ศิลปะการละครเบื้องต้น introduction to dramatic arts...

29
ศลปะการละครเบองตน INTRODUCTION TO DRAMATIC ARTS รหสวชา 0606 121 เรยบเรยงโดย นายพฒพงศ มา ตยจนทร นางสาวทรรณรต ทบแยม

Upload: others

Post on 13-Sep-2019

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

ศิลปะการละครเบื้องต้น ���INTRODUCTION TO

DRAMATIC ARTS รหัสวิชา 0606 121

เรียบเรียงโดย นายพุฒิพงศ์ มา

ตย์จันทร์นางสาวทรรณรต

ทับแย้ม

สุนทรียภาพทางศิลปะการแสดงตะวันตก ���(WESTERNPERFORMING ARTS)การศึกษาศิลปะการ

แ ส ด ง ต ะ ว ั นตก(WesternPerforming Arts) สามารถ แบ่ง การแสดงเป็น ๒ประเภท ได้แก่ การศิลปะการเต้นรํา (Dance) และศิลปะการแสดงละคร ( T h e a t r e )

โดยธรรมชาติการแสดงสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน กล่าวคือ ละครจะมี “บท” หรือ “เรื่อง” เป็นตัวกำหนดทิศทาง ดังนั้นตามปกติการแสดงละครจึง มุ่งเน้นที่จะสื่อสาร ‘เรื่องราว’ ในขณะที่การเต้นรํามีจุดมุ่งหมายในการสร้างสุนทรียะรสแก่ผู้ชม ทั้งในด้านความงามของลีลาท่าทาง เสื้อผ้าเครื่องประดับ ความไพเราะของดนตรี รวมถึงความอลังการ ของฉาก จึงอาจกล่าวได้ว่าละครให้ความสําคัญกับการ “ดูเอาเรื่อง” ขณะที่การเต้นรำมุ่ง ความส ำ ค ั ญ ไ ป ท ี ่ ก า ร “ ด ู เ อ า ร ส ”

อย่างไรก็ตามเราไม่อาจกล่าวสรุปได้ว่า การเต้นรําของตะวันตกไม่สื่อสารเรื่องราว หรือแสดงเป็นละคร ทั้งนี้มีการเต้นรำบางประเภทที่มีการนําเสนออย่างเป็นเรื่องเป็นราวเช่นเดียวกับละคร คือ การแสดงบัลเล่ต์ (bal let) ที่มีลักษณะเป็นการเต้นเล่าเรื่อง (Dance Story) ขณะที่ละครบางกลุ่มนิยมใช้การเต้นเป็นส่วนประกอบสําคัญเพื่อสร้างสุนทรียรสในการดําเนินเรื่องด้วยเช่นกัน อาทิ ล ะ ค ร เ พ ล ง ( M u s i c a l T h e a t r e )

 จะเห็นได้ว่าทั้งการเต้นรําและละครต่างมีองค์ป ร ะ ก อบ ร ่ ว มก ันอย ู ่ ได้แก่ การออกแบบฉาก แสง เสื้อผ้า การใช้ดนตรีหรือเพลง รวมถึงการแ ส ด ง น ั ่ น เ อ ง

ศิลปะการละคร (DRAMATIC ARTS)

 “ละคร” คือการแสดงที่ต้องมี “เรื่องราว” ซึ่งได้เลียนแบบมาจากชีวิตของมนุษย์ มีการจัดแสดงต่อหน้าผู้ชมอันก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างผู้แสดงและผู้ชม ทั้งนี้การแสดงใดๆ ที่มีทั้งผู้แสดงและผู้ชม แต่มิได้แสดงเป็นเรื่องเป็นราว เช่น การแสดงแฟชั่นโชว์ การแสดงดนตรี หรือการแสดงมายากล เหล่านี้ เราไม่เรียกว่าละครเพราะขาดองค์ประกอบที่สำคัญไปอย่างหนึ่งคือ “เรื่อง” นั่นเอง

