Download - Phil0351sm ch2

Transcript
Page 1: Phil0351sm ch2

บทท่ี 2 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ในบทนี้จะกลาวถึง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ในประเด็นของท่ีมา ความหมาย กรอบ

แนวคิดและคุณลักษณะท่ีสําคัญ เพื่อใหเห็นภาพโดยรวมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใหทราบถึงแนวคิดหลักและประโยชนตอการนําไปใชเปนกรอบของชุดคําอธิบายในการวิเคราะหเร่ืองการจัดการขยะตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นอกจากนี้ เนื้อหาในบทนี้ ยังกลาวถึงเศรษฐกิจพอเพียงและกิจกรรมทางเศรษฐศาสตรท่ีเกี่ยวของกับมนุษย ท้ังโดยทางตรงและทางออม อันไดแก การผลิต การบริโภค ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิตและบริโภค รวมถึงอรรถประโยชน ซ่ึงจะกลาวโดยรวมเพ่ืออธิบายเปรียบเทียบเกี่ยวกับเศรษฐศาสตรกระแสหลักและเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใชเปนแนวคิดหลักในการวิเคราะหปญหาการจัดการขยะ อันมีสาเหตุโดยตรงมาจากการผลิตและการบริโภค นั่นเอง 2.1 ท่ีมาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงปรากฏอยูในการดําเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริมาชานาน ในรูปของหลักการสรางความ “พออยู-พอกิน” และพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงพระราชทานแนว คิดนี้ เ พื่ อ ใช ป รับ ทิศทางการพัฒนาประ เทศไทย เปนค ร้ั งแรกแกนิ สิ ตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร เม่ือวันท่ี 18 กรกกาคม 2517 (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น. 33)

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเปนปรัชญาท่ีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดํารัชช้ีแนะแนวทางการดําเนินชีวิตแกพสกนิกรชาวไทยมาตั้งแตป พ.ศ.2517 (พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, 2550) และไดทรงเนนย้ําอยางชัดเจนในวันท่ี 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540) จวบจนปจจุบัน นานกวา 30 ป ซ่ึงเปนแนวทางการแกไขเพื่อใหรอดพน และสามารถดํารงอยูไดอยางม่ันคงและยั่งยืน ภายใตกระแสโลกาภิวัตนและความเปล่ียนแปลงตางๆ

พระบาทสมเดจ็พระเจาอยูหวั (2517) ทรงมีพระราชกระแสรับส่ังแกผูเขาเฝาถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ.2517 คนอ่ืนจะวาอยางไรก็ชางเขาจะวาเมืองไทยลาสมัย วาเมืองไทยเชย วาเมืองไทยไมมีส่ิงใหม

แตเราอยูอยางพอมีพอกิน และขอใหทุกคนมีความปรารถนาท่ีจะใหเมืองไทยพออยูพอกิน มี

Page 2: Phil0351sm ch2

15

ความสงบ ชวยกันรักษาสวนรวม ใหอยูท่ีพอสมควร ขอย้ําพอควร พออยูพอกิน มีความสงบไมใหคนอ่ืนมาแยงคุณสมบัตินี้ไปจากเราได

พระบาทสมเดจ็พระเจาอยูหวั (2540) ทรงมีพระราชกระแสรับส่ังแกผูเขาเฝาถวายพระพรชัย

มงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ.2540 ถาสามารถจะเปล่ียนใหกลับเปนเศรษฐกจิพอเพียง ไมตองท้ังหมด แมจะไมถึงคร่ึง อาจจะเศษหนึ่งสวนส่ี ก็สามารถท่ีจะอยูได การแกไขจะตองใชเวลาไมใชงายๆ โดยมากคนใจรอนเพราะเดือดรอน แตถาทําต้ังแตเดีย๋วนี้ก็จะสามารถท่ีจะแกไขได

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมิใชเร่ืองใหม เนื่องจากพระองคทานไดทรงใชเปนหลักในการ

ดําเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริท่ีมีอยูกวา 3,000 โครงการ (มนูญ มุกขประดิษฐ, 2549) ตลอดหาทศวรรษท่ีผานมา นับต้ังแตป พ.ศ. 2493 โดยเนนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกรท่ียังยากจนในถ่ินทุรกันดารเปนเบ้ืองแรก เพื่อสรางความ “พออยู-พอกิน” อันเปนรากฐานของระบบเศรษฐกิจพอเพียง

ภายหลังจากท่ีคําวา “เศรษฐกิจพอเพียง” เร่ิมเปนคําท่ีใชกันอยางแพรหลาย โดยท่ีผูพูดแตละคน จะตีความเอาเอง ทําใหความหมายเศรษฐกิจพอเพียงของแตละคน อาจจะแตกตางกันมาก พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวไดทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาปรับปรุงแกไขบทความเร่ือง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซ่ึงสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ไดเชิญผูทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอ่ืนๆ มารวมกันประมวลปละกล่ันกรองพระราชดํารัสเร่ืองเศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึงพระราชทานไวในวโรกาสตางๆ รวมทั้งพระราชดํารัสอ่ืนๆท่ีเกี่ยวของ และทรงพระราชทาน พระบรมราชานุญาตใหนําไปเผยแพร เพื่อเปนแนวทางปฏิบัติของทุกฝาย และประชาชนโดยท่ัวไป เม่ือวันท่ี 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.36) และเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับท่ี9 (พ.ศ.2545-2549) อีกท้ัง ไดจัดทําเปนบทความเร่ือง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” (สารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย, 2550) และไดนําความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันท่ี 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแกไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตใหนําบทความท่ีทรงแกไขแลวไปเผยแพร เพื่อเปนแนวทางปฏิบัติของสํานักงานฯและทุกฝายท่ีเกี่ยวของ ตลอดจนประชาชนโดยท่ัวไป

ตอมา สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ จึงไดจัดทําหนังสือ “เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร” ข้ึนโดยมีวัตถุประสงคท่ีตองการจะอธิบายความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมท้ังกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ท่ีมุงเนนความม่ันคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะท่ีสําคัญ คือ สามารถประยุกตใชไดในทุกระดับ ตลอดจนไดอธิบาย

Page 3: Phil0351sm ch2

16

คํานิยามของความพอเพียง ท่ีประกอบดวย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุมกันท่ีดีในตัว ภายใตเง่ือนไขของการตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมท่ีตองอาศัยเง่ือนไขความรูและเง่ือนไขคุณธรรม

ป พ.ศ. 2550 เปนปแหงการเฉลิมฉลอง ท่ีพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ดวยพระปรีชาญาณและพระวิสัยทัศนท่ียาวไกล โครงการในพระราชดําริและ "เศรษฐกิจพอเพียง" คือปรัชญาท่ีทรงช้ีแนะถึงแนวทางในการดํารงชีวิตท่ีพระองคไดทรงมอบใหแกประชาชนทุกระดับ เพื่อใชเปนเคร่ืองมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมไปถึงการบริหารประเทศ มีผลตอการพัฒนาท่ียั่งยืน รัฐบาลมีนโยบายสําคัญท่ีสะทอนเศรษฐกิจพอเพียง รวมท้ังการนําคุณธรรมนําความรู สูการพัฒนาท่ียั่งยืน ซ่ึงปรัชญาท้ังสองคือ "เศรษฐกิจพอเพียง" และ "คุณธรรมนําความรู" นี้ถือเปนเร่ืองท่ีไปดวยกัน และเปนเร่ืองจําเปนตองทําเพื่อนําไปสูการพัฒนาท่ียั่งยืน

2.2 ความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เปนปรัชญาช้ีถึงแนวการดํารงอยูและปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ

ต้ังแตระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ท้ังในการพัฒนาและบริหารประเทศใหดําเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อใหกาวทันตอโลกยุคโลกาภิวัตน ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเปนท่ีจะตองมีระบบภูมิคุมกันในตัวท่ีดีพอสมควร ตอการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปล่ียนแปลงท้ังภายนอกและภายใน ท้ังนี้ จะตองอาศัยความรอบรู ความรอบคอบ และความระมัดระวังอยางยิ่งในการนําวิชาการตางๆ มาใชในการวางแผนและการดําเนินการทุกข้ันตอน และขณะเดียวกันจะตองเสริมสรางพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจาหนาท่ีของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ใหมีสํานึกในคุณธรรมความซ่ือสัตยสุจริต และใหมีความรอบรูท่ีเหมาะสม ดําเนินชีวิตดวยความอดทน ความเพียร มีสติ ปญญา และความรอบคอบ เพื่อใหสมดุลและพรอมตอการรับรองการเปล่ียนแปลงอยางรวดเร็วและกวางขวางท้ังดานวัตถุ สังคม ส่ิงแวดลอม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกไดเปนอยางดี (คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง, 2549, น.4)

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไมไดพูดถึงวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจ แตพูดถึงกรอบคิดในการตัดสินใจเพื่อใหการพัฒนาเกิดประโยชนท่ีสุดตอทุกคน (จรวยพร ธรณินทร, 2551)

จากมุมมองของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งตนเองไดเปนปจจัยพื้นฐานท่ีจําเปนท่ีสุดสําหรับอนาคตท่ีม่ันคง การพัฒนาท่ียั่งยืนตองเกิดจากกระบวนการท่ีคอยเปนคอยไปทีละข้ันตอน และตองเปนการระเบิดจากภายในมากกวาการผลักดันจากภายนอก

แนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงมีรากฐานจากคําสอนในพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับธรรมชาติของความเปนมนุษย แตหลักธรรมดังกลาวมิไดจํากัดอยูแตในศาสนาพุทธเทานั้น ในศาสนาอ่ืนๆ ก็มีการ

Page 4: Phil0351sm ch2

17

สอนในเร่ืองท่ีคลายคลึงกัน เชนเร่ืองความเปนมนุษยท่ีสมบูรณ ความเมตตาตอเพื่อนมนุษยและสรรพสัตวและประโยชนของการอบรมวินัยในตนเอง 2.3 กรอบแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เปนปรัชญาท่ีช้ีแนะแนวทางการดํารงอยูและปฏิบัติตนในทางท่ีควรจะเปน โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนํามาประยุกตใชไดตลอดเวลา และเปนการมองโลกเชิงระบบท่ีมีการเปล่ียนแปลงอยูตลอดเวลา มุงเนนการรอดพนจากภัยและวิกฤติ เพื่อความม่ันคงและความยั่งยืนของการพัฒนา(คณะอนุกรรมการขับเคล่ือนเศรษฐกิจพอเพียง, 2549, น.12)

กรอบแนวคิดของสามองคประกอบหลัก อันไดแก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุมกันท่ีดี มีดังนี้

2.3.1 พอประมาณ

1) มีคุณธรรมถูกตองดงีาม แบงปน ไมเอาเปรียบคนอ่ืน ไมเอาเปรียบธรรมชาติ คุณธรรมนําชีวิต นําธุรกิจการ

งาน ไมเอาเงินนําหนา ปญญาตามหลัง 2) รูจักตัวเอง รูรากเหงา ภูมิใจ เชื่อม่ัน

รูคุณคาท่ีมาของตนเอง เอกลักษณ ภูมิปญญาทองถ่ิน ภูมิใจในกําพืด ถ่ินฐานบานเกิด รากเหงาเผาพันธุ บรรพบุรุษ ภูมิใจในของกิน ของใชพื้นบาน กินอยูแบบไทยๆ วิถีไทย เขาถึงคุณคามากกวายึดติดรูปแบบ

3) มีชีวิตเรียบงาย พออยู พอกิน พอใช ไมหนาใหญ ไหลตามกระแส รูกาละและเทศะ มีความสุขตามอัตภาพ ขนาด

ปริมาณท่ีพอด ีไมมากเกินไป ไมใหญเกนิไป ไมติดแบรนด คิดแตสรางภาพ ไมไหลตามกระแส ตามโฆษณา บาบริโภค

2.3.2 มีเหตุผล

1) มีหลักวิชา กินอยูอยางมีขอมูลอยางมีคุณภาพ ตัดสินใจดวยขอมูล ความรู “รูเขา รูเรา” รูเทาทัน

การเปล่ียนแปลง ไมทําตามๆ กัน รูตัวเอง รูทองถ่ิน รูศักยภาพ รู “ทุนชุมชน” รูปญหา รูโลกาภิ-วัตน แสวงหาความรู ศึกษาในระดับสูงข้ึนตามศักยภาพของตนเอง

Page 5: Phil0351sm ch2

18

2) มีแผน มีแผนชีวิต ครอบครัว แผนชุมชน แผนยุทธศาสตร แผนงานองคกร แผน

งบประมาณครอบครัว รายรับ รายจาย หนี้สิน แผนการลงทุน แผนเศรษฐกิจพอเพียง 3) เปนมืออาชพี

คุณภาพ ม่ันคง ยั่งยืน (quality, consistency, sustainability) “อิทธิบาทส่ี” (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) ใจรัก รูจริง รูรอบ รูลึก ทําดีมีคุณภาพ ดวยความสม่ําเสมอ 2.3.3 มีภูมิคุมกันท่ีดี

1) ระบบชีวิตท่ีดี ครอบครัวอบอุน มีความม่ันคงในชีวิต ลูกไดรับการเล้ียงดูท่ีดี ลูกมีการศึกษาท่ีดี

2) ระบบเศรษฐกิจ สังคมชุมชนทองถ่ินท่ีดี ชุมชนเขมแข็ง มีระบบเศรษฐกิจชุมชน สวัสดิการชุมชน เครือขายชุมชน เครือขาย

เศรษฐกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชน เกษตรผสมผสาน สหกรณ SMEs เนนการผลิตเพื่อบริโภคในทองถ่ิน กอนพึ่งตลาดภายนอกหรือสงออก

3) ระบบการจัดการองคกรท่ีดี องคกร หนวยงานรัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ มีธรรมาภิบาลบรรษัทระบบการจัดการท่ีดี

มีผูนําและผูตามท่ีดี ผูนําสรางแรงบันดาลใจ ทําใหทุกคนใจดี ใจกวาง ใจสู ใจถึง (เขาใจ - เขาถึง)

Page 6: Phil0351sm ch2

19

2.4 ลักษณะเฉพาะของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนํามาประยุกตใชกับการปฏิบัติตนไดในทุกระดับ โดยเนนการ

ปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอยางเปนข้ันตอน มิไดมุงเนนเฉพาะแตเพียงภาคการเกษตรเทานั้น แตยังครอบคลุมถึงการดําเนนิชีวิต การประกอบกิจการของภาคธุรกิจ การคาระหวางประเทศหรือแมแตการดําเนนิการของภาครัฐ เพื่อท่ีจะสรางความม่ันคงทางเศรษฐกิจใหแกประเทศชาติ ภายใตลักษณะท่ีสําคัญ ดังนี้

