ถามมา - ตอบไป : ถนนและสะพานทื่ ...ถามมา -...

4
ถามมา - ตอบไป : ถนนและสะพานทื่ชื่อ “พระราม” ตองตามดวยเลขที่หรือลำดับทีวณา โรจนราธา * ถาม ช่อถนนกับสะพานท่มคำว า “พระราม” ตองตามดวยเลขท่หรอลำดับท่ เช น ถนนพระราม ๔ หรอถนนพระรามท่ ๔ และสะพานก็เช นกัน สะพานพระราม ๔ หรอ สะพานพระรามท่ ๔ อดตเคยเห็น ใชลำดับท่ แต ปัจจุบันเกอบไม เห็นหรอเกอบไม ไดยนแลว ตอบ เร่องช่อถนนและสะพานท่มคำวา “พระราม” นำหนา ควรตามดวยเลขท่หรอลำดับท่นัน เป็นพระราชนยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว และในรัชกาลปัจจุบัน โดยครังรัชกาลท่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวมพระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ ใหเปล่ยนนามถนนบางสาย บางตอนในจังหวัดพระนคร ดังปรากฏใน “ประกาศกระทรวงนครบาล” ลงพมพในราชกจจานุเบกษา เล่ม ๓๖ า ๓๗๕๑ – ๓๗๕๔ วันท่ ๒๒ กุมภาพันธ ๒๔๖๒ ในบรรดานามถนนใหม ๑๘ ช่อ มท่ขน ตนดวย “พระราม” ๔ ช่อ คอ ถนนพระรามท่ ๑ คอถนนประทุมวันเดม ตังแต สะพานยศเส ถงถนนราชดำร ถนนพระรามท่ ๔ คอถนนหัวลำโพง (นอก) เดม ตังแต ถนนเจรญกรุงถงถนนหลวงสุนทรโกษา ถนนพระรามท่ ๕ คอถนนลกเดม ตังแต ถนนลูกหลวงถงถนนเตชะวณช ถนนพระรามท่ ๖ คอถนนประทัดทอง (เดม) สะพานพระราม เม่อแรกสราง * นักอักษรศาสตร เช่ยวชาญ สำนักวรรณกรรมและประวัตศาสตร กรมศลปากร ช่อเป็นทางการว า สะพานกษัตรย ศก ปัจจุบันช่อถนนสุนทรโกษา ตังแต ถนนเพชรบุรเลยบคลองประปาถงบางซ่อ บางแห งเรยกบรรทัดทอง แต มใช ถนนบรรทัดทองในปัจจุบัน

Upload: others

Post on 05-Feb-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ถามมา - ตอบไป : ถนนและสะพานทื่ ...ถามมา - ตอบไป : ถนนและสะพานท ช อ “พระราม”

ถามมา - ตอบไป :

ถนนและสะพานทื่ชื่อ “พระราม” ตองตามดวยเลขที่หรือลำดับที่

วีณา โรจนราธา *

ถามชื่อถนนกับสะพานที่มีคำวา่“พระราม”ต้องตามด้วยเลขที่หรือลำดับที่เชน่ถนนพระราม๔

หรือถนนพระรามที่๔และสะพานก็เชน่กันสะพานพระราม๔หรือสะพานพระรามที่๔อดีตเคยเห็น

ใช้ลำดับที่แตป่ัจจุบันเกือบไมเ่ห็นหรือเกือบไมไ่ด้ยินแล้ว

ตอบ เรื่องชื่อถนนและสะพานที่มีคำว่า “พระราม” นำหน้า ควรตามด้วยเลขที่หรือลำดับที่นั้น

เป็นพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชกาลปัจจุบัน โดยครั้งรัชกาลที่ ๖

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามถนนบางสาย

บางตอนในจังหวัดพระนคร ดังปรากฏใน “ประกาศกระทรวงนครบาล” ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา

เล่ม ๓๖นา่๓๗๕๑–๓๗๕๔วันที่๒๒กุมภาพันธ์๒๔๖๒ในบรรดานามถนนใหม่๑๘ชื่อมีที่ขึ้น

ต้นด้วย“พระราม”๔ชื่อคือ

ถนนพระรามที่ ๑ คือถนนประทุมวันเดิม๑ตั้งแตส่ะพานยศเสถึงถนนราชดำริ

ถนนพระรามที่ ๔ คือถนนหัวลำโพง(นอก)เดิมตั้งแตถ่นนเจริญกรุงถึงถนนหลวงสุนทรโกษา๒

ถนนพระรามที่ ๕ คือถนนลกเดิมตั้งแตถ่นนลูกหลวงถึงถนนเตชะวณิช

ถนนพระรามที่ ๖ คือถนนประทัดทอง(เดิม)๓

วีณา โรจนราธา *

สะพานพระราม ๖ เมื่อแรกสราง

*นักอักษรศาสตรเ์ชี่ยวชาญสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร๑ชื่อเป็นทางการวา่สะพานกษัตริยศ์ึก

๒ปัจจุบันชื่อถนนสุนทรโกษา

๓ตั้งแตถ่นนเพชรบุรีเลียบคลองประปาถึงบางซื่อบางแหง่เรียกบรรทัดทองแตม่ิใชถ่นนบรรทัดทองในปัจจุบัน

Page 2: ถามมา - ตอบไป : ถนนและสะพานทื่ ...ถามมา - ตอบไป : ถนนและสะพานท ช อ “พระราม”

นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๒ 10๕

แผนที่บริเวณกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๕๗

Page 3: ถามมา - ตอบไป : ถนนและสะพานทื่ ...ถามมา - ตอบไป : ถนนและสะพานท ช อ “พระราม”

