รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

20
>> อ่านต่อหน้า ๘ พบกับเรื่องราวดีดี..ที่นี่..เดือนละครั้ง หนังสือพิมพ์เพื่อชาวนครศรีธรรมราช http://www.nakhonforum.com ราคา ๒๐ บาท ปีท่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗ ¹¤Ã´Í¹¾ÃР˹éÒ ò ¹¾.ºÑญªÒ ¾§Éì¾Ò¹Ôª àÃ×èͧ´Õ´Õ·ÕèàÁ×ͧ¹¤Ã ˹éÒ ó ¨ÓÅͧ ½Ñ觪ŨԵà ชว¹¤ิ´ ชว¹¤ุย ˹éÒ ๔ สุธÃÃม ªยѹµìเกียÃµÔ àÅèÒàÃ× èͧàÁ×ͧà¡èÒ Ë¹éÒ ๙ ¼È.©ÑµÃªÑย ÈุกÃÐกÒญ¨¹ì แ¹ว·Ò§¡ÒÃÍÍ¡แบบภูÁิ·ัศ¹์ วั´¾ÃÐÁËÒธÒตุสูèÁô¡โÅ¡ ˹éÒ ๑๐ ส�Ò¹ÑกวÔªÒสถÒปѵยกÃÃมÈÒสµÃì แÅÐ กÒÃÍÍกแºº ม.วÅÑยÅÑกÉณì à·ÕèยวàÁ×ͧÁô¡โÅ¡ ˹éÒ ๑๐ โกแÍ๊ด ¤วÒÁ¤×บ˹éÒ¾ÃÐธÒตุสูèÁô¡โÅ¡ ˹éÒ ๑๑ ¼È.©ÑµÃªÑย ÈุกÃÐกÒญ¨¹ì Ãั¡สุขภÒ¾ ˹éÒ ๑ò ¹¾.ÍÃÃถกà วุฒÔมÒ¹¾ ÁุÁÁͧÃั¡ษ์บéÒ¹Ãั¡ษ์àÁ×ͧ ˹éÒ ๑ó สุเมธ Ãุ¨ÔวณÔªยìกุÅ ·èͧà·Õ èยวàÁ×ͧ¹¤Ã ˹éÒ ๑๖ ทÒÃìซÒ¹ºÍย ÁͧàÁ×ͧ¤Í¹ผèÒ¹àŹส์ ˹éÒ ๑๗ ¹¾.ÃѧสÔµ ทͧสมÑคÃì เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ นาย จอม กิจวิบูลย์ ประธาน ผู้จัดการ ช่าง และครูสอนขี่ม้า ชมรมกีฬาขี่ม้า นครศรีธรรมราช เปิดเผยกับ ‘รักบ้านเกิด’ เกี่ยวกับการ ด�าเนินการชมรมและการ ขยายตัวของกีฬาขี่ม้าใน จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่า นับตั้งแต่ตนเองเข้า มาบริหารชมรมเมื่อ ปี ๒๕๔๔ หลังได้รับ การทาบทามให้มาฝึก นักกีฬา สมศักดิ์ อดิเทพวรพันธุ ์ บุคคลที่มีบทบาทด้านการค้าและสังคมของจังหวัด นครศรีธรรมราช ถึงแก่กรรมเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ ท่ามกลาง ความโศกเศร้าของครอบครัวและมวลมิตร สมศักดิ์ อดิเทพวรพันธุ ์ เป็นบุตรของนายอึ่งค ่ายถ่าย และนางจวน เกิดเมื่อวันที๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ มีพี่น้องร ่วมบิดา - มารดา ๕ คน ได้แก่ สมศักดิ์ อดิ- เทพวรพันธุ์, วรศักดิ์ อดิเทพวรพันธุ ์, ด.ญ.ขจี อดิเทพวรพันธุ์ (ถึงแก่กรรม), ก่อศักดิอดิเทพวรพันธุ์ และ ฤดี เลติกุล รายงาน เชาว์ ประยูรธ�ารงนิติ นายกสมาคมพาณิชย์จีน นครศรีธรรมราช ประธานชมรมขี่ม้านครฯ เผยกีฬาขี่ม้าก�าลังเติบโต เป็นศูนย์ฝึก นศ.สัตวแพทย์ ศูนย์รักษาม้าภาคใต้ เป็น สนามฝึกขี่ มีสมาชิกมากกว่า ๒๐๐ คน คนรักม้าผุดฟาร์ม-คอกเพิ่ม

Upload: aree-muthukan

Post on 06-Apr-2016

228 views

Category:

Documents


6 download

DESCRIPTION

รักบ้านเกิดนครศรีธรรมราช ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557 พบกับเรื่องราวดีดี..ที่นี่..เดือนละครั้ง หนังสือพิมพ์เพื่อชาวนครศรีธรรมราช http://www.nakhonforum.com

TRANSCRIPT

Page 1: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

>> อ่านต่อหน้า ๘

พบกับเร่ืองราวดีดี..ที่นี่..เดือนละครั้ง หนังสือพิมพ์เพื่อชาวนครศรีธรรมราช http://www.nakhonforum.com ราคา ๒๐ บาท

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗

¹¤Ã´Í¹¾ÃР˹éÒ ò¹¾.ºÑ­ญªÒ­¾§Éì¾Ò¹ÔªàÃ×èͧ´Õ´Õ·ÕèàÁ×ͧ¹¤Ã ˹éÒ ó¨ÓÅͧ­½Ñ觪ŨԵÃชว¹¤ิ´ชว¹¤ุย ˹éÒ ๔สุธÃÃม­ªยѹµìเกียõÔàÅèÒàÃ×èͧàÁ×ͧà¡èÒ Ë¹éÒ ๙¼È.©ÑµÃªÑย­ÈุกÃÐกÒ­ญ¨¹ìแ¹ว·Ò§¡ÒÃÍÍ¡แบบภูÁิ·ัศ¹์วั´¾ÃÐÁËÒธÒตุสูèÁô¡โÅ¡ ˹éÒ๑๐ส�Ò¹ÑกวÔªÒสถÒปѵยกÃÃมÈÒสµÃì­แÅÐกÒÃÍÍกแºº­ม.วÅÑยÅÑกÉณìà·ÕèยวàÁ×ͧÁô¡โÅ¡ ˹éÒ๑๐โกแÍ๊ด¤วÒÁ¤×บ˹éÒ¾ÃÐธÒตุสูèÁô¡โÅ¡ ˹éÒ๑๑¼È.©ÑµÃªÑย­ÈุกÃÐกÒ­ญ¨¹ì­Ãั¡สุขภÒ¾ ˹éÒ๑ò¹¾.ÍÃÃถกíวุฒÔมÒ¹¾ÁุÁÁͧÃั¡ษ์บéÒ¹Ãั¡ษ์àÁ×ͧ ˹éÒ๑óสุเมธ­Ãุ¨ÔวณÔªยìกุÅ·èͧà·ÕèยวàÁ×ͧ¹¤Ã ˹éÒ๑๖ทÒÃìซÒ¹ºÍยÁͧàÁ×ͧ¤Í¹ผèÒ¹àŹส์ ˹éÒ๑๗¹¾.ÃѧสÔµ­ทͧสมÑคÃì

เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ นาย

จอม กิจวิบูลย์ ประธาน ผู้จัดการ ช่าง

และครูสอนขี่ม ้ า ชมรมกีฬาขี่ม ้ า

นครศรีธรรมราช เปิดเผยกับ

‘รักบ้านเกิด’ เกี่ยวกับการ

ด�าเนินการชมรมและการ

ขยายตัวของกีฬาขี่ม้าใน

จังหวัดนครศรีธรรมราช

ว่า นับต้ังแต่ตนเองเข้า

มาบริ หารชมรม เมื่ อ

ป ี ๒๕๔๔ หลังได ้รับ

การทาบทามให้มาฝึก

นักกีฬา

สมศักดิ์ อดิเทพวรพันธุ์ บุคคลที่มีบทบาทด้านการค้าและสังคมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ถึงแก่กรรมเม่ือวันจันทร์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ ท่ามกลาง ความโศกเศร้าของครอบครัวและมวลมิตร

สมศักดิ์ อดิเทพวรพันธุ ์ เป็นบุตรของนายอึ่งค่ายถ่าย และนางจวน เกิดเมื่อวันที่

๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ มีพ่ีน้องร่วมบิดา - มารดา ๕ คน ได้แก่ สมศักดิ์ อดิ-

เทพวรพันธุ ์, วรศักดิ์ อดิเทพวรพันธุ ์, ด.ญ.ขจี อดิเทพวรพันธุ ์ (ถึงแก่กรรม), ก่อศักด์ิ

อดิเทพวรพันธุ์ และ ฤดี เลติกุลรายงาน

เชาว์ ประยูรธ�ารงนิตินายกสมาคมพาณิชย์จีน นครศรีธรรมราช

ประธานชมรมขี่ม้านครฯ เผยกีฬาขี่ม้าก�าลังเติบโต

เป็นศูนย์ฝึก นศ.สัตวแพทย์ ศูนย์รักษาม้าภาคใต้ เป็น

สนามฝึกขี่ มีสมาชิกมากกว่า ๒๐๐ คน

คนรักม้าผุดฟาร์ม-คอกเพิ่ม

Page 2: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชหน้า ๒ ปีท่ี ๔ ฉบับท่ี ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

>> อ่านต่อหน้า ๑๙

กรณีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน

๒๕๕๗ แม้ต�ารวจสามารถจับกุมชาวพม่า ๒ คน พร้อมหลักฐานมัดตัวว่าเป็นฆาตกรตัวจริง แต่ผู้สนใจคดีนี้กลับไม่เชื่อถือ ต่อมาผู้ต้องหากลับค�าสารภาพ และเปิดเผยว่าถูกซ้อมให้รับสารภาพ ความเชื่อถือต่อต�ารวจไทยลดลง

เนื่องจากเป็นการฆาตกรรมชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวอังกฤษซึ่งเกิดในยุคเทคโนโลยีออนไลน์ก้าวหน้า ปรากฏว่ามี ‘นักสืบไซเบอร์’ ท�าหน้าที่สืบสวนและวิเคราะห์คู่ขนานไปกับต�ารวจ ช่วยเพิ่มมุมมองเก่ียวกับคดีให้กว้างขึ้น บางครั้งสวนทางกับต�ารวจ แม้ไม่สามารถเปลี่ยนแนวทางสืบสวนสอบสวน แต่กลับสร้างข้อกังขาแก่ผู้ติดตามความคืบหน้าของคดีอย่างกว้างขวาง

พลต�ารวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการต�ารวจแห่งชาติ แถลงข่าวสรุปคดีพร้อมด้วยคณะท�างานสืบสวนสอบสวนท่ามกลางความสนใจของสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศ ต่อมามีผู้ซักถามว่าท�าไมไม่ให้สถาบันอื่นๆ เช่น สถาบันนิติวิทยาศาสตร์มาร่วมสอบสวนสืบสวน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี กรณีน้ีย่ิงสร้างความเคลือบแคลงต�ารวจเพิ่มขึ้น ความโปร่งใสในการท�าคดีถูกสงสัย

คดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวที่เกาะเต่า ทีแรกเกี่ยวโยงด้านความสัมพันธ์กับอังกฤษประเทศเดียว เมื่อต�ารวจจับกุมผู ้ต้องหาชาวพม่า ความสัมพันธ์ขยายเป็นสองประเทศ ทั้งอังกฤษและพม่าต้องการให้การตัดสินเป็นธรรม หากมีข ้อผิดพลาดจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของไทยกับสองประเทศแน่นอน ประชาชนต้องการเห็นต�ารวจท�าคดีนี้อย่างซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม เพราะไม่ต้องการเอาอนาคตของประเทศเป็นเครื่องไถ ่บาปให้ฆาตกร ๒-๓ คนลอยนวล

อยู่เต็มมือจึงช่วยอะไรไม่ได้เลย แต่ได้ลงไปร่วมงานด้วยความชื่นชมหลายประการ

เริ่มจากการออกไปใส่บาตรพระลากที่สองวัดข้างบ้าน คือวัดศรีทวี กับ วัดจันทารามที่ไม่มีเรือและการลากพระมานานมากแล้ว โดยพระลากที่วัดจันทารามทั้ง ๕ องค์นั้นถือว่างดงามที่สุดในเมืองนคร ไม่ว่าจะเป็นองค์พระ เครื่องประกอบ ตลอดจนสิ่งตกแต่งต่างๆ โดยในวัดจันนั้นเอง มีคนบอกว่าให้แวะไปที่วัด เพชรจริก เพราะคนมากที่สุด มีงานใหญ่มาตั้งแต่เม่ือคืนแล้ว

เมื่อถึงที่หน้าวัดเพชรจริกนั้น ขบวนลากพระก็ออกจากประตูวัดด้วยขบวนคนลากหลายร้อยคน เรือพระเป็นแบบโบราณดั้งเดิม คือล้อไม้ ต้องใช้แรงและคนช่วยลากและคัดทิศทางหลายคน ประกอบกับทางวัดจัดเป็นงานฉลองใหญ่ข้ามคืน มีการออกร้านและงานร่ืนเริงสมโภชพระลากท่ีได้ช่ือว่า “พระเจ้าล้านทอง” อย่างเต็มที่ คนจึงมาก น่าเป็นกรณีศึกษาในการพัฒนายกระดับต่อโดยเฉพาะประเพณีการตีโพนคุมพระที่แต่ก่อนจะท�ากันทุกวัดในลักษณะการชวนชาวบ้านรอบวัดมาช่วยกันตระเตรียมต่างๆ

คร้ันเม่ือวกกลับมาผ่านวัดพระธาตุ เห็นเรือพระของวัด

พระนครที่น�ำมำจอดในลำนพระธำตุประกอบกำรตักบำตรเทโวตรงหน้ำมณฑปพระพุทธบำท ได้ลงไปนมัสกำร ชอบใจที่ท�ำเป็นฉำกเสด็จลงจำกดำวดึงส์ด้วยบันไดทอง แก้ว และ นำคอย่ำงเหมำะเจำะลงตัว ในขณะที่ได้เห็นพระท่ำนลงไม้ลงมืออย่ำงน่ำนิยมไม่น้อย ที่วัดสวนป่ำน เช่นเดียวกับกำรลำกเรือพระวัดพระนครด้วย ทั้งน้ีที่ตลำดแขกได้ผ่ำนพบขบวนลำกเรือพระที่น่ำสนใจถึง

ก่อนออกพรรษาปีนี้ไม่กี่วัน ผมได้รับโทรศัพท์จากอาจารย์สุชาติ ทองบุญยัง แห่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

บอกว่าตามท่ีเคยแสดงข้อคิดความเห็นให้พัฒนายกระดับงานลากพระเมืองนครไว้หลายประการนั้น ปีนี้ อบจ.กับเทศบาลนครฯ จะร่วมกันจัดงานลากพระที่สวนศรีธรรมาโศกราช อยากได้ข้อแนะน�า บทความและช่วยจัดบรรยากาศโดยในขณะนั้นผมมีหลายกิจ

คนเมือง ที่อดีต สส.นริศา อดิเทพวรพันธุ์ ยกพวกมาช่วยสร้างท�าถวายวัดพระลานแล้วชวนกันลากเกือบรอบเมือง ชวนนึกถึงที่ผมเคยชวนญาติมิตรสร้างท�าล�าลองของวัดจันฯแล้วลากไปชุมนุมที่โรงเรียนเบญจมฯมาครั้งหน่ึงแล้วเมื่อหลายสิบปีก่อน

ส�าหรับการชุมนุมเรือพระ หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ชุมนุมนมพระ” ซึ่งกร่อนมาจาก “พนมพระ” ในปีน้ีน้ันมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลังจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศผู้รับเป็นเจ้าภาพต่อเน่ืองมาหลายสิบปีได้ประกาศยกเลิกและมี อบจ.กับเทศบาลนครลุกขึ้นมารับไม้แทนที่สวนศรีธรรมาโศกราช และมี อบต.ท่างิ้ว รับเป็นเจ้าภาพร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ จัดขึ้นที่หน้าเขามหาชัย โดยที่ราชภัฏมีเรือพระมาชุมนุมเกือบ ๒๐ ล�า น้อยกว่าที่ในเมืองที่มีเกือบ ๔๐ ล�า ส่วนที่อื่นๆ เช่นที่อ�าเภอพระพรหมซึ่งจัดมาหลายปี

พระลากวัดจันทาราม

เรือพระวัดเพชรจริก

๓ แบบ คือแบบสนุกสนาน แบบประเพณีนิยม และ แบบ

น้ันไม่ทราบว่าจ�านวนเท่าไหร่ ทราบแต่ที่ปากพนังว่ามีร่วมร้อยล�า เฉพาะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ สวนศรีธรรมโศกที่ผมได้แวะไปนั้น นอกจากบรรยากาศดีและมีผู้คนมากมายแล้ว ผมเห็นว่าจังหวะนี้น่าจะได้เวลายกระดับพัฒนาขยายผลแล้ว โดยมีข้อสังเกตเสนอบางประการดังน้ี

๑) การสนับสนุนส่งเสริมประเพณีการตีโพนคุมพระ การฉลองสมโภช ตกแต่งเตรียมการและตักบาตรเทโวหรือตักบาตรหน้าล้อในทุกวัด เน่ืองในวันออกพรรษา

๒) การสนับสนุนส่งเสริมการอนุรักษ์ พิทักษ์รักษา สร้างท�า ถวายพระลาก พร้อมกับเครื่องประกอบต่างๆ อาทิเครื่องสูงและเครื่องทรงแก่วัดต่างๆ อย่างเหมาะสม ทั้งนี้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการตกแต่งองค์พระลากที่เป็นสิ่ง

เรือพระวัดพระนคร ที่ลานพระบรมธาตุเจดีย์

พระภิกษุกับเรือพระวัดสวนป่าน และ วัดพระนคร

Page 3: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ หน้า ๓

จ�าลอง ฝั่งชลจิตร

วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ชาว

บ ้านควนชะลิก อ� า เภอหัวไทร

จังหวัดนครศรีธรรมราช จะท�าพิธีเปิด

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชควนชะลิก ถือ

เป็นเรื่องดีดีที่น่ากล่าวถึง

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวง

วัฒนธรรมก�าหนดจัดต้ังศูนย ์ วัฒนธรรมเฉลิมราช

ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต ้ เพื่อเป ็นการ

เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว เนื่อง

ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมายุครบ ๘๔

พรรษา โดยจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมเป็นศูนย์อนุรักษ์

