social media (e-learning)

24

Upload: sanleedesign

Post on 31-Mar-2016

218 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

โลกทุกวันนี้ หันซ้ายก็เจอแท็บเล็ต หันขวาก็เจอสมาร์ทโฟน มนุษย์เริ่มกำจัดทุกอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร โลกใบเดิมถูกย่อให้แคบลงถนัดตา ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เราสามารถพูดคุย และทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับผู้ที่อยู่อีกซีกโลกได้อย่างง่ายดาย ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “สื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media” หลายคนมีความสุข ที่ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับสื่อสังคมออนไลน์ แต่คำถามที่น่าคิดคือ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เรา “ใกล้ชิด” กันมากขึ้น จริงหรือไม่? ท่านสามารถค้นหาคำตอบทั้งหมดได้ จากหนังสือเล่มนี้ ……. ทีมงาน HealthyGamer.net

TRANSCRIPT

Page 1: Social media (E-learning)
Page 2: Social media (E-learning)

โลกทุกวันนี้ หันซ้ายก็เจอแท็บเล็ต หันขวาก็เจอสมาร์ทโฟน มนุษย์เริ่มกำ จัดทุกอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร โลกใบเดิมถูกย่อให้แคบลงถนัดตา ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำ ให้เราสามารถพูดคุย และทำ กิจกรรมต่างๆ ร่วมกับผู้ที่อยู่อีกซีกโลกได้อย่างง่ายดาย ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “สื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media” หลายคนมีความสุข ที่ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับสื่อสังคมออนไลน์ แต่คำ ถามที่น่าคิดคือ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เรา “ใกล้ชิด” กันมากขึ้น จริงหรือไม่? ท่านสามารถค้นหาคำ ตอบทั้งหมดได้ จากหนังสือเล่มนี้........

ทีมงาน HealthyGamer.net

Page 3: Social media (E-learning)

สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) คือ ช่องทางสำ หรับสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตรูปแบบหนึ่ง ผู้ใช้งานสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อบุคคลอื่น เกิดเป็นการเชื่อมโยงกลุ่มคนที่มีความสนใจคล้ายคลึงกันเข้าไว้ด้วยกัน กลายเป็นชุมชนในโลกเสมือนจริง สามารถแบ่งสื่อสังคมออนไลน์ออกเป็น 7 รูปแบบกว้างๆ ดังต่อไปนี้

1. โครงการสร้างฐานข้อมูล (Collaborative projects) มีลักษณะเป็นฐานข้อมูลสาธารณะ ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาร่วมแบ่งปันความรู้ที่มีระหว่างกัน เช่น Wikipedia

2. บล็อก (Blogs) มีลักษณะคล้ายหน้าเว็บไซต์ ทำ หน้าที่เหมือนสมุดบันทึกส่วนตัวของผู้ใช้งาน โดยผู้อื่นสามารถเข้ามาเยี่ยมชมและแสดงความคิดเห็นได้ เช่น Exteen OKNation BlogGang

Page 4: Social media (E-learning)

3. การแบ่งปันข้อมูลภายในชุมชน (Content communities) เน้นให้ผู้ใช้งานแบ่งปัน หรือแลกเปลี่ยนสื่อระหว่างกัน เช่น ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ สไลด์นำ เสนอ (Power point presentation) ฯลฯ สื่อสังคมออนไลน์ประเภทนี้ ได้แก่ Flickr Youtube SlideShare เป็นต้น

4. ชุมชนออนไลน์ (Social Network site) มีลักษณะเป็นชุมชนเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ ผู้ใช้งานสามารถให้ข้อมูลต่างๆ ที่บ่งบอกตัวตนของตัวเองได้ เช่น Facebook MySpace Line Google+

5. การสร้างบล็อกขนาดสั้น (Microblogging) เป็นการสร้างบล็อกขนาดสั้น เกิดจากแนวความคิดที่ว่า “คุณกำ ลังทำ อะไรอยู่” มีการจำ กัดจำ นวนตัวอักษร เช่น Twitter ที่ให้เราส่งข้อความได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษรนั่นเอง

