นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9....

43
ชีววิทยาของมนุษยและการประยุกตเชิงนิติวิทยาศาสตร Biology for Forensic Science นําเสนอโดย รัฐ รัตนปริคณน วรนาท พราหมณกระโทก สุดหรรษา สืบสมาน อนุสรณ สิทธิรักษ อารีย ผิวผาย เสนอ รศ. ...หญิง.ดร.พัชรา สินลอยมา รายงานนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษา วิชาหลักการทางนิติวิทยาศาสตร ภาคเรียนที1 ปการศึกษา 2551 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

Upload: others

Post on 20-Aug-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

ชีววิทยาของมนษุยและการประยุกตเชิงนิตวิิทยาศาสตร

Biology for Forensic Science

นําเสนอโดย

รัฐ รัตนปริคณน วรนาท พราหมณกระโทก

สุดหรรษา สืบสมาน อนุสรณ สิทธิรักษ อารีย ผิวผาย

เสนอ

รศ. พ.ต.อ.หญิง.ดร.พัชรา สินลอยมา

รายงานนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษา วิชาหลักการทางนิติวทิยาศาสตร ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2551

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร คณะวทิยาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

Page 2: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

คํานํา

นิติวทิยาศาสตร ( Forensic Science ) คือวิชาทีว่าดวยการนําความรูทางวิทยาศาสตรทุกสาขามาประยุกตเพ่ือประโยชนทางกฎหมาย / ทางคดี หนึ่งในสาขาวิชานัน้คือ ชีววิทยา ซึ่งทกุคดีที่เกิดขึ้น ลวนมีมนุษยเขามาเกี่ยวของ เน้ือหาของรายงานเลมน้ีกลาวถึงโครงสรางและหนาที่ของรางกายและสวนตางๆ ของรางกายมนุษย ซึ่งจําเปนตองานนิตวิทิยาศาสตร ไดแก ผิวหนัง เสนผม / เสนขน น้ําอสุจิ และเลือด รวมถึงการประยุกตความรูพ้ืนฐานเหลานี้ใหเกิดประโยชนตองานดานนิติวทิยาศาสตร

โดยหวังวารายงานเลมน้ีจะเปนประโยชนตอคณะผูจัดทาํ และสามารถนําความรูนี้ไปประยุกตใชประกอบการเรียนและการทํางานดานนิติวทิยาศาสตรเพ่ือใหเกิดประโยชนตอไป

Page 3: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

สารบัญ

เร่ือง หนา

คํานํา ก

สารบัญ ข

สารบัญรูปภาพ ค

ชีววิทยาของมนุษยและการประยุกตเชิงนิติวทิยาศาสตร

- ผิวหนังและเสนขน 2

- น้ําอสุจิ 16

- เลือดมนุษย 27

- กรณีศึกษา 37

บรรณานุกรม ง

Page 4: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

สารบัญรูปภาพ

เร่ือง หนา

ผิวหนังชนิดบาง 2

ผิวหนังชนิดหนา 2

ชั้นผิวหนังของมนุษย 3

ชั้นหนังกําพรา 3

ชั้นหนังแท 5

เสนขนมนษุย 6

ชั้นคิวทิเคลิ 7

พันธะเปปไทด 8

เสนใยของเสนขน 9

ระยะการเจรญิเตบิโตของเสนขน 10

ลายพิมพนิ้วมือ 14

อวัยวะสรางน้าํอสุจิ 16

หลอดนําอสุจิ 18

ตอมสรางน้ําอสุจิ 19

รูปรางอสุจิ 21

หลอดเลือดของอวัยวะเพศชาย 23

ตัวอยางการเก็บคราบอสุจิ 24

เซลลเม็ดเลือดแดง 28

เซลลเม็ดเลือดขาว 29

เกล็ดเลือด 30

ระบบกรุปเลือด 30

ระบบไหลเวียนเลือด 31

หองหัวใจ 32

หลอดเลือด 34

Page 5: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

กรณีศึกษา

กรณีศึกษาเรื่อง ( ภาษาไทย ) ชีววิทยาของมนุษยและการประยุกตเชิงนิติวิทยาศาสตร

( ภาษาอังกฤษ ) Biology for Forensic Science

รายชื่อคณะผูจัดทํา

นายรัฐ รัตนปริคณน 51312319 นายวรนาท พราหมณกระโทก 51312320 นางสาวสุดหรรษา สืบสมาน 51312328 นายอนุสรณ สิทธิรักษ 51312334 นางสาวอารีย ผิวผาย 51312339

บทคัดยอ

เอกสารนี้นําเสนอขอมูลโครงสรางและหนาที่ของระบบและสวนตาง ๆ ของรางกายมนุษย ที่สามารถจะตรวจพบไดจากสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งมีความจําเปนตอการทํางานทางดานนิติวิทยาศาสตร ไดแก ผิวหนัง เสนผม / เสนขน , น้ําอสุจิ และเลือด รวมถึงวิธีการประยุกตความรูพ้ืนฐานเหลานี้ ใหเกิดประโยชนตองานดานนิติวิทยาศาสตร เพ่ือการติดตามตัวผูกระทําผิดมาลงโทษ วิธีการที่นําเสนอนี้จะชวยในการตรวจสอบการยืนยันตัวบุคคลไดในระดับหนึ่ง

Page 6: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

ผิวหนัง และ เสนขนมนุษย ( HUMAN SKIN AND HAIR ) ชนิดของผิวหนังมนุษย ( Types of Human Skin ) ผิวหนังเปนเนื้อเย่ือท่ีปกคุลมรางกายภายนอกของมนุษย เพ่ือปองกันไมใหเน้ือเย่ือหรืออวัยวะที่อยูในชั้นลึกลงไปไดรับอันตราย เซลลของผิวหนังเปนเซลลรูปรางแบนเรียงซอนกันหลายชั้น และมีชั้นเคอราติน ( Keratin ) ชนิดออนปกคลุมชั้นบนสุดของเซลลเอาไว ผิวหนังของมนุษยแบงไดเปน 2 ประเภทคือ 1. ผิวหนังชนิดหนา ( Thick Skin ) ผิวหนังชนิดหนาเปนผิวหนงัชนิดที่มีจํานวนชั้นของเซลลเน้ือเย่ือบุผิวเรียงซอนหลายชั้นมีชั้นเคอราตินหนาปกคลุม โดยเสนใยเคอราตินเรียงตัวกันแนน พบไดในผิวหนังที่มีการเสียดสีมาก ๆ ไดแก ผิวหนังบริเวณฝามือและฝาเทา

2. ผิวหนังชนิดบาง ( Thin Skin ) ผิวหนังชนิดบางเปนผิวหนังชนิดที่มีจํานวนชั้นของเซลลเน้ือเย่ือบุผิวเพียงไมกี่ชั้น มีเสนใยเคอราตินปกคลุมเพียงบาง ๆ และเรียงตัวกันอยางหลวม ๆ พบไดตามผิวหนังของรางกายทั่วไป เชน แขน ขา ลําตัว และใบหนา

Page 7: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

นอกจากผิวหนังทั้ง 2 ประเภทนี้แลว ยังมีเน้ือเย่ืออีกประเภทที่ไมอาจจัดวาเปนผิวหนังที่แทจริงแตทําหนาที่คลายผิวหนังที่ปกคลุมผิวภายในชองปาก หลอดอาหาร ทวารหนัก และชองคลอดเอาไว เน้ือเย่ือชนิดนี้ มีเซลลบุผิวชนิดเดียวกับผิวหนังทั้ง 2 ประเภท แตไมมีการสรางเคอราตินมาปกคลุมสวนบนสุด เซลลชั้นบน ๆ ของเนื้อเยื่อบุผิวชนิดนี้จะไดรับการปองกนัจากเยื่อเมือก ดังนั้น เน้ือเยื่อบุผิวชนิดนี้จึงมีความชุมชื้นอยูเสมอ ชั้นของผิวหนังของมนุษย ( Layers of Skin ) ผิวหนังของมนุษยประกอบดวยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ ชั้นหนังกําพรา ( Epidermis ) และชั้นหนังแท ( Dermis )

1. ชั้นหนังกําพรา ( Epidermis ) ชั้นหนังกําพราเปนผิวหนังชั้นนอก ประกอบดวยเซลลบุผิวรูปรางแบนเรียงซอนกันหลายชั้น ( Stratified squamous epithelium ) สามารถแบงชั้นของเซลลได 5 ชั้น จากดานนอกไปดานใน ดังนี้

Page 8: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

1.1 ชั้นคอรเนียม ( Stratum Corneum ) ประกอบดวยเซลลรูปรางแบนที่ตายแลว เรียงซอนกัน 15 - 20 ชั้น เย่ือหุมเซลลหนา ภายในเซลลมีเสนใยเคอราตินบรรจุอยูเปนจํานวนมาก ทําหนาที่ปองกันการะเหยของน้ําใหกับผิวหนังและปองกันการกระแทกและเสียดสีจากสิ่งแวดลอมภายนอก ทุก ๆ 25 - 45 วัน จะมีการหลุดลอกออกไป 1.2. ชั้นลูซิดัม ( Stratum Lucidum ) เปนชั้นที่ประกอบดวยเซลลที่ยอมไมติดสี รูปรางแบน วางตัวเรียงซอนกัน 2 – 3 ชั้น มีสีใส เซลลสวนมาเปนเซลลที่กําลังตายหรือตายแลว จึงเห็นขอบเขตเซลลไมชัดเจน ภายในเซลลมีการเปล่ียนเคอราโตไฮอะลินแกรนูล ( Keratohyalin graunule ) ใหเปนเสนใยเคอราตินเรียงขนานกัน 1.3 ชั้นแกรนูโลซัม ( Stratum Granulosum ) เปนชั้นที่ประกอบดวยเซลลผิวหนังเคอราติโนไซท ( Keratinocytes ) ที่เจริญเต็มที่แลว เซลลมีรูปรางแบน เรียงซอนกัน 3 – 5 ชั้น เย่ือหุมเซลลหนาและแข็งแรง เซลลมีนิวเคลียสและยังมีชิวิตอยู ภายในไซโตพลาสมบรรจุเคอราโตโอะลินแกรนนูลที่สรางสมบูรณแลวและแกรนนูลท่ีบรรจุสารไกลโคไลปด ( Glycolipid ) ที่ทําหนาที่ปองกันการระเหยของน้ําใหกับผิวหนัง 1.4 ชั้นสไพโนซัม ( Stratum Spinosum ) เปนชั้นที่ประกอบดวยเซลลเคอราติโนไซทที่ยังเจริญไมเต็มที่ มีรูปรางหลายเหลี่ยมและมีหนามเล็ก ๆ จึงเรียกวาเซลลพริเคิล ( Prickle cells ) เซลลเรียงซอนกันหลายแถว และยังมีชีวิตอยู ทําหนาที่สรางเคอราติน ภายในไซโตพลาสม บรรจุเคอราโตไฮอะลินแกรนนูลท่ีกําลังสรางอยูจํานวนหนึ่ง ในชั้นนี้ยังพบเซลลแลงเกอรฮานส ( Langerhans cell ) ซึ่งเปล่ียนแปลงมาจากเซลลเม็ดเลือดขาว ทําหนาที่จับกินส่ิงแปลกปลอมที่ลุกลํ้าเขามาทางผิวหนัง และกระตุนใหระบบภูมิคุมกันของรางกาย ( Immune system ) มาชวยทําลาย 1.5 ชั้นฐาน ( Stratum Basale หรือ Stratum Germinativum ) เปนชั้นที่ประกอบดวยเซลลเคอราติโนไซทที่ยังออนอยู เซลลมีรูปรางส่ีเหล่ียมลูกบาศกหรือส่ีเหล่ียมทรงสูง มีเพียงแถวเดียว ทําหนาที่แบงเซลลเพ่ือทดแทนเซลลที่ตายแลว เซลลอีกชนิดที่พบคือเซลลสรางเม็ดสีชื่อเมลาโนไซท ( Melanocytes ) พบไดรอยละ 10 – 25 ของจํานวนเซลลทั้งหมดในชั้นฐาน เม็ดสีที่สรางออกมาเรียกวาเม็ดเมลานิน ( Melanin Pigments ) เซลลอีกชนิดที่พบไดในชั้นนี้คือเซลลเมอรเกลส ( Merkel’s cell ) ซึ่งพบไดในจํานวนนอยเปนเซลลที่มีปลายประสาทรับความรูสึกเจ็บปวด ( Free nerve ending ) เพ่ือทําหนาที่รับรูความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง

2. ชั้นหนังแท ( Dermis ) ชั้นหนังแทเปนผิวหนังชั้นลึก ประกอบดวยเนื้อเย่ือเกี่ยวพันและเนื้อเยื่อท่ีสําคัญอีกหลาบชนิด ชั้นหนังแทสามารถจัดแบงไดเปน 2 สวน คือ

Page 9: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

2.1. ชั้นหนังแทตื้น ( Papillar Dermis ) เปนชั้นที่ติดกับชั้นหนังกําพรา ประกอบดวยเนื้อเย่ือเกี่ยวพันชนิดหลวม ( Loose connective tissue ) มีเสนใยคอลลาเจนและเสนใยอิลาสติก ( Elastic fibers ) ชนิดละเอียด มีหลอดเลือดขนาดเล็กและปลายประสาทรับความเจ็บปวด ( Free nerve ending ) ตอนบนของชั้นนี้มีสวนที่ยื่นขึ้นไปเปนสันนูนเรียกวา เดอรมอลแปบพิลลา ( Dermal papilla ) ยื่นไปในชั้นหนังกําพราที่อยูขางบน ภายในเดอรมอลแปบพิลลาบางตําแหนงมีปลายประสาทรับสัมผัสละเอียด ( Meissner’s corpuscle ) วางตัวอยู โดยเฉพาะอยางยิ่งผิวหนังของปลายนิ้วจะพบปลายประสาทรับสัมผัสละเอียดเปนจํานวนมาก เดอรมอลแปบพิลลามีหนาที่ในการยึดชั้นหนังกําพราและหนังแทเขาไวดวยกัน ทําใหทนทานตอแรงยึดดึง 2.2. ชั้นหนังแทลึก ( Reticular Dermis ) เปนชั้นที่ประกอบดวยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแนน ( Dense connective tissue) มีกลุมเสนใยคอลลาเจนและเสนใยอิลาสติกขนาดใหญ ทําใหผิวหนังมีความแข็งแรงเตงตึง ไมเหี่ยวยนและมีความยืดหยุน ชั้นนี้ยังประกอบดวยโครงสรางอื่น ๆ หลายชนิด ไดแก รากขน ( Hair follicle ) ตอมไขมัน ( Sebaceous gland ) กลามเนื้อท่ีทําใหขนลุก ( Arrector pilli muscle ) ตอมเหง่ือ ( Sweat gland ) หลอดเลือดขนาดใหญ ( Blood vessels ) หลอดน้ําเหลือง ( Lymphatic vessels ) ปลายประสาทรับแรงกดและสั่นสะเทือน ( Pacinian’s corpuscle ) และเสนประสาท ( Nerve fibers )

โครงสรางภายนอกของเสนขนมนุษย ( External Structures of Human Hair) เสนขนเปนโครงสรางที่มีความสัมพันธกับผิวหนัง มีลักษณะเปนทรงกระบอกขนาดเล็ก ฝงตัวอยูภายใตผิวหนังทั่วรางกายของมนุษย ยกเวนบริเวณ ฝามือ ( Palm) ฝาเทา ( Sole ) ดานหลังของปลายนิ้วเทาและนิ้วมือ หัวนม ( Nipple ) ปากทวารหนัก ( Anus ) ปลายอวัยวะเพศชาย ( Glans penis ) หนังหุมปลายอวัยวะเพศชาย ( Prepuce ) ปุมกระสัน ( Clitoris ) แคมเล็ก ( Labia minora ) ดานในของแคมใหญ ( Labia majora ) และริมฝปาก ( Lips ) เสนขนในรางกายมนุษยมีมากกวาหนึ่งลานเสน ในจํานวนนี้ประมาณ 5 แสนเสน เปนเสนขนที่อยูเหนือคอ เสนขนที่พบตามที่ตาง ๆ ของรางกายจะมีลักษณะและความยาวที่แตกตางกันและมีชื่อเรียกเฉพาะแตกตางกันไป เชน ผม ขนแขน ขนขา หนวด เครา หนาที่ของเสนขนมนุษยมีหลายประการขึ้นอยูกับวาเปนเสนขนที่ตําแหนงใด เสนขนไมวาอยูที่ตําแหนงใดของรางกายจะมีโครงสรางพื้นฐานที่เหมือนกัน เซลลสวนใหญของเสนขนเปนเซลลที่ตายแลวและภายในเซลลเต็มไปดวยเคอราตินชนิดแข็ง ซึงมีความแข็งแรงกวาและไมมีการหลุดลอกออกมาเหมือนเคอราตินชนิดออนที่พบที่ผิวหนัง เสนขนแตละเสนประกอบดวย 2 สวน คือ ตัวเสนผม ( Hair shaft) และรากผม (Hair root)

