post-press printing

26
Printing Of Technology Post-Press Suan Sunandha Rajabhat University มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา สาขาวิชา เทคโนโลยีการพิมพ์ งานหลังพิมพ์ Electronic Book

Upload: benjaporn-chaisutatip

Post on 10-Mar-2016

221 views

Category:

Documents


3 download

DESCRIPTION

งานหลังพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

TRANSCRIPT

Page 1: Post-Press Printing

1

Printing Of Technology

Post-Press

Suan Sunandha Rajabhat University มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

สาขาวิชา เทคโนโลยีการพิมพ์

งานหลังพิมพ์

Electronic Book

Page 2: Post-Press Printing

2

คำ นำ

Ebook นี้จัดทำ ขึ้นมาเพื่อการเรียนรู้ การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์ในงานหลังพิมพ์ ความหมายและความสำ คัญของงานหลังพิมพ์ต่าง ๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร การใช้งานที่ถูกวิธี และการทำ ไปประยุกต์ใข้ให้เกิดประโยชน์

Page 3: Post-Press Printing

3

สารบัญ

ความหมายของงานหลังพิมพ์

ความสำ คัญของงานหลังพิมพ์

เดินรอยร้อน

การติดกาว

การพับ

การเคลือบ

การตัด

งานเก็บเล่ม

งานเข้าเล่ม

งานอัดตามแม่แบบ

งานตกแต่งผิว

ปั้มตัด

4

5

6

11

14

17

18

18

20

21

22

Page 4: Post-Press Printing

4

งานหลังพิมพ์ เป็นกระบวนการที่ทำ หลังหลังจากวัสดุที่ใช้พิมพ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นม้วนหรือเป็นแผ่นหรือเป็นรูปทรงที่ผ่านการพิมพ์มาแล้ว เพื่อให้ได้ผิวหน้า ขนาด รูปทรงของสิ่งพิมพ์ตามความต้องการของลูกค้าที่จะนำ สิ่งพิมพ์นั้นไปใช้งาน โดยสิ่งพิมพ์ที่ได้จากงานหลังพิมพ์อาจเป็นรูปร่างที่ใช้งานได้ทันทีหรือต้องนำ มาขึ้นรูปเพื่อการบรรจุ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

ลักษณะงานหลังพิมพ์เพื่อให้ได้ลักษณะผิว ขนาด รูปทรงของสิ่งพิมพ์ตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น งานเคลือบผิวหน้าสิ่งพิมพ์ งานตัด งานพับ เป็นต้น ตัวอย่างสิ่งพิมพ์ที่ลูกค้าสามารถนำ ไปใช้งานทันทีโดยไม่ต้องนำ ไปทำ การขึ้นรูปก่อน เช่น นามบัตร ส่วนตัวอย่างสิ่งพิมพ์ที่ต้องนำ ไปทำ การขึ้นรูปก่อน เช่น กล่องชนิดพับได้ กล่องกระดาษลูกฟูก ถุง เป็นต้น

ความหมายของงานหลังพิมพ์

Page 5: Post-Press Printing

5

งานก่อนพิมพ์เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำ คัญในกระบวนการพิมพ์ โดยเป็นกระบวนการที่ต่อจากงานก่อนกระบวนการพิมพ์ เป็นการดำ เนินการให้ได้แม่พิมพ์และปรู๊ฟงานพิมพ์ ก่อนที่จะส่งงานนั้นสู่งานพิมพ์และงานหลังพิมพ์ต่อไป งานก่อนพิมพ์จึงหมายถึง บรรดางานต่างๆที่เกี่ยวข้องและต้องดำ เนินการต่อเนื่องจากงานก่อนกระบวนการพิมพ์ เพื่อนำ ไปจัดทำ แม่พิมพ์ หรือให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมจะนำ ไปพิมพ์ตามระบบการพิมพ์แบบต่างๆ โดยที่ข้อมูลหรือการทำ งานก่อนพิมพ์ยังมีผลต่อเนื่องไปถึงการทำ งานขั้นตอนอื่นในกระบวนการพิมพ์ ได้แก่ งานพิมพ์และงานหลังพิมพ์