พัฒนาและเป็นแหล่งรวบรวมมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น

และเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู ้วัฒนธรรมท้องถิ่น

ด้วยการบูรณาการร่วมกับส�านักงานวัฒนธรรมจังหวัด

และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในท้องถ่ิน

ควนชะลิกเป็นชื่อหมู ่บ้านบนเนินริมป่าพรุควน

เคร็งค�าว่า ‘ชะลิก’ หมายถึงควนที่มีน�้าล้อมรอบ แรกๆ

เรียก ‘ควนลึก’ แล้วกร่อนเป็น ‘ควนลิก’ อีกกระแสมา

จาก ‘ชล’ แปลว่าน�้า นานๆ ไปกลายเป็น ‘ชะลิก’ ชาว

บ้านรุ ่นแรกๆ อาจเรียก ‘ควนชลลึก’ จนเปลี่ยนเป็น

ควนชะลิกในที่สุด

คนกลุ่มแรกที่มาต้ังถ่ินฐานล่องเรือมาจากสทิงพระ

แล้วหักร้างถางป่าปลูกบ้านบนควน ชวนกันถางป่าปลูก

ข้าวที่นาค่อยๆ ขยายเพิ่มขึ้น เมื่อเห็นว่าควนนี้อยู ่ได้

ท�านาได้ผลก็ชักชวนญาติพี่น้องมาอาศัยขยายพื้นที่ไป

เรื่อยๆ

ชาวควนชะลิกส่วนใหญ่อยู ่ในสายสกุล ‘แก้ว’

เช่น แก่นแก้ว เกิดแก้ว เกตุแก้ว เกราะแก้ว แก้วเกลี้ยง

แก้วจันทร์ แก้วบริสุทธิ์ แก้วพัว แก้วมี แก้วมณี แก้ว

เนียม แก้วน้อย แก้วยวน แก้วรุย ขาวแก้ว หรือ เอียด

แก้ว เป็นต้น

นอกจากท�านา ชาวบ้านยังหาปลาเป็นอาชีพ

บริเวณนี้เคยมีช้างแคระ (ช้างแกลบ ช้างแดงหรือช้างหร้า

ก็เรียก) เป็นช้างตัวเล็ก หาอยู่หากินในป่าพรุ ปัจจุบัน

ไม่มีเหลือแล้ว เพราะถูกล่า หรือระบบนิเวศเปลี่ยนจน

ไม่อาจด�ารงชีวิตอยู่ได้

วัดควนชะลิกสร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๒๓ ได ้

รับวิสุงคามสีมาปีพุทธศักราช ๒๑๔๓ ถือเป็นวัดเก่าแก่

วัดหน่ึง มีอุโบสถ วิหาร หอไตรเก็บพระไตรปิฎก เจดีย์

และรอยพระพุทธบาทจ�าลอง ที่ชาวบ้านเคารพศรัทธา

ชาวบ้านประกอบประเพณีท�าขวัญข้าวหรือ ‘ชา

ขวัญข้าว’ ทุกเดือนเมษายน เพ่ือแสดงความเคารพต่อ

แม่โพสพ สมัยก่อนมีหมอท�าขวัญ แต่เดี๋ยวน้ีขาดหมอ

ท�าขวัญ เหลือแต่พิธีสมโภชข้าวขวัญ กระน้ันชุมชน

ยังอนุรักษ์ประเพณีชาขวัญข้าวไว้ ด้วยเหตุส�าคัญ ๔

ประการ ได้แก่ การอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่นที่เป็นบท

ท�าขวัญข้าว ซึ่งไม่ได้ถูกใช้ ให้กลับมามีบทบาทต่อไป,

ได้อนุรักษ์ศิลปินพื้นบ้าน คือ เพลงบอก ได้มีเวทีส�าหรับ

ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ความสามารถ ความรู้สึกนึกคิด

ให้คนทั่วไปได้รับรู้, ได้ให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียน

รู้พิธีกรรมการท�าขวัญข้าว และเข้าใจถึงระบบข้าวในอดีต

และได้รักษาฟื ้นฟูประเพณีดั้งเดิมที่เป็นรากเหง้าทาง

วัฒนธรรมของวิถีชีวิตชาวนา

ควนชะลิกมีระบบประปาหมู ่บ ้านโดยต่อน�้าใส

สะอาดจากควน มีระบบชลประทานเชื่อมต่อจากอ�าเภอ

ระโนด จังหวัดสงขลา ปี ๒๕๒๖ ครูอรุณ แป้นคง

โรงเรียนวัดโคกสูง น�าก่อตั้งสหกรณ์ร้านค้าควนชะลิก

เรื่องน่าสนใจคือการก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมควน-

ชะลิก โดยนายชุมแก้ว รุยแก้ว ผู้อ�านวยการโรงเรียน

วัดควนชะลิก กับคณะครู ผู้น�าท้องถิ่น คณะศิษย์เก่า

ได้ริเร่ิมจัดสร้างอาคารห้องสมุดชุมชน โดยมีเจตนา

ให้นักเรียนและผู้ปกครอง บุคคลทั่วไปได้ใช้ห้องสมุด

เพื่อการเรียนรู้ ช่วงรัฐบาลจัดให้มีโครงการกองทุนเพื่อ

สังคม (SIF) และมอบให้ธนาคารออมสินเป็นหน่วยงาน

รับผิดชอบ เปิดโอกาสให้กลุ่มองค์กรที่เข้มแข็งเขียน

โครงการของบประมาณสนับสนุน นายชุมแก้ว รุยแก้ว

และคณะใช้กลุ่มสหกรณ์ร้านค้าเป็นผู้ส่งโครงการสร้าง

ศูนย์วัฒนธรรมและห้องสมุดชุมชน โครงการได้รับการ

อนุมัติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ ก่อสร้างอาคารเสร็จเมื่อปี

๒๕๔๕ โดยชุมชนด�าเนินการก่อสร้างเอง

ต่อมาเปล่ียนชื่อเป็น โครงการวัฒนธรรมไทย

สายใยชุมชนต�าบลควนชะลิก ผ่านการประเมินเป็น

โครงการดีเด่นระดับจังหวัด (ระดับ ๓) ปี ๒๕๕๓ และ

ผ่านการประเมินเป็นโครงการดีเด่นระดับภาค (ระดับ

๔) ปี ๒๕๕๕ สมัครเข้าร่วมพัฒนาเป็นศูนย์วัฒนธรรม

เฉลิมราช ได ้รับงบฯจากกรมส ่งเสริมวัฒนธรรม

๑๕๘,๐๐๐ บาท ปี ๒๕๕๖ ได้รับงบฯ เพื่อพัฒนาศูนย์

วัฒนธรรมเฉลิมราช ๑๕๐,๐๐๐ บาท ปี ๒๕๕๗ ได้รับ

เพิ่มอีก ๑ ล้านบาท

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชควนชะลิกเป็นศูนย์

วัฒนธรรมชุมชนที่เข้มแข็งสมบูรณ์ และน่าภาคภูมิ

ใจยิ่ง

เป็นแหล่งขายสินค้าชาวบ้าน สิ้นปีมีเงิน

ปันผลให้สมาชิก ปัจจุบันเปล่ียนเป็น‘ศูนย์

สาธิตร้านค้าควนชะลิก’ บริหารจัดการในรูป

คณะกรรมการ

Page 4: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชหน้า ๔ ปีท่ี ๔ ฉบับท่ี ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

โดย : นครา

[email protected]

หนังสือพิมพ์รักบ้านเกิด ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗ น�ำเสนอเรื่องรำวของบ้ำนเกิด ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนำคต พร้อมสำระน่ำรู้มำกมำย

ฉบับน้ีชวนอ่ำนสัมภำษณ์ เชาว์ ประยูรธ�ารงนิติ นำยกสมำคมพำณิชย์จีนเมืองนครคนที่ ๓๗ พร้อมรำยงำน ‘อาลัยสมศักดิ์’ พ่อค้ำเชื้อสำยจีนคนส�ำคัญ และเรื่องรำวในแวดวงขี่ม้ำเมืองนคร ชำวนครจ�ำนวน

สวามิภักดิ์กับพระเชษฐาธิราช ออกหลวงมงคลไม่ยินยอม สุดท้ายก็ยอมถูกประหารไปพร้อมกับพระศรี-ศิลป์กษัตริย์ที่ตนรักและภักดี

ล่วงเข้าประมาณปี พ.ศ.๒๑๗๑ เจ้าพระยาศรีวร- วงศ์คิดการใหญ่บุกเข้าปล้นพระราชวังแล้วจับพระเชษฐาธิราชปลงพระชนม์เสีย แล้วยกพระอาทิตย์วงศ ์วัย ๑๐ พรรษาพระราชอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์แทน พระ อาทิตย์วงศ์เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์ตั้งแต่เยาว์วัย มีความผูกพันกับยามาดะเป็นอย่างมาก และยามาดะก็มีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์น้อยพระองค์น้ีอย่างมากด้วย ด้วยเหตุนี้พระยาศรีวรวงศ์เกรงว่ายามาดะจะมีอ�านาจยิ่งใหญ่กว่าตน จึงใช้กุศโลบายแต่งตั้งให้ยามาดะซึ่งขณะน้ันมีต�าแหน่งเป็นออกญาเสนาภิมุขแล้วไปเป็นเจ้าเมืองนคร โดยอ้างเหตุว่าเจ้าเมืองนครเป็นกบฏ เมื่อยามาดะเดินทางมานครศรีธรรมราช เจ้าพระยาศรีวรวงศ์ก็ปลงพระชนม์พระอาทิตย์วงศ์ แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ ได้ปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์องค์ที่ ๒๔ แห่งกรุงศรีอยุธยา

ยามาดะเดินทางมาเป็นเจ้าเมืองนครเหมือนกับส่งมาตาย เพราะการกล่าวหาว่าเจ้าเมืองนครเป็นกบฏจากอยุธยาแล้ว ยังเป็นเรื่องที่ยามาดะหลอกฆ่าเพื่อนคือขุนศึกออกหลวงมงคล ซึ่งเป็นขุนศึกชาวนครอีก จึงเกิดแรงต้านกันทั้งเมือง ท�าการใดหาคนร่วมมือด้วยภักดียาก ประกอบลูกชายของยามาดะ ช่ือ โออิน ซึ่งมีแม่เป็นคนไทย เมื่อพ่อได้เป็นเจ้าเมืองลูกจึงเหลิงในอ�านาจ จับลูกสาวชาวบ้านระรานไปทั่วเมือง จนมีบทร้องเรือที่มีมาจนถึงปัจจุบันว่า..

ชาวญี่ปุ่นด้วยกันเอง ประธานยศเป็นขุนไชยสุนทร ทั้งยังโปรดให้พ่อค้าเรือส�าเภาญ่ีปุ่นมาค้าขายมากขึ้นเพื่อมีพระราชไมตรีต่อกัน

การเดินทางกลับของคณะฑูตไทยครั้งนั้น มีซามูไรน้อยผู้หนึ่งซึ่งเป็นคนหามเกี้ยวของโชกุนขอเดินทางมากับคณะฑูตด้วย ทั้งยังเป็นการมาแสวงโชคจากต่างแดนด้วย ซามูไรยามาดะเป็นคนขยันขันแข็งจนได้รับราชการในกรมอาสาญี่ปุ่น จนได้เป็น เจ้ากรมอาสาญี่ปุ่นในที่สุด

ครั้นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต ได้เกิดความวุ่นวายแย่งชิงราชสมบัติกัน ระหว่างสมเด็จพระเชษฐา-ธิราชกับพระศรีศิลป์ โดยมีพระยาศรีวรวงศ์ ออกญากลาโหมในขณะนั้นสนับสนุนข้างสมเด็จพระเชษฐาธิราช และได้สั่งให้ยามาดะไปจับตัวพระศรีศิลป์ซึ่งทรงผนวชอยู่ น�าไปขังไว้ในบ่อลึกที่เมืองเพชรบุรี เพื่อหวังให้อดอาหารตาย แต่การครั้งนั้นไม่ประสบผลส�าเร็จเนื่องจากขุนศึกชาวนครศรีธรรมราชซึ่งมารับราชการอยู่ที่อยุธยาได้เสี่ยงชีวิตเข้าไปช่วยพระศรีศิลป์ นั่นคือ ‘ออกหลวงมงคล’ ซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระศรีศิลป์ ด้วยการขุดอุโมงค์ใต้ดินเข้าไปช่วยเหลือพระศรีศิลป์ออกมาได้ แล้วน�าไปรักษาตัวที่วัดแห่งหนึ่ง หลังจากน้ันออกหลวงมงคลได้ระดมคนที่สวามิภักดิ์ได้ ๒ หมื่นกว่าคน แล้วประกาศสถาปนาพระศรีศิลป์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา องค์ที่ ๒๑

หลังจากพระศรีศิลป์ได ้เป ็นกษัตริย ์แล้ว พระ เชษฐาธิราชผู้เป็นหลานก็ยังวางแผนซ่องสุมก�าลังโดยอาศัยยามาดะซึ่งเป็นเพื่อนรักกับออกหลวงมงคล โดยไปจับลูกเมียของออกหลวงมงคลเป็นตัวประกัน ออกหลวงมงคลจึงยอมให้จับตัว แล้วน�ามาเกลี้ยกล่อมให้ >> อ่านต่อหน้า ๑๔

สงบ เพราะพระบรมธาตุเจดีย์ทรงลังกาน้ีอยู่มา ๘๐๐ ปี ใช ่ว ่าไม่เคยมีปัญหา มีการบูรณะซ่อมแซมมาตลอด นับแต่สมเด็จพระเอกาทศรถ (ปี ๒๑๕๕ กับ ๒๑๕๙) มีการซ่อมแผ่นทอง สมัยพระเจ ้าปราสาททองพระธาตุช�ารุดหัก สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน สมัยรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๕ รัชกาล ที่ ๖ และรัชกาลที่ ๙ ก็บูรณะมาหลายหน...ถาม เอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร

ยามาดะ นางามาซะ เป็นชาวญ่ีปุ่นได้เดินทางเข้ามารับราชการในกรุงศรีอยุธยาสมัยพระเจ้าทรงธรรม

สมัยนั้นอยุธยามีสัมพันธ์อันดีกับญี่ปุ ่นมาก จนถึงขั้นส่งคณะฑูตจ�านวน ๖๐ คนไปเมืองเอโดะ ในช่วง พ.ศ. ๒๑๖๔ ดังมีพระราชสาส์นโดยสรุปว่า อยุธยาได้ดูแลเอาใจใส่ชาวญี่ปุ่น ดังราษฎรของอยุธยาเอง โดยมีการจัดตั้งหมู่บ้านและแต่งตั้งชาวญี่ปุ่นเป็นนายอ�าเภอดูแล

หนึ่งมีความห่วงใยจนเกิดทุกข์ กรณีปลียอดทองค�าพระบรมธาตุเจดีย ์มีสนิมจับ ถามว่าชาวนครควรร้องแรกแหกกระเฌอให้ผู ้ เกี่ยวข ้องรีบแก้ไข เพราะองค์พระบรมธาตุฯ ทา สีขาวคราบสนิมมองเห็นเด่นชัดขึ้น ดูแล้วน่าอายไม่สวยไม่งาม หรือควรวางตัววางใจให้

วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ รองผู ้ว่าฯ ศิริพัฒ พัฒกุล เป ็นประธานพิธีสวดพระพุทธมนต์และสวดอภิธรรมครบ ๑ ปี แห่งการสิ้นพระชนม์สมเด็จพระญาณ-สังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ (๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗) มีพระเทพวินยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุฯ รองเจ้าคณะภาค ๑๖-๑๗-๑๘ (ธ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ณ วิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จังหวัดนครฯ

ผู้ว่าฯ พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ออกทีวีช่อง ๑๑ พูดคุยกับประชาชนทางรายการ ‘เช้าน้ีท่ีเมืองนคร’ บอกพร้อมเดินหน้าท�างานเพื่อความอยู ่ดีกินดีของชาวนคร โดยจะต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทางการ

สุธรรม ชยันต์เกียรติ

Page 5: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ หน้า ๕

เกษียณอายุในต�าแหน่งนายอ�าเภอควนกาหลง จ.สตูล จารุมัย นพรัตน์ ได้รับการว่าจ้างให้ท�างานต่อตามระเบียบราชการรับเงินเดือนไม่เกินที่รับครั้งสุดท้าย ตอนน้ีช่วยงานอยู่ท่ีห้องผู้ว่าฯ พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า

เกษตรในพื้นที่ และน�ำจุดแข็งด้ำนอำหำรสู ่ศูนย์กลำงเมืองแห่งกำรท่องเที่ยว ส่วนเรื่องถูกขึ้นป้ำยต่อต้ำนเป็นควำมเข้ำใจที่ไม่ตรงกันของบำงฝ่ำย งำนแรกของผู้ว่ำฯ พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า คือเปิดถนนจักรยำนแห่งแรกของจังหวัด และโครงกำร ‘นครเมืองปั่น’ เอำถนนคู่ขนำนกับทำงรถไฟ ระหว่ำง ต.โพธิ์เสด็จ อ.เมือง - ต.นำพรุ อ.พระพรหม (ถนน อบจ.) ระยะทำงร่วม ๕ กม. เพื่อส่งเสริมสุขภำพของประชำชน และประหยัดพลังงำน พูดกันตรงๆ ‘รักบ้ำนเกิด’ ยังกังวลเรื่องควำมปลอดภัยของนักปั่น

ยังเดินหน้าสานสัมพันธ์กับเยาวชนอย่างต่อเนื่อง วันที่ ๒๕ ตุลาคม ดร.โจ กณพ เกตุชาติ พาผู้น�าเยาวชนที่เคยเข้าค่ายไปร่วมพัฒนาวัดประดู่ วัดศาลามีชัย สุเหร่าสวนพร้าวและป่าขอม ช่วยสอนการบ้านเด็กหลายชุมชน

เวลา ๐๗.๐๒ น. เกิดแผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลางอยู่เหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซ่ึงอยู่ทางทิศใต้ของเกาะภูเก็ตประมาณ ๒๕๖ กม. ใกล้ครบ ๑๐ ปีสึนามิอันดามัน..มีพี่น้องลูกหลานอยู่ฝั่งตะวันตกโปรดเตือนให้ระวัง ฉาย รุ่งนิรันดรกุล คหบดีชื่อดังล้มป่วยเข้าโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ ช่วงนี้กลับมาพักฟื้นที่บ้าน..ขอให้หายเป็นปกปกติไวๆ หนังสือพิมพ์นครโพสต์ของ สุรโรจน์ นวลมังสอ ฉลองวาระครบ ๑๐ ปีก่อตั้งโดยนิมนต์พระมาฉันเพลสวดมนต์ และก�าลังก่อตั้งบริษัท ท�าสื่อและที่ปรึกษา พร้อมเสนอรับงานเร็วๆ นี้ วันที่ ๔ พฤศจิกายน ขอเชิญลูกหลานชาวควนชะลิกผู้สนใจร่วมงานเปิดพิพิธภัณฑ์เฉลิมราชควนชะลิก

Jewels Of Nakhon Si Thammarat Diamond & Gold (NST) 1. Naeramit Road (Tawang) Diamond (NST) 2. Robinson 3. Sahathai Plaza (NST) Gold (NST) 4. Ta Ma 5. Hau It 6. Ku Kwang 7. Weekend Market On-line Shop (Worldwide) 8. BOONADA Diamond&Gold Gold (HTY) 9. Chuan Heng Hat Yai

จักรพรรดิ์ ลีเลิศพันธ์ กรรมการผู้จัดการโรงแรมทวินโลตัส มอบเงินจากผู้ร่วมบุญกินเจให้กับโรงพยาบาลมหาราชและบ้านสิชล

