พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

16
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระอัฐมรามาธิบดินทร ประดิษฐาน บริเวณใกล้เชิงสะพานพระราม ๘ ฝั่งธนบุรี สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี เพราะทรงเป็นศูนย์รวม แห่งความจงรักภักดี ที่สถิตอยู่ในดวงใจของคนไทยทุกคน Built on the Thon Buri side of the Chao Phraya River near the foot of Rama VIII Bridge, the royal monument of King Rama VIII is a memorial to a great monarch who continues to hold a special place in the hearts of the Thai people. ส ดุ ดี อั ฐ ม ร า ช Lasting Tributes to a Beloved Monarch

Upload: yoware

Post on 29-Jul-2015

232 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

วันที่ 9 มิถุนายน 2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ทรงพระราชอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8)หมายเหตุ : ตัวอักษรที่แสดงผลบนหน้าเว็บมีความไม่สมบูรณ์ ให้ลองดาวโหลดไฟล์มาดูในเครื่องแทนครับ

TRANSCRIPT

Page 1: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระอัฐมรามาธิบดินทร ประดิษฐาน บริเวณใกล้เชิงสะพานพระราม ๘ ฝั่งธนบุรี สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี เพราะทรงเป็นศูนย์รวม แห่งความจงรักภักดี ที่สถิตอยู่ในดวงใจของคนไทยทุกคน Built on the Thon Buri side of the Chao Phraya River near the foot of Rama VIII Bridge, the royal monument of King Rama VIII is a memorial to a great monarch who continues to hold a special place in the hearts of the Thai people.

ส ดุ ดี อั ฐ ม ร า ช Lasting Tributes to a Beloved Monarch

Page 2: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

The idea of dedicating a public park to the memory of

King Ananda Mahidol at the foot of Rama VIII Bridge on the

Thon Buri side of the Chao Phraya River was conceived by the

Bangkok Metropolitan Administration with the intention of

developing this prime waterfront site into a new landmark for

the city of Bangkok. Situated against a backdrop of many

captivating and well-recognised sights on both sides of the river,

such as Phra Sumen Fort, Bang Khun Phrom Palace, Thammasat

University’s Dome Building, and Phra Pinklao Bridge, the new

park brilliantly accentuates the splendour of its surroundings.

The statue of King Ananda Mahidol, situated at the

monument to King Rama VIII in Suan Luang Rama VIII Park

is the largest ever to be erected. The statue also has a symbolic

connection with the Rama VIII Bridge that is situated nearby.

This splendid bridge, the park and the royal monument are

a combined token of the Thai people’s enduring appreciation and

memory of a dearly beloved monarch.

กรุงเทพมหานครได้ริเริ่มสร้างสวนสาธารณะเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระอัฐมรามาธิบดินทร ณ เชิงสะพานพระราม ๘ ฝั่งธนบุรี

เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่บริเวณติดต่อกับเชิงสะพานพระราม ๘

เป็นพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีบรรยากาศและทิวทัศน์งดงาม ประกอบ

กับ เป็นสถานที่ ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญหลายแห่งทั้งสองฟากแม่น้ำ

เจ้าพระยา ได้แก ่ ป้อมพระสุเมร ุ วังบางขุนพรหม ตึกโดมมหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร ์ และสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ

ในการพัฒนาค่อนข้างสูง การนำพื้นที่ดังกล่าวมาพัฒนาเพื่อให้เป็น

สวนสาธารณะจะช่วยส่งเสริมภูมิทัศน์ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในการสัญจร

ทางนำ้ และสง่เสรมิภมูทิศัน์โดยรวมของบรเิวณดงักลา่วใหม้คีวามงดงามยิง่ขึน้

ภายในสวนหลวงพระราม ๘ นี้ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชา

นุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งถือได้ว่าเป็นพระบรม

ราชานุสาวรีย์ของพระองค์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ได้มีการสร้างขึ้นมา และ

พระบรมราชานุสาวรีย์นี้ยังเชื่อมโยงถึงสะพานพระราม ๘ อันเป็นสะพาน

ที่สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติมาก่อนแล้ว จึงกล่าวได้ว่าทั้งสะพานพระราม ๘

สวนหลวงพระราม ๘ และพระบรมราชานุสาวรีย์ จะเป็นอนุสรณ์สถาน

ที่ทำให้ปวงชนชาวไทยน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระอัฐมรามาธิบดินทร

อย่างมิรู้ลืม

90

Page 3: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

ธรรมเนียมการสร้างพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย

ธรรมเนียมการสร้างรูปเคารพที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยนั้น มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จวบจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ทว่าวัตถุประสงค์และความเชื่อ ตลอดจนรูปลักษณ์ของพระบรมรูปที่สร้างขึ้นมานั้น มีความแตกต่างกันออกไป ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีเทวรูปพระเจ้าอู่ทอง ซึ่ งขุนนางที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา จะต้องไปสักการะก่อนนมัสการพระพุทธรูป นอกจากนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอยู่ในโรงพระแสง ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนัง่เกลา้เจา้อยูห่วัทรงพระกรณุาโปรดเกลา้ฯ ให้สร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบรมอยักาธริาช และพระบรมชนกนาถถวายพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธ เลิศหล้าสุลาลัย (ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา

พระพุทธรูปฉลองพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า

จุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ The statue of King Phra

Buddha Yod Fa Chulalok, featuring the characteristics

of Buddha image in full regal attire.

