ขอบเขตลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีecoswat-thailand.com/download/thadi.pdf ·...

5
ข้อมูลลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี ลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี ตั้งอยู่ในลุ่มน้ําหลัก ลุ่มน้ําภาคใต้ฝั่งตะวันออก ลุ่มน้ําสาขา ลุ่มน้ําสาขาภาคใต้ ฝั่งตะวันออก ส่วนที4 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ระวางแผนที4925 IV , 4965 I , 5025 IV และ 5026 III พื้นทีหลักประกอบด้วย อําเภอลานสกา และอําเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ลุ่มน้ําประมาณ 303 ตารางกิโลเมตร หรือ 189,375 ไร่ ความยาวลําน้ําประมาณ 63 กิโลเมตร 66 ตารางกิโลเมตร ต้นนําเกิดจากเทือกเขาหลวง บ้านคีรีวง ตําบลกําโลน อําเภอลานสกา ทิศทางการไหลขอน้ํา ไหลจากทิศตะวันตก สู่ทิศตะวันออก ไหลผ่านตําบลกําโลน ตําบลท่าดี อําเภอลานสกา ตําบลกําแพงเซา ตําบลไชยมนตรี ตําบโพธิ์เสด็จ ตําบลมะม่วงสองต้น ตําบลในเมือง ตําบลปากนคร อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช ไปบรรจบกับคลองหัวตรุด ที่บ้านคลองท่าน ตําบล ปากนคร และลงสูอ่าวไทยที่บ้านปากนคร ตําบลปากนคร อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีน้ําไหลตลอดทั้งปี ยกเว้นปีท่เกิดวิกฤตแล้งหนัก ขอบเขตลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ พื้นที่ต้นนําเป็ นพื้นที่ภูเขาสูงทางด้านทิศตะวันตกของลุ่มน้ํา ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นพื้นที่ป่า และพืชสวน ถัดมาเป็นพื้นที่กลางน้ําซึ่งเป็นพื้นที่ราบต่อเนื่องถึงพื้นทีราบตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรประกอบด้วยพื้นที่นาและสวน พื้นที่ปลายน้ําเป็นพื้นที่ราบฝั่งคลองและชายฝั่งทะเล มีน้ําทะเลหนุน มีชุมชนขนาดใหญ่ (ชุมชนเมือง) อยู่ระหว่างรอยต่อกลางน้ํากับปลายน้ํา และมีชุมชน ขนาดกลางอยู่ปลายน้ํา (เทศบาลตําบลปากนคร) ลุ่มน้ําภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่วนที4 ลุ่มน้ําตาปี

Upload: others

Post on 08-Oct-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ขอบเขตลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีecoswat-thailand.com/download/thadi.pdf · 2015. 1. 6. · ปริมาณน้ําฝน ปริมาณน้ําฝนในลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีเฉลี่ยปีละ

ข้อมูลลุ่มน้ําย่อยคลองท่าด ี

ลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี ตั้งอยู่ในลุ่มน้ําหลัก ลุ่มน้ําภาคใต้ฝั่งตะวันออก ลุ่มน้ําสาขา ลุ่มน้ําสาขาภาคใต้ ฝั่งตะวันออก ส่วนที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ระวางแผนที่ 4925 IV , 4965 I , 5025 IV และ 5026 III พื้นที่หลักประกอบด้วย อําเภอลานสกา และอําเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ลุ่มน้ําประมาณ 303 ตารางกิโลเมตร หรือ 189,375 ไร่ ความยาวลําน้ําประมาณ 63 กิโลเมตร 66 ตารางกิโลเมตร ต้นน้ําเกิดจากเทือกเขาหลวง บ้านคีรีวง ตําบลกําโลน อําเภอลานสกา ทิศทางการไหลของน้ํา ไหลจากทิศตะวันตก สู่ทิศตะวันออก ไหลผ่านตําบลกําโลน ตําบลท่าดี อําเภอลานสกา ตําบลกําแพงเซา ตําบลไชยมนตรี ตําบลโพธิ์เสด็จ ตําบลมะม่วงสองต้น ตําบลในเมือง ตําบลปากนคร อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช ไปบรรจบกับคลองหัวตรุด ที่บ้านคลองท่าน ตําบล ปากนคร และลงสู่อ่าวไทยที่บ้านปากนคร ตําบลปากนคร อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีน้ําไหลตลอดทั้งปี ยกเว้นปีที่เกิดวิกฤตแล้งหนัก

