คู่มือperson.ddc.moph.go.th/eval/recru/knowledge/km4.doc  · web view2013. 5. 5. ·...

52
กกกกกกกกกกกกกกก กก

Upload: others

Post on 22-Mar-2021

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

คู่มือ

บทนำ

กองการเจ้าหน้าที่ เป็นหน่วยงานหลักที่จะต้องรับผิดชอบงานด้านการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการที่สังกัดในกรมควบคุมโรค ซึ่งมีจำนวนมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีฝ่ายที่ทำหน้าที่ในการรับผิดชอบโดยตรง และการที่จะทำให้ข้อมูลถูกจัดเก็บได้อย่างเป็นระเบียบ และสามารถนำมาใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว จึงต้องนำระบบสารสนเทศมาช่วยในการจัดการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลบุคคลของเจ้าหน้าที่ภายในกรม (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และอดีตเจ้าหน้าที่ที่เคยปฏิบัติงานในกรมฯ) จึงได้มีการนำโปรแกรม ระบบสารสนเทศการบริหารงานบุคคลมาใช้ ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบทะเบียนประวัติ, ระบบตำแหน่งและอัตราเงินเดือน (จ.18), ระบบโครงสร้างอัตรากำลังและระบบงาน, ระบบกฎเกณฑ์, ระบบคำสั่ง และระบบอดีตข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ/พนักงานราชการ เป็นต้น และรับผิดชอบดูแล ตรวจสอบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกองฯ ตลอดจนแก้ไข พัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศการบริหารงานบุคคล

ของกองฯ

ทั้งนี้ ฝ่ายข้อมูลการบริหารงานบุคคล จึงได้จัดทำคู่มือการบันทึกข้อมูลการบริหารงานบุคคลขึ้นมา ซึ่งมีการรวบรวมขั้นตอนการบันทึกข้อมูลประวัติและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรคที่ได้มาจากคำสั่งและเอกสารสำคัญต่าง ๆ (ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-สกุล, สำเนาวุฒิการศึกษา ฯลฯ) เพื่อให้มีข้อมูลถูกต้องครบถ้วนพร้อมใช้ประกอบการปฏิบัติงานมากขึ้น

ฝ่ายข้อมูลการบริหารงานบุคคล

ผู้จัดทำ

หน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายข้อมูลการบริหารงานบุคคล

- บันทึกข้อมูลประวัติและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ที่ได้มาจากคำสั่งต่าง ๆ หรือหนังสือราชการ ลงในระบบ โปรแกรมกอง , SmartCard , โครงการจ่ายตรง และ ก.พ.7 (และเอกสารเฉพาะประวัติข้าราชการ)

- บันทึกข้อมูลบัญชีถือจ่ายเงินเดือน/ค่าจ้าง ในระบบคอมพิวเตอร์

- จัดทำเอกสาร รายงาน การโต้ตอบหนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง

- ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกองฯ ตลอดจนแก้ไข พัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศการบริหารงานบุคคลของกองฯ

( การดำเนินการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

โปรแกรมกอง

โปรแกรมอื่นๆ

อื่น ๆ

ข้าราชการ

Smart Card

หมายเหตุ

ลูกจ้าง

โครงการจ่ายตรงเงินเดือน

การอัพเดต Web Server

พนักงานราชการ

โครงการจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล

คู่มือการ Scan ก.พ.7

ระบบโปรแกรมกอง >> ระบบสารสนเทศการบริหารงานบุคคล กองการเจ้าหน้าที่

เป็นโปรแกรมสำหรับบันทึกข้อมูลประวัติและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ กรมควบคุมโรค ที่ได้มาจากคำสั่งต่าง ๆ หรือหนังสือราชการ

เลือกเข้าข้อมูลที่ต้องการ (ข้าราชการ, ลูกจ้างประจำ, พนักงานราชการ) > ใส่รหัสประจำตัว > รหัสผ่าน > ตกลง

จะประกอบไปด้วยระบบงานต่าง ๆ ที่สามารถเข้าไปปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลได้

