มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา...

68
มโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา นายพรเทพ สหชัยรุงเรือง วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปการศึกษา 2545 ISBN 974-17-1865-9 ลิขสิทธิ์ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

Upload: nsumato

Post on 15-Apr-2017

155 views

Category:

Science


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

มโนทัศนเร่ืองการเดินทางขามเวลา

นายพรเทพ สหชัยรุงเรือง

วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาปรัชญา ภาควิชาปรัชญา

คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยปการศึกษา 2545

ISBN 974-17-1865-9ลิขสิทธิ์ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

Page 2: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

THE CONCEPT OF TIME TRAVEL

Mr. Pornthep Sahachairungrueng

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirementsfor the Degree of Master of Arts in Philosophy

Department of PhilosophyFaculty of Arts

Chulalongkorn UniversityAcademic Year 2002ISBN 974-17-1865-9

Page 3: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

หัวขอวิทยานิพนธ มโนทัศนเร่ืองการเดินทางขามเวลาโดย นายพรเทพ สหชัยรุงเรืองสาขาวิชา ปรัชญาอาจารยที่ปรึกษา ผูชวยศาสตราจารย ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ

คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย อนุมัติใหนับวิทยานิพนธฉบับนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต

………………………………………….. คณบดีคณะอักษรศาสตร(ผูชวยศาสตราจารย ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย)

คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ

…………………………………………… ประธานกรรมการ(รองศาสตราจารย ดร.สมภาร พรมทา)

…………………………………………... อาจารยที่ปรึกษา(ผูชวยศาสตราจารย ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ)

……………………………………………กรรมการ(รองศาสตราจารย ดร.มารค ตามไท)

Page 4: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

4

พรเทพ สหชัยรุงเรือง : มโนทัศนเร่ืองการเดินทางขามเวลา. (THE CONCEPT OF TIMETRAVEL) อ.ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ. 68 หนา. ISBN 974-17-1865-9.

“การเดินทางขามเวลา” ในวิทยานิพนธนี้หมายถึงการเดินทางกลับไปสูอดีต ซึ่งเปนปญหาที่สามารถศึกษาไดหลายแนวทาง แตผูเขียนศึกษาในแงของความเปนไปไดทางตรรกะเทานั้นวัตถุประสงคของวิทยานิพนธคือเพื่อศึกษามโนทัศนเร่ืองการเดินทางขามเวลา วิเคราะหปฏิทรรศนตางๆ ของการเดนิทางขามเวลาที่ถกเถียงกันอยูในปรัชญา และประเมินความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลา

ผูเขียนจะเริ่มตนการศึกษาดวยปญหาเชิงปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา ซึ่งแบงเปนสองรูปแบบหลัก ไดแก ปฏิทรรศนคุณปูและปฏิทรรศนความรู ปฏิทรรศนคุณปูไดแสดงวาการเดินทางขามเวลามีนัยไปสูสถานการณที่ขัดแยงในตัวเอง เชน การฆาปูกอนการใหกําเนิดพอของตัวเองดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงเปนไปไมไดทางตรรกะ ลูอิสปฏิเสธการสอนัยนี้ดวยการชี้ใหเห็นวาสถานการณเหลานั้นจะถูกขัดขวางดวยความบังเอิญ แตผูเขียนเห็นดวยกับขอเสนอของฮอรวิชที่วาความบังเอิญซึ่งทําใหการพยายามฆาปูตองลมเหลวอยางตอเนื่องนั้นเปนเหตุผลเชิงประจักษที่ทําใหอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลามีนัยไปสูสถานการณที่ไมนาจะเปนไปได ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงไมนาจะเกิดขึ้นไดในโลกที่เปนอยู

สวนปฏิทรรศนความรูไดแสดงวาการเดินทางขามเวลามีนัยไปสูสถานการณที่แปลกประหลาด อันไดแก การเปนพอแมตัวเองของนักเดินทางขามเวลา การเกิดวัตถุทางกายภาพจากความวางเปลา และการไดความรูโดยปราศจากกระบวนการแกปญหา แตผูเขียนแสดงใหเห็นวาปฏิทรรศนนี้ไมไดมีนัยไปสูความขัดแยงในตัวเอง ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงไมใชสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ แตดวยแนวเหตุผลของฮอรวิช จากสิ่งที่เรารูวาจริงในโลกของเรา เรามีเหตุผลเชิงประจักษที่จะอนุมานไดเชนกันวาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู

ทายที่สุด ผูเขียนจะพิจารณาขอเสนอของดอทยชและล็อควูด ที่ใชการตีความการมีหลายจักรวาลของกลศาสตรควอนตัมเพื่อแกปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา แมวาจะสามารถเลี่ยงปญหาเชิงปฏิทรรศนได แตผูเขียนชี้ใหเห็นวา จากปญหาเกี่ยวกับจักรวาลคูขนานที่มีเปนอนันตในการตีความเชนนั้น แนวคิดดังกลาวจึงเปนสิ่งที่เปนไปไมไดในทางญาณวิทยา

ภาควิชา.....ปรัชญา..... ลายมือช่ือนิสิต..................................................................สาขาวิชา....ปรัชญา..... ลายมือช่ืออาจารยที่ปรึกษา................................................ปการศึกษา....2545.....

Page 5: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

5

# # 4380153922: MAJOR PHILOSOPHYKEYWORD: TIME TRAVEL / TIME / PARADOX / COINCIDENCE / PARALLEL UNIVERSES

PORNTHEP SAHACHAIRUNGRUENG: THE CONCEPT OF TIME TRAVEL.THESIS ADVISOR: ASST. PROF. SIRIPHEN PIRIYACHITTAKORNKIT, PH.D.68 pp. ISBN 974-17-1865-9.

In this thesis, “time travel” means travelling backward to the past, which is aproblem studied in many approaches. But I study only the problem of logical possibility.The purposes of the thesis are to study the concept of time travel; analyze the paradoxesof time travel discussed in philosophy; and evaluate the possibility of time travel.

Firstly, I study the paradoxical problems of time travel, which have two mainforms: Grandfather paradox and Knowledge paradox. Grandfather paradox showed thattime travel entails self-contradictory situations, such as killing grandfather beforebegetting one’s own father—hence it is itself logically impossible. Lewis rejected thisentailment by indicating that these situations will be foiled by coincidences. But I agreewith Horwich’s proposal that the coincidences that make killing-grandfather attemptscontinuously fail provide empirical reason to infer that time travel entails the improbablesituations. Hence time travel is unlikely to occur in the actual world.

Knowledge paradox demonstrated that time travel entails bizarre situations,--self-parenting of time traveller, creation ex-nihilo of physical objects and derivingknowledge without problem-solving process. But I show that this paradox does not implyany self-contradiction—hence time travel is not logically impossible. But according toHorwich’s reasoning we also have empirical reasons, from what known to be true in ourworld, to infer that time travel is improbable in the actual world.

Secondly, I consider the proposition of Deutsch and Lockwood on using many-universe interpretation of quantum mechanics to dissolve the paradoxes of time travel.Though it could avoid the paradoxical problems I point out that this idea is, due to theproblem of infinite parallel universes in such interpretation, epistemologically impossible.

Department.…..Philosophy…. Student’s signature.………………………………….Field of study.…Philosophy… Advisor’s signature.………………………………….Academic year.….2002……..

Page 6: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

6

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธนี้เร่ิมตนขึ้นไดจากการชี้แนะและสนับสนุนของ อ.พงษชาย เอี่ยวพานทอง ในฐานะอาจารยที่ปรึกษาทานแรก ผูเขียนขอขอบคุณอาจารยไว ณ ที่นี้เปนอยางสูง รวมถึงอาจารยทุกๆ ทานในภาควิชาปรัชญาที่ไดอบรมส่ังสอนวิธีการทางปรัชญามากวา 2 ป ซึ่งถือเปนสมมติฐานหนึ่งของความสําเร็จในการทํางานชิ้นนี้

สําหรับความสําเร็จขั้นสุดทาย ผูเขียนตองขอขอบพระคุณ อ.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ ซึ่งไดกรุณารับเปนอาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธ หากไมมีขอแนะนํา การตรวจสอบ และความเมตตาเอาใจใสจากอาจารยแลว สิ่งที่ทํามาทั้งหมดคงไมสามารถสมบูรณดังที่เปนอยูไดเลย และขอขอบคุณ อ.มารค ตามไท และ อ.สมภาร พรมทา ในฐานะกรรมการสอบวิทยานิพนธที่ไดใหขอคิดเห็นและชี้ใหเห็นขอบกพรองบางประการที่ชวยทําใหเนื้อหาของวิทยานิพนธนี้ไดรับการปรับแกใหถูกตองมากยิ่งขึ้น แตแนนอนวาขอบกพรองใดๆ ที่อาจยังคงมีอยูนั้นยอมถือเปนความรับผิดชอบของผูเขียนทั้งหมด

นอกจากนี้ ผูเขียนขอขอบคุณ อ.สิริเพ็ญ อ.สมภาร พี่พุฒวิทย บุนนาค คุณพงศศิริ ศรีวรรธนะ และคุณเอกวิน ขุนบุญจันทร สําหรับหนังสือและเอกสารตางๆ ที่เปนประโยชนอยางยิ่งในการทําวิทยานิพนธนี้ และโดยเฉพาะอยางยิ่งคุณธเนศ ไอยรานภารักษ ที่ไดใหความชวยเหลือเปนอยางดีในการคนหาบทความตางๆ จากตางประเทศ รวมถึงขอขอบคุณพี่นวชัย เกียรติกอเกื้อ เปนพิเศษที่ไดออกคาใชจายสวนหนึ่งสําหรับหนังสือที่ใชในการคนควาซึ่งไดสูญหายไปกับกาลเวลา

และที่สําคัญที่สุด ขอขอบพระคุณพอและแมของผูเขียนที่ไดสนับสนุนการเรียนครั้งนี้ปนอยางดีมาโดยตลอด หากไมมีทานทั้งสองแลว ผูเขียนคงไมไดรับโอกาสทางการศึกษาที่ดีอยางที่เปนมาจนถึงทุกวันนี้

พรเทพ สหชัยรุงเรือง

Page 7: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

สารบัญ

หนาบทคัดยอภาษาไทย................................................................................................................งบทคัดยอภาษาอังกฤษ..........................................................................................................จกิตติกรรมประกาศ ............................................................................................................... 6สารบัญ .............................................................................................................................. 7

บทที่ 1 บทนํา...................................................................................................................... 1ที่มาและความสําคัญของปญหา ............................................................................... 1วัตถุประสงค ........................................................................................................... 9ขอตกลงเบื้องตน ................................................................................................... 10ขอบเขตของการวิเคราะหปญหา ............................................................................. 10ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ ..................................................................................... 12

บทที่ 2 ปฏิทรรศนคุณปู...................................................................................................... 13ทางออกของลูอิส ................................................................................................... 13ขอพิจารณาของฮอรวิช .......................................................................................... 15เจตจํานงเสรีกับ autonomy principle ..................................................................... 18

บทที่ 3 ปฏิทรรศนความรู.................................................................................................... 21รูปแบบของปฏิทรรศนความรู.................................................................................. 21ปญหาการใหกําเนิดตัวเอง ..................................................................................... 23ปญหาการมีบางส่ิงจากความวางเปลา .................................................................... 25ปญหาการไดมาของความรู .................................................................................... 29

บทที่ 4 ความบังเอิญในการเดินทางขามเวลา ....................................................................... 32ความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปได ............................................................................. 33ความบังเอิญที่เปนไปได ......................................................................................... 37

Page 8: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

8

สารบัญ (ตอ)

หนาบทที่ 5 การเดินทางขามเวลากับแนวคิดจักรวาลคูขนาน ........................................................ 45

ปญหาจากแนวคิดเรื่องเวลา ................................................................................... 46ปญหาจากความเปนอนันต .................................................................................... 49

บทที่ 6 บทสรุป.................................................................................................................. 52

รายการอางอิง................................................................................................................... 56ประวัติผูเขียนวิทยานิพนธ .................................................................................................. 60

Page 9: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

บทที่ 1

บทนํา

ที่มาและความสําคัญของปญหา

ความเขาใจเชิงสามัญสํานึกประการหนึ่งที่เรามีตอมิติของเวลา (temporal dimension)ซึ่งกอใหเกิดความแตกตางอยางเดนชัดจากมิติของพื้นที่ (spatial dimension) นั้นก็คือ ความไมสมมาตร (asymmetry) ของอดีต ปจจุบัน และอนาคต กลาวคือ เราสามารถเคลื่อนที่ไปทาง ซาย-ขวา หนา-หลัง และ ขึ้น-ลง ไดอยางอิสระในมิติของพื้นที่ แตเราไมสามารถเคลื่อนที่ไปขางหนาหรือยอนกลับไปในกาลเวลาเชนเดียวกับที่เราทําไดในมิติของพื้นที่ เราเหมือนกับเปนนักโทษซึ่งถูกจองจําใหอยูกับชวงเวลาเพียงขณะหนึ่งที่เรียกวา “ปจจุบัน” ซึ่งคอยๆ ถอยหางจากไปเปน “อดีต”โดยมีชวงเวลาที่เปน “อนาคต” ไดเขามาแทนที่อยางไมขาดสายราวกับเปน “กระแสแหงกาลเวลา”(passage of time) ที่คอยกํากับการดําเนินไปของสรรพสิ่งใหเปนไปในทิศทางแบบเดิมและเปนจังหวะที่สม่ําเสมอตลอดไป

แตความเขาใจที่เกิดจากสามัญสํานึกยอมเปนสิ่งที่อาจจะผิดได ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ(Theory of Relativity) ของไอนสไตน (Albert Einstein, 1879-1955) เวลาไมใชสิ่งสัมบูรณที่จะสามารถวัดไดอยางเปนอิสระจากสภาพแวดลอม โดยเวลาจะเดินชาลงในกรอบการอางอิง (frameof reference) ที่มีการเคลื่อนที่ (โดยเปรียบเทียบกับกรอบการอางอิงที่หยุดนิ่งหรือที่มีการเคลื่อนที่ชากวา)1 ตัวอยางเชน หากเราเดินทางออกไปในอวกาศและกลับมายังโลกดวยจรวดที่มีความเร็วเขาใกลความเร็วของแสง เราจะพบวาเวลาบนโลกอาจไดผานไปแลวหลายสิบปในขณะที่เรากลับใชเวลาในการเดินทางเพียงไมกี่ปเทานั้น ดังนั้น ในแงนี้เวลาจึงไมใชสิ่งที่จําเปนตองดําเนินไปดวย“จังหวะที่สม่ําเสมอตลอดไป” อยางที่สามัญสํานึกบอกกับเรา และในความหมายหนึ่ง เราสามารถเดินทางไปสูอนาคตไดดวยวิธีการดังกลาวนี้ (อยางนอยก็เปนความเปนไปไดในทางทฤษฎี) แตคําถามที่นาสนใจมากกวาก็คอื เราจะสามารถปรับเปลี่ยน “ทิศทางของเวลา” ในลักษณะที่ทําใหเรากลับไปอยูในอดีตที่ผานไปแลวไดหรือไม

1 ปรากฏการณนี้เรียกวา time dilation effect ซึ่งเปนไปตาม Special Theory of Relativity (1905)

และจาก General Theory of Relativity (1915) ในบริเวณที่มีสนามแรงโนมถวงสูงกวา เวลาก็จะเดินชากวาเชนกัน สําหรับนัยยะตางๆ จากทฤษฎีสัมพัทธภาพ โปรดดู Davies (1995; 2001), Einstein (1961), Gott (2002),Ray (1991)

Page 10: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

2

ทวาคําถามเชน “การเดินทางขามเวลาเปนไปไดหรือไม” คงไมสามารถหาคําตอบไดโดยงาย แตทั้งนี้ไมใชเพียงเพราะวาสิ่งนี้ไมเคยเกิดขึ้นมากอน หากแตที่ตอบไดยากนั้นกลับเปนเพราะความไมชัดเจนของตัวคําถามเอง กลาวคือ เราหมายถึงอะไรสําหรับ “การเดินทางขามเวลา” และเรากําลังถามถึงความเปนไปไดในความหมายระดับใด นั่นคือ เปนไปไดในทางตรรกะ (logicallypossible) หรือเปนไปไดในทางฟสิกส (physically possible) หรือเปนไปไดในทางเทคโนโลยี(technologically possible) ในวิทยานิพนธนี้ ผูเขียนจะพจิารณาที่ความเปนไปไดในระดับแรกเปนสําคัญ นั่นคือ สิ่งที่เรียกวาการเดินทางขามเวลานั้นเปนไปไดในทางตรรกะหรือไม

แนนอนวา ความหมายของสิ่งที่เราเรียกวาการเดินทางขามเวลา “ยอมเกี่ยวพันกับความไมลงรอยกันระหวางเวลากับเวลาอยางไมอาจหลีกเลี่ยงได” (Lewis, 1976: 145) กลาวคือ นักเดินทางออกเดินทางและไปถึงจุดหมายปลายทาง ณ เวลาหนึ่ง แตถาเขาเปนนักเดินทางขามเวลาจริงเวลา ณ จุดหมายที่เขาไปถึงยอมตองไมเทากับเวลาที่เขาใชในการเดินทาง สมมติวานกัเดินทางใชเวลาเดินทางทั้งหมดหนึ่งชั่วโมง เวลา ณ จุดหมายที่เขาไปถึงยอมตองตางไปจากเวลาหนึ่งชั่วโมงที่เขาใชในขณะเดินทาง โดยเวลาที่ไปถึง “จะเปนเวลาหลังจากนั้น ถาเขาไดเดินทางไปสูอนาคตหรือเปนเวลากอนหนานั้น ถาเขาไดเดินทางไปสูอดีต และถาเขาไดเดินทางไปสูอดีตที่ไกลมากขึ้นนั่นยอมเปนเวลากอนการออกเดินทางของเขาดวยซ้ํา” (Lewis, 1976: 145)

อยางไรก็ตาม ความคิดฝนเกี่ยวกับการเดินทางทองไปในกาลเวลาเชนนี้เปนจินตนาการที่ปรากฎอยูในนิยายวิทยาศาสตรมานานมากกวาศตวรรษแลว (โปรดดู Nahin, 1999) นิยายเรื่องThe Time Machine ของ เอช จี เวลส (H.G. Wells, 1866-1946) ที่ตีพิมพคร้ังแรกในป 1895 นาจะถือไดวาเปนงานเขียนชิ้นแรกที่พยายามอธิบายความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาอยางจริงจัง ในแงที่ไดแฝงความคิดเชิงอภิปรัชญาบางอยางเกี่ยวกับความมีอยูของเวลาไวเปนสมมติฐานเบื้องหลังของการที่เราจะสามารถเดินทางไปมาในมิติของเวลาไดอยางอิสระ ดังที่เขาเขียนไววา “ไมมีความแตกตางระหวางเวลาและมิติใดๆ ในมิติทั้งสามของพื้นที่ เวนแตเพียงจิตสํานึกของเราเคลื่อนที่ไปตามเวลาเทานั้น” (Wells, cited in Richmond, 2001: 305) ดังนั้น เมื่อชวงเวลาอดีต ปจจุบัน และอนาคต เปนสิ่งซึ่งมีฐานะความมีอยูเชิงภววิทยาที่ไมแตกตางกัน (ontologicallyidentical)2 ในแงนี้จึงยอมไมใชส่ิงที่ไรสาระ (ในเชิงอภิปรัชญา) อยางสิ้นเชิง ที่เราจะสามารถเดินทางขามเวลาไปสูอนาคตหรือกลับไปในอดีตได แตในขณะที่เวลสทําใหเวลากลายเปนมิติที่ส่ีของ

2 หรือก็คือแนวคิด four-dimensionalism และมีขอสังเกตที่นาสนใจวาเรื่องราวการเดินทางขามเวลาไมมีปรากฏเลยจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 สวนหนึ่งอธิบายไดจากการครอบงําของแนวคิด presentism ที่เชื่อวาปจจุบันเทานั้นที่มีอยูจริง การเดินทางขามเวลาจึงเปนไปไมไดเพราะไมมีจุดหมายใดที่จะไป (Bigelow, 1996:35-36) แตโปรดดู Keller and Nelson (2001) สําหรับความเขากันไดของ presentism กับการเดินทางขามเวลา

Page 11: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

3

พื้นที่ (a fourth spatial dimension) ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (ซึ่งเปนจุดเริ่มตนที่ทําใหการเดินทางขามเวลากลายเปนประเด็นปญหาที่มีการถกเถียงกันอยางจริงจังในทางวิชาการจนถึงปจจุบัน ดังที่จะไดกลาวตอไป) กลับรวมเอาพื้นที่และเวลาเขาไวเปนสิ่งเดียวกัน (Richmond, 2001: 305)

โดยหลักการแลว ทฤษฎีสัมพัทธภาพไดรวมอวกาศสามมิติ (three-dimensional space)กับมิติของเวลาเขาเปนเนื้อเดียวกันในลักษณะที่เรียกวาเปนกาลอวกาศสี่มิติ (four-dimensionalspace-time) ที่ประกอบขึ้นจากตําแหนงทั้งหลายในกาลอวกาศ (space-time points) ที่แตละตําแหนงเปนตัวแทนของเหตกุารณเฉพาะเหตุการณหนึ่งซึ่งไดเกิดขึ้นภายในที่แหงหนึ่ง ณ ชวงเวลาหนึ่งเทานั้น และดังนั้น ภาพโดยรวมของสรรพสิ่งที่ดําเนินไปในกาลอวกาศสี่มิตินี้ (ซึ่งรวมถึงชีวิตของเราแตละคนดวย) จึงถูกนําเสนอเปนเสมือนเสนทางที่วางทอดยาวอยูภายในกาลอวกาศสี่มิติที่เรียกวา world lines โดยมี proper time เปนเวลาที่วัดจากกรอบการอางอิงของแตละ world line ความเขาใจเกี่ยวกับกาลอวกาศสี่มิติ world lines และ proper time เหลานี้เองที่เปนมโนทัศนซึ่งชวยใหเราเขาใจไดวารูปแบบหนึ่งของการเดินทางขามเวลากลับไปสูอดีตนั้นเปนไปไดอยางไร

ในบทความ “It Ain’t Necessarily So” พัทนัม (Putnam, 1962) ไดเสนอวา ไมมีมโนทัศนใดที่จะเปนไปไมไดอยางจําเปนโดยสิ้นเชิง (อาจยกเวนก็เพียงแตบรรดามโนทัศนอยางเชน “คนโสดคือคนที่แตงงาน” ซึ่งเปนสิ่งที่เปนไปไมไดอยางจําเปนโดยนิยาม) มโนทัศนหนึ่งยอมจะเปนไปไดในลักษณะที่สัมพัทธกับองคความรูที่เรามี (relative to a body of knowledge) ในกรณีของมโนทัศนเร่ืองการเดินทางขามเวลา (the concept of time travel) ก็เชนกัน ความเขาใจใน world linesและกาลอวกาศสี่มิติ จะสามารถทาํใหเรายอมรับในความเปนไปไดเชิงมโนทัศน (conceptualpossibility) ของการเดินทางขามเวลาได แมวารูปแบบที่พัทนัมนําเสนอไวในลักษณะที่เปน worldline รูปตัว N บนแผนภูมิของกาลอวกาศสี่มิติ (space-time diagram) ซึ่งแสดงถึงการยอนกลับไปในเวลานั้น จะไดรับการวิจารณวาเปนไปไมไดในเชิงญาณวิทยา (โปรดดู Sorensen, 1987:Weingard 1973; 1979) เนื่องจากไมมีแนวคิดหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตรใดที่จะมาสนับสนุนไดวาการหักกลับอยางกะทันหันของ world line ที่เปนรูปตัว N เชนนี้จะสามารถเปนไปได แตเราก็ยังคงมีรูปแบบของการเดินทางขามเวลาที่เปนไปไดในอีกลักษณะหนึ่งที่ตางออกไป อีกทั้งยังไดรับการรับรองจากทฤษฎีที่สําคัญทางฟสิกสอยางทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory ofRelativity)

ในป 1949 เคิรท โกเดล (Kurt Gödel, 1906-1978) ไดแสดงใหเห็นวาทิศทางของเวลา(direction of time) ไมไดชี้มุงไปสูอนาคตอยางจําเปนเสมอไป โกเดลคนพบวาหากจักรวาลโดยรวมกําลังหมุนรอบตัวเองอยู เราสามารถมีโครงสรางกาลอวกาศ (space-time structure) แบบหนึ่ง ซึ่งสอดคลองกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ที่มีลักษณะซึ่งเรียกกันวา closed time-like curves

Page 12: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

4

(CTC) และโดยความมีอยูของ CTC เชนนี้ เราจะสามารถออกเดินทางตรงออกไปในอวกาศและวนกลับมายังโลกที่ซึ่งเราจะพบวาเปนชวงเวลาในอดีตกอนที่เราจะออกเดินทางตั้งแตทีแรกนั้น ในการเดินทางผาน CTC แบบของโกเดลนี้ world line ของนักเดินทางจะเปนเสนที่โคงกลับไปสูอดีต(และอาจจะตัดกับเสนของตัวเองไดในกรณีที่เขาไดกลับไปพบกับตัวเองในอดีต) โดย proper timeของนักเดินทางจะยังคงมีทิศทางที่ดําเนินไปขางหนาเชนเดิม (เขายังคงแกขึ้นทุกขณะ) นั่นคือ เวลายังคงชี้ไปสูอนาคตในกรอบการอางอิงของนักเดินทาง (the local future) แตจุดหมายที่เขาไปถงึนั้นกลับเปนชวงเวลาที่เปนอดีตของโลก (the global past) เราอาจจินตนาการเปรียบเทียบไดกับการลากเสนผานไปบนวัตถุทรงกระบอก (ซึ่งเปนตัวแทนของกาลอวกาศสี่มิติ) ซึ่งวางนอนอยู หากเราลากเสนตรงจากจุดใดๆ ก็ตามขึ้นไปตามแนวตั้ง ก็ยอมเปนไปไดเสมอที่เราจะลากเสนตรงนั้นใหออมไปพบกับจุดเริ่มตน โดยที่ไมจําเปนตองยอนหรือเปลี่ยนทิศทางของการลากเสนแตประการใด ดังที่โกเดลไดกลาวไววา

... โดยการเดินทางแบบไปกลับดวยยานจรวดในวิถีโคงที่กวางอยางเพียงพอ มีความเปนไปไดในโลกเหลานี้3 ที่จะเดินทางไปสูอาณาเขตใดๆ ก็ตามของอดีต ปจจุบัน และอนาคต และกลับไปอีกครั้งหนึ่ง เชนเดียวกับที่มีความเปนไปไดในโลกอื่นๆ ที่จะเดินทางไปยังสวนตางๆ ที่หางไกลในอวกาศ (Gödel, 1949: 560)

การเดินทางขามเวลาในลักษณะที่บรรยายมานี้อาจจะแตกตางไปจากสิ่งที่เราคิดกันอยูพอสมควร คนสวนมากมักเขาใจการเดินทางกลับไปสูอดีตตามแบบที่เวลสไดจินตนาการไว กลาวคือ นักเดินทางใชยานเวลา (time machine) เพื่อเดินทางยอนกลับไปในเวลา (back to the past)ในลักษณะที่ทําใหสภาพแวดลอมภายนอกยานดําเนินยอนกลับ ซึ่งในแงนี้ดูราวกับวาอดีตไดยอนกลับมาหานักเดินทางขามเวลาเอง (คลายกับรูปแบบที่พัทนัมเสนอไว) ทวาโดยอาศัยความเปนไปไดของการมี CTC เชนแบบของโกเดลนี้ การเดินทางขามเวลาไมไดจําเปนตองใชยานเวลาที่มีคุณสมบัติพิเศษอยางที่เวลสบรรยายไว หากแตตองการความมีอยูที่แสนจะแปลกประหลาดของโครงสรางกาลอวกาศมากกวา (Deutsch, 1997: 296) ในแงนี้ เราอาจไมสามารทําใหตัวเองยอนกลับไปในกาลเวลา หรือทําใหชวงเวลาในอดีตยอนกลับมาหาเราได แตดวย CTC เราจะสามารถ (ในทางทฤษฎี) เดินทางมุงหนาเพื่อเขาไปสูอดีตได (forward to the past)4

3 หมายถึงจักรวาลที่มวลโดยรวมทั้งหมดกําลังหมุนรอบตัวเอง ดังที่โกเดลเสนอไวในฐานะที่เปนการแก

สมการแบบหนึ่ง (a solution) ของ field equation ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป4 โปรดดู Ray (1991) สําหรับการแยกวิเคราะหปญหาในรูปแบบ back to the past กับ forward to

the past และดู Dummett (1986) สําหรับการวิเคราะหปญหาในกรณีของ back to the past โดยเฉพาะ

