แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3...

23
เอกสารประกอบการกาหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช ้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่ (Smart Farm) 1 แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์กับการเกษตร Potential of Smart Farm Application in Thailand พิสุทธิ์ ไพบูลย์รัตน์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ

Upload: others

Post on 15-Jan-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทศิทางการพฒันาและสนับสนุนการใชเ้ทคโนโลยกีารจัดการการเกษตรรปูแบบใหม(่Smart Farm) 1

แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์กับการเกษตร Potential of Smart Farm Application in Thailand

พิสุทธิ์ ไพบูลย์รัตน์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แห่งชาติ

Page 2: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 2

แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์กับการเกษตร Potential of Smart Farm Application in Thailand

บทน า

ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศท่ีส่งออกผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหารในอันดับต้นของโลกจ านวนหลายรายการ ความสามารถในการผลิตและส่งออกนี้ข้ึนอยู่กับความสามารถของเกษตรกรไทยส่วนหนึ่งที่ส่งผ่านความรู้และเทคโนโลยีการผลิตจากรุ่นสู่รุ่น แต่ในภาพความส าเร็จนี้ภาคการผลิตการเกษตรยังอยู่ในกลุ่มที่มีผลผลิตมวลรวมของชาติ(GDP)ต่ าสุด และยังถือว่าการใช้แรงงานในสัดส่วนกับประสิทธิภาพการผลิตยังด้อยกว่าภาคการผลิตอื่น ในขณะที่การพัฒนาระบบการสื่อสารท าให้โลกแคบลงในมุมมองของการสื่อสารระหว่างบุคคล ความรวดเร็วของการแพร่กระจายของข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลท าให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ความต้องการสินค้าที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย และตรวจสอบได้ ส่งผลให้ต้องมีการปรับตัวและปรับเปลี่ยนวิถีคิดใหม่ ในการผลผลิตสินค้าเกษตรขั้นปฐมและสินค้าเกษตรแปรรูป รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารแต่ใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็นจุดตั้งต้น ที่อยู่ในกลุ่ม Bio-Economy ในกระบวนการปรับตัวของภาคกรผลิตนี้จ าเป็นต้องใช้ ความรู้ในศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางวิทยาศาตร์การเกษตรและศาสตร์ทางวิศวกรรม คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดการความรู้(knowledge engineering) ร่วมกันในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการความรู้และการบริการภาคเกษตร IT for Agriculture หรือ Smart Farm หรือ Smart Agriculture หรือ Precision Farming ซึ่งนอกจากรมองด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตแล้ว ยังกล่าวถึงการมุ่งพัฒนาคนในภาคเกษตรทั้งในส่วนเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ บทความนี้มุ่งท่ีจะมองความเป็นไปได้ของการใช้เทคโนโลยีองค์รวมดังกล่าวเพ่ือก าหนดแนวทางการใช้งานในภาคการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นรูปธรรม ความหมายของ Smart Farm หรือ Smart Agriculture 1

การใช้ระบบการจัดการใหม่ส าหรับการเกษตรเชิงธุรกิจ ด้วยการผสมผสานศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์การเกษตร กับศาสตร์ทางวิศวกรรม เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ที่ประกอบด้วยการให้บริการความรู้และเพ่ิมประสิทธิภาพเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ การเกษตรไทยในระยะการปรับตัว ภาคการเกษตรของประเทศก าลังอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน ด้วยปัจจัยภายในและภายนอก ดังต่อไปนี้ ปัจจัยภายใน (ที่มา : 1แรงงานกับการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรไทย, นายกรวิทย์ ตันศรี เศรษฐกรอาวุโส, ส่วนเศรษฐกิจภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2555)

ประชากรประมาณ 16.7 ล้านคน หรือ 5.9 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 25.9% ของประชากรของประเทศ อยู่ในภาคเกษตร1

สัดส่วนแรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลปี 2533 ถึง 2555 ลดลงจากร้อยละ 63.3 เหลือร้อยละ 42.1 หรือลดลงประมาณ ปีละ 150,000 คน1

การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากรของประเทศ โดยเฉพาะประชากรในภาคเกษตรประชากรที่มีอายุเฉลี่ย 40-59 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนช่วงอายุที่ต่ ากว่ามีแนวโน้มลดลง การปลดประจ าการจากภาคเกษตร

Page 3: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 3

ของเกษตรกรที่มีความช านาญเฉพาะด้าน(skill labor) ที่ก้าวออกไปพร้อมความรู้และประสบการณ์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของภาคการผลิตลดลง1

สาเหตุของการขาดแคลนแรงงานนอกจาก อายุเฉลี่ยของเกษตรกรหลักสูงขึ้นแล้ว ยังมีทัศนะคติที่ไม่อยากให้ลูกสืบต่ออาชีพ เพราะรายได้และการยอมรับในสังคม เช่นผลการส ารวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในปี 2555 ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพท านา ร้อยละ 80.5 ไม่อยากให้ลูกประกอบอาชีพท านา1

ในขณะที่คนรุ่นหนุ่มสาวในชนบทยังนิยมศึกษาต่อและเข้ามาหางานที่มั่นคงในเมือง หรือโรงงานอุตสาหกรรม

ในปี 2555 มีแรงงาน พม่า ลาว และก าพูชา ประมาณร้อยละ 25.4 มีการใช้แรงงานต่างชาติในการปฏิบัติงานด้านการผลิตทางการเกษตรและมีแนวโน้มสูงขึ้น1

การให้ความสนใจศึกษาวิชาการด้านการเกษตรก็มีแนวโน้ม โดยการเลือกการศึกษาวิชาการเกษตรจะอยู่ในความสนใจล าดับ 3 หรือ 4 และมีแนวโน้มลดลง 3-5% ต่อปี1 และนักศึกษาที่จบการศึกษาด้านสายวิชาชีพเกษตร ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ออกมาประกอบอาชีพด้านการเกษตรอย่างแท้จริง

ร้อยละ 94.5 ของแรงงานภาคเกษตรมีระดับการศึกษา ม.ปลายหรือต่ ากว่า1 การปรับตัวสูงขึ้นของราคาปัจจัยการผลิต ส่งผลให้ผลตอบแทนสุทธิลดลง ในขณะที่สถานการณ์ตลาดไม่

แน่นอน ท าให้เกิดความเสี่ยงในการผลิตและไม่คุ้มทุน มีการใช้เครื่องจักกลขนาดใหญ่โดยเฉพาะรถแทรกเตอร์ เพ่ิมข้ึนอย่างก้าวกระโดด(กรมการขนส่งทางบก,

2555)1 เกษตรกรรายย่อยขาดโอกาสที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมเฉพาะทางเฉพาะพ้ืนที่ ขาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จ าเป็นในการผลิตทางการเกษตรเฉพาะพืชและพ้ืนที่ เกษตรกรส่วนใหญ่มีพ้ืนที่ถือครองน้อย เฉลี่ยประมาณ 19.4 ไร่ต่อราย (บทสรุปผู้บริหาร ส ามะโน

การเกษตร ส านักงานสถิติแห่งชาติ, 2556) และขาดการรวมกลุ่มเพ่ือจัดการทรัพยากรและต้นทุนร่วมกัน ช่องว่างของความคิดและความต้องการ ระหว่างเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เกษตรกรไม่มีโอกาสได้

