบ -1 ของเสี ยออกจากโครงการต อ

Page 129: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

หมายเหตุ: ของเสีย หมายถึง สิ่งที่ไมสามารถนําไปใชประโยชนไดอีกและเปนภาระในการจัดการ

โครงการตอวัตถุดิบปอนเขาโครงการ

ปอนเขาโครงการ เพิ่มขึ้น 0 ของเสียออกจากโครงการตอวัตถุดิบ

ปอนเขาโครงการ เทาเดิม +1 ของเสียออกจากโครงการตอวัตถุดิบ

ปอนเขาลดลง +2 ไมมีการปลอยของเสียออกจาก

โครงการ

วัตถุดิบปอนเขาโครงการเพิ่มขึ้น 0 ของเสียออกจากโครงการตอวัตถุดิบ

ปอนเขาโครงการ เทาเดิม +1 ของเสี ยออกจากโครงการต อ

วัตถุดิบปอนเขาลดลง +2 ไมมีการปลอยของเสียออกจาก

โครงการ 7) มลพิษดิน (ตามมาตรฐานทางราชการ) หมายเหตุ: มาตรฐานมลพิษดิน ใหเปนไปตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ ฉบบัที่ 25 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพรบ. สงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กําหนดมาตรฐานคุณภาพดิน และรวมถึงมาตรฐานอื่นใดที่ประกาศเปนกฎหมายโดยหนวยงานรับผิดชอบ

ม ล พิ ษ ดิ น ต า มม า ต ร ฐ านขอ งท า งราชการ

0 ไมมีมลพิษดนิ +1 มีการฟนฟูคุณภาพดิน

-1 กอใหเกิดมลพิษในดิน 0 ไมมีมลพิษดิน +1 มีการฟนฟูคุณภาพดิน

8) การปนเปอนของน้ําใตดิน การปนเปอนของน้ําใตดิน

n/a ไมมีการดําเนินงานที่เกียวของ

-1 มีการปนเปอนน้ําใตดิน 0 ไมมีการปนเปอนน้ําใตดิน

Page 130: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

9) การลดปริมาณของเสียอันตราย หมายเหตุ : ของเสียอันตราย ใหอางอิงถึงกฎหมายที่ประกาศโดยหนวยงานรับผิดชอบ เชน กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ปริมาณของเสียอันตราย -1 ปริมาณของเสียอันตราย เพิ่มขึ้น 0 ปริมาณของเสียอันตราย เทาเดิม +1 ปริมาณของเสียอันตราย ลดลง

-1 ปริมาณของเสียอันตราย เพิ่มขึ้น 0 ปริมาณของเสียอันตราย เทาเดิม +1 ปริมาณของเสยีอันตราย ลดลง

ดัชนีทรัพยากรธรรมชาติ 10) ความตองการใชน้ําและประสิทธิภาพการใช

น้ําของโครงการ ปริมาณความตองการใชน้ํา และ ประสิทธิภาพการใชน้ําของโครงการ

-2 การใชน้ํากอใหเกิดผลกระทบตอทรัพยากรน้ําและสภาพแวดลอมอื่นๆ ในลุมน้ํา

-1 การใชน้ํากอใหเกิดผลกระทบตอทรัพยากรน้ํา มีการใชทรัพยากรน้ําตอหนวยผลิตเพิ่มขึ้น

0 การใชน้ําไมกอใหเกิดผลกระทบตอทรัพยากรน้ําและสภาพแวดลอมอื่นๆ ในลุมน้ํา

+1 มีแหลงกักเก็บน้ําที่พัฒนาขึ้นเอง +2 มีแหลงกักเก็บน้ําที่พัฒนาขึ้นเอง และ

-2 การใชน้ํากอใหเกิดผลกระทบตอทรัพยากรน้ําและสภาพแวดลอมอื่นๆ ในลุมน้ํา

-1 การใชน้ํากอใหเกิดผลกระทบตอทรัพยากรน้ํา มีการใชทรัพยากรน้ําตอหนวยผลิตเพิ่มขึ้น

0 การใชน้ําไมกอใหเกิดผลกระทบตอทรัพยากรน้ําและสภาพแวดลอมอื่นๆ ในลุมน้ํา

+1 มีแหลงกักเก็บน้ําที่พัฒนาขึ้นเอง +2 มีแหลงกักเก็บน้ําที่พัฒนาขึ้นเอง และ

Page 131: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

ปริมาณการใชน้ําตอหนวยลดลง ปริมาณการใชน้ําตอหนวยลดลง 11) การพังทลายของดิน และการ กัดเซาะ