· จบการทำงาน >> เมื่อจะออกจากระบบโปรแกรมกอง

· ระบบควบคุมและจัดการ >> สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลระบบโปรแกรมกองสามารถเข้าใช้ได้

· ระบบสารบรรณ >> สำหรับสร้าง, รับ-ส่ง, ติดตาม ค้นหา, จัดเก็บ และทำลาย และอรรถประโยชน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับหนังสือราชการที่ได้รับเข้ามาในกอง

· ระบบโครงสร้างอัตรากำลังและระบบงาน >> สำหรับระบบที่ใช้ปรับปรุง, กำหนด-ยุบตำแหน่ง และโครงสร้างต่าง ๆ ภายในกรมควบคุมโรค

· ระบบทะเบียนประวัติ >> สำหรับบันทึกข้อมูลการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ในกรม

· ระบบตำแหน่งและอัตราเงินเดือน >> สำหรับการบันทึกบัญชีถือจ่ายเงินเดือน/ค่าจ้าง, เงินประจำตำแหน่ง และข้อมูลการเลื่อนขั้นเงินเดือน

· ระบบกฎเกณฑ์ >> สำหรับการกำหนดรหัสต่าง ๆ ของหน่วยงานในกรมควบคุมโรค รวมทั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ

· ระบบคำสั่ง >> สำหรับบันทึกคำสั่งต่าง ๆ ที่ได้รับ และดำเนินการปรับปรุง

· ระบบอดีตข้าราชการ >> สำหรับดูข้อมูลเจ้าหน้าที่ที่ออกจากกรม ( ให้โอน / ให้ออก / ลาออก / ตาย / เกษียณ )

การดำเนินการเกี่ยวกับคำสั่งในกรณีต่าง ๆ

ข้าราชการบรรจุใหม่

เข้าระบบคำสั่ง > เลือกคำสั่งบรรจุผู้ได้รับคัดเลือก (กรณีไม่มีคำสั่ง ให้เลือกเพิ่ม) > บันทึก > บัญชี แนบท้าย

เพิ่มข้อมูลข้าราชการบรรจุใหม่ ( ในช่องหมายเหตุ ให้ระบุข้อความที่กะทัดรัด สื่อความหมาย เข้าใจง่าย ) > บันทึก > ปรับปรุง

เข้าระบบทะเบียนประวัติ เพิ่มข้อมูลให้ครบถ้วนสมบูรณ์ > ประวัติการศึกษา > ประวัติส่วนตัว / กบข.

ประวัติการศึกษา ( กรณีถ้าเป็นวุฒิสูงสุด ให้ใส่เงื่อนไขวุฒิฯ > ใช้เป็นทางการ เพียงวุฒิเดียวเท่านั้น )

ประวัติส่วนตัว / กบข.>> เป็นข้อมูลส่วนตัวและครอบครัว

กรณีมีหมายเหตุจากคำสั่งใน จ.18 เช่น อาศัยเบิกจากอัตราเงินเดือน ... ให้เอาจำนวนเงินไปใส่ในอาศัยเบิกขั้นด้วย

ข้าราชการบรรจุกลับ >> ทำเหมือนข้าราชการบรรจุใหม่ ยกเว้น ไม่ต้องทำพิมพ์ลายนิ้วมือใหม่

เปลี่ยนชื่อ - สกุล

เข้าระบบทะเบียนประวัติ >> ข้อมูลบุคคล > แก้ไข (แก้ไขชื่อ – สกุล ที่เปลี่ยน) > บันทึก

ไปที่ ชื่อ-นามสกุลเดิม > เพิ่ม > ใส่ชื่อเดิม – สกุลเดิม พร้อมเอกสารอ้างอิง > บันทึก

เพิ่มวุฒิการศึกษา

เข้าระบบทะเบียนประวัติ >> ประวัติการศึกษา > เพิ่ม > บันทึกข้อมูลการศึกษา ( กรณีถ้าเป็นวุฒิสูงสุด ให้ใส่เงื่อนไขวุฒิฯ > ใช้เป็นทางการ เพียงวุฒิเดียวเท่านั้น )