วันปิยมหาราช (๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๗) ‘โกจ้องใจดี’ บรรจง ชีวะพันธศักด์ เป็นตัวแทนฮอนด้าศรีนครไปร่วมวางพวงมาลาน้อมร�าลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ณ สนามหน้าเมือง จ.นครฯ

ชาวนครศรีธรรมราชทุกภาคส่วน พร้อมใจเข้าร ่วมประกอบรัฐพิธีเนื่องใน “วันปิยมหาราช” ประจ�าปี ๒๕๕๗ เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมร�าลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณลานพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ สนามหน้าเมือง นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู ้ว ่าราชการจังหวัด เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลา ถวายพวงมาลัยพระกร จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายเป็นราชสักการะ และกล่าวสดุดีเฉลิมพระเกียรติ

จีระ อุ่นเรืองศรี (ร้านหนังสือพิมพ์เล็กๆ ข้างสี่แยกสุเหร่า) ลงมือท�าขนมลูกเต๋าสูตรโบราณจากแม่ปรากฏว่าเพ่ือนพ้องตอบรับอย่างอบอุ่น ยิ่งได้ อุรุดา โควินท์ นักเขียนชื่อดังจาก ‘สกุลไทย’

เป ็นนางแบบกิตติมศักดิ์ ลูกค้าทางไปรษณีย ์เริ่มเข ้า (ดูเฟซบุ๊ค จิระ อุ่นเรืองศรี)

สุเมธ ช้างชนะ (ยืนกลางเสื้อลาย) ปลัดอ�าเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง/หน.ชุดฯ ปฏิบัติหน้าท่ีอย่างเข้มแข็ง ในภาพพร้อมภัทรบุรินทร์ สุกรี ปลัดอ�าเภอด้านป้องกัน/เจ้าพนักงาน ปปส. น�าชุด ฉก ศรีวิชัย อ�าเภอหัวไทร ๑๕ นาย ตรวจค้นจับกุมยาเสพติด พื้นที่ ต.บางนบ อ.หัวไทร จับกุมผู้ต้องหา ๒ คดี ผู้ต้องหา ๒ ราย

Page 6: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชหน้า ๖ ปีท่ี ๔ ฉบับท่ี ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

กับบริการ เขายกตัวอย่างร้านไทยสมบูรณ์ (ซูเปอร์มาร์เก็ต) ถนนพัฒนาการคูขวาง

เชาว์เกิดเมืองจีนที่ซัวเถา ประเทศจีน อายุ ๑๑ ปี ไปเรียนภาษาอังกฤษกับภาษาจีนที่ฮ่องกง อายุ ๑๘ มาอยู ่เมืองไทย “พ่อผมมาเมืองไทยตั้งแต่ผมอายุ ๕ ปี พ่อหนีสงครามญี่ปุ่น พ่อท�าโรงสีที่ชะอวด โรงสีซินเฮงหลี สมัยนั้นใช้เรือ ยังไม่มีรถยนต์ ขึ้นตามแม่น�้าชะอวดไปซ้ือข้าวเปลือกที่เชียรใหญ่ เรือของ โรงสีสีเสร็จส่งไปขายสุไหงโกลก ยะลา สมัยนั้นราวๆ ปี ๒๕๐๐ ผมมาเมืองคอนอายุ ๑๘ มาอยู่ชะอวด ไปเรียนหนังสือที่หาดใหญ่ ผมเข้ามาอยู่ในตัวเมืองตอนอายุ ๒๕ ปี”

หลังโรงสีเลิกกิจการ พ่อของเชาว์มาท�าแพปลาที่ตลาดเย็น ซ้ือปลาส่งกรุงเทพฯ ท�าปลาหวานส่งมาเลเซีย แล้วเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ตอนเชาว์อายุ ๓๐ ปี เขาเปิดร้านของช�าที่สี่แยกตลาดเย็น ๒๐ กว่าปีกว่า “ผมย้ายมาที่ตลาดคูขวางค้าข้าวเต็มรูปแบบ ไม่อยากยุ่งยาก เรามีสองคนผัวเมีย สมัยร้านช�าของขายดีมาก ยังไม่มีห้างสรรพสินค้า ตอนเช้าตีห้าคนมาเคาะประตูแล้ว สามทุ่มยังปิดร้านไม่ได้มันเหนื่อยมาก ค้าข้าวเป็นอาชีพเก่าของบรรพบุรุษ ผมมีประสบการณ์ ขายข้าวอย่างเดียว เราไม่ยุ่งมาก”

น�าชัยดีค้าข้าวซื้อข้าวจากหลายแหล่ง ส่วนใหญ่จากอีสาน “ข้าวของผมๆ มีหลายตรา ค้าส่ง ค้าปลีก ผมเป็นเอเย่นต์ข้าวหลายตรา เอเย่นต์ของโรงส ีที่บ้านไผ่ ทางใต้ไม่มีแล้ว ข้าวน้อย ไปท�านากุ้ง พอเลิกที่ดินก็เสียท�านาไม่ได้ ตลาดของผมมีสิชล ขนอม ปากพนัง ระโนด ทุ่งใหญ่ก็ไป”

สมาคมพาณิชย์จีนนครศรีธรรมราชในมือพ่อค้าข้าวมากพันธมิตรจะเป็นแรงผลักดันด้านการค้าให้เกิดแก่เมืองนครอย่างทรงพลัง

วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่เชาว์เป็นหัวหน้าน�าคณะกรรมการไปเรียนเชิญกงสุลจีน ปรากฏว่ามีกงสุลปัจจุบันมาร่วมงานถึง ๓ คน กรรมการสมาคมพ่อค้าจีนในจังหวัดมาร่วมงานล้นหลาม

เชาว์ กล่าวว่า “ผมขึ้นมา ผมมีนโยบายให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน ความคิดเห็นไม่เหมือนกัน แต่เราอยู ่ร ่วมกันได้ เพ่ือกลมเกลียวเป็นหน่ึงเดียว ผมไปหาคุณฉาย รุ่งนิรันดรกุล คุณฉายบอกว่าพูดคุยให้รวมกันให้ดี ถ้ามีความจ�าเป็นเรื่องเงินเท่าไรขอให้มาบอก ตัวผมเป็นมิตรกับทุกคน”

ตอนแรกเริ่มสมาคมตั้งเพื่อให้ความรู้ด้านการค้าขาย เพื่อช่วยเหลือคนจีนโพ้นทะเลที่หนีจากแผ่นดินจีน เช่น เรื่องเสียค่าธรรมเนียมคนต่างด้าว ให้ความรู้ซึ่งกันและกันให้อยู่ได้ พอบ้านเมืองเปลี่ยนก็ปรับไปตามสภาพสังคม “สมาคมสนองนโยบายรัฐบาล ช่วยเหลือในหมู่คนจีนคนไทย ภัยพิบัติ น�้าท่วม ไฟไหม้ สมาคมไปช่วย เราไม่เลือกไทย-จีน เราเป็นพี่น้องกัน สมาคมเราต้องอาศัยกรรมการบริจาคทุนทรัพย์ เพราะเราไม่ได้เป็นมูลนิธิ กรรมการก็เสียสละกัน เวลาน้ีคนจีนมาเมืองไทย ปีที่แล้วนักท่อง-เที่ยวคนจีนมาถูกรถชน เข้าโรงพยาบาล พูดภาษาไม่รู้เรื่อง โรงพยาบาลแจ้งไปกงสุลใหญ่ที่สงขลา ทางโน้นก็โทร.มาทางสมาคมให้ช่วยดูแลหน่อย เราก็ไปช่วยดูแลช่วยประสานงาน ไปเยี่ยม ไปให้ความช่วย

เหลือจนเขาหาย เราก็ส ่งขึ้นรถไฟไปกรุงเทพฯ แล้วได้กลับประเทศ กงสุลเขาให้ท�าอะไรเราก็พยายามสนอง”

เชาว์ เล่าถึงความคาดหวัง “สมาคมพาณชย์จีนเรามองว่าในอนาคตสนามบินจะเปลี่ยนเป็นนานาชาติ อาจจะมีเท่ียวบินตรงไปเมืองจีนที่ค ่อนข้างเป็นไปได้ คือเมืองหนานหนิง ที่เราไปแสดงสินค้า ซึ่งเขาสนใจมากเลย เรามีผลไม้ สินค้าโอท็อปที่

เขาสนใจมาก เดือนหน้าเขาจะมาเยี่ยมเมืองนครคณะใหญ่ จังหวัดถ้ามีอะไรให้สมาคมช่วยได้เราก็จะท�า”

เชาว ์ว ่าการเป ิดสนามบินนานาชาติจะเป ็นประโยชน์ต่อจังหวัด ต่อไปหากพระบรมธาตุได้เป็นมรดกโลก เมืองนครมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมาย รวมถึงผลไม้นานาชนิดท�าให้มีช่องทางการค้าเพิ่มขึ้น

“เราพยายามผลักดันสินค้าเกษตรไปสู่แผ่นดินใหญ่ ถ้ามีเที่ยวบินตรงจะดีนะ เดี๋ยวนี้คนขี้นมาจากเกาะสมุย เวลาจะไปกรุงเทพฯ เขามาขึ้นที่นครฯ ขึ้นจากสมุยมันแพง คนจีนมาขึ้นที่นครเยอะ ตอนนี้นักท่องเที่ยวจีนมาซื้อรังนกดิบที่ปากพนังหิ้วกลับ มาซื้อกันเยอะนี่ก็เป็นจุดขาย”

ในยุคทุนส่วนกลางบุกเมืองนคร เชาว์กล่าวว่าทีแรกเขาอาจขายถูก แต่เป็นไปไม่ได้เพราะค่าการตลาดเขาแพงกว่า พ่อค้าท้องถิ่นสู้ได้ถ้าเราเน้นเรื่องคุณภาพ

จีน นครศรีธรรมราช คนที่ ๓๗ สมาคมก่อตั้งปีพุทธศักราช ๒๔๖๗ หรือประมาณ ๙๐ ปี นายกคนท่ี ๑ ชื่อ ตันเกงฮุย เกิดเมืองไทย แต่ไปเรียนอังกฤษที่สิงคโปร์ กลับมาท�างานบริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ แรกก่อตั้งมีคณะกรรมการ ๑๕ คน มีสมาชิกประมาณ ๓๐ คน ปี พ.ศ ๒๔๗๓ ก่อตั้งโรงเรียนตุงฮั้วส�าเร็จ (ที่ท�าการสมาคมปัจจุบัน) ปัจจุบันสมาคมมีคณะกรรมการ ๔๐ คน สมาชิกเกือบ ๓๐๐ คน ขณะนี้สมาคมคนจีนในนครศรีธรรมราชมี ๑๔ องค์กร แต่สามารถท�าภารกิจร่วมกันได้โดยสมาคมพานิชย์จีนเป็นศูนย์กลาง ตัวอย่างการจัดงานวันชาติจีน เมื่อ

เชาว์ ประยูรธ�ารงนิติ เจ้าของ ผู ้ จัดการ ห ้างหุ ้นส ่วนจ�ากัด

น�าชัยดีค้าข้าว (ตลาดคูขวาง) อายุ ๗๑ ปี ได้รับเลือกจากสมาชิกให้ด�ารงต�าแหน่งนายกสมาคมพานิชย ์

Page 7: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ หน้า ๗

อย่างไร? ความเชื่อของเขาเป็นแบบไหน?

ลักษณะนิสัยและความเคยชินของเขาเป็น

อย่างไร? ตอนแรกผมแทบจะบอกตัวเอง

ว่าผมท�าไม่ได้หรอกที่ต้องเปลี่ยนแปลงตัว

เองมากขนาดนั้น ดูเรื่องความเป็นเจ้าของ

กิจการแบบ ๑๐๐% กิจการนี้เป็นของ

เราเอง การทุ่มเทกับการท�างานแบบสุด

ชีวิต ข้อนี้ผมมั่นใจว่าท�าได้ มาดูการฝึกฝน

เรียนรู้ ลงมือท�า ผมก็มั่นใจท่ีจะเริ่มลงมือ

ท�าจากงานเล็กๆ เป็นพนักงานคลังสินค้า

พนักงานขาย จัดซื้อ บุคคล ท�าทุกๆ อย่างที่

เจ้าของกิจการท�า เรียนรู้จากเขาและลงมือ

ท�าแล้วก็ท�า ไม่เคยคิดว่าเหนื่อย แม้นจริงๆ

ก็มีเหนื่อยบ้าง ท้อแท้อยากเลิกไปท�าอาชีพ

อื่นแต่ก็ยังท�าต่อไป แต่สิ่งที่เปลี่ยนยากก็

คือ การเป็น คือ บุคลิกภาพ ความคิด ความ

เชื่อ แบบนักธุรกิจ แบบพ่อค้า มีหลาย

อย่างที่ผมก็ไม่เข้าใจว่าท�าไมจึงเปลี่ยนยาก

มาก หลังจากท�างานมาจนเกษียณ (เมื่อ

มีการเรียกร้องความเป็นมืออาชีพใน

ทุกวิชาชีพ ท�าไมจึงเป็นเช่นนี้ เรามา

ดูกันนะครับว่าความหมายของมืออาชีพ

กับมือสมัครเล่นต่างกันอย่างไร? ถ้าดูกีฬา

จะเห็นภาพชัดเจน นักกีฬาสมัครเล่นคือ

เล่นกีฬา เพื่อการแข่งขันในโปรแกรมต่างๆ

เพื่อได้รางวัลหรืออาจได้ค่าตอบแทนบ้าง

ตามสมควร แต่นักกีฬาอาชีพรายได้ของ

เขามาจากอาชีพนักกีฬา เช่น นักฟุตบอล

อาชีพ นักมวยอาชีพ นักเทนนิสอาชีพ หรือ

นักกีฬาอาชีพอื่นๆ อีกมากมาย หลายคนก็

เลยให้ค�าจ�ากัดความว่า การเป็นมืออาชีพ

คือการมีผลลัพธ์จากอาชีพที่ท�า ในแวดวง

อาชีพอื่นๆ ก็เหมือนกัน การใช้หัวใจของ

ความเป็นมืออาชีพ ซ่ึงประกอบไปด้วย

ความคิดที่เป็นเจ้าของกิจการ การเรียนรู้

ฝึกฝนลงมือท�าจนช�านาญกลายเป็นทักษะ

หรือเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ และการเป็น

ในอาชีพนั้นทั้งจากภายใน และภายนอก

ภายในคือความคิดที่เป็นผู ้ให้บริการแก่

ลูกค้า ความรับผิดชอบ ส่วนภายนอกคือ

บุคลิกท่าทางการแต่งกายให้เหมาะสมกับ

อาชีพ เพ่ือให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ปลาย

ทางของมืออาชีพคือรายได้หรือผลลัพธ์ที่

ต้องการ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละ

อาชีพ

สรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ การท�า

ธุรกิจหรืออาชีพใดก็ตามแบบมืออาชีพ คุณ

ต้องมีความรับผิดชอบต่ออาชีพที่ท�าเพราะ

เป็นสิ่งที่คุณเลือกที่จะท�าเพื่อต้องการราย

ได้ที่ตั้งใจไว้ คุณจึงต้องแลกด้วยการเรียน

รู้ ลงมือท�า แล้วก็ท�าจนเชี่ยวชาญ ควบคู่

กับการเปลี่ยนแปลงตัวเองทั้งจากภายนอก

และภายในแบบมืออาชีพที่คุณเลือกหา

ต้นแบบที่เขามีผลลัพธ์และประสบความ

ส�าเร็จ เดินตามหรือลอกเลียนแบบในสิ่งที่

มืออาชีพเขาท�า คุณจะเป็นมืออาชีพอย่าง

เขา

ค�ำถำมส�ำคัญมำกที่ต ้องถำมตัว

เอง คุณเป็นคนแบบไหน? คุณคิดอย่างไร?

ความเชื่อของคุณคืออะไร? ลักษณะนิสัย

และความเคยชินของคุณเป็นอย่างไร?

ผมเชื่อว่าพวกเราเองส่วนใหญ่ไม่ค่อยตั้ง

ค�าถามนี้กับตัวเองมากนัก เพราะเรายังไม่มี

ใครเป็นต้นแบบที่จะมาเทียบเคียง แต่ถ้า

เมื่อไหร่ที่เราเลือกใครสักคนท่ีเป็นต้นแบบ

ในอาชีพ เราจะเริ่มมีค�าถามเหล่านี้เข้า

มาในชีวิต ก่อนที่ผมจะมาท�างานที่ห้างฯ

เลือกที่จะท�าธุรกิจรับจ้างบริหารห้างสรรพ

สินค้า ผมหาต้นแบบความเป็นมืออาชีพว่า

เขาเป็นคนแบบไหน? ความคิดของเขาเป็น

อายุ ๕๕ ปี) ก็มาพบความจริงว่าเพราะ

ผมยังสับสนอยู่กับการเป็นลูกจ้างมืออาชีพ

และการเป็นเจ้าของกิจการมืออาชีพ ซึ่ง

สะท้อนบุคลิกภาพภายนอก ลักษณะนิสัย

วิธีคิดและความเช่ือภายในของผมเป็น

เพียงลูกจ้างมืออาชีพเท่านั้นเอง ท�าให้ผม

ไม่สามารถสวมการเป็นเจ้าของกิจการได้

เต็มตัว และท�าให้ผมไม่สามารถประสบ

ความส�าเร็จในบทบาทของการเป็นเจ้าของ

กิจการแบบมืออาชีพ ได้ในที่สุด

เมื่อผมเดินออกจากพื้นที่ที่ เคยอยู ่

ความจริงที่มองไม่เห็นเหมือนเส้นผมบัง

ภูเขา ท�าให้เรามีบทเรียนจากความไม่รู้ ไม่

เข้าใจ พูดง่ายๆ เราอาจเพียงแค่รู้จัก แล้ว

รู้จริง แต่เราไม่รู ้แจ้ง ในอาชีพนั้นๆ ต่าง

หาก ท�าให้เราไม่มีผลลัพธ์อย่างที่มืออาชีพ

เขามีกัน มาวันนี้ผมเลือกที่จะท�าธุรกิจใน

บทบาทเจ้าของกิจการ กับธุรกิจอาชีพที่

ปรึกษาและธุรกิจเครือข่ายสุขภาพ จึงเป็น

ความท้าทายความคิด ความเชื่อเดิมๆ ว่า

จะท�าให้ผมเปลี่ยนการเป็นจากการเป็น

ลูกจ้างอาชีพมากกว่า ๒๕ ปีได้หรือไม่?

แต่บทเรียนจากการล้มเหลวในอาชีพ

เดิมท�าให้ผมรู้ว่า หากผมจะเป็นเจ้าของ

กิจการแบบมืออาชีพให้ผมเลือกหาใคร

สักคนท่ีเขาส�าเร็จมาเป็นต้นแบบแล้วพา

ตัวเองเข้าไปเรียนรู้ และให้เขาเป็นโค้ช

เพื่อปรับแต่งองศาผมในเรื่องการเป็นทั้ง

จากภายนอกและภายใน เพราะการเป็น

จากภายใน ความคิด จิตวิญญาณ ส�าคัญ

ที่จะท�าให้เราได้ผลลัพธ์ที่เกิดจากการเป็น

ของเรานั่นเอง ครับ!