ร่วมวางแผนการผลิตและการตลาดกับภาครัฐ ขาดนโยบายสนับสนุนภาคการผลิตทางการเกษตรที่เป็น National Agenda ที่ชัดเจน ครบวงจร และถือ

ปฏิบัติต่อเนื่อง

ปัจจัยภายนอก นอกจากปัจจัยที่เกิดจาก”คนในภาคการผลิต” คือเกษตรกรและปัจจัยเกี่ยวข้องแล้ว จุดเปลี่ยนของภาพการเกษตรไทยยังมาจากปัจจัยภายนอก ที่เข้ามามาเสมือนคลื่นลูกใหม่ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการเกษตรไทยอย่างแรง คือ

การเข้ามาของธุระกิจให้ค าปรึกษาและบริการทางการเกษตรจากต่างชาติ ที่มาพร้อม คน เงินทุน อุปกรณ์และเครื่องจักรกลการเกษตร แต่อาจขาดประสบการณ์กับพืชฌศรษฐกิจของไทย

การเข้ามาของกลุ่มร่วมทุนระหว่างประเทศที่มาลงทุนการเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรมในรูปแบบแปลงใหญ ่และการเกษตรแบบพันธสัญญา(contact farming)

Page 4: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 4

สถานการณ์การตลาดที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ตามสภาวะเศรษฐกิจโลก สภาพการเปลี่ยนแปงของอากาศ และรสนิยมของผู้บริโภค ท าให้เกิดความผันผวนในปริมาณความต้องการ และคุณภาพ ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถปรับตัวตามได้ทัน

การผันแปรของสภาพอากาศที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต ส่งผลต่อรายได้ ความเป็นอยู่ และท าให้เกษตรกรไม่สามารถประกอบอาชีพการเกษตรต่อไปได้

ปัจจัยกระทบจากโลกที่เปลี่ยนไป

ประชากรโลกจะเพ่ิมเป็น 9 พันล้านคนในปี 2025 นั่นคือความต้องการอาหารสูงขึ้น ในขณะที่พ้ืนที่ท าการเกษตรไม่สามารถขยายตัวได้มาก และกลับหดตัวลงในหลายประเทศ ทั่วโลกต้องการเทคโนโลยีเพ่ือจัดการการเกษตรในพ้ืนที่น้อย แต่ได้ผลผลิตและคุณภาพสูง เพื่อความม่ันคงของอาหาร

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศต่อการผลิตทางการเกษตร ทั่วโลกเผชิญกับสภาพอากาศท่ีผันแปร ภาวะแล้งและน้ าท่วม ส่งผลโดยตรงกับการเกษตรและกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ดังนั้นต้องอาศัยเทคโนโลยีที่จะเข้าในสภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลง และข้อปฏิบัติในการปรับตัวและรับมือกับสิ่งที่เกิดข้ึน

ศัตรูพืชชนิดใหม่อุบัติขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เช่นเดียวกันต้องอาศัยความเข้าใจความสัมพันธ์ของสภาพอากาศกับวงจรชีวิตของศัตรูพืช เพ่ือน าไปสู่แนวทางการควบคุม และป้องกัน

น้ าจะเป็นปัจจัยที่หายากมากขึ้นและน าไปสู่ปีญหาความขัดแย้ง ดังนั้นการมีระบบตรวจวัดน้ า ความชื้นในอากาศและความชื้นดินในพ้ืนทีพ่ร้อมการบริการข้อมูลเพ่ือแนะน าระบบการปลูกและการจัดการให้เหมาะสมกับสภาพพ้ืนที่และพืชหรือปศุสัตว์หรือการเพาะเลี้ยงปลา จะเพ่ิมความส าคัญเป็นอย่างมากส าหรับภาคการผลิต และการใช้น้ าเพ่ือการเกษตรจะกลายมาเป็นประเด็นส าคัญในข้อจ ากัดทางการค้าในอนาคต เช่น การต้องมีเครื่องหมาย water harvest และ water footprint บนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์เพ่ือบอกปริมาณการใช้น้ าในการผลิตพืชหรือสินค้านั้นต่อหน่วย เป็นต้น

ความสมดุลของพืชอาหารและพลังงาน ในสภาพปัจจุบันนโยบายของประเทศส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องความมั่นคงและปลอดภัยของอาหารที่จะเลี้ยงประชากรของตนเป็นล าดับแรก ในขณะที่ความต้องการพลังงานก็สูงขึ้น ตามขนาดของประชากรที่เพ่ิมขึ้น การผลักดันนโยบาย Bioeconomy ยิ่งท าให้เกิดการแข่งขันของความต้องการ (demand) ในกรณีที่พืชนั้นเป็นพืชอาหารและสามารถใช้ปะโยชน์ได้ท้ังสองทาง การจัดการข้อมูลการผลิตที่ครบวงจรในแบบการบริหารจัดการข้อมูลเชิงพ้ืนที่(Geo-informatics) จะสามารถให้ภาครัฐบริหารจัดการความต้องการในเชิงพ้ืนที่เฉพาะ(zoning) และโควต้าการผลิตได้ถูกต้องมากขึ้น

Page 5: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 5

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หากมองปัจจัยทั้งภายในและภายนอก รวมถึงผลกระทบจากโลกที่เปลี่ยนไป ที่ดูจะเป็นภาพลบ(tread) ต่อการเกษตรของประเทศ และยุคของสังคมข่าวสารในปัจจุบันกลับเห็นการใช้งานของภาคเกษตรไทย ที่จะเป็นมุมกลับของสถานการณ์ หรือเป็นโอกาสที่ภาครัฐต้องรีบเข้าไปร่วมวางทิศทางการให้บริการเทคโนโลยีและความรู้ อย่างเร่งด่วน ตัวอย่างของปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่

การเข้ามาประกอบธุรกิจเกษตรของผู้ที่ไม่ได้อยู่ในภาคเกษตรมาก่อน ที่เข้ามาพร้อมเงินทุนและแผนธุรกิจแตข่าดความรู้ทางการเกษตร แต่แสวงหาเทคโนโลยีหรือผู้ให้บริการให้ค าปรึกษาและเทคโนโลยี

เกิดการรวมตัวของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เปน็ลูกหลานเกษตรกรแต่เห็นโอกาสในการท าการเกษตรในรูปแบบใหม่ด้วยข้อมูลและเทคโนยี ในขณะที่ภาครัฐก็ก าลังวางนโยบายแปลงใหญ่มราสนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกันเพ่ือการร่วมกันบริหารข้อมูล ทรัพยกร ปัจจัยการผลิตและการตลาด แต่ยังขาดการเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างกลุ่มที่ร บจัดตั้งกับกลุ่มที่เกิดโดยความต้องการของเกษตรกรเอง

