วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

50
ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ปีท่ 33 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2555 โดยได้รับพระบรมราชานุญาต

Upload: -

Post on 22-Jun-2015

784 views

Category:

Education


0 download

DESCRIPTION

ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ http://www.rubberthai.com/rubberthai/

TRANSCRIPT

Page 1: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11ปีที่ 33 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

โดยได้รับพระบรมราชานุญาต

Page 2: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อขอสู้ศึกทุกเมื่อไม่หวั่นไหวขอทนทุกข์รุกโรมโหมกายใจขอฝ่าฟันผองภัยด้วยใจทะนง

จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

ไม่ท้อถอยคอยสร้างสิ่งที่ควรไม่เรรวนพะว้าพะวังคิดกังขาไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตาไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป

นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง หมายผดุงยุติธรรมอันสดใส ถึงทนทุกข์ทรมานนานเท่าใด ยังมั่นใจรักชาติองอาจครัน

โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยันคงยืนหยัดสู้ไปใฝ่ประจัญยอมอาสัญก็เพราะปองเทิดผองไทย

ความฝันอันสูงสุด

Page 3: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

สารบัญ

บทความ

ประจำฉบับ

ข่าวสถาบันวิจัยยาง

ใคร?..เปิดประตูยางพาราอีสาน

113ปียางพาราไทยจากยางพาราต้นแรกถึงปัจจุบัน

พระผู้ทรงประทานสืบสานยางพาราไทย

ย้ายข้าราชการ...

สรุปสถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่3ของปีพ.ศ.2555และแนวโน้มในไตรมาสที่4ของปีพ.ศ.2555

ความเสียหายจากการกรีดยางต้นเล็ก

เตือนภัยสวนยาง

ปีที่ 33 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2555 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11

11

15

33

28

2

43

8

Page 4: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

บทบรรณาธิการ

“พืชที่สำคัญทางภาคใต้คือยางพารา ซึ่งยางนี้ก็ไปเกี่ยวข้องกันหลายด้าน เป็นต้นไม้ก็ เกี่ยวข้องกับกรมป่าไม้ ซึ่งตามปกติก็ไม่ถือว่าเป็นเหมือนเรียกต้นไม้ เพราะการยางเป็นผู้ศึกษาเรื่องของต้นยาง แต่ต้นยางก็เป็นต้นไม้เหมือนกัน ฉะนั้น กรมป่าไม้และการยางก็ร่วมมือกันได้ นอกจากนั้น การยางก็จะต้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหมือนกัน เพราะว่าถ้าได้ยางแล้วก็ต้องไปใช้ประโยชน์ป้อนโรงงานอุตสาหกรรม ฉะนั้น ทั้งอุตสาหกรรมใหญ่ทั้งอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ต้องเกี่ยวข้องด้วย” เนื่องในโอกาสมหามงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ในวันที่ ๕ ธันวาคม๒๕๕๕สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จึงขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่ งดังกล่าวข้างต้น ขณะเสด็จพระราชดำเนินตรวจเยี่ยมโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาสกับนายสิทธิลาภ วสุวัต รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายนพ.ศ. ๒๕๒๖ ข้างต้น เพื่อบันทึกให้อนุชนรุ่นหลังศึกษาพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ต่อพสกนิกรชาวสวนยางเพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติทั้งในด้านการอนุรักษ์ป่าไม้การดำเนินชีวิตในครัวเรือนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาอุตสาหกรรมยางของประเทศและอื่นๆ อันเนื่องมาจากพระราชกระแสรับสั่งที่ทุกคนควรน้อมนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ทั้งตนเองและส่วนรวมสืบไป ในโอกาสนี้ สถาบันวิจัยยางได้นำเอาเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับยางพาราบางส่วนมาบันทึก

เจ้าของ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร บรรณาธิการบริหาร สุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง

บรรณาธิการ นายสุจินต์ แม้นเหมือนผู้ช่วยบรรณาธิการ พิเชฏฐ์ พร้อมมูลกองบรรณาธิการ เอนก กุณาละสิริ,

พรรษาอดุลยธรรม, ดร.นภาวรรณ เลขะวิพัฒณ์, ดร.พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์, ดร.กฤษดาสังข์สิงห์ผู้จัดการสื่อสิ่งพิมพ์

ไพรัตน์ ทรงพานิชผู้จัดการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สมจิตต์ ศิขรินมาศผู้ช่วยผู้จัดการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จักรพงศ์

อมรทรัพย์ผู้จัดการระบบฐานข้อมูล พิเชฏฐ์พร้อมมูลผู้จัดการสนทนาภาษายาง วราวุธชูธรรมธัช

ไว้ในวารสารฉบับนี้ นับจากยางต้นแรกของแผ่นดินสยามจวบจนการขยายเขตปลูกยางพาราสู่ดินแดนแห่งความแห้งแล้งกันดารในอดีตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาสู่ความยั่งยืนในการประกอบอาชีพสวนยางในภูมิภาคนี้ ยางพาราจะมีส่วนในการเปลี่ยนดินแดนแถบนี้ให้หวนกลับคืนสู่ความร่มรื่น ร่มเย็น และชุ่มฉ่ำไปด้วยฝน แม้จะไม่สามารถหวนกลับความเป็นดงพญาเย็นเช่นอดีต แต่ก็จะคลายความแห้งแล้งลง ไม่ต้องอพยพทิ้งพื้นที่ทำกินเช่นอดีต ถ้าพวกเราในพื้นที่นี้ช่วยกันอนุรักษ์ป่าไม้โดยน้อมนำพระราชกระแสรับสั่งไปปฏิบัติ เพื่อเป็นกำลังใจและสร้างจิตใจให้แข็งแกร่งสู้กับปัญหาทั้งมวล โดยเฉพาะความโลภในใจตนสถาบันวิจัยยางก็ได้น้อมนำเอาบทเพลง “ความฝันอันสูงสุด” มาเพื่อให้พวกเราชาวยางได้ยึดเป็นปณิธานแม้จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมาก็ไม่ท้อถอย เฉกเช่นรอยพระบาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้นำและแสดงเป็นตัวอย่างให้พวกเราได้เทิดทูนไว้เหนือเกล้าแล้ว จะเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ถ้าเกษตรกรชาวสวนยางไม่สามารถเอาชนะใจตน เร่งกรีดยางต้นเล็กนอกจากผลผลิตไม่ได้ตามเป้าหมายที่ควรได้ แต่กลับทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศทั้งในแง่เศรษฐกิจและความเป็นป่าไม้ที่จะนำความชุ่มชี้นสู่แดนอีสานอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราชาวไทยทั้งมวล

สุจินต์ แม้นเหมือนบรรณาธิการ

ยางพารา พืชประวัติศาสตร์คู่ชีวิตเกษตรกรไทย

Page 5: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

2ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2526 พระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

ทรงสนพระราชหฤทัยทางด้ านยางพารา ทรงมี

พระราชกระแสรับสั่ง ขณะเสด็จพระราชดำเนินตรวจ

เยี่ยมโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัด

นราธิวาส กับนายสิทธิลาภ วสุวัต รองอธิบดีกรม

พัฒนาที่ดินในขณะนั้นมีความว่า “พืชที่สำคัญทาง

ภาคใต้คือยางพารา ซึ่งยางนี้ก็ไปเกี่ยวข้องกันหลาย

ด้าน เป็นต้นไม้ก็เกี่ยวข้องกับกรมป่าไม้ ซึ่งตามปกติ

ก็ไม่ถือว่าเป็นเหมือนเรียกต้นไม้ เพราะการยางเป็น

ผู้ศึกษาเรื่องของต้นยาง แต่ต้นยางก็เป็นต้นไม้เหมือน

กัน ฉะนั้น กรมป่าไม้และการยางก็ร่วมมือกันได้

นอกจากนั้น การยางก็จะต้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรม

เหมือนกัน เพราะว่าถ้าได้ยางแล้วก็ต้องไปใช้ประโยชน์

ป้อนโรงงานอุตสาหกรรม ฉะนั้น ทั้งอุตสาหกรรมใหญ่

ทั้งอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ต้องเกี่ยวข้องด้วย” (ที่มา :

หนังสือ 84 พรรษา กษัตริย์เกษตร เฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราช

พิธีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา)

ยางพารา (Hevea brasiliensis) มีถิ่นกำเนิด

เดิมแถวลุ่มแม่น้ำอะเมซอนในประเทศบราซิล ทวีป

อเมริกาใต้ ยางพาราเป็นพืชที่ให้น้ำยาง ชาวพื้นเมือง

แถบอเมริกาใต้เรียกต้นไม้ที่ให้น้ำยางนี้ว่า “คาอุท์ชุค”

(Caoutchouc) ซึ่งแปลว่าต้นไม้ร้องไห้ ก่อนที่ยางพารา

จะมาเจริญงอกงามในแถบทวีปเอเชียและสร้างมูลค่า

มหาศาลให้กับประเทศผู้ปลูกยางในปัจจุบัน ชาว

อังกฤษที่สมควรได้รับการยกย่องคือ เซอร์เฮนรี วิคแฮม

ได้นำเมล็ดยางพาราจำนวน 70,000 เมล็ดจากประเทศ

บราซิลและเปรู ไปเพาะที่สวนพฤกษศาสตร์คิวประเทศ

อังกฤษ ในปี พ.ศ. 2419 จนได้ต้นกล้ายางจำนวน

2,700 ต้น ในจำนวนนี้ 1,900 ต้น ได้ส่งมาปลูกที่สวน

พฤกษศาสตร์ Heneratgoda ประเทศศรีลังกา ในปี

ต่อมาได้ส่ งต้นกล้าที่ โตแล้วจากประเทศศรีลั งกา

จำนวน 22 ต้น ไปปลูกที่สวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์

13 ต้น และอีก 9 ต้น ปลูกหลังบ้านข้าหลวงใหญ่

อังกฤษที่กัวลากังซา รัฐเปรัคประเทศมาเลเซียต้นยาง

เหล่านี้จึงเป็นพ่อแม่พันธุ์ของยางพาราที่ปลูกกันใน

เอเชียจวบจนทุกวันนี้

ในปี ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2425) ในสมัยพระบาท

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรง

จัดการแสดงกสิกรรมแลพาณิชการโดยให้กระทรวง

เกษตราธิการซึ่งมีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชมกุฎราช

กุมารเป็นกิติมศักดินายกในการจัดแสดงกสิกรรม

แลพาณิชการและพระยาวงษานุประพันธ์ ซึ่ ง เป็น

เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการร่วมจัดการในครั้งนี้ การ

จัดแสดงกสิกรรมแลพาณิชการที่ มี ในกรุ ง เทพฯ

ครั้งแรกนี้ เป็นไปตามพระราชประสงค์แลประโยชน์

แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งในการจัดแสดงมีสิ่งของ

นำมาแสดงมากมายเช่น การประกวดพันธุ์ข้าวพันธุ์พืช

ต่างๆแร่ธาตุต่างๆ, ของป่า เช่นครั่ง, ขี้ผึ้ง, น้ำมันยาง,

เครื่องจักรเครื่องยนต์, เครื่องมือที่ใช้ในการกสิกรรม

เป็นต้น (จากหนังสือรายงานการแสดงกสิกรรมแล

พาณิชการครั้งที่ 1 วันที่ 18 เมษายน รัตนโกสินทร์ศก

129 เรียบเรียงโดย มิศเตอร์ เย.ซี. บารเน็ต แปลโดย

ขุนธราภาคพาที)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง

ได้เห็นความสำคัญของการทำกสิกรรมของประชาชน

คนไทยเป็นสำคัญ

อนึ่ง ต้นยางพาราก็เริ่มเข้ามาปลูกอยู่ทางภาคใต้

ในเมืองตรังบ้างแล้วแต่ยังไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก

ผู้ที่นำเข้าปลูก คือพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี

(คอซิมบี้ ณ ระนอง) ในปี พ.ศ. 2443 ในสมัยของ

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

พระผู้ทรงประทาน สืบสานยางพาราไทย

Page 6: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

3ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

พ.ศ. 2453 มีการปลูกยางพารากันแพร่หลายมากขึ้น

และมีพันธุ์ยางหลายสายพันธุ์เข้ามาปลูกทางภาคใต้

มากขึ้น ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า

อยู่หัว (รัชกาลที่ 7) พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศพระบรม

ราชโองการ ให้ตั้ งสถานีทดลองกสิกรรมภาคใต้

(หาดใหญ่) ต่อมาได้ เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีการยาง

คอหงส์ (เอกสารที่มา :ประวัติและสถิติผลงานของกรม

กสิกรรม) ปี พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัวอนันทมหิดลได้ทรงมีประกาศพระบรมราชโองการ

(คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประกาศ

ประธานสภาผู้แทนราษฎร์) ให้ตราพระราชบัญญัติ

ควบคุมจำกัดยาง พุทธศักราช 2477 ซึ่งเป็นกฎหมาย

และกฎกระทรวงเกษตราธิการและในปีพ.ศ. 2481 ได้

มีการแก้ไขกฎหมายและกฎกระทรวงเกษตราธิการโดย

ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมจำกัดยาง พ.ศ. 2477

และให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมจำกัดยางพ.ศ. 2481

แทน (ที่มา : หนังสือพระราชบัญญัติควบคุมจำกัดยาง

2477-2481 ฉบับกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

พ.ศ. 2503 ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีสมเด็จพระ

ศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นผู้สำเร็จราชการแทน

พระองค์ ให้ไว้ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2503

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 กันยายนพ.ศ.

2503 กฎหมายเริ่มมีผลบังคับใช้ วันที่ 5 ธันวาคม

พ.ศ. 2503 พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การ

ทำสวนยางพ.ศ. 2503 ให้จัดตั้งกองทุนสงเคราะห์การ

ทำสวนยาง เพื่อช่วยเหลือเจ้าของสวนยาง ให้ปรับปรุง

สวนยางให้ดีขึ้น (คัดจากราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 77

ตอนที่ 73 วันที่ 6 กันยายน 2503)

พ.ศ. 2505 ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรม

ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศโดยที่ เป็นการ

สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์

การทำสวนยาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2505 (คัดจาก

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 77 ตอนที่ 105 วันที่ 27

พฤศจิกายน พ.ศ. 2505)

จากเอกสารต่างๆ ที่ได้บันทึกพระราชกรณียกิจ

ของพระมหากษัตริย์ไทย เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตร

เป็นส่วนมาก โดยเฉพาะตั้ งแต่รัชกาลที่ 5 จนถึง

รัชกาลปัจจุบันรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านทรงเน้น

ด้านการเกษตรเป็นอย่างมาก ทรงมีพระเนตรอัน

กว้างไกลที่มองพสกนิกรของพระองค์ท่านให้อยู่ดีกินดี

และค้าขายแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาล

ที่ 9 ปัจจุบัน พระองค์ท่านฯ ได้ทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ จัดตั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

มากมายกว่า 4,000 โครงการ โดยมีศูนย์ศึกษาการ

พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 6 ศูนย์ ที่

จัดตั้งทั่วประเทศเป็นศูนย์กลางให้แก่เกษตรกรเข้า

ไปศึกษาดูงานด้านการเกษตร เช่น โครงการศูนย์ศึกษา

การพัฒนาพิกุลทอง โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนา

เขาหินซ้อน โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน

เป็นต้น ที่มีการปลูกยางพาราอยู่ ในโครงการของ

พระองค์ท่านซึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาอันหาที่สุด

มิได้ จวบกระทั่ ง เวลานี้ ได้มี เกษตรกรได้ปลูกยาง

พาราแพร่หลายไปเกือบทั่วประเทศแล้ว จึงนับได้ว่า

พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยทุกพระองค์ทรงพระ

ปรีชาการพัฒนาในด้านการเกษตรเพื่อให้พสกนิกร

ของพระองค์ท่านฯ ได้มีความรู้ เพื่อนำไปใช้ให้เกิด

ประโยชน์สูงสุดในการทำการเกษตรให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

สืบไป

Page 7: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

4ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

Page 8: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

5ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

Page 9: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

6ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

Page 10: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

7ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

Page 11: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

8ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

พระยารัษฎานุประดิษฐ์

ม หิ ศ ร ภั ก ดี ( ค อ ซิ ม บี้ ณ

ระนอง) เป็นนักปกครองที่มี

ความสามารถ และมีชื่อเสียง

เป็นที่ยอมรับในวงการพัฒนา

ที่ ทั น ส มั ย โ ด ยมุ่ ง พั ฒน า

บ้านเมืองใน 6 ด้านด้วยกัน คือ การคมนาคมสื่อสาร

การศึกษา การสาธารณสุข การปราบโจรผู้ ร้ าย

การรักษาความสงบ และการเกษตรกรรม ทั้งนี้ได้

วางแผนการพัฒนาไว้ล่วงหน้าทุกจังหวัดและแตกต่าง

กันไปตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ

พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้

ณ ระนอง) เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 11 คน ของ

พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู่เจียง) และคุณหญิง

ซิทท์ กิ้มเหลียน เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายนพ.ศ. 2400

เมื่ออายุได้ 9 ขวบ ได้ติดตามบิดาเดินทางไปประเทศ

จีนเพื่อศึกษาภาษาจีนและการทำธุรกิจ ทำให้ท่าน

ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือไทย แต่ท่านสามารถเขียน

ภาษาจีน และพูดได้ถึง 9 ภาษา ปี พ.ศ. 2425 บิดา

ได้ถึงแก่อนิจกรรม คอซิมก๊องซึ่งเป็นพี่ชาย ได้นำเข้า

ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมัยพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ครองราชสมบัติ

และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานสัญญาบัตร

ดังนี้

ปี พ.ศ. 2425 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็น

หลวงบริรักษ์โลหวิสัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมือง

ระนอง

ปี พ.ศ. 2428 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็น

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

113 ปียางพาราไทย จากยางพาราต้นแรกถึงปัจจุบัน

พระอัษฎงทิศรักษา ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตระบุรี

(กระบุรี)