นายไพโรจน์ เพชรคง

๑๙ ต.ค. ๕๗

วันพฤหัสบดีที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ วันพระขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๒ ตรงกับ วันลอยกระทง

วันศุกร์ที่ ๑๔ พฤศจิกำยน ๒๕๕๗ วันพระแรม ๘ ค�่ำ เดือน ๑๒

วันศุกร์ที่ ๒๑ พฤศจิกำยน ๒๕๕๗ วันพระแรม ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๒

วันเสำร์ที่ ๒๙ พฤศจิกำยน ๒๕๕๗ วันพระขึ้น ๘ ค�่ำ เดือน ๑

เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗

Page 8: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชหน้า ๘ ปีที่ ๔ ฉบับท่ี ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

<< ต่อจากหน้า ๑เรือ่งจากปก

รายงาน

ดูแลทุกอย่าง นับแต่การจัดจ้างลูกน้อง (groomman) ๔ คนที่รักม้าจริงๆ มาเป็นผู้ช่วย ดูแลการอยู่กิน ท�าความ สะอาด อาบน�้า จัดหาสัตวแพทย์ประจ�าคอก ๒ คนจากเชียงใหม่มาวางระบบการดูแล การกินของแต่ละตัวทั้งยามปกติ และก่อนหรือหลังแข่งขัน สัตวแพทย์จะเดินทางมาที่นี่สัปดาห์ละครั้ง ชมรมจึงเป็นศูนย์ฝากและรักษาม้าเจ็บป่วยกรณีฉุกเฉิน หรือบาดเจ็บจากการขี่ เช่น เจ็บขา เจ็บกีบ เจ็บข้อ ให้กลับมายืนได้อีกครั้ง ขณะนี้ความนิยมม้าในเมืองนครเติบโตมาก เพราะคนรักม้าสร้างคอกหรือฟาร์มเพิ่มขึ้นประมาณ ๑๐ คอก สร้างไว้ขี่หรือผสมลูกขาย ลูกม้าวอร์มบลัดราคาเริ่มต้นตัวละ ๓-๔ แสน ซื้อขายตั้งแต่อายุ ๖ เดือน ปัจจุบันเมืองนครมีม้าราวๆ ๒๐๐ ตัว ถ้านับสุราษฎร์ธานี ๒-๓ คอกกับเกาะสมุย ๘ คอก ซึ่งเขาเป็นผู้ให้ค�าปรึกษาและสอนขี่ม้าให้เด็กๆ จ�านวนม้าจึงไม่ต�่ากว่า ๓๐๐ ตัว

นายจอม กล่าวเพิ่มเติมว่า เขาเรียนจบปริญญาตรีสาขาภาพยนตร์จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เคยร่วมผลิตภาพยนตร์โฆษณาหลายชิ้น รวมทั้งร่วมผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ เขาชอบขี่ม้ามาตั้งแต่อายุ ๔-๕ ขวบ ขณะเรียนมหาวิทยาลัยได้เป็นนักกีฬา ขี่ม้าข้ามเครื่องกีดขวางสังกัดของทีม HG ฺ(hot guard : ทหารม้ารักษาพระองค์) “ถ้าใครสนใจเล้ียงม้ามาศึกษาปรึกษาก่อน ผมยินดี ไม่ต้องเขินไม่ต้องอาย ถ้าไม่เป็นไปเลี้ยงจะทรมานเขาเปล่าๆ ทรมานโดยคุณไม่ตั้งใจด้วย ม้าเป็นสัตว์ใหญ่ถ้าเขาอยู่ดีมีความสุขเขาแทนคุณ..เขาแทนคุณตลอดด้วยจริงๆ ใครจะเริ่มเล้ียงขอให้ศึกษาให้จริงๆ”

เขตนครศรีธรรมราช (ทุ่งใหญ่) นักศึกษาปี ๕ มาเรียนที่นี่ตั้งแต่รุ่นแรก ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ ๗ “นักศึกษามาฝึกการดูแลม้าเบื้องต้น การรักษาเบื้องต้น การขี่ม้า เพราะสัตวแพทย์ต้องเข้าไปคลุกคลีกับสัตว์ ไม่ว่าจะเข้าไปจับ หรือรักษา เพราะสัตว์พูดไม่ได้ การเรียนตรงนี้เพื่อให้กายได้สัมผัสกับม้า การใช้กายสัมผัส การเข้าหา การควบ- คุม เขาจะไปใช้ในชีวิตจริงซึ่งการขี่ม้าก็เป็นวิชาบังคับ”

ชมรมยังเปิดหลักสูตรขี่ม้าส�าหรับเยาวชน โดยเก็บค่าเรียนคอร์สละ ๓,๐๐๐ บาทต่อ ๑๐ ชั่วโมง ทั้งปรับขนาดม้าให้เหมาะแก่เด็กอายุ ๒ ขวบ ไล่ขนาดขึ้นไป ซึ่งชมรมมีม้าทุกขนาด เด็กจะฝึกไปจนรู้ว่าตัวเองชอบการขี่มาราธอน กระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง หรือศิลปะการบังคับม้า “เด็กจะบอกว่าชอบอะไร เราจะไม่หวงส�าหรับเด็ก ยิ่งเด็กนครฯ ที่ต้องการไปแข่งขัน ไม่ว่าคุณไปอยู่กรุงเทพฯ หรือที่ไหน เวลาคุณจะแข่งขัน คุณกลับมาเอาม้าเราไปใช้ได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เรามีม้าแข่ง ๖ ตัว

เป็น dutch warmblood ที่เป็นม้าในฝันของนักกีฬา ม้าวอร์มบลัดราคาหลักล้านทุกตัว ๑.๒ - ๑.๓ ล้าน ขึ้นไป จนถึง ๒-๓ ล้าน ที่นี่เราโชคดีได้มาโดยไม่ต้องซื้อในราคาแพง พอดีเป็นลูกติดท้องผสมมาจากอังกฤษมาคลอดที่น่ีเขาขายให้ไม่แพงเราก็มีม้าไว้ใช้แล้ว มันเป็นม้าตระกูลสูงใช้ส�าหรับกีฬา ตัวใหญ่ โครงสร้างใหญ่ สมองดี มีความฉลาดปราดเปร่ือง แล้วการเคลื่อนไหวในการขี่สง่างาม การกระโดดความจ�าดีมาก การกระโดดเคร่ืองกีดขวาง ถ้าม้าทั่วไปผู้ขี่จะช่วยม้าได้เยอะ แต่วอร์มบลัด จะช่วยคนขี่หมดเลย ที่ชมรมเราถ้าเป็นกีฬาทุกจังหวัดภาคใต้จะมาที่นี่หมด เพราะเป็นที่เดียวในภาคใต้ที่สอนการเล่นกีฬา”

นายจอม เปิดเผยว่า ช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคมนักเรียนขี่ม้าจะเหลือประมาณ ๒๐-๓๐ คน ปกติจะมี ๕๐-๑๐๐ คน รายรับจะสูงตั้งแต่กุมภา-มิถุนา ราวเดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ ทุกเดือน

นายจอม กล่าวถึงการบริหารชมรมว่าเขาควบคุม

สมศักด์ิเรียนที่โรงเรียนวัดเขาน้อย อ.ร่อนพิบูลย์ จนจบ ป.๔ ไปศึกษาต่อท่ีมาเลเซีย ๓ ปี แล้วกลับมาเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอมเมิร์ส (ACC) จบปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก Swinburne University, Melbourne ประเทศออสเตรเลีย

สมรสกับนางสุมนา อดิเทพวรพันธุ ์ มีบุตรธิดา ดังนี้ นางสาวนริดา อดิเทพวรพันธุ ์, นางสาวนริศา อดิเทพวร-พันธุ์, นายวรรธนะ อดิเทพวรพันธุ์, นางรังรอง ทรัพย์ธนทวี, นางสาวปริย อดิเทพวรพันธุ์ และนายพนา อดิเทพวรพันธุ์

สมศักดิ์กลับมาท�าเหมืองแร่ดีบุกที่เหมืองหนองเป็ด อ.ร่อนพิบูลย์ และ อ.สิชล ต่อมาเป็นตัวแทนจ�าหน่ายรถยนต์มาสด้า ในจังหวัดนครฯ และปี ๒๕๓๑ เป็นตัวแทนจ�าหน่ายรถยนต์โตโยต้า เจ้าแรกในจังหวัด ในนามโตโยต้านครศรีธรรมราช จ�ากัด ปี ๒๕๕๑ ได้เป็นตัวแทนจ�าหน่ายรถยนต ์

นิสสัน ในนามบริษัทสยามนิสสัน นครศรี จ�ากัด เป็นผู ้ริเริ่มและก่อต้ังหอการค้า จ.นครฯ และได้

ด�ารงต�าแหน่งประธานฯ ติดต่อกัน ๔ สมัย และยังด�ารงต�าแหน่งประธานหอการค้าภาคใต้ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง ม.วลัย- ลักษณ์ และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ด�ารงต�าแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของ ม.วลัยลักษณ์ (๒ วาระ), เป็นกรรมการตรวจสอบและประเมินผล ม.วลัย-ลักษณ์, เป็นกรรมการการเงินและทรัพย์สิน ม.วลัยลักษณ์ (๒ วาระ), เป็นคณะกรรมการส่งเสริมกิจการ ม.สงขลานครินทร์ ๕ ปี ริเริ่มและจัดตั้งมูลนิธิโรงพยาบาลมหาราช และร่วมเป็นกรรมการมูลนิธิตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ – ปัจจุบัน

ลูกหลานช่วยกันเขียนค�าไว้อาลัยชื่อ ‘ค�าพ่อสอน’ มีสาระส�าคัญพอสังเขป ดังนี้

พ่อสอนให้รู้จักหน้าท่ีของตัวเอง สอนให้เราให้เกียรติบุคคลอื่นๆ ที่ร่วมงานด้วย แม้ว่าบุคคลทั้งหลายนั้นๆ จะเป็นพนักงานในบริษัท อย่าคิดว่าเราเป็นเจ้านาย ผู้อ่ืนเป็นลูกน้องแต่ให้ถือว่าทุกคนเป็นเพื่อนร่วมงาน สอนเร่ืองความซ่ือสัตย์สุจริต พ่อสอนให้ขยันท�างานโดยไม่ต้องหวังพึ่งพาคนอ่ืน และถ้าอยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ให้ขยันท�างานด้วยตัวเอง พ่อเคยไปคุยให้เพื่อนฟังว่า พ่อภูมิใจและดีใจมากที่ลูกๆ ไม่เคยร้องขออะไรจากพ่อ ไม่เคยโวยวายงอแงอยากให้พ่อซ้ือรถยนต์แพงๆ ให้ พ่อสอนเร่ืองมารยาทต่างๆ ท้ังท่ีใช้ในชีวิตการท�างานและชีวิตประจ�าวัน ฯลฯ

“ลูกๆ ยังคงท�าใจไม่ได้กับการจากไปของพ่อ มันเกิดขึ้นกระทันหันเหลือเกิน ต้ังแต่แม่จากไปเมื่อ ๒๐ กว่าปีท่ีแล้ว เรา ๗ คน พ่อ-ลูกก็ดูแลกันและกันเป็นอย่างดี วันนี้เหลือเราลูกๆ ๖ คนซึ่งจะให้สัญญาว่าเราจะดูแลกันและกัน ดูแลกิจการที่พ่อสร้างไว้ให้เหมือนตอนที่พ่อมีชีวิตอยู่ เราจะยึดถือและปฏิบัติตามค�าสอนของพ่อตลอดไป”

ขี่ม้าเข้าแข่งขันกีฬาแห่งชาติ จนถึงขณะนี้เป็นเวลา ๑๒ ปี ชมรมซึ่งตั้งอยู่ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๘๔ (ทุ่งท่าลาด) มีสมาชิก ๒๐๐-๓๐๐ คน ปัจจุบันชมรมมีม้า ๒๘ ตัว เป็นของชมรม ๑๓ ตัว มีผู้ฝากเลี้ยง ๑๕ ตัว ให้ใช้กิจกรรมต่างๆ

นายจอม กล่าวว่า ชมรมเป็นแหล่งเรียนของนักศึกษาคณะสัตวแพทย์ มหา-วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยา

Page 9: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ หน้า ๙

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์

“วิหารพระด้าน” เป ็นวิหารซึ่งมี

ลักษณะแตกต่างจากวิหารอื่นๆ ในวัดพระ

มหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช

เพราะมีรูปแบบสถาปัตยกรรมสี่เหลี่ยมผืน

ผ้า มีลักษณะหักเป็นข้อศอก ตั้งอยู ่สี่มุม

ของเขตพุทธาวาสซึ่งมีพระบรมธาตุเจดีย์

เป็นศูนย์กลาง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธ

รูปปูนปั้น จ�านวน ๑๖๕ องค์ เรียงราย

ไปตามระเบียงทั้งสี่ด้าน ผู้คนในเมืองนคร

จึงนิยมเรียกว ่า “วิหารพระด้าน” (ซึ่ง

ตรงกับค�าว ่า “วิหารคด” ในภาษาทาง

สถาปัตยกรรมไทย)

“วิหารพระด ้ าน” สร ้ างขึ้ น เมื่ อ

พ.ศ. ๒๐๓๖ (มหาศักราช ๑๔๑๕) ราว

สมัยอยุธยาตอนต้น ต�านานพระบรมธาตุ

นครศรีธรรมราชได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “เมื่อ

มหาศักราชได้ ๑๔๑๕ ปีนั้น ...จะท�าพระ

ระเบียงล้อมพระมหาธาตุและก�าแพงล้อม

พระระเบียงทั้งศรีดารนั้นแล้ว...ได้แก่มหา

มงคลแต่มุมอิสาร ๑๕ ห้อง ได้แก่มหาโชต

ดิบาญ ๒๐ ห้อง ทั้งประตูถึงมหาเถรเหม

รังศรีพระท�ามาษาลา แต่นั้นไปได้แก่มหาเภ

รสุดีพงษ ๑๕ ห้อง เมื่อคิดตามผู้ใดห้องนั้น

ใช้เป็นห้อง ๑๖๕ ห้อง แลพระพุทธรูปสมาธิ

อยู่ทุกห้อง เป็นพรพุทธเจ้า ๑๖๕ พรองค

ศรีดานเปนพรพุทธรูปเท่านี้

ระเบียงของวิหารหลังนี้เป็นระเบียง

แบบมีก�าแพงทึบด้านนอก และมีโถงด้าน

ใน โดยเริ่มต้นนับจากทิศตะวันออกเฉียง

เหนือผ่านวิหารธรรมศาลา จนถึงทิศตะวัน

ห้อง รวมทั้งสิ้น ๑๖๕ ห้องเสา ประดิษฐาน

พระพุทธรูปปูนปั้นไว้ทุกห้องเสา (รวม ๑๖๕

องค์)

การสร้างวิหารพระด้านหรือวิหารคด

ถือเป็นการรับอิทธิพลด้านพุทธสถาปัตย-

กรรมจากกรุงศรีอยุธยาโดยตรง ดร.เกียงไกร

เกิดศิริ และอาจารย์อิสรชัย บูรณะอรรจน์

แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยา-

ลัยศิลปากร ได้ให้ข้อสังเกตไว้ในการสัมมนา

ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ ๘ ซึ่ง

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชจัด

เมื่อวันที่ ๑๓-๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ ไว้ว่า

“วัดหลวงหรือวัดส�าคัญในกรุงศรีอยุธยาที่

เป็นหลักของพระนคร และเมืองอื่นๆ ใน

วัฒนธรรมอยุธยานั้น มีการสร้างระเบียง

คดอยู่ล้อมรอบพระเจดีย์ หรือพระปรางค์

ประธานอยู่ด้วยกันทั้งส้ิน โดยระเบียงคดดัง

กล่าวนั้นเป็นวัฒนธรรมการใช้พื้นที่ การปิด

ล้อมพื้นที่เพื่อความปลอดภัย การก�าหนด

พื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ตลอดจนการสร้าง

ความศักดิ์สิทธ์ิในเชิงสัญลักษณ์ซ่ึงเกิดขึ้น

พร้อมกับแนวคิดแบบเทวราชา ท่ีอยุธยาได้

รับสืบทอดมาจากวัฒนธรรมเขมร ในขณะที่

พุทธศาสนาที่รับมาจากลังกาตั้งแต่เดิมนั้นมี

วิธีคิดเรื่องดังกล่าวที่แตกต่างกัน”

อนึ่ง ในการสร้างระเบียงคดเพ่ือล้อม

รอบพื้นที่ของเขตพุทธาวาสให้เป็นสัดส่วน

และสร้างเป็นวงล้อมเข้าไปบรรจบตรง

ห้องสุดท ้ายของวิหารธรรมศาลา จึงมี

ความจ�าเป็นต้องเปลี่ยนแปลงลักษณะทาง

สถาปัตยกรรมของวิหารธรรมศาลาจากที่

เคยเป็น “วิหารโถง” เดิม มาเป็นวิหารที่มี

ผนังล้อม และท�าให้ห้องส่วนท้ายของวิหาร

เดิมที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้าม

ญาติ ซึ่งก่อสร้างขึ้นตามคติพระอัฏฐารสใน

สมัยสุโขทัยนั้นได้กลายเป็นพระประธาน

ใน “ท้ายจรนัม” อันเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับ

ระเบียงคดแทน

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนชาวนครท�า

กันแต่คร้ังโบราณ ในวิหารหลังนี้ นอกจาก

การไปสักการะพระพุทธรูปท่ีประทับนั่ง

เรียงรายกันอยู ่แล้ว ก็คือ “กิจกรรมสวด

ด้าน” ซึ่งเป็นการฟังการสวดหนังสือร้อย

กรองประเภทนิทานธรรมะ นิทานสุภาษิต

ตลอดถึงนิทานประโลมโลก ในช่วงสาย

ของวันธรรมสวนะ การสวดหนังสือดัง

กล่าวนิยมสวดเป็นท�านองเก่าซ่ึงชวนฟัง

ท�าให ้พุทธศาสนิกชนที่รอฟังพระธรรม

เทศนาได้มีโอกาสฟังเร่ืองสนุกคละเคล้า

หลักธรรมไปโดยปริยาย การสวดหนังสือ

เช ่นนี้ท� าต ่อ เนื่ องกันมาจนกลายเป ็น

ประเพณี เรียกว่า “ประเพณีสวดด้าน”