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Phra Buddha Yod Fa Chulalok and Phra Buddha Loes La Nabhalai statues enshrined in Phra Ubosot of the Temple of the Emeral Buddha.

The tradition of royal statue casting in Thai society

Although the casting of royal statues is a tradition in

Thai society that can be traced back to the Ayutthaya period, its

underlying motivation and concepts, as well as the designs of the

royal statues, have altered over the years.

There is a record of the existence, during the Ayutthaya

period, of a royal statue of King U-thong to which all court

officials who had partaken of sacred water in a formal oath-taking

ceremony so as to solemnly pledge their allegiance to the king had

to pay homage before paying respect to Buddha images. A royal

chronicle of the Ayutthaya period also records the existence of a

statue of King Naresuan the Great, which was housed in a royal

armoury.

During the Rattanakosin period, at the behest of King

Nang Klao, statues of his father and grandfather featuring the

characteristics of Buddha images in full regal attire were cast and

given the names Phra Buddha Yod Fa Chulalok and Phra Buddha

Loes La Sulalai. (The latter name was subsequently changed to

Phra Buddha Loes La Nabhalai by King Mongkut).

It is a traditional Thai belief that royal statues are built for

worship; therefore, they are designed to have unique characteristic

features that will distinguish them from ordinary human beings.

The royal statues of Ayutthaya period are believed to display

god-like features, somewhat similar to the heavily adorned royal

statues of King Phra Buddha Yod Fa Chulalok and Phra Buddha

Loes La Nabhalai which have become the characteristic features

of the Buddha images of Rattanakosin period.

Nowadays, royal statues are cast for different reasons but

mainly to honour and commemorate the benevolence of a particular

royal figure.

โปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยพระนามเป็น พระพุทธเลิศหล้านภาลัย) เนื่องจากคติการสร้างรูปเคารพที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ ในสังคมไทยนั้นถือได้ว่าสร้างขึ้นมาเพื่อเป็น ที่เคารพสักการะ รูปเคารพเหล่านั้นจึงมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากคนธรรมดา ไม่ได้สร้างขึ้น เพื่อให้มีรูปลักษณ์ที่เหมือนมนุษย์ ดังนั้นรูปเคารพพระมหากษัตริย์ที่ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีลักษณะเป็นเทวรูปทำนองเดียวกับพระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ที่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ในปัจจุบันการสร้ างพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ เป็นการสร้ าง เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อ ปวงชนชาวไทย

92

Page 4: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

95

การสร้างพระบรมรูปเหมือนพระองค์จริง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้ปั้นรูปเหมือนของพระองค์ถวายพระเจ้านโปเลียนที่ ๓

แต่ปรากฏว่ายังไม่งามสมพระราชหฤทัย จึงมิได้ส่งไป ถือได้ว่าเป็นครั้งแรก

ที่พระมหากษัตริย์ไทยสร้างรูปเหมือนพระองค์จริง

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปเหมือนของพระมหากษัตริย์ ๔ พระองค์

ในพระบรมราชวงศ์จักรี คือ พระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔

เมื่อหล่อเสร็จได้เชิญไปประดิษฐานไว้ในพระมหาปราสาททางมุขตะวันออก

ต่อมาได้เชิญพระบรมรูปทั้ง ๔ พระองค์ ไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่ง

สุทไธสวรรย์จนได้มีการสร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท เพื่อประดิษฐาน

พระบรมรูปทั้ ง ๔ พระองค์ขึ้นแทน ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมพระพุทธปรางค์

ปราสาท แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นปราสาทพระเทพบิดรตามแบบหอพระเทพบิดร

ในวัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงศรีอยุธยาขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ ๕ รัชกาลแทนพระที่นั่ง

ศิวาลัยมหาปราสาท

อย่างไรก็ตาม พระบรมรูปพระมหากษัตริย์ที่สร้างขึ้นมาเหล่านี้ มิได้

มีลักษณะเป็นอนุสาวรีย์ตามความหมายในปัจจุบัน เนื่องจากประดิษฐาน

ไว้ในที่รโหฐานต่างจากอนุสาวรีย์ในปัจจุบันที่มักจะอยู่ในที่สาธารณะ

The casting of lifelike royal statues

The casting of a lifelike royal statue in Thailand first took

place in the reign of King Mongkut when the King had a statue

of himself cast to deliver to King Napolean III as a gift. Anyway,

the casting oeuver came out not as exquisite as he had expected,

so he decided not to send it to the French monarch. The casting

of four statues of Rama I, Rama II, Rama III and Rama IV was

also commissioned in the Fifth Reign and they were placed in the

east porch of the Grand Palace. They were later relocated to

Suthaisawan Throne Hall and subsequently to Sivalai Throne

Hall which was specially built to house them. Later, King

Vajiravudh had the Royal Pantheon, a replica of an Ayutthaya-

period building of the same name in Phra Srisanpet Temple, built

in the grounds of the temple of the Emerald Buddha to house the

statues of all the monarchs of the Chakri Dynasty, including these

four statues.

However, the statues of the Chakri Dynasty monarchs were

not cast as commemorative statues in the modern sense of the

word. They were normally housed in a private and restricted

setting whereas the more recent statues are found at monuments,

which were erected in public places where they could be easily

accessed by the general public.

บุรพกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี The statues of the predecessor kings of the Chakri House.

ปราสาทพระเทพบิดรในพระบรมมหาราชวัง The Royal Pantheon, the Grand Palace.

94 95

Page 5: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

พระบรมราชานุ ส าวรี ย์พระบาทสมเด็ จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) สร้างขึ้นเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์พระปฐมบรมกษัตริย์แห่ง

กรุงรัตนโกสินทร์ ในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ ๑๕๐ ปี

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า

กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงคิดแบบและอำนวยการก่อสร้าง

องค์พระบรมรูปนั้นศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ปั้นและ

มีการหล่อด้วยทองสำริด พระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยภูษิตาภรณ์

ประทับนั่งเหนือพระราชบัลลังก์ พระหัตถ์ทรงจับพระแสงดาบ

ที่ทอดอยู่เหนือพระเพลา ประดิษฐานอยู่ ณ เชิงสะพานพระพุทธ

ยอดฟ้าฝั่งกรุงเทพฯ เมื่อแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า

เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรม

ราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕

Royal Monument to King Buddha Yod Fa Chulalok the Great (Rama I) was erected in 1932

as a memorial to the first monarch of Chakri House on

the occasion of the Rattanakosin’s 150th anniversary.

HRH Prince Narisra Nuvadtiwongse designed and

directed the construction, and Professor Silpa Bhirasri

sculpted the figure and casted it in bronze. The throne-

seated statue, wearing a Ceremonial Gown, and holding

a sword which lays across his lap, is situated at the

abutment of the Memorial Bridge, Bangkok side. King

Prajadhipok opened this royal statue on April 6, 1932.

การสร้างพระบรมรูปเพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ The casting of royal statues for royal monument

ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรีได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและ

พระสติปัญญาอย่างเต็มความสามารถในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติ ยังความผาสุกร่มเย็นแก่พสกนิกรเสมอมา

และด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ปวงชนชาวไทยจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น

เป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คือพระบรมรูปทรงม้า ในเวลาต่อมาได้มีการสร้าง

พระบรมราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ ในพระบรมราชวงศ์จักรี ตามวาระและโอกาสสำคัญ ซึ่งเชิญไปประดิษฐานทั้ง

ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จนครบทุกรัชกาลในปัจจุบัน

Over the long period of Rattanakosin Era, each and every monarch of the Chakri Dynasty has toiled

relentlessly for the betterment in the welfare and happiness of the Thai people, and for the prosperity of the

nation as a whole. As symbol of deepest gratitude of the Thai people to the beloved monarch, the Equestrian

Monument of King Rama V, has been constructed for the first time in the kingdom. Later on, the royal

monuments of the monarchs of the House of Chakri have been erected on various remarkable occasions and

stately situated in various localities in Bangkok and the provinces.

96 97

Page 6: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

พระบรมราชานุ ส าวรี ย์พระบาทสมเด็ จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) สร้างขึ้น โดยเชื้อสายราชินิกุล ณ บางช้าง และชาวอัมพวา จังหวัด

สมุทรสงคราม เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสวันคล้ายวันพระราช

สมภพครบ ๒๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๐

ออกแบบและปั้นพระเศียร โดยนายพิมาน มูลประมุข (ศิลปินแห่ง

ชาติ สาขาทัศนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๓๑) และปั้นส่วนพระวรกาย

โดยนายสาโรช จารักษ ์ พระบรมรูปประทับยืน ทรงเครื่องขัตติย

ภูษิตาภรณ์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงดาบ พระบรมรูปหล่อ

ด้วยทองสำริด ประดิษฐาน ณ วัดอัมพวันเจติยาราม ซึ่งเคยเป็น

ที่ตั้งพระตำหนักของสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี พระราช

ชนนี และเป็นที่ประสูติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

นภาลัย ทั้งนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ ๓๐

มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐

Royal Monument to King Buddha Loes La Nabhalai (Rama II) was erected by the royal

descendants of Na Bang Chang and Amphawa residents

in Samut Songkhram Province in order to extol

auspicious occasion of King Rama II’s 200th birthday

anniversary on February 24, 1967. The head of the statue

was designed and sculpted by Mr. Piman Moonpramook

(1988’s National Artist of Visual Art) and the body of

the statue was sculpted by Mr. Sarote Jaruk. It is the

standing bronze statue, wearing a Ceremonial Gown, and

holding a sword in the left hand. The statue is established

in Amphawanjetiyaram Temple where was the location

of royal residence of Queen Amarindra, the Princess

Mother and the birthplace of King Rama II. HRH Crown

Prince Maha Vajiralongkorn opened the statue on March

30, 1977.