Page 10: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

1. ตัวเสนผม ( Hair shaft) ตัวเสนผมคือสวนของเสนผมที่งอกพนผิวหนังออกมา ประกอบดวยเซลลที่ตายแลวภายในและนอกเซลลเต็มไปดวยเคอราตินชนิดแข็ง ตัวเสนผมไมมีหลอดเลือดและเสนประสาทมาเลี้ยง รูปรางหนาตัดของตัวเสนผมมีความสัมพันธกับลักษณะของเสนผม ถารูปรางหนาตัดแบนและมีปุมปมผมจะหยิก ถารูปรางหนาตัดรีผมจะหยักศก ถาหนาตัดกลมผมจะตรง 2. รากผม ( Hair root) รากผมคือสวนของผมที่ฝงอยูภายในชั้นผิวหนัง เปนบริเวณที่ทําหนาที่ควบคุมการงอกของเสนขน ดังนั้นจึงนิยมเรียกวาหนอผม ( Hair follicle) หนอผมมีเซลลและเสนใยบาง ๆ เรียกวาเยื่อแกลสซี (Glassy membrane) หอหุมแยกหนอผมออกจากเนื้อเย่ือของหนังแทที่อยูโดยรอบ เย่ือแกลสซีเจริญมาจากเซลลสรางเสนใยที่อยูภายในชั้นหนังแทที่ผมฝงตัวอยู สวนปลายสุดของรากผมมีลักษณะปองออกเรียกวากระเปาะผม (Hair bulb) ดานนอกของกระเปาะผมถูกพันลอมดวยปลายประสาท (Root hair plexus) ทําหนาที่รับรูการเปล่ียนตําแหนงของเสนขนเมื่อโคงงอ โครงสรางภายในของเสนขนมนุษย ( Internal Structures of Human Hair) แกนกลางของกระเปาะผมมีลักษณะเปนโพรงเรียกวาแฮรแปบพิลลา ( Hair papilla หรือ Dermal papilla ) ภายในโพรงแฮรแปบพิลลาบรรจุดวยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่จับกันอยางหลวม ๆ ประกอบดวยเซลลสรางเสนใย ( Fibroblast cell ) และหลอดเลือดขนาดเล็กจํานวนมากที่มาหลอเล้ียงเสนขน เซลลภายในกระเปาะผมตําแหนงประมาณ 1 มิลลิเมตรจากปลายรากผมเรียกวา แฮรแมตทริกซ ( Matrix cell ) ทําหนาที่แบงเซลลเพ่ือสรางเสนขนใหยาวออกไปและเซลลเมลาโนไซท ซึ่งทําหนาที่สรางเม็ดเมลานิน เม็ดเมลานินมี 2 ชนิด ไดแก เมด็เมลานินสีน้ําตาลดํา ( Brown - Black ) เรียกวา ยูเมลานิน ( Eumelanin ) และเม็ดเมลานินสีแดงบรอนซ ( Red – Blond ) เรียกวา ฟโอเมลานิน ( Pheomelanin ) โครงสรางภายในของเสนขนบริเวณตัวเสนขนและรากขนมีความแตกตางกันอยูบาง ตัวเสนขนประกอบดวยเซลลเรียงกัน 3 ชั้น ( ชั้นที่ 1 - 3 ) แตรากขนประกอบดวยเซลลเรียงกัน 5 ชั้น โดยชั้นของเสนขนเรียงจากดานในออกมาดานนอก ดังนี้

Page 11: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

1. ชั้นเมดัลลา ( Medulla ) เปนชั้นในสุดและเปนแกนกลางของเสนขน ประกอบดวยเซลลรูปรางแบนเรียงซอนกัน 2 – 3 ชั้น นิวเคลียสลีบเหี่ยวหรือสลายหายไป รูปรางของเซลลเปนส่ีเหล่ียมและมีนิวเคลียสกลม ชองวางระหวางเซลลกวางบรรจุดวยเม็ดเมลานินและเคอราตินชนิดออน ชั้นเมดัลลาจะยาวไปจนจรดยอดของแฮรแปบพิลลา ในโพรงเมดัลลามักมีอากาศสอดแทรกจึงทําใหเห็นเปนสีดํา 2. ชั้นคอรเทกซ ( Cortex ) เปนชั้นที่มีความหนาคอนขางมาก อยูถัดจากชั้นเมดัลลา ประกอบดวยเซลลรูปรางแบนเรียงชิดกันหลายชั้น บริเวณรากขนเซลลคอนขางเปนส่ีเหล่ียมและมีนิวเคลียส บริเวณตัวเสนขนเซลลไมมีนิวเคลียสและระหวางเซลลจะพบเม็ดสีเมลานินแทรกอยูทําใหเกิดเปนสีของขนที่ปรากฏใหเห็นภายนอก องคประกอบในชั้นนี้ ไดแก เคอราตินชนิดแข็ง กรดอะมิโน คารโบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน สารประกอบอินทรียชนิดตาง ๆ แรธาตุบางชนิด เชน ฟอสฟอรัสและโลหะตาง ๆ ที่ถูกขับออกจากรางกาย เชน สารหนู ตะกั่วและเหล็ก เปนตน 3. ชั้นคิวทิเคิล ( Cuticle ) ประกอบดวยเซลลชั้นเดียว โปรงแสง เซลลมีการเรียงตัวซอนเหล่ือมกันจากโคกสูปลายในลักษณะคลายกระเบื้องมุงหลังคาที่ซอนเหล่ือมกัน ( Imbricated ) ทำใหเห็นเปนลายเรียกวาลายเปลือกหรือเกล็ดผม เซลลในชั้นคิวทิเคิลแตละเซลลหนาประมาณ 0.3 – 0.5 ไมโครเมตร และมีความยาวเฉลี่ยของสวนที่มองเห็นเทากบั 5 – 10 ไมโครเมตร บริเวณรากขนเซลลคอนขางกลม มีขนาดใหญ และมีนิวเคลียส องคประกอบที่สําคัญของชั้นคิวทิเคิล ไดแก

3.1 เคอราติน ( Keratin ) ชั้นคิวทิเคิลเปนชั้นที่มีเคอราตินเรียงตัวอยางหนาแนนกวาชั้นอื่น ๆ เพ่ือปกปองโครงสรางชั้นที่อยูขางใน บริเวณปลายขนมักจะหลุดลอกไดงาย ทําใหเกิดเปนผมแตกปลาย ( Split ends ) 3.2 กรดไขมันอิ่มตัว 18 – methyleicosanoic acid ( 18 – MEA ) เปนกรดไขมันที่ยึดติดผิวของเกล็ดผม ทําใหเสนผมมีความลื่น

Page 12: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

4. ชั้นปลอกรากขนชั้นใน (Inner Root Sheath) เปนสวนที่สรางจากแฮรแมตทริกซ เกิดเปนชั้นของเซลลบาง ๆ หอหุมหนอขนเอาไว ปลอกรากขนชั้นในประกอบดวยชั้นยอย ๆ อีก 3 ชั้น เรียงจากชั้นในไปชั้นนอก ดังนี้

4.1 ชั้นคิวทิเคิลของชั้นปลอกรากขนชั้นใน เปนชั้นในสุด สังเกตไดไมชัดเจนนักเพราะเปนชั้นที่บางมากประกอบดวยเซลลรูปรางแบน ลายเปลือกมีลักษณะเหมือนกระเบื้องซอนกันเปนชั้น ๆ ( Imbricated ) 4.2 ชั้นฮักซเลย ( Huxley’s Layer ) เปนชั้นที่ประกอบดวยเซลลรูปรางแบนเรียงซอนกัน 2 – 3 แถวภายในเซลลมีเม็ดสีชมพูสด ซึ่งมีลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับเม็ดสีเคอราโทไฮอะลินที่พบในเซลลของชั้นหนังแท 4.3 ชั้นเฮนเลย ( Henle’s Layer ) เปนชั้นนอกสุด มีลักษณะเปนเซลลชั้นเดียว

5. ชั้นปลอกรากขนชั้นนอก ( Outer Root Sheath )

ชั้นปลอกรากขนชั้นนอกเปนชั้นนอกสุดของรากขนอยูติดกับชั้นเฮนเลยของปลอกรากขนชั้นใน ประกอบดวยเซลลและเสนใยของเนื้อเย่ือเกี่ยวพันที่มีความแขง็แรง ( Fibrous root sheath )

องคประกอบของเสนขน ( Compositions of Hair ) 1. เคอราติน ( Keratin ) เปนองคประกอบหลักมีอยูในปริมาณรอยละ 60 – 90 ทําหนาที่ใหความยืดหยุนและแข็งแรงแกเสนขน เคอราตินเปนโปรตีนชนิดหนึ่งที่โครงสรางระดับโมเลกุลประกอบดวยกรดอะมิโน ( Amino acids ) กวา 20 ชนิดเชื่อมตอกันดวยพันธะเปปไทด ( Peptide bond ) ระหวางคารบอนอะตอมของกรดอะมิโนตัวแรกกับไนโตรเจนอะตอมของกรดอะมิโนตัวถัดไปเกิดเปนสายโพลีเปปไทด ( Polypeptide chain ) ที่มีการบิดเปนเกลียวอัลฟา ( Alpha helix ) ในแตละรอบเกลียวอัลฟาประกอบดวยกรดอะมิโน 3 – 6 ชนิด การบิดเปนเกลียวเกิดจากการสรางพันธะไฮโดรเจนและแรงวันเดอรวาลระหวางหมูฟงกชัน ( Function group ) และหมูอัลคิล ( Alkyl group ) ของกรดอะมิโน

Page 13: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

ขนแตละเสนประกอบดวยเกลียวอัลฟาของเสนใยเคอราติน 3 เสนประกบกันและบิดเปนเกลียวเรียกวาโปรโตไฟบริล ( Protofibril ) โปรโตไฟบริล 9 เสนประกอบกันขึ้นเปนเสนใยที่มีขนาดใหญขึ้นเรียกวาไมโครไฟบริล ( Microfibril ) ไมโครไฟบริลประมาณ 100 เสน ยึดติดเขาดวยกันเปนกลุมรูปทรงกระบอกเรียกวาแมคโครไฟบริล ( Macrofibril ) ซึ่งจะเรียงตัวเปนแนวยาวชิดกันอยูภายในเสนขน

เสนใยเคราตินที่พบภายในเสนขนเปนชนิดแข็ง ( Hard Keratin ) ซึ่งเปนโปรตีนชนิดที่ไมละลายน้ํา กรดอะมิโนที่เปนองคประกอบหลักคือ ซิสเทอีน ( Cysteine ) เนื่องจากภายในโมเลกุลของซิสเทอีนมีธาตุกํามะถัน ( Sulphur ) เปนองคประกอบ จึงทําใหเกิดพันธะไดซัลไฟด ( Disulfide bond ) ระหวางธาตุกํามะถัน 2 อะตอมที่อยูภายในโมเลกุลของซิสเทอีน พันธะไดซัลไฟดเปนพันธะที่แข็งแรงไมถูกทําลายดวยความรอนและน้ําไดโดยงายจึงทําใหเสนขนมีความแข็งแรงและทนทานมากระดับหนึ่ง แตเน่ืองจากแรงยึดเหนี่ยวภายในเสนขนในบริเวณอื่นยังคงเปนแรงออนจึงสามารถทําใหพันธะเคมีภายในเสนขนแยกออกจากกันได หากเสนขนไดรับความรอน รังสีและสารเคมีบางชนิดทําใหเกิดการหักหรือหลุดของเสนผมได 2. นํ้า ( Water ) น้ําเปนองคประกอบของเสนขนอยูประมาณรอยละ 30 ขององคประกอบทั้งหมด ทําใหเกิดความชุมชื้นตามธรรมชาติแกเสนขน 3. ไขมัน ( Lipid ) ไขมันในเสนขนมีประมาณรอยละ 9 ทําหนาที่เคลือบและปกปองการระเหยของน้ําออกจากเสนขน ไขมันในเสนขนประกอบดวย กรดไขมัน ( Fatty Acid ) เซรามายด ( Ceramind ) และคอเรสเตอรอล ( Cholesteral ) 4. สารอาหารตาง ๆ ( Nutrients ) ในเสนขนมีสารอาหารตาง ๆ อยูประมาณรอยละ 0.3 – 0.9 ประกอบดวย กรดอะมิโน โปรตีน คารโบไฮเดรตและสารประกอบอินทรียชนิดตาง ๆ

Page 14: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

5. แรธาตุบางชนิด พบแรธาตุไดเล็กนอยในเสนขน แรธาตุที่พบ ไดแก ทองแดง สังกะสีและฟอสฟอรัส 6. สารพิษตาง ๆ ถาหากรางกายไดรับสารพิษตาง ๆ เขาไป สารพิษเหลานั้นจะสามารถสะสมไดในเสนขน โดยเฉพาะอยางยิ่งในชั้นคอรเทกซ ตัวอยางสารพิษที่พบในเสนขนไดบอย ๆ ไดแก สารหนู ตะกั่ว เหล็ก ไซยาไนตและอนุพันธของสารเสพติดตาง ๆ วงการเจริญของเสนขน ( Hair Growth Cycle ) เสนขนแตละเสนมีรูปแบบการเจริญอยางเปนแบบแผน คือมีระยะการเจริญเติบโตสลับดวยระยะพักไปจนตลอดอายุขัยของเสนขน ระยะการเจริญเติบโตของเสนขนอาจใชเวลาหลายปขึ้นอยูกับฮอรโมนและสารอาหารที่ไดรับโดยเฉพาะโปรตีน สวนระยะพักใชระยะเวลาประมาณ 3 เดอืน อัตราการเจริญของเสนขนอาจแตกตางกันแลวแตชนิดของเสนขน ตําแหนงของหนอผม อายุ และเพศ อัตราการงอกของเสนขนประเภทตาง ๆ มีดังนี้ ผม 0.35 มิลลิเมตรตอวัน ขนคิ้ว 0.15 มิลลิเมตรตอวัน หนวดและเครา 0.4 มิลลิเมตรตอวัน ขนรักแร 0.3 มิลลิเมตรตอวัน และขนอวัยวะเพศ 0.2 มิลลิเมตรตอวัน ระยะของการเจริญเติบโตของเสนขนประกอบดวยระยะยอย ดังนี้

1. ระยะแอนาเจน ( Anagen ) เปนระยะที่ขนมีการเจริญเติบโต ขนสามารถอยูในระยะนี้ได 6 – 10 ป เซลลแมตทริกซที่อยูในหนอขนไดรับสารกระตุนการเจริญเติบโตจากแฮรแปบพิลลา จึงเกิดการเคลื่อนที่เขามาบริเวณรอบ ๆ แฮรแปบพิลลา และมีการแบงตัวอยางรวดเร็วทําใหเกิดเปนตัวเสนขนยืดยาวออกไป เซลลใหมแตละชุดจะผลักเซลลเกาใหเคล่ือนขึ้นไปยังชั้นบน ในชวงทายของระยะนี้เซลลแมตทริกซจะเริ่มแบงตัวชาลง เสนขนจะอยูในระยะนี้นานที่สุด รอยละ 90 ของผมบนศีรษะจะอยูในระยะนี้ 2. ระยะคาตาเจน ( Catagen ) เปนระยะที่ตอจากระยะแอนาเจน กินเวลา 2 – 3 สัปดาห เซลลรากขนหยุดการแบงเซลล เซลลชั้นบนของรากขนเริ่มตายและมีการสรางและสะสมเคอราตินไวภายในเซลลและระหวางเซลล จึงทําใหรากขนสั้น ฝอ