Page 13: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

5

อยางไรก็ตาม ความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลากอใหเกิดปญหาทางตรรกะหลายประการตามมา (ดังที่จะกลาวในสวนถัดไป) ซึ่งทําใหเราอาจสงสัยไดวาการเดินทางขามเวลานั้นจะเปนมโนทัศนที่ขัดแยงในตัวเอง (self-contradictory concept) หรือไม บางลงความเห็นวาหากความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาเปนผลมาจากการมีอยูของ CTC และ CTC นี้เปนผลมาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพดังตัวอยางหนึ่งที่โกเดลไดแสดงไวจริง นั่นก็อาจเปนเหตุผลที่ยอนกลับไปแสดงวาตัวทฤษฎีสัมพัทธภาพตางหากที่เปนปญหา (Smith, 1986: 49) ในแงนี้ ปญหาทางตรรกะที่เกี่ยวพันกับการเดินทางขามเวลาจึงเปนสิ่งที่สรางความกังวลใหแกนักฟสิกสอยูมากพอสมควร และนี่อาจเปนแรงจูงใจที่สําคัญประการหนึ่งที่ทําใหนักฟสิกสอยางเชน สตีเฟน ฮอวกิ้ง (StephenHawking) ไดสรางหลักการบางอยางขึ้นมาเพื่อแกปญหา ดังที่เขากลาวไววา “อะไรจะเกิดขึ้นหากคุณฆาพอแมของคุณเองกอนที่คุณจะเกิด อาจเปนไดที่เราจะสามารถเลี่ยงปฏิทรรศน (paradox)เชนนี้ดวยการปรับเปลี่ยนมโนทัศนเกี่ยวกับเจตจํานงเสรี แตนี่จะไมใชส่ิงที่จําเปนเลย หากสิ่งที่ขาพเจาเรียกวา chronology protection conjecture นั้นถูกตอง นั่นก็คือ กฎในฟสิกสจะปองกันไมใหเกิด closed timelike curves” (Hawking, 1992: 604) แตกระนั้น จนถึงปจจุบันก็ยังไมเปนที่สรุปไดวากฎตางๆ ทางฟสิกสจะปองกันการเกิดขึ้นของ CTCs ไดจริงหรือไม ในทางกลับกันทฤษฎีฟสิกสเทาที่เรามีและเขาใจกันอยูในตอนนี้ก็ไมไดขัดแยงกับความเปนไปไดที่กาลอวกาศของเราอาจจะมี CTCs ที่ใชสําหรับการเดินทางขามเวลาได (โปรดดู Davies, 2001) อยางไรก็ตามการวิเคราะหทางปรัชญาก็อาจทําใหนักฟสิกสตัดขอกังวลเชนนี้ไปได หากสามารถแสดงใหเห็นวาการเดินทางขามเวลานั้นเปนมโนทัศนที่ไมไดมีความขัดแยงในตัวเองแตประการใด

โดยทั่วไป ขอโตแยงตอความเปนไปไดทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาจะเปนรูปแบบของการอางเหตุผลทางออม (indirect argument) หรือที่เรียกวา reductio ad absurdum โดยเริ่มจากการสมมติใหการเดินทางขามเวลาเปนไปไดกอน จากนั้นจึงพิจารณานัยที่ตามมา หากเกิดความขัดแยงในตัวเองขึ้น นั่นก็จะเปนเหตุผลที่ยอนกลับไปแสดงวาขอสมมติที่ใหการเดินทางขามเวลาเปนไปไดตั้งแตตนนั้นเปนสิ่งที่ไมถูกตอง ตัวอยางเชน หากการเดินทางขามเวลาเปนไปไดเวลา ณ จุดหมายปลายทางที่ไปถึงยอมจะตองแตกตางไปจากเวลาที่ใชในการเดินทาง เราจะสามารถเดินทางขามชวงเวลาหนึ่ง โดยใชเวลาที่แตกตางออกไปจากชวงเวลาที่เราไดกาวขามไปดังเชนที่วิลเลียมสชี้ใหเห็นวานี่จะเปนความขัดแยงในตัวเองอยางชัดเจนในการกลาววา “หานาทีจากขณะนี้ ... ขาพเจาอาจอยูที่หนึ่งรอยปจากขณะนี้” (Williams, 1951: 463)

อยางไรก็ตาม ขอโตแยงนี้ไมสมเหตุสมผล (invalid) เนื่องจากเราสามารถเขาใจไดวาชวงเวลาที่แตกตางกันเปนการนับเวลาที่ขึ้นอยูกับกรอบการอางอิง (frame of reference) ที่ตางกัน ดังที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพไดแสดงใหเห็นแลววาเวลาในแตละกรอบการอางอิงไมจําเปนตองสอดคลอง

Page 14: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

6

กันเสมอไป เวลาที่นักเดินทางใชในการเดินทางขามเวลาเปน proper time ที่วัดจากกรอบการอางอิงของนักเดินทางเอง ในขณะที่เวลาที่นักเดินทางกาวขามไปเปนเวลาที่ขึ้นอยูกับกรอบการอางอิงของโลก (earth time) ดังนั้น จึงไมใชสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองที่นักเดินทางจะใช proper time เพียงหานาที เพื่อกาวขามเวลาบนโลกไปรอยป และไมเพียงแตเราอาจจะสามารถกาวขามเวลาบนโลกในทิศทางที่ไปสูอนาคตอีกรอยปขางหนาไดเทานั้น ความเปนไปไดของการมี closed time-likecurves ดังตัวอยางหนึ่งของโกเดล ยังเปนเหตุผลสนบัสนุนความเปนไปไดที่จุดหมายในการเดินทางขามเวลาจะเปนชวงเวลาในอดีตไดดวยเชนกัน

นอกจากนี้ ความเขาใจในเรื่อง proper time ยังทําใหเราแกปญหาเกี่ยวกับอัตลักษณสวนบุคคล (personal identity) ของนักเดินทางขามเวลาได โดยทั่วไป ยอมเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะที่คนๆ เดียวกันจะสามารถอยูคนละสถานที่ในเวลาเดียวกันได แตการเดินทางขามเวลาที่ทําใหนักเดินทางกลับไปพบกับตัวเองในอดีตก็ไมไดละเมิดหลักขอนี้แตอยางใด เราสามารถเขาใจเสนทางของนักเดินทางขามเวลาที่ลากผานกาลอวกาศสี่มิติ (four-dimensional space-time) ในลักษณะที่เปน world line ที่วกกลับมาตัดกับตัวเอง และโดยที่ proper time ยังคงเพิ่มข้ึนตามความยาวของ world line ดังนั้น จึงไมไดเปนการขัดแยงในตัวเองที่นักเดินทางอาจมีอยูพรอมกับตัวเองในอดีต (ณ จุดที่ world line ตัดกัน) ตามเวลาของโลก เพราะทั้งสองยังคงถูกระบุอยู ณproper time ที่ตางกันเสมอ และในอีกแงหนึ่ง ขอความอยางเชน “คนผูหนึ่งไดตายกอนที่เขาจะเกิด” หรือ “ผลเปนสิ่งที่เกิดขึ้นกอนสาเหตุ” จึงไมใชสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองอยางจําเปนเสมอไป หากขอความดังกลาวบงถึงเพียงเวลาบนโลกเทานั้น ทวาการเดินทางขามเวลาก็ยังคงทําให “คนผูหนึ่ง”ซึ่งก็คือนักเดินทางขามเวลาจะยังคงตองตายหลังจากที่เขาไดเกิดมาตาม proper time ของตัวเองเชนเดียวกับที่ผลยอมตองมาหลังสาเหตุตาม proper time ของสิ่งนั้นเองเชนกัน

ขอโตแยงทางตรรกะแบบสุดทายที่จะกลาวในที่นี้คือ ปญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอดีต(changing the past) บางคนอาจเขาใจวาความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาจะนําไปสูการเปลี่ยนแปลงอดีต ซึ่งเปนสิ่งที่ขัดแยงในตัวเอง ทั้งนี้เพราะอดีตเปนสิ่งที่ไดเกิดขึ้นแลว ไมสามารถเปลี่ยนแปลงได ดังที่ฮอสเปอรสไดกลาวไววา

...คุณไมสามารถกลับไปในเวลาไดถาหากนี่หมายถึงการไปอยูในยุคสมัยที่ไดผานไปเรียบรอยแลว คุณไมสามารถกลับไปสูอียิปตโบราณและชวยชาวอียิปตสรางปรามิดได เพราะปรามิดเหลานี้ไดถูกสรางเรียบรอยแลวในขณะที่ไมมีคุณ นั่นก็คือ คุณไมไดอยูที่นั่น คุณยังไมเกิด... ส่ิงที่เกิดไปแลวก็ไดเกิดขึ้นไปแลว คุณไมสามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได คุณไมสามารถทําส่ิงที่เกิดขึ้นแลวใหไมเกิดได นี่เปนความเปนไปไมไดทางตรรกะเปนอยางนอยที่สุด เพราะ

Page 15: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

7

เกี่ยวพันกับความขัดแยงตางๆ นั่นคือ คุณเคยอยูที่นั่นและคุณไมเคยอยูที่นั่น คุณไดชวยสรางปรามิดและคุณไมไดชวยสราง (Hospers, 1988: 136)

ถึงแมจะเปนความจริงที่วา การเปลี่ยนแปลงอดีตเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ5 แตขออางเหตุผลขางตนก็ไมสมเหตุสมผลเสียทีเดียว โดยความผิดพลาดอยางหนึ่งมาจากความเขาใจวาการเดินทางขามเวลาสามารถทําใหนักเดินทางกลับไปอยูในอดีตอีกครั้งหนึ่งได ดังที่สมิท (Smith,1997: 364-366, 1998: 156) เรียกวาเปน “ความผิดพลาดเกี่ยวกับเวลารอบที่สอง” (the second-time-around fallacy) เพราะหากนักเดินทางจะเดินทางกลับไปในอดีตจริง เขาก็ไดอยูในอดีตนั้นตั้งแตตน ซึ่งหมายความวา อดีตที่เกิดขึ้นมายอมไดรวมเอาการมีอยูของนักเดินทางนั้นเขาไวเปนสวนหนึ่งของประวัติศาสตรดวยแลว หากนักเดินทางขามเวลาไดกลับไปในยุคอียิปตโบราณจริงเขาก็ไดอยูที่นั่นมาแลวตลอด และหากเขาไดชวยสรางปรามิดในตอนที่ไดกลับไป เขาก็ไดชวยสรางปรามิดเหลานั้นตั้งแตทีแรกที่ชาวอียิปตไดสรางขึ้นมา ในกรณีนี้ การเดินทางขามเวลาไมไดทําใหอดีตเกิดการเปลี่ยนแปลง แตควรเขาใจเสียใหมวา การเดินทางขามเวลาสามารถมีอิทธิพลตออดีต(influencing the past) ได (โปรดดู Horwich, 1975: 435-437; 1987: 116) ซึ่งนี่ไมใชสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองแตอยางใด ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงมิใชสิ่งเปนไปไมไดทางตรรกะ

นอกจากปญหาทางตรรกะที่กลาวมา6 การเดินทางขามเวลายังทําใหเกิดสถานการณบางอยางที่นักปรัชญาเรียกวาเปนปฏิทรรศน (paradox) ของการเดินทางขามเวลา ซึ่งอาจแบงไดเปนสองรูปแบบหลัก โดยรูปแบบแรกนั้น สวนมากรูจักกันในชื่อ “ปฏิทรรศนคุณปู” (Grandfatherparadox)7 ที่นักเดินทางขามเวลาเดินทางยอนกลับไปในอดีตเพื่อทําบางสิ่งที่จะสงผลใหเกิดความขัดแยงกับความเปนจริงที่ไดเกิดขึ้นแลว ตัวอยางเชน การฆาปูของตัวเองกอนที่ปูจะใหกําเนิดพอ

5 และอันที่จริง นี่ก็เปนส่ิงที่ขัดแยงในตัวเองไมนอยไปกวาการเปลี่ยนแปลงปจจุบันหรืออนาคต เพราะ

ทั้งอดีต ปจจุบัน และอนาคต ลวนเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเทานั้น การคิดจะเปลี่ยนแปลงใหเปนอยางอื่นจึงเปนส่ิงที่เปนไปไมไดเชนกัน แตทั้งนี้ไมไดหมายความวาเราจะมีอิทธิพล (influence) ตอส่ิงที่เกิดขึ้นมานั้นไมได โปรดดูการวิเคราะหความหมายของคําวา “changing the past” อยางละเอียดไดในงานของ Ni (1992)

6 สําหรับคําอธิบายแบบอื่นๆ ในการแกปญหาทางตรรกะเบื้องตนดังเชนที่กลาวไปแลวนั้น โปรดดูเพิ่มเติมไดใน Harrison (1995), Horwich (1975;1987), Lewis (1976) และ Smith (1998)

7 ชื่อเรียก “Grandfather paradox” ที่กลายเปนชื่อที่คุนเคยกันเปนอยางดีในขอถกเถียงเกี่ยวกับปญหาการเดินทางขามเวลา (ทั้งในทางฟสิกสและปรัชญา) อาจจะสามารถสืบยอนกลับไปไดถึงจดหมายฉบับหนึ่งที่สงถึงบรรณาธิการของ Astounding Stories ในป 1933 ที่เขียนมาเสนอวา “Why pick on grandfather? It seemsthat the only way to prove that time travel is impossible is to cite a case of killing one’s owngrandfather.” (cited in Nahin, 1999: 286)

Page 16: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

8

ของเขา หรือการฆาตัวเองในอดีต (autofanticide) เปนตน8 ความสําเร็จของการกระทําเหลานี้จะเปนผล (effect) ทําใหนักเดินทางขามเวลาไมสามารถมีอยูได (กอนการเดินทางขามเวลา) ซึ่งเปนการขัดแยงกับลําดับของสาเหตุ (cause) ตั้งแตตนที่นักเดินทางขามเวลาจะตองมีอยู (กอนการเดินทางขามเวลา) จึงจะสามารถยอนเวลากลับไปเพื่อกระทําการดังกลาวนั้นได (หรือที่มักเขาใจกันในลักษณะของ self-defeating causal chains นั่นเอง)

สวนปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลารูปแบบที่สองคือ ปฏิทรรศนความรู (Knowledgeparadox) ซึ่งเปนสถานการณที่การเดินทางขามเวลากอใหเกิดบางสิ่งขึ้นมาโดยไมมีสาเหตุหรือไมสามารถอธิบายที่มาได ตัวอยางเชน หากการเดินทางขามเวลาเปนไปได นักเดินทางจะสามารถกลับไปพบกับตัวเองในอดีตและใหขอมูลเกี่ยวกับวิธีการสรางยานเวลา (time machine) กับตัวเองในอดีต ในกรณีเชนนี้ ความรูดังกลาวไมไดมาจากนักเดินทาง เพราะเขาเพียงแตจดจําความรูนั้นไดจากอดีตที่ผานมา และตัวเขาในอดีตก็ไดความรูนั้นมาจากการพูดคุยกับนักเดินทางขามเวลาซึ่งเปนตัวเขาเองในอนาคต เราจึงไมอาจอธิบายไดวาความรูที่วานี้เกิดขึ้นมาไดอยางไร หรือใครเปนคนแรกที่ไดคิดขึ้น และหากไมมีคนคิดขึ้นมาแลว ก็ยอมไมนาจะเกิดการเดินทางขามเวลาไดตั้งแตทีแรกแลวเชนกัน

วิทยานิพนธนี้จะเปนการพยายามทําความเขาใจกับปญหาทางตรรกะจากปฏิทรรศนขางตนที่กลาวมา โดยผูเขียนไดปกปองความเปนไปไดทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาจากปญหาเชิงปฏิทรรศนตางๆ ที่เกิดขึ้นในการเดินทางขามเวลา อยางไรก็ตาม จากการวิเคราะหปญหาภายในปฏิทรรศนเหลานี้จะทําใหเราสามารถอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปได (improbable) ในโลกที่เปนอยู (the actual world)

ในบทที่ 2 ผูเขียนจะเสนอทางออกของลูอิส (Lewis, 1976) ตอปญหาจากปฏิทรรศนคุณปูซึ่งลูอิสไดชี้ใหเห็นวาปฏิทรรศนนี้ไมไดนําไปสูความขัดแยงในตัวเอง ความพยายามของนักเดินทางขามเวลาที่จะทําสิ่งที่เปนไปไมไดเพียงแตจะทําใหเราสรุปไดวาความพยายามเหลานั้นจะลมเหลวเสมอ แตจากขอเสนอของฮอรวิช (Horwich, 1987; 1995) สิ่งที่มาปองกันความพยายามเหลานั้นเปนความบังเอิญที่เรารูวาไมนาจะเกิดขึ้นได ดังนั้น เราจึงสามารถอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปได (improbable) ในความหมายที่วาเรามีเหตุผลที่ดีในเชิงประจักษที่จะเชื่อวาการเดินทางขามเวลาจะไมเกิดขึ้นในโลกของเรา

8 นอกจากนี้ ยังอาจรวมถึงกรณีที่ไมเกี่ยวกับบุคคลเลยก็ไดเชนกัน ดังตัวอยางของการสงสัญญาณ

บางอยางยอนเวลากลับไปเพื่อทําลายเครื่องสงสัญญาณนั้นกอนที่จะไดมีการสงสัญญาณจริง แตในที่นี้ จะเปนการพิจารณาในบริบทที่เกี่ยวของกับบุคคล ซึ่งก็คือนักเดินทางขามเวลาเปนหลัก

Page 17: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

9

ในบทที่ 3 เปนการพิจารณาปญหาในปฏิทรรศนความรู โดยผูเขียนจะแสดงใหเห็นวาการเดินทางขามเวลาไมใชแคเพียงอาจทําใหเกิดมีความรูข้ึนมาโดยไมมีผูใดคิดเทานั้น แตยังสามารถทําใหเกิดสถานการณที่เกิดมีวัตถุทางกายภาพบางอยางโดยไมมีสาเหตุ รวมถึงการใหกําเนิดตัวเองของนักเดินทางขามเวลาดวยเชนกัน แตไมวาสถานการณเหลานี้จะแปลกประหลาดหรือขัดกับสามัญสํานึกเพียงใดก็ตาม นั่นก็ไมไดทําใหการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมอาจจะเปนไปไดทางตรรกะ อยางไรก็ตาม จากสิ่งที่เรารูวาเปนจริงในโลกของเรา เราก็อาจสามารถอนุมานได (เชนเดียวกับฮอรวิช) วาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู

สวนในบทที่ 4 ผูเขียนจะตอบขอโตแยงของสมิท (Smith, 1997) ที่คัดคานแนวเหตุผลของฮอรวิช โดยจะชี้ใหเห็นขอบกพรองบางประการของคําคัดคานนี้ ซึ่งหากเรายอมรับแลว จะไมสามารถแกปญหาจากปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาได และบทที่ 5 ผูเขียนไดพิจารณาขอเสนอของดอยทชและล็อควูด (Deutsch and Lockwood, 1994) ที่อาศัยการตีความการมีหลายจกัรวาลของกลศาสตรควอนตัม (many-universe interpretation of quantum mechanics) มาเปนทางออกสําหรับปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา ตามภาพความเขาใจนี้ นักเดินทางขามเวลาไมไดเดินทางกลับไปในอดีตของโลกที่ผานมาของเขา แตเปนโลกที่เปนไปไดที่มีอยูคูขนานกันไปกับโลกของนักเดินทาง โดยผูเขียนไดแสดงใหเห็นวาแมการตีความเชนนี้จะสามารถเลี่ยงปญหาเชิงปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาได แตก็ยังคงติดปญหาบางอยางจากการยอมรับความมีอยูอยางเปนอนันตของโลกคูขนานที่เปนไปไดในการตีความนั้นเอง

ภาพรวมของปญหาที่นําเสนอจะสรุปในบทสุดทาย และผูเขียนไดอภิปรายเพิ่มเติมถึงขอจํากัดบางประการของสิ่งที่ไดเสนอไป ซึ่งเปนประเด็นเกี่ยวกับการอนุมาน (inference) ความไมมีอยูของโครงสรางกาลอวกาศบางรูปแบบที่เปดโอกาสใหเกิดการเดินทางขามเวลาได โดยผูเขียนเห็นวา แมเราจะสามารถเชื่อไดวาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู แตเราก็ยังไมอาจบอกไดอยางชัดเจนวา โลกที่เปนอยูนี้ไมไดมีโครงสรางสําหรับการเดินทางขามเวลา ส่ิงเหลานี้ยังคงเปนปญหาที่ตองไดรับการอธิบายจากการศึกษาทางฟสิกส

วัตถปุระสงค

1. ศึกษามโนทัศนเร่ืองการเดินทางขามเวลา2. วิเคราะหปฏิทรรศนตางๆ ของการเดินทางขามเวลาที่ถกเถียงกันอยูในปรัชญา3. ประเมินความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลา

Page 18: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

10

ขอตกลงเบื้องตน

เปนที่ยอมรับกันโดยทั่วไปวา ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Theory of Relativity)ไดเปดโอกาสใหการเดินทางขามเวลาไปสูอนาคต (forward time travel) ในรูปแบบหนึ่งเปนไปได(ดังที่กลาวไวขางตน) แตที่จริงนั่นก็เปนเพียงการทําใหกระบวนการตางๆ ในกรอบการอางอิงหนึ่ง(frame of reference) ดําเนินไปชาลงเมื่อเทียบกับอีกกรอบการอางอิงหนึ่งเทานั้น ในแงนี้ สัตวประเภทที่จําศีล หรือการทําใหตื่นขึ้นหลักจากการแชแข็งเปนเวลานาน (หากทําไดในทางปฏิบตัิ) ก็จะเปนการเดินทางขามเวลาไปสูอนาคตในความหมายเดียวกันนี้ ดังนั้น ปรากฏการณเชนนี้จึงไมมีปญหาทางตรรกะใดที่นาสนใจในทางปรัชญา (Mellor, 1998: 124)

ปญหาที่นาสนใจทางปรัชญาซึ่งจะไดวิเคราะหในวิทยานิพนธนี้ จึงอยูที่การเดินทางขามเวลาแบบที่ยอนกลับไปในอดีต (backward time travel) ดังที่โกเดลไดแสดงใหเห็นแลววาไมขัดแยงกับทฤษฎีทางฟสิกสที่มีอยู ดังนั้นเพื่อความกระชับ หากมิไดมีการระบุเปนอยางอื่นแลว คําวา“การเดินทางขามเวลา” ที่จะใชตอไปในวิทยานิพนธนี้ จะหมายถึงเฉพาะรูปแบบของการเดินทางขามเวลาที่ทําใหผูเดินทางสามารถยอนกลับไปสูชวงเวลาในอดีตได ซึ่งนั่นยอมหมายความดวยวาจะเปนการวิเคราะหในบริบทที่มีบุคคล (ซึ่งก็คือนักเดินทางขามเวลา) เขามาเกี่ยวของเปนหลักดวยเชนกัน ดังที่เปนหัวขอถกเถียงกันอยูในทางปรัชญา9

ขอบเขตของการวิเคราะหปญหา

ตามการแบงของฮอรวิช (Horwich, 1998) นับต้ังแตการคนพบของโกเดลเปนตนมา การศึกษาปญหาการเดินทางขามเวลาแบงไดเปน 3 แนวทางหลัก แนวทางแรกเปนการคนหาโครงสรางกาลอวกาศ (space-time structure) แบบอ่ืนๆ ที่กอใหเกิด CTCs ไดนอกเหนือจากแบบของโกเดล ทั้งนี้ก็เนื่องจากหลักฐานทางจักรวาลวิทยาในปจจุบันบงชี้วา จักรวาลโดยรวมไมนาจะกําลังหมุนรอบตัวเองอยู (แมวาแตละกาแล็คซี่จะหมุนอยูก็ตาม) ในลักษณะที่โกเดลไดเสนอไว (Davies,2001: 36) ในแงนี้ จึงมีความพยายามที่จะหา CTCs รูปแบบอื่นที่สอดคลองกับสภาพของจักรวาล

9 ในคําอธิบายทางฟสิกส มักเลี่ยงปญหาที่เกี่ยวกับบุคคลโดยลดทอนเปน physical objects เชน การ

ใช thought experiment เกี่ยวกับการชนกันของ billiard balls หรือเปน light signal ที่สงยอนเวลากลับไป ดังที่Novikov ไดใหความเห็นไววา “Obviously, a physicist (at least our contemporary physicist) is unable toperform an exact calculation of the actions of a human being. This is the field for psychology andsociology, not for physics.” (Novikov, 2001: 253)

Page 19: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

11

ที่เปนจริงตามที่เราสามารถสังเกตได (โปรดดู Davies, 2001; Gott, 2002) โดยสวนนี้จะเปนงานวิจัยทางดานฟสิกสภาคทฤษฎี (theoretical physics) เปนหลัก (โปรดดู Earman, 1995)

แนวทางที่สองเปนการวิเคราะหประเด็นทางความหมาย (semantic issue) ของมโนทัศนอ่ืนที่เกี่ยวของ (เชน เวลา สาเหตุ และการเดินทาง) วาจะยังคงเขาใจไดในแบบเดิมหรือไมในบริบทที่มีการเดินทางขามเวลาเขามาเกี่ยวของ กลาวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเดินทางขามเวลา (ถาเปนไปได) จะสงผลทําใหตองมีการปรับเปลี่ยนความหมาย (shift in the meanings) ของมโนทัศนอ่ืนๆ ที่มีการถกเถียงกันอยูแลวในทางปรัชญาหรือไมอยางไร

สวนแนวทางสุดทายเปนขอถกเถียงเกี่ยวกับปญหาจากปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาทั้งจากฟสิกสและปรัชญา รวมถึงนัยสําคัญของปฏิทรรศนดังกลาวตอการปดทิ้ง (preclude)โครงสรางกาลอวกาศที่ทําใหเกิด CTCs สําหรับใชในการเดินทางขามเวลา กลาวคือ ปฏิทรรศนตางๆ จะทําใหเราตองสรุปวาการเดินทางขามเวลาเปนไปไมไดหรือไม และนั่นจะเปนสิ่งบงชี้วารูปแบบกาลอวกาศบางรูปแบบที่ทําใหเกิดการเดินทางขามเวลานั้นเปนสิ่งที่ไมไดมีอยูจริงดวยหรือไม ดังที่ฮอรวิชเองไดชี้วา แมเราจะมีเหตุผลที่ทําใหเชื่อไดวาการเดินทางขามเวลาจะไมเกิดขึ้นในโลกที่เปนอยู แตกระนั้นก็ยังไมอาจใชเปนขอสรุปที่เด็ดขาดวาเราไมไดกําลังอยูในจักรวาลแบบที่โกเดลไดบรรยายไว (โปรดดู Horwich, 1987; 1995)

อยางไรกต็าม เนื่องจากประเด็นเชิงความหมายตามแนวทางการศึกษาที่สองนั้น เปนสิ่งที่ไมไดใหขอสรุปถึงความเปนไปได (หรือไมได) ทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาโดยตรง เพราะแมวามโนทัศนเกี่ยวกับเวลา ความเปนสาเหตุ รวมถึงมโนทัศนอ่ืนที่อาจเกี่ยวของที่เรามีอยูอาจจะไมสามารถนําไปใชอธิบายปรากฏการณของการเดินทางขามเวลาได นั่นก็ยังไมใชขอพิสูจนวาการเดินทางขามเวลาโดยตัวเองนั้นเปนสิ่งที่เปนไปไมได ในทางกลับกัน หากทฤษฎีวิทยาศาสตรที่เปดโอกาสใหเกิดการเดินทางขามเวลาสามารถพิสูจนไดวาเปนจริง เราก็อาจจําเปนตองปรับเปลี่ยนความเขาใจเชิงมโนทัศนของแนวคิดอื่นที่เกี่ยวของนั้นแทน (โปรดดู Horwich, 1995: 1998)10 ดวย

10 ตัวอยางเชนในงานของ Mellor (1998) ที่เสนอวา causal loops เปนเงื่อนไขจําเปนของการเดินทางขามเวลา แตจากการวิเคราะหมโนทัศนความเปนสาเหตุดวยทฤษฎีความนาจะเปน ทําใหเห็นวา causal loopsจะใหเซตของความถี่ออกมาขัดแยงกันเอง ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงเปนไปไมไดเพราะ causal loops เปนมโนทัศนที่เปนไปไมได อยางไรก็ตาม ขออางเหตุผลนี้ก็ไดรับการวิจารณวา 1). ไมสมเหตุสมผล กลาวคือ แมจะยอมรับการวิเคราะหตามแนวทางขางตน กไ็มไดทําใหเกิดความขัดแยงในตัวเอง และ 2). เปนการใชมโนทัศนความเปนสาเหตุแบบ linear มาแยงความเปนสาเหตุแบบ loops ดังนั้นจึงเทากับ beg the question ตอปญหาcausal loops (และตอปญหาการเดินทางขามเวลา) ตั้งแตตน โปรดดูขอวิจารณเหลานี้ไดใน Berkovitz (2001)และ Dowe (2001)

Page 20: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

12

เหตุนี้ ผูเขียนจะไมวิเคราะหในรายละเอียดของมโนทัศนที่อาจเกี่ยวของเหลานี้โดยตรง แตอาจมีการหยิบยกขึ้นมาอภิปรายบางเฉพาะกรณีที่จําเปนเทานั้น ดังนั้น ขอบเขตของปญหาหลักที่จะไดวิเคราะหในวิทยานิพนธจึงเปนการศึกษาในแนวทางที่สาม โดยเนนปญหาทางตรรกะในปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาเปนหลัก เนื่องจากเห็นวาปญหานี้เปนประเด็นที่เกี่ยวโยงถึงความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาโดยตรง

ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ

1. เขาใจมโนทัศนเร่ืองการเดินทางขามเวลาที่เปนไปไดอยางสมเหตุสมผล2. เปนแหลงอางอิงทางวิชาการสําหรับผูสนใจที่จะทําการศึกษาในขั้นตอไป

Page 21: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

บทที่ 2

ปฏิทรรศนคุณปู

ในบทนี้ ผูเขียนจะแสดงใหเห็นวา ปญหาเชิงปฏิทรรศนที่สําคัญในการเดินทางขามเวลาที่อยูในรูปแบบของปฏิทรรศนคุณปู (Grandfather paradox) นั้น ไมไดนําไปสูความขัดแยงในตัวเองอยางไรก็ตาม แมวาลูอิส (Lewis, 1976) ไดชี้วาความพยายามของนักเดินทางขามเวลาที่จะทําใหเกิดบางสิ่งที่เปนไปไมไดเพียงแตจะลมเหลวดวยความบังเอิญที่ธรรมดาสามัญบางอยางเสมอ แตจากขอพิจารณาเพิ่มเติมของฮอรวิช (Horwich, 1987; 1995) ความบังเอิญที่วานี้เปนสิ่งที่เรารูวาไมนาจะเปนไปได (improbable) ในโลกที่เปนอยู (the actual world) ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงไมนาจะเกิดขึ้นไดจริงในโลกของเรา ในสวนสุดทาย ผูเขียนจะวิเคราะหใหเห็นวาปญหาที่แทจริงของปฏิทรรศนนี้ไมใชปญหาเกี่ยวกับเจตจํานงเสรี (free will) แตเปนปญหาจากหลักการที่เรียกกันวา autonomy principle