พระบรมราชานุ ส าวรี ย์พระบาทสมเด็ จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) สร้างขึ้นในโอกาสสมโภชพระนคร ๒๐๐ ปี เมื่ อ พ.ศ. ๒๕๒๕ และ

เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสครบ ๒๐๐ ป ี วนัคลา้ยวนัพระราช

สมภพ เมือ่วนัที ่๓๑ มนีาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบรมราชานุสาวรีย์

มีขนาดเท่ าครึ่ งพระองค์จริง ทรงเครื่องขัตติยภูษิตาภรณ์

ประทับนั่งเหนือพระราชบัลลังก์ พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระแสงดาบ

มีฉากหลังเป็นพระวิมาน ๓ หลัง โดยนายสุภร ศิระสงเคราะห์

เป็นผู้ปั้นพระบรมรูป และกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร

ออกแบบและกอ่สรา้งแทน่ฐาน ประดษิฐานอยูห่นา้วดัราชนดัดาราม

ทั้งนี้เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ตรงกับวันคล้าย

วันเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า

เจ้าอยู่หัว ครบ ๑๖๖ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปทรง

ประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ โดยบริเวณพระบรมราชา

นุสาวรีย์และพื้นที่ โดยรอบได้รับพระราชทานนาม เมื่อ พ.ศ.

๒๕๓๕ ว่า ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

Royal Monument to King Nang Klao (Rama III) was erected on the Rattanakosin

Bicentennial Celebration in 1982 and his 200th birthday

anniversary on March 31, 1987. The statue, wearing a

Ceremonial Gown, sitting and holding a sword in the left

hand, is 1.5 times larger than the life size. Three royal

residences are in the background and the statue is located

in front of Ratchanatdaram Temple. It was sculpted by

Mr. Suporn Sirasongkroh and the pedestal was designed

and constructed by the Fine Arts Department. On July

21, 1990, the 166th anniversary of King Rama II’s

accession to the throne, His Majesty the King and Her

Majesty the Queen opened the statue. The area around

the Royal Monument was graciously granted the name

Maha Jessada Bodin Pavilion Court in 1992.

98 99

Page 7: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) สร้างขึ้นในโอกาสสมโภชพระนครครบ ๒๐๐ ปี โดยทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ได้ดำเนินการจัดสร้าง เพื่อประดิษฐานไว้ ณ บ้านหว้ากอ จังหวัด

ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระองค์ได้มาทอดพระเนตร

การเกิดสุริยุปราคาตามที่ทรงคำนวณได้อย่างแม่นยำ พระบรม

ราชานุสาวรีย์สร้างในลักษณะประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ขนาด

เท่าครึ่งของพระองค์จริง ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์มีโต๊ะ

ตั้งลูกโลกอันเป็นเครื่องแสดงถึงวิทยาการสมัยใหม่ที่พระบาท

สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ริเริ่มนำเข้ามาสู่สังคมไทย

พระบรมราชานสุาวรยีด์ำเนนิการแลว้เสรจ็เมือ่วนัที ่ ๒๙ กรกฎาคม

พ.ศ. ๒๕๓๗

Royal Monument to King Mongkut (Rama IV) was erected by Prachuap Khiri Khan

Province on the Rattanakosin Bicentennial celebration.

The statue is established in Ban Wa Ko, Prachuap Khiri

Khan Province, the place where King Rama IV

calculated the solar eclipse precisely. It is the sitting

statue, 1.5 times bigger than the life size, which is

located on the hill. In the front of the statue, the globe

placed on the table represents modern technology which

was brought into the Thai society by King Rama IV.

It was finished on July 29, 1994.

พระบรมราชานุ ส าวรี ย์พระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระบรมรูปทรงม้า) สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสอภิลักขิตมงคล

ที่ทรงครองราชย์เป็นปีที่ ๔๒ ยืนนานกว่าบุรพกษัตริย์ (รัชมังคลา

ภิเษก) ในการนี้ประชาชนได้ร่วมบริจาคเงินทูลเกล้าฯ ถวาย

อย่างที่เรียกว่า ทำขวัญ การปั้นหล่อได้ว่าจ้างบริษัทฝรั่งเศสชื่อ

ซุซเซอร์ เฟรส ฟองเดอร์ ในกรุงปารีสเป็นผู้ดำเนินการ

ได้ประทับเป็นแบบให้ปั้น และส่งมายังกรุงเทพฯ ในปีถัดมา

พระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐานบริเวณลานพระราชวังดุสิต

หนา้พระทีน่ัง่อนนัตสมาคม เงนิทีเ่หลอืจากคา่ใชจ้า่ยในการปัน้หลอ่

พระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช

ดำรัสให้นำไป ใช้ ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ งที่มีประโยชน์

แก่ชาวสยาม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

จึงนำเงินส่วนนี้ไปจัดตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ซึ่งปัจจุบันคือ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบรมรูปทรงม้าเปิดเมื่อวันที่ ๑๑

พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑

Royal Monument to King Chulalongkorn the Great (Rama V) or the Equestrian Statue of King Rama V was erected to celebrate the auspicious 42nd

anniversary of King Rama V’s accession to the throne,

which is considered longer than predecessor kings of the

Chakri House. The sculpture, constructed from fund

raised by Thai People, was implemented by a French

company in Paris and was shipped to Bangkok the

following year. The statue was located in front of the

Ananda Samagom Throne Hall, the Dusit Palace. The

remaining fund after the expense was spent in a

beneficial way in gratitude to the Thai people. After

King Rama V passed away, King Rama VI spent this

amount of money to establish the Civil Service College

or currently Chulalongkorn University. The equestrian

statue of King Rama V was unveiled on November 11,

1908.

