rbd let014 2013

8
Bishop’s House 31/2-4 Somboonkul Road Ratchaburi 70000 Thailand Tel. 0-3231-4728, 0-3232-5458 Fax : 0-3232-3184 สำนักประมุขมิสซังคาทอลิก เขตราชบุรี 31/2-4 ถ.สมบูรณ์กุล อ.เมือง จังหวัดราชบุรี 70000 โทร. 0-3231-4728, 0-3232-5458 Fax : 0-3232-3184 < 1 > ที่ สร. 014/2013 ถึง พี่น้องคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้าทุกคน ในสังฆมณฑลราชบุรี 40 กว่าวันแห่งการร่วมกับพระมหาทรมานขององค์พระเยซูเจ้าในเทศกาลมหาพรต ไม่ว่าจะเป็นการ อดอาหาร การทำพลีกรรมต่าง ๆ มากกว่าเดิม การสวดภาวนาที่ร้อนรนและมีความหมายมากขึ้น คงทำให้เรา ได้มีชีวิตที่ชิดสนิทกับพระเยซูเจ้ามากยิ่งขึ้น และมีความหมายต่อชีวิตคริสตชนของเราทุกคน ไม่มากก็น้อย เราเดินทางโดยมีความเชื่อนำชีวิตตามปีพิธีกรรมที่พระศาสนจักรกำหนด มีหลายเหตุการณ์ในชีวิตพระเยซูเจ้า ที่สำคัญ ๆ ที่เราได้สัมผัสและติดตามพระองค์ และโอกาสสมโภชปัสกานี้ พ่อขอพูดถึงเรื่อง “ธรรมล้ำลึก ปัสกา” ซึ่งถือเป็นเรื่อง ที่สำคัญที่สุดต่อชีวิตคริสตชนเรา ถือเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดมากกว่าเทศกาลใด ๆ ในปีพิธีกรรม เราอาจคุ้นเคยกับธรรมล้ำลึกปัสกากันบ้างแล้ว เมื่อเราร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณ และเรากล่าว ประโยคเหล่านี้เพื่อเป็น “การประกาศยืนยันความเชื่อ” ของตัวเราแต่ละคน พระคริสตเจ้าได้สิ้นพระชนม์ พระคริสตเจ้าได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ พระคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ความเชื่อเหล่านี้ที่เราได้ประกาศจากตัวของเราแต่ละคนในมิสซานั้น มีความหมายและส่งผลต่อการดำเนิน ชีวิตคริสตชนของเราหรือไม่ หรือเราพูดออกไปเพราะเป็นบทที ่ต้องตอบรับในมิสซาเท่านั ้น โดยไม่เข้าใจความหมาย และความสำคัญของการประกาศยืนยันความเชื่อทั้ง 3 ประโยคนี้ และแน่นอนว่าเมื่อเราไม่เข้าใจ จึงเป็นการ ยากที่เราจะนำความเชื่อนี้ไปปฏิบัติในชีวิตเพื่อเป็นการตอบสนองความเชื่อในชีวิตประจำวันของเรา ดังที่ท่าน นักบุญเปาโลกล่าวไว้ในบทจดหมายถึงชาวโรมว่า “ฉะนั้น ชาวอิสราเอลจะเรียกขานพระองค์ได้อย่างไรถ้าพวก เขาไม่เชื่อ จะเชื่อได้อย่างไรถ้าไม่เคยได้ยิน จะได้ยินได้อย่างไรถ้าไม่มีใครประกาศสอน” (โรม 10:14) พ่อจึง ขอทำหน้าที่ผู้ประกาศสอนแบ่งปันความหมาย “ธรรมล้ำลึกปัสกา” แก่พี่น้องเพื่อเข้าใจความหมาย และ สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิต ท่ามกลางเพื่อนพี่น้องรอบข้างเรา สาส์นอภิบาล โอกาสสมโภชปัสกา

Upload: poowadon-klinsawat

Post on 14-Mar-2016

224 views

Category:

Documents


1 download

DESCRIPTION

สาส์นอภิบาล ปีแห่งความเชื่อ สังฆมณฑลราชบุรี โอกาสสมโภชปัสกา 2013 โดย พระสังฆราช ยอห์นบอสโก ปัญญา กฤษเจริญ