ทางออกของลูอิส

ในบทความ “The Paradoxes of Time Travel” ลูอิส (Lewis, 1976) ไดวิเคราะหปญหาจากปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาในรูปแบบปฏิทรรศนคุณปู โดยชี้ใหเห็นวายังอาจมีขอโตแยงที่เปนไปไดในการแสดงวาการเดินทางขามเวลาเปนไปไมไดทางตรรกะ “เมื่อเราไมไดถามถึงสิ่งที่นักเดินทางขามเวลาทํา (does) แตอะไรบางที่เขาสามารถทําได (could do)” (Lewis, 1976:149) เพราะดูเหมือนวา หากนักเดินทางยังคงสามารถที่จะทําสิ่งตางๆ ตามที่เขาสามารถทําไดในเวลาปกติแลว เขาก็นาจะยังคงสามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได (แมวาในความเปนจริงเขาจะไมไดทําก็ตาม) ดังเชนเรื่องตอไปนี้

พิจารณาทิม (Tim) เขาเกลียดชังปูของเขา ความสําเร็จจากการคาอาวุธของปูไดสรางความมั่งคั่งแกครอบครัวอันเปนที่มาของคาใชในยานเวลาของทิม ทิมไมตองการทําส่ิงใดมากเทากับการฆาปู แตโชคไมดีที่สายไปแลวสําหรับเขา ปูนอนตายบนเตียงตัวเองในป 1957 ในขณะที่ทิมยังเปนเด็กเล็กอยู แตเมื่อทิมไดสรางยานเวลาของเขาและเดินทางไปสูป 1920 ทันใดนั้น เขาก็ตระหนักวาไมไดสายไปอีกแลวสําหรับเขา เขาซื้อปนไรเฟลหนึ่งกระบอก เขาใชเวลาฝกจัดการกับเปาหมายอยูนานหลายชั่วโมง เขาสะกดรอยตามปูเพื่อเรียนรูเสนทางที่เดินเปนประจําในแตละวันของการไปทํางานขายอาวุธ เขาเชาหองพักบนเสนทางนั้น และที่นั่นเองที่เขาใชดักซุม จนวันหนึ่งของฤดูหนาวในป 1921 ปนไรเฟลถูกบรรจุกระสุน พรอมกับความเกลียดที่อัดแนนในใจเขา เมื่อปูเดินใกลเขามาและใกลเขามาอีก .... (Lewis, 1976: 149)

Page 22: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

14

จากสถานการณขางตน ดูเปนที่แนนอนวาทิมยอมสามารถฆาปูได “เขามีทุกส่ิงที่ตองการเงื่อนไขทุกอยางสมบูรณพรอมในทุกทาง ... อะไรจะหยุดเขาได พลังของตรรกศาสตรก็ไมอาจเหนี่ยวรั้งมือเขาได!” (Lewis, 1976: 149) และดังนั้น “ดวยมาตรฐานทั่วไปของความสามารถแบบใดๆ ก็ตาม ทิมสามารถฆาปูได” (Lewis, 1976: 150) แตในอีกทางหนึ่ง ทิมไมสามารถฆาปูไดเพราะปูมีชีวิตอยูจนถึงป 1957 การฆาปูจะทําใหอดีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงเกดิขอสรุปที่ขัดแยงกันเอง นั่นคือ “ ‘ทิมไมไดฆาปูแตสามารถทําได เพราะเขามีทุกอยางที่ตองการ’ ซึ่งแยงกับ‘ทิมไมไดฆาปูและไมสามารถทําได เพราะเปนไปไมไดทางตรรกะที่จะเปลี่ยนแปลงอดีต’ “ (Lewis,1976: 150)

อยางไรก็ตาม ลูอิสไดเสนอทางออกของปฏิทรรศนขางตนดวยการแสดงใหเห็นวาขอสรุปทั้งสองขอนี้สามารถเปนจริงไดพรอมกัน เนื่องจากคําวา “สามารถ” (can) เปนคําที่มีความหมายคลุมเครือ (equivocal) และทําใหตีความไดทั้งสองนัยดังเชนขอสรุปทั้งสองแบบขางตน แตนั่นก็ไมไดแสดงวามีความขัดแยงกันแตอยางใด โดยลูอิสกลาววา

การบอกวาบางสิ่งสามารถเกิดขึ้นได หมายความวา การเกิดขึ้นของสิ่งนั้นเปนไปไดรวมกันกับ(compossible with) ขอเท็จจริงบางอยาง ขอเท็จจริงใด นั่นก็กําหนดไดจากบริบท แตบางครั้งอาจกําหนดไดไมดีพอ ... การฆาปูของทิมในวันนั้นของป 1921 เปนไปไดรวมกันกับชุดของขอเท็จจริงที่สมบูรณพรอมชุดหนึ่ง ... โดยสัมพัทธกับขอเท็จจริงเหลานี้ ทิมสามารถฆาปูได แตการฆาปูของเขาไมใชส่ิงที่เปนไปไดรวมกันกับขอเท็จจริงอีกชุดหนึ่งที่ครอบคลุมกวานั่นก็คือขอเท็จจริงงายๆ ที่วาปูไมไดถูกฆาตาย นอกจากนี้ ยังมีขอเท็จจริงอื่นๆ อีกมากมายเกี่ยวกับส่ิงที่ปูทําหลังจากป 1921 และผลของการกระทําเหลานั้น ไดแก ปูเปนผูใหกําเนิดพอในป 1922 และพอใหกําเนิดทิมในป 1949 โดยสัมพัทธกับขอเท็จจริงเหลานี้ ทิมไมสามารถฆาปูได เขาสามารถและไมสามารถ แตภายใตการกําหนดขอบเขตที่แตกตางกนัของขอเท็จจริงที่เกี่ยวของนั้น คุณสามารถเลือกขอบเขตที่แคบกวาไดอยางมีเหตุผล และบอกวาเขาสามารถทําได หรือเลือกขอบเขตที่กวางกวาและบอกวาเขาไมสามารถ แตตองเลือกเอา ส่ิงที่คุณตองไมทําก็คือการแกวงไปแกวงมาดวยการพูดในคราวเดียวกันวาเขาทั้งสามารถและไมสามารถ และไปทึกทักเอาเองวาความขัดแยงนี้พิสูจนวาการเดินทางขามเวลาเปนไปไมได(Lewis, 1976: 150-151)

นอกจากจะไมมีความขัดแยงในตัวเองเกี่ยวกับความสามารถที่จะฆาปูของทิม คําอธิบายเกี่ยวกับความลมเหลวในการพยายามเชนนั้นของทิม ก็ไมใชสิ่งที่ไมมีเหตุผลหรือไมอาจอธิบายไดแตอยางใด โดยลูอิสเห็นวาความลมเหลวดังกลาวเปนสิ่งที่อธิบายไดดวยเหตุผลที่ธรรมดาสามัญ(commonplace reason) ที่อาจเกิดขึ้นไดกับคนทั่วไป เพราะบางครั้งความสําเร็จนั้นไมไดเพียงตองการความสามารถที่จะทําได (ability) เทานั้น แตอาจจะตองมีโชคดี (luck) ประกอบดวย ใน

Page 23: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

15

กรณีของทิมก็เชนกัน “บางทีมีเสียงรบกวนมาเบี่ยงเบนเขาในวินาทีสุดทาย บางทีเขาพลาดไปเองทั้งที่ไดฝกฝนมาเปนอยางดี บางทีเสนประสาทของเขาหยุดชะงักไป หรืออาจบางทีเขาเกิดรูสึกปรานีอยางไมเคยเปนมากอนในแบบฉับพลัน แตความลมเหลวของเขาก็ไมไดพิสูจนวา จริงๆ แลวเขาไมสามารถฆาปูไดแตอยางใดเลย” (Lewis, 1987: 150) อยางไรก็ตาม ยังคงมีปญหาที่สําคัญเกี่ยวกับคําอธิบายของความลมเหลวเชนนี้ ดังที่จะไดพิจารณาจากงานของฮอรวชิในสวนตอไป

ขอพิจารณาของฮอรวิช

ในงาน Asymmetries in Time (1987) และบทความ “Closed Causal Chains” (1995)ฮอรวิช (Horwich) ไดเสนอวา แมความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาจะไมมีความขัดแยงในตัวเอง (โปรดดู Horwich, 1975) แตจากขอพิจารณาเกี่ยวกับส่ิงตางๆ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อรับประกับความคงเสนคงวาทางตรรกะนั้น (เชน เหตุการณที่เกิดขึ้นเพื่ออธิบายความลมเหลวในการฆาปูของทิมในตัวอยางของลูอิส) เปนความบังเอิญที่เรารูวาไมนาที่จะเกิดขึ้นในโลกที่เปนอยู (the actualworld) ดังนั้น หากการเดินทางขามเวลานําไปสูความบังเอิญเชนนี้จริง เรายอมจะสามารถอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปได (improbable) ในความหมายที่วาจะไมสามารถเกิดข้ึนไดในโลกของเรา

ในงานดังกลาว ฮอรวิชไดวิเคราะหปฏิทรรศนในรูปแบบของการเดินทางขามเวลากลับไปฆาตัวเองในอดีต (autofanticide) แทน โดยเขาเห็นวา การแกปญหาของปฏิทรรศนรูปแบบนี้ (เชนขอเสนอแบบของลูอิส) จะยังคงมีปญหาคลางแคลงใจไดหากพิจารณาถึงกรณีของการพยายามที่ซ้ําแลวซ้ําเลา (repeated attempts) ของนักเดินทางขามเวลาที่จะฆาตัวเองในอดีตใหได ซึ่งความสําเร็จของการกระทํานี้จะกลายเปนผล (effect) ที่ยอนกลับไปทําลายลําดับของสาเหตุ (cause) ที่นําไปสูการกระทําเชนนั้นตั้งแตตน (เปน self-defeating causal chains) (Horwich, 1987: 119-120) กลาวคือ การฆาตัวเองในอดีตจะทําใหนักเดินทางไมสามารถมีอยูในการที่จะเดินทางยอนเวลากลับไปฆาตัวเองในอดีตตั้งแตตนนั้นได ซึ่งความสําเร็จของการกระทําเชนนี้ก็เปนสิ่งที่เปนไปไมไดเชนเดียวกับที่ไมมีผูใดจะสามารถฆาใครก็ตามกอนเวลาที่คนผูนั้นจะตายจริงๆ ไดสําเร็จ แตกระนั้น คําอธิบายของความลมเหลวอยางตอเนื่องในรูปของการเปลี่ยนใจอยางกะทันหัน การยิงพลาดเปา หรืออ่ืนๆ ลวนแลวแตดูเปนการแกปญหาแบบเฉพาะกรณี (ad hoc) และเปนคําอธิบายที่ไมนาเพียงพอ กลาวคือ ไมนาจะเปนไปไดวาความเคราะหรายเชนนั้นจะตองเกิดขึ้นอยางแนนอน(เพื่อไมใหเกิดความขัดแยงในตัวเองตามมา) อยางซ้ําแลวซ้ําอีก สวนการจะเลี่ยงปญหาโดยอางวาความพยายามทําเชนนั้นเปนสิ่งที่จะไมเกิดขึ้นก็ฟงดูไมมีเหตุผลที่เพียงพอ ดังที่ฮอรวิชกลาวไววา

Page 24: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

16

.... เราไมมีเหตุผลที่จะคาดหวังความบังเอิญอยางโชคดีของการเดินทางขามเวลาที่ไมมีการพยายามฉอโกง (bilking attempts)11 เพราะไมเพียงแตการเกี่ยวพันกันอยางไมเปนสาเหตุ(uncaused correlation) นี้จะเปนความบังเอิญที่ไมอาจอธิบายได ซึ่งไมนาจะเปนไปไดอยางสูงดวยหากพิจารณาจากสิ่งที่เราเห็นเกี่ยวกับโลก แตยังมีขอเท็จจริงเกี่ยวกับประสิทธิภาพ(capacities) และความโนมเอียงทางอารมณตางๆ (inclinations) ของมนุษยที่เปนเหตุผลเชิงบวกแกเราที่จะคาดหวังวาจะไมมีการเกี่ยวพันกันเชนนั้น กลาวคือ เรารูวาความสามารถ(ability) ที่จะเดินทางยอนกลับไปในเวลาจะกอใหเกิดความพยายามที่ทําใหเกิดการทําลายตนเองของความตอเนื่องเชิงสาเหตุ (self-defeating causal chains) ดังนั้น เราจึงสามารถอนุมาน (infer) ไดวา เราจะไมมีความสามารถเชนนั้น (Horwich, 1987: 121)

โดย “ความสามารถ” (ability) ที่เราจะไมมีทางมีไดในที่นี้ ก็คือ ความสามารถที่จะเดินทางขามเวลาในโลกที่เปนอยู (the actual world) นั่นเอง ประเด็นสําคัญของฮอรวิชอยูที่วา เรามีเหตุผลที่ดีในเชิงประจักษที่จะเชื่อไดวา การเดินทางขามเวลาจะนําไปสู (entail) ความพยายามเชนที่กลาวมานั้นจริง แตความสําเร็จของการพยายามทําเชนนั้น ไมวาจะเปนกรณีของการฆาตัวเองในอดีต หรือการฆาปูของทิมในตัวอยางของลูอิส ลวนเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ ทั้งนี้เนื่องจากความสําเร็จของการกระทําเชนนนั้นจะทําใหเกิดความขัดแยงในตัวเองขึ้น (นักเดินทางจะทั้งมีอยูและไมมีอยู) แตไมมีโลกที่เปนไปไดใดที่จะมีความขัดแยงในตัวเองได ดังนั้น เราจึงรูไดวาความพยายามเหลานั้นจะไมมีวันทําไดสําเร็จ แตเนื่องจาก

... การพยายามฉอโกง (bilking attempts) โดยทั่วไปเปนการพยายามที่จะกระทําพฤติกรรมตางๆ ที่ปกตินั้นงายมากที่จะกระทํา ความลมเหลวเปนส่ิงซึ่งที่จริงนั้นเปนไปไดจากหลากหลายเหตุผล แตความลมเหลวตอเนื่องที่ยาวนานอยางไมมีกําหนด ซึ่งเกี่ยวพันกับสถานการณตางๆ ที่ชี้ไปสูการเดินทางขามเวลาไดกอใหเกิดความบังเอิญอยางไมนาเชื่อ ดวยประสบการณของเราตอความบังเอิญดังกลาวที่เกิดขึ้นอยูไมบอยนั้น เรามีเหตุผลที่ดีที่จะเชื่อวาความลมเหลวที่ เรื้อรังของการพยายามฉอโกงเปนส่ิงที่ไมนาจะเปนไปไดอยางสูง (Horwich, 1987: 122)

11 หมายถึงความพยายามของนักเดินทางขามเวลาที่จะกระทําบางสิ่งที่นําไปสู self-defeating causal

chains นั่นเอง ซึ่งความสําเร็จของการกระทํานี้จะกลายเปนผลที่นําไปสูการขัดแยงกับความเปนจริงบางอยางที่เปนสาเหตุของการนําไปสูการกระทํานั้นตั้งแตตน เชน ตัวอยางของนักเดินทางขามเวลาที่อาจจะไมพอใจในชีวิตที่เปนอยูในปจจุบัน จึงวางแผนกลับไปในอดีตเพื่อเปล่ียนแปลงบางอยางที่ไดเกิดขึ้นแลว และบางอยางที่วานั้นเปนสาเหตุที่ทําใหเขายอนเวลากลับไปตั้งแตตน ดังตัวอยางการฆาปูของทิมในงานของลูอิส หรือการฆาตัวเองในอดีตของนักเดินทางขามเวลาในงานของฮอรวิชนี้ ซึ่งเราไดเห็นแลววานี่เปนส่ิงที่เปนไปไมไดทางตรรกะ

Page 25: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

17

กลาวคือ ความพยายามที่จะฆาตัวเองในอดีตของนักเดินทางขามเวลากับเหตุการณตางๆที่ทําใหความพยายามดังกลาวลมเหลวอยางตอเนื่องเสมอนั้น ไมไดมีความเกี่ยวพันเชิงสาเหตุกันเพราะไมมีเหตุการณใดเปนสาเหตุ (หรือผล) ของอีกเหตุการณหนึ่ง และทั้งสองเหตุการณนี้ก็ไมไดมีสาเหตุรวมเดียวกัน (common cause) (Horwich, 1995: 263) ดังนั้น การเกิดขึ้นมาคูกันของเหตุการณสองแบบนี้จึงไมนาจะเปนไปไดอยางสูง (highly improbable) ดวยเหตุนี้ จากประสบการณของเราตอความไมนาจะเปนไปไดของความบังเอิญเชนนี้ ทําใหสามารถอนุมานกลับไปไดวาการเดินทางขามเวลาซึ่งเปนสิ่งที่นํามาสูสถานการณดังกลาว จึงยอมเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดอยางสูงในโลกที่เปนอยูนี้ดวยเชนกัน

จากการวิเคราะหปฏิทรรศนคุณปูเทาที่ผานมา ผูเขียนเห็นวาเรานาจะพอสรุปชุดของการอางเหตุผลที่มักทําใหเกิดความเขาใจที่ผิดวาปฏิทรรศนนี้เปนสิ่งที่ทําใหความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาประสบปญหาทางตรรกะ นั่นคือ

1. หากการเดินทางขามเวลาเปนไปได นักเดินทางสามารถทํา X ได2. การทํา X นําไปสูความขัดแยงในตัวเองดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงเปนเปนไปไมไดทางตรรกะ

อยางไรก็ตาม ขอเสนอของลูอิสทําใหเราเห็นวาขออางที่ 1 นั้นไมจริง ความสามารถที่จะทําสิ่งหนึ่งไดไมจําเปนตองหมายความวาจะตองทําไดสําเร็จเสมอไป นักเดินทางเพียงแตสามารถพยายามทํา X (เชนการพยายามที่จะฆาปูของทิม) ได แตเนื่องจาก X เปนสิ่งที่ขัดแยงในตัวเอง (ขออางที่ 2 ยอมรับได) เราจึงเพียงสรุปไดวานักเดินทางจะทํา X ไมสําเร็จ แตไมจําเปนตองสรุปวาการเดินทางขามเวลาจะเปนไปไมไดทางตรรกะ ดังนั้น ลําดับเหตุผลที่ถูกตองควรจะเปน

1. หากการเดินทางขามเวลาเปนไปได นักเดินทางสามารถพยายามทํา X ได2. การทํา X เปนความขัดแยงในตัวเอง3. การทําสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองจะตองลมเหลวเสมอ4. ดังนั้น ความพยายามทํา X จะนําไปสูความลมเหลวของการกระทํานั้นเสมอ

แตดูเหมือนลูอิสจะพิจารณาเฉพาะการพยายามทํา X เพียงครั้งเดียวเทานั้น ความบังเอิญที่เกิดขึ้นมาขัดขวางจึงอาจไมใชเร่ืองแปลกจนยอมรับไมได แตจากขอพิจารณาเพิ่มเติมของฮอรวิชเราจะเห็นไดวาปญหาสําคัญอยูที่วานักเดินทางสามารถพยายามอยางตอเนื่องได ซึ่งทําให

5. ความลมเหลวอยางตอเนื่องเปนความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดอยางสูงดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู

Page 26: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

18

อยางไรก็ตาม ลูอิสเองก็มิใชจะคิดวาการเดินทางขามเวลาจะสามารถเกิดขึ้นไดจริงในโลกที่เปนอยูนี้เชนกัน ดังที่เขากลาวไวอยางชัดเจนวา “โลกที่เปนไปไดที่การเดินทางขามเวลาไดเกิดขึ้นนาจะเปนโลกที่แปลกประหลาดมากที่สุดโลกหนึ่ง เปนโลกซึ่งมีพื้นฐานที่แตกตางไปจากโลกที่เราคิดวาเปนของเรา” (Lewis, 1976: 145) แตทั้งนี้ ลูอิสไมไดใหเหตุผลสนับสนุนที่ชัดเจนวา “พื้นฐานที่แตกตาง” ไปจากโลกของเรานี้คืออะไร12 ในแงนี้ ขออางเหตุผลของทั้งลูอิสและฮอรวิชจึงสามารถไปดวยกันไดเปนอยางดี โดยเราอาจถือไดวาแนวเหตุผลของฮอรวิชชวยเติมเต็มความเขาใจปญหาจากปฏิทรรศนในการเดินทางขามเวลาที่ลูอิสไดเสนอไวก็คงจะได

เจตจํานงเสรีกับ autonomy principle

ปญหาประการหนึ่งจากแนวเหตุผลขางตนของทั้งลูอิสและฮอรวิชก็คือ ขอสงสัยในประเด็นเกี่ยวกับเจตจํานงเสรี (free will) ของนักเดินทางขามเวลา หากความพยายามที่จะกระทําสิ่งหนึ่งจะตองลมเหลวเสมอ นั่นยอมจะหมายความวา นักเดินทางไมมีเจตจํานงเสรีที่จะทําเชนนั้นไดจริง(เชน Vihvelin, 1996; 1999) ในกรณีของลูอิส ทิมยอมไมมีเจตจํานงเสรีที่จะฆาปูของตัวเอง และเชนเดียวกับนักเดินทางขามเวลาในตัวอยางของฮอรวิช เขาก็ยอมไมมีเจตจํานงเสรีที่จะฆาตัวเองในอดีตเชนกัน13 แตทั้งนี้ขอใหสังเกตวา การจะมีหรือไมมีเจตจํานงเสรีไมนาจะทําใหความเปนไปไดทางตรรกะของการเดินทางขามเวลามีปญหาแตอยางใด และในทางตรงกันขาม หากเชื่อวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ขัดแยงกับเจตจํานงเสรีของมนุษย และเชื่อวาสิ่งที่จะเกิดขึ้นไดในโลกนี้ตองไมขัดแยงกับเจตจํานงเสรี เราก็อาจมีแนวเหตุผลอีกแบบหนึ่งที่ทําใหสามารถอนุมานไปสูขอสรุปเชนเดียวกับฮอรวิชที่วา การเดินทางขามเวลานั้นจะไมสามารถเกิดขึ้นไดในโลกที่เปนอยู

อยางไรก็ตาม ดังที่ดอยทชและล็อควูด (Deutsch and Lockwood, 1994) ไดวิเคราะหเอาไว ส่ิงที่เปนหัวใจหลักของปฏิทรรศนในรูปแบบปฏิทรรศนคุณปู ไมใชปญหาเรื่องเจตจํานงเสรี แต

12 อยางไรก็ตาม ประเด็นหลักของ Lewis อยูที่ความเปนไปไดทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาเทา

นั้น โดยเฉพาะที่มักพบไดในนิยายวิทยาศาสตรทั้งหลาย โดยเขาเห็นวา “If I can defend the consistency ofsome science fiction stories of time travel, then I suppose parallel defences might be given of somecontroversial physical hypotheses, such as the hypothesis that time is circular or the hypothesis thatthere are particles that travel faster than light.” (Lewis, 1976: 145)

13 สําหรับการวิเคราะหปญหาในรูปของ free will โปรดดู Brown (1992), Craig (1988), Dummett(1986), King (1999) และ Sider (2002) อยางไรก็ตาม ผูเขียนถือวาปญหา free will กับการเดินทางขามเวลาเปนปญหาในแงที่วาเราจะสามารถอธิบายความเขากันไดของมโนทัศนทั้งสองนี้อยางไรมากกวา ซึ่งไมนาจะเกี่ยวของกับความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาโดยตรง จึงไมขออภิปรายเปนประเด็นหลักในที่นี้

Page 27: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

19

เปนปญหาจากหลักการที่เรียกกันวา autonomy principle ซึ่งเปน “หลักการพื้นฐานอยางหนึ่งที่รองรับทั้งการใหเหตุผลทางวิทยาศาสตรและในชีวิตประจําวัน” (Deutsch and Lockwood, 1994:53) ตามหลักการนี้ เราสามารถสรางใหเกิด configuration of matter ใดๆ ก็ได ตามที่กฎตางๆทางฟสิกสเปดโอกาสใหทําไดภายใตสภาพแวดลอมที่เรากระทําการนั้น (locally) โดยไมตองของเกี่ยวกับสวนที่เหลือทั้งหมดของจักรวาล ตัวอยางเชน หากเราตองการจุดไมขีดไฟ เรายอมไมจําเปนตองกังวลวาการติดไฟของไมขดีในสภาพแวดลอมที่เรากําลังกระทําการอยู (เชนในโลกตอนนี้)จะไมเขากันกับ (incompatible with) ตําแหนงของดาวเคราะหทั้งหลายที่โคจรอยู ทั้งนี้ “สวนที่เหลือของจักรวาลจะดูแลตัวเอง” (Deutsch and Lockwood, 1994: 53)

ในการใหเหตุผลของทั้งลูอิสและฮอรวิชนั้น เราสามารถเห็นเปนนัยไดวาทั้งสองตางก็ยอมรับใน autonomy principle นี้เชนกันในฐานะที่เปนสมมติฐานตั้งตนของปญหาจากปฏิทรรศนดังกลาว ลูอิสเองก็ไดยอมรับวา ทิมสามารถฆาปูของเขาได เนื่องจากเงื่อนไขทุกอยางที่จะกระทําการนั้นสมบูรณพรอมสําหรับทิมภายใตสภาพการณขณะนั้น สวนฮอรวิชเองก็เห็นวา การพยายามฆาตัวเองในอดีตของนักเดินทางขามเวลานั้นเปน “ความพยายามทั่วๆ ไปที่จะกระทําพฤติกรรมตางๆที่ปกตินั้นงายมากที่จะกระทําได” (Horwich, 1987: 122) ดวยเหตุนี้ จึงทําใหเห็นไดวา autonomyprinciple นี้เองที่เปนปญหาพื้นฐานของการยอมรับขออางที่ 1 ที่วา “หากการเดินทางขามเวลาเปนไปได นักเดินทางสามารถพยายามทํา X ได” และดังนั้น จึงเปนสมมติฐานเบื้องตนของขออางเหตผุลทั้งของลูอิสและฮอรวิชดวยเชนกัน

แตการกระทําหนึ่งที่เราเชื่อวาสามารถทําได (บนฐานของ autonomy principle) ก็ไมจําเปนตองสําเร็จลุลวงเสมอไป เชนเดียวกับที่บางครั้งเราเองก็จุดไมขีดไฟไมติดทั้งที่อาจจะอยูภายใตสภาพแวดลอมที่แสนจะเอื้ออํานวยเพียงใดก็ตาม แตนั่นยอมไมไดหมายความวา เราไมมีเจตจํานงเสรีที่จะจุดไมขีดไฟนั้นได ในกรณีการฆาปูของทิมและการฆาตัวเองในอดีตของนักเดินทางขามเวลาก็เชนกัน ความลมเหลวในการกระทําเชนนั้นยอมไมไดนาํไปสูการขาดแคลนเจตจํานงเสรีของนักเดินทางขามเวลาโดยตรง แมเราจะรูวาการทําเชนนั้นจะตองลมเหลวเสมอไปก็ตาม ทั้งนี้ก็ไมใชเร่ืองแปลกอะไรที่เราจะตองลมเหลวเสมอเมื่อพยายามจะทําในส่ิงซึ่งเปนความขัดแยงในตัวเอง เราอาจจะลองวาดรูปส่ีเหลี่ยมที่เปนวงกลม (round square) เพื่อจะไดรูวาเหตุใดสิ่งนี้จึงเปนไปไมได แตความลมเหลวนี้ไมนาจะใชเปนเหตุผลในการบอกวา เราไมมีเจตจํานงเสรีในการทําสิ่งที่เปนไปไมไดนั้น (และบางทีอาจจะไมมีความหมายของเจตจํานงเสรีอยูในกรณีเชนนี้ตั้งแตตนแลวดวยซ้ํา)

แตกระนั้น ดังที่ลูอิสไดพิจารณาเกี่ยวกับความคลุมเครือของคําวา “สามารถทําได” (can)เราก็อาจพอกลาวไดอยางมีเหตุผลโดยไมมีความขัดแยงกันวา ทิมทั้งมีและไมมีเจตจํานงเสรีที่จะ

Page 28: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

20

ฆาปูของตัวเอง โดยเราอาจจะเลือกยอมรับเจตจํานงเสรีของทิมบนพื้นฐาน autonomy principleที่ทําใหเขาไดพยายามกระทําการเชนนั้น และสรุปวาทิมมีเจตจํานงเสรีที่จะฆาปูตัวเอง หรือเราอาจจะเลือกขอบเขตของเจตจํานงเสรีที่กวางกวาบนพื้นฐานของความสําเร็จของการกระทําเปนหลักและสรุปวาทิมไมมีเจตจํานงเสรีที่จะฆาปูของตัวเอง แตทั้งการมีและไมมีเจตจํานงเสรีของทิมนี้ก็ไมใชขอพิสูจนถึงความขัดแยงในตัวเองของการเดินทางขามเวลาแตประการใด

Page 29: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

บทที่ 3

ปฏิทรรศนความรู

ในบทนี้ ผูเขียนจะวิเคราะหปญหาในปฏิทรรศนอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลา นั่นคือ ปฏิทรรศนความรู (Knowledge paradox) ซึ่งเปนสถานการณที่เกิดมีบางสิ่งที่ไมสามารถอธิบายไดในแบบปกติ โดยผูเขียนจะแสดงใหเห็นวาสิ่งที่เกิดขึ้นเหลานี้ไมไดมีความขัดแยงในตัวเอง แตดวยเกณฑที่ฮอรวิชใชในการอนุมานความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาในโลกที่เปนอยูจากปญหาในปฏิทรรศนคุณปู (Gradfather paradox) เราก็จะสามารถอนุมานจากปญหาในปฏิทรรศนความรูนี้ไดเชนเดียวกันวา การเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดในโลกของเรา

รูปแบบของปฏิทรรศนความรู

นอกจากปฏิทรรศนในรูปแบบปฏิทรรศนคุณปูดังที่เราไดพิจารณากันไป ความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลายังสามารถนําไปสูสถานการณที่นาแปลกประหลาดจนบางครั้งไมนาเชื่อวาจะสามารถเปนไปได (แมจะไมมีความขัดแยงในตัวเองที่ชัดเจนก็ตาม) ที่เรียกวา “ปฏิทรรศนความรู” โดย “ความรู” ในที่นี้หมายรวมถึงสิ่งที่เปนวัตถุเชิงกายภาพ ขอมูล และสิ่งมีชีวิตตางๆ ไดดวยเชนกัน (Deutsch and Lockwood, 1994: 53) ซึ่งการเดินทางขามเวลาทําใหสิ่งเหลานี้เกิดมีอยูขึ้นโดยไมสามารถอธิบายหรือหาสาเหตุในแบบปกติได

สวนปญหาจะเปนอยางไร ขอใหลองพิจารณาเรื่องราวของการเดินทางขามเวลาที่แฮรริสัน(Harrison, 1979: 65) ตั้งเปนปญหาสําหรับใหผูอานรวมแขงขันเสนอทางออกในวารสาร Analysisซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปเปนดังนี้

วันหนึ่ง โจคาสตา (Jocasta) ไดชวยชีวิตชายแปลกหนาคนหนึ่ง ซึ่งจําไดเพียงวาตัวเองชื่อดัม(Dum) และเดินทางมาจากอนาคตดวยยานเวลา (time machine) ที่สรางขึ้นจากหนังสือเลมหนึ่งที่เขานําติดตัวมาดวย ตอมา ทั้งคูแตงงานและมีลูกชายดวยกันหนึ่งคนชื่อ ดี (Dee) เมื่อดีโตขึ้น เขาพบหนังสือเลมนั้น และในที่สุด เขาก็สรางยานเวลาขึ้น นายดีพรอมกับพอคือดัมจึงเดินทางยอนกลับไปในอดีต (โดยนําหนังสือเลมเดิมนั้นติดไปดวย) เพื่อหวังจะไดรูวาเกิดอะไรขึ้นกับดัมในวันกอนหนาที่จะไดรับการชวยชีวิตจากโจคาสตา แตโชครายที่การเดินทางใชเวลานานกวาที่คาดคิดไว เสบียงที่เตรียมมาไมพอทําใหนายดีฆาและกินดัม ความรูสึกผิดอยางรุนแรงทําใหเขาลืมเลือนอดีตที่เลวรายแทบทุกอยางกอนที่จะหมดสติไป แตเม่ือรูตัว

Page 30: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

22

อีกครั้ง เขาก็กําลังไดรับการชวยชีวิตออกมาจากยานเวลาลํานั้น พรอมกับสรางความเชื่อบางอยางผิดๆ ขึ้นมาวาตัวเองนั้นชื่อดัม! และแนนอนวา คนที่ชวยเขาไวก็คือ โจคาสตานั่นเอง14

แนนอนวาความคงเสนคงวาทางตรรกะ (logical consistency) เปนสิ่งที่จําเปนในการพิจารณาวาเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางขามเวลาเรื่องหนึ่งนั้นเปนไปไดหรือไม และเรื่องที่แฮรริสันเลามานี้ก็ไมไดมีความขัดแยงในตัวเองปรากฏขึ้นมาอยางชัดเจนแตอยางใด แตส่ิงที่สรางปญหาไดไมยิ่งหยอนไปกวากันก็คือ ความนาแปลกประหลาดของสถานการณบางอยางที่สมควรเรียกไดวาเปนปฏิทรรศน ดังที่การเดินทางขามเวลาไปมาของดี-ดัม ไดทําใหเกิดหลายสิ่งขึ้นมาโดยชวนใหเราสงสัยถึงความมีอยูขึ้นมาไดของสถานการณที่แปลกประหลาดเหลานั้น

ประการแรก เราจะเห็นไดชัดเจนวา ดัมที่โจคาสตาพบนั้นก็คือนายดีที่เดินทางยอนเวลากลับไป และกลายเปนพอที่ใหกําเนิดตัวเอง15 ประการที่สอง หนังสือซ่ึงเปนคูมือการสรางยานเวลาก็ดูจะเปนวัตถุทางกายภาพที่ไมไดถูกสรางขึ้นมาจากที่ใด เพราะนายดีคนที่สรางยานเวลานั้นไดหนังสือเลมดังกลาวมาจากดัม สวนดัมมีหนังสือนั้นเพราะเขาเองคือนายดีที่นําติดตัวกลับไปในอดีตตั้งแตทีแรก และประการสุดทาย (ซึ่งเปนที่มาของชื่อปฏิทรรศนความรู) ความมีอยูของตัวองคความรูเกี่ยวกับวิธีการเดินทางขามเวลา (ซึ่งเปนบอเกิดของปญหาทั้งหมด) ก็เปนสิ่งที่ไมสามารถอธิบายไดเชนกันวาใครเปนคนคิดขึ้นตั้งแตแรก ความรูนี้จึงดูเปนสิ่งที่เกิดขึ้นมาลอยๆ (creationex-nihilo) เชนเดียวกับตัวเลมของหนังสือที่ไมไดถูกผลิตขึ้นมาตามแบบปกติที่ควรจะเปน

แมวาเรื่องราวประเภทนี้จะไดรับความสนใจและใหความบันเทิงอยางมากในนิยายเชิงวิทยาศาสตร (โปรดดู Nahin, 1999: 304-323) แตประเด็นสําคัญทางปรัชญานาจะอยูที่วา เราจะสามารถเขาใจหรืออธิบายความแปลกประหลาดที่เกิดจากปฏิทรรศนดังกลาวนี้ไดหรือไมอยางไร ซึ่งนี่เปนปญหาที่เราจะไดพิจารณากันใหละเอียดยิ่งขึ้นในสวนตอไป

14 ผูเขียนดัดแปลงเรื่องราวบางสวนเพื่อความกระชับ สวนคําถามที่ Harrison ตั้งไวใหตอบจริงๆ นั้นก็

คือ “Did Jocasta commit a logically possible crime?” (Harrison, 1979: 65) อยางไรก็ตาม ในที่นี้ผูเขียนจะพิจารณาเฉพาะสิ่งที่เปนปญหาซึ่งเขาขายปฏิทรรศนความรูเทานั้น สําหรับรายละเอียดของคําตอบที่มีผูสงมาพรอมกับขอวิจารณของ Harrison เองตอคําตอบเหลานั้น โปรดดู Harrison (1980)

15 ในนิยายเรื่อง All You Zombies ของ Robert A. Heinlein นักเดินทางขามเวลาคนหนึ่งเดินทางยอนเวลากลับไปกลับมา และคนพบวาแทจริงแลวตัวเขาเปนทั้งพอและแมผูใหกําเนิดของตัวเอง สําหรับงานที่อางถึงนิยายเรื่องนี้โดยเฉพาะ โปรดดู Grey (1999: 67-68), Richmond (2001: 309-311) และ Nahin (1999: 321)อยางไรก็ตาม ปญหาทางตรรกะของเรื่องนี้ไมไดแตกตางไปจากปญหาของ ดี-ดัม ดังที่ไดจะวิเคราะหกัน

Page 31: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

23

ปญหาการใหกําเนิดตัวเอง

ในกรณีแรก ขอสงสัยคงจะอยูที่วา เปนสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองหรือไมที่นายดีและดัมจะเปนบุคคลเดียวกัน โดยก็อดฟรีย-สมิท (Godfrey-Smith) เห็นวาประเด็นนี้เปนปญหาในทางชีววิทยา(biological problem) ที่สามารถแสดงใหเห็นถึงความขัดแยงในตัวเองไดอยางชัดเจน โดยที่

… ดีเปนลูกชายของดัมและโจคาสตา ดังนั้น ดีไดรับยีน (genes) ครึ่งหนึ่งจากดัมและครึ่งหนึ่งจากโจคาสตา แตดัมกับดีเปนคนเดียวกันในแงที่สืบตอกันมาทางเวลา (diachronicallyidentical) และดังนั้น ดัมจึงเหมือนกับเขา (ซึ่งก็คือตัวเอง) ในแงของยีน (genotypicallyidentical) นั่นคือ ดีทั้งมียีนที่เหมือนและแตกตางจากดัม ซึ่งเปนส่ิงไรสาระ (และอะไรจะเกิดขึ้น ถาดัมและโจคาสตาไดลูกผูหญิงแทนที่จะเปนดี ซึ่งเปนส่ิงที่จริงๆ แลวพวกเขาหวังเอาไว)(Godfrey-Smith, 1980: 72)

ในการตอบตอขอโตแยงนี้ แฮริสันกลาวเพียงวา ความขัดแยงที่เกิดขึ้นนี้เปนการขัดกับกฎของธรรมชาติ (law of nature) ไมไดขัดกับหลักตรรกะ (logic) แตอยางใด (Harrison, 1980: 67)ในแงนี้ เราอาจเขาใจไดวา ประเด็นเกี่ยวกับความเหมือนกันทางยีนของนายดีและดัมยอมเปนความจําเปนทางตรรกะโดยไมตองสงสัยหากวาเขาทั้งสองเปนคนเดียวกันจริง อยางไรก็ตาม ขออางที่วานายดีตองไดรับยีนครึ่งหนึ่งจากดัมและอีกครึ่งหนึ่งจากโจคาตานั้นเปนเพียงขอเท็จจริงที่เรารูมาจากการสังเกตความเปนไปในโลกที่เปนอยู (the actual world) ซึ่งทําใหเราสรางเปนกฎทางชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตขึ้นมา แตนั่นไมใชความขัดแยงทางตรรกะที่คนๆ หนึ่งจะไดรับยีนทั้งหมดมาจากพอหรือจากแมคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวเทานั้น16 ถึงแมวาความนาจะเปนไปไดเชนนี้จะไมตางไปจากการที่ “มีความนาจะเปนที่กาตมน้ําจะแข็งตัวบนเตาไฟที่รอน ซึ่งในกรณีเชนนี้ ลูกจะเปนตัวโคลน (clone) ทางยีนของพอแม” (Grey, 1999: 68) ดังนั้น การถายทอดยีนจากพอและแมจึงไมใชเปนไปในลักษณะที่จําเปนเชิงตรรกะวา ลูกจะตองไดรับยีนจากทั้งสองฝายเสมอ และแมวานายดีจะไมไดถูกโคลนมาจากยีนของดัมโดยตรง เขาก็อาจจะไดยีนจากพอมา (โดยความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดอยางสงู) ในแบบที่คลายกับเปนการโคลนก็เปนได

16 ดังที่ Grey ใหขอสังเกตไววา “For it is not actually contradictory to suppose that the second

gamete, provided by the other parent at conception, should restore precisely the complement ofgenes discarded in the meiotic cell division in which the first gamete was generated. That is, it is notimpossible that a sexual reproducing parent be genetically identical with their offspring …” (Grey,1999: 67-68)

Page 32: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

24

อยางไรก็ตาม ปญหาของการเปนบุคคลคนเดียวกันของนายดีและดัมทําให world lineของเขาจะมีลักษณะที่วกกลับมาปด (closed loop) ตัวเอง ซึ่งโดยทั่วไปยอมเปนความขัดแยงในตัวเองที่ชีวิตของคนๆ หนึ่งที่เร่ิมตนขึ้นจากการเปนเด็กและเจริญเติบโตไปสูวัยผูใหญ จะมี worldline ที่ยอนกลับมาพบกับตัวเองที่จุดเดิมอีกครั้งได เพราะ ณ จุดที่พบกันนั้น เขาจะเปนทั้งเด็กและผูใหญ ซึ่งเปนไปไมไดทางตรรกะ แตปญหานี้จะเกิดขึ้นตอเมื่อเราพิจารณา world line ที่เปนระบบปด (isolated system) อยางสมบูรณเทานั้น ดังนั้น หากความขัดแยงในตัวเองเปนสิ่งที่ไมสามารถเกิดขึ้นในทุกโลกที่เปนไปไดแลว เราสามารถสรุปไดวา world line ที่จะสามารถวกกลับมาปดตัวเองไดจริงจะตองมีความเกี่ยวพันเชิงสาเหตุกับระบบภายนอกเสมอ (Riggs, 1997: 60)

เราจะสามารถพบทางออกในแบบขางตนไดเชนกันในกรณีของนายดีและดัม โดยที่ระบบภายนอกที่ทําให world line ของเขาไมเกิดความขัดแยงก็คือตัวของโจคาสตานั่นเอง การเพิ่มโจคาสตาเขามาทําให world line ของดี-ดัม แยกกันเปนสองเสนทาง (โปรดดูภาพเปรยีบเทียบในLevin, 1980: 70 และ Ray, 1991: 170) นั่นคือ จากที่เร่ิมมีดัมเพียงคนเดียว (ตาม proper timeของโจคาสตา) การพบกันของดัมและโจคาสตาทําใหเกิดมีนายดีในชวงเวลาตอมา โดยเราสามารถเขาใจชวงเวลาของนายดีวาเปนระยะชวงเวลาแรก (earlier temporal stage) ของ world line ดี-ดัม และดังนั้น ดัมจึงเปนระยะชวงเวลาภายหลัง (later temporal stage) ของ world line ดี-ดัม ซึ่งทําใหชวงวัยเด็กกับชวงวัยผูใหญของ ดี-ดัม ไมไดมีอยูพรอมกัน ณ ตําแหนงทางกาลอวกาศ(space-time point) เดียวกัน กลาวคือ นายดีและดัม อาจจะมีอยูพรอมกันในเวลาบนโลก แตทั้งสองก็ถูกระบุอยู ณ proper time ที่ตางกันเสมอ (ในขณะที่ world line ของ isolated system จะทําใหชวง earlier temporal stage กับ later temporal stage ของคนๆ เดียวกันอยู ณ space-time point เดียวกัน ซึ่งเปนความขัดแยงในตัวเอง) สวนเหตุการณการฆาและกินดัมของนายดี ก็ไดทําให world-line ที่แยกออกเปนสองกลับรวมกันเหลือเพียงหนึ่งเดียวอีกครั้ง ดังนั้น world-line ที่วกกลับมาปดตัวเองของดี-ดัม จึงไมมีความขัดแยงในตัวเองแตอยางใด

นอกจากปญหาของการอธิบายความมีอยูที่แปลกประหลาดของนายดีและดัมแลว เรายังอาจพบสถานการณที่ยอนกลับไปหาปญหาในแบบปฏิทรรศนคุณปูไดเชนกัน ดังที่ ก็อดฟรีย-สมิทตั้งขอสงสัยไววา “อะไรจะเกิดขึ้น ถาดัมและโจคาสตาไดลูกผูหญิงแทนที่จะเปนดี ซึ่งเปนสิ่งที่จริงๆแลว พวกเขาหวังเอาไว” (Godfrey-Smith, 1980: 72) ในกรณีนี้ยอมเปนสิ่งที่เปนไปไมไดเชนเดียวกับที่เราอาจลองสมมติตอไปวา อะไรจะเกิดขึ้น ถานายดีซึ่งเกิดสํานึกผิดหลังจากที่ไดฆาพอของตัวเองไป จะตัดสินใจฆาตัวตาย (Ray, 1991: 169) แตไมวาจะเปนกรณีใดก็ตาม หากทําไดสําเร็จแลวยอมเกิดความขัดแยงในตัวเองตามมา ในกรณีแรก นายดีจะเปนทั้งผูชายและผูหญิง สวนกรณีหลัง นายดีจะทั้งมีอยูและไมมีอยู แตดังที่เราไดพิจารณาทางออกลูอิส (Lewis, 1976) ไปแลว

Page 33: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

25

เราสามารถเขาใจไดวา การไดลูกเปนผูหญิงของดัมและโจคาสตานั้น เปนสิ่งที่เปนไปไมไดรวมกันกับ (compossible with) ขอเท็จจริงที่วาลูกของโจคาสตานั้นเปนชวงวัยเด็กของตัวดัมเอง ซึ่งดัมเปนผูชาย สวนการฆาตัวเองของนายดีก็เปนสิ่งที่เปนไปไมไดรวมกันกับขอเท็จจริงที่วาเขาไดมีชีวิตอยูตอไปเปนดัม ซึ่งจะนําไปสูการใหกําเนิดตัวเขาเองตั้งแตทีแรก ดังนั้น ไมวากรณทีี่ดัมและโจคาสตาหวังจะไดลูกผูหญิงหรือกรณีที่นายดีพยายามฆาตัวเอง ลวนไมไดทําใหเกิดขอขัดแยงในตัวเองตามมา นั่นเพียงแตทําใหเราตองสรุปวา ทั้งสองกรณีนี้ไมไดเกิดขึ้นจริงเทานั้น ความพยายามที่จะกระทําสิ่งที่เปนไปไมไดเชนนั้นจะตองลมเหลวดวยเหตุผลบางอยางเสมอ

แตจากความลมเหลวที่เกิดขึ้นนี้ เราอาจจะสามารถอนุมานไปสูความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาในโลกที่เปนอยูตามแบบของฮอรวิช (Horwich, 1987; 1995) เพราะไมวาดัมและโจคาสตาจะพยายามที่จะมีลูกผูหญิงเพียงใด (เชน การใชเทคนิคทางการแพทยเพื่อชวยเลือกเพศของลูก) หรือนายดีจะพยายามฆาตัวเองใหตายครั้งแลวครั้งเลาก็ตาม เรารูไดวาสิ่งนี้จะนําไปสูความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดเพื่อรับประกันความลมเหลวของความพยายามเหลานั้น และดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยูเชนกัน แมวาจะตัดขอพิจารณาจากปญหาในปฏิทรรศนคุณปูออกไป เราก็ยังเห็นไดวา การใหกําเนิดตัวเองของดี-ดัมซึ่งเปนปญหาในปฏิทรรศนความรูโดยตรงก็เปนตัวอยางของสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดเชนกัน กลาวคือจากสิ่งที่เรารูเกี่ยวกับโลกที่เปนอยู ทฤษฎีทางชีววิทยาไดกําหนดวาลูกจะไดรับยีนจากพอและแมอยางละครึ่งหนึ่งเทากัน ดวยเหตุนี้ จึงทําใหเราสามารถอนุมานไดวา การเดินทางขามเวลาซึ่งเปนสมมติฐานตั้งตนของปญหาดังกลาว ยอมเปนสิ่งที่ไมจะนาเปนไปไดในโลกที่เปนอยู

ปญหาการมีบางสิ่งจากความวางเปลา

แมความเชื่อที่บอกวา ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาบนโลกของเรานี้เปนสิ่งที่ยอมตองมีที่มาเชิงสาเหตุเสมอ (ข้ึนอยูกับวาเราจะรูไดหรือไมเทานั้น) จะเปนความเขาใจพื้นฐานที่สุดอยางหนึ่งของมนุษยตอความพยายามในการเขาใจโลกธรรมชาติ แตความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลากลับส่ันคลอนความเชื่อเชนนี้อยางรุนแรง ดังเชนกรณีการเกิดขึ้นของหนังสือในเรื่องดี-ดัม แมวาการไดมาของหนังสือในแตละชวงเวลาจะเปนสิ่งที่อธิบายได กลาวคือ นายดีมีหนังสือเลมนี้เพราะเขาไดมาจากดัม สวนดัมก็มีหนังสือเลมดังกลาวเพราะเขาเองคือนายดีที่นําหนังสือนั้นติดตัวกลับไปในตอนที่ไดเดินทางขามเวลา แตกระนั้น ความมีอยูโดยรวมของตัวหนังสือเองก็ยังคงเปนปริศนาที่ชวนใหเราสงสัยไดอยู หนังสือนั้นไมไดถูกสรางขึ้นจากที่ใด อีกทั้งยังไมมีใครเปนคนเขียนขึ้นมาดวยเชนกัน ในแงนี้ จึงเทากับวาตัวหนังสือไดเกิดขึ้นจากความวางเปลา (out of nothing) อยางแทจริง ซึ่งดูจะขัดกับสามัญสํานึกของเราอยางสิ้นเชิง

Page 34: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

26

อยางไรก็ตาม เลวิน (Levin, 1980) แสดงความเห็นตอปญหาเรื่องที่มาของหนังสือนี้วาไมใชส่ิงที่นาสงสัยมากไปกวาการถามหาที่มาที่แทจริง (ultimate origin) ของสิ่งตางๆ ทั้งหลายแตอยางใด กลาวคือ “อะตอมทั้งหลายยอนกลับไปอยางไมมีที่สิ้นสุด หรือมิเชนนั้นแลว อะตอมทั้งหลายก็มีจุดเริ่มตนถาหากจักรวาลมีลักษณะจํากัด ซึ่งไมวาจะเปนกรณีใด คําถามเกี่ยวกับตนกําเนิดเดิมแทนี้เปนสิ่งที่ไมสามารถตอบไดเชนเดียวกับที่มาของหนังสือเลมนั้น” (Levin, 1980: 70)

แตกระนั้น เราก็ยังคงสงสัยอยางมีเหตุผลไดวา ในกรณีของอะตอมนั้น ไมวาจะมีจุดเริ่มตนหรือไม ความมีอยูในแตละชวงของอะตอมก็ยังคงเปนสิ่งที่ข้ึนกับอะตอมที่มีมากอนหนานั้น (ตัวอยางเชน หนังสือเลมหนึ่งยอมเกิดขึ้นไดจากกระดาษที่มีมากอน ตัวกระดาษเองก็มาจากวัตถุดิบที่มีมากอนหนา และเปนเชนนี้เร่ือยไป) แตกรณีที่เปนปญหาในเรื่องของดี-ดัมนั้น ความมีอยูของหนังสือไมไดมาจากสิ่งอื่นใดเลยนอกเหนือจากตัวเอง (self-dependent) ในแงนี้ ทําใหประเด็นสําคัญของคําถามเกี่ยวกับความมีอยูของหนังสือที่วานี้ควรจะอยูที่วา เปนสิ่งที่เปนไปไดหรือไมที่วัตถุหนึ่งจะมี world line ที่วกกลับมาปดตัวเองโดยไมมีการของเกี่ยวกับระบบอื่นๆ ภายนอกเลย

แตดังที่ผูเขียนไดกลาวไปแลววา ระบบที่เปนอิสระใดๆ จะไมสามารถมี world line ที่ปดอยางสิ้นเชิงโดยไมมีความขัดแยงในตัวเองได ซึ่งในกรณีของวัตถุกายภาพ (physical objects)อยางเชนหนังสือของดี-ดัมนั้น ปญหาความขัดแยงประการหนึ่งที่จะเกิดตามมาเปนผลมาจากกฎขอที่สองของเทอรโมไดนามิคส (the second law of thermodynamics) ที่ระบุวาความไรระเบียบ(entropy) ของระบบจะเพิ่มข้ึนตลอดเวลา หาก world line ของหนังสือไดยอนกลับมาปดตัวเองโดยที่สภาพความไรระเบียบของหนังสือยังคงเพิ่มข้ึนตามกฎขอที่สองนี้ เราอาจสมมติใหจุดใดจุดหนึ่งใน world line ของหนังสือเปนจุดเริ่มตนของ proper time ที่หนังสือเร่ิมมีสภาพไรระเบียบมากข้ึน แตจุดนั้นยอมตองเปนจุดที่ world line กลับมาพบกับตัวเองดวย ซึ่งหมายความวา propertime ของจุดนั้นยอมจะมากกวาตัวเอง ดังนั้น สภาพความไรระเบียบของหนังสือ ณ จุดนั้นยอมทําใหหนังสือเกาแกไปมากกวาตัวเองดวยเชนกัน ซึ่งนี่เปนการขัดแยงในตัวเองที่ชัดเจน

ในบทความ “Are Grandfathers an Endangered Species?” เนย (Ney, 2000) ไดแสดงใหเห็นวา แมปญหาทางกายภาพ (อยางเรื่อง entropy) เชนนี้อาจจะสามารถกาวขามไปได แตความขัดแยงในตัวเองของวัตถุที่มี world line กลับมาปดตัวเองก็ยังคงมีอยูตอไป และดังนั้น จึงทําใหการเดินทางขามเวลาเปนไปไมไดทางตรรกะ อยางไรก็ตาม ผูเขียนจะแสดงใหเห็นวา ทางออกของเนยตอปญหาทางกายภาพนั้นเปนสิ่งที่ไมจําเปน ในขณะที่ความขัดแยงที่เกิดขึ้นก็มาจากความสับสนระหวางปญหาในปฏิทรรศนความรูกับปญหาในปฏิทรรศนคุณปู ซึ่งเราสามารถหาทางออกไดไมยากนัก

Page 35: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

27

ในบทความดังกลาว เนยยกตัวอยางเรื่องราวของนักเดินทางขามเวลาที่เดินทางยอนเวลากลับไปพบตัวเองในอดีต โดยการพบกันครั้งนั้น นักเดินทางไดสงมอบยานเวลาและแทงไม (stick)ที่เขาทํารอยบาก (notch) เอาไว พรอมกับคําสั่งใหตัวเองในอดีตทํารอยบากบนแทงไมเพิ่มข้ึนเชนเดียวกับที่เขาไดทํามากอนหนานั้น (Ney, 2000: 316)17 ในกรณีเชนนี้ จํานวนรอยบากที่มีอยูยอมขัดแยงกันเอง เพราะแทงไมที่ถูกทํารอยบากเพิ่มข้ึนจะตองเปนแทงไมเดียวกันกับที่ถูกสงมอบใหตั้งแตคร้ังแรก ซึ่งยังไมมีรอยบากที่เพิ่มข้ึน ดวยเหตุนี้ เพื่อทําใหสถานการณดังกลาวเปนไปได เนยจึงสมมติวาเราสามารถทําใหกระบวนการที่เกิดรอยบากนั้นยอนกลับคืนได อยางไรก็ตาม แทงไมจะเกิดกระบวนการยอนกลับไดสมบูรณตอเมื่อไดยอนกลับไปสูตําแหนงทางกาลอวกาศ (space-timelocation) ตําแหนงเดิมที่แทงไมไดถูกทํารอยบากเอาไว แตถาเปนเชนนั้น แทงไมนั้นก็จะไมไดอยูในยานเวลาที่จะไดเดินทางยอนเวลาอีกตอไป (เพราะขณะที่แทงไมตองยอนไปอยู ณ ตําแหนงกาลอวกาศที่ไดอยูมากอนหนานั้น ยานเวลาจะยังคงดําเนินไปสูตําแหนงกาลอวกาศใหมตอไปตามproper time ของยาน) (Ney, 2000: 317) กลาวโดยสรุปก็คือ หากแทงไมสามารถยอนกระบวนการเพื่อทําใหจํานวนรอยบากลดลงได แทงไมก็จะไมไดอยูในยานเวลาอีกตอไป ซึ่งในแงนี้จะขัดแยงกับขออางที่นักเดินทางนําแทงไมมากับยานเวลาดวยในครั้งแรก แตถาแทงไมไมสามารถยอนกระบวนการได แทงไมนั้นก็จะไมสามารถถูกสงมอบไดโดยมีจํานวนรอยบากเทากับที่เขา (ตัวนักเดินทางในอดีต) ไดรับมา ซึ่งในแงนี้จะขัดแยงกับจํานวนรอยบากที่มีอยูบนตัวแทงไมนั้นเอง

อยางไรก็ตาม ความขัดแยงของรอยบากบนแทงไมนั้นเปนปญหาในรูปแบบของปฏิทรรศนคุณปู กลาวคือ หากนักเดินทางสงมอบแทงไมที่มีรอยบากจํานวนหนึ่งใหกับตัวเองในอดีต นั่นยอมหมายความเพียงวา ไมวาตัวเขาในอดีต (ซึ่งก็คือคนที่ไดรับคําสั่งจากนักเดินทางที่เปนตัวเขาในอนาคตใหเพิ่มจํานวนรอยบากบนแทงไมนั้น) จะพยายามทําใหเกิดรอยบากเพิ่มข้ึนเทาใดก็ตามเขาจะทําไมสําเร็จ หรือมิเชนนั้นแลว เขาก็อาจไมไดพยายามทําเลยก็เปนไดทั้งที่มีคําสั่งจากตัวเองในอนาคตใหตองทําก็ตาม ซึ่งทําใหเราสามารถอนุมานไดวา ขออางที่นักเดินทางอางวาตัวเองไดทํารอยบากเพิ่มข้ึนเองนั้นตองเปนเทจ็ และนั่นแสดงวา นอกจากแทงไมนี้จะเกิดมีอยูข้ึนโดยตัวเองแลว ตัวแทงไมนี้ยังไดเกิดมีขึ้นพรอมกับรอยบากจํานวนหนึ่งบนตัวเองแลวดวยเชนกัน และดังนั้นการพยายามทําใหรอยบากบนแทงไมลดลงดวยการสมมติวิธีการยอนกระบวนการดังที่เนยเสนอจึงเปนสิ่งที่ไมจําเปน เพราะไมมีรอยบากใดที่จะเพิ่มข้ึนมาได

17 เนยอางถึงตัวอยางนี้วามาจากบทความ “Can Time be Finite?” ของ Graham Nerlich (ตีพิมพใน

Pacific Philosophical Quarterly 62, 1981: 227-39)