ชายฝง/ชายตลิ่งของแมน้ํา การพั งทลายของดิน และการกัดเซาะชายฝง/ชายตลิ่งของแมน้ํา ในบริเวณโครงการ

n/a ไมมีการดําเนินงานที่เกียวของ -1 มีการพังทลายของดินและกัดเซาะชายฝ ง /ชายตลิ่ งของแมน้ํ า อันเนื่องมาจากกิจกรรมของโครงการ

0 ไมมี การพังทลายของดินและกัดเซาะชายฝ ง/ชายตลิ่ งของแมน้ํ า อันเนื่องมาจากกิจกรรมของโครงการ

12) การเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายใตโครงการ(ดูสถิติพื้นที่สีเขียวของจังหวัด) หมายเหตุ : เปนมาตรการสงเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว จึงไมมีคะแนนติดลบ ซึ่งการเพิ่มพื้นที่สีเขียว อาจเปนการเพิ่มในบริ เวณหรือนอกบริ เวณโครงการก็ได แตเปนการดําเนินงานภายใตโครงการ ทั้งนี้ ดูความหมายและลักษณะของพื้นที่สีเขียวทายตาราง

พื้นที่สีเขียว 0 ไมมีการเพิ่มพื้นที่สีเขียว +1 มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียว +2 มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสูงกวาคาเฉลี่ย

ของจังหวัด +3 มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสูงกวาคาเฉลี่ย

ของจังหวัดและไมมีมลทัศน

0 ไมมีการเพิ่มพื้นที่สเีขียว +1 มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียว +2 มี การ เพิ่ มพื้ นที่ สี เขี ยวสู งกว า

คาเฉลี่ยของจังหวัด +3 มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสูงกวาคาเฉลี่ย

ของจังหวัดและไมมีมลทัศน

13) ความหลากหลายของระบบนิเวศ ผลกระทบต อความหลากหลายของระบบ

-1 มีผลกระทบตอระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

-1 ระบบนิ เวศมีความหลากหลาย ลดลง

Page 132: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

(ecosystem diversity) เชน พิจารณาจากการเปลี่ยนพื้นที่นา เปนพื้นที่ดินถม หรือ การเปลี่ยนจากพื้นที่ดินถม พื้นที่เสื่อมโทรม เปนพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น

นิ เ ว ศ แ ล ะ ค ว า มหลากหลายทางชีวภาพ

0 ไมมีผลกระทบตอระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

+1 ระบบนิเวศมีความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น

0 ไมมีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ +1 ระบบนิ เวศมีความหลากหลาย

เพิ่มขึ้น

14) ความหลากหลายของชนิดพันธุ (species diversity)

ขนาดของประชากรพื ช /สั ต ว (population size) แ ล ะ ช นิ ด ข อ งพันธุพืช/สัตว

-1 ขนาดของประชากรพืช/สัตวและ ชนิดของพันธุพืช/สัตวลดลง 0 ชนิดของพันธุพืช/สัตวเทาเดิม +1 ชนิดของพันธุพืช/สัตวดั้งเดิมเพิ่มขึ้น

-1 ขนาดของประชากรพืช/สัตวและ ชนิดของพันธุพืช/สัตวลดลง 0 ชนิดของพันธุพืช/สัตวเทาเดิม +1 ชนิดของพันธุ พืช /สัตวดั้ ง เดิ ม

เพิ่มขึ้น 15) การใช/ นําเขาชนิดพันธุที่มีการตดัแตง

พันธุกรรม (GMO) และ/หรอืชนิดพันธุตางถิ่น (alien species)ในบริเวณพื้นที่โครงการ

ชนิดพันธุ ที่ มีการตัดแต งพันธุกรรมและ /หรือชนิดพันธุตางถิ่น

-1 มีการใช/ นําเขาชนิดพันธุที่มีการตัดแตงพันธุกรรมและ/หรือชนิดพันธุตางถิ่น

0 ไมมีการใช/ นําเขาชนิดพันธุที่มีการตัดแตงพันธุกรรมและ/หรือชนิดพันธุตางถิ่น

-1 มีการใช/ นําเขาชนิดพันธุที่มีการตัดแตงพันธุกรรมและ/หรือชนิดพันธุตางถิ่น

0 ไมมีการใช/ นําเขาชนิดพันธุที่มีการตัดแตงพันธุกรรมและ/หรือชนิดพันธุตางถิ่น

Page 133: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

2. หมวดดัชนีดานสังคม

1) การมีสวนรวมของประชาชน (วัดจากระดบัการมีสวนรวม ที่จัดขึ้น)