Page 5: Social media (E-learning)

6. โลกของเกมเสมือนจริง (Virtual game worlds) เป็นเกมสามมิติที่จำ ลองผู้เล่นเข้าไปในโลกของเกมออนไลน์และเชื่อมต่อกับผู้เล่นคนอื่นได้ โดยผู้เล่นจะรู้สึกเหมือนตนเองได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโลกในเกมนั้น ๆ เช่น เกม World of Warcraft

7. โลกของสังคมเสมือนจริง (Virtual social worlds) เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้ใช้สามารถที่จะสร้างตัวตนที่คล้ายกับตนเองได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นสีผิว ทรงผม ใบหน้า หรือกระทั่งเครื่องแต่งกาย เช่น Second Life ที่ให้ผู้ใช้สามารถจำ ลองตัวตนให้สามารถทำ ทุกอย่างได้เหมือนชีวิตจริง แม้กระทั่งการแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายสิ่งของที่สามารถแปรให้เป็นรายได้ในชีวิตจริงได้

Page 6: Social media (E-learning)

เป็นอย่างไร ? 1. การเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ >> ภัยเงียบใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิดภัยเงียบใกล้ตัว !!! มีข้อมูลที่เป็นสถิติมากมาย บ่งบอกว่าปัจจุบันมีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นจำ นวนมหาศาล และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น

socialbakers เว็บไซต์เกบ็ขอ้มลูสถติติา่งๆเกีย่วกบั Social Network ได้ออกมาเปิดเผยถึงสถิติการใช้งาน Social Network ของคนไทยในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ดังนี้

ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 66 ล้านคน มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 25 ล้านคน ใช้ Social Network 18 ล้านคน เรียกได้ว่า เกือบ 1 ใน 4 ของประชากรไทย

Page 7: Social media (E-learning)

เมื่อไปดูข้อมูลผู้ใช้ Social Network 18 ล้านคน พบว่า ผู้ใช้ Facebook คิดเป็น 85% ,Twitter 10% และ Instagram 5%

อัตราการใช้ Facebook เจริญเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (1 เม.ย 2012 – 1 เม.ษ. 2013) มากถึง 24% มีการโพสต์ Facebook ที่เป็นแบบสาธารณะ จำ นวนกว่า 31ล้านโพสต์ / วัน มีค่าการปฏิสัมพันธ์ (Likes,Comments,Shares) เฉลี่ยอยู่ที่ 624,000 ครั้งต่อวัน ช่วงเวลาที่ใช้งาน Facebook มากที่สุดตอน 22.00 น. การเข้าใช้งาน Social network นั้นแบ่งออกเป็นการใช้งานจากโทรศัพท์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ 64% และจากการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ 36%

(อ่านต่อที่นี้: http://mobiledista.com/infographic-stat-social-network-in-thai-land-q1-2013/#ixzz2cO07C0Aj)

Page 8: Social media (E-learning)

นอกจากนี้ socialbakers ยังได้ทำ การสำ รวจสถิติผู้ใช้ FaceBook ของโลก พบข้อมูลน่าสนใจ ดังนี้

ประเทศไทยมีจำ นวนผู้ใช้ Facebook มากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก ด้วยจำ นวนกว่า 14 ล้านคน(ปี 2012) ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 2.55

และสิ่งที่ไม่น่าเชื่อคือ เมื่อแยกวิเคราะห์เป็นเมืองแล้ว พบว่า

Page 9: Social media (E-learning)

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีจำ นวนผู้ใช้ FaceBook มากเป็นอันดับที่ 1 ของโลก ด้วยจำ นวนกว่า 8 ล้านคน

(อ่านต่อ : http://www.unigang.com/Article/11111)

จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันว่า ทุกวันนี้การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ เป็นสิ่งที่สามารถทำ ได้อย่างง่ายดาย และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ตลอดเวลาตามความต้องการ