TRANSCRIPT

Page 1: Rbd let014 2013

Bishop’s House 31/2-4 Somboonkul Road

Ratchaburi 70000 Thailand

Tel. 0-3231-4728, 0-3232-5458

Fax : 0-3232-3184

สำนักประมุขมิสซังคาทอลิก เขตราชบุรี

31/2-4 ถ.สมบูรณ์กุล อ.เมือง

จังหวัดราชบุรี 70000

โทร. 0-3231-4728, 0-3232-5458

Fax : 0-3232-3184

< 1 >

ที่ สร. 014/2013

ถึง พี่น้องคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้าทุกคน ในสังฆมณฑลราชบุรี

40 กว่าวันแห่งการร่วมกับพระมหาทรมานขององค์พระเยซูเจ้าในเทศกาลมหาพรต ไม่ว่าจะเป็นการ

อดอาหาร การทำพลีกรรมต่าง ๆ มากกว่าเดิม การสวดภาวนาที่ร้อนรนและมีความหมายมากขึ้น คงทำให้เรา

ได้มีชีวิตที่ชิดสนิทกับพระเยซูเจ้ามากยิ่งขึ้น และมีความหมายต่อชีวิตคริสตชนของเราทุกคน ไม่มากก็น้อย

เราเดินทางโดยมีความเชื่อนำชีวิตตามปีพิธีกรรมที่พระศาสนจักรกำหนด มีหลายเหตุการณ์ในชีวิตพระเยซูเจ้า

ที่สำคัญ ๆ ที่เราได้สัมผัสและติดตามพระองค์ และโอกาสสมโภชปัสกานี้ พ่อขอพูดถึงเรื่อง “ธรรมล้ำลึก

ปัสกา” ซึ่งถือเป็นเรื่อง ที่สำคัญที่สุดต่อชีวิตคริสตชนเรา ถือเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดมากกว่าเทศกาลใด ๆ

ในปีพิธีกรรม เราอาจคุ้นเคยกับธรรมล้ำลึกปัสกากันบ้างแล้ว เมื่อเราร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณ และเรากล่าว

ประโยคเหล่านี้เพื่อเป็น “การประกาศยืนยันความเชื่อ” ของตัวเราแต่ละคน

พระคริสตเจ้าได้สิ้นพระชนม์

พระคริสตเจ้าได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ

พระคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

ความเชื่อเหล่านี้ที่เราได้ประกาศจากตัวของเราแต่ละคนในมิสซานั้น มีความหมายและส่งผลต่อการดำเนิน

ชีวิตคริสตชนของเราหรือไม่ หรือเราพูดออกไปเพราะเป็นบทท่ีต้องตอบรับในมิสซาเท่าน้ัน โดยไม่เข้าใจความหมาย

และความสำคัญของการประกาศยืนยันความเชื่อทั้ง 3 ประโยคนี้ และแน่นอนว่าเมื่อเราไม่เข้าใจ จึงเป็นการ

ยากที่เราจะนำความเชื่อนี้ไปปฏิบัติในชีวิตเพื่อเป็นการตอบสนองความเชื่อในชีวิตประจำวันของเรา ดังที่ท่าน

นักบุญเปาโลกล่าวไว้ในบทจดหมายถึงชาวโรมว่า “ฉะนั้น ชาวอิสราเอลจะเรียกขานพระองค์ได้อย่างไรถ้าพวก

เขาไม่เชื่อ จะเชื่อได้อย่างไรถ้าไม่เคยได้ยิน จะได้ยินได้อย่างไรถ้าไม่มีใครประกาศสอน” (โรม 10:14) พ่อจึง

ขอทำหน้าที่ผู้ประกาศสอนแบ่งปันความหมาย “ธรรมล้ำลึกปัสกา” แก่พี่น้องเพื่อเข้าใจความหมาย และ

สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิต ท่ามกลางเพื่อนพี่น้องรอบข้างเรา

สาส์นอภิบาล โอกาสสมโภชปัสกา

Page 2: Rbd let014 2013

ก่อนอื่นพ่อขออธิบายคำว่า “ธรรมล้ำลึก” คือ ความเป็นจริง ที่มีความหมายลึกซึ้งเกินกว่าสติปัญญา

ของมนุษย์จะเข้าใจได้ หรือเกินกว่าที่จะใช้เหตุผลอธิบาย แต่เราสามารถเข้าใจและรับรู้ได้จากการสอนและ

ถ่ายทอดความเชื่อต่อ ๆ กันมาของพระศาสนจักร ธรรมประเพณี พระคัมภีร์ และความเชื่อของบรรดา

บรรพบุรุษของเรา

พระคริสตเจ้าได้สิ้นพระชนม์

จากการเรียนคำสอนเมื่อสมัยเรายังเด็กหรือปัจจุบันนี้ในบทเทศน์ของพระสงฆ์ เรื่องราวของพระเยซูเจ้า

