วัดพระธรรมกาย know dhammakaya

97
cover.indd 1 4/19/10 12:26:05 AM www.kalyanamitra.org

Upload: meditation-for-world-peace

Post on 27-Jul-2015

435 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

http://www.webkal.org

TRANSCRIPT

Page 1: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

cover.indd 1 4/19/10 12:26:05 AM

www.kalyanamitra.org

Page 2: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 1

สร้างวัด..ให้เป็นวัด

สร้างพระ..ให้เป็นพระแท้

สร้างคน..

ให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ

���������.indd 1 4/19/10 12:05:08 AM

www.kalyanamitra.org

Page 3: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 2

คำนำ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ เป็นวาระครบ ๔๐ ปี ของวัดพระธรรมกาย

เป็นระยะเวลาที่วัดกำลังเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้มีสาธุชน

ผู้มีบุญจำนวนมากมีโอกาสเดินทางไปวัดพระธรรมกายเป็นครั้งแรก

หลังจากที่ได้ยินชื่อมาเป็นเวลานาน เมื่อไปถึงแล้วก็อยากจะรู้จัก

พุทธสถานแห่งนี้ให้มากขึ้น “รู้จักวัดพระธรรมกาย” เล่มนี้ จะแนะนำให้

รู้จักวัดพระธรรมกายในหลากหลายแง่มุม ทั้งเรื่องราวความเป็นมาที่

น่าสนใจในอดีต เรื่องราวของมหาปูชนียาจารย์และมโนปณิธานของท่าน

แนวคิดในการสร้างวัด สิ่งก่อสร้างในวัด โครงการต่าง ๆ ของวัด รางวัลที่

ได้รับ ฯลฯ

เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว จะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย

มากขึ้นในระดับที่ใกล้เคียงกับคนที่เข้าวัดมานานระยะหนึ่ง หวังว่า

หนังสือเล่มนี้จะมีส่วนเสริมสร้างความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับการทำงาน

เผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดพระธรรมกาย และเป็นแรงบันดาลใจ

ในการช่วยกันทะนุบำรุงและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แผ่ขยายออกไป

ทั่วโลก ให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ดวงตะวันไม่เคยลับฟ้า นำ

แสงสว่างไปสู่ใจของมวลมนุษยชาติทุกมุมโลก เพื่อเป็นที่พึ่งของมหาชน

ชาวโลกสืบไป

ขอต้อนรับสู่วัดพระธรรมกายด้วยความยินดี

คณะผู้จัดทำ

๒๒ เมษายน ๒๕๕๓

���������.indd 2 4/19/10 12:05:08 AM

www.kalyanamitra.org

Page 4: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 3

สารบัญ จากวันวานถึงวันนี้

มหาปูชนียาจารย์

สร้างวัดตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สร้างวัดให้เป็นวัด : เติบใหญ่ด้วยพลังแห่งศรัทธา

ผลงานที่ผ่านมา

รางวัลที่ได้รับ

สมาธิภาวนา : กรณียกิจที่ทุกคนควรทำ

บุญอยู่เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จของชีวิต

สาระน่ารู้ก่อนไปวัด

๑๐

๑๗

๒๐

๗๕

๗๙

๘๓

๙๐

๔๗

���������.indd 3 4/19/10 12:05:09 AM

www.kalyanamitra.org

Page 5: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 4

���������.indd 4 4/19/10 12:05:23 AM

www.kalyanamitra.org

Page 6: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 5

วัดพระธรรมกายในวันนี้ ได้ผ่านวันเวลาอันยาวนานมาถึง ๔

ทศวรรษ โดยมุ่งมั่นในภารกิจเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย เพื่อ

สันติสุขแก่มวลมนุษยชาติตลอดมา

ย้อนไปในวันวาน ผืนดินที่ก่อตั้งวัดพระธรรมกายเป็นเพียง

ท้องนากว้างไกลสุดสายตา ระยิบระยับด้วยเปลวแดด ปราศจากต้นไม้

น้อยใหญ่และถาวรวัตถุใด ๆ ในยามค่ำคืนมีเพียงดาวพราวแสงเต็มผืนฟ้า

ในวันมาฆบูชาที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๓ หมู่คณะผู้มี

ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยพระราชภาวนาวิสุทธิ์

(หลวงพ่อธัมมชโย) ซึ่งขณะนั้นเพิ่งบวชได้เพียง ๑ พรรษา คุณยายอาจารย์

มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง (อายุ ๖๑ ปี) และศิษยานุศิษย์ ได้ร่วม

แรงร่วมใจกันขุดดินก้อนแรก ก่อสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมขึ้นบน

ที่ดินที่ได้รับบริจาคจากคุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดี

จำนวน ๑๙๖ ไร่ (ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมได้รับวิสุงคามสีมา และต่อมา

ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดพระธรรมกาย” เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.

๒๕๒๔)

ขณะเริ่มก่อสร้างวัด คุณยายอาจารย์ฯ มีเงินทุนเริ่มแรกเพียง

๓,๒๐๐ บาท ซึ่งแทบไม่ต่างอะไรกับการสร้างวัดด้วยมือเปล่า ครั้งนั้นมี

ลูกศิษย์ถามท่านว่า “เรามีเงินทุนอยู่ เพียงเท่านี้ จะสร้างวัดสำเร็จได้

อย่างไร” คุณยายอาจารย์ฯ ถามกลับไปว่า “ถ้าเราจะสร้างคนให้เป็นคนดี

มีศีลธรรม ยอมอุทิศชีวิตให้พระศาสนาขึ้นมาสักคนหนึ่งจะต้องใช้เงินสัก

เท่าไร” ศิษย์คนนั้นตอบว่า “หมดเงินไปเป็น ๑๐๐ ล้าน ก็ยังไม่แน่ว่าจะ

จากวันวานถึงวันนี้

���������.indd 5 4/19/10 12:05:26 AM

www.kalyanamitra.org

Page 7: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

สร้างขึ้นมาได้สักคน” คุณยายอาจารย์ฯ จึงพูดว่า “ตอนนี้ยายมีคนดี ๆ

อย่างพวกคุณมานั่งอยู่ตรงหน้านี้แล้วตั้ง ๑๑ คน แสดงว่ายายมีทุนอยู่แล้ว

ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ล้าน ยายต้องสร้างสำเร็จแน่”

เมื่อมีทั้งที่ดินและหมู่คณะที่พร้อมจะทำงานเผยแผ่พระพุทธ-

ศาสนาแล้ว การหาทุนสร้างวัดก็เริ่มขึ้น โดยการช่วยกันเขียนหนังสือ

ตามหาผู้ที่เคยทำบุญร่วมกันมาในอดีตชาติให้ได้มาสร้างบุญร่วมกันอีกใน

ชาตินี้ และอธิษฐานให้ผู้มีบุญเหล่านั้นมีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่มีชื่อ

ว่า เดินไปสู่ความสุข หลังจากหนังสือเล่มนี้เผยแพร่ออกไป ก็เริ่มมี

สาธุชนเดินทางไปร่วมทำบุญสร้างวัด บางท่านก็ส่งเงินไปทำบุญทาง

ไปรษณีย์ จนกระทั่งพอมีทุนดำเนินการก่อสร้างวัด

ผลงานชิ้นแรกของหมู่คณะ ก็คือ การขุดคูรอบพื้นที่ เพื่อกั้น

อาณาเขต และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ญาติโยมว่าจะมีการสร้างวัด

ขึ้นบนพื้นที่แห่งนี้จริง ๆ

รู้จักวัดพระธรรมกาย 6

���������.indd 6 4/19/10 12:05:30 AM

www.kalyanamitra.org

Page 8: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

ในระยะแรก การสร้างวัดเป็นไปด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง

ขาดแคลนทั้งกำลังทรัพย์และกำลังคน ที่มีอยู่ เต็มเปี่ยม คือ กำลังใจ

เท่านั้น อาหารการกินขณะนั้นก็มีแต่น้ำพริกจิ้มกับผักบุ้งและดอกโสนที่

เก็บมาจากท้องนาเป็นหลัก

ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ อาคารหลังแรก คือ อาคารจาตุมหาราชิกาได้

ก่อสร้างขึ้น เพื่อรองรับสาธุชนที่ไปปฏิบัติธรรมที่วัด ต่อมาเมื่อสาธุชน

เหล่านี้ได้รับความสุขจากการทำสมาธิ ก็ชักชวนกันเข้าวัดมากขึ้น

จนอาคารหลังนี้ไม่พอรองรับ ต้องนั่งสมาธิกันใต้ต้นไม้ บางครั้งก็โดน

แดด โดนฝน ทางวัดจึงสร้างสภาธรรมกายสากลหลังคาจากขึ้น เพื่อให้

สาธุชนมีที่นั่งเพียงพอ หลังจากนั้นไม่กี่ปี ผู้คนก็เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ทางวัดจึงสร้างสภาธรรมกายสากลและมหารัตนวิหารคดขึ้นเพื่อรองรับ

การสร้างอาคารสถานที่ต่าง ๆ ในวัดพระธรรมกายจึงเป็นการสร้างตาม

ความจำเป็นในการใช้งาน โดยยึดหลัก “ประหยัดสุด ประโยชน์สูง และ

คงทนถาวร”

รู้จักวัดพระธรรมกาย 7

���������.indd 7 4/19/10 12:05:34 AM

www.kalyanamitra.org

Page 9: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 8

���������.indd 8 4/19/10 12:05:38 AM

www.kalyanamitra.org

Page 10: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

ในขณะที่กล้าไม้และเสาเข็มแต่ละต้นหยั่งลงในผืนดิน ธรรมะ

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ถูกปลูกฝังลงในใจของมหาชนควบคู่กันไป

ตามแนวคิด “สร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ และสร้างคนให้

เป็นคนดี”

จากไร้ที่ดิน... กลายมาเป็นผืนดินอันกว้างใหญ่

จากผืนนาที่แห้งแล้งว่างเปล่า... กลายเป็นพุทธสถานที่สง่างาม

จากพระภิกษุ ๑ รูป… กลายเป็นหลักสิบ หลักร้อย หลักพัน...

และจะเพิ่มมากขึ้น

จากสาธุชนจำนวนร้อย... กลายเป็นจำนวนพัน หมื่น แสน

และจำนวนล้านในอนาคต

ฯลฯ

ทุกอณูของผืนดิน ทุกสิ่งก่อสร้าง ทุกกิจกรรมงานบุญ และทุกสิ่ง

ดี ๆ ที่เกิดขึ้นในวัดแห่งนี้ ไม่ใช่ผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็น

ผลงานของคณะพระภิกษุ สามเณร และสาธุชนทุกยุคทุกสมัย ที่ฟันฝ่า

มรสุมน้อยใหญ่ร่วมกันมาครั้งแล้วครั้งเล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่คณะ

ยุคบุกเบิกที่ต้องอาศัยความศรัทธา ความมานะบากบั่น และความอดทน

อย่างแรงกล้า จึงสามารถทำให้ภาพแห่งความฝันที่จะสร้างวัดให้ได้

สักแห่งหนึ่งกลายมาเป็นความจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมดังเช่น

ปัจจุบัน...