ความสำ คัญของงานหลังพิมพ์

Page 6: Post-Press Printing

6

การเดินรอยร้อน

การเดินรอยร้อน การเดินทอง การประทับรอยร้อน การปั้มทอง ชื่อเหล่านี้เป็นงานลักษณะงานแบบเดียวกัน มีหลักการในการพิมพ์แบบเดียวกันกับการพิมพ์เลตเตอร์เพรส เพราะแม่พิมพ์ที่ใช้เป็นตัวโลหะอาจจะเป็นตัวเรียงหรือบล็อกโลหะ การเดินรอยร้อนจะไม่ใช้หมึกพิมพ์แต่จะใช้ม้วนโลหะบาง หรือที่เรียกว่า “ฟอยล์” (foil) ซึ่งมีสีให้เลือกใช้มากมายตามความต้องการ เช่น สีทอง สีเงิน หรือสีอื่นๆ แต่การเดินรอยร้อนส่วนใหญ่จะเป็นสีทองมากกว่าสีอื่น จึงทำ ให้ติดปากกันว่า “ปั้มทอง” การเดินรอยร้อน เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งพิมพ์ ทำ ให้สิ่งพิมพ์มีสีสันคล้ายประดับด้วยทอง เงิน เป็นการทำ ให้สิ่งพิมพ์ดูโดดเด่น

Page 7: Post-Press Printing

7

วิธีทำ ให้การเกิดการเดินรอยร้อนขึ้น มีวิธีการคือ นำ แม่แม่พิมพ์ไปติดกับเครื่องพิมพ์ที่ตัวเครื่องพิมพ์ จะมีตัวทำ ความร้อนและจะให้ความร้อนส่งต่อไปยังแม่พิมพ์ซึ่งติดอยู่บนตัวทำ ความร้อน ซึ่งแม่พิมพ์จะมีทั้งที่เป็นโลหะประเภททองเหลืองและสังกะสีแต่แม่พิมพ์บล็อกสังกะสีเหมาะกับงานที่ใช้พิมพ์จำ นวนไม่มาก เพราะว่าเป็นแม่พิมพ์จะสึกง่าย

วิธีการเดินรอยร้อนHow To Hotstamping

ตัวแม่พิมพ์จะได้รับความร้อนประมาณ 120 องศาเซลเซียส อาจจะมากหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับชนิดของฟอยล์ด้วย ระหว่างแม่พิมพ์ที่ได้รับความร้อนกับตัวแรงกดจะมีฟอยล์ผ่านระหว่างกลาง ฟอยล์จะทำ หน้าที่แทนหมีกพิมพ์ในการพิมพ์ระบบอื่น วัสดุพิมพ์จะวางอยูระหว่างฟอยล์กับแรงกด เมื่อแรงกดกดอัดกับฟอยล์และแม่พิมพ์จะเกิดเป็นลวดลายตามส่วนที่นูนของแม่พิมพ์ ดังนั้นลวดลายที่เกิดขึ้นจากการเดินรอยร้อนเกิดจากการความร้อนที่ได้รับจากตัวทำ ความร้อนส่งต่อไปยังแม่พิมพ์ให้ได้รับความร้อนหมดทั้งแม่พิมพ์ เมื่อทำ การพิมพ์ส่วนที่นูนสูงจะสัมผัสกับฟอยล์ ความร้อนที่ส่วนนูนของแม่พิมพ์จะไปทำ ให้กาวซึ่งอยู่ด้านหลังของฟอยล์ ละลายไปติดบนวัสดุพิมพ์ด้วยแรงกดของเครื่องพิมพ์ โดยจะมีแรงกดอัดประมาณ 100-120

Page 8: Post-Press Printing

8

ประโยชน์ของการเดินรอยร้อน1. ความทนทาน2. เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบรรจุภัณฑ์3. ไม่มีสารเคมีหรือปัญหาในการกำ จัด4. ต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ5. สิ่งพิมพ์ดูโด่ดเด่น

Page 9: Post-Press Printing

9

การติดกาวกาว หมายถึงวัสดุที่เราใช้ซ่อมแซม หรือใช้ติดวัตถุ

2 ชิ้นเข้าด้วยกัน

1 กาวเย็น (cold glue) เป็นกาวที่สำาเร็จรูปสามารถใช้ทาสัน

ได้เลย

1.1กาวเย็นประเภทพอลิไวนีลอะซีเตท เป็นกาวเย็นที่ทำาจากเรซินสังเคราะห์ประเภทเทอร์โมพลาสติก มีสีขาว

ขุ่น โดยทั่วไปเรียกว่า “กาวลาเทกซ์” ซึ่งการใช้จะต้องปรับความข้นและความเหนียวให้เหมาะสมกับเครื่องทา

กาว และประเภทของกระดาษที่จะใช้ กาวลาเทกซ์ จะแห้งตัวช้าปล่อยทิ้งไว้ 12-24 ชม. จึงจะนำาไปตัดเล่มได้

กาวนี้ไม่มีกลิ่นฉุน ไม่มีไอระเหย แทรกซึมลงในเนื้อกระดาษได้ดี

Page 10: Post-Press Printing

10

2.กาวร้อน(hot glue) เป็นกาวลักษณะเป็นของแข็งในสภาพปกติ ซึ่งต้องใช้ความร้อนหลอมละลายเป็นของเหลว