ตั้งแต่การบังเกิด ตลอดพระชนมชีพของพระองค์ขณะยังมีชีวิตอยู่ รวมถึงภารกิจต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงกระทำ

จนกระทั่งสิ้นพระชนม์นั้น ถูกกล่าวถึงอยู่อย่างสม่ำเสมอ และอีกช่องทางหนึ่งที่เราสามารถรับรู้ได้ก็คือ เมื่อเรา

อ่านเรื่องราวของพระเยซูเจ้าจากพระคัมภีร์ ถ้าจะเรียบเรียงอย่างคร่าว ๆ ถึงช่วงชีวิตบั้นปลายของพระองค์

ก่อนจะสิ้นพระชนม์ พระเยซูเจ้าทรงเคยตรัสถึงการทรมาน และการสิ้นพระชนม์ที่พระองค์จะทรงได้รับ (เทียบ

มัทธิว 16:21; มาระโก 8:31; ลูกา 17:25) ทรงพูดถึงยูดาสที่จะทรยศพระองค์ (เทียบ มัทธิว 26:20-25;

ลูกา 22:48) ทรงทำนายถึงเปโตรจะปฏิเสธพระองค์ (เทียบ มัทธิว 26:34; มาระโก 14:30; ลูกา 22:34)

ทรงสวดภาวนาอย่างหนักเพื่อขอพระบิดาประทานพละกำลังให้กับพระองค์เอาชนะความอ่อนแอฝ่ายเนื้อหนัง

ก่อนที่จะถูกจับและรับทรมาน (เทียบ มัทธิว 26:36-46; มาระโก 14:32-42) ทรงทำการล้างเท้า และร่วม

กินเลี้ยงกับบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์ในอาหารค่ำมื้อสุดท้าย (เทียบ มัทธิว 26:20-29; มาระโก 14:17-25;

ลูกา 22:14-20; ยอห์น 13:1-15) และเป็นที่มาของ “ศีลมหาสนิท” หรือ “พิธีบูชาขอบพระคุณ”

จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ย้อนกลับไปยังพันธสัญญาเดิม เมื่อมนุษย์คู่แรกได้ทำบาปเพราะการไม่เชื่อฟังพระเจ้า เขาถูกสาปแช่ง

จากชีวิตที่สุขสบายในสวนเอเดน กลับต้องรับความยากลำบากและความทุกข์ทรมาน (เทียบ ปฐมกาล 3:15-19)

แต่ในเวลาเดียวกัน พระเจ้าผู้ทรงพระทัยเมตตายังให้โอกาสแก่มนุษย์ที่ทรงสร้างมา ได้บอกให้เขาทราบถึงชัยชนะ

เหนือความชั่วร้ายและการลุกขึ้นมาจากการล้มของมนุษย์ (เทียบ ปฐมกาล 3:9,15) และแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ว่าจะมีบุคคลหนึ่งมาช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นจากการเป็นทาสของบาปและความตาย (เทียบ ปฐมกาล 3:15)

(เทียบ คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 410) คำทำนายถึงพระผู้ไถ่เริ่มปรากฏชัดขึ้นในสมัยของประกาศกอิสยาห์

ที่กล่าวถึง “อิมมานูเอล” แปลว่า “พระเจ้าสถิตกับเรา” (เทียบ อิสยาห์ 7:14) จนถึงช่วงเวลาที่สำคัญ

เมื่อพระเยซูเจ้าทรงมารับสภาพมนุษย์ เพื่อให้พระดำรัสขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ตรัสผ่านประกาศกจะเป็นความจริง

(เทียบ มัทธิว 1:21-23) พระเยซูเจ้ากระทำภารกิจต่าง ๆ ท่ีพระบิดาทรงมอบหมายให้ จนถึงเวลาอันเหมาะสม

ที่พระบิดาทรงมอบพระบุตรเพียงพระองค์เดียว เพื่อช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาป ด้วยการรับทรมาน

และสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน

< 2 >

Page 3: Rbd let014 2013

สาเหตุที่นำมาซึ่งการตายของพระเยซูเจ้า ก็คือ พวกเขาคิดว่าพระองค์จะมาลบล้างธรรมบัญญัติ

(เทียบ มัทธิว 5:17; มาระโก 3:1-6) ทรงกล่าวดูหมิ่นพระเจ้า (เทียบ มาระโก 2:7) ทรงกล่าวว่าจะทำลาย

พระวิหารและสร้างขึ้นใหม่ภายใน 3 วัน (เทียบ มัทธิว 24:2)

