เอกสารเผยแพร บทความ ก รgrad.rtu.ac.th/pdf_files/thesis...

432
อกสารเผยแพรบทความ ารศึกษาคนควาดวยตนเอง ะดับบัณฑิตศึกษา บั ณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี ปที2 ฉบับที4 เดือนมกราคม 2555

Upload: others

Post on 20-Jan-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • เอกสารเผยแพรบทความ การศึกษาคนควาดวยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา

    บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชธานี

    ปที่ 2 ฉบบัที่ 4 เดือนมกราคม 2555

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    กเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารจากคณบดบัีณฑติวทิยาลยั

    การจัดทําเอกสารเผยแพร่บทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับน้ีได้จัดขึ้น เป็นปีที่ 2 ฉบับที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดจากผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ให้แพร่หลายในวงกว้างต่อสาธารณชน ซึ่งสอดคล้องพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชธานี ที่ต้องการสนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัย โดยเฉพาะอย่างย่ิงในระดับบัณฑิตศึกษา ให้ได้มีโอกาสตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และยังเป็นแนวทางนําไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของงานวิจัย และการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย

    บัณฑิตวิทยาลัย ขอขอบคุณคณะทํางานที่ร่วมมือกันในการจัดทําเอกสารเผยแพร่ฉบับน้ี จน

    สําเร็จลุล่วงด้วยดี หวังว่าเอกสารฉบับน้ีจะเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านในวงกว้าง และสามารถนําไป

    ประยุกต์และพัฒนาความรู้ต่อไป

    รองศาสตราจารย์ ดร.จรูญ คูณมี

    คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ข เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    คณะกรรมการพิจารณาบทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

    (Peer Review)

    1. รองศาสตราจารย์ ดร.จรูญ คูณมี 2. รองศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล 3. รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาพ บุญไชย 4. รองศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ 5. รองศาสตราจารย์ อุไรวรรณ อินทรีย์ 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระ สุภากิจ 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ น่ิมจินดา 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จํารัส มุกุศล 9. ดร.สิริรัตน์ เกษประทุม 10. ดร.อดุลศักดิ์ สุนทรโรจน์ 11. ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร 12. ดร.ชัชวาลย์ คัมภีรวัฒน์ 13. ดร.ชาญยุทธ หาญชนะ

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    คเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารบัญ

    หน้า

    ศึกษาการดําเนินการบริหารงานสินทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 1

    สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1

    กฤษณา กฤตาคม

    ศึกษาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา 9

    กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเทศบาลสังกัด สํานักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี

    เกรียง ไกรเพชร

    การพัฒนาทักษะพ้ืนฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 17

    โดยใช้หนังสือประกอบภาพการ์ตูน

    จรูญศร ี ไชยอาษา

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 23

    เร่ืองเลขยกกําลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โดยใช้แบบฝึกทักษะ

    ชนมพันธ์ ทรัพย์ศิร ิ

    การประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 32

    ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอําเภอวารินชําราบ

    ชนุติกาญจน์ มาสกุล

    การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เร่ือง ระบบสมการเชิงเส้น 39

    กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

    ณรงค์ จุมพล

    การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนากระบวนการเรียนรู ้กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเดชอุดม 49

    อําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา อุบลราชธานี เขต 5

    ณัฏพล จันทรา

    การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษา 56

    ของโรงเรียนพงษ์พิกุลเชียงใหม ่ อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม ่

    ทัศนวรรณ อึ้งสายเชื้อ

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ง เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    สารบัญ

    หน้า

    ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษา โรงเรียนบ้านนกเต็น 65

    อําเภอพิบูลมังสาหาร สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

    นฤเนตร มีบุญ

    ความพึงพอใจของผูรั้บบริการที่มีต่อการให้บริการห้องสมุดประชาชนอําเภอตระการพืชผล 74

    ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

    นิทรา วสุเพ็ญ

    การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ สําหรับเด็กอนุบาลปีที่ 2 84

    เพื่อส่งเสริมคุณธรรม โดยใช้หนังสือนิทาน

    ดาวนิด ใบคํา

    การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด กลุ่มกิจกรรมกาชาดและยุวกาชาด 92

    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เพลง

    ปกิตตา เหมือนหนู

    ศึกษาระดับความพึงพอใจของข้าราชการครูที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 100

    กลุ่มโรงเรียนนาเรือง นาเยีย สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกประถมศึกษา อุบลราชธาน ีเขต 5

    ประกอบ นินทรัตน์

    การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรูเ้พื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 108

    สําหรับเด็กอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

    ประภาทิพย์ หวังดีธนพัฒน์

    การพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการ 116

    โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านคําเกิ่ง หนองจิก

    สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1

    ปราโมทย์ ศรีหล้า

    การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เร่ืององค์ประกอบของศิลปะ 130

    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้บทเรียนสําเร็จรูป

    ปอร์ลชัย อินทะวัฒน์

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    จเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารบัญ

    หน้า

    การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ 136

    เร่ืองลําดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดการสอน

    ปัณพร วงษ์กลาง

    ความเข้าใจผญาของนักเรียนและครูผู้สอน โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร 145

    อําเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธาน ี

    เปลื้อง ประสพสุข

    ศึกษาการดําเนินการพัฒนาและเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่าย 152

    สถานศึกษาเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 5

    พชรภัทร จันทรา

    ความต้องการของพระภิกษุและสามเณรในการพัฒนาวัดแสนสุข 160

    ตําบลแสนสุข อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธาน ี

    พระฐากูร เวฬุวนารักษ์

    ความต้องการของชุมชนต่อบทบาทของพระสงฆ ์ วัดด้ามพร้า ตําบลขามใหญ่ 168

    อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    พระนิว อิสฺสรธมฺโม (สิมศร)ี

    การศึกษาความต้องการของชุมชนที่มีต่อพระสงฆ์ในวัดก้านเหลือง 178

    ตําบลขามใหญ่ อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    พระมหาพงษ์ธีระวัชร ธมฺมกาโม

    การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุม่สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 185

    เร่ือง วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา ชัน้มัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใชบ้ทเรียนสําเร็จรูป

    พิทักษ์ชัย คําพะทา

    การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 194

    ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

    พิมพ์เพ็ญ วิชัย

    ความต้องการของข้าราชการครูที่มีต่อการให้บริการของกลุ่มอํานวยการ 204

    สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 1

    เพชรมณ ี บุญดาว

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ฉ เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    สารบัญ

    หน้า

    ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนบ้านโนนกาหลง อําเภอพิบูลมังสาหาร 211

    สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

    เพชรมณ ี มีบุญ

    การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 219

    วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

    ไพรวรรณ ศรเผือก

    ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาสถานศึกษา โรงเรียนเลิงนกทา อําเภอเลงินกทา 226

    จังหวัดยโสธร สํานักงานเขตพื้นที่การศกึษายโสธร เขต 2

    ภาณุวัฒน์ จําปาแดง

    ศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองวารินชําราบ 233

    ภาวิน ี ไตรศิวะกุล

    ศึกษาบทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษา 241

    โรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 9 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอํานาจเจริญ

    ยิ่งภพ ทองศรีน้อย

    ศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ในการจัดการศกึษา 250

    โรงเรียนในเขตตําบลสะเดาใหญ่ อําเภอขุขันธ ์สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

    รสสุคนธ์ รัตนา

    ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนและการจัดสวัสดิการ 258

    นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) อําเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธาน ี

    วลัยจิตร์ เดชคําภู

    การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนบ้านหนองแต้ 266

    อําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

    วัชร ี อ่อนละมุน

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ชเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารบัญ

    หน้า

    ความพึงพอใจในการทํางานของครูโรงเรียนเอกชน 273

    ในสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4

    สาคร กิ่งจันทร์

    ปัจจัยส่งเสริมการดําเนินการในระบบประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 282

    กลุ่มเครือข่าย แก้งโนนกาเร็น อําเภอเดชอุดม

    สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

    วิโรจน์ ใกล้ฝน

    การพัฒนาระบบสารสนเทศนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองมะแซว 291

    สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 1

    วีรศักดิ์ สารธิยากุล

    ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 302

    เร่ือง ลําดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

    วุฒินันท์ เทียมสุวรรณ

    การพัฒนาแผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เร่ือง การใช้ Verb to be ในประโยค 313

    Present Simple Tense ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

    ศวรรยา นอลา

    การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยในช้ันเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านน้ําปลีก 322

    สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาอํานาจเจริญ

    ศักดา อุดมศร ี

    ศึกษาการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตําบลห้วยไผ ่ 330

    อําเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธาน ี

    ศักดิ์อุดม วรรณทวี

    การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เร่ือง โลกและการเปลี่ยนแปลง 338

    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

    สนธยา พิมพกรรณ

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ซ เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    สารบัญ

    หน้า

    การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวัดและประเมินผล 346

    โรงเรียนบ้านโคกสว่าง อําเภอเมือง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอํานาจเจริญ

    สิทธิพล มณีรัตน์

    การพัฒนาแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ 355

    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

    สุดารักษ์ ผาดโผน

    การพัฒนาครูด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โรงเรียนบ้านบัวท่า อําเภอสว่างวีระวงศ ์ 366

    สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 4

    สุดาวรรณ ไขแสง

    การศึกษาความคิดเห็นของพนักงานครูที่มีต่อการพัฒนาสถานศึกษาในสังกัด 374

    เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อําเภอพิบูลมงัสาหาร จังหวัดอุบลราชธาน ี

    สุปรีดา สิงห์เรือง

    การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านสติปัญญา 385

    ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้หนังสือภาพการ์ตูน

    สุภาพ ผ่องใส

    ศึกษาการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน บ้านค้อ หมู่ที่ 1 ตําบลกุดลาด 392

    อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธาน ี

    สุภาพร จันทรุกขา

    การศึกษาการดําเนินงานพัสดุในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด 398

    สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 1

    สุมณฑา วงศ์มั่น

    ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุม่เครือข่าย 405

    โรงเรียนบ้านก้องนาแค สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธาน ี เขต 4

    อภัย จรุงพันธ์

    ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กลุ่มสาระการเรียนรู้ 414

    ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) เร่ือง School Days ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

    อัจฉรา เทียมสุวรรณ

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    1เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ชื่อเรื่อง ศึกษาการดําเนินการบริหารงานสินทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

    สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1

    ผู้ศึกษาค้นคว้า นางกฤษณา กฤตาคม

    ปริญญา ศษ.ม. สาขาวิชา การบริหารการศึกษา

    บทคัดย่อ

    การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการดําเนินการบริหารงานสินทรัพย์ของสถานศึกษาขั้น

    พื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่

    สินทรัพย์ จํานวน 162 คน โดยศึกษา 4 ด้าน คือ ด้านการจัดหาพัสดุ ด้านการแจกจ่ายและการควบคุม ด้านการ

    บํารุงรักษาพัสดุ และด้านการจําหน่ายพัสดุเคร่ืองมือท่ีใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ แบบสอบถามท่ีผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น

    เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า ( Rating Scale) 5 ระดับ จํานวน 41 ข้อ มีค่าอํานาจจําแนกรายข้อระหว่าง 0.20

    ถึง 0.77 และค่าความเช่ือมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน

    มาตรฐาน

    ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

    การบริหารงานสินทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมและรายด้านท้ัง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก

    เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดหาพัสดุ ด้านการแจกจ่ายและการควบคุม ด้านการจําหน่าย

    พัสดุ และด้านการบํารุงรักษาพัสดุ โดยมีรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน คือ ผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนมีส่วนร่วมใน

    การพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้าง มีการจัดทําทะเบียนครุภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน มีผู้รับผิดชอบเพียงพอใน

    การบํารุงรักษาพัสดุ และมีการสํารวจพัสดุที่ชํารุดเพื่อจําหน่ายในแต่ละปี

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    2 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    ภูมิหลัง

    การบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์เป็นกระบวนการที่สําคัญท่ีจะเป็นแนวทางช่วยให้การทํางานด้านการ

    พัสดุและสินทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด เร่ิมตั้งแต่การจัดหาพัสดุ การควบคุมพัสดุและ

    สินทรัพย์ การจําหน่าย การบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ของหน่วยงานราชการท่ีมีประสิทธิภาพจะต้องมีการ

    ปฏิบัติงานที่ดีและมีวิธีการที่ถูกต้องตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ซึ่งเป็นข้อกําหนดที่สําคัญยิ่ง

    สําหรับการปฏิบัติงานราชการทุกประเภทให้ประสบผลสําเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด

    (ปรีชา จําปารัตน์ และไพศาล ชัยมงคล. 2527 : 3) อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติงานพัสดุนับวันจะยิ่งทวีความซับซ้อน

    มากยิ่งขึ้นดังจะเห็นได้จากการใช้จ่ายงบประมาณในการลงทุนพัฒนาประเทศเกือบท้ังหมดเป็นการจัดซื้อจัดจ้างโดย

    ผ่านการะบวนการในการปฏิบัติงานพัสดุท้ังสิ้นการปฏิบัติงานพัสดุที่มีประสิทธิภาพจึงย่อมส่งผลถึงความสัมฤทธิผล

    ของแผนงาน โครงการ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งความสัมฤทธิผลดังกล่าวมีผลถึงการเพิ่มพูน

    รายได้ประชาชาติและความยินดีอยู่ดีของประชาชน (สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย. 2538 : คํานํา)

    กระบวนการบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ จะแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ การจัดหา การแจกจ่ายและควบคุม

    การบํารุงรักษา การจําหน่าย ทุกขั้นตอนจําเป็นต้องอาศัยผู้ปฏิบัติงานที่มีความละเอียดรอบคอบและเชี่ยวชาญใน

    ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ท้ังนี้เพื่อให้ได้พัสดุที่มีคุณภาพด ีราคาเหมาะสมไว้ใช้ในการปฏิบัติราชการ เพื่อให้

    การใช้พัสดุดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุดโดยประหยัด ใช้ได้ตรงตามแผนและวัตถุประสงค์ที่เบิกจําเป็นจะต้องมีการวาง

    ระบบในการควบคุม การเก็บรักษา การแจกจ่าย การซ่อมบํารุงการใช้งานและการจําหน่ายให้เหมาะสมสอดคล้องกัน

    อีกทั้งเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ (สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย. 2538 : 55)

    สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 เป็นสถานศึกษาที่ผลิต

    นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับปฐมวัย ปัจจัยที่สําคัญก็คือ แบบเรียน วัสดุอุปกรณ์ อาคาร