รู้จักวัดพระธรรมกาย 9

���������.indd 9 4/19/10 12:05:41 AM

www.kalyanamitra.org

Page 11: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 10

มหาปูชนียาจารย์ วัดพระธรรมกายมีจุดกำเนิดมาจากมโนปณิธานอันยิ่งใหญ่ของ

มหาปูชนียาจารย์ทั้ง ๒ ท่าน คือ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย และคุณยายอาจารย์

มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย รวมทั้ง

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย

ที่ปรารถนาจะเผยแผ่ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสู่จิตใจของ

มวลมนุษยชาติ เพื่อสร้างสันติสุขที่แท้จริงให้เกิดขึ้นแก่โลก

���������.indd 10 4/19/10 12:05:42 AM

www.kalyanamitra.org

Page 12: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 11

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

พระมงคลเทพมุนีได้ปฏิบัติธรรมจนค้นพบวิชชาธรรมกาย

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เลือนหายไปกลับคืนมาในวันเพ็ญเดือน ๑๐

พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยตั้งสัจจาธิษฐานเอาชีวิตเป็นเดิมพันว่า “ถ้าเรานั่งลงไป

ครั้งนี้ไม่เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าต้องการ เป็นอันไม่ลุกจากที่นี้จนหมด

ชีวิต” ก่อนที่ท่านจะค้นพบวิชชาธรรมกายกลับคืนมา ไม่มีใครรู้ว่ามนุษย์

ทุกคนมีพระธรรมกายอยู่ในตัว เพราะความรู้นี้หายไปเป็นเวลาเกือบ

๒,๐๐๐ ปี หลังพุทธปรินิพพาน

เมื่อพระมงคลเทพมุนีค้นพบวิชชาธรรมกายแล้ว ท่านก็มุ่งมั่น

ทำงานพระศาสนา และสอนหลักการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย

แก่มหาชนตลอดชีวิตของท่าน โดยมีคำสอนที่เป็นสูตรสำเร็จในการ

ปฏิบัติธรรม คือ “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” ท่านเผยแผ่วิชชาธรรมกายจนมี

ศิษยานุศิษย์มากมายทั้งภายในและต่างประเทศ ส่งผลให้วัดปากน้ำ

ภาษีเจริญ มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วสังฆมณฑล ทั้งในด้านปริยัติ ปฏิบัติ

และปฏิเวธ

ก่อนที่พระมงคลเทพมุนีจะมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ท่านได้

ฝากฝังให้บรรดาลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด ช่วยกันเผยแผ่วิชชาธรรมกายสู่ชาวโลก

ต่อไป เพราะวิชชาธรรมกายสามารถช่วยให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์

และนำสันติสุขมาสู่โลกได้จริง

���������.indd 11 4/19/10 12:05:42 AM

www.kalyanamitra.org

Page 13: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 12

คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย

คุณยายอาจารย์ฯ เป็นศิษย์เอกของพระมงคลเทพมุนี ท่านได้

ศึกษาวิชชาธรรมกายขั้นสูง และมีญาณทัสสนะแม่นยำจนกระทั่ง

ได้รับคำชมจากพระมงคลเทพมุนี ว่า “หนึ่งไม่มีสอง” หลังจากที่

พระมงคลเทพมุนีมรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ คุณยายอาจารย์ฯ ยังคง

สอนธรรมปฏิบัติอยู่ที่บ้านพักในบริเวณวัดปากน้ำ เพื่อเผยแผ่พระพุทธ-

ศาสนา วิชชาธรรมกายแก่ชาวโลก ตามคำสั่งของพระมงคลเทพมุนี และ

เพื่อรอคอยผู้สืบทอดวิชชาธรรมกายตามที่พระมงคลเทพมุนี เคยกล่าวไว้

ว่า “มาเกิดแล้วที่จังหวัดสิงห์บุรี จะเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก”

ต่อมา มีลูกศิษย์ไปเรียนธรรมปฏิบัติกับคุณยายอาจารย์ฯ ที่

วัดปากน้ำเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้มีนิสิตหนุ่มจากมหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์คนหนึ่งเป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี ต่อมาได้อุปสมบทเป็น

พระภิกษุ มีฉายาว่า “ธัมมชโย” เมื่อบวชแล้วท่านได้สั่งสอนธรรมปฏิบัติ

ที่บ้านธรรมประสิทธิ์ในบริเวณวัดปากน้ำ ซึ่งมีผู้สนใจไปปฏิบัติธรรมกัน

อย่างเนืองแน่นจนต้องหาทางขยับขยายพื้นที่ด้วยการสร้างวัดขึ้น ซึ่งก็คือ

วัดพระธรรมกายในปัจจุบัน

คุณยายอาจารย์ฯ คือ ผู้อยู่ เบื้องหลังความสำเร็จทั้งปวงของ

วัดพระธรรมกาย ถ้าไม่มีท่านก็ไม่มีวัดพระธรรมกายในวันนี้ คณะ

ศิษยานุศิษย์จึงยกย่องท่านด้วยการขานนามท่านว่า “คุณยายอาจารย์

มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย”

���������.indd 12 4/19/10 12:05:44 AM

www.kalyanamitra.org

Page 14: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 13

���������.indd 13 4/19/10 12:05:48 AM

www.kalyanamitra.org

Page 15: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 14

���������.indd 14 4/19/10 12:06:08 AM

www.kalyanamitra.org

Page 16: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 15

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)

ผู้สืบทอดวิชชาธรรมกาย

หลวงพ่อธัมมชโยมีความสนใจในพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติ

ธรรมตั้งแต่เยาว์วัย ท่านได้พบกับคุณยายอาจารย์ฯ ในขณะที่กำลังเรียน

ปี ๑ อยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท่านทุ่มเทศึกษาวิชชาธรรมกาย

ด้วยการเดินทางไปปฏิบัติธรรมกับคุณยายอาจารย์ฯ ที่วัดปากน้ำทุกวัน

ไม่เคยขาด มีผลการปฏิบัติธรรมที่ดีเยี่ยม เป็นที่ยอมรับของคุณยาย

อาจารย์ฯ ให้ช่วยสอนธรรมะแก่สาธุชนที่บ้านธรรมประสิทธิ์

เมื่อได้ปฏิบัติธรรมมากขึ้น ท่านก็ยิ่งบังเกิดความศรัทธาเชื่อมั่นใน

วิชาความรู้ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา ท่านจึงตั้งใจว่าเมื่อจบการศึกษาแล้ว

จะบวชตลอดชีวิต หลังจากที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก

หลวงพ่อธัมมชโยมีความสนใจในพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติ หลวงพ่อธัมมชโยมีความสนใจในพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติ

���������.indd 15 4/19/10 12:06:23 AM

www.kalyanamitra.org

Page 17: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 16

คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร เมื่อปี

พ.ศ. ๒๕๑๒ แล้ว ในวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านได้เข้าพิธี

บรรพชาอุปสมบทอุทิศชีวิตแก่พระศาสนาที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้รับ

ฉายาว่า “ธัมมชโย” แปลว่า “ผู้ชนะโดยธรรม” โดยมีพระเทพเวที

(ปัจจุบันคือสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ

ภาษีเจริญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านและคุณยายอาจารย์ฯ ได้เป็นผู้นำ

ในการสร้างวัดพระธรรมกายขึ้น เพื่อเป็นสถานที่สอนธรรมปฏิบัติและ

เผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งหลวงพ่อธัมมชโยได้อาศัยพุทธสถานอัน

ศักดิ์สิทธิ์ที่รักยิ่งแห่งนี้ ทำภารกิจเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

และปลูกฝังศีลธรรม เพื่อสันติสุขแก่มวลมนุษยชาติ ตลอดเวลา ๔๐ ปี

ที่ผ่านมา และในอนาคตพุทธสถานแห่งนี้ จะเป็นสมบัติของแผ่นดิน

และเป็นมรดกที่ล้ำค่าของพระพุทธศาสนาสืบไป

หลวงพ่อธัมมชโยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ

ชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่พระสุธรรมยานเถร ในวันที่ ๕ ธันวาคม

พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษา

พระพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ และได้รับพระราชทานพัดยศเลื่อนสมณศักดิ์

เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ใน

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙

���������.indd 16 4/19/10 12:06:23 AM

www.kalyanamitra.org

Page 18: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 17

หลวงพ่อธัมมชโย คุณยายอาจารย์ฯ และศิษยานุศิษย์ ได้ร่วมแรง

ร่วมใจกันสร้างวัดพระธรรมกายขึ้นภายใต้แนวคิด “สร้างวัดให้เป็นวัด

สร้างพระให้เป็นพระ และสร้างคนให้เป็นคนดี” ตามหลักปฏิรูปเทส ๔

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อสร้างวัดให้มีคุณภาพ จะได้จูงใจคน

ให้อยากเข้าวัดปฏิบัติธรรม ซึ่งจะเกิดผลดีทั้งแก่ส่วนตน ส่วนรวม และ

เป็นผลดีต่อความเจริญรุ่งเรืองของพระศาสนา

หลัก “ปฏิรูปเทส ๔” ประกอบด้วย

๑. อาวาสเป็นที่สบาย คือ การปรับปรุงพื้นที่ภายในวัดให้สวยงาม

ร่มรื่น ดูแลวัดให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ใครเห็นก็รู้สึกสบายใจ

๒. อาหารเป็นที่สบาย คือ การตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารญาติโยม

ที่มาวัดอย่างเท่าเทียมกันทุกคน บริการให้ความสะดวก โดยไม่ให้ญาติโยม

เกิดความกังวล รวมทั้งดูแลเอาใจใส่ภัตตาหารที่ญาติโยมนำมาถวายพระ

และให้ความเคารพในทานของญาติโยม

๓. บุคคลเป็นที่สบาย คือ อบรมบุคลากรในวัดให้ดี ให้อ่อนน้อม

ถ่อมตน มีกิริยามารยาทเรียบร้อย มีอัธยาศัยไมตรีที่ดีงาม หมั่นศึกษา

ธรรมะและปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ เป็นแบบอย่าง

ที่ดี สร้างความประทับใจแก่สาธุชน

๔. ธรรมะเป็นที่สบาย คือ เมื่อประชาชนมาวัดแล้ว จะไม่ให้กลับ

บ้านมือเปล่า ต้องได้รู้ธรรมะและได้ข้อคิดกลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน

สร้างวัดตามหลักคำสอน

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

���������.indd 17 4/19/10 12:06:24 AM

www.kalyanamitra.org

Page 19: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

นอกจากนี้ ยังมีการอบรมศีลธรรมให้แก่หน่วยงานราชการ สถาบัน

การศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปอีกด้วย

แนวคิดในการสร้ างวัดตามหลักคำสอนของพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า มีส่วนสำคัญในการทำให้สาธุชนที่เคยไปวัดมีความพึงพอใจ

จึงบอกต่อ ๆ กันไป ทำให้มีผู้ เดินทางไปประพฤติปฏิบัติธรรมที่

วัดพระธรรมกายมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความจริงแล้วผู้คน

รู้จักวัดพระธรรมกาย 18

���������.indd 18 4/19/10 12:06:45 AM

www.kalyanamitra.org

Page 20: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 19

จำนวนมากยังต้องการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ขอเพียงแต่ทางวัดต้องทำวัด

ให้น่าเข้า ด้วยการดูแลรักษาศาสนสถานให้สะอาด ร่มรื่น อบรมศาสนบุคคล

ให้มีคุณภาพ และพัฒนาวิธีการเผยแผ่ธรรมะให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อให้วัด

มีบทบาทในการถ่ายทอดศีลธรรมแก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง

���������.indd 19 4/19/10 12:07:03 AM

www.kalyanamitra.org

Page 21: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 20

วัดพระธรรมกายเติบใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา จนกระทั่ง

พื้นที่ ๑๙๖ ไร่ คับแคบลง ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ หลวงพ่อธัมมชโย

จึงมีดำริให้ขยายพื้นที่ออกไปอีก ๒,๐๐๐ ไร่ เพื่อรองรับการขยายงาน

พระศาสนาในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความเจริญรุ่งเรืองของ

พระพุทธศาสนาและสังคมไทย โดยได้รับการสนับสนุนทั้งในด้าน

กำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ จากสาธุชนผู้ใจบุญ ที่เล็งเห็นความ

จำเป็นในการขยับขยายพื้นที่วัดให้กว้างขวางขึ้น

การขยายพื้นที่และการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ของวัด

พระธรรมกาย จึงเกิดขึ้นเพื่อให้เพียงพอแก่การรองรับผู้มีบุญจากทั่วโลก

และมีลักษณะสร้างไปใช้ไปเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมีสาธุชนหลั่งไหล

ไปปฏิบัติธรรมที่วัดนับแสนคน และในอนาคตคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก

เป็นจำนวนมาก

และเนื่องจากสิ่งก่อสร้างทุกอย่างในวัดพระธรรมกายล้วนมาจาก

เงินบริจาคที่เกิดจากความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน การก่อสร้างและ

ดูแลศาสนสถานจึงอาศัยหลัก “ประหยัดสุด ประโยชน์สูง และคงทน

ถาวร” หมายความว่า สิ่งก่อสร้างทุกอย่างจะสร้างเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ

เมื่อสร้างแล้วต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด และคงทน

ถาวร ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบำรุงรักษา นอกจากนี้

บุคลากรในวัดและสาธุชนยังได้รับการปลูกจิตสำนึกให้เป็นเจ้าของวัด ให้

ช่วยกันดูแลรักษาสมบัติพระพุทธศาสนาอย่างระมัดระวัง เพื่อให้สิ่ง

สร้างวัดให้เป็นวัด : เติบใหญ่ด้วยพลังแห่งศรัทธา

���������.indd 20 4/19/10 12:07:04 AM

www.kalyanamitra.org

Page 22: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 21

ก่อสร้างทั้งหลายเกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุดต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งจะ

บังเกิดอานิสงส์ผลบุญอันเต็มเปี่ยมแก่ผู้บริจาคเงิน

อาคารสิ่งก่อสร้างสำคัญในวัดพระธรรมกายมีดังนี้

ศาลาจาตุมหาราชิกา

ศาลาจาตุมหาราชิกาสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เพื่อเป็นที่แสดง