ก่อนนำามาใช้ ทำามาจากสารพอลิเมอร์ ประเภทเทอร์โมพลาสติก ประกอบด้วยส่วนผสมหลักคือ เรซิน สำาหรับ

เป็นตัวยึด ประมาณ 30% ตัวยึดเหนี่ยวประมาณ 35% ตัวปรับความยุ่น ประมาณ 25% และสารปรับคุณสมบัติ

ประมาณ 10%

ลักษณะกาวร้อนที่เป็นของแข็ง

Page 11: Post-Press Printing

11

การพับ

การพับมีวิธีพับด้วยกัน 3 วิธีคือ การพับด้วยมือ การพับด้วยเครื่องพับ และการพับด้วยหน่วยพับในเครื่อง

1การพับด้วยมือ เหมาะสำาหรงานที่มีจำานวนไม่มากนัก มีอุปกรณ์ที่ช่วยพับคือปลอกนิ้วทำาด้วยโลหะหรือ

พลาสติก และมีไม้เหลาให้เป็นรูปวงรียาวประมาน4-6นิ้ว เพื่อช่วยในการกรีดกระดาษให้เรียบ

การพับด้วยเครื่องเหมาะสำาหรับงานที่มีจำานวนมาก งานพับที่ได้จะมีความแม่นยำาได้ฉาก ความเรียบเสมอกัน

กระดาษไม่ย่นเครื่องพับจะมีหลายขนาดตั้งแต่เล็กเท่าจดหมายจนถึงขนาดใหญ่พับได้ครั้งละ 32 หน้า นอกจากนี้

ยังมีอุปกรณ์เสริมในการช่วยนับจำานวนและป้องกันกระดาษซ้อน ซึ่งในการพับด้วยเครื่องมี 3 ลักษณะด้วยกัน

พับด้วยระบบใบมีด เป็นเครื่องพับที่ใช้มีดสับพับกระดาษไปสู่ลูกกลิ้งรีดกระดาษซึ่งสามารถตั้งฉากหรือระยะ

ให้ใบมีดสับลงไปได้ การพับทุกครั้งจะใช้ระบบใบมีดทั้งหมด ระบบนี้เหมาะที่จะใช้กับกระดาษบางหรือ

กระดาษใหญ่ มีความเร็วต่ำาพับด้วยระบบลูกกลิ้ง เป็นเครื่องพับที่ใช้ลูกกลิ้งโลหะรีดพับกระดาษตรงกลาง หรือ

ในระยะที่กระดาษวิ่งไปบนฉากจะเคลื่อนตัวด้านสันลงไปสู่ลูกกลิ้งพับกระดาษไปเรื่อยๆ การพับแบบนี้สันจะ

เรียบ เหมาะที่จะใช้กับกระดาษหนาและมีความเร็วสูง

Page 12: Post-Press Printing

12

2.การพับด้วยเคร่ือง เพมาะสำาหรับงานที่มีจำานวนมาก งานพับที่ได้จะมีความแม่นยำาได้ฉาก ความเรียบเส

อมกัน กระดาษไม่ย่น เครื่องพับมีหลายขนาดตั้งแต่เล็กเท่าจดหมายจนถึงขนาดใหญ่พับได้ครั้งล่ะ 32 หน้า

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมในการช่วยนับจำานวนและป้องกันกระดาษซ้อน ซึ่งใการพับเครื่องมี 3 ลักษณะ

ด้วยกัน

2.1 พับด้วยระบบมีด เป็นเครื่องพับที่ใช้ใบมีดสับพับกระดาษ ซึ่งสามารถตั้งฉากหรือระยะให้ใบมีดสับลงไป

ได้ การพับทุกครั้งจะใช้ระบบใบมีดทั้งหมด ระบบนี้เหมาะที่จะใช้กับกระดาษบางหรือกระดาษใหญ่ มีความ

เร็วต่ำา

2.2 พับด้วยระบบลูกกลิ้ง เป็นเคร่ืองพิมพ์ที่ใช้ลูกกลิ้งโลหะรีดพับกระดาษตรงกลาง หรือในระยะที่กระดาษวิ่ง

ไปบนฉากจะเคลื่อนตัวด้านสันลงไปสู่ลูกกลิ้งพับกระดาษไปเรื่อยๆ การพับแบบนี้สันจะเรียบ เหมาะที่จะใช้

กระดาษหนาและมีความเร็วสูง แต่ถ้ากระดาษบางมากจะทำาให้กระดาษย่น ไม่เรียบและฉีกขาดได้ง่าย

2.3 พับด้วยระบบผสมระหว่างลูกกลิ้งกับใบมีด ปัจจุบันเครื่องพับ นิยมใช้ระบบนี้กันมากเราะสามารถพับกระ