2.4.1 ใชทางสายกลาง

โดยการเนนการดําเนินชีวิตหรือการดําเนินงานในลักษณะไมเรงรัดหรือเช่ืองชาจนเกินไป มีความพอดี โดยถาเปนเศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคลจะคํานึงถึงความสามารถในการดํารงชีวิตไดอยางไมเดือดรอน กําหนดความเปนอยูอยางประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ ไมหลงใหลกระแสวัตถุนิยม มีอิสรภาพเสรีภาพท่ีจะไมพันธนาการอยูกับส่ิงใด เปนการสรางพื้นฐานความม่ันคงในการดํารงชีวิตทําใหสามารถพึ่งพาตนเองได และถาเปนเศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศจะคํานึงถึงความสามารถของชุมชนเมือง ภูมิภาค ประเทศ ในการผลิตสินคาและบริการทุกชนิดเพื่อเล้ียงสังคมน้ันๆ โดยพยายามหลีกเล่ียงท่ีจะตองพึ่งพาปจจัยตางๆ ท่ีเราไมไดเปนเจาของ (ทองทิพภา วิริยะพันธุ, 2550, น12)

2.4.2 ใหความสําคัญกับการพอประมาณ

โดยยดึหลักความมีเหตุผล ดังนั้นการตัดสินใจในเร่ืองตางๆ ควรใชเหตุผลและต้ังอยูบนพื้นฐานของความไมประมาท ใชสติปญญาในการพิจารณาเร่ืองราวตางๆ ไมหลงไปกับกระแสวตัถุนิยม ซ่ึงจะนําไปสูการใชจายเกนิตัวหรือการใชเงินอยางไมคุมคาและขาดประสิทธิภาพ(ทองทิพภา วิริยะพันธุ)

2.4.3 ใหความสําคัญกับการเสริมสรางพื้นฐานจิตใจของคนในชาต ิ

ใหมีความพอเพียงท้ังในดานวัตถุ และดานจิตใจ เปนการสรางจิตสํานึกเกีย่วกับจริยธรรม คุณธรรมและความซ่ือสัตยสุจริตของคนในประเทศใหรูจักคําวา “พอ” เพื่อขจัดความโลภใหนอยลง จะไดมีความสงบสุขท้ังทางกายและทางใจ ไมเบียดเบียนผูอ่ืน ไมกอความวุนวายใหแกสังคมสวนรวม (ทองทิพภา วิริยะพนัธุ) จากคุณลักษณะดังกลาว จะเหน็วา เศรษฐกิจพอเพยีงมีวัตถุประสงคตองการใหมนุษยรูจักการพึ่งพาตนเองใหมากที่สุด รูจักความพอเพียง รูจกัการชวยเหลือซ่ึงกันและกันในดานตางๆ ดังนี ้

1) ดานจิตใจ ยึดหลัก “ตนเปนท่ีพึ่งแหงตน” โดยมีจติสํานึกท่ีดีตอตนเองและประเทศชาติ มี

เมตตา เอ้ืออาทร ประนีประนอม เห็นประโยชนสวนรวมเปนท่ีต้ัง รูรักสามัคคี

Page 7: Phil0351sm ch2

20

2) ดานสังคม โดยใหแตละกลุมชุมชน ชวยเหลือเกื้อกูลกัน มีการเช่ือมโยงใหเปนเครือขายชุมชน

ท่ีเขมแข็ง เพือ่ใหมีการกระจายรายไดท่ีดข้ึีน มีการแกปญหาตางๆ ท่ีเกิดข้ึนในทุกๆดาน อันจะทําใหเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเติบโตอยางมีเสถียรภาพและมีความม่ันคง

3) ดานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม คํานึงถึงการใชและการจดัการทรัพยากรอยางชาญฉลาด พรอมท้ังหาทางเพิ่มมูลคา

โดยยดึหลักการของความยั่งยืน 4) ดานเทคโนโลยี

ควรมีการผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหมกับภูมิปญญาทองถ่ิน เพื่อจะไดนํามาใชเปนเทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดยอมท่ีสอดคลองกับความตองการของประชาชน และสภาพแวดลอมของประเทศ

5) ดานเศรษฐกิจ ควรใหความสําคัญแกการประหยัด ตัดทอนคาใชจายท่ีไมจําเปนทุกดาน ลดการ

ฟุมเฟอยฟุงเฟอ โดยยึดหลักพออยู พอกิน พอใช เพื่อหลีกเล่ียงการกอหนี้ท่ีไมมีผลตอบแทนท่ีคุมคา และพยายามลดความเส่ียงในดานตางๆ

2.5 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยีงตองประกอบไปดวย 3 คุณลักษณะพรอมๆกัน คือ ความ

พอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุมกันท่ีดใีนตัว ดังรายละเอียด ตอไปนี้

2.5.1 ความพอประมาณ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีท่ีไมนอยเกนิไปและไมมากเกินไป โดยไมเบียดเบียน

ตนเองและผูอ่ืน เชน การผลิตและการบริโภคท่ีอยูในระดับพอประมาณ (คณะอนกุรรมการขับเคล่ือนเศรษฐกิจพอเพียง, 2549, น.13) คือการปฏิบัติในทางสายกลาง ก็คือมีความ พอดีพอเหมาะ ไมตึงเกินไปและไมหยอนเกินไป ไมเร็วเกนิไปและไมชาเกนิไป ความพอดีพอเหมาะยอมข้ึนอยูกับเง่ือนไของคประกอบตางๆ ท่ีแปรเปล่ียนอยูตลอดเวลาเปนพลวัต (dynamic) ไมใชส่ิงท่ีหยุดนิ่งตายตัว (static) เพราะเม่ือองคประกอบตางๆ เปล่ียนแปลงไป ส่ิงท่ีเปนความพอเหมาะพอดภีายใตเง่ือนไขของเวลาและสถานท่ีหนึ่งๆ ก็อาจกลายเปนส่ิงท่ีไมพอดีพอเหมาะ ภายใตเง่ือนไขขององคประกอบในอีกเวลาและ

Page 8: Phil0351sm ch2

21

สถานท่ีหนึ่งกไ็ด (สุนัย เศรษฐบุญสราง, 2550, น.12) คําแปลในภาษาอังกฤษของความพอประมาณน้ี จะตรงกับคําวา Moderation (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.39) การพัฒนาให “ดําเนินไปในทางสายกลาง” สามารถใชกับการปฏิบัติในทุกระดับ ต้ังแตปจเจกบุคคลไปจนถึงระดับประเทศชาติ โดยมีนัยยะท่ีสะทอนถึงมิติของการยกระดับไปสูความเจริญงอกงามยิ่งๆ ข้ึนไปภายใตพลวัตทางวัฒนธรรมท่ีเล่ือนไหลเปลี่ยนแปลงอยางเปนข้ันเปนตอนแฝงอยู ไมใชหมายถึงการหยุดนิ่งลาหลังในขณะท่ีโลกกาํลังพัฒนาเปล่ียนแปลงอยูตลอดเวลา

2.5.2 ความมีเหตุผล ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะตองเปนไป

อยางมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปจจัยท่ีเกี่ยวของตลอดจนคํานึงถึงผลท่ีคาดวาจะเกดิข้ึนจากการกระทํานั้นๆ อยางรอบคอบ (คณะอนุกรรมการขับเคล่ือนเศรษฐกิจพอเพียง, 2549, น.13) การจะสามารถเขาถึงความพอเพียงไดนั้น ตองอาศัย “การประมาณอยางมีเหตุมีผล” และอยางเปนวิทยาศาสตร เพื่อใหเกดิความพอดีพอเหมาะในการประพฤติปฏิบัติตางๆ โดยถาหากสามารถสราง “เหตุ” ไดอยางเหมาะสมถูกตอง “ผล” แหงความเจริญงอกงามก็จะเกดิตามมาในสัดสวนท่ีสัมพันธพอดีกับ “เหตุ” นั้นๆ เสมอ (สุนัย เศรษฐบุญสราง, 2550, น.14) จะตรงกับคําแปลในภาษาอังกฤษวา Cause and Effeect (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.14) ซ่ึงเปนการพิจารณาเลือกเสนทางของการดําเนนิงานโดยคํานึงถึงเหตุและปจจัยท้ังหมดสงผลเปนการกระทําท่ีถูกตองดีงาม ตามหลักของเหตุและผล มากกวาคําวา Reasonableness ซ่ึงหมายถึงการมีเหตุผลท่ีเหมาะสมตอการกระทําใดๆ

2.5.3 การมีภูมิคุมกันท่ีดีในตัว การมีภูมิคุมกนัท่ีดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวใหพรอมรับผลกระทบและการเปล่ียนแปลง

ดานตางๆ ท่ีจะเกดิข้ึนโดยคํานึงถึงความเปนไปไดของสถานการณตางๆ ท่ีคาดวาจะเกดิข้ึนในอนาคตท้ังใกลและไกล คําแปลในภาษาอังกฤษของการมีภูมิคุมกันท่ีดใีนตัวนี ้ จะตรงกับคําวา Self-Immunity (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.14)

Page 9: Phil0351sm ch2

22

2.6 เงื่อนไขของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากคุณลักษณะท้ังสามขางตน การวางแผนและการดําเนินงานในทุกข้ันตอน หรือการ

ตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมตางๆ ใหอยูในระดับพอเพียงนั้น ตองอาศัยท้ังความรู และคุณธรรมเปนพื้นฐาน ดังตอไปนี้

2.6.1 ความรู เง่ือนไขความรู ประกอบดวยความรอบรูเกี่ยวกับวิชาการตาง ท่ีเกี่ยวของอยางรอบดาน มี

ความรอบคอบในการนําความรูเหลานั้นมาพิจารณาใหเช่ือมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ (คณะอนกุรรมการขับเคล่ือนเศรษฐกิจพอเพยีง, 2549, น.14) รอบรูในขอเท็จจริงเกี่ยวกับสภาวะแวดลอมและสถานการณท่ีเกี่ยวของท้ังหมด มีสติหรือความระลึกรู ซ่ึงเปนเคร่ืองพิจารณากล่ันกรองกอนท่ีจะทํา จะพูด หรือแมแตจะคิดในเร่ืองตางๆ วากอใหเกิดประโยชนหรือผลเสียหาย ควรกระทําหรือควรงดเวน และมีปญญาหรือความรูชัด ท่ีเกิดข้ึนจากความฉลาดสามารถคิดพิจารณาอยางถูกตองแยบคายดวยเหตุผล (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.42) ทําใหเห็นและเขาใจทุกส่ิงทุกอยางไดอยางกระจางชัด เปนความรูแจงในงานและวิธีท่ีจะปฏิบัติงานอยางถูกตองเท่ียงตรง

2.6.2 คุณธรรม

เง่ือนไขคุณธรรม ท่ีจะตองเสริมสรางประกอบดวย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความช่ือสัตยสุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใชสติปญญาในการดําเนินชีวิต ไมโลภ และไมตระหนี่ (คณะอนุกรรมการขับเคล่ือนเศรษฐกิจพอเพียง, 2549, น.14) ความซ่ือสัตยสุจริต สําหรับรองรับสนับสนุนวิชาความรู เพื่อนําพาไปสูเปาหมายไดอยางถูกตองเท่ียงตรง ความอดทน มีความเพียร ประกอบการงานดวยความต้ังใจ ไมละเลย ไมทอดท้ิง เปนความเพียรท่ีมีลักษณะกลาแขง ไมขาดสาย มีความหนักแนน อดทน ไมทอถอย ทําใหการดําเนินงานรุดหนาเร่ือยไป และความรอบคอบระมัดระวัง ท่ีจะพิจารณาเร่ืองตางๆ ใหกระจางแจงในทุกแงทุกมุม กอนท่ีจะจัดการใหถูกจุด ถูกข้ันตอน ถูกเหตุผล และสามารถนําความรูตางๆ มาพิจารณาใหเช่ือมโยงกัน เพื่อนําไปสูผลลัพธสามประการดวยกัน คือ ความสมดุล การพรอมรับตอการเปล่ียนแปลง และความยั่งยืน (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.42) ดูแผนภาพท่ี 1 คุณลักษณะ เง่ือนไข และผลลัพธของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในหนาตอไป

Page 10: Phil0351sm ch2

23

แผนภาพท่ี 1 คุณลักษณะ เงื่อนไข และผลลัพธของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ความพอประมาณ

ความสมดุล การพรอมรับตอการเปลี่ยนแปลง

ความย่ังยืน

เงื่อนไขความรู

เงื่อนไขคณุธรรม

มีเหตุผล การมีภูมิคุมกันในตัวท่ีดี

Page 11: Phil0351sm ch2

24

เม่ือนํารายละเอียดในองคประกอบความรูคูคุณธรรม มาแสดงในเชิงความสัมพันธระหวางคุณลักษณะ เง่ือนไข มิติดานตางๆ และผลลัพธในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะไดเปนผังความสัมพันธของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังตารางท่ี 2.2 ผังความสัมพันธของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลลัพธ มิต ิ คุณลักษณะ เงื่อนไข

แผนภาพท่ี 2 ผังความสัมพนัธของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ความรู : รอบรู (รูลึก รูกวาง) มีสติ (ระลึกรู) มีปญญา (รูชดั รูจริง)

สมดุล พรอมตอการเปล่ียนแปลง

ยั่งยนื

เศรษฐกิจ สังคม ส่ิงแวดลอม วัฒนธรรม

พอประมาณ มีภูมิคุมกันในตัวท่ีด ี มีเหตุผล

คุณธรรม : ซ่ือสัตยสุจริต อดทน มีความเพียร รอบคอบ ระมัดระวัง เมตตากรุณา

Page 12: Phil0351sm ch2

25

การดํา เนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ท่ีประกอบดวยคุณลักษณะตามท่ีปรากฏในผังความสัมพันธของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะสงผลใหเกิดผลลัพธท่ีสัมพันธกัน เชน ความพอประมาณจะนําไปสูความสมดุล การมีภูมิคุมกันในตัวท่ีดีจะนําไปสูการพรอมรับตอการเปล่ียนแปลง และความมีเหตุผลจะนําไปสูความยั่งยืน ท้ังดานเศรษฐกิจ สังคม ส่ิงแวดลอม และวัฒนธรรม

ขณะท่ีความสัมพันธระหวางเง่ือนไขและคุณลักษณะ ก็ปรากฏวามีความเช่ือมโยงระหวางกนัอยางใกลชิด เชน ความรอบรูท่ีมีความซ่ือสัตยสุจริตกํากับจะเปนเง่ือนไขท่ีกอใหเกิดความพอประมาณ ไมโลภ ไมเอารัดเอาเปรียบ การมีสติไมหวั่นไหวไปตามอารมณดวยความอุตสาหะพากเพียรจะเปนเง่ือนไขท่ีกอใหเกิดการมีภูมิคุมกันในตัวท่ีดี หรือการใชปญญาดวยความรอบคอบระมัดระวัง ปราศจากอคติ จะเปนเง่ือนไขท่ีกอใหเกิดความมีเหตุผล

ผังความสัมพันธของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เปนเคร่ืองยืนยันไดอยางดีวา การนําความรูซ่ึงเปรียบเหมือนเคร่ืองยนต มาใชในการวางแผนและดําเนินการทุกข้ันตอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จําเปนอยางยิ่งท่ีจะตองมีคุณธรรม ซ่ึงเปรียบเหมือนพวงมาลัย เปนเคร่ืองกล่ันกรองหรือคอยกํากับทิศทางตลอดเวลา (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.62)

การอธิบายถึงคุณลักษณะและเง่ือนไขของเศรษฐกิจพอเพียงท้ังหมดขางตน โดยการแยกเปนแตละคุณลักษณะ แตละเง่ือนไข ก็เพื่อแสดงใหเห็นความลึกซ้ึงของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เปนการศึกษาวิเคราะหแบบแยกสวนเพ่ือทําความเขาใจทางวิชาการ แตการนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัตินั้น ตองคํานึงถึงความเกี่ยวของของแตละเง่ือนไขในแบบองครวมท่ีสัมพันธกัน เช่ือมโยงซ่ึงกันและกัน ท้ังคุณลักษณะดานความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุมกันท่ีดี ควบคูไปกับเง่ือนไขดานความรู และคุณธรรม มิอาจแยกสวนในทางปฏิบัติได

Page 13: Phil0351sm ch2

26

2.7 ระดับของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนถึงวันนี้ คนบางกลุมยังเขาใจวา เศรษฐกิจพอเพียงคือเร่ืองของการ "พึ่งตนเอง" ซ่ึงตรงกับ

ภาษาอังกฤษวา Self-sufficiency แตคําวา พอเพียง ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกวางกวา เศรษฐกิจพอเพียงในระดับท่ีเล้ียงตัวเองไดบนพื้นฐานของความประหยัด และการลดคาใชจายท่ีไมจําเปน เรียกวา เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน

สวนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับท่ีมีการรวมตัวกัน เพื่อรวมกันดําเนินงานในเร่ืองตางๆ มีการสรางเครือขายและการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยประสานความรวมมือกับภายนอก เรียกวา เศรษฐกิจพอเพียงแบบกาวหนา (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2551)

ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงจึงมิใชแคเพียงเร่ืองการพึ่งตนเองโดยไมเกี่ยวของกับใคร และมิใชแคเร่ืองของการประหยัด แตยังครอบคลุมถึงการของเกี่ยวกับผูอ่ืน การชวยเหลือเกื้อกูลซ่ึงกันและกัน แทจริงแลว เศรษฐกิจพอเพียงสามารถจําแนกไดเปน 3 ระดับ ดังนี้

2.7.1 ระดับของเศรษฐกิจพอเพียง 1) เศรษฐกิจพอเพียงระดับท่ีหนึ่ง

เปนเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เนนความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว คือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีความเปนอยูในลักษณะท่ีสามารถพึ่งพาตนเองได สามารถสนองความตองการข้ันพื้นฐาน เชน ความตองการในปจจัยส่ีของตนเองและครอบครัวได มีการชวยเหลือเกื้อกูลซ่ึงกันและกัน มีความสามัคคีกลมเกลียว และมีความพอเพียงในการดําเนินชีวิตดวยการประหยัดและการลดคาใชจายท่ีไมจําเปน จนสามารถดํารงชีวิตอยูไดอยางมีความสุขท้ังทางกายและใจ

2) เศรษฐกิจพอเพียงระดับท่ีสอง เปนเศรษฐกิจพอเพียงแบบกาวหนา เนนความพอเพียงในระดับกลุมหรือองคกร คือ

เม่ือบุคคล /ครอบครัว มีความพอเพียงในระดับท่ีหนึ่งแลว ก็จะรวมพลังกันในรูปกลุมหรือสหกรณ เพื่อรวมกันดําเนินงานในดานตางๆ ท้ังดานการผลิต การตลาด ความเปนอยู สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา โดยไดรับความรวมมือจากหนวยงานที่เกี่ยวของ ท้ังหนวยราชการ มูลนิธิ และเอกชน

3) เศรษฐกิจพอเพียงระดับท่ีสาม เปนเศรษฐกิจพอเพียงแบบกาวหนา เนนความพอเพียงในระดับเครือขาย กลาวคือ

เม่ือกลุมหรือองคกร มีความพอเพียงในระดับท่ีสองแลว ก็จะรวมมือกับหนวยงานภายนอกเพื่อการสรางเครือขาย มีการติดตอรวมมือกับธนาคารและบริษัทตางๆ ท้ังในดานการลงทุน การผลิต

Page 14: Phil0351sm ch2

27

การตลาด การจําหนาย และการบริหารจัดการ เพื่อการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจท่ีหลากหลาย ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตท้ังในดานสวัสดิการ การศึกษา สังคม และศาสนา ใหสมประโยชนดวยกันทุกฝาย

2.7.2 ระดับของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ

ในทางธุรกิจ ระดับของเศรษฐกิจพอเพียง แบงไดเปน 3 ระดับ เชนกัน 1) ความพอเพียงในระดับกิจการหรือบริษัท

ท่ีเนนถึงการดํารงอยูของกิจการหรือความอยูรอดในธุรกิจ สามารถพัฒนาองคกรใหมีความเขมแข็ง เปนอิสระ (Independent) ดําเนินกิจการโดยอาศัยทรัพยากรท่ีมีอยูภายในองคกรเองได มีรายรับท่ีเพียงพอตอการดําเนินกิจการ ปราศจากภาระหนี้สิน หรือมีความสามารถในการชําระหนี้ในระยะเวลาท่ีกําหนดหรือเม่ือเจาหนี้ทวงถามโดยชอบ เม่ือพิจารณาเทียบกับทุนหรือรายรับของกิจการ มีการกํากับดูแลกิจการ (Corporate Governance) โดยยึดหลักของความถูกตอง มีคุณธรรม และโปรงใส จัดเปนเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน

2) ความพอเพียงในระดับกลุมธุรกิจ จัดเปนเศรษฐกิจพอเพียงแบบกาวหนา เนนถึงการรวมกลุมในรูปแบบตางๆ เชน

กิจการรวมคา (Joint Venture) สหพันธธุรกิจ (Consortium) เพื่อตองการบรรลุเปาหมายทางธุรกิจรวมกัน ดวยการแบงปนหรือใชทรัพยากรในกิจการรวมกัน หรือการรวมกลุมในแนวดิ่งตามสายอุปทาน (Supply Chain) เพื่อการสรางประสิทธิภาพและการลดตนทุนคาใชจายจากการควบรวมหนวยธุรกิจในสายอุปทานนั้นๆ ตลอดจนการรวมกลุมในลักษณะสมาคมการคา (Association) เพื่อการรับรูและแลกเปล่ียนขอมูลขาวสารในธุรกิจท่ีดําเนินอยู

การรวมกลุมในระดับท่ีสอง จะตองเปนไปเพื่อสรางประโยชนใหแกกลุมและสวนรวมบนพื้นฐานของการไมเบียดเบียนกัน การแบงปนชวยเหลือซ่ึงกันและกันตามกําลังและความสามารถของตน จึงจะสามารถทําใหกลุมในรูปแบบตางๆ ดังท่ีกลาวมา เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอยางแทจริง

3) ความพอเพียงในระดับเครือขาย

จัดเปนเศรษฐกิจพอเพียงแบบกาวหนา เนนการรวมกลุมในแนวราบในลักษณะของเครือขายวิสาหกิจ (Cluster) เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแขงขัน มีการติดตอประสานความรวมมือระหวางกลุมธุรกิจตางๆ กับหนวยอ่ืนๆ ในสังคม กอใหเกิดการพัฒนาดวยรูปแบบของการพึ่งพิงอิงกัน (Inter-dependent) สงเคราะหเกื้อกูล มีจริยธรรม มีความสํานึกรับผิดชอบตอ

Page 15: Phil0351sm ch2

28

สังคม (Corporate Social Responsibility) รวมกัน (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2551) ทําใหทุกฝายท่ีเกี่ยวของในเครือขายไดรับประโยชนกันโดยถวนหนา

2.8 เศรษฐกิจพอเพียงกับกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร

ในหัวขอนี้จะเปนการอธิบายและเปรียบเทียบระหวางแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและกิจกรรมทางเศรษฐศาสตรกระแสหลักในปจจุบัน ท้ังนี้ เพื่อใหเห็นภาพไดอยางกระจางชัด ถึงความแตกตางระหวางสองแนวทางดังกลาว ซ่ึงในท่ีนี้จะขออธิบายโดยรวมถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและกิจกรรมทางเศรษฐศาสตรกระแสหลัก ดังตอไปนี้

2.8.1 เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิต

การผลิต เปนกระบวนการหนึ่งในบรรดากิจกรรม เพื่อการดํารงชีพของมนุษยท่ีจะตองดําเนินไปใหสอดคลองธรรมชาติ มนุษยจะตองทํางาน จะตองมีอาชีพ และจะตองมีหนาท่ีท่ีตองปฏิบัติ เพื่อใหชีวิตดํารงอยูสอดคลองกับกฎเกณฑของธรรมชาติ เพื่อจะไดไมตองอยูอยางฝนธรรมชาติและเกิดเปนความทุกข การพิจารณาเร่ืองการผลิตนี้ มิใชเปนเพียงการเขาใจธรรมชาติของมนุษย แตเปนการพิจารณาธรรมชาติท้ังปวงท่ีเกี่ยวของกับการดํารงชีวิตของมนุษย

ในทางเศรษฐศาสตร การผลิต หมายถึง การสรางสรรคส่ิงหนึ่งส่ิงใดออกมาหรือทําใหเกิดส่ิงใหมข้ึน ซ่ึงเปนคํานิยามท่ีไมถูกตองตามความเปนจริงแหงธรรมชาติ แทท่ีจริงแลว การผลิต หมายถึง การแปรสภาพส่ิงหนึ่งใหเปนอีกส่ิงหนึ่ง จากวัตถุอยางหนึ่งไปเปนวัตถุอีกอยางหนึ่ง จากแรงงานอยางหนึ่งไปเปนอีกอยางหนึ่ง ส่ิงท่ีถูกแปรสภาพคือ ปจจัยการผลิต เม่ือผานกระบวนการแปรสภาพแลวเรียกวา ผลผลิต ซ่ึงเปนไดท้ัง สินคาและบริการ การแปรสภาพนี้เปนการทําใหเกิดสภาพใหม โดยทําลายสภาพเกา ดังนั้น ในกระบวนการผลิตมักจะมีการทําลายอยูดวยเสมอ ผูท่ีเปนเจาของกระบวนการผลิต จึงตองคํานึงถึงประสิทธิภาพการผลิต ซ่ึงเกี่ยวของกับการบริหารจัดการ ทรัพยากรที่ใชในการผลิต และผลผลิตท่ีไดจากกระบวนการผลิต

การผลิตเกิดจากความสัมพันธขององคประกอบ 3 สวน (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.67)

คือ ปจจัยนําเขา (Input) กระบวนการผลิต (Production Process) และปจจัยสงออก (Output) ดังท่ีไดแสดงความสัมพันธ ดังกลาว ดวยตารางท่ี 2.3 ความสัมพันธในกระบวนการผลิต

Page 16: Phil0351sm ch2

29

แผนภาพท่ี 3 ความสัมพันธในกระบวนการผลิต

ปจจัยนําเขาในกระบวนการผลิตนี้ จะเรียกอีกอยางหน่ึงวา ทรัพยากร ยกตัวอยางเชน ท่ีดิน แรงงาน ทุน หรือวัตถุดิบ โดยท่ีทรัพยากรเหลานี้อาจผานกระบวนการผลิตอ่ืนๆ มาแลว กอนท่ีจะมาเปนทรัพยากรที่ยังไมไดเขาสูกระบวนการผลิตท่ีเราสนใจ หรืออาจจะเปนทรัพยากรที่ยังไมเคยผานกระบวนการผลิตใดๆ มากอน และเพื่อใหเห็นภาพองคประกอบตางๆ ของทรัพยากรชัดเจนยิ่งข้ึน จะขอแบงทรัพยากรออกเปน 3 องคประกอบหลัก ไดแก ทรัพยากรมนุษย (Human Resource) ในฐานะท่ีเปนแรงงานโดยตรงในระบบเศรษฐกิจ ทรัพยากรที่มนุษยสรางข้ึน (Man-made Resource) ซ่ึงประกอบดวย ทุน เทคโนโลยี ทรัพยสินทางปญญาตางๆ และทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource) อันไดแก พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติอ่ืนๆ เชน ท่ีดิน เปนตน

ในขณะท่ีปจจัยสงออกท่ีไดจากการบวนการผลิต จะประกอบไปดวย ผลผลิต ท่ีสามารถนําไปใชในกระบวนการบริโภค หรือสงตอไปยังกระบวนการผลิตอ่ืนๆ และของเสีย ท่ีไมสามารถนําไปใชประโยชนได ถูกท้ิงใหมีการเปล่ียนแปลงเองตามธรรมชาติ และอาจเปนอันตรายตอมนุษยและระบบนิเวศในภายหลัง

แผนภาพท่ี 4 องคประกอบของปจจัยนําเขาและปจจัยสงออกในกระบวนการผลิต

กระบวนการผลิต ปจจัยนําเขา ปจจัยสงออก

กระบวนการผลิต

ทรัพยากรมนุษย

ทรัพยากรท่ีมนุษยสรางขึ้น

ทรัพยากรธรรมชาติ

ผลผลิต

ของเสีย

Page 17: Phil0351sm ch2

30

ปญหาของการไม เ น นป จ จั ย อย า ง อ่ืน เ ข า ไปในการผ ลิต โดย เฉพาะอย า ง ยิ่ งทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน กอใหเกิดผลเสียมากมาย กลาวคือ เม่ือตองการผลิตก็สามารถซ้ือหาปจจัยเหลานี้มาใชในกระบวนการผลิตไดทุกเวลา โดยมิไดคํานึงถึงวาทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานเหลานี้ มีอยูอยางจํากัด กอใหเกิดการใชทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานเกินขีดความสามารถที่จะนําปจจัยเหลานั้นมาหมุนเวียนใชใหมได พรอมๆ กับสรางมลภาวะและความเส่ือมโทรมของระบบนิเวศซ่ึงเปนตนเหตุแหงปญหาของโลกปจจุบัน เชน ปญหาขยะ

ปญหาในเร่ืองปจจัยการผลิตท่ีเกี่ยวของกับทรัพยากรมนุษยอีกขอหนึ่ง คือการละเลยความสําคัญของทรัพยากรมนุษย ท่ีประกอบดวย แรงงานและแรงสมอง ในองครวม ผลของการละเลยความสําคัญของทรัพยากรมนุษยในองครวม ทําใหสามารถทดแทนทรัพยากรแรงงานดวยเคร่ืองจักร และทดแทนทรัพยากรแรงสมองดวยเอกสารสิทธ์ิทางปญญาท่ีซ้ือหาไดดวยเงิน ผนวกกับการใชทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานอยางไมจํากัดเสมือนกับเปนทรัพยากรที่มนุษยสรางข้ึนไดเองและซ้ือหาไดเม่ือตองการ จึงเปนบอเกิดของเศรษฐกิจท่ีเนนวัตถุเปนหลัก หรือเศรษฐกิจท่ีอยูบนพื้นฐานของวัตถุนิยม (Materialism) และกลายเปนวา ในสังคมปจจุบันนี้เงินมีความสําคัญกวาทรัพยากรอื่นใด ท้ังปวง