Page 10: Social media (E-learning)

น่ากลัวกว่าที่คิด!!! การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ที่ทำ ได้สะดวกขึ้นนั้น เปรียบเสมือนดาบสองคม หากใช้อย่างเหมาะสมจะเกิดประโยชน์ แต่หากใช้จนเสพติดจะเกิดโทษไม่น้อย

ในโลกออนไลน์มีข้อมูลมหาศาล แม้เป็นประโยชน์ทางการเรียนรู้ แต่ก็พร้อมจะเป็นสิ่งมอมเมาผู้ใช้ที่ขาดการแยกแยะ เช่น การเผยแพร่คลิปทั้งเรื่องทางเพศและความรุนแรง การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อกลั่นแกล้ง ให้ร้าย การรวมกลุ่มเพื่อต่อต้าน ข่มขู่ หรือทำ ให้เกิดความแตกแยก ฯลฯ ซึ่งนอกจากส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบแล้ว ยังนำ ไปสู่การสร้างค่านิยมผิดๆ

- ผลกระทบด้านอารมณ์ สมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวน แฝงความรู้สึกก้าวร้าว นำ ไปสู่ปัญหาด้านการเรียนหนังสือ และการทำ งาน

-ผลกระทบด้านร่างกาย ขาดการออกกำ ลังกาย การพักผ่อนไม่เพียงพอ นำ ไปสู่ปัญหาสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วยง่าย นอกจากนี้ผลการวิจัยล่าสุดยังพบว่าวัยรุ่นที่ติดอินเตอร์เน็ตมีขนาดของสมองส่วนหน้าเล็กกว่าวัยรุ่นที่ไม่ติดอินเตอร์เน็ต และมีการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทของสมองส่วนหน้าลดลง

Page 11: Social media (E-learning)

-ผลกระทบด้านสังคม ทักษะทางสังคมลดลง เนื่องจากใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเรียนรู้โลกสังคมออนไลน์ ซึ่งมีความแตกต่างกับความเป็นสังคมที่แท้จริง

เด็กและวัยรุ่นสามารถถูกหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ตได้ตั้งแต่การซื้อสินค้าที่อ้างสรรพคุณเกินจริง เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไปจนถึงการหลอกลวงให้มีเพศสัมพันธ์หรือบังคับข่มขืน

Page 12: Social media (E-learning)

รู้จักและเท่าทัน “สื่อสังคมออนไลน์”

ตอนนี้คำ ว่า “ดราม่า” กำ ลังมาแรง... การสร้างเรื่องดราม่า การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นการกลั่นแกล้ง ใส่ร้าย หรือทำ ให้ผู้อื่นได้รับการอับอายบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องที่แทบกลายเป็นสิ่งธรรมดาในโลกยุคปัจจุบันไปเสียแล้ว แม้ว่าผู้ที่ถูกใส่ร้ายนั้นไม่ได้รับความเจ็บปวดทางด้านร่างกาย แต่ใครจะรู้บ้างว่าภายในใจของเขาหรือเธอเหล่านั้นกำ ลังเป็นอย่างไร หลายครั้งเราพบว่าผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งจะอยู่ในภาวะซึมเศร้า เกิดความวิตกกังวล แยกตัวออกจากสังคม กระทั่งทำ ร้ายตนเอง หรือพยายามฆ่าตัวตาย

สิ่งที่น่ากลัวของการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์คือ มันเป็นความรุนแรงที่ไม่ทราบที่มา ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ ทำ ให้สามารถกลั่นแกล้งใคร ที่ไหน หรือเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งนั่นอาจส่งผลให้ผู้กระทำ สามารถตอกย้ำ ความรุนแรงนั้นได้อย่างต่อเนื่อง และวันหนึ่งผู้ถูกกระทำ อาจผันตัวมาเป็นผู้กระทำ เพื่อเป็นการแก้แค้น จนกลายเป็นวงจรร้ายที่ไม่มีจุดสิ้นสุดได้