พระธรรมเทศนาแก่ญาติโยมที่มาทำบุญในวันอาทิตย์ ส่วนของหลังคาใช้

โครงสร้างเหล็กแทนไม้ เพื่อความคงทนแข็งแรง และออกแบบไม่ให้มีเสา

กลาง ทำให้พระภิกษุผู้แสดงธรรมและสาธุชนทุกคนสามารถมองเห็นกัน

���������.indd 21 4/19/10 12:07:06 AM

www.kalyanamitra.org

Page 23: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 22

ได้ชัดเจนโดยไม่ต้องมีเสากลางมาบดบัง และยังช่วยเพิ่มพื้นที่นั่งทำให้

ศาลาจาตุมหาราชิการองรับคนได้ถึง ๕๐๐ คน เมื่อแรกสร้างมีเสียงติติงว่า

วัดพระธรรมกายอยู่ห่างไกล สร้างศาลาใหญ่ขนาดนี้จะมีใครไปใช้ แต่เมื่อ

เวลาผ่านไปไม่กี่ปี ปรากฏว่ามีสาธุชนไปวัดมากขึ้นจนล้นศาลา ต้องสร้าง

ศาลาหลังใหม่ ปัจจุบันศาลาจาตุมหาราชิกาได้รับการปรับปรุงให้เป็น

สถานที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณร

ศาลาจาตุมหาราชิกานับเป็นสิ่งก่อสร้างยุคแรก ๆ ของวัดที่ยัง

คงทนแข็งแรง และใช้งานได้คุ้มค่าอย่างแท้จริง

อุโบสถ

อุโบสถวัดพระธรรมกายเริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๐

เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๕

สถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยประยุกต์ โดยมีวัดเบญจมบพิตร

ดุสิตวนารามราชวรวิหารเป็นต้นแบบ การออกแบบยึดหลักความแข็งแรง

คงทน เรียบง่าย แต่สง่างาม มีช่อฟ้าคู่ หลังคาโค้งรับกับขอบฟ้า ด้านหลัง

อุโบสถจารึกข้อความเกี่ยวกับการสร้างอุโบสถไว้บนแผ่นหินอ่อน การ

ก่อสร้างทำด้วยความละเอียดและประณีต วัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดคัดเลือก

แต่สิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ในสมัยนั้น ดังเช่น หินเกล็ดที่ประดับผนัง

โบสถ์ภายนอก ต้องคัดเลือกหินทีละเม็ด เลือกเฉพาะเม็ดที่มีสีขาวบริสุทธิ์

เท่านั้น

เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ สมเด็จพระเทพรัตน-

ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จแทนพระองค์ เพื่อวางศิลาฤกษ์

���������.indd 22 4/19/10 12:07:07 AM

www.kalyanamitra.org

Page 24: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 23

และในวันอังคารที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ มีพิธีผูกพัทธสีมา

ภายในอุโบสถรองรับพระภิกษุเข้าร่วมประกอบสังฆกรรมพร้อม

กันได้ครั้งละ ๒๐๐ รูป

อุโบสถหลังนี้เป็นสถานที่บรรพชาอุปสมบทกุลบุตรทั้งชาวไทย

และชาวต่างประเทศมาแล้วเป็นจำนวนหลายหมื่นรูป สร้างพระภิกษุ

สืบทอดพระพุทธศาสนาและสร้างคนดีให้แก่สังคมเป็นจำนวนมาก

พระประธานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากลักษณะ

มหาบุรุษ ๓๒ ประการ ตรงตามพระไตรปิฎกและหนังสือลักษณะ

มหาบุรุษ ซึ่งหากใครประพฤติปฏิบัติธรรมมากขึ้น ก็จะพบพระพุทธรูป

ลักษณะเช่นนี้อยู่ในศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ของตนเอง

���������.indd 23 4/19/10 12:07:12 AM

www.kalyanamitra.org

Page 25: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 24

อุโบสถวัดพระธรรมกาย

ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น

ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๑

จาก สมาคมสถาปนิกสยาม

ในพระบรมราชูปถัมภ์

���������.indd 24 4/19/10 12:07:16 AM

www.kalyanamitra.org

Page 26: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 25

สภาธรรมกายสากล

ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๒๘ มีสาธุชนหลั่งไหล

ไปปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหลายหมื่นคน ทางวัดต้องสร้าง

สภาธรรมกายสากล (หลังคาจาก) ขึ้น อาคารนี้เป็นอาคารชั่วคราว หลังคา

มุงจาก พื้นปูกระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ รองรับสาธุชนได้ประมาณ

๑๒,๐๐๐ คน ใช้งานครั้งแรกในวันวิสาขบูชาปี พ.ศ. ๒๕๒๘ และยังได้

สร้างเต็นท์อเนกประสงค์ขนาดใหญ่เพิ่มเติม เมื่อรวมกันแล้วสามารถ

รองรับสาธุชนได้ประมาณ ๓๐,๐๐๐-๔๐,๐๐๐ คน ปัจจุบันสถานที่ตั้งสภา

ธรรมกายสากล (หลังคาจาก) ได้ถูกปรับปรุงพื้นที่ เพื่อสร้างอาคาร ๑๐๐

ปีคุณยายอาจารย์ฯ

ต่อมามีสาธุชนไปปฏิบัติธรรมที่วัดพร้อมกันเป็นเรือนแสน

สภาธรรมกายสากล (หลังคาจาก) ซึ่งถือว่าเป็นอาคารที่ใหญ่มากในขณะ

นั้นไม่เพียงพอต่อการรองรับ ทางวัดต้องใช้พื้นที่กลางแจ้งในการ

ประกอบพิธีกรรม ทำให้สาธุชนต้องตากแดด ตากฝน ดังเช่น ในวัน

วิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๓๙ ก่อนวันงานมีพายุฝน ทำให้พื้นที่นั่งบริเวณนั้น

เปียกแฉะ สาธุชนต้องนั่งสมาธิและทอดผ้าป่ากลางแดด พิธีกรรมใน

วันนั้นต้องรวบรัดให้เสร็จสิ้นลงในภาคเช้า เพราะถ้าพายุฝนมาก็จะไม่มี

ที่หลบฝน ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อธัมมชโยจึงมีดำริให้สร้างศาลาการเปรียญ

โดยใช้ชื่อว่า “สภาธรรมกายสากล” เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ใช้

งานครั้งแรกเมื่อวันทอดกฐิน วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งใน

ขณะนั้นพื้นที่นั่งยังเป็นพื้นดิน ปูผ้ากระสอบสีขาว หลังคามุงด้วยตาข่าย

กรองแสง (slan)

สภาธรรมกายสากลเป็นศาลาอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ ๒ ชั้น

���������.indd 25 4/19/10 12:07:17 AM

www.kalyanamitra.org

Page 27: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

ชั้นบนเป็นสถานที่ทำสมาธิภาวนาและฟังธรรมของสาธุชนในวันอาทิตย์

และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รองรับคนได้ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน

และมีรัตนบัลลังก์เป็นที่นั่งสำหรับพระภิกษุกว่าพันรูป

ชั้น ๑ (ชั้นล่าง) เป็นลานจอดรถยนต์ และมีศูนย์ประชุม

ประกอบด้วยห้องประชุมหลายขนาด ตั้งแต่ ๕๐๐ คนขึ้นไป สำหรับ

รู้จักวัดพระธรรมกาย 26

���������.indd 26 4/19/10 12:07:32 AM

www.kalyanamitra.org

Page 28: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

อบรมศีลธรรมแก่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ นักเรียน นักศึกษา

พนักงานบริษัท ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีศูนย์เด็กเพื่อดูแลเด็กเล็กที่ติดตาม

ผู้ปกครองมาวัด โดยมีอาสาสมัครเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล

สภาธรรมกายสากลมีพื้นที่ ๑๒๖ ไร่เศษ ขนาดใหญ่กว่า

สนามหลวงเกือบ ๒ เท่า

รู้จักวัดพระธรรมกาย 27

���������.indd 27 4/19/10 12:07:45 AM

www.kalyanamitra.org

Page 29: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 28

���������.indd 28 4/19/10 12:07:48 AM

www.kalyanamitra.org

Page 30: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

มหาธรรมกายเจดีย์

มหาธรรมกายเจดีย์

เจดีย์แห่งพระรัตนตรัย เป็น

เ จ ดี ย์ ท ร ง ค รึ่ ง ว ง ก ล ม

แบบ เดี ยวกับมหาวิหาร

พ ร ะ ม ง ค ล เ ทพมุ นี ( ส ด

จ นฺ ท ส โ ร ) แ ล ะ เ ป็ น

ทรงเดียวกับสาญจิเจดีย์ที่

ประเทศอินเดีย ซึ่งก่อสร้าง

มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศก

มหาราช หลังพุทธกาล

๒๐๐ กว่าปี รูปทรงของ

มหาธรรมกายเจดีย์จึงถือได้

ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่

เหนือกาลเวลา

รู้จักวัดพระธรรมกาย 29

���������.indd 29 4/19/10 12:07:49 AM

www.kalyanamitra.org

Page 31: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 30

มหาธรรมกายเจดีย์เป็นบุญสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างขึ้นด้วย

พลังศรัทธาของมหาชน ดังมีรายนามของผู้มีบุญทั่วโลกที่ร่วมสร้าง

พระธรรมกายประจำตัวปรากฏอยู่ที่ฐานองค์พระถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐ องค์

ในอนาคตมหาธรรมกายเจดีย์จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์

แห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนายุคปัจจุบัน และจะดำรงอยู่

เป็นสมบัติของโลก เพื่อประกาศคุณของพระรัตนตรัยสืบต่อไปยัง

ลูกหลานอีกนานนับพันปี และจะเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวโลกตื่นตัวมา

รวมกันปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงพระธรรมกายในอนาคต

มหาธรรมกายเจดีย์ออกแบบด้วยหลักวิศวกรรมให้คงอยู่ได้ไม่ต่ำ

กว่า ๑,๐๐๐ ปี และใช้วัสดุพิเศษที่คงทนกว่า ๑,๐๐๐ ปี เส้นผ่าศูนย์กลาง

๑๙๔.๔ เมตร สูง ๓๒.๔ เมตร ตอกเสาเข็มต้นแรกวันที่ ๘ กันยายน

พ.ศ. ๒๕๓๘ หล่อองค์พระประจำตัวครั้งสุดท้ายวันที่ ๒๒ เมษายน

พ.ศ. ๒๕๕๓

มหาธรรมกายเจดีย์ประกอบด้วย ๓ ส่วน ซึ่งสื่อถึงพุทธรัตนะ

ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ

พุทธรัตนะ คือ บริเวณโดมครึ่งวงกลมและเชิงลาดรอบ

มหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระธรรมกายประจำตัว

๓๐๐,๐๐๐ องค์ ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมพุทธเจ้า

หล่อด้วยเงินแท้น้ำหนัก ๑๔ ตัน และพระธรรมกายประจำตัวอีก

๗๐๐,๐๐๐ องค์

ธรรมรัตนะ คือ บริเวณวงแหวนถัดจากพุทธรัตนะลงมา

สังฆรัตนะ คือ วงแหวนส่วนล่างสุด ใช้เป็นที่นั่งของพระภิกษุ

๑๐,๐๐๐ รูป

���������.indd 30 4/19/10 12:07:51 AM

www.kalyanamitra.org

Page 32: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 31

บริเวณรอบมหาธรรมกายเจดีย์มี “ลานธรรม” ใช้เป็นที่ประกอบ

ศาสนพิธี ฟังธรรม และปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

รองรับสาธุชนได้ ๔๐๐,๐๐๐ คน มหาธรรมกายเจดีย์จึงเปรียบ

เสมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรมกลางแจ้ง ที่จะช่วยให้ธรรมะของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแผ่ขยายไปสู่ใจของมหาชน ปัจจุบันในวันสำคัญ

ทางพระพุทธศาสนาจะมีสาธุชนจากทั่วโลกเดินทางมาปฏิบัติธรรม

ณ ลานธรรม มหาธรรมกายเจดีย์ครั้งละหลายแสนคน

ทุกวันในเวลา ๐๖.๐๐ น. และ ๑๘.๐๐ น. มีพิธีบูชา

มหาธรรมกายเจดีย์ ขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาไปร่วมพิธี

���������.indd 31 4/19/10 12:07:59 AM

www.kalyanamitra.org

Page 33: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 32

พระธรรมกายประจำตัว

พระธรรมกายประจำตัวที่ประดิษฐานอยู่ ณ มหาธรรมกายเจดีย์

สร้างขึ้นตามลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ หล่อด้วยโลหะซิลิกอน