รับโอนข้าราชการ

เข้าระบบคำสั่ง >> เลือกคำสั่งรับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ > บันทึก

ไปที่ บัญชีแนบท้าย บันทึกข้อมูลการรับโอน พร้อมระบุหมายเหตุที่สื่อความหมายเข้าใจง่าย > บันทึก > ปรับปรุง

เข้าระบบ จ.18 กรณีที่กันหมายเหตุตำแหน่งไว้ เมื่อมีคนมาลงแล้ว ให้ลบหมายเหตุออก > บันทึกการแก้ไข

อย่าลืม! กรณีมีหมายเหตุจากคำสั่งใน จ.18 เช่น อาศัยเบิกจากอัตราเงินเดือน ... ให้เอาจำนวนเงินไปใส่ในอาศัยเบิกขั้นด้วย

ให้โอนข้าราชการ ไปสังกัด / กรมอื่น

เข้าระบบคำสั่ง >> เลือกคำสั่งให้โอน > บันทึก

บันทึกข้อมูลการให้โอน > บันทึก > ปรับปรุง

เข้าระบบอดีตข้าราชการ > แก้ไขประวัติการดำรงตำแหน่งการให้โอนไปรับราชการ ( เป็นหน่วยงานใหม่ที่เขาไปสังกัดอยู่ )

เข้าระบบ จ.18 ไปตำแหน่งที่ให้โอน เลือกเพิ่ม ใส่การเคลื่อนไหว ระบุหมายเหตุ จ. ว่า >> ว่างเมื่อไหร่... ใคร...โอนไปไหน... > บันทึก

ย้ายข้าราชการ

เข้าระบบคำสั่ง >> เลือกคำสั่งย้ายข้าราชการผู้ได้รับคัดเลือก (กรณีไม่มีคำสั่ง ให้เลือกเพิ่ม) > บันทึก

บันทึกข้อมูลการย้ายข้าราชการ พร้อมระบุหมายเหตุที่สื่อความหมายเข้าใจง่าย > บันทึก > ปรับปรุง

อย่าลืม! หมายเหตุจากคำสั่งใน จ.18 ในตำแหน่งที่ย้ายมา เช่น อาศัยเบิกจากอัตราเงินเดือน ... ให้เอาจำนวนเงินไปใส่ในอาศัยเบิกขั้นด้วย

ไปตำแหน่งเดิม เลือกเพิ่ม ใส่การเคลื่อนไหว ระบุหมายเหตุ จ. ว่า >> ว่างเมื่อไหร่... ใคร...ย้ายไปไหน... > บันทึก

กรณีการหมายเหตุ จ. ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนเดิม และให้โอนอัตราเงินเดือนขั้น ....ไปตั้งจ่าย

เลื่อนระดับ

เข้าระบบคำสั่ง >> เลือกคำสั่งเลื่อนข้าราชการผู้ได้รับคัดเลือก (กรณีไม่มีคำสั่งให้เลือกเพิ่ม) > บันทึก

บันทึกข้อมูลการเลื่อนข้าราชการ พร้อมระบุหมายเหตุ ( ถ้ามี ) > บันทึก > ปรับปรุง

กรณี ถ้าหมายเหตุ จ. มีให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้ใส่จำนวนเงินด้วย ( และเข้าไปทำปรับพอกเงิน ปจต. ใน ACCESS ด้วย )

แต่งตั้ง

เข้าระบบคำสั่ง >> เลือกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการผู้ได้รับคัดเลือก (กรณีไม่มีคำสั่งให้เลือกเพิ่ม) > บันทึก

บันทึกข้อมูลการแต่งตั้งข้าราชการ > บันทึก > ปรับปรุง

ให้ข้าราชการปฏิบัติราชการ

เข้าระบบคำสั่ง >> เลือกคำสั่งให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแบบ 1 > บันทึก