ดังนั้น การสิ้นพระชนม์โดยการถูกตรึงกางเขนของพระเยซู มิใช่เป็นผลของความบังเอิญ แต่เป็นไป

ตามแผนการของพระเจ้า ดังที่นักบุญเปโตรได้อธิบายให้แก่ชาวยิวในกรุงเยรูซาเล็ม ในการเทศนาสั่งสอนครั้งแรก

ของท่านในวันที่พระจิตเจ้าเสด็จมา “พระเยซูเจ้าทรงถูกมอบในเงื้อมมือของท่าน ตามที่พระเจ้ามีพระประสงค์

และทรงทราบล่วงหน้าแล้ว” (กิจการ 2:23) แผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอด ได้มีประกาศไว้

ล่วงหน้าแล้วในพระคัมภีร์ (เทียบ อิสยาห์ 53:11) การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ปลดปล่อยมนุษย์ทั้งหลาย

ให้พ้นจากความเป็นทาสของบาป นักบุญเปาโลได้ยืนยันในการประกาศยืนยันความเชื่อนั้น มีความว่า

“พระคริสต์ได้สิ้นพระชนม์ เพื่อยกบาปของเราทั้งหลาย ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์” (เทียบ 1 โครินธ์ 15:3;

กิจการ 3:18; 7:52; 13:29; 26:22-23) และถ้อยคำนี้อยู่ในบท “ประกาศยืนยันความเชื่อ” ที่เราได้สวด

พร้อมกันหลังจากบทเทศน์ของพระสงฆ์ เป็นการประกาศยืนยันความเช่ือด้วยตัวเราเองด้วย ถึงการส้ินพระชนม์

ของพระเยซูเพื่อไถ่บาปมนุษย์ (เทียบ คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 599-605)

เมื่อเราได้เห็นความรักอันยิ่งใหญ่ (เทียบ ยอห์น 15:13) ที่ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเราคนบาปแล้ว

(เทียบ โรม 5:8) ก็ขอให้เราตั้งใจ พยายามไม่ทำบาป หลีกหนีโอกาสที่จะทำให้เกิดบาป เพราะทุกครั้งที่เรา

ทำบาป ก็เท่ากับว่าเราได้ฆ่าพระองค์ด้วยเช่นกัน “เพราะพระคริสตเจ้าได้สิ้นพระชนม์เพราะบาปของเรา”

(1 โครินธ์ 15:3) และตามคำกล่าวของนักบุญฟรังซิสที่ว่า “ไม่ใช่ปีศาจหรอกที่ตรึงพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน

แต่เป็นพวกท่านนั่นแหละที่ตรึงพระองค์ และพวกท่านก็ยังคงตรึงพระเยซูอยู่อีก ทุกครั้งที่พวกท่าน

ปล่อยใจไปกับพยศชั่วและบาปต่าง ๆ” (คาทอลิกสอนอะไร ข้อ 67)

จงยินดีที่จะน้อมรับความยากลำบากในชีวิต เพื่อร่วมชดเชยบาปของเรา วันละเล็กวันละน้อย เท่าที่เรา

สามารถ อย่าลืมที่จะสวดภาวนาเหมือนดั่งเช่นพระเยซูเจ้าในสวนเกทเสมนี ขอพละกำลังจากพระเจ้าให้เรา

สามารถเอาชนะต่อความชั่วร้ายของบาป ให้เรามีแรงต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิต และเมื่อ

ไม่ทำบาปแล้ว ก็ขอให้เราพยายามทำความดีชดเชยด้วย เหมือนดั่งพระเยซูเจ้าทรงทำความดีตลอดขณะที่ยังมี

ชีวิตอยู่ แม้การทำความดีของพระองค์เป็นเป้าหมายให้พวกเขาฆ่าพระองค์ก็ตาม พ่อเชื่อว่าถ้าพวกเราทำได้

ดังนี้แล้ว การตายของพระเยซูเจ้าจะไม่สูญเปล่าสำหรับเรา “อย่าท้อแท้ในการทำความดี เพราะถ้าเรา

ไม่หยุดทำความดี เราก็จะได้เก็บเกี่ยวเมื่อถึงเวลา” (กาลาเทีย 6:9)

< 3 >

Page 4: Rbd let014 2013

พระคริสตเจ้าได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ

เพราะเหตุใดเราจึงเชื่อว่า พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ ข้อพิสูจน์ว่าพระเยซูคริสตเจ้าทรงกลับคืน

พระชนมชีพซึ่งมีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ คือ เรื่องพระคูหาว่างเปล่า (เทียบ ยอห์น 20:6) และทรงปรากฏองค์