บรอนซ์ ที่คงทนและแข็งแรงเป็นพิเศษ เพื่อให้องค์พระอยู่ได้นาน

นับพันปี และเคลือบผิวพระธรรมกายประจำตัวด้วยทองคำแท้ ๆ

���������.indd 32 4/19/10 12:08:09 AM

www.kalyanamitra.org

Page 34: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 33

ซึ่งองค์พระที่สร้างขึ้นนอกจากคงทนแล้วยังดูสวยงามด้วย

องค์พระภายในมหาธรรมกายเจดีย์ เตรียมเผื่อไว้สำหรับอนาคต

เมื่อองค์พระภายนอกชำรุดเสียหายจะได้นำองค์พระภายในออกมา

ประดิษฐานแทน เพื่อให้มหาธรรมกายเจดีย์สมบูรณ์อยู่ได้นานนับพันปี

���������.indd 33 4/19/10 12:27:23 AM

www.kalyanamitra.org

Page 35: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

มหารัตนวิหารคด

มหารัตนวิหารคดเป็นอาคารขนาดใหญ่ ๒ ชั้น สร้างขึ้นรอบ

ลานธรรม สถาปัตยกรรมเน้นความเรียบง่าย ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และ

คงทนถาวรอยู่ได้นานนับพันปี

รู้จักวัดพระธรรมกาย 34

���������.indd 34 4/19/10 12:27:25 AM

www.kalyanamitra.org

Page 36: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 35

���������.indd 35 4/19/10 12:27:30 AM

www.kalyanamitra.org

Page 37: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 36

มหารัตนวิหารคดสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

เพื่อเป็นศูนย์รวมของพุทธบุตรและพุทธศาสนิกชนที่ไปแสวงบุญในวัน

สำคัญทางพระพุทธศาสนานอกจากนี้ในวันปกติ มหารัตนวิหารคดยังใช้

เป็นสถานที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย

พื้นที่มหารัตนวิหารคดสามารถรองรับผู้มีบุญได้ ๖๐๐,๐๐๐ คน

หากรวมกับพื้นที่ในลานธรรมก็จะสามารถรองรับได้ถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน

���������.indd 36 4/19/10 12:27:35 AM

www.kalyanamitra.org

Page 38: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 37

มหาวิหารแห่งนี้จึงเป็นสถานที่รวมพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลกที่จะมาทำ

กิจกรรมบุญร่วมกัน และพร้อมต่อการรองรับงานพระศาสนาทั้งใน

ปัจจุบันและในอนาคต

���������.indd 37 4/19/10 12:28:02 AM

www.kalyanamitra.org

Page 39: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

มหาวิหารแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อทองคำแท้ขนาดหนึ่ง

เท่าครึ่งขององค์จริงของพระมงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยดำริของหลวงพ่อธัมมชโย เพื่อแสดง

ความกตัญญู และรำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระมงคลเทพมุนี ที่ได้

รู้จักวัดพระธรรมกาย 38

���������.indd 38 4/19/10 12:28:04 AM

www.kalyanamitra.org

Page 40: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

สละชีวิตเป็นเดิมพัน จนสามารถค้นพบวิชชาธรรมกายของพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้ากลับคืนมาสู่โลกได้อีกครั้ง

หลวงพ่อธัมมชโยได้ให้แนวคิดในการก่อสร้างวิหารหลังนี้ไว้ว่า

ต้องมีความคงทนอย่างน้อย ๑,๐๐๐ ปี สมกับความยากของการบังเกิดขึ้น

ของผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย รูปทรงของวิหารต้องอยู่เหนือกาลเวลา ไม่ว่า

ในปัจจุบันหรืออีกพันปีข้างหน้า ก็จะยังนำสมัยตลอดกาล ด้วยเหตุนี้

���������.indd 39 4/19/10 12:28:21 AM

www.kalyanamitra.org

Page 41: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 40

การออกแบบจึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ทรงกลม” ซึ่งเป็นรูปทรงของ

ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหลาย และยังเป็นรูปทรงของ

“ดวงธรรม” ที่อยู่ ณ ศูนย์กลางกายของมนุษย์ทุกคนอีกด้วย

มหาวิหารพระมงคลเทพมุนีปูด้วยหินอ่อนทั้งภายในและ

ภายนอก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐๘ เมตร ทำพิธีตอกเสาเข็มต้นแรกเมื่อ

วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ การก่อสร้างเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ ๑๐

ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของพระมงคลเทพมุนี

พื้นที่ภายในมหาวิหารแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑ เก็บบันทึกประวัติของพระมงคลเทพมุนี ตั้งแต่ปฐมวัย

มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย

ส่วนที่ ๒ ประดิษฐานรูปหล่อทองคำ

ส่วนที่ ๓ เก็บบันทึกประวัติคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกา

จันทร์ ขนนกยูง “ครูผู้สืบสายธรรม” และพระราชภาวนาวิสุทธิ์

(หลวงพ่อธัมมชโย) “ผู้สืบทอดวิชชาธรรมกาย” และประวัติความเป็นมา

ของวัดพระธรรมกายตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปัจจุบัน

นอกจากนี้ ภายในวิหารยังมีห้องปฏิบัติธรรมอีกด้วย

มหาวิหารพระมงคลเทพมุนีเปิดให้สาธุชนเข้าสักการะรูปหล่อ

ทองคำพระมงคลเทพมุนี ในวันเสาร์ เวลา ๑๒.๓๐ น.- ๑๗.๐๐ น. และวัน

อาทิตย์ เวลา ๑๑.๓๐ น.- ๑๒.๓๐ น. กรุณาแต่งกายชุดขาวล้วน

���������.indd 40 4/19/10 12:28:21 AM

www.kalyanamitra.org

Page 42: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 41

มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย เป็นวิหารทรงพีระมิด หกเหลี่ยม สีทอง

งามประดุจภูเขาทองคำ สูง ๒๙ เมตร ตั้งบนเกาะแก้วกลางน้ำรูปใบบัว

ใกล้อุโบสถวัดพระธรรมกาย ตอกเสาเข็มต้นแรกวันที่ ๑๔ มีนาคม

พ.ศ. ๒๕๔๕ และยกยอดมหาวิหารวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

ซึ่งเป็นวันครบรอบ ๓ ปีของการละสังขารของคุณยายอาจารย์ฯ

มหาวิหารหลังนี้ สร้างขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และ

ประกาศเกียรติคุณที่คุณยายอาจารย์ฯ มีต่อพระพุทธศาสนาและชาวโลก

ให้ปรากฏสืบไป ภายในมหาวิหารเป็นห้องหยกประดิษฐานมหารัตนอัฐิ-

ธาตุและรูปหล่อทองคำของคุณยายอาจารย์ฯ (สร้างขึ้นในปีที่ท่านมีอายุ

ครบ ๙๐ ปี) และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สามารถรองรับคนได้ ๓๐๐ คน

ระหว่างอุโบสถและมหาวิหารคุณยายอาจารย์ฯ มีหอเทียนที่สร้างขึ้นเมื่อ

พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อจุดประทีปบูชาธรรมคุณยายอาจารย์ฯ

���������.indd 41 4/19/10 12:28:23 AM

www.kalyanamitra.org

Page 43: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 42

หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

หอฉันคุณยายอาจารย์ฯ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ฉันภัตตาหาร

ของพระภิกษุ สามเณร โดยนำเจดีย์น้อยที่ใช้ในวันสลายร่างคุณยาย

อาจารย์ฯ มาเป็นยอดโดมของหอฉัน เพื่อระลึกถึงพระคุณของท่านที่ได้

สร้างโรงครัวและโรงทานขึ้น ณ วัดพระธรรมกาย เพื่อให้พระภิกษุ

สามเณร มีภัตตาหารฉันโดยไม่ต้องออกบิณฑบาต จะได้มีเวลาปฏิบัติ

สมณกิจได้อย่างเต็มที่

หอฉันคุณยายอาจารย์ฯ ตอกเสาเข็มต้นแรกวันที่ ๑๙ มกราคม

พ.ศ. ๒๕๔๖ และทำพิธีเปิดป้ายมงคลหอฉันวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.

๒๕๔๗ สามารถรองรับพระภิกษุ สามเณร ได้ถึง ๖,๐๐๐ รูป

ร่ วมพิธีถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานที่หอฉันได้ ในเวลา

๐๖.๓๐ น. และ ๑๐.๓๐ น.

���������.indd 42 4/19/10 12:28:36 AM

www.kalyanamitra.org

Page 44: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 43

���������.indd 43 4/19/10 12:28:55 AM

www.kalyanamitra.org

Page 45: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 44

���������.indd 44 4/19/10 12:29:04 AM

www.kalyanamitra.org

Page 46: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

อาคาร ๑๐๐ ปีคุณยายอาจารย์ฯ

เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก

อาคาร ๑๐๐ ปีคุณยายอาจารย์ฯ สร้างขึ้นเป็นมหานุสรณ์แด่

คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เพื่อเป็นศูนย์กลาง

การบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก เป็น

สถานที่เรียนพระปริยัติธรรม เป็นศูนย์กลางการศึกษาภาษาบาลีของโลก

และเป็นศูนย์กลางงานอบรมศีลธรรมให้แก่ผู้คนในสังคมไทย

อาคารหลังนี้ เป็นศูนย์รวมงานพระศาสนาทุกอย่าง ซึ่งจะช่วย

เติมความแข็งแกร่งให้แก่พระพุทธศาสนา และสามารถนำธรรมะไปสู่

ชาวโลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อขับเคลื่อนโลกไปใน

ทิศทางที่ดีงาม และเปี่ยมด้วยสันติสุข อาคาร ๑๐๐ ปีคุณยายอาจารย์ฯ

ตอกเสาเข็มต้นแรกในวันครูวิชชาธรรมกาย วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.

๒๕๕๒ คาดว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗

รู้จักวัดพระธรรมกาย 45

���������.indd 45 4/19/10 12:29:13 AM

www.kalyanamitra.org

Page 47: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 46

���������.indd 46 4/19/10 12:29:17 AM

www.kalyanamitra.org

Page 48: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 47

ตลอดระยะเวลา ๔๐ ปีที่ผ่านมา วัดพระธรรมกายได้สร้างวัดไป

พร้อม ๆ กับการสร้างคน คือ สร้างพระภิกษุให้เป็นพระแท้เพื่อสืบทอด

พระพุทธศาสนา รวมทั้งปลูกฝังศีลธรรมลงในใจของผู้คนทุกเพศทุกวัย

ด้วยการจัดโครงการอบรมศีลธรรมขึ้น ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวความคิด

เมื่อแรกเริ่มสร้างวัด คือ จะสร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ และ

สร้างคนให้เป็นคนดี นอกจากนี้ ยังได้ขยายโครงการบางโครงการออกไป

ยังประเทศต่าง ๆ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ชาวโลกมีโอกาสเรียนรู้

ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้วิธีการทำสมาธิภาวนา และรู้ว่า

เป้าหมายที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์ คือ การสร้างบุญ สร้างบารมี

ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตใจของชาวโลกแล้ว

ยังเป็นการช่วยฟื้นฟูศีลธรรมโลก ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งสันติภาพโลกอย่าง

แท้จริง

ต่อไปนี้เป็นบางส่วนของโครงการที่เกิดขึ้นในช่วง ๔๐ ปี แห่งการ

ก่อตั้งวัดพระธรรมกาย

ผลงานที่ผ่านมา

���������.indd 47 4/19/10 12:29:18 AM

www.kalyanamitra.org

Page 49: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 48

โครงการมุทิตาสักการะพระภิกษุสามเณรเปรียญธรรม ๙ ประโยค

โครงการนี้ จัดต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๕๒

มีจำนวนพระภิกษุ สามเณร เปรียญธรรม ๙ ประโยค ที่เข้าร่วมงานมุทิตา

สักการะรวมแล้วนับพันรูป

สร้างพระให้เป็นพระแท้

���������.indd 48 4/19/10 12:29:35 AM

www.kalyanamitra.org

Page 50: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 49

โครงการมอบทุนการศึกษาธรรมะแด่พระภิกษุสามเณร

จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ รูป และโครงการสอบตอบปัญหาธรรมะ

ทางก้าวหน้า “พระแท้”

โครงการนี้จัดขึ้น ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒

และครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ รวมจำนวนพระภิกษุ

เข้าสอบกว่า ๒๐๐,๐๐๐ รูป

���������.indd 49 4/19/10 12:29:45 AM

www.kalyanamitra.org

Page 51: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 50

โครงการอบรมสัมมนาพระกัลยาณมิตร

เริ่มโครงการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๓) มี

พระภิกษุจากทั่วประเทศผ่านการอบรมในโครงการนี้เป็นจำนวนหนึ่ง

หมื่นกว่ารูป

���������.indd 50 4/19/10 12:29:49 AM

www.kalyanamitra.org

Page 52: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 51

โครงการถวายมหาสังฆทาน ๑,๐๐๐ วัด ๒,๐๐๐ วัด ๓,๐๐๐ วัด

๑๐,๐๐๐ วัด ๒๐,๐๐๐ วัด และ ๓๐,๐๐๐ วัด

เริ่มโครงการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ และจัดอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อ