จากท่ีไดกลาวแลววา การผลิตนั้นเปนการแปรรูปทรัพยากรที่มีการทําลายพรอมกันไปในตัว ในกิจกรรมการผลิตจึงตองคํานึงถึงประสิทธิภาพการผลิต ซ่ึงเกี่ยวของกับการบริหารจัดการทรัพยากรท่ีใชในการผลิต และผลผลิตท่ีไดจากกระบวนการผลิต

คําวา "ประสิทธิภาพ" (Efficiency) เปนการวัดในเชิงปริมาณโดยเทียบระหวางผลผลิตและทรัพยากรที่ใชในการผลิต ในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก ประสิทธิภาพการผลิต เนนท่ีการผลิตเพื่อใหไดผลผลิตสูงท่ีสุดเม่ือเทียบกับทรัพยากรที่ใชในการผลิต โดยมิไดคํานึงถึงวาใชทรัพยากรนอยท่ีสุดหรือไม และของเสียท่ีเกิดข้ึนนอยท่ีสุดหรือไม เพราะมีขอสมมติฐานวา ถาผลผลิตตอทรัพยากรสูงสุด ก็มีความหมายอยูในตัวแลววาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมิไดกังวลถึงของเสียท่ีจะตามมา ผลก็คือ อาจจะมิไดใชทรัพยากรนอยท่ีสุดเทาท่ีจําเปนจริงๆ กลาวไดอีกนัยหนึ่งวา ประสิทธิภาพการผลิตในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก คือการบริหารจัดการกระบวนการผลิตโดยเนนท่ีตัวต้ังของสมการประสิทธิภาพ อันไดแก ผลผลิต นั่นเอง

ขณะท่ีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีขอพิจารณาวา ประสิทธิภาพการผลิตควรเกิดจากความสามารถในการสรางผลผลิตเม่ือเทียบกับทรัพยากรที่ใชในการผลิต โดยคํานึงถึงการใชปจจัยการผลิตท่ีนอยท่ีสุด (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2551) ท้ังนี้ เพื่อใหเกิดการเบียดเบียนกันใหนอยท่ีสุด

การจัดการประสิทธิภาพการผลิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในเร่ืองทรัพยากรที่ใชในการผลิตนี้ สามารถนํามาใชเปนขอพึงปฏิบัติในการดูแลรักษาส่ิงแวดลอมไดดี เนื่องจากในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก การใชทรัพยากรธรรมชาติโดยมิไดคํานึงวาทรัพยากรและพลังงานเหลานี้มีอยูอยางจํากัด

Page 18: Phil0351sm ch2

31

กอใหเกิดการใชทรัพยากรและพลังงานเกินขีดความสามารถท่ีจะนําทรัพยากรเหลานั้นมาหมุนเวียนใชใหมได ดังตารางท่ี 2.5 ประสิทธิภาพการผลิต

เศรษฐศาสตรกระแสหลัก

เศรษฐกิจพอเพียง

แผนภาพท่ี 5 ประสิทธิภาพการผลิต

นอกจากการวัดในเชิงปริมาณท่ีไดเปนประสิทธิภาพการผลิตแลว เศรษฐกิจพอเพียงยังมีการวัดในเชิงคุณภาพในลักษณะท่ีอาจจะเรียกไดเปน "ประสิทธิผล" (Effectiveness) การผลิตอีกกรณีหนึ่ง โดยเทียบระหวางผลผลิตและของเสียจากกระบวนการผลิต ประสิทธิผลเปนการวัดท่ีแสดงถึงคุณภาพการผลิตวา ผลผลิตท่ีไดจากกระบวนการผลิตนั้น ไดผลตรงกับท่ีตองการเพียงใด

กระบวนการผลิต ทรัพยากร ผลผลิต

ประสิทธิภาพการผลิต

กระบวนการผลิต ผลผลิต

ของเสีย ทรัพยากร

ของเสีย

ประสิทธิภาพการผลิต

Page 19: Phil0351sm ch2

32

ในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก ประสิทธิผลการผลิต เนนท่ีการผลิตเพื่อใหไดผลผลิตท่ีตรงกับท่ีตองการใหมากท่ีสุด โดยละเลยการใหความสําคัญอยางจริงจังวา จะมีของเสียเกิดข้ึนนอยท่ีสุดหรือไม (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.72) กลาวไดอีกนัยหนึ่งวา ประสิทธิผลการผลิตในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก คือการบริหารจัดการกระบวนการผลิตโดยเนนท่ีตัวต้ังของสมการประสิทธิผล อันไดแก ผลผลิต เชนเดียวกับประสิทธิภาพการผลิต

ขณะท่ีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีขอพิจารณาวา คําวา "ผลผลิต" หมายถึงเฉพาะผลผลิตท่ีใชการได คือ ผลิตออกมาแลวสามารถนําไปบริโภคไดหรือจําหนายได สวนผลผลิตท่ีออกมาจากกระบวนการผลิต แมจะไมใชของเสียจากการผลิต แตเม่ือไมสามารถใชงานไดหรือจําหนายได ถูกท้ิงใหเกิดการเปล่ียนแปลงไปเองตามธรรมชาติโดยไมมีประโยชนใดๆ ก็ถือวาเปนของเสียจากการผลิตเชนกัน

ท้ังนี้ การผลิตคือการแปรสภาพใหเปล่ียนไปจากเดิม ปจจัยเหลานั้นถูกเปล่ียนไปแลว ไมถูกนํามาใชประโยชน ก็เทากับวา ปจจัยเหลานั้นถูกทําลายใหกลายเปนของเสีย ประสิทธิผลการผลิตจึงเกิดจากความสามารถในการสรางผลผลิตท่ีใชการไดเม่ือเทียบกับของเสียจากการผลิต โดยเนนใหเกิดของเสียจากกระบวนการผลิตใหนอยที่สุด ท้ังนี้เพื่อใหเกิดการเบียดเบียนกันนอยท่ีสุด และหากในกระบวนการผลิตมีของเสียเกิดข้ึนนอยท่ีสุดแลว ก็มีความหมายในตัววาอัตราสวนของผลผลิตตอของเสียสูงสุดดวย กลาวไดอีกนัยหนึ่งวา ประสิทธิผลของการผลิตในเศรษฐกิจพอเพียง คือการบริหารจัดการกระบวนการผลิตท่ีเนนใหเกิดของเสียจากกระบวนการผลิตใหนอยท่ีสุด หรือตัวหารในสมการของประสิทธิผล นั่นเอง

การจัดการประสิทธิผลการผลิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในเร่ืองของเสียท่ีเปนผลผลิตเหลือท้ิงนี้ สามารถนํามาใชเปนหลักในการบริหารสินคาคงคลังไดดี เนื่องจากในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก การผลิตคราวละมากๆ โดยหวังผลของการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) ในอุตสาหกรรมตางๆ นํามาซ่ึงปญหาของการจัดเก็บรักษา การขนสง และการจําหนายสูตลาด เชน การเก็บรักษาผลผลิตท่ีไมไดคุณภาพ หรือเก็บรักษาไวนานจนหมดสภาพ หรือแปรสภาพเปนพิษตอ รางกายและธรรมชาติเม่ือนํามาบริโภคแลวเปนอันตรายตอสุขภาพ ทําใหเสียสุขภาวะของมนุษย ทําใหเสียคุณภาพของระบบนิเวศ เกิดการเบียดเบียนกันท้ังตอตนเองและผูอ่ืน

การผลิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จึงเนนท่ีความพอดีตอการบริโภคและการจําหนาย ไมผลิตมากเกินไปจนกลายเปนผลผลิตเหลือท้ิง (พิพัฒน ยอดพฤติการณ, 2551) หรือทําใหเกิดของเสียจากกระบวนการผลิตเพิ่มข้ึนโดยไมจําเปน

ความพอประมาณในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงมิไดหมายความวา ใหมีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลในกระบวนการผลิตท่ีอยูในระดับพอประมาณ ท่ีอาจนําไปสูขอสรุปผิดๆ วา ธุรกิจหรือหนวยการผลิตอ่ืนใดท่ีมีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลสูง จําตองลดศักยภาพหรือออมความสามารถในการผลิตใหอยูในระดับพอประมาณ ตรงกันขาม

Page 20: Phil0351sm ch2

33

ความพอประมาณในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยังคงมุงหมายใหไดมาซ่ึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด แตตองทําใหเกิดการเบียดเบียนกันใหนอยท่ีสุด ดวยการใหความสําคัญกับการบริหารจัดการตัวหารในสมการของประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั่นเอง พิจารณาจากตารางที่ 2.6 ประสิทธิผลการผลิต

เศรษฐศาสตรกระแสหลัก

เศรษฐกิจพอเพียง

แผนภาพท่ี 6 ประสิทธิผลการผลิต

กระบวนการผลิต ทรัพยากร ผลผลิต

ของเสีย

ประสิทธิผลการผลิต

กระบวนการผลิต ทรัพยากร ผลผลิตท่ีใชการได

ของเสีย (รวมผลผลิตเหลอืท้ิง)

ประสิทธิผลการผลิต

Page 21: Phil0351sm ch2

34

2.8.2 เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริโภค การบริโภคถือเปนเปาหมายของวิชาเศรษฐศาสตร กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษยนั้นมี

เปาหมายสุดทายอยูท่ีการบริโภค การบริโภคเปนการบําบัดหรือสนองความตองการซึ่งถือเปนจุดตนกําเนิดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย หากพิจารณาความหมายตามวิธีการของเศรษฐศาสตรกระแสหลัก การบริโภค คือการใชสินคาและบริการบําบัดความตองการเพื่อใหเกิดความพึงพอใจหรือความสุข

การบริโภคเกิดจากความสัมพันธขององคประกอบ 3 สวน คือ ปจจัยนําเขา (Input) กระบวนการบริโภค (Consumption Process) และปจจัยสงออก (Output) ท่ีแสดงความสัมพันธ ดังกลาว ดวยตารางท่ี 2.7 ความสัมพันธในกระบวนการบริโภค

แผนภาพท่ี 7 ความสัมพันธในกระบวนการบริโภค

ปจจัยนําเขาในกระบวนการบริโภคนี้ คือสินคาหรือบริการตางๆ กับปจจัยสงออก คือความสุขและของเสียท่ีเกิดข้ึนจากกระบวนการบริโภค ในระบบเศรษฐกิจโดยท่ัวไป กิจกรรมทางการผลิตและการบริโภคมักจะถูกแยกออกจากกัน ดวยเหตุผลท่ีวา ผูผลิตและผูบริโภคไมจําเปนตองเปนบุคคลคนเดียวกัน ทําใหแตละคนตางมีบทบาทหนาท่ีแยกจากกันอยางเด็ดขาด ในหลายกรณี ผูผลิตจะสรางผลผลิตในสวนท่ีตัวเองไมไดบริโภค แตตองการนําไปจําหนายเพ่ือแลกเปนเงินรายได ในขณะท่ีผูบริโภคเองก็บริโภคในส่ิงท่ีตัวเองผลิตไมได และบอยคร้ังก็มักจะบริโภคเกินกําลังใชจายของตัวเอง เรียกวารายไดจากกิจกรรมทางการผลิตไมเพียงพอตอการใชจายเพ่ือการบริโภค จนกลายเปนการกอหนี้สินเพื่อการบริโภคตามคานิยมโดยขาดความพอดี พิจารณาในตารางท่ี 2.8 องคประกอบของปจจัยนําเขาและปจจัยสงออกในกระบวนการบริโภค

กระบวนการบริโภคปจจัยนําเขา ปจจัยสงออก

Page 22: Phil0351sm ch2

35

แผนภาพท่ี 8 องคประกอบของปจจัยนาํเขาและปจจัยสงออกในกระบวนการบริโภค

สินคาและบริการท้ังท่ีจับตองไดและท่ีจับตองไมได ซ่ึงเปนปจจัยนําเขาในกระบวนการบริโภค แทท่ีจริงก็คือปจจัยสงออกจากกระบวนการผลิตท่ีเรียกวา ผลผลิต ในวิชาเศรษฐศาสตร ถือเปนสินคาช้ันกลาง (Intermediate Goods) ท่ีใชตอบสนองเปาหมายสุดทาย นั่นคือ การบริโภค ซ่ึงการบริโภคตามนัยของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มี 2 ประเภท (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.74) ไดแก

1) การบริโภคเพื่อสนองความตองการเสพส่ิงปรนเปรอตน ซ่ึงเปนการบริโภคท่ีไมมีเปาหมายชัดเจน มีแตเพียงการเสพรสใหเกิดความพึงพอใจ

แลวก็หยุดวิเคราะหไวตรงจุดนั้น ไมมีจุดหมายสงทอด มีแตการเสพรสใหเกิดความพึงพอใจเร่ือยไปไมรูจบไมรูอ่ิม เปนวงเวียนอยูนั้นเอง

2) กับการบริโภคเพื่อสนองการมีชีวิตท่ีดี ซ่ึงเปนการบริโภคท่ีมีจุดหมายตอไป เพราะการมีชีวิตท่ีดีเปนจุดหมายที่ชัดเจนของ

การบริโภค และยังเปนฐานของการฝกฝนศักยภาพของตนเองตอไป ในเศรษฐศาสตรกระแสหลักมีขอพิจารณาวา เม่ือเกิดความตองการข้ึนแลว ทําอยางไรจะได

สนองความตองการ แตในเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากการหาวิธีสนองความตองการแลว ยังมีขอพิจารณาตอไปวา ถาเปนความตองการที่เปนโทษทําลายการมีชีวิตท่ีดี เบียดเบียนตนและเบียดเบียนผูอ่ืน ก็ใหสามารถระงับความตองการนั้นไดดวย

ดังนั้น ความหมายของการบริโภคในความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การใชสินคาและบริการบําบัดความตองการเพื่อใหไดรับความสุขจากการมีชีวิตท่ีดี (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.75)

เชนเดียวกับในกระบวนการผลิต การใหความสําคัญกับทุนในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก กอใหเกิดผลตอเนื่องในกระบวนการบริโภค คือความสามารถในการซ้ือหาสินคาและบริการเพื่อการบริโภคจากภายนอกตามคานิยมหรือคําโฆษณา โดยไมพิจารณาบริโภคสินคาและบริการที่มีอยูในทองถ่ิน

กระบวนการบริโภคสินคาและบริการ ความสุข

ของเสีย

Page 23: Phil0351sm ch2

36

กอน หากพบวาตนเองมีอํานาจซ้ือ จึงเปนท่ีมาของการบริโภคสินคานําเขาจากตางประเทศท่ีมียี่หอหรือตราสินคา ท้ังท่ีอาจจะผลิตจากในประเทศไทยเอง