Page 15: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

เล็กลงและเปลี่ยนรูปรางจากลักษณะกระเปาะเปนทรงคลายกระบอง ( Club shape ) รากขนเริ่มเคล่ือนที่ขึ้นขางบนทําใหรากขนตื้น ( ส้ัน ) ขึ้นและเริ่มขาดเลือดมาเลี้ยงรากขน ทําใหเสนขนในระยะนี้หลุดรวงไดงาย ประมาณรอยละ 2 ของเสนผมบนศีรษะจะอยูในระยะนี้ 3. ระยะเทโลเจน ( Telogen ) เปนระยะที่รากขนหยุดการเจริญอยางส้ินเชิง ขนจะอยูในระยะนี้ 1 . 3 เดือน กอนที่จะหลุดรวงไปตามธรรมชาติ ปจจยัที่ทําใหเกิดการหลุดรวงตามธรรมชาติของเสนขนเพ่ิมขึ้น ไดแก ความเครียด การเปนไขสูง การผาตัดบริเวณศีรษะ การกระทบกระเทือนอารมณอยางรุนแรงและยาบางชนิด เชน วิตามินเอที่มากเกินไป ยารักษาโรคจิตชนิดตานการซึมเศราและยารักษามะเร็ง หลังระยะเทโลเจนจนเกิดระยะแอนาเจนอีกครั้ง โดยกลุมเซลลของเดอรมอลแปบพิลลาเดิมจะเจริญและสรางหนอผมอันใหมขึ้นมาแทนในตําแหนงเดิม เซลลเมลาโนไซทที่อยูในแฮรแปบพิลลาก็จะสรางเม็ดสีเมลานินใหกับเสนขน การงอกใหมของเสนขนเกิดขึ้น 20 – 30 รอบตอหนึ่งตําแหนง แตถาเสนขนไดรับปจจัยทําลายเสนขน เชน การถูกกระทําเชิงกายภาพ การไดรับรังสีและพันธุกรรมเปนระยะเวลานานก็จะทําใหเกิดการสูญเสียเสนขนอยางถาวรไมมีการงอกใหมได การประยุกตเชิงนิติวิทยาศาสตร ( Application in Forensic Science ) เซลลผิวหนังและเสนขนเปนวัตถุพยานที่พบอยูเสมอในทีเกิดเหตุที่มีการสัมผัสกันทางรางกาย เชน การฆาตกรรม การขมขืนและการทํารายรางกาย โดยอาจตกอยูในที่เกิดเหตุติดอยูตามรางกายผูเสียหายหรือผูตองสงสัยหรือติดอยูตามอาวุธหรือวัตถุตาง ๆ เซลลผิวหนังและเสนขนเหลานี้สามารถที่จะนํามาตรวจสอบเพื่อยืนยันวาเปนเสนขนของใครและมีใครอยูในที่เกิดเหตุบาง ทําใหสามารถเชื่อมโยงผูตองสงสัยกับสถานที่เกิดเหตุ เชื่อมโยงผูตองสงสัยกับอาวุธ สนับสนุนคําใหการของพยานและบอกเสนทางของคนรายในการเขาสถานที่เกิดเหตุได การตรวจพิสูจนเซลลผิวหนังและเสนขนสามารถทําไดดังนี้ 1. การตรวจพิสูจนลักษณะเสนขน ในการเปรียบเทียบลักษณะของเสนขนกบัเสนใย หรือเสนขนกับเสนขนสามารถกระทําภายใตกลองจุลทรรศนเปรียบเทียบ ( Comparison microscope ) หรือกลองจุลทรรศนอิเลคตรอน ( Electron microscope ) ซึ่งมีกําลังขยายสูง โดยมีหลักในการตรวจพิสูจนดังนี้

1.1. การแยกความแตกตางระหวางเสนขนและเสนใย บางครั้งการตรวจโดยตาเปลาไมสามารถแยกเสนขนและเสนใยออกจากกันได ตองอาศัยการตรวจดวยกลองจุลทรรศน ถาเปนเสนใยมาจากพืชจะตองพบโครงสรางที่เปนเซลลูโลส ขณะที่ถาเปนเสนใยสังเคราะหจะมีลักษณะโปรงใส ถาเปนเสนขนจะตองตรวจพบชั้นคิวทิเคล คอรเท็กซและเมดัลลา 1.2. การตรวจพิสูจนวาเปนเสนขนมนุษยหรือขนสัตว ปกติแลวสามารถแยกเสนขนมนุษยออกจากขนสัตวตาง ๆ ไดงาย แตในสภาพที่เสนขนถูกตัดเปนสวนหรือผานการแชในสารฟอกสีอาจทําใหไมสามารถแยกความแตกตางไดดวยตาเปลา ตองอาศัยการตรวจสอบดวยกลองจุลทรรศน โดยลักษณะเสนผมของมนุษยภายใตกลองจุลทรรศนมีดังนี้ 1.2.1. ผิวนอกของเสนผมเรียบ ไมพบรอยหยักหรือบุม 1.2.2. ลักษณะหนาตัดของเสนผมมนุษยจะเปนรูปกลมหรือรีเล็กนอยขึ้นกับเชื้อชาติ

Page 16: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

1.2.3. ลายเปลือกหรือเกล็ดผมมีลักษณะเหมือนกระเบื้องซอนกันเปนชั้น ๆ ตั้งแตรากถึงปลาย 1.2.4. ชั้นคอเทกซกวาง บริเวณขอบของชั้นคอเทกซจะพบรงควัตถุกระจายอยูรอบ ๆ 1.2.5. ชั้นเมดัลลาแคบ มีความกวางประมาณ 1 ใน 3 สวนหรือนอยกวาความกวางของเสนผม มีสีน้ําตาลเข็มหรือดํา ถาดูตามความยาวของเสนผมอาจพบตอเนื่องเปนทางยาว ( Continuous medulla ) หรืออาจพบไดเปนชวง ๆ ไมตอเนื่อง ( Trace medulla ) ซึ่งเปนลักษณะเฉพาะของบุคคล 1.2.6. คาดัชนเีมดัลลา ( Medulla index ) มีคาไมเกิน 0.3 โดยสามารถคํานวณไดจากสูตร คาดัชนีเมดัลลา = ขนาดเสนผาศูนยกลางของชั้นเมดัลลา ขนาดเสนผาศูนยกลางของตัวเสนผม ( ในเสนขนของสัตวมักมีคาดัชนีเมดัลลามากกวา 0.5 ) ความแตกตางท่ีสําคัญระหวางเสนผมมนุษยและขนสัตวสามารถสรุปไดดังตาราง

ลักษณะ เสนผมมนุษย ขนสัตว 1. สี 2. ความกวาง 3. ชั้นคอรเทกซ

4. การกระจายของเม็ดสี 5. ชั้นเมดัลลา

6. คาดัชนีเมดัลลา 7. ชั้นคิวทิเคิล 8. ลายเปลือก

สม่ําเสมอ เทากันตลอดความยาวไปจนถึงปลายผม กวาง กวางกวาเมดัลลา กระจายอยูในชั้นคิวทิเคิล กวางนอยกวา 1 ใน 3 สวนของเสนผม สีไมสม่ําเสมอ ลักษณะสวนใหญเปนแบบไมตอเนื่อง มีคานอยกวา 0.3 ขอบเรียบ ลักษณะคลายกระเบื้องซอนกันตั้งแตรากถึงปลาย

ไมสม่ําเสมอและมีไดหลายสี ปลายเล็กและเรียวแหลม แคบ เล็กกวาเมดัลลา กระจายอยูในชั้นเมดัลลา กวางมากกวาหรือเทากับ 1 ใน 3 สวนของเสนขน ลักษณะสวนใหญเปนแบบตอเนื่อง มีคามากกวาหรอืเทากับ 0.3 ขอบมีรอยหยักหรือมีปุมย่ืนออกมา มีความหลากหลายแลวแตชนิดของสัตว

1.3. การตรวจพิสูจนวาเปนเสนขนของใคร ลักษณะภายในของเสนขนจะมีความจําเพาะตอบุคคลและเชื้อชาติ ลักษณะตาง ๆ ที่นํามาตรวจสอบเพื่อจําแนกบุคคลผูเปนเจาของ ไดแก 1.3.1. ความยาวของเสนขน 1.3.2. ขนาดหนาตัด 1.3.3. ลักษณะเสนขน เชน ตรงหรือหยิก 1.3.4. สีของเสนขน 1.3.5. ลักษณะของปลายขนเปนปลายตัด ปลายมนหรือแตกปลาย 1.3.6. ลักษณะโดยละเอียดของชั้น คิวทิเคิล คอรเทกซและเมดัลลา โดยเฉพาะอยางยิ่งสี รูปทรงและการกระจายของเม็ดสีที่พบในชั้นคอรเทกซที่คอนขางที่จะจําเพาะตอบุคคล 1.3.7. ลักษณะอื่น ๆ เชน การยอมสีเสนขน ความสะอาดของเสนผมและสุขภาพของเสนขน ลักษณะเหลานี้สามารถบงบอกถึงพฤติกรรมหรืออุปนิสัยสวนตัวของผูเปนเจาของได

Page 17: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

1.4. การตรวจพิสูจนการไดมาของเสนขน การหลุดรวงของเสนขนจากรางกายเกิดได 3 ลักษณะ คือ ถูกดึง ถูกตัดและหลุดรวงเองตามธรรมชาติ โดยที่ผูตรวจสามารถที่จะพิจารณาไดเองในสถานที่เกิดเหตุจากการสังเกต ดังนี้ 1.4.1. เสนขนที่ถูกดึงหลุดออกมาจะปรากฏสวนของรากผมอยางชัดเจน 1.4.2. เสนขนที่ถูกตัดจะไมปรากฏสวนของรากผม ปลายทั้ง 2 ดาน หรือดานใดดานหนึ่งมีรองรอยถูกตัดดวยของมีคม 1.4.3. เสนขนที่หลุดรวงตามธรรมชาติจะสังเกตรากขนไดยาก 1.5. การตรวจพิสูจนวาเปนเสนขนจากสวนใดของรางกาย เสนขนจากแตละตําแหนงบนรางกายมักมีลักษณะที่แตกตางกัน จากการตรวจดูลักษณะตาง ๆ อาจทําใหบอกไดวาเสนขนนั้นมาจากสวนใดของรางกายโดยมีเกณฑ ดังนี้ 1.5.1. เสนผม มีลักษณะยาวและมักมีความยาวมากกวา 5 เซนติเมตร ขึ้นไป รูปหนาตัดของเสนผมเปนรูปวงกลมหรือรี ปลายตัด 1.5.2. หนวด มลัีกษณะหยาบแข็ง โคงหรือตรง รูปหนาตัดเปนรูปสามเหลี่ยม เสนผานศูนยกลางประมาณ 100 – 500 ไมโครเมตร ปลายตัด 1.5.3. ขนตา ขนคิ้วและขนจมูก มีลักษณะเกือบคลายกัน คือ ส้ัน อวน ชั้นเมดัลลากวาง ปลายแหลมเรียวยาว ความยาวนอยกวา 3 เซนติเมตร รูปหนาตัดเปนรูปสามเหลี่ยม 1.5.4. ขนลําตัว มักมีความแตกตางกันขึ้นอยูกับตําแหนงบนลําตัว มีความกวางไมเทากัน เสนบางและมีสีออน ปลายเรียวแหลมหรือปลายมน รูปหนาตัดเปนสามเหลี่ยมหรือวงรี 1.5.5. ขนแขนและขนขา มีลักษณะคลายขนตามลําตัวแตจะมีความยาวมากกวาและหยาบกวาขนตามลําตัว 1.5.6. ขนหัวเหนาและขนรักแร มีลักษณะคลายกันแตขนหัวเหนามีลักษณะหยิกและเมดัลลากวางมากกวา บางเสนบิดเปนเกลียว ขนเปนเสนส้ัน ๆ ความยาวระหวาง 3 – 8 เซนติเมตร รูปหนาตัดเปนรูปสามเหลี่ยมปลายมนหรือปลายตัด

แมวาลักษณะทั้งภายในและภายนอกของเสนผมสามารถใชระบุตัวเจาของได แตก็ยังไมสามารถระบุชี้ชัดไดเต็มรอย ตองอาศัยการตรวจสอบขั้นตอไปคือ การตรวจหาชนิดของดีเอ็นเอ ( DNA fingerprint ) เพ่ือระบุตัวผูเปนเจาของ โดยเฉพาะอยางยิ่งเสนผมหรือเสนขนที่มีรากผม 2. การตรวจหาสารพิษจากเสนผม เสนผมจากผูตายสามารถตรวจสอบการสะสมของสารพิษประเภทตาง ๆ เพ่ือทราบถึงสาเหตุการตายได เน่ืองจากขณะที่มนุษยมีชีวิตอยูเสนผมจะมีการงอกใหมตลอดเวลา เสนผมไดรับอาหารหลอเล้ียงจากหลอดเลือดที่เขามาบริเวณรากผม ( Hair root ) ถาภายในเลือดมีสารพิษอยู สารพิษเหลานั้นก็จะสะสมอยูในเซลลแมตทริกซ ( Matrix cells ) ที่อยูบริเวณปลายรากผม เมื่อเซลลมีการแบงตัวใหมและเคล่ือนตัวขึ้นสูดานบนของเสนผม สารพิษเหลานั้นก็จะไปสะสมตามเซลลใหม ซึ่งจะเกิดขึ้นเวลาเดียวกับที่เซลลสรางและสะสมเคอราตินชนิดแข็งไวภายใน เมื่อการสะสมของเคอราตินฝงอยูในชั้นตาง ๆ ของตัวเสนผม ( Hair shaft ) อยางเต็มที่เซลลก็จะตายพรอม ๆ กับรองรอยการตกคางของสารพิษ ดังนั้นการตรวจสอสามารถกระทําไดทั้งตรวจสอบประเภทของสารพิษ ปริมาณของสารพิษ รูปแบบการไดรับสารพิษและระยะเวลาที่ไดรับสารพิษ

Page 18: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

3. การตรวจรอยพิมพน้ิวมือ ( Fingerprint ) ลายพิมพนิ้วมือท่ีปรากฏอยูบนพ้ืนผิวของวัสดุตาง ๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งบนวัตถุผิวเรียบและมันวาว เปนหลักฐานสําคัญสําหรับการระบุตัวผูกระทําผิดหรือบุคคลที่มีสวนเกี่ยวของกับคดี การตรวจสอบลายพิมพนิ้วมือตองกระทําทั้งสิบนิ้วเพ่ือใหไดผลที่แมนยําที่สุด โดยมีหลักการตรวจสอบ คือ การวิเคราะหลักษณะหรือลวดลายของลายพิมพนิ้วมือท่ีปรากฏอยูบนวัตถุในที่เกิดเหตุ เปรียบเทียบกับภาพถายลายพิมพนิ้วมือของผูตองสงสัย ลายพิมพนิ้วมือมนุษยมีหลายลักษณะ การตรวจสอบลักษณะนี้เปนการตรวจสอบเชิงกายภาพ อาศัยการวิเคราะหลักษณะความโคงงอของเสนตาง ๆ ที่ปรากฏบนลายพิมพนิ้วมือ ผลการตรวจสอบสามารถระบุบุคคลไดอยางแมนยํารองลงมาจากการตรวจชนิดของดีเอ็นเอ ลายพิมพนิ้วมือของมนุษยอาจถูกทําลายโดยสารเคมีบางอยางได แตเมื่องอกขึ้นมาใหมก็จะมีลักษณะคงเดิม การตรวจลายพิมพนิ้วมือสามารถประยุกตใชกับการตรวจลายพิมพฝาเทาไดเชนกัน ซึ่งจะเปนประโยชนในกรณีคนรายไมไดสวมรองเทาและมีการเดินย่ําลงไปบนพ้ืนและทิ้งรองรอยของลายพิมพนิ้วเทาและฝาเทาเอาไว

4. การตรวจรอยตําหนิหรือรอยโรค รอยตําหนิที่ปรากฏบนผิวหนังของรางกาย เชน ปาน ไฝและรอยโรคในอดีด เชน แผลเปน รอยผาตัด สามารถใชระบุตัวบุคคลไดเพราะเอกลักษณเหลานี้เปนส่ิงที่มีความจําเพาะตอบุคคลแตละคน