ให้การสนับสนุนในเรื่องปัจจัยไทยธรรมแก่พระภิกษุสามเณร และเพื่อ

เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้สร้างมหาทานบารมีกับพระภิกษุทั่วทั้ง

สังฆมณฑล

���������.indd 51 4/19/10 12:29:55 AM

www.kalyanamitra.org

Page 53: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 52

โครงการถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ ๒๖๖ วัด

และทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์

ในเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๔ จังหวัดภาคใต้

ให้การสนับสนุนพระภิกษุสามเณรที่ได้รับความเดือดร้อนจาก

เหตุการณ์ความไม่สงบใน ๔ จังหวัดภาคใต้ โครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือน

���������.indd 52 4/19/10 12:30:05 AM

www.kalyanamitra.org

Page 54: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 53

มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และจัดเป็นประจำทุกเดือนจนถึงปัจจุบันโดย

ไม่ขาดเลยแม้แต่เดือนเดียว รวมเป็นเวลาเกือบ ๕ ปีแล้ว และจะจัดตลอด

ไปจนกว่าเหตุการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้ เพื่อถวายกำลังใจให้

พุทธบุตรทุกรูปสามารถยืนหยัดเป็นพระแท้ดูแลรักษาพระพุทธศาสนา

ได้ตลอดไป

โครงการสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลกสำหรับบรรพชิต

หรือ World-PEC for Monk

จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อส่ง

เสริมให้พระภิกษุเกิดการตื่นตัวในการศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อนำไปใช้

ฝึกฝนตนเองให้เป็นพระแท้ที่สมบูรณ์ และปลูกฝังให้ตระหนักถึงบทบาท

หน้าที่ของตนในฐานะผู้นำสันติภาพโลก ด้วยการทำหน้าที่ เผยแผ่

พระธรรมคำสอน และเป็นต้นแบบทางศีลธรรมให้ชาวโลกได้ปฏิบัติตาม

เพื่อความสงบร่มเย็นของโลกสืบไป

World-PEC สำหรับบรรพชิต ครั้งที่ ๑ มีพระภิกษุ สามเณร

สมัครเข้าสอบเป็นทีม ทีมละ ๓ รูป เข้าสอบประมาณ ๓๐,๐๐๐ ทีม หรือ

ประมาณแสนรูป

���������.indd 53 4/19/10 12:30:18 AM

www.kalyanamitra.org

Page 55: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 54

โครงการถวายพระพุทธรูป จำนวน ๒๒๒ องค์

แด่วัดต่าง ๆ ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา

พระพุทธรูปองค์แรกมอบแด่ประธานาธิบดีมหินทา ราชปักษี

อีก ๒๒๑ องค์ นำไปถวายวัดต่าง ๆ ในประเทศศรีลังกา เพื่อฟื้นฟู

พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกาให้รุ่งเรือง ซึ่งรัฐบาลศรีลังกาได้จัด

พิธีเฉลิมฉลองพระประธาน เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ เมือง

มาตะเล

ต่อมา ในวันมาฆบูชาที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

นายกรัฐมนตรีรัตนสิริ วิกรามานายาเก แห่งศรีลังกาได้เดินทางมา

วัดพระธรรมกาย เพื่อถวายโล่ขอบคุณแด่หลวงพ่อธัมมชโย

���������.indd 54 4/19/10 12:30:24 AM

www.kalyanamitra.org

Page 56: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 55

โครงการทอดกฐินตกค้างทุกวัดทั่วประเทศไทย

โครงการทอดกฐินตกค้างทุกวัดทั่วประเทศไทย (กฐินสัมฤทธิ์)

เป็นโครงการที่สนับสนุนให้เด็กดี V-Star ทำหน้าที่เป็นประธานกฐิน

ไปทอดตามวัดต่าง ๆ ที่มีกฐินตกค้างทั่วประเทศ เพื่อให้ปรากฏการณ์

กฐินตกค้างหมดสิ้นไป ซึ่งจะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่พระภิกษุ

สามเณร และรักษาวัดให้รอดพ้นจากการเป็นวัดร้าง กลับกลายเป็นวัดรุ่ง

เพื่อนำความเจริญรุ่งเรืองทางศีลธรรมกลับมาสู่แผ่นดินไทย

โครงการนี้จัดขึ้นครั้งแรกที่วัดหนองเครือตาปา จังหวัดสระบุรี

เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑

���������.indd 55 4/19/10 12:30:45 AM

www.kalyanamitra.org

Page 57: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 56

โครงการอุปสมบทหมู่ ๗,๐๐๐ รูป ๗,๐๐๐ ตำบลทั่วไทย

จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒ สิงหาคม ถึง ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

เพื่อฟื้นฟูประเพณีการบวชให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่ง และสร้างศาสน-

ทายาทสืบทอดอายุพระศาสนา โครงการบวชครั้งนี้ มีผู้บวชเกินเป้า

���������.indd 56 4/19/10 12:31:00 AM

www.kalyanamitra.org

Page 58: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 57

ที่ตั้งไว้ คือ ๑๐,๖๘๕ รูป หลังจบโครงการพุทธบุตรหลายรูปเกิดกุศล

ศรัทธาอยู่ในเพศสมณะต่อไป และแยกย้ายกันไปช่วยพัฒนาวัดร้าง

ในชุมชนต่าง ๆ ให้หวนกลับคืนมาเป็นวัดรุ่ง ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายอันดียิ่ง

แห่งการเริ่มต้นยุคทองของพระพุทธศาสนาบนผืนแผ่นดินไทย

���������.indd 57 4/19/10 12:31:16 AM

www.kalyanamitra.org

Page 59: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

โครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย

จัดขึ้นร่วมกับคณะสงฆ์ทั้ งแผ่นดินและคณะกรรมาธิการ

การศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยองค์กร

ต่าง ๆ กว่า ๒๕ องค์กร เพื่อสืบสานความสำเร็จต่อจากโครงการ

อุปสมบท ๗,๐๐๐ รูป ๗,๐๐๐ ตำบลทั่วไทย

รู้จักวัดพระธรรมกาย 58

���������.indd 58 4/19/10 12:31:31 AM

www.kalyanamitra.org

Page 60: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

โครงการนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙ มกราคม – ๘ มีนาคม พ.ศ.

๒๕๕๓ โดยมีพิธีบรรพชาร่วมกันที่วัดพระธรรมกาย แต่ไปอบรมและ

อุปสมบท ณ วัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ การบวชครั้งนี้ มีจำนวนผู้บวช

ทำลายสถิติการบวชทุกครั้งที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ชาติไทย และที่

สำคัญมีพระภิกษุจำนวนมากเกิดกุศลศรัทธาบวชต่อเพื่อเป็นพระแท้

สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา นับเป็นโครงการที่สร้างพระภิกษุให้เกิดขึ้น

ในสังฆมณฑลได้เป็นจำนวนมาก

รู้จักวัดพระธรรมกาย 59

���������.indd 59 4/19/10 12:31:45 AM

www.kalyanamitra.org

Page 61: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

���������.indd 60 4/19/10 12:32:09 AM

www.kalyanamitra.org

Page 62: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

���������.indd 61 4/19/10 12:32:34 AM

www.kalyanamitra.org

Page 63: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 62

โครงการตักบาตรพระ ๕๐๐,๐๐๐ รูป ๗๖ จังหวัดทุกวัดทั่วไทย

โครงการนี้ นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูศีลธรรมและประเพณี

ตักบาตรให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองดังเช่นในอดีตแล้ว ยังเป็นการรวมพลัง

ชาวพุทธส่งกำลังใจและความช่วยเหลือแก่พระภิกษุ สามเณร ๒๖๖ วัด

ใน ๔ จังหวัดภาคใต้ ที่ไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ รวมทั้งพระภิกษุ

สามเณร และชาวพุทธ ที่ประสบภัยต่าง ๆ เช่น ภัยน้ำท่วม ภัยหนาว

���������.indd 62 4/19/10 12:32:37 AM

www.kalyanamitra.org

Page 64: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 63

ภัยแล้งต่าง ๆ เพื่อให้พุทธบุตรทั่วประเทศมีกำลังใจที่จะยืนหยัดดำรงอยู่

ในสมณเพศ เป็นพระแท้สืบทอดพระพุทธศาสนาสืบไป

โครงการนี้ ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑

และจัดต่อเนื่องมาจนครบทั้ง ๗๖ จังหวัด และในอนาคตจะมีโครงการ

ตักบาตร ๑,๐๐๐,๐๐๐ รูป และ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ล้านรูปต่อไป

���������.indd 63 4/19/10 12:32:50 AM

www.kalyanamitra.org

Page 65: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 64

โครงการอบรมธรรมทายาทและ

อุปสมบทหมู่ภาคฤดูร้อน

• ระดับอุดมศึกษา เริ่มขึ้น

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อสร้างคนให้

เป็นบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม

โดยรับสมัครนิสิต นักศึกษาชาย

เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในช่วงปิด

ภาคเรียนฤดูร้อน

• ระดับมัธยมศึกษา ใช้ชื่อว่า

รุ่นมัชฌิมธรรมทายาท

• ระดับประถมศึกษา

ใช้ชื่อว่า รุ่นยุวธรรมทายาท

โครงการอบรมธรรมทายาทหญิงภาคฤดูร้อน

• ระดับอุดมศึกษา สำหรับนิสิต นักศึกษาหญิง

• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้ชื่อว่า รุ่นมัชฌิมธรรมทายาท

หญิง

โครงการอบรมธรรมทายาทช่วยพัฒนาศีลธรรมและสร้างเยาวชน

เก่งและดีให้แก่สังคมไทยเป็นจำนวนมาก นับรวมยอดระหว่างปี พ.ศ.

๒๕๑๕ จนถึงปัจจุบัน มีเยาวชนผ่านการอบรมไปแล้วนับแสนคน

สร้างคนให้เป็นคนดี : ในประเทศ

���������.indd 64 4/19/10 12:32:59 AM

www.kalyanamitra.org

Page 66: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 65

โครงการสอบตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า

เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๕ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนตั้งแต่

ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษาตลอดจนนักเรียนทหารตำรวจรวมไป

ถึงครูอาจารย์ ได้มีโอกาสศึกษาธรรมะและสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิต

ประจำวัน โครงการนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโล่รางวัลแก่ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับ

ประเทศเป็นประจำทุกปี และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจาก

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะทุกฝ่ายต่างก็ตระหนักดีว่าหากเยาวชนเป็นคนดี

โลกนี้ก็จะดีตามไปด้วย ทำให้ในปัจจุบันมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการ

ปีละประมาณ๕,๐๐๐,๐๐๐ คน ตลอดระยะเวลา๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา

โครงการนี้ได้ช่วยปลูกฝังศีลธรรมลงในจิตใจของเยาวชนไทยไปแล้วนับ

๑๐ล้านคน

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ โครงการนี้ ได้เป็นหนึ่งใน

โครงการสร้างวัฒนธรรมสันติภาพและความไม่รุนแรง(CultureofPeace

andNon-violence)ขององค์การยูเนสโก(UNESCO)

���������.indd 65 4/19/10 12:16:49 AM

www.kalyanamitra.org

Page 67: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

โครงการเด็กดี V-Star เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก สร้างเยาวชนต้นแบบด้าน

ศีลธรรม หรือดาวแห่งความดี V-Star (The Virtuous Star)

โครงการเด็กดี V-Star เป็นโครงการปลูกฝังศีลธรรมลงในจิตใจ

ของเยาวชน เพื่อบ่มเพาะคุณธรรมให้มีนิสัยรับผิดชอบต่อตนเองและ

ส่วนรวม จะได้เป็นคนเก่งและดี ที่ เป็นอนาคตและความหวังของ

ครอบครัว สังคมประเทศชาติ และเพื่อปูพื้นฐานไปสู่การเป็นเยาวชน

ต้นแบบทางศีลธรรมของโลกในอนาคต

รู้จักวัดพระธรรมกาย66

���������.indd 66 4/19/10 12:17:03 AM

www.kalyanamitra.org

Page 68: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

วัดพระธรรมกายได้จัด

ประเมินมาตรฐานศีลธรรมและ

ประกวดวัฒนธรรมชาวพุทธ

และมีพิธีมอบรางวัลแก่สถาบัน

การศึกษาต่าง ๆ ในระดับ

ประเทศมาแล้ว๔ครั้งครั้งแรก

เมื่อวันที่ ๑๙พฤษภาคมพ.ศ.