Page 36: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

28

อันที่จริง ความกังวลถึงความขัดแยงในตัวเองของเนยขางตนก็ยังคงมีอยูไดโดยไมตองไปพิจารณาถึงการเพิ่มข้ึนของรอยบากแตอยางใด (ซึ่งนั่นเปนปญหาในปฏิทรรศนคุณปู ไมใชปญหาในปฏิทรรศนความรู) เพราะตามกฎขอที่สองของเทอรโมไดนามิกสที่ไดกลาวไป แทงไมที่นักเดินทางสงมอบใหกับตัวเองในอดีต (และเชนเดียวกับหนังสือของดี-ดัม) ยอมตองมีสภาพไรระเบียบเพิ่มข้ึนไปตาม proper time และเมื่อเปนวัตถุที่มี world line ยอนกลับมาปดตัวเองแลว ยอมเกิดความขัดแยงตามมาอยางชัดเจนในลักษณะเดียวกับที่ world line ของดี-ดัม จะทําใหชวงวัยเด็กและวัยผูใหญเกิดขึ้นพรอมกัน ณ ตําแหนงกาลอวกาศเดียวกัน (หาก world line นั้นเปนระบบปดอยางแทจริง ซึ่งไดแสดงใหเห็นแลววาไมใช) ดังนั้น แทงไมของเนยและหนังสือของดี-ดัม ก็ยอมจะมีสภาพที่เกา (หรือใหม) กวาตัวเองในตําแหนงกาลอวกาศเดียวกัน ซึ่งเปนความขดัแยงในตัวเอง

ในแงนี้ ทางออกในการเลี่ยงความขัดแยงที่มาจากหลักการการเพิ่มข้ึนของความไรระเบียบอาจแบงไดสองทาง ทางออกแรกคือ การยอมรับวาไมมีระบบใดที่จะเปนระบบปดไดอยางสมบูรณ(ดังในตัวอยางของ world line ดี-ดัม) และดังนั้น วัตถุกายภาพใดๆ ที่มี world line วกกลับมาปดตัวเอง (ดังตัวอยางของแทงไมของเนย และหนังสือของดี-ดัม) ยอมจะสามารถมีปฏิสัมพันธกับส่ิงแวดลอมภายนอกระบบเพื่อนําพลังงาน (energy) มาชดเชย ซึ่งจะทําใหความไรระเบียบของตัวระบบที่มีปญหานั้นลดลงได (โปรดดู Lossev and Novikov, 1992) ซึ่งความเปนไปไดนี้จะทําใหแทงไมและหนังสือที่มีสภาพเกาขึ้นตาม proper time สามารถมีสภาพใหมขึ้นจนมาอยูในสภาพเดิมได (โดยไมตองมีการยอนกระบวนการกลับไปอยูในตําแหนงกาลอวกาศเดิมแบบที่เนยเสนอไวแตอยางใด)

สวนทางออกที่สองก็คือ การปฏิเสธกฎขอที่สองนั้นและยอมรับวาวัตถุที่เกิดขึ้นโดยมีความมีอยูที่ขึ้นกับตัวเอง จะเปนวัตถุชนิดพิเศษที่จะไมมีการเพิ่มข้ึนหรือลดลงของสภาพความไรระเบียบในตัวเอง ดังนั้น แทงไมของเนยและหนังสือของดี-ดัม จึงยอมคงสภาพเชนเดิมเสมอในชวงเวลาที่ไดเกิดมีอยูข้ึนมา ดวยเหตุนี้ จึงทําใหไมมีความขัดแยงทางตรรกะในแงของความเกา-ใหมในตัววัตถุที่เปนปญหานั้น

อยางไรก็ตาม ไมวาจะเปนทางออกใดในการเลี่ยงความขัดแยงในตัวเองเชนนี้ ลวนแตทําใหเราตองยอมรับวา การเดินทางขามเวลาทําใหเกิดสถานการณบางอยางที่ไมนาจะเปนไปไดจากสิ่งที่เรารูเกี่ยวกับโลกของเรา วัตถุกายภาพใดๆ ไมนาที่จะปราศจากความเปลี่ยนแปลงของความไรระเบียบได ในกรณีที่เราจะยอมรับวาเปนไปได วัตถุนั้นก็จะเปนวัตถุที่เราไมสามารถแตะตองไดเลย (untouchable) ไมวาเราจะพยายามทําลายหรือทําใหเกิดความเปลี่ยนแปลงเพียงใด

Page 37: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

29

ยอมจะไมมีส่ิงใดที่สรางความกระทบกระเทือนตอวัตถุนั้นได18 สวนกรณีของการแกปญหาดวยการชดเชยพลังงานเพื่อทําใหวัตถุที่เปนปญหานั้นมีสภาพไรระเบียบลดลง ก็ดูเปนสิ่งที่ยากที่จะอธิบายไดวา เหตุใดพลังงานที่มาชดเชยนั้นจึงดูราวกับมีการสมรูรวมคิดกันบางอยางในการที่จะเลือกชดเชยสภาพไรระเบียบใหกับเฉพาะวัตถุที่เปนปญหาเทานั้น (จะชดเชยเพื่อทําใหความไรระเบียบของนักเดินทางลดลงไดหรือไม เขาจะเปนเด็กขึ้นเมื่อเวลาผานไปไดหรือไม) สถานการณเชนนี้ดูจะเปนความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดวาจะสามารถเกิดขึ้นไดจริงในโลกของเรา ดวยเหตุนี้ เราจึงมีเหตุผลเชิงประจักษที่จะอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาซึ่งนํามาสูสถานการณที่เปนปฏิทรรศนเชนนี้เปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู

ปญหาการไดมาของความรู

นอกจากปญหาที่เกี่ยวกับการใหกําเนิดตัวเองของนักเดินทางขามเวลาและความมีอยูของวัตถุทางกายภาพในแบบที่ไมนาจะเปนไปไดแลว ปญหาการไดมาของตัวองคความรู ดังเชนกรณีของวิธีการสรางยานเวลาที่มีอยูในหนังสือของดี-ดัม โดยปราศจากกระบวนการคิดแกปญหาของมนุษยนั้น สําหรับนักฟสิกส ปญหานี้อาจถือวาเปนปญหาที่นาพิศวงมากที่สุดในบรรดาปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาทั้งหมด (Davies, 2001: 113) ดังที่นักฟสิกสอยางเดวิด ดอยทช (DavidDeutsch) เห็นวาการไดความรูมาเปลาๆ ในลักษณะที่มีขอมูลซ่ึงไมมีแหลงที่มา แตสามารถเขามาอยูในจักรวาลของเราได เปนสิ่งที่ไมตางอะไรไปจากความอัศจรรย (miracle) ในแงนี้จึงเทากับเปนการทําลายหัวใจหลักของความเปนเหตุเปนผลที่มีระบบระเบียบของธรรมชาติ (Deutsch, cited inDavies, 2001: 116) และที่เปนปญหาสําคัญในกรณีนี้ก็คือ การที่

… ปฏิทรรศนความรูละเมิดหลักการที่วาความรูสามารถเกิดขึ้นมาไดในฐานะผลของกระบวนการแกปญหาเทานั้น ดังเชนวิวัฒนาการทางชีววิทยาหรือความคิดของมนุษย การเดินทางขามเวลาเปดโอกาสใหมีความรูที่ไหลจากอนาคตไปสูอดีตและยอนกลับไปอีกในลักษณะของการวนกลับที่คงเสนคงวาในตัวเอง (self-consistent loop) โดยไมเคยมีใครหรือส่ิงใดตองเกี่ยวพันกับปญหาในเรื่องนั้นมากอนเลย ส่ิงที่โตแยงไดเชิงปรัชญาในที่นี้ ไมใชขอที่วาส่ิงประดิษฐ (artifacts) ที่อาศัยความรูนั้นไดถูกนํากลับไปในอดีต แตเปนสภาพที่ไดบางอยางมาโดยไมตองเสียอะไรเลย (free lunch element) ความรูที่จําเปนตอการรังสรรคส่ิงประดิษฐตองไมใชไดมาจากสิ่งประดิษฐเหลานั้นเสียเอง (Deutsch and Lockwood, 1994: 53)

18 ซึ่งนี่ก็อาจทําใหเรายอนกลับไปหาปญหาของปฏิทรรศนคุณปูอีกครั้ง เพราะไมวาเราจะพยายามกี่

ครั้งก็ตาม ความพยายามของเรายอมจะลมเหลวเสมอ และนี่ก็อาจทําใหเราอนุมานไปสูความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาในโลกที่เปนอยู ดังที่ไดพิจารณากันไปแลวจากขอเสนอของฮอรวิช

Page 38: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

30

ตามหลักการเชิงญาณวิทยาเชนนี้ ความรูไมไดเกิดมีข้ึนมาแบบครบถวนสมบูรณในคราวเดียว แตความรูตองเปนผลของกระบวนการในลักษณะที่มีวิวัฒนาการมาเปนขั้นเปนตอน ดวยการเร่ิมตนจากการเกิดปญหาใหมขึ้น จากนั้นมีการสรางทฤษฎีข้ึนมาอธิบาย ตามมาดวยการวิพากษวิจารณทฤษฎี และสุดทายคือการกําจัดความผิดพลาดของทฤษฎีทิ้งไปเมื่อเกิดปญหาใหมขึ้นมา(Deutsch, 1997: 315) นอกจากสิ่งนี้จะเปนคําอธิบายการไดมาของความรูในทางปรัชญาวิทยาศาสตรแลว19 หลักการเชนนี้ยังสามารถอธิบายความมีอยูของสิ่งมีชีวิตสายพันธุใหม (new livingspecies) ไดในลักษณะเดียวกัน โดยปญหาทางสภาพแวดลอมจะเปนปญหาใหมที่ทําใหส่ิงมีชีวิตตองมีการปรับตัว ยีนที่ปรับตัวจะเปนเหมือนกับทฤษฎีใหมที่ถูกเสนอขึ้นมาเพื่อแกปญหา และสุดทายการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) ก็คือขอวิจารณและการกําจัดความผิดพลาดทิ้งไป เชนเดียวกับการที่เราไดความรูใหมมานั่นเอง (Deutsch, 1997: 315)

ในกรณีการไดมาของความรูเกี่ยวกับการเดินทางขามเวลาของดี-ดัม เราจะเห็นวาแมเร่ืองราวนั้นจะมีความคงเสนคงวาทางตรรกะเปนอยางดี แตไมมีส่ิงใดที่จะมาอธิบายไดเลยวาความรูที่ไดมานั้นเปนผลที่มาจากการไดคิดแกปญหาเกี่ยวกับการเดินทางขามเวลา ในบางกรณี เราอาจลองสมมติใหมีแตเฉพาะยานเวลาเทานั้น โดยนายดีเดินทางขามเวลาไดก็เพราะใชยานเวลาที่โจคาสตาไปพบและชวยชีวิตดัมออกมาตั้งแตทีแรก ซึ่งทําใหยานเวลาดังกลาวกลายเปนวัตถุที่เกิดขึ้นมาโดยขึ้นอยูกับตัวเอง ดังที่เราเห็นแลววากรณีเชนนี้จะมีปญหาอยางไรบางในหัวขอที่ผานมา

แมวาในตัวอยางหนึ่งของลอสเสฟและโนวิคอฟ (Lossev and Novikov, 1992) จะไดแกปญหานี้ไว ดวยการสมมติถึงความเปนไปไดที่เราจะเตรียมวัตถุดิบในการสรางยานเวลานี้ไวกอนและสามารถสรางยานไดสําเร็จจากการลอกแบบของตัวเองที่ไดเดินทางกลับมาจากอนาคต ในแงนี้ จึงทําใหไมมีปญหาเรื่องที่มาของตัวยานเวลา เพราะตัวยานไดถูกสรางขึ้นจากวัตถุดิบอ่ืนๆ ที่มีอยูกอนแลว แตตัวอยางเชนนี้ก็ไมไดใหความกระจางกับเราอยูดีวา ความรูหรือขอมูลที่ทําใหเกิดการเดินทางขามเวลาไดตั้งแตทีแรกนั้นเกิดมีอยูข้ึนมาไดอยางไร20 แตกระนั้น ลูอิส (Lewis, 1976)

19 ในที่นี้ Deutsch อางถึงแนวคิดปรัชญาวิทยาศาสตรของ Popper โปรดดู Deutsch (1997)20 ในบทความของ Lossev และ Novikov นั้น ทั้งสองเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นในปฏิทรรศนความรูในสวนที่เปน

physical object วา “Jinn of the first kinds” และที่เปน information วา “Jinn of the second kinds” (จากJinnee ในนิทานเรื่องอาลาดิน) โดยประเด็นหลักที่นําเสนอก็คือการแสดงใหเห็นวา loops ของ Jinn ดังกลาวไมขัดแยงกับกฎทางฟสิกส ซึ่งมักรูจักกันในชื่อ “Novikov’s consistency conjecture” แตในมุมมองของนักฟสิกสเชน Matt Visser เห็นวาขอเสนอเชนนี้เปน ad hoc “The ‘consistency conjecture’ seems to be essentiallyequivalent to the statement: ‘the Universe is consistent, no matter what, since it MUST be consistent,come hell or high water.’ I view this as begging the issue.” (Visser, cited in Nahin, 1999: 518)

Page 39: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

31

ก็ดูจะไมไดคิดวาสถานการณที่มีการวนกลับ (loop) ของขอมูลหรือความรูที่ใชในการเดินทางขามเวลาดังกลาวนี้จะเปนปญหาที่สําคัญแตประการใด โดยเขากลาวเพียงวา

… สวนตางๆ ของการวนกลับ (loop) นี้สามารถอธิบายได แตการวนกลับโดยรวมไมอาจอธิบายได แปลก! แตไมใชเปนไปไมได และก็ไมไดแตกตางมากจนเกินไปจากการไมสามารถอธิบายไดที่เราคุนเคยกัน เราเกือบทุกคนเห็นพองกันวา พระเจา หรือบิ๊กแบง หรืออดีตที่ไมส้ินสุดเสียเลยของจักรวาล หรือการสลายตัวของอะตอมทริเทียม (tritium atom)ลวนเปนส่ิงที่ไมมีสาเหตุและไมอาจอธิบายได ดังนั้น ถาส่ิงเหลานี้เปนไปได ทําไมการวนกลับเชงิสาเหตุ (causal loops) ที่อธิบายไมไดจะเกิดขึ้นในการเดินทางขามเวลาไมได(Lewis, 1976: 149)

แมลูอิสอาจจะนําเสนอความเห็นขางตนในแงที่สนับสนุนวา การเดินทางขามเวลาไมไดมีสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองก็ตาม เนื่องจากเขาเองก็เชื่อวา “โลกที่เปนไปไดที่การเดินทางขามเวลาไดเกิดขึ้นนาจะเปนโลกที่แปลกประหลาดมากที่สุดโลกหนึ่ง เปนโลกซึ่งมีพื้นฐานที่แตกตางไปจากโลกที่เราคิดวาเปนของเรา” (Lewis, 1976: 145) แตอยางไรก็ตาม การอางเหตุผลในการยอมรับความเปนไปไดของความรูที่ไมมีคนคิดเชนนี้เปนสิ่งที่ไมนาจะยอมรับไดในแบบที่ลูอิสอางไว เพราะแมวาเราอาจจะยอมรับในความมีอยูของพระเจา บิ๊กแบง หรือความไมส้ินสุดของจักรวาล ในฐานะเปนส่ิงที่ไมอาจอธิบายไดก็จริง แตนั่นก็เปนการยอมรับไดดวยการอนุมานจากขอเท็จจริงบางอยางที่เราเห็นเกี่ยวกับโลกที่เปนอยูของเรา ทวาเราจะยอมรับการเกิดมีความรูในลักษณะขางตนนี้ไดตอเมื่อการเดินทางขามเวลาไดเกิดขึ้นมาแลว ในแงนี้ การยอมรับความเปนไปไดของการเกิดมีความรูในแบบขางตนจะเทากับเปนการทวนคําถาม (question-begging) เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของการเดินทางขามเวลาในโลกที่เปนอยู ซึ่งเรากําลังสงสัยกันอยูตั้งแตตนนั่นเอง

โดยสรุป แมวาเราจะสามารถแกปญหาความขัดแยงในตัวเองได แตปญหาบางอยางในปฏิทรรศนความรูไดนําไปสูสถานการณที่ขัดแยงกับหลักการบางอยางที่เรารูวาเปนจริงในโลกของเรา การเปนบุคคลเดียวกันของดี-ดัม จะขัดแยงกับหลักการทางชีววิทยา การมีอยูวัตถุทางกายภาพ (เชนหนังสือของดี-ดัม และแทงไมของเนย) ในสภาพที่ไมสามารถเปลี่ยนแปลงได จะขัดแยงกับกฎขอที่สองของเทอรโมไดนามิคส และการเกิดมีความรูขึ้นมาลอยๆ จะขัดแยงกับหลักการการไดมาซึ่งความรูของมนุษย ดังนั้น หากการเดินทางขามเวลานําไปสูสถานการณที่ไมนาจะเปนไปไดในโลกของเราเชนที่ไดกลาวมา เรายอมสามารถอนุมานได (เชนเดียวกับที่ฮอรวิชไดเสนอไวจากการวิเคราะหปญหาในปฏิทรรศนคุณปู) วาจากสิ่งที่เรารูเกี่ยวกับโลก เรามีเหตุผลเชิงประจักษที่ดีที่จะเชื่อไดวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู

Page 40: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

บทที่ 4

ความบังเอิญในการเดินทางขามเวลา

จากสองบทที่ผานมา ผูเขียนไดแสดงใหเห็นวาปญหาจากปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา ไมวาจะเปนในรูปแบบปฏิทรรศนคุณปูหรือรูปแบบปฏิทรรศนความรู ไมไดนําไปสูความขัดแยงในตัวเอง (self-contradiction) ในแงนี้การเดินทางขามเวลาจึงนับไดวาเปนมโนทัศนหนึ่งที่เปนไปไดทางตรรกะ (logically possible) แตจากการพิจารณาถึงสิ่งที่เรารูเกี่ยวกับโลกที่เปนอยู (theactual world) เรามีเหตุผลเชิงประจักษที่จะอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปได (improbable) นั่นคือ เราสามารถเชื่อไดวาการเดินทางขามเวลาจะไมเกิดขึ้นในโลกของเรา (เชน Horwich, 1987: 1995)

สวนความสัมพันธระหวางปฏิทรรศนทั้งสองรูปแบบที่ไดพิจารณากันไปนั้น ในแงหนึ่ง เราอาจจะสามารถคิดไดวาปฏิทรรศนความรูยอมจะมีนัยนําไปสูปฏิทรรศนคุณปู ตัวอยางเชน หากบุคคลผูหนึ่งไดรับความรูเกี่ยวกับการเดินทางขามเวลามาจากการพบกับตัวเองในอนาคตซึ่งเปนนักเดินทางที่เดินทางยอนเวลากลับมา เรายอมอนุมานไดวา ไมวาเขาจะพยายามหลบเลี่ยงการเปนนักเดินทางขามเวลาเพียงใด (หากเขาไดพยายามทําเชนนั้นจริง) เขายอมทําไดไมสําเร็จ ในทางกลับกัน เราอาจลดทอนปฏิทรรศนความรูไปสูปฏทรรศนคุณปูได หากเราถือวาสถานการณความไมนาจะเปนไปไดในปฏิทรรศนความรูเปนสิ่งที่ไมอาจจะเกิดขึ้นได (ในแงที่วาความเปนไปไดของสิ่งตางๆ เหลานั้นอาจขัดกับกฎธรรมชาติบางอยาง) ความพยายามของนักเดินทางที่จะทําใหเกิดสถานการณเหลานั้น (เชนเดียวกันกับความพยายามที่จะทําใหเกิดความขัดแยงในตัวเองในรูปแบบของปฏิทรรศนคุณปู) ยอมจําเปนที่จะตองลมเหลวเสมอ อยางไรก็ตาม ไมวาจะเปนปญหาในสวนของปฏิทรรศนคุณปู (บทที่ 2) หรือปญหาภายในของปฏิทรรศนความรู (บทที่ 3) ก็ลวนแลวแตบงชี้ไปสูขอสรุปเดียวกัน นั่นก็คือ ความไมนาจะเปนไปได (improbability) ของการเดินทางขามเวลาในโลกที่เปนอยู

ในบทความ “Bananas Enough for Time Travel?” สมิท (Smith, 1997) ไดปฏิเสธขอสรุปในแบบขางตน แมวาขอเสนอของสมิทเปนขอคัดคานโดยตรงตอขออางเหตุผลเกี่ยวกับความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาในโลกที่เปนอยูที่ฮอรวิชไดพิจารณาจากปญหาภายในปฏิทรรศนคุณปูเทานั้น แตหากขอคัดคานของสมิทมีน้ําหนักเพียงพอ นั่นก็อาจจะใชเปนขอคัดคานหนึ่งตอส่ิงที่ผูเขียนเสนอไวเกี่ยวกับความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาในโลกที่เปนอยูจากปญหาในปฏิทรรศนความรูไดเชนกัน กลาวคอื หากเรารับวาปฏิทรรศนความรูสามารถ

Page 41: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

33

ลดทอนไปสูปฏิทรรศนคุณปูได และจากปฏิทรรศนคุณปู (ดังที่สมิทเสนอ) ไมไดจําเปนทําใหเราตองยอมรับในความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลา ดังนั้น การเดินทางขามเวลา (ในทัศนะของสมิท) ไมเพียงแตจะเปนไปไดทางตรรกะเทานั้น แตยังอาจจะเกิดขึ้นไดในโลกที่เปนอยูดวยเชนกัน

ในบทนี้ ผูเขียนจะปกปองแนวเหตุผลของฮอรวิชตอขอโตแยงของสมิท โดยในบทความดังกลาว สมิทเสนอขออางเหตุผลโตแยงตอขอเสนอของฮอรวิชไวสองแนวทาง แนวทางแรกคือการแสดงวาแมการเดินทางขามเวลาจะมีนัยนําไปสูความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดดังที่ฮอรวิชเสนอไวจริง นั่นก็ไมไดทําใหการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดแตอยางใด สวนแนวทางที่สองคือการแสดงวาที่จริงแลวการเดินทางขามเวลาไมไดมีนัยนําไปสูความบังเอิญเชนนั้น ดังนั้นเราจึงไมมีเหตุผลใดที่จะอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปได แตอยางไรก็ตาม ผูเขียนเห็นวาแนวเหตุผลแรกของสมิทเปนลักษณะของการทวนคําถาม (question-begging)ของฮอรวิชตั้งแตตน ในขณะที่หากเรายอมรับขออางเหตุผลตามแนวที่สองแลว เราจะไมสามารถแกปญหาที่แทจริงของปฏิทรรศนคุณปูได

ความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปได

ในขออางเหตุผลแบบแรก สมิทเสนอวาแมเราจะยอมรับไวกอน (suppose) ตามขอกลาวอางของฮอรวิชที่วาการเดินทางขามเวลามีนัยไปสูความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปได (improbablecoincidences) จริง ขออางนี้ก็ยังไมอาจใชเปนเหตุผลที่เพียงพอในการสรุปไดวาการเดินทางขามเวลาจะไมสามารถเกิดขึ้นไดในโลกที่เปนอยู

สมิทแสดงใหเห็นวา สมมติฐานขอหนึ่งที่ฮอรวิชใชเปนพื้นฐานของการอนุมานความไมนาจะเปนไปได (improbability) ของการเดินทางขามเวลาก็คือ การละเมิดหลักการความเกี่ยวพันกันแบบ V (Principle of V-correlation: PVC) โดยที่ PVC นี้คือหลักการที่บอกวา หากเหตุการณแบบA และแบบ B มีความเกี่ยวพันกันแลว ยอมจะตองมีเหตุการณตางๆ ที่เชื่อมตอระหวางเหตกุารณทั้งสอบแบบนั้น หรือมิเชนนั้น ก็ยอมจะตองมีเหตุการณแบบ C ที่มีมากอนและเปนตัวเชื่อมไปสูทั้งA และ B (ซึ่งเปนลักษณะของรูปตัว V นั่นเอง) แตเราไมเคยเห็นลักษณะที่กลับกัน (inverse fork)ในแบบที่ A และ B ถูกเชื่อมตอดวยเหตุการณที่มาทีหลัง (Smith, 1997: 367-368)

โดยเราจะเห็นไดวา ความพยายามที่จะกระทําสิ่งที่เปนไปไมได เชน การเดินทางยอนเวลากลับไปฆาปูแทๆ ของตัวเอง หรือการกลับไปฆาตัวเองในอดีต เปนตน กับเหตุการณตางๆ ที่มาทําใหความพยายามดังกลาวลมเหลวอยางตอเนื่องเสมอนั้นไมไดมีความเกี่ยวพันกันแตอยางใด เนื่อง

Page 42: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

34

จากไมมีส่ิงหนึ่งเปนสาเหตุของอีกสิ่งหนึ่ง และเหตุการณทั้งสองแบบนี้ก็ไมไดมีสาเหตุรวมเดียวกัน(common cause) ดวยเหตุนี้ ฮอรวิชจึงเห็นวาการเกิดขึ้นมาคูกันของเหตุการณสองแบบ (ซึ่งเปนส่ิงที่จําเปนเพื่อปองกันการเกิดความขัดแยงในตัวเอง) จึงยอมเปนความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดอยางสูง (highly improbable) (Horwich, 1995: 263) ซึ่งเปนลักษณะของความเกี่ยวพันกันของเหตุการณสองรูปแบบที่ละเมิด PVC นั่นเอง และแมความบังเอิญจะเปนสิ่งที่เกิดขึ้นไดในบางครั้งแตความบังเอิญที่มีปริมาณมากและเปนสิ่งที่รับประกันไดวาจะตองเกิดขึ้นเสมอ (ในกรณีที่มีการพยายามหลายครั้ง) เปนสิ่งที่เรารูจากประสบการณวาไมนาจะเกิดขึ้นได ดังนั้น การเดินทางขามเวลาซึ่งนําไปสูความบังเอิญในลักษณะดังกลาวจึงไมนาจะเกิดขึ้นไดเชนกัน

อยางไรก็ตาม สมิทโตแยงวา PVC เปนเพียงหลักการที่ไดมาจากการสังเกตเทานั้น ดังนั้นหลักการนี้จึงเปนเพียงหลักการแบบ de facto ที่ไมมีพลังในแงของความจาํเปน (modal force) แตอยางใด นอกจากนี้ ฮอรวิชเองก็ไมไดเสนอหลักการหรือทฤษฎีใดๆ ขึ้นมาเพื่อแสดงใหเห็นวาความบังเอิญที่ละเมิด PVC จะตองเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปได ฮอรวิชเพียงสนับสนุนความไมนาจะเปนไปไดนี้จากการที่ไมเคยเห็นการเกิดขึ้นของเหตุการณที่ละเมิด PVC เทานั้น (Smith, 1997:368) โดยสมิทเสนอใหลองพิจารณาความแตกตางระหวางสถานการณที่เราไมสามารถอธิบายได(inexplicable situation) สองแบบ แบบแรกเปนสถานการณที่มีทฤษฎีบางอยางกํากับอยู แตส่ิงที่เกิดขึ้นไมเปนไปตามทฤษฎีนั้น สวนแบบที่สองเปนสถานการณที่ยังไมมีทฤษฎีใดมากํากับ ในกรณีที่มีสมมติฐานที่นําไปสูสถานการณแบบแรก เรายอมมีเหตุผลอันสมควรที่จะปฏิเสธสมมติฐานนั้น แตเราไมจําเปนตองปฏิเสธสมมติฐานที่นําไปสูสถานการณแบบที่สอง ทั้งนี้เพราะ

… ณ ขณะนี้ PVC เปนการสะทอนถึงขอเท็จจริงที่วา มีเพียงรูปแบบของความเกี่ยวพันกันบางรูปแบบเทานั้นที่ไดรับการสังเกตในโลกนี้ จึงเปนเรื่องเหมาะสมที่จะอางเหตุผลวา ในขอบเขตที่ PVC ไดพัฒนาขึ้นมา ปรากฏการณที่ละเมิด PVC จะเปนส่ิงที่ไมคอยไดพบเห็นเพราะปรากฏการณเชนนั้นจะเปนส่ิงที่อธิบายไมไดในความหมายแบบแรก แตเราไมสามารถอางเหตุผลจาก PVC วา ปรากฏการณที่ละเมิด PVC จะเปนส่ิงที่พบไดยากยิ่ง เพราะปรากฏการณเชนนั้นอาจเปนส่ิงที่ไมสามารถอธิบายไดเพียงในความหมายแบบที่สองเทานั้น (Smith, 1997: 370)

สมิทหมายความวา จาก PVC เราสามารถสรุปไดเพียงวา ในชวงเวลาที่ผานมาซึ่งทําใหเราพัฒนาหลักการดังกลาวขึ้น ความบังเอิญที่ละเมิดหลักการนี้ยอมเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปได หากสมมติฐานเรื่องการเดินทางขามเวลามีนัยนําไปสูความบังเอิญเชนนี้จริง เราก็ควรปฏิเสธการเดินทางขามเวลาในฐานะเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดดวยเชนกัน แตนั่นก็เพียงชี้วาในอดีตที่ผานมาจนถึงปจจุบันไมเคยมีการเดินทางขามเวลาเกิดขึ้นเทานั้น กลาวคอื เราสามารถอนุมานไดเพียงแควา

Page 43: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

35

ไมเคยมีนักเดินทางจากอนาคตคนใดเดินทางกลับไปยังอดีตที่ผานมาจนถึงปจจุบัน (Smith, 1997:371) ดังนั้น หากขอเสนอของสมิทนี้ยอมรับได นั่นก็หมายความวา เราไมอาจใช PVC ไปครอบคลุมถึงบริบทหรือชวงเวลาอื่นที่ตางไปจากชวงเวลาที่เราพัฒนาหลักการดังกลาว เราจะไมสามารถสรุปไดวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดและจะไมเกิดขึ้นเลยในอนาคต ในแงนี้การเดินทางขามเวลาจึงอาจจะเปนไปไดในลักษณะที่นักเดินทางสามารถเดินทางยอนกลับมาไดจนถึงชวงเวลาที่เปนอนาคตหลังจากตอนนี้ไปเทานั้น21