บันทึกข้อมูลการปฏิบัติราชการประจำ > บันทึก > ปรับปรุง

ในระบบทะเบียนประวัติ >> ข้อมูลบุคคล (กรณีปฏิบัติราชการทำงานไม่ตรง จ. จะปรากฏเป็นสีแดง)

ในเมนูปฏิบัติงานจริงที่ >> ก็จะปรากฏข้อมูลปฏิบัติงานจริงที่ไม่ตรงตาม จ.18

คำสั่งรักษาการในตำแหน่ง / รักษาราชการแทน

เข้าระบบคำสั่ง >> เลือกคำสั่งให้ข้าราชการรักษาการในตำแหน่ง > บันทึก

บันทึกข้อมูลให้ข้าราชการรักษาการในตำแหน่ง (ใส่ตำแหน่งที่ไปรักษาการ ตั้งแต่ ...) > บันทึก > ปรับปรุง

ลาศึกษา / รายงานตัวกลับจากลาศึกษา / รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการ

เข้าในระบบทะเบียนประวัติ >> ประวัติการดำรงตำแหน่ง > เข้าไปเพิ่มเติมข้อมูลการลาศึกษา (ระบุด้วยว่าลาถึงเมื่อไหร่ พร้อมเอกสารอ้างอิง) , รายงานตัวกลับจากลาศึกษา

อบรม / ดูงาน

เข้าในระบบทะเบียนประวัติ >> ประวัติการอบรม / ดูงาน > เพิ่ม ( ใส่วันเริ่ม-สิ้นสุด , หลักสูตร / สถาบัน ที่อบรม และระบุประเทศ ) > บันทึก

ลาออก

เข้าระบบคำสั่ง >> เลือกคำสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการ (กรณีไม่มีคำสั่งให้เลือกเพิ่ม) > บันทึก

บันทึกข้อมูลให้ลาออกจากราชการ ระบุหมายเหตุ จ. ว่า >> ว่างเมื่อไหร่... ใครลาออก...... > บันทึก > ปรับปรุง

เข้าระบบ จ.18 ไปตำแหน่งที่ลาออก เลือกเพิ่ม การเคลื่อนไหว ระบุหมายเหตุ จ. ว่า >> ว่างเมื่อไหร่... ใครลาออก... > บันทึกการแก้ไข

ตาย

เข้าระบบทะเบียนประวัติ ค้นหาชื่อผู้ตาย > ลบข้อมูลบุคคล > จะให้กรอกข้อมูล ลบ ณ วันที่ ..... ( วันที่ตาย ) เอกสารอ้างอิง ( ใส่เลขที่ใบมรณบัตร / บันทึก ที่แนบมาให้ ) > ประมวลผล ข้อมูลจะไปปรากฏใน อดีตข้าราชการ

ในระบบ จ.18 ให้หมายเหตุว่า >> ว่างเมื่อไหร่... ใครลาออก... > บันทึกการแก้ไข

***การปรับปรุงกำหนดตำแหน่ง

เข้าระบบโครงสร้างอัตรากำลังและระบบงาน > ตำแหน่งปัจจุบัน ( เพื่อดูว่าเป็นตำแหน่งว่าง หรือมี คนครอง )

กรณีที่เป็นตำแหน่งว่าง >> เข้าระบบโครงสร้างฯ > ปรังปรุงตำแหน่งได้เลย > บันทึก

กรณีที่เป็นตำแหน่งมีคนครอง >> เข้าระบบโครงสร้างฯ > ตำแหน่งตามแผน/มติ (ค้นหาเลขที่จะแก้ไข (จะใช้ปรับปรุงตำแหน่งไม่ได้ เพราะตำแหน่งของคนจะเปลี่ยนไปด้วย ต้องรอคำสั่งแต่งตั้ง / ย้าย จากฝ่าย สรรหาฯ ก่อน )) > บันทึก