การใช้เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ หรือ social network เป็นเครืองมือสื่อสารข้อมูลระหว่างสมาชิกในกลุ่ม และเริ่มท าการตลาดผ่านตรงถึงผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น กลุ่ม Smile Farm ของชาวสวนทุเรยีนรุ่นใหม่ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง, สถาบันทุเรียนไทย เป็นการรวมตัวเพ่ือสร้างกลุ่มผู้ผลิตทุเรียน premium เพ่ือการส่งออกตลาดบน, กลุ่มมะพร้าวน้ าหอมไทย ที่สนับสนุนข้อมูลให้สมาชิกผลิตมะพร้าวน้ าหอมท่ีมีคุณภาพ และจัดการด้านการตลาดร่วมกัน, กลุ่มผู้ปลูกพืชไม่ใช้ดิน ที่ให้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชไม่ใช้ดินในรูปแบบต่างๆ, กลุ่มผู้ปลูกเมล่อน ที่ใช้เครือข่ายในการท าการตลาด และกลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นต้น แต่ยังขาดการเชื่อมโยงการบริการข้อมูลหรือให้ค าปรึกษาจากภาครัฐกับกลุ่มเหล่านี้

การเปิดเสรีทางการค้าและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าแบบไร้พรมแดน เช่น กรณีการเปิด AEC ที่เป็นทั้งโอกาส opportunity และภัยคุกคามกับภาคอาหารและเกษตร ซึ่งต้องอาศัยความชัดเจนในระดับนโยบาย ในการก าหนดกลยุทธ์ทางการผลิตและแปรรูปที่ต้องมองตลาดทั้งภูมิภาคและศักยภาพในการแข่งขันในประเทศ และการเข้ามาครอบง าตลาดของผู้ค้าข้ามชาติที่ก าลังเกิดข้ึนกับหลายชนิดสินค้าเกษตรของประเทศ ยุทธศาสตร์หนึ่งในการที่จะท าให้ภาคเกษตรไทยจะยังครองความสามารถในฐานะผู้ผลิตอาหารส่งออก คือการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ผลิตให้สามารถผลิตสินค้าในลักษณะสินค้า premium มากขึ้น หรือ เพิ่มชนิดสินค้าที่เป็นแหล่งผลิตเฉพาะ หรือ Geographic identity(GI) ในตลาดเฉพาะที่มีมูลค่าสูง ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นแบบเกษตรแม่นย า(precision agriculture) มากขึ้น

จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สามารถมองเห็นได้ทั้งด้านบวกและลบของปัจจัยภายในและภายนอกดังกล่าว แนวทางท่ีจะท าให้ภาคการเกษตรไทยอยู่รอด มีความจ าเป็นต้องปรับตัวดังต่อไปนี้

ภาคการผลิตทางการเกษตรในแต่ละพืช ต้องมีการปรับตัวโดยรวมตัวกันเพ่ือจัดการปัจจัยการผลิตการการตลาดร่วมกัน โดยมีการบริหารจัดการด้วยข้อมูลและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เทคโนโลยีอาจมาจากการจัดหามาเพ่ือให้บริการในกลุ่ม หรือมีผู้ให้บริการ

การมีสถาบันฝึกอบรมเพ่ือสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่จัดการการผลิตด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี และสร้างแรงงานที่มีคุณภาพและมีความช านาญ(skill labor) ป้อนกลุ่มลงทุนที่เข้ามาใหม่ตามท่ีกล่าวมา และทดแทนเกษตรกรที่มีความช านาญแต่ต้องเลิกประกอบอาชีพด้วยอายุท่ีมากขึ้น และสามารถสร้าง

Page 6: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 6

เกษตรกรแบบใหม่ที่เป็นเกษตรกรที่มีความรู้ด้านการเกษตรและเทคโนโลยีระดับปฏิบัติการ(knowledge worker) ป้อนให้กับความต้องการในภูมิภาคในอนาคต

หน่วยงานภาครัฐที่ท าวิจัยด้านเทคโนโลยี ควรมีกลไกในการเข้าร่วมเครือข่ายระหว่างกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรนิดเดียวกัน(supply side) เพ่ือแลกเปลี่ยนข้อมูลและการใช้เทคโนโลยี(knowledge sharing) เพ่ือให้ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐานและคุณภาพ

มีกลไกสร้าง SMEs ที่จะเป็นผู้ให้บริการข้อมูลและเทคโนโลยี โดยท าธุกิจร่วมกับกลุ่มเกษตรกร และหน่วยงานวิจัยเทคโนโลย ี

สร้างกลไกให้หน่วยงานให้ทุนเข้าร่วมในเครือข่ายระหว่างกลุ่มผู้ผลิตและหน่วยงานพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนทุนวิจัยที่จะตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มและเกษตรกรอย่างแท้จริง

จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของความต้องการเทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่ หรือ Smart Farm กับการผลิตทางการเกษตรประเภทต่างๆก าลังมีกระแสความต้องการเพิ่มสูง เนื่องจากปัจจัยข้อจ ากัดในภาคเกษตรไม่ว่าจะเป็นเรื่อง คน พื้นที่ และความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นโอกาสให้หน่วยงานวิจัยทางด้านข้อมูล เทคโนโลยี และวิศวกรรมได้ร่วมพัฒนาการเกษตรแบบใหม่ให้กับประเทศและช่วยให้ประเทศคงความเป็น “ฐานการผลิตอาหารของโลก หรือครัวโลก” ได้อย่างมั่งคงและยั่งยืน ในกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เทคโนยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนประกอบที่ส าคัญหรือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการได้มาซึ่งข้อมูลที่น าไปสู่การจัดการการผลิตทั้งระบบ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้เล็งเห็นความส าคัญในประเด็นดังกล่าวนี้ จึงได้จัดท านโยบาย Smart Farm Flagship ขึ้น เพ่ือท าหน้าที่ในการสร้างนวัตกกรมใหม่กับภาคเกษตรของประเทศ ในเอกสารนี้จะเน้นเฉพาะส่วนของ ความเป็นมา นโยบาย การพัฒนา และแนวโน้มการใช้งาน ตามล าดับ จากนโยบายสู่การปฏิบัติ ยุทธศาสตร์การพัฒนานวัตกรรมบริการภาครัฐ (Smart Thailand 2020)

ภาพประกอบที่ 1 กรอบโครงสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนานวัตกรรมบริการภาครัฐ (National ICT Policy Framework 2011-2020)

Page 7: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 7

ความหมายและโครงสร้างของการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและการบริการ (Smart Farm Framework) ก่อนทีจ่ะพัฒนาเทคโนโลยีเพ่ือน าไปใช้สนับสนุนการผลิตภาคเกษตรนั้น ต้องพิจารณาก่อนว่าเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้นั้นจะผลิตให้ใครใช้ เกษตรกรหรือเจ้าหน้าที่ ในส่วนที่เป็นเกษตรกรคงต้องกลับไปให้ความส าคัญว่า “ใครคือเกษตรกร” ในที่นี้จะแบ่งเกษตรกรออกเป็นกลุ่ม ได้แก่

เกษตรกร(born to be farmers) ที่ประกอบอาชีพการเกษตรโดยสืบทอดจากพ่อแม่ เกษตรกรในกลุ่มนี้มีอายุเฉลี่ยมากกว่า 60 ปี หรืออยู่ในกลุ่มอายุ 40-59 ปี เป็นกลุ่มที่ท าการเกษตรด้วยประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดกันมา มักจะปฏิเสธการใช้เทคโนยีสารสนเทศ