นับเป็นประเพณีเอกลักษณ์ของวัดพระ

มหาธาตุวรมหาวิหารมาตราบหลายร้อย

ปี น่าเสียดายที่ปัจจุบันประเพณีสวดด้าน

ซบเซาลง เหลือแต่เพียงการสวดเพื่อสาธิต

หรือสวดเพ่ือฟื้นฟูประเพณี ซึ่งบางสถาบัน

ได้ช่วยผดุงอยู่ เช่นมหาวิทยาลัยมหามกุฏ

ราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมมาโศกราช

เป็นต้น

ออกเฉียงใต้มีจ�านวน ๕๐ ห้อง จากมุมทิศ

ตะวันออกเฉียงใต้ถึงมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้

มีจ�านวน ๓๓ ห้อง จากมุมทิศตะวันตกเฉียง

ใต้ถึงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีจ�านวน

๔๓ ห้อง จากมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึง

มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีจ�านวน ๓๖

อ�ำเภอสิชลเชิญชวนพุทธศำสนิกชน

ร่วมเป็นเจ้ำภำพทอดกฐิน สร้ำงอุโบสถดิน

ประยุกต์ แบบพอเพียง เฉลิมพระเกียรติ ๕

ธันวำมหำรำช “จำกก้อนดิน สู่ก้อนบุญ”

นำยพิทักษ์ บริพิศ นำยอ�ำเภอสิชล

จังหวัดนครศรีธรรมรำช เปิดเผยว่ำ ด้วย

หน่วยงำนภำครัฐ คณะสงฆ์ ภำคเอกชน

องค์กรต่ำงๆ และพุทธศำสนิกชน ได ้

ก�ำหนดทอดกฐินสำมัคคีเพื่อน�ำปัจจัยที่

ได้จำกบริวำรของกฐินไปก่อสร้ำงอุโบสถ

ดินมหำอุตฆ์ประยุกต์ แบบพอเพียง ซึ่ง

เป็นแห่งแรกของจังหวัดนครศรีธรรมรำช

ในวันที่ ๒ พฤศจิกำยน ๒๕๕๗ เวลำ

๑๐.๓๐ น. ณ ส�ำนักสงฆ์ถ�้ำเขำพรง ต.ทุ่ง

ปรัง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมรำช เพื่อเป็น

การสาธิตสวดด้านเพื่อฟื้นฟูประเพณี

การ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็ จ

พระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวามหาราช โดยมีนาย

พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัด

นครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธี โดย

อุโบสถมีขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร

มูลค่าการก่อสร้างพร้อมค่าตกแต่งประมาณ

๒ ล้านบาท คาดใช้เวลาประมาณ ๓ ปี จึง

ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและผู ้มีจิต

ศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินดังกล่าว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร.๐๘

๑๘๖๗ ๒๑๒๘

พระมหาสุพจน์ เจ้าส�านักสงฆ์ถ�้าเขา

พรง กล่าวว่าส�านักสงฆ์ถ�้าเขาพรง เดิม

เคยเป็นวัดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อายุไม ่

น้อยกว่า ๓๐๐ ปี มีพระพุทธรูปโบราณ

ประดิษฐานอยู่ในถ�้าหลายองค์ ต่อมาไม่มี

พระสงฆ์จ�าพรรษาจนกลายเป็นวัดร้างใน

ที่สุด แต่ปัจจุบันได้มีการบูรณะก่อตั้งเป็น

ส�านักสงฆ์และมีพระสงฆ์จ�าพรรษาหลาย

รูป ดังนั้นทางส�านักสงฆ์และพุทธบริษัท

จึงได้มีความคิดที่จะขออนุญาตยกฐานะ

วัดร้างหรือส�านักสงฆ์แห่งนี้ข้ึนเป็นวัดตาม

ระเบียบตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ ์

ต ่อไป พุทธศาสนิกชน ผู ้มีจิตศรัทธา

สามารถร่วมเป็นเจ้าภาพกฐิน หรือ โอน

เงินเข้าบัญชีส�านักสงฆ์ถ�้าเขาพรง ธ.ก.ส.

สาขาต้นเหรียง หมายเลขบัญชี ๐๒-๐๐-

๒๒-๑๓๗-๓๕๖ หรือติดต่อเจ้าส�านักสงฆ์

ถ�้าเขาพรง โทร. ๐๘-๓๑๙๔ ๖๙๐๘

Page 10: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราช ปีที่ ๔ ฉบับท่ี ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

ทีเดียวในเ มืองมี ท้ั งรถบัส รถราง

รถไฟ ซื้อตั๋วรถแล้วยังสามารถน�าเป็นส่วนลดเข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้อีก ส่งเสริมการท่องเท่ียวได้เย่ียมมากทีเดียว ของท่ีระลึกบ้านอื่นเมืองอื่นขายกันไม่แพง ที่นี่ของที่ระลึกผู้คนดั้นด้นไปซื้อคือนาฬิกายี่ห ้อแพงๆ ราคาต�่าที่สุดก็เป็นแสนแล้ว เขามีผ้าเช็ดหน้า ผ้าปูโต๊ะ ผ้าม่านหน้าต่าง ในเมืองทุกบ้านเรือนมีกระถางต้นไม้ริมหน้าต่าง ผ้าหน้าต่างสวยๆ โชว์ให้แขกบ้านแขกเมืองได้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วดิ้นรนหาซื้อกันไปติดบ้านตัวเองบ้าง ใครได้มาเมืองเบิร์นในช่วงเดือนสิงหาคมทุกปี เขาจะมีงานประเพณีของเขาเหมือนบ้านเรา วงดนตรีพื้นเมืองหลากหลายประเทศมาร ่วมแสดง เป็นเหมือนงานนานาชาติ ซึ่งบ้านเราก�าลังพยายามท�ากันอยู ่คือ ‘งานแห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติท่ีนคร’ แต่ผู ้น�าจังหวัดและท้องถิ่นไม ่ต ่อเนื่อง ท�าท่าจะถอยหลังลงเรื่อยๆ

เบิร์นเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ที่ยังถนอมรักษาอาคาร งานประติมา-

เมืองเด็ดขาด เขามีรถไฟฟ้าเป็นรถสองแถวของเขามารับเข้าไป ผู้คนขี่จักรยานเที่ยวในเมือง รถโดยสารไม่มี เมืองเล็กกว้างยาวไม่เกิน ๑ กม. เมืองจึงไร้มลพิษจริงๆ ส่วนในเมืองร้านกาแฟ เบเกอรี่ ร้านอาหารเล็กๆ ไม่มีภัตตาคารขนาดใหญ่ ของที่ระลึกขายกันทั้งเมืองเหมือนกับว่าเมืองนี้ท�าแต่ธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างเดียว ตั้งแต่โรงแรมที่พักขนาดเล็ก เกสต์เฮ้าส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้าน เบเกอรี่และร ้านขายของที่ระลึก รายได้เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล เขาจึงรักษาบ้านเมืองของเขาให้น่าเที่ยวตลอดไป

ที่น�ามาเล่าเพื่อเราจะได้หันมาสนใจนครเราบ ้าง บ ้านเมืองที่มีป ัญหากับนักท ่องเที่ยว หรือปล่อยปละละเลยให้คนต่างชาติมามีอิทธิพล มีมาเฟียตักตวงผลประโยชน์ของการท่องเที่ยว ดูแลรักษาเมืองของเราให้เหมือนชาวสวิสที่ดูแลการท่องเที่ยวจนเป็นเบอร์ ๑ ในด้านคุณภาพของโลก ซึ่งใครๆ ก็อยากจะไปเยือน

กรรมศิลปะต่างๆ เอาไว้อย่างครบครัน มีการวางผังเมืองที่ดี ถือเป็นต้นแบบของการออกแบบด้านผังเมือง จนได ้รับการยกย ่องว ่าดีที่สุดในยุโรป เรื่องนี้เองที่องค์การยูเนสโก้ ไม่ลังเลท่ีจะมอบต�าแหน่งเมืองมรดกวัฒนธรรมของโลกเอาไว้เป็นประกัน

ด ้านธรรมชาติที่ ได ้ รับการยกย่องอีกของสวิตเซอร์แลนด์คือภูเขาอันสวยงาม เช่น แมตเตอร์ฮอลและยุงเฟรา ซึ่งเป็นมรดกโลกด้านธรรมชาติอีกอันหนึ่งของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งคนไทยที่เดินทางไปท่อง-เที่ยวยุโรปจะต้องไปสวิสและจะต้องไปเยือนยอดเขาทั้งสองนี้

การเดินทางจะเริ่มต ้นจากสถานีรถไฟอินเทอร์ลาเก้น ซึ่งมีป้ายขนาดมหึมาที่สถานีเขียนว่า ‘ยินดีต้อนรับ’ เป็นภาษาไทย ไม่มีค�าอย่างนี้ในภาษาอื่นเลย โกยเงินคนไทยอย่างสนุก ภูเขาแมตเตอร์ฮอลที่ใครจะไปเยือน ต้องเข้าไปพักในเมือง เซอร์แมต เป็นเมืองตากอากาศจริงๆ เพราะเมืองนี้เขาไม่อนุญาตรถราที่ใช้ก๊าซหรือน�้ามันเป็นเชื้อเพลิงเข้าไปใน

หน้า ๑๐

๑. ขอบเขตพื้นที่แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมวัดพระมหาธาตุวรมหา-วิหาร

ในการท�าเอกสารประกอบการเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชเข้าสู ่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ได้มีการก�าหนดขอบเขตพื้นท่ีแหล ่งมรดกโลกวัดพระมหาธาตุฯไว้เบ้ืองต ้นโดยก�าหนดให ้พื้นที่บริ เวณวัดทั้งหมดเป ็นพื้นที่แหล ่งมรดกโลกที่น�าเสนอ (Nominate Property)โดยมีเนื้อที่ประมาณ ๓๒ ไร่ (๕.๑๔ เฮกเตอร์) และได้มีการก�าหนดพื้นท่ีกันชน (Buffer Zone) ไว้เป็นพื้นท่ีโดยรอบประมาณ ๖๓๘ ไร่ (๑๐๒.๔๘ เฮกเตอร์) โดยมีความสัมพันธ์กับพื้นท่ีเมืองเก่าในสมัยอยุธยา (ตามแผนที่เมืองเก่าภาพที่ ๒ ฉบับที่แล้ว)

เนื่ อ งจาก วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู ่ในเขตเมืองเก่านครศรีธรรมราชโดยมีขอบเขตดังนี้ทิศเหนือ จดคลองหน้าเมืองทิศตะวันออก จดถนนศรีธรรมโศกทิศใต้ จดคลองป่าเหล้าทิศตะวันตก จดคลองท้ายวัง

เสนอโดย ส�ำนักวิชำสถำปัตยกรรมศำสตร์และกำรออกแบบ มหำวิทยำลัยวลัยลักษณ์

(ตอนที่ ๓)

ทางสัญจรส�าคัญและเป็นแนวแกนของเมืองพุ่งโอบล้อมบริเวณที่เป็นที่ตั้งของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารไว้ ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ในพื้นที่เมืองเก่า เช่นโบราณสถาน สถานที่ราชการ สถานศึกษา ศาสนสถานและอาคารพาณิชย์ ก็ตั้งกระจายตามแนวแกนถนนราชด�าเนิน ส�าหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ถัดลึกเข้าไปตามถนนราชด�าเนินส่วนใหญ่จะเป็นที่อยู่อาศัย โดยมีรายละเอียดทางด้านกายภาพของพื้นที่ศึกษาแบ่งตามหัวข้อดังนี้

๒.๑ การใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวม นครศรีธรรมราช

ความส�าคัญทางด้านประวัติ-ศาสตร์และโบราณคดีของพื้นท่ีตั้งเมืองเก่านครศรีธรรมราช มีความส�าคัญต่อการอนุรักษ์มาก ถึงแม้จะมีการใช้ประโยชน์ท่ีดินหลายประเภทปะปนกันแต่ก็ไม ่หนาแน่น และมีลักษณะผสมผสานกันเป ็นชุมชน (Community) มีที่อยู่อาศัย ตลาดและ วัดอยู่ร่วมกับสถานที่ราชการที่มีฐานะเป็นแหล่งงานของของประชาชนท่ีอยู่ภายในพื้นที่ (แผนที่ ๒ และแผนที่ ๓)

ประเด็นวิเคราะห์ในส ่วนของพื้นที่บริ เวณวัด

พระมหาธาตุวรมหาวิหารนั้น (Core

Zone) อยู ่ในบริเวณพื้นที่เมืองเก่า

ขอบเขตพื้นที่แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราช (Buffer Zone) ซึ่งถือได้ว่า มีความส�าคัญต่อการอนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมเมืองเก่าเป็นอย่างมาก แม้ว่าในเขตผังเมืองรวมให้ความดูแลและคุ ้มครองต่อโบราณสถาน ศาสนสถาน ตลอดจน สถานท่ีส�าคัญของเมือง โดยการก�าหนดการใช้ประโยชน์ท่ีดินจะท�า การควบคุมเพื่อการอนุรักษ์บริเวณพื้นท่ีเขตเมืองเก ่า แต ่พบว ่าการก�าหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นท่ีโดยรอบมิได้แสดงเจตนาท่ีจะดูแลรักษาหรือให ้ความคุ ้มครองต่อพื้นที่ เช่น บริเวณโดยรอบเขตเมืองเก่าที่ก�าหนดการใช้ประโยชน์

แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่อนุรักษ ์ (Core Zone) บริเวณวัดพระมหา-ธาตุวรมหาวิหารและพื้นที่ กันชน (Buffer Zone)

สัญลักษณ์พื้นที่อนุรักษ์ (Core Zone)พื้นที่กันชน (Buffer Zone

แผนที่ ๒ แสดงการใช้อาคารที่มา: กรมการผังเมืองนครศรีธรรมราช

แผนที่ ๓ แสดงผังเมืองรวมจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มา: กรมการผังเมืองนครศรีธรรมราช

๒. สภาพทั่วไปของพื้นที่ในบริเวณพื้นที่ เขตเมืองเก่า

นครศรีธรรมราช ในบริเวณพื้นที่ประกอบด้วยอาคารและส่ิงก่อสร้างส�าคัญจ�านวนมาก โดยมีวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารและพระบรมธาตุเจดีย์เป็นองค์ประกอบหลักของพื้นท่ี และมีถนนราชด�าเนินเป็นเส้น

สัญลักษณ์ที่ ดิ นประ เภทที่ อ ยู ่อาศัยหนาแน่นปานกลาง รวมถึงประเภทพาณิชยกรรม ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงใช ้ประโยชน ์ที่ดินและแผนการใช้ประโยชน์ที่ ดิ น ที่ ก� า ห น ด ขึ้ นบริ เ วณพื้ นที่ กั นชน (Buffer Zone) จึงไม่มีความเหมาะสมต ่อการอนุรักษ์พื้นที่เท่าที่ควร

สวิตเซอร์แลนด์คงเป็นเมืองในฝันของหลายคน คนที่ได้ไปมาแล้ว

ก็อยากไปซ�้าสองอีก มีเมืองหลวงชื่อ ‘เบิร์น’ เป็นเมืองน่าอยู่ ตึกรามบ้านช่องไม่ใหญ่โต คุณสมบัติเด่นของเมืองหลวงนี้คือเป็นเมืองไม่ใหญ่ ผู ้คนไม่มากเหมือนเมืองหลวงอื่นๆ

รถราไม่หนาแน่น มีหอนาฬิกาใหญ่เวลาเที่ยงตรงที่สุดในโลก เพราะเมืองเขาเป็นเจ้าแห่งนาฬิกา มีน�้าพุอันเลื่องช่ือ ช่ือ ‘แอนนา-ไซเลอร์’ บนถนนมาร์ก พิพิธภัณฑ์ของเมืองมีทั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ไอนสไตน์ น่าสนใจมาก

Page 11: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

ในการน�าเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัด

นครศรีธรรมราช นอกจากจะต้องน�าเสนอ

“เอกสารเพื่อขอขึ้นบัญชีเบื้องต้น” (Tentative

List) ต่อศูนย์มรดกโลกขององค์การยูเนสโก (UNESCO)

ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสแล้ว สิ่งส�าคัญที่จะต้อง

ท�าอย่างละเอียดและประณีตบรรจงยิ่งก็คือ “เอกสารฉบับ

สมบูรณ์” (Nomination Dossier) เพื่อน�าเสนอต่อคณะ

กรรมการพิจารณาการขึ้นบัญชีมรดกโลกอีกครั้ง (ภายหลัง

ได้รับการประกาศขึ้นบัญชีเบื้องต้นแล้ว)

เอกสาร Nomination Dossier ประกอบด้วย ๘

หมวดใหญ่ แต่ละหมวดมีรายละเอียดค่อนข้างมาก และ

ต้องเรียบเรียงเป็นภาษาสากล (คือภาษาอังกฤษหรือภาษา

ฝรั่งเศสอย่างใดอย่างหนึ่ง) โดยเริ่มต้นตั้งแต่การศึกษา

ประวัติหรือภูมิหลังและผังของพื้นที่มรดก (Core Zone)

ให้ชัดเจน ตลอดถึงคุณค่าที่ โดดเด่น

เป็นสากลของแหล่งมรดกที่จะขอขึ้น

ทะเบียนบัญชีมรดกโลก

ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดเรื่องการ

วางผังของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ในระยะแรกสร ้าง ซึ่ งเรียงเรียงโดย

ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ และอาจารย ์

บุณยกร วชิระเธียรชัย แห่งคณะสถา-

ปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

จากการศึกษาของรองศาสตรา-

จารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ให้ข้อเสนอว่า

พระมหาธาตุนครศรีธรรมราชนั้นคงได้

รับการสถาปนาข้ึนมาแล้วตั้งแต่สมัยที่

ศูนย์กลางของเมืองนครศรีธรรมราชยัง

อยู่ที่เมืองพระเวียง โดยต้ังอยู่ห่างจาก

แนวก�าแพงเมืองพระเวียงประมาณ ๕๐๐

เมตร ซึ่งให้ค�าอธิบายสาเหตุของการที่วัด

พระมหาธาตุนครศรีธรรมราชนั้นไม่ได้

ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองนครศรีธรรมราช แต่

ที่ตั้งค่อนไปประชิดกับเมืองพระเวียง

ซึ่งหากจะสันนิฐานต่อเนื่องในประเด็น

ดังกล่าว จะอาจมีสมมุติฐานว่าวัดพระ

มหาธาตุนครศรีธรรมราชอาจเคยท�า

หน้าที่เป็นวัด อรัญวาสีที่อยู่นอกก�าแพง

เมืองในสมัยเมืองพระเวียงตามคติที่ได้

รับสืบทอดมา จากลังกาก็เป็นได้ และ

ต่อมาเมื่อนครดอนพระท�าหน้าที่เป็น

ศูนย์กลางของนครศรีธรรมราชต้ังแต่

ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ, อาจารย์บุณยกร วชิระเธียรชัย

สมัย อยุธยาลงมา ก็เป็นส่วนหน่ึงที่ท�าให้วัดพระบรมธาตุ

นครศรีธรรมราชกลายเป็นวัดที่ได้รับการท�านุบ�ารุงอย่าง

ยิ่งตั้งแต่สมัยอยุธยา (ดังปรากฏมีโบราณวัตถุโบราณสถาน

สมัยอยุธยาเป็นจ�านวนมากมายภายในวัด)