การมี ส วนร วมของประชาชน

-1 ไมมีการจัดกระบวนการมีสวนรวม 0 จั ดกระบวนการมี ส วนร วมใน

ลักษณะแจงใหทราบ +1 จั ดกระบวนการมี ส วนร วมใน

ลักษณะรับฟงความคิดเห็น +2 จั ดกระบวนการมี ส วนร วมใน

ลักษณะมีตัวแทนชุมชนรวมเปนกรรมการ (คณะกรรมการพหุภาค)ี

-1 ไมมีการจัดกระบวนการมีสวนรวม 0 จัดกระบวนการมีส วนรวมใน

ลักษณะแจงใหทราบ +1 จัดกระบวนการมีส วนรวมใน

ลักษณะรับฟงความคิดเห็น +2 จัดกระบวนการมีส วนรวมใน

ลักษณะมีตัวแทนชุมชนรวมเปนกรรมการ

2) สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายเหตุ : เปนมาตรการสงเสริมใหโครงการสนับสนุนการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย สาธารณูปโภค สาธารณูปการ แนวทางปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาสิ่งแวดลอมของชุมชน จึงไมมีคะแนนติดลบ ซึ่ง

สนั บสนุ นกิ จ ก ร รมพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เชน โครงการหรือกิจกรรมที่สงเสริมแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ

0 ไมมีการใหบริการพัฒนาสังคมและกิจกรรมสาธารณะ

+1 มีการใหบริการพัฒนาสังคมและกิจกรรมสาธารณะในอัตราสวนรอยละ 1 ถึง 5 เมื่อเทียบกับรายไดสุทธิของโครงการ

+2 มีการใหบริการพัฒนาสังคมและ

0 ไมมีการใหบริการพัฒนาสังคมและกิจกรรมสาธารณะ

+1 มีการใหบริการพัฒนาสังคมและกิจกรรมสาธารณะในอัตราสวนรอยละ 1 ถึง 5 เมื่อเทียบกับรายไดสุทธิของโครงการ

+2 มีการใหบริการพัฒนาสังคมและ

Page 134: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

การสนับสนุนกิจกรรมชุมชนสัมพันธดังกลาว อาจเปนการดําเนินงานในบริเวณหรือนอกบรเิวณโครงการก็ได แตเปนการดําเนินงานภายใตโครงการ

พอเพียง การคุมครองมรดกทางธรรมชาตแิละศิลปกรรม การใหทุนการศึกษา กิจกรรมทางศาสนาและศิลปวัฒนธรรม สงเสริมดานสขุภาพอนามัย พัฒนาศูนยเดก็เล็ก จัดหาน้ําดื่ม ฯลฯ

กิจกรรมสาธารณะในอัตราสวนมากกวารอยละ 5 ของรายไดสุทธิของโครงการ

+3 มีการใหบริการพัฒนาสังคมและกิจกรรมสาธารณะในอัตราสวนมากกวารอยละ 5 ของรายไดสุทธิของโครงการและมีการจัดตั้งกองทุนซึ่งมีทุนประเดิมไมต่ํากวา 5 ลานบาทและมีเงินทุนสมทบรายปไมต่ํากวา 5 แสนบาท

กิจกรรมสาธารณะในอัตราสวนมากกวารอยละ 5 ของรายไดสุทธิของโครงการ

+3 มีการใหบริการพัฒนาสังคมและกิจกรรมสาธารณะในอัตราสวนมากกวารอยละ 5 ของรายไดสุทธิของโครงการและมีการจัดตั้ งกองทุนซึ่งมีทุนประเดิมไมต่ํากวา 5 ลานบาทและมีเงินทุนสมทบรายปไมต่ํากวา 5 แสนบาท