ประเภทของละครตะวันตก

ละครแทรจิดี (TRAGEDY)   เป็นวรรณกรรมการละครที่เก่าแก่ที่สุด และมีคุณค่าสูงสุดในเชิงศิลปะและวรรณคดี ละครประเภทนี้ถือกำเนิดขึ้นในประทศกรีซ และพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ภายใต้ของการนำของเอสคิลุส โซโฟคลิสและยูริพิดีส

คามหมายของคำว่า แทรจิดี

(TRAGEDY)  - แทรจิดีแปลว่าเพลงแพะซึ่งมาจาก คำว่า ทราโกส(tragos) ซึ่งแปลว่า แพะ และโอด(ode) แปลว่า เพลง แทรจิดี จึงแปลว่า เพลงแพะ

 - ละครประเภทนี้ได้ถือกำเนิดในประเทศกรีซ เป็นสมัยที่ชาวกรีกนับถือเทพเจ้าไดโอนีซุส(Dionysus) ซึ่งเป็นเทพเตจ้าแห่งเจ้าองุ่นพืชพันธ์ธัญญาหาร ฤดูใบไม้ผลิความอุดมสมบูรณ์และชีวิต

 - ช่วงแรกการบวงสรวงนั้นจะขับร้อง เพลงดิธีแรมบ์(dithyramb) โดยใช้มนุษย์เป็นเครื่องบูชายัญ แต่หลังจากนั้นมาเห็นว่าเป็นการทารุน จึงเปลี่ยนมาใช้แพะแทน แล้วก็ให้แพะแก่กลุ่มนักร้อง หรือ “คอรัส”(chorus) ที่ขับร้องเพลงดิธีแรมบ์ได้ดีที่สุด และให้รางวัลเป็นแพะแทน

 - ดังนั้นละครประเภทแทรจิดีจึงถือกำเนิดมาจากการร้องเพลงดิธีแรมบ์

���

แทรจิดีพัฒนามาจากเพลงดีธีแรมบ์ได้อย่างไร ���  - ผู้ริเริ่มประพันธ์คำร้องในบทสวดบูชาที่เรียกว่า ดีธีแรมบ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อไห้ คอรัส ขับร้องในการบวงสรวงบูชาเทพเจ้าไดโอไนซุส

 - คนสำคัญทางบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ทางการละครชื่อว่า เธสพิส (Thespis) ได้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการขับร้องเพลงดีธีแรมบ์ด้วยการริเริ่มให้มีนักแสดง (actor) คนแรกขึ้นเพื่อสามารถให้มีบทเจรจาโต้ตอบกับคอรัสได้ และต่อมาก็ได้มี

 - ผู้ปรับปรุงแก้ไขบทละครประเภทนี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คือ เอสคิลุสได้เพิ่มนักแสดงเป็น 2 คน โซโฟคลีสได้เพิ่มนักแสดงขึ้นเป็น 3 คน และเพราะเหตุนี้ จึงทำให้เกิดประเพณีนิยมของละครกรีกโบราณว่า จะต้องมีกลุ่มคอรัสและตัวละครซึ่งมีบทเจรจาโต้ตอบกันในฉากหนึ่งๆไม่เกิน 3 คน

���

ลักษณะสำคัญของละครประเภทแทรจิดี (TRAGEDY)

  ละครประเภทแทรจิดีได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมการละครที่ ดีเด่นเหนือวรรณกรรม การละครประเภทอื่นๆ ลักษณะสำคัญของแทรจิดี ทุกสมัยก็ยังมีหลายประการที่คล้ายคลึงกันเป็นต้นว่า