ดาษได้ทั้งหนาและบาง พับได้เรียบ มีความเร็วสูง การพับครั้งที่ 1 และ 2 จะใช้การพับแบบลูกกลิ้ง การพับครั้ง

ที่ 3 และ 4 จะใช้การพับแบบใบมีด เพื่อผสมผสานคุณภาพการพับ ให้เมาะสมกับความเร็วและความหนาขอ

งกระดาษที่พับ

3.การพับในเครื่องพิมพ์ การพิมพ์หนังสือปริมาณมากๆ เพื่อความสะดวก รวดเร็วและลดขั้นตอนการทำางานลง

จึงได้มีการนำาเครื่องพับประกอบติดตั้งเข้าในเครื่องพิมพ์โดยเฉพาะเครื่องพิมพ์แบบป้อนม้วน ความเร็วของ

การพับจะสูงตามความเร็วของเคร่ืองพิมพ์เหมาะกับงานพิมพ์จำานวนมากๆ

การพับเป็นขั้นตอนที่สำาคัญมากโดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ประเภทสิ่งพิมพ์เล่มสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์เสร็จแล้วจะนำามาทำา

การพับอย่างน้อย 1 ครั้งขึ้นไป อาจจะพับ 2 ครั้งหรือ 3 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของสิ่งพิมพ์ ขนาดของเครื่อง

พับ สิ่งพิมพ์ที่พับเสร็จแล้วเราจะเรียกว่า “ยกหรือกนก“ ในแต่ละยกจะเรียงหน้าตามที่ได้จัดเรียงหน้าไว้ สิ่ง

พิมพ์เล่มหนึ่งอาจจะมี 1 ยกหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับจำานวนหน้าของสิ่งพิมพ์ เมื่อพับเสร็จแล้วจะต้องนำาไปเรียง

ยกอีกทีหนึ่งก่อนจะนำาไปเข้าเล่ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทแผ่นเดี่ยว เช่น แผ่นพับ เป็นต้น

1. พับมุมฉาก (Right angle fold) คือการพับตครงกลางกระดาษทางด้านยาวครั้งที่ 1 จากนั้นพับตรง

กลางอีกครั้งหนึ่งทำามุมฉาก แก่กันเป็นคร้้งที่ 2 หรออาจพับต่อไปตรงเสามอได้ฉากแก่กัน เป็ฯการพับที่ใช้พับ

สิ่งพิมพ์เล่มคือการพับ 1ครั้ง จะได้ 4 หน้า พับ 2 ครั้ง จะได้ 8 หน้า พับ 3 ครั้ง จะได้ 16 หน้า พับ 4 ครั้ง จะได้

32 หน้า

Page 13: Post-Press Printing

13

2. พับขนาน (parallel fold) คือ การพับตรงกลางกระดาษด้านยาวครั้งที่ 1 จากนั้นพับครั้งที่ 2-3-4 ทางด้านเดิมใน

แนวเดียวกันให้ขนานกัน จะเป็นการพับสำาหรับหนังสือที่ต้องการทำาเล่มพร้อมกัน 2 เล่ม หรือแผ่นพับต่างๆ

3. พับผสมระหว่างมุมฉากกับขนาน (combination folding ) เป็นการพับครั้งที่ 1 ด้านยาวตรงกลาง แล้ว

พับเป็นมุมฉาก ครั้งที่ 2 จากนัั้นจะพับในแนว เดิมขนานกันเป็นครั้งที่ 3 หรือ 4 เป็นการพับแบบขนาน ส่วนมาก

การพับในเครื่องพิมพ์

4. การพับพิเศษ เป็นการพับแบบนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วทั้ง 3 แบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของ

การนำาไปใช้ เช่น การพับ 2 แบบสลับฟันปลา (bouble zigzag) พับนานประตู (gate fold) เป็นต้น

Page 14: Post-Press Printing

14

การเคลือบ

งานพิมพ์ที่ผ่านขั้นตอนการพิมพ์มาแล้วถ้าต้องการให้เกิดความสวยงาม ความคงทนและรักษางานพิมพ์

ไม่ให้เกิดการถลอกหรือเป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย ป้องกันน้ำาซึมผ่านจะต้องผ่านขั้นตอนการเคลือบเงา ซึ่งการ

เคลือบเงาสิ่งพิมพ์นั้นจะมีเคลือบแบบเงาและแบบด้าน

1.การเคลือบเงาด้วยระบบยูวี ( UV coating ) เป็นวิธีการเคลือบมันที่ให้ความมันสูง น้ำามันที่ใช่ไม่มี

ส่วนผสมของทินเนอร์ หลักการทำางานจะเหมือนกับการอาบเงาแบบทั้งแผ่นแต่การทำาให้แห้งจะต้องผ่านแสง