ในประเด็นขางตน ผูเขียนเขาใจวาสมิทพยายามชี้ใหเห็นวาแนวเหตุผลที่ฮอรวิชใชนั้นเปนการอางเหตุผลเชิงอุปนัย (inductive argument) ซึ่งไมจําเปนตองนําไปสูขอสรุปวาการเดินทางขามเวลาจะไมเกิดขึ้นอีกในอนาคต แตหากเราลองถามกลับไปวา เหตุใดในอนาคตหลักการ PVCจะไมไดเปนหลักการที่ครอบคลุมความเปนไปของเหตุการณตางๆ อีกตอไป (ซึ่งทําใหเราไมมีเหตุผลที่จะบอกวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดอีก เพราะไมมีหลักการ PVC อีกตอไปแลว) คําตอบของสมิทก็ดูจะเปนวา หากการเดินทางขามเวลาเกิดขึ้น ความบังเอิญตางๆ (ที่ขณะนี้เราถือวาไมนาจะเปนไปได) ก็จะทําใหเราสรางหลักการแบบอื่นที่ตางไปจาก PVC ในแงนี้จึงดูเหมือนวาสมิทคิดในแบบที่เปนมุมมอง (perspective) ของสถานการณที่แตกตางกันออกไปดังเชนที่เขายกตัวอยางเกี่ยวกับการกลิ้งลูกมะเขือเทศขามถนนภายใน 2 วินาที ที่ซึ่งในอดีตไมมีรถวิ่งผานไปมามากนัก ณ ชวงเวลานั้น การที่ลูกมะเขือเทศจะโดนรถชนจงึเปนเรื่องของความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปได แตในปจจุบันที่จํานวนรถเพิ่มมากขึ้น ยอมจะไมใชเร่ืองบังเอิญอีกตอไปถาทุกคร้ังที่เรากลิ้งลูกมะเขือเทศแลวจะโดนรถชนทั้งหมด ซึ่งการที่ลูกมะเขือเทศที่กลิ้งไปนี้จะโดนรถชนจะ “ไมเปนความบังเอิญอีกตอไปเพราะนั่นไมใชส่ิงที่ไมนาจะเปนไปไดอีกตอไป ... เพราะมีรถบนถนนมากขึ้นบนถนนทุกวันนี้” (Smith, 1997: 369)

21 คําอธิบายเชนนี้ใชตอบตอขอสงสัยหนึ่งของ Hawking ไดเปนอยางดี โดย Hawking ซึ่งเสนอ

chronology protection conjecture ที่แสดงวากฎตางๆ ทางฟสิกสจะปองกันการเกิดขึ้นของ closed time-likecurves นั้นไดกลาวไววา “There is also strong experimental evidence in favor of the conjecture fromthe fact that we have not been invaded by hordes of tourists from the future.” (Hawking, 1992: 610)แตเนื่องจากการเดินทางขามเวลาโดยการอาศัย CTCs เชน wormhole นั้นจะสามารถทําใหเราเดินทางยอนกลับไปไดถึงชวงเวลาที่ CTCs นั้นไดถูกสรางขึ้นมาเทานั้น หากเราไมพบนักเดินทางขามเวลาในปจจุบัน นั่นก็เพียงแสดงวา wormhole ยังไมถูกสรางขึ้นมา แตนั่นไมไดหมายความวาการเดินทางขามเวลา (ภายหลังจากปจจุบันนี้ไป) จะไมสามารถเกิดขึ้นได (โปรดดู Davies, 2001: 104-105; Deutsch and Lockwood, 1994: 56) อยางไรก็ตาม ยังคงไมมีขอสรุปที่ชัดเจนในทางฟสิกสวา CTCs เชน wormhole นั้นจะเปนส่ิงที่ทําใหเกิดขึ้น (ในแงที่จะใชสําหรับการเดินทางขามเวลา) ไดจริงหรือไม

Page 44: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

36

แมการคิดจากมุมมองที่ตางกันเชนนี้จะไมมีปญหาทางตรรกะ เพราะแนนอนวาถาสถานการณใดๆ เปนสิ่งที่ไดเกิดขึ้นบอยแลว เรายอมจะไมพิจารณาวาสิ่งนั้นเปนความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดอีกตอไป แตกระนั้น ประเด็นที่ฮอรวิชเสนอมาเปนประเด็นเชิงญาณวิทยา (มากกวาเชิงตรรกะ) ซึ่งเปนขอพิจารณาในแงของการมีคําอธิบายที่ดีในการที่จะเชื่อวาการเดินทางขามเวลาจะเกิดขึ้นไดหรือไมในโลกที่เปนอยูนี้ การใหเหตุผลของสมิทในแบบที่พิจารณาจากมุมมองที่แตกตางกันวา หากในชวงเวลาที่เกิดการเดินทางขามเวลาขึ้น ความบังเอิญที่เกิดตามมาจะไมนับเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดอีก ก็จะคลายกับเปนการบอกวา “หากการเดินทางขามเวลาไดเกิดขึ้นแลว การเดินทางขามเวลาก็จะไมใชสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดอีกตอไป” ซึ่งนี่เทากับเปนการทวนปญหา (begthe question) ที่วาการเดินทางขามเวลาจะสามารถเกิดขึ้นในโลกของเราไดหรือไมตั้งแตตน

อยางไรก็ตาม การอนุมานความไมนาจะเปนไปไดจาก PVC ดังที่ฮอรวิชเสนอ ก็อาจไมไดติดปญหาอุปนัยโดยสิ้นเชิงเสียทีเดียว การที่สมิทเห็นวาฮอรวิชไมไดเสนอหลักการหรือทฤษฎีใดๆขึ้นมาเพื่อแสดงใหเห็นวาความบังเอิญที่ละเมิด PVC จะตองเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดนั้น ยอมไมไดหมายความวาหลักการหรือทฤษฎีเชนนั้นจะไมอาจมีได แมวาในขณะนี้ PVC เปนเพียงหลักการเชิง de facto ที่มาจากการสังเกตปรากฏการณในชวงเวลาที่ผานมาเทานั้น ซึ่งอาจหมายความวาหลักการเชนนี้เปนเพียงความเปนไปไดที่ไมจาํเปนตองจริงในทุกโลกที่เปนไปได แตหากเราสามารถหาหลักฐานหรือทฤษฎีบางอยางมายืนยันไดวาหลักการดังกลาวนี้เปนสิ่งที่เปนจริงในโลกที่เปนอยูของเรา นี่ก็อาจจะเปนเหตุผลสนับสนุนที่ดีพอที่จะอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาไมอาจจะเกิดข้ึนไดในอนาคตดวยเชนกัน

นอกจากนี้ สมิทไดใหขอคิดเห็นเกี่ยวกับปญหาจากปฏิทรรศนความรูไวดวยเชนกัน โดยเขาเห็นวา แมวาการเดินทางขามเวลาจะทําใหเกิดมีความรูข้ึนมาโดยไมมีผูใดเปนคนคิดขึ้น สถานการณเชนนี้ก็ไมไดทําใหการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่เปนไปไมได (impossible) หรือไมมีความสอดคลองกัน (incoherent) อีกทั้งนี่ก็ยังไมใชสิ่งที่บงชี้ถึงความไมนาจะเปนไปได (improbable)ดวยเชนกัน แมเราอาจจะคิดวาไมนาจะเปนไปได (ซึ่งผูเขียนไดเสนอไวเชนนั้นในบทที่ผานมา) แตนั่นก็เพียงเพราะวาสิ่งนี้ไมไดเกิดขึ้นบอยเทานั้น ทวาก็สามารถเกิดขึ้นไดในบางครั้ง ดังที่สมิทยกตัวอยางของคนสองคนที่กําลังคุยกัน โดยที่คนหนึ่งอาจจะไดยินอีกคนหนึ่งผิดไป และคิดวาเขาไดพูดบางอยางที่ลึกซึ้ง ซึ่งอาจเปนสิ่งที่ไมมีใครเคยไดยินหรือคิดขึ้นมากอนเลยในโลกก็เปนได และในแงนี้ หากสิ่งนี้ไดเกิดขึ้นบอยแลว (จากการเกิดขึ้นของการเดินทางขามเวลา) สถานการณดังกลาวก็จะไมใชสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดอีก (Smith, 1997: 371, note 11)

อยางไรก็ตาม การไดยินคําพูดของอีกคนผิดไปและไดสรางความเชื่อใหมข้ึนมากับปญหาการเกิดขึ้นของความรูในปฏิทรรศนความรูนั้น ไมใชสิ่งที่มีลักษณะซึ่งคลายกันพอที่จะนํามาเปรียบ

Page 45: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

37

เทียบกันได กลาวคือ เราอาจจะยอมรับไดวา ความทรงจําหรือความเชื่อบางอยางอาจสามารถเกิดขึ้นมาไดโดยไมมีสาเหตุหรือที่มาที่ชัดเจน แตนี่ก็ยังคงแตกตางไปจากกรณีของการมีความรูขึ้นมาจากความวางเปลา (out of nothing) อยางแทจริงในปฏิทรรศนความรู โดยเฉพาะความรูในฐานะที่เปนผลของกระบวนการแกปญหาดวยจิตของมนุษย ในกรณีแรก เราอาจคนหาคําอธิบายทางจิตวิเคราะหบางอยางที่ดีพอสําหรับการอธิบายความมีอยูข้ึนมาของความเชื่อเชนนั้นได บางทีเขาอาจไดเคยครุนคิดเกี่ยวกับส่ิงนั้นมากอนและความคิดนั้นไดผุดขึ้นมาจากกระบวนการทางจิตไรสํานึก หรืออยางนอย เราก็สามารถเห็นไดชัดเจนวาความเชื่อจากการตีความคําพูดที่ผิดไปก็ยังคงเปนผลที่มาจากการกระตุนของเสียงจากคูสนทนาที่กําลังคุยกันอยู แตในกรณีหลัง เราไมมีคําอธิบายใดที่เพียงพอเลยนอกเสียจากจะบอกวา สิ่งนี้อาจจะเกิดขึ้นไดถาการเดินทางขามเวลาไดเกิดขึ้น ซึ่งในแงนี้ก็จะเทากับเปนการทวนปญหาเกี่ยวกับการเกิดขึ้นไดของการเดนิทางขามเวลาอีกรอบหนึ่ง

ความบังเอิญที่เปนไปได

ในขออางเหตุผลแนวทางที่สอง สมิทไดแสดงวาที่จริงแลวการเดินทางขามเวลาไมไดมีนัยนําไปสูความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดอยางที่ฮอรวิชเสนอไว สมิทเห็นวาหากนักเดินทางขามเวลาจะฆาตัวเองในอดีตจริง นั่นก็อาจจะเกิดความบังเอิญเล็กนอยที่ทําใหเขาลมเหลว แตก็ไมใชส่ิงที่ไมนาจะเปนไปได และหากเขาสามารถทําไดจริง นั่นก็แสดงวาคนที่เขาฆาไปนั้นไมใชตัวเขาในอดีตจริง จึงไมจําเปนจะตองมีความบังเอิญที่เกิดขึ้นมาเพื่อรับประกันความลมเหลวเสมอไป แตไมวาจะเปนกรณีใด การเดินทางขามเวลาไมไดนําไปสูความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปได

ตามขอเสนอของฮอรวิช หากการเดินทางขามเวลาทําใหนักเดินทางยอนกลับไปพบตัวเองในอดีตได ไมวาเขาจะพยามยามฆาคนๆ นี้เทาใดก็ตาม ยอมเกิดสถานการณที่เปนความบังเอิญขึ้นเพื่อทําใหความพยายามดังกลาวนั้นลมเหลวเสมอ และความบังเอิญที่มีปริมาณมากเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปได ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงไมนาจะเปนไปไดเชนกัน อยางไรก็ตาม สมิทไดชี้วาสมมติฐานสําคัญประการหนึ่งที่อยูเบื้องหลังขอสรุปนี้เปนผลที่มาจากการยึดติด (adherence)ใน counterfactual ที่วา

A: ถานักเดินทางขามเวลาฆาตัวเองในอดีตสําเร็จ ผลที่ตามมาคือความขัดแยงในตัวเอง

ทั้งนี้เนื่องจากความจริงของ counterfactual A ซึ่งทําใหนักเดินทางจะทั้งมีอยู (เพราะเดินทางกลับไปฆาตัวเองในอดีต) และไมไดมีอยู (เพราะถูกฆากอนที่จะไดออกเดินทาง) เปนความขัดแยงในตัวเองที่ยอมรับไมได และไมมีโลกที่เปนไปไดใดที่จะมีความขัดแยงเชนนี้ ดังนั้น จึงไมมีโลก

Page 46: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

38

ที่เปนไปไดใดที่นักเดินทางจะทําเชนนั้นไดสําเร็จ (Smith, 1997: 372) ความพยายามในการทําเชนนั้นจึงจําเปนตองมีความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดเกิดขึ้นเสมอ

อยางไรก็ตาม สมิทเห็นวาแม counterfactual A นี้จะดูเหมือนถูกตองอยางชัดเจน แตก็ยังคงมี counterfactual ที่เปนทางเลือกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งแมจะไมดีกวาแบบ A แตก็ดีเทาเทียมกันทวามักถูกมองขามไปในการถกเถียงปญหาเกี่ยวกับการเดินทางขามเวลากลบัไปฆาตัวเองในอดีต (Smith, 1997: 372) นั่นคือ

B: ถานักเดินทางขามเวลาฆาตัวเองในอดีตสําเร็จ คนที่ถูกฆานั้นไมใชตัวเขาในอดีตจริง

ในแงนี้ การกระทําดังกลาวไมไดเปนการไปเปลี่ยนแปลงอดีต (เปลี่ยนจากตัวเขาที่จะถูกฆาใหเปนคนอื่น) แตประการใด เนื่องจากบุคคลที่นักเดินทางคิดวาเปนตัวเขาเองในอดีตนั้นเปนความเขาใจที่ผิดตั้งแตทีแรก และนั่นก็ไมไดทําใหคนที่ถูกฆาไปนั้นจะทั้งมีอยูและไมมีอยูในเวลาตอมาเชนกัน เพราะถานักเดินทางทําไดสําเร็จจริง นั่นก็เพียงแสดงวาบุคคลผูนั้นจะไมไดมีอยูในเวลาตอมาตั้งแตกอนที่เขาจะออกเดินทางยอนเวลากลับไปตั้งแตทีแรกแลว (และการไมมีอยูของบุคคลผูนั้นก็เนื่องมาจากเขาถูกฆาโดยนักเดินทางขามเวลานั่นเอง) ดวยเหตุนี้ หากวา counterfactual Bเปนจริง ความพยายามดังกลาวของนักเดินทางขามเวลาจะไมจําเปนตองลมเหลวเสมอไป (เพราะความสําเร็จนั้นไมไดกอใหเกิดความขัดแยงในตัวเอง) ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงไมไดนําไปสูความบังเอิญที่ละเมิดหลัก PVC ดวยเชนกัน เพราะไมมีอะไรที่จําเปนตองเกิดขึ้นมาขัดขวางการกระทําดังกลาวหากวา counterfactual B เปนจริง (Smith, 1997: 373)

สวนในประเด็นที่วาการเสนอ counterfactual B นี้เปนการเลี่ยงปญหาหรือไม เพราะประเด็นของฮอรวิชนั้นอยูที่วา อะไรจะเกิดขึ้นหากบุคคลที่นักเดินทางไดพบและตองการจะฆานั้นเปนตัวเขาในอดีตจริง สมิทไดตอบตอขอโตแยงนี้โดยใหเราพิจารณาความหมายสองแบบของการพยายาม (trying) ที่จะทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากพิจารณาการพยายามฆาตัวเองในอดีตในเชิง dedicto แลว ยอมเปนการไรความหมายที่จะพยายามเชนนั้น เพราะไมมีใครที่จะพยายามทําในสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ ในขณะที่อาจเปนไปไดที่จะมีการพยายามฆาตัวเองในอดีตในเชิง de reในความหมายที่นักเดินทางไดกระทําบางสิ่ง แตส่ิงนั้นกลับมีผลในลักษณะที่เปนการฆาตัวเองในอดีตโดยไมไดเจตนา ซึ่งสถานการณเชนนี้อาจจะเกิดขึ้นได แตก็ไมไดเกิดขึ้นบอยนักและเกิดขึ้นโดยบังเอิญเทานั้น ดังนั้น หากการเดินทางขามเวลาจะนําเราไปพบกับตัวเองในอดีตไดแลว ยอมไมมีการพยามยามที่จะฆาตัวเองในอดีตในเชิง de dicto ซึ่งทําใหไมจําเปนตองมีความบังเอิญใดๆเกิดขึ้น ในขณะที่การพยายามฆาตัวเองในเชิง de re ก็เปนสิ่งที่เกิดขึ้นไมบอย ซึ่งทําใหอาจมีบาง

Page 47: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

39

ส่ิงเกิดขึ้นมาทําใหการกระทํานั้นลมเหลว แตนั่นก็ไมใชความบังเอิญที่มีปริมาณมากในแบบที่ไมนาจะเปนไปไดแตอยางใด

นอกจากนี้ สมิทยังใหขอสังเกตเพิ่มเติมวา หากยังคงมีการอนุมานไปสูขอสรุปเกี่ยวกับความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาแลว นั่นยอมแสดงวาขออนุมานดังกลาวจะตองมีการนําบางสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดอยูกอนแลวเขามาเปนขออางของการอางเหตุผล กลาวคือ

… เพื่อที่จะไดความบังเอิญออกมาเปนปริมาณมากแลว ขอโตแยงตางๆ จําเปนตองสมมติเอาการเกิดขึ้นของความบังเอิญนั้นเปนขออางที่ใสเขามา (input) ดวยเชนกัน นี่หมายความวาถาเราจํากัดตัวเองเฉพาะโลกที่เปนอยูนี้ ขออางเหตุผลที่สรางปญหาเหลานั้นไมสามารถเริ่มตนขึ้นได (Smith, 1997: 381)

ประเด็นของสมิทคือการเสนอวา การอนุมานความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาเปนการสรุปมาจากขออางที่ไมนาจะเปนไปไดดวยเชนกัน ดังนั้น จึงเปนลักษณะการทวนคําถาม (question-begging) เกี่ยวกับความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาในโลกที่เปนอยูตั้งแตตน ดังที่เขาใหขอสังเกตวานักเดินทางขามเวลาจะไมพยายามฆาตัวเองในอดีตในเชิง de dictoยกเวนเสียแตนักเดินทางจะเชื่อในความเปนไปไดของการฟนคืนชีพ (resurrection) แตแนนอนวาไมนาจะเปนไปไดที่จะมีใคร (ในโลกของเรา) เชื่อเชนนี้ หรือมิเชนนั้นแลว นั่นก็แสดงวาโลกที่มีคนเชื่อเชนนี้ไดตองเปนโลกที่การฟนคืนชีพเปนจริง ในกรณีแรก จึงคงมีเพียงความเปนไปไดที่จะฆาตัวเองในเชิง de re เทานั้น และดังนั้น จึงไมจําเปนตองมีความบังเอิญในปริมาณมากจนไมนาจะเปนไปไดเกิดขึ้นมาขัดขวาง สวนในกรณีหลัง แมโลกเชนนั้นจะแตกตางไปจากโลกที่เปนอยูของเรามาก แตการฆาตัวเองในอดีตก็สามารถทําไดสําเร็จโดยไมจําเปนตองมีความบังเอิญเกิดขึ้นมาขัดขวางแตอยางใด

โดยสรุป ประเด็นที่สมิทนําเสนอในสวนนี้นาจะแบงไดเปน 3 ประเด็นหลัก ประเด็นแรกคือการพิจารณาทางเลือกของ counterfactual B ซึ่งทําใหเราเห็นวา หากนักเดินทางขามเวลาจะพยายามฆาตัวเองในอดีตแลว เขาอาจจะสามารถทําไดโดยไมเกิดความขัดแยงและอาจไมจําเปนตองมีความบังเอิญเกิดขึ้นมาทําใหความพยายามนั้นลมเหลวเสมอไป เพราะคนที่เขาจะฆานั้นอาจไมใชตัวเขาในอดีตจริงอยางที่คิดไวตั้งแตแรก สวนประเด็นที่สองก็คือ การแสดงใหเห็นวาไมมีใครที่จะพยายามฆาตัวเองในอดีตในเชิง de dicto เพราะเขายอมรูวานั่นเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ ในกรณีนี้จึงยอมไมมีความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดเกิดขึ้น ในขณะที่การพยายามฆาตัวเองในอดีตในเชิง de re เปนสิ่งที่เกิดขึ้นไมบอย ความบังเอิญที่มาปองกันจึงไมจําเปนตองมีเปนปริมาณมากดวยเชนกัน ในกรณีนี้ จึงไมใชสถานการณที่ไมนาจะเปนไปไดแตอยางใด และ

Page 48: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

40

ประเด็นสุดทายก็คือการชี้ใหเห็นวาการอนุมานไปสูความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลานั้นเปนการเชื่อในขออางที่ไมนาจะเปนไปไดอยูกอนแลว ในแงนี้จึงไมสามารถยอมรับไดในแงของการอางเหตุผลที่ดี

ในสวนของประเด็นแรกที่เกี่ยวกับ counterfactual นั้น ผูเขียนเขาใจวาฮอรวิชเองก็ไมไดมองขามทางเลือกของ counterfactual B ไปแตอยางใด ดังที่เขาไดแสดงความเห็นในทํานองนี้ดวยการตอบตอขอกังวลใจของโกเดล หลังจากที่โกเดลเองไดเสนอถึงความเปนไปไดหนึ่งของการมีclosed time-like curves สําหรับการเดินทางขามเวลา โดยโกเดลเห็นวาหากนักเดินทางขามเวลาสามารถกลับไปพบกับตัวเองในอดีตไดแลว “เขาสามารถทําบางสิ่งตอคนผูนี้ ซึ่งโดยความจําของเขาแลว เขารูวาไมไดเกิดขึ้นกับเขา” (Gödel, 1949: 561) แตฮอรวิชไดตัดปญหานี้ไปดวยการชี้ใหเห็นวา “ไมวาเขาจะทําเชนนั้นหรือไม นั่นก็ไมมีความขัดแยง ถาเขาทําทั้งที่ขัดกับความจําของเขา นี่ก็แสดงวาความจําของเขานั้นผิด” (Horwich, 1987: 117) ในแงนี้ เราจะเห็นไดวาการพยายามกระทําบางสิ่งที่ขัดแยงกันเองของนักเดินทางขามเวลานั้นไมจําเปนตองลมเหลวเสมอไป หากนักเดินทางทําไดสําเร็จจริง น่ันก็เพียงแตแสดงวาขอสมมติบางอยางที่เชื่อไวกอนหนานั้นไมถูกตอง เชนเดียวกับที่ลูอิส (Lewis, 1976) ไดเคยใหหลักเกณฑเกี่ยวกับการใช counterfactual ในกรณีปญหาของปฏิทรรศนคุณปูไวดังนี้

… ถาคุณสรางขอสมมติ counterfactual ใดๆ ขึ้น และคงทุกอยางที่เหลือไวเหมือนเดิม คุณยอมพบกับขอขัดแยง ส่ิงที่ตองทําเสียใหมก็คือใหสรางขอสมมติ counterfactual และคงทุกอยางที่เหลือใหใกลเคียงกับของเดิมมากเทาที่คุณจะสามารถทําไดอยางคงเสนคงวา (Lewis,1976: 152)

ในตัวอยางของลูอิสซึ่งเปนกรณีที่ทิมพยายามจะฆาปูของตัวเอง (กอนที่ปูจะใหกําเนิดพอของทิม) ลูอิสเห็นวาหากเราสมมติ counterfactual ใหทิมฆาปูไดสําเร็จโดยที่เรายังคงขอสมมติทุกอยางไวเหมือนเดิม เรายอมจะไดขอขัดแยงที่ทําใหทิมทั้งสามารถมีอยูได (เพราะเขาเดินทางยอนเวลากลับมา) และไมไดมีอยู (เพราะปูถูกฆากอนที่จะใหกําเนิดพอของทิม) แตความขัดแยงในตัวเองเปนสิ่งที่เปนไปไมไดในทุกโลกที่เปนไปได หากเรายอมให counterfactual เชนนี้เปนจริง นั่นยอมแสดงวาขอสมมติที่มีมากอนนั้นไมอาจจะเปนจริงไดทั้งหมด “บางทีทิมอาจเปนหลานของคนอ่ืนที่เดินทางขามเวลากลับมา บางทีเขาอาจเปนหลานของผูชายที่ถูกฆาในป 1921 และฟนคืนชีพขึ้นมาอยางอัศจรรย บางทีเขาอาจไมไดเปนนักเดินทางขามเวลาจริง แตเปนคนที่ถูกสรางขึ้นมา ... พรอมกับความทรงจําผิดๆ เกี่ยวกับอดีตของตนที่ไมเคยมีอยูจริง” (Lewis, 1976: 152)

Page 49: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

41

เราจะเห็นไดวาทางออกแรกที่ทิม “เปนหลานของคนอื่น” และดังนั้น คนที่ทิมคิดวาเปนปูของเขาก็ไมใชปูแทๆ ของเขาตั้งแตแรกนั้น ก็ไมไดแตกตางไปจาก counterfactual B ที่สมิทไดเสนอไว ในขณะที่อีกสองทางออกที่อาศัยการฟนคืนชีพและการสรางความทรงจําผิดๆ ใหกับทิมนั้นก็อาจพิจารณา (ตามขอเสนอของสมิท) ไดวาเปนขออางที่ไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู ดังนั้นจึงไมอาจใชเปนขออางในการสรุปไปสูความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาได อยางไรก็ตาม นี่ไมใชขอโตแยงตอขอเสนอของลูอิส เนื่องจากลูอิสเพียงสนับสนุนความเปนไปไดเชิงตรรกะของการเดินทางขามเวลาเทานั้น (โปรดดู บทที่ 2) แตคําถามที่ควรถามตอในที่นี้ก็คือ ในขอเสนอของฮอรวิชนั้น เขาไดนําขออางที่ไมนาจะเปนไปไดเหลานี้เขามาเปนฐานของการอางเหตุผลหรือไม

ในบทที่ 2 ผูเขียนไดแสดงใหเห็นไปแลววา สมมติฐานที่สําคัญประการหนึ่งที่ทําใหเกิดปญหาเชิงปฏิทรรศนดังกลาวก็คือหลักการหนึ่งที่เรียกวา autonomy principle ซึ่งจากหลักการนี้นักเดินทางขามเวลายังคงที่จะสามารถทําสิ่งตางๆ ที่เขาทําไดภายใตสภาพแวดลอมที่เอื้ออํานวยและโดยที่หลักการดังกลาวนี้ถือเปน “พื้นฐานอยางหนึ่งที่รองรับทั้งการใหเหตุผลทางวิทยาศาสตรและในชีวิตประจําวัน” (Deutsch and Lockwood, 1994: 53) ความพยายามของนักเดินทางที่จะฆาตัวเองในอดีตซึ่งแมวาจะเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะจึงยอมไมใชสิ่งที่จะไมสามารถเกิดขึ้นไดหากการเดินทางขามเวลาเปนไปได ดังที่ฮอรวิชเองเห็นวาความพยายามเชนนั้น “เปนความพยายามทั่วๆ ไปที่จะกระทําพฤติกรรมตางๆ ที่ปกตินั้นงายมากที่จะกระทําได” (Horwich, 1987:122) ในแงนี้ ขออางเหตุผลของฮอรวิชซ่ึงไดเร่ิมตนจากหลักการพื้นฐานที่เราเชื่อกันวาเปนจริงในโลกที่เปนอยูและเปนพื้นฐานในการเขาใจโลกของมนุษย จึงยอมไมใชเปนการนาํสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดเขามาในการสรุปสูความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาแตอยางใด ดังนั้น เราจึงเห็นไดวา การอางเหตุผลของฮอรวิชนั้นไมไดบกพรองเชิงทวนปญหาในลักษณะที่มีการนําสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดเขามาไวในขออางกอน ดวยเหตุนี้ ประเด็นที่สามของสมิท (ซึ่งเปนขอวิจารณเชิงรูปแบบของการอางเหตุผล) ที่วาขออางเหตุผลที่ไดความไมนาจะเปนไปไดเปนผลลัพธออกมาจะตองมีการแอบนําสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดเขามาในขออางอยูกอนแลวนั้น ยอมไมอาจใชเปนขอโตแยงตอขอเสนอของฮอรวิชได ดังนั้น เราคงตองมาพิจารณากันตอไปในสวนเนื้อหา (content) ของการอางเหตุผลวาขอเสนอใด (สมิทหรือฮอรวิช) จะมีน้ําหนักนาเชื่อถือมากกวากันเปนหลัก

หัวใจสําคัญในขออางเหตุผลของสมิทที่ใชปฏิเสธความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลานั้น คงจะอยูที่ประเด็นที่สองซ่ึงไดเสนอไววาไมมีใครจะมีความพยามยามในเชิง de dictoที่จะฆาตัวเองในอดีต เพราะไมมีใครจะพยายามทําสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ ดังนั้น เมื่อไมมีความพยายามฆาตัวเองในอดีต จึงไมจําเปนตองมีความบังเอิญใดเกิดขึ้นมาขัดขวาง แตเราจะ