- ต้องเป็นเรื่องที่แสดงถึงความทุกข์ทรมานของมนุษย์และจบลง ด้วยความหายนะของตัว เอก- ตัวเอกของแทรจิดีต้องมีความยิ่งใหญ่เหนือ (tragic greatness) คนทั่วๆไป แต่ในขณะเดียวกันจะต้องมีข้อบกพร่องหรือผิดพลาด (tragic flaw) ที่เป็นสาเหตุของค ว า ม ห า ย น ะ ท ี ่ ไ ด ้ ร ั บ - ฉากต่างๆที่แสดงถึงความทรมานของมนุษย์จะต้องมีผลทำให้ เกิดความรู้สึกสงสารและความกลัว (fear) อ ั น จ ะ นำผ ู ้ ช ม ไ ป ส ู ่ ค ว า ม เ ข ้ า ใ จ ใ น ช ี ว ิ ต ( e n l i g h t e n m e n t ) - มีความ เป็น เลิศใน เชิงศิลปะและวรรณคดี - ให้ความรู้สึกอันสูงส่งหรือความรู้สึกผ่องแผ้วในจิตใจ(exaltation) และการชำระล้างจิตใจให้บ ร ิ ส ุ ท ธ ิ ์ ( c a t h a r s i s )

���

แทรจิดี (TRAGEDY) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ���

ละครโศกนาฏกรรม     เป็นละครที่นำเสนอ เรื่องราวที่จริงจัง เศร้าโศก และมักลงท้ายด้วยความทรมาน ขมขื่น น่าสงสาร ของตัวละครเอก

  ละครโศกนาฏกรรมเป็นละครที่ได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าสูงส่ง เนื่องจากเนื้อเรื่องจะแสดงให้เห็นถึงความทุกข์ทรมานของมนุษย์ตัวเอก ผู้มีลักษณะสูงส่งน่ายกย่อง แต่มีข้อบกพร่องในลักษณะนิสัยบางประการ เป็นเหตุให้ต้องมาประสบกับเคราะห์กรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

 ยกตัวอย่าง เ ช่นละคร เ ร ื ่อง “อีดิปุส” (Oedipus) โศกนาฏกรรมสมัยกรีก เป็นเรื่องราวของกษัตริย์อีดิปุสผู้ที่ชะตากรรมนำพาไปให้เขาต้องฆ่าบิดาของตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจ และด้วยความรู้สึกสำนึกในความผิดอันใหญ่หลวง เขาได้ตัดสินใจแทงดวงตาทั้งสองข้างและเนรเทศตัวเองออกจากเมืองเยี่ยงคนจรจัด ซึ่งเป็นฉ า ก ท ี ่ น ่ า เ ว ท น า เ ป ็ น อ ย ่ า ง ย ิ ่ ง

  ละครแนวแทรจิดี มุ่งก่อให้เกิดสภาวะ “ความบริสุทธิ์ทางใจ” แก่คนดูหลังจากได้ชมเรื่องราวการของตัวเอก คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของละคร อยู่ที่ตัวละครเอกต้องต่อสู้อย่างหนักหน่วงกับอำนาจชะตากรรมโดยไม่เคยอ่อนข้อให้แก่มัน แต่ต้องพ่ายแพ้ในท ี ่ ส ุ ด

  การได้ชมละครแทรจิดีและได้เห็นถึงชะตากรรมอันน่าอดสู หรือความหายนะของตัวละครเอกที่เกิดจาก“การกระทำผิดบาป” ของตัวละครเอง จะช่วยทำให้มนุษย์เข้าถึงสัจธรรมของชีวิต และเกิดแสงสว่างใ น ก า ร ดำ ร ง ช ี ว ิ ต น ั ่ น เ อ ง

  ปัจจุบันละครแทรจิดีจะนำเสนอเรื่องราวปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนธรรมดาสามัญมากกว่าปัญหาที่ยิ่งใหญ่ของคนช ั ้ น ส ู ง เ ช ่ น แ ท ร จ ิ ด ี ใ น อ ด ี ต

  นักการละครจำนวนมากจึงปฏิเสธที่จะเรียกละครเหล่านั้นว่าแทรจิดี เป็นเหตุให้เกิดการบัญญัติศัพท์สำหรับเรียกละครที่มีเนื้อหาเข้มข้นเกี่ยวกับชะตาชีวิตของคนโดยทั่วไปว่า ละครดราม (Drame) ในภาษาฝรั่งเศส ส่วนในอเมริกาเรียกละครประเภทนี้ว่า ละครดรามา (Drama)