3) สุขภาพอนามัยของคนงานและชุมชนโดยรอบ

แผนการจัดการสุขภาพอนามัยของคนงานและชุมชนโดยรอบ

0 ปฏิบัติตาม พรบ. แรงงานสัมพันธ +1 มีแผนดูแล ปองกันและบรรเทา

อุบัติภัยจากการทํางาน +2 มีแผนสงเสริมสนับสนุนสุขภาพ

ใหกับคนงานและชุมชนโดยรอบ

0 ปฏิบัติตาม พรบ. แรงงานสัมพันธ +1 มีแผนดูแล ปองกันและบรรเทา

อุบัติภัยจากการทํางาน +2 มีแผนสงเสริมสนับสนุนสุขภาพ

ใหกับคนงานและชุมชนโดยรอบ

Page 135: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

3. หมวดดัชนีดานการพัฒนาและ/หรือการถายทอดเทคโนโลยี

1) การพัฒนาเทคโนโลยี

ก า ร พั ฒน า / นํ า เ ข าเทคโนโลยี

-1 ใชเทคโนโลยีที่ไมเหมาะสม ไมปรับใหเหมาะตอความ ตองการของทองถิ่นผูประกอบการทองถิ่นไมมีสวนรวมในการติดตั้ง หรือบํ า รุ ง รั ก ษ า ไ ม มี ก า ร จ า งผูประกอบการทองถิ่นในการผลิตอุปกรณ

0 ใชเทคโนโลยมีาตรฐานในประเทศ +1 เปนเทคโนโลยีที่ เหมาะสมที่สุดที่

จัดหาไดในประเทศพัฒนาแลว และเปนเทคโนโลยีที่งายตอการใชและบํ ารุ งรั กษาโดยท องถิ่ น รวมทั้ งเหมาะสมตอสภาพสิ่งแวดลอม สังคมและ เศรษฐกิจของทองถิ่น

+2 เป น เทคโนโลยี ที่ พัฒนาขึ้ นใน

-1 ใชเทคโนโลยีที่ไมเหมาะสม ไมปรับใหเหมาะตอความ ตองการของทองถิ่นผูประกอบการทองถิ่นไมมีสวนรวมในการติดตั้ง หรือบํ า รุ ง รั ก ษ า ไ ม มี ก า ร จ า งผูประกอบการทองถิ่นในการผลิตอุปกรณ

0 ใชเทคโนโลยีมาตรฐานในประเทศ +1 เปนเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดที่

จัดหาไดในประเทศพัฒนาแลว และเปนเทคโนโลยีที่งายตอการใชและบํ ารุ งรักษาโดยทองถิ่น รวมทั้งเหมาะสมตอสภาพสิ่งแวดลอม สังคมและ เศรษฐกิจของทองถิ่น

+2 เปนเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นใน

Page 136: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

ประเทศงายตอการใชและบํารุงรักษาโดยทองถิ่น รวมทั้งเหมาะสมตอสภาพ เศรษฐกิจและสังคมของทองถิ่น

ปร ะ เ ท ศ ง า ย ต อ ก า ร ใ ช แ ล ะบํารุงรักษาโดยทองถิ่น รวมทั้งเหมาะสมตอสภาพ เศรษฐกิจและสังคมของทองถิ่น

2) แผนการดําเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ หรือสิ้นสุดระยะเวลา Crediting Period ที่โครงการเลือกไว

แผนการดําเนินงานเมือ่สิ้นสุดโครงการ หรือสิ้ น สุ ด ร ะ ย ะ เ ว ล า Crediting Period ที่โครงการเลือกไว

0 ไมมีแผนการดําเนินงานเมือ่สิ้นสุดโครงการหรือระยะเวลา Crediting Period ที่โครงการเลือกไว

+1 มีแผนการดําเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือระยะเวลา Crediting Period ที่โครงการเลือกไว

0 ไมมีแผนการดําเนินงานเมือ่สิ้นสุดโครงการหรือระยะเวลา Crediting Period ที่โครงการเลือกไว

+1 มีแผนการดําเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือระยะเวลา Crediting Period ที่โครงการเลือกไวร

3) การฝกอบรมบุคลากร จํานวนลูกจางที่มีทักษะการทํางานดี

-1 จํานวนลกูจางที่มีทักษะการทํางานดี ลดลง

0 จํานวนลกูจางที่มีทักษะการทํางานด ีเทาเดิม

+1 จํานวนลกูจางที่มีทักษะการทํางานดี เพิ่มขึ้น

-1 จํานวนลกูจางที่มีทักษะการทํางานดี ลดลง

0 จํานวนลกูจางที่มีทักษะการทํางานดี เทาเดิม

+1 จํานวนลกูจางที่มีทักษะการทํางานดี เพิ่มขึ้น

Page 137: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

4. หมวดดัชนดีานเศรษฐกจิ 1) รายไดที่เพิ่มขึ้นของผูมีสวนไดสวนเสีย คาเฉลี่ยจากผลรวมของ