แก่บรรดาศิษย์ เช่น มารีย์ชาวมักดาลา โยอันนา และมารีย์ มารดาของยากอบ (เทียบ ลูกา 24:10)

โทมัส (เทียบ ยอห์น 20:24-29) ศิษย์สองคนที่เอมมาอูส (เทียบ ลก 24:9-10) แก่เปโตร และได้ทรง

แต่งตั้งท่านให้เป็นผู้เลี้ยงดูแกะของพระองค์ (เทียบ ยอห์น 21:15-17) และบรรดาศิษย์ก่อนที่พระองค์

จะเสด็จสู่สวรรค์ (เทียบ มัทธิว 28:19-20) (เทียบ คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 639-644)

การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ถือเป็นความจริงสุดยอดแห่งความเชื่อคาทอลิก และชุมชน

คริสตชนรุ่นแรก ๆ ได้ยึดถือความจริงนี้เป็นศูนย์กลางในชีวิต เพราะพระองค์ทรงกลับคืนพระชนมชีพดังที่ได้

เคยตรัสไว้ (เทียบ คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 638) เพราะ “ถ้าพระคริสตเจ้ามิได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ

การเทศน์สอนของเราก็ไร้ประโยชน์ และความเชื่อของท่าน ก็ไร้ประโยชน์เช่นเดียวกัน” (1 โครินธ์ 15:14)

แม้แต่เปโตรและยอห์นก็ได้เป็นพยานถึงความจริงสูงสุดนี้ เพราะท่านทั้งสองได้เห็นคูหาที่ว่างเปล่าด้วยตัวเอง

(เทียบ ยอห์น 20:3-10)

การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้ามีความหมายต่อชีวิตคริสตชนเรา เพราะ 1) เป็นการยืนยัน

ถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ทรงกระทำและทรงสอน 2) เป็นการกระทำให้คำมั่นสัญญาในพันธสัญญาเดิม

และคำสัญญาของพระเยซูเจ้าในชีวิตของพระองค์บนแผ่นดินนี้สำเร็จไป ดังถ้อยคำที่ว่า “ตามความในพระคัมภีร์”

3) แสดงให้เห็นว่าพระองค์คือ “พระบุตรของพระเจ้า” และเป็น “พระเจ้า” เอง และ 4) เป็นบ่อเกิด

และที่มาแห่งการกลับคืนชีพของเราทั้งหลายในอนาคต (เทียบ คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 651-655)

ในพันธสัญญาเดิมเมื่อครั้งที่อิสราเอลเป็นทาสของอียิปต์ พระเจ้าทรงได้ยินเสียงอ้อนวอนของ

ชาวอิสราเอล พระองค์ทรงสั่งให้พวกเขาถวายลูกแกะครอบครัวละตัวและเอาเลือดทาที่ประตู พระเจ้าทรง

ช่วยเหลือชาวอิสราเอล แต่ทรงประหารบุตรหัวปีของมนุษย์และสัตว์ในอียิปต์ ทรงบันดาลให้น้ำท่วมกองทัพ

ชาวอียิปต์ที่ไล่ล่าชาวอิสราเอลมา พระเจ้าทรงนำพาประชากรของพระองค์ผ่านจากการเป็นทาสไปสู่อิสรภาพ

ภายใต้การนำของโมเสส และเหตุการณ์ในครั้งนั้นคือ “ปัสกาครั้งแรก” และถือเป็นกฎเรื่อยมา (เทียบ อพยพ 12)

ปัสกาครั้งที่สอง คือ องค์พระเยซูเจ้าเอง ทำให้เห็นความหมายที่แท้จริงปรากฏชัด นั่นคือ การที่

พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพในเช้าตรู่วันปัสกา ทรงชนะความตาย และเสด็จผ่านจากโลกนี้ไปหา

พระบิดาเจ้า ปัสกาจึงเป็นการเฉลิมฉลองชีวิตใหม่ เพราะอาศัยการสิ้นพระชนม์ พระคริสต์ได้ทรงปลดปล่อยเรา

< 4 >

Page 5: Rbd let014 2013

ให้พ้นจากบาปอาศัยการกลับคืนพระชนมชีพ พระองค์ได้ทรงเผยช่องทางให้เราเข้าสู่ชีวิตใหม่ ชีวิตใหม่นี้คือเรา

ได้รับความชอบธรรม ซึ่งทำให้เราได้รับการอภัยจากพระเจ้า “เพื่อว่าพระคริสตเจ้าได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ

จากบรรดาผู้ตาย เดชะพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาฉันใด เราก็จะได้ดำเนินชีวิตแบบใหม่ด้วยฉันนั้น”