ปี พ.ศ. 2433 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

เป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ตำแหน่งผู้ว่า

ราชการเมืองตรัง

ปี พ.ศ. 2444 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็น

สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ได้ถึ งแก่

อนิจกรรม เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2456 ณ บ้าน

จักรพงษ์ปีนังสิริอายุได้56ปี

ด้วยตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิด

ชอบดูแลหัวเมืองตะวันตก ตั้งแต่ภูเก็ต ระนอง พังงา

กระบี่ ตะกั่วป่า และตรัง ทำให้ท่านมีผลงานเป็นที่

ลือเลื่องโดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม พระยารัษฎานุ

ประดิษฐ์มหิศรภักดีได้เดินทางไปดูงานด้านเกษตรกรรม

ในประเทศมลายูและได้เห็นการปลูกยางและมีผลผลิต

ที่ดีมาก ก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกใน

ประเทศไทยบ้างเพื่อทดแทนพืชเศรษฐกิจส่งออกของ

ไทยเช่นพริกไทยซึ่งมีราคาตกต่ำมากในขณะนั้น

แต่การปลูกยางในประเทศไทยยังไม่มีหลักฐาน

ที่แน่ชัดว่าเริ่มปลูกกันเมื่อใดแต่เชื่อกันว่าพระยารัษฎา

นุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ขณะที่

ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ได้นำยางจากรัฐเปรัค

ประเทศมลายู เข้ามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2442 – 2443 และได้

แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ให้ราษฎรในภาคใต้ได้ปลูกยาง

ตั้งแต่นั้นมา และได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางไปทั่ว

14จังหวัดภาคใต้

ในปี พ.ศ. 2451 หลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี)

Page 12: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

9ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ได้นำยางไปปลูกที่จังหวัดจันทบุรี จึงได้มีการขยายการ

ปลูกยางพาราในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง

มีการปลูกกันทั่วไป ใน 3 จังหวัด ภาคตะวันออก คือ

จันทบุรี ระยอง และตราด และกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ

ที่สำคัญของภาคตะวันออก

ในช่วงปี พ.ศ. 2475 หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ

ผู้ ก่ อตั้ ง โ ร ง เ รี ยนฝึ กหั ดค รู ป ร ะถมกสิ ก ร รมขึ้ นที่

คอหงส์ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้ก่อตั้ งสถานี

ทดลองกสิกรรมภาคใต้ขึ้ นที่ บ้ านชะมวง อำเภอ

ควนเนียง จังหวัดสงขลา และในปี 2476 ได้ย้าย

สถานีทดลองดังกล่าวไปตั้งที่ ตำบลคอหงส์ อำเภอ

หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และได้มีการแต่งตั้งหลวง

สุวรรณฯให้เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก

ในปี พ .ศ . 2496 หลวงสำรวจพฤกษาลัย

(สมบูรณ์ณ ถลาง) หัวหน้ากองการยาง กรมกสิกรรม

ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2493 และนายรัตน์

เพชรจันทร ผู้ช่วยหัวหน้ากองการยาง และนายเสียน

ทองจันทร์ เจ้าหน้าที่ ระดับสูงกองการยาง บุคคล

กลุ่มนี้มีบทบาทต่อการผลักดันเสนอร่าง พรบ. ปลูก

แทนต่อรัฐบาลซึ่งใช้เวลาถึง 6 รัฐบาล ในระยะเวลา

6 ปี จึงออกพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การ

ทำสวนยางและมีการประกาศใช้ในปี2503

ในปี พ.ศ. 2504 กิจการปลูกแทนก้าวหน้าไป

ได้ด้วยดีเป็นที่พึงพอใจของชาวสวนยางในภาคใต้

ในปี พ.ศ. 2508 ดร. เสริมลาภ วสุวัต เป็นผู้

วางรากฐานการวิจัยและพัฒนายาง การค้นคว้าวิจัย

เกี่ยวกับยางพาราทุกๆ ด้านซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมยางไทย

ภาพที่ 1 ต้นยางต้นแรก

ภาพที่ 2 พระยารัษฎานุประดิษฐ์

ภาพที่ 4 หลวงสำรวจพฤกษาลัย

(สมบูรณ์ ณ ถลาง)

ภาพที่ 6 นายรัตน์ เพชรจันทร์

ภาพที่ 3 หลวงราชไมตรี

ภาพที่ 5 หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ

ภาพที่ 7 ดร. เสริมลาภ วสุวัต

Page 13: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

10ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ในปี พ.ศ. 2521 กรมวิชาการเกษตร และกรม

ประชาสงเคราะห์ได้เริ่มงานทดลองปลูกสร้างสวนยาง

พาราตามหลักวิชาการการปลูกสร้างสวนยางแผนใหม่

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยทำการปลูกในจังหวัด

หนองคาย บุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งก็ประสบ

ความสำเร็จได้รับผลผลิตยางไม่แตกต่างจากผลผลิต

ยางในภาคใต้และภาคตะวันออกมากนัก ด้วยเหตุนี้

จึงเริ่มมีการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาการปลูกยางในเขต

พื้นที่แห้งแล้ง และเป็นการเริ่มขยายเขตการปลูก

ยางพาราไปสู่เขตการปลูกยางใหม่ของประเทศไทย

อย่างจริงจัง

การค้นคว้าวิจัยและพัฒนายาง เพื่อขยายพื้นที่

ปลูกยางนั้น สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร ได้มุ่ง

เน้นค้นคว้าวิจัยหลายด้านอย่างครบวงจร เช่น เพิ่ม

ประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร และเพิ่มผลผลิต

ของประเทศได้อีก ด้วยการพัฒนาศักยภาพการผลิต

ยางให้เปิดกรีดได้เร็ว และให้ผลผลิตสูง โดยการเลือก

ใช้พันธุ์ยางและเทคโนโลยีที่ เหมาะสมกับพื้นที่ การ

จัดการสวนยาง รวมถึงการเขตกรรม การจัดการโรค

และศัตรูยาง การจัดการธาตุอาหารพืช และการจัดการ

ระบบกรีดที่ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่

และลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งได้พัฒนาอุตสาหกรรม

แปรรูปยาง ผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพาราเพื่อเพิ่ม

มูลค่ายางธรรมชาติ และนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาง

ที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มการใช้ยางและผลิตภัณฑ์ยางใน

ประเทศให้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องสนับสนุนด้าน

การตลาด พัฒนาระบบตลาดทั้งในประเทศ และ

ต่างประเทศ ตลอดจนความร่วมมือกับองค์กรยาง

ระหว่างประเทศ และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการ

ใช้เทคโนโลยีสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะ

ทำให้ไทยพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างมั่นคง

จึงเป็นความท้าทายและเป็นโอกาสใหม่ของไทย

กว่าหนึ่งศตวรรษหลังจากที่ได้นำยางพาราเข้า

มาปลูกในราชอาณาจักรไทย จนเป็นพืชเศรษฐกิจ

สำคัญของประเทศ โดยครองความเป็นผู้นำในการ

ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติมากที่สุดของโลกมา

ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ยังความภาคภูมิใจแก่

วงการพัฒนายางพาราไทยเป็นอย่างยิ่ง

บรรณานุกรม

รัตน์ เพชรจันทร. 2513. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์

การทำสวนยาง.623หน้า.

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. 2555.ข้อมูล

วิชาการยางพารา2555.123หน้า.

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง. 2553.

บันทึกความทรงจำกึ่งศตวรรษ สกย. โรงพิมพ์

เทพเพ็ญวานิสย์.289หน้า.

www.naranong.net. ทำเนียบตระกูล ณ ระนอง.

2555.

www.rubber.co.th. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์

การทำสวนยาง.2555.

www.rubberthai.com. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการ

เกษตร.2555.

Page 14: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

11ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

สุจินต์ แม้นเหมือน ² ประพาส ร่มเย็น ³ และ ชัยโรจน์ ธรรมรัตน์ 4

ใคร?..เปิดประตูยางพาราอีสาน1

ยางพารา(Hevea brasiliensisMuell.Arg.)เป็น

ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณร้อนและชุ่มชื้น ขึ้นแถบ

ลุ่มแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาได้ขยายการ

ปลูกไปยังประเทศใกล้เส้นศูนย์สูตร แหล่งผลิตที่สำคัญ

ได้แก่ประเทศมาเลเซียอินโดนีเซียและไทยแหล่งปลูก

ยางเดิมของประเทศไทยมีอยู่ในท้องที่14จังหวัดภาคใต้

และ 3 จังหวัดภาคตะวันออกคือ ระยอง จันทบุรี และ

ตราด ในปี 2521 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

ได้เริ่มปลูกยางทดสอบในจังหวัดของภาคตะวันออก

เฉียงเหนือหรือภาคอีสานที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และ

หนองคายซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ต้นยางพื้นเมืองที่มีอยู่เดิมในภาคอีสาน ยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีผู้

พยายามนำมาปลูกเป็นเวลาเนิ่นนานมาแล้ว ดังจะเห็น

ได้จากมีต้นยางเก่าอายุมากอยู่ในหลายท้องที่อาทิต้น

ยางพาราอายุมากกว่า 40 ปี ที่บริเวณหลังอาคาร

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่นภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาสจังหวัด

สกลนคร เป็นต้น จากรายงานการสำรวจของชัยโรจน์

ธรรมรัตน์ เมื่อปี 2525พบว่ามีผู้นำเอาเมล็ดยางพารา

จากภาคใต้และภาคตะวันออกไปปลูกทดสอบกันมา

นานแล้ว จากการสำรวจต้นยางเหล่านี้พอที่จะสรุป

ได้ดังนี้

1. สวนยางเก่าตำบลเนินสำเริง อ.กันทรลักษณ์

จ.ศรีสะเกษปลูกมาประมาณ20กว่าปีแล้ว (อายุตอน

สำรวจ) คาดว่าปลูกมาก่อนปี 2500 ครั้งแรกปลูกได้

จำนวนหลายสิบไร่เป็นลักษณะของสวนยางแต่ต่อมาได้

โค่นล้มต้นยางเปลี่ยนสภาพเป็นไร่ข้าวโพดยังมีต้นยาง

เหลือบริเวณขอบแปลงกระจัดกระจายอยู่ประมาณ 20

ต้น ความเจริญเติบโตของต้นยางที่ระดับความสูง 1.50

เมตร มี เส้นรอบวงของลำต้นเฉลี่ ยประมาณ 60

เซนติเมตรต้นยางมีการผลัดใบออกดอกและติดผลแต่

ต้นยางเหล่านี้ปลูกด้วยเมล็ดพื้นเมืองจึงให้ผลผลิตต่ำ

เจ้าของแปลงไม่เอาใจใส่และสนใจจึงโค่นทิ้งเอาไม้ไปใช้

ประโยชน์

2. ต้นยางที่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา

วิทยาเขตเกษตรสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีต้นยาง

พาราขึ้นอยู่ในบริเวณริมสระน้ำปลูกด้วยเมล็ดพื้นเมือง

มีอยู่ 2 ต้น ต้นหนึ่งแตกเป็นลำต้นคู่ขึ้นมาจากโคนต้น

อายุประมาณ18ปี การเจริญเติบโตของลำต้นที่ระดับ

ความสูง 1.50 เมตร ขนาดของเส้นรอบวงลำต้น

ประมาณ1.00 เมตรกรีดทดสอบผลการไหลของน้ำยาง

ผลน้ำยางไหลดี

3 . ต้นยางพื้น เมืองริมทางหลวง ถนนสาย

ร้อยเอ็ด–มหาสารคามเยื้องสถานีทดลองพืชไร่ร้อยเอ็ด

(ชื่อในขณะนั้น)มีต้นยางพาราปลูกด้วยเมล็ดอยู่จำนวน

1ต้น การเจริญเติบโตที่ระดับ 1.50 เมตรมีเส้นรอบวง

ของลำต้น 78 เซนติเมตร จากการสอบถามเจ้าของได้

บอกว่านำมาปลูกไว้แล้วประมาณ 15 ปีแล้ว คาดว่า

ปลูกประมาณปี พ.ศ. 2508 ทดสอบกรีดยางดูการ

1 บทความนี้ได้ตีพิมพ์เป็นเล่มเมื่อปี2543วารสารฉบับนี้เห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยรวบรวมเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญและ

ภาพประกอบบางภาพ2 ในปีที่เขียนบทความดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานีทดลองยางบุรีรัมย์หรือศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์ในปัจจุบันปัจจุบันดำรงตำแหน่ง

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร3 ในปีที่เขียนบทความดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารการผลิตยางสถาบันวิจัยยางปัจจุบันได้เกษียณอายุราชการ(ก่อนกำหนด)ไปแล้ว4 ในปีที่เขียนบทความดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยางนราธิวาสปัจจุบันได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว

Page 15: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

12ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ไหลของน้ำยางปรากฏว่าไหลดี

4. ต้นยางพื้นเมืองนิคมสร้างตนเองคำสร้อย

อ.นิคมคำสร้อย จ.นครพนม เกษตรกรผู้ปลูกได้ไป

ทำงานรับจ้างกรีดยางที่ อ.ธารโต จ.ยะลา ได้นำเมล็ด

ยางมาจาก จ.ยะลา มาปลูกไว้ประมาณ 2 ไร่ ต้นยาง

อายุประมาณ22ปีปัจจุบันได้ตัดโค่นไปเกือบหมดแล้ว

ยังคงเหลืออยู่เพียง 8 ต้น ต้นยางรุ่นนี้คาดว่านำมา

ปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 การเจริญเติบโตที่ระดับ 1.50

เมตรวัดเส้นรอบวงของลำต้นเฉลี่ยประมาณ1.00 เมตร

ได้ทดสอบกรีดดูแล้วมีการไหลของน้ำยางดี

5.ต้นยางพื้นเมืองที่บ้านซ้งอ.คำชะอีจ.นครพนม

ปลูกด้วยเมล็ดยางพื้นเมืองมีอยู่ 1 ต้น อายุประมาณ

20ปี คาดว่าปลูกประมาณปี 2503บริเวณหน้ายางสูง

จากพื้นดินขึ้นไปประมาณ 2 เมตร และได้เสียหาย

เป็นปุ่มปมหมดแล้ว เนื่องจากชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ได้