100 101

Page 8: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

พระบรมราชานุ ส าวรี ย์พระบาทสมเด็ จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ประดิษฐานหน้าสวนลุมพินี ซึ่งเป็นสวน

สาธารณะที่ี่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น

พระบรมราชานุสาวรีย์ปั้นและหล่อโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

โดยหล่อเองในประเทศ นับได้ว่าเป็นรูปหล่อขนาดใหญ่ที่สามารถ

ทำได้ครั้งแรกในประเทศไทย มีขนาด ๒ เท่าของพระองค์จริง

ประทับยืนบนแท่นฐานสูงประมาณ ๕ เมตร หล่อเสร็จเมื่อวันที่ ๗

มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔

Royal Monument to King Vajiravudh (Rama VI) was erected in front of the Lumpini Park to

honour King Rama VI who had the Park constructed.

The statue was domestically sculpted by Professor Silpa

Bhirasri and became the biggest ever mould-casting

statue in the country at that moment. It was twice larger

than the life size, standing on the 5-metre tall pedestal.

The statue was finished on June 7, 1941.

พระบรมราชานุ ส าวรี ย์พระบาทสมเด็ จ พระปกเกลา้เจา้อยูห่วั (รชักาลที ่๗) สรา้งเปน็พระบรมรปูทรงเครื่องขัตติยภูษิตาภรณ์ ประทับนั่งเหนือพระที่นั่งพุดตาน

กาญจนสิงหาสน์ เหมือนเมื่อครั้งที่พระราชทานรัฐธรรมนูญ โดยมี

นายสนั่น ศิลากรณ์ เป็นผู้ออกแบบและปั้นหล่อ พระบรมราชา

นสุาวรยีป์ระดษิฐานหนา้อาคารรฐัสภา แลว้เสรจ็ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๒๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเปิด

เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓

Royal Monument to King Prajadhipok (Rama VII) wears a Ceremonial Gown and be seated

on Phuttan Kanchanasinghat Throne, like when he

granted the Constitution. The statue, located in front of

the Parliament Building of Thailand, was designed and

sculpted by Mr. Sanan Silakorn and it was finished in

1980. His Majesty the King officially unveiled the statue

on December 10, 1980.

102 103

Page 9: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

The casting of King Ananda Mahidol’s statue Introduced by King Rama V, the tradition of having royal

statues of earlier kings of the Chakri Dynasty cast and kept for

worship in the Royal Pantheon in the compound of the Dynasty

temple of the Emerald Buddha has continued to this day.

In keeping with this royal tradition, King Bhumibol

Adulyadej commissioned Professor Silpa Bhirasri to design and

cast a royal statue of his deceased brother, King Ananda

Mahidol, to be placed in the Royal Pantheon. The original model

of this statue was presented to the King for private viewing at

Chitralada Villa before final casting.

With His Majesty’s approval, the casting of this 1.80

metre high statue began in 1957 and was completed in 1960.

Professor Silpa Bhirasri and Mr. Paitoon Muangsomboon

(National Artist for Sculpture) were in charge of the sculpting of

the statue’s head and torso respectively.

Replicas of this royal statue of King Ananda Mahidol

were later crafted and placed in many locations both in Bangkok

and the provinces, for example, at the royal chapel of Suthat

Thepwararam Temple, Debsirin School, Chulalongkorn Hospital,

and Ananda Mahidol Hospital in Lop Buri Province.

การปั้นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระอัฐมรามาธิบดินทร ตามธรรมเนยีมปฏบิตัแิตค่รัง้รชัสมยัพระบาทสมเดจ็พระจลุจอมเกลา้

เจ้าอยู่หัว ที่มีการปั้นพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรี

เพือ่สกัการบชูา ได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จสวรรคต พระบาท

สมเดจ็พระเจา้อยูห่วัทรงพระกรณุาโปรดเกลา้ฯ ใหศ้าสตราจารยศ์ลิป ์ พรีะศร ี

ออกแบบและปั้นพระบรมรูปสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อประดิษฐาน

ในปราสาทพระเทพบิดรตามโบราณราชประเพณี เมื่อศาสตราจารย์ศิลป์

พีระศรี ได้ออกแบบและปั้นพระบรมรูปต้นแบบแล้วเสร็จ ทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้เชิญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทอดพระเนตร ณ พระตำหนัก

จิตรลดารโหฐาน

จากนั้นจึงได้ดำเนินการปั้นหล่อพระบรมรูปขนาดสูง ๑.๘๐ เมตร

โดยศาสตราจารยศ์ลิป ์พรีะศร ีเปน็ผูป้ัน้พระเศยีร นายไพฑรูย ์เมอืงสมบรูณ ์

(ศิลปินแห่งชาติ) ปั้นพระวรกาย เริ่มการปั้นหล่อ ใน พ.ศ. ๒๕๐๐

แล้วเสร็จ ใน พ.ศ. ๒๕๐๓

ในเวลาต่อมาได้มีการถ่ายแบบพระบรมรูปพระองค์นี้นำไป

ประดิษฐานตามสถานทีต่า่งๆ ทัง้ในกรงุเทพฯ และตา่งจงัหวดั ไดแ้ก ่บรเิวณ

ลานพระวหิารหลวงวดัสทุศันเทพวราราม โรงเรยีนเทพศรินิทร ์ โรงพยาบาล

จฬุาลงกรณ ์และโรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี

พระเศียรพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระอัฐมรามาธิบดินทร ปั้นโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

A replica of King Ananda Mahidol’s head was sculpted by Professor Silpa Bhirasri.