    เรียน นอกจากจะเรียนทฤษฎีแล้วยังจะต้องเรียนภาคปฏิบัติด้วยในรายวิชาท่ีกําหนด ดังนั้นจะต้องมีการจัดหาสื่อวัสดุ

    อุปกรณ์ให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเมื่อนํามาใช้กับการเรียนการสอนแล้วหากมีการใช้และซ่อมบํารุงรักษาที่

    ถูกต้องเหมาะสม สื่ออุปกรณ์จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน รวมท้ังค่าใช้จ่ายในด้านการดูแลรักษาและการซ่อมแซมก็

    จะต่ํา

    สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ในฐานะผู้สนับสนุนและดูแลให้คําแนะนําด้านการ

    ดําเนินการเกี่ยวกับกับการบริหารสินทรัพย์ของโรงเรียนในสังกัด นอกจากนี้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สินทรัพย์ต้องการ

    ให้จัดทําคู่มือเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตลอดจนการอบรมเสริมความรู้ ความเข้าใจเพื่อจะได้ปฏิบัติงานให้มี

    ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จึงได้จัดโครงการอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

    ตลอดจนจัดทําคู่มือและแนวปฏิบัติให้แก่ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สินทรัพย์และเจ้าหน้าที่อื่น แต่จากการรายงานของ

    สํานักงานตรวจเงินแผ่นดินพบว่า ปัญหาดังกล่าวข้างต้นยังคงมีเกือบทุกโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ

    ณรงค์ จุลชาติ ที่ได้ศึกษาการจัดซื้อสินทรัพย์ของกรมทางหลวงพบว่ากระบวนการดําเนินงานทางด้านเอกสาร

    ค่อนข้างยาวและค่อนข้างยุ่งยากสับสน มีการใช้แบบพิมพ์เป็นจํานวนมาก การซื้อขายไม่สามารถดําเนินการส่งของได้

    ทันที เพราะต้องใช้เวลาในการจัดหา (ณรงค์ จุลชาติ. 2526 : 69 – 79) และจากการวิจัยของประเสริฐ ไสยวงศ ์

    ที่ได้ศึกษา การปฏิบัติงานสินทรัพย์ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ : การศึกษา

    เฉพาะกรณีโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี พบว่าการปฏิบัติงานสินทรัพย์

    โรงเรียนประถมศึกษา เน้นการจัดทําเอกสารการจัดซื้อให้ถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบที่กําหนดไว้เท่านั้น การ

    ปฏิบัติงานขั้นตอนอ่ืน ๆ มีการปฏิบัติน้อย เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสินทรัพย์ เจ้าหน้าที่สินทรัพย์

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    3เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    มีภาระที่ต้องปฏิบัติงานมากเกินไป สินทรัพย์ที่จัดซื้อมามีคุณภาพต่ํา และราคาแพงกว่าราคาที่ซื้อขายกันในน

    ท้องตลาดตามปกต ิ (ประเสริฐ ไสยวงศ.์ 2532 : 116)

    ผู้ที่ทําหน้าที่บริหารสินทรัพย์จะต้องนําเอานโยบายและแผนงานที่ผู้บริหารกําหนดแล้วมาคํานวณความ

    ต้องการด้านสินทรัพย์เพื่อสนองความต้องการของโครงการดังกล่าว ในการคิดคํานวณหรือกําหนดความต้องการ

    สินทรัพย์นั้น จะต้องอาศัยข้อมูล สถิติที่รวบรวมไว้เป็นพื้นฐานในการกําหนดความต้องการของสินทรัพย์ แล้วจึง

    นํามาคิดค่าออกมาเป็นงบประมาณที่จะต้องจัดเตรียมเพื่อขออนุมัติต่อไป

    ในการกําหนดความต้องการของสินทรัพย์นั้นมีข้อที่ควรคํานึง ดังนี้

    1 ควรจะกําหนดความต้องการให้พอดี คือไม่เผื่อไว้มากจนเหลือ หรือไม่มีที่เก็บและก็ไม่ควรจะมี

    น้อยเกินไปจนอาจเกิดความขาดแคลนได ้

    2 ต้องแน่ใจว่าสินทรัพย์ที่กําหนดความต้องการ เป็นความต้องการที่แท้จริง ไม่ใช่ความ “ อยากได้ ”

    ความต้องการแท้ที่จริง ต้องมีการระบุเหตุผลเกี่ยวพันกับภารกิจในช่วงเวลาที่กําหนดไว ้

    3 การได้มาซึ่งสินทรัพย์ตามความต้องการน้ัน ควรจะได้มาทันเวลาท่ีจะใช้งานตามโครงการ ไม่ใช่

    ได้มาก่อนแล้วรอไว้จนเสื่อมสภาพ หรือได้มาช้าจนโครงการเริ่มดําเนินไปแล้วหรือเกือบเสร็จสิ้นแล้ว