(สถิติที่น่าสนใจพบว่า เด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลถึงร้อย ละ 48 อยู่ในวงจรของการกลั่นแกล้งผ่านสื่อออนไลน์ โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทํา เหยื่อ ผู้ เฝาดูหรือส่งต่อข้อมูลการกลั่นแกล้งนั้นไปยังคนกลุ่มอื่นๆ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ที่อยู่ในวงจรนี้ จะอยู่ในชั้นมัธยมต้น)

Page 13: Social media (E-learning)

หากคุณกำ ลังเจอเรื่องดราม่าทำ นองนี้เสียเอง เริ่มแรกให้ตั้งสติ จำ ไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ไม่จำ เป็นต้องเก็บเรื่องราวพวกนี้ให้เป็นความลับหรือพยายามแก้ไขเรื่องทุกอย่างด้วยตัวคุณเอง คุณสามารถปรึกษาคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ใหญ่ที่คุณไว้วางใจให้ช่วยแก้ไขปัญหา รวมถึงแจ้งกลับไปที่ผู้ให้บริการเพื่อการตรวจสอบข้อความเหล่านั้น หรือแจ้งตำ รวจเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น คุณไม่จำ เป็นต้องอ่านข้อความนั้นซ้ำ ซาก คอยไล่ลบข้อความนั้นเอง หรือพยายามตอบโต้สิ่งที่เกิดขึ้น แค่เพียงเก็บข้อความเหล่านั้นเป็นหลักฐานสำ หรับการตรวจสอบเท่านั้น

แต่ถ้าคุณเป็นผู้ปกครองของเด็กๆ ที่กำ ลังถูกกลั่นแกล้งหรือหลุดเข้าสู่วงจรเหล่านี้ ก่อนอื่นให้ทำ ความเข้าใจ และไม่มองว่ามันคือเรื่องห่างไกลตัว ควรเปิดใจรับฟังสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นที่ปรึกษาที่ดี ไม่ด่วนตำ หนิหรือตัดสินเมื่อเกิดปัญหา รวมถึงช่วยสอนลูกๆ ให้เคารพผู้อื่นและไม่สร้างวงจรการกลั่นแกล้งผ่านสื่อออนไลน์ อย่าลืมว่าเรื่องที่คุณมองว่าเป็นการแหย่หรือกลั่นแกล้งเล็กน้อย อาจสร้างรอยแผลให้ลูกของคุณ(หรือของคนอื่น) มากกว่าที่คิด

Page 14: Social media (E-learning)

เราคงเคยได้ยินเรื่องภาพหลุดหรือคลิปหลุดกันบ่อยๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคนในภาพหรือในคลิปนั้นเป็นคนดัง ความดังของการหลุดนั้นยิ่งดังทวีคูณ และเมื่อยิ่งดังก็ยิ่งมีคนอยากดู ไม่ว่าจะดูเพราะชอบ หรือดูเพราะอยากเอาไว้วิพากษ์วิจารณ์ให้ตามทันกระแสก็ตาม

เรื่องของภาพหรือคลิปหลุดที่ว่า นับได้ว่าเป็นการเผยแพร่เรื่องทางเพศ หรือที่รู้จักกันในต่างประเทศว่า Sexting หมายถึง การที่ผู้ใช้ได้รับ หรือส่งต่อเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ โดยมีการศึกษา พบว่ากว่าร้อยละ 20 ของผู้ที่ใช้สื่อออนไลน์เพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่เรื่องทางเพศนี้ มักอยู่ในกลุ่มวัยรุ่น โดยมักส่งหรือโพสต์รูปเปลือย คลิปวิดีโอขณะมีเพศสัมพันธ์กัน ซึ่งหลายครั้งเราพบว่าเกิดจากความไม่รู้เท่าทัน หรือขาดความตระหนักในผลที่จะตามมา