106 นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๒

การเปลี่ยนนามถนนแต่ละสาย โดยใช ้

พระนามของพระมหากษัตริย์ล้วนมีเหตุผลทาง

ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์

พระองคน์ั้นทั้งสิ้น

ถนนพระรามที่ ๑ เป็นเส้นทางที่พระบาท

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาล

ที่๑ครั้งทรงเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริยศ์ึก

เสด็จกลับจากราชการทัพเมืองเขมรมาปราบ

จลาจลกรุงธนบุรี ผ่านจุดที่เป็นสะพานกษัตริย์ศึก

เมื่อถึงวัดสะแกทรงพักทำพิธีสระสนาน จึงโปรด

ให้เปลี่ยนนามวัดเป็นวัดสระเกศ

ถนนพระรามที่ ๔ เป็นถนนที่พระบาท

สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ัว รัชกาลที่ ๔ โปรด

ให้ขุดคลองลัดจากคลองผดุงกรุงเกษมตรงไปถึง

คลองเตยและนำมูลดินมาทำเป็นถนนเรียกกันวา่

ถนนหัวลำโพงหรือถนนตรง ซึ่งต่อมาสร้างต่อถึง

พระโขนง

ถนนพระรามที่ ๕ เกิดจากการที่พระบาท

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

โปรดให้สร้างพระราชวังดุส ิต เป็นที่แปรพระ

ราชฐาน จึงโปรดให้ตัดถนนสายนี้ขยายเมืองออก

ไปทางเหนือขนานกับคลองเปรมประชากร

ถนนพระรามที่ ๖ เป็นถนนที่พระบาท

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ปรับปรุง

เป็นเส้นทางไปโรงกรองน้ำประปาสามเสนเพื่อตอ่

ไปยังสะพานพระราม๖

แต่สำหรับชื่อสะพานนั้น สะพานแรกที่ชื่อ

“พระราม” คือ สะพานพระราม ๖ ซ ึ่งเป็น

สะพานที่เริ่มโครงการมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ สร้าง

เสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่

หัวรัชกาลที่๗ในพระราชพิธีเปิดสะพานพลเอก

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัคร

โยธิน ขณะดำรงพระอิสริยยศพลเอกพระเจ้าพี่

ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดี

กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และผู้บัญชาการ

กรมรถไฟหลวง ได้กราบบังคมทูลรายงานว่า

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ ้าอยู่หัวได ้

พระราชทานพระบรมนามาภ ิไธยเฉล ิมนาม

สะพานนี ้ไว้ตั ้งแต่เริ่มการก่อสร้างว่า “สะพาน

พระราม๖”

ถึงรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรด

เกล้าฯ พระราชทานนามถนนและสะพานที่ขึ้นต้น

ด้วย “พระราม” อีกหลายแห่ง โดยโปรดเกล้าฯ

ให้เป็นไปตามพระราชนิยมในรัชกาลที่๖

ส่วนที่เป็นนามถนนมีถนนพระรามที่ ๒

ถนนพระรามที่ ๓ แต่ถนนที่ผ่านซอยเข้าวัด

พระราม ๙ นั ้น พระราชทานนามว่า ถนน

พระราม ๙โดยไมม่ีคำวา่ที่

ในส่วนที่เป็นนามสะพาน จะเป็นสะพาน

ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ซ ึ่งเป็นช ื่อท ี่ เก ี่ยวข ้องกับพระมหากษัตร ิย์ใน

พระบรมราชจักรีวงศ์ ยกเว้น สะพานกรุงเทพฯ

และสะพานกรุงธน สะพานที่ใช้ “พระราม” นำ

หน้าเร ียงลำดับตามเวลาที่ เป ิดใช ้ม ี สะพาน

พระราม ๙ สะพานพระราม ๗ สะพาน

พระราม ๓ สะพานพระราม ๕ สะพาน

พระราม ๘ และสะพานพระราม ๔

จึงสรุปได้ว่า ชื่อถนนที่ขึ้นต้นด้วย “พระราม”

ใช้แบบลำดับที่คือมีคำวา่“ที่”กอ่นตัวเลขยกเว้น

ถนนพระราม ๙ ส่วนสะพานที่มีชื่อขึ ้นต้นด้วย

“พระราม” ใช้แบบเลขที่คือ ต่อด้วยตัวเลขเลย

โดยไม่มีคำว่า “ที่” อย่างไรก็ตามในภาษาอังกฤษ

ใช้เป็นลำดับที่คือ แสดงด้วยตัวเลขโรมันทั้งสิ ้น

เชน่RAMAIVBridgeThanon.RAMAIV

Page 4: ถามมา - ตอบไป : ถนนและสะพานทื่ ...ถามมา - ตอบไป : ถนนและสะพานท ช อ “พระราม”

นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๒ 107

บรรณานุกรม

จารุภัทรวิมุตเสรษฐ.์สะพานข้ามเจ้าพระยา.กรุงเทพฯ:บริษัทสำนักพิมพแ์ม็คจำกัด,๒๕๕๓.

“ประกาศกระทรวงนครบาล”. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๖. น่า ๓๗๕๑ – ๓๗๕๔. วันที่ ๒๒

กุมภาพันธ์๒๔๖๒.

แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๓๑ – ๒๔๗๔. (กองทัพบกจัดพิมพข์ึ้นน้อมเกล้าฯถวายเนื่องในวโรกาส

เฉลิมพระชนมพรรษาครบ๕รอบในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ัว๕ธันวาคม๒๕๓๐).

สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, คณะอนุกรรมการจัดทำเอกสารและบทความสดุดีบุคคล

สำคัญ.พระบรมราชวงศ์จักรีกับกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด,

๒๕๓๗.