Page 19: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

5. การตรวจหาชนิดของดีเอ็นเอ ( DNA fingerprint ) เสนขนสามารถตรวจหาชนิดของดีเอ็นเอจากนิวเคลียส ( Nuclear DNA ) เพ่ือระบุตัวเจาของไดอยางแนนอนเกือบรอยละ 99.99 หากเปนเสนผมหรือเสนขนท่ีไมมีรากผมก็สามารถนําไปตรวจหาดเีอ็นเอจากไมโตคอนเดรีย ( Mitochondrial DNA ) เพ่ือระบุกลุมผูตองสงสัยที่มีการสืบเชื้อสายมาจากแมเดียวกันได รากผมเปนบริเวณท่ีประกอบดวยเซลลที่ยังคงมีชีวิต ไดแก เซลลในชั้นปลอกรากผม เน้ือเย่ือเกี่ยวพัน แฮรแปบพิลลาและแฮรแมตทริกซ จึงสามารถตรวจไดทั้งดีเอ็นเอจากนิวเคลียสและดีเอ็นเอจากไมโตคอนเดรีย สวนบริเวณตัวเสนผม นิยมตรวจเฉพาะดีเอ็นเอจากไมโตคอนเดรีย เน่ืองจากเปนบริเวณท่ีประกอบดวยเซลลที่ไมมีนิวเคลียส ปจจุบันมีแนวโนมในการพัฒนาเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการตรวจนิวเคลียรดีเอ็นเอจากตัวเสนผมใหมากขึ้น เพราะเชื่อวาอาจมีนิวเคลียสหลงเหลืออยูบางภายในเซลลของชั้นตาง ๆ ในตัวเสนผมหรือมีเซลลจากหนังศรีษะเกาะติดอยูตามเกล็ดผมหรือภายนอกของเสนผม การตรวจชนิดของดีเอ็นเอจากเสนผมจะไดผลดี ( รอยละ 75 ) มากกวาเสนขนจากอวัยวะเพศ ( รอยละ 65 ) และรักแร ( รอยละ 52 ) การที่รางกายสัมผัสพ้ืนผิวของวัตถุตาง ๆ สามารถทิ้งรองรอยของเซลลผิวหนังติดอยูพ้ืนผิวเหลานั้นได โดยเฉพาะอยางยิ่งการสัมผัสดวยแรงท่ีมาก เชน การตอสู การยกสิ่งของขนาดใหญ การผูกเสนเชือกและการกัด หรือแมแตการสัมผัสดวยแรงที่ไมมาก เชน การหยิบจับส่ิงของ รอยริมฝปากบนขอบแกวและหลอดดูด กนบุหร่ี รอยกัดบนผลไม หมากฝรั่งที่เคี้ยวแลวและเมล็ดผลไมที่คายทิ้งหลังการรับประทาน นักนิติวิทยาศาสตรสามารถที่จะเก็บเอาเซลลผิวหนังที่ปรากฏอยูบนพ้ืนผิวของวัตถุไปตรวจหาชนิดของดีเอ็นเอเพ่ือระบุวาผูใดเปนผูสัมผัสวัตถุเหลานี้และสามารถนําผลการตรวจสอบไปประกอบรูปคดีวาบุคคลนั้น ๆ เขามามีสวนรวมในเหตุการณที่เกิดขึ้นหรือไมอยางไร และเปนผูกระทําผิดที่แทจริงหรือไม การเก็บตัวอยางเนื้อเยื่อจากผูตองสงสัยเพ่ือนํามาตรวจหาชนดิของดีเอ็นเอนั้น นิยมเก็บจากเนื้อเยื่อบุผิวของกระพุงแกม เน่ืองจากเปนวิธีที่ผูถูกเก็บตัวอยางไมไดรับความเจ็บปวด ทําไดโดยงาย สะดวกและรวดเร็ว ซึ่งการเก็บตัวอยางอาจจะใชไมพันสําลีปายเนื้อเย่ือภายในกระพุงแกมหรือใชการบวนน้ําแรง ๆ ก็ได

Page 20: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

นํ้าอสุจิ ( Semen ) น้ําอสุจิ ( Semen หรือ Seminal fluid ) ประกอบดวยเซลลอสุจิ ( Spermatozoa หรือ Sperm ) เซลลเย่ือบุผิว และส่ิงคัดหล่ังที่ขับออกมาจากอวัยวะตางๆในระบบสืบพันธุ

อวัยวะที่สรางและนํานํ้าอสุจิ ( Male Reproductive Organs ) อวัยวะตาง ๆ ในระบบสืบพันธุของเพศชายที่สรางน้ําอสุจิและเปนทางเดินของน้ําอสุจิ ไดแก 1. อัณฑะ ( Testis ) มีโครงสรางเปนกอนรูปไข มี 2 กอน บรรจุอยูภายในถุงอัณฑะชองละกอน ยึดติดกับลําตัวดวย สเปอรมาติกคอรด ( Spermatic cord ) หนาที่ของอัณฑะ คือ สรางเซลลอสุจิ ( Spermatozoa ) ซึ่งเปนเซลลสืบพันธุของเพศชายและฮอรโมนเทสทอสเตอรโรน ( Testosterone ) ซึ่งเปนฮอรโมนของเพศชาย อัณฑะ มีองคประกอบดังนี้

1. เย่ือหุมอัณฑะ ( Scrotal sheath ) อัณฑะมีเย่ือหุม 3 ชั้น คือ 1.1. ชั้นทูนิกา อัลบูจีเนีย ( Tunica Albuginea ) อยูชั้นในสุด เปนชั้นเนื้อเย่ือเสนใยที่เหนียวและมีสีขาวหอหุมแนบชิดไปกับเนื้ออัณฑะ เย่ือหุมนี้ยังแทรกเขาไปภายในเนื้ออัณฑะ ทําใหเกิดการแบงเนื้ออัณฑะออกเปนชองเล็ก ๆ จํานวนมาก 1.2. ชั้นทูนิกา วาจินอลลิส ( Tunica Vaginalis ) เปนชั้นของถุงน้ําที่หอหุมชั้นทูนิกา อัลบูจีเนียเอาไว มีหนาที่ชวยลดการเสียดสีขณะที่มีการเคลื่อนไหวของอัณฑะ 1.3. ชั้นกลามเนื้อครีมาสเตอริก ( Cremasteric Muscle ) เปนชั้นนอกสุดที่หอหุมอัณฑะไว การทํางานของกลามเนื้อนี้จะทําใหเกิดการยกและหยอนตัวของอัณฑะ

Page 21: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

2. ถุงอัณฑะ ( Scrotum ) เปนถุงที่หอหุมอัณฑะไว ประกอบดวยเนื้อเย่ือ 3 ชั้น คือ 2.1. ชั้นผิวหนัง ( Skin ) เปนชั้นนอกสุด ผิวหนังบริเวณนี้จะมีสีคลํ้า และมีรอยยับยนเล็กๆตลอดพื้นผิวของอัณฑะ มีประโยชนในการเพิ่มพ้ืนที่ผิวขณะที่มีการยืดขยายของถุงอัณฑะ เพ่ือรองรับการหยอนตัวของอัณฑะที่อยูภายใน แนวกลางของถุงอัณฑะมีรองตื้น 1 รอง ทอดตัวต้ังแตบริเวณใกลกับทวารหนักไปจนถึงโคนดานลางขององคชาติ ( Penis ) รองนี้เปนรอยตอของถุงอัณฑะขางซายและขวาในขณะที่มีการพัฒนาของอวัยวะเพศภายนอกในขณะที่ยังเปนทารกในครรภมารดา 2.2. ชั้นกลามเนื้อคารตอส ( Dartos Muscle ) เปนแผนกลามเนื้อเรียบบางๆที่อยูถัดจากชั้นผิวหนังเขามาดานใน การหดและคลายตัวของชั้นกลามเนื้อนี้ทําใหเกิดการยกตัวและหยอนคลอยของถุงอัณฑะ เพ่ือชวยในการปรับสมดุลของอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะไมใหสูงหรือตํ่าเกินไป เพ่ือใหเหมาะสมตอการดํารงชีวิตของเซลลอสุจิ 2.3. ชั้นแผนพังผืด ( Superficial Fascia ) เปนชั้นในสุด ประกอบดวยเสนใยเหนียวบาง ๆ ในแนวกลางของถุงอัณฑะ ชั้นนี้จะยกตัวสูงขึ้นไปจรดกับผนังอีกดานหนึ่ง ทําใหเกิดการแบงเปนชองซายและขวา ซึ่งแตละชองจะบรรจุอัณฑะ 1 กอน 3. หลอดสรางเซลลสืบพันธุ ( Seminiferous Tubules ) เปนหลอดยาวที่ขดพับซอนกันแนนอยูภายในแตละชองของอัณฑะ ประกอบดวยเซลลหลัก 2 ชนิด คือ 3.1. เซลลสืบพันธุ ( Sperma-tocytes ) เซลลสืบพันธุที่สรางเสร็จแลวเรียกวา สเปอรมาโตซัว ( Spermatozoa ) หรือ สเปรม ( Sperm ) หรือเซลลอสุจิ 3.2. เซลลพ่ีเล้ียง ( Sertoli cells หรือ Sustentacula cells ) ทําหนาที่เปนแหลงอาหารใหกับเซลลสืบพันธุ

เซลลอสุจิที่อยูภายในหลอดสรางเซลลสืบพันธุจะยังไมสามารถเคลื่อนที่ไดเอง การเคลื่อนที่จะเกิดขึ้นจากเซลลไมออยด ( Myoid cells ) ที่อยูรอบๆหลอดสรางเซลลสืบพันธุบีบรัดทอใหเซลลอสุจิเคล่ือนที่ออกไปรวมกันทางดานบนคอนไปดานหลัง ผานเขาสูหลอดเรเตเทสทิส ( Rete testis ) และหลอดเอฟเฟอรเรนท ( Efferent ducts ) ตามลําดับ กอนที่จะออกจากอัณฑะในที่สุด ภายนอกหลอดสรางเซลลสืบพันธุจะพบกลุมเซลลที่ชื่อวา เซลลเลดิกซ ( Leydig’s cell ) ทําหนาที่สรางฮอรโมนเทสทอสเตอโรน ( Testosterone ) และหล่ังออกสูหลอดเลือดฝอยที่อยูใกลเคียง ผลของฮอรโมนชนิดนี้จะกระตุนการเจริญแบงตัวของเซลลอสุจิในชายวัยแรกเริ่มเขาสูวัยเจริญพันธุและทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางรางกาย คือ เตานมขยายใหญ ( นมแตกพาน ) เสียงหาวใหญ ลูกกระเดือกใหญ มีหนวดเคราขึ้นตามใบหนา และอวัยวะเพศขยายใหญขึ้น 2. หลอดเก็บอสุจิ ( Epididymis ) เปนหลอดที่ตอมาจากหลอดอิฟเฟอเรนทของอัณฑะ จะขดกันอยูเปนกอนยาวตั้งตนจากสวนบนคอนไปทางขางหลังของอัณฑะ ทอดตัวไปทางดานลางสุดของอัณฑะกอนจะวกกลับขึ้นดานบนและกลายเปนหลอดนําอสุจิ หลอดเก็บอสุจิจึงเปนทอท่ีเชื่อมตอระหวางอัณฑะกับหลอดนําอสุจิและยังเปนที่กักเก็บเซลลอสุจิไวเปนการชั่วคราว หลอดเก็บอสุจิมีรูตรงกลางกวาง ภายในบุดวยเย่ือผิวที่ทําหนาที่หล่ังสารอาหารเพิ่มความแข็งแรงใหกับเซลลอสุจิ เซลลอสุจิที่ผานออกจากหลอดเก็บอสุจิแลวจะมีความแข็งแรงสมบูรณ สามารถเคลื่อนที่ไดเองและพรอมที่จะเดินทางเขาสูอวัยวะสืบพันธุของเพศหญิง

Page 22: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

3. หลอดนําอสุจิ ( Vas Deferens หรือ Ductus Deferens ) เปนทอทางเดินของเซลลอสุจิที่ตอมาจากหลอดเก็บอสุจิ มีจํานวน 2 หลอด คือ หลอดซายและหลอดขวา โดยเริ่มทอดจากหลอดเก็บอสุจิไปเปดเชื่อมกับหลอดซึ่งมาจากถุงผลิตน้ําเล้ียงอสุจิ ( Semenal vesicles ) หลอดเก็บอสุจิจะทอดตัวไปพรอมกับหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดําของอัณฑะ หลอดน้ําเหลืองและเสนประสาท โดยทั้งหมดถูกหอหุมดวยกลามเนื้อครีมาสเตอริค ( Cremasteric muscle ) และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน รวมเปนโครงสรางที่เรียกวา สเปอรมาติคคอรด ( Spermatic cord ) ซึ่งทอดจากอัณฑะผานเขาสูชองอินไกวนอล ( Inguinal canal ) และทอดตัวเขาไปภายในชองทองนอย ผานดานบนของกระเพาะปสสาวะและวกสวนปลายไปทางดานหลังของกระเพาะปสสาวะ สวนปลายของหลอดนําอสุจิพองตัวออกเล็กนอยไปตอรวมกับทอจากถุงผลิตน้ําเลี้ยงอสุจิ กลายเปนหลอดฉีดน้ําอสุจิ ( Ejaculatory ducts ) ผนังของหลอดนําอสุจิ ประกอบดวยเนื้อเย่ือ 3 ชั้น คือ

1. ชั้นเย่ือบุ ( Mucosa ) เปนชั้นในสุดบุผิวดานในของทอ 2. ชั้นกลามเนื้อ ( Muscula Layer ) เปนชั้นที่หนาที่สุดของผนังของหลอดนําอสุจิ ทําหนาที่บีบรัด

หลอดนําอสุจิใหเปนจังหวะเพ่ือขับใหเซลลอสุจิเคล่ือนตัวออกไปอยางรวดเร็วเมื่อไดรับการกระตุนจากสัญญาณประสาทซิมพาเธติก ชั้นกลามเนื้อ ประกอบดวยชั้นกลามเนื้อเรียบ เรียงซอนกัน 3 ชั้น ชั้นในจะเรียงตัวตามยาว ชั้นกลางจะเรียงตัวตามเสนรอบวงของทอและชั้นนอกจะเรียงตัวตามยาวเหมือนชั้นใน

3. ชั้นแอดเวนทิเชีย ( Advantitia ) เปนชั้นนอกสุด ประกอบดวยเน้ือเยื่อเกี่ยวพันชนิดหลวม เปนทางเขาออกของหลอดเลือดและเสนประสาทสูหลอดนําอสุจิ

Page 23: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

4. หลอดฉีดนํ้าอสุจิ ( Ejaculatory Ducts ) มีอยูดวยกัน 2 หลอด คือ หลอดซายและหลอดขวาแตละหลอดเกิดจากการรวมกันของทอจากถุงผลิตน้ําเลี้ยงอสุจิและหลอดนําอสุจิในแตละขาง หลอดฉีดน้ําอสุจิวางตัวอยูดานหลังของกระเพาะปสสาวะเหนือขอบบนของตอมลูกหมากทั้ง 2 ขาง และแทรกเขาไปในเนื้อของตอมลูกหมากแลวไปเปดสูทอปสสาวะภายในตอมลูกหมาก 5. องคชาติ ( Penis ) เปนอวัยวะแทงทรงกระบอกที่เจริญยื่นออกไปจากลําตัวบริเวณขาหนีบ อยูใตกระดูกหัวเหนาและดานหนาของอัณฑะ เน้ือเยื่อขององคชาติเปนเนื้อเยื่อรูพรุนคลายฟองน้ํา ภายในรูพรุนเปนแองเลือด สามารถเก็บกักเลือดไดในปริมาณมาก ขณะที่มีเลือดคั่งอยูภายในจะทําใหองคชาติมีขนาดใหญขึ้น ตัวองคชาติเปนอวัยวะที่ไวตอการสัมผัส เพราะมีเสนประสาทรับความรูสึกมาเลี้ยงเปนจํานวนมาก ผิวหนังขององคชาติมีลักษณะผิวเรียบ ไมมีขนและมีสีคลํ้ากวาสวนอื่นของรางกาย ตอมที่รวมสรางนํ้าอสุจิ ( Glands of Male Reproductive Organs )

1. ถุงผลิตนํ้าเลี้ยงอสุจิ ( Seminal Vesicles ) มีลักษณะเปนถุง 2 ถุง มีรูปรางคลายสามเหลี่ยม โดยมีกนถุงกวางชี้ไปขางหลัง ดานหนาแคบสวนปลายสุดมีลักษณะเปนทอขนาดเล็กเชื่อมตอกับปลายของหลอดนําอสุจิ กลายเปนหลอดฉีดอสุจิ ถุงผลิตน้ําเล้ียง