คนหลายคนที่ตกเป็นเหยื่อของการเผยแพร่เรื่องทางเพศนี้ ได้รับผลกระทบไม่แตกต่างจากเหยื่อในกรณีของการกลั่นแกล้งกันผ่านโลกออนไลน์ หลายคนรู้สึกอับอาย ซึมเศร้า แยกตัวจากสังคม และมีหลายกรณีที่พบว่าผู้ได้รับผลกระทบจากการส่งต่อเนื้อหาเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายด้วย

เพื่อเป็นการปองกัน ไม่ให้ตัวเองต้องตกอยู่ในภาวะดาราจำ เป็นในภาพหลุดหรือคลิปหลุดนั้น โปรดตั้งสติทุกครั้งก่อนจะบันทึกภาพอะไรลงไปในมือถือหรือเครื่องบันทึกภาพต่างๆ ให้แน่ใจว่าภาพนั้นเป็นภาพที่ใครๆ ก็สามารถดูได้ เพราะทันทีที่มันได้รับการบันทึกลงไปแล้ว เราจะไม่สามารถรู้ปลายทางของภาพนั้นได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราเผยแพร่รูปนั้นเข้าสู่ระบบออนไลน์ แม้ว่าคุณจะตั้งใจส่งให้คนเพียงคนเดียวก็ตาม แต่อะไรจะรับรองได้เล่าว่ารูปนั้นจะไม่ “หลุด” ต่อๆ กันไป

Page 15: Social media (E-learning)

หากคุณเป็นพ่อแม่ที่มีลูกเข้าสู่วัยรุ่นและกำ ลังกังวลเกี่ยวกับปัญหานี้ คุณสามารถปองกันได้โดยเปิดพื้นที่ให้พวกเขาแสดงความคิดเห็นเก่ียวกับเรื่องเหล่าน้ีโดยอิสระ ไม่ตัดสินว่าความคิดของเขานั้นเป็นสิ่งที่ผิดหรือเป็นเรื่องเลวร้าย แต่ช่วยตั้งคำ ถามชี้แนะให้พวกเขาเห็นและเข้าใจถึงผลกระทบของการเผยแพร่เรื่องทางเพศ ไม่ว่าจะของตนเองหรือของผู้อื่นก็ตาม

แต่ถ้าเกิดเรื่องขึ้นแล้ว ขอให้คุณพ่อคุณแม่ตั้งสติ รับฟังเรื่องราวอย่างใจเย็น ไม่ลงโทษหรือตำ หนิรุนแรง แต่ช่วยหาวิธีแก้ไข และอยู่เคียงข้างลูกของเราจะช่วยให้เขาผ่านเรื่องราวนี้ไปได้มากกว่ามุ่งว่ากล่าวหรือพยายามทำ ให้เขารู้สำ นึก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นได้กลายเป็นบทเรียนชีวิตครั้งสำ คัญให้เขาอยู่แล้ว

Page 16: Social media (E-learning)

หลายครั้งที่เราคิดว่าการอยู่ในบ้านนั้นปลอดภัย... แต่หลายครั้งเราหลงลืมไปว่า การเชื่อมต่อเข้ากับโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าด้วยรูปแบบไหน เปรียบเสมือนเรากำ ลังเปิดประตูบ้านให้คนอื่นเข้ามาเดินเล่นนั่นเอง ส่วนใหญ่ความเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นความเสี่ยงจากการถูกมิจฉาชีพล่อลวงหรือล้วงข้อมูลของผู้ใช้งาน ส่วนใหญ่มักเกิดจากผู้ใช้เองขาดความระมัดระวังในการให้หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งวิธีปองกันเบื้องต้นสำ หรับผู้ใช้งาน Facebook ก็คือการตั้งค่าข้อมูลส่วนตัว เพื่อปองกันเหล่ามิจฉาชีพที่แอบแฝงและนำ ข้อมูลของเราไปใช้อย่างไม่เหมาะสม โดยเข้าไปที่ Privacy setting ของ Facebook แล้วเลือก Customize setting จะมีการตั้งค่าการเข้าถึงรูป หรือโพสต่างๆ ของเรา ทั้งที่เราโพสเองและเพื่อนแท็กมา

สามารถเข้าไปดูวิธีการตั้งค่าแบบเต็มๆ ได้จาก techmoblog (http://www.techmoblog.com/facebook-how-to-use-facebook-login/)

Page 17: Social media (E-learning)

คุณเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ แล้วหรือยัง?

พฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับพฤติกรรมการติดสารเสพติดและการพนัน สัญญาณเตือนว่าเสพติดอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์แล้ว ได้แก่

1.หมกมุ่นอยู่กับการใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ หรือใช้งานมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน 2.ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ของตนเองได้ ใช้เกินเวลาที่พ่อแม่อนุญาต 3.ใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ 4.อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เก็บตัว แยกตัว ดูเหมือนมีความลับ หลบๆซ่อนๆ มีความรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวายใจ ซึมเศร้า ดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าว เมื่อไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ 5.ใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ จนมีผลกระทบด้านลบต่อการดำ เนินชีวิตในด้านต่างๆ เช่น การเรียน การทำ งานบ้าน สุขภาพ และความสัมพันธ์ในครอบครัว เป็นต้น

(ข้อมูลจาก “คำ แนะนำ สำ หรับประชาชนเรื่อง การเล่นเกมคอมพิวเตอร์และการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและวัยรุ่น ฉบับวิชาการ” โดย ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย)

Page 18: Social media (E-learning)

แล้วเราจะปองกันตนเองได้อย่างไร

1. จัดลำ ดับความสำ คัญของกิจกรรมต่างๆ โดยปฏิบัติงานที่จำ เป็นก่อน แล้วจึงใช้สื่อสังคมออนไลน์ในเวลาว่าง 2. ควรมีกิจกรรมยามว่างที่หลากหลาย ไม่ปล่อยตัวเองให้อยู่ในโลกของสื่อสังคมออนไลน์เพียงอย่างเดียว เช่น การพบปะเพื่อนๆ หรือ กิจกรรมที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับสังคมที่แท้จริง

อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักอยู่เสมอว่า สื่อสังคมออนไลน์ เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งในการติดต่อสื่อสารเท่านั้น การที่ชีวิตจะมีความสุขได้ต้องประกอบด้วยหลากหลายปัจจัย ดังนั้นอย่าปล่อยให้สื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อตัวคุณมากจนเกินไป โปรดใช้ชีวิตด้วยการทำ กิจกรรมต่างๆ อย่างสมดุล แล้วคุณจะมีความสุข

Page 19: Social media (E-learning)

คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถปองกันภัยจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของลูกๆ ได้นะ

1 .กำ หนดกติกาการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็ก โดยเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการกำ หนดเงื่อนไขตั้งแต่ต้น มีการควบคุมให้เป็นไปตามข้อตกลง และควรให้คำ ชมเชยเมื่อเด็กทำ ตามกติกา 2. อนุญาตให้เด็กใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เมื่ออายุมากกว่า 13 ปี 3. อนุญาตให้เด็กใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน ในวันธรรมดา และ 2 ชั่วโมงต่อวัน ในวันหยุด 4. สนับสนุนให้ลูกทำ กิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ สลับสับเปลี่ยนกับการใช้อินเทอร์เน็ต 5. เป็นแบบอย่างที่ดีของการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ 6. สอนให้เด็กรู้เท่าทันการใช้สื่อสังคมออนไลน์ อาทิ ระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ตระหนักถึงอันตรายที่ตามมา และสิ่งที่ต้องรับผิดชอบหลังกระทำ ไปแล้ว รู้เท่าทันว่าสิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่ความจริงทั้งหมด ข้อมูลต่างๆ อาจมีการบิดเบือน และควรสอนให้เด็กรู้จักการตรวจสอบข้อเท็จจริง แจ้งให้พ่อแม่ทราบทันที เมื่อรู้สึกไม่สบายใจจากการพบข้อความข่มขู่ คุกคาม เชิญชวน หรือล่อลวงต่างๆ เป็นต้น