ตัวเมือง “นครศรีธรรมราช” หรือ “เมืองนคร

ดอนพระ” มีขนาดกว้างประมาณ ๖๖๕ เมตร และยาว

ประมาณ ๒.๔ กิโลเมตร หากพิจารณาในประเด็นของ

สภาพภูมิศาสตร์ของที่ตั้งจะเห็นได้ว่าแนวของสันทราย

ดังกล่าวได้แผ่ตัวกว้างมากขึ้นในทางตอนเหนือ แสดงให้

เห็นว่าในการสร้างเมืองน้ันมีทางเลือกให้สามารถพื้นที่

ตอนที่เหนือขึ้นไป ซึ่งมีแนวสันทรายที่กว้างกว่าได้ แต่

ที่เลือกสร้างเมืองนครดอนพระติดกับเมืองพระเวียงน้ัน

แสดงให้เห็นว่าเมืองใหม่ที่ขยับขยายขึ้นมา เป็นเมืองที่มี

รากฐานการพัฒนาจากพระเวียงนั่นเอง และแม้ว่ามีการ

สร้างเมืองนครขึ้นมาใหม่แล้วก็ตาม แต่เมืองพระเวียงก็

ยังมีการตั้งถิ่นฐานอยู่คู่กันมาด้วย เพียงแต่เมืองพระเวียง

คงลดบทบาทลงในชั้นหลังที่มีการขุดคลองท่าวังเชื่อมต่อ

จากคลองปากนครมายังนครศรีธรรมราชโดยตรง ส�าหรับ

องค์ประกอบทางกายภาพของตัวเมืองที่ปรากฏให้เห็นใน

ปัจจุบัน ที่เป็นแนวก�าแพงเมืองก่ออิฐนั้นสร้างขึ้นในราว

รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยโปรดเกล้าให้

เมอร์สิเออร์ เดอลามา (M.de le Mare) ชาวฝรั่งเศสมาเป็น

วิศวกรออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง โดยมีเส้นทาง

สัญจรหลักอยู่ตรงกลางของแนวสันทราย

ประเด็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่งในเรื่องการวางผัง

วัดพระมหาธาตุที่นักวิชาการมักตั้งค�าถามกันคือ “สาเหตุ

ใดที่ท�าให้องค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชมีบันไดทาง

ขึ้นสู ่ลานประทักษิณหันไปทางทิศเหนือ” ซึ่งเดิมทีผู ้

วิจัยมีสมมติฐานของสาเหตุดังกล่าวว่า

“อาจเป็นผลมาจากการที่วัดพระมหาธาตุ

นครศรีธรรมราชได้วางตัวอยู่บนสันทราย

ที่แคบยาวที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ จึง

ท�าให้องค์พระบรมธาตุเจดีย์วางผังบันได

ทางขึ้นให้หันไปยังทิศเหนือ”

เมื่อท�าการศึกษาสภาพภูมิศาสตร์

ของพื้นที่พบว่า แนวสันทรายนครศรี-

ธรรมราชมีความกว้างประมาณ ๖๐๐

เมตร ในขณะที่ผังบริเวณเขตพุทธาวาสนั้น

มีความกว้าง ๗๕ เมตร (แนวตะวันออก-

ตะวันตก) และมีความยาว ๑๒๐ เมตร

(แนวเหนือ-ใต้) เมื่อเทียบเคียงกับความ

กว้างของสันทรายที่มีถึงประมาณ ๖๐๐

เมตร จะเห็นได้ว่าสัดส่วนของพื้นที่ที่ได้

รับการออกแบบวางผังนั้นมีสัดส่วนที่น้อย

เมื่อเทียบกับความกว้างทั้งหมด และไม่

ได้เป็นปัญหาหากมีความประสงค์จะวาง

ผังพื้นที่ในแนวตะวันออก-ตะวันตกเลย

นอกจากนี้จากการส�ารวจรังวัดเพื่อจัดท�า

แบบสถาปัตยกรรมยังให้ข้อมูลอีกว่า ผัง

บริเวณที่เห็นในปัจจุบันนั้นแตกต่างไปจาก

ผังบริเวณเมื่อแรกสร้างที่มีจ�านวนอาคาร

ไม่มากนัก เพราะฉะนั้นผังบริเวณเมื่อแรก

สร้างนั้นคงมีขนาดเล็กกว่านี้

(อ่านต่อฉบับหน้า)

หน้า ๑๑

Page 12: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชหน้า ๑๒ ปีท่ี ๔ ฉบับท่ี ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

ณ ช่วงเวลานี้ ทุกคนคงเคยได้ยินชื่อ ไวรัส อีโบลา

ที่ก�าลังเป็นข่าวแพร่ระบาดในต่างประเทศ โดย

เฉพาะทวีปแอฟริกา เป็นโรคระบาดที่เป็นที่จับตามองจาก

ทุกวงการ เพราะความรุนแรงของโรคนี้ได้คร่าชีวิตของผู้

ติดเชื้อไปแล้วหลายพันราย เนื่องจากอัตราการตายจาก

การติดเชื้อ อีโบลา สูงถึง ๖๐-๙๐ % เราจึงควรมาท�าความ

เข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อจะได้ระวัง ป้องกันได้ถูกวิธี

อีโบล่าคืออะไร

อีโบลาเป็นเชื้อไวรัสในวงศ์ Filoviridae สกุล

Ebolavirus มี ๕ สายพันธุ์ ประกอบด้วย Ebola virus

(Zaire ebolavirus), Sudan virus (Sudan ebolavirus), Tai

Forest virus (Tai Forest ebolavirus), Bundibugyo virus

(Bundibugyo ebolavirus) และ Reston virus (Reston

ebolavirus) โดยแหล่งรังโรคยังไม่ทราบแน่ชัด มีการพบ

เชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์ป่า เช่น ซากลิงชิมแปนซี ลิงกอ-

ริลล่า ค้างคาว

พื้นที่การระบาด

อีโบลาระบาดขึ้นครั้งแรกในปี ๑๙๗๖ พร้อมๆ กัน

สองแห่งคือ ในเมือง Nzara ประเทศซูดาน และในเมือง

Yambuku ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ใน

กรณีหลังเกิดขึ้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับแม่น�้า

อีโบลา (Ebola River) ซึ่งกลายมาเป็นชื่อของโรคนี้ในที่สุด

ปัจจุบันพบการระบาดใน แอฟริกากลางและตะวันตก

Central and West Africa โดยประเทศที่พบการติดเชื้อ

คือ กีนี (Guinea) ไนจีเรีย (Nigeria) ไลบีเรีย (Liberia) และ

เซียร์ราลีโอน (Sierra Leone)

อาการและอาการแสดง

เลือดออกในอวัยวะภายใน ท�าให้เลือดก�าเดาไหล, ถ่ายเป็น

เลือด, อาเจียนเป็นเลือด, ปัสสาวะเป็นเลือด, และปรากฏ

จุดเลือดออกตามร่างกาย ร่วมกับภาวะตับถูกท�าลาย

ไตวาย มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สับสน

เซื่องซึม ก้าวร้าว และอาการชัก เป็นต้น

๓. อาการในระยะที่สาม ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจ

เร็ว อาจมีอาการสะอึก มีความดันโลหิตลดต�่า เป็นผลให้

อวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่ ปัสสาวะไม่ออก ซึ่งเป็นผล

ให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

ในผู ้ป่วยที่รอดชีวิต อาจมีอาการต่อได้อีกหลาย

วัน เช่น อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารน�้าหนักลด และ

ปวดข้อ อาการอ่ืนท่ีอาจพบตามหลัง ได้แก่ ผมร่วง มีการ

เปล่ียนแปลงเร่ืองการรับความรู้สึก ตับอักเสบ อ่อนแรง

ปวดศีรษะ ตาอักเสบ อัณฑะอักเสบ เป็นต้น

การรักษา

ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาที่จ�าเพาะ (ยา

และวัคซีน อยู่ในกระบวนการทดลอง) ใช้การรักษาแบบ

ประคับประคอง ซึ่งส่วนมากผู้ป่วยมักเกิดภาวะร่างกาย

ขาดน�้า จึงต้องระมัดระวังเรื่องการรักษาสมดุลของสารน�้า

เป็นสิ่งส�าคัญ

การแพร่เชื้อของโรคอีโบลา

การแพร่เชื้อจากคนสู ่คนของอีโบลามีได้หลายวิธี

ส่วนใหญ่จะแพร่จากคนหน่ึงสู่อีกคนหน่ึงทางการสัมผัส

โดยตรง (ผ่านทางเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา จมูก ปาก และแผล

ที่ผิวหนัง) โดยผ่านทาง

- การสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งเช่น ปัสสาวะ

น�้าลาย เหงื่อ อุจจาระ อาเจียน น�้านม น�้าเชื้อ จากคนที่

ป่วย

- เข็มฉีดยา หรือ syringesที่ปนเปื้อนเชื้อ

- สัตว์ที่ป่วย

- ทางอาหารโดยรับประทานอาหารที่มีเช้ือ(อาหาร

ป่า), ยังไม่มีหลักฐานว่ายุงเป็นตัวน�าเชื้อโรค

การป้องกันโรคอีโบล่า

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา Ebola ดีที่สุดคือ

การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อไวรัสอีโบลา

• หลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวยังพ้ืนที่ที่มีการระบาด

ของเช้ือ ก่อนจะไปเที่ยวให้ตรวจสอบพื้นที่ระบาดก่อน

ท่องเที่ยว

• ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ โดยใช้น�้าเปล่า และสบู่

หรือใช้แอลกอฮอลล์ส�าหรับล้างมือหากไม่มีน�้าหรือสบู่

• ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่เสี่ยงต่อการติดโรค

• หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย

• ผักและผลไม้ต้องล้างให้สะอาด

• หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ป่าอาหารป่า

• หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งเช่น น�้าเหลือง

เลือด น�้าลาย น�้าจากช่องคลอด น�้าเชื้อของผู้ป่วย

• หลีกเลี่ยงของประจ�าตัวของผู้ป่วยเช่น เสื้อผ้า ผ้า

คลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เพราะอาจจะมีเชื้อ

ปนเปื้อน

Credit : http://www.thegospelcoalition.org/article/what-chris-tians-should-know-about-the-ebola-crisis

• ส�าหรับเจ้าหน้าที่ทางการ

แพทย์จะต้องสวมถุงมือ หน้ากาก

อนามัย เสื้อคลุม แว่นตาเมื่อต้อง

ดูแลผู้ป่วย

• ศพของผู้เสียชีวิตยังสามารถ

แพร่เช้ือได้ต้องให้ความระมัดระวัง

เป็นพิเศษ

• หากอยู ่ในแหล่งระบาดจะ

ต้องเฝ้าดูอาการอีก ๒๑ วัน

ในปัจจุบัน ยังไม่พบการระบาด

ในประเทศไทย แต่การเดินทางข้าม

ประเทศ ข้ามทวีป ในปัจจุบันรวดเร็ว

ดังนั้น การเฝ้าระวังการแพร่ระบาด

จึงเป็นสิ่งจ�าเป็น

ทราบข ้อมู ล เกี่ ยวกับ โรค

อีโบลาแล้ว คงท�าให้เราสามารถ

ระมัดระวัง ป้องกันการติดเชื้อ และ

ช่วยกันควบคุมการระบาดของโรค

นี้ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

๑. อาการในระยะแรก มีอาการ

ไข้สูง (๓๙-๔๐°C) อ่อนเพลีย ปวด

กล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดศีรษะจาก

ท้ายทอย และเจ็บคอ

๒. อาการในระยะที่สอง จะมี

อาการของความผิดปกติของอวัยวะ

ภายใน โดยจะเริ่มมีอาการในวันที่

๒-๔ หลังแสดงอาการแรกเริ่ม และคง

อยู่นาน ๗-๑๐ วัน ได้แก่ อาการปวด

ท้อง อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร เจ็บ

คอรุนแรง เจ็บหน้าอก กลืนล�าบาก ไอ

แห้งๆ และมี ผื่นแดง ราบและนูน กด

จางได้ และไม่คัน ขึ้นตามผิวหนัง โดย

เริ่มมีผื่นได้ตั้งแต่วันที่ ๒-๗ หลังแสดง

อาการแรกเริ่ม (มักขึ้นในวันที่ ๕) เมื่อ

ผื่นหายจะเกิดเป็นขุยเล็กๆ ได้ อาการ

ทางตา ได้แก่ อาการตาแดง ตาสู้แสง

ไม่ได้ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมี

นพ.อรรถกร วุฒิมานพ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเล ือด

Page 13: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ หน้า ๑๓

หัวข้อเรื่องฉบับนี้คือประโยคเดียวกันกับที่ผมมักลงท้ายในบทความฉบับต่างๆ ที่

ผมเขียนตลอดระยะเวลา ๓ ปี จนคนอ่านคุ้นตาและไม่ค่อยมีใครใส่ใจถามว่ามีความหมายอย่างไร จนกระทั่งเมื่อเดือนสองเดือนน้ีเองท่ีเกิดการจัดระเบียบสังคมขึ้นโดยฝ่ายราชการร่วมกับฝ่ายทหาร (คสช.) โดยอาศัยอ�านาจพิเศษเข้ามาจัดการหลายๆ เรื่องที่ทางฝ่ายราชการต้องการท�า แต่ก็ไม่สามารถด�าเนินการได้ด้วยสาเหตุต่างๆ อย่างท่ีเราๆ ท่านๆ ทราบนั่นแหละครับ ซึ่งก็ต้องสร้างความเข้าใจว่าการปฏิบัติการนี้หาใช่เป็นการจัดระเบียบโดยคิดขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการบังคับตามข้อกฎหมายที่มีอยู่ ไม่ว่าเป็นเรื่องของกฎจราจร ตลอดจนพระราชบัญญัติต่างๆ ท่ีควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยมีเจตนารมณ์ให้เกิดสังคม “บ้านเมืองน่าอยู่” ครับ... ประเด็นนี้เองที่ผมอยากพูดถึง

ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาได้บรรลุในการสร้างเมืองให้น่าอยู่ โดยวิธีการต่างๆ ท้ังในการเข้มงวดในระเบียบวินัยทางสังคม และในแนวคิดการพัฒนาทางด้านกายภาพ ซ่ึงปรากฏในด้านสิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมและช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน ท้ังน้ีมีเกณฑ์ชี้วัดความเป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างเป็นสากล ซึ่งองค์การอนามัยโลกภาคพื้นยุโรปได้รณรงค์ให้เมืองต่างๆ จากทั่วโลกหันมาสนใจโครงการเมืองน่าอยู ่ (Healthy Cities) และก�าหนดแนวทางเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองอย่างเป็นรูปธรรม พอสรุปได้ดังนี้

๑. มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและท่ีอยู่สะอาด ปลอดภัย

๒. มีระบบนิเวศอยู ่ในภาวะดุลยภาพและยั่งยืน

๓. มีชุมชนเข้มแข็ง ช่วยเหลือเกื้อกูล ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน

๔. ประชาชนมีส่วนร่วมในการก�าหนด ควบคุม ตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

๕. ประชาชนได้รับปัจจัยพื้นฐานของชีวิต อันได้แก่อาหาร น�้า ท่ีพักอาศัย ความปลอดภัย มีรายได้และมีงานท�า

๖. ประชาชนมีสิทธิและโอกาสเข้าถึงข่าวสาร มีการติดต่อประสานงานและระดมความคิด ประสบการณ์เพื่อท�างานร่วมกันในชุมชน

๗. มีระบบเศรษฐกิจท่ีหลากหลาย มีชีวิตชีวา มีนวัตกรรมอยู่เสมอ

๘. มีการเชื่อมโยงมรดกทางวัฒนธรรม วิถีการด�ารงชีวิต รวมทั้งเอกลักษณ์ของกลุ่มชนแต่ละชุมชน

๙. มีการพัฒนาเป็นไปอย่างกลมกลืน

เช่นถนนที่มีรถมารับมาส่งเด็กนักเรียนคับคั่งก็ยังมีการฝืนกฎจนท�าให้การจราจรติดขัดบ่อยๆ (โดยเฉพาะรถบรรทุกดินหรือรถบรรทุกของทางราชการเอง) ส่วนรถโดยสารก็มักจะไปจอดขวางทางเข้าออกของถนนซอยต่างๆ เพื่อรอผู้โดยสารแทนที่ไปจอดตรงป้ายที่ก�าหนด หากสร้างวินัยให้ผู้โดยสารไม่ยอมขึ้นรถถ้าไม่จอดตรงป้ายก็จะช่วยให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น

ป ัญหาเรื่องป ้ายโฆษณาท่ีติดตั้ งบนอาคารหรือทางเท้า ทางเทศบาลเข้ามาเข้มงวดโดยร่วมกับฝ่ายทหารเข้ามาเก็บป้ายต่างๆ ที่ติดจนขาดความสวยงาม (ศัพท์ของงานออกแบบภูมิทัศน์เรียกว่ามลภาวะทางสายตา หรือทัศนะอุจาด) นี่เป็นเรื่องหนึ่งท่ีพูดถึงกันนานแล้วซ่ึงมีเรื่องของความปลอดภัยรวมอยู่ด้วย เช่นการบังสายตาในการสัญจรท้ังทางเดินเท้าและทางรถ การยื่นป้ายออกมาเหนือถนนซ่ึงอาจร่วงลงมาใส่รถ เป็นต้น ล้วนแล้วเป็นเจตนารมณ์ของข้อกฎหมาย มุมมองของผมขอเชียร์เรื่องนี้ครับ แต่ขอให้พิจารณาการก�าหนดเป็นเขต (Zoning) ที่ควรปล่อยให้มีสีสันของเมืองบ้าง เช่นย่านธุรกิจการค้าที่ต้องอาศัยป้ายต่างๆ ให้เกิดความน่าสนใจ และบางป้ายก็เป็นการติดช่ัวคราวเฉพาะงานเพื่อขายสินค้าได้ อาจอนุโลมบ้างโดยให้ไปขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มิฉะน้ันจะสวนทางกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะต้องการหารายได้จากภาษีธุรกิจเหล่านี้ ส�าหรับในเขตเมืองเก่าท่ีต้องอาศัยภาพรวมของเมือง เช่นบริเวณพื้นท่ีกันชน (Buffer Zone) ของเขตที่ก�าลังเสนอให้วัดพระบรมธาตุเป็นมรดกโลก ก็ควรมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสม ในการอนุญาตให้ติดตั้งป้ายที่สอดคล้องกับเรื่องราวความเป็นเมืองเก่าที่จะสร้างเสน่ห์ให้กับเมืองอีกทางหนึ่ง อาจจะร่วมกันพิจารณาจากฝ่ายสถาปนิกเทศบาล กรมศิลปากร สถาบันสอนงานออกแบบสถาปัตยกรรม และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบและประวัติศาสตร์ ดูเหมือนว่าแนวคิดน้ีอาจยุ่งยาก แต่ถ้ามีการเริ่มต้นที่ดีก็จะไม่สร้างปัญหาให้คอยตามรื้อตามแก้ต่อไป และที่ส�าคัญจะต้องท�าความเข้าใจกับชาวเมืองให้เห็นความส�าคัญและความจ�าเป็นในการที่ต้องมีข้อก�าหนดเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตามป้ายไวนิลงานกิจกรรมชุมชนเช่นงานมงคลต่างๆ หรืองานของสถาบันการศึกษาที่จัดในระยะเวลาสั้นๆ ควรมีการอนุโลมให้ติดได้ มิฉะนั้นอาจเกิดความรู ้สึกต่อต้าน แต่เมื่อเสร็จกิจกรรมก็ให้ปลดออกทันที ส่วนป้ายไวนิลของทางราชการเองที่ติดประกาศจนเลยเวลากิจกรรมนั้นๆ ก็ควรปลดออกให้เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย (รวมทั้งป้ายที่มีรายละเอียดมากมายและตัวอักษรเล็กเกินไปที่สายตาคนปกติจะมองเห็นได้เวลาขับรถผ่าน)