105

Page 10: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

106

ความเปน็มาในการจดัสรา้งพระบรมราชานสุาวรยี ์ พระบาทสมเดจ็พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการ

สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการ

จราจรของกรุง เทพมหานคร ทั้ งยั งมีพระมหากรุณาธิคุณ

พระราชทานนามสะพานแห่งใหม่นี้ว่า สะพานพระราม ๘

กรุงเทพฯ จึงได้กำหนดแนวคิดสำคัญในการสร้าง พระบรม

ราชานุสาวรีย ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร

มหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พร้อมทั้งจัดภูมิทัศน์

เพื่อให้ประชาชนได้เคารพสักการะและใช้เป็นสถานที่สำหรับ

พักผ่อนหย่อนใจ

กรุงเทพมหานครได้ประสานความร่วมมือกับกรมศิลปากร เพื่อนำ

เสนอการกอ่สรา้งพระบรมราชานสุาวรยี์ เขา้ทีป่ระชมุคณะกรรมการ

พิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติและการจำลองพระพุทธรูป

สำคัญ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กรุงเทพมหานครจัดสร้าง

พระบรมราชานุสาวรีย์ ในพระราชอิริยาบถประทับยืนขนาด ๓ เท่า

ของพระองค์จริง พร้อมทั้ ง เห็นชอบลักษณะรูปแบบแท่น

ประดิษฐาน และการใช้พื้นที่เพื่อการปรับปรุงภูมิสถาปัตย์โดยรอบ

พระบรมราชานุสาวรีย์ บริเวณสะพานพระราม ๘ ซึ่งได้รับ

พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์

กำหนดระยะเวลาการจัดสร้าง ๑๘ เดือน งบประมาณทั้งสิ้น

๑๐ ล้านบาท

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ใช้พื้นที่

โรงงานสุราบางยี่ขันเดิมปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะและเป็นที่

ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ กรุงเทพมหานครจึงดำเนินการ

ประสานความร่วมมือไปยังกรมธนารักษ์และกรมโรงงาน

อุตสาหกรรม เพื่อขอใช้พื้นที่ดังกล่าว จำนวน ๓๕ ไร่ สำหรับ

ก่อสร้างอาคารประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พร้อมปรับปรุง

พื้นที่และภูมิทัศน์ให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนได้มา

สักการบูชาพระบรมราชานุสาวรีย์และพักผ่อนหย่อนใจภายในสวน

กรงุเทพมหานครได้รบัความรว่มมอืจากศนูยว์ชิาการ คณะสถาปตัยกรรมศาสตร ์

จฬุาลงกรณม์หาวทิยาลยั ในการศกึษาพืน้ทีแ่ละตำแหนง่ทีเ่หมาะสม

สำหรับประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พร้อมทั้งออกแบบ

ผงัแมบ่ทอาคารประดษิฐานและภมูสิถาปตัยกรรมภายในสวนสาธารณะ

The Royal Statue of King Rama VIII: Timeline

His Majesty the King sent a map, drawn in red ink in his

own handwriting, illustrating the location of a new

bridge to be built over the Chao Phraya River and also

bestowed upon this new bridge the name of “Rama VIII

Bridge”, the Bangkok Metropolitan Administration

proposed the erection of the Royal Statue of King Rama

VIII in the Suan Luang Rama VIII Park.

The Bangkok Metropoli tan Administrat ion in

cooperation with the Fine Arts Department with the

agreement to build a standing royal monument, 3 times

larger than life, on designed base. The royal monument

will be situated on the foot of the bridge, one of the best

waterfront locations on the Thon Buri side of the Chao

Phraya River. Construction period is 18 months with

total budget of 10 million baht.

The cabinet has resolution in May 1999 to develop the

area which was belonged to Bang Yi Khan Distillery to

become a public park. Bangkok Metropoli tan

Administration then sought cooperation from the

Treasury Department and the Department of Industrial

Works asking for 35 rai land usage for the construction

of the King Ananda Mahidol Royal Monument Building.

Bangkok Metropolitan Administration joined hands with

the Centre of Academic Resources, Faculty of

Architecture, Chulalongkorn University to survey the

place and best position to erect the royal monument. The

centre also designed the master plan of the King Ananda

Mahidol Royal Monument Building. Landscape

architecture was also designed.

107

Page 11: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

ต้นแบบพระบรมรูป พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระอัฐมรามา

ธิบดินทรนั้น ถอดแบบมาจากต้นแบบโลหะซึ่ งปัจจุบัน

เก็บรักษาไว้ ณ หอประติมากรรมต้นแบบ กรมศิลปากร ในการ

ถอดแบบเพื่อนำมาสร้างเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์นี้ ได้ขยายเป็น

ขนาด ๓ เท่าของพระองค์จริง

Casting stages of King Rama VIII’s statue The royal statue on the King Ananda Mahidol Royal Monument at the foot of Rama VIII Bridge is an enlarged replica, three times larger than life-size, of the original statue. It was crafted from the metal moulds kept in the Hall of Sculptures in the Fine Arts Department.