ใช้มีดฟันโคนต้นเพื่อเอาน้ำยางมาใช้ปะยางในของรถ

จักรยาน

6. ต้นยางพื้นเมืองที่บ้านโนนสำราญ หมู่ที่ 14

ต.ปากคาด กิ่งอ.ปากคาด จ.หนองคาย มีอยู่ 1 ต้น

อายุประมาณ 7 ปี เส้นรอบวงของลำต้นประมาณ

63 เซนติ เมตร คาดว่ า ได้นำมาปลูกประมาณปี

พ.ศ.2518-2519

7. ต้นยางพื้นเมืองที่ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย

เกษตรกรได้นำเมล็ดยางพื้นเมืองมาจาก จ.นครศรี-

ธรรมราชประมาณ20 เมล็ด มาปลูก งอก 5 ต้น ถูก

ควายกินเสียหายเหลือรอดมาเพียง 1ต้นอายุประมาณ

15 ปี คาดว่านำมาปลูกไว้ประมาณปี พ.ศ. 2509

ขนาดของเส้นรอบวงของลำต้นประมาณ 50 - 60

เซนติเมตร

8.ต้นยางพื้นเมืองที่วัดหาดงิ้วอ.เมืองจ.อุตรดิตถ์

นำเมล็ดมาจากจังหวัดจันทบุรีมาปลูก เหลืออยู่ 1 ต้น

อายุประมาณ 15ปี คาดว่าปลูกไว้เมื่อ ปี พ.ศ. 2508

การเจริญเติบโตเส้นรอบวงของลำต้นประมาณ 80

เซนติเมตร

9 . ต้นยางพื้ น เมื องที่ บ้ านผาทั่ ง อ .บ้ านไร่

จ.อุทัยธานี ปลูกด้วยเมล็ดยางพันธุ์พื้นเมือง มีอยู่

ประมาณ 50 ต้น อายุประมาณ 6 ปี คาดว่าปลูกไว้

ประมาณปีพ.ศ. 2518มีเส้นรอบวงของลำต้นประมาณ

50–60เซนติเมตร

10. ต้นยางพันธุ์ RRIM 600 ที่บ้านกกเต็น

ต.ทับหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี นำเอาต้นตอตายาง

มาจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาปลูก เหลือรอดตายอยู่

2 ต้น ต้นยางอายุประมาณ 5 ปี คาดว่าปลูกไว้เมื่อปี

พ.ศ.2519เส้นรอบวงของลำต้น59เซนติเมตรทดสอบ

กรีดดูแล้วการไหลของน้ำยางดีมาก

ความเป็นมา การศึกษาและพัฒนาอย่างเป็นวิชาการในการ

นำยางพารามาปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้

เริ่มดำเนินการอันเป็นผลสืบเนื่องจากที่ประชุมหัวหน้า

สถานีทดลองยางของกองการยาง (ชื่อในขณะนั้น) ที่

จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2520 ซึ่งที่ประชุม

ได้มอบหมายให้ นายกาญจนสินธุ์ มีศุข หัวหน้า

สถานีทดลองยางคันธุลี เป็นหัวหน้าคณะร่วมดำเนิน

การกับผู้เชี่ยวชาญยาง และนักวิชาการของศูนย์วิจัย

การยาง (ชื่อในขณะนั้น) วางแผนสำรวจความเป็นไปได้

ในการทดสอบปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียง

เหนือช่วงวันที่1-6สิงหาคม2520ตามรายละเอียดใน

บันทึกของสถานีทดลองยางคันธุลี ที่ กษ 1009/319

ลงวันที่21กรกฎาคม2520ซึ่งผลการสำรวจได้รายงาน

ให้กองการยาง โดยดร. เสริมลาภ วสุวัต ผู้อำนวยการ

กองการยาง ทราบถึงการเดินทางไปดูสวนยางเก่าที่

ตำบลโนนดินแดง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีต้นยางเก่า

เหลืออยู่ประมาณ 15 ต้น อายุยางไม่น้อยกว่า 20 ปี

ลักษณะของยางแสดงให้เห็นว่าเป็นการปลูกมีแถวแนว

พอเห็นได้ แต่เป็นยางพื้นเมืองเปลือกหนา ในขณะ

เดียวกัน ได้มีการหารือกันระหว่างMr. LimPoh Loh,

Senior Development Officer, UNDP/FAO กับ

Dr. A.C. Hughes, Adviser Planning, Land

Settlement Division, Mr. Tony Zola ถึงแผนการ

ปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้กรม

ประชาสงเคราะห์ โดยนายประพจน์ เรขะรุจิ อธิบดี

กรมประชาสงเคราะห์ ได้มีบันทึกเลขที่ มท.0912/

พ 73398 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2520 แจ้งให้กรม

วิชาการเกษตร ทราบว่ากรมประชาสงเคราะห์มี

โครงการที่จะพัฒนาการเกษตรในนิคมสร้างตนเอง

Page 16: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

13ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับความช่วยเหลือ

ด้านเงินกู้จากธนาคารโลก จึงใคร่ขอความร่วมมือจาก

กรมวิชาการเกษตร ให้ดำเนินการสำรวจสภาพพื้นที่ใน

นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ และนิคม

สร้างตนเองโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ว่ามีความ

เหมาะสมที่จะจัดทำแปลงทดลองปลูกยางพาราขึ้นหรือ

ไม่เพียงใดซึ่งถ้าหากผลการทดลองดังกล่าวได้ผลก็จะส่ง

เสริมให้สมาชิกในนิคมทั้ง 2 แห่งนี้ให้ปลูกยางเป็นพืช

หลักต่อไป

การเตรียมการ จากรายงานเบื้องต้นของคณะสำรวจข้อมูลของ

นายกาญจนสินธุ์ มีศุขที่ กษ0915/592 และจากการ

ประสานงานของหลายฝ่ายระหว่างกรมวิชาการเกษตร

และกรมประชาสงเคราะห์ ดังนั้น กองการยาง โดย

ดร.เสริมลาภ วสุวัต จึงสั่งการให้ศูนย์วิจัยการยาง

หาดใหญ่ จัดคณะไปสำรวจหารายละเอียดอีกครั้ง

พร้อมกับขอความร่วมมือไปยั งนิคมสร้ างตนเอง

บ้านกรวดจังหวัดบุรีรัมย์ และนิคมสร้างตนเองโพนพิสัย

จังหวัดหนองคายนอกจากนี้ ยังมีการประสานระหว่าง

ผู้เชี่ยวชาญUNDP/FAO ในการตรวจสอบข้อมูลและ

เตรียมการเบื้องต้นพร้อมกันไปด้วย

จากการสั่งการเบื้องต้นจากกองการยางที่กล่าวมา

ดังนั้น ศูนย์วิจัยการยาง หาดใหญ่ โดยการนำของ

นายศรีโบ ไชยประสิทธิ์ และคณะ จึงได้เริ่มสำรวจ

ความเป็นไปได้ในการปลูกยางในพื้นที่จังหวัดทางภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด รวมทั้งพื้นที่ที่ได้

ประสานกันเบื้องต้นไว้แล้วเพื่อกำหนดแนวนโยบาย

และแผนปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 23-27 มกราคม 2521

ผลจากการสำรวจครั้งนี้ คณะจากศูนย์วิจัยการยางได้

เสนอแนะให้ดำเนินการที่นิคมสร้างตนเองปราสาท

จังหวัดสุรินทร์เพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้เดิม ทำให้ต่อมา

การปลูกยางพาราได้ดำเนินการครั้งเดียวพร้อมกันทั้ง 3

จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลจากสถานีทดลองฯของกรมวิชาการเกษตร

นอกจากคณะสำรวจแนวทางเบื้องต้นแล้ว ศูนย์

วิ จัยการยางได้ขอความร่ วมมือในการสนับสนุน

รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ ดิน และสภาพดินฟ้า

อากาศจากสถานีทดลองพืชฯ ของกรมวิชาการเกษตร

ทุกสถานีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและได้รับความ

ร่วมมือด้วยดี เมื่อมีข้อมูลมากพอหลายฝ่ายได้กำหนด

แนวทางการทำงานและรายละเอียดเพื่อดำเนินการ

ต่อไป

ตกลงใจดำเนินการ...เริ่มลงมือปลูก หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และพิจารณา

เห็นความเป็นไปได้ ผู้เกี่ยวข้องจึงได้กำหนดแผนการ

ดำเนินงานปลูกยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และ

หนองคาย โดยศูนย์วิจัยการยางได้มอบหมายให้งาน

พัฒนายาง ศูนย์วิจัยการยาง หาดใหญ่ เป็นหน่วยงาน

หลักร่วมกับนิคมสร้างตนเองบ้านกรวด นิคมสร้าง

ตนเองปราสาทและนิคมสร้างตนเองโพนพิสัยพร้อมทั้ง

หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในการจัดเตรียมวัสดุปลูกใน

พื้นที่ที่ได้ประสานไว้ก่อนแล้ว เพื่อสามารถเร่งรัดปลูก

ยางพาราให้เสร็จก่อนเดือนมิถุนายน2521ดังนี้

- นิคมสร้างตนเองบ้านกรวดปลูกเสร็จ วันที่ 30

ภาพที่ 1 แปลงปลูกด้วยต้นตอตาของนิคมสร้างตนเองโพนพิสัย

จ.หนองคาย (10 มิ.ย. 2522)

Page 17: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

14ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

มิถุนายน2521

- นิคมสร้างตนเองปราสาท ปลูกเสร็จ วันที่ 30

มิถุนายน2521

- นิคมสร้างตนเองโพนพิสัย ปลูกเสร็จ วันที่ 1

กรกฎาคม2521

หลังจากปลูกเสร็จแล้ว ยังมีการปลูกซ่อมอีก

หลายครั้ง รวมทั้งหาทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการ

ดูแลรักษาอีกหลายประการ โดยเฉพาะการกำจัดวัชพืช

การใส่ปุ๋ยการเอาใจใส่บำรุงรักษาและอื่นๆกว่าต้นยาง

จะเจริญเติบโตได้ขนาดเปิดกรีดและเริ่มทดลองเปิดกรีด

ในปลายปี 2527ที่นิคมสร้างตนเองโพนพิสัย และเปิด

กรีดจริงจังที่นิคมสร้างตนเองโพนพิสัย และนิคมสร้าง

ตนเองบ้านกรวด ในเดือนมิถุนายนปี 2528 โดยกลุ่ม

พัฒนาการปลูก ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบัน

วิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร สำหรับนิคมสร้างตนเอง

ปราสาท เปิดกรีดล่าช้ากว่าแปลงอื่นๆ เนื่องจากพื้นที่

ปลูกไม่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา กล่าวคือ พื้นที่

ปลูกเป็นดินเหนียวจัดที่ลุ่ม ระบายน้ำยากประกอบกับ

แปลงปลูกยางอยู่ใกล้กับแปลงหม่อน จึงมีความจำกัด

ในการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ทำให้มีวัชพืชมากและ

รบกวนการเจริญเติบโตของยางพารา

สรุป ยางพาราอีสานต้นแรกไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า

อยู่ที่ไหน? เนื่องจากได้มีผู้พยายามนำมาปลูกเนิ่นนาน

มาแล้วดังจะเห็นจากต้นยางอายุมากกว่า 40 ปี อยู่ใน

หลายท้องที่ แต่ประตูการพัฒนายางพาราอีสานได้เปิด

ออกจากความร่วมมือของหลายฝ่าย อาทิ กองการยาง

(สถาบันวิจัยยาง) กรมวิชาการเกษตร, กองนิคมสร้าง

ตนเอง กรมประชาสงเคราะห์, ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กร

ระหว่างประเทศ และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การ

ทำสวนยาง แต่กว่ายางอีสานจะยืนเป็นอาชีพหลักของ

เกษตรกรในภูมิภาคนี้ ก็ต้องผ่านอุปสรรคมานานัปการ

จึงหวังว่ายางอีสานจะยืนยงไปชั่วกาลนานเช่นภูมิภาค

อื่นของประเทศตลอดไป

ภาพที่ 2 แปลงยางที่นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ (14 มิ.ย.

2522)

ภาพที่ 3 สวนยางที่ปลูกที่นิคมสร้างตนเองปราสาท จ.สุรินทร์ (9 มิ.ย.

2522)

Page 18: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

15ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

จากการขยายพื้นที่ปลูกยางในช่วงปี พ.ศ. 2547-

2549 จำนวน 1 ล้านไร่ กระจายอยู่ในภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ 7แสนไร่และภาคเหนือ 3แสนไร่ สถาบัน

วิจัยยางในฐานะหน่วยงานวิจัยได้ติดตามและประเมิน

การเจริญเติบโตของยางพาราตั้งแต่เริ่มปลูกถึงช่วงเวลา

เก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง เพื่อศึกษาวิเคราะห์การเจริญ

เติบโตยางในแต่ละสภาพแวดล้อม ตลอดจนปัญหา

อุปสรรคเพื่ อ เป็นข้อมูลประกอบพิจารณาจัดทำ

มาตรฐานการเจริญเติบโตของต้นยางในเขตปลูกยาง

ใหม่ และเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนเพิ่มผลผลิต

ยางและชี้แนะให้ตระหนักถึงผลเสียของการกรีดยาง

ต้นเล็ก เพื่อป้องกันความเสียหายกับต้นยางและ

เกษตรกรรวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

จำนวนต้นยางรอดตาย โดยภาพรวมต้นยางที่ปลูกปี 2549 อายุ 6 เดือน

มีจำนวนต้นรอดตายร้อยละ 91 ในขณะที่ต้นยางปลูก

ปี 2548 อายุ 1 ปี 6 เดือน มีจำนวนต้นยางรอดตาย

ร้อยละ 90และต้นยางปลูกปี 2547อายุ 2ปี 6 เดือน

มีจำนวนต้นยางรอดตายร้อยละ 90 และเมื่อต้นยาง

อายุ 4, 5และ6ปีมีจำนวนต้นคงเหลือร้อยละ82, 86

และ85ตามลำดับ(ภาพที่1)

นอกจากนี้ยังได้ศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง

กับการรอดตายดังนี้

ช่วงเวลาปลูกยาง เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลโดยตรง

ต่อความสำเร็จในการปลูกยางดังเช่นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

พบว่า ในปี 2547 สวนยางส่วนใหญ่ปลูกในเดือน

สิงหาคมและกันยายนมีจำนวนต้นยางรอดตายร้อยละ

83 และ 73 ตามลำดับ ในขณะที่สวนยางปลูกปี

2548 ส่วนใหญ่ปลูกยางต้นฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม-

กรกฎาคมมีจำนวนต้นยางรอดตายร้อยละ83,87และ

83 ตามลำดับ ดังนั้น จึงไม่ควรปลูกยางช่วงปลาย

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

ความเสียหายจากการกรีดยางต้นเล็ก

ภาพที่ 1 จำนวนต้นคงเหลือรอดตายของยางที่ปลูกปี 2547-2549 ในพื้นที่ปลูกยางภาคเหนือและภาคะวันออกเฉียงเหนือ

100

80

60

40

20

02547

85 87 8586 86 8385 86 82

2548

ปี พ.ศ.

2549

ภาคเหนือ รวม2ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จำนวนต้นคงเหลือรอดตาย(%)

Page 19: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

16ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ฤดูฝน โดยเฉพาะในเดือนกันยายน เพราะทำให้มี

จำนวนต้นยางตายมากกว่าการปลูกยางต้นฤดูฝน

ตรงกับผลงานวิจัยของอารักษ์ และคณะ (2530)

รายงานว่า การปลูกยางในช่วงเดือนกันยายนทำให้

มีผลสำเร็จในการปลูกด้วยยางชำถุงเพียงร้อยละ

75 - 85 ดังนั้น ควรปลูกยางในช่วงต้นฤดูฝนเมื่อดิน

มีความชุ่มชื้นดีเพราะสามารถปลูกซ่อมต้นยางได้ทัน

ภายในฤดูกาลเดียวกันและต้นยางเจริญเติบโตได้ดี

กว่าการปลูกยางในช่วงปลายฤดูฝน

ปริมาณน้ำฝน จากข้อมูลปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย

38 ปี ของกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า พื้นที่ของจังหวัด

ต่างๆ มีปริมาณน้ำฝนปี 2547ลดลงจากปริมาณ

น้ำฝนเฉลี่ย 38 ปี ได้แก่จังหวัดพะเยา น่าน ลำปาง

อุบลราชธานี นครพนม และยังพบอีกว่า พื้นที่ ใน

จังหวัดเชียงราย พิษณุโลก เลย อุบลราชธานี และ

กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำฝนในปี 2548 ลดลงจากปี

2547 ซึ่ ง ทำ ให้ เ กิ ดภาวะ เสี่ ย งต่ อการปลู กยาง

เนื่องจากมีสภาพแห้งแล้งมากกว่า อย่างไรก็ตาม

ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนต้นรอดตายกับ

สภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนรายปี จำนวน

วันฝนตกอุณหภูมิและความชื้นเป็นต้น

สมบัติทางเคมีของดิน พื้นที่ปลูกยาง 11 จังหวัด

พบว่า มีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 4.6 - 5.3

ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยาง

(สถาบันวิจัยยาง, 2553)ปริมาณอินทรียวัตถุ 0.6 - 2.9

เปอร์ เซ็นต์ ปริมาณอินทรียวัตถุต่ำสุดพบในพื้นที่

จังหวัดกาฬสินธุ์และบุรีรัมย์ และพบปริมาณอินทรีย์

สู งสุดในจังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ ยั งพบว่ามี

ปริมาณความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส 4.6 - 10.2

มิลลิกรัม/กิโลกรัม ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำ สำหรับ

ยางพารา ควรพิจารณาและหาแนวทางเพิ่มปริมาณ

ฟอสฟอรัสเพื่อให้ เป็นประโยชน์กับต้นยางมากขึ้น

ส่วนปริมาณโพตัสเซียมแลกเปลี่ยนได้ 22.2-54.6

มิลลิกรัม/กิโลกรัม อยู่ในเกณฑ์ที่ เหมาะสมกับยาง

พารา พื้นที่ในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และเลย

มีปริมาณธาตุอาหารสูงเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า

เปิดใหม่ และอย่างไรก็ตาม ไม่พบความสัมพันธ์

ระหว่างจำนวนต้นรอดตายกับสมบัติทางเคมีของดิน

ความสม่ำเสมอของต้นยาง สวนยางมีจำนวนต้นคงเหลือและมีการเจริญ

เติบโตสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน กล่าวคือ สวนยางที่ปลูก

ปี 2547-2549 ทั้ง 3 ปีมีความสม่ำเสมอประมาณ

ร้อยละ 98-100 นั่นคือต้นยางมีขนาดสม่ำเสมอมาก

หรือต้นยางมีความแปรปรวนน้อย

โ ดยวั ดค่ า สั มป ระสิ ท ธิ์ ก า รก ระจายความ

แปรปรวน (coefficient of variation,CV.,%) ความ

สม่ำเสมอระดับดี (ขนาดของต้นยางมีการกระจายตัว

น้อย) ปานกลางและค่อนข้างเลว มีค่า C.V. <20%,

20-30%และ>30%ตามลำดับ(ภาพที่2)

การเจริญเติบโตของต้นยางมาตรฐานการเจริญเติบโตของต้นยาง

มาตรฐานขนาดลำต้นของต้นยางอายุ 2-6ปี ใน

ภาคเหนือและภาคะวันออกเฉียงเหนือ ปรากฏตาม

ข้อมูลในตารางที่ 1 ส่วนการเจริญเติบโตเพิ่มขนาด

ของลำต้นของต้นยางอายุ 4-6 ปี มีการกระจายตัว

แบบแจกแจงปกติ(normalcurve)(ภาพที่3)

การเจริญเติบโตของต้นยางเปรียบเทียบกับค่า

มาตรฐาน

การปลูกยางในภาคเหนือและภาคตะวันออก

เฉียงเหนือมีการส่งเสริมให้ปลูกยางตั้งแต่ปี 2532 และ

ขยายพื้นที่ปลูกยางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งเกษตรกร

แต่ละรายมีพื้นที่ถือครองที่ดินค่อนข้างจำกัดจึงอาจ

เป็นสาเหตุที่ทำให้สภาพพื้นที่ปลูกยางไม่ค่อยเหมาะสม

ซึ่งการเจริญเติบโตของต้นยางในภาคเหนือและภาค

ตะวันออกเฉียงเหนืออายุ 2½ปี มีขนาดเส้นรอบลำต้น

เฉลี่ย14.2และ14.3ซม.ตามลำดับใกล้เคียงกับเกณฑ์

มาตรฐานการเจริญเติบโตของสถาบันวิจัยยางในภาค

เหนือ ยางอายุ 3-6 ปี มีขนาดลำต้นต่ำกว่าเกณฑ์

มาตรฐาน ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า

ยางอายุ 3 ปีขนาดลำต้นยางยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

แต่เมื่อยางอายุ 4-6 ปีขนาดของลำต้นต่ำกว่าเกณฑ์

มาตรฐาน ดังนั้น ต้นยางในเขตภาคเหนือและภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือมีขนาดเส้นรอบลำต้นต่ำกว่า

เกณฑ์มาตรฐาน17%และ12%ตามลำดับดังนี้

Page 20: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

17ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ภาพที่ 2 ความสม่ำเสมอของสวนยางที่ปลูกปี 2547-2549 ในพื้นที่ปลูกยางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

120

100

80

60

40

20

0

98 100 99

ดี

ปานกลางค่อนข้างเลว

2547 2548 2549

ปี พ.ศ. ที่ปลูกยาง

จำนวนสวนยาง(%)

ตารางที่ 1 มาตรฐานขนาดลำต้นของต้นยางอายุ 2-6 ปี ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1

อายุยาง

(ปี)

มาตรฐานการเจริญเติบโต

ของต้นยาง (ซม.)

ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2½ 13.5 14.2 4.0 14.3 3.8

3 18.0 15.1 3.2 17.5 3.2

4 27.0 20.0 4.7 21.0 6.0

5 34.0 26.7 6.3 28.2 6.3

6 41.0 29.5 6.0 32.1 6.91สถาบันวิจัยยาง(2553),สุจินต์และคณะ(2536)

ขนาดลำต้น (ซม.) ขนาดลำต้น (ซม.)std std

ต้นยางอายุ 6 เดือน พบว่า จำนวนสวนยาง

ร้อยละ 41 มีความสูงของลำต้นวัดจากพื้นดินถึง

ปลายยอดมากกว่า 100 ซม. และสวนยางมีความ

สม่ำเสมอ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 56

สวนยางในจังหวัดกาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ ยโสธร และ

น่านเจริญเติบโตมากที่สุด

ต้นยางอายุ 1 ปี 6 เดือน จำนวนสวนยางร้อยละ

51 มีความสูงของลำต้นวัดจากพื้นดินถึงปลายยอด

มากกว่า 400 ซม. และสวนยางมีความสม่ำเสมอ

อยู่ในระดับดี ร้อยละ 57 จังหวัดที่มีการเจริญเติบโต

ของต้นยางมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ

ยโสธร อุบลราชธานี มุกดาหาร และเชียงราย มีขนาด

Page 21: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

18ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ภาพที่ 3 การกระจายตัวของขนาดลำต้นของต้นยางอายุ 4-6 ปีในพื้นที่ปลูกยางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือนมีนาคม-พฤษภาคม

2554)

ภาพที 5 การกระจายตัวของขนาดลําตนยางอายุ 4-6 ป ในพืนทีปลูกยางภาคเหนือและ

ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2554)

สวนยาง อายุ 4 ปี

สวนยาง อายุ 5 ปี

สวนยาง อายุ 6 ปี

ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

35

30

25

20

15

10

5

0

0

0

5

5

10

10

15

15

20

20

25

25

<14

<19

<22

14-17

19-22

22-25

17-20

22-25

25-28

20-23

25-28

28-32

23-27

28-31

32-35

27-30

31-34

35-38

30-33

34-37

38-41 41-44

>33

>37

>44

จำนวนสวน(%

)จำนวนสวน(%

)จำนวนสวน(%

)

ขนาดเส้นรอบลำต้น (ซม.)

ขนาดเส้นรอบลำต้น (ซม.)

ขนาดเส้นรอบลำต้น (ซม.)

Page 22: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

19ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ความสูงลำต้นเฉลี่ย401-463ซม.

ต้นยางอายุ 2 ปี 6 เดือน จำนวนสวนยาง

ร้อยละ 52 มีขนาดเส้นรอบลำต้นมากกว่า 14.2 ซม.

สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของต้นยางในเขตปลูกยางใหม่

ซึ่งมีขนาดเส้นรอบลำต้น 13.5 ซม. (สุจินต์และคณะ.

2536) ในจำนวนนี้มีสวนยางที่มีความสม่ำเสมออยู่ใน

ระดับดีร้อยละ 72 จังหวัดที่มีการเจริญเติบโตของต้น

ยางมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดน่าน กาฬสินธุ์ ยโสธร

ศรีสะเกษ และพะเยา มีขนาดเส้นรอบลำต้นเฉลี่ย

14.1 - 15.5 ซม.และมีความสม่ำเสมอของสวนยาง

อยู่ที่ระดับดีเป็นจำนวนร้อยละ 82-95 สวนยางที่มี

ขนาดเส้นรอบลำต้นมากกว่า 13.5 ซม. มีจำนวน

ร้อยละ62-79ของสวนยางทั้งหมด

ต้นยางอายุ 3 ปี มีขนาดเส้นรอบลำต้นเฉลี่ย

17 ซม. ใกล้เคียงกับเกณฑ์มาตรฐาน 18 ซม.การ

กระจายตัวของขนาดเส้นรอบลำต้นของสวนยาง

พบว่า มีจำนวนสวนร้อยละ 40 ของสวนยางทั้งหมด

ที่มีขนาดเส้นรอบลำต้นมากกว่า 18 ซม. รองลงมา

คือ สวนยางที่มีขนาดเส้นรอบลำต้น 13-18 ซม.

มีจำนวนร้อยละ49

ต้นยางอายุ 4 ปี มีขนาดเส้นรอบลำต้นเฉลี่ย

21 ซม. ใกล้เคียงกับเกณฑ์มาตรฐาน 23 ซม.การ

กระจายตัวของขนาดเส้นรอบลำต้นของสวนยาง

พบว่า มีจำนวนสวนร้อยละ 70 ของสวนยางทั้งหมด

ที่มีขนาดเส้นรอบลำต้นมากกว่า 23 ซม. รองลงมาคือ

สวนยางที่มีขนาดเส้นรอบลำต้น 20-23 ซม. มีจำนวน

ร้อยละ22

ต้นยางอายุ 5 ปี มีขนาดเส้นรอบลำต้นเฉลี่ย

27.5 ซม. ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 36 ซม.

การกระจายตัวของขนาดเส้นรอบลำต้นของสวนยาง

พบว่า มีจำนวนสวนร้อยละ 13 ของสวนยางทั้งหมด

ที่มีขนาดเส้นรอบลำต้นมากกว่า 36 ซม. รองลงมา

คือ สวนยางที่มีขนาดเส้นรอบลำต้น 29-36 ซม.

มีจำนวนร้อยละ49

ต้นยางอายุ 6 ปี มีขนาดเส้นรอบลำต้นเฉลี่ย

31.0 ซม. ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 41 ซม.

เมื่อดูการกระจายตัวของขนาดเส้นรอบลำต้นของสวน

ยางพบว่ามีจำนวนสวนร้อยละ10ของสวนยางทั้งหมด

ที่มีขนาดเส้นรอบลำต้นมากกว่า 41 ซม. รองลงมา

คือ สวนยางที่มีขนาดเส้นรอบลำต้น 38 - 41 ซม.

มีจำนวนร้อยละ11

อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตของต้นยางทั้งใน

เขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า

สวนยางอายุ 1-4ปี มีขนาดเส้นรอบลำต้นอยู่ในเกณฑ์

มาตรฐานการเจริญเติบโตของต้นยางในเขตปลูกยาง

ใหม่ และพบว่าสวนยางอายุ 5 และ 6 ปีมีขนาด

เส้นรอบลำต้นต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 19 และ 25

เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ (ภาพที่ 4) เช่นเดียวกับงาน

วิจัยของ Saengruksawong et al. (1983) รายงาน

ว่า การเจริญเติบโตของยางในเขตแห้งแล้งต่ำกว่าใน

เขตปลูกยางเดิมร้อยละ15

สาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของ

ต้นยางในเขตแห้งแล้งต่ำ ได้แก่ การบำรุงรักษาแปลง

และการใช้ปัจจัยการผลิตของเกษตรกรไม่เป็นไปตาม

คำแนะนำหรือไม่มีทุนในการจัดหาปัจจัยการผลิต

นอกจากนี้ บางพื้นที่มีสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการ

ปลูกยางรวมทั้งสมบัติทางกายภาพและสมบัติทาง

เคมีของดิน เช่น มีชั้นหินดาน หรือดินดานอยู่ข้างล่าง

ซึ่งพบในพื้นที่จังหวัดเลย สุโขทัย และกำแพงเพชร

ทำให้ยางอายุ 3-4 ปี ยืนต้นตาย เนื่องจากรากยาง

ไม่สามารถแทงทะลุชั้นหินนี้ได้ และยิ่งแสดงอาการ

รุนแรงเมื่อกระทบภัยแล้ง ดินมีอินทรียวัตถุต่ำ มีความ

สัมพันธ์ค่อนข้างต่ำระหว่างปริมาณอินทรียวัตถุกับ

อัตราการเพิ่มของขนาดเส้นรอบลำต้น ในขณะที่

ปริมาณฟอสฟอรัสที่ เป็นประโยชน์ มีความสัมพันธ์

เป็นปฏิภาคผกผันกับอัตราการเพิ่มของขนาดเส้น

รอบลำต้นโดยมีค่าสหสัมพันธ์สูงถึง42เปอร์เซ็นต์

จากการสำรวจพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ

เจริญเติบโตส่วนใหญ่คือการดูแลรักษาสวนยาง

ของเกษตร พบว่า เกษตรกรที่มีการปฏิบัติดูแลรักษา

สวนยางดีถูกต้องตามหลักวิชาการมีจำนวนร้อยละ

34 ของสวนยางทั้งหมด ส่วนการดูแลรักษาสวนยาง

ระดับปานกลางมีจำนวนร้อยละ 50 และการดูแล

รักษาสวนระดับแย่ จำนวนร้อยละ16นอกจากนี้ วัชพืช

เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญ

เติบโตของยางพบว่า สวนยางส่วนใหญ่ปล่อยให้วัชพืช

Page 23: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

20ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ภาพที่ 4 เปรียบเทียบขนาดของต้นยางในสวนยางของเกษตรกรกับขนาดลำต้นมาตรฐานของสวนยางในพื้นที่ปลูกยางภาคเหนือและภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2554)

45.0

40.0

35.5

30.0

25.5

20.0

15.5

10.0

5.0

0.02.5 3.0 4.0 5.0 6.0

18

ภาพที 3 เปรียบเทียบขนาดของตนยางในสวนยางของเกษตรกรกับขนาดลําตนมาตรฐาน ของสวนยางใน

พืนทีปลูกยางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2554)

ภาพที 4 ขนาดเสนรอบลําตนยาง วัดทีระดับความสูง 1.70 เมตร จากพืนดิน ของสวนยางทีปลูกป 2547-

2549 ในพืนทีปลูกยางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2554)

ขนาดลำต้นยาง(ซม.)

อายุยาง (ปี)

มาตรฐานการเจริญเติบโต

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รกในระดับปานกลางถึงร้อยละ 55 เมื่อพิจารณาค่า

ดัชนีการจัดการสวนยาง (MI, management index)

ซึ่งเป็นค่าที่ประเมินจากการกำจัดวัชพืชหรือความ

สะอาดของสวนตลอดจนการปฏิบัติตามคำแนะนำของ

สถาบันวิจัยยาง เช่น ไถพรวนห่างจากแถวยางมากกว่า

1เมตรและการใส่ปุ๋ยเป็นต้น

จากกรณีศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์ และนครพนม

พบว่า ค่าดัชนีการจัดการสวนยางมีความสัมพันธ์ใน

ทางบวกกับขนาดเส้นรอบลำต้นของยางโดยมีค่า

สหสัมพันธ์ 90 และ 79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอก

จากนี้ ยังพบว่า ความสนใจในการดูแลรักษาสวนยาง

ขึ้นอยู่กับกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกยางในแต่ละพื้นที่ เช่น

สวนยางดูแลรักษาดีจะพบทั้งชุมชน เนื่องจากเกษตรกร

มีการแข่งขันกันว่าสวนยางของใครจะเจริญเติบโต

ดีกว่ากัน ในทางตรงกันข้ามพบสวนยางที่ไม่ค่อยดูแล

รักษาทั้งชุมชนเช่นเดียวกัน ดังนั้น ข้อมูลทางด้าน

สังคมจึงเป็นปัจจัยหนึ่งของสถาบันวิจัยยางในการตั้ง

ศูนย์เรียนรู้การทำสวนยางเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย

สู่เกษตรกรผู้นำให้เป็นผู้ขยายผลต่อไป

การกรีดยาง สวนยางในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปลูก

ปี2547(อายุ7½ปี)2548(อายุ6½ปี)และปี2549

(อายุ 5 ½ ปี) มีจำนวนสวนที่ เปิดกรีดแล้วร้อยละ

88.5, 71.2 และ 30.2 จากสวนยางทั้งหมดสำหรับใน

ภาคเหนือพบว่า สวนยางส่วนใหญ่ยังไม่เปิดกรีดสวน

ยางที่เปิดกรีดแล้วต้นยางมีขนาดเส้นรอบลำต้นเฉลี่ย

32.1 เซนติเมตร ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของสถาบัน

วิจัยยาง (2553) ที่กำหนดให้เปิดกรีดเมื่อต้นยางมี

ขนาดเส้นรอบลำต้น 50 เซนติเมตร วัดที่ระดับ 1.50

เมตรจากพื้นดิน เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของขนาด

ต้นยางที่ปลูกปี 2547 อายุ 6 ปีสามารถแบ่งสวนยาง

ออกเป็น3กลุ่มปรากฏตามภาพที่5ดังนี้

กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีขนาดเส้นรอบลำต้นเฉลี่ย

มากกว่าขนาดมาตรฐาน 41 ซม. มีจำนวนร้อยละ 10

ของสวนยางทั้งหมด โดยสวนยางในภาคตะวันออก

เฉียงเหนือมีมากถึงร้อยละ 11 และภาคเหนือมีเพียง

ร้อยละ 8 ซึ่งหากอัตราการเจริญเติบโตของต้นยางยัง

เพิ่มขึ้นตามมาตรฐานคือ เพิ่มขึ้นปีละ 7 ซม. สามารถ

Page 24: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

21ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

คาดคะเนได้ว่าสวนยางในกลุ่มนี้จะเปิดกรีดได้ในเดือน

พฤษภาคม2554ยางอายุ7ปีจำนวนร้อยละ10เท่านั้น

กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีขนาดเส้นรอบลำต้นเฉลี่ย

38-41 ซม. มีจำนวนร้อยละ 11 ของสวนยางทั้งหมด

โดยสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

มีจำนวนร้อยละ13และ10ตามลำดับคาดว่าสวนยาง

ในกลุ่มนี้สามารถเปิดกรีดได้ในเดือนตุลาคม2554หรือ

ยางอายุ7½ปี

กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีขนาดเส้นรอบลำต้นเฉลี่ย

น้อยกว่า 38 ซม. มีจำนวนร้อยละ 79 ของสวนยาง

ทั้ งหมดโดยสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

และภาคเหนือ มีจำนวนร้อยละ 76 และ 82 ตาม

ลำดับ เปิดกรีดได้ในเดือนพฤษภาคม 2555 หรือยาง

อายุ 8 ปี (ภาพที่ 5) ข้อมูลการเจริญเติบโตใช้ประเมิน

ช่วงเวลาและปริมาณสวนยางที่จะเปิดกรีดได้ช่วยใน

การวางแผนพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการกรีดยาง

เช่น รณรงค์ไม่ให้กรีดยางต้นเล็ก การจัดอบรมการ

กรีดยางเพื่อพัฒนาฝีมือการกรีดยาง และลดความ

เสียหายจากการกรีดบาดหน้ายาง รวมทั้งทราบกำลัง

การผลิตยาง เพื่อวางแผนทางด้านการตลาดและนำ

วัตถุดิบไปใช้ในอุตสาหกรรมยางต่อไป

ประเมินความเสียหายจากการกรีดยางต้นเล็ก

สวนยางในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปลูก

ปี 2547 (อายุ 7½ ปี) 2548 (อายุ 6½ ปี) และ ปี

2549 (อายุ 5 ½ ปี) มีจำนวนสวนที่ เปิดกรีดแล้ว

ร้อยละ 88.5, 71.2 และ 30.2 จากสวนยางทั้งหมด

สำหรับในภาคเหนือพบว่า สวนยางส่วนใหญ่ยังไม่

เปิดกรีด สวนยางที่ เปิดกรีดแล้วต้นยางมีขนาดเส้น

รอบลำต้นเฉลี่ย 32.1 เซนติ เมตร ต่ำกว่า เกณฑ์

มาตรฐานของสถาบันวิจัยยาง (2553) ที่กำหนดให้

เ ปิ ดก รี ด เมื่ อ ต้ นยา งมี ขนาด เส้ น รอบลำต้ น 50

เซนติเมตรวัดที่ระดับ1.50เมตรจากพื้นดิน

ประเมินความเสียหายเป็นตัวเงิน

สำหรับผลเสียของการกรีดยางต้นเล็กภาคการ

ผลิตของเกษตรกรนั้น พิศมัย (2551) รายงานว่า

มีผลกระทบต่อทั้งผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ดังนี้

1) กรีดต้นยางต้นเล็กได้ผลผลิตน้ำยางน้อยกว่า

ต้นขนาด 50 ซม. ประมาณ 25-60 เปอร์เซ็นต์และ

18

ภาพที 3 เปรียบเทียบขนาดของตนยางในสวนยางของเกษตรกรกับขนาดลําตนมาตรฐาน ของสวนยางใน

พืนทีปลูกยางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2554)

ภาพที 4 ขนาดเสนรอบลําตนยาง วัดทีระดับความสูง 1.70 เมตร จากพืนดิน ของสวนยางทีปลูกป 2547-

2549 ในพืนทีปลูกยางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2554)

ภาพที่ 5 ขนาดเส้นรอบลำต้นของต้นยางวัดที่ระดับความสูง 1.70 เมตรจากพื้นดิน ของสวนยางที่ปลูกปี 2547-2549 ในพื้นที่ปลูก

ยางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2554)

90

80

70

60

50

40

30

20

10

<38 ซม. 38-41 ซม. >41 ซม.0

จำนวนสวนยาง(%)

ขนาดเส้นรอบลำต้น (ซม.)

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รวม2ภาค

76

13 11

82

10 8

79

11 10

Page 25: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

22ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

การกรีดยางต้นเล็กร่วมกับการกรีดถี่ กรีดหนึ่งในสาม

ของลำต้น กรีดสามวันหยุดหนึ่งวัน ยิ่งทำให้ผลผลิต

ลดลง40-60เปอร์เซ็นต์

2) ผลผลิตน้ำยางจากต้นขนาด 50 ซม. ถึงแม้

เปิดกรีดช้า 1 ปี ได้ผลผลิตสะสมพอๆ กับเปิดกรีด

ต้นยางขนาดลำต้นเล็กที่ เปิดกรีดก่อน 1 ปี หรือ

ผลผลิตของการกรีดยาง 2 ปี จากต้นยางขนาดลำต้น

เล็กได้ผลผลิตพอๆ กับการกรีดยางต้นขนาด 50 ซม.