เกษตรกรรุ่นใหม่ ซึ่งอาจเป็นลูกหลานเกษตรกรที่รับช่วงจากพ่อแม่ ที่อยู่ในช่วงอายุ 25-39 ปี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาต่อและกลับมาช่วยพ่อแม่ โดยปรับเปลี่ยนแนวคิดการท าการเกษตรเป็นรูปแบบธุรกิจมากขึ้น เป็นกลุ่มท่ีใฝ่เรียนรู้หาความรู้และเทคโนโลยีใหม่มาพัฒนาการการผลิตและคุณภาพ

เกษตรกรรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาสายเกษตรจากวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย เป็นผู้ประกอบการรายใหม่(new entrepreneur) ที่อยู่ในช่วงอายุ 15-24 ปี เป็นกลุ่มที่มีจ านวนไม่มาก แต่ท าการเกษตรในรูปแบบใหม่กับสินค้าที่มีมูลค่าสูง และได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน

เกษตรกร ที่ไม่ได้มาจากพ้ืนฐานเกษตรกร แต่สมัครใจจะประกอบอาชีพเกษตร อาจด้วยความจ าเป็นทางเศรษฐกิจ หรือโดยการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ เป็นกลุ่มที่อาจต้องการหรือไม่ต้องการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิต

เกษตรกรสมัยใหม่ท่ีไม่มีพ้ืนฐานเกษตร แต่เป็นนักลงทุนที่มองภาคการเกษตรเป็นโอกาส กลุ่มนี้ต้องการทั้งความรู้ทางการเกษตรและแสวงหาการใช้เทคโนโลยี ที่จะช่วยท าให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ และมาตรฐาน

จากความหมายของเกษตรกรในแต่ละกลุ่มน าไปสู่การวางแผนการพัฒนาเทคโนโลยี การบริการและการส่งผ่านความรู้ ที่แตกต่างกัน ตามความพร้อมและการเปิดรับของแต่ละกลุ่ม

ภาพประกอบที่ 2 การแบ่งกลุ่มเกษตรกรตามพ้ืนฐานของผู้ประกอบอาชีพเกษตร

Page 8: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 8

จากการหาทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีโดยมองภาพเกษตรกรเป็นฐาน ท าให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้เริ่มหาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพ่ือสนับสนุนภาคการเกษตรตามกรอบนโยบาย Smart Thailand 2020 โดยจัดท ากลุ่มผู้มีแนวคิดท่ีจะช่วยกันพัฒนาการเกษตรในรูปแบบใหม่ ระหว่างนักวิทยาศาสตร์เกษตร วิศวกร นักวิจัยสายสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และผู้น าเกษตรกร ในปี 2014 จ านวน 3 เวที เพ่ือหาหัวข้อหรือตัวเทคโนโลยีหลัก(key drivers) ที่ส าคัญทางด้านคอมพิวเตอร์ สารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) ในห่วงโซ่การผลิตทางการเกษตร(supply chain) ทางการผลิต คือ ด้านพันธุ์ การผลิต การแปรรูป และการตลาด key drivers ดังกล่าวประกอบด้วย

Decision Support System(DSS)/Big Data/Database การออกแบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบระบบช่วยตัดสินใจ

การสร้างแบบจ าลอง(Simulation model) ในภาคการเกษตรการสร้างแบบจ าลองทางการเติบโตและผลผลิตของพืช เป็นเรื่องส าคัญในสถานการณ์ท่ีเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และมีผลกระทบเป็นวงกว้าง ท าให้สามารถวางแผนการผลิตในการปลูกเหลื่อมเวลา (seasoning shift) เพ่ือลดความเสียหายในอนาคต

การจัดการความรู้ทางการเกษตร(Knowledge management) เนื่องจากนโยบายของรัฐในการพัฒนาเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ภาคสนาม (Smart Farmers-Smart Officers) และการก าหนดบทบาทของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจ าต าบลที่ต้องให้บริการข้อมูลเชิงพ้ืนที่ จ าเป็นต้องใช้เทคโนโลยีด้านวิศวกรรมการจัดการความรู้(knowledge engineering) ในการจัดหมวดหมู่ข้อมูล ระบบประมวลผล และการเข้าถึงข้อมูลในระดับพ้ืนที่ ของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม

การจัดการด้านการขนส่งสินค้าเกษตร(Logistics) กว่าร้อยละ 40 ของผลผลิตทางการเกษตรของประเทศ สูญเสียไปกับการขนส่งจากแปลงปลูก ไปสู่ตลาดหรือเข้ากระบวนการแปรรูป จึงมีความจ าเป็นต้องมีระบบประกันคุณภาพ(quality assessment) และเทคโนโลยีที่ช่วยในการบริหารการขนส่งมาช่วยลดความสูญเสียดังกล่าว

การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานทางการคมนาคม(ICT Infrastructure) การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานทางสารสนเทศ เพื่อการส่งผ่านและเข้าถึงซ่ึงข้อมูลในระดับพ้ืนที่ ตลอดจนการพัฒนาการใช้งานของเกษตรกร

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์และการเก็บข้อมูลระยะไกล(Geo-informatics และ remote sensing) ในการวางแผนการใช้พ้ืนที่เกษตร การขนส่ง การตลาด และการก าหนดโซนปลูกพืชเศรษฐกิจ (Crop zoning)

การน าเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว(Embedded system) เข้ามาปรับใช้ในการเกษตร ในการตรวจวัดและเก็บข้อมูลภาคสนาม เป็นการพัฒนาไปสู่การท าการเกษตรแบบแม่นย า (precision farming) ตามการบีบบังคับของสถานการณ์ที่ได้กล่าวตอนต้น

การพัฒนารูปแบบการใช้สารสนเทศร่วมกับศาสตร์อ่ืน(IT enabling เช่น ด้านการศึกษาการแสดงออกของพืช (phenotyping) ที่เกิดจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (phenomic study) หรือการพัฒนาต่อยอดการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆของพืช (zero waste) ในการเปลี่ยนเป็นพลังงาน สารตั้งต้นในการท ายารักษาโรค เครื่องส าอาง หรือใช้ในอุตสาหกรรมอ่ืน เช่น พลาสติกชีวภาพ(bio-plastic) เป็นต้น

Page 9: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 9

ITH (3G, 4G, cloud) การสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศ เช่น การให้บริการระบบสื่อสาร 3G, 4G หรือ cloud เพ่ือให้สามารถสื่อสารข้อมูล ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้บริการพ้ืนที่จัดเก็บข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลา

การพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร(Farm robotics) จากการที่ภาคการเกษตรมีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรอย่างก้าวกระโดด จากการลงทุนของเกษตรกรเองหรือผ่านทางผู้ให้บริการ ท าให้ต้องเร่งพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรที่ช่วยทดแทนการขาดแรงงานภาคเกษตร หรือปฏิบัติงานที่เสี่ยงต่อสุขภาพแทนมนุษย ์เพ่ือทดแทนการน าเข้า

การพัฒนาการใช้ระบบตรวจวัดและเครือข่าย(Sensors network) ในระดับการผลิตภาคเกษตร เพื่อเก็บและประมวลผลข้อมูลระดับพื้นที่ ที่สามารถน าไปสู่การใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้อย่างแม่นย า ตลอดจนการพัฒนาการใช้งานเชิงการเตือนภัยจากธรรมชาติ เพ่ือลดความสูญเสียในการผลิต