เข้าเมนูตำแหน่งปัจจุบัน > ใส่เลขที่ตำแหน่ง > เพิ่มเงื่อนไขตำแหน่ง > บันทึก

เงื่อนไขตำแหน่งที่เพิ่มเติมไว้ในเมนูตำแหน่งปัจจุบัน ก็จะมาปรากฏในระบบ จ.18 หมายเหตุตำแหน่ง

***ส่วนตำแหน่งที่ยุบ > เข้าระบบโครงสร้าง > ตำแหน่งปัจจุบัน พิมพ์เงื่อนไขตำแหน่ง > บันทึก

*** กรณีที่เพิ่มหน่วยงาน ให้เข้าไปเพิ่มรหัสงาน (ถ้าเพิ่มรหัสในหน่วยงานสังกัดกรมแล้ว error ต้องไปเพิ่มโดยตรงที่ ตาราง dbo_Portion แล้วพิมพ์เรียงลำดับ Por_id ใหม่)

***การดำเนินการใน ก.พ.7

สามารถเข้าไปดูคู่มือการทำจัดทำทะเบียนประวัติ และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการใน ก.พ.7 ได้ที่

http://person.ddc.moph.go.th/organize/dat/doc/7.doc

งานที่เกี่ยวกับเอกสาร, แฟ้ม ในห้องเก็บแฟ้มประวัติ

1. สำเนาคำสั่ง, เอกสาร (เลื่อนระดับ, เลื่อนขั้นเงินเดือน, ย้าย, ตาย, เกษียณอายุราชการ, ลาออก, แจ้งสมรส (เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ, ชื่อตัว, ชื่อสกุล), แจ้งเพิ่มวุฒิ, บันทึกเรื่องวันลาที่อธิบดีลงนาม, โทษทางวินัย, การลาศึกษาต่อ, ฝึกอบรม, ดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ (คำสั่งอนุญาตให้ลา, สัญญาลา), การรายงานตัวกลับมาปฏิบัติราชการ, บันทึกการขอลาอุปสมบท และเอกสารอื่น ๆ ที่สำคัญ) ซึ่งได้บันทึกข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบโปรแกรมกอง, ระบบจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล, ระบบ SMART CARD และ ก.พ. 7 แล้ว ให้นำไปเก็บไว้ในแฟ้มประวัติของข้าราชการ หรือเย็บติดด้านหลัง บัตรลูกจ้างประจำรายชื่อ

2. นำแบบหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด, แบบหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษกรณีข้าราชการถึงแก่ความตาย, แบบหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษกรณีลูกจ้างประจำถึงแก่ความตาย และบัตรแข็งแบบพิมพ์ลายนิ้วมือของข้าราชการ เก็บไว้ในแฟ้มประวัติของข้าราชการ หรือเย็บติดด้านหลังบัตรลูกจ้างประจำรายชื่อ

3. ทุกสิ้นปีงบประมาณ ให้นำแบบหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด, แบบหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษกรณีข้าราชการถึงแก่ความตาย ออกจากแฟ้มประวัติของข้าราชการซึ่ง ตาย, เกษียณอายุราชการ และลาออกของปีที่แล้ว ไปเก็บไว้ในแฟ้มแยกต่างหาก รวบรวม แฟ้มประวัติที่มี ก.พ. 7 เย็บติดด้านในปกแฟ้ม, บัตรลูกจ้างประจำรายชื่อของอดีตข้าราชการและลูกจ้างประจำดังกล่าว พร้อมทั้งทำบันทึกนำส่งฝ่ายบริหารทั่วไปดำเนินการต่อ (ในห้องเก็บแฟ้มประวัติ จะมีเฉพาะเอกสารของเจ้าหน้าที่ปีปัจจุบัน + อดีตปีที่แล้ว)

โปรแกรมอื่น ๆ

การบันทึกข้อมูลในระบบบริหารข้อมูลข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยสำนักงาน กพ. ร่วมกับกรมการปกครอง (SMART CARD) โดยเข้าไปปรับปรุงข้อมูลที่ http://www.khonthai.com/thailandgateway/

โครงการจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล (ระบบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ)