๒๕๕๑ ณ ลานธรรม

มหาธรรมกายเจดีย์ โดยแต่ละ

ครั้งมีเด็กดี V-Star มาร่วม

กิจกรรมหลายแสนคน

���������.indd 67 4/19/10 12:17:36 AM

www.kalyanamitra.org

Page 69: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย68

โครงการอบรมพนักงานองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

นอกจากอบรมเยาวชนแล้ว วัดพระธรรรมกายยังมีโครงการ

เผยแผ่ธรรมะแก่บุคลากรในองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอีกหลาย

โครงการเพื่อพัฒนาความรู้ทางศีลธรรมแก่ผู้ใหญ่ในวัยทำงานให้สามารถ

นำธรรมะไปใช้ควบคู่กับการทำงานและการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

โครงการบรรพชาสามเณรแก้ว ๑๓,๘๔๒ รูป

เพื่ออัญเชิญ “พระบรมพุทธเจ้า”ประดิษฐานณมหาธรรมกาย

เจดีย์วันที่๘กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๔๑

โครงการบวชอุบาสิกาแก้ว กว่า ๑๔๐,๐๐๐ คน

ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ

วันที่๗-๙สิงหาคมพ.ศ.๒๕๔๑

���������.indd 68 4/19/10 12:17:50 AM

www.kalyanamitra.org

Page 70: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 69

โครงการบวชอุบาสกแก้ว กว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน

ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่

๒๙-๓๑มกราคมพ.ศ.๒๕๔๒

โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ๑๐๐,๐๐๐ คน

จัดขึ้นระหว่างวันที่๘-๑๕มีนาคมพ.ศ.๒๕๕๓เพื่อเปิดโอกาส

แก่สตรี ซึ่งเป็นเพศที่ให้ชีวิตแก่มวลมนุษยชาติได้บวชสร้างความดี และ

เพื่อปลูกฝังศีลธรรมรวมทั้งอุดมการณ์พระพุทธศาสนาเข้าไปในใจของ

สตรี ซึ่งจะมีผลต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและจะช่วยพัฒนา

ศีลธรรมโลกให้รุ่งเรืองสืบต่อไป โครงการบวชอุบาสิกาแก้วได้รับการ

ตอบรับจากสตรีไทยทั้งแผ่นดินอย่างดียิ่ง คณะผู้จัดงานจึงได้จัดโครงการ

ขึ้นเป็นครั้งที่๒โดยรับสมัครผู้บวชถึง๕๐๐,๐๐๐คน เข้าอบรมระหว่าง

วันที่๑๖-๒๙เมษายนพ.ศ.๒๕๕๓

���������.indd 69 4/19/10 12:17:58 AM

www.kalyanamitra.org

Page 71: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย70

���������.indd 70 4/19/10 12:18:41 AM

www.kalyanamitra.org

Page 72: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 71

โครงการอบรมธรรมทายาทรุ่นนานาชาติ

เริ่มโครงการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ได้จัดขึ้น

เป็นรุ่นที่๗ โดยรุ่นนี้ มีชาวต่างชาติ๘๓คนจาก๑๖ประเทศรวมทั้ง

ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศเข้ารับการอบรมภาษาที่ใช้ในการอบรม

มี ๒ ภาษา คือ ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ บรรพชาอุปสมบทที่

วัดพระธรรมกาย

โครงการสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก

หรือ World Peace Ethics Contest (World-PEC)

การสอบWorld-PEC จัดขึ้นพร้อมกันในประเทศต่าง ๆ เพื่อ

ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วโลกมีโอกาสศึกษาธรรมะ จะได้มีหลักในการ

ดำเนินชีวิตที่ถูกต้องทำให้ครอบครัวอบอุ่นมากขึ้นช่วยลดปัญหาสังคม

ซึ่งจะช่วยนำพาโลกของเราให้สงบร่มเย็น เป็นทางมาแห่งสันติภาพโลก

ที่แท้จริง

ครั้งที่ ๑ จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๕๐ครั้งที่๒

จัดขึ้นเมื่อวันที่๒๐มกราคมพ.ศ.๒๕๕๑ครั้งที่๓จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘

มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งนี้ มีผู้เข้าสอบ๗๒ เชื้อชาติจากทั่วโลก

ออกข้อสอบ๑๓ภาษาพิธีมอบโล่รางวัลแก่ผู้ชนะเลิศทุกประเภทจัดขึ้น

ณ วัดพระธรรมกายในวันมาฆบูชา (โครงการนี้จัดขึ้นสำหรับชาวไทย

ในประเทศไทยด้วย)

สร้างคนให้เป็นคนดี : สำหรับชาวต่างชาติ

���������.indd 71 4/19/10 12:18:51 AM

www.kalyanamitra.org

Page 73: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย72

โครงการจุดโคมวิสาขประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ประเทศมองโกเลีย

วัดพระธรรมกายได้จัดงานจุดโคมวิสาขประทีปเป็นพุทธบูชาขึ้น

ครั้งแรกณประเทศมองโกเลีย เมื่อวันวิสาขบูชา วันที่ ๑๙พฤษภาคม

พ.ศ.๒๕๕๑ เพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในมองโกเลียซึ่งหนังสือพิมพ์

ในมองโกเลียแทบทุกฉบับได้พาดหัวข่าวพิธีจุดโคมวิสาขประทีปครั้งนี้

นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการพลิกฟื้นพระพุทธศาสนาในมองโกเลียที่ยิ่ง

ใหญ่และงดงามต่อมาในวันวิสาขบูชาปีพ.ศ.๒๕๕๒ ได้จัดพิธีจุดโคม

วิสาขประทีปขึ้นอีกเป็นครั้งที่๒

���������.indd 72 4/19/10 12:19:22 AM

www.kalyanamitra.org

Page 74: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 73

การจัดงานวันวิสาขบูชา ณ ประเทศสิงคโปร์

จัดขึ้นระหว่างวันที่๑๗-๑๙พฤษภาคมพ.ศ.๒๕๕๑เพื่อเผยแผ่

พระพุทธศาสนาแก่ชาวสิงคโปร์ โดยมีการนำเสนอภาพจำลองเหตุการณ์

วันวิสาขบูชาตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานและจัดนิทรรศการพุทธ-

ประวัติรวมทั้งสอนวิธีนั่งสมาธิจุดวิสาขประทีปและเวียนประทักษิณ

การจัดงานวันวิสาขบูชา ณ ประเทศอินโดนีเซีย

จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อฟื้นฟู

พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีกิจกรรมที่สำคัญคือพิธี

จุดประทีปและโคมลอย และพิธีเวียนประทักษิณรอบเจดีย์บรมพุทโธ

เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

���������.indd 73 4/19/10 12:19:40 AM

www.kalyanamitra.org

Page 75: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย74

โครงการช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยไซโคลนนาร์กีส

ประเทศสหภาพเมียนมาร์

มูลนิธิธรรมกายได้นำถุงยังชีพพร้อมสิ่งของที่จำเป็นกว่า๒ตัน

ไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุไซโคลนนาร์กีสยังประเทศ

สหภาพเมียนมาร์ รวมทั้งสิ้น ๕ ครั้งด้วยกัน ในวันที่ ๘, ๒๐, ๒๑

พฤษภาคมและ๙,๑๘มิถุนายนพ.ศ.๒๕๕๑

โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย ประเทศสหรัฐอเมริกา

มอบสิ่งของแก่ผู้ประสบอัคคีภัยในมลรัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อบรรเทา

ความเดือดร้อนเมื่อวันที่๙และ๑๙พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๕๐

โครงการช่วยเหลือครูผู้ให้แสงสว่างใน ๔ จังหวัดภาคใต้

นอกจากการให้ความช่วยเหลือพระภิกษุ สามเณร และทหาร

ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว มูลนิธิธรรมกายยังให้ความ

ช่วยเหลือแก่ข้าราชการครูใน๔จังหวัดภาคใต้ด้วยโดยมอบเงินช่วยเหลือ

ทุกเดือนนับตั้งแต่เดือนมกราคมพ.ศ.๒๕๕๑เป็นต้นมา

สงเคราะห์โลก

���������.indd 74 4/19/10 12:19:51 AM

www.kalyanamitra.org

Page 76: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 75

โครงการต่าง ๆ ของวัด

พระธรรมกายหลายโครงการได้

รับการยอมรับจากนานาชาติ

จนกระทั่งได้รับรางวัลอันทรง

เกียรติหลายรางวัลจากหน่วยงาน

ต่าง ๆ รางวัลต่อไปนี้ เป็นเพียง

ส่วนหนึ่ งที่หลวงพ่อธัมมชโย

วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิ

ธรรมกายได้รับ

รางวัลที่ ได้รับ

รางวัล เหรียญเกียรติยศ มหาตมะ คานธี เพื่อสันติภาพ

จากองค์กร Akhil Bharat Rachanatmak Samaj

ได้รับเมื่อวันที่๒๒เมษายนพ.ศ.๒๕๔๘เป็นรางวัลที่ได้มาจาก

การอุทิศตนให้กับการพัฒนาเยาวชนมากว่า๔๐ป ี

���������.indd 75 4/19/10 12:20:04 AM

www.kalyanamitra.org

Page 77: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย76

รางวัล World No Tobacco Day Awards 2004

จากองค์การอนามัยโลก

ได้รับเมื่อวันที่๓๑พฤษภาคมพ.ศ.๒๕๔๗

ได้มาจากการรณรงค์ให้เยาวชนและประชาชน

เลิกสูบบุหรี่ และดำเนินกิจกรรมเทเหล้า-เผาบุหรี่

อย่างต่อเนื่อง

รางวัล Universal Peace Award จากผู้นำชาวพุทธ

ประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมยุวพุทธสงฆ์โลก

(WBSY) ครั้งที่ ๓ ณ ประเทศศรีลังกา

ได้รับเมื่อวันที่๓มีนาคมพ.ศ.๒๕๕๐ ได้

มาจากการเป็นผู้นำชาวพุทธที่มีผลงานการเผยแผ่

พระพุทธศาสนาดีเด่นของโลก

โล่ประกาศเกียรติคุณจากคณะผู้แทน ๔ จังหวัด

ได้รับเมื่อวันที่๓ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ได้มาจากการให้ความ

ช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยในหลายจังหวัด ในช่วงที่ประเทศไทยเกิด

อุทกภัยครั้งใหญ่ในปีพ.ศ.๒๕๔๙

รางวัล “สถานีวิทยุโทรทัศน์ ส่งเสริมพระพุทธศาสนาดีเด่น”

จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ได้รับเมื่อวันที่๒๒พฤษภาคมพ.ศ.๒๕๕๑ ได้มาจากการผลิต

สื่อธรรมะถ่ายทอดผ่านดาวเทียมทางช่องDMC(DhammaMediaChannel)

เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๕ เพื่อเผยแผ่ธรรมะ๒๔ ชั่วโมง แก่มหาชน

ทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาอังกฤษและจีน

���������.indd 76 4/19/10 12:20:06 AM

www.kalyanamitra.org

Page 78: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 77

รางวัลมาตรฐานการผลิตสื่อ

Telly Awards ครั้งที่ ๒๘

จากประเทศสหรัฐอเมริกา

ได้รับเมื่อวันที่๒๖กันยายน

พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้มาจากการผลิต

สื่อธรรมะDMCโดยได้รับรางวัลถึง

๑๒รางวัล

รางวัลโล่เกียรติยศวุฒิสภา

ได้รับเมื่อวันที่๒๓กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๔๘

ได้มาจากการสนับสนุนการจัดงานบำเพ็ญกุศล

และไว้อาลัยแก่ผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ

เพื่อเป็นการฟื้นฟูจิตใจญาติพี่น้องผู้ประสบภัยที่จ.ภูเก็ต

ในวันที่๕มกราคมพ.ศ.๒๕๔๘

และที่อ.ตะกั่วป่าจ.พังงา

ในวันที่๑๙มกราคมพ.ศ.๒๕๔๘

���������.indd 77 4/19/10 12:20:10 AM

www.kalyanamitra.org

Page 79: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย78

���������.indd 78 4/19/10 12:20:13 AM

www.kalyanamitra.org

Page 80: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

การสร้างคนให้เป็นคนดีทุกโครงการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีสิ่ง

หนึ่งที่ทางวัดพระธรรมกายให้ความสำคัญมากที่สุดและจะต้องบรรจุลง

ไปในทุกโครงการนั่นก็คือการทำสมาธิภาวนาเพราะการทำสมาธิภาวนา

เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญใน

การสร้างบุคลากรของวัดพระธรรมกายและเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต

ซึ่งเรื่องนี้หลวงพ่อธัมมชโยเคยให้โอวาทไว้ว่า

“การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับชีวิต สำคัญยิ่งกว่า

อากาศที่เราหายใจ เพราะถ้าเราขาดอากาศ เราก็แค่ตายจากโลกนี้ไป แต่ถ้า

ขาดธรรมะแล้ว เราจะตายจากความดี ตายจากทุกสิ่งทุกอย่าง”

นอกจากนี้ การทำสมาธิภาวนายังเป็นบุญอย่างหนึ่งในบุญกิริยา

วัตถุ ๑๐ และเป็นบุญที่ยิ่งใหญ่กว่าทานและศีล เพราะนำไปสู่มรรคผล

นิพพานได้โดยตรง

ด้วยเหตุนี้ วัดพระธรรมกายจึงสนับสนุนให้ทุกคนปฏิบัติธรรม

ตลอดมานับตั้งแต่เริ่มสร้างวัดจนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีการสอนทำสมาธิ

ภาวนาทุกๆ เช้า-บ่าย วันอาทิตย์ณสภาธรรมกายสากลและ ในเวลา

ประมาณ๒๑.๔๕น. วันจันทร์-วันเสาร์ ในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝัน

วิทยานอกจากนี้ยังได้จัดโครงการต่างๆขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกใน

การปฏิบัติธรรม

สมาธิภาวนา : กรณียกิจที่ทุกคนควรทำ

รู้จักวัดพระธรรมกาย 79

���������.indd 79 4/19/10 12:20:14 AM

www.kalyanamitra.org

Page 81: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย80

โครงการธุดงค์สุดสัปดาห์ ที่วัดพระธรรมกาย

มีการจัดธุดงค์สุดสัปดาห์ทุกๆวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เรียนเชิญ

ผู้ที่สนใจสมัครอยู่ธุดงค์ในโครงการปฏิบัติธรรมธุดงค์แก้ว

โทร.๐๒-๘๓๑-๑๘๒๐-๓,๐๘๙-๔๘๕-๗๐๓๙

โครงการปฏิบัติธรรม ๑ สัปดาห์ ที่สวนพนาวัฒน์

สวนพนาวัฒน์ตั้งอยู่บนภูเขาสูง๑,๑๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล

ที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ อากาศสดชื่นเย็นสบายเกือบตลอดปี

ล้อมรอบด้วยขุนเขาแมกไม้ที่สวยสดงดงาม มีอาคารปฏิบัติธรรม

ที่สมบูรณ์แบบและบ้านพักพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอย่างครบ

ครัน

สนใจเชิญติดต่อโครงการปฏิบัติธรรมพิเศษ(ดอกไม้บาน)

โทร.๐๒-๘๓๑-๑๑๓๐-๒,๐๘๓-๕๔๐-๔๖๓๖,

www.dokmaiban.com

���������.indd 80 4/19/10 12:20:15 AM

www.kalyanamitra.org

Page 82: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 81

โครงการปฏิบัติธรรม ๑ สัปดาห์ ที่สวนป่าหิมวันต์

สวนป่าหิมวันต์ตั้งอยู่ท่ามกลางทะเลหมอกและดอกไม้งามบาน

สะพรั่ง ที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย มีอาคารปฏิบัติธรรมที่เหมาะกับการ

ทำสมาธิภาวนาพร้อม “บ้านรังนก”สถานที่พักส่วนตัวสำหรับทุกท่าน

ผู้ที่ปรารถนาวันเวลาอันสงบสุขห่างไกลความวุ่นวายทางโลก เชิญติดต่อ

โครงการปฏิบัติธรรมพิเศษ (ดอกไม้บาน) โทร. ๐๒-๘๓๑-๑๑๓๐-๒,

๐๘๓-๕๔๐-๔๖๓๖,www.dokmaiban.com

The Middle Way Meditation Retreat

เป็นโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับชาวต่างชาติที่มีความสนใจจะ

ฝึกสมาธิ โดยมีพระอาจารย์สอนการทำสมาธิเบื้องต้นเป็นภาษาอังกฤษ

ด้วยวิธีที่ เข้าใจง่าย มีพี่ เลี้ยงคอยดูแลอย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง

สถานที่พักสงบ เรียบง่ายผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับความสุขสงบทั้งจาก

การนั่งสมาธิและจากธรรมชาติรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ที่ดี

ที่สุดครั้งหนึ่งของชีวิตสมัครปฏิบัติธรรมสำหรับชาวต่างชาติได้ที่

www.meditationthai.org

���������.indd 81 4/19/10 12:20:21 AM

www.kalyanamitra.org

Page 83: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

นอกจากสนับสนุนการปฏิบัติธรรม

ในประเทศแล้ว วัดพระธรรมกายยังได้จัดตั้ง

ศูนย์สาขาในต่างประเทศขึ้น เพื่อให้ชาวโลก

ได้มีโอกาสพบแสงสว่างในชีวิตจากธรรมะ

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และให้เขาได้รู้ว่า

มนุษย์ทุกคนมีความพิเศษอยู่ในตนเองคือมี

พระธรรมกายอยู่ภายในตัวแม้ว่าเขาเหล่านั้น

จะอยู่ห่างไกลดินแดนที่พระพุทธศาสนา

กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ในขณะนี้เพียงใดก็ตาม

ปัจจุบันศูนย์สาขาในทวีปต่าง ๆ

ทั่วโลกมีทั้งหมด๕๓แห่ง

รู้จักวัดพระธรรมกาย82

���������.indd 82 4/19/10 12:20:27 AM

www.kalyanamitra.org

Page 84: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

นับตั้งแต่สร้างวัดจนกระทั่งปัจจุบัน วัดพระธรรมกายได้ตั้งใจ

เผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมศีลธรรมให้แก่ประชาชนตลอดมา

โดยยึดหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในการพัฒนาจิตใจของ

มนุษย์ คือ ให้ละความชั่วหมั่นทำความดี และทำใจให้ผ่องใสด้วยการ

ส่งเสริมให้ผู้คนทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ

การบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๓ ประการนี้ จะหล่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่เย็น

เป็นสุข ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษาเล่าเรียน

และสามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆของชีวิตได้ง่ายขึ้น เพราะความสุข

ความสำเร็จทั้งปวงในชีวิตล้วนเกิดจาก“บุญ”

จึงขอเรียนเชิญทุกท่านไปสั่งสมบุญได้ในวันเวลาดังต่อไปนี้

บุญอยู่เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จของชีวิต บุญอยู่เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จของชีวิต

���������.indd 83 4/19/10 12:20:38 AM

www.kalyanamitra.org

Page 85: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย84

บุญประจำวัน

๐๖.๓๐น.และ

๑๐.๓๐น.

๐๖.๐๐น.และ

๑๘.๐๐น.

๑๙.๓๐-๒๒.๐๐น.

(ยกเว้นวันอาทิตย์)

เวลา กิจกรรม

ถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานที่หอฉันคุณยาย

อาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง

บูชาเจดีย์

ฟังพระธรรมเทศนาและปฏิบัติธรรม

ในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

๑๒.๓๐-๑๗.๐๐น.

(วันเสาร์)

๑๑.๓๐-๑๒.๓๐น.

(วันอาทิตย์)

๐๙.๓๐-๑๖.๐๐น.

(ทุกวันอาทิตย์)

นมัสการรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี

(สดจนฺทสโร)/ติดต่อบริการชมวัด

โทร.๐๘๓-๕๔๐-๖๖๔๙

จัดงานบุญณสภาธรรมกายสากล

บุญประจำสัปดาห์

เวลา กิจกรรม

���������.indd 84 4/19/10 12:20:38 AM

www.kalyanamitra.org

Page 86: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 85

กำหนดการงานบุญวันอาทิตย์

๐๘.๐๐น. -ถวายไทยธรรมที่จุดอธิษฐานธรรม

(ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก

ของสภาธรรมกายสากล)

๐๘.๓๐น. -สวดมนต์ทำวัตรเช้า

๐๙.๓๐น. -ปฏิบัติธรรม

๑๑.๐๐น. -ถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน

๑๒.๓๐น. -รายการสัมภาษณ์

๑๓.๐๐น. -ปฏิบัติธรรม

๑๕.๐๐น. -ฟังพระธรรมเทศนา

๑๗.๐๐น. -พิธีบำเพ็ญกุศลมหารัตนอัฐิธาตุคุณยายอาจารย์

มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง

ณบ้านแก้วเรือนทองฯ

๑๘.๐๐น. -ร่วมพิธีบูชามหาธรรมกายเจดีย์

และมหาปูชนียาจารย์

๐๙.๓๐-๑๑.๐๐น. -พิธีบูชาข้าวพระ(ส่วนกิจกรรมอื่นๆจัดเช่นเดียว

กับงานบุญวันอาทิตย์ปกติ)

บุญประจำเดือน (อาทิตย์ต้นเดือน)

เวลา กิจกรรม

���������.indd 85 4/19/10 12:20:39 AM

www.kalyanamitra.org

Page 87: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย86

การบูชาข้าวพระเป็นการใช้วิชชาธรรมกายนำภัตตาหารไปน้อม

ถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอายตนนิพพาน เมื่อครั้งที่

คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ยังมีชีวิตอยู่ ท่านนำ

ศิษยานุศิษย์บูชาข้าวพระทุกวันอาทิตย์ต้นเดือน แม้ปัจจุบันท่านได้

ละสังขารไปแล้วหลวงพ่อธัมมชโยก็ยังคงสืบทอดธรรมเนียมการบูชา

ข้าวพระตลอดมา

หมายเหตุ

���������.indd 86 4/19/10 12:20:51 AM

www.kalyanamitra.org

Page 88: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 87

วันมาฆบูชา

มีงานบุญวันมาฆบูชา และในเวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. มีพิธี

เวียนประทักษิณรอบมหาธรรมกายเจดีย์และพิธีจุดมาฆประทีป

โดยมีสาธุชนผู้มีบุญจากในและต่างประเทศมาร่วมพิธีครั้งละกว่าแสนคน

วันคุ้มครองโลก (๒๒ เมษายน)

มีงานบุญใหญ่ถวายสังฆทานพระสังฆาธิการจากทั่วประเทศและ

บุญพิเศษตามสถานการณ์

วันวิสาขบูชา

มีพิธีจุดวิสาขประทีปพิธีบวชอุทิศชีวิตถวายเป็นพุทธบูชาและ

พิธีเวียนประทักษิณเนื่องในวันวิสาขบูชา

ฤดูกาลเข้าพรรษา

มีพิธีถวายผ้าอาบน้ำฝนผ้าเช็ดตัวและกองทุนแสงสว่างที่หอฉัน

คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง

วันครูธรรมกาย (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐)

มีพิธีบูชาครูวิชชาธรรมกาย เพื่อแสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของวิชชาธรรมกายและพระมงคลเทพมุนี

ผู้สละชีวิตเป็นเดิมพันนำวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

กลับคืนมาสู่โลกอีกครั้ง

บุญประจำปี

���������.indd 87 4/19/10 12:20:54 AM

www.kalyanamitra.org

Page 89: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย88

วันคล้ายวันเกิด

พระมงคลเทพมุนี

(สด จนฺทสโร) ๑๐ ตุลาคม

มีงานบุญใหญ่เพื่อให้

ศิษยานุศิษย์ผู้มีความเคารพ

บูชาพระมงคลเทพมุนี

(สดจนฺทสโร)ได้แสดง

ความกตัญญูต่อมหาปูชนียาจารย์

ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

วันทอดกฐินสามัคคี

-ภาคเช้ามีพิธีตักบาตร

พระภิกษุนับพันรูปปฏิบัติธรรม

และถวายภัตตาหาร

เป็นสังฆทาน

-ภาคบ่ายเป็นพิธีทอดกฐิน

ธุดงค์ต้อนรับปีใหม่

ในฤดูกาลส่งท้าย

ปีเก่าต้อนรับปีใหม่

วัดพระธรรมกายได้จัดธุดงค์

ปีใหม่ขึ้นเพื่อให้ผู้มีบุญได้มา

สั่งสมบุญต้อนรับศักราชใหม่

ที่จะมาถึงเพื่อความเป็น

สิริมงคลของชีวิต

���������.indd 88 4/19/10 12:21:19 AM

www.kalyanamitra.org

Page 90: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 89

๔๐ ปีผ่านไป สรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คือ

เกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปแต่มโนปณิธานของหมู่คณะวัดพระธรรมกาย