อัตตราไวโอเลต น้ำามันที่ใช่นี้จะมีสมบัติแห้งและแข็งตัวทันที เมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลตหรือเรียกว่า แสงยูวี

ดังนั้นเคลือบเงาด้วยยูวีจะเป็นเครื่องเฉพาะโดยต้องมีหน่วยกำาเนิดแสงยูวีมาประกอบในเครื่อง

Page 15: Post-Press Printing

15

1.1 การเคลือบ ยู.วี.เฉพาะจุด ( SPOT U.V. COATING)

การเคลือบ ยู.วี.เฉพาะจุดเป็นการดำาเนินงานในระบบสกรีน โดยนำาฟิล์มโฟสิทีฟถ่ายลงบล็อคสกรีน เคลือบด้วย

หมึก ยู.วี.ลงบนชิ้นงานที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เมื่อทำาการเคลือบผ่านตู้อบ สิ่งพิมพ์จะแห้งด้วยคลื่นยู.วี.

Page 16: Post-Press Printing

16

2.การเคลือบด้วยพลาสติก ( Lominating ) เป็นวิธีการเคลือบโดยใช้แผ่นฟิล์ม พลาสติกใสบาง เคลือบบนผิววัสดุ

พิมพ์ โดยการใช้กาวหรือความร้อนและแรงกดของลูกเหล็กกลมเป็นตัวประสาน การใช้งานขึ้นอยู่กับชนิดของ

ฟิลม์พลาสติกที่ใช่และลักษณะงาน ซึ่งพลาสติกที่ใช้มีทั้งแบบมันและแบบด้าน การเคลือบเงาด้วยพลาสติกด้วย

พลาสติกมีราคาสูงกว่าการเคลือบเงาแบบอื่นๆ แต่มีคุณภาพ ป้องกันการซึมน้ำาสูง เหมาะกับสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ

ความทนทานเก็บไว้ได้นาน และต้องการความสวยงามมีราคา เช่น ปกหนังสือราคาแพง สิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์

จะแบ่งได้ 2 ชนิด ได้แก่

1 เคลือบพลาสติกเงา

เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์มพีวีซีที่มีผิวมันวาวให้ความเรียบและเงาสูง

2เคลือบพลาสติกด้าน

เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์มพีวีซีที่มีผิวด้านคล้ายผิวของกระจกฝ้า

Page 17: Post-Press Printing

17

การตัด การตัดเป็นขั้นตอนที่สำาคัญของงานพิมพ์โดยเฉพาะงานสิ่งพิมพ์ที่เป็นแผ่น งานส่ิงพิมพ์เล่ม ซึ่งมี

ลักษณะสำาคัญของการตัดกระดาษอยู่ 3 ลักษณะคือ

1. การตัดกระดาษที่พิมพ์แล้วเพื่อป้อนเครืองพับ กระดาษที่พิมพ์แล้วในงานที่เป็นสิ่งพิมพ์เล่ม จะต้องนำามา

ตัดให้ได้ขนาดที่สามารถป้อนเข้าเครื่องพับได้ เช่น กรณีงานสิ่งพิมพ์ที่กลับในตัวจะต้องนำามาผ่าครึ่งกระดาษ

ที่พิมพ์จึงจะนำาเข้าพับด้วยเครื่องพับ

2. การตัด-เจียนรูปเล่มหนังสือ หลังจากสิ่งพิมพ์ผ่านขั้นตอนการเข้าเล่มและทำาเล่มเป็นรูปเล่ม ไม่ว่าจะ

เป็นการเข้าเล่มด้วยการเย็บสัน การเย็บมุงหลังคา การไสสันทากาว เป็นต้น จะต้องนำามาตัด-เจียน รูปเล่ม 3

ด้าน ซึ่งมีเครื่องตัดกระดาษชิดตัดไดิ 3 ด้าน สำาหรับการตัดเจียนหนังสือโดยเฉพาะ

3. การตัด-เจียน สิ่งพิมพ์ประเภทแผ่นเดี่ยวชนิดต่างๆ ในการจัดพิมพ์สิ่งพิมพ์มักจะพิมพ์ำาด้หลายครั้งละ

หลายหน้า แต่เวลานำาไปใช้จะใช้เพียงหน้าเดียว เช่ แผ่นปลิว แผ่นพับ โปสเตอร์ ดังนั้นเม่ืงานพิมพ์ประเภทนี้

พิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถตัด-เจียนสิ่งพิมพ์ให้ได้ขนาดตามต้องการ