ขอบเขตลุ่มน้ําย่อยคลองท่าด ี

ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ พื้นที่ต้นน้ําเป็นพื้นที่ภูเขาสูงทางด้านทิศตะวันตกของลุ่มน้ํา ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นพื้นที่ป่า และพืชสวน ถัดมาเป็นพื้นที่กลางน้ําซึ่งเป็นพื้นที่ราบต่อเนื่องถึงพื้นที่ราบตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรประกอบด้วยพื้นที่นาและสวน พื้นที่ปลายน้ําเป็นพื้นที่ราบฝั่งคลองและชายฝั่งทะเล มีน้ําทะเลหนุน มีชุมชนขนาดใหญ่ (ชุมชนเมือง) อยู่ระหว่างรอยต่อกลางน้ํากับปลายน้ํา และมีชุมชน ขนาดกลางอยู่ปลายน้ํา (เทศบาลตําบลปากนคร)

ลุ่มน้ําภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่วนที่ 4 ลุ่มน้ําตาป ี

Page 2: ขอบเขตลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีecoswat-thailand.com/download/thadi.pdf · 2015. 1. 6. · ปริมาณน้ําฝน ปริมาณน้ําฝนในลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีเฉลี่ยปีละ

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศทั่วไปของลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี จากสถานที่ตั้งของลุ่มน้ําทําให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ สลับกันดังนี้

- ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้มีทิศทางพัดฝ่านมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน เนื่องจากทาง ทิศตะวันตกของลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีเป็นเทือกเขาสูง ทําให้ฝนตกไม่มากนัก อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะอยู่ในช่วงประมาณเดือน พฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม

- ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมนี้พัดผ่านอ่าวไทย ทําให้เกิดฝนตกชุกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี เนื่องจากอยู่ในด้านรับลมของเทือกเขา อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะทําให้ฝนตกมากในช่วงประมาณเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน มกราคม

สําหรับฤดูกาลในเขตพื้นที่ลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี มี 2 ฤดู

1. ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน เมษายน มีอากาศร้อนตลอดฤดูกาล 2. ฤดูฝน แบ่งได้ 2 ช่วง

2.1 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ช่วงนี้ฝนตกไม่มากนัก 2.2 ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน มกราคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือ ช่วงนี้มีฝนตกชุก รูปแสดงเส้นทางพายุและทิศทางมรสุม

เส้นทางพายุและทิศทางมรสุม

1. ฤดูร้อน => กุมภาพันธ ์- เมษายน (อุณหภูมิเฉลี่ย 35๐C ) 2. ฤดูฝน => แบ่งได ้ 2 ช่วงตามอิทธิพลลมมรสมุ

ช่วงแรกช่วงแรก : พฤษภาคม - ตุลาคม (รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้)

ช่วงที่ 2ช่วงที่ 2 : พฤศจิกายน - มกราคม (รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) อุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่เกิดขึ้นในช่วงนี ้

Page 3: ขอบเขตลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีecoswat-thailand.com/download/thadi.pdf · 2015. 1. 6. · ปริมาณน้ําฝน ปริมาณน้ําฝนในลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีเฉลี่ยปีละ

ปริมาณน้ําฝน ปริมาณน้ําฝนในลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี เฉลี่ยปีละ 2,353 มม. ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย คือ 1,467

มม./ปี (จากรายงานโครงการศึกษาทําแผนหลักรองรับการพัฒนาแหล่งน้ํา และปรับปรุงโครงการชลประทาน สําหรับ แผนฯ 9 กรมชลประทาน, 2546) เดือนที่มีปริมาณฝนต่ําสุด คือเดือน เมษายน เดือนที่มีปริมาณฝนสูงสุดคือ เดือน ธันวาคม ปริมาณน้ําท่า