และส่งเสริมคุณลักษณะที่ดี ที่มีมาในอดีต๑๐. มีระบบบริการทางสาธารณสุข และ

การรักษาพยาบาลที่ทั่วถึง เหมาะสมส�าหรับประชาชนทั่วไป

๑๑. ประชาชนมีสภาวะสุขภาพดี มีอัตราการเจ็บป่วยในระดับต�่า

ในทุกเรื่องข้างต้นน้ีย่อมเป็นความต้อง การให้เป็นไปทั้งของฝ่ายรัฐและฝ่ายประชาชน แต่บางเรื่องก็มีมุมมองที่แตกต่างกันไปในเชิงปฏิบัติ เช่นชาวบ้านต้องพึ่งพาทางเท้าในการท�ามาหากิน แต่ชาวเมืองบอกกีดขวางทางสัญจร พอฝ่ายรัฐเข้ามาจัดการตามระเบียบข้อกฎหมายกลายเป็นว่ารังแกคนยากจน แล้วจุดพอดีอยู่ตรงไหนครับ... ความจริงการแก้ปัญหาทางสังคมต้องพิจารณาหลายมิติ มีทั้งเรื่องเศรษฐกิจ ข้อกฎหมาย สิทธิพลเมือง และทั้งเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง ซึ่งต้องอาศัยการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและช่วยกันหาทางออกร่วมกันมากกว่าการจัดการโดยอ�านาจอย่างใดอย่างหนึ่งจึงจะแก้ได้อย่างยั่งยืน ผมเห็นด้วยกับการเอาจริงทุกเรื่องในสถานการณ์ที่เอื้ออ�านวยแบบนี้ แต่ก็มีมุมมองบางประการ (เฉพาะเรื่องที่มีการปฏิบัติการ) ที่จะขอน�าเสนอเป็นความเห็นส่วนตัวครับ

ปัญหาทางเท้าที่มีการวางของขายจนคนท่ัวไปเดินผ่านล�าบาก ซึ่งทางเทศบาลเคยประกาศเชิงขอร้องให้เว้นทางเดินให้หนู ๙๐ เซนติเมตร ไม่มีกฎหมายให้เว้นตามระยะดังกล่าวหรอกครับ เพียงแต่ยอมอะลุ้มอล่วยให้ท�ามาหากินกันได้ แต่ในการเว้นทางเดินที่เหมาะสมตามหลักการเชิงสรีระร่างกายคนที่สามารถเดินสวนกันได้อย่างสะดวกไม่ต้องเบี่ยงไหล่กัน จะต้องมีความกว้างอย่างน้อย ๑๒๐ เซนติเมตร ดังน้ันทางเท้าที่แคบมากกว่าน้ีจึงไม่ควรมีการวางอะไรให้กีดขวางทางเดิน แต่ถ้ากว้างพอก็ต้องท�าข้อตกลงเป็นพื้นที่ผ่อนผันกับทางเทศบาลที่ต้องออกระเบียบกติกาทั้งการก�าหนดแนวที่ตั้งวางขายของได้ การที่ต้องเก็บของทุกอย่างให้เรียบร้อยเมื่อปิดการขายรวมท้ังการท�าความสะอาดประจ�าวันด้วย ส่วนทางเท้าที่กว้างมากๆ เพราะอาคารต้องเว้นระยะตามพระราชบัญญัติก็ไม่ควรใช้หลักเกณฑ์เว้นทางเดินเพียง ๑๒๐ เซนติเมตร ก็ต้องหาเกณฑ์ระยะที่เหมาะสมกันไป และต้องไม่ลืมว่าจะต้องคิดถึงความสะดวกปลอดภัยของคนส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์มากกว่าประโยชน์ส่วนตัวของใคร

ปัญหาการจราจรที่ต�ารวจเข้มงวดกวด-ขันเรื่องการจอดรถผิดที่ผิดทางก็เป็นเรื่องที่ดี เช่นการจอดรถตรงเส้นขาวแดงขอบทางเท้า การจอดรถผิดด้านวันคู่วันค่ี เป็นต้น ล้วนแล้วท�าให้เกิดความคล่องตัวในการจราจร แต่ถนนบางสายท่ีห้ามรถบรรทุกผ่านช่วงเวลาเร่งด่วน

กรณีตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่าทางภาครัฐได้อาศัยช่วงจังหวะของสภาวะการปกครองประเทศท่ีไม่ปกติน้ีมาบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม แล้วที่ผ่านมาท�าไมไม่สามารถบังคับใช้ได้ครับ ทั้งๆ ที่มันก็เป็นกฎหมายตัวเดียวกันนั่นแหละ ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ชาวเมืองยังขาดเรื่องวินัยและไม่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ส�าคัญ บทความที่ผ ่านมาผมได้ยกกรณีที่ประเทศญี่ปุ ่นและประเทศสิงคโปร์สามารถสร้างชาติให้เจริญและเข้มแข็งอย่างยั่งยืนจากการสร้าง “วินัย” ขึ้นมาก่อน ผมไม่ทราบครับว่า หน่วยงานไหนที่ต้องรับผิดชอบต่อเรื่องการสร้างวินัย แต่มันต้องเริ่มตั้งแต่หน่วยที่เล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัว ที่ต้องสอนเด็กให้มีวินัยทุกคน ไม่ว่าการไม่ทิ้งขยะบนถนน การเข้าแถวรับบริการต่างๆ ฯลฯ ตลอดไปจนถึงผู้ใหญ่ต้องมีวินัยร่วมกันในการใช้รถใช้ถนน การไม่เห็นแก่ตัวในการใช้พื้นที่สาธารณะ และการร่วมกันสอดส่องสิ่งท่ีจะมาท�าร้ายสังคมและย้อนมาสู่ลูกหลานเรา หากเรามีวินัยกันผมไม่คิดว่ากฎหมายจะมีความส�าคัญอะไรที่ต้องใช้บังคับกันให้ขัดใจ แล้วจะเกิดเป็นชุมชนท่ีเข้มแข็งขึ้นมาเอง

ผมรับทราบการรวมตัวของชุมชนที่เข้มแข็งที่จะเป็นแบบอย่างได้ในกรุงเทพฯนี้เอง คือ “ประชาคมห้วยขวาง” ท่ีมีแกนน�ามาจากหลายฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง น�าความรู้และประสบการณ์ในวิชาชีพมาใช้ เช่นมีสถาปนิกชื่อ อาจารย์พงศ์พร สุดบรรทัด ท่านเคยท�างานเมืองนอกเมืองนา แล้วกลับมาสู่บ้านเกิด ได้สร้างจินตนาการให้คลองที่มีอยู่เปรียบเสมือนเมืองเวนิสใช้สัญจรและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตได้ ใช้ชื่อว่า “สยามคลองเมือง” ชุมชนก็เสียสละกันเท่าที่จะมีทรัพยากรอยู่ เช่น บางคนให้สถานที่เป็นห้องสมุดส�าหรับชุมชน บางคนก็เป็นแกนน�าสร้างกิจกรรมขึ้นมาเช่น สร้างคณะกลองยาวขึ้นเพื่อรับงานต่างๆ เป็นต้น จนได้รับความร่วมมือทางฝ่ายรัฐไม่ว่าเป็นส�านักงานเขต หน่วยทหาร รวมทั้งองค์กรพัฒนาต่างๆที่เข้ามาช่วยเหลือและมาดูงานเป็นแบบอย่าง แต่เท่าที่ทราบมาแม้ว่าไม่ระบุชัดเจน ชุมชนนี้ได้สร้าง “วินัย” นอย่างมีจิตส�านึกที่อยากให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่ มีการรณรงค์ช่วยกันดูแลคลองให้สะอาด รวมทั้งการเสนอข้อคิดเห็นที่คัดค้านโครงการของภาครัฐท่ีมีผลกระทบต่อชุมชน ผมยังคาดหวังในวัยสูงอายุของผมว่าจะมีโอกาสเห็นการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองไปในทางที่ดีขึ้นจากการสร้างวินัยนี่เอง จึงเป็นที่มาของการที่ผมใช้ค�าขวัญว่า

“บ้านเมืองน่าอยู่ ผู้คนต้องมีวินัย”

Page 14: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชหน้า ๑๔ ปีท่ี ๔ ฉบับท่ี ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

ฉบับน้ีคอลัมน ์ เ พ่ือนเ รียน รู ้ มี กิ จกรรมพิ เศษมาแนะน�ากันอีกเช่นเคยค่ะ ยังคงเป็นกิจกรรมที่ศูนย์

วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราชได้มีส่วนร่วม “มอบความรู้คู่ความบันเทิง” ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา ๔ ปีแล้วค่ะ กับเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับสถาบันเกอเธ่ และสถานเอกอัครราชทูตฝร่ังเศสประจ�าประเทศไทย ได้ร่วมจัดกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๘ และได้มีความร่วมมือกับศูนย์วิทยาศาสตร์เพ่ือการศึกษาทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔ ซึ่งในการจัดเทศกาลฯ ครั้งท่ี ๙ ที่ผ่านมา (พ.ศ.๒๕๕๖) มีผู้เข้าชมทั่วประเทศทั้งสิ้นจ�านวน ๒๕๓,๓๖๐ คน

ในปีนี้เป็นการจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ ๑๐ ในระหว่างวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ถึง ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๗ (จัดฉายทุกวันยกเว้นวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ภาพยนตร์ที่จัดฉายเป็นภาพยนตร์ลิขสิทธิ์ที่ผ่านการคัดเลือก จ�านวน ๒๖ เรื่อง จากท้ังหมด ๒๗๗ เรื่องของ ๕๐ ประเทศทั่วโลก โดยมีแนวคิดหลักเรื่อง “เทคโนโลยีเพื่ออนาคต” ไม่ใช่เพียงแค่ได้ชมภาพยนตร์คุณภาพเยี่ยมเท่านั้น แต่จะมีทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู ้วิทยาศาสตร์เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่เด็กและเยาวชนในเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ตลอดจนสร้างเจตคติที่ดีต ่อการเรียนรู ้วิทยาศาสตร์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด รวมถึงมีบริการน�าเยี่ยมชมนิทรรศการถาวรภายในศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราชโดยรอบด้วยเช่นกัน ท่านที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเรื่องย่อ และการจองรอบเข้าชมเพิ่มเติมได้ที่ www.nakhonsci.com ถ้าใครพลาดไปเสียดายแทนเลยค่ะ

โปรแกรม ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย ภาพยนต์

• Earth to Future - Super Heroes or Spys? Aerial Robots of the Future (DE)• Maya the Bee: Dancing with Bees (DE / FR)• Hawkeye: Robots (PH)

• The Show with the Mouse: LED (DE)• I Got It! Dolphins (TH)• I Got It! Honeybees (PH)

• I Got It! Overfishing (MM)• Annedroids – New Pals (CA)

-

-

• Dandelion: Clouds - The Hail Canon (DE)• Nine-and-a-Half: A Life Without Plastic (DE)• Science Nerd in Jordan - The Desert and the Dead Sea (DK)

• Nine-and-a-Half: Bio Plastic (DE)• The Energy Check (DE)• Microhydro - A Drop for Light (ID)

• The Dream Flight under Micro-Gravity (TH)• Wildlife: Sophisticated Farmers – Leafcutter Ants (JP)

-

-

• Max-Planck Cinema: 1) Insights into the Nanow orld 2) Genes on the Move (DE)• Plant-Based Chemistry for the Post-Petroleum Age (DE)• Supercomputers (ES)

• In Vitro Meat Soon to be Served? (FR)

• The Joy of Logic (UK)

• Robot Revolution: Will Machines Surpass Humans? (JP)

• Mysteries of the Human Voice (AU)

โปรแกรม ๑

โปรแกรม ๒

โปรแกรม ๓

โปรแกรม ๔

โปรแกรม ๕

หมายเหตุ ภาพยนตร์ทุกเรื่องพากย์เสียงภาษาไทย

แม่ไก่เหอ แม่ไก่หางลุ่นข้าหลวงญี่ปุ่น ชันชีจับเด็กจับส้ินสาวสาว บาวบาวท�าพวกหาดเล็กชันชีจับเด็ก จับสิ้นทั้งเมืองครเหอ

ต่อมายามาดะได้บริหารบ้านเมือง ส่งลูกชายและคณะไปเรียกส่วยภาษีจากเมืองปัตตานี ก็ได้รับการต่อต้านจากปัตตานี เพราะมีชาวต่างชาติ เช่น ฮอลันดา โปรตุเกส และอังกฤษ ที่ไม่ชอบญี่ปุ ่นมาค้าขายแข่งกัน ญี่ปุ ่นมายึดครองน่านน�้าจึงเดือดร้อนไปทั่ว ก็เข้าช่วยเหลือปัตตานี จึงเกิดการแข็งข้อไม่ยอมส่งเครื่องบรรณาการตามที่ตกลงไว้ จึงประกาศศึกท�าสงครามกัน

ยามาดะในฐานะเจ้าเมืองนครยกกองก�าลังไปปราบปรามโดยใช้ทหารชาวญี่ปุ่นเป็นทัพหน้า กองทัพนครเป็นทัพหนุน เมื่อเกิดการรบพุ่ง ทหารนครที่มีความคับแค้นอยู่เดิมก็ไม่สู้รบเต็มที่ การรบจึงเพลี่ยงพล�้า ยามาดะได้ รับบาดเจ็บ จึงต้องยกทัพกลับนครชั่วคราว

ความทราบถึงพระเจ้าปราสาททองกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงยินดีกับข่าวนี้มาก จึงทรงบัญชาให้พระมะริด เจ้าเมืองไชยา น�ายาหลวงมารักษาให้ แต่ยาที่น�ามาน้ันกลับเป็นพิษงู เมื่อน�ามาใส่แผล พิษก�าเริบถึงแก่เสียชีวิตทันที จบชีวิตอันโชกโชนของซามูไรผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงศรีอยุธยา ออกญาเสนาภิมุข เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๓

ส่วนโออิน ลูกชาย ได้ตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองนครสืบแทนพ่อ มีต�าแหน่งเดิมเป็นออกขุนเสนาภิมุข ถูกทหารชาวนครต่อต้านจนเกิดรบราฆ่าฟันกันตลอด รุ่งขึ้นอีกปีทหาร

จากอยุธยาลงมาสมทบปราบปราม โออินและทหารชาวญี่ปุ่นซึ่งมีไม่กี่ร้อยคนก็แตกกระเจิงหลบหนีไปเมืองเขมรจนหมด

นักข่าวชาวญี่ปุ ่นเคยมาสืบหาวังที่ยามาดะเคยอยู่ แต่ก็ไม่มีหลักฐานแน่ชัดยืนยัน แต่ขอบเขตบริเวณศาลากลางก็เป็นวังเจ้าเมืองนครมาหลายยุค ที่ใกล้เคียงเห็นจะเป็นถนน ‘นางงาม’ ข้างศาลากลาง ที่คล้ายคลึงกับชื่อ ‘ยามาดะ นางามาซะ’ ขุนศึกซามูไรเจ้าเมืองนคร

สุธรรม ชยันต์เกียรติ

<< ต่อจากหน้า ๔

Page 15: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

ตอนจบ

นครศรีธรรมราชปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ หน้า ๑๕

อาจารย์แก้ว

เครือข่ายแบบเท่าเทียม (PEER-TO-PEER NETWORK)

เครือข่ายประเภทน้ี เป็นเครือข่ายที่ไม่มีเคร่ืองคอมพิวเตอร์หลัก หรือที่เรามัก

เรียกว่า เคร่ืองเซิร์ฟเวอร์ (Server) และเครื่องทุกเครื่องก็มีความส�าคัญและสิทธิเท่าเทียมกัน หรือที่เรียกว่า เพียร์ (Peer) วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้จะเห็นได้ตามบ้าน ที่มีคอมพิวเตอร์หลายเคร่ือง และมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่าน Modem Router ในรูปแบบของไร้สายและแบบมีสาย ที่เราใช้ส�าหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง นั่นเอง

เครือข่ายแบบ Peer-to-peer มีชื่อเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า เวิร์คกรุ ๊ป (Work-group) ถ ้าจะแปลเป ็นภาษาไทยก็น ่าจะมีความหมายว่า การท�างานเป็นกลุ ่ม ประโยชน์และหลักในการน�าไปใช้ของเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer

เ หม าะส� า ห รั บ เ ค รื อ ข ่ า ยที่ มีคอมพิวเตอร์จ�านวนไม่มาก ไม่ควรเกิน ๑๐ เครื่อง

องค์กรทั่วๆ ไป ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่

ลักษณะการท�างานของเครือข่ายแบบ Client/Server

เครือข่ายแบบ Client/Server จะมีการแบ่งคอมพิวเตอร์เป็น ๒ กลุ่ม คือ เซอร์ฟเวอร์ (Server) และ ไคลเอนท์ (Client) ส�าหรับรายละเอียดมีดังนี้

เซอร์ฟเวอร์ (Server)เรารู้จักกันดีในนามของเครื่องแม่ ซึ่ง

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักท่ีใช้เก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลางของระบบเครือข่าย มีไว้ให้เครื่องลูก หรือ ไคลเอนท์ (Client) เข้ามาดึง ประมวลผล และเก็บข้อมูล สรุปก็คือ

เป ็นเครือข ่ายระบบคอมพิวเตอร ์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้จ�านวนมากๆ นั บ ร ้ อ ย นั บพั น ห รื อ แม ้ ก ร ะ ท่ั ง ใ ช ้คอมพิวเตอร ์เป ็นจ�านวนหมื่นๆ เครื่องก็ตาม เหมาะส�าหรับเครือข่ายท่ีต้องการ

ไคลเอนท์ (Client)เรียกเป็นภาษาไทยๆ หน่อยว่า เครื่อง

ลูก เป็นเคร่ืองคอมพิวเตอร์ท่ัวไปท่ีเราใช้งานตามแผนกต่างๆ โดยปกติเครื่องไคลเอนท์ จะมีการเข้าไปใช้บริการต่างๆ จากเครื่องเซอร์ฟเวอร์ ไม่ว่าจะเป็นการดึงข้อมูลการพิมพ์รายงาน มาท�าการประมวลผล และส่งผลลัพธ์กลับไปเก็บไว้ยังเซอร์ฟเวอร์

แบรนด์ของ Server Computerเนื่ อ งจากคอมพิ ว เตอร ์ที่ ท� า งาน

เป็น Server จะท�างานค่อนข้างหนัก และต้องการความเสถียรในการท�างานสูง ดังนั้น การเลือกซ้ือคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ จึงมักจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ Server ทีมีแบรนด์น่าเช่ือถือ ส�าหรับในประเทศไทยท่ีนิยมใช้กัน ได้แก่ HP, Dell และ IBM เป็นต้น