Page 18: Post-Press Printing

18

งานเก็บเล่ม

1) งานเก็บแผ่น เป็นงานเก็บเล่มสำ หรับแผ่นพิมพ์ขนาดเล็ก หรืองานพิมพ์ที่ได้รับการตัดแบ่งเป็นหน้าสิ่งพิมพ์สำ เร็จก่อนที่จะนำ มาเก็บเล่ม แผ่นปลิวที่ต้องการเก็บเล่มมักจะเป็นแผ่นปลิวที่มีการเรียงลำ ดับหรือมีการเก็บชุด เช่น ฟอร์มใบเสร็จ และใบสำ คัญต่างๆเป็นต้น2) งานเก็บยกพิมพ์ เป็นงานเก็บเล่มหนังสือยก เพื่อยกพิมพ์ต่างๆของเนื้อหาในหนังสือให้เรียงลำ ดับต่อกันอย่างถูกต้องก่อนที่จะนำ ไปเข้าเล่ม ในงานเก็บเล่มยกพิมพ์เพื่อทำ หนังสือ สามารถ แบ่งออกได้สองลักษณะ คือ งานเก็บเล่มยกพิมพ์แบบสอด และงานเก็บเล่มยกพิมพ์แบบซ้อนโดยที่งานเก็บยกพิมพ์แบบสอดได้เนื้อหาในนำ ไปทำ เล่มหนังสือแบบยุบหลังคา และงานเก็บเล่มยกพิมพ์แบบซ้อนได้เนื้อหาไปนำ ไปทำ เล่มหนังสือแบบไสสันทากาวหรือแบบเย็บกี่

งานทำ เล่มงานทำ เล่มเป็นงานหลังพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำ หนังสือ โดยเป็นงานที่นำ ยกพิมพ์ของหนังสือหรือแผ่นปลิวที่เก็บและเรียงหน้าแล้ว มาทำ เล่มเพื่อให้เป็นเล่มเข้ากับปกหนังสืองานทำ เล่มมีหลายแบบ แต่ละแบบมีวิธีการทำ เล่มแตกต่างกันไป ดังนี้1) แบบทากาว งานทำ เล่มแบบนี้ใช้การในการยึดติดกระดาษแต่ละแผ่นไว้รวมกับปกให้เป็นเล่มหนังสือ มีทั้งใช้กาวร้อนและกาวเย็น กาวร้อน คือ กาวที่ต้องมีการหลอมกาวก่อนใช้งาน ส่วนเป็นเล่มหนังสือ มีทั้งใช้กาวร้อนและกาวเย็น กาวร้อนคือ กาวที่ต้องมีการหลอมกาวก่อนใช้งาน ส่วนกาวเย็นไม่ต้องหลอมกาวก่อนใช้งาน การทำ เล่มทากาวทั้งสองแบบจำ เป็นต้องมีการตกแต่งสันหนังสือ ให้รับกาวได้ดี เพื่อให้กาวซึมเข้าในเนื้อกระดาษได้มากและยึดสันหนังสือไว้ได้แข็งแรง งานทำ เล่มแบบทากาวมีทั้งแบบไสสันและแบบไม่ไสสัน การไสสันเพื่อไสบริเวณของยกหนังสือออกไป ให้แผ่นงาน แต่ละแผ่นติดกาว หากเนื้อในหนังสือเป็นแผ่นปลิวที่เก็บเล่มมาก็ไม่จำ เป็นต้องไสสัน สามารถทากาวได้เลย

Page 19: Post-Press Printing

19

2) แบบเย็บ เป็นงานทำ เล่มที่มีการนำ ยกพิมพ์ที่เก็บเรียงไว้แล้ว ซึ่งมีทั้งการเก็บแบบสอดและแบบซ้อน มาเย็บด้วยด้ายหรือด้วยลวด ในการเย็บด้วยด้ายมันเป็นการเย็บด้วยเครื่องเย็บกี่ ซึ่งเป็นการเย็บเล่มเนื้อในหนังสือที่เก็บเล่มแบบ.อนเพ่อนำ ไปเข้าปกต่อไป ส่วนการเย็บเล่มด้วยลวดจะเป็นการเย็บเนื้อรวมเข้ากับปกด้วยลวดเย็บ โดยเย็บลงตรงสันหรือออกของหนังสือ เรียกว่าการเย็บมุง หลังคา หรือการเย็บอด ปกหนังสือมักมีลักษณะแตกต่างจากเนื้อใน แต่ก็สามารถใช้กระดาษเนื้อในทำ หน้าที่ปกหนังสือได้พร้อมกัน เรียกว่าปกในตัว

3) แบบผสม เป็นงานทำ เล่มที่ใช้รูปแบบงานทำ เล่มหลายแบบข้างต้น เช่น การเย็บกี่ เนื้อในที่เก็บเมแบบซ้อน และนำ มาเข้าปกด้วยกระดาษหรือผ้าที่หุ้มกระดาษแข็ง เรียกว่า งานทำ เล่มปกแข็ง ในบางกรณีเนื้อในหนังสืออาจเป็นแผ่นปลิวทั้งหมด หากไม่ต้องการทำ เล่มแบบทากาวสัน ก็สามารถใช้การเย็บลวด เรียกว่า เย็บลวดสัน ซึ่งอาจเย็บพร้อมกับปก หรือเย็บเนื้อในแล้วปิดปกทับด้วยการทากาวอีกชั้นหนึ่งก็ได้