Page 20: Social media (E-learning)

1. ควรตั้งสติและรักษาสัมพันธภาพระหว่างกันให้ดี ไม่ควรใช้อารมณ์หรือตำ หนิว่ากล่าวเด็กด้วยถ้อยคำ รุนแรง และไม่ควรหักดิบการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กด้วยวิธีการที่แข็งกร้าว ควรพูดคุยกับเด็กด้วยคำ พูดเชิงบวก 2. เพิ่มความเข้มงวดเรื่องกฎกติกาการใช้อินเทอร์เน็ตที่ได้ตกลงกันไว้ โดยอาจมีการลงโทษเมื่อเด็กไม่ทำ ตามกติกา เช่น ลดจำ นวนชั่วโมงในการเล่นเกมของวันถัดไปให้น้อยลง 3. ควรเพิ่มเวลาในการอยู่กับเด็ก และสานปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว อาจพาเด็กไปทำ กิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ นอกบ้านบ้าง 4. หากทำ ทุกวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล ผู้ปกครองควรพาเด็กมาพบจิตแพทย์เด็ก เพื่อรับการวินิจฉัยและบำ บัดรักษาต่อไป

(ข้อมูลจาก “คำ แนะนำ สำ หรับประชาชนเรื่อง การเล่นเกมคอมพิวเตอร์และการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและวัยรุ่น ฉบับวิชาการ” โดย ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย)

Page 21: Social media (E-learning)

สำ หรับข้อมูลต่างๆ ที่นำ มาไว้ในหนังสือเล่มนี้ ส่วนใหญ่สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ ‘อากู๋’ หรือ Google.com อย่างที่ทุกท่านคุ้นเคย จึงขอยกข้อมูลทั้งไทยและเทศมาแจกแจงไว้ในส่วน ‘อ้างอิงและหาอ่านเพิ่มเติม’ นี้ให้สำ หรับผู้สนใจได้ค้นคว้าได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ผู้อ่านสามารถรู้จักสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้ได้ ผ่านบทความใน Wikipedia (http://en.wikipedia.org/wiki/Social_media) หรือจาก E-book ชื่อ ‘What is social media?’ (http://www.icrossing.co.uk/fileadmin/uploads/eBooks/What_is_Social_Media_iCross-ing_ebook.pdf) ของเว็บไซต์ icrossing.co.uk ซึ่งนอกจากจะบอกความหมาย และประเภทของสื่อสังคมออนไลน์แล้ว ยังอธิบายถึงกระบวนการทำ งานของสื่อสังคมออนไลน์ประเภทต่างๆ ไว้อีกด้วย บทความ “Clinical Report—The Impact of Social Media on Children, Adolescents, and Families” (จากเว็บไซต์ http://pediatrics.aappublications.org/content/early/2011/03/28/peds.2011-0054.short) เป็นบทความที่ว่าด้วยคุณประโยชน์ และข้อควรระวังเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำ หรับเด็กและวัยรุ่น โดยคุณพ่อคุณแม่ที่สนใจ สามารถคลิกอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ Full text ด้านขวามมือของหน้าได้เลย ในหนังสือเล่มนี้ นำ เนื้อหาเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งผ่านสื่อออนไลน์มาจากบทความ ‘Cyberbullying เมื่อลูกถูกทำ ร้ายผ่านโลกไซเบอร์’ (จาก http://www.healthygamer.net/information/article/9874) เป็นหลัก แต่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถอ่านวิธีการดูแล และปองกันเพิ่มเติมได้จากบทความ ‘Stop Cyberbullying before it starts’ (จาก http://www.ncpc.org/resourc-es/files/pdf/bullying/cyberbullying.pdf) สำ หรับผู้ปกครองท่านไหนที่ยังงงๆ กับขั้นตอนการ Add Friend ใน Facebook แล้ว สามารถเข้าไปอ่านคำ แนะนำ จาก Facebook ได้เลย โดยเข้าไปที่ Help Center >> Connecting >> Friends ในนั้นจะมีคำ อธิบายเกี่ยวกับเรื่อง “เพื่อนๆ” ทั้งหมดในระบบของ Facebook หลานๆ