ตัวอย่างการท�างานของเครือข่ายแบบ CLIENT/SERVER

สมมุติว่า เราซื้อโปรแกรมระบบขายสินค้าและบริการ และต้องการให้พนักงานขายจ�านวน ๑๐ คนใช้งานร่วมกันได้ในเวลาเดียวกัน รวมท้ังเราซ่ึงเป็นเจ้าของสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ความต้องการข้างต้นนี้ เราจ�าเป็นจะต้องติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ Client/Server เพ่ือให้มีคอมพิวเตอร์ เซอร์ฟเวอร์ (Server) เป็นตัวเก็บข้อมูล และให้เครื่องคอมฯ ของพนักงานขายแต่ละคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน รวมทั้งตัวเราเองด้วย

จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น หวังว่าผู้อ่านคงได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และสามารถน�าไปประยุกต์ใช้กับองค์กร หรือแม้กระทั่งใช้ภายในบ้านของเราเองได้ด้วย

เครือข่ายแบบผูใ้ห้บริการและผูใ้ช้บริการ(CLIENT/SERVER NETWORK)

www.nakhonforum.com

Facebook : https://www.facebook.com/rakbaankerd.news

ต้องการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ ดิสก์ สแกนเนอร์ เป็นต้น

ไม ่ เน ้นเรื่ องระบบรักษาความปลอดภัยมากนัก เพราะใช้เป็นกลุ่มเฉพาะ

เน ้นเรื่องประสิทธิภาพ เน้นความปลอดภัย และการใช ้ทรัพยากรร ่ วมกัน ปัจจุบัน เครือข่ายประเภทนี้ เป็นที่นิยมมากที่สุด และจะเห็นได้จาก

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ท่ีท�าหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องลูก

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ท�าหน้าที่เป็น เซอร์ฟเวอร์ จะมีการผลิตท่ีแตกต่างจากเครือ่งคอมพวิเตอร์ทัว่ไป ซพียีทูีแ่ตกต่างกนั (อาจมีมากกว่าหนึ่งซีพียู) มีดิสก์ท่ีสามารถถอดประกอบได้แม้ยงัเปิดใช้งานอยู ่มหีน่วย ความจ�าค่อนข้างมาก มรีะบบไฟหรอื Power

Supply มากกว่าหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันระบบมีปัญหา และท่ีส�าคัญสามารถเปิด ใช้งานได้ ๒๔ ชัว่โมง โดยไม่จ�าเป็นต้องปิด

Page 16: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

ครับ ! หกปีก ่อน ผมฝังสะดือของ

ลูกชายไว้บนนั้นครับ พร้อมกับการ

ให้ชื่อเนินเขาลูกนี้ว่า “เนินลมฝน” และ

คือส่วนหนึ่งของที่มาชื่อ “ดช.ลมฝน”

ผลผลิตของผืนป่าเปื้อนเมฆอันนามว่า เขา

หลวง ..เนินนี้อยู่ในเทือกเขาตอนหนึ่งของ

เทือกเขานครศรีธรรมราช ความสูงระดับ

๑,๕๐๐ เมตรจากระดับน�้าทะเลปานกลาง

อยู่ระหว่างยอดฝามีเขตน�้าตกอ้ายเขียว

กับยอดพรหมโลก ลักษณะเป็นเนินทุ ่ง

หญ้ารูปทรงหัวใจคว�่าขนาดไม่เกิน ๑๐๐

ตารางวา ซ่อนตัวแวดล้อมด้วยเนินเขา

เล็กๆสามารถชมวิวได้ ๓๖๐ องศา หาก

ฟ้าเปิดเห็นไกลได้ถึงเกาะสมุย เกาะพงัน

และท้องทะเลอ่าวไทยด้านแหลมตะลุมพุก

ข้างๆ เนินลมฝน เป็นทุ่งหญ้าป่าพรุเล็กๆ

ภายในเป็นแหล่งต้นน�้าและบ่อโคลนดูด

นครศรีธรรมราชหน้า ๑๖ ปีท่ี ๔ ฉบับท่ี ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

Tarzanboy

จะไม่ใช่วิชาล่าสัตว์ แต่ลึกๆ วิชาพรานคือ

การด�ารงอยู่กับป่าเป็นหัวใจส�าคัญ ไม่ใช่

เรื่องส�าคัญอะไรในยุคนี้ครับ แต่ส�าหรับ

การมีอาชีพอะไรสักอย่าง ผมคิดว่านอก

จากจะต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณนั้นๆ

แล้ว มีอีกอย่างที่ส�าคัญยิ่ง...น่ันคือ ความ

รักครับ

อีกความตั้งใจอย่างมากของผม นั่น

คือ วันหนึ่งจะได้มีโอกาสพาเจ้าลูกชาย

ไปสัมผัสสถานที่แห่งน้ี “พาเจ้าลมฝน สู่

เนินลมฝน ท่ามกลางผืนป่าฝน” หลัง

แล้วแต่ความเชื่อครับ แต่น่ีเป็นส่วน

หนึ่งของพิธีกรรมพรานป่าเก่าแก่ หาก

ใครสืบเชื้อสายเป็นพราน หรือต้ังสัจจะรับ

วิชาพรานเป็นสัมมาอาชีพ หากได้ลูกชาย

ก็มักจะตั้งสัจจะ มอบเด็กคนนั้นแด่ผืน

ป่า ฝากฝังเปรียบเปรยว่า มอบให้เจ้าป่า

เจ้าเขา ให้ปกป้องดูแล หรือยกให้เป็นลูก

เจ้าป่า ...ประมาณน้ัน ส่วนหนึ่งนั้นก็เป็น

กุศโลบายครับ เพ่ือปลูกฝังสั่งสอนให้เขา

รักษ์ป่า ดูแลป่า เคารพป่าดุจพ่อแม่ และ

มีป่าเป็นบ้าน

ผมไม่ได ้มีเชื้อสายพรานครับ แต่

สมัครใจรับวิชาพรานเป็นสัมมาอาชีพแม้

Page 17: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ หน้า ๑๗

จากที่พยายามเพาะบ่มและถ่ายทอดสิ่ง

ต่างๆ ตั้งแต่เล็ก ให้เขาได้รู้ได้เห็น ว่าพ่อ

แม่ท�างานอะไร พ่อมีหน้าที่อะไร อะไร

หมายถึงอาชีพพรานป่า ป่าส�าคัญอย่างไร

ในส ่วนส�าคัญเหล่าน้ี นอกจากจะถูก

ถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ตรงแล้ว ยัง

ถูกบรรจุอยู ่ในหลักสูตร “ถอดรหัสป่า

จูเนียร์” ซึ่งเป็นหลักสูตรสอนเด็กๆ ให้

รู ้จักการอยู ่ร ่วมกับธรรมชาติ สอนให้

เขามีความกล้า ให้รู ้จักการปรับตัว ใน

สถานการณ์ของธรรมชาติจริงอันไร้สิ่ง

อ�านวยความสะดวกใดๆ ณ วันนี้ เมื่อ

เด็กๆ ของเราได้ท�า จึงเห็นว่า “...เขา

ท�าได้” ล่าสุด เด็กชายลมฝนและเพื่อนๆ

อันมีอายุเพิ่งจะ ๗ ขวบถึง ๑๐ ขวบ ก็

สามารถพาตัวเองไปสัมผัสป่าต้นน�้า ก้อน

เมฆ ด้วยสองเท้าของเขาเอง เด็กๆ ได้

เข้าใจเหตุผลและความส�าคัญของค�าว่า

“ต้นไม้ ผืนป่า ล�าธาร และภูเขา” แม้

เขาจะยังไม่เข้าใจนักว่า เขาจะรักษาผืน

ป่าเหล่านี้ไว้ได้อย่างไร แต่น�้าจากล�าธาร

อาหารจากผืนป่า และลมหายใจจากก้อน

เมฆนั้น คือสิ่งที่ก่อร่างสร้างเป็นตัวเขา

ดุจดั่งพ่อแม่

สายสะดือของเด็กชายคนหนึ่ง ที่ถูก

ฝังไว้บนภูเขาลูกหนึ่ง อาจจะไม่ส�าคัญเท่า

เลือดในกายของเด็กชายคนหนึ่งถูกสร้าง

จากสายธารแห่งผืนป่าเปื้อนเมฆแห่งนี้

ภาพที่หลายคนแอบหวังให้เกิดขึ้นกับวัดพระธาตุบ้านเรา ก�าลังเริ่มต้นข้ึนแล้วทุกเช้าวันอาทิตย์ พุทธศาสนิกชนมารวมตัวกันบนถนนราชด�าเนินเพื่อร่วมตักบาตรเป็นแถวยาวเป็นภาพที่งดงามยิ่งนัก.....ร่วมรักษาสิ่งดีดีให้อยู่คู่เมืองนครด้วยกันนะครับ

นพ.รังสิต ทองสมัคร์

Page 18: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชหน้า ๑๘ ปีท่ี ๔ ฉบับท่ี ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นภสร มีบุญ

กันส่งก�ำลังใจให้กับผู้ประกอบกำรมีก�ำลัง

ใจเพื่อที่จะต่อสู้ และอยู่ให้ได้อย่ำงมั่นคง ..

คิดว่ำเป็นอีกหนึ่งก�ำลังใจดีดี ที่เรำสำมำรถ

จะมีและแบ่งปันกันได้นะคะ

เมนูอำหำรขึ้นชื่อของร้ำนนี้ก็มีหลำย

รำยกำรเด็ดเช่นกันค่ะ ส�ำหรับผู้ชื่นชอบ

เนื้อ สั่งได้เลยกับเมนูเนื้อตำกหมอก เนื้อ

รสนุ่ม ละมุนลิ้นสั่งตรงมำจำกอยุธยำ มี

ที่ น่ีที่ เดียวค่ะ อำหำรจำนเดียวส�ำหรับ

ผู ้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องกำรควำมรวดเร็ว

และรำคำไม่แพง ก็มีให้เลือกมำกมำย ..

อำทิ ไส้กรอกรมควัน, ส้มต�ำสเต็ก, พอร์ค-

ช็อพ, สเต็กไก่บำร์บีคิว, ขนมปังเนยนม,

รับหน้าฝนกันเต็มรูปแบบ อย่าลืมใช้

รถใช้ถนนกันด้วยความระมัดระวัง

ด้วยนะคะ .. ล้อหมุนรอบนี้หาสถานที ่

น่ารักๆ ร้านเล็กๆ แต่บรรยากาศสบายๆ

เป็นกันเอง แถมอาหารทุกจาน ทุกเมนู

เจ้าของร้านเข้าครัวลงมือเองหมด.. ..แบบ

ฟันธงรสชาติได้เลยค่ะ ร้านพันทิ สเต็ก

ร้านเล็กๆ ที่ก่อเกิดจากความช่างกินของ

เจ้าของร้าน (น้องเปิ้ล) ซึ่งนอกจากเป็น

คนที่ชื่นชอบการชิมอาหารอร่อยๆ หลาก

หลายรูปแบบ และหลังจากที่ตระเวนขับ

รถ อยู่พอประมาณ เลยตัดสินใจเดินทาง

มาอุดหนุนน้องสาวที่แสนน่ารักอีกหนึ่งคน

.. น้องเปิ้ล พันทิภา มัทวัง สาวสวยนัก

ประชาสัมพันธ์แห่งโรงพยาบาลมหาราช

คุยเก่ง ยิ้มเก่ง ..ช่างกิน ก็เลยท�าในสิ่งที่

ตนเองชอบกิน มาประยุกต์ แล้วเสิร์ฟให้

ลูกค้าได้ลองชิมด้วย

.. ร้านพันทิสเต็ก เป็นร้านเล็กๆ ติด

ริมถนนราชด�าเนิน ตัวอาคารสีเขียวหวาน

สดใส มองเข้าไปด้านในทะลุกระจกใส

ดูสว่าง สะอาด น่ารัก น่านั่ง ค่ะ .. ลูกค้า

ของที่นี่ก็ เน ้นการบอกต่อ ส ่วนใหญ่ก็

จะเป็นกลุ ่มเพ่ือนฝูง คนสนิท ..ที่สลับ

สับเปล่ียน หมุนเวียนกันมาอุดหนุน แต่

เจ ้าของร ้านก็น ่ารักขยันคิดโปรโมชั่น

ตลอด พูดได้ว่ามีโปรกันแทบทุกเดือนค่ะ

.. น้องเปิ้ลเล่าต่อว่าตอนท�าร้านใหม่ๆ ก็ทิ้ง

วัตถุดิบไปเยอะเหมือนกัน เพราะปรับปรุง

แล้ว ไม่ได้ตามรสชาติตามที่ตัวเองต้องการ

ท�าแล้ว ท�าใหม่ ท�าอีก เรียกว่ากว่าจะผ่าน

ขนมปังสังขยาใบเตย และเครื่องดื่มรสเด็ด

พั้นช์มั่ว ซึ่งเป็นเคร่ืองด่ืมขายดีประจ�าร้าน

.. แวะมาชิมนะคะ ถ้ามีโอกาส / ร้านพันทิ

สเต็ก เปิดบริการทุกวัน เวลา ๑๖.๓๐ ถึง

๒๑.๐๐ น. (ปิดทุกวันจันทร์) ส�ารองที่นั่ง

ได้ค่ะที่ โทร. ๐๘๑-๕๓๕-๓๙๑๒

บ๊ายบายสายฝน แล้วเรามาเจอะเจอ

กันใหม่กับร้านดังในหัวใจนักชิม โอ ล่ัลล้า

ฉบับหน้าในเดือนธันวาคมนะคะ

..รับส่วนลด ๑๐% เช่นเดิมส�ำหรับ

ผู้อ่ำนหนังสือพิมพ์รักบ้ำนเกิดค่ะ

มาได้มีแอบหมดแรงเหมือนกัน .. กว่าจะ

มาถึงวันนี้ได้ก็ผ่านอุปสรรคมามากมาย

เช่นกัน ..ซึ่งเร่ืองราวเหล่าน้ีก็คงถือเป็น

ปกติของงผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่ต้อง

เจอะเจอกันทุกคน จากการที่ได้ไปสัมผัส

พบปะ และพูดคุยกับเจ้าของธุรกิจด้าน

ร้านอาหาร ในช่วงนี้ทุกร้านพูดเหมือนกัน

ว่าช่วงนี้ลูกค้าน้อยเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ..

ดังนั้นการท�าคอลัมน์นี้ก็เหมือนกับได้ช่วย

โอลั่ลล้าฉบับนี้มาพร้อมกับสายฝนโปรยปราย

และบรรยากาศอันชุ่มฉ�่า

Page 19: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ หน้า ๑๙

นพ.บัญชา พงษ์พานิช

นครดอนพระ<< ต่อจากหน้า ๒

แทนองค์พระพุทธเจ้าและเริ่มเห็นการตกแต่งท่ีอาจจะเกินความเหมาะควร ควรได้มีการวางข้อก�าหนดตลอดจนการก�ากับ หรือจัดท�าสาธิตแนะน�าไว้ด้วย

๓) การสนับสนุนส่งเสริมการสร้างท�า บ�ารุงรักษาและพัฒนา “เรือพระ” หรือ “พนมพระ” ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบประยุกต์ดังท่ีบริษัทโตโยต้านครศรีธรรมราชท�าถวายวัดพระลาน ซึ่งอาจจัดได้เป็น ๔ ประเภท แบบประเพณีดั้งเดิม ๒ ประเภท คือเป็นรางเล่ือนไม้ และ ล้อเลื่อนไม้ กับแบบประยุกต์ ๒ ประเภท คือ เป็นล้อยาง และ เป็นรถยนต์

๔) การสนับสนุนส่งเสริมการลากพระในรูปแบบที่เหมาะสมต่อประเพณีอันดีงาม ซึ่งอาจมีได้ ๓ ประเภท คือ แบบประเพณีนิยม แบบรื่นเริงสนุกสนาน และ แบบประยุกต์สมัย

๕) การจัดศูนย์ชุมนุม “นมพระ” พร้อม

นานากิจกรรมการฉลองสมโภช ซ่ึงอาจจัดเป็นศูนย์รวมใหญ่ในเขตต่างๆ ทั่วทั้งจังหวัด และจุดรวมย่อยตามชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งหากได้กรณีศึกษาต่างๆ ท้ังท่ีเคยท�ามาแล้วท่ีโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ที่อ�าเภอพระพรหม ที่อ�าเภอปากพนัง ตลอดจนที่ก�าลังริเร่ิมใหม่ต่างๆ

๖) การจัดระบบระเบียบและอ�านวยความสะดวกในการแห่และลากพระตลอดจนระบบจราจรในช่วงเทศกาลลากพระซึ่งมีความจ�าเป็น

ประเพณีลากพระและการเดินทางเข้าร่วมมากขึ้น๗) การจัดการประกวดประชันในแง่มุม

ต่างๆ ตามสมควร ซึ่งมีได้หลายประเด็นมิติ อาทิ การสาธิตประกวดพระลากเคร่ืองสูงและเครื่องทรงพระลาก เรือพระ ขบวนลากพระ การตีโพนคุมพระ ตลอดจนกิจกรรมการละเล่นและฉลองสมโภชต่างๆ

๘) การจัดให้มีการรณรงค์ส่งเสริมและเผยแผ่เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในระดับ

ต่างๆ รวมทั้งการเดินทางเข้าร่วมซึ่งจากการเข้าร่วมตลอดวันตามจุดต่างๆ และได้รับฟังข้อคิดความเห็นจากมิตรสหายที่ได้แวะไปลานสกาและคีรีวง รวมทั้งปากพนัง ประกอบกับได้ผ่านไปทางสุราษฎร์ธานีและเกาะสมุยที่ก�าลังมีงานทอดผ้าป่า ชักพระประเพณี เห็นว่าของเมืองนครเรามีสีสันและเสน่ห์ไม่น้อย น่าที่จะยกระดับเป็นมหกรรมใหญ่ได้ทั่วทั้งจังหวัด โดยอาจเลือกใช้ประเด็น “ไหว้พระ ๕๐ วัด หรือ ๑๐๐ วัด ใน๑ วัน” ได้ไม่ยากเพราะหากแวะสัก ๒ จุดก็ได้กว่า ๕๐ วัดแล้ว

๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗

บรรยากาศการชุมนุม “นมพระ” ที่ในเมือง

การตกแต่งองค์พระลากลักษณะต่าง ๆ ที่อาจเกินเลย ควรพิจารณาความเหมาะสม

๓ ขบวนแห่ที่ย่านตลาดแขก

อย่างยิ่ง โดยเฉพาะหากมีการขยายตัวของการมีส่วนร่วมจัด

บรรยากาศการชุมนุม “นมพระ” ที่เขามหาชัย

Page 20: รักบ้านเกิด ฉบับที่ 38 พฤศจิกายน 2557

นครศรีธรรมราชหน้า ๒๐ ปีท่ี ๔ ฉบับท่ี ๓๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