ตารางที่ 1 กลุ่มเทคโนโลยีที่ส าคัญในการสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปแบบใหม่ ผลจากการตกผลึกข้อคิดเห็นและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามกลุ่มเทคโนโลยีหลักดังกล่าวนี้ น าไปสู่การจัดท าแผนงานเกษตรแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี การบริการและการจัดการความรู้(Smart Farm Flagship) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ในปี เป็นหนึ่งในเสาหลักของการใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่มีอยู่กับการช่วยพัฒนาภาคการเกษตร เพื่อ ความมั่งคงและปลอดภัยในการผลิตผลผลิตการเกษตรและอาหารของประเทศ โครงสร้างของ Smart Farm

Page 10: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 10

จากแนวทางน าร่องที่ได้จากการท ากลุ่มระดมสมองระหว่างนักวิทยาศาสตร์เกษตรกับวิศวกรด้านคอมพิวเตอร์(Focus group) เนคเทคได้ร่วมก าหนดโครงสร้างของ Smart Farm กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยก าหนดวิสัยทัศน์(vision)ไว้ดังนี้ “ เพื่อคุณภาพชีวิตท่ีดีขึ้นของเกษตรกรและผู้บริโภค” (Better quality of life) การจะท าให้คุณภาพชีวิตของคนฝั่งผู้ผลิต และฝั่งผู้บริโภคดีข้ึนได้ จ าเป็นต้องอาศัยปัจจัยและข้ันตอนเกี่ยวข้องเป็นจ านวนมาก ถ้ามองในมุมของผู้พัฒนาและให้บริการเทคโนโลยี จะประกอบด้วยภาระกิจ(mission) สนับสนุนดังนี้

พัฒนาและสนับสนุนการใชแทคโนโลยีสารสนเทศในห่วงโซ่การผลิตและการจัดการคุณภาพการผลิตและสินค้า (ICDT in value chain management)

พัฒนาและสนับสนุนการใชแทคโนโลยีสารสนเทศในการลดความเสี่ยงในการผลิตจาก ศัตรูพืช ภัยธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Risk reduction under climate variability and pest management)

พัฒนาและสนับสนุนการใชแทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการความรู้ที่สนับสนุนการผลิตที่เพิ่มผลผลิต และคุณภาพ ตลอดจนวิธีการส่งและรับข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูล(Knowledge engineering)

เพ่ือให้สอดรับกับวิสัยทัศน์และพันธกิจข้างต้น สิ่งส าคัญที่ยังขาดความชัดเจนในการเกษตรของประเทศคือ บริการและผู้ให้บริการทางการเกษตร ซึ่งเป็นกลไกท่ีจะส่งผ่านพันธกิจไปสู่การปฏิบัติ ในที่นี้คือ “คุณค่า” (Value) หรือ คุณค่าท่ีเกิดขึ้นเมื่อมีการน าไปปฏิบัติและส่งผลให้เกิดนวัตกรรมการใช้งานใหม่ๆในภาคการเกษตร ประกอบด้วย

การบริการข้อมูลและเครื่องมือเพ่ือจัดการทรัพยากรการผลิต (Information as a Services, Platform as a services)

การบริการข้อมูลเพ่ือให้เกษตรกรเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง (Knowledge as a Services)

การบริการระบบการจัดการพ้ืนที่ปลูกเฉพาะพ้ืนที่ (Location Based Services)

เพ่ือให้ครอบคลุมทั้งสายการผลิตของแต่ละชนิดสินค้าเกษตรตามพันธกิจ ได้แบ่งเทคโนโลยีเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ การใช้เทคโนโลยีผสมผสานด้านสารสนเทศ(IT Enabling) และ การบริหารจัดการความรู้(Knowledge engineering) ในส่วนของการใช้เทคโนโลยีผสมผสานด้านสารสนเทศ(IT Enabling) ประกอบด้วย

เทคโนโลยีที่สนับสนุนภาคการผลิตและการเก็บเกี่ยว (IT package for farm management) เทคโนโลยีที่สนับสนุนมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้า (IT for quality assessment: GAP,

traceability) เทคโนโลยีที่ลดความเสี่ยงทางการผลิตอันมาจากภัยธรรมชาติและการระบาดของศัตรูพืช (Field

server/Scada for micro-climate monitoring, warning system, modeling) และ

Page 11: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 11

เทคโนโลยีการจัดการความรู้ (Knowledge engineering)

ภาพประกอบที่ 3 ผังโครงสร้างของการจัดการการเกษตรแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี ความรู้ และการบริการ(Smart Farm) ในกรอบโครงสร้างของ Smart Farm Flagship นั้น ได้มองถึง ผลลัพธุ์และผลสัมฤทธิ์(output & outcome) ของแต่ละกลุ่มเทคโนโลยีไว้ รวมถึงหน่วยงานปฏิบัติที่เก่ียวข้องในแต่ละกลุ่ม เพ่ือน าไปสู่ความร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรเหล่านั้นในการร่วมกันสร้างนวัตกรรมบริการเทคโนโลยีและข้อมูล(agricultural platform services) สู่ภาคการผลิตให้ทั่วถึงตามภาระกิจ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติและการจัดการการเกษตรแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี ความรู้ และการบริการ(Smart Farm) ด้วยภารกิจหลักของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ต้องด าเนินการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรมจากระดับห้องปฏิบัติการถึงโรงงานต้นแบบ ทั้งในด้านการสร้างขีดความสามารถและศักยภาพในสาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ดังนั้นเมื่อน าความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์กับภาคการเกษตร จึงได้วางแนวทางการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการของเนคเทค ให้สอดค้องกับกลุ่มเทคโนโลยีหลักของกรอบงาน Smart Farm ดังนี้

Page 12: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 12

ภาพประกอบที่ 4 แนวทางการสนับสนุนเทคโนโลยีของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติกับภาคการเกษตรไทย

กลุ่มเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ที่ปรับใช้กับห่วงโซ่การผลิต เพ่ือตอบสนองเป้าหมายที่จะให้เกิดการพัฒนาการเกษตรแบบแม่นย า (Precision farming)

กลุ่มเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ที่ปรับใช้กับระบบการจัดการคุณภาพและมาตรฐานการผลิตและสินค้า เป้าหมายในการสร้างระบบติดตามมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย (Food safety and quality assurance system)

กลุ่มเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ที่ปรับใช้กับระบบเตือนภัยเพ่ือลดปัจจัยเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ และศัตรูพืช (Climate change & disaster management, Pest monitoring and early warning system) มีเป้าหมายที่จะสร้างระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยจากสภาพอากาศและศัตรูพืช เพื่อสนองนโยบายด้านความมั่นคงอาหารและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ

กลุ่มเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ที่ปรับใช้กับการจัดการความรู้ (Knowledge engineering) มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนการสร้าง Smart Farmers & Smart Officers และสังคมบนฐานความรู้ ที่ใช้ข้อมูลเป็นเครืองมือประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการการผลิต

Page 13: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 13

การเตรียมแผนด้านนวัตกรรมบริการ นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ตามภาระกิจหลักแล้ว การก้าวไปสู่การใช้งานจริงในภาคสนาม ยังต้องอาศัยนวัตกรรมบริการที่จะเป็นเครื่องมือน าไปสู่วิถีปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในปี 2009 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้น าร่องกลุ่มนวัตกรรมบริการทางด้านการเกษตร แพทย์และสาธารณสุข และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในด้านการเกษตรมีการจัดตั้ง Special Interested Group หรือกลุ่มท างานที่ประกอบด้วยภาครัฐ เอกชน ผู้แทนเกษตรกร มาหารือเพ่ือก าหนดโจทย์น าร่องร่วมกัน โดยเริ่มวางแนวทางการปฏิบัติการให้บริการทางการเกษตร หรือ Services in Agriculture: policy guideline and action plan (2013-2017) ขึ้น และเริ่มด าเนินการในพ้ืนที่น าร่อง (pilot project) ที่บ้านห้วยขมิ้น อ.จ.สระบุรี เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อการต่อยอดหรือ prime mover ด้านการวางระบบ การะบวนการท างาน และขั้นตอนปฏิบัติเพื่อการขยายผล(platform & information services) ซ่ึงในกรอบงานน าร่องก าหนดการศึกษาไว้ 3 ด้านคือ

การสร้างโมเดลของนวัตกรรมบริการเฉพาะเรื่องเฉพาะพ้ืนที่(Area approach) ในรูปแบบการบริการตรงในเฉพาะพ้ืนที่(direct service & localized) ซึ่งเป้าหมายที่ได้จะสนับสนุนการใช้นวัตกรรมบริการในพ้ืนทีท่ี่ถูกก าหนดโซนการผลิต(zoning) หรือ กลุ่มการผลิต(cluster)

การมุ่งเน้นที่จะสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่บนสังคมฐานความรู้(Smart Farmers) ผ่านระบบนวัตกรรมบริการความรู้ หรือ Knowledge as a Services ที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในภาคการผลิตการเกษตรของประเทศ ที่จ าเป็นต้องมีเกษตรกรที่สามารถน าระบบการผลิต การขนส่งและการตลาดแบบใหม่(Smart production and marketing management system) ไปใช้ได้

คือการเลือกพืชศึกษาน าร่อง(Prime crops) ทางด้านการตอบสนองของพืชต่อสภาพแวดล้อม(phenomics) และ กระบวนการ(mechanization) ที่จะสร้างระบบการเกษตรแบบแม่นย า (precision farm) และน าผลการศึกษาไปตกผลึกเป็นค าแนะน าพร้อมอุปกรณ์ท่ีจ าเป็นในการให้บริการในอันดับต่อไป

ภาพประกอบที่ 5 ผังแนวทางการพัฒนาระบบการบริการภาคเกษตร

Page 14: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 14

ในกระบวนการสร้างนวัตกรรมบริการให้กับภาคการเกษตรนั้น เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่จึงจ าเป็นต้องสร้าง มาตรฐานของนัตกรรมบริการ (standard & measurement) ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการในอนาคต การมีมาตรฐานการให้บริการทางการเกษตรจะท าให้ประเทศสามารถเป็นศูนย์กลางของธุรกิจการให้บริการทางการเกษตรในกลุ่มประเทศ AEC หรือ เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมผ่านทางสถาบันวิชาชีพหรือหลักสูตรในสถาบันการศึกษาต่อไป โดยเป้าหมายในประเทศตั้งไว้ร้อยละ 10 ของเกษตรกรที่จะเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ และตอบวิสัยทัศน์เรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ส าหรับประเด็นอุบัติใหม่ในปัจจุบันที่ต้องอาศัยการพัฒนาทางด้านนวัตกรรมบริการการเกษตร ที่จะเป็นโจทย์วิจัยต่อไปประกอบด้วย

เทคโนโลยีและการให้บริการข้อมูลเพื่อการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางภาคการผลิตทางการเกษตร อาจด้วยปัญหาด้านสภาพอากาศหรือสภาพแวดล้อมท่ีเปลี่ยนไป(Resilient information services)

การสร้างนวัตกรรมการสื่อสารและใช้ข้อมูลระดับพ้ืนที่(Countryside communication services) เพ่ือบริหารจัดการผลผลิตและคุณภาพมาตรฐาน โดยมองเกษตรกรเป็นผู้เก็บและรับข้อมูล(human sensing) ในเครือข่ายข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลที่ต้องการและใช้ข้อมูลที่ให้บริการกลับไปสู่ผู้ต้องการใช้ได้ทันการในทุกความแตกต่างของโจทย์ในพ้ืนที่

นวัตกรรมบริการด้าน Bioeconomy ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันที่จะสร้างมูลค่าเพ่ิมให้กับพืชพลังงานอย่างมั่นคง(Sustainability renewal-energy services) ที่ต้องใช้การผสมผสานของเทคโนโลยีเกษตรแม่นย าเทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาศาสตร์เกษตร และวิศวกร(precision agriculture, biotechnology, plant science, และ engineering) ส าหรับให้บริการในภาคการผลิต และโรงงานแปรรูป

การใช้นวัตกรรมบริการเพื่อจัดการระบบการรวบรวมผลผลิต การเก็บรักษา การขนส่ง เพ่ือลดความเสียหายที่เกิดข้ึนระหว่างทาง(Logistics and road services)

การพัฒนาระบบโปรแกรมบนอุปกรณ์มือถือที่เป็นเครื่องมือส าหรับเกษตรกรในการรับบริการในรูปแบบต่างๆ(Mobility services for smart farmers)

การสร้างนวัตกรรมบริการในหลายรูปแบบให้กับอุตสาหกรรมการแปรรูปวัตถุดิบการเกษตรเป็นอาหาร(Fusion of services for food manufacturing)

การให้บริการความรู้และการจัดการ(Knowledge as a Services)แก่เกษตรกรในแต่ละกลุ่ม แต่ละพ้ืนที่แบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life innovation services)

การพัฒนาและให้บริการข้อมูลและระบบการจัดการให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตโดยไม่ท าลายทรัพยากรธรรมชาติข้างเคียง หรือการผลิตแบบอินทรีย์(Green innovation services)

การบริการระบบเตือนภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและข้อมูลแนวทางการปรับตัวของเกษตรกรในแต่ละพ้ืนที่(Adaptation to climate variability services)

Page 15: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 15

แผนงานสู่อนาคต(Future implementation) การสร้างระบบและสภาพแวดล้อมอันประกอบด้วยสรรพสิ่งท่ีสามารถสื่อสารและชื่อมต่อกันได้ผ่านโพรโทคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สายเพื่อการเกษตร(IoT in Agriculture) ด้วยการเติบโตของธุรกิจการสื่อสารผ่านทางการให้บริการของภาคเอกชน ที่ให้บริการด้วยเทคโนโลยี 3G, 4G หรือ Cloud ท าให้การสื่อารข้อมูลสามารถท าได้อย่างรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายถูกลง ดังนั้นความเป็นจริงที่จะสร้างเครือข่ายของระบบข้อมูลภาคสนาม เช่น ข้อมูลสภาพอากาศเฉพาะถิ่น ข้อมูลความชื้นดิน ข้อมูลจากเครื่องจักรกลการเกษตร ข้อมูลจากการส ารวจระยะไกล หรือการส่งข้อมูลอ่ืนโดยเกษตรกรจากพ้ืนที่ ก็สามารถท าได้โดยสะดวกผ่านอุปกรณ์พกพาชนิดต่างๆ และเก็บข้อมูลบน cloud open platform in agriculture ที่เปิดให้มีการพัฒนาโปรแกรมการใช้งานบนอุปกรณ์ เช่น ระบบเตือนภัย ระบบการตรวจสอบมาตรฐานการผลิต(GAP) ระบบสอบย้อนกลับ(traceability) ระบบควบคุมระยะไกลส าหรับการเกษตรแบบแม่นย า (precision farm) หรือระบบท านายผลผลิตจากการค านวนข้อมูลที่ได้จากพ้ืนที่ เป็นต้น ในแนวทางการพัฒนานี้จะน าไปสู่ platform ของการใช้ IoT (internet of things) กับการเกษตรในอนาคต