Page 20: Post-Press Printing

20

งานอัดตามแม่แบบ

งานอัดตามแม่แบบเป็นงานตัดแผ่นพิมพ์ให้มีรูปร่างตามแม่แบบ อาศัยแม่แบบและเครื่องอัดตัดในการทำ งานอัดตัด เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีรูปร่างอิสระสำ เร็จรูปพร้อมใช้งาน หรือได้เป็นชิ้นงาน ระหว่างขั้นตอนการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะนำ ไปขึ้นรูปตัวบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย ด้วยลักษณะงานตัดที่อาศัยใบมีดในแม่แบบซึ่งสามารถโค้งงอไปตามขอบงานพิมพ์ตามแต่จะกำ หนดขึ้น งานอัดตัดตามแม่แบบจึงมีลักษณะเด่นในการตัดสิ่งพิมพ์ที่เครื่องตัดกระดาษทั่วไปไม่สามารถทำ ได้ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วงานอัดตัดตามแม่แบบจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นและมีความยุ่งยากมากขึ้นเมื่อเทียบกับงานตัดด้วยเครื่องตัดกระดาษธรรมดา แต่ด้วยความจำ เป็นของรูปแบบการผลิตหรือความต้องการของเจ้าของงานที่ต้องการสร้างข้อมูลค่าเพิ่มแก่ตัวสินค้าจึงมักเลือกใช้การอัดตัดตามแม่แบบ

งานอัดตัดตามแบบแม่แบบสามารถจำ แนกเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้1) งานอัดตัดตามแม่แบบชนิดปั๊มขาด(die cut) เป็นลักษณะหนึ่งของงานตัดแผ่นพิมพ์ โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องตัดกระดาษ แต่ใช้เครื่องปั๊มในการตัดกระดาษตามแม่แบบทีละแผ่น2) งานอัดตัดตามแม่แบบชนิดปั๊มขาดบางส่วน(half cut) เป็นการปรับตั้งความสูงของมีดอัดตัดไม่ให้ตัดทะจนถึงพื้นหลังของแผ่นงานพิมพ์ มักจะใช้กับวัสดุพิมพ์ที่มีการซ้อนติดกันสองชั้นอย่างเช่นกระดาษสติ๊กเกอร์3) งานอัดตามแม่แบบชนิดรอยมีดไม่ต่อเนื่อง(perforaling) เป็นงานอัดตัดด้วยมีดที่มีการเว้นช่องไฟของคมมีดเป็นระยะๆ รอยอัดตัดไม่ขาดต่อเนื่องทั้งหมด ยังคงเหลือส่วนของวัสดุพิมพ์ที่ยึดเกาะกันไว้เป็นช่องไฟหรือเป็นติ่ง การปั๊มขาดที่เว้นมีรอยมีดเป็นระยะถี่ๆจะได้เป็นรอยปรุ ซึ่งมีประโยชน์ ในการเป็นแนวฉีก หรือในกรณีที่ผิวหน้าสิ่งพิมพ์ทีการเคลือบผิวและจะต้องติดกาวในบริเวณดังกล่าวการปรุจะช่วยให้กาวยึดติดได้ดีขึ้น งานพิมพ์ที่ได้รับการอัดตามแม่แบบแล้ว จะสามารถขึ้นรูปเป็นกล่องหรือซองได้ตามที่ต้องการ รวมทั้งให้สามารถฉีกตามรอยปรุหรือแนวฉีกได้ง่าย

Page 21: Post-Press Printing

21

งานตกแต่งผิวงานตกแต่งผิวในงานหลังพิมพ์ประกอบด้วย งานเคลือบวาร์นิช งานลามิเนต งานเดนรอยร้อน และงานดุนนูน

งานดุนนูนงานดุนนูน เป็นงานหลังพิมพ์ที่สร้างรอยต่างระดับให้แก่ผิวหน้าสิ่งพิมพ์ ซึ่งอาจเป็นรอยที่นูนขึ้นมาหรือรอยที่ยุบลงไปในเนื้องานที่พิมพ์ก็ได้ รอยต่างระดับเกิดจากการใช้แรงกดอัดผ่านแม่แบบดุนนูนซึ่งมีตัวผู้และตัวเมียโดยอาศัยเครื่องดุนนูน งานดุนนูนสามารถทำ ในบริเวณชิ้นงานส่วนที่มีหรือไม่มีภาพพิมพ์