    เมื่อได้เร่ิมมีการกําหนดความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแล้ว ก็จะจบลงด้วยการได้มาซึ่งความต้องการ

    นัน้ การจัดหาสินทรัพย์ที่ดีจะเป็นเคร่ืองมือสําคัญ ให้การบริหารสินทรัพย์ให้สําเร็จตามวัตถุประสงค์ กาจัดหาที่ดีต้อง

    มีลักษณะที่ง่ายต่อการปฏิบัติ มีความยืดหยุ่นพอสมควรและก่อให้เกิดการประหยัด การจัดหาเกี่ยวข้องกับเร่ืองของ

    กฎหมาย ระเบียบ คําสั่ง ประกาศ ฯลฯ ของหน่วยงาน เนื่องจากการจัดหาเกี่ยวพันกับการโอนสิทธิระหว่างบุคคล

    หรือนิติบุคคล ตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป บางคร้ังความยุ่งยากก็อาจเกิดขึ้นจากข้อตกลงหรือเงื่อนไขตามสัญญาระหว่างผู้ซื้อ

    และผู้ขาย ผู้ท่ีเป็นเจ้าหน้าที่จัดหาจึงต้องศึกษากฎและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอและเข้าใจได้แจ่มแจ้งโดย

    ตลอด

    การได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้นทําได้หลายวิธี นับแต่การรับโอน การรับบริจาค การรับความช่วยเหลือ การยืม

    การแลกเปลี่ยน การเช่า และการจัดซื้อ ในการจัดหาสินทรัพย์โดยวิธีใดก็ตามจะแน่ใจว่าเป็นการจัดหา เมื่อเกิด

    ความต้องการที่แท้จริงขึ้น และจะต้องคิดเผ่ือถึงเร่ืองความสามารถและการเตรียมการในด้านการเก็บรักษา การรู้จัก

    ใช้ประโยชน์และความรับผิดชอบในการบํารุงรักษา และก่อนจะตัดสินใจจัดหาด้วยวิธีการ “ ซื้อ ” ก็ควรจะคํานึงถึง

    วิธีการอื่นที่เป็นไปได้และประหยัดกว่า เช่น การยืม การรับโอนจากหน่วยอื่น หรือถ้าสามารถศึกษาเปรียบเทียบว่า

    การเช่าหรือการแลกเปลี่ยนจะสามารถประหยัดเงินได้มากกว่าก็น่าจะทํา การจัดซื้อถึงแม้ว่าจะดูเหมือนเป็นวิธีที่

    สะดวกและนิยมทํากันมากท่ีสุด แต่ก็ควรเป็นวิธีการที่ได้ผ่านการไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบจนเห็นว่า ไม่มี

    วิธีการจัดหาอย่างอื่นที่เหมาะสมเท่า จึงจะถึงขั้นการจัดซื้อ

    แนวความคิดขั้นพื้นฐานในด้านการจัดซื้อนั้น ถือว่าควรรวมการจัดซื้อสินทรัพย์ โดยเฉพาะสินทรัพย์ท่ีใช้

    ท่ัว ๆ ไป เข้าไว้ในหน่วยจัดซื้อหน่วยเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการควบคุมคุณภาพและความประหยัดเป็น

    มาตรฐาน แต่ ทั้ งนี้ ก็ควรต้องคํานึงถึงความรวดเ ร็วในการจัดหาให้ ทันความต้องการของหน่วยใช้ด้วย

    (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2536 : 8 – 12)

    สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ในฐานะผู้สนับสนุนและดูแลให้คําแนะนําด้านการ

    ดําเนินการเกี่ยวกับกับการบริหารสินทรัพย์ของโรงเรียนในสังกัด ต้องการทราบความต้องการของผู้บริหาร

    สถานศึกษา และเจ้าหน้าที่สินทรัพย์ของสถานศึกษา ในเร่ืองการจัดซื้อ/จ้าง และการจัดหาพัสดุ การควบคุมพัสดุ

    และการดําเนินงานที่ราชพัสดุ

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    4 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ศึกษาค้นคว้าจึงสนใจศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานสินทรัพย์ของผู้บริหาร

    สถานศึกษา และเจ้าหน้าที่สินทรัพย์ การดําเนินงานสินทรัพย์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่

    การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 เพื่อนําผลการศึกษาค้นคว้าไปปรับปรุงผลการปฏิบัติงานและวิธีการบริหารงาน

    สินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    กรอบแนวคิดของการศึกษาค้นคว้า

    การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ศึกษาค้นคว้าได้กําหนดกรอบการศึกษาในด้านการบริหารงานสินทรัพย์ใน

    สถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน ของผู้บริหารสถานศึกษา และเจ้าหน้าที่สินทรัพย์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    อุบลราชธาน ี เขต 1 สรุปเป็นกรอบแนวคิด 4 ด้าน ดังนี้

    1 การจัดหาพัสดุ

    2 การแจกจ่ายและควบคุมพัสดุ

    3 การบํารุงรักษาพัสดุ

    4 การจําหน่ายพัสดุ

    ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

    เพื่อศึกษาการบริหารงานสินทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    อุบลราชธาน ีเขต 1