Page 22: Social media (E-learning)

แต่ถ้าอยากอ่านความคิดเห็นจากวัยรุ่นเรื่องการรับพ่อแม่เป็นเพื่อน สามารถลองอ่านจากบทความ “สงคราม Facebook ระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยรุ่น!” ในเว็บไซต์ Dek-D.com ที่แปลข้อความจากเว็บไซต์ต่างประเทศมาบางส่วน ทำ ให้เห็นมุมมองของวัยรุ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ และสะท้อนให้ผู้ใหญ่ได้ลองทำ ความเข้าใจความคิดของลูกๆ หลานๆ ได้มากขึ้น นอกจากบทความต่างๆ ข้างต้น ทีมงานขอทิ้งท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วย Infographic น่ารักๆ จากเว็บไซต์ mashable.com ที่แสดงถึง 10 ประเภทของคนที่เสพติดการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เข้าเสียแล้ว (http://mashable.com/2012/10/12/the-10-types-of-social-media-addict-info-graphic/) บทความที่มีประโยชน์มากมายจากเว็บไซต์ www.healthygamer.net โซเชียลมีเดีย http://www.healthygamer.net/download/academic/8904 คู่มือพ่อแม่ดูแลลูกยุคไซเบอร์ http://www.healthygamer.net/download/multimedia/8654 คลิปวิดิโอ “เลี้ยงลูกอย่างไรให้ทันโลก” http://www.healthygamer.net/information/story/14116 พ่อแม่ยุคไซเบอร์ต้องตามให้ทันยุคโซเชียล http://www.healthygamer.net/information/story/13879 เมื่อคนในครอบครัวมีมือถือและแท็บเล็ต http://www.healthygamer.net/information/article/12321 จิตแพทย์แนะเทคนิคสอนลูกใช้โซเชียลมีเดีย http://www.healthygamer.net/information/article/13801 คู่มือดูแลลูกยุคไซเบอร์ http://www.healthygamer.net/information/article/13814 บันได 3 ขั้น เลี้ยงลูกยุคไซเบอร์ http://www.healthygamer.net/information/article/10930 มารยาทบนสังคมออนไลน์ http://www.healthygamer.net/information/article/13656 พฤติกรรมของติดโซเชียลเน็ตเวิร์ค http://www.healthygamer.net/information/article/13982 10 ประเภทของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์

Page 23: Social media (E-learning)

อินเทอร์เน็ต http://www.healthygamer.net/forum/524 การถามเกี่ยวกับการติดเน็ต และมีนักจิตวิทยาเป็นผู้ตอบคำ ถาม http://www.healthygamer.net/information/story/14176 ถ้าคิดจะเล่นอินเทอร์เน็ต http://www.healthygamer.net/information/story/14169 จรรณยาบรรณสำ หรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต http://www.healthygamer.net/information/story/13557 สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือปี 2012 http://www.healthygamer.net/information/story/10027 อินเทอร์เน็ตวัยทีน http://www.healthygamer.net/information/psycholo-gy/9000 สอนลูกเล่นอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย http://www.healthygamer.net/information/article/12226 สัญญาณภัย ลูกเผชิญอันตรายจากอินเทอร์เน็ต http://www.healthygamer.net/information/article/13842 สอนลูกใช้อินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัย

หวังว่าทุกท่านที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ จะใช้งานสื่อสังคมออนไลน์กันอย่างสมดุล และไม่เผลอหลุดเข้าไป เป็นหนึ่งในสิบประเภทนั้นเสียก่อนนะคะ

Page 24: Social media (E-learning)