ละครประเภทขบขันหรือที่เรียกว่า

ฟาร์ส (FARCE) และคอเมดี

(COMEDY)   ละครประเภทตลกขบขันมีมากมายหลายชนิด ฉะนั้น ในการแบ่ง ละครประเภทนี้จึงไม่อาจใช้กฎเกณฑ์ที่ตายตัวจนเกินไป จึงทำให้ผู้ศึกษาต้องเข้าใจลักษณะของละครตลกแต่ละประเภท ตามหลักของทฤษฎีของการละครเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปนั้นมักจะถือว่า ละคร ประเภทตลกขบขันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือฟาร์ส และค อ เ ม ด ี

ละครคอเมดี (COMEDY)   เป็นละครที่มีลักษณะเป็นว ร รณกร รม บา ง เ ร ื ่อ ง เป ็นวรรณกรรมชั้นสูง นับว่าเป็นวรรณคดีอมตะของโลก เช่นสุขนาฏกรรมของเชคเปียร์ ละครตลกประเภทเสียดสีของโมลิแยร์และตลกประเภทความคิดของ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ ที่มาของละครป ร ะ เ ภ ท ฟ า ร ์ ส

  ผู้เชี่ยวชาญทางการละครหลายท่านมีความเห็นว่าฟาร์สเป็นจุดเริ่มต้นของละครตลกโดยทั่วไป คงจะเกิดจากธรรมชาติและความผิดพลาดของมนุษย์ที่ร ู ้ จ ั ก ห ั ว เ ร า ะ ใ ห ้ ก ั บ ข ้ อบกพร่องและความผิดพลาดของตนเองและผู้อื่น ละครประเภทนี้เชื่อกันว่าการแสดงตลกดังก ล ่ า ว ม ี ม า ต ั ้ ง แ ต ่ ส ม ั ยด ึ ก ดำบ ร ร พ ์ น ั บ ต ั ้ ง แ ต ่ มนุษย์ เริ่มจะมีความเป็นอยู่ที่ดีพอ มนุษย์ก็เริ่มนำการแสดงที่ชวน ขบขันเข้ามาแทรกในการแสดงที่เคยเป็นพิธีศักส ิ ท ธ ิ ์ ม า ต ั ้ ง แ ต ่ เ ด ิ ม

���

ฟาร์ส (FARCE) ���

 - ละครชนิดตลกโปกฮา ให้ความตลกจากเหตูการณ์ที่เหลือเชื่อ ตลอดจน การแสดงที่รวดเร็วและเอะอะตึงตัง

 - ผู้วิจารณ์มักดูถูกละครประเภทนี้ว่าไร้ค่าแต่แท้จริงแล้วละครประเภท ฟาร์ส เป็นละครที่ดีเป็นศิลปะที่มีคุณค่าทางละครไ ม ่ แพ ้ ล ะ ค รป ร ะ เ ภทอื่นๆ เช่นภาพยนตร์ ของชาลีแชปลิน ที่แฝงไว้ด้วยหลักปรัชญาที่ลึกซึ้งไม่แพ้ หลักปรัชญาที่เราได้จากละครประ เภท อื่นๆ

ความรู้สึกขบขันเกิดขึ้นได้อย่างไร  - คนเรามักจะหัวเราะเมื่อเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดผิดแผกไปจากปกติวิสัย ซึ่งเกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญาความอ่อนแอของมนุษย์น ั ้ น เ อ ง

 - ละครประเภทฟาร์สนี้มักจะเรียกเสียงหัวเราะจากการพลิก ความหมายของผู้ชมด้วย สถานการณ์ที่เหลือเชื่อและเกือบไม่มีทางเป็นไป ได้ในโลกแห่งความงามเป็นจริง