ภาพประกอบที่ 6 โครงสร้างระบบ IoT ส าหรับการเกษตร

ภาพต่อไปนี้เป็นแนวคิดในการใส่เทคโนโลยีเข้าไปในระยะต่างๆของห่วงโซ่การผลิตและคูณภาพทางการเกษตร(supply and value chain) และในส่วนของอุปสงค์และอุปทาน(demand side และ supply side) ในภาพเหตุการณ(scenario) ที่ต้องการให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น(Better quality of life) ทั้งฝั่งเกษตรกรและผู้บริโภค โดยจินตนาการว่าเกษตรกรหรือผู้ผลิตเป็น “My Farm” ที่เป็นแบบเกษตรแม่นย า มีการใช้เทคโนโลยีในกลุ่ม Smart Farm ในทุกขั้นตอนการผลิต ส่วนอีกฝั่งหนึ่งจะเป็น “i-Farm” คือผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้ social network เป็นเครื่องมือสื่อสารกับผู้ผลิตโดยตรง สามารถ tailor made สินค้าท่ีตนต้องการได้ ดังนั้นความส าคัญจึงอยู่ที่ชนิด

Page 16: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 16

และประเภทของเทคโนโลยีที่อยู่ระหว่างกลางที่จะท าให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่(business model)ใหม่ ในลักษณะ ร่วมคิด ร่วมผลิต ร่วมซื้อ

ภาพประกอบที่ 7 แนวคิดการพัฒนาการเชื่อมโยงผู้บริโภคกับผู้ผลิตด้วยเทคโนโลยี ความรู้และการจัดการใน

กระบวนการผลิตทางการเกษตร กลุ่มเกษตรกรและโจทย์น าร่องการใช้ Smart Farm ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จากจุดเปลี่ยนของการเกษตรไทยที่เกิดข้ึนในปัจจุบัน ภาพการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ได้แก่

ในขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพปลูกข้าว ส่วนใหญ่มีพ้ืนที่ถือครองต่ า บางส่วนขายที่ท ากิน บางส่วนเช่าที่ท านา บางส่วนมีอายุมากไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ แต่มีบางส่วนที่เริ่มรวมตัวกันเพ่ือบริหารปัจจัยการผลิตและการตลาดร่วมกัน เริ่มมองหาผู้สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น

กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่และนักลงทุนธุรกิจเกษตร ที่ประกอบอาชีพปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนต่อพ้ืนที่สูง เช่น ผักสลัดและเมล่อน กลุ่มนี้ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการคุณภาพ ได้แก่ โรงเรือน ระบบการตรวจวัดข้อมูลเพ่ือการจัดการ ระบบตรวจสอบคุณภาพและสอบย้อนกลับ ระบบการจัดการการขนส่ง(logistics) เป็นต้น

กลุ่มผู้ปลูกไม้ผลเพ่ือการส่งออก เช่น กลุ่มผู้ปลูกมะม่วง มะละกอ ล าไย ทุเรียน มังคุด มะพร้าวน้ าหอม เป็นต้น กลุ่มนี้สนใจการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกับการออกดอกและติดผล คุณภาพผลผลิต และ ความผิดปกติ(disorder)ของผลผลิต

กลุ่มผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สนใจการใช้เทคโนโลยี Smart Farm หรือเกษตรแม่นย า(Precision Agriculture) อย่างเต็มรูปแบบ

Page 17: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 17

แนวคิดในการจัดตั้งสถาบันวิชาชีพเพ่ือผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ skill labor ที่เป็น แรงงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ(knowledge workers) ป้อนการท างานในกลุ่มต่างๆ

ภาพประกอบที่ 8 แนวทางการให้บริการเทคโนโลยีของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังนั้นทิศทางที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศจะมี 4 ด้านใหญ่ๆ ประกอบด้วย

การให้บริการออกแบบและพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยี(technologies services) ส าหรับกลุ่มผู้ผลิต(Production cluster) ของกลุ่มที่ผลิตในโรงเรือน(greenhouse management ) และกลุ่มท่ีผลิตในแปลง(plantation) หรือเกิดจากการรวมตัวของผู้ผลิตรายย่อยในลักษณะกลุ่มการผลิต(cluster) แนวโน้มของเทคโนโลยีที่มีความต้องการใช้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย

Page 18: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 18

ตัวอย่างโจทย์และตัวอย่างเทคโนโลยี

ตารางท่ี 2 ตัวอย่างโจทย์และเทคโนโลยีสนับสนุนส าหรับกลุ่มผู้ผลิตในแปลง/ไร่/นา

ตารางท่ี 3 ตัวอย่างโจทย์และเทคโนโลยีสนับสนุนส าหรับกลุ่มผู้ผลิตในโรงเรือน

Page 19: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 19

การให้บริการออกแบบและพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยีในกลุ่มเครือข่ายอุปกรณ์เก็บข้อมูลภาคสนาม(ubiquitous sensors network) ส าหรับการท าการเกษตรแบบแม่นย า(precision farm)ที่ก าลังเกิดใหม่ รวมถึงออกแบบธุรกิจใหม่(business model) ในการให้บริการเก็บ วิเคราะห์ และบริการ้อมูลที่จ าเป็น

ตัวอย่างโจทย์และตัวอย่างเทคโนโลยี

ตารางที่ 4 ตัวอย่างโจทย์และเทคโนโลยีสนับสนุนส าหรับกลุ่มผู้ผลิตด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายเก็บข้อมูลภาคสนาม การให้บริการออกแบบและพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยีที่สนับสนุนการศึกษาเพ่ือเข้าใจการตองสนองของ

พืชต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือ Phenomics จะเป็นลักษณะการรวมพัฒนาระบบกับนักวิทยาศาสตร์เกษตร เพ่ือให้ได้ระบบบริการข้อแนะน าเชิงลึกส าหรับการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หาความสัมพันธุ์ระหว่างยีนกับการแสดงออกของพืช(phenotyping) ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน สร้างโมเดลความสัมพันธุ์ผ่านทางระบบ machine learning เพ่ือคัดสายพันธุ์ได้ในระยะเวลาที่สั้นลง ท าให้ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพตามท่ีต้องการ อนึ่งผลการศึกษาท่ีได้ยังสามารถช่วยเกษตรกรในการวางแผนการปลูกและการจัดการ (shift cultivation) หรือได้ข้อมูลเชิงลึกในการก าหนดโซนใหม่ในการปลูกพืชให้เหมาะสม