ใช้สำหรับนายทะเบียน ระดับกรม และนายทะเบียนส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐของผู้มีสิทธิเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ) และบุคคลในครอบครัวในสังกัด โดยดำเนินการผ่าน Website ของกรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th

คู่มือนายทะเบียนระบบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่นี่

http://www.cgd.go.th/uploadfile/doc/4018_doc.pdf

การ Scan ก.พ.7

1. เปิดโปรแกรม PhotoStudio 5.5 ( เป็นโปรแกรมที่มาพร้อมเครื่องสแกน )

2. ใส่เอกสารที่ต้องการ scan คลิกปุ่ม Acquire ดังรูป

3. จะปรากฏหน้าจอ ScanGearCS ดังรูป 1.1 คลิกปุ่ม SCAN

รูปที่ 1.1

4. เมื่อ scan เสร็จแล้วให้ปิดหน้าจอ ScanGearCS เลือก Save As ตั้งชื่อไฟล์ตามต้องการ เลือก type เป็น gif

วิธีแปลง File word เป็น File PDF

1. ลงโปรแกรม 5D PDF (อยู่ใน source on person ชื่อ 5D PDF)

2. เปิดไฟล์ word แทรกภาพ ก.พ.7 ที่เราสแกน

3. สั่งพิมพ์โดยเลือกเครื่องพิมพ์ชื่อ 5D PDF Creator แล้วสั่งพิมพ์

4. ตั้งชื่อไฟล์ เป็น เลขประชาชน 13 หลัก ของ เจ้าของ ก.พ.7 / บันทึกไว้ในโฟล์เดอร์ \\person\docImage ที่ map เน็ตเวิร์คไดร์ฟไว้

การอัพเดตข้อมูลใน เครื่อง WEB Server ( Personnel )

1. ที่เครื่อง Web Server เปลี่ยนสายแลน ( เพื่อให้เครื่องอยู่ในวงเดียวกับเครือข่ายกอง )

2. คลิ๊กไอคอน Enterprise Manager / คลิ๊กขยาย SQL Server ของเครื่อง Personnel ฐานข้อมูลที่เราต้องอัพเดตมี 3 ตัว คือ content (สารบรรณ) , empGov ( พนักงานราชการ ) และ Person1 ( ข้าราชการและลูกจ้างประจำ )

3. อัพเดตฐานข้อมูล (ในที่นี้จะเลือก person1 เป็นตัวอย่าง)

คลิ๊กขวาที่ person1 เลือก import data ตามรูป

เลือกชื่อ server ต้นทาง ( ต้นฉบับ) คือ pdcdc3 แล้วเลือก data base : person1

เลือก Server ปลายทาง คือ personnel (เครื่อง Web Server ที่เรากำลังทำงานอยู่) ดาตาเบสก็ต้องเป็น person1 เช่นเดียวกับที่เลือกต้นทาง

เลือก option สุดท้าย

เอาเครื่องหมาย (ตรง Use default options ออก / คลิ๊กปุ่ม Options

ตรง Security options เอาเครื่องหมายถูก ออกให้หมด

คลิ๊ก Next ตรงหน้าจอนี้ เราจะ เลือก Schedule DTS package เพื่อให้มันทำงานโดยอัตโนมัติตามวัน เวลาที่เรากำหนด แต่ตอนนี้ยังใช้ไม่ได้ เพราะเรายังต้องมาคอยสับสายแลนอยู่ แต่สามารถเลือก Save DTS package เก็บเอาไว้ได้ พอวันหลัง ก็เรียก DTS package สั่งให้มันทำงานไม่ต้องมาคอยเซ็ทค่าต่าง ๆ ใหม่

ดูให้แน่ใจเรื่องเครื่องต้นทาง pdcdc3 ปลายทาง personnel แล้วคลิ๊กปุ่ม Finish

การบันทึกข้อมูลการบริหารงานบุคคล

คู่มือ

ฝ่ายข้อมูลการบริหารงานบุคคล

กองการเจ้าหน้าที่ กรมควบคุมโรค