๑.๘๐ เมตร1.80 metres

๕.๔๐ เมตร5.40 metres

108 109

Page 12: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

การปั้นขยาย เริ่มจากการนำรูปโลหะต้นแบบมาทำแม่พิมพ์ หล่อเป็นปูนปลาสเตอร์

แล้วจึงตัดออกเป็นส่วนๆ เพื่อนำไปทาบถ่ายขยายบนกระดาษ แล้วจึงฉลุ

โครงไมต้ามแวน่ทีถ่า่ยขยาย เรยีงขึน้ไปเปน็โครงไมอ้ดั เพือ่เปน็โครงสรา้งภายใน

เนื่องจากพระบรมรูปมีขนาดใหญ่มาก จึงได้แบ่งพระบรมรูปออกเป็น

สามส่วน คือ ส่วนพระอุระถึงพระเศียร ส่วนพระวรกาย และส่วนพระบาท

จากน้ันจึงนำพระบรมรูปท้ัง ๓ ส่วนมาข้ึนรูป โดยใช้ดินเหนียวป้ันพอกเข้าไป

จนใกล้เคียงกับต้นแบบ ในส่วนช่องว่างที่ไม่มีไม้กำกับต้องดูจากต้นแบบ

แล้วพอกดินไปตามลำดับจนเหมือน ส่วนรายละเอียดที่นอกเหนือแว่นไม้ เช่น

สายสะพาย กระดุม และส่วนประกอบอื่นๆ จะแยกปั้น โดยอาศัยจากต้นแบบ

เมื่อปั้นเสร็จแล้วจึงนำไปหล่อเป็นปูนปลาสเตอร์ แล้วจึงนำมาต่อกัน เพื่อให้

เห็นภาพรวมของพระบรมรูป และแก้ไขส่วนที่มีตำหนิ

Enlarging The enlarging step started with the reproduction of a plaster

cast from the original metal moulds. The plaster cast was cut into

several sections, each of which was traced onto a piece of paper

and enlarged. The enlarged tracings were then transferred onto the

plywood sheets which were subsequently cut and assembled to form

an armature or inner structure of the sculpture. Due to its enormous

size, the armature was divided into three sections: the bust, the body

and the legs. The sculptors built up each section with clay, filling the

gaps between the plywood structures until they closely resembled

the original model. Finer details, like the sashes, buttons and other

decorative features on the statue, were reproduced individually and

added to the clay sculpture later. When all the modelling pieces had

been completed they were cast in plaster of Paris and reassembled

for inspection and the correction of flaws.

110 111

Page 13: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

การทำพิมพ์ เนื่องจากพระบรมรูปมีขนาดใหญ่มาก จึงต้องแยกพระบรมรูป เพื่อนำไปทำแม่พิมพ์ เรียกว่า แม่พิมพ์ชิ้น ทำด้วยปูนปลาสเตอร์ ส่วนที่ มรีายละเอยีดมาก เชน่ สว่นพระเศยีรจงึมกีารถอดแมพ่มิพย์าง ซึง่ทำจาก ยางซิลิโคน ซึ่งสามารถเก็บรายละเอียดได้ใกล้เคียงกับต้นแบบมากที่สุด หลังจากนั้นจึงนำแม่พิมพ์ชิ้นและแม่พิมพ์ยางไปบุขี้ผึ้ง แล้วจึงนำพระบรมรูปที่เป็นขี้ผึ้งมาตกแต่งรายละเอียดให้สมบูรณ์ เพื่อที่จะทำต้นแบบหล่อพระบรมรูปด้วยโลหะต่อไป Moulding The enlarging and modelling stage was followed by the moulding stage during which the plaster cast was again dismantled and reproduced into two types of mould: a piece mould and a silicone rubber mould. Piece moulds were used for the portions with few details while silicone rubber moulds, which provided extremely accurate reproduction, were used with the portions that had more intricate detail, such as the head. Next, wax was applied to the inside of all the moulds to the desired thickness and they were assembled to make a complete wax cast. When the wax had cooled the moulds were removed and the wax cast was retouched to perfection to be used in the final casting.

112 113

Page 14: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

การหล่อและเชื่อม ขั้นตอนสุดท้ายคือการหล่อพระบรมรูป โดยจะทำการติดชนวน เพื่อตั้งตอชนวนให้เกิดทางไหลของโลหะและอากาศ

แล้วจึงใช้ความร้อนเผาให้ขี้ผึ้งละลายออกมา และเผาดินเบ้าหล่อพระบรมรูปให้แห้งสุกทั้งข้างนอกและข้างใน จากนั้นจึง

ทวคีวามรอ้นขึน้เรือ่ยๆ จนกระทัง่ความรอ้นถงึจดุ โดยจะสงัเกตไดจ้ากผนงัเตาทีเ่ริม่รอ้น เมือ่พมิพส์กุกจ็ะคอ่ยๆ คลายความรอ้น

จึงรื้อเตาออกมา แล้วดับถ่านที่ยังคุไม่หมด จากนั้นจึงนำโลหะที่หลอมได้ความร้อนถึงจุดหรือตามที่ศัพท์ช่างเรียกว่า

“ทองจัด” คืออุณหภูมิประมาณ ๑,๒๐๐ - ๑,๔๐๐ องคาเซลเซียส เทใส่แม่พิมพ์ที่ยังมีความร้อนอยู่พอสมควร เนื่องจากในการ