Page 50: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

42

เห็นไดวาประเด็นสําคัญอันเปนที่มาของปญหาปฏิทรรศนคุณปูนั้น ไมไดอยูที่เพียงวาการฆาตัวเองในอดีต (หรือการกระทําใดๆ ที่จะขัดแยงกับส่ิงที่ไดเกิดขึ้นในเวลาตอมา) จะเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ แตอยูที่ความเชื่อของนักเดินทางขามเวลาเองมากกวาที่วาเขาจะยังคงสามารถทําในส่ิงที่ปกตินั้นเขาสามารถจะทําไดบนพื้นฐานของ autonomy principle ดังที่ฮอรวิชเห็นวาเราไมมีเหตุผลที่จะเชื่อวาการเดินทางขามเวลาจะตองปราศจากความพยายามที่จะฆาตัวเองในอดีตของนักเดินทางขามเวลา ในทางกลับกัน เรามีเหตุผลเชิงบวกจากความเขาใจในความสามารถและความโนมเอียงทางอารมณ (inclination) ของมนุษยที่ทําใหเราเชื่อไดวาความพยายามเชนนั้นจะตองเปนสิ่งที่มีขึ้นแนนอนหากวาการเดินทางขามเวลาเปนไปไดจริง (Horwich, 1987: 121) บางทีหลังจากที่นักเดินทางขามเวลาไดอานบทความ “The Quantum Physics of Time Travel” ของดอยทชและล็อควูด (Deutsch and Lockwood, 1994) เขาอาจจะเชื่อวาการกระทําใดๆ ก็ตามที่ขัดแยงกับเหตุการณ X ที่เขารูวาจะเกิดขึ้นตามมานั้น เพียงแตจะเปนผลทําใหเกิด ~X ในโลกที่เปนไปไดอีกโลกหนึ่งเทานั้น ดังนั้น การกระทําดังกลาวจึงอาจไมเปนการขัดแยงในตัวเอง และความเชื่อที่จะกระทําเชนนั้นก็ไมใชสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดเชนกัน ดวยเหตุนี้ การกลาววานักเดินทางขามเวลาจะไมมีความพยายามในเชิง de dicto ที่จะทําสิ่งซึ่งเปนไปไมไดเชนการฆาตัวเองในอดีตนั้น จึงเปนขออางที่ไมสมเหตุสมผล

แตแนนอนวาหากความเปนจริง (reality) ของโลกที่เปนอยู เปนเชนที่กลาวไวขางตนจริง(หมายถึงการเดินทางขามเวลาในโลกที่เปนไปไดอ่ืนๆ ซึ่งผูเขียนจะไดพิจารณาความเปนไปไดนี้ในบทตอไป) นั่นก็อาจหมายความวา ความพยายามกระทําการใดๆ ของนักเดินทางขามเวลายอมไมจําเปนตองถูกขัดขวางดวยความบังเอิญเสมอไป และดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงไมไดมีนัยไปสูความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปได (ดังที่สมิทเสนอไว) อยางไรก็ตาม สมมติฐานสําคัญประการหนึ่งในการถกเถียงปญหาการเดินทางขามเวลานั้นวางอยูบนความเชื่อในการมีเวลาเพียงมิติเดียว(one-dimensional time) เทานั้น กลาวคือ จุดหมายที่นักเดินทางขามเวลาไปถึงและเหตุการณตางๆ ที่เกิดขึ้นในการเดินทางขามเวลานั้นเกิดขึ้นในโลกที่เปนอยูนี้เพียงโลกเดียวเทานั้น (โดยขอเสนอของทั้งฮอรวิชและสมิทก็วางอยูบนสมมติฐานนี้เชนกัน) แตทั้งนี้ ผูเขียนมิไดหมายความวาความเปนจริงของโลกที่เปนไปไดอ่ืนๆ เชนนั้นจะเปนเท็จอยางจําเปน ประเด็นสําคัญอยูที่วาความเชื่อใดๆ ของมนุษยยอมเปนสิ่งที่อาจจะผิดได หากความเปนจริงของการเดินทางขามเวลา (ถาเปนไปไดจริง) เปนแบบการมีเวลาเพียงมิติเดียวแลว ความเชื่อในโลกที่เปนไปไดอ่ืนๆ ของนักเดินทางขามเวลาก็นับเปนความเชื่อที่ผิด แตไมวาความเชื่อจะผิดหรือถูก เรายอมปฏิเสธไมไดวาการพยายามกระทําสิ่งใดก็ตามสวนหนึ่งนั้นเปนผลมาจากความเชื่อของผูกระทํา ในกรณีเชนนี้ นักเดินทางขามเวลาสามารถมีความเชื่อซ่ึงนําไปสูความพยายามที่กระทําสิ่งที่เปนไปไมไดจริง ดงัเชนการฆาตัวเองในอดีต แตหากความสําเร็จของการกระทํานั้นเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ (บน

Page 51: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

43

สมมติฐานของเวลาแบบมิติเดียว) แลว นักเดินทางยอมไมสามารถทําเชนนั้นไดสําเร็จ ความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดจึงเปนสิ่งที่จําเปนจะตองเกิดขึ้นมาเพื่อขัดขวางการกระทําดังกลาว ดวยเหตุนี้ (ดังที่ฮอรวิชเสนอไว) เราจึงมีเหตุผลที่จะอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู

โดยสรุปแลว หากตองการจะปฏิเสธขอเสนอเกี่ยวกับความไมนาจะเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาดังที่ฮอรวิชเสนอแลว จําเปนที่จะตองแสดงใหเห็นใหไดวาความเขาใจพื้นฐานของเรา(หมายถึงหลักการ autonomy principle) ที่นําไปสูการยอมรับปฏิทรรศนคุณปูตั้งแตตนนั้นเปนสิ่งที่ผิดอยางไร แตขอโตแยงของสมิทกลับไมไดแกปญหาในสวนนี้เลย22 นอกจากนี้ สมิทไมไดแสดงใหเราเห็นวาขอเสนอของฮอรวิชนั้นมีการแอบนําขออางที่ไมนาจะเปนไปไดเขามากอน แตในทางกลับกัน ในขณะที่ฮอรวิชเร่ิมตนจาก autonomy principle ซึ่งเปนความเชื่อพื้นฐานที่นาจะเปนไปไดมากที่สุดเกี่ยวกับโลกที่เปนอยู สมิทกลับดูเหมือนไมยอมรับหลักการดังกลาวโดยไมไดแสดงเหตุผลประกอบ ในแงนี้จึงอาจพิจารณาไดวาขออางเหตุผลของสมิทเองตางหากที่มีลักษณะของการยอมรับขออางบางอยางที่ไมนาจะเปนไปไดเขามากอน นั่นคือ เปนการเริ่มตนการพิจารณาปญหาจากโลกที่ตางไปจากโลกที่เราคุนเคย ดังนั้น นอกเหนือจากการแสดงความเปนไปไดทางตรรกะแลว ขอเสนอของสมิทจึงไมไดใหขอสรุปใดที่เกี่ยวกับความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาในโลกที่เปนอยูนี้เลย

อยางไรก็ตาม เราอาจตองเผชิญกับทางเลือกที่กลืนไมเขาคายไมออก (dilemma) แบบหนึ่ง ในทางแรก หากเราไมยอมรับ autonomy principle (อยางที่สมิททํา) นั่นก็เหมือนกับเปนการเร่ิมตนปญหาจากโลกที่ไมนาเชื่อวาจะเปนโลกแบบของเรา แตในอีกทางหนึ่ง หากเรายอมรับหลักการดังกลาว (อยางขอเสนอของฮอรวิช) ปญหาเรื่องความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปไดก็จะเปนผลที่ตามมา และทําใหเราตองยอมรับวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปได แตกระนั้น ผูเขียนยังคงเห็นวาขอเสนอดังเชนของฮอรวิชเปนสิ่งที่นารับฟงมากกวา เพราะอยางนอยก็ไดแสดงเหตุผลใหเราเขาใจไดวาเหตุใดโลกแบบที่เปนอยูของเราจึงไมสามารถรองรับการเกิดขึ้นของการ

22 เชนเดียวกับขอวิจารณของ Chambers (1999) ตองานของ Riggs (1997) ที่ Riggs ไดเสนอวาการ

เดินทางขามเวลาเปนไปไดในโลกแบบที่มี physical laws คลายกับโลกของเรา แตทวา Riggs (ดังที่ Chambersวิจารณไว) ก็ไมไดแกปญหาบนพื้นฐานของ autonomy principle ซึ่งเปนปญหาตั้งตนของ Grandfatherparadox แตอยางใด ดังนั้น ขอเสนอของ Riggs จึงยังคงไมใหคําตอบที่นาพอใจนัก ดังที่ Chambers กลาวไวในตอนทายวา “a satisfying resolution to the [Grandfather] paradox of Time Travel will be had onlywhen we can fault the intuitions which led us to accept Paradox’s premises in the first place.”(Chambers,1999: 301)

Page 52: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

44

เดินทางขามเวลาได ในขณะที่ขอเสนอของสมิทนั้นกลับไมไดชวยเราแกปญหาเกี่ยวกับการเดินทางขามเวลาในแงที่เกี่ยวเนื่องกับโลกที่เปนอยูแตอยางใด ขอเสนอของสมิทจึงไมไดใหอะไรใหมเลยนอกเหนือจากการแสดงวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่เปนไปไดทางตรรกะ ซึ่งบทความของลูอิส (Lewis, 1976) ที่ตีพิมพมาเกือบ 30 ปแลว ก็ไดใหความเขาใจเหลานี้แกเราอยางครบถวนสมบูรณเชนกัน

Page 53: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

บทที่ 5

การเดินทางขามเวลากับแนวคิดจักรวาลคูขนาน

ในขออภิปรายที่ผานมา ผูเขียนถกเถียงปญหาของการเดินทางขามเวลาบนสมมติฐานของการมีเวลาเพียงมิติเดียว (one-dimensional time travel) เทานั้น และไดแสดงใหเห็นวา จากขอพิจารณาในปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา เราสามารถอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู อยางไรก็ตาม หากความเปนจริง (reality) ของโลกที่เปนอยูไมใชโลกที่มีเวลาเพียงมิติเดียว แตเปนโลกหลายมิติดังที่มักเขาใจกันในลักษณะของโลกที่เปนไปไดอ่ืนๆที่มีอยูคูขนานกันไปอยางไมส้ินสุด ความเขาใจในปญหาการเดินทางขามเวลาก็สมควรตองไดรับการทบทวนใหมอีกครั้งหนึ่ง แมวาความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาไปสูโลกคูขนานเหลานี้จะเปนเรื่องราวที่พบไดบอยครั้งในนิยายวิทยาศาสตร (โปรดดู Nahin, 1999) แตในฐานะของการเปนแนวคิดที่มีเหตุผลสนับสนุนที่ดี (justification) นั้น เราจําเปนตองอาศัยความเขาใจแบบหนึ่งจากการตีความทฤษฎีบางอยางของฟสิกสสมัยใหม

ในบทความ “The Quantum Physics of Time Travel” ดอยทชและล็อควูด (Deutschand Lockwood, 1994 และโปรดดู Deutsch, 1997) ไดเสนอรูปแบบของการเดินทางขามเวลาบนพื้นฐานของการมีจักรวาลที่เปนไปไดอ่ืนๆ โดยอาศัยการตีความหลายจักรวาลของกลศาสตรควอนตัม (many-universe interpretation of quantum mechanics ซึ่งถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย HughEverett III ในป 1957) เพื่อเปนทางออกของปฏิทรรศนตางๆ ของการเดินทางขามเวลา โดยตามความเขาใจนี้ นักเดินทางขามเวลาไมไดเดินทางกลับไปสูอดีตของโลกที่ผานมาในจักรวาลของเขาแตเปนโลกในจักรวาลอื่นที่เปนไปได ซึ่งไดมีอยูคูขนานกันไปกับจักรวาลของนักเดินทาง ดังนั้นหากนักเดินทางขามเวลาพยายามฆาปูของตัวเอง (หรือถาจะใหถูกแลว ควรบอกวาเปนปูของคนที่จะไดเติบโตขึ้นมาเปนเหมือนเขาในจักรวาลนั้น หากวาปูคนนั้นไมไดถูกฆาเสียกอน) เขายอมจะสามารถทําไดโดยไมเกิดความขัดแยงในตัวเอง เพราะหากวานักเดินทางทําไดสําเร็จ นั่นก็เพียงแตทําใหจักรวาลนั้นไมมีคนที่เหมือนเขาเกิดขึ้นมาไดเทานั้น สําหรับในกรณีของปฏิทรรศนความรู นักเดินทางขามเวลาก็เพียงแตทําใหเกิดมีสิ่งของหรือความรูใหมที่ไมสามารถอธิบายความมีอยูของสิ่งนั้นไดจากจักรวาลที่เขาเดินทางไปถึงเทานั้น แตการสรางสรรคก็ยังคงมีอยูจริงและสามารถอธิบายไดจากจกัรวาลที่นักเดินทางไดเดินทางจากมา

ในบทนี้ ผูเขียนจะพิจารณาขอเสนอเกี่ยวกับแนวคิดจักรวาลคูขนาน (parallel universes)โดยจะวิเคราะหจากแงมุมของการนําไปใชแกปญหาเชิงปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาเปน

Page 54: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

46

หลัก ในสวนแรก ผูเขียนจะแสดงวา หากแนวคิดนี้จะสามารถใชแกปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาไดจริงแลว เราจําเปนตองยอมรับอภิปรัชญาเกี่ยวกับเวลาแบบ A-series เทานั้น และในสวนที่สอง จากการพิจารณาสถานะความมีอยูอยางเปนอนันตของจักรวาลคูขนานที่เปนไปได ผูเขียนเห็นวาแนวคิดดังกลาวกลับเปนปญหามากยิ่งกวาปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาที่ตองการจะนําไปแกเสียอีก ในแงนี้ เราจึงไมมีเหตุผลที่ดีในการยอมรับแนวคิดจักรวาลคูขนานในฐานะของการเปนทางออกของปญหาการเดินทางขามเวลา (อาจจะยกเวนก็เพียงเพื่อความบันเทิงในรูปแบบนิยายวิทยาศาสตรเทานั้น)

ปญหาจากแนวคิดเรื่องเวลา

ตามแนวคิดทางปรัชญาเกี่ยวกับเวลา (philosophy of time) ความมีอยูของเวลาในแงที่ใชอธิบายความเปนไปของเหตุการณตางๆ ที่เกิดขึ้นในโลก อาจเขาใจไดในแบบ A-series ที่ลําดับของเหตุการณตางๆ เร่ิมจากการเปนอนาคต ซึ่งยังไมไดมีอยูจริง ไดผานเขามามีอยูในปจจุบัน จากนั้นจึงสิ้นสุดความมีอยูและกลายเปนอดีตไป (ในลักษณะของ temporal becoming) หรืออาจเขาใจไดในแบบ B-series ที่ลําดับของเหตุการณตางๆ เปนไปในลักษณะของการมากอน-หลัง หรือมาพรอมกันเทานั้น23 และโดยความเขาใจทั่วไป หากเวลาแบบ A-series เปนคุณลักษณะที่เปนจริงในโลกที่เปนอยู การเดินทางขามเวลายอมเปนไปไมได เพราะจุดหมายปลายทางที่จะไปถึงนั้นไดกลายเปนอดีต ซึ่งผานไปแลวและไมไดมีอยูจริงอีกตอไป24 ในขณะที่เวลาแบบ B-series ที่ทําใหอดีต ปจจุบัน และอนาคต เปนสิ่งซึ่งมีสถานะทางภววิทยาที่จริงไมตางกัน กลับจะสามารถรองรับความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาในแงของการมีอยูของจุดหมายที่จะไปไดเปนอยางดี

แตจากภาพความเขาใจบนฐานของจักรวาลคูขนาน การเดินทางขามเวลาสามารถเขากันไดกับเวลาแบบ A-series เพราะหากจักรวาลคูขนานที่เปนไปไดเปนสิ่งที่มีจริงอยูแลว เราสามารถมีหลักการที่เปนไปไดแบบหนึ่งที่วา “สําหรับทุกๆ เวลา t จะมีจักรวาล W ซึ่งเวลาปจจุบันใน W นั้นเปนเวลา t” (Abbruzzese, 2001: 36) ตัวอยางเชน ในขณะที่นักเดินทางขามเวลาเริ่มตนเดินทาง(ในแบบขามจักรวาล) จากป 2003 ของจักรวาล A เขาอาจสามารถไปถึงจักรวาล B ณ เวลาที่เหตุการณตางๆ เปนเหมือนกับส่ิงที่ไดเกิดขึ้นมาแลวในป 2000 (หรืออาจสมมติเปนเวลาใดๆ ก็ไดตาม

23 การแบงนี้มาจากการวิเคราะหของ McTaggart ใน “The Unreality of Time” ตีพิมพครั้งแรกใน

Mind 17, 1908: 457-474. ซึ่งยังคงเปนประเด็นถกเถียงหลักในปจจุบัน (โปรดดู Oaklander and Smith, 1994)24 อยางไรก็ตาม โปรดดู Keller and Nelson (2001) และ Smith and Oaklander (1995) สําหรับ

ความพยายามในการตีความความเขากันไดของการเดินทางขามเวลา (แบบเวลามิติเดียว) กับเวลา A-series

Page 55: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

47

หลักการขางตน) ของจักรวาล A แตนั่นเปนเวลาปจจุบันของ B ซึ่งในกรณีนี้ เหตุการณป 2000ของ A และ B ก็ไดมีความแตกตางขึ้นมาแลวอยางนอยประการหนึ่งจากการปรากฏตัวของนักเดินทางขามเวลา และโดยที่เราสมมติใหความจริงของเวลาเปนแบบ A-series นั่นยอมหมายความวาเวลาในจักรวาล A ก็ไดดําเนินผานไปจากชวงเวลาที่นักเดินทางไดเดินทางจากมาเชนกัน เขาจึงไมสามารถกลับไปสูเวลาเดิมในจักรวาล A ได และยอมไมสามารถกลับไปสูชวงเวลาที่เปนอดีตของจักรวาล A ไดเชนกนั ดังนั้น จึงไมมีทางที่นักเดินทางขามเวลาจะสามารถกอใหเกิดสถานการณที่เปนปฏิทรรศนใดๆ (เชน การฆาตัวเองในอดีตในจักรวาล A) ไดดังเชนที่เปนปญหาซึ่งเกิดขึ้นในการเดินทางขามเวลาแบบที่เชื่อในเวลามิติเดียว (ดังที่เปนหัวขอซ่ึงพิจารณากันไปแลวตั้งแตบทที่ 2-4)

อยางไรก็ตาม หากเวลาแบบ B-series เปนคุณสมบัติที่เปนจริงกับจักรวาลคูขนานทั้งหลายที่เปนไปได นั่นยอมหมายความวา ยังอาจมีความเปนไปไดที่นักเดินทางขามเวลาจะสามารถเดินทางจากจักรวาล A ไปสูจักรวาล B ณ ชวงเวลาตางๆ ของ B ซึ่งในกรณีนี้ เราอาจตองเผชิญกับความขัดแยงกันที่นักเดินทางจะทั้งไมเคยอยูและไดมาอยู ณ ชวงเวลานั้นๆ ของจักรวาล B ในอีกทางหนึ่ง หากนักเดินทางสามารถกลับไปสูจักรวาล A ที่เขาไดเดินทางจากมา ดวยความเปนจริงของเวลาแบบ B-series ยอมทําใหมีความเปนไปไดที่เขาจะกลับไปอยูในชวงเวลาที่เปนอดีตกอนที่เขาจะเดินทางจากมาตั้งแตทีแรก ซึ่งทําใหอาจเกิดความขัดแยงตามมาเชนเดียวกบักรณีขางตน และทั้งสองกรณีนี้ก็ลวนทําใหเราตองกลับไปเผชิญปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาในแบบที่เชื่อในเวลามิติเดียวอีกครั้งหนึ่ง

ทางออกหนึ่งที่เปนไปไดก็คือ การเริ่มตนใหความหมายกับจักรวาลที่เปนอยูในฐานะที่เปนผลรวมของจักรวาลคูขนานที่เปนไปไดทั้งหมด และดังเชนที่ลูอิส (Lewis, 1976) ไดแกปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาแบบที่มีเวลาเพียงมิติเดียว จักรวาลที่เปนจริงตามความเขาใจใหมนี้ก็จะสามารถเขาใจไดเสมือนเปนมิติเดียว ดังนั้น หากนักเดินทางขามเวลาไดเดินทางจากจักรวาล Aไป B จริง นั่นยอมหมายความวา เขาไดมีอยูที่จักรวาล B นั้นตั้งแตตนแลว จึงไมมีกรณีที่ขัดแยงกันที่เขาจะทั้งไมเคยอยูและเขามาอยูในจักรวาล B ได และหากนักเดินทางไดพยายามทําบางสิ่งที่จะนําไปสูความขัดแยงกับส่ิงที่จะเกิดขึ้นหลังจากชวงเวลานั้นในจักรวาล B นั่นก็หมายความเพียงวาเขายอมทําไดไมสําเร็จ เนื่องจากความสําเร็จของการกระทําเหลานั้นเปนสิ่งที่ไมสามารถเปนไปไดรวมกันกับ (compossible with) ขอเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น อยางไรก็ตาม หากทางออกแบบของลูอิส (ซึ่งอยูบนพื้นฐานของเวลาแบบมิติเดียว) เปนที่ยอมรับไดตั้งแตตนแลว การยอมรับแนวคิดจักรวาลคูขนานในฐานะที่เปนทางออกของปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาก็จะกลายเปนสิ่งที่ฟุมเฟอย ในแงนี้ จึงเปนการละเมิดหลักการ Ockham’s razor ที่ไปเพิ่มคําอธิบายที่ซับซอนขึ้นมาโดยไมจําเปน (โปรดดูเปรียบเทียบกับ Abbruzzese, 2001: 38)

Page 56: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

48

แตไมวาแนวคิดดังกลาวจะละเมิดหลักการ Ockham’s razor หรือไม ทางออกในแบบขางตนก็ยังคงไมสามารถแกปญหาที่มาจากปฏิทรรศนความรูได เพราะหากเวลาแบบ B-series เปนจริงแลว นักเดินทางขามเวลายังอาจสามารถนําสิ่งของหรือความรูบางอยางที่มีติดตัวไปตั้งแตแรกกลับไปในอดีตของจักรวาล A ที่ซึ่งเขาจะไดพบวา สิ่งของหรือความรูนั้นมีอยูขึ้นมาไดก็เพราะเขาเองเปนคนที่นํากลับไปตั้งแตทีแรก ดังนั้น แมวาจักรวาลที่เปนอยูจะประกอบขึ้นดวยจักรวาลที่เปนไปไดทั้งหมด การเดินทางขามเวลาก็ยังคงนําไปสูสถานการณที่บางสิ่งไดเกิดขึ้นมาจากความวางเปลา (something for nothing) ไดอีก เชนเดียวกับที่เปนปญหาในกรอบของการเดินทางขามเวลาแบบที่มีเวลาเพียงมิติเดียว

ดวยเหตุนี้ เราอาจจําเปนตองเลือกที่จะยอมรับวา 1.นักเดินทางขามเวลาจะไมสามารถเดินทางกลับไปในจักรวาลที่เขาเดินทางจากมาไดเลย25 ซึ่งในแงนี้ นักเดินทางจะไมมีเหตุผลที่ควรจะเชื่อไดวาเวลาแบบ B-series จะเปนจริงได เพราะเขาไมมีทางที่จะตรวจสอบ (verify) ไดวาชวงเวลาตางๆ ของจักรวาลที่เปนจุดหมายที่เขาไปถึงนั้นจะยังคงมีอยูจริงหรือไม (เนื่องจากหากเขาเดินทางอีกครั้ง จุดหมายที่ไปถึงก็จะเปนจักรวาลที่ไมใชจักรวาลเดิม) หรือมิเชนนั้นแลว ก็ตองยอมรับวา 2.หากนักเดินทางขามเวลาจะสามารถเดินทางกลับไปในจักรวาลเดิมที่เขาไดเดินทางจากมาได เวลาแบบ A-series เทานั้นที่จะรองรับความคงเสนคงวาทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาในรูปแบบนี้ไดโดยไมติดปญหาเชิงปฏิทรรศนดังที่กลาวมา ดังนั้น ไมวาจะเปนทางออกใด เราจะเห็นไดวาไมใชเพียงแตการเดินทางขามเวลาในแบบขามไปสูจักรวาลคูขนานจะไปดวยกันไดเปนอยางดีกับแนวคิดเวลาแบบ A-series เทานั้น ในกรณีแรก นักเดินทางขามเวลาไมมีเหตุผลที่จะเชื่อในเวลาแบบ B-series สวนกรณีหลัง เวลาแบบ B-series จะตองไมเปนจริง

แมวาอาจจะมีขอโตแยงตามมา (เชน Abbruzzese, 2001: 37) ในลักษณะที่วา การเดินทางขามเวลาบนฐานของจักรวาลคูขนานที่เปนไปไดเหลานี้ นาจะเรียกวาการเดินทางขามจักรวาลมากกวาที่จะเปนการเดินทางขามเวลาในความหมายที่เราตองการ เพราะจุดหมายที่ไปถึง เชนป2000 ในจักรวาล B ยอมจะไมใชทั้งอดีตที่เปนป 2000 ของจักรวาล A ของนักเดินทาง และก็ไมนาจะเปนอดีตของจักรวาล B ดวยเชนกัน (ดวยเหตุผลที่เพิ่งกลาวขางตน) อยางไรก็ตาม เราอาจจะกาวขามประเด็นเชิงความหมายเหลานี้ไปกอน เนื่องจากประเด็นสําคัญที่ควรพิจารณานั้นนาจะ

25 Deutsch และ Lockwood ดูจะยอมรับในความเปนไปไดนี้ ทุกครั้งที่นักเดินทางไดเดินทางไป เขาจะ

ไปสูจักรวาลอื่นที่ไมใชจักรวาลที่เขาไดเดินทางจากมาเสมอ (โปรดดู Deutsch & Lockwood, 1994: 55) แตทั้งสองก็ไมไดแสดงเหตุผลที่ชัดเจนวา หากจักรวาลที่เปนไปไดทั้งหมดเปนส่ิงที่มีอยูอยูแลว เหตุใดจึงมีบางจักรวาล(หมายถึงจักรวาลที่นักเดินทางไดเดินทางจากมา) ไมสามารถเดินทางไปได ในแงนี้ การยอมรับวานักเดินทางจะสามารถเดินทางกลับไปในจักรวาลเดิมไดก็ยังคงเปนส่ิงที่เปนไปไดอยู อยางนอยก็ในทางตรรกะ

Page 57: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

49

อยูที่ตัวความจริงของขอเสนอที่มาจากทฤษฎีมากกวา ดังที่ดอยทชและล็อควูดไดกลาวไววา “หากส่ิงซึ่งคลายกับภาพของจักรวาลที่หลากหลายนี้เปนจริง ... ขอโตแยงมาตรฐานทั้งหมดที่มีตอการเดินทางขามเวลานั้นจะข้ึนอยูกับรูปแบบของความเปนจริงทางกายภาพที่ผิด” (Deutsch andLockwood, 1994: 56) กลาวคือ หากรูปแบบการเดินทางขามเวลาบนฐานของการมีจักรวาลคูขนาน ซึ่งไดอาศัยการตีความของกลศาสตรควอนตัมดังที่ทั้งสองเสนอ จะสามารถพิสูจนไดวาถูกตองตรงกับความเปนจริง (reality) ของโลกกายภาพที่เปนอยู น่ันก็จะเปนประเด็นทางความหมาย(semantic issue) ที่เราตองตัดสินใจกันตอไปวา เราจะใหนิยามกับคําวาจักรวาล เวลา ความเปนสาเหตุ การเดินทางขามเวลา ฯลฯ เปลี่ยนไปจากเดิมหรือไมอยางไร แตภาพความเปนจริงของจักรวาลที่ประกอบดวยจักรวาลคูขนานที่เปนไปไดนี้จะเปนสิ่งที่เรายอมรับไดจริงหรือไม ผูเขียนจะไดพิจารณาในสวนตอไป

ปญหาจากความเปนอนันต

ตามการตีความการมีหลายจักรวาลของกลศาสตรควอนตัมนั้น “ถาบางสิ่งสามารถเกิดขึ้นไดในเชิงกายภาพ (physically) แลว ส่ิงนั้นกไ็ดเกิดขึ้นในบางจักรวาล ความเปนจริงเชิงกายภาพประกอบดวยชุดของจักรวาลทั้งหมด (collection of universes)” (Deutsch and Lockwood,1994: 54) ดังตัวอยางการสลายตัวของนิวตรอน (neutron) ซึ่งเรามักจะสังเกตไดในเวลาประมาณ20 นาที แตเราก็อาจสังเกตการสลายตัวนั้นไดในทันที หรือไมก็อาจตองรออยางไมมีกําหนดก็เปนไดเชนกัน ในกรณีนี้ คําอธิบายหนึ่งของการสลายตัวแบบสุมนี้ก็คือ ในชวงเวลาที่นิวตรอนอาจจะสลายตัวได นั่นก็จะมีจักรวาลหนึ่งที่นิวตรอนนั้นไดสลายตัวไปจริง และเนื่องจากเราไดสังเกตการสลายตัวของนิวตรอน ณ เวลาหนึ่ง ตัวเราเองก็จะมีอยูในทุกๆ จักรวาลที่เราสังเกตการสลายตัวนั้นเชนกัน เชน “ในจักรวาลหนึ่ง เราเห็นนิวตรอนสลายตัวที่เวลา 10.30 อีกจักรวาลหนึ่งที่เวลา10.31 และเปนเชนนี้ไปเร่ือย” (Deutsch and Lockwood, 1994: 54) ดังนั้น หากการตีความเชนนี้เปนจริง จักรวาลที่เปนอยู (the actual universe) ก็จะตองถูกเขาใจในฐานะที่เปนผลรวมของจักรวาลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นไดจริง ซึ่งนั่นทําใหเราอาจตองยอมรับตามมาวา จักรวาลที่เปนไปไดทั้งหลายนี้จะตองมีอยูอยูกอนแลวอยางเปนอนันต และมีอยูจริงไปพรอมๆ กับจักรวาลหนึ่งที่ผูเขียนกําลังเขียนงานชิ้นนี้อยู

เหตุใดผูเขียนจึงกลาววา ความมีอยูของจักรวาลที่เปนไปไดเหลานี้จะมีอยูอยางเปนอนันตเราอาจลองจินตนาการงายๆ ไดวา แมกระทั่งชวงเวลาที่หางกันเพียง 1 วินาที เหตุการณตางๆ ในโลกก็อาจเกิดขึ้นเปนอยางอื่นไดนอกเหนือจากที่ไดเกิดขึ้นจริงในจักรวาลนี้ ซึ่งนั่นก็เปนจํานวนแทบจะนับไมถวนอยูแลว หรือเราอาจรวมเอาสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกโลกเขามาดวย ซึ่งนั่นจะกินความถึง