    ความสําคัญของการศึกษาค้นคว้า

    ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จะสามารถนําข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาปรับปรุงผล

    การปฏิบัติงานและวิธีการบริหารงานสินทรัพย์ของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต

    1 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนนําไปแนวทางการบริหารงานพัสดุในสถานศึกษาด้านอาชีพศึกษาอื่น ๆ ต่อไป

    ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

    1 ประชากรและกลุ่มตัวย่าง

    1.1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้รับผิดชอบงานสินทรัพย์ของโรงเรียน สังกัด

    สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธาน ี เขต 1 จํานวน 275 คน

    1.2 กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาค้นคว้าคือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้รับผิดชอบงานสินทรัพย์ของ

    สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 162 คน โดยใช้ตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970 : 608)

    แล้วดําเนินการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งช้ัน (Stratified Random Sampling) แบ่งเป็นผู้บริหาร จํานวน 81 คน

    ผูรั้บผิดชอบงานสินทรัพย์ของโรงเรียน จํานวน 81 คน รวมท้ังสิ้น 162 คน

    2 ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า

    2.1 ตัวแปรอิสระ คือสถานภาพ แบ่งเป็น

    2.1.1 ผู้บริหารโรงเรียน

    2.1.2 ผูรั้บผิดชอบงานสินทรัพย์ของโรงเรียน บัณ

    ฑิตวิท

    ยาลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    5เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    2.2 ตัวแปรตาม คือ ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารงานสินทรัพย์ขอสถานศึกษาขั้น

    พื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 1 ตามกรอบแนวคิด 4 ด้าน คือ

    2.2.1 การจัดหาพัสดุ

    2.2.2 การแจกจ่ายและควบคุมพัสดุ

    2.2.3 การบํารุงรักษาพัสดุ

    2.2.4 การจําหน่ายพัสดุ

    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

    เคร่ืองมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลในการศึกษาคร้ังนี้ เป็นแบบสอบถามท่ีผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น โดยแบ่ง

    ออกเป็น 2 ตอน ดังนี้

    ตอนที ่ 1 เป็นรายละเอียดส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม

    ตอนท่ี 2 เป็นแบบสอบถามการบริหารงานสินทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดนักงานเขตพื้นท่ี

    การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4

    ด้าน คือ ด้านการจัดหา ด้านการแจกจ่ายและควบคุม ด้านการบํารุงรักษา และด้านการจําหน่าย

    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

    1 สถิติที่ใช้หาคุณภาพของแบบสอบถาม

    1.1 การหาค่าอํานาจจําแนกแบบสอบถามรายข้อ โดยการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ตามวิธี

    ของเพียร์สัน (Pearson)

    1.2 หาค่าความเช่ือมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา ของครอนบาค

    (Cronback)

    2 สถิติพื้นฐาน

    2.1 ค่าเฉลี่ย (Mean)

    2.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

    นิยามศัพท์เฉพาะ

    1 สินทรัพย์ หมายถึง วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่มีไว้ใช้ในการปฏิบัติงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    อุบลราชธาน ี เขต 1

    2 การบริหารสินทรัพย์ หมายถึง การดําเนินการเกี่ยวกับสินทรัพย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน

    มากที่สุด ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

    2.1 การจัดหา หมายถึง การได้มาซึ่งพัสดุสําหรับการปฏิบัติงานตามปริมาณและคุณภาพในราคาที่

    เหมาะสมโดยวิธีการจัดซื้อ และการจัดจ้าง

    2.2 การแจกจ่ายและควบคุม หมายถึง การดําเนินการเกี่ยวกับสินทรัพย์ท่ีได้มา หรือแจกจ่ายให้แก่

    บุคคล และหน่วยงาน รวมท้ัง การจัดเก็บ และการลงบัญชีพัสดุไว้เป็นหลักฐาน

    2.3 การบํารุงรักษา หมายถึง การดําเนินการดูแลรักษา และการซ่อมแซมพัสดุให้อยู่ในสภาพด ี

    สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    6 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    2.4 การจําหน่าย หมายถึง การขาย แลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพ หรือทําลายสินทรัพย์ท่ีสิ้นสภาพหรือ

    หมดความจําเป็นหรือหากใช้งานต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเกินความจําเป็น

    3 ผู้บริหารโรงเรียน หมายถึง ผูทํ้าหน้าที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี

    เขต 1

    4 ผู้รับผิดชอบงานสินทรัพย์ของโรงเรียน หมายถึง หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่พัสดุ และผู้ที่

    ได้รับการแต่งตั้ง หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ี

    การศึกษาอุบลราชธาน ี เขต 1

    5 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง โรงเรียนท่ีจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง

    มัธยมศึกษาปีที่ 3

    สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

    การดําเนินการบริหารงานสินทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    อุบลราชธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านท้ัง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้