Page 20: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 20

ตัวอย่างโจทย์และตัวอย่างเทคโนโลยี

ตารางที่ 5 ตัวอย่างโจทย์และเทคโนโลยีสนับสนุนส าหรับกลุ่มผู้ผลิตด้วยการศึกษาด้าน phenomics การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพร้อมใช้และผู้ใช้เทคโนโลยี(technology package) ผ่านสถาบัน

วิชาชีพ (farmer academy) ที่จะผลิตคนที่จะออกมาเป็นเกษตรกรที่มีความรู้และเข้าใจการใช้เทคโนโลยี Smart Farm(skill & knowledge worker) ป้อนกลุ่มการเกษตรที่เกิดใหม่

Page 21: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 21

ตัวอย่างโจทย์และตัวอย่างเทคโนโลยี

ตารางที่ 6 ตัวอย่างโจทย์และเทคโนโลยีสนับสนุนส าหรับกลุ่มผู้ผลิตทางด้านการสร้างเกษตรกรแบบใหม่ เครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ บทเรียนจากเครือข่าย(รู้เขา รู้เรา) การเรียนรู้ ประสบการณ์ การแลกเปลี่ยน ท าให้บางครั้งท าให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด หรือการน ามาปรับวิถีคิดให้กับนักวิจัยและผู้ประกอบการสายเกษตรในการที่จะช่วยกันพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสนับสนุนให้ประเทศก้าวสู่สังคมเกษตรแบบดิจิทอล(digital agriculture) ในอนาคต เครือข่ายทางด้านคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ทางการเกษตรในภูมิภาคและในโลกนี้ประกอบด้วย

เครือข่ายระดับภูมิภาค ได้แก่ o AFITA (Asian Federation of Information Technology for Agriculture) เป็นเครือข่าย

ความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์เกษตรและนักวิจัยทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ สารสนเทศ และวิศวกร มีการประชุมร่วมกันสองปีครั้งหมุนเวียนไปตามประเทศสมาชิก AFITA เป็นหนึ่งใน federation ภายใต้ WCCA หัวข้อที่ทาง AFITA ให้ความสนใจและน าไปสู่ความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายวิจัยในภูมิภาค เช่น

o APAN (Asia Pacific Advanced Network) เป็นกลุ่ม consortium ระหว่างนักวิทยาศาสตร์เกษตรและนักวิจัยในสาขาคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกร จัดการประชุมทุกปี ภายใต้โครงสร้างของ APAN จะมีกลุ่มท างานหลายกลุ่มตามสาขาวิชา หนึ่งในนั้นคือกลุ่มการเกษตร (Agriculture Working Group) ที่มีหัวข้อท าวิจัยร่วมกัน เช่น Phenomics study, Cloud

Page 22: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 22

open platform for agriculture, ubiquitous sensors networks, IoTs in agriculture เป็นต้น ประเทศไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้เยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APAN ครั้งแรกที่ ที่ จ.ภูเก็ต ในปี 2002

เครือข่ายระดับโลก o WCCA (World Congress for Computer for Agriculture) เป็นการประชุมใหญ่ของ

federation ทั่วโลก จัดทุก 4 ปี ซึ่ง AFITA เป็นหนึ่งในสมาชิก การประชุม WCCA ท าให้เห็นภาพรวมของงานสารสนเทศและอุปกรณ์เพ่ือการเกษตรจากทั่วโลก ได้ทราบทิศทาง การปรับตัว และสามารถน ากลับมาปรับกลยุทธงานวิจัยในประเทศ หรือสร้างความร่วมมือแบบทวิภาคีหรือพหุภาคีร่วมกัน ประเทศไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุม WCCA/AFITA เมื่อปี 2004 ที่กรุงเทพมหานคร โดยครั้งนั้นสมเด็จพระเทพรัตนฯ ได้ทรงเสด็จร่วมการประชุม

เครือข่ายระดับองค์กร

o NARO (National Agriculture and Biotechnology Research Center), Japan เป็นสถาบันวิจัยทางการเกษตรที่ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์เกษตร และนักจัยด้านคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ท างานร่วมกับภาครัฐและเอกชน อุปกรณ์ Field Server ที่ใช้ในประเทศก็มีต้นแบบมาจากการที่ NARO เข้ามาถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ในปี 2002 ตัวอย่างการท างานแบบบูรณาการที่น่าสนใจของ NARO คือโมเดลของ Togaji Food Valley ที่ Obihiro, Hokkaido ซ่ึงเป็นพื้นที่ท่ีส าคัญในการผลิตข้าวสาลีฤดูหนาว มันฝรั่ง และ Beet root โดยมีสถานีวิจัย Memuru ซึ่งเป็นสาขาของ NARO ท าหน้าที่วิจัยพัฒนาพันธุ์ ข้าวสาลีเพ่ือผลิตแป้งขนมปังป้อนความต้องการในประเทศ พัฒนาพันธุ์มันฝรั่งร่วมกับบริษัทเอกชน โดยผ่านหน่วยงานกลางคือสหกรณ์การเกษตร หรือ JA ที่เป็นคนกลางด้าน business model ในขณะเดียวกันก็ร่วมมือกับภาคเอกชนในการสร้างระบบการให้บริการข้อมูลที่เรียกว่า Field Touch ที่มีการใช้ sensors ในการเก็บข้อมูลภาคสนาม และใช้เทคโนโลยี RS/drone ในการดูการขาดธาตุอาหารของดิน การติดตามการเติบโต และการพ่นสารเคมี โดยบริการส่งข้อมูลโดยตรงใหเกษตรกร โดยเกษตรกรเสียค่าบริการรวมอยู่ในค่าสมาชิกสหกรณ์แล้ว นอกจากนี้ NARO ร่วมกับมหาวิทยาลัยโตเกียวยังให้ความส าคัญของการศึกษาเรื่อง phenomics โดยเป็นกลุ่มแรกที่บัญญัติศัพท์ดังกล่าว และเป็นผู้ก่อตั้ง Rice Phenomic Network in Monsoon Asia ท างานร่วมกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ หรือ IRRI

Page 23: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ... · 2016-02-10 · 63.3 เหลือรอยละ 42.1 หรือลดลง ... ในความสนใจล

เอกสารประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่(SMART FARM) 23

บทสรุป จะเห็นได้ว่าการที่จะสร้างระบบการจัดการการเกษตรรูปแบบใหม่ที่เป็นการผสมผสานของเทคโนโลยีและความรู้ จากศาสตร์ต่างๆ คือ วิทยาศาสตร์การเกษตร วิศวกรเครื่องจักรกล วิศวกรคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร นักโทคโนโลยีสารสนเทศ และนักพัฒนาโปรแกรม ออกมาเป็นนวัตกรรมใหม่นั้น มีขั้นตอนมากมายที่จ าเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่อง มีกรอบงานและกรอบเวลาเชิงยุทธศาสตร์ที่จะผลักดันให้ประเทศยังคงเป็นผู้ผลิตอาหารที่ส าคัญของโลก มีเงินทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่เพียงพอ มีการวางแผนการสร้างคนท้ังที่เป็นด้านเทคนิคและผู้ใช้อย่างเร่งด่วน และท่ีส าคัญอย่างยิ่งคือต้องมีคนที่เห็นความส าคัญเร่งด่วนนี้และเข้าร่วมในเครือข่ายการพัฒนานี้แบบองค์รวมอย่างเป็นระบบ และลงมือท า