(โรม 6:4) ชีวิตใหม่ประกอบด้วย ชัยชนะเหนือความตายอันเกิดจากบาป และการได้มีส่วนร่วมครั้งใหม่ใน

พระหรรษทาน (เทียบ เอเฟซัส 2:4-5; 1 เปโตร 1:3) แต่อาศัยพระคุณแห่งพระหรรษทาน เพราะการรับเข้ามา

เป็นบุตรบุญธรรมนั้น ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับชีวิตของพระบุตรหนึ่งเดียว ซึ่งได้เผยแสดง

พระองค์อย่างเต็มที่ในการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ เป็นบ่อเกิดและที่มาแห่งการคืนชีพของเราทั้งหลาย

ในอนาคตด้วย “พระคริสตเจ้าได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย เป็นผลแรกของบรรดาผู้ล่วงหลับ

ไปแล้ว...มนุษย์ทุกคนต้องตายเพราะอาดัมฉันใด มนุษย์ทุกคน ก็จะกลับมีชีวิตเพราะพระคริสตเจ้าฉันนั้น”

(เทียบ 1 โครินธ์ 15:20-22) (เทียบ คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 654-655)

1พระเยซูเจ้าได้สิ้นพระชนม์ และกลับคืนพระชนมชีพเพื่อเรา เป็นการไถ่กู้มนุษย์ให้รอด ซึ่งมี

จุดศูนย์กลางอยู่ที่พลังความรักอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า เป็นความรักที่พระเจ้าเป็นผู้ริเริ่มโดยพระคริสตเจ้า

เป็นนายชุมพาบาลที่ดี การริเริ่มของพระคริสตเจ้าด้วยความรัก ทำให้เรารู้จักที่จะตอบสนอง เปลี่ยนแปลงด้วย

การกลับคืนดีกับพระเจ้า (เทียบ โรม 5:9) และใครก็ตามที่รู้ว่าตัวเขาได้รับการเปลี่ยนแปลงผ่านทางความรัก

ของพระผู้ไถ่ ก็ถูกเรียกร้องให้กระทำตามด้วย นั่นคือ ถูกเรียกร้องให้รักผู้อื่น ความรักนี้เรียกร้องการมีชีวิต

เพื่อให้ชีวิต การให้ชีวิตและเปิดรับทุกคน ทนเพื่ออิสรภาพที่จะมี ชีวิต ความรักนี้เปลี่ยนแปลงหัวใจที่เห็นแก่ตัว

และนำไปสู่เอกภาพใหม่ คือ รักผู้อื่นด้วยแม้กระทั่งศัตรู

ชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เก่งขึ้น ดีขึ้น หรือทั้งเก่งและดี

รักคนอื่นมากขึ้น หรือยิ่งวันยิ่งเห็นแก่ตัว คิดถึงคนอื่นมากขึ้น หรือ คิดถึงแต่ตัวเอง

ช่วยเหลือคนอื่นมากขึ้น หรือไม่เคยมองเห็นความต้องการของคนอื่น

ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นสาเหตุให้คนอื่นเดือดร้อนด้วย

ให้โอกาสคนอื่นมากขึ้น หรือไม่เคยให้โอกาสใครเลย บางทีเป็นคนปิดโอกาสของคนอื่นด้วยซ้ำ

ให้อภัยมากขึ้น หรืออภัยให้ไม่ได้ มากไปกว่านั้น ยังฝังความแค้นลงลึกในหัวใจทุกวัน

รับฟังคนอื่นมากขึ้น หรือ พูดมากจนไม่ฟังใคร

ช่วยให้คนอื่นลุกขึ้นจากความผิดพลาด หรือยิ่งทียิ่งกระหน่ำซ้ำเติมเหยียบย่ำให้จมดิน1

(1จากหนังสือ คือชีวิต คือความรัก คือน้ำพระทัย)

ความเชื่อจะเจริญเติบโตขึ้นเมื่อถูกนำมาดำเนินชีวิต และมีประสบการณ์แห่งความรักที่เราได้รับมา และ

ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตแห่งการเป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระผู้ให้ชีวิตใหม่แก่เรา ก็ขอให้การกลับคืน

พระชนมชีพของพระเยซูเจ้า เป็นพลังผลักดันเราให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตในทางที่ดีขึ้น นำเราให้ผ่าน

< 5 >

Page 6: Rbd let014 2013

จากสภาพชีวิตเก่าสู่สภาพชีวิตใหม่ เป็นชีวิตใหม่ที่พระเยซูเจ้าทรงมอบให้กับเราฟรี ๆ โดยไม่คิดราคาค่างวด