ปริมาณน้ําท่าในเขตลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี มีประมาณ 500 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี มีการใช้น้ําโดยการควบคุมของฝายคลองท่าดี ของกรมชลประทาน พื้นที่เกษตรประมาณ 28,000 ไร่ ปริมาณการใช้น้ํา ดังแสดงในภาพด้านล่าง

การใช้น้ำในเขตฝายคลองท่าดี

4.00 20.00

70.00106.00

พืชใช้ด้านเหนือฝายถึงสะพานท่าใหญ่เพ่ือการประปาในเขตเทศบาลในตัวเมืองใช้ในพ้ืนท่ีคลองส่งน้ำ

รักษาระบบนิเวศน์ และอ่ืนๆ

IQbO`AGuy`E๕`Q`PI๋ nBPl7SctPIQ^O`A 500 S๖`G Oั 3 ็ I๋

QUO/`Qo8๖Guy` nBPIQ^O`A 200.00 S๖`G Oั 3 ็ I๋

Page 4: ขอบเขตลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีecoswat-thailand.com/download/thadi.pdf · 2015. 1. 6. · ปริมาณน้ําฝน ปริมาณน้ําฝนในลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีเฉลี่ยปีละ

ปัญหาด้านน้ําในเขตพื้นที่ลุ่มน้ําย่อยคลองท่าด ี

ปัญหาด้านน้ําในเขตพื้นที่ลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดี มีปัญหาเฉกเช่นเดียวกันกับลุ่มน้ําอี่นๆ คือปัญหาด้านน้ําท่วม ปัญหาเรื่องน้ําแล้ง และปัญหาเรื่องคุณภาพน้ํา

- ปัญหาน้ําท่วม เนื่องจากตามสภาพภูมิศาสตร์ของลุ่มน้ํา เขตชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช เป็นแอ่งกะทะ เมื่อเกิดฝนตกหนักจะทําให้เกิดน้ําท่วมขัง ในช่วงดังกล่าวจะมีน้ําทะเลหนุนสูง และประกอบกับการขยายตัวของชุมชน มีการถมดินเพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง และการก่อสร้างโครงการพื้นฐาน ซึ่งการกระทําดังกล่าวไปขวางทางน้ําและแย่งที่อยูข่องน้ํา คลองระบายน้ําเดิมในเขตชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช มีสภาพที่แคบและตื้นเขิน

- ปัญหาการขาดแคลนน้ํา ในช่วงฤดูแล้งจะมีปัญหาขาดแคลนน้ําอุปโภค บริโภค เนื่องจากเทศบาลนครนครศรีธรรมราช นําน้ําดิบจากคลองท่าดีผลิตเป็นน้ําประปา ในช่วงฤดูแล้งจะมีปริมาณน้ําไม่เพียงพอ เนื่องจากตามสภาพพื้นที่ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ํา

- ปัญหาด้านคุณภาพน้ํา เนื่องจากคลองท่าดีได้ผ่านเขตชุมชนเมืองซึ่งมีการปล่อยน้ําเสียจากชุมชนและครัวเรือนลงสู่คลอง และมีการทิ้งขยะลงสู่คลอง ทําให้เกิดน้ําเสีย

โครงการที่กําลังดําเนินการในเขตลุ่มน้ําย่อยคลองท่าด ี

- โครงการเพิ่มศักยภาพการใช้มาตรการเศรษฐศาสตร์เพื่อคงคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ดําเนินการโดย ความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธ์พืช กับ Enhancing the Economics of Biodiversity and Ecosystems Services in Thailand / South-East Asia (ECO – BEST)

- โครงการก่อสร้างระบบบําบัดน้ําเสียรวม ดําเนินการโดย เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

- โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช ดําเนินการโดย กรมชลประทาน เป็นโตรงการขนาดใหญ่ ซึ่งขณะนี้ได้สํารวจความเหมาะสม และประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3

Page 5: ขอบเขตลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีecoswat-thailand.com/download/thadi.pdf · 2015. 1. 6. · ปริมาณน้ําฝน ปริมาณน้ําฝนในลุ่มน้ําย่อยคลองท่าดีเฉลี่ยปีละ