คะแนนใน 1.1-1.2 คาเฉลี่ยจากผลรวมของคะแนนใน 1.1-1.2

คาเฉลี่ยจากผลรวมของคะแนนใน 1.1-1.2

1.1) รายไดที่เพิ่มขึ้นของคนงาน หมายเหตุ : รายไดของคนงาน หมายถึง คาจาง คาแรง คาลวงเวลา ซึ่งเปนคาตอบแทนที่เปนตัวเงิน

รายไดของคนงานตอป

0 รายไดของคนงาน เทาเดิม +1 รายไดของคนงาน เพิ่มขึ้น

0 รายไดของคนงาน เทาเดิม +1 รายไดของคนงาน เพิ่มขึ้น

1.2) รายไดที่เพิ่มขึ้นของผูมีสวนไดสวนเสียอื่น เชน เกษตรกรมีรายไดเพิ่มขึ้นจากการขายวัตถุดิบ หมายเหตุ ผูพัฒนาโครงการจะตองระบุวาใครคือผูมีสวนได สวนเสีย ในการขายวัตถุดิบใหกับโครงการ

รายไดของผูมีสวนไดสวนเสีย

-1 รายไดของผูมีสวนไดสวนเสียลดลง 0 รายไดของผูมีสวนไดสวนเสยี เทาเดมิ +1 รายไดของผูมีสวนไดสวนเสียเพิ่มขึ้น

-1 รายไดของผูมีสวนไดสวนเสียลดลง 0 รายไดของผูมีสวนไดสวนเสยี เทาเดมิ +1 รายไดของผูมสีวนไดสวนเสยี

เพิ่มขึ้น 2) พลังงาน การใชพลังงานทดแทน

หรือ ประสิทธิภาพการใชพลังงาน (รอยละ)

คาเฉลี่ยของ 2.1 และ 2.2 คาเฉลี่ยของ 2.1 และ 2.2

2.1) การใชพลังงานทดแทน การใชพลังงานทดแทน 0 ปริมาณการใชพลังงานทดแทน เทา 0 การใชพลังงานทดแทน เทาเดมิ

Page 138: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

น้ํามันเชื้อเพลิง/พลังงานหมุนเวียนในประเทศ (ton of oil equivalent)

เดิม +1 ปริมาณการใชพลังงานทดแทน

เพิ่มขึ้น

+1เพิ่มการใชพลังงานทดแทนนอยกวารอยละ 50

+2 เพิ่มการใชพลังงานทดแทนเทากับหรอืมากกวารอยละ 50

2.2) ประสิทธิภาพการใชพลังงาน ร อ ย ล ะ ข อ งประสิทธิภาพการใชพลังงาน

0 ประสิทธิภาพการใชพลังงานเทาเดิม +1 ประสิทธภิาพการใชพลังงานเพิ่มขึ้น

0 ประสิทธิภาพการใชพลังงานเทาเดิม +1 ประสิทธิภาพการใชพลังงานเพิ่มขึ้นนอยกวารอยละ 5

+2 ประสิทธิภาพการใชพลังงานเพิ่มขึ้นตั้งแตรอยละ 5 ขึ้นไป

3)การเพิ่มการใชวัตถุดิบ ภายในประเทศ (local content)

สัดสวนมูลค าการใชวัตถุดิบภายในประเทศเมื่อเทียบกับมูลคาปจจัยนําเขา

-1 สัดสวนมูลคาการใชวัตถุดิบภายในประเทศ ลดลง

0 สัดสวนมูลคาการใชวัตถุดิบ ภายในประเทศ เทาเดิม

+1 สัดสวนมูลคาการใชวัตถุดิบ ภายในประเทศ เพิ่มขึ้นนอยกวารอยละ 50

-1 สัดสวนมูลคาการใชวัตถุดิบภายในประเทศ ลดลง

0 สัดสวนมูลคาการใชวัตถุดิบ ภายในประเทศ เทาเดิม

+1 สัดสวนมูลคาการใชวัตถุดิบ ภายในประเทศ เพิ่มขึ้นนอยกวารอยละ 50

Page 139: CDM Manual

ระดับการใหคะแนน I. ดัชนีวดั

II. เกณฑการใหคะแนน III.

โครงการใหมที่ยื่นขอความเหน็ชอบเปนโครงการ CDM (PDD)