เป็นชีวิตที่เอาชนะบาปและความตาย เหมือนดั่งท่านนักบุญเปาโลได้ใช้ความรักนี้ผลักดันให้เกิดการดำเนินชีวิต

ใหม่ “ดังนั้น เราถูกฝังไว้ในความตายพร้อมกับพระองค์อาศัยศีลล้างบาป เพื่อว่า พระคริสตเจ้าทรงกลับคืน

พระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย เดชะพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาฉันใด เราก็จะดำเนินชีวิตแบบใหม่ด้วยฉันนั้น”

(โรม 6:4) เพื่อเราแต่ละคนจะได้เหมาะสมที่จะได้รับบำเหน็จรางวัลจากพระเจ้าในวันที่พระองค์จะเสด็จกลับมา

อีกครั้งหนึ่ง

พระคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

การกลับมาของพระองค์อีกครั้งหนึ่งนี้ ไม่มีใครรู้เวลาว่าเมื่อไร จะมาวันไหน มาอย่างไร (เทียบ

มาระโก 13:32-33) เรารู้แต่เพียงว่า พระองค์จะเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย

จากข้อความเชื่อที่พระศาสนจักรสั่งสอนตกทอดจากบรรพบุรุษมาถึงเรา

พระเยซูเจ้าเองเป็นผู้ประกาศในการเทศนาสั่งสอนของพระองค์ ถึงการพิพากษาในวันสุดท้าย (เทียบ

ดาเนียล 7:10; โยเอล 3-4; มาลาคี 3:19; มัทธิว 3:7-12) เมื่อถึงตอนนี้ ความประพฤติของแต่ละคนและ

ความลับในหัวใจ จะถูกนำมาตีแผ่ในความสว่าง (เทียบ มาระโก 12:38-40; ลูกา 12:1-3; ยอห์น 3:20-21;

โรม 2:16; 1 โครินธ์ 4:5) ผู้มีความผิดที่ไม่ยอมเชื่อ และไม่ใส่ใจใยดีในพระหรรษทานที่พระเจ้าประทานมา

จะถูกตัดสินให้ลงนรก (เทียบ มัทธิว 11:20-24; 12:41-42) ทัศนคติที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ จะเผยให้เห็น

การต้อนรับหรือการปฏิเสธ พระหรรษทานและความรักของพระเจ้า (เทียบ มัทธิว 5:22; 7:1-5) พระเยซูจะตรัส

ในวันสุดท้ายว่า “ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็กำลังทำสิ่งนั้นต่อเรา” (มัทธิว

25:40) ในฐานะที่ทรงเป็นพระผู้ไถ่โลก พระบิดาจึงทรงมอบ “การพิพากษาทั้งหมดแก่พระบุตร” (ยอห์น 5

:22) เป็นสิทธิอันสมบูรณ์ที่จะวินิจฉัยตัดสินอย่างเด็ดขาด แต่พระเยซูเจ้ามิได้เสด็จมาเพื่อพิพากษาตัดสิน

แต่เพื่อช่วยให้รอด และประทานชีวิตซึ่งอยู่ในพระองค์ (เทียบ ยอห์น 3:17; 5:26) เพราะการปฏิเสธ

พระหรรษทานในชีวิตนี้ต่างหาก ที่แต่ละคนเป็นผู้พิพากษาตัดสินตนเอง ได้รับผลตอบแทนแล้วแต่กิจกรรม

ของตน สามารถแม้กระทั่งลงนรกไปชั่วนิรันดรโดยการปฏิเสธพระจิตแห่งความรัก (เทียบ ยอห์น 3:18;

12:48; มัทธิว 12:32; 1 โครินธ์ 3:12-15; ฮีบรู 6:4-6; 10:26-31) (เทียบ คำสอนพระศาสนจักร

ข้อ 678-682)

ในคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 675 ได้กล่าวให้เห็นล่วงหน้าว่า ก่อนการเสด็จกลับมาของ

พระคริสต์ พระศาสนจักรจะต้องผ่านความยากลำบากขั้นสุดท้าย ซึ่งจะทำให้ความเชื่อของผู้มีความเชื่อเป็น

จำนวนมากต้องคลอนแคลน (เทียบ ลูกา 18:8; มัทธิว 24:12) และการเบียดเบียนซึ่งเกิดขึ้นคู่เคียงกันไป

กับการเดินทางของพระศาสนจักรบนแผ่นดิน (เทียบ ลูกา 21:12; ยอห์น 15:19-20)