ที่กรีดเพียง1ปี

3) การเปิดกรีดต้นยางขนาดเล็กทำให้ผลผลิต

ตลอดวงจรชีวิตของต้นยางลดลง25-59เปอร์เซ็นต์

4) การกรีดยางต้นเล็กมีผลกระทบต่อการเจริญ

เติบโตของต้นยาง ทำให้ต้นยางมีอัตราการเจริญ

เติบโตต่ำและผลผลิตไม้ยางน้อยกว่า28-60เปอร์เซ็นต์

เมื่อเปรียบเทียบกันต้นขนาด50ซม.

จากข้อมูลงานวิจัยดังกล่าวสามารถใช้ประเมิน

ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของการเปิดกรีดยาง

ต้นเล็กมูลค่ารวมในอีก 3-5 ปี ข้างหน้า อย่างน้อย

10,847 ล้าน คือ จากการสูญเสียผลผลิตที่ควรได้

คิดเป็นมูลค่า ปีละ 115 ล้านบาท ระยะเวลากรีด

20 ปี คิดเป็นเงิน 2,300 ล้านบาท จากมูลค่าไม้

707 ล้านบาท และการลงทุนปลูกแทนใหม่ เนื่องจาก

หน้ากรีดเสียหายและผลผลิตต่ำ ร้อยละ 45 ของแปลง

ปลูกในโครงการอีก 7,840ล้านบาทตามลำดับดังนั้น

การกรีดยางต้นเล็กกว่า 45 ซม. ไม่คุ้มค่าการลงทุน

ยิ่งเปิดกรีดยางต้นเล็กยิ่งทำให้เกษตรกร และประเทศ

ชาติสูญเสียรายได้มากยิ่งขึ้น รายละเอียดประมาณ

การดังนี้

•ผลผลิตของประเทศขาดหายไป 1,145-1,935

ตัน/ปี ทำให้รายได้ทางเศรษฐกิจสูญเสียไปไม่น้อย

กว่าปีละ115-194ล้านบาท

• เกษตรกรรายได้ลดลง 5,800-9,800 บาท/

ไร่/ปี หรือรายได้ตลอดวงจรชีวิตยางลดลง 191,200-

329,200บาท/ไร่(ตารางที่2)

•ผลผลิตไม้ลดลง 239,976-479,951 ตัน

ทำให้รายได้ลดลง707-2,000ล้านบาท(ตารางที่3)

•ภาครัฐจะต้องใช้งบประมาณในการปลูกแทน

ก่อนกำหนด ทั้ งนี้คาดว่าต้นยางจะกรีดได้ เฉพาะ

เปลือกเดิม ซึ่งมีอายุกรีด 5-7 ปี แทนที่จะเป็น 20-

25 ปี ตามการกรีดมาตรฐานทางวิชาการ การนี้รัฐ

จะต้องใช้เงินเร่งรัดการปลูกแทนอีกไม่ต่ำกว่า 7,840

ล้านบาทในอีก3-4ปีข้างหน้า

การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ

การประเมินโครงการขนาดต้นกรีดยาง (ตาราง

ที่ 4) โดยพิจารณามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV, net

present value) ดูผลต่างระหว่างกระแสเงินสดที่ได้

มาตลอดอายุการกรีดยาง เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน

กับเงินลงทุนเมื่อเริ่มปลูกยาง จะพิจารณายอมรับ

ขนาดต้นกรีดที่ NPV มีค่ า เป็นบวก และปฏิ เสธ

โครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นลบ และเลือกขนาดลำต้น

ที่มีค่า NPV เป็นบวกสูงที่สุด อัตราผลส่วนระหว่างผล

ตอบแทนตัวเงินลงทุน (B/C ratio, benefit cost ratio)

คือ สัดส่วนของรายได้ทั้งหมดต่อเงินลงทุน พิจารณา

เลือกโครงการที่มีค่ามากกว่า 1 ผลตอบแทนภายใน

(IRR, internal rate of return) เป็นการประเมินสวน

ยางโดยการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน

ที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปีตลอดอายุยาง

เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเท่ากับเงินสดเมื่อเริ่ม

ต้นปลูกยาง และเลือกขนาดต้นกรีดที่มี IRR สูงที่สุด

หากราคายางแผ่นดิบ 60 บาท/กก. พบว่า ไม่ควร

กรีดยางต้นเล็กขนาด 45-50 และน้อยกว่า 45 ซม.

เพราะกว่าจะคืนทุนได้ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 และ

12 ปีกรีด (ตารางที่ 4) และเมื่อราคายางตั้งแต่ 80

บาท/กก. ขึ้นไปพบว่า ต้นยางขนาดเล็กกว่า 45 ซม.

มีค่า NPV ติดลบค่า B/C ratio ต่ำกว่า 1 และ IRR

ต่ำกว่า 8% (อัตราดอกเบี้ยคิดลด 8%) อายุของการ

ปลูกยาง 18 ปี ไม่คุ้มค่าในการปลูกสร้างสวนยาง ถึง

แม้ว่าจะเปิดกรีดเร็วขึ้น และมีรายได้เร็วกว่าการกรีด

ยางต้นขนาด 50 ซม. ประมาณ 1 ปี ก็ตาม การกรีด

ต้นยางขนาด45-50ซม.พบว่า ราคายาง 80บาท/กก.

ขึ้นไปมีค่า NPV เป็นบวก ค่า B/C ratio มากกว่า 1

และค่า IRR มากกว่า 8% มีอายุของการปลูกยาง

23 ปี ถือว่าคุ้มค่าการลงทุน แต่ยังไม่ให้ผลตอบแทน

สูงสุด เพราะระยะเวลาการคืนทุน 7 และ 6ปีเมื่อยาง

ราคา 80 และ 100บาทตามลำดับ และเนื่องจากช่วง

Page 26: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

23ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ตารางที่ 2 ผลกระทบของการกรีดยางต้นเล็กที่ปลูกปี 2547-2548 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดพื้นที่กรีด

ทั้งหมด (ไร่)

ผลผลิตน้ำยาง (กก./ปี) 1 รายได้ (ล้านบาท/ปี) 2

กาฬสินธุ์ 109 26,796 20,479 16,121 2.68 2.05 1.61

ขอนแก่น 74 18,099 13,831 10,889 1.81 1.38 1.09

ชัยภูมิ - - - - - - -

นครพนม 1,828 449,684 343,661 270,542 44.97 34.37 27.05

นครราชสีมา 50 12,340 9,431 7,424 1.23 0.94 0.74

บุรีรัมย์ 1,763 433,649 331,407 260,895 43.36 33.14 26.09

มหาสารคาม - - - - - - -

มุกดาหาร 299 73,431 56,118 44,178 7.34 5.61 4.42

ยโสธร 309 76,014 58,092 45,732 7.60 5.81 4.57

ร้อยเอ็ด 82 20,242 15,470 12,178 2.02 1.55 1.22

เลย 1,619 398,377 304,451 239,674 39.84 30.45 23.97

ศรีสะเกษ 1,550 381,245 291,358 229,367 38.12 29.14 22.94

สกลนคร 90 22,202 16,967 13,357 2.22 1.70 1.34

สุรินทร์ - - - - - - -

หนองคาย 9,879 2,430,272 1,857,281 1,462,115 243.03 185.73 146.21

หนองบัวลำภู - - - - - - -

อำนาจเจริญ 312 76,676 58,598 46,130 7.67 5.86 4.61

อุดรธานี 361 88,829 67,886 53,442 8.88 6.79 5.34

อุบล 1,426 350,908 268,174 211,116 35.09 26.82 21.11

รวม 19,751 4,858,766 3,713,203 2,923,160 485.88 371.32 292.32

ลดลงทั้งหมด 1,145,563 1,935,606 115 194

เฉลี่ยต่อไร่ - 246 188 148 24,600 18,800 14,800

ลดลงต่อไร่ - - 58 98 - 5,800 9,800

รายได้ตลอดวงจร

ชีวิต(บาท/ไร่/

วงจรชีวิต) - - - - 492,000 300,800 162,800

รายได้ลดลงต่อไร่ - 191,200 329,200

1ผลผลิตจากต้นกรีดขนาด50ซม.250กก./ไร่/ปีต้นยางขนาด45-50และ<45ซม.ผลผลิตลดลง30และ60เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ2ยางแผ่นดิบราคา100บาท/กก.

50 ซม. 50 ซม.45-50 ซม. 45-50 ซม.<45 ซม. <45 ซม.

Page 27: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

24ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ตารางที่ 3 ผลกระทบของการกรีดยางต้นเล็กต่อผลผลิตไม้ยางของต้นยางที่ปลูกปี 2547-2548

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กาฬสินธุ์ 4.41 3.09 1.76 8.38 4.48 1.76

ขอนแก่น 2.98 2.09 1.19 5.66 3.02 1.19

ชัยภูมิ - - - - - -

นครพนม 74.03 51.82 29.61 140.66 75.14 29.61

นครราชสีมา 2.03 1.42 0.81 3.86 2.06 0.81

บุรีรัมย์ 71.39 49.98 28.56 135.65 72.46 28.56

มหาสารคาม - - - - - -

มุกดาหาร 12.09 8.46 4.84 22.97 12.27 4.84

ยโสธร 12.51 8.76 5.01 23.78 12.70 5.01

ร้อยเอ็ด 3.33 2.33 1.33 6.33 3.38 1.33

เลย 65.59 45.91 26.23 124.61 66.57 26.23

ศรีสะเกษ 62.77 43.94 25.11 119.26 63.71 25.11

สกลนคร 3.66 2.56 1.46 6.94 3.71 1.46

สุรินทร์ - - - - - -

หนองคาย 400.11 280.07 160.04 760.20 406.11 160.04

หนองบัวลำภู - - - - - -

อำนาจเจริญ 12.62 8.84 5.05 23.98 12.81 5.05

อุดรธานี 14.62 10.24 5.85 27.79 14.84 5.85

อุบล 57.77 40.44 23.11 109.77 58.64 23.11

รวม 799.92 559.94 319.97 1,519.85 811.92 319.97

ลดลง 239.98 479.95 707.93 1,199.88

เฉลี่ย(ต่อไร่) 41 28 16 76,950 41,108 16,200

ลดลง(%) 30 60 47 79

1 สูตรการคำนวณปริมาตรไม้ของอารักษ์และคณะ(2545)และความถ่วงจำเพาะของไม้ยางเท่ากับ0.9 ไม้เฟอร์นิเจอร์คือไม้ท่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า6นิ้วและไม้ปาติเคิลและไม้ฟืนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า6นิ้ว ราคาไม้ยางไม้เฟอร์นิเจอร์ราคา2,500บาท/ตันและไม้ปาติเคิลและไม้ฟืนราคา1,000บาท/ตัน

จังหวัดผลผลิตไม้ยาง (พันตัน) 1 รายได้จากไม้ยาง (ล้านบาท)

50 ซม. 50 ซม.45-50 ซม. 45-50 ซม.<45 ซม. <45 ซม.

Page 28: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

25ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

เวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิต 16 ปีกรีด ทำให้มีช่วง

เวลาที่ รายได้สุทธิ เพียง 9 และ 10 ปีกรีดเท่านั้น

การกรีดยางต้นขนาด 50 ซม. มีค่า NPV, B/C ratio

และ IRRสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับการกรีดยางต้นเล็ก

อายุโครงการ 27 ปีและมีระยะเวลาการคืนทุนสั้น

เพียง 5 และ 4 ปีเมื่อยางราคา 80 และ 100 บาท

ตามลำดับ (ตารางที่ 4) หรืออีกทางหนึ่งเกษตรกร

มีรายได้สุทธิจากการเก็บเกี่ยวนานถึง15-16ปี

สรุป ความเสียหายจากการกรีดยางต้นเล็ก

1) กรีดต้นยางต้นเล็กได้ผลผลิตน้ำยางน้อย

กว่าต้นขนาด 50 ซม. ประมาณ 25-60 เปอร์เซ็นต์

และการกรีดยางต้นเล็กร่วมกับการกรีดถี่ กรีดหนึ่ง

ในสามของลำต้น กรีดสามวันหยุดหนึ่งวัน ยิ่งทำให้ผล

ผลิตลดลง40-60เปอร์เซ็นต์

2) ผลผลิตน้ำยางจากต้นขนาด 50 ซม. ถึงแม้

เปิดกรีดช้า 1 ปี ได้ผลผลิตสะสมพอๆ กับเปิดกรีด

ต้นยางขนาดลำต้นเล็กที่เปิดกรีดก่อน 1 ปี หรือผล

ผลิตของการกรีดยาง 2 ปี จากต้นยางขนาดลำต้น

เล็ก ได้ผลผลิตพอๆ กับการกรีดยางต้นขนาด 50 ซม.

ที่กรีดเพียง1ปี

3) การเปิดกรีดต้นยางขนาดเล็กทำให้ผลผลิต

ตลอดวงจรชีวิตของต้นยางลดลง25-59เปอร์เซ็นต์

ตารางที่ 4 ประเมินค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ และระยะเวลาคืนทุนของต้นยางที่เปิดกรีดขนาดต่างกัน

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ราคายาง 60 บาท/กก.

NPV(บาท) 19,176 -1,001 -13,404

B/Cratio 1.26 0.98 0.73

IRR(%) 12.88 7.68 1.34

ระยะเวลาคืนทุน(ปีกรีด) 6 10 12

ราคายาง 80 บาท/กก.

NPV(บาท) 35,679 9,151 -7,538

B/Cratio 1.41 1.13 0.86

IRR(%) 16.28 10.64 4.66

ระยะเวลาคืนทุน(ปีกรีด) 5 7 10

ราคายาง 100 บาท/กก.

NPV(บาท) 52,182 19,302 -1,672

B/Cratio 1.53 1.25 0.97

IRR(%) 19.09 13.09 7.33

ระยะเวลาคืนทุน(ปีกรีด) 4 6 8

หมายเหตุ 1) ปัจจุบันสุทธิ(NPV,netpresentvalue)อัตราส่วนระหว่างผลตอบแทนตัวเงินลงทุน(B/Cratio,beneficcostratio) ผลตอบแทนภายใน(IRR,internalratereturn)ที่อัตราคิดลด8% 2)การประเมินโครงการใช้รายได้ทั้งจากน้ำยางและไม้ยางเมื่อโค่นก่อนปลูกแทน

ความคุ้มค่าขนาดของต้นยางที่เปิดกรีด (ซม.)

>50 ซม. 45-50 ซม. <45 ซม.

Page 29: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

26ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

4) การกรีดยางต้นเล็กมีผลกระทบต่อการเจริญ

เติบโตของต้นยางทำให้ต้นยางมีอัตราการเจริญเติบโต

ต่ำ และผลผลิตไม้ยางน้อยกว่า 28-60 เปอร์เซ็นต์เมื่อ

เปรียบเทียบกับต้นขนาด50ซม.

5) หากเกษตรกรกรีดยางต้นเล็กจะทำให้รายได้

ลดลงประมาณ 274,500-522,400 บาท/ไร่/วงรอบ

ชีวิต

คำขอบคุณ งานวิจัยนี้เป็นผลงานของเจ้าหน้าที่ของสถาบัน

วิจั ยยางศูนย์ วิ จั ยยางฉะเชิ ง เทรา ศูนย์ วิ จั ยยาง

สุราษฏร์ธานี ศูนย์วิจัยยางสงขลา ศูนย์วิจัยยาง

หนองคาย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัด

บุรีรัมย์ รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ในกรมวิชาการเกษตร

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และ

เกษตรกรเจ้าของสวนยางที่มีส่วนร่วมในงานวิจัย

ดังกล่าว และช่วยให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สถาบัน

วิจัยยางขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่ไม่อาจกล่าวนามได้

ในโอกาสนี้ด้วย

เอกสารอ้างอิงพิศมัย จันทุมา. 2551. ผลกระทบต่อผลผลิตเมื่อเปิด

กรีดต้นยางที่มีขนาดต่ำกว่ามาตรฐาน.ว. ยาง

พารา29(2):32-47.

สถาบันวิจัยยาง. 2553. ข้อมูลวิชาการยางพารา 2553.

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวง

เกษตรและสหกรณ์.

สุจินต์ แม้นเหมือน, อารักษ์ จันทุมา และกรรณิการ์

ธีระวัฒนสุข. 2536. การเจริญเติบโตของยาง

พาราในเขตแห้งแล้ง.ว. ยางพารา13(1):12-30.

อารั กษ์ จันทุมา , จิ รากร โกสัย เสวี , ปราโมทย์

สุวรรณมงคล, สมเจตน์ ประทุมมินทร์, เสมอ

สมนาค และประเทือง ดลกิจ. 2530. วัสดุปลูก

ที่ เหมาะสมต่อการปลูกสร้างสวนยางพาราใน

ท้องที่แห้งแล้ง.ว.ยางพารา 8(2):71-79.

อารักษ์ จันทุมา, พิศมัย จันทุมา และสมจินตนา

พรหมศร. 2545. การเขตกรรมในสวนยาง

และปริมาตรไม้ยางพารา. เอกสารประกอบการ

ประชุมวิชาการยางพาราครั้งที่1ประจำปี2545.

Saengruksawong, C., S. Dansagoonpon and

C. Thammarat. 1983. Rubber Planting in

the North Eastern and Northern Regions

o f Tha i l a nd . P r o c e e d i n g o f I R R D B

Symposium 1983,Bejing.