การบริโภคนั้น อันท่ีจริงก็คือ กระบวนการผลิตในรูปแบบหนึ่ง ท่ีมีสินคาและบริการเปนปจจัยนําเขา ปจจัยสงออกท่ีไดจากกระบวนการบริโภคก็คือ ความสุข และของเสีย อันเปนผลจากการบริโภค ในลักษณะเชนนี้ ยอมท่ีจะกลาวถึงการบริโภคในฐานะท่ีเปนกระบวนการผลิตได เพียงแตผลผลิตท่ีไดแทนท่ีจะเปนสินคาหรือบริการตามปกติกลับเปนความสุขและของเสีย ซ่ึงสามารถพิจารณาถึงประสิทธิภาพการบริโภคท่ีเกี่ยวของกับการบริหารจัดการ ทรัพยากรที่ใชในการบริโภคและความสุขท่ีไดจากกระบวนการบริโภค ทํานองเดียวกับการพิจารณาประสิทธิภาพการผลิต

ในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก ประสิทธิภาพการบริโภค เนนการบริโภคเพื่อใหไดความสุขสูงสุดเม่ือเทียบกับรายไดท่ีมีจํากัดในการซ้ือหาสินคาและบริการเพื่อการบริโภค โดยละเลยการใหความสําคัญอยางจริงจังวาจะใชปจจัยการบริโภคนอยท่ีสุดและของเสียท่ีเกิดข้ึนนอยท่ีสุดหรือไม ถาความสุขตอสินคาและบริการสูงสุดภายใตเง่ือนไขความจํากัดของรายได ก็มีความหมายอยูในตัวแลววาเกิดประสิทธิภาพสูงสุดภายใตเง่ือนไขของขอจํากัดดังกลาว โดยมิไดกังวลถึงของเสียท่ีจะเกิดตามมา

ผลก็คือ อาจจะมิไดใชปจจัยการบริโภคนอยท่ีสุดเทาท่ีจําเปนจริงๆ แตกลับเปนวา บริโภคใหมากท่ีสุดเทาท่ีรายไดจะพออํานวยได กลาวอีกนัยหนึ่งก็คือ ประสิทธิภาพการบริโภคในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก คือ การบริหารจัดการกระบวนการบริโภค โดยเนนท่ีตัวต้ังของสมการประสิทธิภาพ อันไดแก ความสุขภายใตเง่ือนไขขอจํากัดของรายไดหรืองบประมาณนั่นเอง

ขณะท่ีเศรษฐกิจพอเพียงมีขอพิจารณาวา ประสิทธิภาพการบริโภคเกิดจากความสามารถในการสรางความสุขเม่ือเทียบกับสินคาและบริการท่ีบริโภค โดยคํานึงถึงการใชปจจัยการบริโภคท่ีนอยท่ีสุด เพื่อใหเกิดการเบียดเบียนกันนอยท่ีสุด และหากในกระบวนการบริโภคมีการใชปจจัยการบริโภคนอยที่สุดเทาท่ีจําเปนจริงๆ ก็มีความหมายในตัววาประสิทธิภาพในการบริโภคสินคาและบริการสูงสุดดวย กรุณาเปรียบเทียบ ดังแผนภาพท่ี 2.9 ประสิทธิภาพการบริโภค

Page 24: Phil0351sm ch2

37

เศรษฐศาสตรกระแสหลัก

เศรษฐกิจพอเพียง

แผนภาพท่ี 9 ประสิทธิภาพการบริโภค

นอกจากการวัดประสิทธิภาพการบริโภคแลว ยังอาจมีการวัดประสิทธิผลการบริโภคอีก กรณีหนึ่ง โดยเทียบระหวางความสุขและของเสียจากกระบวนการบริโภค ประสิทธิผลเปนการวัดท่ีแสดงถึงคุณภาพการบริโภควา ความสุขท่ีไดจากกระบวนการบริโภคนั้น ตรงกับท่ีตองการเพียงใด ในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก ประสิทธิผลการบริโภค เนนท่ีการบริโภคเพื่อใหไดความสุขตรงกับท่ีใจปรารถนามากท่ีสุด โดยละเลยการใหความสําคัญอยางจริงจังวาเปนความตองการประเภทใด และจะมีของเสียเกิดข้ึนนอยท่ีสุดหรือไม กลาวไดอีกนัยหนึ่งวา ประสิทธิผลการบริโภคในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก คือ การบริหารจัดการกระบวนการบริโภค โดยเนนท่ีตัวต้ังของสมการประสิทธิผล อันไดแก ความสุข เชนเดียวกับประสิทธิภาพการบริโภค

กระบวนการบริโภคของเสีย

ประสิทธิภาพการบริโภค

ความสุข (พอกเสริม)

สินคาและบริการ

กระบวนการบริโภคสินคา และบริการ

ประสิทธิภาพการบริโภค

ของเสีย

ความสุข

Page 25: Phil0351sm ch2

38

ขณะท่ีเศรษฐกิจพอเพียงคํานึงวา คําวา ความสุข หมายเฉพาะความสุขท่ีทําใหมีชีวิตท่ีดี คือ เม่ือบริโภคแลวไมทําใหเสียสุขภาวะของตนเอง แตใหเปนไปในทางท่ีพัฒนาสุขภาวะ เสริมสุขภาวะนั้น สวนความสุขท่ีเกิดข้ึนจากกระบวนการบริโภคเพื่อสนองความตองการเสพส่ิงปรนเปรอ แมจะไมใชของเสียจากการบริโภค เปน “ความสุขพอกเสริม” ดวยตัณหาที่ไมนําไปสูการพัฒนาสุขภาวะ ก็ถือวาเปนของเสียจากการบริโภคเชนกัน

เศรษฐศาสตรกระแสหลัก

เศรษฐกิจพอเพียง

แผนภาพท่ี 10 ประสิทธิผลการบริโภค

ประสิทธิผลการบริโภคในความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงหมายถึง ความสุขท่ีเกิดข้ึน

เทียบกับของเสียจากการบริโภค โดยเนนใหเกิดของเสียจากกระบวนการบริโภคใหนอยท่ีสุด (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2551) ท้ังนี้เพื่อใหเกิดการเบียดเบียนกันใหนอยท่ีสุด และหากในกระบวนการบริโภคมีของเสียเกิดข้ึนนอยท่ีสุดแลว ก็มีความหมายในตัววา อัตราสวนของความสุขตอของเสียสูงสุดดวย กลาวไดอีกนัยหนึ่งวา ประสิทธิผลการบริโภคในเศรษฐกิจพอเพียง คือการบริหารจัดการกระบวนการบริโภคท่ีเนนใหเกิดของเสียจากกระบวนการบริโภคใหนอยท่ีสุด หรือตัวหารในสมการของประสิทธิผล นั่นเอง

ประสิทธิผลการบริโภค

กระบวนการบริโภค

ของเสีย สินคาและบริการ

กระบวนการบริโภคสินคาและบริการ ความสุข

ประสิทธิผลการบริโภค

ของเสีย (รวมความสุขพอกเสริม)

ความสุข (พอก

Page 26: Phil0351sm ch2

39

การบริหารประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริโภคดังกลาว สามารถนํามาใชเปนหลักในการตัดสินใจเร่ืองการบริโภคในชีวิตประจําวันไดเปนอยางดี เนื่องจากในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก สนับสนุนใหเกิดการบริโภคคราวละมากๆ หรือบอยๆ โดยหวังผลท่ีจะจําหนายสินคาและบริการใหไดเพิ่มมากข้ึน เชน รานอาหารฟาสตฟูดสบางแหงกระตุนใหคนเพ่ิมเงินอีกเล็กนอย เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารจากเมนูปกติเปนเมนูพิเศษ หรือการสรางนิสัยการบริโภคเคร่ืองดื่มบํารุงสุขภาพท่ีทําจากช็อกโกแลตจากวันละหนึ่งคร้ัง เปนวันละสองคร้ัง ซ่ึงอาจเกินความตองการของรางกายและทําใหอวน

ดังนั้น การพิจารณาขนาดของการบริโภคใหพอดีกับความตองการสุขภาวะจึงเปนส่ิงท่ีพึงกระทํา และการบริโภคควรเปนกิจกรรมเพ่ือการพัฒนาสุขภาวะ ซ่ึงเปนไดท้ังในแงบวก คือ บริโภค และในแงลบ คืองดบริโภค (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2551) ตัวอยางเชน การงดบริโภคอาหารเย็น กลับมีความหมายเปนกิจกรรมทางเศรษฐกิจท่ีมีคุณคาเพื่อประโยชนในการพัฒนาชีวิต แทนการบริโภคตามปกติ ผูท่ีมีกิจวัตรดังกลาวยังสามารถไดรับความสุขจากการไมบริโภค และเกิดสุขภาวะข้ึนดวย

2.8.3 เศรษฐกิจพอเพียงและอรรถประโยชน คําวา อรรถ ในท่ีนี้ หมายถึง ความมุงหมาย เม่ือนํามา สมาสเปน อรรถประโยชน (Utility) จึง

หมายถึง ประโยชนท่ีมุงหมาย หรือประโยชนท่ีตองการ เร่ืองอรรถประโยชนมีความหมายอยู 2 นัยดวยกัน (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2551) คือ อรรถประโยชนเชิงวัตถุวิสัย (Objective Utility) กับอรรถประโยชนเชิงจิตวิสัย (Subjective Utility) ซ่ึงจะไดขยายความในรายละเอียดแนวคิดท้ัง 2 นัย ดังนี้

ในสวนท่ีเปนอรรถประโยชนเชิงวัตถุวิสัยนั้น จะเกี่ยวของกับความเปนประโยชน (Usefulness) หรือคุณคา (Value) ของส่ิงตางๆ ในลักษณะท่ีเปนอยูตามจริงโดยธรรมชาติ เปน “คุณคาแท” ท่ีมีอยูแตเดิม โดยมิไดถูกเพิ่มเติมเสริมแตงหรือดัดแปลงตามความคิดเห็นของมนุษย เชน น้ํามีคุณคามากกวาเพชร เพราะนํ้ามีความจําเปนตอการดํารงชีวิตของมนุษยตามธรรมชาติมากกวาเพชร คุณคาของน้ํา ในท่ีนี้เรียกวา คุณคาในการใชสอย (Value in Use) ในขณะท่ี คุณคาของเพชร เปนคุณคาท่ีถูกใหโดยมนุษย ถูกเพิ่มเติมเสริมแตงใหมีคุณคาสูง ดวยเงื่อนไขของความหายาก (Scarcity) ซ่ึงถือเปนปจจัยหนึ่งในการใชกําหนดคุณคาของเพชร ในท่ีนี้ท่ีเรียกวา คุณคาในการแลกเปล่ียน (Value in Exchange) เนื่องจากเพชรเพียงสวนนอยสามารถแลกเปนน้ําไดจํานวนมหาศาล อรรถประโยชนเชิงวัตถุวิสัยนี้ จึงไมมีความเกี่ยวของหรือนําไปใชในการใหมูลคาหรือกําหนดราคา (Price) ของส่ิงตางๆ (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.80)

ในสวนท่ีเปนอรรถประโยชนเชิงจิตวิสัยนั้น จะเกี่ยวของกับความเปนประโยชนหรือคุณคาของส่ิงตางๆ ในลักษณะท่ีเปนการใหคุณคาโดยมนุษย คือ การท่ีแตละบุคคลจะใหคุณคากับส่ิงเหลานั้นตามความคิดเห็นของตนเอง(พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2551) คุณคา (ในการแลกเปล่ียน) ตามความหมายน้ี จึงข้ึนอยูกับปริมาณของส่ิงนั้นๆ ดวย ถาของบางอยางมีมากเกินไป การใหคุณคาแกส่ิงนั้นๆ ก็จะลดลง

Page 27: Phil0351sm ch2

40

เพราะหาไดงาย ถึงแมจะมีคุณคาในการใชสอยก็ตาม (กรณีของน้ําเปนตัวอยาง) หรือการท่ีมนุษยสามารถสรางความม่ังค่ังไดโดยการลดความตองการของตัวเองลงใหเปนสัดสวนลงตัวกับส่ิงท่ีมีอยู แทนการขวนขวายหาส่ิงตางๆ เพิ่มตามความตองการท่ีไมจํากัด ซ่ึงก็คือ การใหคุณคาอยางสูงแกส่ิงของท่ีตนมีอยูแลว จึงไมจําเปนตองขวนขวายหาส่ิงอ่ืนมาเพิ่มเติม อรรถประโยชนเชิงจิตวิสัยนี้ จึงมีความเกี่ยวของหรือนําไปใชในการใหมูลคาหรือกําหนดราคาของส่ิงตางๆ (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.80)

เม่ือเงินเขามามีบทบาทมากข้ึน และส่ิงของทุกส่ิงทุกอยางสามารถกําหนดคุณคาเทียบกับเงินได ความหมายของคุณคาจึงคอยๆ ถูกเปล่ียนไปเปน “มูลคา” หรือ “ราคา” ของส่ิงของ อันเปนจุดเบ่ียงเบนสําคัญจากความเปนจริงตามธรรมชาติของความสัมพันธระหวางมนุษยกับส่ิงของนั้นๆ เพราะมูลคาหรือราคาเปน “คุณคาเทียม” ท่ีมนุษยตกลงหรือสมยอมกันเอง (Human Convention) ไมใช คุณคาแท หรือ คุณคาในการใชสอย ซ่ึงเปนคุณคาตามธรรมชาติท่ีแทจริงของส่ิงนั้นๆ

คําท่ีมีความเกี่ยวเนื่องกับอรรถประโยชนอีกคําหนึ่ง คือ Utilization หรือการใชประโยชน ซ่ึงแปลวา การทําใหเกิดประโยชนตามที่ตองการ ผลลัพธท่ีเกิดข้ึนคือ ประโยชนท่ีไดรับ ซ่ึงในทางปฏิบัติ ประโยชนท่ีไดรับตามความเปนจริง (Actual) อาจจะไมเทากับประโยชนท่ีมุงหมายหรือท่ีคาดวาจะไดรับ (Expected) ก็ได