Page 24: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

อสุจิตั้งอยูดานหลังของกระเพาะปสสาวะและอยูเหนือตอมลูกหมากเล็กนอย ทําหนาที่ผลิตน้ําเล้ียงอสุจิ ประกอบดวย น้ําตาลฟรุกโตส ( Fructose ) สารที่ทําใหโปรตีนเกาะกลุม ( Clotting Protein ) วติามินซี ( Vitamin C ) และพรอสตาแกลนดิน ( Prostaglandin ) เพ่ือเปนสารอาหารใหกับเซลลอสุจิ น้ําเลี้ยงอสุจินี้จะถูกฉีดออกมาผสมกับเซลลอสุจิเมื่อมีการหลั่งน้ําอสุจิ ผนังของถุงผลิตน้ําเล้ียงอสุจิ ประกอบดวยเน้ือเยื่อ 3 ชั้น ไดแก

1. ชั้นเนื้อเยื่อบุผิว ( Epithelium ) อยูชั้นใน ทําหนาที่บุผิวภายในของถุงผลิตน้ําเล้ียงอสุจิ โดยเซลลบุผิวมีการเรียงเปนแถวเดียว ยื่นเขาไปภายในชองวางตรงกลาง จนทําใหชองดังกลาวดูเล็กลง เซลลบุผิวจะทําหนาที่สรางและหล่ังสารคัดหล่ังสีเหลืองออนที่มีฤทธิ์เปนดาง

2. ชั้นกลามเนื้อเรียบ ( Smooth Muscle ) อยูชั้นกลาง ทําหนาที่หดตัวเพ่ือบีบรัดขับเอาน้ําเล้ียงอสุจิออกสูหลอดฉีดน้ําอสุจิ จะทํางานเมื่อไดรับการกระตุนจากระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติก

3. ชั้นเย่ือหุม ( Dense Fibrous Capsule ) เปนชั้นนอกสุดที่หอหุมชั้นอื่น ๆ เอาไว 2. ตอมลูกหมาก ( Prostate Gland ) เปนตอมมีทอชนิดหนึ่งที่มีรูปรางและขนาดประมาณผลหมากขนาดเล็ก วางตัวอยูขางใตและชิดกับกระเพาะปสสาวะ ตรงกลางของตอมลูกหมากจะมีทอปสสาวะทอดผานจากดานบนลงดานลาง เน้ือเยื่อของตอม ประกอบดวย

1. เน้ือตอม ( Glandular Tissue ) ตั้งอยูใจกลางของตอม ทําหนาที่สรางและหล่ังสารคัดหล่ังที่มีสีขาวขุนคลายน้ํานม มีสภาพเปนกรด ประกอบดวยกรดซิตริก ( Citric acid ) และน้าํยอยสําหรับยอยโปรตีนหลายชนิด เชน สารจําเพาะตอตอมลูกหมาก ( Prostate Specific Antigen หรือ PSA ) และน้ํายอยแอซิดฟอสฟาเทส ( Acid Phosphatase Enzyme ) เปนตน สารคัดหล่ังจากตอมลูกหมากถูกสงผานทอขนาดเล็กจํานวนมาก มาเปดสูทอปสสาวะภายในตอมลูกหมาก

2. ชั้นกลามเนื้อเรียบ ( Smooth Muscle ) เปนกลามเนื้อท่ีหุมโดยรอบของตอม ทําหนาที่หดตัวเพ่ือบีบรัดขับเอาสารคัดหล่ังของตอมใหออกสูทอปสสาวะที่อยูภายในตอมลูกหมากขณะมีการหลั่งอสุจิ โดยจะทํางานเมื่อไดรับการกระตุนจากระบบประสาทซิมพาเธติก

3. ชั้นเย่ือหุมชั้นนอก ( Dense Fibrous Capsule ) มีลักษณะเปนเนื้อเยื่อเสนใย ทําหนาที่หอหุมชั้นอื่น ๆ ของตอมเอาไว

3. ตอมสรางสารเมือก ( Bulbourethral Glands หรือ Cowper’s Glands ) เปนตอมมีทอชนิดหนึ่ง มีลักษณะเปนกอนขนาดประมาณเมล็ดถ่ัวเหลือง มีจํานวน 2 กอน ฝงอยูในกลามเนื้อพ้ืนเชิงกรานที่อยูดานใตของตอมลูกหมากและอยูสองขางของทอปสสาวะ ตอมแตละขางมีทอมาเปดเขาตอนตนของทอปสสาวะภายในองคชาติ ตอมนี้สรางของเหลวที่มีลักษณะเปนเมือก ซึ่งมีสภาวะเปนดางและขับออกมาประกอบเปนสวนหนึ่งของน้ําอสุจิเมื่อไดรับการกระตุนจากระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติก กําเนิดเซลลอสุจิ ( Spermatogenesis ) มีกําเนิดอยูภายในผนังของหลอดสรางเซลลสืบพันธุ ซึ่งประกอบไปดวยเซลลตนกาํเนิดของอสุจิที่อยูในระยะตาง ๆ ของการแบงเซลล มีการเรียงตัวเปนชั้น ๆ จากผนงัดานนอกสูดานในของทอ เซลลตนกําเนิดเซลลอสุจิมีหลายชนิดตามระยะการแบงเซลล เซลลตนกําเนิดดั้งเดิมของเซลลอสุจิเรียกวา สเปอรมาโตโกเนียม ( Spermstogonium ) พบอยูชิดฐานดานนอกของหลอดสรางอสุจิ เซลลตนกําเนิดของเซลลอสุจิชนิดอื่น ไดแก สเปอรมาโตไซทขั้นที่1 ( Primary Spermatocyte ) สเปอรมาโตไซทขั้นที่2 (

Page 25: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

Secondary Spermatocyte ) และเซลลสเปอรมาติด ( Spermatid ) มีความแตกตางกันตรงที่อยูในระยะการแบงเซลลที่ตางกันและขนาดของเซลลที่เล็กลงเมื่อการแบงเซลลดําเนินกาวหนาไปเรื่อย ๆ กระบวนการเปลี่ยนรูปรางของเซลลอสุจิ

1. มีการสรางเม็ดอะโครโซม ( Acrosomal Vesicles ) ขึ้นภายในไซโตพลาสม โดยภายในเม็ดอะโครโซมบรรจุเอนไซมยอยโปรตีนหลายชนิด

2. เกิดการเคลื่อนตัวของเม็ดอะโครโซมไปอยูในบริเวณท่ีตอไปกลายเปนสวนปลายดานหนาสุดของเซลลอสุจิ ขณะเดียวกันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปรางจากเม็ดทรงกลมกลายเปนถุงทรงยาวรี เรียกวาถุงอะโครโซม ( Acrosomal sac ) และวางแนบชิดไปกับผิวของนิวเคลียส โดยถุงของอะโครโซมจะกินเนื้อท่ีประมาณครึ่งหนึ่งของผิวนิวเคลียสทั้งหมด

3. มีการเคลื่อนตัวของไมโตคอนเดรียและเซนโตรโซมไปอยูดานตรงขามกับถุงอะโครโซม ในบริเวณที่ตอไปจะกลายเปนสวนหางของเซลลอสุจิ

4. ไมโครทูบูลท่ีอยูภายในเซนโตรโซมมีการเจริญยื่นยาวออกไป กลายเปนแกนหางของเซลลอสุจิ 5. ไมโตคอนเดรียมีการเคลื่อนตัวมายังบริเวณที่จะเปนสวนกลาง ( Middle piece ) เกิดการเรียงตัว

กันแนนและวนเปนเกลียวลอมรอบไมโครทูบูล ทําหนาที่เปนแหลงสรางพลังงานในการเคลื่อนที่ใหกับเซลลอสุจิ

6. เกิดกระบวนการตัดไซโตพลาสม บางสวนและออรแกเนลอื่นออกไป เพ่ือตกแตงรูปรางของเซลลอสุจิใหเรียวแหลม ใหเหมาะสมตอการลดแรงเสียดทานเมื่อมีการเคลื่อนที่

เมื่อเสร็จส้ินกระบวนการปรับเปล่ียนรูปรางแลว จะไดเซลลอสุจิที่มีความยาว 55 - 65 ไมโครเมตร

Page 26: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

ฮอรโมนท่ีเกี่ยวของกับการสรางเซลลอสุจิ ( Spermatogenesis-related Hormones ) 1. ฮอรโมนอินเตอรสติเชียล สติมูเลตติง ( Interstital Cell Stimulating Hormones หรือ ICSH ) หรือ

ฮอรโมนลูติไนซิง ( Lutinizing Hormone หรือ LH ) เปนฮอรโมนที่หล่ังมาจากตอมใตสมองสวนหนาเพ่ือกระตุนใหเซลลเลยดิกซ ( Leydig’s Cell ) ที่อยูภายนอกหลอดสรางเซลลสืบพันธุหล่ังฮอรโมนเทสทอสเตอโรน ( Testosterone )

2. ฮอรโมนฟอลลิเคิลสติมูเลตติง ( Follicle Stimulating Hormone หรือ FSH ) เปนฮอรโมนที่หล่ังมาจากตอมใตสมองสวนหนาเพ่ือกระตุนเซลลเซอรโทไล ( Sertoli cell ) ซึ่งเปนเซลลพ่ีเล้ียงของเซลลอสุจิใหหล่ังแอนโดรเจน บายดิง โปรตีน ( Androgen Binding Protein ) ใหไปจับกับฮอรโมนเทสทอสเตอโรน ทําใหฮอรโมนเทสทอสเตอโรนเขมขนและทํางานไดดีขึ้น

3. ฮอรโมนเทสทอสเตอโรน สรางมาจากเซลลเลยดิกซ ทําหนาที่กระตุนการเจริญและแบงตัวของเซลลตนกําเนิดของเซลลอสุจิและทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางรางกายของเพศชาย

4. ฮอรโมนอินฮิบิน ( Inhibin ) สรางมาจากเซลลเซอรโทไล ทําหนาที่ยับนั้งการหล่ังของฮอรโมน FSH เพ่ือควบคุมการทํางานของฮอรโมนเทสทอสเตอรโรนไมใหเกิดการสรางเซลลอสุจิภายในหลอดสรางเซลลสืบพันธุ เพ่ือควบคุมไมใหจํานวนเซลลอสุจิมีมากจนเกินไป ( เกิน 20ลานเซลลตอมิลลิลิตร )

องคประกอบและการทํางานของน้ําอสุจิ ( Composition and Function of Semen ) น้ําอสุจิ ( Semen ) เปนของเหลวที่หล่ังออกมาจากอวัยวะในระบบสืบพันธุเพศชายเมื่อมีเพศสัมพันธ มีลักษณะเปนของเหลวขุนขน สีขาวคลายแปงเปยก มีกล่ินคอนขางคาว มีความเปนกรด – ดาง 7.2 – 7.7 เปนสวนผสมของเซลลอสุจิและสารคัดหลังจากอวัยวะตาง ๆ ในระบบสืบพันธุเพศชาย อันไดแก หลอดสรางอสุจิ หลอดเก็บอสุจิ ถุงผลิตน้ําเล้ียง ตอมลูกหมากและตอมสรางสารเมือก สารคัดหล่ังเหลานี้เปนแหลงอาหารใหกับเซลลอสุจิ ทําใหเซลลอสุจิแข็งแรง สามารถเคลื่อนที่ไดอยางรวดเร็วและมีชีวิตอยูไดระยะหนึ่งหลังการหลั่งออกไป เซลลอสุจิสามารถมีชีวิตอยูไดภายในรางกายของเพศหญิงเปนเวลาประมาณ 12 – 48 ชั่วโมง หลังจากที่น้ําอสุจิถูกหลั่งออกมาภายนอกรางกายแลว จะเกิดการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวขุนกลายเปนของเหลวกึ่งแข็งภายใน 5 นาที อันเปนผลจากการทํางานของโปรตีนที่ทําใหเกิดการเกาะกลุมซึ่งคัดหล่ังมาจากถุงผลิตน้ําเล้ียงอสุจิ หลังจากนั้นภายใน 5 – 15 นาทีจะเปล่ียนสถานะเปนของเหลวคอนขางใส ซึ่งเปนผลจากการทํางานของสารจําเพาะตอตอมลูกหมาก ( PSA ) เซลลอสุจิสามารถเคลื่อนไหวภายในชองคลอดอยูไดนาน 1 – 6 ชั่วโมง ตําแหนงที่เซลลอสุจิสามารถอยูไดนานคือบริเวณซอกลึกรอบปากมดลูก เซลลอสุจิสามารถอยูในชองคลอดไดนานกวานี้ แมวาจะหยุดการเคล่ือนไหวแลว โดยเฉพาะอยางยิ่งในศพที่มีการแชแข็ง มีรายงานวาสามารถตรวจพบเซลลอสุจิภายในชองคลอดของศพที่ตายมาแลวถึง 17 วัน และสามารถตรวจพบเซลลอสุจิบนสวนตาง ๆ ของรางกายไดนานนับสิบสัปดาห การหลั่งนํ้าอสุจิ ( Ejaculation ) มีสวนที่เกี่ยวของ 3 ประการ คอื

1. หลอดเลือดขององคชาติ ( Blood Supply of the Penis ) ประกอบดวย 1.1. หลอดเลือดแดง Internal pudendel artery เมื่อเขามาในองคชาติจะแตกแขนงออกเปน 2 แขนงหลัก คือ Dorsal artery ไปเล้ียงสวนผิวและ Deep atery of penis ทอดเขาไปในสวนลึกของ

Page 27: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

เน้ือเยื่อคารเวอรนัส ปลายของหลอดเลือดจะกลายเปนหลอดเลือดฝอย เปดเขาไปสูแองเลือดที่อยูภายใน 1.2. หลอดเลือดแดง External pudendal artery เมื่อเขามาในองคชาติ จะแตกแขนงใหเปน Dorsal artery ไปเล้ียงสวนผิว 1.3. หลอดเลือดดํา Prostatic venous plexus เปนหลอดเลือดที่รับเลือดทั้งหมดจากองคชาติ เพ่ือนํากลับเขาสูระบบไหลเวียนของรางกาย

2. การแข็งตัวขององคชาติ ( Penile Erection ) เกิดจากการที่รางกายไดรับการกระตุนอารมณทาง

เพศ ผานทางประสาทสัมผัสตาง ๆ ของรางการ เชน การมองเห็น การสัมผัสรางกายและการดมกล่ิน ซึ่งจะไปกระตุนระบบประสาทพาราซิมพาเธติก ทําใหเกิดการขยายตัวของเนื้อเย่ือคารเวอรนัสภายในองคชาติและหลอดเลือดที่มาเลี้ยงองคชาติ ทําใหเกิดการไหลของเลือดเขาไปคั่งในแองเลือดภายในเนื้อเยื่อคารเวอรนัส มีผลทําใหองคชาติเกิดการขยายใหญ ทําใหมีขนาดใหญและยาวกวาขนาดขององคชาติที่อยูในสภาวะปกติประมาณ 3 เทา

3. กลไลการหลั่งน้ําอสุจิ ( Mechanism of Ejacutation ) เปนกระบวนการที่เกิดขึ้นตอเนื่องจาก

กระบวนการแข็งตัวขององคชาติ เมื่อรางกายยังคงไดรับการกระตุนจากประสาทสัมผัสจนถึงจุดสูงสุด ( Climax ) หรือจุดสุดยอด ( Orgasm ) จะมผีลไปกระตุนระบบประสาทซิมพาเธติก ทําใหเกิดการหดตัวของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงองคชาติ ตอมของอวัยวะสืบพันธุและกลามเนื้อเรียบในผนังทอทางเดินอสุจิ อยางพรอมเพรียงกันและมีความเร็วและแรงพอที่จะทําใหเกิดการขับน้ําอสุจิออกมาทางรูเปดของทอปสสาวะที่ปลายองคชาติ

หลังการหลั่งน้ําอสุจิระบบประสาทซิมพาเธติกจะหยุดการทํางาน ทําใหเกิดการคลายตัวของกลามเนื้อเรียบและเนื้อเยื่อคารเวอรนัสภายในองคชาติและเกิดการไหลกลับของเลือดที่คั่งอยูภายในแองเลือดออกไปตามหลอดเลือดดํา ขณะเดียวกันหลอดเลือดที่มาเล้ียงองคชาติจะเกิดการหดตัวกลับสูสภาพเหมือนกอนมีการแข็งตัวขององคชาติ ทําใหไมมีการไหลเขาของเลือดเพ่ิมขึ้นอีก องคชาติจึงเกิดการออนตัวและกลับสูสภาวะปกติ