 - แต่ในโลกของฟาร์สคนดูจะยอมรับว่าไม่เป็นไปได้ตราบใดที่นักแสดง ให้ความจริงใจกับ บทบาท และหลักสำคัญอีกประการหนึ่งในการ สร้างสรรค์ละครประเภทฟาร์สก็คือ ผู้ชมจะหัวเราะตราบใดที่สามารถเชื่อ ในบทบาทและค ว า ม จ ร ิ ง ใ จ ข อ ง ต ั ว ล ะ ค ร

จากฟาร์สสู่คอเมดี   ละครขั้นพื้นฐานคือ ฟาร์ส และคอเมดีก็คือตลกในขั้นที่สูงขึ้นไป ซึ่งก็มีวิวัฒนาการมาจากตลกพื้นฐานนั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อม น ุ ษ ย ์ เ ร ิ ่ ม

 มีวัฒนธรรมมากขึ้น  มีขนบธร รม เน ียมประเพณีและภาษาที่ไพเราะเพราะพริ้งมากข ึ ้ น

ที่มาของคอเมดี (COMEDY)

 - ละคร ประเภทคอเมดี เป็นละครชนิดตลกขบขัน ถือกำเนิดมาจาก พิธีเฉลิงฉลองเทพเจ้าไดโอไนซุสของกรีกเช่นเดียวกับละครประเภท แทรจิดี ในขณะที่แทรจิดีพัฒนามาจากการขับร้องดีธีแรมบ์ซึ่งเป็น ส่วนที่มีลักษณะเป็นพิธีการนั้น

 - คอเมดีก็พัฒนามาจากก า ร ข ั บ ร ้ อ ง เ พ ล งสนุกสนานเฮฮา ของพวกที่ ติดตามขบวนเทวรูปของไดโอไนซุส จนกลายเป็นประเพณีนิยมที่ถือ ป ฏ ิ บ ั ต ิ ต ล อ ด ม า

ละครสุขนาฏกรรม ���

(ROMANTIC COMEDY)

  “ ล ะ ค ร ส ุ ข น า ฏ ก ร ร มโรแมนติค” (Romantic Comedy) คือละครตลกระดับวรรณกรรม ใช้ภาษาไพเราะ เรื่องราวเต็มไปด้วยจ ิ น ต น า ก า ร แ ล ะ ค ว า ม ค ิ ดสร้างสรรค์ มีความน่าเชื่อและสมเหตุสมผล ตัวเอกมีความดีงามตามแบบอุดมคติ ละครแนวนี้ความตลกมักไปตกอยู่กับบทบาทของตัวละครตลก (Clown) ไม่ใช่ที่ตัวละครเอก เรื่องราวมักเริ่มต้นที่ปัญหาและอุปสรรคแต่จบลงด้วยความสุข ส่วนใหญ่เป็นละครของ วิลเลี่ยม เชกสเปียร ์ ผ ู ้ โ ด ่ ง ด ั ง

ละครตลกประเภทความคิด ���

(COMEDY OF IDEAS)

 “ละครตลกประเภทค ว า มคิด” (Comedy of Ideas) เป็นละครที่นำเอาความคิด หรือความเชื่อของมนุษย์ที่ผิดพลาดมาล้อเลียน เพื่อให้ผู้ชมได้นำกลับไ ป ข บ ค ิ ด ห ร ื อแก้ไข ละครประเภทนี้มีผู้ขนานนามว่าเป็นละคร “ตลกร ะ ด ั บ ส ม อ ง ”

ละครตลกเสียดสี ���

(SATIRIC COMEDY)  “ละครตลกเสียดสี” (Satiric Comedy) เป็นละครตลกที่เ น ้ น ก า ร เ ส ี ย ด ส ี ข ้ อบกพร่องของมนุษย์ในสังคมทั่วๆ ละคร ประเภทนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับตลกชั้นสูง แต่เน้นการเสียดสี โจมตีด้วยวิธีการที่รุนแรงกว่า ตลกประเภทนี้ผู้เขียนจะต ้ อ ง ม ี ศ ิ ล ป ะ ใ น ก า ร ประพันธ์เป็นอย่างดี ต้องสามารถทำให้ผู้ชมยอมรับการโจมตีอย่างรุนแรง โดยไม่โกรธ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางโครงเรื่อง ดังนั้นตลกประเภทเสียดสี นี้ถือเป็นละครตลกที่เข้าขั้นวรรณกรรมอีกประเภทหนึ่ง