Page 22: Post-Press Printing

22

การปั้มตัดการปั้มตัดหรือการอัดตัดตามแบบ เป็นงานหลังพิมพ์ที่ใช้กับงานที่ต้องการตัดตกแต่งให้มีรูปทรงต่างๆ หรืออาจจะเป็นการเจาะหน้าต่างในบางตำ แหน่ง การปั้มตัดสามารถทำ ได้ทั้งงานที่ผ่านการพิมพ์และงานที่ไม่ต้องพิมพ์ก็ได้ การปั้มตัดจะต้องมีการเตรียมงานไปพร้อมตั้งแต่เริ่มแรก เพราะจะต้องจัดวางตำ แหน่งให้เหมาะสมกับงานพิมพ์และการทำ แบบปั้มตัด โดยแบบปั้มตัดมีด้วยกัน 2 ลักษณะ

1. แบบมีดปั้มกล่อง ทำ ขึ้นจาการใช้แบบเขียนโครงสร้างในส่วนของงานพิมพ์ที่ต้องการปั้มตัดขึ้นรูป ทำ การสร้างภาพบนแผ่นไม้อัดหนาประมาณ 20 มิลลิลิตรและทำ การเลื่อยฉลุเป็นร่องตามรูปรอย จากนั้นจึงใช่แผ่นมีดโลหะสำ เร็จที่เป็นเส้น มีความสูงเท่ากันตลอด นำ มาตัดหรือขึ้นรูปตามขนาดที่กำ หนด และทำ การฝังอัดติดเข้าไปในร่องไม้ที่ฉลุไว้ด้านหน้า ลักษณะของแผ่นมีดโลหะทั้งมีชนิดที่มีความคมใช้เป็นมีดตัดและชนิดที่แผ่นมีดมนโค้งไม่มีความคม ใช้ทำ เป็นเส้นพับ ความเที่ยงตรงของมีปั้มกล่องขึ้นอยู่กับความชำ นาญของการเลื่อยฉลุร่องไม้อัดแบบเป็นหลัก การปั้มตัดจะใช้เครื่องสำ หรับ การปั้มโดยเฉพาะลักษณะจะเป็นแบบเพลทเตนของเครื่องพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรส บางครั้งอาจดัดแปลงใช้เครื่องเพลทเตนมาใช้ในการทำ เป็นเครื่องปั้มตัดก็ได้ แต่แรงกดอาจน้อยเกินไปถ้าปั้มตัดชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่2. แบบมีดเหล็ก ใช้สำ หรับการปั้มตัดขึ้นรูปที่ลักษณะโค้งเว้าเหมาะกับงานพิมพ์กระดาษบาง เช่น แผ่นฉลากปิดขวด ซองจดหมาย เป็นต้น แบบมีดเหล็กทำ ขึ้นจากการกำ หนดแบบสร้างบนส่วนโลหะแข็ง หรือควรใช้แท่งโลหะเหนียวมาเชื่อมขึ้นรูปและทำ การกลิ้งไม้ตบแต่งตามรูปแบบ และสร้างความคมให้มีลักษณะเป็นมีด จากนั้นจะนำ ไปชุบแข็ง การทำ มีดนี้ต้องให้ผู้ชำ นาญการจัดทำ โดยเฉพาะ การปั้มตัดแบบนี้จะใช้เครื่องปั้มที่อัดด้วยแรงอัดไฮโดรลิกน้ำ มันหรือแรงอัดข้อมือ โดยการป้อนแผ่นพิมพ์ที่ตัดเป็นปึกหรือก้อนสี่เหลี่ยมแรงอัดจะกดแผ่นเหล็กอัดให้มีดเหล็กตัดก้อนสิ่งพิมพ์ขึ้นเป็นรูปร่างตามต้องการ

Page 23: Post-Press Printing

23

ผศ.วีระ โชติธรรมาภรณ์. 2555. กรุงเทพมหานคร. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.ssru.ac.th/teacher/printingonline/mod/resource/in-dex.php?id=18 ทางการพิมพ์ หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยรรมธิราช. ชวาล ครู์พิพัฒน์. (2533). “การแปรสภาพงานหลังพิมพ์“ ในเอกสารการสอนรายวิชา

บรรณานุกรม

Page 24: Post-Press Printing

24

จัดทำ โดย

นายณัฐพล ขันทอง 53122504011 นางสาวเบญจพร ชัยสุธาทิพย์ 53122504017 นายพิพัฒน์ เป็กสาร 53122504028 นายศิรวิทย์ จันดาแก้ว 53122504029

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสาขาวิชา เทคโนโลยีการพิมพ์

Page 25: Post-Press Printing

25

Page 26: Post-Press Printing

26

Printing Of TechnologyPost-Press

Suan Sunandha Rajabhat University มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

งานหลังพิมพ์

Electronic Book