Page 28: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

การประยุกตเชิงนิติวิทยาศาสตร ( Application in Forensic Science ) ในการคลี่คลายคดีทางนิติวิทยาศาสตร น้ําอสุจิเปนแหลงวัตถุพยานที่สําคัญมากที่จะนําไปสูการระบุตัวผูกระทําความผดิในคดีขมขืนกระทําชําเรา การตรวจใหพบเซลลอสุจิเปนหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดที่จะระบุการกระทําผิดในคดีขมขืน ดังนั้นนักวิทยาศาสตรที่ทําการตรวจสอบจะตองมีความรูและเขาใจในกายวิภาคศาสตรและสรีรวิทยาของน้ําอสุจิเปนอยางดี การตรวจคราบอสุจิ

1. การตรวจหาคราบอสุจิในที่เกิดเหตุ ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุหากไมสามารถสังเกตเห็นคราบอสุจิไดชัดเจน สามารถใชรังสีอุลตราไวโอเลตสองเพ่ือระบุตําแหนงวามีคราบอสุจิติดอยูที่ใดบาง โดยบริเวณท่ีมีคราบอสุจิอยูจะเรืองแสงสีมวง แตรังสีอุลตราไวโอเลตสามารถสามารถที่จะเกิด False Positive กับของเหลวบางชนิดได วิธีนี้จึงเปนเพียงการคนหาตําแหนงของคราบอสุจิอยางหยาบ เพ่ือนําไปสูการตรวจสอบดวยวิธีอื่นตอไป 2. การตรวจสอบคราบอสุจิในเบ้ืองตน ( Presumptive Test for Semen ) การตรวจหาเอนไซมแอซิดฟอสฟาเทส ( Acid Phosphatase ) เปนวิธีตรวจคราบอสุจิเบ้ืองตนที่นิยมใชกันมากอีกวิธีหนึ่ง เพราะทําไดสะดวกและเห็นผลอยางรวดเร็ว แตวิธีนี้มีขอเสียคือความจําเพาะตอน้ําอสุจิไมรอยเปอรเซ็นต เน่ืองจากเอนไซมแอซิดฟอสฟาเทสเปนน้ํายอยที่พบไดในส่ิงคัดหล่ังหลายชนิดจากรางกาย ไดแก น้ําอสุจิ น้ําลายและน้ํายอยจากทางเดินอาหาร เปนตน ดังนั้นจําเปนจะตองยืนยันดวยวิธีอื่น ๆ อีก เชน การตรวจหาสารจําเพาะตอตอมลูกหมากหรือการตรวจหาเซลลอสุจิภายใตกลองจุลทรรศน

Page 29: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

ระดับของเอนไซมแอซิดฟอสฟาเทสจะลดลงตามระยะเวลาและลดลงเร็วขึ้นเมื่ออยูในอุณหภูมิรางกาย ในสภาพที่เปนคราบอสุจิเปยก ระดับเอนไซมชนิดนี้จะสูงใน 8 ชั่วโมงแรกและจะคอย ๆ ลดลงในชั่วโมงที่ 12 เปนตนไป แตถาเปนคราบแหงตามผิวหนังหรือเส้ือผา ะดับของเอนไซมจะคงทนมากกวา หลักการตรวจหาระดับของเอนไซมแอซิดฟอสฟาเทสที่มีอยูในน้ําอสุจิ คือ เอนไซมแอซิดฟอสฟาเทสจะทําปฎิกิริยากับ Sodium 2-Naphthyl Phosphate ไดสารที่เมื่อไปทําปฏิกิริยากับ Tetrazotized Orthodianisidine เกิดเปนสีมวง 3. การตรวจหาเซลลอสุจิภายใตกลองจุลทรรศน วิธีที่จะทําใหเกิดความมั่นใจวาคราบตองสงสัยเปนคราบอสุจิ คือการตรวจใหพบเซลลอสุจิจากคราบตองสงสัย โดยมีวิธีการทําคือนําไมพันสําลีที่ผานการฆาเชื้อชุบดวยน้ํากลั่นมาปายคราบตองสงสัยและปายลงบนแผนสไลด ยอมสีสไลดดวยสีฮีมาทอกซิลินและอีโอซินและตรวจหาเซลลอสุจิภายใตกลองจุลทรรศน ตัวอยางที่ถือวามีผลบวกนั้นอยางนอยที่สุดจะตองพบเซลลอสุจิ 1 เซลลที่มีสวนหัวและหางครบสมบูรณหรือพบเฉพาะสวนหัวของเซลลอสุจิอยางนอย 3 เซลล และจะตองทําการนับจํานวนเซลลอสุจิบนแผนสไลดวามีจํานวนเทาไร เพ่ือประกอบการพิจารณารูปคดี ถานับจํานวนเซลลอสุจิบนสไลดไดไมต่ํากวา 20 เซลล แสดงวาเซลลอสุจิในตัวอยางมีจํานวนมากพอที่จะนําไปวิเคราะหหาชนิดของดีเอ็นเอได 4. การตรวจหาสารจําเพาะตอตอมลูกหมาก ( Prostate Specific Antigen หรือ PSA ) ถาไมสามารถตรวจพบเซลลอสุจิในคราบตองสงสัย กรณีเชนนี้ตองพึงระวังในรายที่ผูกระทําความผิดเปนผูชายที่ผานการทําหมันมากอน เพราะน้ําอสุจิที่หล่ังออกมาจะไมมเีซลลอสุจิผสมอยู ควรตองใชวิธีการตรวจอื่นมาระบุวาคราบตองสงสัยที่ปรากฏนั้น เปนคราบของน้ําอสุจิหรือไม ซึ่งในกรณีเชนนี้การตรวจหาสารจําเพาะตอตอมลูกหมาก ( PSA ) เปนส่ิงจําเปน การตรวจหา PSA นั้นใชทฤษฏีการจับกันของ Antigen กับ Antibody มีวิธีการคือนําคราบตองสงสัยมาผานการดูดซับบนแผนเย่ือท่ีมีการใส Anti-PSA antibody เอาไว ถาคราบตองสงสัยนั้นเปนคราบอสุจิก็จะตองปรากฏแถบสีที่แสดงวา PSA จับกับ Anti-PSA antibody ใหเห็น ในทางกลับกัน ถาคราบตองสงสัยนั้นไมใชคราบอสุจิก็จะไมปรากฏแถบดังกลาวขึ้น ทั้งนี้ตองมีกลุมควบคุม ( Positive Control ) ที่เปนตวัอยางจากน้ําอสุจิเปรียบเทียบดวย ซึ่งวิธีการนี้จะชวยใหสามารถสรุปไดวาคราบตองสงสัยที่ไมมีเซลลอสุจิปรากฏอยูเปนคราบอสุจิหรือไม 5. การตรวจชนิดของดีเอ็นเอ การที่จะระบุวาบุคคลใดเปนเจาของเซลลอสุจิที่พบอยูในคราบอสุจิที่ดีที่สุด ก็คือการตรวจหาชนิดของดีเอ็นเอ ในการสกัดแยกเอาดีเอ็นเอจากคราบอสุจิ นิยมสกัดเปน 2 ขั้นตอน ซึ่งจะสกัดแยกเอาดีเอ็นเอของเซลลเย่ือบุชองคลอดของเพศหญิงออกกอน แลวจึงสกัดเอาดีเอ็นเอของเซลลอสุจิ โดยอาศัยหลักการคือ บริเวณสวนหัวของเซลลอสุจิมีเยื่อหุมเซลลที่แข็งแรงกวาเซลลเย่ือบุชองคลอด เน่ืองจากโปรตีนในเยื่อหุมเซลลบริเวณหัวของเซลลอสุจิมีองคประกอบกรดอะมิโนเปนชนิดซิสเทอีน ( Cysteine ) อยูมาก ภายในโมเลกุลของซิสเทอีนมีธาตุซัลเฟอร ซึ่งสามารถสรางพันธะไดซัลไฟต ซึ่งเปนพันธะที่แข็งแรงไมถูกทําลายดวยความรอนและน้ําไดโดยงาย จึงสามารถใชเอนไซมเฉพาะ เชน Dithiothreitol ( DTT ) มายอยในภายหลังทําใหสามารถแยกการสกัดตัวอยางเดียวกันออกเปน 2 ขั้นตอนได แตตองระวังตัวอยางที่เส่ือมสภาพหรือเกาแลวเพราะอาจจะไดดีเอ็นเอของเซลลเย่ือบุชอง

Page 30: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

คลอดและเซลลอสุจิปะปนกันได เน่ืองจากเยื่อหุมเซลลของเซลลทั้งสองอาจแตกและมีการปะปนของดีเอ็นเอต้ังแตกอนจะทําการสกัดแลว

ในการตรวจรางกายของผูเสียหายเพื่อตรวจดูรองรอยหรือคราบอสุจิที่หลงเหลืออยูภายในชองคลอดของเพศหญิงนั้น แพทยจะใชไมพันสําลีที่ผานการฆาเชื้อโรคแลวมาเช็ดคราบเปอนรอบปากมดลูก โดยเฉพาะอยางยิ่งบริเวณซอกลึกรอบปากมดลูก ซึ่งเปนบริเวณท่ีมีโอกาสพบคราบอสุจิไดมากที่สุดและนําไปตรวจสอบภายใตกลองจุลทรรศนในเบ้ืองตนวามีเซลลอสุจิหรือไม ถาพบเซลลอสุจิที่ยังเคล่ือนไหวอยูก็จะสามารถประมาณเวลาการรวมเพศไดวาอาจจะไมเกิน 6 ชั่วโมง เซลลอสุจิสามารถถูกตรวจพบในปากไดภายใน 12 ชั่วโมง และพบในชองคลอดไดภายใน 72 ชั่วโมงหลังการรวมเพศ ซึ่งถาเวลาเกินกวานี้โอกาสที่จะไดพบเซลลอสุจิจะเปนไปไดยากขึ้น

Page 31: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

เลือดมนุษย ( HumanBlood ) เลือดเปนเนื้อยึดตอชนิดพิเศษชนิดหนึ่งของรางกายมนุษย มีสภาพเปนของเหลว อยูภายในหลอดเลือดที่กระจายอยูทั่วรางกายโดยมีหัวใจทําหนาที่เปรียบเสมือนเครื่องอัดฉีดใหเลือดสามารถไหลไปตามหลอดเลือดตาง ๆ อยางทั่วถึง องคประกอบของเลือด ( Blood Composition ) หากนําเลือดมาปนเหว่ียงดวยความเร็วสูงเพ่ือใหเกิดการตกตะกอน จะพบวาเลือดสามารถแยกตัวเปนชั้นตาง ๆ ได 3 ชั้น คือ 1. ชั้นของเซลลเม็ดเลือดแดง ( Layer of Red Blood Cells ) เปนชั้นลางสุดมีสีแดง คิดปริมาณไดประมาณรอยละ 45 2. ชั้นของเซลลเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด ( Layer of White Blood Cells and Platelets ) เปนชั้นกลาง มีสีขาว เรียกวาบัฟฟโคท ( Buffy coat ) คิดปริมาณไดนอยกวารอยละ 1 3. ชั้นพลาสมา ( Layer of Plasma ) เปนชั้นบนสุด เปนชั้นของเหลว มีสีใส คิดเปนประมาณไดประมาณรอยละ 55 เซลลเม็ดเลือดแดง ( Red Blood Cells หรือ Erythrocytes ) เซลลเม็ดเลือดแดง ( Red blood cells หรือ Erythrocytes ) เปนเซลลที่มีขนาดเล็ก มีขนาดเสนผานศูนยกลาง 7.5 ไมโครเมตร เซลลมีรูปรางกลม แบนและมีสวนกลางเวาเขาหากันทั้ง 2 ดาน ทําใหมีการอธิบายลักษณะของเซลลไววาคลายกับโดนัทขนาดเล็ก เซลลเม็ดเลือดเปนเซลลที่ไมมีทั้งนิวเคลียสและออรแกเนลภายในเซลล ภายในเซลลมีโปรตีนโกลบิน ( Globin ) ที่จับอยูกับฮีม ( Heme pigment ) ที่มีโมเลกุลของเหล็กเปนแกนกลางจึงเรียกวา ฮีโมโกลบิน ( Hemoglobin ) ทําหนาที่จับออกซิเจนและนําไปปลอยใหกับเซลลและเน้ือเยื่อท่ัวรางกาย เซลลเม็ดเลือดแดงที่จับออกซิเจนแลวจะมีสีแดงสดและเมื่อปลอยออกซิเจนออกไปจะมีคารบอนไดออกไซดเขามาจับแทนที่ซึ่งจะทําใหเซลลเม็ดเลือดแดงมีสีแดงคล้ํา คารบอนไดออกไซดที่จับอยูกับเซลลเม็ดเลือดแดงจะถูกลําเลียงไปปลอยที่ปอดเพ่ือระบายออกนอกรางกาย จํานวนเซลลเม็ดเลือดแดงที่พบภายในเลือดของผูหญิงและผูชายจะไมเทากัน ผูหญิงจะมี่จํานวนเซลลเม็ดเลือดแดง 4.3 – 5.2 ลานเซลลตอ 1 ไมโครลิตร ขณะท่ีผูชายจะมีจํานวนเซลลเม็ดเลือดแดง 5.1 – 5.8 ลานเซลลตอ 1 ไมโครลิตร แหลงกําเนิดเซลลเม็ดเลือดแดงอยูที่ไขกระดูก ( Red bone marrow ) กระบวนการสรางเซลลเม็ดเลือดแดงเรียกวาอีริโธพออิซิส ( ERYTHROPOISIS ) จะใชเวลาประมาณ 15 วัน และเมื่อสรางเสร็จแลวเซลลเม็ดเลือดแดงจะมีอายุอยู 100 – 120 วัน จึงจะถูกทําลายที่มาม

Page 32: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

เซลลเม็ดเลือดขาว ( White Blood Cells หรือ Leukocytes ) เซลลเม็ดเลือดขาวเปนเซลลเม็ดเลือดอีกประเภทที่พบปะปนอยูกับเม็ดเลือดแดง คือมีอยูประมาณ 4,800 – 10,800 เซลลตอเลือด 1 ไมโครลิตร เซลลเม็ดเลือดขาวทําหนาที่เปนภูมิคุมกันใหกับรางกายซึ่งจะคอยกําจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมรวมทั้งเซลลรางกายที่ตายลง ลักษณะอีกประการของเซลลเม็ดเลือดขาวคือ เซลลมีแขนงขนาดเล็กหลายแขนงยื่นออกมารอบเซลลจึงทําใหเซลลสามารถเคลื่อนที่ไดซึ่งเปนประโยชนตอการเขาจับกินเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมตาง ๆ เซลลเม็ดเลือดขาวสามารถแทรกตัวออกมาจากหลอดเลือดและกระจายตัวอยูในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วรางกายได ในกรณีที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นเซลลตนกําเนิดของเม็ดเลือดจะแบงตัวเพ่ิมจํานวนเซลลเม็ดเลือดขาวขึ้นอยางรวดเร็วซึ่งอาจถึง 11,000 เซลลตอเลือด 1 ไมโครลิตรได เซลลเม็ดเลือดขาวแบงออกไดเปน 2 กลุมคอื 1. แกรนูโลไซท ( granulocytes ) เปนเซลลเม็ดเลือดขาวที่มีแกรนูลบรรจุอยู

1.1. นิวโตรฟวล ( neutrophil ) หรือ โพลีมอรโฟนิวเคลียส หรือเรียกวา PMN ในไซโตรพลาสซึม บรรจุดวยแกรนูล ภายในแกรนูลมีเอนไซมยอยโปรตีนหลายชนิด ทําหนาที่จับกินส่ิงแปลกปลอม และเชื้อโรค เอาไวโดยวิธี ฟาโกไซโตซิส แลวนําไปยอยภายในเซลล หลังจากกินส่ิงแปลกปลอมเขาไปแลวนิวโตรฟลลก็จะตายไป

1.2. อิโอซิโนฟลล ( Eosinophil ) ในไซโตพลาสซึมบรรจุแกรนูลขนาดใหญบรรจุน้ํายอยหลายชนิด

หนาที่สําคัญคือตอตานการติดเชื้อปรสิต ไดแก หนอนพยาธิชนิดตางๆ โดยการลอมรอบและปลอยน้ํายอยออกมาสลายปรสิตที่มีขนาดใหญเกินกวาที่รางกายจะกําจัดดวยวิธีฟาโกไซโตซิสได นอกจากนั้นยังมีบทบาทชวยลดความรุนแรงของการเกิดภูมิแพได