ขอใหสังเกตวา มูลคาท่ีบุคคลไดรับจากการใชประโยชน (Utilization) จะตางจากคุณคาในการใชสอยในอรรถประโยชน (Utility) ประการแรก คือ มูลคาในการใชประโยชนจะแปรเปลี่ยนตามบุคคลผูใชประโยชน โดยข้ึนอยูกับประสิทธิภาพหรือความสามารถในการใชประโยชนของบุคคลนั้นๆ เชน ประโยชนท่ีไดรับจริง (Actual) ของบุคคลที่ใชเพียงคุณสมบัติบางอยางของซอฟตแวร ยอมจะนอยกวาประโยชนท่ีไดรับของบุคคลท่ีใชคุณสมบัติท่ีมีอยูในตัวซอฟตแวรไดอยางครบถวน หรือในกรณีของการใชโทรศัพทเคล่ือนท่ี ท่ีใชเพียงคุณสมบัติของการโทรเขา-ออกกับบุคคลที่ใชท้ังคุณสมบัติของการโทร รวมถึงคุณสมบัติอ่ืนๆอีกมากมาย เชน ถายรูป เคร่ืองคิดเลข บันทึกหมายเลข ดูโทรทัศน ฯลฯ ประโยชนท่ีไดรับจริง ระหวางการใชงานในสองลักษณะนี้ยอมมีความแตกตางกัน ในขณะท่ี คุณคาในการใชสอยอรรถประโยชน หรือประโยชนท่ีมุงหมาย ท้ังในตัวอยางของซอฟตแวรหรือโทรศัพทเคล่ือนท่ี ยังคงมีคุณคาในสภาพเดิมตามธรรมชาติ ไมวาจะมีการใชสอยเกิดข้ึนแลว หรือยังไมมีการใชสอยเกิดข้ึนโดยบุคคลใดๆ ก็ตาม ถือเปนคุณคาในตัวของส่ิงตางๆ ท่ียังมิไดถูกใชประโยชน นั่นเอง

ตัวอยางท่ีจะขอยกมาเพ่ือใหเห็นภาพชัดข้ึน ไดแก ธรรมะท่ีพระพุทธเจาทรงคนพบ และนํามาเผยแผ ซ่ึงมีคุณคาแทตามธรรมชาติท่ีประเมินคามิได หากนํามาพิมพและเผยแผในรูปหนังสือ ราคาท่ีกําหนดข้ึนจากคุณคาในการแลกเปล่ียน อาจมีมูลคาเพียงเลมละ 200 บาท ซ่ึงเปนการใหคุณคาดอย (Under-Value) (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.82) เม่ือเทียบกับคุณคาจริงแทตามสภาพเดิม

ในขณะที่ ตัวอยางของเพชรท่ียกมากอนหนานี้ กลับเปนการใหคุณคาลํ้า (Over-Value) เม่ือเทียบกับคุณคาจริงแทตามสภาพเดิม จากขอเท็จจริงท่ีปรากฏนี้ สามารถนําไปสูการพิจารณา คุณคา

Page 28: Phil0351sm ch2

41

เปรียบเทียบ (Comparative Value) ระหวางคุณคาท่ีมนุษยกําหนดขึ้นในอรรถประโยชนเชิงจิตวิสัยกับคุณคาเดิมแทของส่ิงตางๆ ในอรรถประโยชนเชิงวัตถุวิสัย เพื่อนําไปประยุกตกับเร่ืองราวท่ีเกิดข้ึนในชีวิตประจําวันได

แผนภาพท่ี 11 คุณคาดอยท่ีเกิดจากคุณคาในการใชสอยมากกวาคุณคาในการแลกเปล่ียน

แผนภาพท่ี 12 คุณคาลํ้าท่ีเกิดจากคุณคาในการแลกเปล่ียนมากกวาคุณคาในการใชสอย

อรรถประโยชนเชิงวัตถุวิสัย

อรรถประโยชนเชิงจิตวิสัย

คุณคาในการใชสอย

คุณคาดอย

คุณคาในการแลกเปลี่ยน

คุณคาในการแลกเปลี่ยน

คุณคาลํ้า

อรรถประโยชนเชิงวัตถุวิสัย

อรรถประโยชนเชิงจิตวิสัย

คุณคาในการใชสอย

Page 29: Phil0351sm ch2

42

2.8.4 เศรษฐกิจพอเพียงกับ “คุณคา” ทางเศรษฐศาสตร

1) คุณคาในการผลิต เม่ือพิจารณาท่ีกระบวนการผลิตในทางเศรษฐศาสตร คุณคาในการผลิต พิจารณาได

2 มุมมอง ไดแก (1.1) มุมมองดานคุณคาของปจจัยการผลิตท่ีนําเขาสูกระบวนการผลิต ในเศรษฐศาสตรกระแสหลักท่ีใหความสําคัญกับเงินเปนหลัก จะพิจารณาได

เพียงวา ทรัพยากรนําเขาท่ีมีคุณคายอมตองมีมูลคาหรือราคาสูง ฉะนั้นหากตองการไดรับประโยชนสูงสุดในการผลิต ก็จําเปนตองจายในราคาแพงเพื่อแลกกับทรัพยากรที่มีคุณคาสูงสุดภายใตขอจํากัดของทุน ท่ีใชในการผลิต ซ่ึงก็เปนขอเท็จจริงแตไมใชท้ังหมด เพราะคุณคาในการใชสอยทรัพยากรนําเขาตามอรรถประโยชนเชิงวัตถุวิสัยไมเกี่ยวของกับมูลคาหรือราคา ทําใหประโยชนท่ีมุงหมายจากกระบวนการผลิตในทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงไมจําเปนตองจายในราคาแพงเพ่ือแลกกับทรัพยากรนําเขาท่ีมีคุณคาสูงสุดก็ได

(1.2) คุณคาของกระบวนการผลิต เปนการแสดงถึงความเปนประโยชนในกระบวนการผลิตระหวางการผลิตเพื่อ

ประโยชนท่ีมุงหมายเชิงวัตถุวิสัยหรือคุณคาแท เชน การผลิตส่ิงท่ีเปนความจําเปนพื้นฐาน (ปจจัยส่ี) และความม่ันคงปลอดภัยในการดํารงชีวิต ท่ีมุงตอบสนองความตองการแบบฉันทะ กับการผลิตเพื่อประโยชนท่ีมุงหมายเชิงจิตวิสัยหรือคุณคาพอกเสริม เชน การผลิตส่ิงท่ีเปนความสะดวกสบาย การผลิตส่ิงท่ีเปนความฟุมเฟอยในการดํารงชีวิตท่ีมุงตอบสนองความตองการแบบตัณหา ในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก ประโยชนท่ีมุงหมายจากกระบวนการผลิตจํากัดอยูท่ีผลผลิตตองสามารถแลกเปนเงิน เปนผลผลิตท่ีใหมูลคาสูง เพื่อใหไดมาซ่ึงผลกําไรสูงสุด จากการประกอบการ ในขณะท่ี ประโยชนท่ีมุงหมายจากกระบวนการผลิตในทางเศรษฐกิจพอเพียง ไมจําเปนตองแลกเปนเงินท้ังหมด เปนผลผลิตท่ีใหคุณคาท้ังตอการบริโภคเอง การแลกเปล่ียนกับสินคาจําพวกอ่ืน และการจําหนายสูตลาดภายนอก อีกท้ังไมจําเปนตองยึดกําไรเปนท่ีต้ังในทุกกรณี ดังพระราชกระแสฯ ท่ีวา “ขาดทุนคือกําไร” (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.84) ซ่ึงหมายความถึง การเนนท่ีความคุมคามากกวาคุมทุน

Page 30: Phil0351sm ch2

43

2) คุณคาในการบริโภค เม่ือพิจารณาที่กระบวนการบริโภค คุณคาในการบริโภค พิจารณาได 2 มุมมอง

เชนกัน ไดแก (1.1) มุมมองดานคุณคาของปจจัยการบริโภคท่ีนําเขาสูกระบวนการบริโภค ในเศรษฐศาสตรกระแสหลักจะพิจารณาบริโภคสินคาและบริการโดยวัดคุณ

คาท่ีราคา ทําใหตองจายในราคาแพง เพื่อแลกกับปจจัยการบริโภคที่มีคุณคาเทาท่ี รายไดจะพออํานวยได แตจากขอเท็จจริงท่ีคุณคาในการใชสอยสินคาและบริการตามอรรถประโยชนเชิงวัตถุวิสัยไมมีความเกี่ยวของกับมูลคาหรือราคา ทําใหประโยชนท่ีมุงหมายจากกระบวนการบริโภคในทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงไมจําเปนตองใชราคาเปนเคร่ืองตัดสินในการซ้ือหาปจจัยเพื่อบริโภค

(1.2) มุมมองดานคุณคาของกระบวนการบริโภค แสดงถึงความเปนประโยชนในกระบวนการบริโภค ระหวางการบริโภคเพื่อ

ประโยชนท่ีมุงหมายเชิงวัตถุวิสัย หรือคุณคาแท กับการบริโภคเพื่อประโยชนท่ีมุงหมายเชิงจิตวิสัย หรือคุณคาพอกเสริม ในเศรษฐศาสตรกระแสหลัก ประโยชนท่ีมุงหมายจากกระบวนการบริโภคคือ ความสุขท่ีตองอาศัยสินคาและบริการเปนปจจัย ยิ่งมีปจจัยการบริโภคมากยิ่งสามารถสรางความสุขไดมาก และเพื่อใหไดมาซ่ึงความสุขสูงสุดจากการบริโภค จึงตองทํางานเพ่ือสะสมเงินหรือส่ิงซ่ึงใหคุณคาในการแลกเปล่ียน สําหรับใชในกิจกรรมการบริโภค ในขณะท่ี ประโยชนท่ีมุงหมายจากกระบวนการบริโภคทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความสุขท่ีไดมาจากการรูจักบริโภค (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2550, น.84)

Page 31: Phil0351sm ch2

44

2.8.5 เศรษฐกิจพอเพียงกับทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรในทางเศรษฐกิจนั้น สามารถแบงออกไดเปนสามหมวดหลัก ไดแก ทรัพยากร

มนุษย (Human Resource) ในฐานะท่ีเปนแรงงานในระบบเศรษฐกิจ ทรัพยากรที่มนุษยสรางข้ึน (Man-made Resource) ซ่ึงประกอบดวย ทุน เทคโนโลยี ทรัพยสินทางปญญาตางๆ และทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource) อันไดแก พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติอ่ืนๆ เชน ท่ีดิน เปนตน

เศรษฐกิจในยุคเกษตรกรรม ไดใหความสําคัญกับทรัพยากรธรรมชาติ อยางเชน ท่ีดิน แหลงน้ํา ไมดอยไปกวาทรัพยากรมนุษย และทรัพยากรที่มนุษยสรางข้ึน ในขณะท่ีเศรษฐกิจในยุคอุตสาหกรรม ท่ีดินจะมีความสําคัญลดนอยลง เพราะทําหนาท่ีเปนเพียงท่ีต้ังโรงงานหรือสถานท่ีใหบริการ ทรัพยากรที่สําคัญจึงมีเพียงทรัพยากรมนุษย และทรัพยากรท่ีมนุษยสรางข้ึน เชน เคร่ืองจักร เทคโนโลยี และการจัดการ จนทําใหเกิดแนวคิดท่ีวา ทรัพยากรธรรมชาติ อยางเชน ท่ีดิน และพลังงาน นั้น สามารถผนวกเขาไปเปนสวนหนึ่งของทุน หรือสามารถใชเงินซ้ือทรัพยากรเหลานี้มาใชได และหากอธิบายในลักษณะเดียวกันนี้กับทรัพยากรมนุษย ก็จะพบวา แรงงานซ่ึงเปนอีกหนึ่งทรัพยากรท่ีมีความสําคัญในทางเศรษฐกิจ ก็สามารถซ้ือไดดวยเงินเชนกัน ทําใหทรัพยากรที่สําคัญในทางเศรษฐกิจจริงๆ มีเพยีงปจจยัเดยีวคือ ทุน กลาวอีกนัยหนึ่งก็คือ ระบบเศรษฐกิจท่ีผานมาไดพัฒนาจนมีทุนเปนปจจัยเดนและสําคัญเพียงปจจัยเดียว ซ่ึงส่ิงนี้คือ รากฐานความคิดท่ีสําคัญของระบบทุนนิยม (Capitalism)

ปญหาของการไมใหความสําคัญกับทรัพยากรอ่ืนๆ อยางเทาเทียม โดยเฉพาะอยางยิ่งทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน กอใหเกิดผลเสียมากมาย (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2551) กลาวคือ เม่ือตองการผลิตก็สามารถซ้ือหาทรัพยากรเหลานี้มาใชในกระบวนการผลิตไดทุกเวลา โดยมิไดคํานึงวาทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานเหลานี้มีอยูอยางจํากัด กอใหเกิดการใชทรัพยากรและพลังงานเกินขีดความสามารถที่จะนําทรัพยากรเหลานั้นมาหมุนเวียนใชใหมได พรอมๆ กันกับสรางมลภาวะและความเส่ือมโทรมของระบบนิเวศน ซ่ึงเปนตนเหตุแหงปญหาของโลกปจจุบัน

ปญหาในเร่ืองทรัพยากรมนุษยอีกประการหนึ่ง คือ การละเลยความสําคัญของทรัพยากรมนุษยท่ีประกอบดวยแรงงานและแรงสมองในองครวม ทําใหทุนนิยมในระบบเศรษฐกิจยุคสารสนเทศซ่ึงพัฒนากลายมาเปนเศรษฐกิจกระแสหลักนั้น ไดพยายามแปลงแรงสมองใหออกมาเปนทรัพยสินทางปญญาและเทคโนโลยีในรูปของลิขสิทธ์ิและสิทธิบัตรท่ีสามารถจับตองและถายโอนได โดยนับรวมเขาเปนทรัพยากรที่มนุษยสรางข้ึนและสามารถซ้ือหาไดดวยเงิน ทําใหยิ่งไปเนนความสําคัญของทุนใหกลายเปนปจจัยหลักมากข้ึนไปอีก

ผลของการละเลยความสําคัญของทรัพยากรมนุษยในองครวม ทําใหสามารถทดแทนทรัพยากรแรงงานดวยเคร่ืองจักร และทดแทนทรัพยากรแรงสมองดวยเอกสารสิทธิทางปญญา ท่ีซ้ือหาไดดวยเงิน ผนวกกับการใชทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานอยางไมจํากัดเสมือนกับเปนทรัพยากรที่มนุษยสรางข้ึนไดเองและซ้ือหาไดเม่ือตองการ จึงเปนบอเกิดของเศรษฐกิจท่ีเนนวัตถุเปนหลัก หรือเศรษฐกิจท่ี

Page 32: Phil0351sm ch2

45

อยูบนพื้นฐานวัตถุนิยม (Materialism) และกลายเปนวา ในสังคมปจจุบันนี้ เงินมีความสําคัญกวาทรัพยากรอื่นใดท้ังปวง

การใหความสําคัญกับทุนในเศรษฐกิจกระแสหลัก ยังกอใหเกิดผลตอเนื่องอีกสองประการ ประการแรก คือ ความสามารถในการซ้ือหาทรัพยากรจากภายนอก โดยไมจําเปนตอง

พิจารณาใชทรัพยากรที่มีอยูในทองถ่ินกอน หากพบวาตนทุนของทรัพยากรภายนอกน้ันตํ่ากวา จึงเปนท่ีมาของการยายฐานการผลิตจากสถานท่ีหรือประเทศที่มีตนทุนทรัพยากรสูงไปสูสถานท่ีหรือประเทศท่ีมีตนทุนทรัพยากรต่ํา หรือการนําเขาของแรงงานราคาถูกจากประเทศกําลังพัฒนาตางๆ และ