Page 30: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

27ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

Page 31: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

28ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

สรุปสถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2555 และแนวโน้มในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2555เยี่ยม ถาวโรฤทธิ์บริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศจำกัด

1. สถานการณ์เศรษฐกิจโลกโดยรวมไตรมาสที่ 3

และแนวโน้มในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2555 รายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า การ

ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่าน

มายังคงส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพด้านการเงินของ

โลกในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และคาดว่าอัตราการเติบโต

ทางเศรษฐกิจของโลกจะลดลงจากร้อยละ 3.5 ที่

พยากรณ์เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาไปอยู่ที่ระดับ

ร้อยละ3.3สำหรับปีนี้

อย่างไรก็ตาม IMF เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกจะ

ฟื้นตัวขึ้นไปอยู่ที่ระดับร้อยละ3.6ในปีพ.ศ.2556จาก

การคาดว่าประเทศสมาชิกของกลุ่มสหภาพยุโรป

(Eurozone) เช่น กรีซ สเปน สามารถดำเนินการแก้ไข

ปัญหาหนี้สินของประเทศภายใต้ความร่วมมือและการ

ช่วยเหลืออย่างจริงจังของประเทศสมาชิกที่ยังมีความ

เข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถ

ลดรายจ่ายภาครัฐและเพิ่มการเก็บภาษี และประเทศ

จีนสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ฟื้นตัว

จากการชะลอตัวในปีนี้ได้

สำหรับเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นยังคงประสบ

กับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวในไตรมาสที่ 3 และ 4

เนื่องจากค่าเงินเยนที่แข็ง (ระดับ 80 เยนต่อเหรียญ

สหรัฐ) ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก รวมทั้งการ

บริโภคภายในประเทศที่ยังไม่กระเตื้องขึ้น ในขณะที่

ประเทศอินเดียยังคงประสบกับภาวะเงินเฟ้อ และอัตรา

ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง

ส่วนประเทศที่ผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก

รวมทั้งประเทศไทยต่างพากันประสบกับภัยธรรมชาติ

ที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร ราคา

ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ปัจจัยการผลิตทางการ

เกษตรมีราคาสูงขึ้น มีการซื้อขายเก็งกำไรในตลาดซื้อ

ขายล่วงหน้า (FutureMarkets) จนทำให้ราคาสินค้า

เกษตรมีความผันผวนอย่างรุนแรง รวมทั้งราคายาง

พาราด้วย และนำไปสู่การแทรกแซงด้านการตลาดของ

รัฐบาลซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเกษตรกรในระยะยาว เนื่อง

จากไม่มีการแก้ไขปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและ

การควบคุมการขยายพื้นที่ปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เศรษฐกิจโลกโดย

ภาพรวมเริ่มมีเสถียรภาพขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

ที่ผ่านมา หลังจากนายบาราค โอบามา ได้รับการ

เลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกาอีก

สมัยหนึ่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทำให้นัก

ลงทุนเห็นความต่อเนื่องของการดำเนินนโยบายด้าน

เศรษฐกิจของผู้นำเศรษฐกิจโลก ราคาหุ้น สินค้า

โภคภัณฑ์ซื้อขายล่วงหน้า การลงทุน การบริโภคโดย

รวมเริ่มฟื้นตัวขึ้นในขณะที่ผู้นำสหภาพยุโรปก็พยายาม

แก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มอย่างต่อเนื่อง จึง

คาดว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมในปี พ.ศ. 2556 จะดีขึ้น

จากปีนี้

Page 32: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

29ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

นอกจากนี้ การเปลี่ยนผ่านอำนาจของเลขาธิการ

พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และการที่ประเทศ

ญี่ปุ่นได้ผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมกลับมาบริหารประเทศ

อีกครั้งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา สามารถสร้าง

ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนได้ระดับหนึ่งว่าค่าเงินเยน

จะมีโอกาศอ่อนตัวลงในปีหน้า

ดังนั้น จึงคาดว่าเศรษฐกิจของโลกในปี พ.ศ.

2556 จะค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างช้าๆ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อ

อุตสาหกรรมยานยนต์และราคายางพาราด้วย

2. สถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่ 3 ของ

ปี พ.ศ. 2555 สาเหตุที่ ราคายางพาราปรับตัวลดลงอย่าง

ต่อเนื่องจากเดือนกรกฎาคมถึงระดับต่ำสุดเมื่อวันที่

15สิงหาคมเนื่องจาก

2.1 ตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ

ประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนชะลอตัวในไตรมาสที่ 2

ในขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพ

ยุโรปติดลบ ทำให้การบริโภคโดยรวมของโลกลดลงไป

ด้วย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ใน

ประเทศสหรัฐอเมริกา จีนและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นในไตรมาส

ที่3เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา

2.2 ผลผลิตและสต็อกยางพาราของโลกใน

เดือนตุลาคมที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.12 และ 5.37

ในขณะที่ความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.11

เท่านั้นจากการรายงานของLMC

2.3 ราคาซื้อขายยางพาราในตลาดกรุงโตเกียว

ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากนักลงทุนขาด

ความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จึงมีการ

เทขายสัญญาจำนวนมาก ส่งผลทำให้ราคายางพารา

ในตลาดส่งมอบจริงปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วไปด้วย

ดังนั้น สภาความร่วมมือไตรภาคียางพารา

(International TripartiteRubberCouncil: ITRC) จึง

ประกาศจะลดการส่งออกยางพาราของไทยอินโดนีเซีย

และมาเลเซียปริมาณ300,000ตันในช่วงเดือนตุลาคม

ปีนี้ ถึงเดือนมีนาคมปีหน้า และจะเร่งโค่นต้นยางเก่า

จำนวน625,000ไร่เพื่อลดผลผลิต150,000ตัน

นอกจากนี้ ธนาคารกลางของยุโรปได้ประกาศ

เมื่อวันที่ 6 กันยายนที่จะซื้อพันธบัตรของประเทศ

สมาชิกที่มีปัญหาหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะประเทศ

กรีซ และในวันที่ 12 กันยายนศาลรัฐธรรมนูญประเทศ

เยอรมันรับรองให้รัฐบาลประเทศเยอรมันจ่ายเงินของ

ประเทศเพื่อไปช่วยเหลือในกองทุนช่วยเหลือถาวร

(Euro-zonePermanentRescue Fund)และธนาคาร

กลางประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศเพิ่มอุปทานเงิน

ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ (QE3) ในวันที่ 13

กันยายนเดียวกัน

จากมาตรการที่ ITRC ดำเนินการและความ

พยายามของประเทศผู้นำเศรษฐกิจโลกข้างต้นได้

ส่งผลทำให้ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 หยุดการปรับตัว

ลดลงจากระดับเฉลี่ย 81.80 บาท/กิโลกรัม ในเดือน

สิงหาคมและเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยราคายางแผ่นดิบชั้น 3

อยู่ที่ระดับเฉลี่ย83.06บาท/กิโลกรัมในเดือนกันยายน

3. สถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่ 4 ของ

ปี พ.ศ. 2555 อย่างไรก็ตาม ราคายางพาราในเดือนตุลาคม

ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคายางแผ่นดิบ

ชั้น 3 อยู่ที่ ระดับ 86.48 บาท/กิโลกรัม ก่อนที่จะ

อ่อนตัวลงในเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากเงินเยนแข็ง

ค่าขึ้น และรายงานตัวเลขเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นใน

ไตรมาสที่3ติดลบร้อยละ3.5ในเวลาเดียวกันนักลงทุน

พากันเทขายหุ้นและสัญญาซื้อขายล่วงหน้ายางพารา

จำนวนมากก่อนวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

วันที่6พฤศจิกายนที่ผ่านมา

หลังจากทราบเลือกตั้ งประธานาธิบดีสหรัฐ

อเมริกาวันที่ 6 พฤศจิกายนได้เกิดข้อขัดแย้งระหว่าง

พรรค Democrat กับ Republican เกี่ยวกับนโยบาย

การปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐและการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น

(F iscal Cl i f f ) ซึ่ งยั งยืดเยื้อมาจนถึงปลายเดือน

ธันวาคมในขณะนี้ ด้วยเหตุดังกล่าว ราคาหุ้นในตลาด

กรุงนิวยอร์คไม่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุน

ยังไม่มั่นใจว่าปัญหาระหว่างสองพรรคการเมืองจะ

Page 33: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

30ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ภาพที่ 1 ราคายางพาราไทยปี พ.ศ.2554-2555

ที่มา:บริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศจำกัด

สามารถหาข้อยุติก่อนสิ้นปีนี้

อย่างไรก็ตาม ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ในเดือน

ธันวาคมนี้คาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่า

80 บาท/กิ โลกรัม เนื่ อง เงิน เยนอ่อนตัวลงและมี

เสถียรภาพในระดับหนึ่ง กอปรกับผลผลิตยางพารา

ในภาคใต้ของประเทศไทยและภาคเหนือของประเทศ

มาเลเซียและอินโดนีเซียออกสู่ตลาดน้อยเนื่องจาก

เป็นฤดูฝน อีกทั้งประเทศจีนได้ประกาศลดภาษีการ

นำเข้ายางแผ่นรมควันจาก 1,600 หยวนต่อตัน เป็น

1,200 หยวนต่อตัน และยางแท่งจาก 2,000 หยวน

ต่อตัน เป็น 1,200 หยวนต่อตัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่

วันที่1มกราคมปีหน้า

Page 34: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

31ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

มกราคม

กุมภาพันธ์

มีนาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 1

เมษายน

พฤษภาคม

มิถุนายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 2

กรกฎาคม

สิงหาคม

กันยายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 3

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 4

ค่าเฉลี่ย

92.97

95.97

101.38

96.77

112.47

105.86

109.80

109.38

99.42

98.97

102.67

100.36

106.61

117.39

130.39

118.13

106.16

102.44

103.59

108.34

104.79

123.94

118.54

117.90

120.13

107.76

105.29

108.43

107.16

116.99

128.90

141.89

129.26

115.33

-35

-34

-25

-31

-33

-27

-33

-31

-31

-36

-34

-34

-22

-13

-32

-34

-27

-31

-33

-25

-30

-29

-31

-37

-33

-34

-22

-14

-53.90

-57.05

-35.93

-48.96

-52.23

-38.06

-45.61

-45.30

-40.23

-45.82

-43.01

-43.02

-25.07

-11.95

-53.09

-65.24

-45.02

-54.45

-58.04

-39.60

-45.78

-47.80

-44.69

-52.02

-46.12

-47.61

-28.29

-15.32

153.82

168.01

144.75

155.53

159.96

143.38

137.52

146.95

129.50

127.62

126.08

127.73

111.55

90.87

89.72

97.38

131.90

167.76

190.62

167.67

175.35

177.99

157.23

153.44

162.88

144.22

140.98

139.75

141.65

126.86

107.31

106.38

113.52

148.35

99.92

110.96

108.82

106.56

107.73

105.32

91.91

101.65

89.28

81.80

83.06

84.71

86.48

78.93

114.67

125.38

122.65

120.90

119.95

117.63

107.66

115.08

99.54

88.97

93.63

94.04

98.57

91.99

ตารางที่ 1 ราคายางพาราไทย ปี พ.ศ. 2553-2555

เดือนยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 (USS3) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3)

2553 25532554 25542555 2555+/- +/-% %

ที่มา : บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด

หน่วย : บาท/กก.

Page 35: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

32ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

มกราคม

กุมภาพันธ์

มีนาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 1

เมษายน

พฤษภาคม

มิถุนายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 2

กรกฎาคม

สิงหาคม

กันยายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 3

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 4

ค่าเฉลี่ย

ตารางที่ 1 ราคายางพาราไทย ปี พ.ศ. 2553-2555

เดือน

ที่มา : บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด

101.38

102.69

107.15

103.74

114.17

99.43

98.33

103.98

96.33

99.93

103.77

100.01

114.52

126.91

140.34

127.26

108.74

90.50

96.40

102.46

96.45

108.29

99.12

102.40

103.27

99.16

98.43

99.86

99.15

103.57

116.00

128.36

115.98

103.71

-32

-33

-24

-30

-30

-24

-32

-29

-33

-39

-38

-37

-27

-19

-29

-30

-18

-26

-32

-28

-35

-31

-32

-36

-33

-33

-24

-15

-51.61

-57.86

-36.08

-48.52

-50.07

-34.68

-44.96

-43.24

-46.00

-54.49

-52.23

-50.91

-34.54

-20.28

-39.85

-46.98

-23.98

-36.93

-48.43

-38.82

-46.24

-44.49

-39.97

-43.85

-38.81

-40.88

-25.86

-13.00

163.09

176.23

152.82

164.05

165.60

145.08

141.95

150.88

139.07

138.85

138.92

138.95

126.45

106.86

104.95

112.76

141.66

136.05

155.23

134.54

141.94

153.74

138.32

133.50

141.85

126.33

121.89

118.36

122.20

108.17

87.91

88.48

94.85

125.21

111.48

118.36

116.74

115.53

115.53

110.40

96.99

107.64

93.07

84.37

86.69

88.04

91.92

86.58

96.20

108.25

110.57

105.01

105.31

99.50

87.26

97.36

86.36

78.04

79.55

81.32

82.30

74.91

ยางแท่งเอสทีอาร์ 20 (STR20) น้ำยางสด (Field Latex)

2553 25532554 25542555 2555+/- +/-% %

หน่วย : บาท/กก.

Page 36: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

33ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ประกาศเตือนภัย“ผลเสียของการกรีดยางต้นเล็ก”

ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2555

ปัจจุบัน เจ้ าของสวนยางในภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ และภาคเหนือ ส่วนใหญ่ยึดอายุต้นยางเป็น

เกณฑ์ในการตัดสินใจเปิดกรีดต้นยางโดยยึดว่ากรีดยาง

ได้ถ้าต้นยางอายุ 7 ปี โดยไม่ได้พิจารณาจากขนาด

ของต้น และจำนวนต้นที่มีขนาดกรีดได้ ประกอบใน

การตัดสินใจเปิดกรีดต้นยาง นอกจากนี้ ราคายางที่

อยู่ในระดับที่สูงถึง 100 บาทต่อกิโลกรัม ก็เป็นเหตุ

จูงใจให้เจ้าของสวนยางและคนกรีดยางมักใช้เป็นข้อ

อ้างในการรีบเปิดกรีดยางทั้งๆ ที่ต้นยางยังมีขนาดเล็ก

เพียง 35-40 เซนติเมตร แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ว่า

ราคายางจะแพงหรือถูกเจ้าของสวนก็เลือกเปิดกรีด

ยางอยู่ดี โดยอ้างว่าไม่มีรายได้มาหลายปีแล้ว และ

มีความจำเป็นต้องใช้เงิน

หรือ บางสวนอาจยังขาดความรู้ในเรื่องของการ

กรีดยาง จึงเชื่อคำแนะนำ หรือดูจากสวนข้างเคียงว่า

เขากรีดได้แล้วก็เลยกรีดตาม

แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า การกรีดยางต้นเล็กมี

ผลเสียต่อท่านมากมายหลายประการไม่ว่าจะเป็น

- การกรีดยางต้นเล็ก ได้ผลผลิตยางน้อยกว่า

ต้นยางขนาด 50 เซนติเมตรประมาณ25-60% หรือ

ผลผลิตจากการกรีดต้นเล็ก 2 ปี เทียบเท่ากับผลผลิต

จากกรีดต้นยางที่ได้ขนาด50เซนติเมตร1ปี

- การกรีดยางต้นเล็กมีผลกระทบต่อการเจริญ

เติบโตของต้นยาง ทำให้ต้นยางโตช้าลง ถ้าหากโค่น

ต้นยางหลังจากกรีดไม่ได้แล้ว จะได้ผลผลิตไม้ยาง

ลดลง 28-60% ไม้ยางไม่ได้ขนาดทำให้ขายไม้ไม่ได้

ราคา

- การกรีดยางต้นเล็ก ต้นยางมีเปลือกบางถ้าคน

กรีดไม่ชำนาญทำให้กรีดบาดเข้าเนื้อไม้ หน้ากรีดยาง

เสียหายได้ง่ายและไม่สามารถย้อนกลับมากรีดได้อีก

- ถ้าหากเจ้าของสวนกรีดยางต้นเล็ก ร่วมกับ

การกรีดถี่ หรือกรีดสามวันหยุดหนึ่งวัน ยิ่งทำให้เปลือก

ยางหมดเร็ว เปลือกใหม่งอกไม่ทัน เจ้าของสวนก็ต้อง

โค่นยางเร็วขึ้นแทนที่จะกรีดยางได้นาน20ปีอาจเหลือ

เพียง 10 ปี หรือ น้อยกว่า 10 ปี ก็ต้องโค่นแล้วปลูก

ใหม่ ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุนและเสียเวลา ต้องรอ

เวลาปลูกใหม่อีก7ปี

- ปัญหาอื่นๆ เช่นมีต้นยางเปลือกแห้ง หรือกรีด

แล้วไม่มีน้ำยางเพิ่มขึ้นทุกปี

การที่ต้นยางของท่านจะโตได้ขนาดช้าหรือเร็ว

ก็ขึ้นกับท่านเจ้าของสวนเองด้วย ถ้าท่านดูแลรักษา

สวนยาง กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยบำรุงอย่างเหมาะสมใน

ช่วงต้นยางเล็ก ต้นยางของท่านก็จะโตดีและมีขนาด

สม่ำเสมอ

อย่าลืม ! ต้นยางที่ได้ขนาดเปิดกรีด ต้นยางของ

ท่านควรมีขนาดรอบต้น 50 เซนติเมตร (ที่ความสูงต้น

150 เซนติเมตร) ประมาณครึ่งสวนขึ้นไป หรือ ต้นยาง

มีขนาดรอบต้น45เซนติเมตร(ที่ระดับ150เซนติเมตร)

ก็ ได้ แต่ ในสวนท่านต้องมีต้นยางที่ ได้ขนาด 45

เซนติเมตรมากกว่า80%ของทั้งสวน

ประกาศณวันที่27มิถุนายนพ.ศ.2555สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 37: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

34ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ประกาศเตือนภัย“ระวังปุ๋ยปลอม”

(ปุ๋ยจริง ปุ๋ยปลอม เลือกซื้ออย่างไรไม่ถูกหลอก)

ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555

ตั้งแต่พฤษภาคมที่ผ่านมาชาวสวนยางส่วนใหญ่

เริ่มกรีดยางและขายผลผลิตกันแล้ว แต่ก็อย่าลืมใส่

ปุ๋ยให้ต้นยางด้วย ถึงแม้หลายคนจะบ่นว่าปุ๋ยมีราคา

แพง เพราะอย่างไรต้นยางก็ยังต้องการธาตุอาหารไป

ช่วยบำรุงต้นยางในการเจริญเติบโต และชดเชยกับ

การสูญเสียน้ำยางที่ถูกกรีดออกไป

โดยปกติแล้ว สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการ

เกษตร จะแนะนำให้ใส่ปุ๋ยต้นยางปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วง

ต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการ

ใส่ปุ๋ยถ้ามีฝนตกมากเกินไปและตกติดต่อกันหลายวัน

เพื่อป้องกันการสูญเสียปุ๋ยจากการชะล้างของน้ำฝน

การใส่ปุ๋ยต้นยางอย่างคุ้มค่า จึงควรใส่ให้ถูกสูตร

ถูกเวลา ถูกวิธี คือ ใส่ให้ถูกตามสูตร ปริมาณปุ๋ย

ตามอายุของต้นยาง ใส่ปุ๋ยบริ เวณทรงพุ่มของต้น

ยางที่มีรากฝอยหนาแน่น ใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความ

ชื้นพอประมาณ

สวนยางหลายสวนมีผู้ นำปุ๋ ยมา เสนอขาย

หลากหลายรูปแบบ ทั้ งปุ๋ยเคมีที่ เป็นปุ๋ยจริง และ

ปุ๋ ยปลอม เจ้ าของสวนบางสวนไม่ รู้ จะ เลื อกซื้ อ

อย่างไร บางทีก็ถูกหลอกให้ซื้อปุ๋ยปลอม หรือ ปุ๋ย

ไม่ได้คุณภาพ ทำให้เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา ต้นยาง

ก็ไม่ได้ธาตุอาหารอย่างเพียงพอด้วย

เจ้าของสวนหลายคนอาจสงสัย“ปุ๋ยปลอม” เป็น

อย่างไร ??? ปุ๋ยปลอมแบ่งออกเป็น

1. ปุ๋ยคุณภาพต่ำ โดยปลอมแปลงถุงปุ๋ย ใช้ตรา

ที่อยู่ในความนิยม ปลอมสูตรปุ๋ยด้วยการพิมพ์ที่ข้าง

กระสอบเป็นปุ๋ยสูตรสูง หรือ เลียนแบบสีปุ๋ยสูตรสูง

ที่อยู่ในความนิยม

2.น้ำหนักไม่ครบตามที่ระบุเอาไว้ข้างกระสอบ

3.ใช้วัสดุคล้ายคลึงกับปุ๋ยเข้าเป็นส่วนผสม

แล้วควรเลือกซื้อปุ๋ยอย่างไรจึงจะไม่ถูกหลอก

การเลือกซื้อปุ๋ยเคมี เจ้าของสวนควรดูสูตรปุ๋ย

ที่ด้านบนของกระสอบด้านหน้าว่ามีสูตรปุ๋ยถูกต้องและ

ด้านข้างกระสอบมีการแสดง เลขที่ใบอนุญาต ซึ่งกรม

วิชาการเกษตรออกให้ และสุดท้ายคือมีชื่อ ที่อยู่ของ

ผู้ผลิตที่ด้านหลังของกระสอบปุ๋ย

และที่สำคัญ เจ้าของสวนยางทุกท่านอย่าได้หลง

เชื่อพ่อค้าเร่ขายปุ๋ยที่ไม่ได้มาตรฐานและแนะนำวิธีการ

ใส่ปุ๋ยที่ผิด เพราะนอกจากทำให้เสียเงินแล้วยังเป็นโทษ

เพราะสวนยางของท่านอาจเสียหาย รวมถึงผลผลิต

น้ำยางของท่านอาจลดลงด้วย

ประกาศณวันที่4กรกฎาคมพ.ศ.2555สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 38: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

35ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ประกาศเตือนภัย“ฝนตกชุก....ระวังโรคใบร่วง

ไฟทอปโทร่า”

ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2555

เนื่องจากในเดือนกรกฎาคมนี้เป็นช่วงที่มีฝนที่ตก

ชุกต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทั้งในภาคใต้ ภาคตะวันออก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จนอาจเป็น

สาเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคใบร่วงไฟทอปโทร่า

ในสวนยาง ซึ่งสามารถแพร่ระบาดโดยลมและฝนและ

ระบาดได้ดีในสภาพอากาศที่ เย็น ฝนตกชุก และมี

ความชื้นสูง โรคใบร่วงไฟทอปโทร่านี้จะทำความ

เสียหายแก่ต้นยางทั้งยางเล็กและยางใหญ่ โดยเข้า

ทำลายได้ทั้ง ใบ ก้านใบ กิ่งแขนงสีเขียว และฝักยาง

ทำให้เกิดใบร่วง ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิต

ยางลดลงร้อยละ 30-50 โดยที่ระดับความรุนแรงของ

โรคจะมากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูกยาง

และจะแตกต่ างกันไปในแต่ละปี ทั้ งนี้ ขึ้ นอยู่ กับ

สภาพของสวนยาง สภาวะอากาศของพื้นที่นั้นๆ และ

ถ้าหากในสวนยางเกิดอาการใบร่วงแล้ว เจ้าของสวน

ยางยังคงกรีดยางต่อไปขณะหน้ากรีดยางยังไม่แห้ง

อาจทำให้เชื้อราไฟทอปโทร่าเข้าทำลายหน้ากรีดยาง

จนทำให้เกิดโรคเส้นดำได้ ดังนั้น ในช่วงที่มีฝนตก

ชุกต่อเนื่อง ขอให้เจ้าของสวนยางหมั่นสังเกตต้นยาง

ในสวนหากพบว่ามีใบร่วงในสวนยางเป็นบริเวณกว้าง

ในช่วงฝนตกชุกนี้ ให้เจ้าของสวนสังเกตที่ก้านใบ จะ

มีรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของ

ก้านใบ บริเวณแผลจะมีหยดน้ำยางเล็กๆ เกาะติด

อยู่ เมื่อนำใบยางที่เป็นโรคสะบัดไปมาเบาๆ ใบย่อย

จะหลุดทันที ทั้งที่ยังเขียวสดอยู่ นอกจากนี้ เชื้อรายัง

อาจเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะ ทำให้ฝักเน่า ถ้า

ความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมฝัก

และฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ไม่แตกและ

ร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อใน

ปีถัดไป

วิธีป้องกันกำจัด เจ้าของสวนยางควรใส่ปุ๋ยบำรุง

ต้นยางให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อต้านทานโรค และ

ควรจำกัดวัชพืช ตัดแต่งกิ่งยางให้โปร่งเพื่อให้อากาศ

ถ่ายเทได้สะดวก เป็นการลดความชื้นในสวนยาง

สำหรับสวนยางที่ปลูกพันธุ์ อาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM)

600 อาจพบโรคนี้ได้ง่ายกว่าพันธุ์อื่น เนื่องจากพันธุ์

อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคใบร่วง

ไฟทอปโทร่านี้

หากพบการระบาดกับต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า

2 ปี แนะนำให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เมทาแลกซิล

(metalaxyl) หรือ ฟอสเอทธิล อลูมินั่ม (fosetyl-Al)

ที่มีชื่อทางการค้าว่า “อาลีเอท” ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง

อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นพุ่มใบยาง

เมื่อเริ่มพบการระบาดทุก7วันจนกว่าจะหายจากโรค

ต้นยางใหญ่ที่เป็นโรครุนแรงจนใบร่วงหมดทั้ง

ต้น ให้หยุดกรีดยาง และใส่ปุ๋ยบำรุงจนกว่าต้นยาง

จะผลิใบใหม่และเจริญเป็นใบแก่ที่สมบูรณ์

ประกาศณวันที่11กรกฎาคมพ.ศ.2555สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 39: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

36ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ประกาศเตือนภัย“ระวังผลกระทบจากพายุโซนร้อน

วีเซนเต”ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2555

จากการประกาศเตือนภัยเรื่อง “พายุโซนร้อน

วีเซนเต (VICENTE)” ของกรมอุตุนิยมวิทยาฉบับที่ 6

ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 กล่าวว่า “เมื่อเวลา

16.00น. ของวันที่ 23กรกฎาคม2555 พายุโซนร้อน

“วีเซนเต” (VICENTE) ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุ

ไต้ฝุ่น ... และจะขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนใน

วันที่ 25 กรกฎาคม 2555 นี้” ซึ่งลักษณะดังกล่าว

จะส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมี

ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งดังนี้คือ

•ในช่วงวันที่ 24 - 26 กรกฎาคม 2555 ภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย

บึงกาฬหนองบัวลำภูอุดรธานีสกลนครและนครพนม

•ในช่วงวันที่24-27กรกฎาคม2555ภาคเหนือ

บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน

พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก และ

เพชรบูรณ์

•ในช่วงวันที่ 25 - 27 กรกฎาคม 2555 ภาค

ตะวันออกบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราดและภาคใต้ฝั่ง

ตะวันตกบริเวณจังหวัดระนองและพังงา

สถาบันวิจัยยางจึงขอแจ้งเตือนให้เจ้าของสวน

ยาง ระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสวนยาง อันเนื่อง

มาจากฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้น้ำท่วมขังในสวนยางได้

ในพื้นที่ลุ่มเจ้าของสวนยางควรมีการเตรียมทำทาง

ระบายน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากน้ำท่วมขังเป็นเวลา

นาน และไม่ควรกรีดยางในขณะที่ต้นยางยังเปียกอยู่

เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเส้นดำ ทำให้หน้า

กรีดเน่าเสียหายได้

ประกาศณวันที่24กรกฎาคมพ.ศ.2555สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 40: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

37ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ประกาศเตือนภัย“ซื้อยางชำถุง...ถูกต้องตามพันธุ์ และได้คุณภาพตามมาตรฐาน”

ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2555

มีเจ้าของสวนหลายท่านสอบถามมายังสถาบัน

วิจัยยางว่า ถ้าจะปลูกยางจะทราบได้อย่างไรว่า

พันธุ์ยางที่ซื้อมานั้นเป็นยางพันธุ์ดี ถูกต้องตามพันธุ์

และมีคุณภาพได้มาตรฐาน สถาบันวิจัยยางจึงขอ

ประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนให้ผู้ที่สนใจจะปลูกยาง

และกำลังหาซื้อพันธุ์ยางเพื่อนำไปปลูก ใช้ข้อสังเกต

เหล่านี้เป็นแนวทางในการซื้อพันธุ์ยางดังนี้

1) หากท่านต้องการซื้อยางชำถุง ท่านสามารถ

ซื้อได้จากแปลงขยายพันธุ์ยางทั่วไปที่จำหน่ายยาง

ชำถุงแต่ขอให้ท่านสอบถามและขอดูใบอนุญาต

ขยายพันธุ์ต้นยางเพื่อการค้า ตามพระราชบัญญัติ

ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 จากแปลงขยายพันธุ์ยาง

นั้นก่อน เพราะแปลงขยายพันธุ์ยางที่ได้รับใบอนุญาต

ขยายพันธุ์ยางเพื่อการค้านั้น จะต้องผ่านการตรวจสอบ

ความถูกต้องของพันธุ์ยางจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์

วิ จัยยางและสถาบันวิจัยยางก่อน ท่ านสามารถ

เชื่อมั่นได้ว่าจะได้พันธุ์ยางที่ถูกต้องตามคำแนะนำ

2) ต้นยางชำถุงที่ได้มาตรฐานสำหรับนำไปปลูก

ควรเป็นต้นยางที่มีการติดตาที่สมบูรณ์ ตาที่แตกออก

มามีการเจริญเติบโตในถุงพลาสติกและมีขนาดตั้งแต่

1 ฉัตรแก่ ขึ้นไป เมื่อวัดความยาวของฉัตรจากรอย

แตกตาถึงปลายยอดควรมีความยาวประมาณ 25

เซนติเมตรขึ้นไป

3) ดินที่ใช้บรรจุยางชำถุง จะต้องมีลักษณะค่อน

ข้างเหนียว เวลาขนย้ายยางชำถุงดินไม่แตกง่าย มีดิน

บรรจุอยู่ในถุงไม่น้อยกว่า10นิ้ว

4) ต้นยางชำถุงต้องไม่มีโรค แมลง หรือไม่มี

วัชพืชขึ้นในถุง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ท่านจะสามารถหาซื้อยาง

ชำถุงที่ได้คุณภาพแล้ว แต่การที่จะปลูกยางให้ประสบ

ผลสำเร็จ เจ้าของสวนควรเตรียมพื้นที่ปลูกยาง รวมทั้ง

ดูแลรักษาและใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับต้นยางด้วย

ประกาศณวันที่24กรกฎาคมพ.ศ.2555สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 41: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

38ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ประกาศเตือนภัย“ฝนตกชุก....ระวังโรคใบร่วง

ไฟทอปโทร่า”ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2555

เนื่องจากช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน เป็น

ช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่น และต่อเนื่องในหลายพื้นที่

โดยเฉพาะในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่ ง

ทำให้สวนยางทั้ งยางเล็กและยางที่ เปิดกรีดแล้ว

มีความชื้นสูงเกิดโรคใบร่วงไฟทอปโทร่าได้ง่าย

การแพร่ระบาดของโรคใบร่วงไฟทอปโทร่านี้

สามารถแพร่ ระบาดโดยลมและฝน และระบาด

ได้ดีในสภาพอากาศเย็น ฝนตกชุก และมีความชื้นสูง

ทำความเสียหายแก่ต้นยางทั้งยางเล็กและยางใหญ่

โดยเข้าทำลายได้ทั้งฝักยางใบก้านใบกิ่งแขนงสีเขียว

ทำให้เกิดใบร่วง ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิต

ยางลดลงร้อยละ30-50

สถาบันวิจัยยางขอแจ้งเตือนเกษตรกร ในช่วง

ที่ฝนตกชุกนี้ โดยเฉพาะในเขตจังหวัด หนองคาย

บึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร ร้อยเอ็ด

และอุบลราชธานี ที่ปลูกยางพันธุ์ อาร์อาร์ไอเอ็ม

(RRIM) 600 ให้ระวังการแพร่ระบาดของโรคใบร่วง

ไฟทอปโทร่า ในช่วงที่มีฝนตกชุกต่อเนื่อง โดยขอให้

เจ้าของสวนหมั่นสังเกตต้นยางในสวนยาง ถ้าหาก

พบว่ามีใบร่วงในสวนยางเป็นบริเวณกว้างในช่วงฝน

ตกชุกนี้ ให้เจ้าของสวนสังเกตที่ก้านใบ จะมีรอยแผล

ช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบบริเวณ

แผลจะมีหยดน้ำยางเล็กๆ เกาะติดอยู่ เมื่อนำใบยาง

ที่เป็นโรคสะบัดไปมาเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที ทั้งที่

ยังเขียวสดอยู่ นอกจากนี้ เชื้อรายังอาจเข้าทำลายฝัก

ยางได้ทุกระยะ ทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูง

จะพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมฝัก และฝักที่ถูกทำลาย

จะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ไม่แตก และร่วงหล่นตาม

ธรรมชาติกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อในปีถัดไป

วิธีป้องกันจำกัด หากพบการระบาดกับต้นยาง

ที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี แนะนำให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมี

เมทาแลกซิล (metalaxyl) หรือ ฟอสเอทธิล อลูมินั่ม

( fosetyl-AI) ที่มีชื่อทางการค้าว่า “อาลี เอท” ใช้

อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดย

ฉีดพ่นพุ่มใบยางเมื่อเริ่มพบการระบาดทุก7วันจนกว่า

จะหายจากโรค

ต้นยางใหญ่ที่ เป็นโรครุนแรงจนใบร่วงหมด

ทั้งต้น ให้หยุดกรีดยาง และใส่ปุ๋ยบำรุงจนกว่าต้นยาง

จะผลิใบใหม่และเจริญเป็นใบแก่ที่สมบูรณ์

ประกาศณวันที่30กรกฎาคมพ.ศ.2555สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 42: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

39ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ประกาศเตือนภัย“เกษตรกรที่ประสงค์จะโค่นยางพารา

เพื่อขายไม้”

ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2555

ในการประมูลไม้ยางพารา ณ ตลาดกลาง

ไม้ยางพาราสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม

2555 ราคาประมูลสูงสุดอยู่ที่ 12,731,144 บาท

จำนวนพื้นที่สวนยางที่ เข้าประมูล 130 ไร่ ซึ่งราคา

ประมูลที่ได้สูง สวนทางกับการที่ตลาดจีนลดการสั่ง

ซื้อไม้ยาง เพราะมีไม้แปรรูปในโกดังเก็บสต็อกไว้ และ

จากช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงฤดูแล้ง เกษตรกร

ต้องโค่นยางเพื่อปลูกแทนทำให้ไม้ยางออกสู่ตลาดมาก

จนโรงงานแปรรูปไม่ทัน จึงเกิดภาวะราคาไม้ยางตกต่ำ

อย่างไรก็ดี ราคาตกต่ำนี้เป็นช่วงสั้น ๆ เพราะในระยะ

3-4 เดือนข้างหน้าเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ปริมาณไม้ยางจะ

ขาดแคลนในช่วงต้นปี2555ตลาดไม้ยางผันผวนราคา

ที่โรงงานรับซื้อหน้าโรงงานต่ำกว่าราคาที่คนกลางเข้า

ทำสัญญามัดจำจากชาวสวนไว้ในช่วงปีก่อน ซึ่งในปี

2554 ราคาไม้ยางส่งออกไปจีนลูกบาศก์ เมตรละ

12,643.53 บาท หรือ ลูกบาศก์ฟุตละ 357.97 บาท

ทำให้ชาวสวนที่โค่นต้นยางปีนี้ขายไม้ได้ราคาต่ำกว่า

สวนข้างเคียงที่ขายไปในปีก่อน

จึงเรียนพี่น้องเกษตรกรที่ประสงค์จะโค่นต้นยาง

ในปีนี้ได้ติดตามปัจจัยอื่นๆประกอบในการขายไม้ยาง

เช่นสถานการณ์ราคาไม้ยางในพื้นที่ คุณภาพไม้ สภาพ

ความสะดวกในการเข้าถึงสวนและขนส่งไม้ และ

ติดตามราคาประมูลไม้ตลาดกลางไม้ยางพารา

ที่เว็บไซต์www.rubberthaiwoodauction.com หรือ

โทรศัพท์ 077-211459และ 077-441097 สำนักงาน

ตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี

ประกาศณวันที่6สิงหาคมพ.ศ.2555สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 43: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

40ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ประกาศเตือนภัย“โรคใบจุดก้างปลา”

ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2555

ตั้งแต่มีการระบาดของโรคใบจุดก้างปลารุนแรง

ในยางพันธุ์ อาร์อาร์ ไอซี (RRIC) 110 ที่จั งหวัด

จันทบุรี และตราด ในปี 2553 จนทำให้เกษตรกรชาว

สวนยางหลายรายตัดสินใจโค่นต้นยางทิ้ง เพราะไม่

อยากเสี่ยงต่อการระบาดของโรคอีกต่อไป สถาบัน

วิจัยยางได้ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์การระบาดของ

โรคเรื่อยมา ปัจจุบันยังพบว่ามีความรุนแรงในสวนที่

ปลูกยางพันธุ์นี้ ขณะที่พันธุ์อื่นๆ เช่น พันธุ์อาร์อาร์

ไอเอ็ม (RRIM)600และพันธุ์สถาบันวิจัยยาง251ก็มี

การสำรวจพบอาการโรคใบจุดก้างปลาในสวนยาง

เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง อย่างไร

ก็ตาม มีข้อมูลทางวิชาการยืนยันว่า เชื้อนี้มีโอกาส

กลายพันธุ์ได้ และประเทศผู้ผลิตยางหลายประเทศ

ก็รายงานตรงกันว่ายางพันธุ์ อาร์อาร์ไอเอ็ม 600

ไม่ต้านทานต่อโรคนี้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดสอบ

ในห้องปฏิบัติการของบ้านเรา

สถาบันวิจัยยาง จึงขอแจ้งเตือนให้เกษตรกร

ชาวสวนยางได้หมั่นสังเกตอาการโรคใบจุดก้างปลา

ในสวนยางของตนเอง หากพบการระบาดของโรค

รุนแรงในสวนยางของท่านทั้งในพันธุ์ อาร์อาร์ไอเอ็ม

600 และในยางพันธุ์อื่นๆ ขอให้แจ้งสถาบันวิจัยยาง

ทันที ต้นยางที่ เป็นโรคจะมีรอยแผลบนใบรูปร่าง

กลม หรือรูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเล็กไปจนถึงแผล

ขนาดใหญ่ กลางแผลแห้งมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผล

สีน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อรอบรอยแผลมีสีเหลือง บางครั้ง

อาจพบเนื้อเยื่อบริเวณกลางแผลยุบตัวมีลักษณะเป็น

วงซ้อนกัน เนื้อเยื่อกลางแผลที่แห้งอาจขาดเป็นรู ถ้า

แผลขยายลุกลามเข้าไปตามเส้นใบ ทำให้แผลมี

ลักษณะคล้ายก้างปลา หากเข้าทำลายใบอ่อน ทำให้

ใบอ่อนไหม้ แห้งเหี่ยว สวนยางที่พบการระบาดรุนแรง

ใบจะร่วงทั้งสวน และอาจเกิดอาการแห้งตายจาก

ยอดได้

ประกาศณวันที่27สิงหาคมพ.ศ.2555สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 44: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

41ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ประกาศเตือนภัย“ระวังผลกระทบจากพายุโซนร้อนแกมี”

ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2555

จากการประกาศเตือนภัย เรื่ อ ง “พายุแกมี

(GAEMI)” ของกรมอุตุนิยมวิทยา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม

2555 กล่าวว่า พายุโซนร้อน “แกมี” (GAEMI) จะ

เคลื่อนขึ้นฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนามในช่วง

วันที่ 5-6 ตุลาคม 2555 จากนั้นจะเคลื่อนผ่านภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลางของ

ประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัด

ปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะ

มีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 5-8

ตุลาคม 2555 บริเวณประเทศไทยมีฝนหนาแน่นเพิ่ม

มากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่

กับมีลมแรง โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ

ภาคตะวันออกก่อน จากนั้นภาคเหนือตอนล่าง ภาค

กลาง และภาคใต้ฝั่ งตะวันตกจะได้ผลกระทบใน

ระยะต่อไป

สถาบันวิจัยยางจึงขอแจ้งเตือนให้เจ้าของสวน

ยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก

ภาคเหนือตอนล่าง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายที่

อาจเกิดขึ้นในสวนยาง อันเนื่องมาจากความรุนแรงของ

“พายุแกมี” อาจพัดทำลายทำให้ต้นยางหักโค่นได้ และ

จากที่มีฝนตกหนักอาจทำให้น้ำท่วม น้ำท่วมฉับพลัน

น้ำท่วมขังในสวนยางได้ ในพื้นที่ปลูกยางที่เป็นเขาและ

ลาดชันให้ระวังดินถล่มและในพื้นที่ลุ่มเจ้าของสวนยาง

ควรมีการเตรียมทำทางระบายน้ำ เพื่อป้องกันผล

กระทบจากน้ำท่วมขังในสวนยางเป็นเวลานาน และ

ไม่ควรกรีดยางในขณะที่ต้นยางยังเปียกอยู่ เพราะ

อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเส้นดำส่งผลทำให้หน้ากรีด

เน่าเสียหายได้

ประกาศณวันที่4ตุลาคมพ.ศ.2555สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 45: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

42ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ประกาศเตือนภัย“ช่วยต้นยางอ่อน

ป้องกันรอยไหม้จากแสงแดด”ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555

ในระยะตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงเข้าสู่

ฤดูแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ

ตอนเช้าอากาศเย็น ตอนสายจนถึงบ่ายอากาศค่อน

ข้างร้อน และมีแดดแรง เจ้าของสวนยางที่ปลูกใหม่

จนถึงอายุ 3 ปี ควรเอาใจใส่ต้นยางให้มากกว่าต้นยาง

ที่โตและเปิดกรีดแล้ว จากที่มีเจ้าของสวนหลายราย

โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบปัญหา

ที่เกิดกับต้นยาง คือเกิดแผลบริเวณโคนต้น ซึ่งรอย

แผลคล้ายกับต้นยางโดนถากหรือขูดเปลือกออกแล้ว

เปลือกยางจะค่อยๆ แห้งแตก บางต้นแผลลึกเข้าถึง

เนื้ อ ไม้ จนเกิด เป็นช่องหรือ โพรงบริ เวณโคนต้น

ถ้าทิ้งไว้ต่อไปอาจทำให้ต้นยางตายหรือหักได้

ซึ่งอาการดังกล่าวจะสังเกตเห็นได้ว่า เกิดตรง

บริเวณโคนต้นยางเพียงด้านเดียว โดยเฉพาะด้านที่ได้

รับแสงอาทิตย์ตอนบ่ายๆ หรือต้นยางด้านที่อยู่บริเวณ

แถวริมขอบนอกของสวนยางที่ได้รับแสงแดดจัดโดย

ตรง เรียกอาการที่พบว่าเป็น “รอยไหม้จากแสงแดด”

มีสาเหตุมาจากต้นยางอ่อนได้รับแสงแดดจัดติดต่อ

กันเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์เนื้อเยื่อส่วนที่รับแดด

นานๆ นั้นไหม้เสียหาย ไม่สามารถเจริญเติบโตต่อ

ไปได้ อาการรอยไหม้จากแสงแดดนี้จะไม่ค่อยพบ

ในต้นยางที่โตแล้ว หรือต้นยางที่กรีดแล้ว เนื่องจาก

มีทรงพุ่มเป็นร่มเงาช่วยบังแสงแดดไว้

สถาบันวิจัยยาง ขอแจ้งเตือนเจ้าของสวนยาง

ในช่วงที่เริ่มเข้าฤดูแล้งให้รีบป้องกันต้นยางอ่อนจาก

การถูกแดดเผา โดยใช้ปูนขาว 1 ส่วน ผสมกับน้ำ 2

ส่วน ใส่เกลือลงไปเล็กน้อยหมักแช่ทิ้งค้างคืนไว้ แล้ว

จึงนำมาทาตั้งแต่โคนต้นส่วนที่เป็นสีน้ำตาล สูงขึ้นมา

จนถึงส่วนที่เป็นสีน้ำตาลปนเขียว ปูนขาวนี้จะช่วยลด

ความร้อนจากแสงแดดป้องกันต้นยางได้เป็นอย่างดี

นอกจากเตือนภัยให้ป้องกันรอยไหม้จากแสงแดด

แล้ ว ในช่ ว งฤดู แล้ งนี้ อ ากาศแห้ ง ลมพั ดแร ง

สถาบันวิจัยยางก็ขอฝากเตือนเจ้าของสวนยางใน

เรื่องการป้องกันไฟไหม้สวนยางด้วย โดยท่านเจ้าของ

สวนควรจะกำจัดวัชพืชที่แห้งในสวนยาง ซึ่งอาจจะเป็น

เชื้อไฟอย่างดี และไถปรับพื้นที่บริเวณรอบสวนยาง

เพื่อทำแนวป้องกันไฟ

ประกาศณวันที่20พฤศจิกายนพ.ศ.2555สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 46: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

43ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ข่าวสถาบันวิจัยยาง

ย้ายข้าราชการ กรมวิชาการเกษตร มีคำสั่งที่ 1461/2555 ลง

วันที่8ตุลาคม2555ย้ายข้าราชการดังนี้

นายศรีวิลาส ประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย

และพัฒนาการเกษตรนครศรีธรรมราช ย้ายมาดำรง

ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี

นายอารักษ์ จันทุมา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยาง

สุราษฎร์ธานี ย้ายมาดำรงตำแหน่ง นักวิชาการเกษตร

กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจสถาบันวิจัยยาง

ให้ข้าราชการทำหน้าที่ นายไพรัตน์ ทรงพานิชนักวิชาการเกษตรชำนาญ

การพิเศษ กลุ่มบริหารโครงการวิจัย ทำหน้าที่หัวหน้า

งานถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยยาง ตามคำสั่ง

สถาบันวิจัยยางที่105/2555ลงวันที่10ตุลาคม2555

นายอารักษ์ จันทุมา นักวิชาการเกษตรชำนาญ

การพิเศษกลุ่มวิจัยเศรษฐกิจสถาบันวิจัยยางทำหน้าที่

ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยยาง ตามคำสั่ง

สถาบันวิจัยยางที่116/2555ลงวันที่26ตุลาคม2555

แต่งตั้งข้าราชการ สถาบันวิจัยยาง มีคำสั่ง ที่ 104/2555 ลงวันที่

10 ตุลาคม 2555 แต่งตั้งผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบัน

วิจัยยาง เพื่อให้การบริหารงานของสถาบันวิจัยยาง

เป็นไปตามภารกิจและวัตถุประสงค์ จึงแต่งตั้งบุคคล

ต่อไปนี้ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง

ดังนี้

นายสุธี อินทรสกุล เศรษฐกรชำนาญการพิเศษ

ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง ด้าน

เศรษฐกิจการต่างประเทศ

นายพิเชฏฐ์ พร้อมมูล นักวิชาการเกษตรชำนาญ

การพิเศษ ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัย

ยางด้านการปฏิบัติการ

สัมมนาระหว่างประเทศ นายสมมาตร แสงประดับ เศรษฐกรชำนาญการ

สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา นางสาว

มาตุวรรณ บุญยัษเฐียร นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ

สำนักงานตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี และ

นางสาวมณิสร อนันต๊ะ เศรษฐกรปฏิบัติการ สำนักงาน

ตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมสัมมนาทาง

เศรษฐกิจและเทคโนโลยียางระหว่างประเทศ ระหว่าง

วันที่10–11ตุลาคม2555ณโรงแรมOneWorldHotel,

Petaling Jaya, Selangor ประเทศมาเลเซีย โดยมี

วัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญ

ระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมยาง ผู้ปฏิบัติงาน

ด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เป็นเวทีสำหรับการ

อภิปรายและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านโอกาสที่ต้อง

เผชิญของราคายางต่อผู้ประกอบการ

นายสุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบัน

วิจัยยาง หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย และคณะ

รวม 38 คน เข้าร่วมสัมมนาระหว่างประเทศ เรื่อง

4th Scientific Seminar of the “Hevea Research

Platform in Partnership” ระหว่างวันที่ 23 – 26

ตุลาคม 2555ณ ศูนย์การประชุม โรงแรมเซ็นทารา

แกรนด์จังหวัดอุดรธานี

นายสุธี อินทรสกุล เศรษฐกรชำนาญการพิเศษ

และนายอารักษ์ จันทุมานักวิชาการเกษตรชำนาญการ

พิเศษ สถาบันวิจัยยาง เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ

ระหว่างประเทศด้านการจัดการสวนยางพาราเชิง

Page 47: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

44ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

วนเกษตร ระหว่างวันที่ 5 – 7 ธันวาคม 2555 ณ

โรงแรมBayleaf,Intramurosสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ประชุม IRRDB นายสุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบัน

วิจัยยาง หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย และคณะ

รวม 10 คน เข้าร่วมประชุมประจำปี 2555 ของสภา

วิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ (International

Rubber Research and Development Bord :

IRRDB) ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน

2555ณKovalam,Keralaสาธารณรัฐอินเดีย

ประชุม ANRPC นายสุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบัน

วิจัยยาง หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย และคณะ

รวม 5 คน เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการด้านข้อมูล

และสถิติ ครั้งที่ 6 (6th Meeting of Information &

Statistic Committee : ISC), ประชุมคณะกรรมการ

ด้านอุตสาหกรรม ครั้งที่ 6 (6thMeeting of Industry

MattersCommittee : IMC), การสัมมนายางประจำปี

(ANRPC Annual Rubber Conference 2012),

ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 41 และสมัชชา

ครั้งที่ 35และทัศนศึกษาดูงาน ระหว่างวันที่ 15 – 20

ตุลาคม2555ณเมืองเมดานสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ประชุม ITRC และ IRCo สถาบันวิจัยยาง เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะ

กรรมการการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

ตามมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายาง ประชุมระดับ

เจ้าหน้าที่อาวุโส และประชุมรัฐมนตรีไตรภาคียาง

พาราของบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ

จำกัด ระหว่างวันที่ 9 – 12 ธันวาคม2555ณจังหวัด

ภูเก็ต

การประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผล

การดำเนินงานตามมาตรการรักษาเสถียรภาพราคา

ยางพารา และประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM)

Page 48: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

45ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

ของบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศจำกัด

(IRCo) โดยคณะผู้แทนไทยมี นายชวลิต ชูขจร ปลัด

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวหน้าคณะ ระหว่าง

วันที่ 9 – 11 ธันวาคม 2555 สำหรับการประชุม

รัฐมนตรีไตรภาคียางพารา ในวันที่ 12 ธันวาคม 2555

คณะผู้แทนไทยมี นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รัฐมนตรี

ช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวหน้า

คณะ ในการจัดประชุมครั้งนี้มีผู้แทนจาก 4 ประเทศ

มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย เข้าร่วม

ประชุมประมาณ100ท่าน

จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สถาบันวิจัยยาง จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การ

จัดชั้นมาตรฐานไม้ยางพาราเพื่อนำไปสู่การซื้อขาย

ในตลาดกลางยางพารา ระหว่างวันที่ 13 – 15

พฤศจิกายน 2555ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า อ.เมือง

จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทราบกฎ

ระเบียบของตลาดกลางยางพารา การประมูลไม้ยาง

พาราระบบอิเลคทรอนิกส์ และมีความรู้ความเข้าใจ

เกี่ยวกับตลาดกลางไม้ยางพาราสามารถประชาสัมพันธ์

และให้ความรู้แก่ผู้ เกี่ยวข้องได้ โดยมี นายสุจินต์

แม้นเหมือน ผู้อำนวยสถาบันวิจัยยาง เจ้าหน้าที่

ของสถาบันวิจัยยาง และของกรมวิชาการเกษตร

จำนวน45คนเข้าร่วมสัมมนา

Page 49: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55

46ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 11 ตุลาคม-ธันวาคม 2555

จัดฝึกอบรม สถาบันวิจัยยาง จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ หลักสูตร

วิชายาง ระหว่างวันที่ 17 – 21 ธันวาคม 2555

ณ โรงแรมลองบีช ชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เพื่อให้

บุคลากรของสถาบันวิจัยยาง และบุคคลของกรม

วิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับยางพาราที่บรรจุใหม่และ

ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับยางพาราให้มีความรู้ด้านยาง

พาราอย่างรอบด้าน เพื่อนำความรู้ไปปรับใช้ในการ

ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมีผู้เข้า

ฝึกอบรมประมาณ154คน

ศึกษาดูงาน นางปรีดิ์เปรม ทัศนกุล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญ

การพิเศษ และคณะ รวม 3 ราย เดินทางไปดูงาน

เพื่อติดตามงาน เพื่อรับทราบรายละเอียดมาตรการ

วิธีการ และตรวจสอบผลการดำเนินงานตามมาตรการ

รักษาเสถียรภาพยาง (Monitoring and Surveillance

Committee : MSC) ระหว่างวันที่ 2 – 5 ธันวาคม

2555ณประเทศมาเลเซีย

นายสมมาตร แสงประดับ เศรษฐกรชำนาญการ

และคณะ รวม 4 ราย เดินทางไปดูงานเพื่อติดตาม

งาน เพื่อรับทราบรายละเอียดมาตรการ วิธีการ และ

ตรวจสอบผลการดำเนินงานตามมาตรการรักษา

เสถียรภาพยาง (Monitoring and Surveil lance

Committee : MSC) ระหว่างวันที่ 2 – 5 ธันวาคม

2555ณประเทศอินโดนีเซีย

Page 50: วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55