Page 33: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

1.3. เบโซฟลล ( basophil ) ในไซโตพลาสซึมบรรจุเม็ดแกรนูลขนาดใหญ ที่บรรจุสารฮีสตามีน ( Histamine ) ไว หนาที่สําคัญของเบโซฟลลคือปลอยสารฮีสตามีนและสารอื่นๆ ออกมาในบริเวณที่มีการอักเสบ ซึ่งจะดูดเซลลเม็ดเลือดขาวชนิดอื่น ๆ ใหมาชวยกําจัดส่ิงแปลกปลอมในบริเวณนั้น

2. อะแกรนูโลไซท ( agranulocyte ) เปนเม็ดเลือดขาวที่ไมมีเม็ดแกรนูโลไซทบรรจุอยูในไซโตพลาสซึม

3.1. โมโนไซท ( Monocyte ) เปนเซลลเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญที่สุด มีหนาที่สําคัญคือ การจับกินเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อไวรัส โดยวิธีฟาโกไซโตซิสเอาสิ่งแปลกปลอมเขาไปยอยภายในเซลล นอกจากนี้ยังสามารถกําจัดเชื้อปาราสิต และ แบคทีเรียบางชนิดและเชื้อโรคในการติดเชื้อเรื้อรังอีกดวย

3.2. ลิมโฟไซท ( lymphocyte ) มีหนาที่เกี่ยวของกับการสรางภูมิคุมกันใหกับรางกาย เมื่อรางการถูก

รุกรานจากเชื้อโรค สวนมากจะอยูในอวัยวะน้ําเหลืองแบงได 2 ชนิดตามหนาที่การทํางาน คอื - T - cell ทําหนาที่กําจัดเซลลติดเชื้อไวรัสและเซลลมะเร็ง - B – cell ทําหนาที่สราง antibody ตอส่ิงแปลกปลอม

เกล็ดเลือด ( Platelets ) เกล็ดเลือดเปนส่ิงที่ไมใชเซลลที่ลองลอยไปกับกระแสเลือด ภายในบรรจุแกรนูลท่ีมีสาระสําคัญหลายชนิดที่เกี่ยวของกับการแข็งตัวของเลือด เชน ซีโรโตนินแคลเซียมอิออน หนาที่ของเกล็ดเลือดคือชวยใหเลือดแข็งตัวเพ่ืออุดรอยรั่วที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือด เกล็ดเลือดมีอยู 150000 - 400000 ชิ้นตอเลือด 1 ไมโครลิตร โดยใชเวลาการสราง 4 - 5 วันและหลังจากสรางจะมีอายุ 5 – 10 วัน

Page 34: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

กลุมเลือดของมนุษย ( Human Blood Group ) กระทําโดยแบงและเรียกชื่อตามชนิดของโปรตีนหรือแอนติเจนที่ปรากฏอยูบนผิวของเซลลเม็ดเลือดแดง จัดแบงเปน 2ระบบ คือ 1. ระบบกลุมเลือดเอบีโอ ( ABO Blood Group )

1.1. กลุมเลือดเอ (A) ที่ผิวเม็ดเลือดแดงจะมีแอนติเจนชนิดเอ สวนในน้ําเลือดมีแอนติบอดีชนิดบี 1.2. กลุมเลือดบี (B) ที่ผิวเม็ดเลือดแดงจะมีแอนติเจนชนิดบี สวนในน้ําเลือดมีแอนติบอดีชนิดเอ 1.3. กลุมเลือดเอบี (AB) ที่ผิวเม็ดเลือดแดงจะมีทั้งแอนติเจนชนิดเอ และ บี สวนภายในน้ําเลือดไมมี

แอนติบอดีของโปรตีนทั้งสองชนิด 1.4. กลุมเลือดโอ (O) ที่ผิวเม็ดเลือดแดงจะไมมีทั้งแอนติเจนชนิดเอ และบี สวนในน้ําเลือดมีแอนติบอดี

ทั้งมีกลุม

Page 35: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

2. ระบบกลุมเลือด อารเอช ( Rh Blood group ) กลุมเลือดในระบบนี้ โปรตีนหรือแอนติเจนที่ปรากฏบนผิวของเซลลเม็ดเลือดแดงมีสามชนิด คือ โปรตีนซี ดี และ อี โดยปกติในน้ําเลือดจะไมมีแอนติบอดีตอตานโปรตีนทั้งสาม ในการวินิจฉัยกลุมเลือดนี้นั้นจะทําการตรวจหาแอนติเจนชนิดดี เทานั้น ถามีจัดเปนกลุม Rh บวก แตถาไมมีจัดเปนกลุม Rh ลบ ถาเม็ดเลือดแดงของผูใหกับผูรับ Rh ไมตรงกันรางกายของผูรับจะสรางแอนติบอดีตอกลุมเลือดใหม การทําลายเม็ดเลือดแดงที่รับเขามาใหมจะยังไมเกิดขึ้นในการรับเลือดครั้งแรก แตจะเกิดขึ้นในทันทีที่รางกายไดรับเลือดที่มีอารเอชไมเหมือนกันในครั้งตอไป การไหลเวียนเลือดในรางกายมนุษย ( Circulation system ) เลือดเกือบทั้งหมดในรางกายมนุษยไหลเวียนอยูภายในหัวใจและหลอดเลือด โดยหัวใจทําหนาที่สูบฉีดใหเลือดไหลไปตามหลอดเลือดแดงเพี่อเล้ียงเซลลและเนื้อเยื่อทั่วรางกาย หลังจากที่สารอาหารและออกซิเจนภายในหลอดเลือดแดงถูกใชแลว เลือดจะไหลเขาสูหลอดเลือดดําเพ่ือไหลเวียนกลับสูหัวใจ กอนที่หัวใจจะสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดแดงเพื่อเล้ียงเซลลและเนื้อเยื่อท่ัวรางกายอีกครั้ง เลือดดําจะถูกฉีดออกใหไหลจากหัวใจไปเพิ่มออกซิเจนที่ปอด การไหลเวียนจะเกิดขึ้นเชนนี้ไปชั่วอายุ

Page 36: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

โครงสรางและการทํางานของอวัยวะในระบบไหลเวียน 1. หัวใจ ( Heart ) มีสวนประกอบสําคัญคือ

1.1. เย่ือหุมหัวใจ มีลักษระเปนถุงเรียกวา Pericardium ประกอบดวยเยื่อหุมสองชั้น - ชั้นไฟบรัส ( Fibrous pericardium ) หอหุมอยูชั้นนอก - ชั้นซีรัส ( Serous pericadium ) ประกอบดวนชั้นยอยอีกสองชั้น และมีชองวางระหวางชั้นเรียกวา Pericardial cavity 1.2. ผนังหัวใจ ( Heart Wall ) ประกอบดวยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น - ชั้น Epicardium เปนชั้นที่อยูนอกสุด เน้ือเย่ือมีไขมันสะสมอยู - ชั้น Myocardium เปนชั้นกลาง มีความหนามากที่สุด เปนชั้นที่มีความสําคัญตอการหดและคลายตัวของหัวใจ - ชั้น Endocardium เปนชั้นที่อยูในสุด เปนเนื้อเย่ือเกี่ยวพันบางๆ ที่ปกคลุมดานในของไมโอคารเดียม เละ ล้ินหัวใจ 1.3. หองหัวใจ ( Heart Chamber ) แบงออกเปน 4 หอง - หองบน เรียกวา Atrium มี 2 หอง คือ Right atrium และ Left atrium - หองลาง เรียกวา Ventrical ม ี2 หอง คือ เวนตริเคิลขวาและเวนตริเคิลซาย การหดและคลายตัวของหัวใจถูกควบคุมดวยกระแสไฟฟาของหัวใจ โดยมีจุดกําเนิดไฟฟา ( Pacemakers ) 2 แหง คือ จุดไซโนเอเตรียล ( Sinoatrial node ) หรือจุดเอสเอ ( SA node ) ซึ่งอยูที่ผนังของเอเตรียมขวาติดทางเขาของหลอดเลือดดําซุปพีเรียเวนาคาวา ( Superior vena cava ) และจุดเอตริโอเวนตริคูเลอร ( Atriventricular node ) หรือจุดเอวี ( AV node ) ซึ่งอยูในผนังอินเตอรเอเตรียลเซพตัมติดกับล้ินไตรคันปด

Page 37: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

1.4. ล้ินหัวใจ ( Heart Value ) ล้ินหัวใจทําหนาที่กั้นและปลดปลอยใหเลือดไหลผานระหวางหัวใจหองเอเตรียมและเวนตริเคิลในซีกเดียวกัน และกั้นระหวางหัวใจหองเวนตริเคิลกับหลอดเลือดขนาดใหญ ล้ินหัวใจมี 4 ชนิดคือ

- ล้ินหัวใจไตรคัสปด ( Tricuspid value ) กั้นระหวางหัวใจหองบนขวาและลางขวา มีลักษณะเปนแผนแบน 3 แผน

- ล้ินหัวใจไบคัสปด ( Bicuspid Value และ Mitral value ) กั้นระหวางหัวใจหองบนซายและลางซาย มีลักษณะเปนแผนแบน 2 แผน

- ล้ินหัวใจพัลโมนารี ( Pulmonary หรือ Pulmonic value ) กั้นระหวางหัวใจหองลางขวาและหลอดเลือด Pulmonary artery ที่นําเลือดไปปอดมีละกษณะเปนถวยเล็ก ๆ รูปพระจันทรครี่งเส้ียว

- ล้ินหัวใจเอออรติก ( Aortic value ) กั้นระหวางหัวใจหองลางซายและหลอดเลือดเอออรตา ( Aorta ) ทีน่ําเลือดไปเลี้ยงทั่วรางกาย มีลักษณะเปนถวยเล็ก ๆ รูปพระจันทรครึ่งเส้ียว

1.5. การเตนของหัวใจ ( Heart Beat ) การเตนของหวัใจแตละครั้งประกอบดวยการบีบตัวของหัวใจเรียกวาซิสโทล ( Systole ) และการคลายตัวของหัวใจเรียกวาไดแอสโทล ( Diastole ) อัตราการเตนของชีพจรปกติอยูระหวาง 50-100ครั้งตอนาที โดยที่อัตราการเตนของหัวใจขึ้นอยูกับหลายปจจัย เชน ขนาดตัว เพศ อายุ ความเครียด และการออกกําลังกาย เปนตน 1.6. การไหลเวียนเลือดของหัวใจ ( Blood Circulation in the Heart )

- หัวใจหองลางซาย ( Left ventricle ) บีบฉีดเลือดผานล้ินเอออรติกไปยังหลอดเลือดแดงใหญเอออรตา ( Aorta ) แลวสงเลือดตอไปยังหลอดเลือด ซึ่งในหลอดเลือดแดงดังกลาวจะอุดมไปดวยสารอาหารและออกซิเจน ซึ่งจะนําไปแลกเปลี่ยนใหกับเนื้อเยื่อตาง ๆ ทั่วรางกาย

- เมื่อเลือดสูญเสียออกซิเจนใหกับเนื้อเยื่อจะกลายเปนเลือดดํา ซึ่งจะไหลยอนกลับเขาสูหลอดเลือดดําขนาดกลาง ตอไปที่หลอดเลือดดําใหญ และเขาสูหัวใจหองบนขวา ( Right atrium )

- เลือดดําจากหัวใจหองบนขวาไหลผานล้ินไตรคัสปดเขาสูหัวใจหองลางขวา ( Right ventricle )

- หัวใจหองลางขวาบีบตัวดันเลือดผานล้ินพัลโมนารีเขาสูหลอดเลือดพัลโมนารี ( Pulmonary arteries ) ไปยังปอดเพื่อฟอกเลือด ( เพ่ิมออกซิเจน )

- เลือดที่ฟอกแลวจะไหลจากปอดผานทางหลอดเลือด Pulmonary veins กลับเขาหัวใจหองบนซาย ( Left atrium )

- เลือดจากหัวใจหองบนซายไหลผานล้ินไบคัสปดสูหัวใจหองลางซาย ( Left ventricle )

Page 38: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

2. หลอดเลือด ( Blood Vessles ) มีสวนประกอบสําคัญ คือ 2.1. หลอดเลือดแดง ( Arteries ) คือ หลอดเลือดที่นําเลือดออกจากหัวใจ จะมีผนังหนาเพื่อรับกับความ

ดันของเลือดที่ผานภายในหลอดเลือดทุกครั้งที่หัวใจบีบตัว หลอดเลือดใหญที่สุดคือ Aorta ซึ่งออกจากหัวใจแลวแตกแขนงออกเปนหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กลงตามลําดับ

2.2. หลอดเลือดฝอย ( Capillaries ) หลอดเลือดฝอยนําเลือดจาก arteriole ไปสูหลอดเลือดดําขนาดเล็ก หลอดเลือดฝอยจะมีผนังบางมากประกอบดวย endothelial cell ชั้นเดียว

2.3. หลอดเลือดดํา ( Veins ) คือ หลอดเลือดที่จะนําเลือดจาก capillaries รวบรวมไปสูหัวใจ โดยเริ่มจากหลอดเลือดดํายอย ( Venules ) รวมกันเปนหลอดเลือดดําขนาดเล็กและใหญตามลําดับ

2.4. Sinusoids เปนหลอดเลือดที่คลายหลอดเลือดฝอยพบอยูในอวัยวะหลายแหง เชน ตับและมาม เปนสวนตอระหวางปลายของหลอดเลือดชนิดเดียวกันหรือระหวางปลายของ arteries กับ veins

การประยุกตเชิงนิติวิทยาศาสตร ( Application in Forensic Science ) เลือดเปนหลักฐานทางชีวภาพที่พบในท่ีเกิดเหตุไดบอย ๆ เน่ืองจากเลือดมีอยูทั่วทุกแหงของรางกายมนุษย การเกิดเหตุปะทะโดยใชกําลังและการใชอาวุธเปนสาเหตุที่ทําใหคูกรณีเกิดการบาดเจ็บและสูญเสียเลือด รองรอยคราบเลือดที่ปรากฏในที่เกิดเหตุสามารถใชบอกถึงพฤติกรรมขณะกอเหตุ ตําแหนงที่อยูของบุคคลขณะกอเหตุ อาวุธที่ใชกอเหตุ จํานวนคนที่อยูในที่เกิดเหตุและอ่ืนๆ โดยอาศัยทักษะการสังเกตและใชเหตุผลทางฟสิกสประกอบการอธิบายศาสตรที่วาดวยการวิเคราะหลักษณะคราบเลือดที่ปรากฏในที่เกิดเหตุ เพ่ือใชอธิบายเหตุการณขณะเกิดเหตุเรียกวา Blood pattern analysis ซึ่งสามารถนําไปสูการตั้งสมมุติฐานของเหตุการณที่เกิดขึ้น เพ่ือต้ังขอหาตอผูกระทําผิดได แตการจะจับกุมตัวผูกระทําผิดมาลงโทษตามกฎหมายนั้นจะตองมีการพิสูจนคราบเลือดดวยวิธีการทางชีวภาพ การพิสูจนคราบเลือดมีหลักการดังนี้