ก็ ยั ง ไม่ แปร เปลี่ ยน ยั งคงยึดมั่ นที่ จะสืบทอดมโนปณิธานของ

พระมงคลเทพมุนี และคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

ที่ปรารถนาจะนำพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายแผ่ขยายออกไปทั่วโลก

เพื่อให้ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสร้างสันติสุขให้บังเกิดขึ้น

ในใจของมวลมนุษยชาติ ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งสันติภาพโลกที่แท้จริง

และเพื่อให้ชาวโลกตระหนักถึงคุณค่าของชีวิต รู้เป้าหมายที่แท้จริงของ

การเกิดมาเป็นมนุษย์ และรู้จักสั่งสมบุญเพื่อเป็นเสบียงสำหรับเดินทาง

ในวัฏสงสารจนกว่าจะเข้าสู่นิพพานดังถ้อยคำที่ว่า

“เราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง แสวงบุญ สร้างบารมี”

วัดพระธรรมกายในวันนี้

���������.indd 89 4/19/10 12:21:25 AM

www.kalyanamitra.org

Page 91: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย90

คนเราไปวัดก็เพื่อจะสร้างบุญสร้างกุศล ไม่ว่าจะด้วยการทำทาน

รักษาศีลหรือเจริญสมาธิภาวนาดังนั้นเพื่อให้ได้บุญกุศลอย่างเต็มที่ จึง

ควรมีการเตรียมตัวเตรียมใจดังนี้

๑. การเตรียมใจ

- จัดภารกิจที่จำเป็นให้เสร็จเรียบร้อย หรือมอบหมายให้ผู้ที่

ไว้วางใจทำแทนขณะไปทำบุญจะได้ไม่กังวล

-สำรวมใจน้อมระลึกถึงบุญกุศลที่เคยทำมาแล้วตลอดชีวิต เพื่อ

ให้เกิดความปีติเบิกบานแช่มชื่น ผ่องใส จะได้มีกำลังใจที่จะทำความดี

เพิ่มขึ้น

- ก่อนเข้านอน กราบบูชาพระรัตนตรัย สวดมนต์ทำวัตรเย็น

เป็นการเตรียมใจให้สะอาด เหมาะจะเป็นภาชนะรองรับบุญกุศลในวัน

รุ่งขึ้นได้เต็มที่

- ในขณะเดินทางไปวัด ไม่ควรสนทนากันในเรื่องที่จะทำให้ใจ

ขุ่นมัวแต่ควรระลึกถึงเรื่องบุญกุศลและตั้งใจให้แน่วแน่ว่าไปวัดวันนี้จะ

เก็บเกี่ยวบุญกุศลให้เต็มที่

สาระน่ารู้ก่อนไปวัด

���������.indd 90 4/19/10 12:21:31 AM

www.kalyanamitra.org

Page 92: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 91

๒. การแต่งกาย

-ควรสวมเสื้อผ้าสีขาวทั้งชุดหรืออย่างน้อยก็เสื้อสีขาว

การแต่งกายชุดขาวมีข้อดีหลายประการคือทำให้ดูเป็นระเบียบ

เรียบร้อย ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งการปฏิบัติธรรม ทำให้เกิดความ

เสมอภาคแก่ชนทุกชั้นทำให้เกิดสติมีความสำรวมระวังเพิ่มขึ้นทำให้ใจ

ผ่องแผ้วพร้อมที่จะเข้าถึงธรรม

-ไม่ควรสวมเสื้อผ้าโปร่งบางหรือหรูหราราคาแพงเกินไป

- ไม่ควรสวมเสื้อผ้ารัดรูป เพื่อสะดวกในการกราบไหว้พระ

และนั่งสมาธิ ผู้หญิงไม่ควรนุ่งกระโปรงสั้นหรือผ่าหน้าผ่าหลัง ควรนำ

ผ้าคลุมเข่าไปด้วยเพื่อใช้คลุมเข่าขณะนั่งพับเพียบหรือนั่งสมาธิ

-ผู้ชายควรตัดผมให้สั้นถ้าไว้ผมยาวก็หวีให้เรียบร้อยส่วนผู้หญิง

อย่าแต่งผมประณีตเกินไปผู้พบเห็นจะได้ไม่เกิดความคิดฟุ้งซ่าน

-ควรเว้นการประพรมน้ำหอม

-ไม่ควรแต่งหน้าเขียนคิ้วทาปากทาเล็บฯลฯจนเกินงาม

- ไม่ควรสวมเครื่องประดับราคาแพง เช่น แหวนเพชรนาฬิกา

เรือนทองหรือสร้อยทองคำเส้นโตๆฯลฯ

๓. การนำเด็กไปวัด

การนำเด็กไปวัดเป็นสิ่งที่ดี เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีแก่เด็กทำให้

เด็กได้ใกล้ชิดพระศาสนาตั้งแต่ยังเยาว์ แต่มีข้อควรระวัง คือ อย่านำ

เด็กอ่อนไปวัดโดยไม่จำเป็นเพราะอาจก่อความรำคาญให้แก่ผู้อื่นได้ถ้านำ

เด็กไปด้วยควรดูแลอย่างใกล้ชิดหรือนำไปฝากเลี้ยงที่ศูนย์ลูกแก้วชั้น๑

สภาธรรมกายสากลด้านทิศตะวันตก

���������.indd 91 4/19/10 12:21:33 AM

www.kalyanamitra.org

Page 93: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย92

ขณะอยู่ในวัด

วัดเป็นที่รวมของคนหลายประเภทซึ่งมีความแตกต่างกันมากทั้ง

ในด้านอายุ ฐานะความเป็นอยู่ การศึกษาอาชีพตลอดจนอุปนิสัยใจคอ

โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายจึงจำเป็นต้องระมัดระวัง

ตน เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวบุญได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเมื่อเดินทางไปถึงวัดแล้ว

พึงปฏิบัติดังนี้

- ปฏิบัติตนอยู่ภายในกรอบประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม

สำรวมกายวาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย งดอาการคะนองทั้งปวงทั้งนี้เพื่อ

รักษากายวาจาใจของเราให้เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญ

-ก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติธรรมควรถอดรองเท้าวางอย่างเป็นระเบียบ

แล้วเข้าไปนั่งในบริเวณที่จัดไว้

- ในการประกอบศาสนพิธี เช่น สวดมนต์ สมาทานศีล ถวาย

สังฆทานฯลฯควรเปล่งเสียงอย่างชัดเจนโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อก่อให้

เกิดปีติและเป็นการแสดงความเคารพพระรัตนตรัยด้วยวาจา

- ไม่พูดคุยกันในขณะปฏิบัติธรรมและไม่เปิดโทรศัพท์มือถือ จะ

ได้ไม่รบกวนการทำสมาธิภาวนา

-พยายามอดทนต่อสิ่งที่ทำให้ขุ่นข้องหมองใจ เช่น อากาศร้อน

ความหิวกระหาย กิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมของคนบางคน และการ

ไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องต่างๆ ควรแผ่เมตตาให้ความเห็นอกเห็นใจ

ซึ่งกันและกัน และควรควบคุมโทสะอย่าให้เกิดขึ้น จะได้เก็บเกี่ยวบุญ

ไปได้อย่างเต็มที่

- เวลาพระภิกษุสามเณรเดินผ่านมา ให้ประนมมือไหว้ด้วยความ

เคารพ เวลาพูดกับพระภิกษุสามเณร ควรนั่งลงและประนมมือไหว้

���������.indd 92 4/19/10 12:21:33 AM

www.kalyanamitra.org

Page 94: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 93

- เข้าแถวรับอาหารอย่างมีระเบียบ เมื่อรับประทานเสร็จแล้วนำ

ภาชนะไปทิ้งในถุงเก็บเพชรพลอย(ถุงขยะ)

กฎระเบียบของวัดพระธรรมกาย

เนื่องจากวัดพระธรรมกายเป็นบุญสถานที่มีสาธุชนมาบำเพ็ญบุญ

ร่วมกันเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎระเบียบ เพื่อให้เกิดความ

สงบ เรียบร้อย และสามารถดำรงไว้ซึ่งความเป็นบุญสถานอันศักดิ์สิทธิ์

ดังนี้

-ห้ามสูบบุหรี่ตลอดจนไม่นำสิ่งเสพติดให้โทษเข้ามา

-ห้ามอ่านหนังสือพิมพ์หรือสิ่งตีพิมพ์

ที่นำมาซึ่งความร้อนใจ

-ห้ามนำสินค้าหรือสิ่งของใดๆเข้ามาจำหน่าย

-ห้ามเปิดวิทยุเครื่องกระจายเสียงและเทปบันทึกเสียงเพลง

-ห้ามปล่อยสัตว์ในบริเวณวัด

-ห้ามโฆษณาชวนเชื่อหาเสียงใดๆทั้งสิ้น

-ห้ามร้องรำทำเพลงหรือแสดงการละเล่นทุกชนิด

-ห้ามทำนายทายทักโชคชะตาและคุยกันด้วยเรื่องการเมือง

ที่ทำให้ร้อนใจ

-ห้ามเรี่ยไรและแจกใบฎีกาทุกชนิด

-โปรดแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

���������.indd 93 4/19/10 12:21:33 AM

www.kalyanamitra.org

Page 95: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย94

วัดพระธรรมกาย

๒๓/๒หมู่๗ต.คลองสามอ.คลองหลวงจ.ปทุมธานี๑๒๑๒๐

โทร.๐๒-๘๓๑-๑๐๐๐,๐๒-๕๒๔-๐๒๕๗-๖๓

แฟกซ์๐๒-๕๒๔-๐๒๗๐-๑

E-mail:[email protected]

www.meditationthai.orgwww.dmc.tv

วัดพระธรรมกาย

���������.indd 94 4/19/10 12:21:39 AM

www.kalyanamitra.org

Page 96: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย 95

รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อเผยแพร่ความรู้คู่คุณธรรม

ทางช่องDMC(DhammaMediaChannel)ออกอากาศ๒๔ชั่วโมงจัดทำ

โดยมูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นรายการที่ให้ความบันเทิงธรรม

หลากหลาย เช่น รายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาดำเนินรายการ

โดยคุณครูไม่ใหญ่ (หลวงพ่อธัมมชโย) รายการหลวงพ่อตอบปัญหา โดย

พระภาวนาวิริยคุณ(หลวงพ่อทัตตชีโว)พิธีบูชามหาธรรมกายเจดีย์วิธีฝึก

สมาธิสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็นข่าวสร้างสรรค์DMCNewsและรายการ

ที่น่าสนใจอื่นๆอีกมากมาย

DMC เป็นสื่อสีขาวซึ่งได้รับรางวัลมาตรฐานการผลิตสื่อ (Telly

Awards)มากถึง๑๒รางวัลในปีพ.ศ.๒๕๕๐

เรียนเชิญรับชมรายการดาวธรรมผ่านช่องทางต่างๆได้ดังนี้

๑. ติดตั้งจานดาวเทียมDMCSatellite รับชมได้ทุกทวีปทั่วโลก

โทร.๐๒-๙๐๑-๑๖๑๖

๒.ผ่านทางเว็บไซต์www.dmc.tvโทร.๐๒-๘๓๑-๑๗๗๔

๓.ผ่านโทรศัพท์มือถือเครือข่ายDTACกด*๑๑๐๗๒รับชมภาพ

และเสียงผ่านระบบGPRSWap.dmc4u.com

๔.ทางรายการวิทยุทั่วประเทศคลื่นFMและAM

โทร.๐๘๕-๐๖๒-๗๗๗๗

. ๕.ทางรายการเคเบิลทีวีทั่วประเทศโทร.๐๒-๘๓๑-๒๘๖๙

ผ่านช่อง๑๐๔ของTrueVision(UBC)เวลา๑๗.๐๐-๒๑.๐๐น.

ดาวธรรม (DMC Channel)

���������.indd 95 4/19/10 12:21:39 AM

www.kalyanamitra.org

Page 97: วัดพระธรรมกาย Know Dhammakaya

รู้จักวัดพระธรรมกาย96

ISBN : 978-974-401-798-7

จัดทำาโดย : กองสื่อธรรมะ วัดพระธรรมกาย

ผู้เรียบเรียง : “นักรบกล้า”

ออกแบบปกและรูปเล่ม : จุลมณี สุระโยธิน

ภาพประกอบ : ศูนย์ภาพนิ่งและบรรณาธิการภาพ

พิมพ์ที่ : บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำากัด

โทร. ๐-๒๔๒๔-๖๙๔๔, ๐-๒๘๘๔-๖๖๗๑-๒

วันที่พิมพ์ : ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓

รู้จักวัดพระธรรมกาย

���������.indd 96 4/19/10 12:56 PM

www.kalyanamitra.org