    ดังนี้ การจัดหาพัสดุ การแจกจ่ายและการควบคุมพัสดุ การจําหน่ายพัสดุ และการบํารุงรักษาพัสดุ

    1 ด้านการจัดหาพัสดุ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นว่าการดําเนินงาน

    อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีระดับการดําเนินงานสูง 3 อันดับแรก คือ ผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนมีส่วนร่วมในการพิจารณาในการ

    จัดซื้อ จัดจ้าง มีการวางแผนในการจัดหาพัสดุได้อย่างเหมาะสม และมีการดําเนินการจัดซื้อพัสดุตามความต้องการ

    ของงานและฝ่ายต่าง ๆ อยู่ในระดับน้อย

    2 ด้านการแจกจ่ายและการควบคุม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุของสถานศึกษา

    ขั้นพื้นฐาน เห็นว่าการดําเนินงาน อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีระดับการดําเนินงานสูง 3 อันดับแรก คือ มีการจัดทํา

    ทะเบียนครุภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องเป็นปัจจุบัน มีการตรวจสอบควบคุมพัสดุอย่างสมํ่าเสมอ และมีสถานท่ีจัดเก็บพัสดุ

    อย่างเพียงพอและปลอดภัยอยู่ในระดับน้อย

    3 ด้านการบํารุงรักษา ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นว่าการดําเนินงาน

    อยู่ในระดับมาก ข้อท่ีมีระดับการดําเนินงานสูง 3 อันดับแรก คือ มีผู้รับผิดชอบเพียงพอในการบํารุงรักษาพัสดุ

    ได้รับงบประมาณในการบํารุงรักษาพัสดุอย่างเพียงพอ ทะเบียนการควบคุมพัสดุได้มีการจัดทําอย่างต่อเนื่องที่

    สามารถรับการตรวจสอบได้เป็นปัจจุบันมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และมีการวางแผนในการบํารุงรักษาพัสดุ

    ให้สามารถใช้งานได้ทนทานอยู่ในระดับน้อย

    4 ด้านการจําหน่ายพัสดุ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นว่าการ

    ดําเนินงานอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีระดับการดําเนินงานสูง 3 อันดับแรก คือ มีการสํารวจพัสดุที่ชํารุดเพื่อการ

    จําหน่ายในแต่ละปี ผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจในการจําหน่ายพัสดุเป็นอย่างดี และผู้รับผิดชอบสามารถ

    ดําเนินการเกี่ยวกับการเงินจากการจัดจําหน่ายพัสดุได้อย่างถูกต้อง อยู่ในระดับน้อย

    อภิปรายผล

    จากสรุปผลการศึกษาค้นคว้า การดําเนินการบริหารงานสินทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด

    สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีประเด็นที่สําคัญท่ีควรนํามาอภิปรายผล

    ดังนี้

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    7เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    1 ด้านการจัดหาพัสดุ มีการดําเนินงานอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกส่วนมีส่วนร่วมใน

    การพิจารณาการจัดซื้อ จัดจ้าง การจัดหาที่ดีต้องมีลักษณะที่ง่ายต่อการปฏิบัติ มีความยืดหยุ่นพอสมควรและ

    ก่อให้เกิดการประหยัด การจัดหาเกี่ยวข้องกับเร่ืองของกฎหมาย ระเบียบ คําสั่ง ประกาศ ดังนั้นเป้าหมายของการ

    จัดหาพัสดุ คือ ต้องหาสิ่งที่ตรงตามความประสงค์ของโรงเรียนที่ต้องการใช้ในการปฏิบัติงานและใช้ในการเรียนการ

    สอน โดยเฉพาะครูจะเป็นการอํานวยความสะดวกให้แก่ครูในการปฏิบัติงาน ทําให้ครูเกิดความพึงพอใจ ส่งผลดีต่อ

    การจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นภารกิจหลักที่สําคัญของโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของหรรษา คลี่สุวรรณ

    (2532 : บทคัดย่อ ) ที่ได้ศึกษารูปแบบการบริหารสินทรัพย์ของวิทยาลัยพลศึกษา พบว่า ด้านการจัดหา การควบคุม

    ปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบและสอดคล้องตามความต้องการจําเป็นในการใช้งาน ควรกําหนดวิธีการควบคุม

    สินทรัพย์ให้ถูกต้องตามระเบียบสินทรัพย ์

    2 ด้านการแจกจ่ายและการควบคุม มีการดําเนินงานอยู่ในระดับมาก โดยได้มีการจัดทําทะเบียน

    ครุภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน การควบคุมพัสดุอาจถือเป็นหัวใจของการบริหารพัสดุเพราะหน่วยงานจะมีพัสดุ

    เข้ามาทันต่อความต้องการของหน่วยงานใช้หรือไม่ต้องอาศัยการควบคุม ต้องมีระบบการบันทึกและการจัดแฟ้มบัญชีคุม