Page 39: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

1. การตรวจวาเปนคราบเลือดหรือไม การตรวจเบื้องตนกอนวาเปนคราบเลือดไมใชคราบสนิมหรือสีทําโดยใช Color test เชน Kastle-Meyer color (KM) test โดยมีหลักการคือ หยดสารละลาย Phenolphthalein และ Hydrogen peroxide เพ่ือไปทําปฏิกิริยากับฮีโมโกบิน ( Haemoglobin ) และทําใหเกิดการเปลี่ยนสีเปนสีชมพู แตตองพึงระวังการเกิด False positive เพราะสารที่ใชตรวจสอบสามารถเกิดปฏิกิริยากับสารชนิดอื่น ๆ ได เชน สารที่อยูในมันฝรั่ง การยืนยันการตรวจสอบสามารถทําไดโดยทดสอบอีกวิธีหน่ึงเพ่ือยืนยัน เชน Leucomalachite green (LMG) test ซึ่งเปนวิธีการทดสอบจะคลายกับ KM test คือหยด Hydrogen peroxide ลงไปในคราบตองสงสัย ถาเปนคราบเลือดก็จะเกิดเปนสีเขียวขึ้น ลิวโคมาลาไคทกรีน ( Leucomalachite green ) หรือ แอลเอ็มจี (LMG) หรือ 4,4’-benzylidenebis ( N,N-dimethylaniline ) เปนสารละลายใส ไมมีสี มีสูตรโครงสรางทางเคมี คือ C23H2626N2 มีหลักการทดสอบคือฮีมที่อยูในฮีโมโกลบินภายในเลือดทําปฏิกิริยาคาตาไลสกับสารไฮโดรเจนเปอรออกไซด ( Hydrogen peroxide, H2O2 ) ไดเปนผลผลิตเปนกลุมไฮดรอกซิล ( Hydroxyl group, OH- ) จาํนวน 2 กลุม กลุมไฮดรอกซิลจะไปจับกับอะตอมไฮโดรเจนในลิวโคมาลาไคทกรีนทําใหโมเลกุลของลิวโคมาลาไคทกรีนสูญเสียอะตอมไฮโดรเจนและเกิดการเปลี่ยนโครงสรางทางเคมีกลายเปนสารใหมที่ชื่อวามาลาไคทกรีน ( Malachite green ) ซึ่งมีสีเขียว 2. การตรวจหารอยเลือด ในกรณีที่เกิดเหตุเปนบริเวณท่ีกวางการระบุตําแหนงของคราบเลือดสามารถทําโดยฉีดพนสารลูมินอล ( Luminol test ) ไปในบริเวณตองสงสัย ลูมินอลเปนสารเรืองแสงสามารถจับกับโมเลกุลของเหล็กที่อยูภายในฮีโมโกลบินแลวจะปลอยแสงสีน้ําเงินออกมาได ขอจํากัดของวิธีนี้ คือ จะตองทําในที่มืด จึงจะเห็นแสงที่เกิดขึ้นได 3. การตรวจวาเปนเลือดของมนุษยหรือสัตว ทําไดโดยใช Precipitin test หลักการคือ หยดซีรัมของสัตว เชน กระตาย ซึ่งไดจากการฉีดวัคซีน ( Immunization ) ใหเกิดแอนติบอดีตอเลือดมนุษยลงไปบนคราบเลือดตองสงสัย ถามีปฏิกิริยาหรือเกิดจับกันเปนตะกอนขึ้นมา ( Precipitation ) แสดงวาเปนเลือดของมนุษย 4. การตรวจกลุมเลือดวาเปนชนิดใด เปนการทําเพ่ือจําแนกบุคคลตองสงสัยออกจากผูบริสุทธิ์ในเบ้ืองตน ( Screening ) กอนที่จะทําการตรวจชนิดของดีเอ็นเอของคราบเลือดตองสงสัยตอไป ดวยเหตุวากลุมเลือดมี 4 ชนิด ดังนั้นแตละชนิดจึงสามารถพบซ้ํากันไดในมนุษย การตรวจกลุมเลือดจะชวยประหยัดงบประมาณในการตรวจชนิดของดีเอ็นเอ คือ สามารถลดจํานวนตัวอยางที่จะตองนําเขาสูการตรวจชนิดของดีเอ็นเอที่มีราคาแพงได มนุษยแตละคนมีกลุมเลือดเฉพาะตัว ดังนั้นการตรวจหากลุมเลือดจากตัวอยางเลือดที่ไดจากที่เกิดเหตุ ตัวผูสงสัย หรือตัวเหย่ือ จึงสามารถใชระบุตัวบุคคลที่กระทําผิดไดในระดับหนึ่ง มีรายงานวาในชนชาติอเมริกันกลุมเลือดโอมีโอกาสพบมากที่สุด คือ ประมาณรอยละ 43 กลุมเลือดเอประมาณรอยละ 39 กลุมเลือดบีประมาณรอยละ 13 และกลุมเลือดเอบีประมาณรอยละ 5 ของประชากรทั้งหมด สวนในประชากรอังกฤษกลุมเลือดโอมีโอกาสพบมากที่สุด คือประมาณรอยละ 47 กลุมเลือดเอประมาณรอยละ 42 กลุมเลือดบีประมาณรอยละ 8 และกลุมเลือดเอบีประมาณรอยละ 3 ของประชากรทั้งหมด สวนประชากรประเทศไทยกลุมเลือดโอมีโอกาสพบมากที่สุด คือประมาณรอยละ 37 กลุมเลือดเอประมาณรอยละ 22 กลุมเลือดบีประมาณรอยละ 33 และกลุมเลือดเอบีประมาณรอยละ 8 ของประชากรทั้งหมด การตรวจกลุมเลือดอารเอชรวมดวยก็จะย่ิงชวยใหความนาเชื่อถือเพ่ิมขึ้น

Page 40: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

5. การตรวจชนิดของโปรตีนชนิดอ่ืนๆ ในนํ้าเลือด โปรตีนที่นิยมหา ไดแก Haptoglobin-2 และ PGM-2 ซึ่งแตละคนจะมีโปรตีนเหลานี้ตางชนิดกัน การตรวจชนิดของโปรตีนเหลานี้จะชวยเพ่ิมความจําเพาะของเลือดตอบุคคลมากยิ่งขึ้น ยิ่งใชประกอบกับชนิดของกลุมเลือดที่ตรวจพบดวยแลวก็จะทําใหขอมูลมีความนาเชื่อถือมากขึ้น 6. การตรวจหาชนิดของดีเอ็นเอ การตรวจหาชนิดของดีเอ็นเอจากคราบเลือดตองสงสัยเปนวิธีที่นิยมและเปนที่ยอมรับอยางมากในการระบุตัวผูกระทําผิด วิธีการนี้ทําโดยตรวจชนิดของดีเอ็นเอภายในนิวเคลียสของเซลลเม็ดเลือดขาวของคราบเลือดจากที่เกิดเหตุแลวนําไปเปรียบเทียบกับชนิดของดีเอ็นเอจากกระพุงแกมหรือท่ีอื่นใดของผูตองสงสัยวาเปนชนิดเดียวกันหรือไม ซึ่งถาหากวาตรงกันก็จะเปนหลักฐานสําคัญที่จะมัดตัวผูกระทําผิด

Page 41: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

กรณีศึกษา 1. Dudley Friar ( ดัดลีย ฟรายอาร ) เชาวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1990 มีผูพบราง หลุยส คาแพลน ชางภาพแฟชั่น วัย 34 ป ในถังขยะบนถนน ระหวางโรงแรมสองแหงกลางเมืองแมนฮัตตัน ซึ่งมีรองรอยการถูกขมขืนอยางชัดเจนและยังพบรอยขีดขวน บริเวณตนขา แพทยผูตรวจระบุวาพบคราบเชื้ออสุจิเปนปริมาณมาก คาแพลนเสียชีวิตจากการถูกบีบคอ และเปนอาชญากรรมครั้งที่สาม ที่มีลักษณะคลายคลึงกันภายในชวงเวลา 23 วัน รถยนตของคาแพลนจอดทิ้งไวหางจากที่เกิดเหตุ 45 เมตร มส่ิีงบอกเหตุวามีการตอสูภายในรถยนต มีรองรอยวาที่เบาะนั่งดานหลังมีใครบางคนนั่งอยู คาแพลนพยายามหนีออกจากรถแตคงถูกจับตัวไดและมีการตอสูกัน ตํารวจไดรับขอมูลลายพิมพดีเอ็นเอของเหยื่อท่ีถูกขมขืนสองรายกอนหนานี้ ซึ่งชี้วานาจะเปนฆาตกรคนเดียวกันแตดวยเหตุผลไมสามารถอธิบายได การวิเคราะหคราบอสุจิบนรางของคาแพลนไมประสบความสําเร็จ อยางไรก็ตามในกองขยะที่สถานที่เกิดเหตุ เจาหนาที่พบกระดาษเช็ดหนาถูกขยําเปนรอยยับอยูชิ้นหนึ่งมีรอยเปอนของน้ํามูก เมื่อตรวจดูดวยกลองจุลทรรศน พบเซลลเม็ดเลือดขาวจํานวนมาก ซึ่งใชในการตรวจหาลายพิมพดีเอ็นเอไดอยางดีที่สุด จากการวิเคราะหดีเอ็นเอที่กระดาษตรงกับดีเอ็นเอของคราบอสุจิจากเหยื่อสองรายกอนหนานี้ จากการที่ตํารวจคนอยางละเอียดในรถของคาแพลน พบวา บนพรมท่ีนั่งดานหลังมีรอยฝุนเปนรูปสนเทาอยางชัดเจน ตรงรอยแยกของเบาะนั่งดานหลังพบเสนใย สีน้ําเงินเขมจํานวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบรูเล็กๆที่นวมบุหลังคารถคลายรอยเข็มเจาะ หลังจากนั้นไมกี่วันตํารวจจับขโมยได รายงานวารอยรองเทาที่พบในท่ีเกิดเหตุนั้นเคยถูกพบที่รานสุราซึ่งโจรไดเขาไปขโมยสิ่งของ เจาหนาที่ตํารวจเลาวาเคยเห็นของบางอยางคลายเข็มแทงมากอน มันเปนรอยพิมพหรือรอยกดของเครื่องหมายบนหมวก ลักษณะเดนชัดของเครื่องหมายดูคลายกับเครื่องแบบของเจาหนาที่รักษาความปลอดภยั ทําใหคิดวาเสนใยขนสัตวผสมโพลีเอสเตอรสีน้ําเงินเขมนาจะมาจากเครื่องแบบของเจาหนาที่รักษาความปลอดภัย ภายหลังจากนั้นสองวัน บริษัทผูผลิตส่ิงทอในเมืองบรองซ ไดใหขอมูลของใยสังเคราะหที่ตรงกันและบอกชื่อบริษัท ซึ่งมีเพียงสามบริษัทในนิวยอรกเทานั้นที่ซื้อผาล็อตนี้ไป จากภาพถายวีดีโอในรานสุราตํารวจจับกุมผูตองสงสัยไดสามราย ทั้งหมดยินยอมใหใชไมพันสําลีปายน้ํามูกในรูจมูก ซึ่งตอมาถูกสงไปตรวจดีเอ็นเอและก็พบวามีผูตองสงสัยรายหน่ึงตรงกับลายพิมพดีเอ็นเอ ที่มาจากสถานที่เกิดเหตุฆาตกรรม ผูตองสงสัยรายนี้ คือ ดัดลีย ฟรายอาร เขาทํางานเปนเจาหนาที่รักษาความปลอดภัยชวงกลางคืนใหกับโรงแรมและบางโอกาสก็แสดงเปนตัวตลกตามงานปารตี้ เขาอายุ 29 ป มีประวัติในเรื่องการลักเล็กขโมยนอยและชอบกอความรุนแรง จากหลักฐานที่ปรากฏเขาไดรับสารภาพและถูกจําคุกตลอดชีวิตจากคดีที่กอขึ้น สรุป จากคดีขมขืนแลวฆาชางภาพแฟชั่นที่เมืองแมนฮัตตัน สภาพศพของผูตายพบรองรอยการถูกขมขืนมีคราบเชื้ออสุจิติดอยู สภาพแวดลอมทั่ว ๆ ไป พบรองรอยการตอสู และเจาหนาที่ยังพบกระดาษเช็ดหนาซึ่งมีรอยเปอนของน้ํามูกติดอยูและยังพบเสนใยขนสัตวผสมโพลีเอสเตอร จากการตรวจเสนใยจึงสามารถคนหาผูตองสงสัยได 3 ราย และการตรวจ DNA จากคราบอสุจิไมสําเร็จ จึงตรวจจากจากน้ํามูกและพบวาตรงกับผูตองสงสัยจึงสามารถที่จะชี้ชัดไดวาใครเปนผูกระทําผิด

Page 42: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

2. แอนเดรียส ชลีเชอร มีผูแจงวา มารกาเร็ต ฟลเบิรต หายตัวไปตั้งแตวันที่ 29 พฤษภาคม 1908 ขณะที่ออกไปเดินเลนยามบายในหุบเขาฟอลเกนสไตนทางตอนใตของแควนบาวาเรีย ในเยอรมัน และไมกลับมาอีกเลย วันตอมามีผูพบรางของเธอโดยไมมีสวนของศีรษะอยูในปา ในตอนแรกตํารวจเขาใจวาเธอเปนเหย่ือของการขมขืน เน่ืองจากศพของเธออยูในสภาพนอนหงาย กระโปรงตัวนอกและกระโปรงชั้นในถูกถลกขึ้นไปดานบน แตจากกการชันสูตรศพ พบวาไมมีการขมขืน นอกจากนี้เส้ือผาของเธอมีรองรอยวาถูกลากขาผานตนไมเต้ียๆ พยาธิแพทยผูชันสูตรศพเธอไดใหความเห็นวาเธอถูกบีบคอ และตัดคอดวยมีด ในมือของเธอมีเสนผมหลายเสน ผูมีหนาที่รับผิดชอบไดมาปรึกษา จอรจ ปอปป นักวิเคราะหเคมีชาวแฟรงคเฟริต ซึ่งเคยทําคดีอาชญากรรมมาหลายคดี เขาไดรายละเอียดวาเสนผมที่พบในกํามือเปนเสนผมของผูหญิงซึ่งไมสามารถบอกไดวาเปนผมของเธอหรือไมเนื่องจากไมมีสวนของศีรษะและในชวงนี้ก็ไมมีการนําเทคโนโลยีดีเอ็นเอ มาใช ชาวนาในทองถ่ินชื่อ แอนเดรียส ชลีเชอร ตกเปนผูตองสงสัย เน่ืองจากเขามีชื่อเสียงวามีพฤติกรรมรุนแรง จากการตรวจพบวามีเลือดมนุษยติดอยูเส้ือผาของเขาและบริเวณใตเล็บ นอกจากนั้นยังมีพยานแวดลอมอื่น ๆ อีกแตก็ยังไมเพียงพอที่จะบอกวาเขาเปนฆาตกรได ตํารวจไดสงรองเทาของชลีเชอร ใหปอปปตรวจวิเคราะห เขาพบวาสนรองเทามีชิ้นดินซึ่งแสดงวาเขาไดไปในที่เกิดเหตุมา นอกจากนี้ยังพบเศษขนสัตวและเสนใยฝาย บางชิ้นสีมวงบางชิ้นสีน้ําตาลแดงซึ่งตรงกับวัสดุกระโปรงและกระโปรงชั้นในของเหยื่อ ปอปป ใชเครื่อง Spetrophoto - meter ทําการวิเคราะหสียอมที่เสนใยซึ่งพบวาลักษณะตรงกับสีที่ใชกับเส้ือผาของผูตาย ดวยหลักฐานชิ้นนี้จึงเพียงพอที่จะทําใหคณะลูกขุนเชื่อวา ชลีเชอร ไดกระทําผิดจริง สรุป จาคดีฆาตัดคอหญิงสาวชาวบาวาเรีย สภาพศพไมมีการขมขนืแตมีรองรอยการลากศพผานตนไมเต้ีย ๆ ทําใหมีรอยขีดขวนตามรางกาย ในมือของผูตายพบเสนผมของผูหญิงแตไมสามารถระบุไดวาเปนของใคร มีผูตองสงสัย 1 ราย ซึ่งมีพฤติกรรมรุนแรง และยังตรวจพบคราบเลือดติดอยูที่เส้ือผาและซอกเล็บของเขาและยังมีพยานแวดลอมอ่ืน ๆ อีกแตไมเพียงพอ ตํารวจจึงสงรองเทาของผูตองสงสัยใหนักวิเคราะหทางเคมีวิเคราะหดินจากรองเทาพบวาเปนดินบริเวณเดียวกับที่เกิดเหตุ และยังตรวจเศษขนสัตวและเสนใยฝายซึ่งตรงกับของผูตาย จึงสามารถชี้ชัดไดวาผูตองสงสัยกระทําผิดจริง

Page 43: นาย วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320 · 2013. 9. 26. · ลายพิ นิ้มพือ 14 วม ... ความร ใหานนฐานเหล

บรรณานุกรม

ชีววิทยาของมนุษยและการประยุกตเชิงนิติวทิยาศาสตร : ผศ.ดร.วราภรณ พรหมวิกร

นิติวทิยาศาสตร 2 : พ.ต.ท. หญิง ธรรมภรณ ธนวัฒนวงศธร อาจารย ( สบ 3 ) ภาควิชาวิทยาการตํารวจ กลุมงานวชิาการสืบสวนและสอบสวน กองบังคับการวิชาการ โรงเรียนนายรอยตํารวจ

กายวิภาคศาสตรของมนุษย Human Anatomy : วิไล ชินธเนศ , ธนัวา ตันสถิตย , มนตกานต ตนัสถิตย

Grant’s Dissector 13th Edition : Patrick W. Tank Director , Division of Anatomical Education Department of Neurobiology and Developmental Sciences University of Arkansas for Medical Sciences Little Rock , Arkansas

Mosby’s Servival Guide to Medical Abbreviations & Acronyms , Prefixes & Suffixes Symbols Greek Alphabet : Joe Bill Campbell , June M. Campbell