ละครตลกสถานการณ์ ���

(SITUATION COMEDY)   “ ล ะ ค ร ต ล กสถานการณ์” (Situation Comedy) ละครตลกที่มักใช้เรื่องราว ผิดฝาผิดตัว อลเวงอลวน เน้นที่ความบังเอิญ และท่าทางตลกมากกว่าการใช้ภาษาสูง ชื่อละครแนวนี้ได้ถูกนำมาทำให้สั้นลงเ พ ื ่ อ ใ ช ้ เ ร ี ย ก ล ะ ค รโทรทัศน์ที่จบในตอน มีตัวละครกลุ่มเดียวกัน และเปลี่ยนสถานการณ์ไปเรื่อยๆ ว่าละครแนว “ซิทค อ ม ” ( S i t c o m )

ละครตลกเอะอะตึงตัง ���

(SLAPSTICK COMEDY)

 “ละครตลกเอะอะตึงตัง” (Slapstick Comedy) เป็นละครที่มุขตลกเน้นไปที่ความอึกทึกครึกโครม วิ่งไล่จับกัน ตีหัวแตก ลื่นล้มหกคะเมนตีลังกา หากเป็นละคร หรือภาพยนตร์ของไทย เทียบได้กับ ภาพยนตร์เรื่อง บ้านผีปอบ ที่มุขตลกยอดนิยมของเรื่องคือการวิ่งหนีผีปอบลงไปซ่อนในตุ่ม ภาพยนตร์เรื่องบุญชู เป็นต้น

 อย่างไรก็ตามการหาละครตลกที่มีลักษณะแบบใดแบบหนึ่งอย่างบริสุทธิ์โดยไม่มีลักษณะละครตลกแบบอื่น หรือระดับอื่นมาเจือปนได้ ในการแบ่งละครคอเมดีออกเป็นหมวดหมู่จึ ง ไม่อาจใช้กฎเกณฑ์ที่ตายตัว ผู้ศึกษาต้องมีความเข้าใจลักษณะของละครตลกโดยรวม และใช้วิจารณญาณของตนในการตัดสิน โดยดูลักษณะที่เด่นที่สุดของเ ร ื ่ อ ง เ ป ็ น ส ำ ค ั ญ

ละครอิงนิยายหรือที่เรียกว่า

โรมานซ์ (ROMANCE)

  เป็นละครที่มีเรื่องราวที่มนุษย์ใฝ่ฝันจะได้พบ มากกว่าที่จะได้พบจริงๆในชีวิตประจำวัน พระเอกนางเอก ของละครประเภทนี้จะเป็นวีรบุรุษและวีรสตรี และตอนจบของเรื่องก็ มักจะชี้ให้เห็นคุณธรรมความดีจะต้องชนะความชั่วตลอดไป ส่วน ภาษาที่ใช้ก็มักจะไพเราะเพราะพริ้ง และนิยมเขียนเป็นแบบร้อยกรอง หือถ้าเป็นร้อยแก้วก็จะใช้ภาษาที่เต็มไปด้วยภาพจณ์และสัญลักษณ์ ในด้านการแสดงนิยมใช้การเคลื่อนไหวแบบนุ่มนวล อาจจะใช้ลีลาที่สร้างสรรค์ขึ้นให้มีความงดงาม มากกว่าชีวิตจริงเพราะโลกของโรมานซ์นั้น เป็นโลกที่นิยายที่ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นไ ด ้

ละครเมโลดรามา (MELODRAMA)