เทพิมพ์ หากแม่พิมพ์เย็นเกินไป โลหะจะไม่ลื่นไหล โลหะที่หลอมพระบรมรูปนั้นมีส่วนผสมของทองแดง ร้อยละ ๘๗ สังกะสี

ร้อยละ ๕ ตะกั่ว ร้อยละ ๕ และดีบุก ร้อยละ ๓

หลังจากเทโลหะแล้วต้องรออย่างน้อย ๔๘ ชั่วโมง เพื่อให้โลหะค่อยๆ คลายความร้อน แล้วจึงกะเทาะผิวนอกออก

เมื่อเห็นรูปโลหะแล้วจึงตัดชนวนถอนตะปูทอย แล้วจึงใช้เครื่องมือไฟฟ้าปรับแต่งผิวให้เสมอกัน สำหรับส่วนที่ชำรุดต้องเชื่อม

ประสานเนื้อ เมื่อแต่งโลหะครบหมดทุกส่วนแล้ว จึงนำชิ้นส่วนต่างๆ มาเชื่อมปรับต่อและตกแต่งรอยเชื่อมให้เป็นเนื้อเดียวกัน

แล้วจึงล้างพระบรมรูปด้วยกรดอ่อน และใช้ส้มมะขามเปียกผสมทรายร่อนละเอียดขัดล้างคราบน้ำกรดออก เมื่อล้างพระบรมรูป

สะอาดดีแล้ว จึงรมน้ำยาเพื่อปรับสีผิวโลหะให้ ใกล้เคียงกับสีเม็ดมะขามสุก รอการอัญเชิญพระบรมรูปไปประดิษฐาน

บนแท่นฐานต่อไป

Metal Casting and melding The last step was metal casting. Wax rods were attached to the retouched wax cast to create gates or vents to allow metal and air flow when the metal was poured. The wax cast was covered with a shell or vestment, then put into a clay fire chamber and baked until the wax was lost or melted away. The temperature in the chamber was then gradually raised until the chamber exterior became hot to the touch, indicating that the shell had been properly baked. At that point the fire chamber was dismantled and the charcoals were put out to reduce the heat. The next step was the pouring of hot metal that had been heated to the “Thong Jut” point, the equivalent of 1,200-1,400 degrees celsius, into the relatively warm shell. The metal used for the casting of this royal statue was an alloy of 87% copper, 5% zinc, 5% lead, and 3% tin. The shell was left to cool for at least 48 hours before its exterior could be removed. The attached rods for air and metal vents and the nail-like pins used to hold the moulds together were also removed. The craftsmen filled in any hollows or fissures on the statue and used electric tools to smoothen the metal exterior of each piece before welding them together neatly. After this process the statue was scrubbed with a mixture of mild acid solvent, tamarind paste and finely sieved sand, and then washed with clean water to get rid of any residual acid. The statue was later treated with a special solvent to give it the dark reddish-brown colour of ripe tamarind seed. It was then ready for transportation to the monument site.

115

Page 15: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

พีธีบวงสรวงและอัญเชิญพระบรมรูป ขึ้นประดิษฐาน

ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เมื่อเวลา ๑๐.๐๐ น. คุณหญิงณฐนนท ทวี

สิน ปลัดกรุงเทพมหานคร

ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากโรงปั้นหล่อ กลุ่มประติมากรรมและช่างปั้นปูน

สำนักช่างสิบหมู่กรมศิลปากร ถนนพุทธมณฑลสาย ๕ จังหวัดนครปฐม มายังอาคารพระบรม

ราชานุสาวรีย์ บริเวณเชิงสะพานพระราม ๘ ฝั่งธนบุรี เขตบางพลัด

ต่อมาในช่วงบ่าย เมื่อเวลา ๑๖.๓๙ น. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการ

กรุงเทพมหานคร ประกอบพิธีบวงสรวง และอัญเชิญพระบรมรูปขึ้นประดิษฐาน

บนแท่น ณ อาคารพระบรมราชานุสาวรีย์

The ceremony of paying homage and elevating the statue of King Ananda Mahidol to stand on the pedestal On December 21, 2005, at 10.00 hrs., Khun-Ying Nathanon Thavisin, the Permanent Secretary for BMA, presided over the ceremony of moving the statue from the moulding factory of the Sculpture Unit, Traditional Arts Division, the Fine Arts Department on Buddha Monthon 5 Road, Nakhon Pathom, to King Ananda Mahidol Royal Monument Building near the foot of Rama VIII Bridge in Bangkok’s Bang Phlat District on the Thon Buri side of the Chao Phraya River. At 16.39 hrs., Mr. Apirak Kosayodhin, Governor of Bangkok, presided over the ceremony of paying homage and elevating the statue to stand on the pedestal at the top of King Ananda Mahidol Royal Monument Building.

116 117

Page 16: พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8 (2)

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระอัฐม รามาธิบดินทร ที่ประดิษฐาน ณ เชิงสะพานพระราม ๘ ถือได้ว่าเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ได้มีการปั้นหล่อขึ้นมา เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ซึ่งเป็นศรีสง่าแก่พระนคร และเป็นพระบรมราชานุสรณ์เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยอย่างประมาณมิได้ The metal statue of King Ananda Mahidol at the foot of Rama VIII Bridge is the largest of its kind. The new monument will magnificently grace the capital and will become an enduring testament to the Thai people’s fathomless appreciation of the King’s benevolence.

119