    และบันทึกการเคลื่อนไหวของพัสดุเมื่อมีการแจกจ่าย เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบยอดตามบัญชีและพัสดุที่มีอยู่ให้ตรง

    ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดหาพัสดุต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สมบัติ เทศน้อย (2527 : 17)

    กล่าวถึงกระบวนการบริหารสินทรัพย์ไว้ดังนี้ การควบคุมสินทรัพย์ครุภัณฑ์ จะต้องจัดระบบการควบคุม การเก็บรักษา

    สินทรัพย์ครุภัณฑ์โดยจัดให้ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับงานโดยเฉพาะ จัดให้มีบัญชีคุมสินทรัพย์ครุภัณฑ์ให้ถูกต้องตามระเบียบ

    พร้อมที่จะตรวจสอบได้ทุกเวลา จัดหาระเบียบและกําหนดแนวปฏิบัติให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและผู้มาใช้บริการของ

    หนว่ยงาน ได้ศึกษาเพื่อปฏบัิติได้อย่างถูกต้อง

    3 ด้านการบํารุงรักษา มีการดําเนินงานอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีการดําเนินงานสูงสุดคือ ต้องมี

    ผู้รับผิดชอบเพียงพอในการบํารุงรักษาพัสดุ การบํารุงรักษาเป็นสิ่งท่ีจําเป็นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถอยู่ในสภาพที่พร้อม

    จะทํางานได้เมื่อเวลาต้องการ การดูแลรักษาที่ดีจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมลง นอกจากนี้การธํารงรักษาสภาพ

    ความพร้อมในการทํางานของอาคาร เคร่ืองจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้คงอยู่จึงเป็นสิ่งจําเป็น เพราะเคร่ืองอุปกรณ์และ

    อะไหล่ต่าง ๆ ย่อมเสื่อมสภาพไปหากไม่มีการบํารุงรักษาหรือซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพท่ีใช้การได้ จึงต้องให้ความดูแล

    รักษาและการซ่อมแซมเครื่องมือให้อยู่ในสภาพท่ีจะใช้การได้อยู่ตลอดเวลา และคุ้มกับราคาของเงินท่ีใช้ในการจัดซื้อ (

    ประณีต วิบูลยประพันธ.์ 2540 : 72 )

    4 ด้านการจําหน่ายพัสดุ มีการดําเนินงานอยู่ในระดับมาก ข้อท่ีมีการดําเนินงานสูงสุดคือ มีการสํารวจ

    พัสดุที่ชํารุดเพื่อจําหน่ายในแต่ละปี การจําหน่ายพัสดุเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการบริหารงานสินทรัพย์(พัสดุ) เม่ือพัสดุที่

    อยู่ในครอบครองเสื่อมสภาพ ล้าสมัย เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมัยใหม่ทําให้พัสดุที่มี

    อายุกลายเป็นของล้าสมัย บางคร้ังพัสดุสูญหาย หรือมีไว้เกินความต้องการ จึงต้องจําหน่ายออกไป สําหรับระเบียบสํานัก

    นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ ได้กําหนด เร่ือง การจําหน่ายพัสดุไว้ในหมวด 3

    ส่วนที่ 3 ข้อ 157 ถึงข้อ 161 ได้แก่ การขายแลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพ หรือทําลาย ซึ่งโรงเรียนขั้นพื้นฐานก็ถือ

    ปฏิบัติการจําหน่ายพัสดุตามระเบียบดังกล่าวด้วย ในปัจจุบันปัญหาพัสดุเหลือใช้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงานส่วนมาก

    ท้ังนี้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทําให้พัสดุที่ใช้อยู่

    กลายเป็นของล้าสมัยหลังจากการใช้ได้ไม่มากนัก ทําให้เกิดปัญหาความสิ้นเปลืองในการเก็บรักษา ดังเหตุผลดังนี้ การ

    จําหน่ายพัสดุจงึเขา้มามบีทบาทในวงจรการพัสดุอีกขัน้ตอนหนึ่ง ( ประณีต วิบูลยประพันธ ์. 2540 : 106 )

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    8 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2555 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    ข้อเสนอแนะ

    1 ข้อเสนอแนะในการนําไปใช้

    จากการศึกษาค้นคว้า เร่ือง การดําเนินการบริหารงานสินทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด

    สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 1 ผู้ศึกษาค้นคว้ามีข้อเสนอแนะดังนี้

    1.1 ด้านการจัดหา ควรมีการวางแผนหรือกําหนดโครงการงานหรือกิจกรรม หรือแผนปฏิบัติการ

    ประจําปี และกําหนดความต้องการในด้านการจัดหาให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับเพื่อให้การจัดหาพัสดุได้ตรง

    กับความต้องการและการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และควรมีการจัดให้มีการระดมทรัพยากรในชุมชนและการ

    ลงทุนด้านการศึกษา เปิดโอกาสให้ชุมชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในด้านการวางแผนจัดหาพัสดุ เช่น การรับบริจาค

    จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการศึกษา ได้แก่ ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ศิษย์เก่า เป็นต้น