Page 58: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

50

อาณาเขตทั้งหมดของจักรวาลนี้ที่อาจเกิดขึ้นไดในลักษณะอื่นๆ จนเราไมอาจรูไดเลยวาจะสามารถหาจุดสิ้นสุดไดหรือไม ดวยเหตุนี้ ความเปนอนันตของจักรวาลที่เปนไปไดเหลานี้ก็อาจเกิดมีอยูขึ้นมาไดแมแตในชวงเวลาสั้นๆ และหากวาเรารวมเอาชวงเวลาทั้งหมดที่ไดผานไปแลวของจักรวาลนี้เราก็อาจคิดไดวา ทุกชวงเวลายอมจะตองมีจักรวาลที่เปนไปไดอ่ืนๆ ที่ไดแยกออกไป และก็ยอมจะมีจักรวาลที่ไดแยกออกไปจากจักรวาลที่ไดแยกไปจากทีแรกนั้นอีก และเปนเชนนี้เร่ือยไปไมสิ้นสุด

ปญหา ณ จุดนี้ อาจทําใหเรายอนกลับไปหาปฏิทรรศนหนึ่งของเซโน (Paradox of Zeno)ที่วา หากเราจะสามารถเคลื่อนที่ไปสูจุดหมายหนึ่ง เราจะตองไปใหถึงครึ่งทางของจุดหมายนั้นเสียกอน และกอนหนานั้น เราก็จะตองผานครึ่งทางของครึ่งทางของจุดหมายที่วาใหไดกอน และเปนเชนนี้เร่ือยไป ดังนั้น หากสิ่งที่จําเปนตองทํากอนจะไปถึงจุดหมายที่ตองการนั้นมีเปนจํานวนที่ไมส้ินสุดแลว การเดินทางไปสูจดุหมายนั้นก็ยอมไมมีทางทําไดสําเร็จ แตไมวาปญหานี้จะสอนัยถึงความเปนไปไมไดทางตรรกะหรือไม การเดินทางขามเวลาบนฐานของจักรวาลคูขนานที่เปนอนันตก็อาจตองพบกับสองทางเลือกที่กลืนไมเขาคายไมออก (dilemma) ในทางหนึ่ง หากปญหาที่กลาวมานี้สามารถแสดงไดวาเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ การเดินทางขามเวลาในรูปแบบนี้ก็ยอมเปนไปไมไดทางตรรกะเชนกัน ในอีกทางหนึ่ง แมเราจะสมมติวาสถานการณเชนนี้อาจไมใชความเปนไปไมไดทางตรรกะ เราก็ยังคงตองเผชิญกับปญหาในทางปฏิบัติอีกเชนกัน เพราะหากวาเวลาที่ใชในการเดินทางของนักเดินทางขามเวลา (proper time) ยังคงเพิ่มข้ึนทุกขณะแลว การเดินทางขามเวลาไปสูจุดหมายหนึ่งที่ยาวไกล ซึ่งตองกาวขามจักรวาลที่มีอยูอยางเปนอนันต ยอมไมมีทางบรรลุไดสําหรับชวงเวลาอันสั้นของนักเดินทางที่เปนมนุษย หรือมิเชนนั้นแลว เราอาจตองยอมรับวาการเดินทางขามเวลาสามารถเกิดขึ้นไดในขอบเขตของจักรวาลที่มีเวลาตางไปจากจักรวาลของนักเดินทางเพียงชวงเวลาที่ส้ันมากๆ เทานั้น ซึ่งนี่ก็คงเปนสิ่งที่ไมตรงกับความเปนไปไดที่แนวคิดนี้ตองการนําเสนอเทาใดนัก และหากวาในทุกชวงเวลาที่ไมวาจะสั้นเพียงใดก็ตาม เรายังอาจสมมติใหมีจักรวาลที่เปนไปไดอ่ืนเกิดมีอยูข้ึนมาไดอีก (ดังที่ไดกลาวแลววาความเปนอนันตอาจสามารถมีไดแมหางกันเพียง 1 วินาที) ปญหาก็จะวนกลับไปในแบบที่กลาวมาแลวอีกครั้ง

ทางออกหนึ่งของปญหานี้ก็คือ การมองภาพความมีอยูของจักรวาลคูขนานนี้เสียใหม โดยยอมรับความมีอยูของจักรวาลตามแนวคิดเวลาเปนแบบ B-series กลาวคือ ชวงเวลาตางๆ ที่ผานมาของจักรวาลหนึ่งๆ นั้นยังคงมีอยูจริง และนั่นจะเปนจุดหมายของการเดินทางขามเวลา (ในแงนี้จุดหมายที่จะเดินทางไปนั้นจะหางจากจุดเริ่มตนของการเดินทางเปนระยะที่จํากัด (finite) ซึ่งทําใหการเดินทางของนักเดินทางอาจจะสามารถบรรลุถึงจุดหมายนั้นได) เพียงแตการไปถึง ณ เวลานั้นของนักเดินทางไดทําใหเกิดจักรวาลที่เปนไปไดขึ้นมาใหม โดยเราอาจเปรียบเทียบไดดังนี้ สมมติวาจักรวาลที่มีอยูจริงเริ่มตนขึ้นดวยการมีอยูเพียงหนึ่งเดียวเทานั้นกอนมีการเดินทางขามเวลา ซึ่ง

Page 59: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

51

เปรียบไดกับภาพตางๆ ที่ไดบรรจุอยูในฟลมภาพยนตร ทุกภาพแทนชวงเวลาทุกขณะที่ไดผานมาแลว แตก็ยังคงมีอยูจริง การเดินทางขามเวลาเปนการทําใหนักเดินทางสามารถหลุดออกมาจากภาพหนึ่งและเขาไปสูอีกภาพหนึ่งได อันทําใหลําดับภาพทั้งหมดที่เคยมีอยูในรูปแบบเดียวเกิดการแยกออกไปเปนอีกรูปแบบหนึ่ง คลายกับภาพยนตรที่มีการดําเนินเรื่องไปสองแบบจากชวงเริ่มตนในแบบเดียวกันนั่นเอง

อยางไรก็ตาม แมวาภาพความเขาใจเชนนี้อาจจะเขากันไดกับสามัญสํานกึทั่วไปที่ผูอานนิยายวิทยาศาสตรอยากใหเปน กลาวคือ นักเดินทางขามเวลาไดเดินทางกลับไปในอดีตของโลกที่ผานมา และสามารถทําใหโลกที่เกิดขึ้นใหมนั้นเลี่ยงความผิดพลาดที่ไดเกิดขึ้นในชวงเวลาที่นักเดินทางไดเดินทางจากมา (แตกระนั้น เขาไมสามารถแกไขความผิดพลาดที่ผานมาในชวงเวลาที่เขาไดประสบไปแลวนั้นได เพราะนั่นเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ) แตการแกปญหาเชนนี้เทากับเปนการขัดแยงกับสมมติฐานของการตีความแบบการมีหลายจกัรวาลของกลศาสตรควอนตัมต้ังแตตน เพราะตามการตีความนั้น จักรวาลที่เปนไปไดเปนสิ่งที่ควรจะมีอยูกอนแลวในฐานะที่เปนจุดหมายปลายทางซึ่งนักเดินทางจะสามารถเดินทางไปถึงได ไมใชเพิ่งจะมามีอยูหลังจากการไปถึงของนักเดินทางขามเวลา ในแงนี้ ทางออกขางตนจึงเปนเพียงการแกปญหาเฉพาะหนา (ad hoc) โดยไมไดวางอยูบนรากฐานของทฤษฎีหรือแนวคิดทางฟสิกสที่เปนไปไดใดๆ เลย ดังนั้น หากเราจะเชื่อวานักเดินทางไดเดินทางกลับไปสูอดีตที่ผานมาในโลกของตัวเองจริง การเชื่อวาเวลามีเพยีงมิติเดียว (ในความหมายที่วาจะไมเกิดมีจักรวาลอื่นขึ้นมาใหม) นาจะเปนทางเลือกที่ดีกวา (ดังที่ลูอิส(Lewis, 1976) ไดแสดงเหตุผลสนับสนุนความเปนไปไดทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาในรูปแบบนี้เอาไว) ดวยเหตุนี้ จึงทําใหแนวคิดจักรวาลคูขนานที่กลาวมานี้เปนคําอธิบายที่เพิ่มเขามาโดยไมจําเปน และดังนั้น เราอาจปฏิเสธแนวคิดนี้ออกไปไดตามหลักการของ Ockham’s razor

Page 60: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

บทที่ 6

บทสรุป

ในชีวิตที่ผานมาของคนเรา บางครั้งความผิดพลาดบางอยางอาจทําใหเราตั้งคําถามกับตัวเองวาอะไรจะเกิดขึ้นหากเราสามารถแกไขสิ่งที่ทําลงไปแลวนั้นได เราจะเปนอยางไรหากเราไมไดเลือกทําอยางที่เราไดทําไป ความปรารถนาในสวนลึกของจิตใจเชนนี้อาจเปนคําอธิบายหนึ่งวาเหตุใดการเดินทางขามเวลาจึงเปนแนวคิดที่นาหลงใหลและดึงดูดใจอยางยิ่งในนิยายวิทยาศาสตร แตสิ่งที่นาสนใจยิ่งกวานั้นก็คือ ความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลากลับไมไดถูกปฏิเสธอยางสิ้นเชิงจากทฤษฎีฟสิกสที่เรามีอยูในปจจุบัน ดังที่โกเดล (Gödel, 1949) ไดพบวาภายใตเงื่อนไขบางอยาง ความเปนไปไดของกาลอวกาศที่มีลักษณะ closed time-like curves จะเปดโอกาสใหเราสามารถเดินทางขามเวลากลับไปสูอดีตได และนับจากการคนพบของโกเดลเปนตนมา การเดินทางขามเวลาไดกลายเปนสิ่งที่ไดรับความสนใจอยางจริงจังทั้งในทางวิทยาศาสตรและปรัชญา

สําหรับในปรัชญา ปญหาสําคัญของการเดินทางขามเวลาคือส่ิงที่เรียกวา “ปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา” ผูเขียนไดแสดงใหเห็นวา ปญหาในรูปแบบของปฏิทรรศนคุณปู ซึ่งเกี่ยวกับการที่นักเดินทางขามเวลาจะยอนกลับไปในอดีตเพื่อทําสิ่งที่จะเปนผลใหเกิดความขัดแยงในตัวเอง ดังเชนตัวอยางของการฆาปูของตัวเอง (กอนที่ปูจะใหกําเนิดพอ) หรือการฆาตัวเองในอดีต เปนตนเปนสิ่งที่ไมไดกระทบกระเทือนตอความเปนไปไดทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาโดยตรง การพยายามทําเชนนั้น เพียงแตทําใหเราสรุปไดวานักเดินทางจะตองลมเหลวเสมอ (Lewis, 1976)อยางไรก็ตาม ในกรณีที่นักเดินทางอาจจะพยายามทําเชนนั้นซ้ําแลวซ้ําอีก ความบังเอิญที่มาปองกันและทําใหเขาตองลมเหลวเสมอ เปนสิ่งที่ไมนาจะเกิดขึ้นไดในโลกที่เปนอยู (the actual world)ดังนั้น เราจึงสามารถอนุมานไดวา การเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปได (improbable)ในโลกของเรา (Horwich, 1987; 1995)

ผูเขียนไดพิจารณาเพิ่มเติมถึงปญหาในรูปแบบของปฏิทรรศนความรู ซึ่งไดแสดงวาการเดินทางขามเวลามีนัยไปสูสถานการณที่แปลกประหลาด ดังตัวอยางของนักเดินทางขามเวลาที่ไดเดินทางขามเวลาตั้งแตตนก็เพราะเขาไดพบกับตัวเองในอนาคต ในแงนี้ ขอมูลหรือความรูที่ใชในการเดินทางขามเวลาจึงเปนสิ่งที่มีข้ึนมาลอยๆ โดยไมมีผูใดไดคิดขึ้น ซึ่งขัดกับหลักการเชิงญาณวิทยาของการไดความรูของมนุษยในฐานะที่เปนผลของกระบวนการแกปญหา หรือตัวอยางของนักเดินทางขามเวลาที่ไดยอนเวลากลับไปและกลายเปนพอแมผูใหกําเนิดตัวเอง ซึ่งนี่ขัดกับกฎทางชีววิทยาที่ระบุวาลูกจะตองไดรับยีนจากพอและแมอยางละเทาๆ กัน และสุดทายคือตัวอยางของ

Page 61: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

53

การเกิดมีวัตถุบางอยางจากความวางเปลา ซึ่งจะขัดกับกฎขอที่สองของเทอรโมไดนามิคสที่วาดวยเร่ืองการเพิ่มข้ึนอยางสม่ําเสมอของความไรระเบียบ ผูเขียนไดชี้วาการทําใหสถานการณเหลานี้มีความคงเสนคงวาทางตรรกะ ยอมเทากับเปนการละเมิดหลักการบางอยางที่เรารูวาเปนจริงในโลกของเรา ดังนั้น เราจึงสามารถอนุมานไดวา การเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู

อยางไรก็ตาม ปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาที่กลาวมาเกิดขึ้นจากการยอมรับในความเปนจริงของเวลาแบบมิติเดียวเปนสําคัญ จึงเปนไปไดวาปญหาที่เกิดขึ้นนี้เปนเพียงผลที่มาจากความเขาใจความเปนจริงทางกายภาพของจักรวาลที่ผิดไป ผูเขียนจึงไดพิจารณาขอเสนอหนึ่งเกี่ยวกับการใชแนวคิดจักรวาลคูขนานมาทําการแกปญหาเชิงปฏิทรรศนขางตน (Deutsch andLockwood, 1994) ในภาพความเขาใจนี้ นักเดินทางขามเวลาไมไดเดินทางไปสูอดีตที่ผานมาในจักรวาลของตัวเอง แตเปนจักรวาลที่เปนไปไดอ่ืนๆ ที่มีอยูคูขนานกันไป โดยผูเขียนชี้ใหเห็นวา แมวาแนวคิดนี้จะสามารถทําใหเราเลี่ยงปญหาจากปฏิทรรศนดังกลาวไดจริง การยอมรับในความมีอยูของจักรวาลคูขนานกลับเปนปญหามากยิ่งกวาปฏิทรรศนที่ตองการไปแกเสียอีก เพราะหากจักรวาลที่เปนไปไดเหลานั้นมีอยูแลวอยางเปนอนันต เราจะสามารถอธิบายการเดินทางขามสิ่งที่เปนอนันตนี้ไปไดอยางไร ในแงนี้ จึงดูเปนภาระที่แนวคิดเชนนี้ตองไดรับการอธิบายอีกมาก หรือหากจักรวาลเหลานี้เพียงแตเพิ่งจะมามีอยูหลังจากนักเดินทางขามเวลาไดไปถึง นี่ก็ดูจะเปนขอแกไขแบบเฉพาะหนา (ad hoc) โดยไมมีแนวคิดหรือทฤษฎีวิทยาศาสตรใดมาสนับสนุน ดวยเหตุนี้หากปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาสามารถทําความเขาใจไดบนสมมติฐานของเวลาแบบมิติเดียว (เชน Lewis, 1976) แลว เราอาจมีเหตุผลที่ดีพอที่จะปฏิเสธแนวคิดจักรวาลคูขนานเชนนี้ ในฐานะที่เปนขออางที่เกินความจําเปนตามหลักการของ Ockham’s razor

โดยสรุป การเดินทางขามเวลานับไดวาเปนมโนทัศนหนึ่งที่เปนไปไดทางตรรกะ เพราะไมมีขอโตแยงใดที่จะแสดงใหเห็นไดวามโนทัศนนี้จะนําไปสูความขัดแยงในตัวเอง แตปญหาสําคัญของการเดินทางขามเวลากลับเปนปญหาเชิงญาณวิทยาเสียมากกวา กลาวคือ ไมวาจะเปนการเดินทางขามเวลาในรูปแบบใด เราอาจพอกลาวไดวามโนทัศนนี้เปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางญาณวิทยา(epistemologically impossible)26 เพราะในการเดินทางขามเวลาแบบมิติเดียวนั้น เรามีเหตุผลเชิงประจักษที่ดี (จากการวิเคราะหปญหาเชิงปฏิทรรศนตางๆ ) ที่จะเชื่อไดวา การเดินทางขามเวลาจะไมเกิดขึ้นในโลกที่เปนอยู สวนในการเดินทางขามเวลาบนพื้นฐานของจักรวาลคูขนานนั้น เรากลับไมมีเหตุผลที่ดีพอที่จะเชื่อไดวาจักรวาลคูขนานที่มีอยูอยางเปนอนันตจะสามารถเปนไปได

26 ในบทความ “Colsed Causal Chains” นอกจาก Horwich (1995) จะบอกวา การเดินทางขามเวลาเปนส่ิงที่ไมนาจะเปนไปได (improbable) แลว เขายังใชคําวา “เปนไปไมไดเชิงญาณวิทยา” (epistemologicallyimpossible) ในความหมายเดียวกันนั้นดวย นั่นก็คือ เรารูวาการเดินทางขามเวลาจะไมเกิดขึ้นในโลกที่เปนอยู

Page 62: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

54

อยางไรก็ดี การเดินทางขามเวลายังคงเปนปญหาที่สามารถศึกษาตอไดในหลายแนวทางขอสรุปที่วาการเดินทางขามเวลาจะไมเกิดขึ้นในโลกที่เปนอยูยอมไมไดมีนัยวารูปแบบโครงสรางกาลอวกาศที่เอื้ออํานวยตอการเดินทางขามเวลาจะไมไดมีอยูจริงในจักรวาลของเรา ดังที่ฮอรวิชเองก็ไดแสดงใหเห็นถึงขอจํากัดนี้เชนกัน

ขอเสนอที่สําคัญอีกประการหนึ่งของฮอรวิช (Horwich, 1987; 1995) นั้นอยูที่วาเราอาจสามารถอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเกิดขึ้น แตเราไมอาจอนุมานตอไปวาโครงสรางจักรวาลที่เปนอยูจะไมใชแบบที่โกเดลบรรยายไว (กลาวคือ เปนจักรวาลที่กําลังหมุนรอบตัวเอง)เพราะเรามีคําอธิบายหนึ่ง (ซึ่งโกเดลไดแนะไวเชนกัน โปรดดู Gödel, 1949: 561) ที่ทําใหการเดินทางขามเวลาซึ่งนําไปสูปฏิทรรศนตางๆ จะไมเกิดขึ้น นั่นก็คือ เราไมอาจหาเชื้อเพลิงที่เพียงพอสําหรับทําการเดินทางเชนนั้นใหสําเร็จได (Horwich, 1987: 123; 1995: 264) เพราะการที่นักเดินทางจะกลับไปฆาตัวเองในอดีตหรือกลับไปฆาปู (รวมถึงการกลับไปทําใหเกิดสถานการณที่แปลกประหลาดในปฏิทรรศนความรูดวย) เขายอมจะตองสามารถเดินทางกลับไปสูอดีตที่เปนชวงเวลาเฉพาะนั้น (the local past) ใหไดกอน นั่นคือ เขาจะตองกลับไปสูชวงเวลาอดีตที่ตองการ และยังจะตองกลับไปสูโลก อันเปนสถานที่ซึ่งเขาจะพบกับตัวเองในอดีตหรือปูของเขาใหไดเสียกอนดวยเชนกัน แตการเดินทางยอนกลับไปในอดีตที่เพิ่งผานไปไมนาน และไมใชไปสูขอบเขตของอวกาศแหงอื่นที่อยูหางไกลจากโลกมากเกินไปเชนนั้น ในทางปฏิบัติแลวกลับเปนสิ่งที่ทําไดยากกวาการเดินทางยอนกลับไปสูอดีตที่หางไกลทางอวกาศ (spatially distant past) ในจักรวาลแบบของโกเดล ดวยเหตุนี้ แมเรากําลังอยูในจักรวาลดังกลาวจริง เราก็ยังคงไมสามารถเดินทางขามเวลาในแบบที่ตองการได แตนั่นไมใชเพราะโครงสรางกาลอวกาศที่มีอยูไมเปดโอกาสสําหรับการเดินทางขามเวลา หากแตเปนเพราะปญหาในแงของเทคโนโลยีเทานั้นที่ทําใหการเดินทางขามเวลาเชนที่ตองการไมสามารถเกิดขึ้นได (ทั้งในอดีตที่ผานมาและในอนาคตดวยเชนกัน)

อยางไรก็ดี จักรวาลแบบของโกเดลนั้นไมใชโครงสรางกาลอวกาศเพียงรูปแบบเดียวที่เอื้อตอการเดินทางขามเวลา ดังนั้น จึงยังคงนาศึกษาตอวาโครงสรางกาลอวกาศแบบอื่นที่เปนไปไดในทางทฤษฎี (เชนการใช wormholes) จะทําใหสามารถเดินทางขามเวลาไดจริงหรือไมอยางไร หรือกลาวอีกนัยหนึ่งคือ เราจะสามารถหาคําอธิบายทางฟสิกสที่มาอธิบายไดหรือไมวาเหตุใดโครงสรางกาลอวกาศแบบอื่นเหลานั้นจึงไมสามารถทําใหเกิดการเดินทางขามเวลาได27 (ตัวอยางเชน

27 ดังเชน chronology protection conjecture ของ Hawking (1992) ที่เสนอวากฎในฟสิกสจะรวมกันปองกันไมใหเกิด CTCs แตขอเสนอนี้ก็ยังไมเปนที่สรุปไดเด็ดขาด นอกจากนี้ ยังเปนที่ถกเถียงกันไดวากฎในฟสิกสทําให CTCs เหลานี้ไมสามารถมีอยูขึ้นมาไดในจักรวาลที่เปนอยู หรือหมายความเพียงวากฎในฟสิกสจะปองกันไมใหเราสามารถใช CTCs (ที่มีอยู) สําหรับการเดินทางขามเวลาไดสําเร็จ

Page 63: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

55

ปญหาเรื่องเชื้อเพลิงในจักรวาลแบบของโกเดล) หรือมิเชนนั้นแลว เราจําเปนตองยอมรับหรือไมวารูปแบบโครงสรางกาลอวกาศที่มีการเสนอกันขึ้นมาอาจไมไดมีอยูจริงแทน ทั้งหมดนี้ลวนเปนสิ่งที่เ ร า ยั ง ค ง ต อ ง แ ส ว ง ห า คํ า ต อ บ กั น ต อ ไ ป

Page 64: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

รายการอางอิง

Abbruzzese, John. (2001). “On Using the Multiverse to Avoid the Paradoxes of TimeTravel.” Analysis 61: 36-38.

Berkovitz, Joseph. (2001). “On Chance in Causal Loops.” Mind 110: 1-23.Bigelow, John. (1996). “Presentism and Properties.” In James E. Tomberlin, ed.

Philosophical Perspectives 10: 35-52.Brown, Bryson. (1992). “Defending Backward Causation.” Canadian Journal of

Philosophy 22: 429-443.Chambers, Timothy. (1999). “Time Travel: How not to Defuse the Principal Paradox.”

Ratio 12: 296-301.Craig, William Lane. (1988). “Tachyons, Time Travel, and Divine Omniscience.” The

Journal of Philosophy 88: 135-150.Davies, Paul. (1995). About Time: Einstein’s Unfinished Revolution. London: Penguin

books.Davies, Paul. (2001). How to Build a Time Machine. London: Allen Lane, The Penguin

Press.Deutsch, David and Michael Lockwood. (1994). “The Quantum Physics of Time Travel.”

Scientific American 270: 50-56.Deutsch, David. (1997). The Fabric of Reality. New York: Penguin Books.Dowe, Phil. (2001). “Causal Loops and the Independence of Causal Facts.” Philosophy

of Science 68 Supplement: S89-S97.Dummett, Michael. (1986). “Causal Loops.” In Raymond Flood and Michael Lockwood,

eds. The Nature of Time, pp. 135-169. Oxford: Basil Blackwell.Earman, John. (1995). “Recent Work on Time Travel.” In Steven F. Savitt, ed. Time’s

Arrows Today: Recent Physical and Philosophical Work on the Direction of Time,pp. 268-310. Cambridge: Cambridge University Press.

Einstein, Albert. (1961). Relativity: The Special and the General Theory. New York:Wings Books.

Page 65: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

57

Gödel, Kurt. (1949). “A Remark about the Relationship between Relativity Theory andIdealistic Philosophy.” In Paul Arthur Schilpp, ed. Albert Einstein: Philosopher-Scientist, pp. 557-562. La Salle, IL: Open Court.

Godfrey-Smith, William. (1980). “Travelling in Time.” Analysis 40: 72-73.Gott, J. Richard. (2002). Time Travel in Einstein’s Universe: The Physical Possibilities of

Travel Through Time. London: Phoenix.Grey, William. (1999). “Troubles with Time Travel.” Philosophy 74: 55-70.Harrison, Jonathan. (1979). “Analysis ‘Problem’ No. 18.” Analysis 39: 65-66.Harrison, Jonathan. (1980). “Report on Analysis ‘Problem’ No. 18.” Analysis 40: 65-69.Harrison, Jonathan. (1995). “Dr Who and the Philosophers, or Time Travel for

Beginners.” In Essays on Metaphysics and the Theory of Knowledge: Volume I,pp. 342-365. Alershot: Averbury.

Hawking, Stephen. (1992). “Chronology Protection Conjecture.” Physical Review D 46:603-611.

Horwich, Paul. (1975). “On Some Alleged Paradoxes of Time Travel.” The Journal ofPhilosophy 72: 432-444.

Horwich, Paul. (1987). Asymmetries in Time. Cambridge, MA: The M.I.T. Press.Horwich, Pual. (1995). “Closed Causal Chains.” In Steven F. Savitt, ed. Time’s Arrows

Today: Recent Physical and Philosophical Work on the Direction of Time, pp.259-267. Cambridge: Cambridge University Press.

Horwich, Paul. (1998). “Time Travel.” Routledge Encyclopedia of Philosophy 9: 417-419.Hospers, John. (1988). An introduction to Philosophical Analysis. Third edition.

Englewood, New Jersey: Prentice Hall.Keller, Simon and Michael Nelson. (2001). “Presentists Should Believe in Time-Travel.”

Australasian Journal of Philosophy 79: 333-345.King, David (1999). “Time Travel and Self-Consistency: Implications for Determinism and

the Human Condition.” Ratio 12: 271-278.Levin, Margarita R. (1980). “Swords’ Points.” Analysis 40: 69-70.Lewis, David. (1976). “The Paradoxes of Time Travel.” American Philosophical Quarterly

13: 145-152.

Page 66: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

58

Lossev, A. and I. D. Novikov. (1992). “The Jinn of the Time Machine: Non-trivial Self-Consistent Solutions.” Classical and Quantum Gravity 9: 2309-2321.

Mellor, D. H. (1998). Real Time II. London: Routledge.Nahin, Paul J. (1999). Time Machines: Time Travel in Physics, Metaphysics, and Science

Fiction. Second edition. New York: Springer-Verlag.Ney, S. E. (2000). “Are Grandfather an Endanger Species?” Journal of Philosophical

Research 25: 311-321.Ni, Peimin. (1992). “Changing the Past.” Nous 26: 349-359.Novikov, Igor D. (2001). The River of Time. Cambridge: Cambridge University Press,

Canto edition.Oaklander, L. Nathan and Quentin Smith, eds. (1994). The New Theory of Time. New

Haven: Yale University Press.Putnam, Hilary. (1962). “It Ain’t Necessarily So.” The Journal of Philosophy 59: 658-671.Ray, Christopher. (1991). Time, Space and Philosophy. London: Routledge.Richmond, Alasdair. (2001). “Time-Travel Fictions and Philosophy.” American

Philosophical Quarterly 38: 305-318.Riggs, Peter J. (1997). “The Principal Paradox of Time Travel,” Ratio 10: 48-64.Sider, Theodore. (2002). “Time Travel, Coincidences and Counterfactuals.” Philosophical

Studies 110: 115-138.Smith, J. W. (1986). “Time Travel and Backward Causation.” In Reason, Science, and

Paradox, pp. 49-58. London: Croom Helm.Smith, Nicholas J. J. (1997). “Bananas Enough for Time Travel.” British Journal for

Philosophy of Science 48: 363-389.Smith, Nicholas J. J. (1998). “The Problems of Backward Time Travel.” Endeavour 22:

156-158.Smith, Quentin and L. Nathan Oaklander. (1995). Time, Change and Freedom:

Introduction to Metaphysics. London: Routledge.Sorensen, Roy A. (1987). “Time Travel, Parahistory and Hume.” Philosophy 62: 227-236.Vihvelin, Kadri. (1996). “What Time Travelers Cannot Do.” Philosophical Studies 81: 315-

330.

Page 67: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

59

Vihvelin, Kadri. (1999). “Time Travel: The Rules of the Road.” In Daniel Kolak andRaymond Martin, eds. The Experience of Philosophy, pp. 85-94. Fourth edition.Belmont, CA: Wadsworth Publishing.

Weingard, Robert. (1979). “General Relativity and the Conceivability of Time Travel.”Philosophy of Science 46: 328-323.

Weingard, Robert. (1973). “On Travelling Backward in Time.” In P. Suppes, ed. Space,Time and Geometry, pp. 115-130. Dordrecht-Holland: D. Reidel PublishingCompany.

Williams, Donald C. (1951). “The Myth of Passage.” The Journal of Philosophy 48: 457-472.

Page 68: มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

60

ประวัติผูเขียนวิทยานิพนธ

นายพรเทพ สหชัยรุงเรือง เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดชลบุรี สําเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 จากสาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ในปการศึกษา 2541 และศึกษาตอในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณทิตสาขาวิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในปการศึกษา 2543