ประการท่ีสอง คือ เปาหมายในการผลิตจะตองสรางผลผลิตสูงสุดเพื่อจําหนายใหไดกําไรสูงสุดแทนท่ีจะเปนการผลิตเพื่อการบริโภคเอง ท้ังนี้ก็เพื่อตองการสะสมทุนท่ีจะใชเปนทรัพยากรการผลิตในคร้ังตอไป จึงเปนท่ีมาของแนวคิดการแสวงหากําไรสูงสุด (Maximize Profit) ขององคกรธุรกิจในโลกปจจุบัน

ขณะท่ีแนวคิดในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไดใหหลักไววา การกระทําของมนุษยในกิจกรรมทางเศรษฐกิจใดๆ จะตองเปนไปในทางท่ีไมเบียดเบียนตน คือ ไมทําใหเสียสุขภาวะของตัวเอง และไมเบียดเบียนผูอ่ืน ตลอดจนไมทําใหเสียคุณภาพของระบบนิเวศนหรือธรรมชาติแวดลอม เศรษฐกิจพอเพียงจึงเนนใหความสําคัญกับทรัพยากรมนุษยและทรัพยากรธรรมชาติไมดอยไปกวาทรัพยากรท่ีมนุษยสรางข้ึน (พิพัฒน ยอดพฤติการ, 2551) ซ่ึงรวมถึงทุนท่ีเปนปจจัยหลักในระบบเศรษฐกิจปจจุบัน

การดําเนินนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง จึงมิไดปฏิเสธความสําคัญของทุน แตเปนการเสนอใหพิจารณาความสําคัญของทรัพยากรตางๆ อยางมีเหตุมีผล อยางมีความสมดุล และประการสําคัญ คือ ตองมีความระมัดระวังท่ีจะไมดําเนินกิจกรรมไปในทางท่ีกอใหเกิดการเบียดเบียนผูอ่ืน เพราะทายท่ีสุดแลว ตนเองในฐานะท่ีเปนสวนหนึ่งของสังคมหรือในระบบเศรษฐกิจก็จะไดรับผลกระทบเสียหายตามไปดวย

ตัวอยางหนึ่งของการพิจารณาใหความสําคัญกับ ทุน เปนเร่ืองรอง ไดแก การดําเนินกิจกรรมในทางเศรษฐกิจที่เร่ิมตนดวยการแสวงหาทรัพยากรจากภายในซ่ึงสามารถหาไดจากในกลุมหรือภายในทองถ่ินกอนท่ีจะพิจารณาใชทรัพยากรจากภายนอกซ่ึงไมสามารถหาไดจากในกลุมหรือภายในทองถ่ิน ซ่ึงเปนไปตามหลักของการพ่ึงตนเอง รวมถึงไมสรางภาระจากการพ่ึงพาปจจัยการผลิตจากภายนอกมากเกินไปจนขาดภูมิคุมกันท่ีอาจกอใหเกิดการเบียดเบียนตนเองและนําไปสูความทุกขยากในภายหลัง

Page 33: Phil0351sm ch2

46

2.9 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคนและหนทางขางหนา โครงการพัฒนาแหงสหประชาชาติประจําประเทศไทย หรือยูเอ็นดีพี ไดจัดทํารายงาน "การ

พัฒนาคนระดับประเทศ" มาแลวกวา 400 ฉบับใน 135 ประเทศท่ัวโลก สําหรับประเทศไทยเคยมีรายงานการพัฒนาคนป 2546 ในหัวขอ "การเสริมสรางพลังชุมชนกับการพัฒนาคน" และป 2550 ไดจัดทําขึ้นในหัวขอ "เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน" เปนรายงานท่ีนําเสนอแนวพระราชดําริเกี่ยวกับการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพล อดุลยเดชซ่ึงเปนปรัชญาในการพัฒนาประเทศ เพื่อเปนแนวทางการประยุกตใชเพื่อเผยแพรตอ ผูอานในประเทศอ่ืนๆ ท่ัวโลก

ในรายงานระบุวา ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวงมีความสําคัญยิ่งตอโลกในยุคนี้ (จรวยพร ธรณินทร, 2551) ซ่ึงมีความผันผวนทางเศรษฐกิจสูง มีปญหาความเส่ือมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและภาวะโลกรอนซ่ึงทวีความรุนแรงข้ึนทุกขณะ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเสนอแนวทางสําหรับการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ซ่ึงเปนทางเลือกท่ีโลกกําลังมองหาเพ่ือทดแทนการพัฒนาแบบไมยั่งยืนท่ีเปนอยูในขณะน้ี

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาคนตางใหความสําคัญตอความเปนมนุษย (จรวยพร ธรณินทร, 2551) เนนความอยูดีมีสุขมากกวาความรํ่ารวย โดยมีความยั่งยืนเปนหัวใจสําคัญ ท้ัง 2 แนวทาง เห็นวาตองใหความสําคัญตอเร่ืองความม่ันคงของมนุษยและการสงเสริมใหทุกคนในสังคมสามารถท่ีจะพัฒนาไดเต็มท่ีตามศักยภาพของตน นอกจากนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังเพิ่มมิติการพัฒนาดานพืน้ฐานจิตใจและคุณธรรมของคน ซ่ึงสะทอนใหเห็นถึงพระเกียรติคุณ พระราชหฤทัยอันบริสุทธ์ิ และความมุงม่ันของในหลวงตอการพัฒนาคน

2.9.1 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน แนวคิดในเร่ืองการพัฒนาคนของโครงการพัฒนาแหงสหประชาชาติกับหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคลองกันหลายประการ ท้ัง 2 แนวคิดมีเปาหมายสําคัญอยูท่ีการพัฒนาคนบนฐานความเช่ือวาการพัฒนา หมายถึงกระบวนการท่ีชวยใหคนมีโอกาสในการท่ีจะปรับปรุงตนเอง และพัฒนาศักยภาพใหสามารถมีชีวิตท่ีมีคุณภาพ สรางสรรค มีเสรีภาพและมีศักดิ์ศรี ท้ัง 2 แนวทางมีความเช่ือวาการพัฒนาตองมีความยั่งยืน เสมอภาค เคารพธรรมชาติและใชทรัพยากรธรรมชาติดวยความระมัดระวัง แตเศรษฐกิจพอเพียงมีความแตกตางจากแนวทางการพัฒนาคนอยู 2 ประการท่ีสําคัญ ไดแก

ประการแรก เศรษฐกิจพอเพียงเสนอแนะกระบวนการ ซ่ึงประกอบดวยหลักการ 3 ขอท่ีสามารถนําไปใชวิเคราะหสถานการณ กําหนดวัตถุประสงค วางแผน และตัดสินใจเพื่อนําไปสูความยั่งยืน สุขอนามัยท่ีดี ชีวิตท่ียืนยาว การมีความรู การมีสิทธิอํานาจ และการอยูดีมีสุขของคน หลักการเหลานี้สามารถประยุกตใชไดในทุกระดับ ต้ังแตการจัดการฟารมขนาดเล็ก จนถึงการบริหารธุรกิจตางๆ หรือกระท่ังการจัดทําแผนพัฒนาประเทศ

Page 34: Phil0351sm ch2

47

ประการท่ีสอง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใหความสําคัญตอการพัฒนาพ้ืนฐานจิตใจและคุณธรรม โดยถือวาการพัฒนาพ้ืนฐานจิตใจของคนเปนสวนหนึ่งของการพัฒนาในทุกๆ ดานท่ีแยกออกจากกันไมได ผูปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตองมีความใฝรูและเรียนรูอยูตลอดเวลา มีความซ่ือสัตยสุจริต และความวิริยะพากเพียร การใชชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงคือการฝกวินัยท่ีมีรางวัลตอบแทนอยูในตัวเอง ในระดับบุคคลก็คือความคิดและจริยธรรมท่ีเขมแข็งข้ึน สวนในระดับองคกร เศรษฐกิจพอเพียงทําใหเกิดวัฒนธรรมท่ีเชิดชูคุณธรรมและสงเสริมความเกื้อกูลกันในองคกร

2.9.2 ขอเสนอในการขับเคล่ือน แมวาแนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงจะเร่ิมตนในบริบทของการพัฒนาชนบท แตขอบเขตการ

นําไปใชไมไดจํากัดอยูเพียงเทานั้น หลักการสําคัญของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนําไปประยุกตใชในบริบทการพัฒนาอ่ืนๆ ไดอยางกวางขวาง เพื่อใหเกิดการพัฒนาประเทศท่ีสมดุล และการพัฒนาคนท่ีสมบูรณรอบดาน รวมท้ังเพื่อเปนภูมิคุมกันจากภัยคุกคามหรือผลกระทบจากโลกาภิวัตน ขอเสนอแนะ 6 ประการไดแก

1) เศรษฐกิจพอเพียง “ยา” ลดความเสี่ยง เศรษฐกิจพอเพียงเปนปรัชญาที่มีความสําคัญอยางยิ่งสําหรับการขจัดความยากจน

และการลดความยากจน และการลดความเส่ียงทางเศรษฐกิจของคนจน หัวใจสําคัญของการแกไขปญหาความยากจนคือ การทําใหคนจนหรือชุมชนสามารถพึ่งตนเองไดมากข้ึน หมายถึงการพยายามพ่ึงพาทรัพยากรความรู ภูมิปญญาของตนมากกวาท่ีจะพึ่งคนอื่น และรูปแบบการพึ่งตนเองของครัวเรือนหรือชุมชนจึงไมจําเปนตองเหมือนกันท้ังหมด

การท่ีจะพึ่งตนเองได จําเปนตองคอยเปนคอยไป ดวยพลังจากในชุมชนเอง โดยคอยๆ ส่ังสมความรู ทุนและความสามารถดานอ่ืนๆ โดยไมกาวกระโดดจนเกินความสามารถของตนหรือใชทรัพยากรอยางส้ินเปลืองเกินความจําเปน และตองมีการเรียนรูอยูตลอดเวลา ซ่ึงหมายถึงการประยุกตใชหลักการของความพอประมาณ ความมีเหตุผลและปญญาและความมีภูมิคุมกันความเส่ียงในทุกๆ ข้ันตอนของการกระทํานั่นเอง

โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาทุกเร่ือง ตองทําใหคนจนและชุมชนมีความสามารถท่ีจะปองกันความเส่ียงท่ีจะเกิดข้ึนในอนาคตได คนจนสวนมากไมสามารถหลุดพนจากความจนได เนื่องจากมีความเปราะบางตอวิกฤตแทบทุกเร่ือง ต้ังแตปญหาในครอบครัว จนถึงวิกฤตท่ีเกิดจากความไมม่ันคงของสถานการณโลก การเปดเสรีทางการตลาด และความกาวหนาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการคมนาคมทําใหทุกประเทศไดรับผลกระทบจากปญหาตางๆ ท่ีเกิดข้ึนในระบบเศรษฐกิจของโลกอยางรุนแรงและรวดเร็วยิ่งกวาในอดีต

Page 35: Phil0351sm ch2

48

แนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงไมใชการถอนตัวจากโลกาภิวัตน เพราะเปนส่ิงท่ีเปนไปไมได นอกจากนี้ประเทศจะตองเสียประโยชนมากมายเพื่อแลกกับการหลีกเล่ียงความเส่ียง ในทางตรงกันขามเศรษฐกิจพอเพียงมุงท่ีจะสรางความสมดุลของการพัฒนาท้ังในระดับทองถ่ิน/ระดับชาติ และระดับโลก เพื่อใหคนในสังคมสามารถจัดการกับผลกระทบที่เกิดจากความผันแปรในสถานการณภายนอกประเทศไดอยางเหมาะสม

ขอเสนอแนะเพื่อการปฏิบัต ิ(1) ใชเศรษฐกิจพอเพียงเปนปรัชญานําทางสําหรับนโยบายขจัดความยากจน

ของรัฐบาล โดยใหมีโครงการท่ีเนนการพัฒนาขีดความสามารถของคนจนในการพึ่งตนเอง ท้ังในกิจกรรมการผลิต การสรางวินัยในการใชจาย (จรวยพร ธรณินทร, 2551) และการจัดการปองกันความเส่ียงตางๆ อยางรอบคอบ

(2) จัดสรรท่ีดินใหแกคนจนท่ีไมมีท่ีทํากินหรือท่ีทํากินไมมีคุณภาพ โดยเวนคืนจากท่ีดินในครอบครองของหนวยงานท่ีไมมีการใชประโยชน ซ่ึงมีอยูเปนจํานวนมาก และแกไขกฎหมายท่ีเกี่ยวของเพ่ือใหสามารถดําเนินการได

(3) สนับสนุนใหชุมชนมีสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยออกกฎหมายปาชุมชนและกฎระเบียบสนับสนุนอ่ืนๆ

(4) สรางหลักประกันวาการจัดสรรงบประมาณ โดยใหความสําคัญกับพื้นท่ีท่ีมีความจําเปนจริงๆ และการใชงบประมาณอยางสรางสรรค

2) สรางพลังอํานาจชุมชน

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเปนพื้นฐานของการสรางพลังอํานาจของชุมชนและการพัฒนาศักยภาพชุมชนใหเขมแข็งเพื่อเปนฐานรากของการพัฒนาประเทศ

การที่ชุมชนสามารถพึ่งตนเองไดมากข้ึน เปนพื้นฐานท่ีสําคัญของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของทองถ่ินอยางยั่งยืน ภาวะผูนําและการรวมกลุม/องคกรเปนอีกปจจัยท่ีมีความสําคัญอยางยิ่งสําหรับชุมชนพ่ึงตนเองตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง องคกรดานศาสนาไมวาในศาสนาใดก็ตาม ควรมีบทบาทท่ีสําคัญในการปลูกฝงหลักธรรมและคานิยมท่ีจําเปนตอการดํารงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง องคกรชุมชนควรมีสิทธิและโอกาสในการเขาถึงทรัพยากรและงบประมาณจากการกระจายอํานาจ

บทบาทสําคัญประการหนึ่งขององคกรชุมชนคือการรวบรวม จัดเก็บ และแบงปนองคความรูและบทเรียนท่ีไดรับจากการปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การเรียนรูของชุมชนเพื่อสงผานความรูใหแกลูกหลานรุนตอไปและบุคคลภายนอก

Page 36: Phil0351sm ch2

49

ขอเสนอแนะเพื่อการปฏิบัต ิ(1) ปรับเปาหมายการพัฒนาชุมชนท้ังในชนบทและในเมือง โดยมุงเนนการ

ทําใหชุมชนสามารถพ่ึงตนเองได และการพัฒนากิจกรรมดานเศรษฐกิจของชุมชนเปนเปาหมายหลัก

(2) เสริมสรางความเขมแข็งของชุมชนในดานการจัดการเงินทุนและศึกษาความเปนไปไดในการยกระดับกองทุนตางๆ ของชุมชนใหเปนธนาคารทองถ่ินเพื่อสงเสริมการออมทรัพยและระบบการกูยืมภายในชุมชนดวยหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง

(3) สรางหลักประกันวาองคกรปกครองสวนทองถ่ินเปดโอกาสใหชุมชนไดมีสวนรวมในการวางแผนการพัฒนาทองถ่ิน