  เป็นละครที่มีเรื่องราวโศกเศร้า จริงจัง แต่มีฉากเบาส ม อ ง เ พ ื ่ อ ผ ่ อ น ค ล า ยความเครียดแทรกอยู่ และจบลงด้วยความสุข หรือความสมหวัง แม้ว่าชื่อเรียกละคร เมโลดรามา จะเกิดขึ้นในช่วงหลังศตวรรษที่ ๑๙ แต่รูปแบบละครประเภทนี้มีมากว่า ๕๐๐ ปีก่อนศริสตกาลมาแล้ว (Oscar G. Brockett, ๑๙๖๔) บางยุคเ ร ียกละครลักษณะนี้ว่า “ ล ะ ค ร แ ท ร จ ิ ค อ เ มดี” (Tragicomedy) หรือละครโศกกึ่งสุข เนื่องจากมีลักษณะจริงจังเศร้าโศกอย่างแทรจิดีและจบลงด้วยความสุขอ ย ่ า ง ค อ เ ม ด ี

ละครเมโลดรามา (MELODRAMA)

  ละครเมโลดรามาที่แท้จริง เกิดขึ้นและเป็นที่นิยมแพร่หลายในศตวรรษที่ ๑๙ เป็นละครที่มีดนตรีประกอบเพื่อแสดงลักษณะของอารมณ์ในแต่ละฉาก ลักษณะของละครเมโลดรามาในยุคดังกล่าวนิยมนำเสนอตามสูตรที่วางไว้อย่างชัดเจน คือ เร้าอารมณ์ผู้ชมเป็นสำคัญ กระตุ้นความรู้สึกสงสารและโกรธอย่างไม่ลึกซึ้งนัก เรื่องราวมักดำเนินไปด้วยแผนการของฝ่ายตรงข้ามกับตัวเอกซึ่งทำให้เหตุการณ์ยุ่งยากมากขึ้น ซึ่งโครงเรื่องของละครเมโลดรามาเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย แสดงให้เห็นเหตุการณ์ที่ตัวเอกต้องเผชิญกับปัญหาครั้งแล้วครั้งเล่า เรื่องราวมีปมที่น่าสงสัย ชวนให้ติดตามดูและตอนจบของเรื่องมักจะผันแปรเหตุการณ์ไปอย่างไม่น ่ า เ ป ็ น ไ ป ไ ด ้

ละครเมโลดรามา (MELODRAMA)

  ตัวละครเมโลดรามามีลักษณะตายตัว (typed character) ไม่ค่อยมีพัฒนาการ หากตัวละครมีการ เปลี่ยนแปลงด้านนิสัย ก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่า งกะทันหันชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ซึ่งมักเชื่อได้ยากถ้านำมาไตร่ตรองให้ดี ลักษณะตัวละครแบบเมโลดรามาที่พบได้ในแทบทุกเ ร ื ่อ ง คือพร ะ เ อก นางเอก ตัวตลก และผ ู ้ ร ้ า ย

ละครเมโลดรามา (MELODRAMA)

  หากเปรียบละครแนวเมโลดรามากับละครที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน คือ ละครโทรทัศน์แนว “น้ำเน่า” นั่นเอง ซึ่งมักเน้นการกระตุ้นเร้าอารมณ์ผู้ชมให้รู้สึกสนุก ตื่นเต้น สงสาร สะใจ ฯลฯ ไปตามเรื่องราวในละคร ไม่ใส่ใจที่จะสร้าง “ความน่าเชื่อ” หรือความสมจริงให้กับละครมากนัก ส่วนใหญ่จะวนเวียนใช้โครงเรื่องเดิมๆ เพียงแต่เปลี่ยนช ื ่ อ ต ั ว ล ะ ค ร เ ท ่ า น ั ้ น

 ละครเมโลดรามาเน้นที่ “ความผลิกผัน และความรันทด” ของชะตากรรมนั้นๆ นอกจากนี้เมโลดรามาจะแบ่งความดีและความชั่วออกจากกันอย่างชัดเจน ซึ่งอยู่ในรูปของตัวเอก และฝ่ายผู้ร้าย