< 6 >

Page 7: Rbd let014 2013

เราแต่ละคนคือพระศาสนจักรที่จะต้องสู้รบปรบมือกับความทุกข์ยากลำบากเหล่านั้น และส่งผลกระทบ

ต่อความเชื่อของเรา ซึ่งในปัจจุบันนี้พ่อเองก็มองว่า เรากำลังเดินทางไปพร้อมกับการเบียดเบียน และความยาก

ลำบากนั้น การเบียดเบียนที่พ่อพูดถึงนี้ ไม่ใช่การเข่นฆ่ากันด้วยอาวุธ หรือการต้องถูกทรมานเพื่อเป็นมรณสักขี

อย่างชนรุ่นก่อน เพื่อให้เราต้องละทิ้งศาสนา แต่การเบียดเบียนที่เรากำลังเผชิญอยู่ก็คือ การเบียดเบียนด้าน

ความเชื่อในการใช้ชีวิตประจำวัน

† Vการลุ่มหลงและยึดติดอยู่กับวัตถุทางโลก ทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ที่เราเพียรพยายามหามาด้วย

ความเหนื่อยยาก เพียงเพื่อบำรุงบำเรอความสุข ความสะดวกสบายฝ่ายกาย แต่ไม่เคยคิดจะเผื่อแผ่ บริจาค

หรือแบ่งปันให้กับผู้ยากจน ผู้ที่ขาดแคลน

† Vการยึดติดกับอำนาจที่เราได้รับมาจากสังคม และใช้อำนาจหน้าที่นั้นอย่างผิด ๆ ด้วยการเอารัด

เอาเปรียบ ดูถูกดูแคลน และปิดโอกาสคนที่ด้อยกว่าเรา †

Vการไม่ให้อภัยผู้อื่นแถมยังมีความคิดว่า “แค้นนี้ต้องชำระ”

† Vการทิ้งวัด ไม่ให้เวลากับพระเจ้าในพิธีบูชาขอบพระคุณ หรือแม้แต่จะสวดภาวนา ก็รู้สึกว่าบดบัง

เวลาทำมาหากิน เวลาพักผ่อน หรือเวลาแห่งการผ่อนคลายด้วยเทคโนโลยี และสื่อต่าง ๆ

† Vการปฏิเสธที่จะพัฒนาความเชื่อของตนเองในทุกรูปแบบ ด้วยเหตุผลเพียงเพราะเสียเวลา

สิ่งที่พ่อกล่าวมาข้างต้นนี้ คือเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เราคริสตชนกำลังเผชิญและต้องต่อสู้กับมัน และ

สิ่งเหล่านี้แหละที่ส่งผลต่อการกระทำของเรา ซึ่งจะตามมาด้วยการพิพากษา ในวันสุดท้ายที่พระเยซูเจ้า

จะเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิพากษาตามการกระทำของเราแต่ละคน (เทียบ วิวรณ์ 20:11-15) พระเจ้า

ประทานอิสรภาพให้กับเรา และพร้อมจะช่วยเหลือเราด้วยพระหรรษทานที่ทรงมีให้เราอย่างไม่ขาดสาย แต่สุดท้าย

ขึ้นอยู่กับตัวเราแต่ละคนว่า เราจะร่วมมือกับพระเจ้าในการเลือกกระทำความดีหรือไม่ มาก-น้อยแค่ไหน ทุกคน

มีจุดหมายในชีวิต และพ่อก็ปรารถนาให้จุดหมายสุดท้ายในชีวิตของคริสตชนเรา คือ “สวรรค์” ที่ ๆ เราจะได้

อยู่กับพระเจ้าตลอดนิรันดร

ขอพระพรแห่งการกลับคืนพระชนมชีพขององค์พระคริสตเจ้าในโอกาสปัสกานี้ สถิตอยู่กับทุกท่าน

และบันดาลให้มีความเชื่อที่เกิดผล ด้วยการดำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยานถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของพระเยซู

คริสตเจ้า ที่ทรงเอาชนะบาปและความตายเพื่อมวลมนุษย์ทุกคน เพราะการทำดังนี้ เป็นการประกาศว่า

พระองค์ได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว อัลเลลูยา อัลเลลูยา

< 7 >

Page 8: Rbd let014 2013

< 8 >

มอบให้โอกาสสมโภชปัสกา

31 มีนาคม 2013 ณ สำนักมิสซังราชบุรี

UT UNUM SINT

(พระสังฆราช ยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ)

ประมุขสังฆมณฑลราชบุรี

(คุณพ่อสุรชาติ แก้วเสนีย์)

เลขานุการฯ/แทนแชลเซลเลอร์