(4) สงเสริมใหมีการแลกเปล่ียนความรูและกรณีตัวอยางจากชุมชนและเครือขายตางๆ ท่ีประสบผลสําเร็จ

(5) ยกเลิกโครงการประเภทใหเปลาและสนับสนุนโครงการท่ีใหชุมชนไดใชศักยภาพของตนเองในการวางแผนและดําเนินการพัฒนาใหสอดคลองกับความตองการของสมาชิกในชุมชนใหมากท่ีสุด

(6) สนับสนุนใหภาคธุรกิจเอกชนรวมมือกันแสดงความรับผิดชอบตอสังคมดวยการสงเสริมโครงการพัฒนาชุมชนตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง

3) บูรณาการความคิด

เศรษฐกิจพอเพียงชวยยกระดับความรับผิดชอบตอสังคมของบริษัทดวยการสรางขอปฏิบัติในการทําธุรกิจท่ีเนนผลกําไรระยะยาวในบริบทท่ีมีการแขงขันการบริหารธุรกิจใหเกิดกําไรในโลกทุกวันนี้มีความซับซอนมากกวาการคิดถึงแคตนทุนและผลตอบแทนธุรกิจตองคํานึงถึงผูมีสวนไดสวนเสียจากทุกกลุม ต้ังแตนายจางไปจนถึงลูกคาและสังคมโดยรวม นอกจากนี้ยังตองตระหนักถึงความเส่ียงท่ีมีโอกาสเกิดข้ึนไดตลอดเวลาในส่ิงแวดลอมท่ีมีการแขงขันสูง และมีการเปล่ียนแปลงท่ีรวดเร็ว ตองสามารถตอบคําถามและการตรวจสอบของหนวยงานราชการและกลุมประชาสังคมตางๆ ได ในชวงหลายปท่ีผานมา มีบริษัทขนาดใหญหลายแหงถูกตอตานหรือขจัดออกไป เนื่องจากความผิดในเชิงจริยธรรม บรรยากาศท่ีเสียไปจากการกระทําดังกลาวไดสงผลกระทบตอผูประกอบการอ่ืนๆ ดวย บริษัทธุรกิจในยุคนี้จึงจําเปนตองมีวินัยและวิธีบริหารแบบใหมเพื่อเปนหลักประกันผลกําไรและการเติบโตท่ียั่งยืน(จรวยพร ธรณินทร, 2551)

Page 37: Phil0351sm ch2

50

วินัยดังกลาวเกิดจากการบูรณาการแนวคิดเร่ืองการจัดการความเส่ียง การสรางความพึงพอใจใหแกผูมีสวนไดสวนเสียและมีความรับผิดชอบตอสังคมของบริษัทเขาดวยกัน ซ่ึงสอดคลองกับหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง แตเศรษฐกิจพอเพียงมีมิติเพิ่มข้ึนอีก 2 ดาน

ดานแรก แนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงนําเสนอกระบวนการสําหรับการวางแผนและการดําเนินงานตามแผนยุทธศาสตรของธุรกิจท่ีมีเปาหมายอยูท่ีผลกําไรท่ียั่งยืนและความรับผิดชอบตอสังคมและส่ิงแวดลอม

ดานท่ีสอง แนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงแสดงใหเห็นถึงระดับของความรับผิดชอบท่ีมาก กวาการทําตามกฎและกติกาเทานั้น มีบริษัทใหญในเมืองไทยจํานวนไมนอยท่ีพบวาการใชเศรษฐกิจพอเพียงเปนปรัชญาช้ีนําการบริหารธุรกิจ และการสรางความเขาใจในปรัชญานี้ใหเกิดข้ึนรวมกันในหมูพนักงานและผูมีสวนไดสวนเสียอ่ืนๆ สามารถทําใหเกิดวัฒนธรรมท่ีเอ้ือตอความสําเร็จขององคกรในระยะยาวไดอยางดียิ่ง

ขอเสนอแนะเพื่อการปฏิบัต ิ(1) นําหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบรรจุไวในหลักสูตรการอบรม

ผูบริหารบริษัทตางๆ และในขอพึงปฏิบัติของบรรษัทภิบาล ซ่ึงควบคุมโดยตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย

(2) จัดทําดัชนีความยั่งยืน (composite sufficiency economy index) ใหกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย โดยพิจารณาใหสิทธิพิเศษ และ/หรือ ผลประโยชนอ่ืนใหกับบริษัทท่ีมีดัชนีความยั่งยืนสูง ในขณะเดียวกันก็สงเสริมใหผูลงทุนในตลาดหลักทรัพยลงทุนในบริษัทท่ีมีดัชนีความยั่งยืนสูง

(3) ชักชวนหรือรณรงคใหสมาคมทางธุรกิจใหญตางใหความรูเกี่ยวกับหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแกสมาชิกของตน ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนใหคณะบริหารธุรกิจของ มหาวิทยาลัยตางๆ ภายในประเทศ นําเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปบรรจุไวในหลักสูตร

(4) พัฒนาศักยภาพของธุรกิจชุมชนและธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) ตางๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งธุรกิจท่ีเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกษตร โดยเนนการใชประโยชนจากองคความรูและเทคโนโลยีทองถ่ินท่ีมีประสิทธิภาพในการสรางความสามารถในการแขงขัน

(5) สนับสนุนใหธุรกิจตางๆ แบงปนชวยเหลือกันในเร่ืองวัตถุดิบ อุปกรณ และการพัฒนาองคความรูและเทคโนโลยีตางๆ เพื่อพัฒนาตลาด (หมายถึง ผลิตภัณฑและการใหบริการตางๆ) ท่ีเกี่ยวของโดยมุงหวังการสรางผลประโยชนใหกับผูบริโภคและสังคมมากกวาผลประโยชนสวนตนหรือของแตละธุรกิจเอง

Page 38: Phil0351sm ch2

51

4) ยกระดับธรรมาภิบาล หลักการเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญยิ่งตอการปรับปรุงมาตรฐานของ

ธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ ความสําเร็จของการพัฒนาคนข้ึนอยูกับคุณภาพของการบริหารงานภาครัฐคอนขางมาก การเบียดบังผลประโยชนท่ีประชาชนพึงไดรับ คืออุปสรรคสําคัญของการพัฒนาคน เพราะทําใหผลของการดําเนินงานตามนโยบายตางๆ มีประสิทธิภาพนอยลง และบอยคร้ังทําใหทิศทางของยุทธศาสตรตองถูกบิดเบือนไป คนจนและคนดอยโอกาสเปนผูท่ีไดรับผลกระทบมากท่ีสุดจากบริการที่ใชตนทุนการดําเนินการท่ีสูงข้ึนแตคุณภาพลดลง

รัฐบาลท่ีผานๆ มาใหการยอมรับหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง แตไมประสบความสําเร็จในการหามาตรการที่จะนําหลักการนี้มาใชในการปรับปรุงมาตรฐานการบริหารและการบริการของภาครัฐ ท้ังๆ ท่ีมีหลายอยางท่ีสามารถทําได เชน พัฒนาประสิทธิภาพขององคกรท่ีมีหนาท่ีติดตามและลงโทษการประพฤติมิชอบในระบบราชการ รวมถึงปรับปรุงระบบในการคัดเลือกผูมาทําหนาท่ีในองคกรดังกลาว นอกจากนี้ตองผลักดันใหมีการยกระดับมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมในระบบราชการซ่ึงถูกละเลยมาหลายป และสงเสริมภาคประชาสังคมใหทําหนาท่ีเปนหนวยเฝาระวัง

ขอเสนอแนะเพื่อการปฏิบัต ิ(1) หาทางเสริมภูมิคุมกันใหแกองคกรท่ีทําหนาท่ีตรวจสอบการโกงและ

ประพฤติมิชอบในระบบราชการ เพื่อมิใหนักการเมืองเขาแทรกแซงหรือช้ีนํา (2) บูรณาการหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเขาในแผนบริหารราชการแผนดิน

และพัฒนาตัวช้ีวัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักการดังกลาว ท้ังในระดับองคกรและตัวบุคคล

(3) พัฒนากรอบแนวทางที่ใชในการติดตามกระบวนการตัดสินใจอนุมัติและการดําเนินงานโครงการของภาครัฐใหเปนไปตามหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง

(4) ปรับปรุงกฎหมายวาดวยเสรีภาพดานขาวสารขอมูล เพื่อสรางหลักประกันใหประชาชนสามารถเขาถึงขอมูลขาวสารไดโดยไมถูกปดกั้น

5) สรางภูมิคุมกัน-สรางชาต ิ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถใชเปนแนวทางในการกําหนดนโยบายของชาติ เพื่อสรางภูมิคุมกันตอสถานการณท่ีเขามากระทบโดยฉับพลัน เพื่อปรับปรุงนโยบายตางๆ ใหเหมาะสมยิ่งข้ึน และเพื่อวางแผนยุทธศาสตรในการสงเสริมการเติบโตท่ีเสมอภาคและยั่งยืน

วิกฤตดานการเงินท่ีมีผลกระทบตอประเทศกําลังพัฒนาทั้งหลาย คร้ังแลวคร้ังเลา ในชวงทศวรรษท่ีผานมา เปนสัญญาณเตือนใหรูถึงอันตรายและความยุงยากของระบบเศรษฐกิจ

Page 39: Phil0351sm ch2

52

ในยุคโลกาภิวัตน ซ่ึงมีการเคล่ือนทุนจํานวนมหาศาลระหวางประเทศตางๆ อยางไรระเบียบ วิกฤตเหลานี้ทําใหการพัฒนาคงตองชะงักในทุกดาน การเลิกจางงานทําใหคนจํานวนมากตองหลุดเขาสูวงจรของความยากจนและทําใหทุนทางสังคมตองออนแอลง

หลักของเศรษฐกิจพอเพียงซ่ึงเนนการสรางความเขมแข็งภายในเพ่ือเปนภูมิคุมกันตอผลกระทบจากภายนอก (จรวยพร ธรณินทร, 2551) สามารถใชเปนแนวทางในการกําหนดนโยบายมหภาคของประเทศ เพื่อใหอยูไดในส่ิงแวดลอมท่ีผันผวน ดังนั้น การใชหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงในนโยบายการพัฒนาประเทศจะทําใหมีการใชทุนและทรัพยากรทุกประเภทของประเทศอยางใหเกิดประโยชนสูงสุดเพื่อสรางความเขมแข็งภายในเพื่อรับมือกับโลกาภิวัตน

ขอเสนอแนะเพื่อการปฏิบัต ิ(1) ปรับนโยบายเกี่ยวกับพลังงานตางๆ ใหมีความสอดคลองตองกันใหมาก

ข้ึน เนนการพึ่งตนเองใหมากข้ึน ดวยการเรงวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทดแทนและการใชพลังงานใหคุมคาสูงสุด

(2) คงนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค แตปรับปรุงการดําเนินงานใหเปนไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อใหเกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืน

6) ปลูกจิตสํานึก-ปรับคานยิม

ในการปลูกฝงจิตสํานึกพอเพียง จําเปนตองมีการปรับเปล่ียนคานิยม และความคิดของคน เพื่อใหเอ้ือตอการพัฒนาคน ความสําเร็จระยะยาวของการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงข้ึนอยูกับการปลูกฝงแนวคิดนี้ใหกลายเปนสวนสําคัญในวัฒนธรรมการพัฒนาของประเทศ

ขณะน้ีไดมีการนําเร่ืองของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบรรจุไวในหลักสูตรการศึกษา ต้ังแตระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมถึงระดับอาชีวศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียน โดยเนนการเรียนรูจากการปฏิบัติ ฝกฝนใหเด็กและเยาวชนคิดวิเคราะหเปน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และสรางคานิยมในการทําตนใหเปนประโยชนตอสังคม อนุรักษส่ิงแวดลอม และกําลังมีการทดลองนําหลักการเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกตใชในการบริหารสถานศึกษาดวย ความพยายามดังกลาวจะไดผลก็ตอเม่ือครูและผูบริหารโรงเรียนเห็นคุณคา มีความศรัทธา และมีแรงจูงใจในการดําเนินการอยางตอเนื่อง

การศึกษาในโรงเรียนเปนเพียงสวนหน่ึงของระบบการศึกษาโดยรวม คนเราเร่ิมเรียนรูจากครอบครัวจากคนรอบขางและเพ่ือน ความรูเกิดข้ึนจากประสบการณตรงในการปะทะสังสรรคกับคนอ่ืนๆ และส่ิงตางๆ รอบตัว และจากการดูดซับจากส่ือชนิดตางๆ ซ่ึงมีอิทธิพลอยางยิ่งตอการเรียนรูของคนในยุคปจจุบัน ความกาวหนาทางเทคโนโลยีการส่ือสารทําใหชองทางการ

Page 40: Phil0351sm ch2

53

รับรูขาวสารความรูและความบันเทิงจากท่ัวโลกกวางขวางข้ึน และบอยคร้ังท่ีคุณภาพของวิธีการนําเสนอทําใหคนพลอยคิดไปดวยวา เนื้อหาของรายการตองมีคุณภาพเชนเดียวกัน นอกจากนี้ประเภทของขอมูลมักถูกกําหนดดวยความตองการของตลาดท่ีถูกบิดเบือนดวยผลประโยชนทางธุรกิจ

ขอเสนอแนะเพื่อการปฏิบัต ิ(1) พัฒนาบุคลากรดานการศึกษาใหมีความรู ความเขาใจท่ีถูกตองเกี่ยวกับ

หลักเศรษฐกิจพอเพียงและสรางแรงจูงใจในระบบการจัดการศึกษาใหบุคลากรเหลานี้สนใจและอยากท่ีจะปฏิบัติตนและปฏิบัติหนาท่ีตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

(2) ปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาท้ังในดานเน้ือหาและวิธีการเรียนการสอน เพื่อปลูกฝงใหผู เรียนมีความรูและคุณธรรม ซ่ึงเปนเง่ือนไขสําคัญสําหรับการนําหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงไปใชใหประสบผลสําเร็จ

(3) ขยายรูปแบบการบริหารและจัดการสถานศึกษาโดยใชหลักเศรษฐกิจพอเพียงใหกวางขวาง และครอบคลุมมิติตางๆ ยิ่งข้ึน

(4) ใหการสนับสนุนการศึกษานอกโรงเรียนใหมากข้ึน เพื่อตอบสนองความตองการในการเรียนรูตลอดชีวิตของชุมชน และสงเสริมการบูรณาการการพัฒนาและการเรียนรูในชุมชน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

(5) หาวิธีสงเสริมการเรียนรูเร่ืองเศรษฐกิจพอเพียงผานส่ือมวลชน รวมถึงการเพิ่มเวลาใหกับรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาคน การพัฒนาสังคม และการมีสวนรวมของประชาชนในการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

(6) สรางการยอมรับในสังคมตอบุคคลในชุมชน ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคอ่ืนๆ ท่ีประพฤติตนเปนแบบอยางท่ีดีในการใชชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง


Top Related