IV. โครงการที่ไดเริม่ดําเนินการแลวและยื่นขอความเห็นชอบเปนโครงการ CDM

+2 สัดสวนมูลคาการใชวัตถุดิบ ภายในประเทศ เพิ่มขึ้น เทากับหรือมากกวารอยละ 50

+3 มีระบบการจัดการราคาและวัตถุดิบที่เปนธรรมตอผูมีสวนเกี่ยวของทุกฝาย

+2 สัดสวนมูลคาการใชวัตถุดิบ ภายในประเทศ เพิ่มขึ้น เทากับหรือมากกวารอยละ 50

+3 มีระบบการจัดการราคาและวัตถุดิบที่เปนธรรมตอผูมีสวนเกี่ยวของทุกฝาย

หมายเหตุ : พื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่โลงซึ่งมีพืชพรรณเปนองคประกอบหลัก ไดรับการจัดการตามหลักวิชาวนวัฒนวิทยาและภูมิสถาปตย เพื่อเสริมสรางภูมิทัศนใหเอื้ออํานวยตอการพักผอนหยอนใจ และทําหนาที่เปนปอดของเมืองอยางยั่งยืน อันจะทําใหชุมชนเมืองเปนเมืองสีเขียวที่นาอยูตลอดไป จะเปนที่ดินของรัฐ ที่ดินเอกชน หรือที่ดินประเภทพิเศษ ซึ่งไดแก ที่ดินทรัพยสินสวนพระมหากษัตริย และที่ดินศาสนสถานก็ได จุดสําคัญไมไดอยูที่ความเปนเจาของ แตอยูที่หนาที่หลักของที่ดินนั้นๆ ขอบเขตของพื้นที่ที่จัดวาเปนพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนไดแก

1) พื้นที่ธรรมชาติ หมายถึง พื้นที่แหลงน้ํา ลําธาร คูคลอง ทะเลสาบ พรุ บึง ชายหาด เนินเขา ภูเขา และปาไม ซึ่งจําเปนจะตองอนุรักษไว

2) พื้นที่สีเขียวเพื่อบริการ ไดแก สวนสาธารณะ สนามกีฬากลางแจง สนามเด็กเลน ลานเมือง สวนพฤกษศาสตร สวนรุกขชาติ สวนสุขภาพ สวนสัตว ฯลฯ ซึ่งประชาชนสามารถเขาไปใชบริการได

3) พื้นที่สีเขียวเพื่อสิ่งแวดลอม ไดแก พืน้ที่สวนไมผลยืนตน สวนปา พื้นที่สีเขียวในหนวยงานราชการ และในที่ดินของเอกชน แมประชาชนจะไมสามารถเขาไปใชบริการไดโดยตรงแตมีคุณคาดานสิ่งแวดลอมตอชุมชนโดยรวม ซึ่งเปนเสมือนหนึ่งปอดของชุมชนเมือง

4) พื้นที่สีเขียวริมเสนทางสัญจร ไดแก พื้นที่แนวถนน เกาะกลางถนน ทางเดิน แนวถอยรน ริมแมน้ํา และริมทางรถไฟ

Page 140: CDM Manual

เอกสารอางอิง กรมพัฒนาพลงังานทดแทนและอนุรักษพลังงาน. 2548. รายงานฉบับสุดทาย การศกึษา

กําหนดกรอบและหลักเกณฑการดําเนินงานดานกลไกการพัฒนาท่ีสะอาด (CDM) สําหรับภาคพลังงานของประเทศ. กรุงเทพฯ

กรมพัฒนาพลงังานทดแทนและอนุรักษพลังงาน. 2550. โครงการ CDM. คนขอมูลวันที่ 10 สิงหาคม 2550 จาก http://www.dede.go.th/dede/5_extreme/PIN_DEDE_Thai%20 version.doc

สถาบันสิ่งแวดลอมไทย. 2540. บทสรุปสําหรับผูบริหาร โครงการศกึษาและจัดทําบัญชี รายการแหงชาติวาดวยปริมาณการปลอยของกาซเรือนกระจกที่มิไดถูกควบคมุโดยพิธี สารมอลทรีออล. รายงานเสนอตอสํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดลอม. กรุงเทพฯ

สํานักงานคณะกรรมการพฒันาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. 2549. แผนพฒันาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาต ิฉบับท่ี 10. กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี

สํานักงานคณะกรรมการพฒันาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. 2550. รายงานการฝกอบรม Climate Change : Mitigation and Adaptation Norrkoping. Sweden. กรุงเทพฯ :

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม. 2549. แนวทางการมีสวนรวมของประชาชนและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมทางสังคมในกระบวนการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพยโูรการพิมพ จาํกัด

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม. 2549. สาระนารู การดําเนินโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด & Carbon Credit. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม. 2550. หลักเกณฑการพัฒนาที่ยัง่ยนืสําหรับโครงการกลไกการพฒันาที่สะอาด. คนขอมูลวันที่ 10 สิงหาคม 2550 จาก http://www.onep.go.th/CDM/publication.html

อัษฎาพร ไกรพานนท. 2546. กลไกการพัฒนาที่สะอาด. กรุงเทพฯ

Page 141: CDM Manual

CDM – Executive Board. 2006. Clean Development Machanism Project Design Document Form (CDM-PDD) – Version 03.1.

Institute for Global Environmental Strategies (IGES). 2006. CDM Country Guide for THAILAND. Japan : Sato Printing Co.Ltd

Institute for Global Environmental Strategies (IGES). 2007. CDM in CHARTS – Ver.3.0. Japan

Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). 1996. Climate Change 1995 : The Science of Climate Change. Great Britain : Cambridge University Press.

Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). 1996. Revised 1996 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories: Reference Manual.

Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). 2001. Climate Change 2001, IPCC Third Assessment Report: Scientific Basis.

Kansri Boonprakob. 1996. Climate Change – Local Solution for Global Problems : Thailand’ s Role in a Global Contest. Bangkok : Thailand Environment Institute

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP). 2005. Discussion Paper on Roadmap of Climate Change and CDM Management in Thailand. Bangkok.

Point Carbon. 2005. Annex I Parties’ current and potential CER Demand: For Asian Development Bank and International Emissions Trading Association.

Prototype Carbon Fund. 2004. State and Trends of the Carbon Market. Washington DC.

Thailand Environment Institute, submitted to Office of Environment Policy and Planning. 1997. Thailand’s National Greenhouse Gas Inventory 1990. Bangkok.

UNFCCC. 1997. Kyoto Protocol to the United Nations Framework Convention on Climate Change.

Page 142: CDM Manual

UNFCCC. 2001. Decision 17/CP.7 Marrakesh Accords: Modalities and Procedures for a Clean Development Mechanism as defined in Article 12 of the Kyoto Protocol.

UNFCCC. 2001. Decision 24/CP.7 Procedures and mechanisms relating to compliance under the Kyoto Protocol.

UNFCCC. 2002. Annex II to decision 21/CP.8 Simplified modalities and procedures for small–scale clean development mechanism project activities.

UNFCCC. 2003. Decision 19/CP.9 Modalities and procedures for afforestation and reforestation project activities under the clean development mechanism in the first commitment period of the Kyoto Protocol.

UNFCCC. 2006. Report of the Conference of the Parties serving as the meeting of the Parties to the Kyoto Protocol on its first session, held at Montreal from 28 November to 10 December 2005.

UNFCCC. 2007. Annex I GHG emissions 1990-2004 Retrieved from http://ghg.unfccc.int/index.html

UNFCCC. 2007. Distribution of registered project activities by scope. Retrieved from

http://cdm.unfccc.int/Statistics/Registration/RegisteredProjByScopePieChart.html

UNFCCC. 2007. Distribution of registered project activities by Host Party. Retrieved From http://cdm.unfccc.int/Statistics/Registration/NumOfRegisteredProj ByHostPartiesPieChart.html

UNFCCC. 2007. List of Annex I Parties to the Convention. Retrieved from http://unfccc.int/parties_and_observers/parties/annex_i/items/2774.php

UNFCCC. 2007. List of DOEs. Retrieved from http://cdm.unfccc.int/DOE/list/index.html

United Nations Environment Programme. 2004. Legal Issues Guidebook to the Clean Development Mechanism. 2nd edition. Denmark. UNEP RISO Centre

Page 143: CDM Manual

United Nations Environment Programme. 2004. UNEP project CD4CDM, CDM Information and Guidebook. 2nd edition. Denmark. UNEP RISO Centre

World Bank Institute. 2007. State and Trends of the Carbon Market 2007. Washington D.C.